Jump to content


Photo
- - - - -

สำหรับคนไม่ได้ชื่นชอบ ปชป. อย่างกระพ๊ม...


  • Please log in to reply
5 ความเห็นในกระทู้นี้

#1 wat

wat

    เนตังมะมะ เนโสหะมัสมิ นะเมโสอัตตา.

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 5,542 posts

ตอบ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 20:40

*
POPULAR

10347086_580266215420324_26719823629249734_n.jpg

 

:angry:  ไม่ได้เพื่อพรรคไหน... เพื่ออนาคตของเราและลูกหลาน สำเร็จได้พวกท่านทุกคนก็มีหวัง... ไม่ใช่แค่เพื่อพวก ปชป. และ พท. ขอรับ!!! 


Edited by wat, 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 21:20.

:) Sometime...Sun shine through the rain...

#2 HiddenMan

HiddenMan

    Long Live The King

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 12,023 posts

ตอบ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 21:26

ขออภัยคุณ wat ครับ ขอโควทข้อความเดิมที่ผมเคยเข้าใจผิดมาแล้วเหมือนกันครับ

 

http://webboard.seri...328#entry967297
 

แก้ไขเพิ่มเติม
 
ต้องขออภัยด้วยครับ
 
จากการให้ข้อมูลของคุณพ่อไอ้ตอม พบว่าข้อความด้านล่างที่มีการแชร์กันไม่ได้กล่าวโดย ดร.สุรินทร์ แต่มีผู้เขียนในบล็อกแห่งหนึ่งได้แสดงความคิดเห็นลงไปในแนวคิดของ ดร.สุรินทร์ เพิ่มเติม และทาง ดร.สุรินทร์ไม่ได้เป็นเจ้าของข้อความดังกล่าวครับ แต่ไม่ขอลบข้อความดังกล่าวด้านล่าง เนื่องจากเป็นข้อความที่ให้มุมมองที่ดี สำหรับการก้าวออกมาร่วมกันปฏิรูปประเทศไทยครับ
 
 
แต่ ดร.สุรินทร์ยังยืนยันการชุมนุมมีความชอบธรรม และมีเหตุผลที่ออกมากันตาม Link แนบมาครับ
 

 
 
 
 
1469942_502836549831646_234166491_n.jpg
 

203541_426779870770648_1124960840_q.jpg

คนใต้ ใจเต็ม FC
Liked · 48 minutes ago 
 


 




"ในชั่วชีวิตของผม ผมนึกไม่ออกจริง ๆ ว่าโอกาสแบบนี้จะผ่านมาอีกทีเมื่อไหร่ โอกาสในการปฏิรูปการเมืองมันอยู่แค่เอื้อมตรงหน้านี้แล้ว สุเทพ เทือกสุบรรณ ก้าวไปไกลกว่าม๊อบไหน ๆ ที่เคยมีมาทั้งหมด โอกาสแบบนี้ไม่มีอีกแล้ว It's now or never. ถ้าไม่รวมพลังกันตอนนี้ วันพรุ่งนี้ก็จะไม่มีการเมืองไทย ไม่มีอนาคต ไม่มีแม้แต่พรรคประชาธิปัตย์ให้คนเกลียดได้อีกต่อไป"

credit : ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ (ไม่ได้กล่าวโดย ดร.สุรินทร์)


“Live as if you were to die tomorrow. Learn as if you were to live forever.”  - Mahatma Gandhi

 

สนใจบ้านพักคนชราเสรีไทย (FB Secret Group) ติดต่อ (PM) เว็บบอร์ด

https://www.facebook...denman.serithai


#3 HiddenMan

HiddenMan

    Long Live The King

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 12,023 posts

ตอบ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 21:27

^_^ อันนี้เป็นแนวคิดที่้ ดร.สุรินทร์เคยกล่าวไว้ครับ



แนวทางการปฏิรูปประเทศไทย โดย ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ
 
http://fit.or.th/แนวทางการปฏิรูป/
 
reform.jpg
 
1) ปฏิรูปการเมือง
 
หลักการสำคัญข้อแรกของระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข คือ อำนาจทางการเมืองที่ได้มาจากประชาชนต้องมีขอบเขตจำกัด โดยกฎหมาย ตามกฎกติกา และค่านิยม ธรรมเนียมปฏิบัติอันทรงคุณค่าของสังคม และต้องตระหนักว่า “เสียงข้างมากไม่ใช่ ”ประทานบัตร” หรือใบอณุญาต ที่ให้อำนาจผู้ถือสิทธิ์จัดการกับประเทศตามอำเภอใจ ไม่มีขอบเขต ไม่คำนึงถึงความถูกต้อง หลักนิติธรรม ค่านิยมของสังคมใดๆ ทั้งสิ้น
 
สร้างเสริมกลไกในการตรวจสอบถ่วงดุลย์อำนาจฝ่ายต่างๆ ที่อาจจะเหลื่อมล้ำเกินเลยขอบเขตของกรอบกฏหมาย ละเมิดสิทธิฝ่ายอื่น เพื่อประโยชน์ส่วนตนหรือพวกพ้องครอบครัว และกำหนดให้มีกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างรัดกุมและมีประสิทธิภาพ และกลไกดังกล่าวจะต้องได้รับการปกป้องคุ้มครอง ไม่ให้มีการอ้างสิทธิจากเสียงข้างมากเข้ามาก้าวก่าย จนเสียความเป็นกลาง ขาดอิสระ และไร้ประสิทธิภาพ
 
2) ปฏิรูประบบตรวจสอบอันเข้มข้นจากภาคประชาชน เพื่อต่อต้านคอรัปชั่น การฉ้อราษฏร์บังหลวง
 
ในระยะเวลาที่ผ่านมาการบริหารจัดการโอกาสและทรัพย์สมบัติของแผ่นดิน ทั้งในรูปของงบประมาณแผ่นดิน ทรัพยากรธรรมชาติ กิจการรัฐวิสาหกิจ ได้ถูกครอบงำ ตักตวงผลประโยชน์ทุกรูปแบบ จนทำให้ผลประโยชน์สูงสุดไม่ตกเป็นของประเทศชาติและประชาชน ถ้าคิดเป็นมูลค่าเป็นตัวเงินเกิดการรั่วไหลกว่า 300,000 ล้านบาทต่อปี
 
นอกจากนั้นทรัพย์สินของรัฐ สมบัติของแผ่นดินต้องได้รับการปกป้อง แยกส่วนชัดเจนจัดการ จากทรัพย์สินส่วนตัว ไม่ปะปนสับสนเป็นกงสีของตระกูล เครือญาติ และพรรคพวก มาตรการต่างๆ ที่ควรจะพิจารณาจัดตั้ง คือ
 
- มีองค์กรตรวจสอบภาคประชาชน ให้ภาคประชาชนมีสิทธิ์ในการตรวจสอบ และฟ้องร้องดำเนินคดีได้
- กำหนดให้มีบทลงโทษที่ชัดเจน มีกระบวนการกฏหมายให้มีการปฏิบัติอย่างรัดกุม ในการที่หน่วยงานรัฐไม่เปิดเผยข้อมูลข่าวสารต่อสาธารณะตาม พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสาร
- คดีคอรัปชั่นไม่มีหมดอายุความ
 
3) ปฏิรูประบบราชการและกระจายอำนาจ
 
ระบบราชการต้องปลอดจากการเมือง ข้าราชการมีศักดิ์ศรี เป็นอิสระ มีสิทธิ์ในการบริหารจัดการกิจการภายในองค์กรของตนเองตามกรอบและกฎเกณฑ์โดยกฎหมายเฉพาะสำหรับแต่ละหน่วยงานที่ชัดเจน เพื่อมิให้เป็นกลไกเพื่อเพิ่มพูนแสวงหาและรักษาผลประโยชน์ของครอบครัว และพวกพ้อง เหมือนที่เป็นอยู่ตั้งแต่ในอดีตและรุนแรงยิ่งขึ้นเรื่อยๆ จนถึงปัจจุบัน
กลไกการปกครองของรัฐต้องมีการกระจายโอกาสให้ประชาชนและภาคประชาสังคม มีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายของชุมชนและองค์กรปกครองท้องถิ่น ตลอดจนการใช้ และเข้าถึงซึ่งทรัพยากรในท้องถิ่นของตน โดยคำนึงถึงการพัฒนาที่ยั่งยืน เพื่อคุณภาพชีวิตของประชากรของประเทศร่วมกัน
 
- เลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด
- ยกเลิกการปกครองส่วนภูมิภาค กระจายอำนาจราชการสู่ท้องถิ่น กำหนดให้หน่วยงานภายใต้สังกัดของมหาดไทย การศึกษา การเกษตร การพาณิชย์ การส่งเสริมการลงทุน ฯลฯ อยู่ภายใต้อำนาจของท้องถิ่น
- งบประมาณของแผ่นดินไม่น้อยกว่า 35% ให้อยู่ในการดูแลของรัฐบาลท้องถิ่นในทุกระดับ
- กำหนดการกระจายอำนาจให้เป็นวาระแห่งชาติที่ทุกรัฐบาลต้องดำเนินการ
- ตำรวจสังกัดท้องถิ่น อยู่ภายใต้ผู้ว่าราชการจังหวัดที่มาจากการเลือกตั้ง
- ปฏิรูประบบราชการ ข้าราชการทำงานเพื่อประชาชนอย่างแท้จริง ตอบโจทย์สังคมที่เปลี่ยนไป
- ขจัดการการแทรงแซงของภาคการเมือง และระบบอุปถัมภ์
- มีการจัดตั้งสภาประชาชนในทุกจังหวัดเพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบหน่วยงานท้องถิ่น
- เป็นภาคีกับองค์กรระหว่างประเทศเพื่อต่อต้านคอรัปชั่น เพื่อผูกพันประเทศไทยต้องมีระบบการตรวจสอบ ป้องกันที่มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับในระดับสากลมากยิ่งขึ้น เช่น อนุสัญญา ต่อต้านคอรัปชั่นของ OECD ปี 2011 และ ข้อตกลง ASEAN Supreme Audit Institutions Assembly
 
4) ปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคม เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางรายได้และโอกาส ให้คนไทยหลุดพ้นจากความยากจน บนพื้นฐานเศรษฐกิจที่ยั่งยืน
 
พัฒนาเศรษฐกิจของประเทศแบบทั่วถึง และเป็นธรรม มีเป้าหมายขจัดความเหลื่อมล้ำที่ชัดเจน มีดัชนีบอกวัดความเหลื่อมล้ำที่แม่นยำ ไม่ให้เกิดสภาพการ “รวยกระจุก จนกระจาย” อีกต่อไป
 
- สร้างโอกาสในการเข้าถึงแหล่งทุนระยะยาว
- แก้ปัญหาการถือครองที่ดิน ให้มีที่ดินทำกินอย่างทั่วถึง ควบคู่ไปกับการจัดการกับที่ดินที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์
- ปรับโครงสร้างกระบวนการผลิต การจัดการหลังการเก็บเกี่ยว การแปรรูป การตลาด และการขนส่ง สำหรับภาคเกษตร ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง เกษตรอินทรีย์ และเกษตรผสมผสาน
- ลงทุนระบบชลประทาน ทุกชุมชนต้องเข้าถึงแหล่งน้ำได้
 
5) ปฏิรูปการศึกษาเพื่อให้ทุกคนมีโอกาสทางการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างเท่าเทียมกัน
 
ให้โอกาสทางการศึกษา พัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างทั่วถึงเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ เคารพและให้เกียรติต่อกัน มีความปรองดองในหมู่ประชากรที่มีความหลากหลาย ด้วยความเสมอภาค ปราศจากการแบ่งแยก เลือกปฏิบัติ กีดกัน รังเกียจเดียดฉันท์ เนื่องด้วยความแตกต่างทางสังคม วัฒนธรรม ศาสนา ตลอดจนความเห็นทางการเมืองที่ต่างกัน
- สร้างโอกาสที่เท่าเทียมกันในการเข้าถึงการศึกษา เด็กยากจนต้องได้เข้าเรียนทุกคน ไม่มีใครตกหล่นจากระบบการศึกษา (No child left behind) เพื่อให้มีอัตราการเข้าศึกษา 100% จาก อนุบาล 1 จนถึงมัธยมศึกษาปีที่ 6
- มีการจัดการอบรมสำหรับครู รวมทั้งปรับปรุงหลักสูตรการเรียนให้มีมาตรฐาน น่าสนใจต่อผู้เรียน
- มีการวัดผลโรงเรียน ครู และกระบวนการสอน อย่างโปร่งใส รัดกุม ได้มาตรฐาน โดยผู้เชี่ยวชาญและกระบวนการที่ตรวจสอบได้ โดยใช้ประสิทธิผลของนักเรียนเป็นดัชนีชี้วัด
 
6) ปฏิรูประบบสวัสดิการเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างทั่วถึง โดยคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ (Human Dignity) และความมั่นคงมนุษย์ (Human Security)
 
จัดเก็บภาษีอย่างทั่วถึงเป็นธรรม มุ่งเป็น สังคมสวัสดิการ ให้ทุกชีวิตดำรงอยู่อย่างเสมอภาค มีความมั่นคงบนพื้นฐานแห่งศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์อย่างเท่าเทียมกัน – ทั้งชีวิตเราดูแล “จากครรภ์มารดาสู่เชิงตะกอน”
 
- การดูแลตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา ช่วงก่อนเข้าเรียน และในช่วงวัยเรียน ตลอดจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน
- การขยายระบบประกันสังคมและบำนาญที่มีประสิทธิภาพ เหมาะสมและเป็นธรรม อย่างทั่วถึง
 
7) เศรษฐกิจที่มีการแข่งขันอย่างโปร่งใส เป็นธรรม เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค
 
- บังคับใช้กฎหมายการแข่งขันทางการค้าอย่างจริงจัง
- จัดตั้งองค์การคุ้มครองผู้บริโภคที่มีตัวแทนของภาคประชาชน และเป็นองค์กรที่เป็นอิสระนอกเหนือจากระบบราชการ
 
8) ปฏิรูปสื่อสารมวลชน
 
สิทธิเสรีภาพของสื่อมวลชนเป็นหลักการพื้นฐานที่สำคัญของระบอบประชาธิปไตย ประชาชนต้องมีข้อมูลสำหรับการตัดสินใจ มีส่วนร่วมทางการเมืองอย่างมีประสิทธิภาพ การแสดงออกซึ่งความคิดเห็นที่แตกต่าง โดยสันติ มีสิทธิ์ในการได้รับและเข้าถึงข้อมูลและข่าวสารของรัฐ จะต้องมีการคุ้มครอง ปกป้องอย่างจริงจัง ปราศจากการแทรกแซงโดยอำนาจรัฐ และอิทธิพลทางการเมือง ต้องไม่ถูกใช้เป็นเครื่องมือ
 
- สื่อมวลชนทุกแขนงต้องนำเสนอข่าวที่เท่าเทียมกันระหว่างฝ่ายรัฐบาล ฝ่ายค้าน และ ภาคประชาชน
- กำหนดมาตรฐานจริยธรรมของสื่อ มีองค์กรวิชาชีพเป็นเครื่องมือในการควบคุมจริยธรรมและจรรยาบรรณของสื่อสารมวลชน
 
9) ปฏิรูประบบยุติธรรม
 
สิทธิการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมอย่างทั่วถึง มีการบังคับใช้กฏหมายอย่างเท่าทียม ไม่ใช้กระบวนยุติธรรมเพื่อเป็นเครื่องมือกลั่นแกล้งทางการเมือง และผู้ที่ด้อยโอกาสในสังคม ไม่มีสองมาตรฐาน
 
- พิจารณาคดีในรูปแบบคณะอัยการ สำหรับคดีสำคัญ คดีที่มีความเกี่ยวกับสังคมส่วนรวม ไม่รวบอำนาจไว้ที่อัยการสูงสุด
- มีตัวแทนภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในระบบอัยการ เช่น อยู่ใน คณะกรรมการอัยการที่แต่งตั้งอัยการ หรือคัดเลือกองค์คณะอัยการในคดีที่สำคัญของแต่ท้องที่ เช่นคดีการเมืองในจังหวัด คดีการเมือง คดีผู้มีอิทธิพล
- ป้องกันการล้มคดี ในระดับตำรวจในคดีสำคัญให้อัยการร่วมในการสืบสวน หาพยานและหลักฐานด้วย
 
 
 
FIT_Why-Thailand-Reform-edit.jpg


“Live as if you were to die tomorrow. Learn as if you were to live forever.”  - Mahatma Gandhi

 

สนใจบ้านพักคนชราเสรีไทย (FB Secret Group) ติดต่อ (PM) เว็บบอร์ด

https://www.facebook...denman.serithai


#4 55555

55555

    มหาเมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 13,795 posts

ตอบ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 11:04

มันเป็นเรื่องจริงที่ ไอ้ชั่วดูไบได้รับยาก

 

:D 



#5 gears

gears

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 2,450 posts

ตอบ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 13:13

ตำหนวดเห็น infograph. แล้วหัวสั่นน เหอๆ

#6 temp

temp

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,682 posts

ตอบ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 16:28

เห็นชื่อก็ส่ายหัวแล้วครับ ยังไงซะก็คนปชป. พวกกันอยู่แล้ว ไม่ต้องฟังหรืออ่านต่อ

/ผมลอกเค้ามา


ควายตัวนี้สีขาว





ผู้ใช้ 1 ท่านกำลังอ่านกระทู้นี้

สมาชิก 0 ท่าน, ผู้เยี่ยมชมทั่วไป 1 ท่าน และไม่เปิดเผยตัวตน 0 ท่าน