Jump to content


Photo
- - - - -

ลองอ่านดูครับ ความยากในการตัดสินใจของวุฒิสภา

ตั้งนายก สว. เงื่อนไข

  • Please log in to reply
6 ความเห็นในกระทู้นี้

#1 ธีรเดชน้อย

ธีรเดชน้อย

    เมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 5,659 posts

ตอบ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 23:31

“คำนูณ”แจงวุฒิฯ รอเงื่อนไขสมบูรณ์ตั้งนายกฯ - หวั่นรีบร้อนกระทบสถาบัน

วันนี้(17 พ.ค.) นายคำนูณ สิทธิสมาน ส.ว.สรรหา ได้โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กส่วนตัว “คำนูณ สิทธิสมาน” ในหัวข้อ “การตัดสินใจในฐานะสมาชิกวุฒิสภา” มีใจความสรุปได้ว่า กรณีการเรียกร้องให้วุฒิสภาดำเนินการเพื่อให้ได้นายกรัฐมนตรีคนใหม่โดยเร็ว แม้ศาลรัฐธรรมนูญจะไม่รับวินิจฉัยว่าจะต้องกระทำอย่างไรต่อไป แต่ก็เป็นที่ปรากฎชัดเจนตามรัฐธรรมนูญมาตรา 180 วรรคสองว่าจะต้องมีการดำเนินการเพื่อให้ได้นายกรัฐมนตรีคนใหม่ทันที โดยให้ดำเนินการตามมาตรา 172 โดยอนุโลม

       
       แต่ปัญหาก็คือขณะนี้ไม่มีสภาผู้แทนราษฎร ที่จะดำเนินกระบวนการตามมาตรา 172 และสถานการณ์ล่าสุด ณ วันนี้ แนวโน้มที่จะมีสภาผู้แทนราษฎรโดยเร็วยังไม่เห็น เพราะยังไม่มีการตราพระราชกฤษฎีกาแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2556 เพื่อกำหนดวันเลือกตั้งทั่วไปขึ้นใหม่ และยังไม่มีแนวโน้มที่จะตราขึ้นได้ในเร็ววัน เพราะ กกต.ยังคงมีความเห็นทางกฎหมายแตกต่างกับรัฐบาลใน 2 ประเด็นสำคัญ

 

 สถานการณ์เลวร้ายที่เกิดขึ้นต่อหน้าทำให้วุฒิสภาไม่อาจนิ่งดูดายได้ จึงต้องเปิดประชุมเพื่อหารืออย่างไม่เป็นทางการ โดยมีกระบวนการรับฟังความเห็นและขัอเสนอแนะจากทุกฝ่ายอย่างกว้างขวาง หนึ่งในข้อเสนอคือขอให้วุฒิสภาดำเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งนายกรัฐมนตรีโดยเร็ว โดยอาศัยความในรัฐธรรมนูญมาตรา 7 ประกอบมาตรา 3 มาตรา 122 และมาตราอื่น ๆ วุฒิสภาซึ่งเป็นผู้แทนปวงชนชาวไทยและเป็นองค์กรฝ่ายนิติบัญญัติองค์กรเดียวที่เหลืออยู่ย่อมสามารถเข้ามาดำเนินการเพื่อให้ได้นายกรัฐมนตรีคนใหม่ได้ ซึ่งเป็นวิธีการภายในกรอบรัฐธรรมนูญ ไม่ใช่วิธีการนอกรัฐธรรมนูญ และไม่ใช่การขอพระราชทานนายกรัฐมนตรีที่ไม่มีกรอบรัฐธรรมนูญรองรับ และไม่ตัองตามพระราชกระแสเมื่อวันที่ 25 เมษายน 2549

       
       แต่แน่นอนว่าลักษณะพิเศษของสถานการณ์ปัจจุบันมี 'ข้อย้อนแย้ง' ที่มีน้ำหนักต่อการกระทำหน้าที่ดังกล่าวของวุฒิสภาด้วยเช่นกัน ประเด็นย้อนแย้งที่นำมาใคร่ครวญสำคัญที่สุดไม่ใช่เพียงข้อกฎหมาย หากแต่เป็นความเป็นจริงพื้นฐานประการสำคัญที่สุดที่ว่าหากวุฒิสภาดำเนินการให้ได้มาซึ่งนายกรัฐมนตรีคนใหม่ตามมาตรา 180 วรรคสองประกอบมาตรา 172 กระบวนการนี้ไม่ได้จบอยู่ที่วุฒิสภา หากแต่อยู่ที่สถาบันพระมหากษัตริย์
       
       ถึงแม้จะไม่ใช่การขอพระราชทานนายกรัฐมนตรีที่ไม่มีกรอบรัฐธรรมนูญรองรับและไม่ต้องตามพระราชกระแส แต่ในท่ามกลางความขัดแย้งที่มีประชาชนแตกแยกทางความคิดเป็น 2 ขั้วใหญ่ โดยขั้วหนึ่งปฏิเสธอย่างแข็งกร้าวต่อการกระทำหน้าที่ของวุฒิสภา การนำรายชื่อผู้ที่เหมาะสมจะเป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่ขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อทรงมีพระบรมราชโองการแต่งตั้งในขณะที่เงื่อนไขยังไม่สมบูรณ์พรัอม คือยังไม่มีการเปิดทางยินยอมพรัอมใจลาออกจากรัฐมนตรีทั้ง 25 คนที่ยังคงอยู่ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา 181 และ/หรือการเลือกตั้งทั่วไปยังคงอยู่ในขั้นแทบจะเป็นไปไม่ได้แต่ยังไม่ถึงขั้นเป็นไปไม่ได้ จะเป็นการสร้างความลำบากพระทัยอย่างยิ่งต่อองค์พระประมุขที่จะต้องทรงตัดสิน
       
       กล่าวโดยสรุป แม้โดยหลักการแล้วจะเห็นว่า วุฒิสภาสามารถดำเนินการให้มีนายกรัฐมนตรีคนใหม่ตามมาตรา 180 วรรคสองได้ โดยอาศัยช่องทางตามมาตรา 7 ประกอบมาตรา 3 มาตรา 122 และมาตราอื่น ๆ ก็ตาม แต่คำถามสำคัญคือจะกระทำได้ทันทีหรือไม่ ตัองเลือกระหว่าง 2 คำตอบ คำตอบที่หนึ่ง - ตัองดำเนินการโดยทันที ด้วยเหตุผลที่ไม่อาจปล่อยให้บ้านเมืองเสียหายไปมากกว่านี้ ตัองตัดสินใจวันนี้ ไม่อาจรอไปเรื่อย ๆ อย่างไร้ความหวัง
       
       คำตอบที่สอง - ดำเนินการเมื่อเงื่อนไขสถานการณ์สมบูรณ์ ด้วยเหตุผลที่จะไม่อาจยอมให้เกิดเป็นปัจจัยสร้างความเสียหายต่อสถาบันพระมหากษัตริย์แม้แต่นัอย แม้บ้านเมืองอาจจะเกิดความเสียหายมากขึ้นกว่าจะเกิดเงื่อนไขสถานการณ์สมบูรณ์ แต่เมื่อชั่งน้ำหนักกันแล้ว ความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นต่อสถาบันพระมหากษัตริย์แม้แต่น้อยในสถานการณ์ปัจจุบันอาจจะสร้างความเสียหายอย่างใหญ่หลวงให้แก่ชาติบ้านเมืองในอนาคตอันใกล้มากกว่ามากนัก เงื่อนไขสถานการณ์ที่สมบูรณ์คือ เงื่อนไขที่หนึ่ง - มีการเปิดทางจาก 24 รัฐมนตรีที่อยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อตามมาตรา 181 ยินยอมพรัอมใจลาออก เงื่อนไขที่สอง - หนทางไปสู่การเลือกตั้งทั่วไปเป็นไปไม่ได้โดยสมบูรณ์
       
       การตัดสินใจของสมาชิกวุฒิสภาไม่ใช่เรื่องของความกล้าหาญ หรือความขลาดเขลา ไม่ใช่เรื่องของความรับผิดชอบ หรือไม่รับผิดชอบ หากเป็นเรื่องของการตัดสินใจชั่งน้ำหนักความเสียหายของบ้านเมือง เมื่อได้ไตร่ตรอง และปรึกษาหารือรอบด้านแล้ว เห็นว่าคำตอบใดเป็นสิ่งจำเป็นที่สุดที่ต้องกระทำเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชน ก็ต้องเลือกคำตอบนั้น และต้องเดินหน้าไป โดยอาศัยความสุจริตเป็นที่ตั้ง
       
       หลังการตัดสินใจของวุฒิสภาเมื่อวานนี้ วุฒิสภายังคงเดินหน้าทำงานต่อไป เมื่อเงื่อนไขสถานการณ์สมบูรณ์และ/หรือมีปัจจัยแปรเปลี่ยนมีเงื่อนไขสถานการณ์ใหม่เกิดขึ้น วุฒิสภาต้องตัดสินใจอีกครั้ง
       http://www.isranews....m/29482-ew.html

.........................................................................................................

 

บทความนี้เป็นของผู้จัดการออนไลน์ แต่นำมาลงในสำนักข่าวอิศรา 

 

อ่านจากเหตุและผลของ วุฒิสภา ก็น่าเชื่อว่ามีความจำเป็นที่น่าเห็นใจ ทั้งในแง่กฎหมายและสถาบัน ซึ่งมีความกังวลว่า อาจมีการนำไปใช้

 

ในอนาคตด้วยข้ออ้างว่าเคยมีการกระทำมาก่อน โดยยังหวังว่าพรรคเพื่อไทยจะยอม เสียสละ เพื่อประเทศชาติบ้างแม้จะเป็นความหวัง

 

ที่ริบหรี่ก็ตาม แต่สุดท้ายแล้วเมื่อไม่ได้ผลเชื่อว่า วุฒิสภาก็ต้องยอมตัดสินใจเลือกกระทำสิ่งที่จะให้บ้านเมืองเดินหน้าให้ได้ต่อไป


" จุดเริ่มของการรัฐประหาร 22 พ.ค. 2557 หลังจากรัฐบาลเพื่อไทยได้บริหารประเทศล้มเหลวมาตลอด 2 ปีเศษ มีการทุจริตคอรัปชั่นมากมาย มีการนำพรบ.นิรโทษกรรมมาอนุมัติผ่านสภาฯเพื่อช่วยเหลือ น.ช. ทักษิณ ทำให้มวลมหาประชาชนลุกขึ้นประท้วงต่อต้าน แม้จนกระทั่ง ศาลรัฐธรรมนูญและปปช. ได้ตัดสินและชี้มูลความผิดจนต้องพ้นออกจากตำแหน่งแล้วก็ตาม ทำให้ประเทศชาติต้องหยุดนิ่ง สุดท้ายเมื่อ พลเอก ประยุทธ ผบ.ทบ.ได้เรียกทุกฝ่ายเข้ามาคุยเพื่อหาทางออกแล้ว โดยขอให้ ครม.ที่ยังคงเหลือลาออกเพื่อตั้งนายกฯเพื่อการปฎิรูปประเทศ แต่ไร้ซึ่งการตอบสนองและการเสียสละ ทำให้พลเอกประยุทธ จันทร์โอชา จำเป็นต้องประกาศยึดอำนาจ   "

 

 


#2 JSN

JSN

    เมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 5,004 posts

ตอบ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 23:54

เข้าใจ สว. มากขึ้นครับ ขอบคุณครับ

#3 vee

vee

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 455 posts

ตอบ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 08:54

ไม่ใช่ว่าหาข้ออ้างไปเรื่อยเพื่อยื้อเวลาหรอกหรือ?

โดยเฉพาะอย่างยิ่งสว.สายไอ้ลิ้ม ผมรู้สึกว่ามันแค่หาเรื่องยื้อไปเรื่อยๆมากกว่า



#4 ธีรเดชน้อย

ธีรเดชน้อย

    เมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 5,659 posts

ตอบ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 09:05

ไม่ใช่ว่าหาข้ออ้างไปเรื่อยเพื่อยื้อเวลาหรอกหรือ?

โดยเฉพาะอย่างยิ่งสว.สายไอ้ลิ้ม ผมรู้สึกว่ามันแค่หาเรื่องยื้อไปเรื่อยๆมากกว่า

 

เราไม่รู้หรอกครับว่าความเป็นจริงคืออะไร จากข่าวสารต่างๆที่ออกมามากมาย ทั้งจริงและเท็จ ได้แต่หวังว่า เราจะเชื่อใจคนได้ถูกต้อง

 

แต่เชื่อว่าภายในสัปดาห์นี้ เรื่องนายกฯคนใหม่ต้องจบครับ ถึงแม้ ครม.ง่อยเปลี้ยจะพยายาม ยื้อ แค่ไหนก็ตาม  :)


" จุดเริ่มของการรัฐประหาร 22 พ.ค. 2557 หลังจากรัฐบาลเพื่อไทยได้บริหารประเทศล้มเหลวมาตลอด 2 ปีเศษ มีการทุจริตคอรัปชั่นมากมาย มีการนำพรบ.นิรโทษกรรมมาอนุมัติผ่านสภาฯเพื่อช่วยเหลือ น.ช. ทักษิณ ทำให้มวลมหาประชาชนลุกขึ้นประท้วงต่อต้าน แม้จนกระทั่ง ศาลรัฐธรรมนูญและปปช. ได้ตัดสินและชี้มูลความผิดจนต้องพ้นออกจากตำแหน่งแล้วก็ตาม ทำให้ประเทศชาติต้องหยุดนิ่ง สุดท้ายเมื่อ พลเอก ประยุทธ ผบ.ทบ.ได้เรียกทุกฝ่ายเข้ามาคุยเพื่อหาทางออกแล้ว โดยขอให้ ครม.ที่ยังคงเหลือลาออกเพื่อตั้งนายกฯเพื่อการปฎิรูปประเทศ แต่ไร้ซึ่งการตอบสนองและการเสียสละ ทำให้พลเอกประยุทธ จันทร์โอชา จำเป็นต้องประกาศยึดอำนาจ   "

 

 


#5 Kunnaimong

Kunnaimong

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 701 posts

ตอบ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 09:24

อดทนสู้มาแล้วหลายเดือน ทำใจเย็นๆดูไปอีก 4-5 วัน ถ้ามีอะไรเกิดขึ้นไม่ถูกใจหรือถูกต้องก็ค่อยลงมือ  ช่วงนี้ไม่ควรทำอะไรให้อีกฝ่ายเอามาโจมตีได้จะเหมาะกว่า



#6 blue

blue

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,979 posts

ตอบ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 10:42

ผมว่าเป็นการอ้างที่ดูพิกลอยู่นะ เพราะประเด็นมันไม่น่าจะใช่เหตุผลที่ยกมาอ้าง

ประเด็นมันน่าจะอยู่ที่ว่า สิ่งที่วุฒิจะทำนั้น มันถูกต้องชอบธรรมตามกฎหมายหรือเปล่า

ถ้าคิดว่ามันถูกต้องชอบธรรมตามกฎหมาย แล้วมันจะไปกระทบสถาบันได้อย่างไร

 

ถ้าจะมองในแง่การประท้วงไม่ยอมรับจากฝ่ายสมุนของรัฐบาล แล้วคุณมองฝ่ายที่เขา

ชุมนุมไล่รัฐบาลกันอยู่หรือเปล่า ที่รัฐบาลมันเสนอ พรก เลือกตั้งไปแล้วถูกต่อต้านถูก

ประท้วงน่ะ รัฐบาลมันเคยมองไหมว่าจะกระทบสถาบัน ฯ เพราะฉะนั้น ไม่ว่าคุณจะตัด

สินใจอย่างไรมันก็กระทบทั้งนั้น ประเด็นมันจึงอยู่ที่ว่า สิ่งที่คุณตัดสินใจทำไปนั้น มัน

ชอบธรรมตามกฎหมายหรือเปล่ามากกว่า ถ้าคิดว่าชอบธรรมตามกฎหมายก็ตัดสินใจเลย



#7 55555

55555

    มหาเมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 13,795 posts

ตอบ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 10:44

ความจริงวันที่แถลงผมก็ยังเชื่อว่า สว.ยังมีความปรารถนาดีอยู่

 

ต่างคนต่างทำงาน แม้ยืนอยู่คนละจุด กับ กปปส. แต่ยังคงเป้าหมายเดียวกันคือการปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง

 

สว. มีตำแหน่ง มีหัวโขน บางทีก็ทำอะไรไม่ได้แบบสุด ๆ 

 

ผมฟังคำปราศรัยลุงกำนันตอนค่ำของวันแถลง ผมว่าแกเข้าใจน๊ะ

 

แต่ในมุมของ กปปส. ลุงกำนัน แกนอนกลางถนน  ก็ต้องอยากให้มันเร็ว เป็นเรื่องปรกติ

 

อย่าว่าแต่ มวลมหาประชาชนเลย...ผมฟังสัมภาษณ์วิทยุ ขนาด สว.ด้วยกันบางคนยังหงุดหงิดเลย

 

ต่างคนต่างทำ ผมว่าดีแล้วครับ.....

 

ส่วนผมไม่มีหัวโขนเป็นแค่ประชาชนธรรมดา ผมไปกับลุงแกดีกว่า

 

:D 


Edited by 55555, 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 10:49.





ผู้ใช้ 1 ท่านกำลังอ่านกระทู้นี้

สมาชิก 0 ท่าน, ผู้เยี่ยมชมทั่วไป 1 ท่าน และไม่เปิดเผยตัวตน 0 ท่าน