การปฎิรูปที่จะเกิดขึ้นนี้ิ คงจะไม่ยอมให้พรรคการเมือง มาวางนโยบายประชานิยม หาเสียงหลอกลวงประชาชนกันได้ง่ายๆ อีกแล้ว
คงต้องมีกฎหมายเพื่อควบคุมเรื่องนี้ แต่ปัญหาโลกแตกที่ตามมาก็คือ
1. ประชานิยม คืออะไร? นโยบายชนิดใดจึงเรียกว่าเป็นประชานิยม หากนิยามไม่ได้ แล้ว จะวางกฎเกณฑ์กันอย่างไร?
2. ควรให้มีประชานิยมหรือไม่? หากห้ามมีประชานิยมโดยเด็ดขาด อาจมีข้อโต้แย้งว่าด้วยเรื่องสิทธิเสรีภาพ ของพรรคการเมืองได้ อีกทั้งการจำกัดเรื่องนโยบายประชานิยมมากเกินไป อาจก่อปัญหา ในเรื่องอิสระของรัฐบาลในการดำเนินนโยบายได้ ยกตัวอย่างเช่น นโยบายคืนเงินประกันสังคม 2000 ของพรรค ปชป. นี่ล่ะ หากถือว่าเป็นประชานิยม ทางเลือกในการกระตุ้นเศรษฐกิจจะหายไป 1 อย่างทันที หรือแม้แต่ นโยบายประกันราคา ก็ทำไม่ได้อีกเช่นกัน อีกทั้งการห้ามเด็ดขาดในเรื่องประชานิยม อาจถูกโจมตีว่าเพื่อทำลายคู่แข่งทางการเมืองอย่างพรรคเพื่อไทย มากกว่าทำเพื่อชาติ นำไปสู่การไม่ยอมรับของกลุ่มคนเสื้อแดงได้
3. กฎเกณฑ์ในการควบคุม และบทลงโทษ ควรเป็นเช่นไร? จึงจะมีประสิทธิภาพ
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ข้อเสนอ การปฎิรูปว่าด้วยเรื่อง นโยบายประชานิยม
1. กระจายอำนาจออกจากส่วนกลาง
2. ปฎิรูปตำรวจสอดคล้องกับการกระจายอำนาจ (ทหารด้วยมั๊ย??)
.......................................................................................................................................
3. กำหนดนิยาม ของนโยบายประชานิยม
4. อนุญาติให้พรรคการเมืองใช้นโยบายประชานิยมได้ แต่ต้องกำหนดหลักเกณฑ์ที่ชัดเจน งบประมาณที่ใช้โดยประมาณ ต่อ หน่วยงาน....??? เช่น กกต. ปปช. ????
5. กำหนดหลักเกณฑ์ เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าชื่อ.......คน เพื่อยื่นฟ้อง รัฐบาล องค์กรณ์ปกครองส่วนท้องถิ่นและพรรคการเมือง ที่ออกนโยบายประชานิยมนั้นๆ หากไม่ทำตามสัญญา(ดีแต่พูดแบบ ปชป.) หรือ ทำความเสียหายและหลอกลวงประชาชน (ประชานิยมเส๊งเครง เจ๊งกระจุยของเพื่อไทย)
5.1 พรรคการเมืองส่งรายละเอียดของนโยบาย รวมถึงประมาณการ งบประมาณที่จะใช้ ต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กกต. ปปช.
5.2 เมื่อเป็นรัฐบาลครบ 3 ปี ประชาชนมีสิทธิยื่นฟ้องได้โดย ผู้มีสิทธิเลือกตั้งเข้าชื่อกัน.....คน ฟ้องพรรคการเมืองได้
5.3 ศาลจะรับฟ้องเมื่่อ
5.3.1 เป็นนโยบายประชานิยม
5.3.2 ตั้งคณะกรรมการไต่สวน พบว่า รัฐบาล/องค์กรท้องถิ่น จงใจละเลย ไม่ปฎิบัติตามคำสัญญาที่ให้ไว้ต่อประชาชน โดยไม่มีเหตุอันสมควร หรือตั้งคณะกรรมการไต่สวน พบว่า รัฐบาล/องค์กรท้องถิ่น บกพร่องต่อหน้าที่ ใช้งบประมาณเกิน หรือสร้างความเสียหาย เกินกว่าที่แจ้งไว้กับ ...... กกต. หรือ ปปช. ??? โดยไม่มีเหตุอันสมควร และเข้าหลักเกณฑ์ กำหนดบทลงโทษ
5.3.3 มีประชาชนเข้าชื่อครบตามเงี่อนไข
6. บทลงโทษ
6.1 กรณี ละเลยไม่ทำตามสัญญากับประชาชน นายก รัฐมนตรี หรือผู้ว่า ที่เกี่ยวข้องกับโครงการ และอยู่ในพรรคการเมืองที่ออกประชานิยมนั้นๆ จะโดนตัดสิทธิทางการเมือง 2 ปี
6.2 กรณีหลอกลวง และ สร้างความเสียหาย นายก รัฐมนตรี หรือผู้ว่า ที่เกี่ยวข้องกับโครงการ และอยู่ในพรรคการเมืองที่ออกประชานิยมนั้นๆ จะโดนตัดสิทธิทางการเมือง 2 ปี และพรรคการเมืองที่ออกประชานิยม ต้องรับผิดชอบ ค่าเสียหายทางเพ่ง อัน เนื่องจากนโยบายนั้น โดยถือว่าเป็นความรับผิดชอบร่วมกันของ สมาชิกพรรคทั้งหมด
7. ผู้เสียหายโดยตรง ฟ้องเรียกเงินคืนจากรัฐบาล/องค์กรท้องถิ่นได้ตามปกติ แต่ถ้าผิดตาม 6.2 ผู้ชดใช้คือพรรคการเมือง ไม่ใช่รัฐบาลและภาษีประชาชน
8. กรณีทุจริต ว่าไปตาม กฎหมายปราบปราบการทุจริต ตามปกติ ผู้ทุจริตจะโดนโทษทางอาญาและทางเพ่ง ไม่เกี่ยวกับพรรคการเมือง
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
เชิญเสวนากับตามสะดวกครับ
Edited by annykun, 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 15:22.