รับได้มั้ย..มี สส.ภาคละ 100 คน(แบบแบ่งเขต50 แบบบช.ร่ายชื่อ50) แบ่งเป็น 5 ภาค
#2
ตอบ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 23:41
#3
ตอบ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 23:47
เยอะไปครับ เปลืองเงินภาษี เลือกตั้งเอาแค่จังหวัดละคน พอ
ประหยัดงบประมาณเยอะเลย
- คนสับปรับ, Lincoln16 and ธีรเดชน้อย like this
#4
ตอบ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 23:52
POPULAR
เพิ่งอ่านข่าวมา อินเดีย เลือกตั้งใหญ่ สส ทั้งหมดหากจำไ่ม่ผิด ไม่เกิน 600 คน ทั้งที่ประชากรเค้า มากกว่า 1000 ล้านคน
ไทย สส 480 คน กับประชากรไม่เกิน 70 ล้านคน ผมว่าเยอะเกินไป
ต้องลด จำนวน สส ลง เพราะไหน ๆ ก็จะเน้นท้องถิ่น ใครอยากบริหารท้องถิ่น ไปลง อบต อบจ สจ ซะ จะได้สิ้นเรื่อง จัดระบบตรวจสอบดีๆ
กับพวกท้องถิ่น
- Abraxas, Iona, สมชัย พิชัย and 20 others like this
#5
ตอบ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 23:55
แต่ในหลักการคือ ให้ทุกภาคมีตัวแทน เท่าๆกัน โดยไม่อิงจากจำนวนประชากร
เพราะจริงจากภูมิศาสตร์และสัวัฒนธรรม ภาษาถิ่น ประเทศเราเกิดจากการรวมตัวของหลายกลุ่มคน..
ในเมื่อปริมาณทิใช่คำตอบจองคุณภาพ มองเป็นภาคนิยม แล้วส่งตัวแทนเข้ามาดูแลประเทศ
ก็ควรจะมีตัวแทนแต่บะภาคเท่าๆดัน...(อ้้เมริกา คะแนนคณะเบือกตั้งแต่ละรัฐยังไม่ได้ขึ้นกับตำนวนประชากรที่มีแต่ขึ้นกับประวัติศาสตร)
#6
ตอบ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 00:55
เราต่างก็รู้กันดีว่าประชากรที่ด้อยการศึกษามีจำนวนมาก
ยิ่งคุณภาพชีวิตมีน้อยเท่าไหร่ แนวโน้มของบุตรในครอบครัวก็มากขึ้น
ดูง่ายๆ ในกรุงเทพก็พอ ขณะที่คนทั่วไปนิยมมีลูกแค่ 2 คน
แต่ตามชุมชนแออัด แต่ละครอบครัวอาจมีตั้งแต่ 3-4 คน
แถมส่วนหนึ่งยังเกิดจากแม่ที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ
หากจะนับ สส. จากจำนวนทั้งหมดของประชากร
ก็ไม่แปลกใจที่จะได้แต่ สส. ไม่มีคุณภาพ เพราะเสียงที่มีส่วนมากมันด้อยคุณภาพ
ดูเอาเถอะ โดนเงินสามร้อยบาทซื้อได้ง่ายเหลือเกิน
ทั้งที่เด็กมัธยมยังรู้เลยว่าจู่ๆ ขึ้นค่าแรง สินค้าก็ต้องแพงขึ้น
อุปสงค์อุปทานมันผูกติดกัน (ดิฉันจำได้ว่าเรื่องนี้มีสอนในชั้น ม. 3 นะคะ ถ้าผิดก็ขออภัย มันยี่สิบกว่าปีแล้ว)
#8
ตอบ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 07:40
ให้จังหวัดละคน และต้องให้เสียงเกินกึ่งหนึ่งของคนที่มีสิทธิเลือกตั้ง
การซื้อเสียงละลดลงไป
- คนไทยคนหนึ่ง, คนปลูกต้นไม้, แมวนอนหวด and 1 other like this
#9
ตอบ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 07:51
ขอตอบแหกไปหน่อยเหอะ
คือ จะเลือกยังงัยก็แร้วแต่เหอะ แต่ขอปฏิรูปคุณภาพคนก่อนได้ม้า ก่อนไปเลือกตั้งอ่า
ถ้าไม่ปฏิรูปคุณภาพคน ปฏิรูปแต่การเมือง เลือกไปยังงัยก็เท่านั้น
อีกไม่นานก็เข้าอีหรอบเดิม
แร้วการปฏิรูปการเมืองครั้งนี้จะล้มเหลว
ข้าจักล้มล้าง ระบอบทักษิณ ให้หมดสิ้นไปจากแผ่นดินไทย
#10
ตอบ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 07:57
ให้มี สส.จังหวัดละ2คน
ทุกคนที่สมัครต้องมีความรู้เกี่ยวกับหน้าที่ของ สส.
และคุณสมบัติเบื้องต้น ด้วยการสอบ
ต้องไม่เป็นผู้ต้องห้ามสมัครตามกฎหมายเบื้องต้น
ส่วนรัฐมนตรี กระทรวงต่างๆต้องมีความรู้ และวุฒิความรู้เกี่ยวกับอาชีพ
- Bookmarks, ประชาไทย, คนปลูกต้นไม้ and 5 others like this
#11
ตอบ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 08:09
เขตนึง เลือก สส ได้ 20 คน (ตัวเลขสมมุติประมาณเอา)
หมายความว่า ทุกคนในเขต ต้องกาเลือกทีละ 20
จัดเขตตามจำนวนประชากร
และผู้สมัครไม่ต้องสังกัดพรรค
เพื่อปัองกันให้การซื้อเสียงต้องใช้เงินมากจนไม่ไหว
รัฐมนตรี ต้องเคยผ่านงานหรือสำเร็จการศึกษาเฉพาะด้าน
ยกเลิกเงินช่วยเหลือจาก กกต
เว้นแต่ผู้สมัครที่ไม่สังกัดพรรค เพื่อสนับสนุนให้คนทั่วไปกล้าสมัคร
- คนไทยคนหนึ่ง, osamu, แมวนอนหวด and 1 other like this
ข อ ใ ห้ โ ช ค ดี ต่ อ ค ว า ม เ ชื่ อ ค รั บ
เราอยู่ด้วยกัน ยืนข้างกัน เดินไปด้วยกัน ด้วยเพราะเรามีมุมมองและเป้าหมายไปในทิศทางเดียวกัน
จนกว่าจะถึงวันที่เราพบว่า เรามีจุดหมายปลายทางคนละตำแหน่งกัน
#12
ตอบ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 08:18
จัดเป็นเขตใหญ่ ดีมั้ยครับ
เขตนึง เลือก สส ได้ 20 คน (ตัวเลขสมมุติประมาณเอา)
หมายความว่า ทุกคนในเขต ต้องกาเลือกทีละ 20
จัดเขตตามจำนวนประชากร
และผู้สมัครไม่ต้องสังกัดพรรค
เพื่อปัองกันให้การซื้อเสียงต้องใช้เงินมากจนไม่ไหว
รัฐมนตรี ต้องเคยผ่านงานหรือสำเร็จการศึกษาเฉพาะด้าน
ยกเลิกเงินช่วยเหลือจาก กกต
เว้นแต่ผู้สมัครที่ไม่สังกัดพรรค เพื่อสนับสนุนให้คนทั่วไปกล้าสมัคร
เมื่อก่อนก็มีนะครับ สส.แบบไม่สังกัดพรรคเนีย
ผลปรากฏว่าขายตัวยิ่งกว่าโสเภณีซะอีก
จะมีการรวมกลุ่มรวมก๊วนกันต่อรองตำแหน่งอีกต่างหาก
ผมว่าหาวิธีป้องกันการซื้อเสียงดีกว่า เอาแบบเขตใหญ่ ๆ ไปเลย
แล้วก็เลิกวิธีกากบาท ใช้แบบเขียนชื่อผู้สมัครเอาดีกว่า
ถ้าเขียนชื่อยังไม่ถูกก็ให้เป็นบัตรเสียไปซะจะดีกว่า
#13
ตอบ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 08:39
ในเรื่องของจำนวน จะมี 100 200 หรือ 500 ในทาง คณิตศาสตร์การเมือง ไม่มีความแตกต่าง เพราะ ไอ้ฝ่ายทีมีเยอะกว่า มันก็ ยกมือชนะอยู่ดี
แต่เรา เสียเงินให้ แม่ม อีก เดือนละ แสนต่อคน ไม่นับ บินฟรี และ สวัสดิการ สารพัด
เรื่องสัดส่วน ผมไม่เข้าใจว่า ในยุค 3G นี้แล้ว ทำไมเรายังใช้หลัก ตัดเสียงคนส่วนน้อยอยู่อีก
ตัวอย่าง จังหวัด ที่ พท ชนะ คนที่เลือก ปชป ถือว่าไม่มีตัวแทน เพราะ เค้าไม้ได้เลือก ไม่ว่าจะกี่หมื่นเสียง หายวับไปกับตา
จังหวัดไหน มี ควาย เกิน คนแต่ หนึ่งตัว มันชนะไปเลย
ทำไมไม่ให้ ทุกคนที่ได้เสียเกิน 20000 เสียง เป็น สส ไปให้หมด แล้ว ก็ เอา เสียงที่ได้ไปโหวต ในสภา เหมือน บริษัทจำกัด
แต่นี้เสียงของทุกคนก็มีค่า ไม่ต้อง พึงระบบ ปาตี้ลิสต์ นายทุน พรรค จังหวัดนึงก็ เขตเดียวเลย ได้มากี่คน ก็ไม่เกี่ยง
จำนวน สส จะ เหลือไม่กี่คน ถ้าเราสามารถ เซทเงินเดือน 5 บาทต่อเสียงที่มีได้ สส ก็จะมีเงินมากพอไม่ต้อง พึ่งพรรค
การเป็นตัวของตัวเอง ที่เป็นหลักสำคัญของระบบนี้ ก็จะเกิด ไม่ใช้ นายทุนพรรคบอกซ้าย กรูซ้าย ไม่ต้องคิด
- Lucas Leiva Benitez Rodger, แมวนอนหวด and SeraphUriel like this
#14
ตอบ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 08:54
น่าจะทำระบบ/ หาวิธีคัดเลือกสส. เพื่อให้คนดีเข้าสภา
และถ้าเข้าสภาแล้ว มันเลว ..ก็กำจัดมันให้พ้นเส้นทางการเมืองไปเลย
ลงโทษรุนแรงเฉียบขาด เพื่อปรามคนชั่วที่คิดจะเล่นการเมือง
ประโยชน์สูงสุดของประชาชน คือกฏหมายสูงสุดของประเทศ ...วิชา มหาคุณ
#15
ตอบ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 09:00
ไม่ว่าจะเสนอมาแบบไหน
ถ้าเรายังมองว่านักการเมืองอย่างเดียว หรือ คนที่มีเงินอย่างเดียวที่จะได้เข้ามาสู่ระบบนี้ ปฏิรูปไปก็เหมือนเราเสียเหงื่่่่อไปฟรี ๆ ครับ
ผมจะตั้งโจทย์ไว้แค่ว่า....
ทำอย่างไรอย่าให้การเมือง คือเรื่องของนักการเมือง แต่ต้อง..เป็นเรื่องของประชาชน ที่ต้องมีมากกว่า การลงคะแนนในวันเลือกตั้ง
- พ่อไอ้ร้อยล็อคอิน, Gop, Lucas Leiva Benitez Rodger and 4 others like this
คนที่อยากเลือกตั้ง ก็ไม่ต่างอะไรกับ คนที่ต้องการมี เพศสัมพันธ์ ????? ต่อให้เค้ารู้ว่าเมื่อเลือกไปก็เกิดปัญหา
ซึ่งก็ไม่ต่างอะไรกับกับการที่มีเพศสัมพันธ์ทั้ง ๆ ที่รู้ว่า กำลัง อึ๊-บ ปี๊ กับคนที่เป็นเอดส์
#16
ตอบ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 09:02
เปลี่ยนเป็น 100% ปาร์ตี้ลีสต์ ก็ดี
#17
ตอบ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 09:13
แหม่ อยากจะจัดสอบเหลือเกิน จัดสอบแบบนี้แทนไปก่อน
#18
ตอบ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 09:18
ยกเลิกปาร์ตี้ลิสต์ เพื่อไม่ให้มีพวกห้อยโหน ตัดอำนาจนายใหญ่
ใครอยากเป็น สส ต้องเข้าสนามเอาเอง ไม่ต้องมี "พวกมีวันนี้เพราะพี่ให้"
อำนาจของนายใหญ่จะลดน้อยลง ถ้ายังมีปาร์ตี้ลิสต์ เพื่อไทยชนะเลือกตั้งตลอดชาติ
เลิก สว ด้วย
ปรับกติกาการเลือกตั้งให้ไม่มีก่รซื้อเสียง
เลือกเขตใหญ่ดีกว่าซื้อยาก(อภิสิทธิ์ โปรเลือกเขตเล็กทำให้แพ้ เพื่อไทยเพราะซื้อได้ ยัง งง แก โง่ หรือ ซื้อบื้อ กันแน่ )
Edited by visitna, 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 09:20.
#19
ตอบ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 09:19
ผมเกรงว่า คงจะถูกกล่าวหาว่าไม่เป็นประชาธิปไตยนะครับ...เพราะ การเลือกตั้ง สส ควรจะเชื่อมโยงกับจำนวนประชากรผู้มีสิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้ง...1 สิทธิ์ 1 เสียง แต่จำนวน สส น่าจะลดลงมาได้ อย่างสหรัฐ มีผู้มีสิทธิ์ออกเสียง 212 ล้านคน แต่มี สส แค่ 440 คน (ประมาณ 500,000 เสียงต่อ 1 สส) บ้านเรามีผู้มีสิทธิ์ ออกเสียง 40 ล้าน ถ้าเราใช้อัตราส่วน ผู้มีสิทธิ์ 200,000 เสียง ต่อ 1 สส เราก็มี สส แค่ 200 กว่าคนเอง ประหยัดภาษีไปได้เยอะ คุณภาพ สส น่าจะดีขึ้น พวกที่มายกสนตีนใส่กันคงหายไป...
ส่วนการเลือกตั้ง สว ไปเชื่อมโยงกับภาค ตามที่ท่านเจ้าของกระทู้เสนอได้ แต่จำนวน สว ไม่จำเป็นของมีเยอะขนาดนั้น...แต่ทำหน้าที่ไม่ให้ภาคใดภาคหนึ่งเอาเปรียบกัน...การจัดสรรงบมาณและทรัพยากร ต้องมีเหตุผล...ไม่ใช่ว่า ถ้าไม่เลือกพวกตู พวกเองก็อย่าได้หวังที่จะได้อะไรเลย....ประเทศอเมริกา ใหญ่กว่าเราเยอะ ยังมี สว แค่ 100 คน บ้านเรา เอา สว 100 คนก็พอครับ ภาค ภาคละ 20 คน กทม 20 คน ลดค่าเลี้ยงดูพวกนักการเมืองได้เยอะ...
โรงเรียนที่รับนักเรียนน้อย สอบเข้าลำบาก มักได้นักเรียนดี...เหมือนกันครับ ถ้าการเป็น ผู้แทน มันยาก ต้องเอาชนะใจคนจำนวนมาก เราก็น่าจะได้คนที่มีคุณภาพ มาเป็นตัวแทนของประชาชนที่แท้จริง....ถ้าการเป็น สส หรือ สว มันยากเย็นเสียเหลือเกิน คงจะมีแต่คนที่ตั้งใจรับใช้ประชาชนเข้ามาทำงาน...
#20
ตอบ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 09:47
ผมคิดว่า เราควรจะคิดนอกกรอบกันบ้าง ปัญหาของเมืองไทยตอนนี้คือคนที่ไปเลือก ไม่ใช่นักการเมือง เพราะฉนั้น จะแบ่งเขต กำหนดจำนวน สส อย่างไง มันก็ออกมาเหมือนเดิม เราจะได้นักการเมืองที่สามารถซื้อได้ด้วยเงินอยู่ดี
คนไทยส่วนใหญ่ยังอยู่ในวังวนของระบบอุปถัมภ์ และการเลือกตั้งก็ไปใช้เขตภูมิศาสตร์ทับซ้อนกับเขตอำนาจตามธรรมชาติของระบบอุปถัมภ์ นั่นทำให้คนที่มีอำนาจในระบบอุปถัมภ์สามารถมีอิธิพลเหนือระบบเลือกตั้ง (ระบบการได้มาซึ่งอำนาจทางการเมือง) ชาวบ้านที่อยู่ในระบบอุปถัมภ์เหล่านั้น เค้าไม่มีแนวคิดเรื่องประชาธิปไตยหรือทางการเมืองใดๆ มีแต่จะถูกใช้เป็นเครื่องมือในการได้มาซึ่งอำนาจ ถ้าต้องการปฏิรูป ต้องตัดระบบอุปถัมภ์ออกจากกระบวนการได้มาซึ่งอำนาจทางการเมือง ให้เวลากับชาวบ้าน ได้ทำมาหากิน ยกระดับความเป็นอยู่ ยกระดับการศึกษา จนเป็นชนชั้นกลาง ตอนนั้นประชาธิปไตยจึงจะเกิด
ที่ว่านอกกรอบของผม ก็คือ เราไม่ควรมุ่งตรงไปที่การสร้างประชาธิปไตยในเวลาไม่กี่เดือน เพราะเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ ที่ผ่านมาล้มเหลวตลอดเพราะคิดว่าประชาธิปไตยสร้างได้ด้วยการเขียนตัวอักษรลงบนรัฐธรรมนูญ แต่เราควรสร้างระบบเปลี่ยนผ่านซึ่งจะเป็นระบบที่จะไปสร้างประชาธิปไตยอีกทีหนึ่ง เป็นระบบชั่วคราวที่มีความเป็นนิติรัฐ มีการตรวจสอบ ถ่วงดุลย์ และสามารถรับประกันได้ว่า ทุกๆวัน ที่ผ่านไป เราจะเข้าใกล้ความเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น
ผมเสนอว่่า ในระบบเปลี่ยนผ่านนี้ สภาผู้แทนควรมาจาก "ตัวแทนโดยธรรมชาติ" ของคนไทย ทุกๆสังคมเมื่อรวมตัวกันได้ซักพักหนึ่งจะมีการสร้างตัวแทนโดยธรรมชาติในด้านต่างๆ ซึ่งตัวแทนเหล่านี้เป็นที่ไว้วางใจของคนส่วนใหญ่อยู่แล้ว เช่น ตัวแทนด้านการศึกษา ก็จะเป็นมหาวิทยลัยทั้งหลาย เวลารัฐบาลต้องการศึกษาวิจัยอะไร มหาวิทยลัยเหล่านี้ก็จะได้รับความไว้วางใจจากคนไทย ตัวแทนด้านวิศวกรรม ก็คือ สมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย เวลาเกิดประเด็นปัญหาด้านวิศวกรรม สะพานยังใช้ได้มั๊ย ตึกจะพังมั๊ย เราจะวางใจเมื่อมีวิศวกรจากสถาบันนี้เข้าไปตรวจสอบ เวลาเราส่งนักกีฬาไปแข่งโอลิมปิก นักกีฬาเหล่านี้เป็นตัวแทนของประเทศ เราเลือกตั้งนักกีฬากันหรือเปล่า? เปล่า เราให้สมาคมกีฬาต่างๆคัดเลือกให้ เราไว้วางใจสมาคมเหล่านั้น เรามีตัวแทนด้านอื่นๆอีกมากมายนับไม่ถ้วน สภาทนายความ สภาวิชาชีพต่างๆ NGO ศาล สมาคมธุรกิจ หอการค้า มหาวิทยาลัย โรงพยาบาล ให้สถาบันเหล่านี้เป็นผู้เลือกผู้ที่จะมาทำหน้าที่นิติบัญญัติในระบบเปลี่ยนผ่านซิ
ในขณะเดียวกัน กระจายอำนาจ ให้ประชาชนได้เลือก สภา และผู้บริหารท้องถิ่นเอง บริหารงบประมาณกันเอง ตรงส่วนนี้จะเป็นเหมือนแบบฝึกหัดให้ประชาชนได้เรียนรู้ประชาธิปไตย เพราะ มันจะเห็นกันจะๆ ว่า สะพาน โรงเรียน โรงสี มันจะหายไป ถ้าเค้าเลือกคนโกง เค้าจะเริ่มเห็นคุณค่าของระบบตรวจสอบถ่วงดุลย์ เค้าจะเห็นว่าจังหวัดข้างเคียงเค้าพัฒนาไปกว่าเค้า เพราะอะไร เมื่อเป็นเช่นนี้ไปเรื่อยๆ ซักวันประชาชนทั้งประเทศก็จะพร้อมที่จะเป็นผู้เลือกสภานิติบัญญัติเอง
ขอฝากไว้เป็นแนวคิดหนึ่งก็แล้วกันครับ
Edited by สายน้ำเชี่ยว, 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 10:05.
#21
ตอบ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 10:15
ส.ส. แบ่งเป็นสัดส่วน 200 คน. และ ส.ส.เขต 200-300 คนโดยแบ่งเป็นเขตใหญ่ 10 เขต(ภาค) โดยจำนวนส.ส.ในแต่ละเขตขึ้นกับจำนวนประชากรในเขตนั้นๆ
ส.ส. ทำหน้าที่ออกกฏหมาย อภิปรายนายกและรัฐมนตรี. และจะพ้นสภาพเมื่อแพ้มติในสภา 3 ใน 5
สว. มาจากแต่ตั้ง 74 เลือกตั้ง 76 กลั่นกรองกฏหมายถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
#22
ตอบ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 10:42
เห็นด้วยครับ ให้ทุกภาค มี สส จำนวนเท่ากัน และถ้า สส อ้างว่า ดูแลคนเยอะ ก็แบ่งงานให้ระดับย่อยลงไปทำอีกที ไม่งั้นเราให้แต่ภาคอีสาน เหนือ เป็นคนกำหนดผู้นำประเทศตลอด มันไม่ยุติธรรม
#23
ตอบ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 11:32
เห็นด้วยกับคุณสายน้ำเชี่ยวครับ ถ้าอยากได้ผู้แทนที่ดี ก็ต้องทำให้คนเลือกดีเสียก่อน
ทุกวันนี้ปัญหามันอยู่ที่คนเลือกส่วนใหญ่นั้นยังพึ่งนักการเมืองอยู่ ทำให้เกิดการเลือกตั้งแบบซ้ายหันขวาหันได้ ผมคิดเรื่องนี้มาซักพักนึงแล้ว ผมมองว่าถึงเวลาแล้วที่ต้องกระจายความเจริญออกไปยังภูมิภาคต่างๆแบบจริงจัง ให้เกิดเขตเศรษฐกิจขนาดใหญ่ๆขึ้นทุกภาค แล้วความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจนี่แหละครับจะทำให้ประชาชนเข้มแข็ง และมองนักการเมืองเป็นผู้รับใช้ประชาชน ไม่ใช่คนที่ตนเองต้องเลือก ไม่เช่นนั้นชีวิตจะไม่มั่นคงอย่างเช่นทุกวันนี้
หลักฐานไม่เคยโกหก (Gilbert Grissom C.S.I.)<p>Beneath this mask there is more than flesh. Beneath this mask there is an idea, Mr. Creedy, and ideas are bulletproof.
#24
ตอบ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 11:39
ผมอยากได้แบบนี้ครับ
แบบแบ่งเขตจังหวัดละคน 77 จังหวัด = 77 คน(ไม่จำเป็นต้องสังกัดพรรคการเมืองก็ได้)
แบบบัญชี่รายชื่อ สามเท่าของแบบแบ่งเขต 77x3=231 (เมื่อลาออกจากพรรค สิทธิความเป็น สส. ก็ขาดทันที่)
รวม 308 คน
#25
ตอบ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 11:49
แต่ต้องใช้เวลานานมาก แล้วในระยะสั้นถึงระยะกลางล่ะคับ
ถ้าเรายอมรับรวมกันว่าคุณภาพผู้เลือกของแต่บะพื้นที่ไม่เท่ากันและบางพื้นที่คุณภาพยังต้ำมาก
ถ้าระนะสั้น สส.ยังยึดโยงกับ จำนวน ประชาการ หรือจำนวนจีังหวัด..
การซื้อยกบางภาคบางจังหวัด ที่มี จำนวน สส เยอะกว่าที่อื่น ก้จะเกิดขึ้นอีก...
ที่เสนอนี่อาจเป้นระยะสันตับ 15 ปี หลังจากนั้นจะมาเลือกแบบนึดโยงกับตำนวน ประชากรก็ไม่เสียหาย..
ก่อนอื่นต้องยอมรับ บริบทจริงๆของแต่ล่ะภาคตามความจริงในปัจจุบันนะคับ
#26
ตอบ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 13:08
ขอต่อนิดนึงเรื่อง สัดส่วน
ทำไมไม่มีใคร สงสัยกันบ้างว่า ตามทะเบียน กรุงเทพ 5 ล้านคน มี สว .... เท่ากับจังหวัดระนอง ที่มีประชากร 170K คน
ดังนั้น เวลายกมือ เลือก องค์กรอิสระ ทั้งสองคน มี 1 เสียงเท่ากัน
แสดงว่า เสียงคน ระนอง 1 คน มีค่าเท่ากับเสียงคนกรุงเทพ ประมาณ 30 คน
ในการ ลงมติต่างๆ ของ สว บ้าไปแล้ว
ผมว่าไอ้พวก นักวิชาเกิน ยิ่งร่าง รธณ ยิ่งเลอะเทอะ หลักง่ายๆ แค่ ให้ แต่ละคน มี เสียงเท่ากัน เพื่อมีส่วนร่วมอย่างเท่าๆ
กันในการปกครอง มันยังทำไม่ได้
#27
ตอบ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 13:11
จังหวัดไหนมีส.ส.เท่าไหร่ก็ ให้คงไว้เช่นนั้น
เช่น ที่ยะลา
มีส.ส.ได่สามคนก็ให้มีได้สามคนเหมือนเดิม
อต่ให้เป็นเขตใหญ่ เขตเดียว ปชช.เลือกได้1เสียง เอาคะแนนที่1-3เป็น ส.ส. ยิ่ง จ.ไหน ส.ส.เยอะ ซื้อเสียงลำบาก แบ้วการผูกขาดจะน้อยลงครับ
#28
ตอบ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 13:28
ที่สหรัฐ รัฐไวโอมิ่ง (Wyoming) มีประชากร 582,000 คน มีสิทธิ์เลือก ส.ว. ได้ 2 คน เท่ากับ รัฐแคลิฟอเนีย ที่มีประชาชน 38 ล้านคน...
เพื่อป้องกันไม่ให้เกิด เผด็จการเสียงข้างมากในสภา...ไม่เลอะเทอะ และ ไม่ผิดหลักประชาธิปไตยนะครับ เพราะ สหรัฐอเมริกา ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย...แต่การเลือก สส ควรจะอิงจำนวนประชากร ตามหลัก 1 สิทธิ์ 1 เสียง...
#30
ตอบ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 14:24
จำนวนไม่ต้องมาก จังหวัดละคน?
ยกเลิกปาร์ตี้ลิสต์ เพื่อไม่ให้มีพวกห้อยโหน ตัดอำนาจนายใหญ่
ใครอยากเป็น สส ต้องเข้าสนามเอาเอง ไม่ต้องมี "พวกมีวันนี้เพราะพี่ให้"
อำนาจของนายใหญ่จะลดน้อยลง ถ้ายังมีปาร์ตี้ลิสต์ เพื่อไทยชนะเลือกตั้งตลอดชาติ
เลิก สว ด้วย
ปรับกติกาการเลือกตั้งให้ไม่มีก่รซื้อเสียง
เลือกเขตใหญ่ดีกว่าซื้อยาก(อภิสิทธิ์ โปรเลือกเขตเล็กทำให้แพ้ เพื่อไทยเพราะซื้อได้ ยัง งง แก โง่ หรือ ซื้อบื้อ กันแน่ )
เห็นด้วย ยกเลิกปาร์ตี้ลิสซะ ดูซิว่า เสาไฟฟ้าจะได้เป็นนายกอีกมั้ย
ยกเลิก สว ด้วยเปลืองภาษีเปล่าๆ ไม่เห็นจะทำอะไรได้
Edited by spurs021, 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 14:28.
คงลืมตัวกันแล้วว่าโลกนี้ไม่มีอะไรยั่งยืน ไม่มีใครอยู่ค้ำฟ้า แค่สมบัติผลัดกันชมทั้งนั้น
#31
ตอบ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 14:49
แบ่งเขตเป็นภาคหรือจะแบ่งเป็นClusterเลยดีไหมครับ จำนวนสสแต่ละภาคก็ตามจำนวนประชากร
พื้นที่กว้างซื้อเสียงยากขึ้น 300คนก็เยอะแล้ว เพราะยังจะมีวุฒือีก
#32
ตอบ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 14:52
ไม่มีใครพูดถึง คนที่จะมาให้เลือกเลย(ผู้ลงสมัคร)
งั้นขอนิดนุงนะขอรับ
ผมรุสึกอัดอั้นนะ ที่ต้องมานั่งเลือก..
ผู้มีอิทธิพล ท้องถิ่น เข้าไปนั่งในสภา .
ปัญหาก็เริ่มตามมา โดยเฉพาะปาร์ตี้ลิสต์ หง่ะ
เลยไปได้ ตู่เต้น เหวง
ปชต.บางครั้งมันก็ข่มขืนใจกัน เหมือนกันนะครับ...
#33
ตอบ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 14:53
ให้จังหวัดละคน และต้องให้เสียงเกินกึ่งหนึ่งของคนที่มีสิทธิเลือกตั้ง
การซื้อเสียงละลดลงไป
ถ้าคะแนนไม่ถึงครึ่ง ก็ให้คนที่มีคะแนนที่หนึ่งกับที่สองมาโหวตรอบสอง
ไอเดียดีครับ
#34
ตอบ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 16:19
จะกี่คนก็ได้ แต่การจ่ายเงินเดือนเอาแบบนับเข้าประชุม พร้อมลงชื่อเช้าบ่ายเย็น อิอิ
#35
ตอบ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 16:23
จะกี่คนก็ได้ แต่การจ่ายเงินเดือนเอาแบบนับเข้าประชุม พร้อมลงชื่อเช้าบ่ายเย็น อิอิ
ดีครับ จ่ายเป็นเบี้ยประชุม ประชุมเสร็จเดินออกมาเซ็ยชื่อรับซองเบี้ยประชุมไป
ขาดเกิน10% ห้ามลงสมัครครั้งหน้า
#38
ตอบ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 14:20
เพิ่งอ่านข่าวมา อินเดีย เลือกตั้งใหญ่ สส ทั้งหมดหากจำไ่ม่ผิด ไม่เกิน 600 คน ทั้งที่ประชากรเค้า มากกว่า 1000 ล้านคน
ไทย สส 480 คน กับประชากรไม่เกิน 70 ล้านคน ผมว่าเยอะเกินไป
ต้องลด จำนวน สส ลง เพราะไหน ๆ ก็จะเน้นท้องถิ่น ใครอยากบริหารท้องถิ่น ไปลง อบต อบจ สจ ซะ จะได้สิ้นเรื่อง จัดระบบตรวจสอบดีๆ
กับพวกท้องถิ่น
สอบถาม ครับ เป็นไปได้ไหม? ครับ ที่จะไม่ต้องมี ..อบจ และ สจ.. ผมว่ามันเยอะเกิน
#39
ตอบ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 14:39
ขอคิดด้วยคนนะครับ ขอให้นำแนวคิด "จังหวัดจัดการตนเอง" มาใส่ไว้ในรัฐธรรมนูญด้วยครับ สภาประชาชนต้องทบทวนการรวมศูนย์อำนาจในประเทศไทย ต้องกระจายอำนาจไปยังแต่ละท้องถิ่นได้ให้ได้มีโอกาสพัฒนาด้วยตนเอง ศาลากลางของแต่ละจังหวัด ไม่จำเป็นต้องเหมือนกัน ให้มันสอดคล้องกับประเพณีวัฒนนธรรม ให้ประชาชนในแต่ละจังหวัดได้ดูแลตัวเอง โดยไม่กระทบกับ สถาบันหลัก ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ มีกองทัพแห่งชาติดูแลความมั่นคงให้ทุกจังหวัด มีศาลยุติธรรมที่ตัดสินคดีดูแลความยุติธรรมในพระปรมาภิไทเหมือนกันทุกจังหวัด มีระบบเงินตราเหมือนกัน แนวนโยบายของจังหวัดต้องไม่ขัดรัฐธรรมนูญ ระบบภาษี เก็บได้เท่าใหร่ ส่งรัฐบาลกลางตามรายได้เก็บมากส่งมากเก็บน้อยส่งน้อย จังหวัดไหนไม่พอขอกู้รัฐบาลกลาง ดอกเบี้ยต่ำ หรือได้ได้รับความช่วยเหลือตามความจำเป็น ค่อยๆพัฒนาคนในจังหวัดตัวเองให้มีความรับผิดชอบต่อตนเองและส่วนรวม เมื่อถึงเวลานั้น สส เหลือแค่ 100 คน ยังเกินพอเลยครับ
#41
ตอบ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 15:10
ผมลองคิดตัวอย่างครับ
(ใช้ข้อมูลจากการแบ่งเขตแบบเดิม 3 กค. 54) อ้างอิง จำนวนสส.จาก http://group.wunjun....pic/302656-8846
ตัวอย่างที่1
แบ่งเป็น4เขตใหญ่(ตามเขตตรวจราชการ) แต่ละเขตมีผู้แทนแบบแบ่งเขตและปาร์ตี้ ไม่เกิน125คน
(125*4=500) คะแนนปาร์ตี้นับเฉพาะในเขต
1. เขตเลือกตั้งที่1(ภาคกลางตอนล่าง) : ส่วนกลาง เขต1-4 มีสส.แบ่งเขต 105 คน (125-105=20) ..........มีปาร์ตี้เพิ่มได้ 20 คน
2. เขตเลือกตั้งที่2(ภาคใต้และตะวันออก) : เขต5-9 มีสส.แบ่งเขต 79 คน (125-79=46) ..........มีปาร์ตี้เพิ่มได้ 46 คน
3. เขตเลือกตั้งที่3(ภาคอิสาน) : เขต10-14 มีสส.แบ่งเขต 124 คน (125-124=1) ............มีปาร์ตี้เพิ่มได้ 1 คน
4. เขตเลือกตั้งที่4(ภาคเหนือ) : เขต15-18 มีสส.แบ่งเขต 69 คน (125-69=56) ............มีปาร์ตี้เพิ่มได้ 56 คน
โดยใช้หลักการ
1. ไม่แบ่งตามจำนวนประชากร (ป้องกันเสียงส่วนมากหรือภูมิภาคใด ผูกขาดนโยบายของประเทศ จนก่อให้เกิดความขัดแย้ง)
2. แบ่งเขตโดยอาศัย ภูมิภาค วัฒนธรรมและวิถีอาชีพที่ใกล้เคียงกัน เช่น
- ภาคเหนือและกลางตอนบน(ปลูกข้าว ทำไร่และสวนผลไม้เมืองหนาว)
- ภาคอิสาน(ปลูกข้าว ทำไร่)
- ภาคกลางตอนล่าง(อุตสาหกรรมผลิต บริการ และปลูกข้าว)
- ภาตใต้และตะวันออก(ประมง ทำไร่ ปลูกยาง และสวนผลไม้เมืองร้อน)
3. ให้เขตที่มีประชากรน้อยกว่า มีผู้แทนมากกว่าเพื่อ ให้ผู้แทนได้มีโอกาศพัฒนาเขตเหล่านั้นเพิ่มขึ้นมากกว่า เขตประชากรเยอะ(ที่เจริญกว่า)
สรุปการการเทียบคะแนนโดย ตั้งสมมุติฐานว่า คนเลือกแบ่งเขตพรรคอะไร ย่อมเลือกปาร์ตี้พรรคนั้น และคะแนนเสียงขึ้นกับหัวคะแนน (นโยบายหาเสียงประชานิยม)
- พท ได้คะแนนรวม = 248
- ปชป ได้คะแนนรวม = 168(หรือมากกว่า ถ้าหาเสียงภาคเหนือและปริมณฑลได้ดีกว่านี้)
- พรรคอื่น ได้คะแนนรวม = 84
จากการทดลองพบว่า
สามารถป้องกันอำนาจเผด็จการรัฐสภาได้ระดับหนึ่ง คือ รัฐบาลมีเสียงไม่ถึง2ใน3 ทำให้ การออกกฏหมายใดที่มีปัญหาต่อประเทศ จะต้องได้เสียงจากฝ่ายค้าน 2 คนด้วย.....บนเงื่อนไข พรรคปชป.จะต้องหาเสียงในภาคเหนือให้ได้จำนวนปาร์ตี้มากกว่านี้(ถ้าเกรงใจพรรคร่วมในภาคอื่น)
(กฏหมายที่ต้องการเสียง2ใน3 เช่น กฏหมายที่ไม่ผ่านความเห็นชอบจากสถาบัน)
ปล. ตัวเลขมีข้อผิดพลาดเล็กน้อยนะครับ เพราะ ข้อมูลที่ได้มามีสส. ไม่ตรงกับข้อมูล375คน (เกินมา2หรือ3คนนี้ละ ไม่รู้ตัวเลขพลาดตรงไหน 555+)
Edited by Iona, 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 16:59.
- kukkuk likes this
#42
ตอบ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 15:20
ผมลองคิดดูหลายแบบเลยครับ(อิงวิธีแบ่งเขตตามจำนวนประชากร) ออกมาฮ่าก็เยอะ ^^* และส่วนใหญ่ฝ่ายค้านได้คะแนนเสียง ไม่ถึง1ใน3 TT (อยากจะร้องไห้กับประเทศนี้)....ถ้ายังแบ่งเขตตามจำนวนประชากรต่อไป (นโยบายประชานิยม)
ปล.รีบหาเสียงทำความดีกับชาวบ้านภาคอื่นตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป นะครับฝ่ายค้าน(ปชป.).....ไม่ใช่ไปต้านรัฐประหาร -*-
ผมกับแฟนคุยกันเรื่องผลทดลองต่างๆแล้ว ปลง คิดว่า........... ทางออกที่ดีที่สุดตอนนี้ ............ควรให้คสช.อยู่8ปีแบบป๋าไปเลยครับ ^^*
เพราะ นักการเมืองประเทศเรามันหน้าด้าน ขาดความรับผิดชอบต่อประเทศ และต่อหน้าที่ของตัวเองที่อาสา.....ไม่เคยขอให้พวกมันมาทำครับ
- ชนะเลือกตั้ง(แก้กฏหมายรัฐธรรมนูญ แก้กฏหมายเลือกตั้ง แก้กฏหมายอื่นที่เอื้อประโยชนย์ตัวเอง).....ประชาชนประท้วง(เสียชีวิตได้รับบาดเจ็บ)......รัฐประหาร.......วนลูปแบบนี้ไปเรื่อยๆ
Edited by Iona, 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 16:31.
- kukkuk likes this
#43
ตอบ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 16:02
ตัวอย่างที่2
แบ่งเป็น10เขตตามภูมิภาค เป็นภาคละ 50 คน ร่วมสส.500คน ไม่มีปาร์ตี้ ตามตัวอย่างคุณ sigree
เหนือตอนบน เขต15-16 (ยกเว้นตาก)
เหนือตอนล่าง เขต 17-18
ภาคกลาง เขต1-2
ภาคตะวันออก เขต3และ9
ภาคตะวันตก เขต4และตาก
อีสานเหนือ เขต 10-12
อีสานใต้ เขต13-14
ใต้ตอนบน เขต5-6
ใต้ตอนล่าง เขต7-8
กทม ส่วนกลาง
โดยใช้หลักการ
1. ไม่แบ่งตามจำนวนประชากร (ป้องกันเสียงส่วนมากหรือภูมิภาคใด ผูกขาดนโยบายของประเทศ จนก่อให้เกิดความขัดแย้ง)
2. แบ่งเขตโดยอาศัย ภูมิภาค วัฒนธรรมและวิถีอาชีพที่ใกล้เคียงกัน
3. ให้เขตที่มีประชากรน้อยกว่า มีผู้แทนมากกว่าเพื่อ ให้ผู้แทนได้มีโอกาศพัฒนาเขตเหล่านั้นเพิ่มขึ้นมากกว่า เขตประชากรเยอะ(ที่เจริญกว่า)
สรุปการการเทียบคะแนนโดย ตั้งสมมุติฐานว่า คนเลือกแบ่งเขตพรรคอะไร และคะแนนเสียงขึ้นกับหัวคะแนน (นโยบายหาเสียงประชานิยม)
- พท ได้คะแนนรวม = 243
- ปชป ได้คะแนนรวม = 179
- พรรคอื่น ได้คะแนนรวม = 78
จากการทดลองพบว่า
สามารถป้องกันอำนาจเผด็จการรัฐสภาได้ระดับหนึ่ง คือ รัฐบาลมีเสียงไม่ถึง2ใน3 ทำให้ การออกกฏหมายใดที่มีปัญหาต่อประเทศ จะต้องได้เสียงจากฝ่ายค้าน 12 คนด้วย
คำนวญโดยสูตร
c1v1 = c2v2 หรือเรียกว่า เทียบบัญญัติไตรยางค์ ^^*
จำนวนสส.แต่ละพรรคที่ได้เพิ่มขึ้น = (จำนวนสส.แต่ละพรรคเดิม x จำนวนสส.ทั้งหมดที่ได้เพิ่ม) / จำนวนสส.ทั้งหมดเดิม
Edited by Iona, 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 16:58.
- sigree likes this
#44
ตอบ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 15:29
เอา ส.ส. จังหวัดละ 1 คนก็พอครับ ยังไงพวกมันก็ยกมือในสภาตามพรรคอยู่แล้ว แบ่งสัดส่วนตามจำนวนประชากรนี่ไร้สาระจริงๆ แล้วอีกอย่าง ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์น่ะ ยกเลิกไปเถอะ มีแต่เด็กเส้นรอเข้าแถวมาเป็น ส.ส.เพียบ สบายจริงนะไอ้พวกนี้ แน่จริง มาลงเลือกตั้งเขต วัดกันไปเลย ประชาชนรักใครชอบใครจะได้รู้ เป็น ส.ส.ปาร์ตี้ลิส บอกตรงไม่มีราคา แล้วไม่ต้องมาพูดว่าประชาชนเลือกมา เพราะประชาชนไม่ได้เลือกพวก ม ะ รึ ง...
- ริวมะคุง likes this
#45
ตอบ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 16:30
เปลี่ยนระบบการเลือกตั้งเป็น แบบผู้ถือหุ้นออกเสียงลงคะแนนในบริษัท
#46
ตอบ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 16:50
ตัวอย่างที่3
แบ่งเป็น76เขตตามจังหวัด เป็นจังหวัดละ 1 คน ร่วมสส.76คน ไม่มีปาร์ตี้ ตามตัวอย่างคุณ funnysun
โดยใช้หลักการ
1. ไม่แบ่งตามจำนวนประชากร (ป้องกันเสียงส่วนมากหรือภูมิภาคใด ผูกขาดนโยบายของประเทศ จนก่อให้เกิดความขัดแย้ง)
2. แบ่งเขตโดยอาศัย เขตจังหวัด วัฒนธรรมและวิถีอาชีพที่ใกล้เคียงกัน
สรุปการการเทียบคะแนนโดย ตั้งสมมุติฐานว่า คนเลือกแบ่งเขตพรรคอะไร และคะแนนเสียงขึ้นกับหัวคะแนน (นโยบายหาเสียงประชานิยม)
- พท ได้คะแนนรวม = 38 (+2)
- ปชป ได้คะแนนรวม = 26 (+1)
- พรรคอื่น ได้คะแนนรวม = 13 (-3)
จากการทดลองพบว่า
สามารถป้องกันอำนาจเผด็จการรัฐสภาได้ระดับหนึ่ง คือ รัฐบาลมีเสียงไม่ถึง2ใน3 ทำให้ การออกกฏหมายใดที่มีปัญหาต่อประเทศ จะต้องได้เสียงจากฝ่ายค้าน 1 คนด้วย
ปล. ฝ่ายบริหารต้องมาจากสส. วิธีนี้คงทำไม่ได้ครับ
Edited by Iona, 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 16:58.
- sigree likes this
#47
ตอบ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 17:13
ตัวอย่างที่2
แบ่งเป็น10เขตตามภูมิภาค เป็นภาคละ 50 คน ร่วมสส.500คน ไม่มีปาร์ตี้ ตามตัวอย่างคุณ sigree
เหนือตอนบน เขต15-16 (ยกเว้นตาก)
เหนือตอนล่าง เขต 17-18
ภาคกลาง เขต1-2
ภาคตะวันออก เขต3และ9
ภาคตะวันตก เขต4และตาก
อีสานเหนือ เขต 10-12
อีสานใต้ เขต13-14
ใต้ตอนบน เขต5-6
ใต้ตอนล่าง เขต7-8
กทม ส่วนกลาง
โดยใช้หลักการ
1. ไม่แบ่งตามจำนวนประชากร (ป้องกันเสียงส่วนมากหรือภูมิภาคใด ผูกขาดนโยบายของประเทศ จนก่อให้เกิดความขัดแย้ง)
2. แบ่งเขตโดยอาศัย ภูมิภาค วัฒนธรรมและวิถีอาชีพที่ใกล้เคียงกัน
3. ให้เขตที่มีประชากรน้อยกว่า มีผู้แทนมากกว่าเพื่อ ให้ผู้แทนได้มีโอกาศพัฒนาเขตเหล่านั้นเพิ่มขึ้นมากกว่า เขตประชากรเยอะ(ที่เจริญกว่า)
สรุปการการเทียบคะแนนโดย ตั้งสมมุติฐานว่า คนเลือกแบ่งเขตพรรคอะไร และคะแนนเสียงขึ้นกับหัวคะแนน (นโยบายหาเสียงประชานิยม)
- พท ได้คะแนนรวม = 243
- ปชป ได้คะแนนรวม = 179
- พรรคอื่น ได้คะแนนรวม = 78
จากการทดลองพบว่า
สามารถป้องกันอำนาจเผด็จการรัฐสภาได้ระดับหนึ่ง คือ รัฐบาลมีเสียงไม่ถึง2ใน3 ทำให้ การออกกฏหมายใดที่มีปัญหาต่อประเทศ จะต้องได้เสียงจากฝ่ายค้าน 12 คนด้วย
คำนวญโดยสูตร
c1v1 = c2v2 หรือเรียกว่า เทียบบัญญัติไตรยางค์ ^^*
จำนวนสส.แต่ละพรรคที่ได้เพิ่มขึ้น = (จำนวนสส.แต่ละพรรคเดิม x จำนวนสส.ทั้งหมดที่ได้เพิ่ม) / จำนวนสส.ทั้งหมดเดิม
ขอบคุณครับ
ที่คิดระบบนี้ไม่ใช่อะไรหรอก ผมขี้เกียจมานั่งเถียงภาคคนเยอะ ภาคเสียภาษีเยอะ
ในความเป็นจริงผมเชื่อว่าทุกภาคมีปัญหาที่ต่างกัน แต่ปัญหาหลายๆอย่างไม่ได้รัการดูแลเพราะเป็นภาคที่มี สส น้อย ไม่ต้องอะไรมาก กรณีภาคตะวันออกกับสิ่งแวดล้อม ภาคนี้เสียภาษีจำนวนมากทำไมปัญหาเหล่านี้กลับได้รับการดูแลน้อยกว่าที่ควรละ
ผมไม่ได้อยากให้คนเอาข้าวมาเป็นกรณีการเมืองอีก เพราะชาวนาเยอะว่าชาวสวนยาง คะแนนเยอะกว่า ทั้งๆที่ยางทำเงินเข้าประเทศได้มากกว่า
สูตรนี้ทำเพื่อให้คนที่มาเป็นรัฐบาลต้องคำนึงถึงทุกส่วน ไม่ใช่ระบบที่ทักษิณใช้ ใครเลือกเรา เราช่วยก่อน แล้วดูดายภาคที่ไม่ได้เลือกไปเลย เพราะคิดว่าต่อให้ทั้งภาคนั้นไม่เลือก กูก็ชนะ
ผมจึงมองข้ามจำนวนแล้วแบ่งตามสภาพภูมิศาสตร์ทางสังคมมากกว่าจำนวนประชากร
- Iona likes this
#48
ตอบ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 17:17
ตัวอย่างที่4
สส.เปลี่ยนเป็น บัญชีรายชี่อทั้งหมด รวมสส.500คน blanksak
โดยใช้หลักการ
1. จำนวนประชากรทั้งหมด กำหนด จำนวนสส.แต่ละพรรค
2. ไม่กำหนดเขตเลือกตั้งตามถิ่นอาศัย วัฒนธรรมและวิถีอาชีพที่ใกล้เคียงกัน
สรุปการการเทียบคะแนนโดย ตั้งสมมุติฐานว่า คนเลือกแบ่งเขตพรรคอะไร และคะแนนเสียงขึ้นกับหัวคะแนน (นโยบายหาเสียงประชานิยม)
- พท ได้คะแนนรวม = (61*500)/125 = 244
- ปชป ได้คะแนนรวม = (44*500)/125 = 176
- พรรคอื่น ได้คะแนนรวม = 80
จากการทดลองพบว่า
สามารถป้องกันอำนาจเผด็จการรัฐสภาได้ระดับหนึ่ง คือ รัฐบาลมีเสียงไม่ถึง2ใน3 ทำให้ การออกกฏหมายใดที่มีปัญหาต่อประเทศ จะต้องได้เสียงจากฝ่ายค้าน 9 คนด้วย
ปล. บนเงือนไข ปชป.จะได้คะแนนเพิ่มขึ้น ก็ต่อเมื่อคนที่เลือกพท.เปลี่ยนใจมาเลือกปชป.มีทั้งหมดกี่%ในปัจจุบัน สมมุติ 10% 20%
ตรงนี้คงต้องประเมินเองนะครับตัวเลขมันกว้างมาก เมื่อเทียบกับประชากรที่เลือกพท.ทั้งประเทศ (ประมาณ 24คน 48คน ตามลำดับ)
ปล. พอคิดตามแล้วผมก็ชอบวิธีนี้นะครับ คล้ายประชาธิปไตยทางตรงดี แถมลดอำนาจหัวคะแนนท้องถิ่นโดยตรง(เลือกที่นโยบายแต่ละพรรค ว่าเหมาะสมกับวิถีชีวิตตนหรือไม่).....แต่พวกสส.ท้องถิ่นจะยอมหรือครับ 5555 และก็มีข้อเสียที่เสียงส่วนใหญ่กำหนดนโยบายของประเทศ ทำให้มีแนวโน้มว่า การหาเสียงด้วยประชานิยมจะหนักกว่าเดิม
Edited by Iona, 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 22:11.
#49
ตอบ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 17:17
ไม่อยากให้ชาวบ้านเข้าใจผิดว่าเป็นผูแทนมายถึงเป็นตัวแทนตามงานบวงานแต่งงาน
สสมีหน้าที่อะไรพูดให้ชัดๆครับตั้งชื่อให้ชัด
ทุกวันนี้ชาวบ้านไม่รู้ว่าสส กับสว มีหน้าที่ทำอะไร
กาลูกเดียว
ชาวบ้านก็นึกว่าเป็นตัวแทนทุกเรื่องอะไรก็ต้องหาผู้แทน
สสก็เข้าไปล้วงอำนาจบริหารอำนาจข้าราชการเพื่อให้ชาวบ้านพอใจ
ผิดวัตถุประสงค์
ปล ขอจังหวัดละคนเดียวพอครับกับแต่งตั้งจากอาชีพต่างๆให้ครบทุกสายครับ
Edited by turbora, 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 17:25.
- DarkSwan likes this
#50
ตอบ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 17:23
ช่วยเปลี่ยนชื่อเรียกสส ด้วยครับ
ไม่อยากให้ชาวบ้านเข้าใจผิดว่าเป็นผูแทนมายถึงเป็นตัวแทนตามงานบวงานแต่งงาน
สสมีหน้าที่อะไรพูดให้ชัดๆครับตั้งชื่อให้ชัด
ทุกวันนี้ชาวบ้านไม่รู้ว่าสส กับสว มีหน้าที่ทำอะไร
กาลูกเดียว
เห็นด้วยฮะ เป็นการข่มขวัญไว้ก่อนฮะ เรียกว่าเป็น "ทั่นผู้แทนฯ" มันได้ใจ
ถ้าอยากได้ความเท่าเทียม
ก็ปีนป่ายขึ้นไปให้อยู่เทียบเท่ากับคนอื่นเค้า
อย่าได้กระชากฉุดให้คนอื่นเขาลงมาตกต่ำเท่ากับตน
ผู้ใช้ 4 ท่านกำลังอ่านกระทู้นี้
สมาชิก 0 ท่าน, ผู้เยี่ยมชมทั่วไป 4 ท่าน และไม่เปิดเผยตัวตน 0 ท่าน