Jump to content


Photo
- - - - -

คสช เปิดโรดแมบออกมาแล้ว!!!


  • Please log in to reply
3 ความเห็นในกระทู้นี้

#1 windscholar

windscholar

    น้องใหม่

  • Members
  • Pip
  • 35 posts

ตอบ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 02:39

news_img_584550_1.jpg

 

คสช. เรียกหน่วยงานเศรษฐกิจ ภาครัฐ-เอกชนชี้แจงแนวนโยบาย พร้อมประกาศโรดแมพ 3 ระยะสู่เลือกตั้ง

 

การประชุมระหว่าง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก ในฐานะหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กับหน่วยงานด้านเศรษฐกิจ การเงิน การธนาคารและการคลัง รวมทั้งภาคเอกชนได้ชี้แจงแนวทางการบริหารงาน หรือ โรดแมพ ก่อนจะให้มีการเลือกตั้ง โดยกรอบเวลานั้นขึ้นอยู่กับสถานการณ์ทางการเมือง

หน่วยงานที่เข้ารับฟังแนวทางการบริหารประเทศ ได้แก่ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงการคลัง สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ธนาคารแห่งประเทศไทย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สมาคมธนาคารไทย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.)

พ.อ.ณัฐวัฒน์ จันทร์เจริญ รองโฆษกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวว่า พล.อ.ประยุทธ์ ได้สั่งการให้ทุกหน่วยงานด้านเศรษฐกิจไปรวบรวมมาตรการที่เกี่ยวกับการลดค่าครองชีพของประชาชนมาเสนอให้ที่ประชุมทราบในการประชุมครั้งต่อไป

ส่วนในด้านของการสร้างความเชื่อมั่นให้กับต่างชาตินั้น หัวหน้า คสช.ได้กำชับให้กระทรวงการต่างประเทศ รวมถึงส่วนราชการที่ทำงานกับต่างประเทศไปชี้แจงทำความเข้าใจต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้นเพื่อสร้างความเชื่อมั่น พร้อมทั้งได้มอบนโยบายการเร่งพัฒนาขยายพื้นที่เศรษฐกิจบริเวณชายแดนเพิ่มขึ้น

ด้าน นายสมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยภายหลังเข้าร่วมประชุมว่าบรรยากาศการประชุมเป็นไปด้วยดี โดยหัวหน้าคสช. แจ้งถึงโรดแมพในการดูแลภาพรวมเศรษฐกิจ และบทบาทของ คสช. ใน 3 ระยะ ซึ่งภายหลังได้รับฟัง ทำให้ทุกภาคส่วนเศรษฐกิจมีความมั่นใจต่ออนาคตเศรษฐกิจว่าจะมีทิศทางที่ดีขึ้น

"หลังจากที่ได้ร่วมรับฟังโรดแมพจาก คสช. แล้ว ผมรู้สึกว่าเศรษฐกิจไทยมีอนาคตมากขึ้น เพราะว่ารู้สึกถึงความตั้งใจจริงของ คสช. ที่ต้องการเข้ามาแก้ไขปัญหาบ้านเมือง"

นายสมชัย กล่าวว่า คสช. ได้แจ้งถึงบทบาทใน 3 ระยะ ได้แก่ 1.ระยะแรกระบบการบริหารประเทศในขณะนี้ มีหัวหน้า คสช. เป็นหัวหน้า 2.ระยะต่อไป จะมีการออกธรรมนูญการปกครองเป็นการชั่วคราว จากนั้นจะมีการตั้งคณะรัฐมนตรี ภายใต้กฎอัยการศึก และมีการตั้งสภาปฏิรูปในชุดต่างๆ อาทิ ปฏิรูประบบราชการ ปฏิรูปกระบวนการทุจริต เป็นต้น และจะมีการตั้งสภานิติบัญญัติ และระยะที่ 3 จะกำหนดให้มีการเลือกตั้งต่อไป

"ในระยะที่ 2 และระยะที่ 3 นี้ ยังไม่ได้กำหนดว่าจะเกิดขึ้นในช่วงใด ขึ้นอยู่กับบรรยากาศทางการเมือง และความปรองดอง แต่คสช.ได้ให้ความมั่นใจว่า ภายใต้การบริหารงานของคสช. จะสามารถทำให้ความสุขและความสงบเกิดขึ้นกับประชาชน" นายสมชัย กล่าว

สำหรับ โรดแมพด้านเศรษฐกิจ คสช.ได้แจ้งถึงแนวทางในการดูแลเศรษฐกิจ ประกอบด้วย 1.จะเน้นการบริหารระบบเศรษฐกิจแบบเสรี ซึ่งจะขับเคลื่อนเศรษฐกิจโดยภาคเอกชนเป็นหลัก 2.ให้การเคลื่อนย้ายเงินทุนเป็นไปอย่างเสรี 3.ส่งเสริมนโยบายการค้าเสรี 4.ลดบทบาทรัฐวิสาหกิจที่ภาคเอกชนสามารถดำเนินการได้

5.ขจัดอุปสรรคการค้าต่างประเทศให้คล่องตัว ทั้งนี้ คสช.เสนอให้จัดตั้งคณะทำงานขึ้นมาหนึ่งชุด เพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) พร้อมส่งเสริมและสนับสนุนการลงทุนจากต่างประเทศ 6.สนับสนุนการลงทุนระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคม 7.ไม่ก่อหนี้เกินตัวและรักษาวินัยการคลัง 8.ขจัดความไม่เป็นธรรมในระบบพ่อค้าคนกลาง และ 9.แก้ไขปัญหาแรงงานอย่างบูรณาการ

เปิด 5 นโยบายเร่งด่วน

สำหรับนโยบายเร่งด่วน คือ 1.การแก้ไขปัญหาหนี้ค้างชำระแก่ชาวนาในโครงการจำนำข้าว 2.เร่งแก้ไขปัญหาการขอใบอนุญาตโรงงานอุตสาหกรรมที่ล่าช้า เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุน 3.เน้นเบิกจ่ายงบลงทุนปี 2557 ที่ยังค้างท่ออยู่ ซึ่งขณะนี้มีอยู่ประมาณ 7 พันล้านบาท 4.เริ่มกระบวนการลงทุนในระบบโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น เช่น ระบบรถไฟรางคู่ และรถไฟฟ้าสายต่างๆ ในเขตกทม.และปริมณฑล 5.เร่งจัดทำงบประมาณรายจ่ายปี 2558 ให้แล้วเสร็จก่อนเดือนก.ย. นี้

ส่วนนโยบายที่ต้องทำควบคู่ไปกับนโยบายเร่งด่วน ได้แก่ 1.ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมและขจัดปัญหาการทุจริต 2.ปฏิรูปโครงสร้างภาษีอย่างเป็นธรรม 3.ทบทวนโครงสร้างภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยเน้นให้มีการจัดเก็บภาษีจากคนที่มีรายได้สูงมากขึ้น และดึงผู้มีรายได้เข้ามาในระบบมากขึ้น 4.ส่งเสริมการค้าชายแดน ผ่านการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ 5.ส่งเสริมและพัฒนาสินค้าขั้นกลางและขั้นปลายเพื่อการส่งออกให้มากขึ้น 6.ทบทวนกองทุนนอกงบประมาณต่างๆ เช่น กองทุนหมู่บ้าน กองทุนสตรี โดยหากเป็นกองทุนที่ไม่เป็นประโยชน์ก็พร้อมที่จะทบทวน และ 7.ส่งเสริมให้มีการดูแลเกษตรกรชาวนาอย่างเป็นระบบ

เสนอปฏิทินงบอังคารนี้

ด้าน นายสมศักดิ์ โชติรัตนะศิริ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ กล่าวว่า จะเสนอปฏิทินงบประมาณให้กับ คสช. ภายในวันอังคารนี้ โดยเชื่อว่าจะประกาศใช้งบประมาณประจำปี 2558 ได้ทันกำหนด 1 ต.ค. ปีนี้ จากเดิมคิดว่างบประมาณจะล่าช้าออกไปในช่วงต้นปีหน้า

นายสมศักดิ์ กล่าวว่า เมื่อไม่มีทั้งสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา จะทำให้ขั้นตอนการจัดทำงบประมาณรวดเร็วขึ้น โดยคาดว่าจะเสนอให้คณะรัฐมนตรี หรือองค์กรที่มีอำนาจเทียบเท่าคณะรัฐมนตรีได้ในเร็วๆ นี้

“ขณะนี้ สำนักงบประมาณ ได้ทำงบเสร็จไปแล้วเกินครึ่ง ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ งบใช้จ่ายจำเป็นขั้นต่ำสุด งบที่มีภาระสัญญาผูกพัน และงบภารกิจพื้นฐานของกระทรวงและหน่วยงานต่างๆ โดยมีการส่งคำขอเข้ามา จำนวน 4 ล้านล้านบาท” นายสมศักดิ์ กล่าว

“สำหรับวงเงินงบประมาณปี 2558 นี้ คาดว่าจะไม่เกิน 2.6 ล้านล้านบาท โดยเป็นงบประมาณขาดดุล 200,000 ล้านบาท และน่าจะกระตุ้นเศรษฐกิจปีหน้าให้โตได้ 6%”

เดินหน้าลงทุนรถไฟรางคู่

นายสมศักดิ์ กล่าวว่า โครงการลงทุนนั้น โครงการรถไฟรางคู่ ในหมวดการลงทุนโลจิสติกส์ คาดว่าจะเป็นส่วนหนึ่งของงบประมาณปีหน้านี้ เนื่องจากมีความจำเป็น และโครงการป้องกันน้ำท่วมที่มีความจำเป็นก็จะต้องดำเนินการเช่นกัน ทั้งนี้ ยังจะคงยึดกรอบการทำประชาพิจารณ์เพื่อรับฟังความเห็นจากประชาชนผู้ได้รับผลกระทบ และการสำรวจผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

ส่วนโครงการรถไฟความเร็วสูงอาจจะยังไม่ใส่ไว้ในโครงการการลงทุน

นายสมศักดิ์ กล่าวอีกว่าการจัดทำงบประมาณมุ่งเน้นวินัยการคลังด้วย โดยจะยังคงยึดเป้าหมายจัดทำงบประมาณสมดุล ภายในปี 2560 โดยงบประมาณปี 2558 จะขาดดุลน้อยกว่าปีงบประมาณปัจจุบันที่ขาดดุลอยู่ที่ 250,000 ล้านบาท หรือมีวงเงินงบประมาณทั้งหมด 2.525 ล้านล้านบาท มีรายได้ 2.275 ล้านล้านบาท ที่เหลือเป็นเงินกู้

ชี้เห็นความชัดเจน-เอกชนมั่นใจมากขึ้น

ด้าน นายธวัชชัย ยงกิตติกุล เลขาธิการสมาคมธนาคารไทย กล่าวว่าเรื่องเร่งด่วนที่ควรทำก่อน คือ เรื่องการจ่ายเงินในโครงการรับจำนำข้าว และการจัดทำงบประมาณปี 2558

"คือต้องทำให้เศรษฐกิจฟื้นเร็วสุด เรื่องงบประมาณปี 2558 ก็ต้องทำให้เสร็จภายใน 1 ต.ค. 2557" นายธวัชชัย กล่าว

นอกจากนี้ในที่ประชุมยังได้รายงานสถานการณ์ด้านตลาดเงินและตลาดทุนให้รับทราบ โดยในส่วนของตลาดเงินทางธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ยืนยันว่ามีมาตรการพร้อมดูแล

นายธวัชชัย กล่าวอีกว่าในด้านตลาดทุนมีความชัดเจน หากเป็นนักลงทุนระยะสั้น เชื่อว่านักลงทุนกลุ่มนี้คงเทขายหมดแล้ว เนื่องจากเป็นกลุ่มที่ไปเร็วมาเร็ว แต่สำหรับนักลงทุนระยะยาวยังต้องติดตามสถานการณ์อยู่ในช่วงไตรมาส 2

"การประชุมครั้งนี้ทำให้เห็นภาพที่ชัดเจนขึ้น เอกชนเองก็มีความมั่นใจมากขึ้น ซึ่งก็เป็นเรื่องที่ดี" นายธวัชชัย กล่าว

ขณะที่ นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า ในช่วงต้นสัปดาห์นี้ ธปท.จะเปิดให้มีการพูดคุยกับสื่อมวลชน ซึ่งคงได้มีการพูดคุยกันในเรื่องเหล่านี้

สำหรับตลาดทุนนั้น นางเกศรา มัญชุศรี รองผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) กล่าวว่าไม่ได้มีเรื่องเร่งด่วนเสนอ เพียงแต่ทุกคนแสดงความเป็นห่วงในเรื่องการให้ความสำคัญกับความเข้าใจของคนไทยด้วยกันเอง โดยเฉพาะนักลงทุน และผู้บริโภค ซึ่ง คสช. ขอให้ทุกคนช่วยสื่อสารสร้างความเข้าใจกับกลุ่มเหล่านี้ โดยหลังจากนี้ จะมีโรดแมพในการบริหารจัดการออกมา ก็ขอให้ช่วยกันสื่อสาร สร้างความเข้าใจ และให้แต่ละคนทำตามหน้าที่ของตัวเอง

หอการค้าเสนอตั้งศูนย์ประสานงาน

นายอิสระ ว่องกุศลกิจ ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ผลจากการประชุม พล.อ.ประยุทธ์ได้กำชับให้ที่ประชุมทราบว่า จะเร่งแก้ปัญหาเศรษฐกิจ และกำหนดนโยบายขับเคลื่อนเศรษฐกิจและการค้าขายโดยเร็ว

สำหรับ หอการค้าไทย ได้เสนอให้มีการจัดตั้ง ศูนย์ประสานงานร่วม ระหว่าง คสช. และภาคเอกชน เพื่อให้การทำงานร่วมกัน หรือการติดต่อสื่อสารระหว่างกันสะดวกมากขึ้น เพราะขณะนี้สิ่งที่ต้องเร่งดำเนินการ คือ การร่วมกันสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักธุรกิจ นักลงทุน ทั้งของไทยและต่างประเทศ เพื่อให้มีความเชื่อมั่นในประเทศไทย

"การประชุมวันนี้ หลักๆ ได้คุยกันถึงการแก้ปัญหาเศรษฐกิจประเทศ ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ซึ่งภาคเอกชนต้องการให้ คสช. ทำงานร่วมกับภาคเอกชนอย่างใกล้ชิด และเร่งเสริมสร้างความเชื่อมั่นของไทย อย่างไรก็ตาม ในส่วนของหอการค้าต่างประเทศคสช. คงจะมีการชี้แจงในเร็วๆ นี้"

ส.อ.ท.หารือกรรมการวันนี้

นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่าหัวหน้า คสช. ได้เน้นย้ำว่าจะผลักดันงบประมาณปี 2558 ได้ทันตามกำหนด และยังคงยึดหลักการลงทุนอย่างเสรี โดยจะรักษาระเบียบวินัยด้านการเงินอย่างเคร่งครัด รวมทั้งจะเร่งการอนุมัติเงินโครงการจำนำข้าวให้ถึงมือเกษตรกรอย่างรวดเร็ว

นอกจากนี้ หัวหน้า คสช. ยังได้มีแนวคิดที่จะเร่งผลักดันเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนตามแผนเดิมที่วางไว้ให้เกิดเป็นรูปเป็นร่างอย่างรวดเร็ว เพื่อเพิ่มช่องทางการตลาดให้กับผู้ประกอบการเอสเอ็มอี และกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศที่อยู่ในภาวะซบเซา ซึ่งจะเกิดประโยชน์ต่อเศรษฐกิจไทยในระยะยาว ซึ่งการที่ คสช. เข้ามาให้ความสำคัญในเรื่องนี้ ก็จะทำให้ตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษได้รวดเร็ว

“ภาคเอกชนยังได้เสนอให้มีการประชุมในลักษณะคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน เพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ (กรอ.) ขึ้น เพื่อให้เกิดการประชุมร่วมแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจระหว่างภาคเอกชน กับ คสช. อย่างเป็นระยะๆ ซึ่ง คสช. ก็ได้รับแนวความคิดนี้ไปพิจารณา และจะตอบกลับมาในภายหลัง ส่วน ส.อ.ท. จะนำข้อหารือกับ คสช. ไปหารือกับคณะกรรมการ ส.อ.ท. อีกครั้งในวันจันทร์ที่ 26 พ.ค. นี้” นายสุพันธุ์ กล่าว

 

เท่าที่อ่านดูผมว่า บิ๊กตู่ ท่านวางแผนไว้ได้ดีมากเลยนะคับ   :)  :)  :) 



#2 ผึ้งน้อยตุหรัดตุเหร่

ผึ้งน้อยตุหรัดตุเหร่

    หน้าตาดี มีอุดมการณ์

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 21,670 posts

ตอบ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 02:44

เท่าที่อ่านดูผมว่า บิ๊กตู่ ท่านวางแผนไว้ได้ดีมากเลยนะคับ    :)   :)   :) 

^

^

เชื่อว่าแกคงนั่งวางแผนมาตั้งแต่ระเบิดลูกแรกลงกปปส.แล้วครับ  แต่เวลายังไม่ได้


gladiator 1.jpg

 

 

 

 

 

 


#3 windscholar

windscholar

    น้องใหม่

  • Members
  • Pip
  • 35 posts

ตอบ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 02:51

ผมว่าระยะแรกคงกินเวลานานหน่อย ต้องเก็บพวกหนักแผ่นดินให้เรียบก่อน ไม่งั้นเดี๋ยวก็มันมาป่วนอีก 



#4 sudthorn

sudthorn

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 967 posts

ตอบ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 04:00

น่าจะวางแผนทำการบ้านมาตั้งแต่ปี 2553
มาถึงรู้ว่าใครเป็นใครเรียกเข้าพบได้มากมาย
แถมยังจับคนลักลอบส่งเงินออกนอกอีก
ไอ้เหลิมอยู่ในอำนาจ มันยังคุยว่า มันรู้จัก
โพยก๊วน สิบกว่าแห่ง แต่ไม่เคยจับเลย บิ๊กตู่
มาไม่กี่วันก็จัดการได้ 1 แห่งแล้ว
ก่อนหน้านี้ ให้โจรคุมโจรก็ลำบากที่จะจับกันเอง

Edited by sudthorn, 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 04:01.

คนพูดเท็จ ไม่ทำชั่ว นั้นไม่มี




ผู้ใช้ 1 ท่านกำลังอ่านกระทู้นี้

สมาชิก 0 ท่าน, ผู้เยี่ยมชมทั่วไป 1 ท่าน และไม่เปิดเผยตัวตน 0 ท่าน