อ่านซะภอ้พวกล้มเจ้า
#1
ตอบ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 15:18
POPULAR
ก่อนอื่นเราต้องแยกระหว่างคำว่า “ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์” กับ “ทรัพย์สินราชวงศ์จักรี” กับ “ทรัพย์สินส่วนพระองค์” ให้เข้าใจเสียก่อน จึงจะได้ไม่สับสน
1. ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
คือ ทรัพย์สินของสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งหมายถึงสถาบันฯ ที่ไม่ใช่ตัวบุคคลที่ดำรงพระยศเป็นพระมหากษัตริย์ เป็นทรัพย์สินที่สืบทอดกันมาตั้งแต่ต้นราชวงศ์จักรี พูดง่ายๆก็คือเป็นสมบัติของชาติชนิดหนึ่ง หมายถึงเป็นสมบัติของสถาบันพระมหากษัตริย์ ที่มีมาตั้งแต่เริ่มตั้งราชวงศ์จักรีสืบทอดเรื่อยมา
ต่อมาเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ทรัพย์สินส่วนนี้จึงตกเป็นของแผ่นดิน แต่เพื่อเป็นการให้เกียรติราชวงศ์จักรีซึ่งเป็นเจ้าของเดิม จึงตั้งชื่อเป็นสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ขึ้น ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของกระทรวงการคลังอีกที
ส่วนพระมหากษัตริย์ ก็ได้รับพระเกียรติให้ทรงสามารถแต่งตั้งคณะกรรมการไปช่วยดูแลการทำงานได้ 4 คน โดยมีรมต.กระทรวงการคลังเป็นประธาน และมีผู้อำนวยการสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เป็นผู้บริหาร แต่ทั้งหมดนี้ต้องนำไปใช้เพื่อประโยชน์ของชาติและประชาชนเท่านั้น
สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ไม่ได้นำทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ไปใช้ในเรื่องส่วนพระองค์ของพระมหากษัตริย์เลย แต่นำไปใช้เพื่อช่วยเหลือประชาชนและสังคมทั้งหมด
แต่ถ้าสำนักงานทรัพย์สินฯ อยากจะบริจาคเงินให้มูลนิธิต่างๆ ของในหลวง ก็ย่อมทำได้ และตามกฏหมายทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เป็นทรัพย์สินของแผ่นดินจึงไม่ต้องเสียภาษี แต่ส่วนเงินปันผลที่ได้จากการถือหุ้นบริษัทต่างๆก็มีการหักภาษี ณ ที่จ่ายตามปกติ (ข้อมูลทั้งหมดจากเว็บสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ และสามารถติดตามการทำงานต่างๆของสำนักงานฯได้เช่นกัน)
ส่วนรายได้ของทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ก็จะนำไปลงทุนในกิจการต่างๆเพื่อออกดอกผล แต่ทั้งหมดเมื่อได้มาก็เพื่อนำไปส่งเสริมกิจกรรมที่เป็นประโยชน์แก่ส่วนรวมต่อไป
แต่จะมีเงินส่วนหนึ่งที่จะถวายให้ในหลวงในแต่ละปี เพื่อไปใช้ตามพระราชอัธยาศัยบ้างตามสมควร (ก็อาจถือว่าเป็นเงินเดือนโดยตำแหน่งก็ได้ เราต้องไม่ลืมนะครับว่า เดิมทรัพย์สินตรงนี้เดิมเป็นของราชวงศ์จักรีมาก่อน พอเปลี่ยนแปลงการปกครองก็ไปขอของๆพระองค์ ให้มาเป็นสมบัติชาติ )
2. ทรัพยสินส่วนพระองค์
อันนี้แปลง่ายๆ ก็คือทรัพย์สินส่วนตัวของในหลวง ซึ่งต้องเสียภาษีอากรให้แก่รัฐ และมูลนิธิตางๆที่ในหลวงทรงริเริ่มตั้งก็จะนำมาจากทรัพย์สินส่วนพระองค์ก่อตั้งทั้งสิ้นครับ
เช่น มูลนิธิอานันทมหิดล จุดประสงค์เพื่อมอบทุนให้แก่นักเรียนเรียนดีไปศึกษาต่อต่างประเทศในสาขาวิชาสำคัญๆที่ขาดแคลนในประเทศ
มูลนิธิชัยพัฒนา เป้าหมายที่สำคัญคือ เพื่อสงเคราะห์ช่วยเหลือประชาชนให้มีความร่มเย็นเป็นสุข และอยู่ดีกินดี อันจะนำไปสู่ความมั่นคงของประเทศ คือ “ชัยชนะแห่งการพัฒนา (ดูรายละเอียดได้ที่เว็บมูลนิธิชัยพัฒนา) และยังมีอีกหลายๆมูลนิธิเช่น มูลนิธิราชประชาสมาสัย เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยโรคเรื้อนและญาติ เป็นต้น
3. ทรัพย์สินของราชวงศ์จักรี
อันนี้เป็นทรัพย์สมบัติที่อยู่ภายใต้การดูแลจากรมธนารักษ์ เช่นสิ่งของมีค่าทรัพย์สมบัติส่วนพระองค์ของในหลวงรัชกาลต่างๆที่ผ่านมา เช่นเหรียญกษาปณ์ เครื่องราชอิสริยยศ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ หรือจะเป็นสำนักพระราชวัง รัฐบาลให้งบประมาณปีละประมาณ 2,000 ล้านบาทแก่สำนักพระราชวังซึ่งอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรีโดยตรง และมีเลขาธิการพระราชวังบริหาร ส่วนหน้าที่ดูแลทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับพระบรมวงศานุวงศ์ รวมทั้งจัดการงานคลังหรืองานอื่นๆอีกมากมาย (ไปดูได้ที่เว็บสำนักพระราชวัง)
ฉะนั้นใครที่กล่าวหาว่า ในหลวงทรงได้เงินงบประมาณมาก จงรู้ไว้ด้วยว่า งบประมาณที่ได้จากรัฐบาลไม่ใช่จะใช้ส่วนพระองค์เพียงอย่างเดียว แต่เป็นเงินที่จะต้องถวายให้พระบรมวงศานุวงศ์ด้วย รวมทั้งเป็นงบใช้จ่ายเกี่ยวกับเงินเดือนข้าราชการ ค่าน้ำมัน ค่าน้ำ ค่าไฟค่าซ่อมแซมของพระราชวังที่ยังใช้งานอยู่ทั้งหมดด้วย
ถ้าจำไม่ผิดเงินที่ถวายส่วนตัวที่รัฐถวายให้ในหลวงเป็นส่วนพระองค์จริงๆ เดียวน่าจะอยู่ประมาณ 100 ล้านบาทต่อปีเท่านั้น ส่วนพระบรมวงศานุวงศ์แต่ละพระองค์ได้น้อยกว่านี้มาก (ข้อมูลตรงนี้เคยได้อ่านจากนิตยสารสกุลไทย) ซึ่งเงินส่วนนี้ที่ได้รับก็จะถูกแยกนำไปเข้าสู่ทรัพย์สินส่วนพระองค์อีกทีหนึ่งครับ และรายได้ที่ประชาชนทูลเกล้าถวายก็จัดอยู่รวมในทรัพย์สินส่วนพระองค์เช่นเดียวกัน ซึ่งทั้งหมดนั้นต้องเสียภาษีด้วย (มีนักกีฬาเหรียญโอลิมปิคหรือนักกีฬาเทนนิสชื่อดังอย่างภราดร ก็ยังเคยได้รับการงดเว้นภาษีรายได้จากเงินรางวัลครับ)
ถามว่า ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์สามารถตรวจสอบได้มั้ย?
ตอบว่า ได้ครับ เพราะเป็นทรัพย์สินของรัฐประเภทหนึ่งตามที่ได้อธิบายไปแล้ว จึงสามารถตรวจสอบได้ตามกฏหมายครับ ซึ่งเรื่องนี้ในเว็บของสำนักพระราชวังก็มีบอกไว้ ดูได้จากเว็บสำนักพระราชวัง เรื่อง สิทธิของประชาชน หรือหากใครคิดว่าสงสัยเรื่องความโปร่งใสเรื่องใดที่เกี่ยวกับทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ก็ทำเรื่องร้องเรียนได้ที่สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน ได้เลยครับ
แต่ถ้าถามว่า สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์มีหน้าที่ต้องเปิดเผยการใช้เงินมั้ย?
ต้องตอบว่าไม่มีหน้าที่ แต่ถึงไม่มีหน้าที่ต้องเปิดเผย แต่ในทางปฏิบัติก็มีการเปิดเผยอยู่เพื่อทำเป็นบัญชี แต่ไม่จำเป็นต้องป่าวประกาศทั่วไป แต่ถ้าใครอยากรู้เรื่องไหนก็ไปขอดูได้ แต่ต้องทำให้ถูกต้องตามระเบียบ อย่าลืมว่า ทรัพย์สินส่วนนี้แม้ยกให้แผ่นดินก็จริง แต่ถือว่าเดิมเป็นทรัพย์สินส่วนที่ได้มาจากราชวงศ์จักรี ไม่ได้เกิดจากการเก็บภาษีจากประชาชนตามระบอบประชาธิปไตยและไม่ใช่จากงบประมาณแผ่นดินนะครับ
ถามว่า ทรัพย์สินส่วนพระองค์สามารถตรวจสอบได้มั้ย?
ตอบว่า ไม่ได้ครับ ก็เพราะมันเป็นทรัพย์สินส่วนตัว
ชาติ (ประกอบด้วย 3 สถาบัน) คนไทยทุกคนต้องจ่ายภาษีให้สถาบันฯชาติทุกคน ไม่ว่าจะทางตรงหรือทางอ้อม แล้วทำไม แค่เงินงบประมาณที่รัฐบาลให้แก่สถาบันพระมหากษัตริย์เพียงปีละประมาณ 2,000 ล้านบาท ซึ่งรวมค่าใช้จ่ายทุกอย่างตามข้างต้น กลับมีคนจ้องโจมตี ก็เพราะคนที่จ้องโจมตีมันไม่ต้องการให้มีสถาบันฯอยู่แล้ว ทุกอย่างจึงล้วนผิดหมด
เงินส่วนพระองค์จริงๆปีละประมาณแค่ 100 ล้าน ซึ่งพระองค์ก็นำไปช่วยเหลือประชาชนอีกต่อหนึ่ง กลับโดนพวกไม่จงรักภักดีสถาบันฯจ้องโจมตี แต่ผู้บริหาร ปตท. มีเงินเดือนๆละ 13 ล้านบาทยังไม่รวมโบนัส กลับไม่มีใครสนใจ ทั้งๆที่ ปตท.ก็เป็นของประชาชนแท้ๆ แต่ถูกนักการเมืองนำไปแปรรูปฯ
ฉะนั้นการที่ FOBES นำเสนอว่า ในหลวงเรารวยที่สุดในโลกจึงไม่เป็นความจริง แต่ถ้านำเสนอว่า ในหลวงคือกษัตริย์ที่มีจำนวนประชาชนร่วมถวายทรัพย์แด่พระองค์ เพื่อให้พระองค์นำไปพัฒนาช่วยเหลือความเป็นอยู่ให้ประชาชนดีขึ้นมากที่สุดในโลกอย่างนี้ ถึงจะเป็นข้อมูลที่ถูกต้องที่สุดครับ
พวกที่ไม่จงรักภักดียังโจมตีเรื่อง รถพระที่นั่งยี่ห้อมายบัค (may Bach) ขอตอบว่า เป็นรถที่บริษัทเดมเลอร์ไครสเลอร์ ได้ทูลเกล้าถวายให้เนื่องในวโรกาสเฉลิมฉลองการครองราชย์ครบ 60 ปีเป็นจำนวน 2 คัน ฉะนั้นใครไม่เชื่อก็ไปถามบริษัทเบนซ์ได้เลย
สมัยรัฐบาลทักษิณก็ได้ซื้อถวายเพิ่มอีก 2 คันเพื่อใช้ทดแทนรถพระที่นั่งชุดเก่าที่ทรงใช้มากว่า 30 ปี ส่วนรถยี่ห้ออื่นไม่ว่าจะเป็นบีเอ็มหรือโตโยต้าและเบนซ์ล้วนแต่เป็นรถที่ทูลเกล้าถวายฯจากบริษัทรถเป็นส่วนใหญ่ (บริษัทเดมเลอร์มีแผนจะยุบผลิตภัณฑ์ may Bach อีกภายใน 2 ปีข้างหน้า)
(แต่พวกชั่วคิดล้มเจ้ายังจะโทษเรื่องการใช้รถราคาแพง ก็น่าจะไปโทษทักษิณมากกว่า เพราะในหลวงท่านไม่เคยรับสั่งว่าต้องซื้อให้ท่าน)
และเราต้องเข้าใจคำว่า ร.ย.ล. หรือ ราชยานหลวง เสียก่อนว่า เป็นรถสำหรับใช้ในราชการของสถาบันฯ ไม่ใช่รถส่วนพระองค์ ร.ย.ล. อาจเป็นได้ตั้งแต่รถกระบะที่ใช้งานในวังไปจนถึงรถพระที่นั่งของพระราชวงศ์ ส่วนรถมายบัคที่เป็นรถพระที่นั่งก็เปรียบ เสมือนรถประจำตำแหน่งของพระมหากษัตริย์ ไม่ใช่รถส่วนพระองค์ของในหลวงนะครับ โปรดทำความเข้าใจด้วยครับ
ส่วนเรื่องพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพพระพี่นาง ที่โดนโจมตีจากพวกไม่จงรักภักดีฯ ข้อนี้ผมไม่อยากเถียง เพราะคนที่รักก็มองอีกมุมหนึ่ง คนที่ไม่รักไม่ภักดีย่อมต้องมองอีกมุมหนึ่ง เถียงไปก็ไร้ประโยชน์ รังแต่จะสร้างความระคายเคืองเบื้องพระยุคลบาทไปเปล่าๆ และจะเป็นการเข้าทางพวกไม่จงรักภักดีได้ฯ เพราะพวกนี้เป็นฝ่ายอยู่ในที่มืด พวกนี้ไม่มีอะไรต้องเสียอยู่แล้ว แต่เราผู้จงรักภักดีฯอาจกลายเป็นเหยื่อเอง
ผมบอกได้แค่เพียง งบประมาณที่ซื้อโน้ตบุ้คใหม่ๆ เจ๋งสุดๆให้พวกบรรดา ส.ส.และ ส.ว.รวมถึงคณะรัฐมนตรีทั้งสภา รวมกับงบซื้อรถหรูๆประจำตำแหน่งรัฐมนตรีที่เปลี่ยนก็ออกบ่อยๆ เป็นเงินมากมายก็ยังไม่เห็นมีใครโวยกันเลย ฉะนั้นการเถียงกันเรื่องแบบนี้จึงยากที่จะจบ มันขึ้นอยู่กับมุมมองและความรู้สึกด้วย
(แต่ถ้าเรามองโลกในแง่ดี ก็จะรู้ว่า ช่างฝีมือทุกแขนงอยากมีที่ที่ได้แสดงฝีมือเพื่อเป็นการฝึกฝนและเป็นการเรียนรู้เพื่อสืบสานงานศิลปะชั้นสูง ที่ยากนักจะได้มีโอกาสได้ฝึกฝนอย่างเห็นเป็นรูปธรรมและใช้งานได้จริงๆ ศิลปะจากงานสร้างพระเมรุบางอย่างกำลังจะสูญหายไป เหลือแต่ในพิพิธภัณฑ์ ซึ่งนั่นหมายถึงศิลปะที่ตายแล้ว และศิลปกรรมในการสร้างพระเมรุนั้น ไม่ใช่มีเฉพาะสิ่งที่เก่าๆที่สืบทอดมาเท่านั้น แต่ได้มีการประยุกต์และคิดค้นใหม่เพิ่มเติมเข้าไปด้วยหลายอย่าง ศิลปกรรมบางอย่างไม่อาจพบเห็นได้จากงานทั่วไป จะมีให้ได้เห็นเฉพาะงานพระราชพิธีเท่านั้น “ศิลปะบางครั้งวัดกันไม่ได้ที่ราคา แต่มันอยู่ที่คุณค่ามากกว่า” หากผมอยากจะมองในแง่ร้ายก็สามารถคิดได้สามารถหาเหตุผลมาโจมตีได้เหมือนกัน แต่ผมเลือกที่จะอยู่ฝั่งเข้าใจเหตุผลในแง่มองโลกในแง่ดีมากกว่า และในฐานะคนไทยคนนึง ผมยินดีที่ถวายให้พระองค์อย่างสมพระเกียรติ)
อย่าลืมนะครับว่า ในหลวง ร.9 คือบุคคล ไม่ใช่สถาบันฯ แต่ในหลวง ร.9 คือส่วนหนึ่งของสถาบันพระมหากษัตริย์
การที่ FOBES จัดอันดับเป็นเรื่องของทรัพย์สินที่รวมส่วนของสถาบันฯ เข้าไปคิดด้วย และไม่ใช่เงินสดทั้งหมด เป็นเพียงค่าประมาณการว่าถ้ามีการขายจะมีมูลค่าประมาณนั้น แต่ในความเป็นจริง แทบไม่มีการขายทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เลยน้อยมาก เช่น ที่ดินก็มีแต่ให้เช่าเป็นส่วนใหญ่ และให้เช่าในราคาถูกกว่าราคาตลาดหลายเท่ามาก
แต่ทั้งหมดที่เขียนมา พวกไม่จงรักภักดีเขาไม่เชื่อผมหรอก พวกนี้ก็ยังคิดโทษอยู่อย่างเดียวว่า คนไทยจน คนไทยไม่เจริญเท่าญี่ปุ่นเพราะสถาบันฯเป็นต้นเหตุทั้งหมด เหตุผลอื่นๆเป็นเรื่องรองๆและไม่สำคัญไปหมด
หากผมจะถามเล่นๆว่า จะมีใครกล้าเอาหัวและตระกูล 7 ชั่วโคตรของตัวเองเป็นประกันได้บ้างว่า หากไม่มีสถาบันฯแล้ว ไทยเราจะเจริญแบบญี่ปุ่นกับสิงคโปร์ จะไม่เป็นแบบพม่าหรือฟิลิปปินส์ จะมีนักการเมืองที่โกงกินกันน้อยลงจากการจัดอันดับของต่างประเทศ และคนไทยจะรักกันไม่แตกแยกไม่ฆ่ากันเพื่อชิงอำนาจ?
ขอย้ำจุดประสงค์ของผมอีกครั้ง ผมไม่ได้ต้องการเปลี่ยนแปลงความคิดของพวกไม่จงรักภักดีสถาบันฯเลยแม้แต่คนเดียว แต่ผมอยากเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยเป็นภูมิต้านทานทางความคิดให้แก่คนที่จงรักภักดีสถาบันฯ และให้คนไทยได้รับรู้ว่า ประเทศไทยมีผู้คิดล้มล้างระบบสถาบันพระมหากษัตริย์อยู่จริง
“การจ้องด่าและจับผิดนั้นทำง่าย แต่การพยายามทำดีโดยไม่มีที่ตินั้นทำยากที่สุด แม้องค์ศาสดาของทุกๆ ศาสนาเองก็ยังไม่พ้นคนนินทาเลย ธรรมดาของโลกครับ”
รักเสื้อแดง แช่งอำมาตย์ อาฆาตม๊ากนาซี ขอเชิญมาร่วมกันที่นี่เลย!!!!!!
#2
ตอบ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 15:32
เกิน 3 บรรทัดอ่ะครับ
- Rxxxx, Lucas Leiva Benitez Rodger, 134340 and 1 other like this
#4
ตอบ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 15:52
อ่านแล้วไม่ค่อยเข้าใจ งงๆ อยู่
สรุปแล้ว ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ แท้จริงเป็นของใคร? ของในหลวง หรือของชาติ?
ของในหลวง แต่ในหลวงใช้ตามอำเภอใจไม่่ได้ ต้องขออนุญาติรัฐบาล ใช่มั๊ย ?
แล้วถ้าเป็นของชาติ รัฐบาลต้องการใช้จะได้มั๊ย? ต้องขอพระบรมราชานุญาตก่อน รึเปล่าว?
ที่ดราม่ากัน เพราะแนวคิดที่ต่างกันระหว่าง เมื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองแล้ว
- ทรัพย์สิน เดิมของราชวงค์ ก็ควรเป็นของราชวงค์ต่อไป แค่ไม่ปล่อยให้เงินก้อนนี้ พระมหากษัตริย์ใช้ได้ตามใจ รัฐบาลต้องรับรู้ด้วย
- กับ ทรัพย์สินควรเป็นของชาติ รัฐบาลควรใช้ได้โดยอิสระ เพื่อประโยชน์ของประชาชน ในอีกแง่มุม คือยึดทรัพย์กษัตริย์มาเป็นของรัฐบาลกลายๆ
คุณสมบัติที่สำคัญที่สุดของผู้ชนะสงคราม คือ ความแข็งแกร่ง และ อุดมการณ์ที่สอดคล้องกับความเป็นจริง
คุณธรรมที่พร้ำสอน ล้วนเป็นสิ่งที่จำเป็นรองลงมา ส่วน ประชาธิปไตยน่ะรึ เอาเข้าจริงๆ สำคัญอันใด??
#5
ตอบ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 17:10
ตามพระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์
- มาตรา 4 - ในพระราชบัญญัตินี้
- "ทรัพย์สินส่วนพระองค์" หมายความว่า ทรัพย์สินหรือสิทธิอันติดอยู่กับทรัพย์สิน ซึ่งมีอยู่หรือเกิดขึ้นในส่วนใดๆ แห่งราชอาณาจักร ถ้า
(ก) ทรัพย์สินหรือสิทธิเช่นว่านั้นเป็นของพระมหากษัตริย์อยู่แล้วในเมื่อเสด็จขึ้นครองราชสมบัติ และพระองค์ทรงมีสิทธิที่จะจำหน่ายสิ่งเหล่านั้นได้ก่อนครองราชสมบัติ
(ข) ทรัพย์สินหรือสิทธิเช่นว่านั้น ได้ตกมาเป็นของพระองค์ ในเมื่อหรือภายหลังแต่เวลาที่ครองราชสมบัติโดยทางใดๆ จากบรรดาพระราบุพการีใดๆ หรือจากบุคคลใดๆ ซึ่งไม่ได้เป็นพระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรนี้
(ค) ทรัพย์สินหรือสิทธิเช่นนั้น ได้มาหรือได้ซื้อจากเงินส่วนพระองค์
"ทรัพย์สินส่วนสาธารณสมบัติของแผ่นดิน" หมายความว่า ทรัพย์สินในพระมหากษัตริย์ซึ่งใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ เป็นต้นว่าพระราชวัง
"ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์" หมายความว่า ทรัพย์สินในพระมหากษัตริย์นอกจากทรัพย์สินส่วนพระองค์และทรัพย์สินส่วนสาธารณสมบัติของแผ่นดินดังกล่าวแล้ว
ตามบทบัญญัติข้างต้น พูดง่ายๆ ก็คือ
"บรรดาทรัพย์สินที่ได้มาก่อนที่จะทรงครองราชย์" อันได้แก่ทรัพย์สินตามพินัยกรรม พระราชมรดก ทรัพย์สินจากการประกอบกิจการใดๆ ก่อนขึ้นครองราชย์ อันนี้ถือ"เป็นทรัพย์สินส่วนพระองค์"ครับ สามารถจำหน่ายถ่ายโอน แก่ใครๆ ก็ได้ตามพระราชอัธยาศรัย อาทิเช่น วังสระปทุม ที่เป็นพระราชมรดกตกทอดมาตั้งแต่สมเด็จพระพันวัสสาฯ สมเด็จพระบรมราชชนก และพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน
"ทรัพย์สินส่วนสาธารณสมบัติของแผ่นดิน" อันนี้เป็นพระราชทรัพย์เมื่อได้ดำรงตำแหน่งพระมหากษัตริย์ (เป็นพระราชสมบัติสมบัติประจำตำแหน่งที่องค์พระมหากษัตริย์) เช่น พระบรมมหาราชวัง เครื่องสิริราชกกุฏภัณฑ์ รถยนต์พระที่นั่ง (ร.ย.ล.) ซึ่งจะได้ใช้สอยในฐานะพระมหากษัตริย์ แต่จะจะหน่ายถ่ายโอนไม่ได้ เพราะเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน เรียกอีกอย่างหนึ่งก็คือเป็นทรัพย์สินของพระราชวงศ์จักรี อยู่ในความดูแลของกรมธนารักษ์
"ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์" ส่วนนี้คือทรัพย์สินอื่นนอกจาก 2 อย่างข้างต้น เป็นทรัพย์สินของชาติ ซึ่งแต่เดิมรวมอยู่ในความดูแลของพระคลังข้างที่ อาทิเช่น ที่ดินต่างๆ ที่ได้พระราชทานให้แก่พระราชโอรส พระราชธิดา เมื่อพระราชโอรส พระราชธิดาไม่มีทายาท ที่ดินก็กลับมาเป็นของหลวง เป็นต้น เมื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองมีการแยกพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ออกไปเป็นเอกเทศ แล้วเอาทรัพย์สินส่วนนี้ให้ตกมาเป็นของแผ่นดิน จัดตั้งสำนักงานทรัพย์สินฯ ขึ้นดูแลผลประโยชน์ พระมหากษัตริย์ไม่มีอำนาจจำหน่ายถ่ายโอนได้ด้วยพระองค์เอง เพราะเป็นสมบัติของชาติ อยู่ในความดูแลของกระทรวงการคลัง
Edited by Alkene, 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 17:11.
- Rxxxx and Lucas Leiva Benitez Rodger like this
ผู้ใช้ 1 ท่านกำลังอ่านกระทู้นี้
สมาชิก 0 ท่าน, ผู้เยี่ยมชมทั่วไป 1 ท่าน และไม่เปิดเผยตัวตน 0 ท่าน