ผมเข้าไปไล่ดูกระทู้ในห้องราชดำเนิน ผมเจอกระทู้หนึ่ง อ่านแล้วอดขำไม่ได้ เป็นกระทู้ที่อ้างพระบรมราโชวาทของกษัตริย์จิกมี่ที่มีต่อที่ประชุมรัฐสภาภูฏานในกรุงทิมพู เมืองหลวงของประเทศ ซึ่งท่านโดยทรงเตือนสติบรรดานักการเมืองฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้านในประเทศของพระองค์ให้คำนึงถึงผลประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนเป็นสำคัญ จะเห็นว่าท่านก็ทรงตรัสกลางๆ ไม่ได้ตั้งใจที่จะกล่าวถึงหรือเจาะจงประเทศใดเป็นสำคัญ แต่ปรากฎว่าแดงในนั้นกลับร้อนตัว โกรธพระองค์เป็นฟืนเป็นไฟ อยากให้ลองเข้าไปดูครับ อ่านแล้วสนุกดี
http://pantip.com/topic/32111129/comment3-1
" สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก องค์พระประมุขรัชกาลที่ 5 แห่งภูฏาน พระราชทานพระบรมราโชวาทระหว่างการเปิดประชุมรัฐสภาของประเทศ โดยพระองค์ระบุ นักการเมืองที่ดีต้อง “ไม่ลุ่มหลงแต่ชัยชนะในการเลือกตั้ง” และผลประโยชน์ส่วนตัวโดยอ้าง “ระบอบประชาธิปไตย” และทรงเน้นย้ำว่าการปกครองแบบประชาธิปไตยที่ดีนั้น ต้องไม่สร้าง “ความแตกแยกในชาติ”
สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี วัย 34 พรรษา พระราชทานพระบรมราโชวาทต่อที่ประชุมรัฐสภาภูฏานในกรุงทิมพู เมืองหลวงของประเทศ โดยทรงเตือนสติบรรดานักการเมืองฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้านให้คำนึงถึงผลประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนเป็นสำคัญ พร้อมทรงย้ำ นักการเมืองที่ดีจะต้องไม่ “ลุ่มหลงมัวเมากับชัยชนะในการเลือกตั้ง” และใช้ระบอบประชาธิปไตยเพื่อประโยชน์ของตัวเอง
สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งภูฏาน ซึ่งขึ้นครองราชสมบัติต่อจากพระราชบิดาของพระองค์เมื่อ 9 ธันวาคม ปี 2006 ยังทรงตรัสว่า แม้การเสริมสร้างระบอบประชาธิปไตยให้เข้มแข็งจะถือเป็น “เป้าหมายหลัก” ของราชอาณาจักรของพระองค์ แต่การใช้ระบอบประชาธิปไตยจะต้องไม่นำมาซึ่ง “ความแตกแยก” ของคนในชาติ
“ความแข็งแกร่งของประชาธิปไตยและความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชนคือเป้าหมายหลักของภูฏาน แต่จะมีประโยชน์อันใดเล่า ถ้าระบอบประชาธิปไตยนั้นกลายเป็นสิ่งที่ทำลายความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของประชาชนในสังคมของเรา ขอให้พวกท่านทั้งหลายที่เป็นนักการเมืองในรัฐสภาแห่งนี้ จงอย่าลุ่มหลงแต่ชัยชนะในการเลือกตั้ง จนหลงลืมประชาชนและคำสัญญาที่พวกท่านเคยให้ไว้กับพวกเขา” กษัตริย์จิกมี ตรัสต่อที่ประชุมรัฐสภาภูฏาน
ในตอนท้ายของการพระราชทานพระบรมราโชวาทครั้งนี้ สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุกยังทรงเน้นย้ำว่า ในความเป็นจริงแล้วระบอบประชาธิปไตยถือเป็นระบอบการปกครองที่ดี แต่ที่ผ่านมากลับมีประชาชนในหลายประเทศทั่วโลกสูญเสียความเชื่อมั่นในการปกครองรูปแบบนี้ ซึ่ง “การสูญเสียศรัทธาในประชาธิปไตย” นี้มีที่มาจากพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของบรรดานักการเมือง และผู้แทนที่มาจากการเลือกตั้งนั่นเอง
ทั้งนี้ ภูฏาน ซึ่งเป็นบ้านของประชากรมากกว่า 742,000 คน ได้เปลี่ยนการปกครองจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นประชาธิปไตยตั้งแต่เมื่อปี 2008 ภายใต้การผลักดันของสมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี โดยในปัจจุบัน สภาผู้แทนราษฎรของราชอาณาจักรบนเทือกเขาหิมาลัยแห่งนี้มีจำนวนผู้แทนเพียง 47 ที่นั่งและมีพรรคการเมืองหลักเพียง 2 พรรค"