สำหรับ ผู้ที่ซื้อคอนโดฯ อาจหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องเจอกับเหตุการณ์ที่ทำให้คิดหนัก นั่นคือตอนตรวจรับโอนห้องชุดเพื่อจะโอนกรรมสิทธิ์ แต่เมื่อวัดขนาดพื้นที่ห้องชุดแล้วปรากฎว่าขนาดห้องจริงไม่เท่ากับขนาดหรือ พื้นที่ที่ระบุไว้ในสัญญาจะซื้อจะขาย บ้างก็เล็กลง บ้างก็ใหญ่ขึ้น แบบนี้จะต้องทำอย่างไร ควรยึดตามเอกสารใด
เรื่อง ความคลาดเคลื่อนของพื้นที่ห้องชุดเมื่อก่อสร้างเสร็จแล้วเป็นเรื่องที่เกิด ขึ้นได้ เพราะตอนที่โครงการกำหนดหรือแบ่งขนาดห้องเพื่อขายนั้นกระทำอยู่บนกระดาษ เมื่อมีการก่อสร้างจริงจึงมีโอกาสที่ขนาดห้องจะไม่เท่ากับที่ระบุในสัญญา เรื่องนี้ทางราชการทราบดีจนถึงขั้นได้กำหนดไว้ในกฎหมายอาคารชุดให้เป็นหลัก ปฏิบัติ ในกรณีที่ห้องชุดขนาดไม่เท่าในสัญญาจะทำอย่างไร รวมถึงกำหนดวิธีการวัดขนาดพื้นที่ห้องชุดที่เป็นมาตรฐานไว้ด้วยดังนี้
* ผนังที่กั้นแบ่งระหว่างห้องชุดโดยไม่ได้ทำหน้าที่รับน้ำหนักจากชั้นบน ให้คิดเนื้อที่ครึ่งหนึ่งของผนังเป็นเนื้อที่ห้องชุด
* ผนังที่กั้นระหว่างห้องชุดกับทรัพย์ส่วนกลางโดยไม่ได้ทำหน้าที่รับน้ำหนัก จากชั้นบน ให้คิดคำนวณเนื้อที่ผนังทั้งหมดรวมเป็นเนื้อที่ห้องชุด
* ผนังที่อยู่ริมอาคารและผนังของห้องชุดที่ล่วงล้ำไปในอากาศ ซึ่งเป็นผนังอยู่ริมอาคารเช่นเดียวกันเป็นโครงการ เป็นทรัพย์ส่วนกลาง ไม่ให้คำนวณเป็นเนื้อที่ของห้องชุด
* ความสูงของห้องชุดให้คิดจากพื้นที่ชั้นล่างสุดของห้องชุดขึ้นไปจนถึงเพดานชั้นบนสุด
นอก จากนี้ยังได้กำหนดว่าเมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จ หากเนื้อที่ห้องชุดเพิ่มขึ้นหรือลดลงจากจำนวนที่ระบุไว้ในสัญญา ก็ให้คิดราคากันตามราคาต่อหน่วยที่ได้กำหนดไว้ในสัญญา รวมถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้องก็ยังได้ระบุอีกว่า กรณีพื้นที่ห้องชุดไม่ตรงกับสัญญานั่นคือขาดหรือเกินมากกว่าร้อยละ 5% ของเนื้อที่ทั้งหมด ผู้ซื้อจะรับหรือไม่รับโดยใช้ราคาตามส่วนก็ได้ตามแต่จะเลือก แต่ถ้าขาดหรือเกินไม่เกินกว่าร้อยละ 5 ก็ให้ผู้ซื้อรับไว้และจ่ายราคาตามส่วน
นั่นคือหลักปฏิบัติเกี่ยวกับ เรื่องขนาดพื้นที่ห้องชุด จึงเป็นที่มาของข้อสรุปที่ชัดเจนตามมาอีกอย่าง นั่นคือ หากเนื้อที่ในโฉนดกับในสัญญาไม่ตรงกันก็ให้ยึดตามโฉนดเป็นหลัก
ซื้อบ้าน-ขายบ้าน-ตกแต่ง-ฮวงจุ้ย-ข้อแนะนำการซื้อบ้าน http://www.home.co.th