ดู ก่อนภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติ อันภิกษุเสพแล้วโดยมากเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นยานแล้ว ทำให้เป็นพื้นที่ตั้งแล้วให้ดำรงอยู่เนืองๆ แล้ว อบรมแล้วปรารภสม่ำเสมอดีแล้ว
พึงหวังอานิสงส์ ๑๐ ประการนี้ คือ
(๑) อดกลั้นต่อความไม่ยินดีและความยินดีได้ ไม่ถูกความไม่ยินดีครอบงำ ย่อมครอบงำความไม่ยินดีที่เกิดขึ้นแล้วอยู่ด้วย ฯ
(๒) อดกลั้นต่อภัยและความหวาดกลัวได้ ไม่ถูกภัยและความหวาดกลัวครอบงำ ย่อมครอบงำภัยและความหวาดกลัว ที่เกิดขึ้นแล้วอยู่ด้วย ฯ
(๓) อดทน คือเป็นผู้มีปรกติอดกลั้นต่อความหนาว ความร้อนความหิว ความกระหายต่อสัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลาน ต่อทำนองคำพูดที่กล่าวร้าย ใส่ร้ายต่อเวทนาประจำ
สรีระที่เกิดขึ้นแล้ว อันเป็นทุกข์กล้า เจ็บแสบไม่ใช่ความสำราญ ไม่เป็นที่ชอบใจพอจะสังหารชีวิตได้ ฯ
(๔) เป็นผู้ได้ฌาน ๔ อันเกิดมีในมหัคคตจิต เครื่องอยู่สบายในปัจจุบันตามความปรารถนา ไม่ยาก ไม่ลำบาก
(๕) ย่อมแสดงฤทธิ์ได้เป็นอเนกประการ คือ คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ ปรากฏตัวหรือหายตัวไปนอกฝา นอกกำแพง นอก ภูเขาได้ไม่ติดขัด เหมือนไปในที่ว่างก็ได้ ทำ
การผุดขึ้นและดำลงในแผ่นดิน เหมือนในน้ำก็ได้ เดินบนน้ำไม่แตกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ เหาะไปในอากาศ โดยบัลลังก์เหมือนนกก็ได้ ลูบคลำพระจันทร์และพระอาทิตย์ซึ่งมีฤทธิ์ มีอานุภาพมากปาน
ฉะนี้ ด้วยฝ่ามือก็ได้ ใช้อำนาจทางกายไปจนถึงพรหมโลกก็ได้ ฯ
(๖) ย่อมฟังเสียงทั้งสอง คือ เสียงทิพย์และเสียงมนุษย์ ทั้งที่ไกลและที่ใกล้ได้ด้วยทิพยโสตธาตุ อันบริสุทธิ์ ล่วงโสตของมนุษย์ ฯ
(๗) ย่อมกำหนดรู้ใจของสัตว์อื่น และบุคคลอื่นได้ ด้วยใจ คือจิตมีราคะก็รู้ว่าจิตมีราคะ หรือจิตปราศจากราคะก็รู้ว่าจิตปราศจากราคะ จิตมีโทสะก็รู้ว่าจิตมีโทสะ หรือจิตปราศจากโทสะก็รู้ว่าจิต
ปราศจากโทสะ จิตมีโมหะก็รู้ว่าจิตมีโมหะ หรือจิตปราศจากโมหะก็รู้ว่าจิตปราศจากโมหะ จิตหดหู่ก็รู้ว่าจิตหดหู่จิตฟุ้งซ่านก็รู้ว่าจิตฟุ้งซ่านจิตเป็นมหัคคตะก็ รู้ว่าเป็นมหัคคตะหรือจิตไม่เป็น มหัคคตะก็รู้ว่าจิต
ไม่เป็นมหัคคตะ จิตยังมีจิตอื่นยิ่งกว่าก็รู้ว่าจิตยังมีจิตอื่นยิ่งกว่าหรือจิตไม่มีจิต อื่นยิ่งกว่าก็รู้ว่าจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า จิตตั้งมั่นก็รู้ว่าจิตตั้งมั่นหรือ จิตไม่ตั้งมั่นก็รู้ว่าจิตไม่ตั้งมั่น จิตหลุดพ้นแล้วก็รู้ว่าจิตหลุดพ้น
แล้ว หรือจิตยังไม่หลุดพ้นก็รู้ว่าจิตยังไม่หลุดพ้น ฯ
(๘) ย่อมระลึกถึงขันธ์ ที่อยู่อาศัยในชาติก่อนได้เป็นอเนกประการ คือ ระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติ บ้าง ยี่สิบชาติบ้างสามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้างหลายสังวัฏกัปบ้าง หลายวิวัฏกัปบ้าง หลายสังวัฏ วิวัฏกัปบ้าง ว่าในชาติโน้น เรามีชื่ออย่างนี้ มีโคตรอย่างนี้ มีผิวพรรณอย่างนี้ มีอาหารอย่างนี้ เสวยสุขและทุกข์อย่างนี้ มีกำหนดอายุเท่านี้ เรานั้นเคลื่อนจากชาตินั้นแล้ว บังเกิดในชาติโน้น แม้ในชาตินั้น เราก็มีชื่ออย่างนี้มีโคตรอย่างนี้มีผิวพรรณอย่างนี้ มีอาหารอย่างนี้ เสวยสุขและทุกข์อย่างนี้ มีกำหนดอายุเท่านี้เรานั้นเคลื่อนจากชาตินั้นแล้ว จึงเข้าถึงในชาตินี้ ย่อมระลึกขันธ์ที่อยู่อาศัยในชาติก่อนได้เป็นอเนกประการ พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ เช่นนี้ ฯ
(๙) ย่อมมองเห็นหมู่สัตว์กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีตมีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ฯลฯ ย่อมมองเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติกำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดีมีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมทราบชัดหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม เช่นนี้ ฯ
(๑๐) ย่อมเข้าถึงเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ทำให้แจ้งเพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในปัจจุบันอยู่ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติอันภิกษุเสพแล้วโดยมากเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นยานแล้ว ทำให้เป็นพื้นที่ตั้งแล้ว ให้ดำรงอยู่เนืองๆ แล้วอบรมแล้ว ปรารภสม่ำเสมอดีแล้ว พึงหวัง
อานิสงส์ ๑๐ ประการได้ ดังนี้แล ฯ
พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๔
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
หน้าที่ ๑๖๙/๔๑๓หัวข้อที่ ๓๑๕ - ๓๑๗
ดู ก่อนภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติ อันภิกษุเสพแล้วโดยมากเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นยานแล้ว ทำให้เป็นพื้นที่ตั้งแล้วให้ดำรงอยู่เนืองๆ แล้ว อบรมแล้วปรารภสม่ำเสมอดีแล้ว
พึงหวังอานิสงส์ ๑๐ ประการนี้ คือ
(๑) อดกลั้นต่อความไม่ยินดีและความยินดีได้ ไม่ถูกความไม่ยินดีครอบงำ ย่อมครอบงำความไม่ยินดีที่เกิดขึ้นแล้วอยู่ด้วย ฯ
(๒) อดกลั้นต่อภัยและความหวาดกลัวได้ ไม่ถูกภัยและความหวาดกลัวครอบงำ ย่อมครอบงำภัยและความหวาดกลัว ที่เกิดขึ้นแล้วอยู่ด้วย ฯ
(๓) อดทน คือเป็นผู้มีปรกติอดกลั้นต่อความหนาว ความร้อนความหิว ความกระหายต่อสัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลาน ต่อทำนองคำพูดที่กล่าวร้าย ใส่ร้ายต่อเวทนาประจำ
สรีระที่เกิดขึ้นแล้ว อันเป็นทุกข์กล้า เจ็บแสบไม่ใช่ความสำราญ ไม่เป็นที่ชอบใจพอจะสังหารชีวิตได้ ฯ
(๔) เป็นผู้ได้ฌาน ๔ อันเกิดมีในมหัคคตจิต เครื่องอยู่สบายในปัจจุบันตามความปรารถนา ไม่ยาก ไม่ลำบาก
(๕) ย่อมแสดงฤทธิ์ได้เป็นอเนกประการ คือ คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ ปรากฏตัวหรือหายตัวไปนอกฝา นอกกำแพง นอก ภูเขาได้ไม่ติดขัด เหมือนไปในที่ว่างก็ได้ ทำ
การผุดขึ้นและดำลงในแผ่นดิน เหมือนในน้ำก็ได้ เดินบนน้ำไม่แตกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ เหาะไปในอากาศ โดยบัลลังก์เหมือนนกก็ได้ ลูบคลำพระจันทร์และพระอาทิตย์ซึ่งมีฤทธิ์ มีอานุภาพมากปาน
ฉะนี้ ด้วยฝ่ามือก็ได้ ใช้อำนาจทางกายไปจนถึงพรหมโลกก็ได้ ฯ
(๖) ย่อมฟังเสียงทั้งสอง คือ เสียงทิพย์และเสียงมนุษย์ ทั้งที่ไกลและที่ใกล้ได้ด้วยทิพยโสตธาตุ อันบริสุทธิ์ ล่วงโสตของมนุษย์ ฯ
(๗) ย่อมกำหนดรู้ใจของสัตว์อื่น และบุคคลอื่นได้ ด้วยใจ คือจิตมีราคะก็รู้ว่าจิตมีราคะ หรือจิตปราศจากราคะก็รู้ว่าจิตปราศจากราคะ จิตมีโทสะก็รู้ว่าจิตมีโทสะ หรือจิตปราศจากโทสะก็รู้ว่าจิต
ปราศจากโทสะ จิตมีโมหะก็รู้ว่าจิตมีโมหะ หรือจิตปราศจากโมหะก็รู้ว่าจิตปราศจากโมหะ จิตหดหู่ก็รู้ว่าจิตหดหู่จิตฟุ้งซ่านก็รู้ว่าจิตฟุ้งซ่านจิตเป็นมหัคคตะก็ รู้ว่าเป็นมหัคคตะหรือจิตไม่เป็น มหัคคตะก็รู้ว่าจิต
ไม่เป็นมหัคคตะ จิตยังมีจิตอื่นยิ่งกว่าก็รู้ว่าจิตยังมีจิตอื่นยิ่งกว่าหรือจิตไม่มีจิต อื่นยิ่งกว่าก็รู้ว่าจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า จิตตั้งมั่นก็รู้ว่าจิตตั้งมั่นหรือ จิตไม่ตั้งมั่นก็รู้ว่าจิตไม่ตั้งมั่น จิตหลุดพ้นแล้วก็รู้ว่าจิตหลุดพ้น
แล้ว หรือจิตยังไม่หลุดพ้นก็รู้ว่าจิตยังไม่หลุดพ้น ฯ
(๘) ย่อมระลึกถึงขันธ์ ที่อยู่อาศัยในชาติก่อนได้เป็นอเนกประการ คือ ระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติ บ้าง ยี่สิบชาติบ้างสามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้างหลายสังวัฏกัปบ้าง หลายวิวัฏกัปบ้าง หลายสังวัฏ วิวัฏกัปบ้าง ว่าในชาติโน้น เรามีชื่ออย่างนี้ มีโคตรอย่างนี้ มีผิวพรรณอย่างนี้ มีอาหารอย่างนี้ เสวยสุขและทุกข์อย่างนี้ มีกำหนดอายุเท่านี้ เรานั้นเคลื่อนจากชาตินั้นแล้ว บังเกิดในชาติโน้น แม้ในชาตินั้น เราก็มีชื่ออย่างนี้มีโคตรอย่างนี้มีผิวพรรณอย่างนี้ มีอาหารอย่างนี้ เสวยสุขและทุกข์อย่างนี้ มีกำหนดอายุเท่านี้เรานั้นเคลื่อนจากชาตินั้นแล้ว จึงเข้าถึงในชาตินี้ ย่อมระลึกขันธ์ที่อยู่อาศัยในชาติก่อนได้เป็นอเนกประการ พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ เช่นนี้ ฯ
(๙) ย่อมมองเห็นหมู่สัตว์กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีตมีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ฯลฯ ย่อมมองเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติกำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดีมีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมทราบชัดหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม เช่นนี้ ฯ
(๑๐) ย่อมเข้าถึงเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ทำให้แจ้งเพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในปัจจุบันอยู่ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติอันภิกษุเสพแล้วโดยมากเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นยานแล้ว ทำให้เป็นพื้นที่ตั้งแล้ว ให้ดำรงอยู่เนืองๆ แล้วอบรมแล้ว ปรารภสม่ำเสมอดีแล้ว พึงหวัง
อานิสงส์ ๑๐ ประการได้ ดังนี้แล ฯ
พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๔
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
หน้าที่ ๑๖๙/๔๑๓หัวข้อที่ ๓๑๕ - ๓๑๗
http://touch.exteen..../20121213/entryพระพุทธศาสนาคืออะไร สำหรับผมพระพุทธศาสนาคือศาสนาที่สอนถึงความจริงของธรรมชาติ
พุทธะแปละว่า รู้ ตื่น และเบิกบาน คนที่ศึกษาและปฏิบัติตามคำสอนของศาสนานี้ก็ควรจะมีลักษณะของความ รู้ ตื่น และเบิกบานด้วย
โดยส่วนตัวผมไม่ค่อยสนใจนะว่าศาสนานี้คืออะไร แต่ผมคิดว่าศาสนานี้สอนอะไร และเราได้อะไรจากศาสนานี้บ้าง
ถ้าเรานับถือศาสนาพุทธ พอมีคนถามว่า คุณได้ประโยชน์อะไรจากศาสนานี้บ้าง ผมมองว่านี่แหละเป็นคำถามที่สำคัญ
เพราะถ้าบอกว่านับถือพุทธ แต่ว่าตั้งแต่เกิดจนตายยังไม่ได้ประโยชน์จากศาสนานี้อย่างจริงจังเลย ผมว่ามันก็ไม่ต่างอะไรกับคนที่ไม่ได้นับถือศาสนา
เพราะศาสนี้ไม่สามารถให้ประโยชน์อะไรแก่ผู้ที่นับถือได้เลย
ถ้าถามผมว่า ผมได้ประโยชน์อะไรจากศาสนานี้บ้าง ผมก็จะบอกเลยว่าได้มามากมาย แต่สิ่งที่ผมซาบซึ้งที่สุดคือการบรรเทาทุกข์และสร้างปัญญา
มันเป็นสิ่งธรรมดาที่คนเราจะนึกถึงหมอเมื่อยามป่วย ผมก็นึกถึงธรรมะเมื่อผมทุกข์เหมือนกัน ถ้าปกติดีอยู่ผมก็มักจะหลงระเริงไปตามโลกทั่วไป
แต่ทุกครั้งที่ผมทุกข์ ผมก็จะกลับมามองธรรมะตลอด และสิ่งนี้ก็ให้คำตอบกับผมได้ สามารถบรรเทาทุกข์ได้ และบอกหนทางว่า ถ้าไม่อยากทุกข์ควรจะทำอะไร
สำหรับในแง่ปัญญาตัวผมอาจจะเห็นได้ไม่ชัดนัก แต่ว่าผมเห็นในคนที่บวชในศาสนานี้ครับ พระที่ผมเคารพมากคือหลวงปู่พุทธะอิสระ
ในทางโลกท่านจบไม่ถึงป.สี่ แต่ว่าปัญญาของท่านนั้นมีมากมาย ท่านรู้แทบทุกเรื่อง แก้ไขปัญหาได้ทุกเรื่อง
และยิ่งเห็นชัดมากในการออกมาเป็นแกนนำทางการเมืองครั้งนี้ มันทำให้ผมคิดว่า เออ ถ้าเราศึกษาและปฏิบัติธรรมะของศาสนานี้
ซักวันหนึ่งเราก็อาจจะมีปัญญาได้แบบท่านบ้าง
เท่าที่ผมศึกษาและปฏิบัติมาจนถึงปัจจุบันนี้ ผมเห็นสิ่งที่สำคัญคือสติครับ ความรู้ตัวนี่เป็นธรรมะที่ดูธรรมดา แต่ก็สำคัญมาก
ผมยังไม่รู้เลยว่าแค่ธรรมะข้อนี้ ถ้าผมใช้เวลาทั้งชีวิต ผมจะเรียนธรรมะข้อนี้ได้จบไหม แค่การมีสติตลอดเวลา มันก็เป็นเรื่องที่ยากมากแล้ว
การปฏิบัติธรรมที่ดีผมคิดว่ามันควรจะทำได้ตลอดเวลาครับ ไม่ว่าจะหลับหรือตื่น ทำงาน เดิน วิ่ง นั่ง เราสามารถทำได้ตลอด
ผมคิดว่าคนที่เข้าถึงธรรมะจริง ๆ นั่งก็เป็นธรรมะ นอนก็เป็นธรรมะ ยืนก็เป็นธรรมะ นอนก็เป็นธรรมะ เขาไม่จำเป็นต้องท่องจำอะไร
เพราะทุกการกระทำของเขาแฝงไปด้วยธรรมะแล้ว
สิ่งที่ผมพูดมาทั้งหมด ผมก็ถ่ายทอดได้แต่ตัวอักษร สิ่งสำคัญไม่ใช่ว่าผมรู้อะไรครับ แต่ผมว่าสิ่งสำคัญคือ ตัวคุณเองรู้อะไร
ถ้าคิดว่าศาสนานี้ยังพอมีประโยชน์อยู่บ้าง ผมแนะนำว่าให้ลองศึกษาและปฏิบัติดูครับ ถ้าเปรียบธรรมะเป็นน้ำ อย่าเก็บไว้แต่ในขวดครับ
ลองหยิบเอามาดื่มบ้าง เมื่อลองดื่มดูแล้ว คุณจะรู้ได้ด้วยตัวเองว่า ธรรมะมันรสชาติอย่างไร คุณควรจะดื่มมันต่อ หรือว่าโยนมันทิ้งไป
มีแต่ตัวคุณเองเท่านั้นที่สัมผัสมันได้ครับ ขอให้ท่านมีความเจริญในธรรมครับ
ปล. เขียนออกนอกลู่นอกทางไปเยอะครับ ขออภัยที่ตอบหลุดประเด็นไปไกล