Jump to content


Photo
- - - - -

คำถามเรื่องการปรองดอง ของภรรยา พันเอกร่มเกล้า


This topic is in the process of being archived.
11 ความเห็นในกระทู้นี้

#1 busaba

busaba

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 649 posts

ตอบ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 - 20:29

*
POPULAR

เธอเขียนได้ตรงใจม๊วากกก และคิดว่าคงตรงใจกับอีกหลายๆ คน

(ขอ copy ข้อความในเพจของเธอมาเล่าสู่กันฟัง)


คำถามเรื่องการปรองดองเยียวยา

นางนิชา หิรัญบูรณะ ธุวธรรม


เมื่อวันที่ ๓๐ มกราคม ๒๕๕๕ ดิฉันได้รับเชิญจากคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) เข้าร่วมเวทีเสวนาเพื่อแสดงความเห็นเรื่องความปรองดองในกระแสพลวัตทางสังคมและการเมือง

พ.ศ.๒๕๕๕ จัดโดยคณะอนุกรรมการด้านยุทธศาสตร์เพื่อการปรองดอง ซึ่งมี ดร.กิตติพงษ์ กิตยารักษ์ เป็นประธานอนุกรรมการ วัตถุประสงค์เพื่อเปิดรับฟังความคิดเห็นอันนำไปสู่การแสวงหาแนวทางแก้ไขปัญหาให้เกิดความปรองดองร่วมกันอย่างเป็นระบบ และนำเสนอแนวทางที่เป็นรูปธรรมในการยับยั้งไม่ให้ความรุนแรงเกิดขึ้นใหม่หรือขยายตัว

ในการประชุมครั้งนี้ ดร.คณิต ณ นคร ประธาน คอป. ได้เข้าร่วมการประชุมด้วย ดิฉันจึงเห็นว่าเป็นโอกาสอันดีที่จะได้พบประธาน คอป.ซึ่งไม่เคยมีโอกาสได้พบมาก่อน เพื่อจะได้สอบถาม ไขข้อข้องใจต่างๆ ที่สงสัยแต่ไม่ทราบจะไปถามใคร ซึ่งอยากสรุปประเด็นที่ได้ซักถามและแสดงความคิดเห็นในการประชุมดังกล่าว ขยายความจากที่ปรากฎเป็นข่าวในหนังสือพิมพ์ ดังนี้

๑) เนื่องจากเป้าหมายของ คอป.และรัฐบาล ต้องการให้ แนวทางเป็นที่ยอมรับร่วมกันของทุกฝ่าย จึงได้ ถามว่า คอป. มองว่า “คู่กรณีแห่งความขัดแย้ง” คือใครบ้าง คำว่า “ฝ่าย” หมายถึงฝ่ายใดบ้าง และ คอป.หรือ รัฐบาลจะมีกระบวนการให้ “แต่ละฝาย”แสดงการยอมรับหรือไม่ยอมรับในมาตรการต่างๆ ที่ออกมาได้อย่างไร เพราะสภาพความขัดแย้งในปัจจุบันมิได้มีฝ่ายชัดเจน เหมือนครั้งฝ่ายเหลือง-แดงในอดีต หากแต่ความขัดแย้งของสังคมไทยได้ขยายตัวในวงกว้าง ผู้ได้รับผลกระทบ มีทั้งผู้บาดเจ็บ เสียชีวิตจากเหตุการณ์จำนวนมาก ยังมีการรวมตัวของกลุ่มคนอีกหลากหลายในสังคม เช่น สีชมพู เสื้อหลากสี facebook ฯลฯ ยังมีฝ่ายรัฐบาลอดีตนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ ฝ่ายรัฐบาลอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ฝ่ายทหาร นักธุรกิจและชาวกรุงเทพมหานครที่ได้รับผลกระทบโดยตรง รวมถึงประชาชนเจ้าของประเทศ ซึ่งเป็นเจ้าของภาษีเงินได้ที่รัฐนำมาใช้เยียวยา เขาเหล่านี้มีโอกาสและช่องทางแสดงความเห็นหรือการยอมรับให้รัฐบาลและ คอป.รับฟังได้อย่างไรบ้าง


๒) ในแง่ขั้นตอนกระบวนการ ดิฉันเห็นว่า ควรต้องเริ่มจาก (๑) การค้นหาข้อเท็จจริงของเหตุการณ์ จากนั้นนำเข้าสู่ (๒) กระบวนการยุติธรรม เมื่อหาตัวคนถูก-คนผิดได้แล้ว จึงนำไปสู่ (๓)กระบวนการเยียวยา กล่าวคือ เยียวยาผู้บริสุทธิ์ที่ได้รับผลกระทบ และดำเนินการกับคนผิด ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับสังคมว่าจะให้อภัย/ยกโทษให้ คนผิดที่สำนึกได้เพื่อความปรองดอง หรือ จะลงโทษคนผิดที่ไม่สำนึกให้หลาบจำ แต่เนื่องจากรัฐบาลและ คอป. เริ่มเปิดฉากด้วยการเยียวยาเป็นเรื่องแรกโดยข้ามผ่านอีก ๒ กระบวนการ และมติ ครม. เรื่องการเยียวยาก็ไม่ได้ มีคำอธิบายในเชิงเหตุผลใดๆ ประกอบมาตรการให้สังคมเข้าใจ จึงทำให้การเยียวยากลายเป็นประเด็นที่มีการวิพากษ์วิจารณ์และขยายตัวลุกลามไปยังประเด็นอื่นๆ ในอดีตที่สำคัญขั้นตอนการค้นหาข้อเท็จจริง และการดำเนินคดีตามกระบวนการยุติธรรมก็ไม่มีความคืบหน้า เสมือนว่าไม่ได้รับความสำคัญ ดิฉันได้ยกตัวอย่างกรณีคดีของพลเอก ร่มเกล้า ธุวธรรม สามีว่า เวลาผ่านไปเกือบ ๒ ปี แต่ไม่มีความคืบหน้าอย่างใด จนล่าสุดเมื่อต้นเดือน มกราคม ๒๕๕๕ ได้มีโอกาสพบกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม จึงได้เรียนถามความคืบหน้าคดี ซึ่งวันต่อมาท่านก็กรุณาให้เจ้าหน้าที่ส่งสรุปสำนวนคดีมาให้ปรากฎความคืบหน้าคดีเพียงสั้นๆ ๑ บรรทัดว่า “ขณะนี้ยังไม่มีพยานหลักฐานใดที่จะทราบตัวคนร้ายในคดีนี้” แต่ถ้าย้อนกลับไปเมื่อ ๒๐ มกราคม ๒๕๕๔ กรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI)ได้เคยแถลงผลการสอบสวนคดีของพี่ร่มเกล้าว่า มีพยาน หลักฐานว่าเกิดจากการกระทำของกลุ่ม นปช. จากนั้น ก็มีการจับตัวผู้กระทำความผิดฐานก่อการร้ายและใช้อาวุธสงครามเกี่ยวพันกับคดีพี่ร่มเกล้าและคดีอื่นอีก ๘ คดีได้ ซึ่งต่อมาก็มีการให้ประกันตัวไป สรุปสำนวนคดีในวันนี้ทำไมจึงแตกต่างจากในวันก่อน? แล้วเราจะทำอย่างไรต่อไป?

ดิฉันตระหนักว่าการหาตัวผู้กระทำผิดในเหตุการณ์ความไม่สงบครั้งนี้ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่อย่างน้อยควรมีการแจ้งความคืบหน้าของคดีให้ครอบครัวผู้เสียชีวิตทราบเป็นระยะๆ เพื่อให้ความมั่นใจว่าคดีของพวกเราไม่ได้ถูกละทิ้ง เพิกเฉยหรือมีการเปลี่ยนแปลงหลักฐานพยานใดๆ ในช่วงการเปลี่ยนผ่านรัฐบาล


๓ สำหรับความเห็นเรื่องมาตรการเยียวยา ดิฉันได้ตั้งคำถามแก่เวทีเสวนา คอป. ๓ เรื่อง คำถามแรก คือ ตามหลักการสากล ใครคือผู้มีสิทธิได้รับการเยียวยา? ผู้กระทำความผิดมีสิทธิได้รับการเยียวยา ด้วยหรือไม่? (ในเงื่อนไขการเยียวยาของกรมคุ้มครองสิทธิฯ กระทรวงยุติธรรม ก็ระบุว่าต้องมีการพิสูจน์ว่าไม่ได้เป็นผู้กระทำความผิด) ซึ่งคำตอบของ คอป. จากเวทีเสวนาครั้งนี้ คือ “ต้องไม่ใช่ผู้กระทำความผิด” แต่เงื่อนไขนี้ คอป.ไม่ได้ระบุไว้ในรายงานที่เสนอต่อรัฐบาล คำถามที่ ๒ คือ เนื่องจากผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ครั้งนี้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก คนเหล่านี้มาด้วยเจตนาที่แตกต่างกัน แบ่งประเภทได้ดังนี้ (๑) กลุ่มเจ้าหน้าที่ทหาร ตำรวจ และอาสาสมัครหน่วยกู้ภัยซึ่งมาปฏิบัติตามหน้าที่ (๒) ประชาชนผู้บริสุทธิ์ (๓) กลุ่มผู้ชุมนุม นปช.ที่ไม่ได้ใช้ความรุนแรงและ (๔) กลุ่มผู้ชุมนุม นปช.ที่ใช้ความรุนแรง คำถามคือ มาตรการต่อคนที่เสียชีวิตและบาดเจ็บ ๔ กลุ่มนี้ ควรอยู่บนหลักการหรือคำอธิบายเหตุผลในการชดเชยเยียวยาเดียวกันหรือไม่โดยเฉพาะกลุ่มที่ใช้ความรุนแรง? คำถามที่ ๓ คือ ขอทราบคำจำกัดความคำว่า “นักโทษคดีการเมือง” ตามที่ คอป.เขียนในรายงาน (ข้อ ๕.๓.๓) ว่า “ผู้ต้องหาและจำเลยมิใช่เป็นผู้ร้ายหรือาชญากรดังเช่นคดีอาญาตามปกติ แต่เป็นผู้ที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดอันมีมูลเหตุเพื่อให้บรรลุเป้าหมายทางการเมือง” ดังนั้น คอป.จึงเรียกร้องให้มีการปล่อยตัวชั่วคราวหรือควบคุมตัวในสถานที่ที่เหมาะสม ซึ่งมิใช่เรือนจำปกติอันเป็นสถานที่ควบคุมผู้ต้องหาและจำเลยทั่วไป ในประเด็นนี้ ดิฉันสงสัยว่า เนื่องจากเหตุการณ์การเมืองครั้งนี้มีความผิดทางอาญาเกิดขึ้น คือ มีการเสียชีวิตและบาดเจ็บ ดังนั้น นักโทษคดีการเมืองในกรณีนี้จึงต่างจากผู้ต้องหาหรืออาชญากรในคดีอาญาตามปกติอย่างไร

๔ ประเด็นสุดท้าย ดิฉันไม่เห็นด้วยกับ ปรัชญาการลงโทษ ที่ปรากฎในรายงาน (คอป.) หน้า 12 ว่า

“...การกระทำความผิดมีมูลฐานเริ่มต้นจากความคิดเห็นในทางการเมือง ดังนั้น แม้พฤติกรรมที่ผิดกฎหมายที่ก่อให้เกิดผลกระทบและสร้างความเสียหายแก่บุคคลและส่วนรวมเป็นเรื่องที่ผู้กระทำต้องมีความรับผิดชอบในทางกฎหมายที่เหมาะสม แต่ในหลายกรณีความรับผิดชอบในทางอาญาด้วยการฟ้องคดีและการลงโทษทางอาญาแต่เพียงอย่างเดียวอาจไม่สอดคล้องต่อปรัชญาในการลงโทษ ไม่ก่อให้เกิดความยุติธรรม และไม่สามารถแก้ไขปัญหาความขัดแย้งได้ ทั้งนี้ เพราะผู้กระทำความผิดที่มีเหตุจูงใจทางการเมืองแตกต่างจากผู้กระทำความผิดอาญาทั่วไปที่เป็นผู้ร้ายหรืออาชญากรโดยกมลสันดาน การลงโทษพฤติกรรมความรุนแรงที่เกิดขึ้นย่อมไม่สามารถส่งผลในทางสร้างความยับยั้งหรือความหลาบจำให้กับผู้กระทำผิดและสังคมโดยรวมตามทฤษฏีในการลงโทษทั่วไปได้ นอกจากนี้ การดำเนินคดีอาญาที่เกี่ยวเนื่องกับความขัดแย้งทางการเมืองยังมีปัญหาที่เกิดขึ้นจากข้อจำกัดของกระบวนการในการสืบสวน สอบสวน การตั้งข้อหา การรวบรวมพยานหลักฐานที่ถูกมองว่าไม่เป็นกลางและโน้มเอียงไปในทางที่เป็นคุณต่อผู้กุมอำนาจรัฐในแต่ละช่วงเวลาอีกด้วย...”


ดิฉันไม่เห็นด้วยว่า คนที่ทำผิดด้วยเหตุจูงใจทางการเมืองในครั้งนี้ จะมีกมลสันดานที่ดีกว่าผู้กระทำความผิดทางอาญาทั่วไป เพราะความผิดจากมูลเหตุจูงใจทางการเมืองของเขา ทำให้สามีดิฉันและคนอื่นอีกมากมาย “ตาย” ไม่แตกต่างจากความผิดทางอาญา ตรงกันข้าม ดิฉันเห็นว่า ผู้ที่นำอาวุธสงครามออกมาทำร้ายเจ้าหน้าที่และประชาชนผู้บริสุทธิ์ซึ่งไม่เคยรู้จักหรือมีเหตุแค้นเคืองส่วนตัวใดๆ ต่อกันมาก่อน รวมถึงคนที่มีเหตุจูงใจการเมืองแล้ว จุดไฟเผาบ้านเผาเมือง ใช้อาวุธสงครามยิงวัดพระแก้วซึ่งทำร้ายหัวใจคนไทย เป็นผู้มีกมลสันดานที่โหดร้ายเลวอย่างไม่มีสิ่งใดเปรียบ จึงไม่เข้าใจว่า คอป.ใช้มาตรฐานใดในการวัดกมลสันดานคน ควรวัดที่ผลของการกระทำนั้นมากกว่า และ คอป.ก็มิได้ระบุว่าการลงโทษใดจึงจะก่อให้เกิดการยับยั้งหรือหลาบจำ มีแต่ขอให้ปล่อยตัวหรือแยกการคุมขัง นอกจากนี้ เหตุผลในช่วงท้ายข้อความข้างต้น ยังแสดงว่า คอป.เองไม่เชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรม ในขณะที่ คอป.ขอให้รัฐและสังคมยึดถือปฏิบัติตามหลักนิติธรรมอย่างจริงจัง

มีนักวิชาการใน คอป.บางท่านให้ความเห็นว่าการพิจารณาเรื่องนี้ต้องก้าวข้ามว่าใครถูก-ใครผิด และต้องมองจากมุมคนกลางที่ไม่ใช่ผู้ได้รับผลกระทบ เพราะผู้ได้รับผลกระทบจะมีความรู้สึก “แก้แค้น-เอาคืน” ดิฉันอยากบอกในฐานะเหยื่อผู้ได้รับผลกระทบคนหนึ่งและเชื่อว่าญาติผู้เสียชีวิตรายอื่นก็คงคิดไม่ต่างกันว่า ความอาฆาตพยาบาท ไม่ทำให้ดวงวิญญาณของคนที่เรารักสงบสุข สังคมไทยเป็นสังคมที่รู้จักคำว่า “อภัย” เพียงแต่ขอให้คนทำผิดรู้ตัวว่าเขาผิด สำนึกได้ว่าจะไม่ทำผิดอีก เราก็พร้อมจะให้อภัย แต่ไม่ใช่เขายังไม่รู้ตัวเลยว่าเขาผิด แล้วท่านจะให้ความมั่นใจกับสังคมได้อย่างไรว่า วันหนึ่งเขาจะไม่ทำผิดอีก เขาจะไม่ฆ่าคน จะไม่สร้างความรุนแรง ทำร้ายประเทศไทย ลองคิดดูว่า หากวันหนึ่งลูกหลานของท่านลุกขึ้นมาฆ่าคนตาย แล้วบอกว่าไม่ผิด เพราะผู้ใหญ่ทำให้เขาดูว่าไม่ผิด ท่านจะตอบลูกหลานท่านได้อย่างไร สังคมไทยจะอยู่กันได้อย่างไร ขอยกคำพูดอดีตนายกรัฐมนตรี ชวน หลีกภัย ว่า “วิธีการปรองดองที่ดีที่สุดคือ การทำสิ่งถูกให้ถูก และทำสิ่งผิดให้ผิด ไม่ใช่ทำสิ่งที่ผิดให้ถูก และทำสิ่งที่ถูกให้ผิด การแก้ปัญหาต้องยึดหลัก เพื่อไม่ให้การแก้ป้ญหาหนึ่งกลายเป็นการสร้างปัญหาอื่นๆ ตามมา”

๑ กุมภาพันธ์

๒๕๕๕


อันชีวิตคนเราช่างสั้นนัก ต้องรู้จักทำประโยชน์ก่อนจะสายทิ้งไว้เป็นอนุสรณ์หลังความตาย มีความหมายคงอยู่ตลอดไป

#2 monin

monin

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,552 posts

ตอบ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 - 21:14

ไม่มีอะไรจะบรรยาย
นอกจากอยากบอกว่า
คอป. สารเลว
ขอให้กรรมที่ทำให้ประเทศนี้เป็น "เหยื่อ" ของพวกแดงเถื่อน
จงย้อนกลับไปสู่ครอบครัว คอป.ทุกคน

#3 JUR1ST

JUR1ST

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 2,803 posts

ตอบ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 - 21:42

เมื่ออ่านดูแล้วเข้าใจได้ว่า คอป. ต้องการให้มีการปรองดองในลักษณะที่ว่าขอให้ทุกคนลืมเรื่องร้ายๆ ไปซะแล้วก็มากอดกัน

แนวคิดอย่างนี้เป็นการคิดแบบขอไปที แก้ปัญหาเฉพาะหน้าแล้วก็เอาขยะซุกไว้ใต้พรม แม้จะมองไม่เห็นกองขยะแต่การทำแบบนี้ก็กลบกลิ่นไม่อยู่หรอก

หากดำเนินการตามแนวที่ คอป. เสนอแนะ ก็จะกลายเป็นแนวทางปฏิบัติในภายหน้าได้ว่าการรณรงค์ทางการเมืองสามารถใช้ความรุนแรงกันได้ เพราะผู้ที่กระทำผิดจะได้รับการยกเว้นโทษเพราะถือว่าแสดงออกทางการเมือง แถมยังจะได้รับการชดเชยอีก จะเอาแบบนี้ใช่ไหม

คนใน คอป. ก็อายุและประสบการณ์ไม่ใช่น้อยแล้ว แยกแยะความผิดทางอาญาออกจากความผิดทางการเมืองไม่ออกหรือไง แรงจูงใจทางการเมืองที่ทำให้ผู้กระทำผิดก่อเหตุอุกฉกรรจ์ต่อชีวิต ร่างกายและทรัพย์สินของผู้อื่นมันไม่ได้มาจากเจตนาสุจริตอยู่แล้ว หากจะหาเหตุผลมาสนับสนุนแนวทางของตนเองก็กรุณาอย่าหาเหตุผลแบบล่องลอยไร้หลักการอย่างนี้

#4 RiDKuN_user

RiDKuN_user

    มหาเมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 13,167 posts

ตอบ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 - 21:55

“วิธีการปรองดองที่ดีที่สุดคือ การทำสิ่งถูกให้ถูก และทำสิ่งผิดให้ผิด ไม่ใช่ทำสิ่งที่ผิดให้ถูก และทำสิ่งที่ถูกให้ผิด การแก้ปัญหาต้องยึดหลัก เพื่อไม่ให้การแก้ป้ญหาหนึ่งกลายเป็นการสร้างปัญหาอื่นๆ ตามมา”


ผมชอบประโยคนี้ของท่านชวนมาก ถ้าเราทำอย่างรู้ถูกผิด
เราจะไม่ต้องมีปัญหาและมานั่งอธิบาย ว่าทำไมคนนี้ได้อย่างนี้ คนนั้นได้อย่างนั้น
ในทางกลับกัน ถ้าเราทำอย่างเลือกที่รักมักที่ชัง ไม่ทำเรื่องที่ควรทำให้ถูก ยอมรับเรื่องที่ผิด
มันก็จะมีปัญหาตามมาไม่รู้จักจบสิ้น
" ชีวิตผมไม่เคยกลัวอะไรทั้งนั้น ผมกลัวอย่างเดียว...กลัวจะถูกมองว่า 'ขายชาติ' " - The Last Tycoon

~ ทักษิณตาย เสรีไทยไชโย ~

#5 i-am-thai

i-am-thai

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 472 posts

ตอบ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 - 23:58

เห็นด้วยกับประเด็นที่ ๔ ที่ท่านเขียนมาก

นี่คือสิ่งซึ่งแสดงให้เห็นถึงสติปัญญาและภูมิความรู้โดยแท้

#6 ผึ้งน้อยตุหรัดตุเหร่

ผึ้งน้อยตุหรัดตุเหร่

    หน้าตาดี มีอุดมการณ์

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 21,670 posts

ตอบ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 - 00:24

.....อ่านทุกบรรทัดที่ภรรยาพันเอกร่มเกล้าเขียนแล้ว...

ผมอยากให้กระทู้นี้เป็น กระทู้ปักหมุด ของพวกเราชาวสรท.จริงๆครับ
gladiator 1.jpg

 

 

 

 

 

 


#7 Illusion

Illusion

    น้องเก่า

  • Members
  • PipPip
  • 68 posts

ตอบ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 - 01:51

ปรัชญาการลงโทษ ที่ปรากฎในรายงาน (คอป.) หน้า 12 ว่า

“...การกระทำความผิดมีมูลฐานเริ่มต้นจากความคิดเห็นในทางการเมือง ดังนั้น แม้พฤติกรรมที่ผิดกฎหมายที่ก่อให้เกิดผลกระทบและสร้างความเสียหายแก่บุคคลและส่วนรวมเป็นเรื่องที่ผู้กระทำต้องมีความรับผิดชอบในทางกฎหมายที่เหมาะสม แต่ในหลายกรณีความรับผิดชอบในทางอาญาด้วยการฟ้องคดีและการลงโทษทางอาญาแต่เพียงอย่างเดียวอาจไม่สอดคล้องต่อปรัชญาในการลงโทษ ไม่ก่อให้เกิดความยุติธรรม และไม่สามารถแก้ไขปัญหาความขัดแย้งได้ ทั้งนี้ เพราะผู้กระทำความผิดที่มีเหตุจูงใจทางการเมืองแตกต่างจากผู้กระทำความผิดอาญาทั่วไปที่เป็นผู้ร้ายหรืออาชญากรโดยกมลสันดาน การลงโทษพฤติกรรมความรุนแรงที่เกิดขึ้นย่อมไม่สามารถส่งผลในทางสร้างความยับยั้งหรือความหลาบจำให้กับผู้กระทำผิดและสังคมโดยรวมตามทฤษฏีในการลงโทษทั่วไปได้ นอกจากนี้ การดำเนินคดีอาญาที่เกี่ยวเนื่องกับความขัดแย้งทางการเมืองยังมีปัญหาที่เกิดขึ้นจากข้อจำกัดของกระบวนการในการสืบสวน สอบสวน การตั้งข้อหา การรวบรวมพยานหลักฐานที่ถูกมองว่าไม่เป็นกลางและโน้มเอียงไปในทางที่เป็นคุณต่อผู้กุมอำนาจรัฐในแต่ละช่วงเวลาอีกด้วย...”


ติดใจตรงตัดเข้มๆ เหมือน ภรรยาของพันเอกร่มเกล้าเช่นกัน โดยเฉพาะตัวเข้มๆ

หลักการนี้ท่านได้จากที่ใดมา หรือนึกกันเอาเองบนโต๊ะที่ประชุม

ถ้านั้นกรณีอย่าง ใครอยากปล้นธนาคาร หรือร้านทอง เลยวางแผนจัดการชุมนุมทางการเมืองหลอกๆขึ้นมา

หาคนมาร่วม สบโอกาสก็เลยทำการปล้น หรือเผาทิ้ง

แม้จะมีหลักฐานหรือจับได้ต่อหน้า ก็ไม่ถือว่าเป็นหลักฐานเพราะเจ้าหน้าที่อาจไม่เป็นกลางและมีความโน้มเอียง

แบบนี้การลงโทษเอาผิดย่อมต้องไม่สามารถลงโทษที่ด้วยทฤษฎีการลงโทษทั่วๆไปได้ เพราะเข้าตามหลักการเป๊ะๆ :o

#8 ID007

ID007

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 2,055 posts

ตอบ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 - 02:06

นี่แหละประธาน คอป ตัวจริง ใช่เลย

นางนิชา หิรัญบูรณะ ธุวธรรม

หัวเหม่ง ไม่รู้จักคิด คณิต ณ นคร ถ้าไม่มีปัญญา ก็ขอความรู้ หลักการทำงาน จากเมียนายทหารท่านนี้ซะ



#9 ter162525

ter162525

    มหาอำมาตย์ใต้พระบาทตลอดกาล

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 6,077 posts

ตอบ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 - 13:40

คุณนิชา หิรัญบูรณะ ธุวธรรมมีความคิด มากกว่า คอป อีก
บรรพชนเป็นพยาน ข้าลูกหลานแผ่นดินท่าน ขอสาปส่ง มันผู้ใด ทรยศ คดโกงชาติ ขายแผ่นดิน ขอให้มันบรรลัย อย่าได้มีสุขในแผ่นดินนี้ เดินเหยียบไปในถิ่นใด ขอให้มันร้อนรนดังถูกเพลิงเผา มันผู้ใด คิดล้มล้างกษัตริย์ผู้ทรงทศพิธ ของให้มันผู้นั้นเกิดเป็นคนอนาถทุกชาติไป

#10 ยิ่งรัก(โพย)

ยิ่งรัก(โพย)

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,420 posts

ตอบ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 - 18:45

ปรองดอง = ชุมนุมแล้วไม่ผิดแถมได้ตัง

เพราะฉะนั้นในอนาคตอันใกล้ก็คงจะมีการชุมนุมอีก และอาจจะรุนแรงมากยิ่งขึ้น

#11 Alone

Alone

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,726 posts

ตอบ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 - 23:11

like หมดเลยกดให้ไม่ได้ ต้องชมหัวใจของภรรยาพันเอกร่มเกล้าจริงๆ เธอเองก็เป็นผู้สูญเสียคนหนึ่ง
แต่เธอก็ไม่ได้ปล่อยให้ความเจ็บปวดนั้นทำให้การใช้เหตุผลของเธอน้อยลงไปเลย

การกระทำของคอป.ทำให้กรอบความดี-ชั่วของสังคมบิดเบี้ยวไปมาก ซักวันสิ่งที่เกิดจากกรอบเบี้ยวๆ
ที่คอป.สร้างไว้จะกลับมาหาคอป.กับคนในครอบครัวและเครือญาติไม่ทางใดก็ทางหนึ่งแน่
เตรียมใจไว้ให้ดีเถอะ

#12 ปุถุชน

ปุถุชน

    มหาเมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 27,531 posts

ตอบ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 - 11:42

“วิธีการปรองดองที่ดีที่สุดคือ การทำสิ่งถูกให้ถูก และทำสิ่งผิดให้ผิด ไม่ใช่ทำสิ่งที่ผิดให้ถูก และทำสิ่งที่ถูกให้ผิด การแก้ปัญหาต้องยึดหลัก เพื่อไม่ให้การแก้ป้ญหาหนึ่งกลายเป็นการสร้างปัญหาอื่นๆ ตามมา”


ผมชอบประโยคนี้ของท่านชวนมาก ถ้าเราทำอย่างรู้ถูกผิด
เราจะไม่ต้องมีปัญหาและมานั่งอธิบาย ว่าทำไมคนนี้ได้อย่างนี้ คนนั้นได้อย่างนั้น
ในทางกลับกัน ถ้าเราทำอย่างเลือกที่รักมักที่ชัง ไม่ทำเรื่องที่ควรทำให้ถูก ยอมรับเรื่องที่ผิด
มันก็จะมีปัญหาตามมาไม่รู้จักจบสิ้น



หลัง 14 ตุลาฯ
หลัง 6 ตุลาฯ
หลัง พฤกษภาทมิฬ....

ทุกครั้งจะมีคนออกมาบอกให้อภัย
อโหสิให้เผด็จการ ให้ผู้ใช้อำนาจเป็นธรรม.....!

เพราะเรียกร้องอย่างนี้เอง
ประเทศไทยจึงมีเหตุการณ์ซ้ำซาก...
7 ตุลาฯที่ผู้ร่วมชุมนุมพันธมิตรฯถูกตำรวจมะเขือเทศยิง....
19 พฤกษภาไพร่เสื้อแดงเผาบ้านเมือง.....

เหตุการณ์เลวร้ายอย่างนี้ยังจะเกิดขึ้นอีก
เพราะผู้ใช้อำนาจเป็นธรรมจะให้'หน้าม้า' 'กลางกลวง' 'แอบแบ๊ว'
ออกทีวีเรียกร้องให้คนไทยให้อภัยผู้กระทำผิด.....!

รัฐบาลนกแก้วเคยประกาศจะนำไพร่เสื้อแดงที่เผาบ้านเผาเมืองมาลงโทษหรือไม่......?

Edited by ปุถุชน, 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 - 11:43.

เคียงข้างลุงกำนัน ปฏิรูปการเมืองไทย กำจัดระบอบทักษิณ ขับไล่มวลหมู่ขี้ข้า วันที่ 26 พฤษภาคม 2557...