รบกวรผู้ในเรื่องของ EU และ AEC หน่อยครับ !!!!
#1
ตอบ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 - 09:08
และ เราจะสามารถนำข้อดีของ EU มาปรับใช้กับ AEC ได้อย่างไร
รวมไปถึง เราจะนำข้อเสียของ EU มาปรับปรุงไม่ให้เกิดขึ้นกับ AEC อย่างไรบ้าง
อยากรบกวนให้พี่ๆน้องๆช่วย วิเคราะห์เชิงวิชาการ จากข้อเท็จจริงข้างต้น น่ะครับ
ผมคิดว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่มีมิติ น่าสนใจในการศึกษามากและเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวเราครับ
ซึ่งผมเชื่อว่าพี่ๆหลายคนในเสรีไทย มีความรู้และประสบการณ์มากกว่าผมเยอะมาก
จึงเรียนผู้รู้ช่วยวิเคราะห์และไขความกระจ่างให้ผมด้วยนะครับ ....
ปล. ผมserch จาก google ซึ่งบางบทความเข้าใจยากมากๆครับ เลยอยากเห็นภาพให้ชัดกว่านี้น่ะครับ
#2
ตอบ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 - 09:27
ที่แน่ๆเราพร้อมหรือยังกับ AEC
#3
ตอบ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 - 09:30
การรวมกลุ่ม EU มีข้อดีและข้อเสียอย่างไรบ้างอ่ะครับ อยากทราบจริงๆ
Edited by ลูกชาวสวน, 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 - 09:30.
#4
ตอบ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 - 09:31
#5
ตอบ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 - 09:49
แต่ในส่วนของรายละเอียด ข้อดีข้อเสีย วิธีการปฏิบัติ กลับไม่ค่อยจะมีคนนำเสนอซักเท่าไร
ปี 2558 นี้แล้วนะครับ ที่จะเป็น AEC แต่ คนในชาติยังนิ่งเฉย และไม่ได้รับข่าวสาร ข้อเท็จจริงกันเท่าที่ควรเลย
ผมกลัวความเปลี่ยนแปลงครับ ผมเลยอยากเตรียมรับมือกับความเปลี่ยนแปลงนั้นๆก่อนซะแต่เนิ่นๆ....
Edited by ลูกชาวสวน, 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 - 09:49.
#6
ตอบ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 - 09:58
แต่อยากให้ลองนึกถึงยุโรปที่ทำวีซา 1 ใบเข้าได้ในหลายประเทศ หรือคนจากประเทศหนึ่งข้ามไปทำอีกประเทศโดยแทบไม่ต้องมีงานเอกสาร
และคนในยุโรปเดินข้ามแดนเป็นปกติไม่ต้องแสดงพาสปอร์ต แสดงบัตรประชาชนพอ
AEC คือแบบนั้นละครับ ในอนาคตเราจะได้เห็นคนมาเลย์ อินโดหรือสิงคโปรเข้ามาทำงานในบ้านเรา
จะว่าไปมีคนสิงคโปร มาให้ผมออกแบบศาลาไม้ 1 หลังซึ่งจะผลิตในมาเลย์(ยังไม่รู้ต้องไปตรวจงานไหม?)เพื่อยกไปตั้งที่ บรูไน ............ งานอาเซียนจริงๆยังไม่ตกลงนะครับ
แนวคิดของ AEC คล้าย EU ครับคือรวมภาคเศณษฐกิจเข้าเป็นหนึ่งเดียว การท่องเที่ยว ฯลฯ
ของ EU มีกองกำลัง แต่ AEC จะรวมเรื่องเศรษฐกิจอย่างเดียว ไม่มีกองกำลัง(อินโดไม่เอาด้วย)
จะว่าไปมีการคุยเรื่องค่าเงินของภูมิภาคบ้างแล้วด้วยหากไม่เกิดวิกฤตยุโรปเสียก่อนคงคุยต่อ ปัจจุบันค่าเงินระหว่างกันในแบบโทรเลขตรึงค่ากันแล้ว
ที่เกี่ยวกับเราจริงๆคือแรงงาน การข้ามแดนของแรงงาน และบริษัทข้ามชาติ ซึ่งจะเข้ามาแย่งงานเรา
และเรากำลังแย่งงานเขา.อย่างกรณีศาลาไม้
ผมแย่งงานคนสิงคโปรในการออกแบบ และคนมาเลย์แย่งงานแกะสลักจากบรูไน
นี้ภาพเล็กนะครับ ผมว่าหลายท่านคงอธิบายภาพใหญ่ชัดกว่าผม
Edited by sigree, 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 - 10:01.
#7
ตอบ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 - 10:02
#8
ตอบ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 - 10:42
แล้วระบบ suply chain หรือ เรื่องอื่นๆในแง่ของธุรกิจเชิงมหภาคจะมีการเปลี่ยนแปลงอะไรหรือไม่อย่างไรอ่ะครับ
ปล. จริงๆแล้วมันเป็นการบ้าน papers วิชา ประเด็นทางธุรกิจ ของผมด้วย จึงอยากได้ความเห็นของหลายๆคนวิเคราะห์
เพราะจะได้ มีหลายๆมิติในทางความคิดน่ะครับ แห่ะๆๆ
#9
ตอบ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 - 12:44
สกุลเงินของเขาด้อยค่ากว่ายูโรมาก เมื่อมาเข้าร่วมอียู ปรับค่าเงินใหม่ ปรากฏว่า สินค้าราคาแพงขึ้น แต่รายได้ไม่เพียงพอ
สมัยก่อนเราเคยไปเที่ยวตุรกี ชอปปิ้งได้กระหน่ำมากโดยเฉพาะพวกถั่วพิทาสชิโอ เฮเซลนัท แมคคาเดเมีย ฯลฯ ราคาถูกแสนถูก กิโลละไม่กี่สิบบาท
ข้าวของอย่างอื่นเช่น พรม คริสตัล ก็ถูกมาก น่าซื้อไปหมด
แต่พอมาใช้สกุลเงินยูโร อาจารย์ของเราไปเที่ยวบ้าง บอกว่า ของแพงไปหมด แทบจะซื้ออะไรไม่ได้
#10
ตอบ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 - 14:33
สมมุตินะครับ ผมทำออกแบบเสื้อผ้า โรงงานในไทยคิดแพง ผมเลยไปจ้างโรงงานในลาวผลิต
คำถามคืออุตสาหกรรมในไทยจะเปลี่ยนไปไหม? เราจะคล้ายสิงคโปรคือไม่ผลิตอะไรอีก ส่งรอบๆประเทศรอบๆบ้านเราหมด คำถามน่าสนใจคือเมื่อโรงงานในประเทศลดลงนิคมลดลง ผมนึกสภาพเมืองออกนะ แต่อาจจะไม่เกี่ยวกับธุรกิจมากนักหนะสิ
#11
ตอบ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 - 14:46
ประเทศที่ี้ด้อยๆ ก็จะไปฉุดการเจริญเติบโต ของประเทศที่มีเสถียรภาพอยู่แล้ว
ยกตัวอย่าง ในเยอรมันเอง เศรษฐกิจเข็มแข็งอยู่แล้ว แต่เจอภาวะ ยูโรโซน จาก กรีซ ก็ดี เด๊วก็จะมีอิตาลี ตามมาอีก กลายเป็นฉุดกระชาก และมีผลกระทบกับประเทศในเยอรมันเอง
ประเทศด้อยๆ ที่สมควรจะล้มละลายไปตามอัตภาพ กลับต้องเป็นภาระให้กับประเทศที่กำลังไปได้ดีในโซนเดียวกัน
มองกลับกับ ไทย เขมร เวียดนาม จีน อินโด
ผมมองพี่ไทยอยู่ในระดับกลางๆ โซนนี้ ก็ต้องยกให้ พี่จีน ญี่ปุ่น เกาหลี่ อีกอย่าง การร่วมตัว AEC ผมมองเห็นว่า ปัญหาจะตามมาอีกมากมาย การค้าเสรีคงมีมากขึ้น แต่มันก็หนักขึ้น ต่อไปคงไม่แค่จะต้องแข่งธุรกิจภายในประเทศตัวเอง ต้องแข่งกับกลุ่มเดียวกันใน AEC มองแล้ว ธุรกิจใหญ่ๆ ที่มีความพร้อม ก็อยู่ได้สบายๆ พวก SME ธุรกิจย่อยๆ คงจะเละกันเป็นแถวๆ
และอีกอย่างเอาเป็นว่าอย่างตอนนี้คนเยอรมันเอง ก็อยากจะกลับเรียกร้องให้มาใช้สกุลเงินมาร์ค เหมือนเดิมด้วยซ้ำไป
#12
ตอบ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 - 15:51
ก่อนหน้าที่จะมีการตั้งเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ประเทศในกลุ่มอาเซียนก็มีความตกลงต่างๆก่อนหน้านี้อยู่แล้ว อย่าเช่นกรอบความตกลงว่าด้วยสินค้่าผ่านแดน ความตกลงว่าด้วยสินค้าข้ามแดน และอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งความตกลงเหล่านี้เป็นเรื่องการอำนวยความสะดวกทางเศรษฐกิจในกลุ่มอาเซียน เพราะโดยดั้งเดิมอาเซียนเป็นการรวมกลุ่มประเทศในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้เื่พื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ไม่มีเรื่องการทหารหรือความมั่นคงในภูมิภาคมาเกี่ยวข้อง
ก่อนหน้าที่จะทำ AEC ก็มีการทำ AFTA หรือ ASEAN Free Trade Area มาแล้ว ลักษณะของมันก็คือการส่งเสริมการค้าขายระหว่างกันในภูมิภาค โดยประเทศในกลุ่มอาเซียนจะได้รับสิทธิประโยชน์ในการค้าขายเพราะจะมีการลดหรืองดเก็บอากรสินค้านำเข้าบางรายการ ตัวอย่างเช่นรถยนต์บางยี่ห้อที่ประกอบในประเทศฟิลิปปินส์หรืออินโดนีเซียก็นำเข้ามาในประเทศไทยโดยยกเว้นอากรการนำเข้าและขายในราคาที่ใกล้เคียงกับรถยนต์ที่ประกอบในประเทศ ซึ่งประเทศไทยก็จะได้ประโยชน์จากการส่งออกสินค้าไปยังประเทศอื่นในกลุ่มอาเซียนและได้รับยกเว้นอากรเช่นกัน.
คราวนี้เมื่อมีการขยายขอบเขตกลายเป็น AEC แล้ว กรอบของมันจะกว้างกว่า AFTA และครอบไปถึงเสรีการค้าและบริการในกลุ่มอาเซียน หลังจากเข้า AEC เต็มตัวแล้วจะมีการถ่ายเททรัพยากรระหว่างประเทศกันอย่างมาก นอกจากนี้ประเทศอื่นๆ ที่ไม่ได้อยู่ในกลุ่มอาเซียนก็อาจเข้ามาแสวงหาประโยชน์ได้โดยใช้วิธี back door คืออาจไปตั้งฐานการผลิตที่ประเทศใดประเทศหนึ่งในกลุ่มอาเซียน และส่งออกสินค้าของตนโดยได้รับยกเว้นอากรเสมือนกับเป็นคนชาติของประเทศในกลุ่มอาเซียนเอง ซึ่งเหตุการณ์ลักษณะนี้มีอยู่แล้วตั้งแต่เปิด AFTA แต่คิดว่าหากเข้า AEC แล้วจะคงมีมากขึ้นไปอีก
ข้อสังเกตอีกอย่างหนึ่งซึ่งผมไม่ขอบอกว่าเป็นข้อเสียหรือข้อดีก็คือว่า เมื่อเปิด AEC แล้วจะมีการถ่ายเทเคลื่อนย้ายธุรกิจและบุคลากรในภาคการค้าและบริการเป็นอย่างมาก ซึ่งประเทศที่มีความพร้อม ภาคธุรกิจก็สามารถเข้าไปลงทุนและเปิดกิจการในประเทศอื่นๆ ในกลุ่มอาเซียนด้วยกัน และบุคลากรที่มีความพร้อมก็สามารถข้ามประเทศไปทำงานได้ ผลที่ตามมาก็คือประเทศใดที่มีการถ่ายเทเคลื่อนย้านธุรกิจและบุคลากรเข้ามามากๆ ประเทศนั้นก็อาจจะเสียเปรียบได้ คนชาตินั้นอาจจะตกงานเพราะไปแย่งงานกับต่างชาติไม่ได้ (ดังนั้นก็คงไปหางานทำในประเทศอื่นก็ไม่ได้อีก) ภาคธุรกิจที่ไม่มีความพร้อมก็ไม่สามารถแข่งขันกับนักลงทุนต่างชาติได้ ดังนั้นทางที่ดีที่สุดคือประเทศนั้นๆ ควรฉีดวัคซีนโดยการเตรียมความพร้อมให้แก่ภาคธุรกิจ เสริมความรู้และพัฒนาคุณภาพของประชากร และจัดทำหรือแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจเพื่อพร้อมรับความเปลี่ยนแปลง เรื่องนี้จะเป็นข้อดีหรือข้อเสียก็ขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละประเทศว่ามีความพร้อมรับมือกับ AEC แค่ไหน
สำหรับค่าเงินสกุลอาเซียนนั้น ผมคิดว่าประชาคมอาเซียนคงเห็นบทเรียนจากประชาคมยุโรปแล้วคงไม่คิดที่จะใช้สกุลเงินเดียวกัน การใช้สกุลเงินเดียวกันอาจดีเมื่อประเทศในกลุ่มนั้นๆ มีพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่ใกล้เคียงกัน หากมีความแตกต่างกันมากแล้ว ประเทศหนึ่งประเทศใดที่มีปัญหาก็อาจฉุดรั้งให้ประเทศอื่นในกลุ่มเดียวกันมีปัญหาไปด้วย เมื่อมีตัวอย่างจากเงินยูโรแล้วคงจะแหยงไปตามๆ กัน
Edited by JUR1ST, 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 - 15:53.
#13
ตอบ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 - 16:16
#14
ตอบ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 - 20:02
ไทย บรูไน อินโด สิงคโปร์ มาเลเซีย ลาว ฟิลิปินส์ เวียดนาม เขมร และ พม่า ครับ
ผมมองว่า 10 อาชีพที่เปิดเสรี จะทำให้เกิด
1. วิศวะกรไทยจะตกงานมากๆ เพราะค่าจ้างที่สูงกว่า วิศวกรจาก ฟิลิปินส์ เวียดนาม และพม่า โดยที่ภาษาอังกฤษของวิศวกรไทยก็เป็นรองเค้าอยู่เนืองๆ
2. จะเกิดสภาวะสมองไหลแน่นอน เพราะแพทย์ พยาบาล หรือบุคคลที่ skill สูง จะถูกจ้างโดยประเทศที่พัฒนาแล้วเช่น สิงคโปร์ บรูไน หรือมาเลเซีย
3.แรงงานไทยจะตกงานนับแสนคนเพราะ .... ค่าจ้างแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านที่ถูกกว่าและสามารถเข้ามาทำได้อย่างเสรี ( สวนผมตอนนี้เขมร+มอญ ยกชุดครับไม่มีคนไทยเพราะเรื่องมากและค่าแรงแพงจริงๆ )
ไม่ค่อยแน่ใจว่าผมวิเคราะห์ผิดไปหรือป่าวววว
#15
ตอบ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 - 20:08
โครงสร้างที่แตกต่างกันมากทั้งในด้าน รายได้ประชาชาติ ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี หรือปัจจัยพื้นฐาน ของประชาชน
ดังนั้นการที่ไทย เข้าร่วม AEC ผมตั้งข้อสงสัยว่า ประเทศไทยพร้อมที่จะเข้าร่วมอยู่แล้ว แต่ความพร้อมของประชาชนไทยละ ???
การแข่งขันจะสูงขึ้น ในด้านของงาน ซึ่งแม้จะใช้ PEST หรือ SWOT analysis ผมยังมองว่า ความครึ่งๆกลางๆของประเทศเรา มันจะไม่เกิดผลดีแน่ๆ
จริงๆมีบทวิเคราะห์ที่ผมได้ทำส่งอาจารย์ไปแล้วแต่มันยาวมากและไม่ค่อยหลากหลายเท่าไร
จนไม่อยากจะพิมพ์ลงมาในนี้อ่ะครับ คงค่อยๆฟังความคิดเห็นของคนอื่นๆที่เก่งกว่าผมดีกว่า เพราะ
เรื่องความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ โครงสร้างของแต่ละประเทศ และเรื่องเศรษฐกิจ ผมยังไม่ค่อยแน่นครับ >_<"
Edited by ลูกชาวสวน, 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 - 20:09.
#16
ตอบ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 - 20:36
ฟิลิปินส์เลิกพูดเลย ใครเคยใช่งาน ใครเคยร่วมงานจะทราบนอกจากภาษาแล้วเรื่องอื่นๆไม่ได้เรื่อง จะว่าไปในสายก่อสร้างบ้านเราไม่ได้ด้อยกว่าญี่ปุ่นเท่าไหร่นัก
ผมกังวลเรื่องการไหลบ่าของเทคโนโลยีที่จะแทนที่คนมากที่สุดครับ เรื่องอื่นไม่ค่อยกังวล
#17
ตอบ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 - 20:41
การเรียนการสอนของเมืองไทยเน้นตำราและความเห็นของผู้สอนเป็นหลัก นักศึกษาก็ต้องตามแนวทางของผู้สอนจนไม่มีความเป็นตัวของตัวเองหรือไม่กล้าที่จะคิดต่างจากตำรา พอไปเจอของจริงแล้วก็อาจจะตื้อตันเพราะเรื่องที่เจอไม่ตรงกับตำรา นอกจากนี้คุณภาพของเด็กที่ใฝ่ใจการเรียนก็น้อยลงไปเยอะมาก ทุกวันนี้เห็นอยู่บ้างแต่ก็น้อยมากจนน่าใจหาย
ตอนนี้ผมคิดว่าประเทศไทยไม่มีความพร้อมเอาเสียเลยสำหรับการเตรียมบุคลากรให้สามารถต้านกระแสการค้าการบริการเสรีได้ภายในปี 2015 จริงๆ แล้วถึงไม่มีการเข้าร่วม AEC ก็ตาม ก็เป็นหน้าที่ของรัฐบาลในการพัฒนาบุคลากรของประเทศอยู่แล้ว
ผมเคยคุยกับผู้ใหญ่ท่านหนึ่งที่เข้าประชุมอาเซียนมาโดยตลอด ท่านว่านอกจากภาษาอังกฤษที่เราต้องเรียนรู้แล้ว อย่างน้อยเราก็ควรรู้ภาษาของประเทศในกลุ่มอาเซียนในระดับพอที่จะสนทนาได้ ซึ่งผมก็เห็นด้วยเพราะการรู้แค่ภาษาอังกฤษในโลกการค้าที่เปิดกว้างนี้มันน้อยเกินไปจริงๆ
#18
ตอบ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 - 20:52
ถ้าประเทศไทยใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการที่สองได้ก็จะดีไม่น้อยนะครับ
╱/(っ◕ ‿‿◕)っ Hello, I'm a Kyubey /人◕ ‿‿ ◕人\
╱/(っ◕ ‿‿◕)っ Please Make a contract with me and become a Magical girl! /人◕ ‿‿ <人\
ข้าพเจ้าขอสนับสนุนท่านผู้นำที่น่ารักที่สุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ!!! Heil Lertih Adolf!! Heil Lertih Adolf!! Heil Lertih Adolf!!
#19
ตอบ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 - 20:57
ขอเห็นต่าง ผมเคยอ่านภาษากฏหมายแล้วตอนนี้ผมกำลังคิดว่า...
ถ้าประเทศไทยใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการที่สองได้ก็จะดีไม่น้อยนะครับ
หากเราใช่ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการ เขาบังคับให้เราเซ็นเป็นภาษาอังกฤษ ทีนี้ทนายเราจะแย่ เราจะแย่ไปกว่าที่เป็น
#20
ตอบ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 - 21:03
ตอนนี้ผมกำลังคิดว่า...
ถ้าประเทศไทยใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการที่สองได้ก็จะดีไม่น้อยนะครับ
ภาษาอังกฤษไม่ต้องเป็นภาษาราชการหรอกครับ แต่เป็นภาษาที่ต้องรู้ และควรเรียนภาษาที่สามเพิ่มเติมด้วย
#21
ตอบ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 - 21:59
หลักการแนวคิดของทั้งประชาคมเศรษฐกิจไม่ว่ายุโรปและอาเซียนก็คือ การทำให้ทั้งภูมิภาคนั้นเสมือนเป็นประเทศเดียวกันทั้งหมด ลดความต่างระหว่างประเทศลง แต่ละประเทศสมาชิกก็เปรียบเหมือนจังหวัดหนึ่งเท่านั้น นึกภาพเหมือนเราจะเดินทางไปลงทุนทำอะไรที่เชียงใหม่ก็ทำได้ทันที ไม่มีกฎเกณฑ์อะไรมากนัก ของที่่ผลิตได้ก็ขายได้เลยไม่มีกำแพงภาษี จะเอาไปขายที่ไหนก็ได้ในอาเซียน
ส่วนเรื่องสกุลเงิน จริงๆอาเซียนเองก็มีแนวคิดที่จะใช้เงินสกุลเดียวกันทั้งหมด ซึ่งจะมีประโยชน์ในการจับจ่ายใช้สอยซื้อสินค้าในภฺมิภาคได้สะดวกขึ้นมาก แต่พอเงินยูโรมีปัญหา เรื่องนี้ก็คงชะงักไปสักพัก รอสรุปบทเรียนจากยุโรปก่อนก็ไม่สาย
แม้ด้วยหลักการจะเป็นการรวมทุกประเทศเป็นประเทศเดียวกันหมด แต่ในความเป็นจริงทุกประเทศก็ต่างมีอำนาจอธิปไตยของตัวเอง นอกจากนี้ความต่างทางด้านภาษา ศาสนา ระบบการปกครอง ผมคิดว่าในช่วงแรกเราคงรวมตัวกันได้เพียงหลวมๆ ยังคงมีข้อกำหนดกฎเกณฑ์ของแต่ละประเทศที่จำเป็นต้องคงไว้ บางทีอาจไม่ใช่การกีดกันโดยตรง อาจจะเป็นทางอ้อม การผสานรวมนี้ถึงที่สุดก็อาจเป็นเนื้อเดียวกันได้ แต่จะเกิดขึ้นอย่างช้าๆ มากถึงมากที่สุด บางทีอาจใช้เวลาหลายสิบปีครับ
*** ขอเพิ่มเติมในเรื่องภาษานะครับ หากประชาคมอาเซียนรวมตัวกันติด ภาษาที่ประชากรส่วนใหญ่จะใช้กลับไม่ใช่ภาษาอังกฤษนะครับ แต่เป็นภาษายาวี ที่คนใต้ตอนล่างใช้กันต่างหาก(เคยมีคนประมาณไว้ว่าน่าจะเกิน 60% ของประชากรในอาเซียนที่ใช้ภาษายาวีครับ) ภาษาอังกฤษก็ยังสำคัญนะครับ แต่ถ้าอยากได้เปรียบต้องไปเรียนยาวีครับ
Edited by zereza, 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 - 22:04.
#22
ตอบ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 - 22:08
EU ประวัติจริงๆ เริ่มจากกลุ่มประเทศเบเนลักซ์ (เบลเยี่ยม เนเธอร์แลนด์ ลักซ์แวมเบิร์ก)
ภายใต้สนธิสัญญาเเรื่องการผลิตถ่านหินและเหล็ก ต่อมามีพัฒนามากขึ้น
มีประเทศที่สำคัญๆ เข้าร่วมเช่น ฝรั่งเศส เยอรมัน อังกฤษ
เมื่อมีประเทศต่างๆ เข้าร่วมมากขึ้้น จึงพัฒนาเป็น "เขตการค้าเสรี"
หลังจากนั้นจึงพัฒนาต่อเป็น "ตลาดร่วม" (เส้นพรมแดนหายไป แรงงานทำงานได้อย่างอิสระในประเทศใดก็ได้)
หลังจากใช้ตลาดร่วมจึงพัฒนาต่อเป็น "สหภาพยุโรป" (การตั้งองค์กรกลางร่วมกัน ใช้สกุลเงินเดียวกัน แต่นโยบายการคลังไม่เหมือนกัน)
แต่จุดอ่อนของ EU คือ ไม่ได้กำหนดมาตราฐานนโยบายทางการคลังของประเทศที่เข้าร่วมใหม่
ทำให้ประเทศที่เข้าใหม่สามารถกู้ยืมเงินได้มากจากประเทศเก่า
เมื่อปัญหาเศรษฐกิจในประเทศใดประเทศหนึ่ง ย่อมจะลากประเทศที่เหลือเข้าสู่ชะตากรรมเดียวกันได้ไม่ยาก
ดังนั้นวิธีแก้ไข คือ สภากลางของยุโรปต้องกำหนดให้ทุกประเทศใช้นโยบายการคลังเดียว
ส่วนของอาเซียน ยังอยู่ในขั้นแค่ เขตการค้าเสรีและตลาดร่วม ซึ่งยังต้องเวลาและประสบการณ์อีกมาก เพื่อพัฒนาต่อไปครับ
#23
ตอบ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 - 22:18
คนไทยเก่งๆเยอะ ในบรรดาคนเก่งๆเหล่านั้นเค้าพูดภาษาอังกฤษได้ค่ะ ถ้าไทยยังบริหารแบบนี้อยู่ และเค้ามีโอกาสจะไปทำงานในประเทศอื่น เค้าไปแน่นอนค่ะ
ส่วนแรงงานฝีมือ เหนื่อยแน่นอนค่ะ ด้วยตอนนี้ค่าครองชีพในไทย ไม่ได้ต่ำ ทำให้ค่าจ้างแรงงานสูงขึ้น ในขณะที่การเมืองพม่าเสถียรขึ้น ลาวเปิดมากขึ้น เวียดนามพัฒนาขึ้น (สมัยก่อนญี่ปุ่นและชาติตะวันตกนิยมลงทุนในไทยเพราะเรามีสาธารณูปโภคที่พร้อมกว่า แต่ตอนนี้หลายๆชาติมีการพัฒนาสาธารณูปโภคดีขึ้นมาก)
เปิดแบบนี้ไทยเสียเปรียบในขณะที่ตัวเองคิดว่าได้เปรียบค่ะ ประเทศที่น่าจะได้ประโยชน์เต็มๆเลยคืออินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์
#24
ตอบ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 - 22:23
*** ขอเพิ่มเติมในเรื่องภาษานะครับ หากประชาคมอาเซียนรวมตัวกันติด ภาษาที่ประชากรส่วนใหญ่จะใช้กลับไม่ใช่ภาษาอังกฤษนะครับ แต่เป็นภาษายาวี ที่คนใต้ตอนล่างใช้กันต่างหาก(เคยมีคนประมาณไว้ว่าน่าจะเกิน 60% ของประชากรในอาเซียนที่ใช้ภาษายาวีครับ) ภาษาอังกฤษก็ยังสำคัญนะครับ แต่ถ้าอยากได้เปรียบต้องไปเรียนยาวีครับ
Bahasa Melayu ใช้ในสามประเทศคือ อินโดนีเซีย มาเลเซีย และบรูไน ถ้าเป็นภาษาพูดสามประเทศนี้คุยกันจะเหมือนคนใต้คุยกะคนเหนือคุยกะคนอีสาน แต่ภาษาเขียนจเหมือนกัน ซึ่งจริงๆแล้วง่ายต่อการทำความเข้าใจเพราะใช้ตัวอักษรภาษาอังกฤษและไวยกรณ์เองคล้ายๆภาษาไทย
แต่คิดว่ายังไงภาษาอังกฤษก็น่าจะเป็นภาษากลางของอาเซียนอยู่ดี เพราะหลายๆประเทศในอาเซียนคุ้นเคยและมีการสอนประชาชนในประเทศให้เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษที่สอง แต่เห็นด้วยค่ะถ้าอยากได้เปรียบต้องเรียนภาษามาเลเพิ่มค่ะ
#25
ตอบ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 - 22:58
ขอเห็นต่าง ผมเคยอ่านภาษากฏหมายแล้ว
ตอนนี้ผมกำลังคิดว่า...
ถ้าประเทศไทยใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการที่สองได้ก็จะดีไม่น้อยนะครับ
หากเราใช่ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการ เขาบังคับให้เราเซ็นเป็นภาษาอังกฤษ ทีนี้ทนายเราจะแย่ เราจะแย่ไปกว่าที่เป็น
เรื่องนี้ผมเข้าใจครับ ซึ่งผมคิดว่ามันไม่เกิดขึ้นในยุคผมหรอกครับ คงอีกนานเลย...
╱/(っ◕ ‿‿◕)っ Hello, I'm a Kyubey /人◕ ‿‿ ◕人\
╱/(っ◕ ‿‿◕)っ Please Make a contract with me and become a Magical girl! /人◕ ‿‿ <人\
ข้าพเจ้าขอสนับสนุนท่านผู้นำที่น่ารักที่สุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ!!! Heil Lertih Adolf!! Heil Lertih Adolf!! Heil Lertih Adolf!!
#26
ตอบ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 - 23:06
Pattani Architecture| สถาปัตยกรรมปัตตานี
ที่นั้นมีสถาปนิกจากมาเลย์มาพูดคุยด้วย ผมอยากให้ลองคุย ผมว่ามันเป็นเรื่องน่าสนใจเพราะที่นั้นเราใช่กัน 3 ภาษา ไทย อังกฤษและมาเลย์ อยากให้ลองเข้าไปดู
ผมคุยกับสถาปนิกมาเลย์หลายคน ผมว่าเขาเปิดและอยากร่วมมือกับเรา ที่สำคัญเขามองเราภาษาเป็นเรื่องหลังๆที่จะมากีดกัน
#27
ตอบ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 - 00:01
#28
ตอบ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 - 00:05
การเปิดเสรี มันท้าทายดี แน่นอนมันต้องมีคนได้คนเสีย วงการอาชีพทีผมประกอบอยู่กำลังเตรียมตัวรับการแข่งขัน เตรียมเรื่องภาษา ไม่หนักใจเพราะเป็นอำมาด และคิดว่าไทยเราน่าจะแข่งได้สบายๆ
อ่านเพลินๆมาสะดุดไอ้haเนี่ย อำมาดpoอำมาดmaมิงดิ ฟาย
#29
ตอบ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 - 00:16
แต่สายก่อสร้าง วิศวะ สถาปนิก ช่างไม้ ช่างก่อสร้าง
การแพทย์ หมอ พยาบาล โรงพยาบาล
สายกฏหมาย สายบันเทิง สายออกแบบ อนิเมท
เตรียมตวามพร้อมมานานแล้วไม่ค่อยกังวลนะ
ผมกังวลสายบริหาร การเงิน การธนาคาร อสังหาฯ และกลุ่มผู้ใช่แรงงานที่ไม่ต้องใช่ความรู้ความชำนาญเป็นพิเศษ
โดนพวกแรกๆ
#30
ตอบ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 - 00:32
ไม่เหมือน EU ที่ปัญหาจุดนี้น้อยกว่าเราเยอะ
ปัญหาเยอะเกินไปทำให้รวมไม่ติด
#31
ตอบ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 - 00:47
วิศวกร + สถาปนิกคงไม่ตกงานครับ
ฟิลิปินส์เลิกพูดเลย ใครเคยใช่งาน ใครเคยร่วมงานจะทราบนอกจากภาษาแล้วเรื่องอื่นๆไม่ได้เรื่อง จะว่าไปในสายก่อสร้างบ้านเราไม่ได้ด้อยกว่าญี่ปุ่นเท่าไหร่นัก
ผมกังวลเรื่องการไหลบ่าของเทคโนโลยีที่จะแทนที่คนมากที่สุดครับ เรื่องอื่นไม่ค่อยกังวล
ปินส์ต้องงานเซอร์วิสค่ะ สาย service industries มีสะเทือนแน่ ถ้าภาษาไม่คล่อง
#32
ตอบ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 - 04:35
#33
ตอบ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 - 06:29
ปัญหาคือรัฐบาลปัจจุบันของเรานอกจากไม่เคยเตรียมตัว(เพราะมัวแต่คิดเรื่องตัวเอง) แถมส่งเสริมให้คนโง่ลงโง่ลง
เอาง่ายๆ ขนาดนายกเรายังโง่ขนาดนี้ จะไปแข่งขันอะไรเขาได้
จะเอาแฟชั่นไปอวดเพื่อนบ้านหรือ ขนาดคอนกรีตยังอ่านคอ-นก-รีต จะไปแข่งขันระดับอาเซียนอะไรได้
การเปิดเสรีจะทำให้ "คนอ่อน" เหมือนโดนตีแสกหน้าอย่างแรงให้เห็นความจริงว่าตัวเราน่ะความสามารถระดับไหน
2015 นี่แหละที่เราคนไทยจะรู้จักตัวเองเสียทีครับ
#34
ตอบ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 - 08:05
ที่ยุโรป ปัญหาหลัก ๆ ก็เกิดจากการใช้เงินสกุลเดียว ความยืดหยุ่นในนโยบายเศรษฐกิจ ทำได้ลำบาก..
ประเทศที่เศรษฐกิจไม่แกร่งจริง แบบ กรีซ เสปน จึงปรับตัวยาก ขนาดฝรั่งเศสยังออกอาการเป๋ได้
หลังจากเกิดวิกฤตที่ยุโรป ดูเหมือนเยอรมันจะเตรียมเข้ายึดครอง อียู เกือบเต็มรูปแบบ
จาก สนธิสัญญาล่าสุดที่ให้ อียูเข้าแซงชั่นการคลังประเทศสมาชิกได้
#35
ตอบ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 - 12:16
#36
ตอบ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 - 21:41
http://www2.mcot.net...chive&id=326662
#37
ตอบ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 - 21:41