Jump to content


Photo
- - - - -

รัฐบาลอยากให้น้ำท่วม เพื่อแก้กฎหมาย และแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการ


This topic has been archived. This means that you cannot reply to this topic.
3 ความเห็นในกระทู้นี้

#1 Bookmarks

Bookmarks

    มหาเมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 33,617 posts

ตอบ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2554 - 11:40

ช่วงน้ำท่วม ชาวบ้านสนใจแต่น้ำท่วม ในขณะที่รัฐบาลเล่นอีกขา คือแก้กฎหมายหลายฉบับ รวมทั้งแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการ เพื่อเบี่ยงเบนความสนใจ ของชาวบ้าน

ผมว่า ที่น้ำท่วมตอนนี้ เหมือนรัฐบวม มันจงใจให้น้ำท่วมประเทศจริงๆ

#2 อาวุโสโอเค

อาวุโสโอเค

    เมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,790 posts

ตอบ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2554 - 11:41

ผมว่าบังเอิญซ้อนบังเอิญมากกว่า แต่ก็ได้ผลอย่างเดียวกัน :lol:
การเมืองไม่ใช่เพื่อกลุ่มใด แต่เพื่อทุกคนในประเทศ

#3 MIRO

MIRO

    Praise the Sun

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 5,883 posts

ตอบ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2554 - 11:47

อีก 1 ความน่าเกลียดของรัฐบาล
เร่งระดมความช่วยเหลือชาวมอนเตร อย่างไม่ลดละและเร่งด่วน
ขณะที่ประเทศกำลังซิบหาย ชาวบ้านถูกน้ำท่วมหมดเนื้อหมดตัว

พท.ชงสภาฯตั้งกมธ.รับข้อเสนอนิติราษฎร์

นายก่อแก้ว พิกุลทอง สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย กล่าวว่า ได้ยื่นญัตติด่วน 2 เรื่องต่อนาย สมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาผู้แทนราษฎรคือ

1.ขอให้สภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาการลบล้างผลพวงของรัฐประหาร 19 ก.ย. 2549 ตามข้อเสนอของคณะนิติราษฎร์

2.การเสนอตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเร่งรัดการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมือง ตั้งแต่ปี 2548-2553

The most valuable things in life are not measured in monetary terms.

The really important things are not houses and lands, stocks and bonds, automobiles and real estate,

but friendships, trust, confidence, empathy, mercy, love and faith.


#4 Bookmarks

Bookmarks

    มหาเมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 33,617 posts

ตอบ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2554 - 11:52

การที่ไอ้เหลิมมันพยายามดัน เพียวพันธ์ ขึ้นมาเป็น ผบตร เพื่อเข้ามาควบคุมสื่อ แล้วออกกฎหมายให้อำนาจ ผบตร ช่วงนี้ ข่าวแก้กฎหมายนี้ เลยไม่มีข่าว ชาวบ้านไม่ได้ให้ความสนใจ เพราะห่วงน้ำท่วม งานนี้ ผมว่าเล่นเป็นกระบวนการเลยแหละ เอาความเดือดร้อน ความตายของชาวบ้าน เพื่อมาวางฐานอำนาจตัวเอง

V
V
V

รัฐบาลนี้เข้ามาทำงานได้เดือนเศษๆ ก็ริเริ่มกระบวนการเข้าควบคุมสื่อมวลชน อย่างชัดแจ้ง

ในรูปแบบการแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.จดแจ้งการพิมพ์ พ.ศ.2550
กระทรวงวัฒนธรรม เป็นผู้เสนอการแก้ไขเพิ่มเติม และโดยที่ไม่เป็นข่าวเป็นคราวอะไร คณะรัฐมนตรี มีมติเห็นชอบไปเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม ที่ผ่านมา

เนื้อหาสาระของการแก้ไขที่ยังไม่รู้ที่มาที่ไปนั้นสำหรับคนทำสื่อมายาวนาน อ่านปุ๊บก็รู้ปั๊บว่านี่คือการจงใจของผู้มีอำนาจทางการเมืองที่จะลิดรอนเสรีภาพของสื่อ
ความเลวร้ายของสาระที่แก้ไขนั้นเลวร้ายไม่แตกต่างไปจากกฎหมายที่เกี่ยวกับสื่อของยุคเผด็จการในรูปแบบของ พ.ร.บ.การพิมพ์ พ.ศ.2484 ที่ยกเลิกไปด้วยผลการตราใช้บังคับ พ.ร.บ.จดแจ้งการพิมพ์ พ.ศ.2550

ร่างกฎหมายฉบับนี้ได้แปรรูปอำนาจเจ้าพนักงานการงานพิมพ์ จากกรมศิลปากร มาเป็นอำนาจของผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และให้อำนาจ ผบ.ตร. ในลักษณะ “ครอบจักรวาล” ที่ตีความเป็นอย่างอื่นไม่ได้ นอกจากว่าจะเป็นการเปิดทางให้อำนาจรัฐเข้ามาแทรกแซงและลิดรอนสิทธิเสรีภาพของสื่อทั้งสิ้น

ในสังคมประชาธิปไตยนั้น เสรีภาพการแสดงออกของสื่อก็คือเสรีภาพของประชาชน ดังนั้น ความพยายามใดๆ ของนักการเมืองที่มีอำนาจที่จะเปลี่ยนแปลงกฎหมายที่ “คุ้มครอง” มาเป็นการ “ควบคุม” เสรีภาพของการแสดงความคิดเห็นอย่างเสรีของประชาชน ก็คือการเข้ายึดกุมอำนาจที่จะกำหนดว่าประชาชน ที่แสดงความเห็นอันไม่สอดคล้องกับแนวทางของรัฐบาลนั้น จะถูกควบคุม ลิดรอน และกำจัดอย่างปฏิเสธไม่ได้

บทแก้ไขเพิ่มเติมที่ตอกย้ำความเสื่อมทรุดของมาตรฐานเสรีภาพของสื่ออีกประเด็นหนึ่งคือการย้อนยุคกลับไปในระบอบเผด็จการที่จะต้องมีใบอนุญาตการพิมพ์

และที่เลวร้ายไปกว่า พ.ร.บ. การพิมพ์ พ.ศ.2484 ก็คือการที่ต้องมีการต่อใบอนุญาตหรือหนังสือสำคัญแสดงการจดแจ้งการพิมพ์ทุก 5 ปี

ที่น่าห่วงกังวลอย่างยิ่งสำหรับสังคมที่กำลังต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งความเป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริงก็คือ การที่สาระสำคัญของร่างแก้ไขนี้ยังให้อำนาจ ผบ.ตร. (และน่าจะเป็นประเด็นขัดแย้งสำคัญ) ที่จะออกคำสั่งห้ามพิมพ์ เผยแพร่ ส่งเข้าหรือนำเข้าเพื่อเผยแพร่ในราชอาณาจักร ซึ่งสิ่งพิมพ์หรือหนังสือพิมพ์ที่กระทบต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร ความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดี (ถ้อยคำครอบจักรวาลของเผด็จการมาตลอด)

นั่นย่อมแปลว่า ผบ.ตร. จะต้องเซ็นเซอร์หนังสือพิมพ์ก่อนตีพิมพ์ จึงจะวินิจฉัยได้ว่าสมควรใช้อำนาจออกคำสั่งห้ามเผยแพร่ หรือปิดหนังสือพิมพ์หรือไม่

ประเด็นเรื่องสถาบันกษัตริย์นั้น ย่อมเป็นที่รับรู้กันโดยทั่วว่า เป็นเพียงเรื่องบังหน้าของผู้ที่ต้องการจะกลั่นแกล้งและคุกคามเสรีภาพของผู้อื่นที่ไม่เห็นพ้องกับตนเท่านั้น

เพราะความผิดฐานหมิ่นสถาบันนั้นมีกำหนดเอาไว้ในประมวลกฎหมายอาญาอยู่แล้วอย่างครบถ้วน

การอ้างถึงประเด็น “ความมั่นคง ความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดี” นั้น สามารถตีความได้กว้างขวาง และรัฐบาลเผด็จการในอดีตได้ใช้เป็นเครื่องมือข่มขู่คุกคามหรือถึงขั้นปิดหนังสือพิมพ์ที่เป็นฝ่ายตรงกันข้ามหรือที่แสดงความคิดเห็นอย่างตรงไปตรงมา

เผด็จการย่อมอ้าง “ความมั่นคงแห่งรัฐ” ทั้งๆ ที่หมายถึง “ความมั่นคงของรัฐบาล” เพื่อรักษาอำนาจและจัดการกับผู้ที่มีความเห็นต่างเสมอมา

หากร่างกฎหมายแก้ไขเพิ่มเติมนี้ผ่านสภาออกมาใช้ได้ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติก็จะเป็นผู้มีอิทธิพลต่อผู้ประกอบวิชาชีพสิ่งพิมพ์อย่างยิ่ง...และยิ่งกว่า “เจ้าพนักงานการพิมพ์” ตามกฎหมายเดิมที่รัฐมนตรีมหาดไทยแต่งตั้งให้อธิบดีกรมตำรวจ ผู้บังคับการตำรวจสันติบาลเป็นเจ้าพนักงานการพิมพ์ในกรุงเทพฯ และผู้ว่าราชการจังหวัดในต่างจังหวัด

ความผิดที่ระบุไว้ในร่างใหม่นั้น โทษทางอาญาสำหรับผู้ฝ่าฝืนคำสั่งของ ผบ.ตร. กรณีสั่งห้ามพิมพ์ เผยแพร่สิ่งพิมพ์ที่กระทบต่อสถาบัน ความมั่นคงของชาตินั้น คือ จำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 1 แสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

ธาตุแท้ของนักการเมืองนั้นแม้จะป่าวประกาศหาเสียงว่าต่อสู้เพื่อ “ประชาธิปไตย” ของประชาชน แต่เมื่อได้อำนาจมาแล้วก็เริ่มปฏิบัติการที่จะกุมอำนาจทุกอย่าง รวมถึงการกำหนดว่าประชาชนจะแสดงความเห็นได้เฉพาะที่สอดคล้องกับที่ผู้มีอำนาจต้องการเท่านั้น

จากหลักการของสังคมศิวิไลซ์ที่จะ “คุ้มครอง” มาเป็น “ควบคุม” เพราะต้องการ “คุกคาม” อย่างปฏิเสธไม่ได้

คนทำสื่อที่ปกป้องเสรีภาพของประชาชนอย่างมุ่งมั่นมาตลอด และได้ต่อสู้กับเผด็จการที่ลิดรอนเสรีภาพของการแสดงความเห็นของคนไทย อย่างเป็นเอกภาพตลอดประวัติศาสตร์ของประเทศมา...

เชื่อเถอะว่าสังคมไทยจะลุกขึ้นต่อสู้กับกลุ่มผู้บ้าอำนาจอย่างเต็มภาคภูมิอีกวาระหนึ่ง
http://www.bangkokbi...ามสื่อแล้ว.html