Jump to content


Photo

จารึกพ่อขุนราม


This topic has been archived. This means that you cannot reply to this topic.
34 ความเห็นในกระทู้นี้

#1 amplepoor

amplepoor

    เมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,365 posts

ตอบ 3 มีนาคม พ.ศ. 2555 - 13:52

หนูอ้อยจุดธูป วิญญานเร่ร่อนเลยต้องเข้ามา
เรื่องจารึกพ่อขุนรามนี่ ไม่ใช่การเมือง ไม่รู้เอาไว้ห้องใหนดี
ที่นี่ห้องสมุด ก็ไว้ที่นี่แหละ

จุ๊ๆๆๆ

ห้องสมุด ต้องเงียบเรียบร้อย
เอาวะ ผมจะเป็นคนดีสักวัน

ประเด็น
มีคนกล่าวหาว่า จารึกพ่อขุนรามคำแหง ทำปลอมขึ้นมาในรัชกาลที่ 4

คนที่กล่าวหา ชื่อพิริยะ
แต่หมอนี่ไม่ใช่คนแรกที่เริ่มกล่าวหา สายข่าวของเราบอกว่า
คำร่ำลือนั้น ออกมาจากปราชญ์สันสกฤตชื่อว่า แสง มนวิทูร
อาจจะตั้งแต่พิริยะยังเรียนมัธยมอยู่เลย นักเรียนคณะโบราณคดีหลายรุ่น รับรู้กันมา

แนวคิดนี้ สุดท้ายก็มีฝรั่งมาคาบไป ชื่อว่านายไมเกิ้ล วิกเกอรี่ เป็นออสสี้ย์
เขียนบทความเสนอในที่สัมนาระดับโลกว่า จารึกพ่อขุนราม เรื่องลวงโลก
อิอิ....แกใช้ว่า จารึกนี้คือกระดูกพิลท์ดาวน์ชิ้นหนึ่งนั่นเอง

บทความนี้ ปราชญที่โง่ที่สุด เจ๊กเอาเมียลูกศิษย์ แปลออกมา
พิมพ์ในนิตยสารเจ้าประจำของสุจิต มันเทศ ได้รับความฮือฮาสมใจ
แม้ว่าอาจารย์ประเสริฐจะไปค้านอย่างหนักแน่นในเวทีเดียวกัน
แต่วิสัยปาดตะเขียด นักวิชากามที่ดี ของดีๆ เราไม่เอา เราจะเอาแต่ของเพื่อน...เอ้ย
ผิดเรื่องไปแยะ แหม ไม่น่าไปเอ่ยถึงเสนียดพวกนี้เลย

เอาเป็นว่า ไมเคิลเป็นคนแรกที่เสนอประเด็นจารึกปลอมออกมาเป็นกิจจะลักษณะ

แต่พิริยะเป็นผู้กล้ายิ่งกว่า
เพราะแกกล้าเขียนเป็นหนังสือเล่มออกมาเลย

ในหนังสือ แกได้กระทำการทางวิชาการที่แปลกประหลาดมาก คือลงจารึกเต็มทุกตัวอักษร
แล้ว ดึงออกมาเปรียบเทียบทีละคำทีละประโยค ว่าปลอมยังงัย

วิธีการนี้ดีมาก







เพราะทำให้เห็นชัดเจนถึงความไม่เต็มบาทของแก....

ฮา



หนูอ้อยคงจะมีหนังสือพวกนี้ เอามาลงเสียดีๆ

Edited by amplepoor, 30 มิถุนายน พ.ศ. 2555 - 01:21.


#2 amplepoor

amplepoor

    เมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,365 posts

ตอบ 3 มีนาคม พ.ศ. 2555 - 14:03

Posted Image


ระหว่างรอหนูอ้อย เรามาทราบประวัติของจารึกกันหน่อย

จารึกพ่อขุนราม เดิมปักอยู่ที่เนินปราสาทกลางกรุงสุโขทัย
รัชกาลที่ 4 เมื่อยังทรงผนวช ได้เชิญมาไว้ที่วัดบวร

ขณะนั้น กรุงสุโขทัยถูกทิ้งร้างไปแล้วหลายร้อยปี กลายเป็นป่ารก
แต่ชาวบ้านแถวนั้น ก็เคารพบูชาแท่นหินนี้อย่างดี

เมื่อมาที่วัดบวร รัชกาลที่ 4 กับลูกศิษย์คือสมเด็จกรมพระยาปวเรศฯ
ช่วยกันอ่าน จนสามารถถอดความออกมาเป็นภาษาที่อ่านได้
ทรงทำแฝกสิมีเล่ มอบให้เสอร์จอห์น เบาริ่งนำไปพิมพ์ลงหนังสือ (ดูรูปข้างบนครับ)

ทำให้เราสามารถเริ่มต้นการเขียนประวัติศาสตร์ชาติ ชนิดที่มีมาตรฐานตะวันตกได้สำเร็จ
จากเดิมที่อ้างแต่ตำนานและพงศาวดาร ซึ่งเป็นหลักฐานที่ถูกแทรกแซงได้ง่าย



เขียนถึงตรงนี้ ผมก็เกิดความสงสัยหาไคร่ในใจว่า
ทำไมเราจึงยกให้สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เป็นบิดาแห่งประวัติศาสตร์ไทย
พ่อท่านสิ เป็นผู้เริ่มวิชานี้ ก่อนท่านจะประสูติเสียอีก


แปลกดีนะ คนไทย

Edited by amplepoor, 3 มีนาคม พ.ศ. 2555 - 14:07.


#3 Solidus

Solidus

    เลิกเล่น

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 14,367 posts

ตอบ 3 มีนาคม พ.ศ. 2555 - 15:03

พิริยะนี่ใช่คนเดียวกับที่เสนอว่าศิลาจารึกหลักแรกเอาคำและข้อความของศิลาจารึกหลักที่ 2 โดยที่หลักแรกพบก่อนหลักที่ 2 หลายสิบปีรึเปล่าครับ

[color=#ff0000;]สำหรับผมคงเลิกเล่นบอร์ดนี้ไว้เพียงเท่านี้ ถ้าไอดีนี้ยังมีบุคคลอื่นที่ใครบางคนคิดว่าเป็นตัวจริงอยู่จริง เขาก็เข้ามาใช้บอร์ดนี้ต่อเองแต่ไม่ใช่ผมแน่นอน[/color]

ลาก่อน สวัสดีครับ 17 มกราคม 2556


#4 หนูอ้อย

หนูอ้อย

    นักเขียนหน่อมแน้ม

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,215 posts

ตอบ 3 มีนาคม พ.ศ. 2555 - 15:05

สนใจเรื่อง ข ขวด (แป้นหนูไม่มี)

ปัจจุบันไม่มีคำศัพท์ในหมวดคำ ฃ โดยระบุว่า ฃ เป็นอักษรที่ไม่นิยมใช้แล้ว อย่างไรก็ตาม ยังมีการใช้อักษร ฃ ในบางแวดวง นัยว่าเพื่อเป็นการอนุรักษ์ให้ตัวอักษรไทยมีใช้ครบ 44 ตัว

อักษร ฃ นี้เป็นอักษรของไทยดั้งเดิม และไม่ปรากฏในชุดอักษรภาษาอื่น ๆ

นอกจากตัวอักษร ฃ จะปรากฏในภาษาไทยแล้ว ตัวอักษร ฃ นี้ยังมีประวัติการใช้งานอยู่ในภาษาไทยถิ่นอื่นอีก เช่น คำเมือง (ของอาณาจักรล้านนา) ซึ่งยังคงปรากฏหลักฐานว่ายังมีการใช้งานกันอยู่บ้างในปัจจุบัน

หลักฐานเก่าแก่ที่สุดที่ปรากฏการใช้ ฃ ในภาษาไทย คือ ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง พบว่ามีการใช้ ฃ อยู่ 11 คำ ได้แก่ ฃบบ (ขับร้อง) , ฃ๋า (ฆ่า) , ฃาม (มะขาม), ฃาย (ขาย), เฃา (ภูเขา), เฃ๋า (เข้า) , ฃึ๋น (ขึ้น), ฃอ (ตะขอ) , ฃุน (ขุน), ฃวา (ขวา), แฃวน (แขวน)

นอกจากนั้น นักประวัติศาสตร์ยังได้พบกับร่องรอยของการใช้ ฃ ในจารึกอีกหลายแห่งในประเทศไทย เช่น จารึกป่านางเมาะ จารึกพ่อขุนรามพล จารึกวัดกำแพงงาม และจารึกแสดงผลกรรมนำสู่นิพพาน ซึ่งนักประวัติศาสตร์ได้สันนิษฐานไว้ว่าอักษร ฃ เป็นอักษรที่ปรากฏครั้งแรกในปี พ.ศ. 1935

ปัจจุบัน นักภาษาศาสตร์ได้นำคำที่ใช้เขียนด้วย ข และ ฃ ในศิลาจารึกหลักที่ 1 ไปเปรียบเทียบกับภาษาไทถิ่นอื่น ๆ เช่น ไทขาว ก็พบว่าเป็นคำที่ใช้เสียงประเภทเดียวกัน และแยกเสียง ข และ ฃ เหมือนกัน เพราะคำเหล่านี้เป็นคำที่เป็นมรดกตกทอดมาจากภาษาไทโบราณเก่าแก่ตั้งแต่ยังไม่มีอักษรเกิดขึ้น ภาษาไทถิ่นยังใช้คำเหล่านี้อยู่ แต่ว่าเสียงเพี้ยนไป โดยร่องรอยของการเปลี่ยนแปลงนี้สามารถสังเกตได้ชัดเจนจากศิลาจารึกหลักที่ 1 ว่าเริ่มมีการใช้ ข และ ฃ อย่างสับสน และใช้แทนที่กันในหลายแห่ง เช่น บ้างก็ใช้ ขุน บ้างก็ใช้ ฃุน


ลอกจากวิกิฯมาจ้าเพราะแป้นไม่มี ข ขวด อย่างที่ว่าไว้
หนูสงสัยว่าถ้าหลักจารึกปลอม แล้วจะมีนักนิรุกติศาสตร์มาขุดคุ้ยเรื่องตัวหนังสือ ข ขวด อย่างเป็นวรรคเป็นเวรทำไม
แล้วทำไมยังปรากฏ ข ขวด ที่จารึกอื่นๆด้วยเซ่

 AMAZING  coup d'etat  , THAILAND ONLY ..  :ph34r:  


#5 Gop

Gop

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 4,450 posts

ตอบ 3 มีนาคม พ.ศ. 2555 - 15:12

ผมเคยได้ยินเรื่องนี้หลายปีมาแล้ว ดูเหมือนมันจะค่อยๆเลือนหายไป จำได้ว่ามีข้ออ้างหนึ่งที่น่าสนใจคือ ในศิลาจารึกมีการกล่าวถึงกำแพงเมืองเมืองหนึ่ง(จำชื่อไม่ได้แล้ว) ว่ามีกำแพงสามชั้น ปรากฏว่าการขุดค้นพบว่า เมืองน้ันมีสามชั้นจริง แต่สร้างคนละเวลากัน ไม่ได้สร้างทั้งสามชั้นในสมัยสุโขทัยทั้งหมด ทำให้น่าสงสัยว่าศิลาจารึกนั้นเป็นของปลอม

อันนี้เขียนจากความจำจากในข่าว หรือในเน็ตล้วนๆเลยครับ ไม่มีอะไรอ้างอิง

หลักฐานไม่เคยโกหก (Gilbert Grissom C.S.I.)<p>Beneath this mask there is more than flesh. Beneath this mask there is an idea, Mr. Creedy, and ideas are bulletproof.

 


#6 Solidus

Solidus

    เลิกเล่น

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 14,367 posts

ตอบ 3 มีนาคม พ.ศ. 2555 - 15:24

ผมเคยได้ยินเรื่องนี้หลายปีมาแล้ว ดูเหมือนมันจะค่อยๆเลือนหายไป จำได้ว่ามีข้ออ้างหนึ่งที่น่าสนใจคือ ในศิลาจารึกมีการกล่าวถึงกำแพงเมืองเมืองหนึ่ง(จำชื่อไม่ได้แล้ว) ว่ามีกำแพงสามชั้น ปรากฏว่าการขุดค้นพบว่า เมืองน้ันมีสามชั้นจริง แต่สร้างคนละเวลากัน ไม่ได้สร้างทั้งสามชั้นในสมัยสุโขทัยทั้งหมด ทำให้น่าสงสัยว่าศิลาจารึกนั้นเป็นของปลอม

อันนี้เขียนจากความจำจากในข่าว หรือในเน็ตล้วนๆเลยครับ ไม่มีอะไรอ้างอิง

เรื่องกำแพง 3 ชั้นไม่ใช่ว่าสมัยสุโขทัยเป็นกำแพงดิน 3 ชั้น ต่อมาในสมัยอยุธยาได้ปรับปรุงเอาพวกศิลาแลงมาเสริมหรือครับ ถ้าแบบนี้ก็ไม่แปลกที่ส่วนที่ไม่ได้ปรับปรุงจะวัดได้เป็นสมัยสุโขทัย ส่วนที่ปรับปรุงจะวัดได้สมัยอยุธยา

Edited by Solidus, 3 มีนาคม พ.ศ. 2555 - 15:41.

[color=#ff0000;]สำหรับผมคงเลิกเล่นบอร์ดนี้ไว้เพียงเท่านี้ ถ้าไอดีนี้ยังมีบุคคลอื่นที่ใครบางคนคิดว่าเป็นตัวจริงอยู่จริง เขาก็เข้ามาใช้บอร์ดนี้ต่อเองแต่ไม่ใช่ผมแน่นอน[/color]

ลาก่อน สวัสดีครับ 17 มกราคม 2556


#7 amplepoor

amplepoor

    เมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,365 posts

ตอบ 3 มีนาคม พ.ศ. 2555 - 15:33

ผมเคยได้ยินเรื่องนี้หลายปีมาแล้ว ดูเหมือนมันจะค่อยๆเลือนหายไป จำได้ว่ามีข้ออ้างหนึ่งที่น่าสนใจคือ ในศิลาจารึกมีการกล่าวถึงกำแพงเมืองเมืองหนึ่ง(จำชื่อไม่ได้แล้ว) ว่ามีกำแพงสามชั้น ปรากฏว่าการขุดค้นพบว่า เมืองน้ันมีสามชั้นจริง แต่สร้างคนละเวลากัน ไม่ได้สร้างทั้งสามชั้นในสมัยสุโขทัยทั้งหมด ทำให้น่าสงสัยว่าศิลาจารึกนั้นเป็นของปลอม

อันนี้เขียนจากความจำจากในข่าว หรือในเน็ตล้วนๆเลยครับ ไม่มีอะไรอ้างอิง


มาจากคำว่า "ตรีบูร" ในจารึก

สมัยก่อน ทุกคนก็ตีความว่า ตรีบูร คือกำแพงสามชั้น
จนกรมศิลปากร ราวๆ 2520 กว่ามั้ง ช่วงที่นายระยำนิคมทำเมืองให้เป็นธีมพาร์ค
มีการขุดสำรวจ หมายว่าจะสร้างใหม่ให้ดีกว่าที่พ่อขุนรามทำไว้....ฮา

พอขุดตรวจก็ซวยเรย....เพราะใต้ชั้นดิน ดันไปเจอกระเบื้องจีนสมัยเหม็ง ซึ่งมันใหม่กว่าพ่อขุนรามเป็นร้อยปี
คนที่เกี่ยวข้องก็ทำไม่รู้ไม่ชี้ จนกระทั่งมาถึงรุ่นโค่นร. 4 นี่แหละ

พวกก็เอามาเล่นว่า เห็นใหม จารึกโกหก ตรีบูรที่เห็น สร้างหลังจารึกตั้งนาน จารึกจะทำนายอนาคตหรือนั่น

โชคดี มีคน)ลาด เอาหลักฐานมายันพวกนี้ว่า
ในโคลงกำศรวล ที่ยอมรับกันว่าเก่าถึงอยุธยาต้น ก็มีบอกว่า
อยุธยาไพโรจน์ใต้ ตรีบูร

นี่ก็แต่งผิดสิ...เพราะอยุธยาไม่ได้มีกำแพงสามชั้น
แถมบางส่วนยังมาสร้างเอาในรัชกาลพระมหาจักรพรรดิ
ปาเข้าไปอยุธยากลางแล้วนะนั่น


คนๆ นั้นคือ อาจารย์ศรีศักดิครับ

#8 amplepoor

amplepoor

    เมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,365 posts

ตอบ 3 มีนาคม พ.ศ. 2555 - 15:40

สนใจเรื่อง ข ขวด (แป้นหนูไม่มี)


มี ทำไมจะไม่มี แต่ผมทำออกมาไม่เป็ลลล อิอิ

ขอขวดที่หายไป เป็นบาปของกรมดำรง
สมัยที่มีคนทำพิมพ์ดีดภาษาไทย มันมีปัญหาว่าแป้นไม่พอ ขาดไป 2 ตัวอักษร
ก็มาปรึกษาท่าน
แทนที่ท่านจะบอกว่า ก็เพิ่มไปอีกก้านสิ
ท่านกลับบอกว่า ขอ ขวด และ คอคน (ข และ ค หัวหยัก) มีใช้น้อย
และมีตัวอื่นทดแทนได้....สองหัวหยัก ก็เลยถูกกำจัดครับ

ทีนี้ ถ้าเป็นตัวเรียงพิมพ์ หมอสอนศาสนาเขาไม่ต้องตัด เขาทำตัวดีบุกได้หมดแหละ
ก็เลยยังมีใช้ในเล่มสมุดมาตลอด
หมายความว่า ก่อนสมัยรัชกาลที่ 4 ก็ยังใช้กันปกติครับ

อาจารย์ประเสริฐ ก็เอาเรื่องขอ ขวด คอ คน นี่แหละ ไปแย้งตาวิกเกอรี่
แต่วิกเกอรี่เอาหูทวนลม

เมื่อพ่อมันไม่ฟัง
ลูกมันที่เป็นเจ๊กปนลิงบ้ากาม ก็ไม่ฟังด้วย ก็ยังถือว่าวิกเกอรี่ถูก.....

Edited by amplepoor, 3 มีนาคม พ.ศ. 2555 - 15:42.


#9 amplepoor

amplepoor

    เมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,365 posts

ตอบ 3 มีนาคม พ.ศ. 2555 - 15:48

พิริยะนี่ใช่คนเดียวกับที่เสนอว่าศิลาจารึกหลักแรกเอาคำและข้อความของศิลาจารึกหลักที่ 2 โดยที่หลักแรกพบก่อนหลักที่ 2 หลายสิบปีรึเปล่าครับ


ที่จริงเป็นคำแย้งของอาจารย์ประเสริฐครับ

ท่านบอกว่า รัชกาลที่ 4 จะไปเอาชื่อศรีอินทราทิตย์มาจากใหน
ในเมื่อชื่อนี้ เราพบในจารึกเพียงสองหลัก คือหลักที่ 1
กับอีกหลักหนึ่ง ถูกฝังอยู่ในอุโมงค์ทางเดินวัดศรีชุม
ไม่มีใครได้พบเห็นมาจนถึงรัชกาลที่ 5 เมื่อรัชกาลที่ 4 ท่านสวรรคตไปแล้ว

แม้จะถูกยัน เอ้ยแย้งเข้าแสกหน้า พิริยะก็ยังคงรักษาอาการบ้าใบ้ได้อย่างมั่นคง
คือหุบปาก ไม่ตอบสนองจากหมายเลขที่ท่านเรียก....ตุ๊ดๆๆๆๆๆๆๆๆ



อิอิ ก็ท่านเป็นตุ๊ดอ่ะ ท่านก็ต้องปล่อยมันตุ๊ดๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ ไปอย่างนั้น

ข้อโต้แย้งนี้สำคัญมาก เพราะจะแย้ง ทำได้สองอย่าง
1 บอกว่า รัชกาลที่ 4 ท่านบังเอิญมั่วชื่อได้ถูกต้อง....หรือ
2 บอกว่า ท่านปลอมจารึกไว้อีกแผ่น ซ่อนไว้ แล้วภาวนาว่าจะมีคนมาเจอ

หรือภาวนาว่า จะมีคนมากล่าวหาท่าน
แล้วภาวนาต่อว่า มีคนเอาข้อนี้มาอ้างแก้



ฮา

Edited by amplepoor, 3 มีนาคม พ.ศ. 2555 - 16:28.


#10 amplepoor

amplepoor

    เมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,365 posts

ตอบ 3 มีนาคม พ.ศ. 2555 - 15:52

หลัก ฐานเก่าแก่ที่สุดที่ปรากฏการใช้ ฃ ในภาษาไทย คือ ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง พบว่ามีการใช้ ฃ อยู่ 11 คำ ได้แก่ ฃบบ (ขับร้อง) , ฃ๋า (ฆ่า) , ฃาม (มะขาม), ฃาย (ขาย), เฃา (ภูเขา), เฃ๋า (เข้า) , ฃึ๋น (ขึ้น), ฃอ (ตะขอ) , ฃุน (ขุน), ฃวา (ขวา), แฃวน (แขวน)

อาจารย์ประเสริฐใช้คำชุดนี้แหละ ยันวิกเกอรี่ว่า
มันตรงกับคำไทจ้วง ที่บาดหลวงท่านหนึ่งสอบเอาไว้
ดังนั้น จะไปกล่าวหาว่า รัชกาลที่ 4 ปลอมจารึกไม่ได้
เว้นแต่ทรงเป็นชาวจ้วง



คำสุดท้ายนี่ ผมว่าเอง....อิอิ

Edited by amplepoor, 3 มีนาคม พ.ศ. 2555 - 15:52.


#11 Gop

Gop

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 4,450 posts

ตอบ 3 มีนาคม พ.ศ. 2555 - 15:53

ช้าก่อน ท่านผู้รู้ทั้งหลาย !!

โปรดท้าวความด้วย กระผมแทบไม่รู้เรื่องอะไรเลยครับ

ได้โปรดเห็นใจผมด้วย

หลักฐานไม่เคยโกหก (Gilbert Grissom C.S.I.)<p>Beneath this mask there is more than flesh. Beneath this mask there is an idea, Mr. Creedy, and ideas are bulletproof.

 


#12 amplepoor

amplepoor

    เมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,365 posts

ตอบ 3 มีนาคม พ.ศ. 2555 - 16:28

ช้าก่อน ท่านผู้รู้ทั้งหลาย !!

โปรดท้าวความด้วย กระผมแทบไม่รู้เรื่องอะไรเลยครับ

ได้โปรดเห็นใจผมด้วย


อ้าว.....

เอางี้ ท่านถามเราตอบ

ตอบไม่ได้เราจะมั่ว.....หึหึ

#13 Gop

Gop

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 4,450 posts

ตอบ 3 มีนาคม พ.ศ. 2555 - 16:50

ช้าก่อน ท่านผู้รู้ทั้งหลาย !! โปรดท้าวความด้วย กระผมแทบไม่รู้เรื่องอะไรเลยครับ ได้โปรดเห็นใจผมด้วย

อ้าว..... เอางี้ ท่านถามเราตอบ ตอบไม่ได้เราจะมั่ว.....หึหึ


๑ คือผมไม่ทราบว่าในศิลาจารึกนั้นกล่าวถึงอะไรบ้างในรายละเอียด นอกจากที่เคยเรียนในโรงเรียน เช่น เรื่องพ่อขุนรามคำแหง ใครใครค้า ค้า ใครใคร่ขาย ขาย ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว อะไรทำนองนี้น่ะครับ พวกรายละเอียดอื่นๆ ผมแทบไม่รู้เรื่องเลย

๒ ฝ่ายที่อ้างว่าเป็นของปลอมนั้นอ้างว่าอะไรบ้าง ตรงจุดไหนที่น่าสงสัย หรือเหตุผลอันไดถึงได้เชื่อว่าปลอม

๓ ฝ่ายที่เห็นว่าเป็นของแท้นั้นแย้งอย่างไร

ถ้ามี link ให้ตามอ่านด้วย จะเป็นพระคุณอย่างสูงครับ

หลักฐานไม่เคยโกหก (Gilbert Grissom C.S.I.)<p>Beneath this mask there is more than flesh. Beneath this mask there is an idea, Mr. Creedy, and ideas are bulletproof.

 


#14 amplepoor

amplepoor

    เมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,365 posts

ตอบ 3 มีนาคม พ.ศ. 2555 - 17:08

ตอบตามที่จำได้นะครับ ตาผมมันเกเร อ่านหนังสือไม่สะดวก
ถ้าผิด ผู้รู้โปรดแก้ด้วยจ้า

๑ คือผมไม่ทราบว่าในศิลาจารึกนั้นกล่าวถึงอะไรบ้างในรายละเอียด นอกจากที่เคยเรียนในโรงเรียน เช่น เรื่องพ่อขุนรามคำแหง ใครใครค้า ค้า ใครใคร่ขาย ขาย ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว อะไรทำนองนี้น่ะครับ พวกรายละเอียดอื่นๆ ผมแทบไม่รู้เรื่องเลย

จารึกนี้ มีสองลายมือ
17 บันทัดแรก เป็นลายมือหนึ่ง...เริ่มต้นข้อความอย่างที่เราคุ้นเคยกันดี พ่อกูชื่อศรีอินทราทิตย์......

ดูรูปครับ

Posted Image

ลิ้งค์นี้ทำดีมากครับ
http://www.info.ru.ac.th/province/sukhotai/srjsd11.htm

#15 amplepoor

amplepoor

    เมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,365 posts

ตอบ 3 มีนาคม พ.ศ. 2555 - 17:09

๒ ฝ่ายที่อ้างว่าเป็นของปลอมนั้นอ้างว่าอะไรบ้าง ตรงจุดไหนที่น่าสงสัย หรือเหตุผลอันไดถึงได้เชื่อว่าปลอม
อ่านคำนำของเจ๊กบ้ากามดู

จารึกพ่อขุนรามคำแหง วรรณคดีประวัติศาสตร์การเมืองแห่งกรุงสยาม
นิธิ เอียวศรีวงศ์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

อาจารย์พิริยะ ไกรฤกษ์ วางระเบิดไว้สองลูกในหนังสือเล่มนี้ ลูกหนึ่งเล็ก ลูกหนึ่งใหญ่

ข้อเสนอสองประการซึ่งถือว่าเป็นระเบิดของท่านก็คือ หนึ่ง จารึก "รามคำแหง" ไม่ได้ทำในสมัยรามราช ไม่ได้ทำในสมัยที่อาจเรียกได้ว่า "สุโขทัย" และไม่ได้ทำขึ้นในสมัยต้นอยุธยา สอง แต่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวต่างหากที่ได้ทรงทำจารึกหลักนี้ขึ้น ด้วยเหตุผลการเมืองภายในและระหว่างประเทศในสมัยของพระองค์

ความจริงแล้ว จารึกรามคำแหงซึ่งถูกนักปราชญ์ฝรั่งเศสกำหนดไว้ตายตัวว่าน่าจะเขียนขึ้นทั้งหลักใน พ.ศ. ๑๘๓๕ พร้อมกับพระแท่นมนังคศิลาได้ถูกตั้งข้อสงสัยและเสนอคำอธิบายแก้ไขมานานแล้ว อย่างน้อยข้อความในตอนแรกที่ใช้สรรพนามว่ากู กับข้อความในตอนหลังที่อ้างถึง "เมื่อชั่วพ่อขุนรามคำแหง" ก็มีผู้ตั้งข้อสังเกตมานานแล้วว่าน่าจะเขียนกันขึ้นคนละครั้ง แม้อาจจะในรัชกาลเดียวกันก็ตาม

หม่อมเจ้าจันทร์จิรายุ รัชนีทรงเสนอว่า จารึกทั้งหลักนั้นน่าจะจารึกเพื่อโฆษณาชวนเชื่อทางการเมืองกันขึ้นในสมัยพญา ลิไท แต่ก็มีผู้ค้านว่า ถ้าอย่างนั้นทำไมจึงไม่ใช้อักขรวิธีแบบเดียวกับจารึกอื่นๆ ของสมัยพญาลิไทเล่า ท่านก็ทรงอธิบายว่าพญาลิไทน่าจะได้ข้อความตอนต้นซึ่งพ่อขุนรามคำแหงทรงพระ ราชนิพนธ�ไว้ที่ใดที่หนึ่งจริง จึงเอามาเริ่มต้นจารึกแล้วก็ลอกเลียนอักขรวิธีแบบนั้นทั้งหลัก น่าสังเกตด้วยว่าถ้าพญาลิไททรงทำจารึกนี้ขึ้นจริงดังที่ "ท่านจันทร์" เสนอ พญาลิไทไม่ได้เพียงแต่นำเอาพระราชนิพนธ์ของ "ปู่พญา" มาจารึกลงในหินเท่านั้น แต่ยังตั้งพระทัยที่จะแปลงข้อความที่เติมเข้าไปใหม่ให้ดูประหนึ่งว่าเป็นของ เก่าเมื่อยังใช้อักขรวิธีอีกอย่างหนึ่งด้วย การกระทำอย่างนี้ชาวบ้านเรียกว่า "ปลอม" จารึก ฉะนั้นพญาลิไทจึงเป็นกษัตริย์พระองค์แรกที่ถูกนักประวัติศาสตร์กล่าวหาว่า ปลอมจารึกหลักนี้

อย่างไรก็ตาม ข้อคัดค้านว่าจารึกรามคำแหงไม่น่าจะทำในสมัยรามราชที่หนักข้อกว่านั้นเป็นของนายไมเคิล วิกเกอรี ซึ่งวิจารณ์พระนิพนธ์ของหม่อมเจ้าจันทร์จิรายุ และตีพิมพ์ครั้งแรกในวารสารสยามสมาคมใน พ.ศ. ๒๕๒๑ ประเด็นสำคัญก็คือนายวิกเกอรีเห็นว่ามีการตีความจารึกหลักนี้แบบขอไปทีมาก โดยเฉพาะข้อที่ไม่ลงรอยกับหลักฐานร่วมสมัยอื่นๆ ก็มักถูกตีความให้สอดคล้องกันไปอย่างง่ายๆ เช่น เหตุใดจึงเอาสระไว้บนบรรทัดเดียวกับพยัญชนะ ก็อธิบายว่าเป็นเพราะอัจฉริยภาพของพ่อขุนรามคำแหง หรือเพราะถึงอย่างไรก็เอาพยัญชนะควบกล้ำและตัวสะกดไว้บนบรรทัดเดียวกันอยู่แล้ว

หรือเหตุใดจารึกซึ่งอ้างว่าเขียนขึ้นด้วยตัวอักษรและอักรวิธีแบบใหม่จึงสะกดคำไม่ตรงกัน ก็อธิบายว่าเพราะใช้เสมียนจดหลายคนจึงจดไม่ตรงกัน แต่เสมียนจะเรียนการสะกดคำจากสำนักอื่นใดได้อีก ในเมื่อเป็นอักษรและอักขรวิธีแบบใหม่เพิ่งคิดขึ้น) นายวิกเกอรีจึงเห็นพ้องกับ "ท่านจันทร์" ว่า จารึกรามคำแหงนั้นไม่น่าจะทำขึ้นในสมัยรามคำแหง ที่ยิ่งไปกว่า "ท่านจันทร์" ก็คือ นายวิกเกอรีดูจะส่อว่า แม้แต่สมมติว่าทำขึ้นในสมัยพญาลิไทก็ดูจะยังไม่สอดคล้องกับหลักฐานร่วมสมัยอื่นๆ นัก

ในบทความซึ่งเขาเสนอต่อที่ประชุมไทยศึกษา ประเทศออสเตรเลีย พ.ศ. ๒๕๓๐ เขาอาศัยภาษาศาสตร์และเนื้อความในจารึกรามคำแหง เพื่อชี้ให้เห็นความไม่ลงรอยของจารึกนี้กับหลักฐานอื่นๆ อย่างละเอียด แม้ว่าคำถามหลักของเขาจะเกี่ยวกับประเด็นการประดิษฐ์ตัวอักษรไทยขึ้นเป็น ครั้งแรก แต่การวิเคราะห์ของเขาทั้งด้านภาษาศาสตร์และด้านเนื้อหาของจารึก กลับนำไปสู่คำถามถึงความน่าเชื่อถือของจารึก เพราะเขาเชื่อว่าเขาได้พบข้อความที่พิสูจน์ได้ว่าไม่จริงในจารึกอยู่มาก ถึงระดับที่ว่าผู้ทำจารึกนี้ตั้งใจ "ปลอม" ทีเดียว

อันที่จริงอาจารย์พิริยะเองได้เคยเขียนบทความเสนอความไม่ลงรอยของจารึกกับอายุของสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมที่จารึกอ้างถึงไว้แล้ว จนต้องตั้งคำถามกับจารึกหลักนี้ว่าสร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ ๑๙ จริงหรือ

เฉพาะในส่วนที่ตั้งคำถามกับจารึกรามคำแหงเหล่านี้ อาจารย์พิริยะได้รวมเอาบทความของท่านเกี่ยวกับเรื่องนี้มาไว้ในหนังสือเล่มนี้ทั้งหมด ยิ่งไปกว่านี้ยังจับเอาคำในจารึกแทบจะทุกบรรทัดมาเปรียบเทียบความหมายกับจารึกสุโขทัยหลักอื่น และพบว่าจารึกหลักนี้ใช้คำและความหมายที่ไม่ปรากฏในจารึกสุโขทัยหลักอื่นอยู่จำนวนมาก บางคำก็เป็นความหมายที่ใช้ในสมัยหลังมากๆ ยิ่งกว่านี้ท่านยังได้ยกเนื้อความในจารึกที่น่าสงสัยขึ้นมาให้ดูอีกมากว่า เนื้อความเหล่านี้ไม่สอดคล้องกับจารึกหลักอื่นบ้าง ไม่สอดคล้องกับหลักฐานทางโบราณคดีและประวัติศาสตร์ศิลปะบ้าง

แต่นี่ยังเป็นระเบิดลูกเล็ก เพราะข้อสงสัยของท่านในเรื่องนี้ค่อยๆ ก่อตัวมาในวงวิชาการไทยศึกษานานแล้ว ถึงอาจจะไม่เป็นที่ยอมรับกันทั่วไป ก็ไม่ก่อความระคายเคืองมากนัก ถึงกระนั้นมันก็ยังเป็นระเบิดอยู่ดี เพราะทำให้เกิดการตอบโต้ไปทั่วโลกในประเทศที่มีการศึกษาไทยคดีหลายประเทศ ถ้าไม่นับการตอบโต้ด้วยอารมณ์ของนักวิชาการบางท่านแล้ว โดยทั่วไปก็ต้องถือว่ามีคุณประโยชน์ในทางวิชาการ เพราะอย่างน้อยก็ทำให้นักวิชาการ (ภาษาศาสตร์, ประวัติศาสตร์ศิลปะ, อ่านจารึก และประวัติศาสตร์) ต้องทบทวนจุดยืนของตนเองในเรื่องดังกล่าว บางส่วนก็อาจเพิ่มพูนความรู้ให้แก่วงวิชาการได้มากขึ้น

ระเบิดลูกใหญ่ที่อาจารย์พิริยะโยนเข้าสู่วงวิชาการผ่านหนังสือเล่มนี้คือข้อที่อาจารย์พิริยะเสนอว่า พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั่นแหละที่ทรงทำจารึกหลักนี้ขึ้น อันที่จริงมีนักปราชญ์แต่ก่อนเคยสงสัยทำนองนี้มาแล้ว แต่ท่านพูดเชิง "ทีเล่นทีจริง" จนไม่อาจก่อให้เกิดผลกระเทือนในทางวิชาการได้

มีนักวิชาการรวมทั้งตัวอาจารย์พิริยะเองได้เสนอมาก่อนหน้านี้แล้วว่า จารึกรามคำแหงไม่น่าจะทำในรัชสมัยของพระองค์ ตลอดจนถึงไม่น่าจะทำในพุทธศตวรรษที่ ๑๙ จารึกรามคำแหงเป็นเอกสารโฆษณาชวนเชื่อทางการเมือง (ซึ่งทำให้ไม่น่าเชื่อถือในฐานะหลักฐานทางประวัติศาสตร์) แต่จารึกรามคำแหงก็อาจเป็นจารึกสุโขทัยก็ได้ หรืออย่างต่ำลงมาก็อาจเป็นจารึกที่ทำขึ้นในสมัยต้นอยุธยา แต่ก็หาเหตุผลได้ยากว่าทำขึ้นทำไม แต่ทั้งหมดนี้ยังไม่มีใครชี้ออกมาตรงๆ ว่าพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงทำจารึกหลักนี้ขึ้น

การชี้ว่าพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจาอยู่หัวเป็นผู้ทำจารึกหลักนี้เป็นระเบิดในทางวิชาการก็เพราะ กว่าจะถึงสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เวลาได้ผ่านไปกว่า ๕๐๐ ปี ทุกอย่างที่กล่าวไว้ในจารึกหลักนี้จึงเชื่อไม่ได้สักอย่างเดียว ไม่สามารถใช้เป็นหลักฐานสำหรับศึกษาประวัติศาสตร์สุโขทัยได้เลย อะไรต่างๆ ในเมืองไทยปัจจุบันทั้งที่สำคัญและไม่สำคัญ (นับตั้งแต่ระบบพ่อปกครองลูกไปจนถึงพิธีเผาเทียนเล่นไฟ สำหรับขายนักท่องเที่ยว) ซึ่งอ้างถึงจารึกหลักนี้ล้วนไม่มีฐานความเป็นจริงแม้แต่น้อย เนื้อหาของประวัติศาสตร์ไทยที่เกี่ยวกับสุโขทัยซึ่งมักอ้างจารึกหลักนี้ทั้งหมดมัดเก็บใส่ตู้ได้เลย

ฉะนั้นข้อเสนอทางวิชาการประการที่สองของอาจารย์พิริยะ จึงเป็นระเบิดลูกใหญ่

และเมื่อมันระเบิดขึ้น ผมคิดว่ามันระเบิดใส่อาจารย์พิริยะด้วย เพราะอาจารย์พิริยะผูกข้อเสนอทั้งสองข้อเข้าด้วยกัน ฉะนั้นในขณะที่อาจารย์พิริยะชี้ให้เห็นความไม่ลงรอยกับยุคสมัยของจารึกรามคำแหง ท่านก็ต้องพิสูจน์ความลงรอยของจารึกกับยุคสมัยของต้นรัตนโกสินทร์ไปพร้อมกัน และข้อนี้พิสูจน์ไม่ได้ง่ายเลย

เช่น ท่านต้องพิสูจน์ว่าพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจาอยู่หัวต้องทรงเคยได้อ่าน จารึกสุโขทัยหลักอื่น (คือหลักที่ ๒, ๓, ๔, ๕, ๗, ๘, ๙ และ ๔๕) มาแล้ว ท่านต้องพิสูจน์ว่าหนังสือไตรภูมิพระร่วงไม่ใช่งานเขียนซึ่งสืบเนื่องกับงาน เดิมในสมัยสุโขทัย ท่านต้องพิสูจน์ว่าจินดามณีฉบับความแปลก (สมัยสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ) ต้องมีการเขียนแทรกในปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๔ และพิสูจน์คำ, สำนวน, ความคิด และศิลปวัตถุหรือเครื่องราชูปโภคต่างๆ ว่าต้องไม่มีมาก่อนในช่วงร้อยกว่าปีของจารึกสุโขทัย และห้าร้อยกว่าปีหลังจากนั้นด้วย

ยังมีข้อพิสูจน์อีกอย่างหนึ่งซึ่งในทัศนะของผมก็หนักหนาสาหัสอยู่เหมือนกัน คือ หนึ่ง พิสูจน์ว่ามีเหตุผลทางการเมืองที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจะต้องทรง "ปลอม" จารึกรามคำแหงขึ้น ในข้อนี้ท่านได้ใช้หน้ากระดาษจำนวนมากเพื่อพิสูจน์หรือให้เหตุผลจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ในสมัยนั้น และสอง พิสูจน์ได้ว่าเมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจาอยู่หัวทรง "ปลอม" จารึกขึ้นแล้ว ก็ได้ทรงใช้จารึกปลอมนั้นให้เป็นประโยชน์ตามพระราชปณิธานทางการเมืองดังที่กล่าวไว้ เช่น ทรงอ้างถึงบ่อยหรือโปรดให้พิมพ์เผยแพร่เพื่อจะได้รู้เห็นกันกว้างขวาง เป็นต้น

ท่านอาจารย์พิริยะประสบความสำเร็จมากน้อยแค่ไหนในการป้องกันไม่ให้ระเบิดลูก ใหญ่นี้ระเบิดใส่ตัวท่านเอง ผู้อ่านต้องใช้วิจารณญาณของตนเอง และที่สำคัญกว่านั้นคือ ควรตรวจสอบหลักฐานที่เกี่ยวข้อง แล้วลองตีความให้ต่างไปจากท่านดูเองบ้าง หากได้พบการตีความอื่นซึ่งดูจะแยบคายกว่า ก็เอาข้อเสนอใหม่นี้ไปตรวจสอบกับหลักฐานต่างๆ ดูให้แน่ชัดอีกครั้ง ทำได้ดังนี้ก็จะเกิดความเจริญงอกงามในทางวิชาการ เพราะแม้ว่าจะมีการตอบโต้กันในเรื่องนี้มานานอย่างไร ก็จะปฏิเสธไม่ได้ว่าจารึกรามคำแหงนั้นมีปัญหาที่ต้องการคำอธิบายอีกมาก ไม่จำเป็นว่าความเห็นเกี่ยวกับจารึกรามคำแหงจะต้องถูกจำกัดอยู่เพียงสอง คือระหว่างความเห็นของอาจารย์พิริยะและปรปักษ์ของท่านเท่านั้น

เท่าที่ผมได้รู้จักอาจารย์พิริยะโดยส่วนตัว และเท่าที่ได้สดับตรับฟังเรื่องราวเกี่ยวกับท่าน ผมแน่ใจว่าอาจารย์พิริยะเป็นนักวิชาการโดยชีวิตจิตใจเลยทีเดียว ด้วยเหตุดังนั้นท่านคงมีความพอใจเป็นอันมากที่จะเกิดการศึกษาและข้อสรุปเกี่ยวกับจารึกรามคำแหงใหม่ แม้ว่าจะเป็นข้อสรุปที่แตกต่างจากข้อเสนอของท่านก็ตาม หนังสือเล่มนี้ซึ่งเกิดจากความมานะ พยายาม และความใฝ่ใจ ต่อความจริงเยี่ยงนักวิชาการของท่าน จะยิ่งเป็นผลงานที่น่าภาคภูมิใจขึ้นไปอีก เพราะสำเร็จประโยชน์ที่แท้จริงทางวิชาการสมดังเจตนารมณ์ของท่านแล้ว

เขียนเมื่อวันที่ ๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๖

#16 amplepoor

amplepoor

    เมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,365 posts

ตอบ 3 มีนาคม พ.ศ. 2555 - 17:14

อ่านกันอ้วกเลยนะครับ

จารึกพ่อขุนรามฯ-ไม่ได้ทำในสมัยพ่อขุนรามฯ ?
นิตยสารสารคดี พฤศจิกายน 2546
เพราะ การได้ขึ้นทะเบียนเป็น "มรดกความทรงจำของโลก" นั่นทีเดียว ทำให้เราได้รู้ว่า ในแวดวงนักประวัติศาสตร์มีการขุดคุ้ยค้นหาคำตอบกันอย่างเข้มข้นมานานกว่า ๑๐ ปีแล้วว่า จารึกพ่อขุนรามคำแหง ใครเป็นคนทำกันแน่

ไล่เรียงมา ตั้งแต่ ม.จ. จันทร์จิรายุ รัชนี และ ไมเคิล วิกเคอรี ที่ได้เปิดประเด็นไว้ตั้งแต่ ๑๐ กว่าปีที่แล้วว่า จารึกพ่อขุนรามคำแหงอาจไม่ได้ทำในสมัยพ่อขุนรามฯ รศ. ดร. พิริยะ ไกรฤกษ์ ก็เป็นอีกคนหนึ่งที่ศึกษาค้นคว้าวิจัยเชิงประวัติศาสตร์ศิลปะ และเสนอว่าจารึกหลักที่ ๑ ไม่ได้ทำขึ้นในสมัยพ่อขุนรามคำแหง แต่เพิ่งทำขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๔ นี่เอง นอกจากนี้นักวิชาการอีกหลายคน เช่น ไมเคิล ไรท์ สุจิตต์ วงษ์เทศ พิเศษ เจียจันทร์พงษ์ ก็ให้ความเห็นไปในทิศทางที่ไม่เชื่อว่าจารึกหลักนี้ทำขึ้นในสมัยพ่อขุนราม คำแหงเช่นกัน

อีกฟากหนึ่ง จิราภรณ์ อรัณยะนาค ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านวิทยาศาสตร์การอนุรักษ์ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร ได้ตรวจพิสูจน์หลักศิลาจารึกหลักที่ ๑ ด้วยวิธีทางวิทยาศาสตร์เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๒ โดยดูการเกิดปฏิกิริยาทางเคมีของร่องรอยการขูดขีด พบว่าเป็นร่องรอยที่มีอายุอยู่ในสมัยกรุงสุโขทัยแน่นอน แต่จะเป็นรัชสมัยของกษัตริย์พระองค์ใดไม่สามารถระบุได้แน่ชัด

ก่อง แก้ว วีระประจักษ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาศาสตร์ กรมศิลปากร ก็เป็นอีกคนที่ยืนยันว่า จารึกหลักนี้ทำขึ้นในสมัยพ่อขุนรามคำแหงแน่นอน ส่วนผู้เชี่ยวชาญด้านจารึกอย่าง ศ. ดร. ประเสริฐ ณ นคร ก็ออกมาชี้แจงโต้แย้งประเด็นที่เป็นพิรุธในทุกกรณีตลอด ๑๐ กว่าปีที่ผ่านมา

กระนั้นก็ยังไม่อาจหาข้อสรุปใด ๆ ได้
ดู เหมือนว่าการถกเถียงในหมู่นักประวัติศาสตร์ โบราณคดี ที่ยืดเยื้อยาวนานนี้ ไม่ได้อยู่ในความรับรู้ของสาธารณชนมากนัก เรายังแขวนภาพสุโขทัยไว้กับชุดความคิดที่ว่า จารึกพ่อขุนฯ เป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกของไทย พ่อขุนรามคำแหงเป็นผู้ประดิษฐ์อักษรไทย และเป็นยุคที่ในน้ำมีปลาในนามีข้าว ใครใคร่ค้าม้าค้า ใครใคร่ค้าวัวค้า ประชาชนเดือดร้อนก็มาสั่นกระดิ่ง ฯลฯ

กล่าวให้ถึงที่สุด ประชาชนทั่วไปไม่เคยตั้งคำถามใด ๆ กับสิ่งที่ได้ร่ำเรียนมา และไม่เคยรับรู้เรื่องการตั้งข้อสังเกตของนักวิชาการ จนกระทั่งองค์การยูเนสโกประกาศให้จารึกหลักที่ ๑ เป็นมรดกความทรงจำของโลกMemory of the World Project เป็นโครงการเพื่ออนุรักษ์และเผยแพร่มรดกความทรงจำที่เป็นเอกสาร วัสดุ หรือข้อมูลข่าวสารอื่น ๆ เช่น กระดาษ สื่อทัศนูปกรณ์ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีความสำคัญระดับนานาชาติ และจะต้องมีการเก็บรักษาในความทรงจำระดับชาติและระดับภูมิภาคอยู่แล้ว ประเทศใดก็ตามที่คณะกรรมการยูเนสโกได้ขึ้นทะเบียนหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ชนิดไหนให้เป็นมรดกความทรงจำของโลกแล้ว ย่อมมีภาระผูกพันให้ต้องดูแล รักษา อนุรักษ์ให้อยู่ในสภาพดี และเผยแพร่ให้ความรู้แก่มหาชนรุ่นหลังทั่วโลกให้กว้างขวาง เพื่อให้มรดกดังกล่าวอยู่ในความทรงจำของโลกต่อไป

ด้วยเห็นว่า ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงหลักที่ ๑ เป็นหลักฐานที่มีความสำคัญทางด้านประวัติศาสตร์ การปกครอง การค้า และวัฒนธรรมของอาณาจักรสุโขทัย ที่มีความสำคัญกับนานาชาติ เป็นหลักฐานข้อมูลข่าวสารที่สะท้อนวิถีชีวิต ขนบธรรมเนียม ระบบการปกครอง แนวคิดทางด้านกฎหมาย สิทธิเสรีภาพของประชาชน การค้าเสรี และประเด็นอื่น ๆ นายปองพล อดิเรกสาร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ จึงได้ส่งแบบฟอร์มใบสมัครของประเทศไทยไปยังผู้อำนวยการใหญ่ องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ขอให้พิจารณาจดทะเบียนระดับโลก (World Register) ศิลาจารึกหลักที่ ๑ ภายใต้โครงการมรดกความทรงจำของโลก

คณะกรรมการที่ปรึกษาของยูเนสโก ได้ประชุมเมื่อวันที่ ๒๘-๓๐ สิงหาคม ๒๕๔๖ ที่เมืองกแดนสก์ (Gdansk) ประเทศโปแลนด์ มีมติเป็นเอกฉันท์ให้ยูเนสโกจดทะเบียนระดับโลกศิลาจารึกหลักที่ ๑ ของพ่อขุนรามคำแหง พร้อมกับ ๒๒ รายการจาก ๒๐ ประเทศ แม้จะมีบางเสียงไม่เห็นด้วยกับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกด้วยเหตุผลข้างต้น แต่ส่วนใหญ่ก็ไม่ขัดข้องที่จะประกาศเป็นมรดกความทรงจำของโลก สิ่งที่ยังเป็นข้อกังขาและทำให้เกิดการถกเถียงอีกครั้งก็ไม่พ้นประเด็นที่ ว่า ใครเป็นคนทำจารึกหลักนี้ และขณะที่ยังไม่ทราบข้อเท็จจริงแน่ชัดการได้รับยกย่องด้วยเหตุผลดังกล่าว อาจสร้างความเสียหายภายหลังได้

ตัวละครชุดเดิมออกมาแสดงบทบาทอีก ครั้ง ทว่าคราวนี้มีตัวละครจากกระทรวงวัฒนธรรมและกระทรวงศึกษาธิการ เช่น นางอุไรวรรณ เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ออกมาร่วมวงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

"อยากให้หยุดการวิพากษ์วิจารณ์ เรื่องนี้ เพราะไม่ใช่สิ่งที่ดีต่อประเทศเราเลย ยูเนสโกตัดสินแล้ว ก็ควรภูมิใจ ส่วนจะหาข้อเท็จจริงอะไรก็ทำกันภายใน คนไทยน่าจะภูมิใจที่ทั่วโลกยอมรับ ไม่ใช่มาพูดถกเถียงและสวนกันแบบนี้ มันไม่ถูกต้อง" (ข่าวสด, ๔ กันยายน ๒๕๔๖)

รศ. ศรีศักร วัลลิโภดม เคยพูดไว้น่าคิดว่า สังคมไทยที่ผ่านมาขาดกระแสสำนึกในเรื่องอดีต ในการเรียนจึงไม่มีมิติของอดีต ทำให้คนไทยขาดรากเหง้า มองแต่ปัจจุบันและอนาคตอย่างเดียว เป็นผลให้เราเดินไปสู่ความผิดพลาดครั้งแล้วครั้งเล่า ประเด็นสำคัญที่นักประวัติศาสตร์หลาย ๆ คนบอกกล่าวเราอยู่เสมอคือ เรื่องของประวัติศาสตร์ไม่มีคำตอบใดตายตัว อย่าหยุดยั้งที่จะตั้งคำถามและหาคำตอบ

หากเราเห็นพ้องกันว่า ศิลาจารึกหลักนี้คือกุญแจอีกดอกหนึ่งที่จะพาเราไปรู้จักและมองเห็นตัวเราใน อดีต และคุณค่าของการรู้ประวัติศาสตร์ก็คือการนำมารับใช้อนาคต อย่างที่เรามักจะได้ยินเสมอว่า ถ้าไม่รู้ที่มา ก็ไม่รู้ว่าจะเดินไปทางไหนต่อ การถกเถียงเพื่อหาคำตอบว่าใครเป็นคนทำจารึก ทำขึ้นเมื่อไร เพื่ออะไร จึงไม่ใช่เรื่องไร้สาระอย่างแน่นอน

ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง
ศิลา จารึกพ่อขุนรามคำแหงทำขึ้นจากหินทรายแป้ง สูง ๑๑๑ เซนติเมตร กว้าง ๓๕ เซนติเมตร พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพบเมื่อครั้งเป็นภิกษุขณะจาริกไปยัง เมืองเก่าสุโขทัย และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ส่งลงมายังกรุงเทพฯ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๖ และทรงพยายามอ่านและแปลศิลาจารึกนั้นด้วยพระองค์เอง
ด้าน ที่ ๑ เล่าเรื่องตั้งแต่วงศ์ตระกูลของพ่อขุนรามคำแหง ความสามารถทางการรบ การได้ครองราชสมบัติ กล่าวถึงความอุดมสมบูรณ์ของสุโขทัย ในน้ำมีปลาในนามีข้าว มีการค้าขายแบบเสรี ไม่เก็บภาษีอากร พูดถึงความเป็นธรรมและยุติธรรมของพ่อขุน มีกระดิ่งแขวนอยู่หน้าประตูให้ไพร่ฟ้ามาร้องทุกข์
ด้านที่ ๒ กล่าวถึงความอุดมสมบูรณ์ของสุโขทัย มีปราการที่มั่นคงแข็งแรง เป็นเมืองพระพุทธศาสนา มีประเพณีเผาเทียนเล่นไฟ มีวัดวาอาราม
ด้านที่ ๓ กล่าวถึงสภาพแวดล้อมทั่วไปของเมืองสุโขทัย
ด้านที่ ๔ กล่าวเฉลิมพระเกียรติพ่อขุนราม ว่าเป็นผู้ปกครองที่ยิ่งใหญ่ สุโขทัยมีอาณาเขตกว้างใหญ่ในทิศต่าง ๆ พร้อมรายละเอียด
ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร กรุงเทพมหานคร

พิริยะ ไกรฤกษ์
คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

"เหตุที่รัชกาลที่ ๔ ต้องทำศิลาจารึกหลักที่ ๑ เพราะเป็นกลอุบายให้รอดพ้นจากการล่าอาณานิคมของตะวันตก
"จารึก หลักที่ ๑ เอาสระและพยัญชนะมาไว้ในบรรทัดเดียวกัน ขณะที่จารึกหลักอื่น ๆ วางสระและวรรณยุกต์บนล่าง เป็นลักษณะของการเรียงพิมพ์ ซึ่งเป็นอิทธิพลของฝรั่ง แสดงว่าการเขียนจารึกนี้ทำขึ้นมาหลังจากคบกับฝรั่งแล้ว ในประวัติศาสตร์ไทย มีกษัตริย์เพียงสองพระองค์เท่านั้นที่ประดิษฐ์อักษรแบบสระพยัญชนะอยู่บน บรรทัดเดียวกัน คือ พ่อขุนรามคำแหงและพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๔) ที่ทรงประดิษฐ์อักษรอริยกะ เพื่อใช้เขียนภาษาบาลีที่วัดบวรฯ แต่ก็เลิกใช้ไปแล้ว
"จารึกหลักที่ ๑ มีขนาดเล็กผิดปรกติ แตกต่างจากศิลาจารึกที่อายุใกล้เคียงกัน คือ จารึกปราสาทพระขรรค์ของพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ซึ่งมีขนาดใหญ่มากเกือบ ๒ เมตร นอกจากนี้ศิลาจารึกรุ่นหลัง ๆ เช่น หลักที่ ๒ และหลักที่ ๔ ก็มีขนาดใหญ่เช่นกัน
"คำว่า รามคำแหง ไม่ปรากฏในจารึกสุโขทัยหลักอื่น ๆ เลย มีแต่ในหลักที่ ๑ เท่านั้น ขณะที่หลักอื่นๆ เรียกว่า พระญารามราช พระร่วง แต่ในหลักอื่น ๆ กล่าวถึงราชวงศ์พระร่วง โปรดสังเกตว่า รามคำแหง ใกล้กันมากกับชื่อ พระรามคำแหง ซึ่งเป็นตำแหน่งพระอัยการนาทหารหัวเมือง ปรากฏในกฎหมายตราสามดวง สมัยรัชกาลที่ ๑
"ประเด็นตรีบูร (กำแพงสามชั้น) สามพันสี่ร้อยวา หรือประมาณ ๖,๘๐๐ เมตร ที่ระบุในจารึกซึ่งหยิบมาโต้แย้งกันว่ากรุงสุโขทัยไม่มีกำแพงลักษณะที่ว่า นี้ แต่จากที่กรมศิลปากรขุดค้นกำแพงเมืองสุโขทัยแล้ว วัดกำแพงได้ความยาวกำแพงชั้นใน ๖,๑๐๐ เมตร ชั้นกลาง ๖,๕๐๐ เมตร และชั้นนอก ๖,๘๐๐ เมตร และเสนอว่ากำแพงชั้นในเท่านั้นที่สร้างในสมัยสุโขทัย ส่วนชั้นกลางและชั้นนอกน่าจะสร้างในสมัยสมเด็จพระนเรศวร ดังนั้นที่กล่าวในจารึกว่า ตรีบูรสามพันสี่ร้อยวา ซึ่งเท่ากับกำแพงเมืองชั้นนอก (๖,๘๐๐ เมตร) จึงเป็นไปไม่ได้
"พระ พุทธรูปหลายองค์ที่กล่าวถึงในจารึกหลักที่ ๑ ดูตามรูปแบบศิลปะแล้วไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับสมัยสุโขทัยหรือร่วมสมัยกับพ่อ ขุนรามคำแหงเลย เป็นพระพุทธรูปฝีมือช่างสมัยอยุธยาตอนกลางทั้งสิ้น
"ชื่อ ช้างของขุนสามชน เจ้าเมืองฉอด ชื่อ มาสเมือง คล้ายกับช้างของรัชกาลที่ ๒ ที่ชื่อ มิ่งเมือง และช้างของพ่อขุนรามคำแหงที่ชื่อ รูจาครี ก็คล้ายกับชื่อ คีรีเมฆ เทพคีรี จันคีรี ในพระราชนิพนธ์ช้างเผือกของรัชกาลที่ ๔ แต่ในหลักที่ ๒ ช้างของมหาเถรศรีศรัทธาชื่อ อีแดงเพลิง ซึ่งฟังดูเป็นสุโขทัยมากกว่า
"คำที่ใช้ในจารึกหลักที่ ๑ เป็นคำที่นิยมในสมัยรัตนโกสินทร์ เช่น ตระพังโพยสี (การขุดสระให้เป็นสีมา มีอุโบสถอยู่กลางน้ำ อันเป็นเอกลักษณ์ของพุทธศาสนานิกายสิงหลภิกขุที่เข้ามาใน พ.ศ. ๑๙๖๙ ) ไม่ปรากฏที่อื่นเลย ยกเว้นในพระราชพงศาวดารฉบับกรุงสยาม ซึ่งมั่นใจว่าเขียนในสมัยรัชกาลที่ ๔ แต่ลงเวลาย้อนหลังรัชกาลที่ ๑
"การ เขียน มะม่วง ให้เป็น หมากม่วง เป็นความจงใจเพื่อให้ดูเก่า ความจริงแล้วในสมัยสุโขทัยเขียนว่า ไม้ม่วง แต่คำว่า หมากม่วง นี้ กลับปรากฏในเรื่องนางนพมาศ ซึ่งเขียนขึ้นสมัยรัชกาลที่ ๓ ก็น่าสงสัยว่าจะเป็นการเขียนจารึกขึ้นมาภายหลัง
"พนมดอกไม้ คือการจัดดอกไม้เป็นพุ่ม เป็นลักษณะการจัดดอกไม้เป็นแบบวัดบวรนิเวศ คำนี้เป็นคำเฉพาะไม่มีในจารึกหลักอื่น ๆ ในสมัยอยุธยาก็ไม่มี มีแต่ใน "นางนพมาศ" และใน "มหาชาติ" พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๔ การจัดดอกไม้แบบนี้ไม่มีใครทำมาก่อน นอกจากนางนพมาศที่รู้กันว่าเขียนขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๓
"เหตุที่ รัชกาลที่ ๔ ต้องทำศิลาจารึกหลักที่ ๑ เพราะเป็นกลอุบายให้รอดพ้นจากการล่าอาณานิคมของตะวันตก สมัยนั้นอิทธิพลตะวันตกเริ่มเข้ามาระลอกใหญ่ การจะปรับเปลี่ยนขนบประเพณีดั้งเดิมให้ทันสมัยไม่ใช่เรื่องที่จะทำกันได้ ง่าย ๆ เพราะถือกันมาแต่โบราณว่าพระมหากษัตริย์ต้องรักษาโบราณราชประเพณี รัชกาลที่ ๔ จึงทรงทำจารึกหลักที่ ๑ เพื่อเป็นราโชบายที่ทรงใช้ในการเปลี่ยนแปลงขนบประเพณีให้สอดรับกับอารยธรรม ตะวันตก โดยมีพระพุทธศาสนาเป็นพื้นฐานของสังคมไทย เช่น การปรับเปลี่ยนภาษีตามสนธิสัญญาเบาริงที่จะให้สยามลดภาษี ก็ไม่ใช่เรื่องยากเย็นอีกต่อไป ในเมื่อพ่อขุนรามฯ ยังไม่เก็บภาษีเลย หรือรัชกาลที่ ๔ ทรงเห็นความสำคัญของการรับฟังเรื่องราวทุกข์ร้อนของประชาชน โดยการเอากระดิ่งไปแขวนไว้ ซึ่งไม่มีในประวัติศาสตร์ไทย แต่มีในสมัยพ่อขุนฯ และสมัยรัชกาลที่ ๔"
(เรียบเรียงจาก ภูวดล สุวรรณดี "พิริยะ ไกรฤกษ์ จับพิรุธศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง" ศิลปวัฒนธรรม ฉบับที่ ๓ ปีที่ ๒๐ มกราคม ๒๕๔๒)

พิเศษ เจียจันทร์พงษ์
ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านโบราณคดีและพิพิธภัณฑ์ กรมศิลปากร

"ไม่ได้ทำในสมัยพ่อขุนรามคำแหงแน่นอน และไม่ได้ทำในสมัยรัชกาลที่ ๔ ด้วย"
"เรื่อง ภาษาและอักษรเป็นเรื่องของการวิวัฒนาการ ไม่มีต้นไม่มีปลาย การบอกว่าใครคนใดคนหนึ่งคิดขึ้นมานั้นไม่ถูกต้อง แต่อาจจะเป็นลักษณะตำนานเพื่อจะอธิบายเรื่องต่าง ๆ ซึ่งขึ้นอยู่กับผู้รู้ในสมัยนั้นว่าจะอธิบายและแต่งตำนานอย่างไร จารึกหลักนี้มีพิรุธในตัวเอง คือ ๑๗ บรรทัดแรกจารึกไว้ว่า ก*ชื่อนั้น พ่อกูชื่อนี้ จึงทำให้สันนิษฐานว่า พ่อขุนรามคำแหงเป็นคนจารึก แต่พอบรรทัดที่ ๑๘ จารึกว่า "เมื่อชั่วพ่อขุนรามคำแหง เมืองสุโขทัยนี้ดี" คำว่า "เมื่อชั่ว" หมายถึง พ่อตายแล้ว แสดงว่าเขียนหลังสมัยพ่อขุนรามคำแหงแน่นอน ก็ชัดเจนว่าบรรทัดที่ ๑๘ เป็นต้นไปไม่ได้ทำในสมัยพ่อขุนรามคำแหง อย่างไรก็ตามผมก็ยังไม่เชื่อว่า ๑๗ บรรทัดแรกเป็นของสมัยพ่อขุนรามคำแหง แม้จะจารึกว่ากูอย่างนั้น ก*อย่างนี้ การใช้สรรพนามอื่นเพื่อเล่าเรื่องเป็นวิธีการนำเสนอข้อมูลรูปแบบหนึ่ง หมายความว่า "กู" อาจไม่ได้เป็นพ่อขุนรามที่จารึกก็ได้
"ประการที่ ๒ เป็นไปไม่ได้ว่าในสมัยสุโขทัยมีการใช้สระผสมแล้ว สระ เ-ือ เป็นสระผสม ประกอบด้วย เ- -ื -อ คำว่า เดือน เรือน เมือง ทองเหลือง ที่ปรากฏในจารึกหลักที่ ๑ จึงไม่น่าจะเป็นฝีมือของคนในสมัยนั้น เพราะในสมัยสุโขทัย (ประมาณ พ.ศ. ๒๐๕๐) คนไทยยังไม่รู้จักเอาสระ -ื มาใช้เป็นสระผสม แต่ใช้สระ เ- สระ -ิ สระ -อ มาผสมแทน เช่น เมือง ก็จะเขียน เ-ม -ี -ง หรือบางทีก็ใช้ เ-ม -ี -อ-ง แม้ว่าจารึกบางหลัก มีการใช้รูปสระ -ื แล้วก็ตาม เช่น คำว่าชื่อ แต่ส่วนใหญ่จะใช้ ชิ หรือ ชี เมื่อไล่ดูจารึกทั้งหมด จะพบว่าแม้แต่รูปสระ -ื ก็โผล่มาให้เห็นช่วงหลัง ๆ ไม่กี่ตัว เท่าที่ผมค้นดูมีอยู่ตัวเดียวเท่านั้นที่เอารูปสระ -ื มาเป็นสระผสม อยู่ในประมาณ พ.ศ. ๑๙๕๐ จน พ.ศ. ๒๐๐๐ กว่าแล้วยังไม่ปรากฏว่าเอามาใช้เลย (ซึ่งไม่แน่ใจว่าจะปริวรรตตัวอักษรโบราณถูกหรือไม่) แสดงว่ากว่าจะวิวัฒนาการเอาสระ -ื มาใช้เป็นสระผสมก็หลังจากนั้นอีกมาก
"หาก คนไทยรู้จักใช้สระ เ-ือ ที่มีสระ -ื ผสมตั้งแต่สมัยพ่อขุนรามคำแหง ทำไมจารึกหลักอื่นๆ จนถึงปลายอยุธยาจึงไม่เอารูปสระ เ-ือ มาใช้ ต้นฉบับพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ที่เขียนขึ้นในสมัยพระนารายณ์จน ปลายสมัยอยุธยาก็ยังไม่ใช้ ก็แสดงว่ายังคิดไม่ออก วิวัฒนาการทางภาษายังไปไม่ถึงก็เลยใช้สระอื่นๆ แทนไปก่อน จนจวนจะถึงสมัยรัตนโกสินทร์แล้วยังไม่มีการใช้สระ เ-ือ อย่างเป็นมาตรฐาน จนใกล้สมัยรัชกาลที่ ๔ เข้าไปทุกที จึงปรากฏการใช้สระ เ-ือ อย่างมีแบบแผนเป็นมาตรฐาน แต่สระ เ-ือ กลับปรากฏอยู่ในสมัยพ่อขุนรามคำแหง จึงเป็นไปไม่ได้ที่จารึกหลักที่ ๑ จะทำขึ้นมาในสมัยรามคำแหง
"ผมยัง ไม่แน่ใจว่าทำในสมัยไหน แต่ไม่ใช่สมัยพ่อขุนรามคำแหงแน่นอน และไม่เชื่อว่าจะเขียนขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๔ ด้วย เพราะท่านได้จารึกถึงสิ่งที่คนในสมัยนั้นยังไม่ทราบ (เรามารู้จักหรือเห็นภาพสุโขทัยจากหลักฐานและข้อค้นพบภายหลัง) จนสามารถสร้างภาพให้แก่เมืองสุโขทัยได้อย่างถูกต้อง ท่านรู้ได้อย่างไร เช่น ในจารึกบอกว่ามีลานเหมือนสนามหลวง อาจจะใช้สำหรับประกอบพิธีหรือกิจอื่น ๆ อยู่ระหว่างประตูเมืองกับศูนย์กลางของเมือง แต่ลานนี้เลิกใช้ไปหลังจากนั้น ๑๐๐ ปีและสร้างวัดคร่อมแทน กว่าท่านจะเสด็จไปที่กรุงสุโขทัยก็ไม่หลงเหลือร่องรอยอะไรที่บ่งบอกว่าตรง นั้นเคยเป็นลานที่ว่ามาก่อน และยังมีอีกหลายเรื่องที่เราเพิ่งมาค้นพบภายหลังด้วยหลักฐานและข้อมูลใหม่ ๆ หากรัชกาลที่ ๔ ทรงทำหลักศิลาจารึกหลักนี้ขึ้นมาจริง ก็น่าสงสัยว่าท่านทราบเรื่องเหล่านี้มาก่อนได้อย่างไร อย่างไรก็ตามอาจมีผู้ทักท้วงว่าท่านศึกษามาก รู้มาก อาจจะรู้มาก่อนแล้วก็เป็นได้
"อย่าลืมว่าหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ที่เป็นลายลักษณ์อักษรทุกชนิด "คน" เป็นคนประดิษฐ์ขึ้นมา คนที่ไม่เคยสมบูรณ์แบบ เมื่อเขียนสิ่งใดออกมาเป็นตัวหนังสือ ไม่ว่าจะเขียนบนหิน แผ่นทอง บนกระดาษ หรือผนังส้วม เขาย่อมมีความต้องการ มีวัตถุประสงค์อะไรสักอย่าง เมื่อจะเอามาใช้ต้องพิจารณา มีการวิพากษ์ก่อนที่จะดึงมาใช้ และสำนึกอยู่เสมอว่าใช้ในบริบทอะไร หากยังไม่แน่ใจก็ไม่ควรฟันธงว่าเป็นของสมัยไหน หากไม่ใช่อันหนึ่งก็ไม่ได้หมายความว่าต้องเป็นอีกอันหนึ่ง ในกรณีนี้ไม่ได้ทำในสมัยพ่อขุนรามคำแหง และผมก็ไม่คิดว่าทำในสมัยรัชกาลที่ ๔ ด้วย"

ศ. ดร. ประเสริฐ ณ นคร
ราชบัณฑิต สำนักธรรมศาสตร์และการเมือง ราชบัณฑิตยสถาน

"ทางวิทยาศาสตร์เขาได้พิสูจน์แล้ว เอาหินไปดูรอยขูด พบว่าทำในสมัยสุโขทัย ไม่ใช่เพิ่งทำขึ้นเมื่อสมัย ๑๕๐ ปีมานี้แน่ ๆ"
"การ เอาสระพยัญชนะมาไว้บรรทัดเดียวกัน ไม่ได้เป็นอิทธิพลของฝรั่ง แต่รับอิทธิพลมาจากอินเดีย ไมเคิล วิกเคอรี ซึ่งเป็นคนแรกที่ออกมาบอกว่า เป็นการเขียนโดยได้รับอิทธิพลของฝรั่ง หมายความว่าต้องคบฝรั่งแล้ว ตอนหลังก็ออกมายอมรับว่า ที่อินเดียก็มีการเอาสระพยัญชนะไว้บรรทัดเดียวกันเหมือนกัน นอกจากนั้นยังมีสระลอย อย่างคำว่า อีก สระ -ี ก็อยู่บรรทัดเดียวกับพยัญชนะในจารึกสมัยพระยาลิไท และยังมีในจารึกหลักอื่นอีก เช่น จารึกวัดพระยืน เชียงใหม่ (พ.ศ. ๑๙๑๓) ก็วางสระ -ื ไว้ในบรรทัดเดียวกันกับพยัญชนะ พ่อขุนรามคำแหงสามารถเอาตัวเชิงพยัญชนะขึ้นมาอยู่ในบรรทัดเดียวกับพยัญชนะ ตัวธรรมดาได้โดยไม่ต้องคบฝรั่ง ทำไมจะต้องรอจนคบกับฝรั่งจึงจะนำสระวางไว้บรรทัดเดียวกับพยัญชนะเล่า
"จารึก หลักที่ ๑ ไม่ได้เล็กว่าหลักอื่น ๆ ในสมัยเดียวกัน หลักที่ ๑ สูง ๑๑๑ เซนติเมตร หลักที่ ๔ สมัยพระยาลิไทสูง ๒๐๐ เซนติเมตร แต่หากมาดูเรื่องความกว้าง จะเห็นว่าจารึกหลักที่ ๑ กว้างกว่า คือ กว้างด้านละ ๓๕ เซนติเมตร หลักที่ ๔ กว้างแค่ ๓๐ เซนติเมตร ดังนั้นจะบอกว่าจารึกหลักที่ ๑ เล็กกว่าหลักอื่นๆ จึงไม่ถูกต้องนัก จารึกในสมัยเดียวกันที่เล็กกว่าจารึกพ่อขุนรามคำแหงก็มี เช่น สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ จารึกไว้ในประเทศลาว เป็นต้น จะไปอ้างเรื่องขนาดจารึกว่าเล็กไปใหญ่ไปคงไม่ได้ เพราะขนาดของจารึกในแต่ละยุค แต่ละแห่ง ก็ทำขึ้นมาให้เหมาะสมกับเรื่องที่จะเขียน
"ชื่อของพ่อขุนรามคำแหง นั้น ก็สงสัยกันมานานแล้วว่าพระองค์ท่านชื่ออะไร ความจริง สุโขทัยใช้ชื่อพญารามกับพญาบาลคู่กันมาหลายคู่ สุโขทัยมีธรรมเนียมเอาชื่อของปู่มาเป็นชื่อของหลาน ธรรมเนียมนี้ไม่ได้มีแต่สุโขทัย พงศาวดารน่านก็มี กรีกโบราณก็มี สมัยพญาลิไทก็มีจารึกว่า น้องชื่อพญาราม แสดงว่าเขาเอาชื่อปู่มาตั้งเป็นชื่อหลาน ก็หมายความว่าท่านชื่อพญาราม เมื่อไปรบชนะก็เลยเรียกว่า รามผู้กล้าแข็ง หรือรามคำแหง ที่กล่าวว่าไม่มีผู้พูดถึงพ่อขุนรามคำแหงเลยก็ไม่เป็นความจริง ในจารึกหลักที่ ๓๘ (พ.ศ. ๑๙๔๐) ทางอยุธยาเขายังบอกเลยว่า ต้องการจะขัดสีมาให้ร่มเย็นเป็นสุขเหมือนพญารามราช และ ชินกาลมาลีปกรณ์ (พ.ศ. ๒๐๗๐) ของล้านนา ยังกล่าวถึงท่านว่า พระยารามราชเป็นผู้ทรงนำศาสนาพุทธ ลัทธิลังกาวงศ์เข้ามาในประเทศไทย และ ยวนพ่าย ของอยุธยาก็สรรเสริญสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถว่า ทรงสามารถเท่ากับรามราชบวกกับฤาไทราช เพราะฉะนั้นคนเขาก็พูดถึงพ่อขุนรามคำแหงกันไปทั่ว ไม่ใช่ว่าไม่มีใครพูดถึง
"ตรีบูร สามพันสี่ร้อยวา จารึกของอยุธยาก็บอกว่า "อยุธยา ไพโรจน์ใต้ตรีบูร" แล้วอยุธยามีกำแพงสามชั้นไหม ก็มีชั้นเดียว ทำไมเขียนได้ ในจารึกเชียงมั่น จังหวัดเชียงใหม่ ก็เขียนว่า กำแพงเชียงใหม่เป็นตรีบูร ความจริงก็มีชั้นเดียว เพราะฉะนั้นตรีบูรแต่เดิมก็อาจจะเป็นสามชั้น แต่ต่อมาอาจมีชั้นเดียวก็พอ ไม่จำเป็นต้องสร้างถึงสามชั้น ตรีบูรอาจจะหมายถึงกำแพงที่แข็งแรงก็ได้ ไม่จำเป็นว่าต้องเป็นกำแพงสามชั้น เหมือนที่เราใช้คำว่าหลังคา ซึ่งมีที่มาจากหลังคามุงด้วยหญ้าคา ต่อมาหลังคามุงด้วยสังกะสี เราก็ยังเรียกว่าหลังคาอยู่ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้มุงด้วยหญ้าคาแล้ว ตรีบูรในจารึกสุโขทัยก็ไม่จำเป็นต้องมีสามชั้น
"พระ พุทธรูปที่กล่าวถึงในจารึกหลักที่ ๑ ดูตามรูปแบบศิลปะแล้ว ไม่มีอะไรที่เกี่ยวข้องกับศิลปะสมัยสุโขทัยหรือร่วมสมัยกับพ่อขุนรามคำแหง เลย เพราะว่ามันผ่านมา ๗๐๐ ปี แล้วมีการซ่อมใหม่หมด ทำให้ไม่เห็นว่าเป็นศิลปะแบบสมัยพ่อขุนรามคำแหง พระพุทธรูปสมัยพระเจ้าลิไทเองก็มีตั้งมากมายที่กลายเป็นรูปแบบสมัยอยุธยายุค กลางเพราะมีการซ่อมแซมภายหลัง
"ช้างของขุนสามชนเจ้าเมืองฉอด ชื่อ มาสเมือง เหมือนช้างของรัชกาลที่ ๒ คือมิ่งเมือง และช้างของพ่อขุนรามคำแหง ชื่อ รูจาครี ซึ่งไม่เหมือนเป็นชื่อช้างในสมัยนั้น ถ้าไปดูในจารึกหลักที่ ๒ ช้างของมหาเถรชื่อ อีแดงเพลิง ซึ่งฟังเป็นสุโขทัย ความจริงแล้วเขาอ่านจารึกไม่ถูก อีแดงพุเลิง หรือ อีแดงเพลิง เป็นชื่อของกษัตริย์ที่มาชนช้าง ไม่ใช่ชื่อช้าง ท้าวอีจานในจารึกหลักเดียวกัน มีชื่อท้าวอีจานเป็นกษัตริย์ เช่นเดียวกัน ส่วนที่ว่า รูจาครี คล้ายกับชื่อ คีรีเมฆ ซึ่งเป็นชื่อช้างเผือกสมัยรัชกาลที่ ๔ นั้น ที่จริง รูจาครี เป็นชื่อตระกูลช้างลักษณะดี แต่คนไทยนิยมเอาชื่อตระกูลช้างมาตั้งเป็นชื่อช้าง ตัวอย่างเช่น ตระกูลช้างฉัททันต์ ก็มาตั้งเป็นชื่อพระยาช้าง
"การสรุปว่าไม่มีการ ใช้คำว่า หมากม่วง หมากขาม ในสมัยสุโขทัย เพราะอ่านจารึกไม่ทั่ว อันที่จริงก็ใช้กันมานานแล้ว มีปรากฏอยู่ในจารึกสุโขทัย สมัยพระเจ้าลิไทก็พูดกันว่าหมากม่วงเหมือนกัน
"พนมเบี้ย พนมหมาก คนไทยใช้เบี้ยเป็นเงินตรามาถึงรัชกาลที่ ๕ เวลาไปทำบุญเขาเอาเบี้ยไปกอง ใครมีเท่าไรก็กองไว้ เวลาจะถวายพระก็นับว่าเท่าไร สมัยนี้เวลาทอดผ้าป่าก็ยังเอาแบงก์ใบละ ๕๐๐ ใบละ ๑,๐๐๐ ปักเป็นพุ่มไม้ เวลาเอาไปถวายพระก็ยังเรียกเป็นกอง การเอาเบี้ยหรือเงินในสมัยนั้นไปกอง เป็นพนมเบี้ยพนมหมาก ก็ไม่เห็นว่าจะผิดประหลาดตรงไหน
"การจารึกว่า เมืองสุโขทัยนี้ดี ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว แม้สุโขทัยจะไม่มีแม่น้ำใหญ่ผ่านกลางแต่คูข้างถนนก็มีปลา แม้แต่พวกจ้วงก็พูดเหมือนกัน แต่อาจจะเปลี่ยนเป็นกุ้งหรืออะไรอย่างอื่น ที่ตีความผิด เพราะอ่านจารึกผิด อ่านแล้วไม่เข้าใจ
"เราไม่เคยเห็น หลักฐานเลยว่า มีตัวหนังสือไทยมาก่อนสมัยพ่อขุนรามคำแหง ทั้ง ๆ ที่มีคนไทยอยู่ตั้งแต่ยูนนาน ผ่านลงไปถึงกลันตัน จากอินเดีย คนไทยอาหม มาไทยใหญ่ ไทยลื้อ ลาว กาว พวกญวน มีคนไทยอยู่เต็มไปหมด แต่ก็ไม่มีจารึกและไม่มีหลักฐานว่ามีลายสือไทยก่อนสมัยพ่อขุนรามคำแหงเลย
"ถ้า ทำขึ้นมาเพื่อปกป้องอาณานิคมจากฝรั่ง ทำไมต้องเขียนด้วยตัวอักษรที่ใครก็อ่านไม่ออก ฝรั่งก็อ่านไม่ออก ไทยก็อ่านไม่ออก รัชกาลที่ ๔ เองเวลาทรงพระราชนิพนธ์ไปถึงฝรั่งก็ยังทรงแปลผิดตั้ง ๑๐ กว่าแห่งเป็นอย่างน้อย แล้วก็มีบางตอนที่คนไทยยังอ่านไม่ออกและยังไม่เข้าใจจนบัดนี้ ในเมื่อไม่มีใครอ่านออกแล้วจะเอาไปโฆษณากับฝรั่งได้อย่างไร
"ทาง วิทยาศาสตร์นั้นเขาได้พิสูจน์แล้ว เอาหินไปดูรอยขูด ผิวของหินถูกแดดถูกฝนมานานมาก ก็จะเกิดปฏิกิริยา มีออกไซด์มากกว่าผิวที่เพิ่งถูกแดดถูกฝนมาไม่นานนัก ปรากฏว่าความเปลี่ยนแปลงของผิวหิน รอยขูด พอ ๆ กับจารึกสมัยสุโขทัยหลักอื่น ๆ เช่น หลักที่ ๔ ซึ่งเป็นหินแบบเดียวกัน เราก็สรุปว่า รอยขูดนี้ทำในสมัยสุโขทัย ไม่ใช่เพิ่งทำขึ้นเมื่อสมัย ๑๕๐ ปีมานี้แน่ ๆ เพราะถ้ามาขูดใหม่ ส่วนที่สัมผัสกับบรรยากาศเพียง ๑๕๐ ปีจะมีออกไซด์น้อย พูดง่าย ๆ คือเหล็กถูกฝนใหม่ ๆ สนิมเหล็กก็จะมีน้อย ถ้าอยู่นานก็จะมีมากขึ้น ทางวิทยาศาสตร์เขาสรุปแล้วว่ามันเป็นสมัยสุโขทัยแน่นอน เพียงแต่บอกไม่ได้ว่าอยู่รัชกาลไหน เพราะตามหลักสถิติ ตัวเลขที่คำนวณได้ จะต้องบวกหรือลบด้วยจำนวนปีที่คำนวณได้ตามหลักสถิติ เช่น รายได้ของครอบครัวชาวอีสานเฉลี่ยปีละ ๒,๐๐๐ บาท บวกหรือลบด้วย ๒๕๐ บาท รายได้จริงอาจจะเป็น ๑,๗๕๐ บาทถึง ๒,๒๕๐ บาทเป็นต้น"

Edited by amplepoor, 3 มีนาคม พ.ศ. 2555 - 18:59.


#17 ดราม่า

ดราม่า

    เมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 6,395 posts

ตอบ 3 มีนาคม พ.ศ. 2555 - 17:32

ถ้าพิสูจน์ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์แล้วว่าอยู่ในสมัยสุโขทัย ก็น่าจะจบแล้ว
"หากท่านโกหกเรื่องใหญ่มากพอ, โกหกบ่อยครั้งเพียงพอ, เรื่องนั้นจะถูกเชื่อ" อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ สนับสนุนกฎหมายเก็บภาษีที่ดินคนรวย สนันสนุนกฎหมายเก็บภาษีมรดก “ขอพูดอะไรแรงๆ สักครั้งในชีวิตค่ะ พูดแล้วจะร้องไห้...น้ำท่วมไม่กลัว กลัวอย่างเดียว...ผู้นำโง่ เพราะพวกเราจะตายกันหมด”หนูดี

#18 Majung

Majung

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 403 posts

ตอบ 3 มีนาคม พ.ศ. 2555 - 17:38

มาติดตามอ่านด้วยคนค่ะ :)
ธมฺมจารี สุขํ เสติ

#19 Solidus

Solidus

    เลิกเล่น

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 14,367 posts

ตอบ 3 มีนาคม พ.ศ. 2555 - 17:46

ถ้าพิสูจน์ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์แล้วว่าอยู่ในสมัยสุโขทัย ก็น่าจะจบแล้ว

ไม่น่าจบหรอกครับถ้าคนใช้ความเชื่อนำเหตุผล ขนาดจารึกหลักที่ 1 พบก่อนหลักที่ 2 เป้นสิบ ๆ ปี ยังมีคนเชื่อว่าจารึกหลักที่ 1 ไปลอกคำในจารึกหลักที่ 2 เลยครับ :lol: :lol: :lol:

[color=#ff0000;]สำหรับผมคงเลิกเล่นบอร์ดนี้ไว้เพียงเท่านี้ ถ้าไอดีนี้ยังมีบุคคลอื่นที่ใครบางคนคิดว่าเป็นตัวจริงอยู่จริง เขาก็เข้ามาใช้บอร์ดนี้ต่อเองแต่ไม่ใช่ผมแน่นอน[/color]

ลาก่อน สวัสดีครับ 17 มกราคม 2556


#20 ดราม่า

ดราม่า

    เมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 6,395 posts

ตอบ 3 มีนาคม พ.ศ. 2555 - 17:54


ถ้าพิสูจน์ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์แล้วว่าอยู่ในสมัยสุโขทัย ก็น่าจะจบแล้ว

ไม่น่าจบหรอกครับถ้าคนใช้ความเชื่อนำเหตุผล ขนาดจารึกหลักที่ 1 พบก่อนหลักที่ 2 เป้นสิบ ๆ ปี ยังมีคนเชื่อว่าจารึกหลักที่ 1 ไปลอกคำในจารึกหลักที่ 2 เลยครับ :lol: :lol: :lol:


ทำไมตรรกะเหมือนฟายแดงเลย...คนพูดเป็นเสื้อแดงหรอครับ :huh:
"หากท่านโกหกเรื่องใหญ่มากพอ, โกหกบ่อยครั้งเพียงพอ, เรื่องนั้นจะถูกเชื่อ" อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ สนับสนุนกฎหมายเก็บภาษีที่ดินคนรวย สนันสนุนกฎหมายเก็บภาษีมรดก “ขอพูดอะไรแรงๆ สักครั้งในชีวิตค่ะ พูดแล้วจะร้องไห้...น้ำท่วมไม่กลัว กลัวอย่างเดียว...ผู้นำโง่ เพราะพวกเราจะตายกันหมด”หนูดี

#21 Gop

Gop

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 4,450 posts

ตอบ 3 มีนาคม พ.ศ. 2555 - 20:39

ขอบคุณ คุณ amplepoor มากๆเลยครับ

จะว่าไป นิธิ เขียนได้แฟร์ดีนะครับ แล้วมีใครมาแย้งอาจารย์ประเสริฐ ได้หรือเปล่าครับ เหมือนท่านจะแย้งของคนอื่นได้ทุกประเด็นเลย

หลักฐานไม่เคยโกหก (Gilbert Grissom C.S.I.)<p>Beneath this mask there is more than flesh. Beneath this mask there is an idea, Mr. Creedy, and ideas are bulletproof.

 


#22 amplepoor

amplepoor

    เมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,365 posts

ตอบ 3 มีนาคม พ.ศ. 2555 - 22:18

ขอบคุณ คุณ amplepoor มากๆเลยครับ

จะว่าไป นิธิ เขียนได้แฟร์ดีนะครับ แล้วมีใครมาแย้งอาจารย์ประเสริฐ ได้หรือเปล่าครับ เหมือนท่านจะแย้งของคนอื่นได้ทุกประเด็นเลย


ตลกใหมล่ะ

อาจารย์ประเสริฐเขียนบทความขนาดยาว แย้งละเอียดกว่านี้อีก
ท่านรับพระบัญชาพระพี่นาง ไปบรรยายเต็มๆ ในเรื่องนี้
โดยที่พิริยะได้รับพระบัญชาด้วย แต่ไม่ยอมไป...และไม่ยอมแก้อาจารญประเสริฐ
ทำเหมือนแกไม่เคยพูดอะไรออกมาเลย

แค่นี้ก็คงจะเห็นแล้วว่า ศักดิศรีทางวิชาการของแต่ละคนเป็นอย่างไร

อ่านของนิธิดีๆ นะครับ
มันไม่ใช่แฟร์นะ
มันรู้ทั้งรู้ว่า กรณีนี้ เป็นประเด็นแป้ก แต่มันยังหาช่องอวย

ความเจ้าเล่ห์ของมันคือ
มันลงท้ายว่า แม้จะมีคนออกมาล้มข้อเสนอพิริยะได้ พิริยะก็ยังได้เครดิต
ว่าเป็นคนจุดประเด็น

นี่ละครับ เทคนิคของคนเอาเมียเพื่อน ด้านได้อายอด
แม้แต่แพ้แล้ว ยังพูดซะยังกะชนะ หรือแกล้งยอมแพ้

#23 amplepoor

amplepoor

    เมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,365 posts

ตอบ 3 มีนาคม พ.ศ. 2555 - 22:28

ไปเจอท่านผู้หนึ่ง สรุปความคำบรรยายของอาจารย์ปรเสริฐในวันนั้นไว้...เนื้อหาจะซ้ำกับที่ท่านให้สัมภาษณ์สารคดี
อ้อ ท่านผู้สรุปความคงไม่ทราบว่า วันนั้นพิริยะไม่ได้ไป จึงเขียนแนะนำไว้ทำนองนั้น (ผมขีดเส้นใต้ไว้)

เชิญอ่านครับ


http://thaiqa.swu.ac....php?topic=34.0
ข้อความต่อไปนี้ สรุปจากหนังสือ "งานจารึกและประวัติศาสตร์ของประเสริฐ ณ นคร" ครับ กัปตัน

เมื่อวันที่ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๓๑ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ (ครั้งยังมิได้ทรงกรม) เสด็จไปทรงเป็นประธานในการอภิปรายเรื่อง “ศิลาจารึกหลักที่ ๑ จริงหรือปลอม?” ในครั้งนั้นได้แบ่งผู้อภิปรายออกเป็น ๒ ฝ่าย ฝ่ายหนึ่งคือเห็นว่าเป็นพระราชนิพนธ์ในพ่อขุนรามคำแหงมหาราช (นำโดย ศ.ดร.ประเสริฐ ณ นคร) และอีกฝ่ายหนึ่งเห็นว่าปลอม และทำขึ้นราวรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (นำโดย รศ.ดร.พิริยะ ไกรฤกษ์) กระผมขอสรุปข้ออภิปรายของ ศ.ดร.ประเสริฐ ณ นคร มาดังนี้

ไมเคิลวิกเกอรี่ ได้เสนอบทความในการประชุมที่ประเทศออสเตรเลียว่า น่าสงสัยว่าศิลาจารึกหลักที่ ๑อาจจะไม่ได้เขียนในพุทธศตวรรษที่ ๑๙ และได้โต้แย้งกับ ศ.ดร.ประเสริฐ ณ นครซึ่งเคยตีพิมพ์ในวารสารศิลปวัฒนธรรมมาแล้ว ไมเคิลวิกเกอรี่เห็นว่าการใช้ ค.ควาย และ ฅ.ฅน ของจารึกหลักที่ ๑ มีความสอดคล้องกับคำไทยเดิมที่ หลีฟังก้วยได้เคยสืบสร้างไว้ ส่วน ฃ.ฃวดนั้นไม่ตรงกับคำไทยเดิมที่หลีฟังกเวยได้สืบสร้างไว้ อาจจะเป็นเพราะว่าจารึกหลักที่ ๑ เขียนขึ้นเมื่อเสียง ข.ไข่ และ ฃ.ฃวด กลายเป็นเสียงเดียวกันแล้ว

ดร.แอนโทนี่ ดิลเลอร์ ซึ่งเป็นนักภาษาศาสตร์ได้เคยแสดงทรรศนะไว้ว่า ในกลุ่มไทยขาวยังออกเสียง ข.ไข่ และฃ.ฃวด แยกกันอยู่ เมื่อสอบคำที่ใช้ ข.ไข่ และฃ.ฃวด ในศิลาจารึกหลักที่ ๑กับคำไทยขาวมีคำที่ตรงกันอยู่ ๑๕ คำ ถูกต้องมีที่ใช้ไม่ถูกต้องคำเดียวคือคำว่า หมากขาม ดร.ดิลเลอร์เสนอว่า ต้นไม้นี้นำมาจากแอฟริกาในชั้นหลัง คำนี้จึงออกเสียงไม่ตรงกัน ในราวพ.ศ. ๑๙๐๐ นั้น เสียง ข.ไข่ กับ ฃ.ฃวดยังใช้ปนๆ กัน ตกมาถึงในราว พ.ศ. ๑๙๕๐ ทั้ง ๒ เสียงปนกันจนแยกไม่ออก ฉะนั้นที่ศิลาจารึกหลักที่ ๑ ใช้ได้ถูกต้องเช่นเดียวกับไทยขาวแสดงว่าจารึกหลักที่ ๑ ต้องเขียนขึ้นก่อนพ.ศ. ๑๙๕๐ ถ้ามาเขียนขึ้นเมื่อทั้งสองเสียงเป็นเสียงเดียวกันแล้วจะเขียนไม่ถูก

ศ.ดร.ประเสริฐ ได้อภิปรายต่อว่า ไม่เคยมีผู้พบจารึกภาษาไทยก่อนสมัยสุโขทัยขึ้นไป จริงอยู่ในสมัยนั้นอาจจะมีตัวอักษรใช้กันอยู่แล้ว แต่จารึกอาจจะสูญหายไปหมดหรืออาจจะจารึกไว้บนไม้ไผ่และวัสดุที่ไม่คงทนจึงผุ พังหายไป แต่ถ้ามีตัวอีกษรอื่นอยู่ก่อนแล้วตัวอักษรแบบนั้นก็น่าจะปรากฏขึ้นที่ใดที่ หนึ่ง เพราะดินแดนตั้งแต่อัสสัมจนถึงเวียดนามและจีนทางตอนใต้จนถึงมลายูนั้นมีคน ไทยอาศัยอยู่ทั่วไป แต่ก็ไม่ปรากฏตัวอักษรแบบดังกล่าวเลย

การแพร่กระจายของตัวหนังสือพ่อขุนรามคำแหงมหาราชนั้น ศ.ดร.ประเสริฐท่านกล่าวว่า แพร่เข้าไปในล้านนาดังปรากฏหลักฐานในศิลาจารึกหลักที่ ๖๒ วัดพระยืน ว่า พระสุมนเถระนำพระพุทธศาสนาเข้าไปในล้านนา ในพ.ศ.๑๙๑๒ และได้เขียนจารึกด้วยอักษรสุโขทัยไว้เมื่อ พ.ศ. ๑๙๑๔ ต่อมาตัวหนังสือสุโขทัยนี้ได้เปลี่ยนรูปร่างและอักขรวิธีไปบ้างกลายเป็นตัว หนังสือฝักขาม และล้านนายังใช้ตัวหนังสือชนิดนี้มาถึงสมัยต้นรัตนโกสินทร์

นอกจากนี้ท่านยังได้กล่าวไว้อีกว่า เชียงตุงและเมืองที่ใกล้เคียงในพม่ามีศิลาจารึกฝักขาม ซึ่งดัดแปลงไปจากลายสือของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชอยู่กว่า ๑๐ หลัก นอกจากนี้ยังมีจารึกที่เจดีย์อานันทะในพุกามเขียนด้วยตัวหนังสือสุโขทัยประ มาณพ.ศ. ๑๙๑๐ - ๑๙๔๐ อยู่ ๑ หลัก ในประเทศลาวมีจารึกเขียนไว้ที่ถ้ำนางอัน ใกล้เมืองหลวงพระบางด้วยตัวอักษรสุโขทัย มีลักษณะใกล้เคียงกับตัวหนังสือในสมัยพระเจ้าลิไทย (พ.ศ.๑๘๙๐-๑๙๑๑) ไทยขาว ไทยดำ ไทยแดง เจ้าไทยในตังเกี๋ย ผู้ไทยในญวน และลาวปัจจุบันก็ยังคงใช้ตัวอักษรที่กลายไปจากลายสือของพ่อขุนรามคำแหง มหาราช

ท่านได้แสดงทรรศนะไว้ตอนหนึ่งว่า ในชั้นแรกเมื่อคนไทยยังมิได้เป็นชนชั้นปกครอง ก็จำเป็นต้องเรียนตัวหนังสือที่ทางราชการบ้านเมืองใช้อยู่ เพื่ออ่านประกาศของทางราชการให้เข้าใจ ถ้าจะประดิษฐ์ตัวหนังสือขึ้นใช้เอง จะไปบังคับใครให้มาเรียนตัวหนังสือดังกล่าว ต่อเมื่อคนไทยได้เป็นชนชั้นปกครองเองแล้วก็น่าจะดัดแปลงตัวหนังสือที่มีใช้ กันอยู่แล้วในถิ่นนั้นมาเป็นตัวหนังสือของไทย พ่อขุนรามคำแหงมหาราชน่าจะทรงดัดแปลงตัวหนังสือขอมซึ่งนิยมใช้กันอยู่ในแถบ ลุ่มน้ำเจ้าพระยามาแต่เดิม หากมีตัวอักษรไทยเดิมอยู่แล้ว พ่อขุนรามคำแหงมหาราชคงจะทรงใช้ตัวอักษรไทยเดิมหรือทรงดัดแปลงบ้างเล็กน้อย แทนที่จะทรงดัดแปลงจากตัวอักษรขอมเป็นส่วนใหญ่


#24 ตะนิ่นตาญี

ตะนิ่นตาญี

    La vie en rose

  • Members
  • PipPipPip
  • 2,174 posts

ตอบ 4 มีนาคม พ.ศ. 2555 - 19:55

ถ้าพิสูจน์ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์แล้วว่าอยู่ในสมัยสุโขทัย ก็น่าจะจบแล้ว



ถ้าพิสูจน์ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์แล้วว่าอยู่ในสมัยสุโขทัย ก็น่าจะจบแล้ว

ไม่น่าจบหรอกครับถ้าคนใช้ความเชื่อนำเหตุผล ขนาดจารึกหลักที่ 1 พบก่อนหลักที่ 2 เป้นสิบ ๆ ปี ยังมีคนเชื่อว่าจารึกหลักที่ 1 ไปลอกคำในจารึกหลักที่ 2 เลยครับ Posted Image Posted Image Posted Image



รบกวนเรียนถาม คุณ amplepoor ครับ เป็นไปไม่ได้เลยหรือครับ ที่การพิสูจน์ด้วย กระบวนการทางวิทยาศาสตร์

จะทำให้เห็นภาพในทางประวัติศาสตร์ ได้ชัดเจน ยิ่งขึ้น นอกเหนือจากการกล่าวอ้างของทั้งสองฝ่าย

ตะนิ่นตาญี
"จะยอมตายหมายให้เกียรติดำรง จะปิดทองหลังองค์พระปฏิมา"

#25 amplepoor

amplepoor

    เมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,365 posts

ตอบ 4 มีนาคม พ.ศ. 2555 - 20:32

รบกวนเรียนถาม คุณ amplepoor ครับ เป็นไปไม่ได้เลยหรือครับ ที่การพิสูจน์ด้วย กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
จะทำให้เห็นภาพในทางประวัติศาสตร์ ได้ชัดเจน ยิ่งขึ้น นอกเหนือจากการกล่าวอ้างของทั้งสองฝ่าย
ตะนิ่นตาญี


วิทยาศาสตร์ยังแก้ปัญหานี้ไม่ได้ครับ

กรมศิลป์เคยให้นักวิทยาศาสตร์ของตนทำวิจัย อย่างที่อาจารย์ประเสริฐเล่านั่นแหละครับ
คือหิน เมื่อผ่านกาลเวลา มันจะเจอออกซิเจนมากน้อยผิดกัน
จริงอยู่ว่า แต่ละที่อาจจะสัมผัสอากาศไม่เท่ากัน แต่เขาก็พยายามควบคุมตัวแปรเพื่อให้ผลการทดลองน่าเชื่อ

แต่คนที่ไม่ต้องการเชื่อ เขาก็หาเหตุมาแย้งได้ เดี๋ยวจะเอารายงานนี้มาลงครับ

#26 ตะนิ่นตาญี

ตะนิ่นตาญี

    La vie en rose

  • Members
  • PipPipPip
  • 2,174 posts

ตอบ 4 มีนาคม พ.ศ. 2555 - 20:41

ขอบพระคุณ คุณ amplepoor มากครับ

ตะนิ่นตาญี
"จะยอมตายหมายให้เกียรติดำรง จะปิดทองหลังองค์พระปฏิมา"

#27 amplepoor

amplepoor

    เมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,365 posts

ตอบ 4 มีนาคม พ.ศ. 2555 - 21:06

ข้อมูลจากที่นี่ครับ ไปที่ต้นทางจะมีรูปด้วย ผมขี้เกียจแปะ ได้แต่ย่อให้สั้น...หึหึ ขออภัย พวกเราจะได้ไปอ่านงัย
http://www.lib.ru.ac...k/extract3.html
---------------------

จารึกพ่อขุนรามคำแหง "ไม่ปลอม" : จากมุมมองของนักวิทยาศาสตร์
จิราภรณ์ อรัณยะนาค นิตยสารศิลปวัฒนธรรม ฉบับเดือนกันยายน ปี ๒๕๓๓


คุณจิราภรณ์ตั้งสมมุติฐานว่า

๑ พระจอมเกล้าทรงพบจารึกโดยง่าย แสดงว่าไม่ได้อยู่ใต้ดินหรืออาจจะไม่เคยอยู่ใต้ดินเลยก็ได้ เพราะฉะนั้น ผิวของจารึกน่าจะมีริ้วรอยการสึกกร่อนเนื่องจากการกระทำของสภาวะแวดล้อม และมีการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบทางเคมีใกล้เคียงกับศิลาจารึกหลักอื่นๆ ที่ทำขึ้นในสมัยสุโขทัย โดยมีข้อแม้ว่าจะเปรียบเทียบกับหินชนิดเดียวกันและมีองค์ประกอบทางเคมีใกล้เคียงกัน ตลอดจนอยู่ในสภาพแวดล้อมคล้ายคลึงกัน

๒ จากประวัติการเก็บรักษา พบว่าจารึกถูกเก็บในที่ร่มมาโดยตลอด ถ้าจารึกถูกทำขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ร่องรอยการสึกกกร่อนและองค์ประกอบทางเคมีบนผิวของศิลาจารึกหลักนี้ ย่อมจะแตกต่างจากศิลาจารึกหลักอื่นๆ ที่ทำขึ้นจากสมัยสุโขทัย ซึ่งถูกทอดทิ้งอยู่กลางแจ้งเป็นเวลานานหลายร้อยปี

การวิจัยในี้จึงเป็นการศึกษาเปรียบเทียบริ้วรอยที่เกิดจากการสึกกร่อน และองค์ประกอบทางเคมีบนผิวของศิลาจารึกหลักที่ ๑ กับศิลาจารึกหลักอื่นๆ ที่ทำจากหินชนิดเดียวกัน โดยอาศัยทฤษฎีที่ว่า หินที่อยู่กลางแจ้งเป็นเวลานานหลายร้อยปี ย่อมสึกกร่อนมากกว่าหินที่อยู่ในที่ร่ม หรืออยู่กลางแจ้งเพียงชั่วระยะเวลาอันสั้น แต่ไม่สามารถพิสูจน์ว่า จารึกหลักที่ ๑ นี้ทำขึ้นหลังจากหลักอื่นๆ ของสุโขทัยนานเท่าใด

จากการสำรวจและวิเคราะห์ หินที่ใช้ในสมัยสุโขทัยส่วนใหญ่เป็นหินฟิลไลท์ มีเพียงส่วนน้อยที่ทำจากหินทราย หินทรายแป้ง และหินดินดาน หินฟิลไลท์นี้คนทั่วไปมักเรียกว่า "หินชนวน" เป็นหินแปรชนิดหนึ่งซึ่งแปรสภาพต่อจากหินชนวนภายใต้ความกดดันและอุณหภูมิสูง มีเนื้อละเอียด ลื่นมือ และแข็งกว่าหินชนวน ส่วนประกอบของโบราณสถานสมัยสุโขทัยส่วนใหญ่ก็ทำจากหินฟิลไลท์ เช่น หินปูพื้น ฐานพระฐานศิวลึงค์ เพดานหิน แผ่นศิลา ปิดปากกรุ รอยพระพุทธบาท พระพุทธรูป เทวรูป แท่นหิน ๆลๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัดเซตุพน สร้างจากหินฟิลไลท์แทบทั้งหมด ส่วนศิลาจารึกและโบราณวัตถุโบราณสถานสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นส่วนใหญ่ทำจากหิน ชนวน หินอ่อน หินปูน หินแกรนิต หินดินดาน หินทราย และหินภูเขาไฟ จากจีน ซึ่งมักเรียกว่า "หินอับเฉา" พบมากที่สุด


ศิลาจารึกหลักที่ ๑ ทำด้วยหินทรายแป้ง ชนิดเดียวกับ ศิลาจารึกหลักที่ ๔๕ (พบที่วัดมหาธาตุตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๙) ศิลาจารึกหลักที่ ๓ หรือเรียกว่า จารึกนครชุม (พบที่วัดพระบรมธาตุ จังหวัดกำแพงเพชร เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๒๗) ศิลาจารึกภาษามคธและภาษาไทย ตัวอักษรสมัย พ.ศ.๑๙๑๐ กล่าวถึงชีผ้าขาวเพสสันดร (ได้จากวัดข้าวสาร ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย) และ พระแท่นมนังศิลาบาตร

แต่เป็นที่น่าเสียดายที่ยังไม่พบศิลาจารึกหรือโบราณวัตถุสมัยรัตนโกสินทร์ ตอนต้นที่ทำด้วยหินทรายแป้งชนิดเดียวกับศิลาจารึกหลักที่ ๑ ซึ่งเป็น Calcareous silt-stone หมายถึงทรายแป้งที่มีแร่แคลไซต์ (Calcite) หรือแคลเซียมคาร์บอเนตเป็นเนื้อประสาน ส่วนแร่หลักคือ ควอร์ตซ์ (Quartz) และเฟลด์สปาร์ (Feldspar)

คุณจิราภรณ์ ได้พยายามสำรวจสืบเสาะหาศิลาจารึกหรือโบราณวัตถุสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นที่ ทำจากหินชนิดนี้ จากพิพิธภัณฑ์ วังและวัดหลายๆ แห่งทั้งในกรุงเทพๆ และต่างจังหวัด แต่ยังไม่พบสิ่งที่ต้องการที่พบแล้วไม่ทราบอายุ และที่มาก็มี คือ แท่นหินแกะสลักในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม เมื่อวิเคราะห์แล้วพบว่า มีองค์ประกอบใกล้เคียงกับศิลาจารึกหลักที่ ๑ แต่ไม่ทราบว่าทำขึ้นในสมัยใด และนำมาจากที่ใด จึงไม่สามารถนำมาเปรียบเทียบได้

การที่หินทรายแป้งชนิดนี้ ไม่มีหรือไม่ค่อยมีใช้ในสมัยรัตนโกสินทร์ ไม่ทราบว่าเป็นเพราะหายาก หรือไม่เป็นที่นิยม

จากการศึกษาธรณีวิทยาและสำรวจแหล่งดินบริเวณจังหวัดสุโขทัยและจังหวัดใกล้ เคียง พบว่าหินที่ใช้ในการทำศิลาจารึก โบราณวัตถุและโบราณสถานสมัยสุโขทัย ล้วนแล้วแต่นำมาจากหินในบริเวณจังหวัดสุโขทัยและจังหวัดใกล้เคียงทั้งสิ้น

การที่หินทรายแป้งมีใช้น้อยเมื่อเทียบกับหินฟิลไลท์ เข้าใจว่าคงหายาก เพราะหินทรายแป้งมักไม่เกิดเป็นชั้นหนา พอที่จะสกัดให้เป็นแท่นใหญ่ขนาดศิลาจารึก ส่วนมากมักผ่านการบีบอัดมาพอสมควร จึงมัดแตกหักหรือมีรอยต่อ และมักแทรกสลับด้วยหินดินดาน ผู้เชี่ยวชาญด้านธรณีวิทยาให้ความเห็นว่า หินทรายแป้งที่มีองค์ประกอบใกล้เคียงกับศิลาจารึกหลักที่ ๑ มีพบบ้างในภาคเหนือ โดยเฉพาะอย่างในบริเวณจังหวัดสุโขทัยและจังหวัดใกล้เคียง

การตรวจสอบผิวของศิลาจารึกหลักที่ ๑ เริ่มจากการตรวจสอบโดยใช้แว่นขยาย รังสีอุลตราไวโอเล็ต และรังสีอินฟราเรด เพื่อศึกษาร่องรอยการสึกกร่อน พบว่ามีริ้วรอยสึกกร่อน และขูดขีดมากมาย บางส่วนสึกกร่อนจนตัวอักษรลบเลือน หายไป ผิวหินบริเวณก็เห็นชัดว่าสึกลงไปเป็นแอ่ง บางส่วนมีรอยขูดขีดลึกๆ คล้ายถูกฟันด้วยของมีคม และมีร้อยร้าวหลายแห่ง

เมื่อสกัดตัวอย่างขนาดเล็กๆ (ประมาณหัวไม้ขีด) จากผิวของศิลาจารึก ตรงจุดกับที่ใกล้กับตัวอักษร มาตรวจสอบดูด้วย กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน ซึ่งช่วยให้เห็นรายละเอียดบนผิว ได้ชัดเจนกว่ากล้องจุลทรรศน์ แบบธรรมดา หลายพันเท่า

ภาพจากกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน ถ่ายที่กำลังขยาย ๓๕๐๐ แสดงให้เห็นว่าผิวหน้าของศิลาจารึกหลักที่ ๑ มีร่องรอยการสึกกร่อนเป็นรอยลึก มีช่องว่างหรือหลุมบ่อที่เกิดจากแร่บางชนิด ที่ไม่ทนทานต่อสภาวะแวดล้อมละลายออกไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งแคลไซต์ และเฟลด์สปาร์ จะละลายและสูญหายไปทำให้เนื้อหินมีลักษณะพรุน เม็ดแร่บางส่วนหลุดออกเป็นเม็ดๆ เนื่องจากขาดเนื้อประสาน ลักษณะเช่นนี้ คล้ายกับลักษณะที่ปรากฏบนผิวของศิลาจารึกหลักที่ ๓ และหลักที่ ๔๕ ส่วนพระแท่นมนังศิลาบาตรไม่ได้นำมาเปรียบเทียบ เนื่องจากสำนักพระราชวังไม่อนุญาตให้กระเทาะผิวหน้าของพระแท่น

เมื่อเปรียบเทียบ กับส่วนที่อยู่ลึกลงไปในเนื้อหิน ห่างจากผิวหน้าประมาณ ๓-๕ ม.ม. จะเห็นผลึกต่างๆ ที่เป็นองค์ประกอบของหินยังอยู่ครบเม็ดแร่ถูกยึดแน่นด้วย แคลไซต์

ต่อจากนั้นได้ทำการวิเคราะห์ ปริมาณแร่ธาตุบนตัวอย่าง ทั้งส่วนที่อยู่ที่ผิวและส่วนที่อยู่ด้านใน ด้วยเครื่องมือ Energy Dispersive X-ray Fluorescence Spectrometer ซึ่งเป็นเครื่องมือที่อาศัยหลักว่า เมื่อยิงลำแสงอิเล็กตรอนจากกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไปยังผิวของตัวอย่าง ลำแสงของอิเล็กตรอนจะทำให้เกิดรังสีเอกซ์ (X-ray) ที่มีพลังงานต่างๆ ขึ้นอยู่กับชนิดของธาตุที่เป็นองค์ประกอบเมื่อวัดพลังงานของรังสีเอกซ์ที่ เกิดขึ้น จะสามารถคำนวณหาปริมาณแร่ธาตุที่เป็นองค์ประกอบบนจุดเล็กๆ แต่ละจุดบนตัวอย่างได้

เมื่อเปรียบเทียบผลการวิเคราะห์หลายๆ จุด บนตัวอย่างแต่ละตัวอย่างแล้วหาค่าเฉลี่ย พบว่าความแตกต่างขององค์ประกอบที่ผิวกับส่วนที่อยู่ข้างใน ของศิลาจารึกหลักที่ ๑ หลักที่ ๓ หลักที่ ๔๕ และหลักที่กล่าวถึงชีผ้าขาวเพสสันดร มีสัดส่วนใกล้เคียงกัน เช่น มีปริมาณ แคลเซี่ยม และแคลเซี่ยมออกไซด์ (ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของแร่แคลไซต์) ลดลงร้อยละ ๓-๑๐ ปริมาณอลูมิเนียม และอลูมิเนียมออกไซด์ (ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของแร่เฟลด์สปาร์ และแร่คลอไรต์) ลดลงร้อยละ ๒-๑๐ เป็นต้น

การที่แร่ธาตุบางอย่างบนผิวของศิลาจารึก มีปริมาณแตกต่างจากเนื้อหินด้านใน ก็เพราะกระบวนการสึกกร่อนผุพังของหินเนื่องจากการกระทำของสิ่งแวดล้อมนั่น เอง แร่เฟลด์สปาร์ ไม่ทนทานต่อการสึกกร่อนผุสลาย จึงมักละลายหรือสลายไปเป็นดิน แร่แคลไซต์ ละลายได้ดีในน้ำที่มีฤทธิ์เป็นกรดอ่อนๆ เช่น น้ำฝน น้ำใต้ดิน ฯลฯ ผิวของ ศิลาจารึกจึงมีแร่เหล่านี้ลดลง ส่วนแร่ควอร์ตซ์ ทนทานต่อการกระทำของสภาวะแวดล้อมได้ดี ปริมาณจึงไม่ลดลง

การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างช้าๆ ค่อยเป็นค่อยไป เป็นกระบวนการที่ต้องอาศัยเวลา ไม่สามารถเร่งให้เกิดขึ้นในระยะเวลาสั้นๆ หรือทำเทียมเลียนแบบได้เหมือน
ขั้นต่อไป ได้นำตัวอย่างจากผิวของศิลาจารึกหลักที่ ๑ และหลักที่ ๔๕ (ชิ้นเดียวกันกับตัวอย่าง ที่นำไปตรวจสอบด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน และวิเคราะห์ด้วย Energy Dispersive X-ray Fluorescence Spectrometer) มาตัดและฝนจนเป็นแผ่นหินบาง หนาประมาณ ๐.๐๓ ม.ม. แล้วตรวจสอบด้วยกล้องจุลทรรศน์แบบโพลาไรซ ์พบว่า ปริมาณของแคลไซต์ที่ผิวต่ำกว่าด้านที่อยู่ข้างในอย่างเห็นได้ชัด จนเห็นเป็นชั้นที่มีองค์ประกอบแตกต่างกัน ความหนาของชั้นที่มีปริมาณแคลไซต์ลดลงเฉลี่ย ประมาณ ๐.๒๕ ม.ม.

เพื่อให้หมดข้อสงสัย คุณจิราภรณ์ได้สกัดส่วนหนึ่งของตัวอักษร (ส่วนหาง ล บนด้านที่ ๓ ของศิลาจารึกหลักที่ ๑ ) ซึ่งเป็นตัวที่ชำรุดมาแต่เดิม แล้วนำมาตัดและขัดจนเป็นแผ่นบาง แล้วตรวจสอบด้วยกล้องจุลทรรศน์แบบโพลาไรซ์ เพื่อดูว่าผิวหินตรงร่องที่เกิดจากการจารึกตัวอักษรนั้น มีการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบในลักษณะเดียวกันกับผิวส่วนอื่นๆ ที่ไม่มีตัวอักษรหรือไม่

ผลปรากฏว่า ผิวของหินตรงร่องที่เกิดจากการจารึกตัวอักษรมีปริมาณแคลไซต์ลดลงมากใกล้ เคียงกับผิวอื่นๆ ของศิลาจารึกหลักที่ ๑ จนสามารถมองเห็นเป็นชั้นที่มีความแตกต่าง ได้ชัดเจนแสดงว่าการจารึกตัวอักษรน่าจะกระทำในช่วงเวลาเดียวกัน หรือใกล้เคียงกับการสกัดก้อนหินออกมาเป็นแท่งแล้วขัดผิวให้เรียบ มิใช่เป็นการนำแท่งหินที่ขัดผิวไว้เรียบร้อยในสมัยสุโขทัย แล้วนำมาจารึกขึ้นใหม่ในสมัยรัตนโกสินทร์

"ความเป็นจริง" ที่ค้นพบดังกล่าวข้างต้น แสดงว่า ศิลาจารึกหลักที่ ๑ ได้ผ่านกระบวนการสึกกร่อนผุสลายมาเป็นเวลานานหลายร้อยปี ใกล้เคียงกับศิลาจารึกหลักที่ ๓ หลักที่ ๔๕ และหลักที่กล่าวถึงชีผ้าขาวเพสสันดร


ดูจะเป็นไปไม่ได้ที่ศิลาจารึกหลักที่ ๑ ถูกทำขึ้นในสมัยรัชกาลที ๔

แต่ทั้งนี้มิได้หมายความว่าจะเป็นการยืนยันว่าศิลาจารึกหลักที่ ๑ ทำขึ้นในสมัยพ่อขุนรามคำแหง อาจจะเป็นช่วงระยะเวลาใดเวลาหนึ่งในสมัยพ่อขุนรามคำแหง อาจจะเป็นช่วงระยะเวลาใดเวลาหนึ่งในสมัยสุโขทัยก็ได้...

คุณจิราภรณ์ทิ้งท้ายบทความไว้ว่า คงต้องเป็นหน้าที่ของนักประวัติศาสตร์และนักภาษาโบราณ ที่ต้องวิเคราะห์ถกเถียงกันต่อไป

*********

#28 หนูอ้อย

หนูอ้อย

    นักเขียนหน่อมแน้ม

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,215 posts

ตอบ 4 มีนาคม พ.ศ. 2555 - 21:18

อ่านกันจนเงก พี่แอมนี่หนุ่มโบราณตัวจริง 555


วันนี้มีเรื่อง ค คน มาฝาก แป้นเคาะไม่มีเช่นเคยเลยต้องก๊อบมาฝาก

หลักฐานเก่าแก่ที่สุดที่ปรากฏการใช้ ในภาษาไทย คือ ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง หรือศิลาจารึกหลักที่ 1 มีการใช้ ฅ อยู่ 2 คำ ได้แก่ "แฅว" (แคว)และ "ฅุ๋ม" (คุ้ม, ในสมัยนั้น เครื่องหมายกากบาท ตรงกับไม้โทในการเขียนแบบปัจจุบัน)การใช้ ฅ ในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงเป็นไปอย่างแม่นยำ หมายความว่า ไม่มีการใช้ ค ในคำที่ใช้ ฅ นั้นเลย อย่างไรก็ตาม ในสมัยใกล้เคียงกัน มีการใช้ ฅ ในศิลาจารึกหลักอื่น ได้แก่ คำว่า ฅ (คอ),ฅ้อน (ค้อน), ฅา (คา), ฅาบ (คาบเวลา), ฅีน (คืน), แฅน (ดูแคลน), แฅ่ง (แข้ง), แฅว (แคว), ฅวาม (ความ) และ ฅวาง (คว้าง)

ในสมัยหลังศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง เริ่มมีการใช้ และ สับสน และใช้แทนที่กันในหลายแห่ง เช่น ใช้ "ฅ่ำ" บ้าง "ค่ำ" บ้าง ทั้งนี้มีคำว่า ฅวาม เพิ่มเข้ามา ครั้นมาถึงสมัยกรุงศรีอยุธยา การใช้ ฅ เริ่มลดลงอย่างมาก แต่ก็ยังมีใช้ ทว่าไม่ปรากฏหลักเกณฑ์การใช้ ฅ ในตำราว่าด้วยอักขรวิธีของไทยในสมัยนั้น

ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์รัชกาลที่ 5 พระยาศรีสุนทรโวหาร(น้อย อาจารยางกูร) ได้ระบุคำที่เขียนด้วย ฅ ในหนังสือชื่อ นิติสารสาธก เล่ม 1 มีอยู่คำเดียว คือ ฅอ (คอ)

ครั้นถึงสมัย รัชกาลที่ 7 เมื่อมีปทานุกรมของกระทรวงธรรมการ พ.ศ. 2470 ก็ระบุว่า “ฅ เป็นพยัญชนะตัวที่ห้าของพยัญชนะไทย แต่บัดนี้ไม่มีที่ใช้แล้ว” เป็นอันหมดวาระของ นับแต่นั้นมา

 AMAZING  coup d'etat  , THAILAND ONLY ..  :ph34r:  


#29 ตะนิ่นตาญี

ตะนิ่นตาญี

    La vie en rose

  • Members
  • PipPipPip
  • 2,174 posts

ตอบ 4 มีนาคม พ.ศ. 2555 - 21:20

คุณ amplepoor ครับ ไม่แน่ใจว่าจะเข้าใจถูกหรือเปล่า

บทความดังกล่าวกำลังบอกว่า แม้ศิลาจารึกที่ค้นพบนั้น จะเป็น อัน แรก ที่ค้นพบ

แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะเป็น หลักศิลาจารึกที่ ๑ ใช่ไหมครับ?

ขอประทานโทษด้วยครับที่ใช้คำสรรพนามของ ศิลาจารึก ว่า อัน

นึกไม่ออกจริงๆว่าควรใช้คำสรรพนามว่าอย่างไร

และอีกประการหนึ่งนั้น ในการเรียงลำดับ ก่อน-หลัง ของหลักศิลา นั้น เขาใช้หลักเกณฑ์ กันอย่างไรครับ?

ในการเรียงลำดับเหตุการณ์ ของ ประวัติศาสตร์

ตะนิ่นตาญี
"จะยอมตายหมายให้เกียรติดำรง จะปิดทองหลังองค์พระปฏิมา"

#30 หนูอ้อย

หนูอ้อย

    นักเขียนหน่อมแน้ม

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,215 posts

ตอบ 4 มีนาคม พ.ศ. 2555 - 21:22

ฅ หายไปไหน
นักภาษาศาสตร์ได้ศึกษาประวัติความเป็นมาของพยัญชนะ ฅ (และ ฃ) และสันนิษฐานว่า ฅ นั้นเดิมมีฐานเสียงที่แตกต่างจากฐานเสียงของ ค โดยมีลักษณะเสียงเป็น พยัญชนะลิ้นไก่โฆษะ (ส่วน ฃ นั้น เป็นพยัญชนะลิ้นไก่อโฆษะ) ซึ่งพบได้ในภาษาต่างๆ ในกลุ่มภาษาไท และภาษาอื่น ทว่าในภายหลังหน่วยเสียงนี้ค่อยๆ สูญหายไป โดยออกเสียง ค แทน

เป็นที่น่าสังเกตว่า ฅ มีใช้ในตำแหน่งที่เป็นพยัญชนะต้น ไม่ปรากฏในตำแหน่งตัวสะกดเลย นอกจากนี้ยังมีข้อที่น่าสังเกตว่าคำว่า "คน" ซึ่งเป็นชื่อของพยัญชนะตัวนี้ ก่อนหน้าที่จะใช้เป็นชื่อพยัญชนะ เฉพาะในสยามไม่เคยเขียนด้วย (นั่นคือ ฅน) มาก่อนเลย แต่มาจาก "ฅ ฅอคน" (คอของคน) ในแบบเรียน ก ไก่ สมัยก่อน
จากนั้น เครื่องพิมพ์ดีดได้เริ่มเข้ามาในประเทศไทย และการจัดเรียงอักษรแบบ QWERTY นั้น ไม่สามารถบรรจุอักษรลงไปทั้งหมดได้ จึงทำการตัดแปลงตัวอักษรที่ใช้ ฅ และ ฃ เพื่อที่จะไม่ต้องเพิ่มในแป้นพิมพ์ดีด แต่สำหรับคีย์บอร์ดคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ จะมี ฅ และ ฃ อยู่ แต่จะไว้คนละตำแหน่งกันแล้วแต่ยี่ห้อ เช่น หน้า Backspace บนEnter หลังปุ่มShift บ้าง (ส่วนใหญ่ ทั้งสองอักษรจะวางบนแป้น backslash ซึ่งจะมีเครื่องหมาย "|" กับ "\")
ปัจจุบันสามารถพบเห็นการใช้ ฅ ในชื่อเฉพาะบางอย่างเช่น รายการโทรทัศน์ คนค้นฅน และในเอกสารที่ปริวรรตมาจากอักษรธรรมล้านนา เช่นคำว่า ฅิง ฅืน ฅาบ ฅวาย และ ฅน เป็นต้น

 AMAZING  coup d'etat  , THAILAND ONLY ..  :ph34r:  


#31 amplepoor

amplepoor

    เมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,365 posts

ตอบ 4 มีนาคม พ.ศ. 2555 - 21:35

ที่จารึกนี้ได้หมายเลขหนึ่ง ไม่เกี่ยวกับเงื่อนเวลาอะไรครับ

เมื่อรัชกาลที่ 4 ได้หินแท่งนี้มาพร้อมพระแท่นมนังคศิลา ก็ทรงเก็บไว้ที่วัดบวร
เพราะท่านเป็นเจ้าอาวาสอยู่ในขณะนั้น ก็เป็นที่ปรากฏมีชื่อเสียง ถูกอ้างอิงศึกษามาตลอด
จนกระทั่งหอพระสมุดจ้างนายจอร์ช เซแดสมาทำงาน แกก็จัดการรวบรวมจารึกทั้งหลายเป็นหมวดหมู่
ดำเนินการจัดพิมพ์ตามมาตรฐานสากล เล่มแรกว่าด้วยจารึกกรุงสุโขทัย

จารึกพ่อขุนราม ซึ่งมีฃื่อเสียงอยู่แล้ว ก็เลยได้รับการลงบัญชีเป็นหลักที่ 1


แล
จารึกเรียกเป็นหลักครับ

#32 amplepoor

amplepoor

    เมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,365 posts

ตอบ 4 มีนาคม พ.ศ. 2555 - 21:36

ฅ หายไปไหน
นักภาษาศาสตร์ได้ศึกษาประวัติความเป็นมาของพยัญชนะ ฅ (และ ฃ) และสันนิษฐานว่า ฅ นั้นเดิมมีฐานเสียงที่แตกต่างจากฐานเสียงของ ค โดยมีลักษณะเสียงเป็น พยัญชนะลิ้นไก่โฆษะ (ส่วน ฃ นั้น เป็นพยัญชนะลิ้นไก่อโฆษะ) ซึ่งพบได้ในภาษาต่างๆ ในกลุ่มภาษาไท และภาษาอื่น ทว่าในภายหลังหน่วยเสียงนี้ค่อยๆ สูญหายไป โดยออกเสียง ค แทน

เป็นที่น่าสังเกตว่า ฅ มีใช้ในตำแหน่งที่เป็นพยัญชนะต้น ไม่ปรากฏในตำแหน่งตัวสะกดเลย นอกจากนี้ยังมีข้อที่น่าสังเกตว่าคำว่า "คน" ซึ่งเป็นชื่อของพยัญชนะตัวนี้ ก่อนหน้าที่จะใช้เป็นชื่อพยัญชนะ เฉพาะในสยามไม่เคยเขียนด้วย (นั่นคือ ฅน) มาก่อนเลย แต่มาจาก "ฅ ฅอคน" (คอของคน) ในแบบเรียน ก ไก่ สมัยก่อน
จากนั้น เครื่องพิมพ์ดีดได้เริ่มเข้ามาในประเทศไทย และการจัดเรียงอักษรแบบ QWERTY นั้น ไม่สามารถบรรจุอักษรลงไปทั้งหมดได้ จึงทำการตัดแปลงตัวอักษรที่ใช้ ฅ และ ฃ เพื่อที่จะไม่ต้องเพิ่มในแป้นพิมพ์ดีด แต่สำหรับคีย์บอร์ดคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ จะมี ฅ และ ฃ อยู่ แต่จะไว้คนละตำแหน่งกันแล้วแต่ยี่ห้อ เช่น หน้า Backspace บนEnter หลังปุ่มShift บ้าง (ส่วนใหญ่ ทั้งสองอักษรจะวางบนแป้น backslash ซึ่งจะมีเครื่องหมาย "|" กับ "\")
ปัจจุบันสามารถพบเห็นการใช้ ฅ ในชื่อเฉพาะบางอย่างเช่น รายการโทรทัศน์ คนค้นฅน และในเอกสารที่ปริวรรตมาจากอักษรธรรมล้านนา เช่นคำว่า ฅิง ฅืน ฅาบ ฅวาย และ ฅน เป็นต้น


หนูอ้อยอย่าลืมให้ที่มาด้วยจ้า

#33 หนูอ้อย

หนูอ้อย

    นักเขียนหน่อมแน้ม

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,215 posts

ตอบ 4 มีนาคม พ.ศ. 2555 - 21:41


ฅ หายไปไหน
นักภาษาศาสตร์ได้ศึกษาประวัติความเป็นมาของพยัญชนะ ฅ (และ ฃ) และสันนิษฐานว่า ฅ นั้นเดิมมีฐานเสียงที่แตกต่างจากฐานเสียงของ ค โดยมีลักษณะเสียงเป็น พยัญชนะลิ้นไก่โฆษะ (ส่วน ฃ นั้น เป็นพยัญชนะลิ้นไก่อโฆษะ) ซึ่งพบได้ในภาษาต่างๆ ในกลุ่มภาษาไท และภาษาอื่น ทว่าในภายหลังหน่วยเสียงนี้ค่อยๆ สูญหายไป โดยออกเสียง ค แทน

เป็นที่น่าสังเกตว่า ฅ มีใช้ในตำแหน่งที่เป็นพยัญชนะต้น ไม่ปรากฏในตำแหน่งตัวสะกดเลย นอกจากนี้ยังมีข้อที่น่าสังเกตว่าคำว่า "คน" ซึ่งเป็นชื่อของพยัญชนะตัวนี้ ก่อนหน้าที่จะใช้เป็นชื่อพยัญชนะ เฉพาะในสยามไม่เคยเขียนด้วย (นั่นคือ ฅน) มาก่อนเลย แต่มาจาก "ฅ ฅอคน" (คอของคน) ในแบบเรียน ก ไก่ สมัยก่อน
จากนั้น เครื่องพิมพ์ดีดได้เริ่มเข้ามาในประเทศไทย และการจัดเรียงอักษรแบบ QWERTY นั้น ไม่สามารถบรรจุอักษรลงไปทั้งหมดได้ จึงทำการตัดแปลงตัวอักษรที่ใช้ ฅ และ ฃ เพื่อที่จะไม่ต้องเพิ่มในแป้นพิมพ์ดีด แต่สำหรับคีย์บอร์ดคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ จะมี ฅ และ ฃ อยู่ แต่จะไว้คนละตำแหน่งกันแล้วแต่ยี่ห้อ เช่น หน้า Backspace บนEnter หลังปุ่มShift บ้าง (ส่วนใหญ่ ทั้งสองอักษรจะวางบนแป้น backslash ซึ่งจะมีเครื่องหมาย "|" กับ "\")
ปัจจุบันสามารถพบเห็นการใช้ ฅ ในชื่อเฉพาะบางอย่างเช่น รายการโทรทัศน์ คนค้นฅน และในเอกสารที่ปริวรรตมาจากอักษรธรรมล้านนา เช่นคำว่า ฅิง ฅืน ฅาบ ฅวาย และ ฅน เป็นต้น


หนูอ้อยอย่าลืมให้ที่มาด้วยจ้า


ลืมจ้า
แต่สมาชิกที่นี่เก่งๆกันทั้งนั้น ป้อนคำว่า "ค คน วิกิพีเดีย" ก็ได้ดังใจหมาย

ลิงก์ดังนี้ http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%85

 AMAZING  coup d'etat  , THAILAND ONLY ..  :ph34r:  


#34 amplepoor

amplepoor

    เมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,365 posts

ตอบ 4 มีนาคม พ.ศ. 2555 - 22:30

พระดำรัสสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยานิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เมื่อทรงเป็นองค์ประธานการอภิปรายเรื่อง " ศิลาจารึกหลักที่ 1 " ณ ห้องประชุมใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด สำนักงานใหญ่ วันเสาร์ที่ 4 มีนาคม 2532
(จากศิลปวัฒนธรรม)

ข้าพเจ้า มีความยินดีที่มีผู้สนใจในเรื่องศิลาจารึกหลักที่ 1 ซึ่งเรารู้จักในนามศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง

ตั้งแต่เรียนประวิติศาสตร์ไทยกันมาในโรงเรียน ทุกคนจะยิ่งคุ้นกับรูปร่างของศิลาจารึกหลักนี้ เมื่อในปี 2526 ซึ่งเป็นปีที่มีการฉลองครบรอบ 700 ปีของลายสือไทย ซึ่งพ่อขุนได้ใส่ไว้ คำว่าใส่นี้ยังไม่กระจ่างนัก ตามที่ ดร.เกดนีย์ ได้กล่าวไว้จะแปลว่าคิดขึ้น หรืออะไรอื่น เช่นซ่อมแซมก็ได้ ซึ่งเป็นคำแปลที่ว่าซ่อมแซมนั้นเป็นคำแปลในภาษาไทยตระกูลหนึ่ง

ข้าพเจ้าขอเล่า ทำไมข้าพเจ้ามาสนใจเรื่องหลักที่ 1 นี้ขึ้นมา เมื่อสามสี่ปีมาแล้วมีผู้มาพูดให้ฟังว่า เขาพูดกันว่าศิลาจารึกหลักที่ 1 หลักนี้พ่อขุนรามคำแหงอาจจะไม่เป็นผู้ทำขึ้นมาก็ได้ ข้าพเจ้าก็ต้องภามทันทีอย่างที่ทุกคนคงอยากถาม "ใครเล่าเป็นผู้ทำขึ้นมา" เมื่อได้ยินคำตอบก็ออกจะตกใจและไม่เชื่อ คิดว่าเขาคงจะพูดเล่น ซึ่งก็ไม่เห็นเป็นเรื่องตลกจนนิดเดียว เรื่องก็เงียบไปพักหนึ่งจนถึง ปี 2530 นานๆ ทีจึงมีผู้ถามว่าได้ยินมั๊ยเรื่องหลักที่ 1 นี้ ในเดือนกรกฎาคม 2530 ดร.ไมเคิล วิกเกอรี่ จากมหาวิทยาลัยอดิเลดในออสเตรเลีย ได้เสนอบทความในการประชุมไทยศึกษา ณ กรุง แคนเบอร่า ซึ่งตั้งคำถามว่าศิลาจารึกหลักที่ 1 เป็นของเก่าจริงหรือเป็นของที่สร้างขึ้นมาภายหลัง

ต่อจากนั้นนิตยสารศิลปวัฒนธรรมได้ลงบทความเกี่ยวกับการปลอมหลักที่ 1 นี้มาบ่อยๆ นับได้ 5-6 เล่มพร้อมทั้งฉบับพิเศษโดยเฉพาะอีกด้วย

ปี 2533 ข้าเจ้าอยู่ต่างประเทศหลายเดือน จึงไม่มีโอกาสไปฟังการปาฐกถาของ ดร.พิริยะ ไกรฤกษ์ที่แสดงที่สยามสมาคมและที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แต่ก็ได้รับฉบับที่พิมพ์ออกมาภายหลัง เมื่อ ม.จ. สุภัทรดิส ดิศกุลชักชวนให้ไปฟังการอภิปรายที่มหาวิทยาลัยศิลปากรในเดือนพฤศจิกายน 2531 ข้าพเจ้าก็รับด้วยความยินดี ผู้อภิปรายคือ ดร.ประเสริฐ ณ นคร และ ม.ร.ว. ศุภวัฒย์ เกษมศรี โดยมี ม.จ. สุภัทรดิศ เป็นผู้ดำเนินรายการและอภิปรายด้วย การอภิปรายนั้นเป็นการตอบไม่ใช่การโต้ตอบสิ่งที่ ดร.พิริยะ ได้พูดไว้ก่อน เมื่อจบการอภิปรายแล้ว ข้าพเจ้าทูลถาม ม.จ.สุภัทรดิศว่าทำไมจึงไม่เชิญ ดร.พิริยะมาด้วย จะได้ไม่ต้องเสียเวลา จะได้ทันใจดีด้วย ไม่ต้องคอยเป็นเดือนๆ กว่าจะตอบกัน ท่านสุภัทรดิศ รับสั่งว่า เชิญเขาเขาก็ไม่มาหรอก ถ้าใต้ฝ่าพระบาททรงเชิญเขาอาจจะมาก็ได้ ข้าพเจ้าจึงเห็นว่าน่าจะลองจัดดู ด้วยเหตุว่าเดี๋ยวนี้มีผู้ที่ได้ยินเรื่องหลักที่ 1 ปลอมหรือไม่ปลอมกันมานานแล้ว มามากแล้ว ข้าพเจ้าจึงคิดว่าคงจะมีผู้ที่อยากจะทราบว่าเรื่องเป็นอย่างไรถึงแม้ว่าจะ ไม่ได้ศึกษาปัญหานี้มาก่อน

ในการอภิปรายครั้งนี้ ข้าพเจ้าจึงขอวิงวอนให้ผู้อภิปรายพูดกับประชาชนทั่วไป ไม่ใช่พูดดังที่จะพูดระหว่างนักวิชาการกันเอง ถึงอย่างไรก็ดี ข้าพเจ้าขอพูดถึงหลักบางหลักซึ่งผู้อภิปรายคงจะต้องเอ่ยถึง ก่อนอื่นขอกล่าวถึงเลขที่ของหลักต่างๆ โดยขออนุญาตใช้ข้อความจากหนังสือของ ดร.พิริยะ ไหนๆ มีหนังสือขายอยู่แล้วข้างหน้า ก็ขอโฆษณาให้ด้วย ไม่คิดอะไรด้วย ไม่รับเงิน

นี่คือหนังสือของ ดร.พิริยะ ไกรฤกษ์ ซึ่งอ่านข้างหน้าลำบากหน่อยเพราะเป็นอักษรพ่อขุนรามคำแหง "จารึกพ่อขุนรามคำแหง : การวิเคราะห์เชิงประวัติศาสตร์ศิลปะ" ในนี้ก็มีเรื่องที่ ดร.พิริยะ ได้พูดในปาฐกถา 2 แห่งและมีเพิ่มเติมอีกมาก โฆษณาอีกฝ่ายหนึ่งก็ต้องโฆษณาอีกฝ่ายหนึ่ง มีหนังสือเล่มใหม่เพิ่งได้รับชื่อว่า "คำอภิปรายศิลาจารึกหลักที่ 1 จริงหรือปลอม" โดยสมาคมโบราณคดีแห่งประเทศไทยเป็นผู้จัดทำ หนังสือเล่มนี้เป็นการเล่าถึงการอภิปรายที่มหาวิทยาลัยศิลปากร ที่ข้าพเจ้าได้กล่าวถึงเมื่อสักครู่

ดร.พิริยะ ได้เขียนว่า ส่วนมากศาสตราจารย์เซเดส ซึ่งเป็นชาวฝรั่งเศสที่มาเป็นผู้ดูแลหอพระสมุดวชิรญาณอยู่พักหนึ่ง จะเป็นผู้ชำระและแปลจากจารึกสุโขทัย โดยรวบรวมตีพิมพ์ขึ้นในหนังสือประชุมจารึกสยามภาคที่1 จารึกสุโขทัย เมื่อ พ.ศ.2467 นี่เป็นคำพูดของ ดร.พิริยะ ศาสตราจารย์เซเดสเข้าใจว่าน่าจะได้พบสิ้นเชิงแล้ว จึงเห็นสมควรพิมพ์รวมเล่มได้ จารึกในเล่มนี้มี 15 หลัก ซึ่งศาสตราจารย์เซเดสได้ให้หมายเลขไว้ตามอายุเวลาที่ปรากฏในจารึก หรือตามคาดคะเนของท่าน ดังนั้น ศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงจึงเป็นหลักที่ 1 เพราะเป็นจารึกภาษาไทยหลักแรก

ในปี 2472 ศาสตราจารย์เซเดสได้ตีพิมพ์ประชุมศิลาจารึกสยามภาคที่ 2 จากกรุงทวารวดีเมืองละโว้ และเมืองประเทศราชขึ้นแก่เมืองศรีวิชัย จารึกเหล่านี้เก่าแก่กว่าจารึกสุโขทัย แต่ก็มีหมายเลขเรียงต่อไปคือ 16-29 ต่อมาสำนักนายกรัฐมนตรี ได้ตีพิมพ์หนังสือประชุมศิลาจารึกภาคที่ 3 ในปี 2508 หนังสือเล่มนี้ตีพิมพ์ศิลาจารึกตั้งแต่หลักที่ 30 ถึงหลักที่ 84 การตีพิมพ์หนังสือเล่มนี้ทำให้หมายเลขที่ของศิลาจารึกคละเคล้ากันไปทั่วทุกภาค และเรียงอายุเวลาของศิลาจารึกก็ยิ่งสับสนมากขึ้น ต่อมาก็ได้มีอีกหลายเล่มจนถึงเล่มเท่าที่ข้าพเจ้าได้หาพบ เล่มที่ 6 ภาค 2 ซึ่งไปถึงหลักที่ 284

อยากจะพูดถึงหลักสำคัญซึ่งข้าพเจ้าได้ถามผู้ อภิปรายแล้วว่าน่าจะพูดถึงหลักไหนบ้าง เพราะผู้อภิปรายนี่คงจะพูดถึงหลักที่ 4 หลักที่ 3 อะไรเช่นนี้ แล้วเราก็ต้องทราบเองว่าหลักที่ 4 ที 5 นี่คืออะไร เพราะฉะนั้นข้าพเจ้าจะพูดถึงหลักพวกนี้ ถ้าใครมีดินสอก็จดไว้นิดหน่อย ถ้าท่านเป็นนักวิชาการในเรื่องนี้ก็คงทราบดีอยู่แล้ว

หลักที่ 1 ก็คือศิลาจารึกพ่อขุนรามกำแหง ได้กล่าวกันมาว่ารัชกาลที่ 4 ทรงนำมาพร้อมกับหลักที่ 4 และมนังคศิลาบาตร คือพระแท่นศิลานั้นมาพร้อมกัน และเข้าใจว่าสลักขึ้นในปี พ.ศ. 1835 ที่ให้ปีนี้ก็เพราะว่าเป็นปีที่สกัดกระดานมนังคศิลาแท่นนั้นในปีนั้น ก็เลยเหมาเอาว่าเป็นปีเดียวกันมีผู้แสดงความสงสัยถึงเวลาที่ได้สกัด ได้จารึกหลักนี้ขึ้นมานานแล้ว เช่นอาจารย์แสง มนวิทูร ข้าพเจ้าได้พบศิษย์ 2 คนเร็วๆ นี้ของอาจารย์แสง ก็ได้ถามเรื่องนี้ว่าเคยพูดอะไรมาบ้าง ทั้งสองคนก็พูดอ้อมแอ้ม ในที่สุดก็ไม่ได้อะไร ก้ไม่ได้ยินอะไรมา แต่บางท่านก็คงได้ยินมาบ้างว่าอาจารย์แสงได้พูดว่าศิลาจารึกหลักที่ 1 นี่ไม่ใช่พ่อขุนรามกำแหงหรอกเป็นของรัชกาลที่ 4 นอกจากนั้นก็ยังมีคุณปรีดา ศรีชลาลัย ได้เขียนบทความเรื่องเวลาที่เขาคิดว่าได้จารึกขึ้นมา และมี ม.จ.จันทร์จิรายุ รัชนี ซึ่งได้รับสั่งมานานแล้ว่าไม่ใช่พ่อขุนรามคำแหง แต่มาเมื่อมี ดร.ไมเคิล วิกเกอรี่ อีก

การพบของรัชกาลที่ 4 นั้นเป็นเมื่อ พ.ศ.2376 เวลานี้หลักนี้อยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถ้าได้มาฟังการอภิปรายนี้แล้ว อยากจะไปดูหลักจริงก็ไปดูได้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ

ตอนที่ 1 ของหลักนี้มี 17 บรรทัดซึ่งเป็นประวัติของพ่อขุนรามกำแหง ในสรรพนามว่า "กู" เล่าถึงเรื่องครอบครัวของท่านจนถึงท่านได้ครองราชย์
ตอนที่ 2 นั้นก็ยังอยู่ในด้านที่ 1 ศิลาจารึกมี 4 ด้านได้สลักอยู่ใน 4 ด้าน ด้านที่ 1 นั้นตั้งแต่บรรทัดที่ 18 ถึงด้านที่ 4 เลย ด้านที่ 4 บรรทัดที่ 12 พ่อขุนรามกำแหงได้ใช้สรรพนามว่า "พ่อขุนรามกำแหง" แทนคำว่า "กู" ได้พูดถึงความอุดมสมบูรณ์ของสุโขทัย การปกครอง การศาสนา การสร้างพระแท่นมนังคศิลาบาตร การสร้างวัด การสร้างอักษรไทย ใน พ.ศ.1826 การสร้างหรือไม่สร้างได้กล่าวเมื่อสักครู่
ตอนที่ 3 นั้นอยู่ในด้านที่ 4 ตั้งแต่บรรทัดที่ 12 จนจบเป็นการสรรเสริญพ่อขุนรามกำแหงและพูดถึงอาณาเขตสุโขทัย

ผ่านไปถึงหลักที่ 2 หลักที่ 2 นี่ก็มีความสำคัญเหมือนกัน เรียกว่าศิลาจารึกวัดศรีชุม วัดศรีชุมเป็นวัดที่อยู่นอกกำแพงเมืองของสุโขทัย กล่าวว่าหลวงต่อไปเป็นพระยาสโมสรฯ พบที่อุโมงค์ของวัดศรีชุมเมื่อปี พ.ศ. 2430 เข้าใจว่าผู้สลักให้จารึกคือ สมเด็จพระมหาศรีศรัทธาราชจุฬามณีศรีรัตนลังกาทีปมหาสามี เป็นโอรสของพระยากำแหงพระราม ซึ่งเป็นพระนัดดาของพ่อขุนผาเมือง พ่อขุนผาเมืองข้าพเจ้าจะกล่าวต่อไปคือใคร ในรัชสมัยของพระเจ้าเลอไทก่อน พ.ศ. 1890
ตอนที่ 2 และที่ 3 ของจารึกนี้จะเล่าถึงประวัติผู้ครองสุโขทัยเบื้องต้น องค์แรกที่ทราบนามกัน คือ พ่อขุนศรีนาวนำถม เมื่อสิ้นพระชนม์ไปแล้ว ขอมได้เข้ามาครองเมืองสุโขทัย ลูกชายของท่านชื่อพ่อขุนผาเมืองท่านเป็นเจ้าเมืองราด ท่านได้ชักชวนสหายของท่านคือ พ่อขุนบางกลางหาวมาช่วย เมื่อได้เมืองคืนแล้ว ขุนผาเมืองกลับยกเมืองสุโขทัยให้เพื่อนพ่อขุนบางกลางหาวนี่เอง พร้อมทั้งมอบพระขรรค์ชัยศรี และนามของท่านคือศรีอินทราทิตย์ ซึ่งเคยได้รับมอบจากกษัตริย์เขมร โดยที่เพราะท่านเป็นลูกเขยของกษัตริย์เขมร การที่ได้มอบเมืองสุโขทัยให้เพื่อนนี่ก็สันนิษฐานกันได้หลายอย่าง ข้าพเจ้าไม่อยากจะเล่าถึงเรื่องนี้จะยาวไป และเมื่อยกเมืองให้เพื่อนแล้วท่านก็กลับไปครองเมืองราดของท่านอย่างเดิม พระเจ้าศรีอินทราทิตย์นี่ก็คือพ่อของพ่อขุนรามกำแหงนี่เอง

ต้องเล่านิดหนึ่งว่าลูกหลานของพ่อขุนรามกำแหงคือใครบ้าง เพราะอาจจะต้องเอยชื่อในเวลาอภิปราย ขอใช้คำธรรมดาสามัญเพราะจะเข้าใจได้ง่ายกว่า ลูกของพ่อขุนรามกำแหงคือพระเจ้าเลอไท ต่อมามีลูกของพระเจ้าเลอไทคือพระเจ้าลิไท ได้เป็นกษัตริย์ของสุโขทัยต่อไป ท่านได้ใช้นามว่า "มหาธรรมราชาที่ 1 "

ในศิลาจารึกหลักที่ 2 นี่ นอกจากจะได้เล่าพระราชประวัตินี้มาต่อไป ได้มีการสรรเสริญพระมหาศรีศรัทธา พระมหาศรีศรัทธาที่ได้กล่าวชื่อนี้ไปเมื่อสักครู่นี้ เป็นเจ้านายที่เป็นหลานของพ่อขุนผาเมือง และท่านได้ผนวชอยู่ที่สุโขทัยและท่านได้เสด็จไปที่เมืองลังกา ที่เมืองลังกาก็ได้เป็นพระเถระชั้นผู้ใหญ่ก็มีการสรรเสริญท่าน และได้เล่าถึงอิทธิปาฏิหารย์ในการเสี่ยงบารมีของพระมหาเถรศรีศรัทธานี้ และได้เล่าถึงประวัติเดิมของท่านอีก ได้เล่าถึงตอนที่ท่านยังเป็นฆารวาสอยู่ ได้มีการชนช้างและได้เล่าประวัติท่านต่อๆ แล้วได้เล่าการสร้างวัดของท่านและการปาฏิหารย์ต่าง ๆ หลักนี้อยู่ทิ่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเช่นกัน

หลักที่ 3 เรียกว่าศิลาจารึกนครชุม ไม่ทราบแน่ว่ามาจากไหนทำขึ้นใน พ.ศ.1900 ผู้ที่สร้างขึ้นคือพระมหาธรรมราชาลิไท ตอนที่ 1 ได้เล่าถึงการประดิษฐานพระศรีรัตนมหาธาตุของพระเจ้าลิไท และปลูกต้นพระศรีมหาโพธิ์ที่ได้มาจากลังกา และท่านก็ได้ชักชวนต่อไปให้ได้ทำบุญกัน ตอนท้ายก็มีการสรรเสริญพระเจ้าลิไท หลักนี้อยู่ที่หอสมุดแห่งชาติ

หลักที่ 4 ศิลาจารึกวัดป่ามะม่วง เป็นภาษาเขมร รัชกาลที่ 4 ได้ทรงนำมาในปี พ.ศ.2376 อันนี้ที่กล่าวกันอย่างชัดเจนพร้อมกับมนังคศิลาบาตร ได้ทำขึ้นในปี 1904 เป็นการเล่าถึงพระเจ้าลิไทเสด็จจากศรีสัชนาลัยไปสุโขทัยในปี พ.ศ.1890 มีการสรรเสริญพระปรีชาสามารถและเล่าถึงการอาราธนาพระมหาสามีสังฆราชลังกาให้ไปพักที่วัดป่ามะม่วง และเล่าถึงการผนวชของพระเจ้าลิไท แล้วก็มีการชักชวนให้ทำบุญเช่นกัน หลักนี้อยู่ในหอสมุดแห่งชาติ

หลัก ที่ 5 คือ ศิลาจารึกวัดป่ามะม่วง เป็นภาษาไทย เราก็เห็นว่าเป็นคู่กัน คือหลักที่ 4 และหลักที่ 5 หลักหนึ่งเป็นภาษาขอมอีกหลักหนึ่งเป็นภาษาไทย จารึกปีเดียวกันคือปี พ.ศ. 1904 พบที่อยุธยาในปี พ.ศ.2450 ข้อความเหมือนกับหลักภาษาขอม แต่ไม่ได้เล่าถึงการไปตีเมืองสุโขทัยที่เล่ามาเมื่อสักครู่ว่าพระเจ้าลิไท เสด็จจากเมืองศรีสัชนาลัยไปตีสุโขทัยกลับมา แล้วก็ไม่ได้พูดถึงการประดิษฐานเทวรูป แต่มีกล่าวเพิ่มเติม คือกล่าวถึงพระยารามราชปลูกต้นมะม่วง

หลัก ที่ 8 คือหลักสุดท้ายที่ผู้อภิปรายบอกให้ข้าพเจ้าพูดถึง ก็คือศิลาจารึกเขาสุมนกูฏ ไม่ทราบแน่ว่าพบที่ไหนสันนิษฐานตามจารึกว่าอยู่ที่เขาสุมนกูฏ คือเขาพระพุทธบาทใหญ่ รัชกาลที่ 6 ทรงนำมาในปี พ.ศ. 2451 พระมหาธรรมราชาที่ 1 พระเจ้าลิไทเป็นผู้จารึก พระเจ้าลิไทประดิษฐานรอยพระพุทธบาทไว้เมื่อ พ.ศ. 1902 ที่พูดอยู่ในจารึกนั้น มีการเล่าถึงแห่รอยพระพุทธบาทขึ้นเขานี้ และได้เล่าถึงพระเจ้าลิไทไปปราบหัวเมืองและไปประทับที่เมืองสองแคว เป็นระยะเวลา 7 ปี และทรงนำชาวเมืองต่าง ๆ มาสักการะรอยพระพุทธบาทที่เขานี้ นี่ก็เป็นหลักต่างๆ ผู้อภิปรายจะได้กล่าวถึง

ในเรื่องเก่าๆ หรือเรื่องใหม่ๆ ของไทยนั้น จะสังเกตได้ว่าชาวต่างประเทศมีความสนใจมาก และเริ่มศึกษาอย่างมีระบบก่อนเรา ข้าพเจ้าได้เคยพูดถึงเรื่องความสนใจของฝรั่งมาแล้วครั้งหนึ่ง วันนี้ก็จะไม่พูดซ้ำ ถึงอย่างไรก็ดี เราก็เห็นได้ว่า สยามสมาคมได้ก่อตั้งขึ้นมาโดยไทย และฝรั่งร่วมกันนานมาก่อนสมาคมต่างๆ ของเรา เช่น สมาคมประวัติศาสตร์ สมาคมโบราณคดี และอื่นๆ เนื่องจากมีสมาชิกชาวต่างประเทศมาก ซึ่งไม่ทราบภาษาไทย สยามสมาคมมีประเพณีที่จะใช้ภาษาอังกฤษส่วนมาก ในการแสดงปาฐกถาที่มีเป็นประจำ สมาคมนี้ก็อยู่มาได้ตลอดจนถึงทุกวันนี้เพราะระดับสูงและการเป็นวิชาการของศาสตร์แขนงต่างๆ ที่สมาคมฯนำมาแสดง แต่ก็เป็นการปิดโอกาสให้ผู้ที่ไม่ทราบภาษาอังกฤษเหมือนกัน

ในวันนี้ข้าพเจ้าได้ขอให้สยามสมาคมจัดการอภิปรายขึ้นเป็นภาษาไทย เพื่อให้ทุกคนที่สนใจสามารถมาฟังได้โดยไม่มีภาษาเป็นอุปสรรค การศึกษาประวิติศาสตร์หรือโบราณคดีนั้นมิได้เป็นสิ่งที่ไม่มีผลกระทบกะเทือน ใด ๆ

การสร้างประวัติศาสตร์ในทุกวันนี้ก็จะเห็นได้ว่ากลุ่มที่มี อำนาจหรือมีอิทธิพลจะสามารถเขียนประวัติศาสตร์ไปตามที่ต้องการ โดยที่ผู้ที่ไม่เห็นด้วยไม่ค้าน เพราะความกลัวหรือการไม่อยากออกตัว อยากอยู่สบาย ๆ จริงอยู่ผู้ค้านก็จะมีอยู่บ้าง แต่จะเป็นกลุ่มส่วนน้อยและถ้ามีโอกาส การศึกษาศิลาจารึกหลักที่ 1 นี้ไม่ได้มีการศึกษาทางวิชาการเท่านั้น เมื่อข้าพเจ้าได้พูดกับชาวต่างประเทศคนหนึ่ง เขาได้กล่าวว่าไม่สนใจเลยในความหมายที่มีอยู่ สนใจแต่ทางด้านวิชาการ สำหรับคนไทยนั้น หลักที่ 1 มีความหมายลึกซึ้งทั้งทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ปรัชญาและจริยธรรม ดังนั้นจึงมีผู้สนใจมาก

มีผู้มาถามว่าไม่กลัว หรือถ้าหลักที่ 1 นี้เป็นของปลอม ข้าพเจ้าไม่กลัว เพราะคิดว่าถ้ามีคนที่สงสัยอะไรก็น่าที่จะให้โอกาสเขาอธิบายความเห็นของเขา ด้วยเหตุผลของเขา ซึ่งเราก็สามารถมาพิจารณาได้ภายหลัง ถึงอย่างไรก็ดี เราไม่ควรยึดถืออะไรนัก ทุกอย่างในโลกนี้ก็ไม่เที่ยง ถ้าหลักที่ 1 นี้เป็นของปลอม อะไรก็จะมาลบการที่เรามีภาษาของเรา ซึ่งมีตัวเขียนองเราที่ใครสร้างขึ้นก็ตาม มีสถาปัตยกรรมของเราและอื่น ๆ อีกมากมายที่เป็นของเราไม่ได้

#35 overtherainbow

overtherainbow

    เมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 5,295 posts

ตอบ 6 มีนาคม พ.ศ. 2555 - 12:57

มาบอกว่านับถือคุณแอมมาก

ขอบคุณที่ตั้งใจหาข้อมูลมาแชร์มาบอกมาเล่าเสมอๆค่ะ

ช่วงนี้เน็ตเดี้ยงบ่อยๆแถมช่วยพ่อพิมพ์งานระบบจิ้มกด เลยเวลาหายไปเยอะ

:)