Jump to content


Photo
- - - - -

“รัฐธรรมนูญฉบับประชามติ พ.ศ. 2550 ควรแก้หรือไม่ควรแก้”


This topic has been archived. This means that you cannot reply to this topic.
17 ความเห็นในกระทู้นี้

#1 chanbaan

chanbaan

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 2,918 posts

ตอบ 13 มีนาคม พ.ศ. 2555 - 11:58

หากพูดถึงรัฐธรรมนูญฉบับประชามติ พ.ศ. 2550 ที่กำหนดบทบาทและหน้าที่ของประชาชนในทุกระดับ โดยคำนึงถึงการมีอยู่จริงของสถาบันพระมหากษัตริย์ที่เป็นศูนย์รวมใจของคนไทยทั้งชาติ และยังคำนึงถึงสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานที่เท่าเทียมกันโดยไม่เป็นการไปริบรอนโอกาสในการทำมาหากิน การศึกษา การเข้าถึงบริการของรัฐ และยิ่งไปกว่านั้นรัฐธรรมนูญฉบับประชามติ พ.ศ. 2550 ยังเปิดโอกาสให้กับประชาชนได้ทำงานการเมืองภาคประชาชนเพื่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองทั้งทางตรงและทางออมเป็นสำคัญ แต่อย่างไรก็ดีกลุ่มนักการเมือง และนักเคลื่อนไหวก็ยังคงต้องการอำนาจสูงสุดของประเทศ โดยอาศัยการจัดตั้งมวลชนทั้งดึงฟ้าให้ต่ำและดันดินให้สูง


อุดมการณ์ไม่ใช่คลิก แต่ต้องคิด คิดไปเรื่อยเลยวุ่ยพุทธเจ้านำทาง ธรรมประคองใจ จิตใจวุ่นวาย ผิดพลาดพลั่งเผลอ มันเป็นสัจจะธรรมของคนที่ยังคน(เราเอง)"เกลียดปฏิวัติไทยคม ชื่นชมปฏิวัติสีขาว เกลียดนักการเมืองขี้ฉอ ชื่นชอบนักการเมืองยึดมั่นอุดมการณ์"

#2 chanbaan

chanbaan

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 2,918 posts

ตอบ 13 มีนาคม พ.ศ. 2555 - 11:58

โดยเฉพาะปรากฏการณ์การล่ารายชื่อเพื่อแก้ไขกฎหมายอาญามาตรา 112 ซึ่งเน้นในเรื่องการจัดตั้งสถาบันพระมหากษัตริย์ตามรัฐธรรมนูญภายใต้ระบอบประชาธิปไตย ซึ่งเป็นการเปิดประเด็นทางการเมืองขึ้นมาใหม่ต่อการดำรงอยู่ของสถาบันพระมหากษัตริย์ในสังคมไทย ซึ่งหากพิจารณาให้ดีแนวคิดของกลุ่มนิติราษฎร์ที่ต้องการจุดกระแสแบ่งแยกสถาบันพระมหากษัตริย์ออกจากสังคมไทย และประชาชนชาวไทยนั้นดูจะสวนทางกับการดำรงอยู่จริงของสถาบันพระมหากษัตริย์ต่อสังคมไทย และประชาชนชาวไทย ดังนั้นจึงเป็นสิ่งที่น่าให้ความสนใจเป็นอย่างยิ่งต่อเหตุการณ์ทางการเมืองทั้งสองเหตุการณ์ ว่ามีความเกี่ยวเนื่องกันเพื่อประโยชน์ของกลุ่มคนใดหรือไม่


อุดมการณ์ไม่ใช่คลิก แต่ต้องคิด คิดไปเรื่อยเลยวุ่ยพุทธเจ้านำทาง ธรรมประคองใจ จิตใจวุ่นวาย ผิดพลาดพลั่งเผลอ มันเป็นสัจจะธรรมของคนที่ยังคน(เราเอง)"เกลียดปฏิวัติไทยคม ชื่นชมปฏิวัติสีขาว เกลียดนักการเมืองขี้ฉอ ชื่นชอบนักการเมืองยึดมั่นอุดมการณ์"

#3 chanbaan

chanbaan

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 2,918 posts

ตอบ 13 มีนาคม พ.ศ. 2555 - 11:59

รัฐธรรมนูญฉบับประชามติ พ.ศ. 2550 เกิดขึ้นภายใต้คนกลางที่ไม่มีส่วนได้ส่วนเสียทางการเมือง แม้จะเป็นการเข้ามาบังคับใช้อำนาจเพื่อให้หยุดใช้อำนาจของรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง แต่หากพิจารณาให้ดีถึงข้อเรียกร้องของประชาชนกลุ่มใหญ่ในขณะนั้น ที่ต้องการคนกลางเข้ามาแก้ไขปัญหาทางการเมือง และการทุจริตเชิงนโยบาย รวมถึงระบอบเผด็จการรัฐสภา และเหตุการณ์ที่สำคัญทางการเมืองในขณะนั้นก็คือการปลุกระดมให้มีการล่ารายชื่อเพื่อตรวจสอบการซุกหุ้น และการใช้อำนาจโดยมิชอบของอดีตนายกรัฐมนตรีในสมัยนั้น ก็มีการดำเนินตามขั้นตอนแห่งกฎหมายทุกประการ แต่เนื่องจากมีการจัดตั้งกลุ่มมวลชนขึ้นอีกกลุ่มหนึ่งเพื่อเข้ามากดดันความยุติธรรม และมุ่งประหัญประหารประชาชนชาวไทยที่ต้องการตรวจสอบการเข้ามาบริหารราชการแผ่นดินของนักการเมือง


อุดมการณ์ไม่ใช่คลิก แต่ต้องคิด คิดไปเรื่อยเลยวุ่ยพุทธเจ้านำทาง ธรรมประคองใจ จิตใจวุ่นวาย ผิดพลาดพลั่งเผลอ มันเป็นสัจจะธรรมของคนที่ยังคน(เราเอง)"เกลียดปฏิวัติไทยคม ชื่นชมปฏิวัติสีขาว เกลียดนักการเมืองขี้ฉอ ชื่นชอบนักการเมืองยึดมั่นอุดมการณ์"

#4 chanbaan

chanbaan

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 2,918 posts

ตอบ 13 มีนาคม พ.ศ. 2555 - 11:59

ด้วยเหตุการณ์ดังกล่าวนี้ คณะปฏิรูปการเมืองการปกครองอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขจึงเข้าหยุดการใช้อำนาจของรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง และได้ทำตามข้อเสนอของประชาชนส่วนใหญ่ที่ต้องการเห็นกลไกทางการเมืองที่โปร่งใสมิใช่การส่งเสริมให้พรรคการเมืองเข้มแข็งจนมีอำนาจล้นฟ้าล้นแผ่นดินอย่างเช่นที่เคยมีมา ตลอดจนเพื่อทำให้เกิดความกระจ่างต่อการทุจริตและประพฤติมิชอบของนักการเมืองที่กุมอำนาจในสมัยนั้น จึงได้จัดตั้ง คตส. เพื่อเป็นคณะทำงานในการรวบรวมข้อเท็จจริงในการใช้อำนาจของนักการเมืองที่เกี่ยวพันกับการทุจริตและประพฤติมิชอบเสนอต่ออัยการสูงสุด เพื่อเข้าสู่กระบวนการพิจารณาของตุลาการ


อุดมการณ์ไม่ใช่คลิก แต่ต้องคิด คิดไปเรื่อยเลยวุ่ยพุทธเจ้านำทาง ธรรมประคองใจ จิตใจวุ่นวาย ผิดพลาดพลั่งเผลอ มันเป็นสัจจะธรรมของคนที่ยังคน(เราเอง)"เกลียดปฏิวัติไทยคม ชื่นชมปฏิวัติสีขาว เกลียดนักการเมืองขี้ฉอ ชื่นชอบนักการเมืองยึดมั่นอุดมการณ์"

#5 chanbaan

chanbaan

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 2,918 posts

ตอบ 13 มีนาคม พ.ศ. 2555 - 11:59

หากเราพูดถึงที่มาของประชาธิปไตยในไทย เราก็ต้องยอมรับว่าเราปล้นพระราชอำนาจมาตั้งแต่พ.ศ. 2475 มิใช่การพัฒนาการทางการเมืองอย่างที่สถาบันพระมหากษัตริย์ทรงออกแบบไว้ ประชาธิปไตยในไทยจึงมีโครงสร้างแบบ “สุกเอาเผากิน” หรือ “ชิงสุกก่อนห่าม” รวมถึง “ชุบมือเปิบ” มาโดยตลอด โครงสร้างทางการเมืองแบบนี้เราเห็นได้จากรัฐธรรมนูญฉบับแรกๆ ของเราที่ชุบมือเปิบอำนาจ ริบรอนพระราชอำนาจ เพื่อใช้อำนาจทางการเมืองของนักการเมืองไปเพื่อแสวงหาผลประโยชน์สู่หมู่ตนเท่านั้นมาโดยตลอด


อุดมการณ์ไม่ใช่คลิก แต่ต้องคิด คิดไปเรื่อยเลยวุ่ยพุทธเจ้านำทาง ธรรมประคองใจ จิตใจวุ่นวาย ผิดพลาดพลั่งเผลอ มันเป็นสัจจะธรรมของคนที่ยังคน(เราเอง)"เกลียดปฏิวัติไทยคม ชื่นชมปฏิวัติสีขาว เกลียดนักการเมืองขี้ฉอ ชื่นชอบนักการเมืองยึดมั่นอุดมการณ์"

#6 chanbaan

chanbaan

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 2,918 posts

ตอบ 13 มีนาคม พ.ศ. 2555 - 11:59

ดังนั้นเหตุการณ์ในวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 จึงเป็นการปฏิวัติสีขาว เพื่อเข้ามาสร้างกลไกประชาธิปไตยที่บริสุทธิ์เป็นประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนชาวไทยทุกหมู่เหล่าอย่างแท้จริง โดยที่ไม่มีเรื่องสัมปทานดาวเทียมไทยคมมาเป็นผลประโยชน์แลกเปลี่ยนเหมือนการปฏิวัติน้าชาติ จนนำไปสู่การปฏิวัตินองเลือด ที่นายทุนดาวเทียมไทยคมร่ำรวยจนกลายมาเป็นนักการเมืองผู้ยิ่งใหญ่ให้กลุ่มชนบางกลุ่มกราบไหว้บูชาอยู่ในปัจจุบันนี้

สหกรณ์สังคม “ประโยชน์บริสุทธิ์ ย่อมนำสุขมาให้”


อุดมการณ์ไม่ใช่คลิก แต่ต้องคิด คิดไปเรื่อยเลยวุ่ยพุทธเจ้านำทาง ธรรมประคองใจ จิตใจวุ่นวาย ผิดพลาดพลั่งเผลอ มันเป็นสัจจะธรรมของคนที่ยังคน(เราเอง)"เกลียดปฏิวัติไทยคม ชื่นชมปฏิวัติสีขาว เกลียดนักการเมืองขี้ฉอ ชื่นชอบนักการเมืองยึดมั่นอุดมการณ์"

#7 phoosana

phoosana

    เมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 7,687 posts

ตอบ 13 มีนาคม พ.ศ. 2555 - 12:25

แถลงการณ์ สสร.50เรื่องการแก้ไข รธน. 2550 มาตรา 291 ของรัฐบาล ขัดรัฐธรรมนูญ





หมายเหตุ...ที่รัฐสภา วันที่ 5 มี.ค. สมาชิกชมรม สสร.50 นำโดย นายเกียรติชัย พงษ์พาณิชย์ ประธานชมรม สสร.50 พร้อมสมาชิกร่วมแถลงข่าวประกาศเจตนารมณ์คัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 291 โดยระบุว่าเป็นการล้มล้างรัฐธรรมนูญปัจจุบันทั้งฉบับ อาจขัดต่อรัฐธรรมนูญ
สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ 2550 ในนามชมรม สสร.50 ได้หยิบยกกรณีที่รัฐบาลและพรรคการเมืองบางพรรคได้มีญัตติขอแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 เพื่อให้มีการจัดตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) เพื่อจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ชมรม สสร.50 มีความเห็นพ้องต้องกันว่า
1) การแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 ดังกล่าว เป็นการกระทำที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อยกเลิกล้มล้างรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 หาใช่การแก้ไขรัฐธรรมนูญที่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของมาตรา 291 เพราะมาตรา 291 เป็นมาตราที่มีเจตนากำหนดวิธีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญในมาตราต่างๆ
2) มาตรา 291 มีเจตนารมณ์ที่สำคัญในการกำหนดวิธีการ "แก้ไขหรือเพิ่มเติม" บทบัญญัติมาตราอื่นๆในรัฐธรรมนูญ หาได้มีเจตนาถึงการกำหนดวิธีการแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 291 เองแต่อย่างใด ดังนั้นการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยมีความประสงค์มุ่งจะแก้ไขมาตรา 291 ด้วยมาตรา 291 ย่อมไม่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ ในรัฐธรรมนูญทุกฉบับคงจะไม่มีผู้ร่างรัฐธรรมนูญคณะใดมีเจตนาที่จะเปิดโอกาส หรือให้อำนาจแก่ผู้ใดในการล้มล้างรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ
3) ข้ออ้างที่ว่า เมื่อครั้งที่มีการตั้งสสร.2540 ยังสามารถกระทำได้ การตั้ง สสร.2550 ก็กระทำได้ ดังนั้น การแก้รัฐธรรมนูญ 2550 ก็น่าจะตั้ง สสร. อย่างที่คณะรัฐบาลกำลังดำเนินการอยู่ได้เช่นกัน ข้ออ้างนี้ผิดอย่างมหันต์ เพราะการแก้ไขรัฐธรรมนูญใดๆ จะต้องกระทำด้วยวิธีการตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญที่กำลังมีสภาพบังคับอยู่ในขณะนั้น
การยกเลิกรัฐธรรมนูญทั้งฉบับด้วยกระบวนการรัฐสภา ซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสียกับการบัญญัติบทบัญญัติรัฐธรรมนูญซึ่งกำหนดสถานะ อำนาจหน้าที่ และกำหนดการมีประโยชน์ได้เสียและการกระทำอันเป็นการขัดกันของผลประโยชน์ในการดำรงตำแหน่ง โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร ย่อมไม่ชอบด้วยหลักการตามหลักการประชาธิปไตยที่อุดมไปด้วยเหตุผลและความชอบธรรม การยกเลิกรัฐธรรมนูญทั้งฉบับจะกระทำได้ต่อเมื่อประกอบด้วยเงื่อนไขสำคัญในทางกฎหมายและสังคมที่สำคัญ2 ประการ คือ
3.1 บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญมีปัญหาในโครงสร้างและกลไกการใช้อำนาจอธิปไตยของรัฐธรรมนูญ เป็นที่ประจักษ์จนทำให้การบริหารประเทศไม่สามารถดำเนินการไปได้ตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญที่มุ่งวางหลักการที่เหมาะสมในการจัดสรรการใช้อำนาจอธิปไตยและควบคุมการใช้อำนาจอธิปไตยที่สามารถคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนได้ ซึ่งในการยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 นั้น ปรากฏปัญหาสำคัญในโครงสร้างของรัฐธรรมนูญและการไม่สามารถคุ้มครองสิทธิ์และเสรีภาพของประชาชนได้ ซึ่งเป็นที่ประจักษ์ต่อสังคมในช่วงเวลานั้น
3.2 สภาพการรับรู้ของสังคมโดยรวม เห็นพ้องกับการยกเลิกรัฐธรรมนูญเพื่อจัดโครงสร้างใหม่ตามหลักการของใน 3.1 และเห็นพ้องกันจนนำไปสู่การเคลื่อนไหวในภาคประชาสังคม และภาคเอกชนทั้งประเทศที่ประสงค์จะให้มีการยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ซึ่งในการยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2534 ปรากฏการเคลื่อนไหวและการยอมรับของสังคมอย่างชัดเจน
แต่ในการกระทำของรัฐสภาที่มีการแก้ไขมาตรา 291 เพื่อการจัดตั้งสสร.ขึ้นมาทำการยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ โดยอ้างวาทกรรมว่าไม่เป็นประชาธิปไตย แต่ไม่ปรากฏประเด็นปัญหาความบกพร่องของโครงสร้างตามรัฐธรรมนูญ และละเลยถึงการเป็นประชาธิปไตยที่แท้จริงที่รัฐธรรมนูญได้ผ่านการออกเสียงประชามติของประชาชน หาได้เป็นเหตุผลที่ชอบธรรมและจำเป็นที่จะทำให้สามารถยกเลิกรัฐธรรมนูญ 2550 ทั้งฉบับได้ อีกทั้งยังปรากฏความขัดแย้งและการคัดค้านของประชาชนอีกจำนวนมาก ที่ไม่ประสงค์ให้แก้ไขมาตรา 291 ดังกล่าว การกระทำของรัฐสภาจึงไม่ชอบด้วยเหตุผลและความชอบธรรมตามหลักการประชาธิปไตย แต่กลับเป็นการรวบอำนาจจัดสรรผลประโยชน์โดยเผด็จการรัฐสภา
ในการตั้ง สสร. ในปี พ.ศ.2539 ก็กระทำอย่างถูกต้องตามวิธีการในบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญที่มีสภาพบังคับอยู่ในขณะนั้นคือรัฐธรรมนูญ 2534 (แก้ไขเพิ่มเติมปี 2538) หรือในการตั้ง สสร. ในปี พ.ศ. 2550 ก็กระทำอย่างถูกต้องตามวิธีการในบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญที่มีสภาพบังคับอยู่ในขณะนั้น คือรัฐธรรมนูญ 2549 แต่ในรัฐธรรมนูญ 2550 บทบัญญัติมาตรา 291 มีถ้อยคำสำคัญที่บ่งชี้ถึงวิธีการแก้รัฐธรรมนูญที่แตกต่างจากรัฐธรรมนูญฉบับก่อนหน้านั้น
4) มาตรา 291 แห่งรัฐธรรมนูญ 2550 ระบุในวรรคแรกว่า "การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญให้กระทำได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการ ดังต่อไปนี้
การที่รัฐธรรมนูญ 2550 จงใจที่จะเปลี่ยนคำว่า "จะ" ตามมาตรา 211 แห่งรัฐธรรมนูญ 2534 และมาตรา 313 วรรคแรก ของรัฐธรรมนูญ 2540 ซึ่งเขียนว่าการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญจะกระทำได้ก็แต่โดยหลักเกณฑ์และวิธีการดังต่อไปนี้
การแก้ไขคำว่า "จะ" เป็นคำว่า "ให้" นั้น มีผลบังคับตามหลักนิติศาสตร์ คือ ต้องกระทำการตามมาตรา 291 เท่านั้น นั่นหมายถึงว่าบุคคลผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ก็คือผู้ที่ระบุอยู่ในมาตรา 291 เท่านั้น ไม่มีกรณีใดที่จะมอบอำนาจหรือแต่งตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ แตกต่างกับรัฐธรรมนูญ 2549 ซึ่งเป็นฉบับชั่วคราวที่ให้มีการแต่งตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ เพราะรัฐธรรมนูญ 2540 ได้ถูกยกเลิกไปแล้ว
ยิ่งกว่านั้นรัฐธรรมนูญปี 2550 ได้รับความเห็นชอบตามกรอบของกฎหมายในการออกเสียงประชามติ ซึ่งมีจำนวน 14,727,306 คะแนนเสียง ซึ่งเป็นเสียงส่วนใหญ่ จึงเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกที่เป็นของปวงชนชาวไทยอย่างแท้จริง ดังนั้นการจะแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับ 2550 จึงต้องดำเนินการไปตามกรอบอำนาจอธิปไตยซึ่งเป็นของปวงชนชาวไทยที่ได้กำหนดวิถีทางอย่างชัดแจ้ง ไม่สามารถที่จะมอบหมายให้คณะบุคคลหรือองค์กรหนึ่งองค์กรใดจะมาเป็นผู้ยกร่างหรือแก้ไขรัฐธรรมนูญได้อีก
โดยเฉพาะหลักการของมาตรา 291 ของ องค์กรใดจะมาเป็นผู้ยกร่างหรือแก้ไขรัฐธรรมนูญได้อีก
โดยเฉพาะหลักการของมาตรา 291 ของ รัฐ ธรรมนูญ พ.ศ. 2550 คือมาตรา 282 เดิม ในร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ... (ฉบับรับฟังความคิดเห็น) ซึ่งฝ่ายเลขานุการคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ได้บันทึกไว้ในหน้า 44 ข้อ 15.2 มีเจตนารมณ์ที่ระบุไว้โดยชัดแจ้งในตอนท้ายว่า
"15.2 ญัตติแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญที่ไม่อาจเสนอได้หลักการสำคัญในรัฐธรรมนูญบางอย่างไม่อาจถูกแก้ไขได้ เนื่องจากจะทำให้หลักการในเรื่องอื่นถูกกระทบทั้งหมด หลักการที่ว่านั้นก็คือ หลักการปกครองในระบอบประชาธิปไตย และหลักการในเรื่องความเป็นรัฐเดี่ยว ซึ่งร่างรัฐธรรมนูญมาตรา 282 (1) วรรค 2 กำหนดห้ามแก้ไขหลักการดังกล่าวไม่ว่าจะโดยวิธีใดๆ และแน่นอนว่าหลักการอีกเรื่องหนึ่งที่ไม่อาจถูกแก้ไขเพิ่มเติมได้ก็คือ ตัวหลักการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญตามมาตรา 282 นั่นเอง" สอดคล้องกับหลักการสำคัญที่แก้ไขคำว่า "จะ" เป็นคำว่า "ให้" ตามเหตุผลแห่งเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญที่กล่าวถึงข้างต้น
5) การแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 ครั้งนี้มีเจตนาไม่สุจริต แอบแฝง เพื่อจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ซึ่งอาจมีจุดประสงค์ ดังนี้
5.1 ยังคงรูปแบบการปกครอง "ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข" แต่การแก้ไขอาจจะลดพระราชอำนาจให้เหลือเพียงสัญลักษณ์ (หรือเป็นเพียงตรายาง) ดังที่มีผู้เสนอบ้างแล้ว เช่น
ก) ก่อนที่จะครองราชย์ จะต้องสาบานพระองค์ต่อรัฐสภา
ข) พระมหากษัตริย์จะมีพระราชดำรัสกับประชาชนเป็นการทั่วไปโดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาจะกระทำไม่ได้
ค) ยกเลิกหรือปรับเปลี่ยนการได้มาและการพ้นตำแหน่งองคมนตรี และประธานองคมนตรี
5.2 แทรกแซงความเป็นอิสระของศาลและองค์กรอิสระโดย
ก) ประธานศาลทุกระดับจะต้องให้รัฐสภาหรือรัฐบาลเห็นชอบ
ข) ยุบศาลปกครองและศาลรัฐธรรมนูญ ไปรวมกับศาลฎีกา ค) เปลี่ยนวิธีการสรรหาองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ โดยให้พรรคการเมืองและรัฐสภามีอำนาจในการเลือกและแต่งตั้ง
ง) ปรับเปลี่ยนการได้มาและอำนาจของวุฒิสภา 5.3 การลบล้างความผิดให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และแก้ไขคุณสมบัติของผู้สมัคร ส.ส. ให้ผู้เคยถูกศาลพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก หรือเคยถูกยึดทรัพย์ กรณีร่ำรวยผิดปกติได้ทรัพย์สินมาโดยมิชอบ สามารถสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎรได้ ซึ่งเป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร สามารถดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร, รัฐมนตรี, นายกรัฐมนตรีได้
5.4 ให้สามารถสืบทอดอำนาจของระบอบทุนนิยมผูกขาด ก) ลดหย่อนโทษของความผิดทุจริตการเลือกตั้ง ที่แต่เดิมมีโทษร้ายแรงถึงยุบพรรคและตัดสิทธิ์ทางการเมืองแก่ผู้บริหารพรรค
ข) เปิดโอกาสให้มีการซื้อพรรคเล็กหรือพรรคอื่นเข้าควบรวมกับพรรคแกนนำจัดตั้งรัฐบาลหลังการเลือกตั้งได้
ค) การตรวจสอบถ่วงดุลของฝ่ายนิติบัญญัติ ทั้งสภาผู้แทนฯ และวุฒิสภาทำได้ยากขึ้น
ค) การตรวจสอบถ่วงดุลของฝ่ายนิติบัญญัติ ทั้งสภาผู้แทนฯ และวุฒิสภาทำได้ยากขึ้น
ง) การเมืองภาคประชาชน จะมีส่วนร่วมในการเสนอกฎหมายตรวจสอบ ถอดถอนได้ยากมากขึ้น
5.5 รัฐบาลปัจจุบันแสดงออกถึงความมุ่งมั่นที่จะเปลี่ยนรัฐธรรมนูญอย่างผิดสังเกต เพราะที่ขณะบ้านเมืองเกิดวิกฤติน้ำท่วมใหญ่ (ซึ่งอาจเกิดขึ้นอีก) เกิดภาวะข้าวยากหมากแพง ข้าวของขึ้นราคาเกือบทุกชนิด เกิดวินาศกรรมระเบิดหลายแห่ง หนี้สาธารณะของประเทศอยู่ในระดับสูงมาก แต่รัฐบาลและบุคคลของพรรคการเมืองบางพรรคพยายามจะแก้ไขล้มล้างรัฐธรรมนูญ ทั้งๆ ที่การปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ 2550 ยังไม่เกิดปัญหาแต่อย่างใด สังเกตได้จากผู้ตรวจราชการแผ่นดิน ผู้มีอำนาจหน้าที่ติดตามประเมินผลการบังคับใช้รัฐธรรมนูญตามมาตรา 244 (3) ก็มิได้มีข้อเสนอแนะถึงปัญหาของการบังคับใช้รัฐธรรมนูญ และต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญแต่อย่างใด
จากที่ได้ชี้แจงมาทั้งหมดข้างต้น ด้วยเหตุและผลของหลักการการบัญญัติกฎหมายและการบังคับใช้กฎหมาย โดยเฉพาะรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกฎหมายที่เป็นเสาหลักของประชาธิปไตย จึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งที่ผู้มีอำนาจหน้าที่ต้องปฏิบัติจะต้องยึดหลักนิติธรรม ดำเนินการด้วยความโปร่งใสและสอดคล้องกับเจตนารมณ์ของกฎหมาย การใดก็ตามที่ทำโดยขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญหรือมีการซ่อนเร้นเจตนาที่จะเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญทั้งหมด โดยไม่แสดงความให้ปรากฏตามหลักเกณฑ์ของการเสนอญัตติต่อสภา แต่กลับมอบหมายให้บุคคลหรือคณะบุคคลเป็นผู้แก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น ถือได้ว่าเป็นการเข้าข่ายการกระทำที่มีการล้มล้างตามรัฐธรรมนูญปี 2550 มาตรา 68 และการดำเนินการใดที่ไม่โปร่งใสนั้น บุคคลซึ่งหมายถึงปวงชนชาวไทยทุกหมู่เหล่าย่อมมีสิทธิ์ต่อต้านโดยสันติวิธีตามรัฐธรรมนูญปี 2550 มาตรา 69 หากเห็นว่าการกระทำใดๆ ที่ได้กระทำไปโดยไม่ชอบด้วยข้อกฎหมายเป็นไปเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้
จึงขอแถลงการณ์มาเพื่อทราบโดยทั่วกัน สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ 2550 (ชมรม สสร. 50)
5 มีนาคม พ.ศ.2555--จบ--

.....บ้านเมือง



_____________________________________________________________

หลักการแพ้หลักกู 15.7 ล้านจะลากไปทางไหน

ใช้มาตรา 291 เพื่อแก้ มตรา 291 เอง เพื่อเปิดให้มีวิธีการในการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ
We love fender.

#8 ดราม่า

ดราม่า

    เมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 6,395 posts

ตอบ 13 มีนาคม พ.ศ. 2555 - 12:28

เขาให้แก้บางมาตราที่พบว่าใช้แล้วเป็นปัญหา

ไม่ใช้ฉีกทิ้งแล้วเขียนใหม่ตามใจทักษิณ
"หากท่านโกหกเรื่องใหญ่มากพอ, โกหกบ่อยครั้งเพียงพอ, เรื่องนั้นจะถูกเชื่อ" อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ สนับสนุนกฎหมายเก็บภาษีที่ดินคนรวย สนันสนุนกฎหมายเก็บภาษีมรดก “ขอพูดอะไรแรงๆ สักครั้งในชีวิตค่ะ พูดแล้วจะร้องไห้...น้ำท่วมไม่กลัว กลัวอย่างเดียว...ผู้นำโง่ เพราะพวกเราจะตายกันหมด”หนูดี

#9 จอมโจรคิด

จอมโจรคิด

    อธรรมผู้น่ารัก

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 3,299 posts

ตอบ 13 มีนาคม พ.ศ. 2555 - 12:36

ต้องระบุชัดๆไปเลยว่าแก้มาตราไหน ต้องชัดเจน

เจตนารมณ์ส่วนตัว
- ไม่ใช้ถ้อยคำที่คำหยาบคาย
- ไม่ต่อล้อต่อเถียงอย่างไม่มีเหตุผล


#10 beta

beta

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 460 posts

ตอบ 13 มีนาคม พ.ศ. 2555 - 12:50

ตามที่สังเกต รัฐบาลนี้ มักทำอะไร ลับๆ ล่อๆ รวมทั้ง ล่อแบบลับๆ

ใครถามอะไร จะบอกว่า เป็นความลับหมด พอเสร็จแล้ว จะทักท้วงอะไรก็ไม่ทันแล้ว

คราวนี้ก็อย่าหวังถามหาความชัดเจนในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เลย สุดท้าย ใครๆก็เดาออก ว่าสิ่งที่กลัวกัน มันก็จะัเป้นแบบนั้นแหละ

#11 ดอน

ดอน

    ขาประจำ

  • Banned
  • PipPipPip
  • 2,872 posts

ตอบ 13 มีนาคม พ.ศ. 2555 - 13:15

เขาให้แก้บางมาตราที่พบว่าใช้แล้วเป็นปัญหา

ไม่ใช้ฉีกทิ้งแล้วเขียนใหม่ตามใจทักษิณ

.........เขาระบุไว้มาตราไหน หาไม่เจอจริงๆ

ต้องระบุชัดๆไปเลยว่าแก้มาตราไหน ต้องชัดเจน

.............ก็แก้มาตรา 291 ไงครับ ชัดเจน

จงกล้าที่จะใช้ปัญญาญาณของตนเอง  โดยปราศจากการชี้นำจากผู้อื่น(คานท์)


#12 chanbaan

chanbaan

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 2,918 posts

ตอบ 13 มีนาคม พ.ศ. 2555 - 13:16

หน้าที่ของประชาชนคือการพิทักษ์รัฐธรรมนูญครับ เพราะในรัฐธรรมนูญฉบับประชามติกำหนดเอาไว้เช่นนั้น ผมเองก็ไม่อยากพูดแล้วขวานผ่าซากนะครับ เพราะเสื้อแดงก็อ้างเหตุผล ผมก็ขออ้างเหตุผลบ้างว่า นักการเมืองที่เกิดจากผลพวงการปฏิวัติน้าชาติจะไม่ส่งผลกระทบเป็นพิษต่อบ้านเมืองอย่างนั้นหรือ และหากเราล้มรัฐธรรมนูญที่ถูกออกแบบมาเพื่อปกป้องรัฐธรรมนูญทั้งมาตรา 291 แห่งรัฐธรรมนูญฉบับประชามติ พ.ศ. 2550 ที่เพื่อนสมาชิกนำมาประกอบ ผมก็อยากให้เสื้อแดงได้เห็นนะครับว่ากระทำมิได้เพราะขัดต่อรัฐธรรมนูญ ส่วนพันธมิตรจะอาศัยกระแสเพื่อสร้างความปั่นป่วนอันนี้ผมก็ไม่เห็นด้วยเช่นกัน เพราะแนวทางในการต่อสู้ก็คือการยื่นไปยังศาลรัฐธรรมนูญตีความ หรือไม่ก็หาข้อสรุปกันในรัฐสภาทั้งหน้าที่ของประชาชนตามรัฐธรรมนูญฉบับประชามติ พ.ศ.2550 และมาตรา 291 แห่งรัฐธรรมนูญฉบับประชามติ พ.ศ. 2550 ว่าตกลงแล้วจะให้คนไทยเป็นปรปักษ์ต่อรัฐธรรมนูญฉบับประชามติ พ.ศ.2550 อย่างนั้นหรือ
อุดมการณ์ไม่ใช่คลิก แต่ต้องคิด คิดไปเรื่อยเลยวุ่ยพุทธเจ้านำทาง ธรรมประคองใจ จิตใจวุ่นวาย ผิดพลาดพลั่งเผลอ มันเป็นสัจจะธรรมของคนที่ยังคน(เราเอง)"เกลียดปฏิวัติไทยคม ชื่นชมปฏิวัติสีขาว เกลียดนักการเมืองขี้ฉอ ชื่นชอบนักการเมืองยึดมั่นอุดมการณ์"

#13 ดอน

ดอน

    ขาประจำ

  • Banned
  • PipPipPip
  • 2,872 posts

ตอบ 13 มีนาคม พ.ศ. 2555 - 13:50

หน้าที่ของประชาชนคือการพิทักษ์รัฐธรรมนูญครับ เพราะในรัฐธรรมนูญฉบับประชามติกำหนดเอาไว้เช่นนั้น ผมเองก็ไม่อยากพูดแล้วขวานผ่าซากนะครับ เพราะเสื้อแดงก็อ้างเหตุผล ผมก็ขออ้างเหตุผลบ้างว่า นักการเมืองที่เกิดจากผลพวงการปฏิวัติน้าชาติจะไม่ส่งผลกระทบเป็นพิษต่อบ้านเมืองอย่างนั้นหรือ และหากเราล้มรัฐธรรมนูญที่ถูกออกแบบมาเพื่อปกป้องรัฐธรรมนูญทั้งมาตรา 291 แห่งรัฐธรรมนูญฉบับประชามติ พ.ศ. 2550 ที่เพื่อนสมาชิกนำมาประกอบ ผมก็อยากให้เสื้อแดงได้เห็นนะครับว่ากระทำมิได้เพราะขัดต่อรัฐธรรมนูญ ส่วนพันธมิตรจะอาศัยกระแสเพื่อสร้างความปั่นป่วนอันนี้ผมก็ไม่เห็นด้วยเช่นกัน เพราะแนวทางในการต่อสู้ก็คือการยื่นไปยังศาลรัฐธรรมนูญตีความ หรือไม่ก็หาข้อสรุปกันในรัฐสภาทั้งหน้าที่ของประชาชนตามรัฐธรรมนูญฉบับประชามติ พ.ศ.2550 และมาตรา 291 แห่งรัฐธรรมนูญฉบับประชามติ พ.ศ. 2550 ว่าตกลงแล้วจะให้คนไทยเป็นปรปักษ์ต่อรัฐธรรมนูญฉบับประชามติ พ.ศ.2550 อย่างนั้นหรือ


...............จขกท คงหมายถึงมาตรา 68 เขาเขียนไว้อย่างนี้ครับ....บุคคลจะใช้สิทธ์และเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ เพื่อล้มล้างการปกครองตามระบอบประชาธืปไตย
................อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขตาม รธน นี้หรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศ โดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ใน รธน นี้มิได้..
........ผมดูแล้วการแก้ รธน.ก็ไม่ได้ขัดกับ มาตราที่ จขกท ว่า ทุกอย่างเดินตามวิถีทางที่ รธน.บัญญัติไว้นี่ครับ

จงกล้าที่จะใช้ปัญญาญาณของตนเอง  โดยปราศจากการชี้นำจากผู้อื่น(คานท์)


#14 hentai

hentai

    เมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 6,046 posts

ตอบ 13 มีนาคม พ.ศ. 2555 - 14:05

เขาให้แก้บางมาตราที่พบว่าใช้แล้วเป็นปัญหา

ไม่ใช้ฉีกทิ้งแล้วเขียนใหม่ตามใจทักษิณ


นั่นซิครับ ถ้าไม่ถูกใจก็ค่อยๆแก้ทีละมาตรา ทำไมต้อง ฉีกทิ้งทั้งฉบับ...
แล้วเขียนใหม่ด้วย...

พวก อำมาตย์ สลิ่ม และ คมช นี่ แย่จริงๆ ...

วิธีการฉีกก็ ไม่เป็นไปตามระบบ ... มาจากปื่น
วิธีการแก้ก็ ไม่เป็นไปตามระบบ ... มาจากปืน
วิธีการร่างก็ ไม่ได้มาจากประชาชน ... มาจาก อำมาตย์ คมช แต่งตั้ง

แต่ ทั้งหมดนั้น...

สลิ่ม อำมาตย์ และ ปชป รับได้หมด.... กิ๊วๆๆๆ

ว่าแล้ว กราบ รธน50 งามๆสามที แล้วประกาศว่า ใครจะแก้มันไม่ได้ เพราะ มันเป็น ของบริสุทธิ์เที่ยงแท้ ที่มาจาก
รัฐประหาร ดีที่สุดในสามโลก ใครคิดแก้ เราต้อง ปกป้องไว้ด้วยชีวิต เพราะ พวกนั้น ใช้เสียงประชาชนแก้
เราต้องรักษา ที่มั้น ที่สุดท้ายของ อำมาตย์ให้ได้...


เอ้าว่าจบแล้ว ... 1 2 3 กราบพร้อมกัน...

"คนโง่มักจะชอบว่าคนอื่นว่าโง่"

"ถ้าคนเราคิดเหมือนกันหมด ก็ไม่มีเลือกตั้งซิครับ"

"ผมไม่พูด เรื่อง 112 แล้ว นะครับ กรุณาอย่าถาม (17 พค 2012)"


#15 phoosana

phoosana

    เมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 7,687 posts

ตอบ 13 มีนาคม พ.ศ. 2555 - 14:08

อำมาตย์ ทหาร สงสัยเป็นคนต่างด้าว
รัฐธรรมนูญ 50 โหวตให้ผ่านโดยคนต่างด้าว


ฮ่าๆๆๆ เอ้าสาวกไข่แม้ว กราบ

Edited by phoosana, 13 มีนาคม พ.ศ. 2555 - 14:11.

We love fender.

#16 เงาไม้

เงาไม้

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 440 posts

ตอบ 13 มีนาคม พ.ศ. 2555 - 14:16

อำมาตย์ ทหาร สงสัยเป็นคนต่างด้าว
รัฐธรรมนูญ 50 โหวตให้ผ่านโดยคนต่างด้าว


ฮ่าๆๆๆ เอ้าสาวกไข่แม้ว กราบ

สำหรับไอ้ไข่แม้วขอถุยใส่ค่ะ และสาวกเลวๆของมันแถมขากใส่ให้ด้วย (ขอโทษด้วยค่ะ ที่ดูสกปรกเลอะเทอะไปหน่อย แต่เหมาะกับเห็บเหาพวกนั้นแล้วค่ะ)
ชลใสดูในน้ำ เงาดำนั้นเงาใด? ... เงากรรม หรือเงาใคร?....

#17 blue

blue

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,979 posts

ตอบ 13 มีนาคม พ.ศ. 2555 - 14:28

"เขาให้แก้ไขบางมาตราที่พบว่าใช้แล้วเป็นปัญหา ไม่ใช่ฉีกทั้งฉบับแล้ว
เขียนใหม่ตามใจทักษิณ"

...เขาระบุไว้มาตราไหน หาไม่เจอจริง ๆ

ก็ระบุไว้ในมาตรา 291 ที่พวกคุณต้องการแก้นั่นไง เขาอุตส่าห์เขียนไว้แล้ว
ว่าถ้าอยากจะแก้ไขรัฐธรรมนูญใจจะขาด จะต้องทำยังไง ดันผ่าจะไปแก้ของเขาอีก

"ต้องระบุชัด ๆ ไปเลยว่าแก้มาตราไหนต้องชัดเจน"

...ก็แก้มาตรา 291 ไงครับ ชัดเจน

ตอบแบบ ไม่ได้ทำผิดกฎหมาย แต่ทำในสิ่งที่กฎหมายห้าม นึกถึงนิทานเรื่อง
ศรีทนนชัย

#18 chanbaan

chanbaan

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 2,918 posts

ตอบ 13 มีนาคม พ.ศ. 2555 - 16:25


เขาให้แก้บางมาตราที่พบว่าใช้แล้วเป็นปัญหา

ไม่ใช้ฉีกทิ้งแล้วเขียนใหม่ตามใจทักษิณ


นั่นซิครับ ถ้าไม่ถูกใจก็ค่อยๆแก้ทีละมาตรา ทำไมต้อง ฉีกทิ้งทั้งฉบับ...
แล้วเขียนใหม่ด้วย...

พวก อำมาตย์ สลิ่ม และ คมช นี่ แย่จริงๆ ...

วิธีการฉีกก็ ไม่เป็นไปตามระบบ ... มาจากปื่น
วิธีการแก้ก็ ไม่เป็นไปตามระบบ ... มาจากปืน
วิธีการร่างก็ ไม่ได้มาจากประชาชน ... มาจาก อำมาตย์ คมช แต่งตั้ง

แต่ ทั้งหมดนั้น...

สลิ่ม อำมาตย์ และ ปชป รับได้หมด.... กิ๊วๆๆๆ

ว่าแล้ว กราบ รธน50 งามๆสามที แล้วประกาศว่า ใครจะแก้มันไม่ได้ เพราะ มันเป็น ของบริสุทธิ์เที่ยงแท้ ที่มาจาก
รัฐประหาร ดีที่สุดในสามโลก ใครคิดแก้ เราต้อง ปกป้องไว้ด้วยชีวิต เพราะ พวกนั้น ใช้เสียงประชาชนแก้
เราต้องรักษา ที่มั้น ที่สุดท้ายของ อำมาตย์ให้ได้...


เอ้าว่าจบแล้ว ... 1 2 3 กราบพร้อมกัน...

ไปดูรัฐธรรมนูญ 2540 ในเนื้อหาแห่งกฏหมายแล้ว ไม่มีข้อไหนที่เขาชี้ชัดว่าให้แก้ไขได้ ผิดกับรัฐธรรมนูญ 2550 แต่หากบอกว่าเขาฉีกรัฐธรรมนูญ 2540 ได้ โดยไม่มีข้อกฏหมายใดมาหักล้าง เช่น รัฐธรรมนูญ 2540 เป็นประชาธิปไตยเพราะนักการเมืองไม่ได้*** หรือเป็นประชาธิปไตยเพราะประชาชนลงประชามติรับ ซึ่งผิดกับรัฐธรรมนูญ 2550 ที่เขารับก็ได้ไม่รับก็เอา 2540 มาประกาศใช้ ดังนั้น เมื่อเสียงประชาชนได้ทำประชามติเห็นว่าสมควรแล้ว และไม่ใช่รับรัฐธรรมนูญฉบับประชามติ 2550 เพื่อล้มรัฐธรรมนูญดังกล่าวตามที่ นปช เข้าใจ ดังนั้นหยุดเสียทีกับการทำร้ายประเทศไทยที่คุณและทักษิณคิดว่าเป็นเจ้าของแต่เพียงกลุ่มเดียว
อุดมการณ์ไม่ใช่คลิก แต่ต้องคิด คิดไปเรื่อยเลยวุ่ยพุทธเจ้านำทาง ธรรมประคองใจ จิตใจวุ่นวาย ผิดพลาดพลั่งเผลอ มันเป็นสัจจะธรรมของคนที่ยังคน(เราเอง)"เกลียดปฏิวัติไทยคม ชื่นชมปฏิวัติสีขาว เกลียดนักการเมืองขี้ฉอ ชื่นชอบนักการเมืองยึดมั่นอุดมการณ์"