Jump to content


Photo
- - - - -

มาช่วยระดมความคิดมาตราการช่วยเหลือพื้นที่น้ำท่วมในเขตกรุงเทพฯ


This topic has been archived. This means that you cannot reply to this topic.
3 ความเห็นในกระทู้นี้

#1 aumstar

aumstar

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,707 posts

ตอบ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2554 - 15:37

กรุงเทพกำลังท่วมโดยที่มีคนอยู่ในพื้นที่นี้มากกว่าล้านคน เกรงว่ากรณีที่ท่วมทุกพื้นที่ความช่วยเหลือจะไม่ทั่วถึง อาจจะเกิดการจลาจลย่อยได้ มาช่วยระดมความคิดมาตราการช่วยเหลือพื้นที่น้ำท่วมในเขตกรุงเทพ

อย่างเช่น

ลดจำนวนประชากรในเขตนี้ เช่น รัฐบาลประกาศหยุดงานจนถึง 7 พ.ย. 54, ให้เร่งอพยพออกจากพื้นที่
เพิ่มจำนวนผู้ช่วยเหลือจากส่วนภูมิภาค เช่น หน่วยงานราชการ, อาสาสมัคร
จุดรับบริจาคความช่วยเหลือหลักนอกพื้นที่ กทม เช่น เชียงใหม่ ขอนแก่น ชลบุรี สงขลา
รัฐบาลจัดซื้อสินค้าเกี่ยวกับช่วยเหลือน้ำท่วม โดยผ่านจังหวัดต่างๆ ผู้ว่าแต่ละจัดหวัดเป็นผู้ดูแลจัดการ

#2 007

007

    น้องใหม่

  • Members
  • Pip
  • 41 posts

ตอบ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2554 - 16:38

ตัวอย่างที่ยกมาเห็นควรให้ดำเนินการ
ข้อ 1. ลดจำนวนประชากรในเขตนี้ เช่น
1.1 รัฐบาลประกาศหยุดงานจนถึง 7 พ.ย. 54, ให้เร่งอพยพออกจากพื้นที่ ทั้งนี้เพื่อลดอัตราการเกิดจราจล
1.2 โน้มน้าวให้ ปชช ออกจากพื้นที่ โดยให้ทางเลือก เช่นการพักผ่อน ต่างจังหวัดราคาถูก จัดตั้งโครงการให้หน่วยงานเอกชน สถานที่ท่องเที่ยว โรงแรม ร้านอาหาร เข้าร่วมโครงการ อย่างกว้างขวาง ซึ่งสามารถตั้งชื่อให้น่าฟังได้ งานนี้ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยน่าจะทำได้ดี อาจตั้งบูธ ททท. ซะเลย รวมกันที่ใดที่หนึ่ง ตัดสินใจไป จังหวัดไหนมีรถออกเลย มีที่พัก ราคาเหมาะสม สู้ได้ สู้ไหว
1.3 เสนอแนวคิดข้อดี-ข้อเสียของการอยู่ และ ไม่อยู่ใน กทม. โดยทำ 1.1 & 1.2 ควบคู่กันไป
สาเหตุหลักที่ ปชช ไม่ออกจาก พื้นที่
  • ติดงาน แก้โดยข้อ 1.1
  • ห่วงบ้าน ห่วงทรัพย์สิน แก้ไขโดยให้ความชื่อมั่นกับ ปชช. ว่า กทม. จะทำหน้าที่ดูแลรักษาให้ดีที่สุด และใช้ข้อคิดทางศาสนาเข้าช่วย
  • ไม่รู้จะไปไหน ข้อ 1.3 ช่วยได้เฉพาะคนที่สามารถดูแลตัวเองได้ (ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของ กทม.) ส่วนคนที่ดูแลตัวเองไม่ได้ ต้องพยายามนำเสนอศูนย์อพยพให้มันไม่ใช่ศูนย์สำหรับผู้อนาถา ไม่มีใครอยากเป็น
  • ไม่แน่ใจว่าน้ำมันจะท่วมหรือไม่ท่วม รีบให้ข้อมูลที่จำเป็นและเร่งด่วน
ข้อ 2. เพิ่มจำนวนผู้ช่วยเหลือจากส่วนภูมิภาค เช่น หน่วยงานราชการ, อาสาสมัคร ข้อนี้ถ้าเป็นได้ควรเหลือเฉพาะอาสาสมัครที่ลงพื้นที่ได้จริงๆ ควรมีการลงทะเบียนอาสาฯให้ถูกต้อง และเป็นระเบียบ เพื่อป้องกันความซ้ำซ้อน และการแอบอ้าง
ข้อ 3. จุดรับบริจาคความช่วยเหลือหลักนอกพื้นที่ กทม เช่น เชียงใหม่ ขอนแก่น ชลบุรี สงขลา มีการดำเนินการอยู่บ้างแล้ว เช่น จ.ระยอง เป็นต้น
ข้อ 4. รัฐบาลจัดซื้อสินค้าเกี่ยวกับช่วยเหลือน้ำท่วม โดยผ่านจังหวัดต่างๆ ผู้ว่าแต่ละจัดหวัดเป็นผู้ดูแลจัดการ รัฐบาลยังไม่ทำอีกเหรอ ? จริงๆแล้วเอาที่มีอยู่มาใช้ให้เต็มประสิทธิภาพมากขึ้น
ข้ออื่นๆ เพิ่มเติม
1. จัดตั้งแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ และบอกข้อมูลที่เป็นจริงกับประชาชน โดยอาจนำเสนอในกรณีที่เลวร้ายที่สุด อย่าให้ซ้ำรอย ศปภ. (นิสัยคนไทย ข้อมูลจากรัฐมีน้ำหนักน้อยกว่าหรืออาจเท่ากันกับข้อมูลที่ได้จาก ปากต่อปาก ต้องหาวิธี่เหมาะสมด้วย)
2. บอก ปชช. ถึงแนวทางการแก้ไข และระยะเวลาที่แน่นอนในการแก้ปัญหาของ กทม. อย่าให้ ปชช. อยู่บนความไม่รู้หรือไม่มีข้อมูล
3. รวบรวมผลการปฏิบัติงานที่ล้มเหลวของ ศปภ. มาศึกษาและวิเคราะห์ จากนั้นทำการแก้ไข (ต้องเปรียบเทียบระหว่างรวบรวมความล้มเหลว ของ ศปภ. กับคิดระบบขึ้นมาใหม่)
4. ให้หน่วยงานที่เชื่อถือได้เป็นหน่วยงานหลัก เพราะตอนนี้ ปชช. มีความสับสนว่าจะฟังใครดี ระหว่างรัฐบาล (ศปภ) กับ กทม. กับ เอกชน (สื่อต่าง) ซึ่งจากอดีตที่ผ่านๆมา หน่วยงาน ปชช. ยังเชื่อถืออยู่คือ ทหาร สื่อบางสื่อ มูลนิธิชัยพัฒนา หรือ สภากาชาด เพื่อดึงความเชื่อมั่นของ ปชช. และต้องทำอย่างโปร่งใสด้วย

แหะ แหะ คิดได้แค่นี้อ่ะ เอาไว้คิดได้มากกว่านี้จะมา post ใหม่ (ขอโทษด้วย ไม่สามารถย่อได้เหลือ 3 บรรทัด

#3 aumstar

aumstar

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,707 posts

ตอบ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2554 - 16:55

ประชากรใน กทม มีหลายล้านคน บริหารจัดการไม่ทั่วถึงมันจะเกิดจลาจลง่ายๆ

#4 007

007

    น้องใหม่

  • Members
  • Pip
  • 41 posts

ตอบ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2554 - 20:08

จากสาเหตุหลักที่ ปชช ไม่ออกจากพื้นที่คือ 1) ติดงาน 2) ห่วงบ้าน ห่วงทรัพย์สิน 3) ไม่รู้จะไปไหน 4) ไม่แน่ใจว่าน้ำมันจะท่วมหรือไม่ท่วม 5) คิดว่าท่วมแน่แต่เอาอยู่ (อันนี้เพิ่มเติมขึ้นมา)
กลุ่มที่อาจก่อให้เกิดการจลาจล คือกลุ่มที่ห่วงบ้าน ห่วงทรัพทย์สิน และ กลุ่มที่คิดว่าท่วมแน่ๆแต่เอาอยู่ แต่ลึกๆแล้วคือกลุ่มแรกนั่นแหละ เพราะฉะนั้นการแก้ปัญหาคือทำอย่างไรให้คนเหล่านั้นห่วงบ้านและทรัพย์สินน้อยลง (มันเป็น ideal ไปมั๊ยเนี่ย) ให้ความเชื่อมั่น เพราะ ปชช. ไม่ได้ต่อสู้กับน้ำท่วมอย่างเดียว ยังมีขโมยด้วย และความไม่แน่นอนอื่นๆอีก

ถ้าการจลาจล เกิดจากความขัดแย้งที่นำไปสู่ความรุนแรง การจัดการกับการเกิดจราจลก็มีอย่างน้อย 3 ระดับ

1. ป้องกันการขัดแย้งโดยให้ข้อมูลที่ถูกต้อง เรียกร้องการใช้เหตุผล เรียกร้องการเสียสละ
2. เมื่อไม่สามารถป้องกันการขัดแย้งได้ ก็ป้องกันไม่ให้เกิดความรุนแรง ต้องมีหน่วยงานกลางเข้าไปเกี่ยวข้อง หน่วยงานนี้ต้องมีอำนาจในการเจรจาต่อรอง (ทหาร ตำรวจ ผู้นำท้องถิ่น บุคลอื่นที่น่าเชื่อถือ)
3. เมื่อเกิดความรุนแรงต้องมีวิธีที่จะไม่ให้เกิดความเสียหาย การประกาศ พรก ฉุกเฉินเฉพาะพื้นที่ น่าจะเป็นหนทางสุดท้ายที่ถ้าจำเป็นก็ต้องทำ

การจลาจล เกิดจากสาเหตุใดได้บ้าง ? ลองคิดแล้วหาทางป้องกัน