Jump to content


Pok

เป็นสมาชิกตั้งแต่ 5 กุมภาพันธ์ 2555
ออฟไลน์ เข้าใช้งานครั้งล่าสุด: 27 มีนาคม 2557 23:13
-----

#682213 เส้นทางชีวิต "วีรชัย พลาศรัย" คนดีศรีสยาม

โดย juemmy on 19 เมษายน พ.ศ. 2556 - 14:13

เจาะเส้นทางชีวิต"วีรชัย พลาศรัย" ทรัพยากรบุคคลที่มีค่าของ"สยาม"

48833.jpg

 

ต้องจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ชาติไทย สำหรับชื่อของ  “ดร.วีรชัย พลาศรัย” เอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์  ในฐานะหัวหน้าคณะฝ่ายไทย ที่นำทีมทนายมือหนึ่ง เข้าชี้แจงต่อศาลโลก ณ กรุงเฮก ในคดีปราสาทพระวิหารตามที่ฝ่ายกัมพูชายื่นคำร้อง

งานนี้  ทูตวีรชัย และทีมงาน ได้รับเสียงชื่นชมอย่างล้นหลาม ถึงความชาญฉลาดในการวางแผน และแก้ต่างข้อกล่าวหาฝ่ายกัมพูชา

ในวันนี้  “สกู๊ปแนวหน้า” จึงขอนำประวัติชีวิต และเส้นทางการต่อสู้เกี่ยวกับเรื่อง ดินแดนปราสาทพระวิหารของ ทูตวีรชัย มาให้ทุกท่านได้ทราบกัน

ข้าราชการ “ครุฑทองคำ”

ดร.วีรชัย พลาศรัย  เกิดเมื่อวันที่ 9 มิ.ย. 2503  จบการศึกษาระดับปริญญาตรี และปริญญาโท มหาวิทยาลัยปารีส (นองแตร์) ปริญญาเอกจากซอร์บอนน์ ฝรั่งเศส เข้ารับราชการที่กระทรวงการต่างประเทศในตำแหน่งเลขานุการตรี กองแอฟริกา และกลุ่มอาหรับ   ต่อมาดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมการเศรษฐกิจระหว่างประเทศ  ,อธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย  ปัจจุบันได้รับโปรดเกล้าให้ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูต ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์

นอกจากนี้เขายังเคย ได้รับรางวัล  “ครุฑทองคำ” ประจำปี 2553-2554  ซึ่งเป็นรางวัล สำหรับข้าราชการพลเรือน ที่มอบให้เพื่อเป็นการประกาศเกียรติคุณกับข้าราชการที่ปฏิบัติงานด้วยความ รู้ความสามารถ ซื่อสัตย์สุจริต และมีคุณธรรม

ค้านแผนที่เขตแดนกัมพูชา

สำหรับเส้นทางการต่อสู้เรื่องดินแดนเขาพระวิหาร ระหว่างไทยกับกัมพูชา   ในปี 2551 ชื่อของ ดร.วีรชัย  เริ่มเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย ในฐานะ อธิบดีกรมสนธิสัญญาระหว่างประเทศ

โดยเมื่อวันที่ 10 เม.ย. 2551 ดร.วีรชัย ได้เชิญนายโลรองต์ บิลี  เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐฝรั่งเศสประจำประเทศไทย และนายอึง เซียน เอกอัครราชทูตราชอาณาจักรกัมพูชาประจำประเทศไทย มาพบเพื่อแจ้ง ท่าทีของไทยเกี่ยวกับแผนที่โบราณคดีจังหวัดอุดรเมียนเจย และแผนที่โบราณคดีจังหวัดพระวิหาร  โดยอาศัยข้อมูลจากกรมภูมิศาสตร์กัมพูชา ซึ่งไทยเห็นว่าแผนที่ทั้งสองฉบับแสดงข้อมูลเกี่ยวกับเส้นเขตแดนคลาดเคลื่อน

ครั้งนั้น ดร.วีรชัย  ได้ขอให้กัมพูชาถอนกำลังทหาร และตำรวจของกัมพูชาออกไป จากดินแดนปราสาทพระวิหาร  ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่ที่ไทย  กับกัมพูชา อ้างสิทธิทับซ้อนกันอยู่

เด้ง"วีรชัย"เซ่นคดี “ซีทีเอ็กซ์”

วันที่ 6 พ.ค.2551ครม.สมัคร สุนทรเวช มีมติ โยกย้าย ดร.วีรชัย จากอธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย ไปเป็น เอกอัครราชทูตประจำกระทรวง การโยกย้ายดังกล่าวได้รับการวิพากษ์วิจารณ์อย่างมากในหมู่ข้าราชการกระทรวง การต่างประเทศ  เพราะ ดร.วีรชัย  เป็นผู้ที่ได้รับการยอมรับว่าเชี่ยวชาญงานกฎหมายระหว่างประเทศมากที่สุดคน หนึ่ง  และมีหลายฝ่ายวิเคราะห์ว่า  สาเหตุที่แท้จริงของคำสั่งโยกย้ายครั้งนี้คือ  ฝ่ายการเมืองมีการประสานด้วยวาจา เพื่อขอเอกสารคดีทุจริตการจัดซื้อเครื่องตรวจวัตถุระเบิดซีทีเอ็กซ์ 9000 ที่กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย ช่วยแปลให้ คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำ ที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ซึ่งนายวีรชัย ไม่ส่งมอบให้ เพราะเห็นว่าต้องมีเอกสารแจ้งขอเป็นลายลักษณ์อักษร  จึงสร้างความไม่พอใจให้กับฝ่ายการเมือง จนนำมาสู่การโยกย้ายดังกล่าว

ขณะที่ นายวีระศักดิ์ ฟูตระกูล ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ในขณะนั้น  ได้เขียนจดหมายเปิดผนึกด้วยลาย เมื่อวันที่ 7 พ.ค.2551 ระบุตอนหนึ่งว่า

"...มีความภูมิใจที่ราชอาณาจักรไทยมีนักการทูตที่เก่งกาจ ท่านอธิบดีวีรชัย ซึ่งทำหน้าที่อย่างดีเลิศในการปกป้องผืนแผ่นดินไทยและผลประโยชน์ของ ชาติ...ขอให้ข้าราชการทุกท่านของกรมสนธิสัญญาฯยึดถือท่านอธิบดีวีรชัยเป็น บุคคลตัวอย่าง ที่ได้ปฏิบัติหน้าที่รับใช้ชาติอย่างสุดความสามารถ  และรักษาเกียรติยศของชาติ ของกระทรวงการต่างประเทศ และของตนอย่างสมศักดิ์ศรี ของข้าราชการของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว"

ปกป้องประโยชน์ชาติโดนเด้ง!

ปมความขัดแย้งของดร.วีรชัย และฝ่ายการเมือง สอดคล้องกับ คำบรรยายฟ้องของ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ( ป.ป.ช.)  ที่เป็นโจทก์ ยื่นฟ้อง นายนพดล ปัทมะ อดีต รมว.ต่างประเทศ เมื่อวันที่ 19 มี.ค. 2556  เป็นจำเลย ในความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ใดผู้หนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157   กรณีที่นายนพดล  ขณะเป็น รมว.ต่างประเทศ ได้ลงนามในแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา  ฉบับลงวันที่ 18 มิ.ย.2551 ที่สนับสนุนให้ประเทศกัมพูชา ขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก โดยไม่ผ่านการพิจารณาของรัฐสภาไทย

คำบรรยายฟ้อง ของ ปปช. ระบุตอนหนึ่งว่า “ หลังจากนายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรีแล้ว วันที่ 3 – 4  มี.ค.2551 นายสมัครไปพบผู้นำกัมพูชา เรื่องขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก และนายนพดล รมว.ต่างประเทศ ขณะนั้น ไปหารือกับนายสก อาน รองนายกฯ และรมต.ประจำสำนักนายกฯกัมพูชา ที่ทางกัมพูชาขอให้ไทย สนับสนุนการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหาร

จากนั้น นายนพดล ได้นำแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา ให้ข้าราชการกระทรวงต่างประเทศพิจารณา แต่นายวีรชัย พลาศรัย อธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ (ขณะนั้น)  มีบันทึกช่วยจำคัดค้านเรื่องดังกล่าว แต่นายนพดล ไม่เห็นด้วย จึงเสนอ ครม. ให้นายวีรชัย พลาศรัย พ้นจากตำแหน่ง ทั้งที่นายวีระศักดิ์ ฟูตระกูล ปลัดกระทรวงต่างประเทศ  ทักท้วงว่านายวีรชัย  เป็นทรัพยากรบุคคลที่สำคัญ ไม่ควรโยกย้าย แต่นายนพดล ยังยืนยันว่า  ไม่สามารถร่วมงานกับอธิบดีฯ ที่มีความคิดเช่นนี้ได้”

คืนเก้าอี้เจ้ากรมสนธิสัญญา ฯ

ช่วงเดือน ก.ค. 2551  ภายหลังเกิดการเผชิญหน้ากันระหว่างทหารไทย-กัมพูชา   ดร.วีรชัย ก็มีโอกาสเข้าร่วมคณะเจรจา ปัญหาพื้นที่ทับซ้อนบริเวณปราสาทพระวิหาร อยู่หลายครั้ง จนนำไปสู่การลดกำลังทหาร  และ จัดประชุมคณะกรรมการเขตแดนร่วม(เจบีซี) ต่อไป

ด้วยผลงานเป็นที่ประจักษ์ ต่อมาวันที่ 5 ส.ค. 2551 ช่วงปลายสมัย ครม.สมัคร สุนทรเวช จึงมีการย้าย ดร.วีรชัย  จากเอกอัครราชทูตประจำกระทรวง กลับมาเป็นอธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย เช่นเดิม  ครั้งนั้น นายเตช บุนนาค  รมว.ต่างประเทศ ในขณะนั้น ให้สัมภาษณ์สั้นๆ ว่า  “ได้ให้กลับไปอยู่สถานะเดิมก่อนการโยกย้าย เพราะจะช่วยให้การทำงานดีขึ้น”

ย้ายไป “กรุงเฮก” วางแผนสู้คดี

หลังหวนคืนสู่ตำแหน่งเดิม ตลอดช่วงปลายปี 2551   ดร.วีรชัย ได้เดินหน้าเจรจาและเข้าร่วมประชุม เพื่อลดความตึงเครียดแนวชายแดนไทย-กัมพูชาหลายครั้ง โดยในระหว่างนี้มีเหตุปะทะกันระหว่างทหารไทย และกัมพูชา

17 มี.ค.2552  ครม.อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ  มีมติย้าย ดร.วีรชัย จากอธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย ไปเป็น เอกอัครราชทูตไทย ประจำเนเธอร์แลนด์  โดยหลายฝ่ายมองว่า ดร. วีรชัย เป็นผู้มีความเชี่ยวชาญด้านกฎหมาย  รัฐบาลจึงให้ไปเตรียมการ ในการต่อสู้ข้อพิพาทเขาพระวิหาร เนื่องจากประเทศเนเธอร์แลนด์นั้น เป็นที่ตั้งของศาลโลก

ภายหลังจากย้ายมาดำรงตำแหน่ง เอกอัครราชทูตไทย ประจำเนเธอร์แลนด์  ดร.วีรชัย  ได้ใช้เวลาร่วมกับทีมงาน วางแผน และต่อสู้คดีปราสาทพระวิหารอย่างเต็มที่

ไม่ว่าผลการพิจารณาของศาลโลกจะออกมาเป็นเช่นไร อย่างน้อยคนไทยทั้งประเทศ ก็ได้ประจักษ์ถึงความพยายามอย่างเต็มที่ของ ทีมทนายไทย  ดังคำพูดของ   ดร.วีรชัย ที่กล่าวว่า...

“ผมไม่เคยพูดว่าเราชนะแน่ ปกติผมจะตอบสามคำ สู้เต็มที่ !!!

ที่มา:http://www.naewna.com/scoop/48833




#677947 !!!! คุณคิดว่าม๊ากยังคิดว่าตัวเองเป็นคนไทยไหมครับ !!...

โดย Bookmarks on 14 เมษายน พ.ศ. 2556 - 23:56

มาร์ค มีความเป็นคนไทย และรักชาติ มากกว่าควายแดงทุกตัวในประเทศเลยแหละว่ะ 




#674235 เกิดเหตุ คนร้ายลงมือป่วน 10 จุด ใน 5 อำเภอ จ.ปัตตานี

โดย เช never die on 11 เมษายน พ.ศ. 2556 - 06:54

เบื่อพวกสลิ่มแมงวาปจับผิดหยุมหยิมว่ะ ผลการศึกษาของสำนักงานขี้ข้าไอ้แม้วเค้าก็ออกมาโครมๆว่าการยุบ ศอบต. ไม่ส่งผลกระทบอะไร ก็เชื่อกันมั่งเด้....  :lol: :lol: :lol:

 

 

ขนาดพวกควายแดงเค้ายังเชื่อกันเลย....

 

 

การยุบเลิก ศอ.บต. : ผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงการบริหารราชการ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (2547)
วัตถุประสงค์ในการศึกษา
​1.​เพื่อศึกษาผลกระทบทางด้านการพัฒนาและกรแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจหลังจากการยุบเลิกศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.)
​2.​เพื่อศึกษาผลการพัฒนาและการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจหลังจากการนำการบริหารการพัฒนาแบบบูรณษการ (CEO) มาใช้ใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้
​3.​เพื่อเสนอแนะรูปแบบการบริหารราชการที่เหมาะสมใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้
ผลการศึกษาและข้อค้นพบ
​1.​ผลการศึกษาโดยรวม พบว่า การยุบเลิก ศอ.บต. ไม่มีผลต่อการแก้ไขปัญหาและการพัฒนาเศรษฐกิจโดยรวมในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และ พบว่า พื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพในการพัฒนาเศรษฐกิจสูง หากรัฐบาลมีกลไกการบริหารจัดการที่ดีจะสามารถนำศักยภาพดังกล่าวมาพัฒนา จังหวัดและพัฒนาประเทศโดยรวมได้เป็นอย่างมาก แต่ในการพัฒนาระดับอนุภูมิภาค หรือการพัฒนากลุ่มจังหวัดทุกฝ่ายเห็นว่าเมื่อมีการยุบเลิก ศอ.บต. แล้วรัฐจำเป็นต้องมอบหมายให้หน่วยงาน หรือองค์กรใดองค์กรหนึ่งรับผิดชอบดูแลการพัฒนาเศรษฐกิจในระดับนี้แทนบทบาท ที่ ศอ.บต. เคยทำด้วย แม้ในปัจจุบันสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสมือนจะ เป็นองค์กรที่รับผิดชอบโดยตรง แต่บทบาทในการพัฒนายังไม่มีความชัดเจน และยังไม่สามารถทำหน้าที่แทน ศอ.บต. ได้ หากยังคงเป็นเช่นนี้ประเทศไทยจะขาดโอกาสในการพัฒนาสามเหลี่ยมเศรษฐกิจ​
​2.​การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการพัฒนา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ผ่านมาแม้จะเปิดโอกาสให้คนในพื้นที่มีส่วนร่วมในการ พัฒนาก็ตาม แต่การมีส่วนร่วมดังกล่าวถูกจำกัดในกลุ่มของผู้นำศาสนาเท่านั้น รัฐจำเป็นต้องเปิดโอกาสให้กับผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มอื่น ๆ และประชาชนทั่วไปในพื้นที่มีส่วนร่วมด้วย มิฉะนั้นรัฐจะขาดโอกาสที่จะได้รับทราบข้อมูลและข้อเท็จจริงที่สำคัญในการ พัฒนา
​3.​การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นหลังจากการยุบเลิก ศอ.บต. แม้การศึกษาโดยรวมจะไม่พบว่าการยุบเลิก ศอ.บต. จะมีผลก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ก็ตาม แต่เมื่อศึกษารายละเอียดในแต่ละเรื่องพบว่าการบุบเลิก ศอ.บต. มีผลต่กความคิดเห็นบางอย่างของแต่ละกลุ่มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ขึ้นไป
​4.​ผลกระทบที่เกิดขึ้นหลังจากการยุบเลิก ศอ.บต. หลังจากการยุบเลิก ศอ.บต. แล้วผู้ที่เห็นว่าการยุบเลิก ศอ.บต. มีผลกระทบต่อพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิตที่ .05 ขึ้นไป คือ
​4.1​ผลกระทบต่อเรื่องการบริหารราชการในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้
​ประชากรที่ศึกษาส่วนใหญ่เห็นว่าไม่มีผลกระทบโดยรวมที่เกิดขึ้น แต่เมื่อศึกษาเฉพาะด้านเศรษฐกิจพบว่ากลุ่มผู้นำศาสนาเห็นว่าได้รับผลกระทบ มากที่สุด รองลงมาได้แก่ กลุ่มข้าราชการซึ่งใกล้เคียงกับกลุ่มของภาคเอกชน
​4.2​ผลกระทบต่อการดำเนินงานพัฒนาและแก้ไขปัญหาในระบบปกติ
​พบว่าหน่วยงานภาครัฐส่วนใหญ่เห็นว่าเมื่อยุบเลิก ศอ.บต. แล้วไม่กระทบต่อการพัฒนาเศรษฐกิจโดยรวมของจังหวัด และ ภาครัฐและภาคเอกชนทั้งหมดต่างเห็นว่าการดำเนินงานตามระบบปกติของหน่วยงานภาค รัฐจะได้รับผลกระทบอยู่บ้างในกรณีที่เป็นแผนงานหรือโครงการขนาดใหญ่ หรือเป็นแผนงานหรือโครงการที่มีความสำคัญและจำเป็นต้องได้รับการผลักดันเป็น กรณีพิเศษเท่านั้น
​4.3​ผลกระทบต่อการพัฒนาสามเหลี่ยมเศรษฐกิจ
​ภาครัฐและภาคเอกชนมีความเห็นค่อนข้างแตกต่างกัน คือ “หน่วยงานภาครัฐที่ภารกิจไม่เกี่ยวข้องโดยตรง” จะเห็นว่าเมื่อยุบเลิก ศอ.บต. จะไม่มีผลกระทบต่อการดำเนินงาน ในขณะที่ “หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง” จะเห็นว่าการดำเนินงานในเรื่องนี้จะขาดความต่อเนื่อง และเห็นว่าควรจะมีหน่วยงานหรือองค์กรกลางมาทำหน้าที่เสริมหรือรับผิดชอบใน เรื่องนี้แทน ศอ.บต. ส่วน “ภาคเอกชน” เห็นว่าในอดีต ศอ.บต. เป็นองค์กรที่ทำหน้าที่เป็นเสมือนพี่เลี้ยงในการทำงาน และประสานงานกับจังหวัดทั้งภาครัฐและเอกชน ตลอดจนประสานงานระหว่างจังหวัดและส่วนกลาง ดังนั้น เมื่อมีการยุบเลิก ศอ.บต. ภาคเอกชนจึงต้องดำเนินงานเรื่องนี้โดยลำพัง และในปัจจุบันยังไม่มีหน่วยงานหรือองค์กรใดที่มารับผิดชอบเรื่องนี้แทนได้ อย่างชัดเจน และภาคเอกชนเกือบทั้งหมดที่ศึกษาเห็นว่า หากยังคงเป็นเช่นนี้ ไทยจะเสียเปรียบประเทศเพื่อนบ้านได้
​5.​เมื่อมีการบริหารราชการจังหวัดแบบบูรณาการ
​พบว่าทั้งภาครัฐและภาคเอกชนส่วนใหญ่มีความเห็นว่าการบริหารจัดการของผู้ว่า ราช –การจังหวัดแบบบูรณาการเพื่อการพัฒนาเป็นแนวคิดที่สามารถนำมาพัฒนาและแก้ไข ปัญหาเศรษฐกิจของจังหวัดได้เป็นอย่างดี
ข้อเสนอแนะ
​การพัฒนาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลนั้น ภาครัฐจำเป็นต้องน้อมนำกระแสพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว คือ “เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา” มาใช้ในการปฏิบัติราชการ และนำแนวคิดขององคมนตรี (นายพลากร สุวรรณรัฐ) คือ ทำงานโดยยึดหลักการแสวงจุดร่วม สงวนจุดต่าง สร้างความรู้สึกผูกพันเป็นพวกเดียวกัน สร้างความศรัทธาเชื่อมั่นในกลไกของรัฐ การเร่งรัดพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม การศึกษา และคุณภาพชีวิต เร่งแก้ไขปัญหาสังคมที่เป็นเงื่อนไข แก้ไขปัญหาความสงบเรียบร้อยโดยใช้มาตรการการเมืองนำการทหาร การเปลี่ยนมุมมองและภาพลักษณ์ของจังหวัดจากลบให้เป็นบวก รวมถึงการสร้างความเข้าใจกับประเทศเพื่อนบ้านให้ถูกต้องมาใช้ในการทำงาน
​สำหรับข้อเสนอเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้เพิ่มเติม คือ
​1.​การประชาสัมพันธ์ ภาครัฐจำเป็นต้องประชาสัมพันธ์การทำงานให้กับประชาชนและผุ้มีส่วนได้เสียทุก ฝ่ายทราบ เพื่อสร้างความเข้าใจ แสวงหาแนวทางการพัฒนาและสร้างกลไกการทำงานร่วมกัน อันจะส่งผลให้เกิดภาพลักษณ์ที่ดีต่อกัน และปรับเปลี่ยนทัศนคติรวมถึงพฤติกรรมของคนในพื้นที่ได้
​2.​รูปแบบการพัฒนา
​​2.1​การพัฒนาจังหวัด การบริหารจัดการแบบบูรณาการเป็นรูปแบบที่สามารถนำมาใช้ในการพัมนาจังหวัดชาย แดนภาคใต้ได้เช่นเดียวกับจังหวัดอื่น ๆ แต่ภาครัฐจะต้องปรับวิธีการและรูปแบบให้เหมาะสมสอดคล้องกับสภาพพื้นที่ สภาพข้อเท็จจริง และปัญหาของพื้นที่ซึ่งอาจจะต้องใช้เวลา งบประมาณ และบุคลากรเป็นพิเศษ มากกว่าในจังหวัดอื่น
​2.2​การพัฒนากลุ่มจังหวัด เนื่องจากการพัฒนาจังหวัดแบบบูรณาการ ผู้ว่าราชการจังหวัดมีขอบเขตการบริหารงานจำกัดเฉพาะในพื้นที่จังหวัดเท่า นั้น การบริหารจัดการกลุ่มจังหวัดจึงควรมีองค์กรหรือหน่วยงานกลางทำหน้าที่เชื่อม ประสานระหว่างจังหวัดชายแดนภาคใต้ และส่วนกลางเพื่อให้เกิดกลไกการพัฒนาในรูปของกลุ่มจังหวัดให้มีการนำศักยภาพ ที่มีอยู่ในแต่ละจังหวัดที่เอื้อต่อกันมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยองค์กรหรือหน่วยงานดังกล่าวอาจจะขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี หรือ รองนายกรัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมาย
​สำหรับการแบ่งกลุ่มจังหวัดเพื่อการพัฒนานั้น หลักการแบ่งกลุ่มนอกจากต้องพิจารณาจากที่ตั้งทางกายภาพของจังหวัดแล้ว ควรพิจารณาถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้องและเอื้อต่อการพัฒนาร่วมกันด้วย การรวมกลุ่มจังหวัดที่ไม่มีลักษณะร่วม หรือสอดรับกันน่าจะไม่ก่อให้เกิดผลต่อการพัฒนามากนัก
​2.3​การพัฒนาสามเหลี่ยมเศรษฐกิจ รัฐจำเป็นต้องสร้างฐานการพัฒนาที่อาจจะต้องครอบคลุมพื้นที่จังหวัดชายแดนภาค ใต้ทั้งหมดและจังหวัดใกล้เคียงอื้น ๆ ให้มีความเข้มแข็งเพื่อจะเป็นกำลังในการแข่งขันหรือพัฒนาเศรษฐกิจร่วมกับ ประเทศเพื่อนบ้านในสามเหลี่ยมเศรษฐกิจ หรือในระดับโลก โดยการบริหารจัดการควรจะมอบหมายให้หน่วยงานหรือองค์กรใดองค์กรหนึ่งรับผิด ชอบโดยตรง ขึ้นตรงกับนายกรัฐมนตรี หรือรองนายกรัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมาย
​​2.4​บุคลากรของรัฐ รัฐบาลต้องมีความเข้มใจ จริงใจ จริงจังในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาของพื้นที่ รัฐจำเป็นต้องจัดสรรบุคลากรที่มีคุณสมบัติพิเศษแตกต่างจากจังหวัดอื่น ๆ ไปปฏิบัติในพื้นที่ อาทิ ควรจะเป็นบุคคลในพื้นที่ หรือเป็นบุคคลที่เข้าใจสภาพพื้นที่ สภาพข้อเท็จจริง และสภาพปัญหาต่าง ๆ เป็นอย่างดี มีความรู้ความเข้าใจขนบธรรมเนียมวัฒนธรรมของคนในพื้นที่ทุกฝ่าย มีทักษะในการทำงาน รู้จักการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า สามารถประสานประโยชน์ในการทำงาน และใช้หลักการปฏิบัติราชการแบบธรรมาภิบาล เป็นที่ยอมรับทั้งในหมู่ราชการ ภาคเอกชน และประชาชนในพื้นที่ และอาจจะต้องรวมไปถึงความสามารถทางภาษายาวี หรือ ภาษาอังกฤษอีกด้วย
ผู้ศึกษาวิจัย
​1. นางสาวสุดา กาเดอร์ ​เจ้าหน้าที่วิเคราะห์งานบุคคล 8 ว สำนักงานคณะ -
​กรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น
​สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย
​2. นายนเร เหล่าวิชยา​เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน 8 ว
​สถาบันดำรงราชานุภาพ สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย
​3. นางสาวดวงพร บุญครบ​เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน 8 ว
​สถาบันดำรงราชานุภาพ สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย
​4. นายประสิทธิ์ การกลาง​เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน 8 ว
​สถาบันดำรงราชานุภาพ สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย
​5. นางสาวกฤษณี มหาวิรุฬห์​เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน 8 ว
​สถาบันดำรงราชานุภาพ สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย
​6. นางสาวสุพัตรา แก้วมุกดา​เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน 6 ว
​สถาบันดำรงราชานุภาพ สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย
ผู้วิเคราะห์ ประมวลผล แปรผลข้อมูล และเขียนรายงานการวิจัย
​นางสาวกฤษณี มหาวิรุฬห์​เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน 8 ว




#659638 ปชป.จะนั่งรถไฟความเร็วต่ำไปอีกกี่ปี?

โดย idecon on 29 มีนาคม พ.ศ. 2556 - 00:19

สำหรับ ปชป
สิ่งที่น่าตำหนิของ คือความล่าช้า
สิ่งที่น่าพอใจ คือความรอบคอบ
สิ่งที่น่าชื่นชม คือผลงานที่ปรากฎ

สำหรับHERE
ตั้งแต่ได้ยินชื่อและรู้จักมันมา ยังไม่เคยเห็นสักวันที่มันทำความดีต่อแผ่นดิน
ประเทศชาติจะย่อยยับเพราะมัน พวกพ้อง และฝูงควาย
นรกส่งพวกมันมาเกิดจริงๆ


#635073 สันดาน“แมลงสาบ” ซ้ำเติม “วีรสตรีราตรี” แทน “กราบเท้า” ขอขมา

โดย IFai on 10 มีนาคม พ.ศ. 2556 - 08:05

     ใจจริง ผมสงสารคุณวีระ คุณราตรี นะครับ

      แต่คนที่เกี่ยวข้อง

      1.ตัวคุณวีระ คุณราตรี

       2.รบ. ปชป.

       3.แป๊ะ ตกสวรรค์

       4.รบ.นส.ปู

       5.Tuki ซึ่งผูกเสี่ยว กับขอม มีอำราชราชศักดิ์ ระดับมหาอำมาตย์

 

      ทำไมคนที่ตั้งกท.ในเวบบ์นี้ จึงด่า ปชป. คนเดียวตลอด อีก3-4กลุ่ม ทำดีเลิศประเสริฐศรี

      ยิ่งสงสาร คุณราตรี ...ที่ถูกกระทำเหมือนถูกพวกเอาศพมาหากิน

 

       โอ๊ย แสบดาก


  • Pok likes this