ที่ดินที่นำมาปฏิรูปนั้น หลักๆมาจาก 3 แหล่งคือ
1. ที่ดินของรัฐ เช่นที่ป่าเสื่อมโทรม , ที่สาธารณประโยชน์ที่หมดสภาพแล้ว ฯลฯ
2. ที่ดินเอกชน โดยการจัดซื้อที่ดินที่มีเอกสารสิทธิ แล้วนำมาจัดสรรให้เกษตรกรเข้าทำประโยชน์
3. ที่ดินพระราชทาน โดยพระราชทานให้ ส.ป.ก. นำไปปฏิรูปจัดสรรให้เกษตรกรเข้าทำประโยชน์
ประเด็นที่ภูเก็ต เป็นกรณีที่ดินของรัฐ คือเป็นสภาพป่าเสื่อมโทรมที่มีประชาชนเข้าไปทำประโยชน์แล้ว(กรมป่าไม้ส่งมอบให้ส.ป.ก.) เมื่อที่ดินดังกล่าวถูกประกาศ พ.ร.ฎ.ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน ส.ป.ก. ก็เข้าไปดำเนินการปฏิรูปที่ดิน
วิธีการปฏิบัติจะแตกต่างจากที่ดินในข้อที่ 2 และ 3 คือว่า ส.ป.ก.จะออกหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในที่ดินส.ป.ก. แก่ผู้ที่ทำกินอยู่ในที่ดินนั้น ง่ายๆก็คือ ใครที่ครอบครองอยู่ก็จะได้รับอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ได้(โดยไม่ต้องระหวาดระแวงเรื่องจะถูกจับกุมเพราะบุกรุกป่าอีกต่อไป) แต่ต้องอยู่ในเงื่อนไขและระเบียบข้อกำหนดตามกฎหมายของส.ป.ก.
ซึ่งผู้ที่จะชี้วัดว่าผู้ใดจะอยู่ในเงื่อนไขของส.ป.ก.คือ คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินอำเภอ(จะประชุมคัดเลือก-รับรองในขั้นตอนแรก) ต่อมาคือ คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินจังหวัด(จะคัดกรองอีกชั้นหลังจากผ่านระดับอำเภอมาแล้ว) หลังจากนั้นก็จะทำการมอบหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ (ส.ป.ก.4-01) ต่อไป
ที่ภูเก็ตนั้น ปัญหาเกิดขึ้นเพราะผู้ถือครองอยู่เดิม เป็นคหบดี ซึ่งผิดเงื่อนไขของส.ป.ก. เช่น ต้องเป็นผู้ยากจนและไม่มีที่ดินทำกิน , ใช้เวลาส่วนใหญ่ทำเกษตรกรรม ฯลฯ ซึ่งได้มีการฟ้องร้องขับไล่ และมีการสู้คดี ซึ่งยุติไปเรียบร้อยแล้ว...
....จะเห็นได้ว่า...ไม่ใช่การนำที่ดินไปแจกคนรวย เพราะเป็นการอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ของผู้ที่ถือครองอยู่ก่อนแล้ว แต่ถ้าเป็นกรณีที่ดินใน ข้อ 2 และ 3 จะเป็นการนำที่ดินของส.ป.ก.เองที่จัดซื้อมา หรือ ที่ดินพระราชทาน นำไปจัดสรรให้เกษตรกรที่ไม่มีที่ทำกิน วึ่งในกรณีนี้อาจจะเข้าข่ายนำไปแจก(จัดสรร)มากกว่า
เรื่องที่จะต้องประเด็น ไม่ใช่การแจกที่ดินคนรวย แต่ควรเป็นกรณี ถ้าชาวบ้านที่ทำกินในที่ ส.ป.ก.ถ้าเค้าขยัน และมีโอกาสเข้าถึงแหล่งน้ำที่เพียงพอ มีตลาดที่ดีไว้รองรับ ราคาพืชผลดี ทำให้เค้ามีฐานะดี (รวย)ขึ้น....ถามว่า ต้องไล่เค้าไปจากที่ดินที่เค้าก่อร่างสร้างตัวมาเหรอ เพียงเพราะเค้าไม่ยากจนอีกต่อไปแล้ว
หรือต้องให้เค้าทำกินไปวันๆ โดยไม่ต้องมองอนาคตข้างหน้า ...ห้ามรวยขึ้น ว่างั้น....
- angry bird likes this