Jump to content


คนเฉย

เป็นสมาชิกตั้งแต่ 30 สิงหาคม 2556
ออฟไลน์ เข้าใช้งานครั้งล่าสุด: 11 กันยายน 2556 13:48
-----

#833943 ประโยคไหนของโทนี่ แบลร์ หรอคับ ที่บ่งบอกว่าตบหน้ารัฐบาลฉาดใหญ่ ผมอยากรู้

โดย ผึ้งน้อยตุหรัดตุเหร่ on 5 กันยายน พ.ศ. 2556 - 00:02

 

ประโยคไหนของโทนี่ แบลร์ หรอคับ

ที่บ่งบอกว่าตบหน้ารัฐบาลฉาดใหญ่ ผมอยากรู้

 

จัดให้

 

ตบหน้าข้อที่ 1 "ประชาธิปไตยที่แท้จริง/ไม่ได้มาจากการที่เสียงส่วนใหญ่มีอำนาจเท่านั้น  แต่มาจากการรับฟังเสียงส่วนน้อย"

I think there are a couple of things that are very, very clear about genuine democracy

The first is: democracy is not just a way of voting but a way of thinking. In other words, democracy is not just about how the majority takes power. It is crucially about how the majority then relates to the minority.

 

 

ตบหน้าข้อที่ 2 "การแก้ปัญหาต้องเพื่อทั้ง 2 ฝั่ง/ กรอบการทำงานในอนาคตต้อง "แฟร์และเป็นธรรม/และพูดถึงรากเหง้าของปัญหาด้วย"

"what we call the two-state solution. What I’m saying is that you can only create peace if people see, whatever the disputes about the past, the future has a framework that is fair, and seen to be fair and just, and one that also is capable of dealing with the root causes. "

 

 

ตบหน้าข้อที่ 3 "เหยื่อที่เขาสูญเสียจากการก่อการร้ายเขาต้องรู้สึกโกรธแค้น ที่ผู้ก่อการร้ายกระทำกับครอบครัวเขาแล้วยังลอยนวลเป็นอิสระ"

ข้อความนี้ผมไม่เห็นคนไทยแปล แต่มันคือหัวใจ...ที่โดนสุดๆ

 

แบลร์-ข้อความที่ไม่มีใครแปล-รากเหง้าปัญหา+เหยื่อโกรธผู้กกร..jpg

 

 

ตบหน้าข้อที่ 4 "นอกจากสาระของประชาธิปไตยที่แท้จริงไม่ใช่แค่เสียงเลือกตั้งแล้ว หลักนิติรัฐก็จำเป็นมาก"

ข้อความนี้ผมไม่เห็นคนไทยแปลอีกเช่นกัน  รัฐบาลหน้าชาไปแถบๆ

 

แบลร์-ข้อความที่ไม่มีใครแปล-rule of law.jpg

 

 

ตบหน้าข้อที่ 5 "สำคัญมากที่ทำให้ปชช.และคนลงทุนมั่นใจ คือ"ระบบศาล" ที่มาช่วยตรวจสอบและถ่วงดุล และระบบตรวจสอบถ่วงดุลจากศาลจะทำงานได้ คือต้องให้ศาลเป็นองค์กรอิสระ ทำงานอย่างอิสระ"

ข้อความนี้ผมไม่เห็นคนไทยแปลอีกเช่นกัน  รัฐบาลเหมือนถูกเหยียบยอดหน้า

 

แบลร์-ข้อความที่ไม่มีใครแปล-กม.เป็นธรรม+อิสระ.jpg




#835372 คิดเห็นกัันเช่นไร ถ้ารัฐจะเก็บเพิ่ม "ภาษีคนโสด คนไม่มีลูก"...

โดย อาบังคนเหนือ on 6 กันยายน พ.ศ. 2556 - 10:37

ไอ้คนออกมาแถลงก้อไม่ได้รู้ไรเล๊ยยยย................เค้าไม่ได้โสดนะ แต่เค้าจดทะเบียนกันไม่ได้ เพราะกินพวกเดียวกันอยู่ ะให้ทำลูกได้งัยอ่ะ




#827951 หนุ่มเรดนนท์ ไม่เข็ด

โดย ผึ้งน้อยตุหรัดตุเหร่ on 30 สิงหาคม พ.ศ. 2556 - 19:34

เพื่อนๆ  อย่าเพิ่งงงครับ

 

คุณจขกท.กับคุณโคนัน 01 แกจะโพสต์เรื่องพวกล้มเจ้าตลอด  

แต่จะประมาณโพสต์รูป+คำโปรย แค่นั้น  ไม่มีข้อความอธิบาย ไม่มีข่าวนำ

คนอ่านก็มึลกันไป

 

หรือบางทีก็เป็นเรื่องเดียวกันกับกระทู้เก่า แต่มาตั้งกระทู้ใหม่ก็มี

จนหลังๆช่วงที่บอร์ดกำลังมีข่าวร้อนแรง กระทู้พรึ่บ  ผมยังขออนุญาตแจ้งคุณโคนั่น01 ในกระทู้ว่า...รบกวนอย่าตั้งกระทู้ใหม่ในเรื่องเดิมเมื่อ 2 ปีที่แล้วได้ไหม

ต่อกระทู้เดิมก็ได้  จะได้ต่อเนื่อง

 

คุณโคนัน 01 ก็รับฟังดีนะครับ




#827744 บทวิเคราะห์ วิกฤตปัญหายาง ที่น่าสนใจ

โดย CockRoachKiller on 30 สิงหาคม พ.ศ. 2556 - 15:50

436886821_1369730279.jpg




#827635 บทวิเคราะห์ วิกฤตปัญหายาง ที่น่าสนใจ

โดย raksthaban on 30 สิงหาคม พ.ศ. 2556 - 14:00

ที่มา http://www.thaiagrin...-ยางพาราราคาตก/

 

 

หลายปีมานี้ เกษตรกรทุกภาคในประเทศไทยต่างหันมาปลูกยางพารากันแทนพืชเศรษฐกิจอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นพืชสวนหรือพืชไร่ รวมทั้งข้าว แต่ในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมาปรากฏว่าราคายางพาราตกลงจากที่เคยสูงสุด กิโลกรัมละ 180 บาท เหลือไม่ถึงกิโลกรัมละ 100 บาท ทำเอาเกษตรกรผู้ปลูกยางพาราในหลายพื้นที่ออกมาประท้วง กระทั่งรัฐบาลตัดสินใจทุ่มงบประมาณ 15,000 ล้านบาท มาประกันราคาซื้อขาย แต่ก็ยังมีปัญหายืดเยื้อมาอีกว่า การประกันราคายางพาราดังกล่าวไม่ได้ตกถึงเกษตรกรรายย่อย
 
ประเด็นเหล่านี้หลายฝ่ายต่างวิเคราะห์ตรงกันว่า ในระยะเวลาอันใกล้นี้ราคายางคงไม่กลับไปสูงเหมือนสมัยก่อน เพราะปัจจุบันเศรษฐกิจยุโรปมีปัญหา ขณะเดียวกันจีนซึ่งเป็นประเทศที่ใช้ยางมากที่สุด ปรากฏว่าอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนก็ไม่รุ่งโรจน์เหมือนปีที่ผ่านมา ฉะนั้น เกษตรกรหรือผู้ประกอบการเกี่ยวกับยางพาราคงจะต้องปรับตัว เพราะการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC ย่อมส่งผลกระทบต่อราคายางพาราและผลผลิตอันเกี่ยวเนื่อง
 
คุณเยี่ยม ถาวโรฤทธิ์ ผู้จัดการ บริษัท ร่วมทุนยางพาราระหว่างประเทศ จำกัด (ประกอบไปด้วย ไทย มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ในอนาคตจะรวมเวียดนามด้วย) จะมาแจกแจงให้ฟังว่า การเข้าสู่ AEC จะส่งผลอย่างไร ต่อสถานการณ์ยางพาราในประเทศไทย เกษตรกรและผู้ประกอบการต่างๆ จะใช้ประโยชน์จาก AEC ได้อย่างไร
 
ระบุเหตุต้นทุนไทยสูงที่สุด
 
การเปิด AEC นั้น เราต้องมองว่าเป็นประโยชน์กับประเทศไทยที่จะเปิดช่องทางให้สามารถขายสินค้าและบริการที่มีอยู่ได้มาก ไม่ต้องกลัว ผมมองว่าจะกลายเป็นข้อดีเสียอีก เพียงแต่ว่าเราต้องผลิตสินค้าและบริการให้มีคุณภาพมากที่สุด สามารถแข่งขันในเรื่องของต้นทุนให้ได้แค่นั้น
 
ประเทศไทยคงต้องปรับตัวเข้าสู่อุตสาหกรรมปลายน้ำมากขึ้น เพราะว่าถ้าเราจะผลิตยางแผ่นดิบและส่งออก มันมีหลายประเทศในประเทศประชาคมอาเซียน ไม่ว่าจะเป็นเวียดนาม ลาว ซึ่งล้วนมีต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่า ฉะนั้น เมื่อเปิดเสรีในกลุ่มประชาคมอาเซียน คนจะไปซื้อยางที่ประเทศที่มีต้นทุนถูกกว่า เขาก็ขายในราคาที่ถูกกว่าได้ เพราะต้นทุนที่ถูกกว่าในขณะที่ต้นทุนการผลิตในประเทศไทยสูงที่สุดจากหลายปัจจัย
 
ยกตัวอย่าง เรื่องการคิดค่าแรงงานกรีดยางพารา ในมาเลเซียจะจ่ายค่าจ้างคนกรีดยางพาราเป็นรายวัน แต่ของเราจ่ายเป็นสัดส่วน คือ 40:50, 50:50 ตัวนี้จึงเป็นต้นทุนหลักที่ทำให้ต้นทุนการผลิตยางดิบสูงกว่าประเทศเพื่อนบ้านอื่นๆ สูงกว่าทั้งอินโดนีเซียและมาเลเซีย จึงจำเป็นที่เราจะต้องปรับตัวเข้าสู่อุตสาหกรรมปลายน้ำ ต้องมีการส่งเสริมการลงทุนในเรื่องของผลิตภัณฑ์ยางมากขึ้น เพื่อจะสร้างมูลค่าเพิ่ม และจะทำให้ราคายางชาวสวนยางนั้นอยู่ได้ นี่เป็นประเด็นที่จะเข้า AEC
 
อย่างไรก็ตาม ถ้าเรายังดันทุรังที่จะปลูกยางพาราเพิ่มมากขึ้นในประเทศไทย ในขณะที่ต้นทุนสูงกว่า เกษตรกรก็จะประสบปัญหาเหมือนในตอนนี้ คือลูกค้าจะไปซื้อยางจากอินโดนีเซีย ซึ่งต้นทุนเขาถูกกว่า เราเองจะไปตำหนิเขาไม่ได้ เพราะผู้ซื้อต้องการซื้อยางที่ราคาถูกกว่า คุณภาพเหมือนกัน แต่ในเมื่อต้นทุนเราแพงกว่าจะไปขายถูก เราก็จะขาดทุน แต่อินโดนีเซียต้นทุนเขาถูกกว่า ขายถูกกว่าเขาก็อยู่ได้
 
แนะปรับสู่อุตสาหกรรมปลายน้ำ
 
ฉะนั้น ประเทศไทย ต้องปรับตัวไปสู่ในเรื่องของอุตสาหกรรมยางมากขึ้น หลังจาก ปี 2558 ซึ่งจะไปแก้ไขเรื่องของต้นทุนไม่ได้ เพราะเป็นเรื่องของวัฒนธรรม เรื่องของธรรมเนียมของการปลูกยางพาราในประเทศไทย ถ้าคิดเป็นรายวันแรงงานก็จะไม่มากรีด เพราะเขาเคยปฏิบัติมาอย่างนั้น
 
อีกประเด็นหนึ่ง อาจจะมีปัญหาเรื่องแรงงาน เพราะค่าแรงเริ่มแพงขึ้น พูดได้ง่ายๆ ว่า ชาวสวนยางพาราไทยได้ผลตอบแทนสูงกว่าประเทศเพื่อนบ้าน คือเกษตรกรเราขายยางดิบในราคาประมาณ 80-85% ในราคาส่งออกของ FOB คือ ยาง 100 บาท ชาวสวนยางจะได้ราคา 80-85 บาท ในขณะที่ราคาส่งออก 100 บาท แต่ประเทศอื่นเขาได้น้อยกว่านั้น เพราะต้นทุนเขาถูกกว่า เขาสามารถขายได้ราคาที่ต่ำกว่า 100 บาท ได้
 
ทางออกของประเทศไทย คือทำในรูปผลิตภัณฑ์ ซึ่งประเทศไทยเรามีจุดแข็งดีกว่าประเทศเพื่อนบ้านในเรื่องของนโยบายรัฐบาลก็ดี เรื่องของภาคเอกชนก็ดี มีความรู้ความสามารถ มีศักยภาพที่จะพัฒนาไปสู่อุตสาหกรรมต่างๆ ถือว่าไทยเรามีความพร้อมมากกว่าประเทศเพื่อนบ้านอื่นๆ ถ้าเราจะทำสินค้าสำเร็จรูปขาย รวมทั้งยางด้วย ที่เรามาทำเป็นผลิตภัณฑ์ นี่คือ จุดที่เรามีความพร้อม และควรจะหยิบขึ้นมาใช้ได้แล้ว แทนที่จะนำยางดิบไปขายต่างประเทศในต้นทุนที่สูงกว่า แต่ถ้าถามว่าขายได้ไหม ขายได้ แต่จะขายได้น้อยลง
 
พอสภาวะราคายางพาราลดลง คนที่เดือดร้อนมากที่สุดคือ ประเทศไทย ในปริมาณการใช้ยางพารานั้นมีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตามจำนวนประชากรโลก และโดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ถุงมือยาง แม้ว่าเศรษฐกิจจะขึ้นหรือลง แต่ยอดการใช้ถุงมือยาง โดยเฉพาะทางการแพทย์เพิ่มขึ้นทุกปี และประเทศที่ผลิตตอนนี้รายใหญ่คือ ประเทศอินโดนีเซีย
 
ทั้งที่เขาไม่ได้ผลิตน้ำยางเลย เขานำเข้าน้ำยางจากไทยปีหนึ่งประมาณ 3 แสนตัน เอาไปทำอุตสาหกรรมถุงมือยางส่งออกทั่วโลก แต่ประเทศไทยเราไม่มีคอนเน็กชั่นกับเรื่องของการตลาด แต่การเรียนรู้เทคโนโลยีของผู้ประกอบการในเอกชน เขามีทุน เขามีความพร้อม แต่ขึ้นอยู่กับนโยบายของรัฐบาล ขึ้นอยู่กับวิธีการที่จะทำอย่างไร ให้ผู้ประกอบการทำถุงมือยาง ถุงยางอนามัย ไปมีพันธมิตรกับประเทศที่เขามีการใช้ถุงมือยาง เรื่องการตลาด เพราะมาเลเซียเขาปลูกยางพาราก่อนเรา เพราะฉะนั้นเขามีคอนเน็กชั่นด้านการตลาดที่ดีกับผู้ใช้ยางในยุโรป
 
เรื่องของต้นน้ำไทยพร้อมมานานแล้ว เพราะต้นทุนเราสูงกว่าเขา ดังนั้น จะอยู่กับต้นน้ำเพียงอย่างเดียวจะตายได้ ทำให้เป็นปัญหาที่เป็นอยู่ ณ ตอนนี้ ต้องหาเงินมาประกันราคาให้อยู่ในระดับสูงกว่าตลาดโลก ในขณะที่ตลาดโลกต่ำกว่า และเมื่อจะให้ราคายางสูงในระดับที่ชาวสวนยางพาราพอใจมันฝืนกับธรรมชาติ เพราะเรามีปัญหาที่มีต้นทุนสูงกว่าเขา
 
ใช้มาตรการระยะสั้น-ยาว
 
บริษัท ร่วมทุนฯ ตอนนี้มีมาตรการในเรื่องของที่จะแนะนำ 3 ประเทศ ให้ควบคุมการขยายพื้นที่การปลูกยางพาราให้อยู่ในระดับไม่ให้มีผลผลิตล้นตลาด แม้รู้ว่ามีความต้องการเพิ่ม แต่อย่าไปเร่งมากขึ้น ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม เหมือนกับกลุ่มโอเปกที่คุมเรื่องน้ำมัน นี่คือ มาตรการระยะยาว ที่จะต้องมีการพิจารณาในแต่ละปี มีความต้องการใช้ยางของโลกเพิ่มขึ้นเท่าไหร่ ใน 3 ประเทศ มีส่วนแบ่งตลาดและควรแบ่งโควต้ามาให้กับเรา อินโดฯ ควรปลูกแค่นี้ มาเลเซียปลูกแค่นี้ ไทยปลูกแค่นี้ เพื่อไม่ให้ยางพาราล้นตลาด นั่นคือ มาตรการระยะยาว
 
มาตรการระยะสั้นอีกอย่างหนึ่งคือ ชะลอการส่งออก เหมือนที่ประกาศ เมื่อ วันที่ 16 สิงหาคม ที่ผ่านมาว่า ยางไม่ได้ล้นตลาด เพียงแต่ว่ามันเกิดจากการซื้อขายการเก็งกำไรในตลาดล่วงหน้า ทำให้ราคายางพาราตก และถ้าไม่ต้องการให้ราคาตก เราก็จะดึงยางออกมาชั่วคราว 3 แสนตัน ตามที่ประกาศ ถ้าราคายางลงอีก เราก็จะดึง ปรากฏว่าหลังจากที่เราประกาศแล้ว ราคายางพาราหยุดลง มีแต่ราคาที่ยังทรงอยู่ เพราะตลาดรู้ว่ายางไม่ได้ล้นตลาด เพียงแต่ว่านักลงทุนเก็งกำไรในตลาดล่วงหน้า เขาเทขายสัญญาเพราะว่าพวกนี้เป็นนักเก็งกำไร พวกนี้เล่นกระดาษ พวกนี้ไม่ได้ซื้อขายยางพาราจริง เพราะเขาไม่มีความเชื่อมั่นก็ต้องเทขายสัญญา
 
นอกจากนี้ มีแผนว่า ก่อน ปี 2558 จะตั้งสภายางฯ ขึ้น เพื่อจะดึงประเทศผู้ปลูกยางพาราทั้งหมดเข้ามาอยู่ในสภา ที่เรียกกว่า อาเชี่ยนรับเบอร์เคาน์ซิล เพื่อว่าทุกคนจะได้มาร่วมมือกันในการทำงาน เพื่อจะให้ราคายางมีเสถียรภาพ เพราะในหลักการที่ว่า ทุกประเทศที่อยู่ภูมิภาคเดียวกันจะต้องร่วมมือกันทุกเรื่อง แต่เมื่อร่วมมือกันแล้วก็ต้องร่วมมือกันอย่างจริงจัง แทนที่จะมาแข่งตัดราคากันเอง เพราะมองว่าตลาดซื้อขายล่วงหน้า อย่างกรุงโตเกียว เป็นตลาดที่มีการเก็งกำไรมากเกินไป ไม่ได้ขึ้นลงตามว่าของมากของน้อย
 
ตลาดโตเกียวนั้น มีทั้งยางพารา น้ำมัน ทองคำ ถ้าอันไหนตกเขาก็ขาย อันไหนขึ้นเขาก็ซื้อ ทำให้ราคายางไม่ได้ขึ้นลงตามปัจจัยพื้นฐาน ทั้ง 3 ประเทศนี้ จึงต้องมองหารูปแบบการตลาดที่จะให้ราคายางสะท้อนราคาที่ควรจะเป็น เพราะวัตถุประสงค์หลักคือ ต้องการให้ผู้ปลูกยางพาราอยู่ได้ ผู้ต้องการใช้ยางโดยเฉพาะอุตสาหกรรมยางล้อ ถุงมือยาง เขาสามารถซื้อยางพาราได้ในราคาที่ควรจะเป็น เมื่อก่อนขึ้นถึงกิโลกรัมละ 180 บาท แต่ตอนนี้เหลือ 80 บาท ในฐานะเกษตรกรก็เดือดร้อน พอราคาสูงก็ดีใจ แต่พอลงรายได้น้อยลงก็จะมีปัญหา
 
แทนที่เราจะเอาเงิน 15,000 ล้านบาท มาซื้อยางพาราโดยตรง เราก็เอาเงิน 15,000 ล้านบาท มาเป็นกองทุนรักษาเสถียรภาพราคายางของประเทศไทย สมมุติเราตั้งราคาประกันยางไว้ 100 บาท ยางแผ่นดิบ ถ้ายางต่ำเหลือ 80 บาท ก็เอา 15,000 ล้านบาท ไปจ่ายชดเชย 20 บาท แทนที่ 100 บาท ซื้อได้ 1 กิโลกรัม แต่ถ้าประกันชดเชย 20 บาท คุณซื้อได้ตั้ง 5 กิโลกรัม แต่ถ้าราคายางสูงกว่า 100 บาท เกษตรกรต้องจ่ายเงินเข้ากองทุนเหมือนเราทำประกันชีวิต เกษตรกรต้องรับผิดชอบตัวเอง
 
อันนี้เหมือนกับการตั้งกองทุนรักษาเสถียรภาพราคายาง ซึ่งเป็นมติที่ประชุมของทั้ง 3 ประเทศ ที่บาหลี ประเทศอินโดนีเซีย เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2554 การตั้งกองทุนดังกล่าวจะมีความยั่งยืน จะได้ไม่ต้องไปรบกวนภาษีของแต่ละประเทศในอนาคต พร้อมกันนั้นจะต้องตั้งตลาดที่สะท้อนราคายางพาราที่ควรจะเป็นให้ได้ และในเดือนธันวาคมนี้ก็จะมีการประชุมคณะรัฐมนตรีทั้ง 3 ประเทศ ที่ไทย เพื่อติดตามความก้าวหน้าของมติที่ประชุมดังกล่าว ซึ่งใช้หลักการเดียวกับกองทุนน้ำมัน
 
หากใครจะเข้าโครงการ ก็จะต้องมาติดต่อจดทะเบียน มีพื้นที่ปลูกยางพาราเท่าไหร่ ปีหนึ่งคาดว่าน่าจะได้ผลผลิตยางพาราเท่าไหร่ ถ้าขายยางพาราได้ราคาเกินกว่าราคาขั้นต่ำในปีนั้น ก็หักเข้าเงินกองทุน พอราคายางพาราต่ำกว่าราคาประกัน กองทุนก็จ่ายชดเชย
 
ส่งเสริมให้ลงทุนในแหล่งปลูกยางพารา
 
ทั้งนี้ เมื่อตั้งกองทุนแล้วก็สามารถควบคุมพื้นที่ปลูกยางพาราได้ ถ้าเราตกลงแล้วว่า ประเทศไทยปีหน้าจะให้ขยายได้ 500,000 ไร่ เราก็นำมาจัดสรรให้กับคนที่จดทะเบียนเข้ากองทุน เป็นผลพวงที่เชื่อมโยงกันหมด ฉะนั้น เราต้องอิงกัน จะอยู่คนเดียวไม่ได้ เพราะต้นทุนของยางพาราเราสูงกว่าเพื่อน จึงต้องมีการผลักดันให้ไปสู่ปลายน้ำ ในขณะเดียวกันเราก็ซื้อวัตถุดิบจากประเทศเพื่อนบ้าน จากพม่า จากเขมร เราต้องพัฒนาอุตสาหกรรมยางไว้เพื่อประเทศเรา และก็หาพันธมิตรที่มีเทคโนโลยีมีโนว์ฮาว
 
ในขณะเดียวกัน เราไม่จำเป็นต้องตั้งนิคมอุตสาหกรรมในประเทศไทย จุดไหนที่เป็นแหล่งตลาด BOI ควรส่งเสริม เช่น ส่งเสริมการลงทุนในจีน ตั้งโรงงานผลิตยางล้อ เหมือนบริษัทใหญ่ๆ ต่างประเทศทั่วโลก เช่น บริดจสโตน ไปตั้งโรงงานผลิตยางล้ออย่างเดียวในจีน หรือญี่ปุ่นที่เขาตั้งโรงงานทั่วโลก
 
ฉะนั้น วิธีคิดของประเทศไทยก็คือ รัฐบาลก็ดี หรือ BOI ก็ดี อย่าคิดแค่ว่าจะส่งเสริมการลงทุนแค่ประเทศเดียวในเมืองไทยที่มีประชากรเพียง 70 ล้านคน ควรจะมีการส่งเสริมให้คนไทยไปลงทุนที่ ยุโรป จีน แอฟริกา ลงทุนที่ตะวันออกกลาง ไปทำถุงมือยางแล้วขายให้กับคนที่นั่น เป็นการส่งเสริมคนไทยไปลงทุนทั่วโลก และจะมีการใช้วัตถุดิบมากขึ้น เราเอายางจากประเทศเพื่อนบ้านไปผลิตที่แอฟริกา มันก็มีการสร้างมูลค่าเพิ่ม นำรายได้เข้าประเทศ
 
เรื่องของยางพาราตอนนี้ไทยมีผลผลิตมากอันดับ 1 แต่อินโดนีเซียมีพื้นที่ปลูกมากกว่า เรามีศักยภาพในการพัฒนามากกว่า มาเลเซียปลูกเป็น อันดับ 3 เขามีการใช้ยางมาก โดยนำผลผลิตไปผลิตต่อทำมูลค่าเพิ่ม โดยเฉพาะถุงมือยาง มีการนำเข้าน้ำยางจากไทย ปีละ 3 แสนตัน
 
หากมีผู้ประกอบการ มีความสนใจ นำยางมาแปรรูปให้มากขึ้นนั้นตลาดมีอยู่แล้ว แต่รัฐบาลต้องมีนโยบายต้องสนับสนุนอย่างจริงจังในเรื่องของความเชื่อมั่นของนักลงทุนว่ารัฐบาลจะให้อะไรบ้างกับนักลงทุน แต่การลงทุนอย่างที่บอกไม่จำเป็นต้องตั้งโรงงานทั้งหมดในประเทศไทย แต่ต้องให้คนไทยไปลงทุนต่างประเทศแล้วส่งขายทั่วโลก นี่คือ วิธีคิด
 
จี้รัฐช่วยเกษตรกร พัฒนาพันธุ์ยางพารา
 
เวลานี้ประเทศที่มีการใช้ยางพารามากที่สุดในโลก คือ ประเทศจีน มีการใช้ยางปีละ 2 ล้านตัน ประเทศไทยก็ยังปลูกยางพาราได้อยู่ ไม่มีปัญหา แต่ถ้าเกษตรกรปลูกยางพาราแล้วทางกระทรวงเกษตรฯ จะต้องมีแนวทางที่จะเพิ่มผลผลิตของยางพาราเพื่อให้ต้นทุนต่อหน่วยลดลง นั่นคือ การพัฒนาพันธุ์ยางพาราที่จะให้ผลผลิตสูงขึ้น ซึ่งมันเป็นไปได้ที่จะลดต้นทุนการผลิต แต่ต้องทำการวิจัย ต้องให้เกษตรกรมีการใช้ปัจจัยการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การใส่ปุ๋ย การดูแลสวนให้มีประสิทธิภาพเพื่อลดต้นทุน เพราะบางครั้งใส่ปุ๋ยโดยที่ไม่จำเป็น ก็เสียเงินโดยเปล่าประโยชน์ หรือปัญหาปุ๋ยปลอม นี่คือ ภาระที่เกษตรกรต้องไปแบก
 
ถ้าเกษตรกรใช้ปัจจัยอย่างมีประสิทธิภาพ จะทำให้ต้นทุนลดลง ทำให้ปลูกยางขายได้มีกำไร ฉะนั้น หน่วยงานของรัฐควรจะบอกให้เกษตรกรบริหารจัดการสวนยางพาราเพื่อลดต้นทุนการผลิต ให้แข่งขันกับประเทศเพื่อนบ้านที่เขามีการผลิตต่ำให้ได้ คือเกษตรกรไทยไม่จำเป็นต้องเลิกปลูกยางพารา แต่ควรใส่ใจมากขึ้นว่า จะใส่ปุ๋ยครั้งหนึ่ง ต้องวิเคราะห์ว่าจำได้ไหม ใส่ปุ๋ยอะไร สูตรอะไร ใส่ในปริมาณเท่าไหร่ เพื่อให้คุ้มค่า เพราะไม่อย่างนั้นจะกลายเป็นต้นทุนเพิ่มขึ้นโดยไม่จำเป็น



#827779 สส.ใต้รักชาวสวนยาง จริงหรือ ?

โดย nunoi on 30 สิงหาคม พ.ศ. 2556 - 16:42

จริงๆ ผมก็สงสัยแค่

 

ประชาชนเดือดร้อนจริงหรือไม่

 

รัฐช่วยอย่างไร

 

ดำเนินการได้แค่ไหนบ้าง

 

พยายามตกลงกัน

 

เฮ้อ 




#827308 ตึงเครียดหนัก! ปูตินสั่งส่งเรือรบรัสเซีย 2 ลำมุ่งหน้า “ชายฝั่งซีเรีย” คาด...

โดย พระฤๅษี on 30 สิงหาคม พ.ศ. 2556 - 09:31

>>> สั้น ๆ  เมกา ยุ่งไรกับเขา  ซีเรีย..ก็เรื่องของซีเรีย

 

จับตา ถ้า เมกา ได้ ประโยชน์จากฝ่ายใด  ก็จะเข้าร่วม

 

ฝ่ายนั้น....เมกา ไม่เคยคิดถึงเรื่องความ ยุติธรรม หรอก

 

นอกจาก ผลประโยชน์ ที่จะได้.......แค่เนี้ยยยยย




#827018 ตึงเครียดหนัก! ปูตินสั่งส่งเรือรบรัสเซีย 2 ลำมุ่งหน้า “ชายฝั่งซีเรีย” คาด...

โดย Yasuhiro on 29 สิงหาคม พ.ศ. 2556 - 20:41

กระทู้นี้ จริงๆผมรอฟังความเห็นจากคุณ sigree ก่อนที่จะร่วมถก หรือซักถามด้วย แต่กระทู้นี้เริ่มออกทะเล....




#823324 กลุ่มผู้ชุมนุมชาวสวนยางพาราและปาล์มน้ำมัน นครศรีฯ ที่สี่แยกควนหนองหงส์ เรียกร...

โดย winwin191 on 26 สิงหาคม พ.ศ. 2556 - 20:31

อย่าเกลียดตำรวจ. แต่จงเกลียดไอเสื้อขาวที่เป็นตำรวจดีกว่า. ผมบอกตรงๆ ตำรวจดีๆมีอีกเยอะ


#827490 ขอคุยเรื่องของแพงกับบรรดาเสื้อแดงซะหน่อย

โดย Suraphan07 on 30 สิงหาคม พ.ศ. 2556 - 11:46

ถ้าจะคุย...ผมว่าหาอ่านเรื่องพวกนี้

ตามลิงค์ตามเฟสบุ๊ค ดีก่า...  ;) 

 

"สวัสดีเขา   แล้วเรียก พ่อ ซิ"




#827578 ภาพนี้ ของจริงหรือตัดต่อ ถ้าจริงคุณปูช่วยตอบทีว่า "แพงจริง หรือคิดไปเอง...

โดย RiDKuN_user on 30 สิงหาคม พ.ศ. 2556 - 12:56

ไข่ตามห้างแพงมานานแล้วครับ ไปเดินแล้วซื้อไม่ลง ซื้อยกแผงร้านแถวบ้านดีกว่า  -_-




#827361 ภาพนี้ ของจริงหรือตัดต่อ ถ้าจริงคุณปูช่วยตอบทีว่า "แพงจริง หรือคิดไปเอง...

โดย sanskrit_shower on 30 สิงหาคม พ.ศ. 2556 - 10:03

คิดถึงคนกลางจัง

 

ถ้าเค้าอยู่ เค้าคงจะตอบว่า

 

ใจคอจะไม่ให้ข้าวของขึ้นราคาเลยหรือไง :D




#827253 ภาพนี้ ของจริงหรือตัดต่อ ถ้าจริงคุณปูช่วยตอบทีว่า "แพงจริง หรือคิดไปเอง...

โดย sigree on 30 สิงหาคม พ.ศ. 2556 - 08:23

 

 

วันก่อนดูรายการทีวีรายการหนึ่ง ตะลุยตลาดอะไรนี้แหละ

 

ขายไข่ดาว 10 บาท................โห

 

เห็นป้ายประกาศในเน็ต  ถ่ายจากร้านตามสั่งว่า

 

อย่าสั่งไข่ดาว ไม่อยากอธิบาย

 

ตอนนี้ไข่แพง แพงมากด้วยจริงๆ

 

ให้เกษตกรผู้เลี้ยงไก่ไข่บ้างเถอะคร้าาา :P

 

 

เบอร์ 0 ตลาดแถวบ้าน 10 ฟอง 43 แล้วครับ

ตกใบละ 4.3 บาท 

 

นายสุกรี ไปเอามาจากใหน สงสัยเอาใข่เซเว่นไปทอด 

 

นี่มันไปเอาร้านไฮโซ เพื่อมาทำร้ายล้างกันเห็นๆ สกปรกจริงๆ พวกแมงสาป

 

ไม่ค่อยอยากจะตอบคุณ

 

แถไปเรื่อยๆ

 

ถามนิด  ถ้าทุนคือ ไข่ 4.3 บาท ไข่ดาวที่ร้านจะราคาเท่าไหร่? 5 บาทเหรอ  ส่วนต่าง 70 สต พอค่าน้ำมันค่าแก็สค่าแรงไหม?

 

ปัจจุบันไข่ราคาไปสูงสุดที่ 5.5 บาทมาระยะแล้วหรือไม่ใช่  ไข่ดาวอยู่ที่ 7 บาทต่อแผ่นมา 2-3 ปีแล้ว

 

ปัจจุบัน 10 บาท ค่าแก๊สขึ้น ค่าที่ขึ้น แรงงานขึ้น แปลกตรงไหน? 

 

ข้าวไข่เจืยว 20-25 บาทต่อกล่อง เป็นค่าข้าวค่าไข่เท่าไหร่   ให้ข้าว 10 บาทเลย ไข่เจียวปาไป 10 -15 บาทไปแล้ว

 

ราคามันขึ้นและเราไม่แค่สังเกต   พอนำทุนของคนขายมานั่งดูก็จริง 10 ไม่ใช่เรื่องเป็นไปไม่ได้ 

 

จะว่าไปหากใช่ไข่ฟอง 7.5 บาท ราคาขายต่อแผ่นน่าจะ 12-15 บาท  ค่าไข่ ค่าน้ำมัน ค่าแรง ค่าแก็ส  มองมูลค่าพวกนี้ออกไหม? หากไม่ออกลองถามคนทำตามสั่งแถวบ้านดูว่าตัวเลขผมวางบนพื้นความจริงไหม?

 

ผมเคยขายของริมถนน  ทราบดีทุนมาเท่าไหร่ราคาต้องไปเท่าไหร่

 

นิดเดียว  ซื่อผมไม่ใช่สุกรี   ไปถามใครมาละนั้น  บอกคนที่บอกคุณนะให้ลึกทางอาหรับนิด อิงมลายูมากจะอ่านซื่อผมผิด




#826770 ภาพนี้ ของจริงหรือตัดต่อ ถ้าจริงคุณปูช่วยตอบทีว่า "แพงจริง หรือคิดไปเอง...

โดย plunk on 29 สิงหาคม พ.ศ. 2556 - 16:34

ใครให้ไปซื้อ ในห้าง ไปซื้อในตลาดดดดดดดดดดดด ซิคร้าาาาาาา




#827587 กระทรวงศึกษาแก้ไขวันเปิดปิดภาคเรียนต้อนรับอาเซียน

โดย PriFa on 30 สิงหาคม พ.ศ. 2556 - 13:00

ผลกระทบ ที่คาดว่าจะเกิด

 

ข้อเสีย

1. เทศกาลสงกรานต์ คนจะเที่ยวน้อยลง (ผู้ปกครอง-นักเรียน) เพราะต้องเตรียมตัวสอบปลายภาค อาจกระทบภาคเศรษฐกิจ

2. ผลการสอบต่ำลง สำหรับ นักเรียนที่เล่นสงกรานต์ จนไม่ได้ดูตำราเตรียมสอบ

 

ข้อดี

1. ฝึกให้นักเรียนให้เป็นผู้มีวินัย และตัดสินใจเลือกระหว่าง  การเล่นน้ำสงกรานต์  กับการดูตำราเตรียมสอบ ว่าสิ่งใดควรก่อนหลัง ตามความสามารถทางการศึกษาของแต่ละคน

2. คาดว่า จะลดอุบัติเหตุ ช่วงสงกรานต์ ลงได้มาก เพราะส่วนหนึ่งจะเปลี่ยนเวลาการพักผ่อนไปช่วงหลังสอบ (ปิดภาคเรียน) แล้ว