Jump to content


ไร้กายแต่ไม่ไร้ใจ

เป็นสมาชิกตั้งแต่ 17 กันยายน 2556
ออฟไลน์ เข้าใช้งานครั้งล่าสุด: ส่วนตัว
-----

Posts I've Made

In Topic: ต้องกล้าทุบ ทุนนํ้ามันเถื่อน หนุนการเมือง หนุนโจรแยกดินแดนใต้

17 กันยายน พ.ศ. 2556 - 10:31

ขบวนการค้าน้ำมันเถื่อนไม่สิ้นชื่อ ถ้านักการเมือง (บางคน) ชั่ว รัฐก็เลวเช่นกัน
 
ในการประชุมสภาผู้แทนที่ผ่านมา ที่พรรคฝ่ายค้านได้ยื่นกระทู้ถามรัฐบาลถึงการแก้ปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่มีการจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการแก้ปัญหาความไม่สงบขึ้นเป็นหน่วยงานใหม่ในส่วนกลาง โดย นายสุรเชษฐ แวอาแซ ส.ส.จ.นราธิวาส พรรคประชาธิปัตย์ ได้แสดงความเห็นว่า การตั้งศูนย์ปฏิบัติการแก้ปัญหาความไม่สงบฯ เป็นการตั้งหน่วยงานซ้ำซ้อนที่ไม่สามารถแก้ปัญหาได้ และถามว่า รัฐบาลรู้หรือยังว่ากำลังรบกับใคร มีกำลังเท่าไหร่ และใครเป็นหัวหน้าขบวนการ
       
       ซึ่ง ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี เป็นผู้ตอบกระทู้ถาม โดยนำเอารายงานของ กอ.รมน.ในเรื่องจำนวนตัวเลขของขบวนการแบ่งแยกดินแดนมาเปิดเผย และได้กล่าวในตอนท้ายว่า มีนักการเมืองชั่วในพื้นที่ภาคใต้ค้าน้ำมันเถื่อน ตั้งบ่อนการพนัน ค้าของผิดกฎหมาย เป็นการซ้ำเติมสถานการณ์
 
ดังนั้น ประเด็นที่เขียนถึงในวันนี้คือ เรื่องการค้าน้ำมันเถื่อนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งทำกันเป็นขบวนการใหญ่ เป็นธุรกิจระดับพันล้านที่มีฐานการค้าทั้งทางบก และทางทะเล มีนำเข้าน้ำมันเถื่อนจากประเทศมาเลเซีย สิงคโปร์ และอินโดนีเซียเข้ามาในประเทศ ทั้งทางบก และทางทะเล วันละไม่ต่ำกว่า 10 ล้านลิตร มีการจ่ายส่วยให้เจ้าหน้าที่รัฐ ตั้งแต่ศุลกากร สรรพสามิต และตำรวจ เดือนละ 100 ล้านบาทขึ้นไป 
       
       เรื่องของขบวนการค้าน้ำมันเถื่อนในจังหวัดชายแดนภาคใต้เริ่มคึกคัก และเติบโตอย่างเป็นประวัติการณ์ในยุคที่พรรคประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาล ซึ่งเป็นพรรคประชาธิปัตย์ในยุคที่มี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี และการเติบโตต่อเนื่องมาถึงรัฐบาลของพรรคเพื่อไทย ที่มี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี และมี ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง เป็นรองนายกรัฐมนตรี มี พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ เป็น ผบ.ตร.
       
       โดยครั้งแรก ผู้คนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ติดตามเรื่องการค้าน้ำมันเถื่อน ต่างเชื่อว่า เมื่อพรรคเพื่อไทยเข้ามาเป็นรัฐบาล ขบวนการค้าน้ำมันเถื่อนในภาคใต้ที่ยิ่งใหญ่อย่างไม่เคยมีมาก่อน จะต้องเดือดร้อน และถูกเช็กบิลจากรัฐบาลพรรคเพื่อไทยแน่ เพราะดูจากรูปการ ขบวนการค้าน้ำมันเถื่อนเกี่ยวพันกับนักการเมืองระดับชาติ อดีตนักการเมืองท้องถิ่นที่เป็นคนใกล้ชิดของ ส.ส.ในพื้นที่ และนักการเมืองท้องถิ่น นักธุรกิจ ผู้มีอิทธิพลในพื้นที่ ซึ่งล้วนเป็นคนใกล้ชิด เป็นหัวคะแนน เป็นกระเป๋าเงินในการเลือกตั้งของพรรคประชาธิปัตย์เกือบทั้งสิ้น
       
       แต่สุดท้าย พรรคเพื่อไทย ไม่เคยแตะต้องขบวนการนายทุนน้ำมันเถื่อน และผู้อยู่เบื้องหลังการค้าน้ำมันเถื่อนข้ามชาติ และไม่คยมีนโยบายให้กรมศุลกากร กรมสรรพสามิต และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ดำเนินการจับกุมคุมเข้มการค้าน้ำมันเถื่อนในจังหวัดชายแดนภาคใต้แต่อย่างใด โดยปล่อยให้ขบวนการนี้เติบโตจนสามารถขนน้ำมันเถื่อนจากพื้นที่ จ.สงขลา โดยรถบรรทุกหัวลาก 22 ล้อ ไปจำหน่ายถึงกรุงเทพฯ ทั้งที่ในอดีต การค้าน้ำมันเถื่อนจำกัดตัวในพื้นที่ 7 จังหวัดชายแดนภาคใต้เท่านั้น ซึ่งมีการเชื่อว่า ถ้ารัฐบาลยังไม่มีนโยบายในการปราบปรามน้ำมันเถื่อน อีกไม่นาน น้ำมันเถื่อนจากประเทศมาเลเซียจะมีการส่งขายทั่วประเทศไทยอย่างแน่นอน 
       
       และแม้กระทั่ง พล.ท.อุดมชัย ธรรมสาโรรัชต์ แม่ทัพภาคที่ 4 ในฐานะ ผอ.กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า ได้แถลงข่าวเรื่องภัยแทรกซ้อนว่า สถานการณ์การก่อการร้ายที่รุนแรงมากขึ้น เนื่องจากได้รับการสนับสนุนทางการเงินจากขบวนการค้าน้ำมันเถื่อนข้ามชาติ โดยมีหลักฐานเชื่อมโยง ทั้งเส้นทางการเงิน และตัวบุคคลที่อยู่ในขบวนการค้าน้ำมันเถื่อน แต่ก็ไม่ได้รับความสนใจจากรัฐบาลพรรคเพื่อไทยแต่อย่างใด ทุกอย่างถูกปล่อยให้ กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้าดำเนินการ ในการจับกุม ซึ่ง 1 ปีที่ผ่านมา กอ.รมน. จับกุมได้แต่ปลาซิว ปลาสร้อยพอเป็น ”กระสายยา” ว่าได้ดำเนินการกับภัยแทรกซ้อนอย่างเต็มความสารมารถแล้ว
       
       วันนี้ เส้นทางของขบวนการค้าน้ำมันเถื่อนทางบกที่น่าสนใจ คือ การนำน้ำมันผ่านด่านศุลกากร อ.สะเดา ศุลกากร ต.ปาดังเบซาร์ และศุลกากร ต.ประกอบ อ.นาทวี จ.สงขลา โดยมีการจ่ายเงินให้เจ้าหน้าที่ศุลกากรลิตรละ 2 บาท ส่วนหน่วยงานอื่นๆ เช่น ตำรวจแต่ละโรงพัก ที่รถยนต์บรรทุกน้ำมันเถื่อนต้องผ่านมีการจ่ายเป็นรายเดือน เช่นเดียวกับสรรพสามิตที่มีการเรียกเก็บเป็นรายเดือน โดยมี ตำรวจจากชุดปราบปรามน้ำมันเถื่อนเป็นหน่วยงานหน่วยใหญ่ที่จะ “โฉบไปโฉบมา” เพื่อเก็บเงินให้แก่หน่วยงานที่ตนสังกัด
       
       ส่วนที่ จ.สตูล พื้นที่ทางบกที่สำคัญที่สุด คือ การนำเข้าน้ำมันจากประเทศมาเลเซียเข้ามาทางด่านศุลกากรบ้านวังประจัน วันละไม่ต่ำกว่า 1 ล้านลิตร โดยขณะนี้ หมู่บ้านวังประจันได้กลายเป็นสถานที่เก็บน้ำมันเถื่อนแนวชายแดนที่ใหญ่ที่สุด ทั้งหมู่บ้านมีคลังน้ำมันเถื่อนนับร้อยแห่ง มีรถกระบะดัดแปลงติดแท็งก์บรรทุก 3,000 ลิตร วิ่งเข้า-ออก เพื่อขนถ่ายน้ำมันตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อส่งไปยังลูกค้าในพื้นที่ จ.ตรัง กระบี่ นครศรีธรรมราช ส่วนในพื้นที่ อ.สุไหงโก-ลก อ.ตากใบ อ.แว้ง จ.นราธิวาส มีการขนถ่ายน้ำมันเถื่อนจากประเทศมาเลเซีย เข้ามากักเก็บไว้ตามคลังน้ำมันเถื่อนนับ 100 แห่งเช่นกัน และมีรถบรรทุกน้ำมัน ตั้งแต่ 7,000 ลิตร จนถึง 15,000 ลิตร ขนน้ำมันเหล่านั้นไปส่งยังหลายจังหวัดในภาคกลางของประเทศ
       
       และถ้ามาดูการขนน้ำมันเถื่อนทางทะเลฝั่งอ่าวไทย และฝั่งอันดามันจะพบว่า ด้านอ่าวไทย ตั้งแต่ท่าเทียบเรือ จ.นราธิวาส จ.ปัตตานี จ.สงขลา จ.นครศรีธรรมราช คือทำเลทองของการขนถ่ายน้ำมันเถื่อน โดยเฉพาะใน จ.สงขลา ตั้งแต่ อ.เทพา จนถึง อ.ระโนด และท่าเทียบเรือในเขตเทศบาลนครสงขลา คือ ท่าขนถ่ายน้ำมันที่ใหญ่ที่สุด และขนถ่ายอย่างเสรี โดยไม่มีเจ้าหน้าที่หน่วยไหนจับกุม โดยประชาชนในพื้นที่ต่างรู้กันดีว่า น้ำมันเถื่อนทั้งหมดอยู่ในการ “คุ้มครอง” ของนักการเมืองระดับชาติ และนายกเทศมนตรีคนดังในพื้นที่
 
 
 
       ดังนั้น การที่ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ตอบโต้ นายสุรเชษฐ์ แวอาแซ ส.ส.จ.นราธิวาส พรรคประชาธิปัตย์ เรื่องปัญหาการดับไฟใต้ที่ว่า “มีนักการเมืองชั่วค้าน้ำมันเถื่อน และเปิดบ่อนที่ชายแดนภาคใต้” แสดงให้เห็นว่า ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ทราบปัญหาภัยแทรกซ้อนที่หนุนเสริมความรุนแรงของสถานการณ์การก่อการร้ายในจังหวัดชายแดนภาคใต้ดี รวมทั้งรู้รายละเอียดว่า ผู้อยู่เบื้องหน้า และเบื้องหลังขบวนการค้าน้ำมันเถื่อนเป็นใคร เป็นนักการเมืองชื่ออะไร พรรคไหน ทำกันอย่างไร ซึ่งตรงนี้ไม่แปลกใจ เพราะนักการเมืองระดับ “เกจิ” อย่าง ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ย่อมรู้เรื่องเลวๆ ชั่วๆ ของ ส.ส.พรรคฝ่ายค้านได้ดี เพื่อประโยชน์ทางการเมือง 
       
       แต่ที่แปลกใจ คือ พรรคเพื่อไทยเป็นรัฐบาลมาปีกว่า กลับไม่เคยคิดที่จะแก้ปัญหาเรื่องน้ำมันเถื่อนในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง ทั้งที่ได้รับรายงานจาก กอ.รมน.มาโดยตลอดว่า ขบวนการค้าน้ำมันเถื่อน คือ ส่วนหนึ่งของปัญหาความรุนแรงของการก่อการร้าย นอกจากนั้น การค้าน้ำมันเถื่อนอย่างเป็นขบวนการ คือ การทำลายเศรษฐกิจของชาติทั้งทางตรง และทางอ้อม
       
       คำถามจากประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่มีต่อพรรคเพื่อไทย มีต่อ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี คือ “ส่วย” จากน้ำมันเถื่อน ที่ผ่านมือเจ้าหน้าที่ศุลกากร สรรพสามิต และตำรวจ ถูกส่งถึงมือของนักการเมืองพรรคเพื่อไทยด้วยหรือไม่ เพราะถ้าไม่ ทำไมจึงไม่มีการแก้ปัญหาด้วยการสั่งให้หน่วยงานทั้ง 3 หน่วย คือ ศุลกากร สรรพสามิต และตำรวจดำเนินการปราบปรามขบวนการค้าน้ำมันข้ามชาติ
       
       เพราะการรับรู้ และอยู่นิ่งเฉยทั้งของรัฐบาลพรรคเพื่อไทย และของ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ต่อการทำลายชาติของนักการเมืองในพื้นที่โดยไม่ทำอะไรนั้น ถ้า ร.ต.อ.เฉลิม กล่าวว่า นักการเมืองเหล่านั้นเป็น “นักการเมืองชั่ว” แสดงให้เห็นว่า สุดท้าย รัฐบาลพรรคเพื่อไทย และรองนายกรัฐมนตรีอย่าง ร.ต.อ.เฉลิม ก็น่าจะอยู่ในข่ายเดียวกับนักการเมือง “ชั่ว” ประดานั้น 
       
       แต่ที่หนักกว่า คือ เมื่อรัฐบาล และรองนายกรัฐมนตรีต่างรู้ตัวผู้ทำความผิด แต่ไม่ดำเนินการจับกุม จะเข้าข่ายทำผิดกฎหมาย มาตรา 157 คือ การละเว้นการปฏิบัติหน้าที่หรือไม่ และถ้าเข้าข่ายย่อมถูกกล่าวโทษ เพื่อดำเนินคดีตามกฎหมายได้เช่นกัน

In Topic: ต้องกล้าทุบ ทุนนํ้ามันเถื่อน หนุนการเมือง หนุนโจรแยกดินแดนใต้

17 กันยายน พ.ศ. 2556 - 10:12

กระทู้ไฟใต้เดือด"เฉลิม"ปูดนักการเมืองค้าน้ำมันเถื่อน-เปิดบ่อน"ปชป.โต้วุ่น เย้ยไม่กล้าลงพื้นที่
 
เมื่อเวลา 12.10 น. ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร สมัยสามัญทั่วไป โดยมีนายวิสุทธิ์ ไชยณรุณ รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 2 เป็นประธานการประชุม ที่ประชุมได้พิจารณากระทู้ถามสดของนายสุรเชษฐ์ แวอาแซ ส.ส.นราธิวาส พรรคประชาธิปัตย์ เรื่อง สถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมี ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี เป็นผู้ชี้แจง แทน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี
 
นายสุรเชษฐ์กล่าวว่า เหตุการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ นายกฯผู้เดียวที่จะตอบคำถามได้ เพราะเป็นผู้มีอำนาจสูงสุด แต่นายกฯกลับไม่ชอบตอบคำถามเอง อยากถามว่า รัฐบาลนี้มีมาตรการแก้ปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างไร
 
ร.ต.อ.เฉลิมชี้แจงว่าเข้าใจดีว่าสถานการณ์ภาคใต้ไม่ใช่เรื่องของรัฐบาล หรือฝ่ายค้าน แต่เป็นสถานการณ์บ้านเมืองที่ได้รับการติดตามทั้งในและนอกประเทศ เรามีรายชื่อผู้ก่อความไม่สงบครบ ทหารได้รายงานมาให้แล้วมีใครเป็นใครแต่ไม่สามารถบอกได้ต้องเก็บเป็นความลับ ตอนนี้มีผู้ต้องหาติดต่อขอมอบตัวแล้ว 40 คน ปัจจุบันมีกำลังที่สามารถพิสูจน์ทราบได้ 9.4 พันคน แบ่งเป็นแกนนำและกองกำลัง 2.6 พันคน ที่เหลือเป็นแนวร่วมกำลังเพิ่มเติม 6.7 พันคน กำลังดังกล่าวมีโครงสร้างและรายชื่อหมดแล้วแต่บอกไม่ได้
            
"ไม่รู้จริงๆ ว่าสู้รบกับใครแต่ในการข่าวเขามีรายละเอียดว่าผู้ก่อเหตุเป็นกลุ่มเสียผลประโยชน์จากการใช้กฎหมาย ส่วนการแก้ปัญหาปักษ์ใต้อีก 3 ปีจะจบหรือไม่ ผมไม่มั่นใจเพราะเป็นเรื่องใหญ่ ไม่ใช่แค่พลิกฝ่ามือ โดยเฉพาะนักการเมืองบางคนไปค้าน้ำมันเถื่อนทั้งในทะเลและบนบก เปิดบ่อนการพนันรอยตะเข็บชายแดนมาเลเซียทางพื้นที่สะเดาแล้วมาสร้างความวุ่นวาย ตรงที่ไปๆ มาๆ มาเลเซียได้จะใช้กองทัพมดขนสินค้าหนีภาษีแล้วสร้างอิทธิพลท้องถิ่น อีกส่วนหนึ่งเป็นพวกค้ายาเสพติดขนมาจากภาคเหนือทยอยลงภาคใต้ ถามว่ากองทัพรู้หรือไม่ เขารู้และเขาก็บอกรัฐบาล" ร.ต.อ.เฉลิมกล่าว
            
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากนั้น ส.ส.ในพื้นที่ภาคใต้พรรคประชาธิปัตย์ ได้ใช้สิทธิประท้วง ร.ต.อ.เฉลิม ในกรณีที่พาดพิงว่ามีนักการเมืองอยู่เบื้องหลังเหตุการณ์ความรุนแรงในภาคใต้ โดยนายประเสริฐ พงษ์สุวรรณศิริ ส.ส.ยะลา พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ร.ต.อ.เฉลิมไม่ควรอภิปรายเพื่อตีกินทางการเมืองเช่นนี้ หากรู้ว่านักการเมืองชื่ออะไร และเป็นนักการเมืองสังกัดพรรคไหน ก็ขอให้จับเลย เพราะการพูดเช่นนี้คนจะหาว่าเป็นตน เพราะตนเป็นนักการเมืองที่อยู่ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ไม่ใช่ว่าแก้ปัญหาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ไม่ได้ ก็โยนบาปให้คนในพื้นที่
 
ด้านนายเจะอามิง โต๊ะตาหยง ส.ส.นราธิวาส พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า การที่กล่าวหานักการเมืองนั้น ร.ต.อ.เฉลิมกล้าเปิดเผยหรือไม่ว่าใครมีพฤติกรรมอย่างไร ถ้าไม่ดำเนินคดีกับคนที่ผิดก็ถือว่าละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ที่สำคัญรองนายกฯไม่กล้าลงพื้นที่
 
ร.ต.อ.เฉลิมชี้แจงว่า การพูดดังกล่าวไม่ได้เจาะจงว่าเป็นใครเพียงแต่เป็นนักการเมืองที่มีผลประโยชน์เท่านั้น