Jump to content


ราวิ

เป็นสมาชิกตั้งแต่ 11 มกราคม 2557
ออฟไลน์ เข้าใช้งานครั้งล่าสุด: 13 มกราคม 2557 23:31
-----

#1004685 อยากเชียร์นะ แต่ตอบหน่อยว่าจะปฎิรูปยังไงบ้าง

โดย RED MORON on 13 มกราคม พ.ศ. 2557 - 19:22

เฮ้ย ผมเริ่มจะทนไม่ไหวแล้ว คนเสื้อแดงซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ เขาจะไปเลือกตั้งกัน เรื่องปฏิรูปเขาไม่สนใจหรอก เห็นที่ออกมากจุดเทียน เดินขบวนกันไหม มีคำว่าปฏิรูปมั้ย???

พวกคุณอยากจะปฏิรูป ก็ไปเลือกตั้งสิ ให้ตัวแทนคุณไปปฏิรูปตามระบบรัฐสภา เรื่องง่ายๆต้องทำให้ยาก ไอ้พวกกบฏง่าว!!!

 

ผมขอเตือนเลยนะ ถ้าพวกทหารออกมา นองเลือดแน่นอน ผมและคุณราวิจะไม่ยอมไอ้พวกอำมาตย์ทรราชอีกต่อไปแล้ว 

ขอโทษคุณราวิด้วย แต่ผมไปละ ไม่เสวนาเรื่องปฏิรูปบ้าบออะไรในกระทู้นี้อีกแล้ว เพราะไอ้พวกกบฏมันพูดไม่รู้เรื่อง!!!




#1004578 อยากเชียร์นะ แต่ตอบหน่อยว่าจะปฎิรูปยังไงบ้าง

โดย ทรงธรรม on 13 มกราคม พ.ศ. 2557 - 18:42

คุณราวิ ไปมองมุม แง่ร้ายมากเกินไป

 

ลุงสุเทพ บอกจะปฏิรูป ยังไงตอนนี้ ใช่ว่า

 

ถึงเวลา จะเป็นอย่างนั้น ทุกอย่าง

 

ผมถามว่า ถ้าลุง ไม่พูดวิธี อะไรเลย

 

 

ก็จะมีคนถามว่า จะทำอย่างไร

 

แต่พอพูดไป ก็มีคนค้าน และบอกว่า

 

ทำอย่างนี้ไม่ได้ ไม่เป็นกลาง

 

 

ดังนั้น บอกวิธีไปตอนนี้ มันก็ยัง

 

ไม่ตกผลึก จริง ๆ อะครับ

 

รอให้ ยิ่งลักษณ์ ลาออก เปิดทางให้ก่อน

 

ผมเชื่อว่า คนกลาง ๆ ต้องได้เข้าร่วม ปฏิรูป ได้แน่

 

 

บอกอะไร ไปก่อน คำคัดค้านมันเยอะ

 

ร้อยพ่อ พันแม่ คิดเหมือนกัน ได้ยังไง

 

 

แต่ถ้าสิ่งที่ กปปส ต้องการ ผมบอกคร่าว ๆ แค่

 

จุดประสงค์ แต่วิธีการ บอกไม่ได้ เพราะต้องคุยกันอีกเยอะ

 

1 การกระจายอำนาจ สู่ท้องถิ่น

 

2 การป้องกัน คอร์รัปชั่น และการลงโทษ อย่างเด็ดขาด

 

3 การปฏิรูป อำนาจต่อข้าราชการ ไม่ให้นักการเมือง ครอบงำ (รวมถึงตำรวจ)

 

4 การปฏิรูป พลังงาน ทุกวันนี้ พลังงาน มีการผูกขาด ทำให้ ราคาสูง เดือดร้อนประชาชนมาก

 

5 การปฏิรูป การศึกษา เพื่อให้เน้นคุณภาพ มากกว่า การเรียนเพื่อคะแนน

 

6 การปฏิรูป สวัสดิการขั้นพื้นฐาน การเข้าถึงการรักษา เนื่องจาก

 

ปัจจุบัน สปสช ขาดแคลน งบประมาณ อย่างมาก ต้องได้รับการเอาใจใส่




#1004518 อยากเชียร์นะ แต่ตอบหน่อยว่าจะปฎิรูปยังไงบ้าง

โดย RED MORON on 13 มกราคม พ.ศ. 2557 - 18:24

 

ผมอ่านดูแล้ว ยากชิบหายเลย ยากกว่าไปดวงจันทร์ แต่ผมว่าต้องทำนะ

เสร็จพร้อมๆกับรถไฟความเร็วสูงครับ ฮ่าๆ

 

 

อืม คุณราวิก็พูดถูก อย่างที่ผมว่าปฏิรูปมันยากยิ่งกว่าไปดวงจันทร์ ปัญหามันเยอะ อย่าทำเลย

ผมว่าบ้านเมืองเราก็ไม่ได้มีปัญหาอะไร ไปเลือกตั้งกันดีกว่า

 

 

 

เรื่องรถไฟ ผมเห็นด้วยนะ แต่ 2 ล้านล้าน มันจะไม่อยู่อะดิ แค่ประชาสัมพันธ์ก็ 940 ล้านแล้ว แถมไปได้แค่หัวหิน กับโคราช

%E0%B8%87%E0%B8%9A%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%




#1004497 อยากเชียร์นะ แต่ตอบหน่อยว่าจะปฎิรูปยังไงบ้าง

โดย สมชัย พิชัย on 13 มกราคม พ.ศ. 2557 - 18:15

โครงร่างของการปฏิรูปมีแล้ว จาก คณะกรรมการปฏิรูปประเทศ หรือ คณะสมัชชาปฏิรูปประเทศ นั่นแหละ

 

แต่จะให้ กปปส บอกเลยว่าต้องปฏิรูปขั้นตอนชัดเจนอย่างนั้น ก็ไม่ต้องเรียกร้องสภาประชาชนสิครับ 

 

เพราะเค้าต้องการ สภาประชาชน ที่ประชาชนมีส่วนร่วมเป็นคนจัดการ ไม่ใช่มาจากการครองงำของ กปปส




#1004491 อยากเชียร์นะ แต่ตอบหน่อยว่าจะปฎิรูปยังไงบ้าง

โดย ไทยไม่ทน on 13 มกราคม พ.ศ. 2557 - 18:10

ถ้าพูดถึงความน่าเชื่อถือ 

 

รัฐบาลหมดความน่าเชชื่อถือไปนานแล้ว

เพราะตั้งแต่เริ่มดำรงตำแหน่ ก็มีคนท้วงเรื่องปฏิรูป

แต่ไม่เคยทำอะไรเลย ที่บ่งบอกถึงความพยายามที่จะปฏิรูป

 

และที่สำคัญ นักการเมือง ปฏิรูปเอง กับประชาชนปฏิรูปเองโดยไม่มีนักการเมืองมาแทรกแซง

อย่างไหนน่าจะเป้นประโยชน์กับประชาชนมากกว่า จงคิดเอา

 

ปล.ผมตอบพี่น้องเสื้อแดงทีเค้าไม่เคยอ่าน เหมือนผมพิมพ์ให้เพื่อนๆสมาชิกเสรีไทยอ่านมากกว่า

ที่ผ่านมาเลยด่าแหลกเพราะทนไม่ไหว แต่จะกลับมาพยายาม ตอบดีๆกับพี่น้องเสื้อแดงละครับ




#1004475 อยากเชียร์นะ แต่ตอบหน่อยว่าจะปฎิรูปยังไงบ้าง

โดย RED MORON on 13 มกราคม พ.ศ. 2557 - 18:03

ผมอ่านดูแล้ว ยากชิบหายเลย ยากกว่าไปดวงจันทร์ แต่ผมว่าต้องทำนะ




#1004463 อยากเชียร์นะ แต่ตอบหน่อยว่าจะปฎิรูปยังไงบ้าง

โดย RED MORON on 13 มกราคม พ.ศ. 2557 - 17:59

งั้นผมลองเอามาให้คุณราวิลองอ่านดูนะ

 

1) ปฏิรูปการเมือง

หลักการสำคัญข้อแรกของระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข คือ อำนาจทางการเมืองที่ได้มาจากประชาชนต้องมีขอบเขตจำกัด โดยกฎหมาย ตามกฎกติกา และค่านิยม ธรรมเนียมปฏิบัติอันทรงคุณค่าของสังคม และต้องตระหนักว่า “เสียงข้างมากไม่ใช่ ”ประทานบัตร” หรือใบอณุญาต ที่ให้อำนาจผู้ถือสิทธิ์จัดการกับประเทศตามอำเภอใจ ไม่มีขอบเขต ไม่คำนึงถึงความถูกต้อง หลักนิติธรรม ค่านิยมของสังคมใดๆ ทั้งสิ้น

สร้างเสริมกลไกในการตรวจสอบถ่วงดุลย์อำนาจฝ่ายต่างๆ ที่อาจจะเหลื่อมล้ำเกินเลยขอบเขตของกรอบกฏหมาย ละเมิดสิทธิฝ่ายอื่น เพื่อประโยชน์ส่วนตนหรือพวกพ้องครอบครัว และกำหนดให้มีกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างรัดกุมและมีประสิทธิภาพ และกลไกดังกล่าวจะต้องได้รับการปกป้องคุ้มครอง ไม่ให้มีการอ้างสิทธิจากเสียงข้างมากเข้ามาก้าวก่าย จนเสียความเป็นกลาง ขาดอิสระ และไร้ประสิทธิภาพ

 

2) ปฏิรูประบบตรวจสอบอันเข้มข้นจากภาคประชาชน เพื่อต่อต้านคอรัปชั่น การฉ้อราษฏร์บังหลวง

ในระยะเวลาที่ผ่านมาการบริหารจัดการโอกาสและทรัพย์สมบัติของแผ่นดิน ทั้งในรูปของงบประมาณแผ่นดิน ทรัพยากรธรรมชาติ กิจการรัฐวิสาหกิจ ได้ถูกครอบงำ ตักตวงผลประโยชน์ทุกรูปแบบ จนทำให้ผลประโยชน์สูงสุดไม่ตกเป็นของประเทศชาติและประชาชน ถ้าคิดเป็นมูลค่าเป็นตัวเงินเกิดการรั่วไหลกว่า 300,000 ล้านบาทต่อปี

นอกจากนั้นทรัพย์สินของรัฐ สมบัติของแผ่นดินต้องได้รับการปกป้อง แยกส่วนชัดเจนจัดการ จากทรัพย์สินส่วนตัว ไม่ปะปนสับสนเป็นกงสีของตระกูล เครือญาติ และพรรคพวก มาตรการต่างๆ ที่ควรจะพิจารณาจัดตั้ง คือ

- มีองค์กรตรวจสอบภาคประชาชน ให้ภาคประชาชนมีสิทธิ์ในการตรวจสอบ และฟ้องร้องดำเนินคดีได้
- กำหนดให้มีบทลงโทษที่ชัดเจน มีกระบวนการกฏหมายให้มีการปฏิบัติอย่างรัดกุม ในการที่หน่วยงานรัฐไม่เปิดเผยข้อมูลข่าวสารต่อสาธารณะตาม พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสาร
- คดีคอรัปชั่นไม่มีหมดอายุความ

 

3) ปฏิรูประบบราชการและกระจายอำนาจ

ระบบราชการต้องปลอดจากการเมือง ข้าราชการมีศักดิ์ศรี เป็นอิสระ มีสิทธิ์ในการบริหารจัดการกิจการภายในองค์กรของตนเองตามกรอบและกฎเกณฑ์โดยกฎหมายเฉพาะสำหรับแต่ละหน่วยงานที่ชัดเจน เพื่อมิให้เป็นกลไกเพื่อเพิ่มพูนแสวงหาและรักษาผลประโยชน์ของครอบครัว และพวกพ้อง เหมือนที่เป็นอยู่ตั้งแต่ในอดีตและรุนแรงยิ่งขึ้นเรื่อยๆ จนถึงปัจจุบัน

กลไกการปกครองของรัฐต้องมีการกระจายโอกาสให้ประชาชนและภาคประชาสังคม มีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายของชุมชนและองค์กรปกครองท้องถิ่น ตลอดจนการใช้ และเข้าถึงซึ่งทรัพยากรในท้องถิ่นของตน โดยคำนึงถึงการพัฒนาที่ยั่งยืน เพื่อคุณภาพชีวิตของประชากรของประเทศร่วมกัน

- เลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด
- ยกเลิกการปกครองส่วนภูมิภาค กระจายอำนาจราชการสู่ท้องถิ่น กำหนดให้หน่วยงานภายใต้สังกัดของมหาดไทย การศึกษา การเกษตร การพาณิชย์ การส่งเสริมการลงทุน ฯลฯ อยู่ภายใต้อำนาจของท้องถิ่น
- งบประมาณของแผ่นดินไม่น้อยกว่า 35% ให้อยู่ในการดูแลของรัฐบาลท้องถิ่นในทุกระดับ
- กำหนดการกระจายอำนาจให้เป็นวาระแห่งชาติที่ทุกรัฐบาลต้องดำเนินการ
- ตำรวจสังกัดท้องถิ่น อยู่ภายใต้ผู้ว่าราชการจังหวัดที่มาจากการเลือกตั้ง
- ปฏิรูประบบราชการ ข้าราชการทำงานเพื่อประชาชนอย่างแท้จริง ตอบโจทย์สังคมที่เปลี่ยนไป
- ขจัดการการแทรงแซงของภาคการเมือง และระบบอุปถัมภ์
- มีการจัดตั้งสภาประชาชนในทุกจังหวัดเพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบหน่วยงานท้องถิ่น
- เป็นภาคีกับองค์กรระหว่างประเทศเพื่อต่อต้านคอรัปชั่น เพื่อผูกพันประเทศไทยต้องมีระบบการตรวจสอบ ป้องกันที่มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับในระดับสากลมากยิ่งขึ้น เช่น อนุสัญญา ต่อต้านคอรัปชั่นของ OECD ปี 2011 และ ข้อตกลง ASEAN Supreme Audit Institutions Assembly

 

4) ปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคม เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางรายได้และโอกาส ให้คนไทยหลุดพ้นจากความยากจน บนพื้นฐานเศรษฐกิจที่ยั่งยืน

พัฒนาเศรษฐกิจของประเทศแบบทั่วถึง และเป็นธรรม มีเป้าหมายขจัดความเหลื่อมล้ำที่ชัดเจน มีดัชนีบอกวัดความเหลื่อมล้ำที่แม่นยำ ไม่ให้เกิดสภาพการ “รวยกระจุก จนกระจาย” อีกต่อไป

- สร้างโอกาสในการเข้าถึงแหล่งทุนระยะยาว
- แก้ปัญหาการถือครองที่ดิน ให้มีที่ดินทำกินอย่างทั่วถึง ควบคู่ไปกับการจัดการกับที่ดินที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์
- ปรับโครงสร้างกระบวนการผลิต การจัดการหลังการเก็บเกี่ยว การแปรรูป การตลาด และการขนส่ง สำหรับภาคเกษตร ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง เกษตรอินทรีย์ และเกษตรผสมผสาน
- ลงทุนระบบชลประทาน ทุกชุมชนต้องเข้าถึงแหล่งน้ำได้

 

5) ปฏิรูปการศึกษาเพื่อให้ทุกคนมีโอกาสทางการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างเท่าเทียมกัน

ให้โอกาสทางการศึกษา พัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างทั่วถึงเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ เคารพและให้เกียรติต่อกัน มีความปรองดองในหมู่ประชากรที่มีความหลากหลาย ด้วยความเสมอภาค ปราศจากการแบ่งแยก เลือกปฏิบัติ กีดกัน รังเกียจเดียดฉันท์ เนื่องด้วยความแตกต่างทางสังคม วัฒนธรรม ศาสนา ตลอดจนความเห็นทางการเมืองที่ต่างกัน

- สร้างโอกาสที่เท่าเทียมกันในการเข้าถึงการศึกษา เด็กยากจนต้องได้เข้าเรียนทุกคน ไม่มีใครตกหล่นจากระบบการศึกษา (No child left behind) เพื่อให้มีอัตราการเข้าศึกษา 100% จาก อนุบาล 1 จนถึงมัธยมศึกษาปีที่ 6
- มีการจัดการอบรมสำหรับครู รวมทั้งปรับปรุงหลักสูตรการเรียนให้มีมาตรฐาน น่าสนใจต่อผู้เรียน
- มีการวัดผลโรงเรียน ครู และกระบวนการสอน อย่างโปร่งใส รัดกุม ได้มาตรฐาน โดยผู้เชี่ยวชาญและกระบวนการที่ตรวจสอบได้ โดยใช้ประสิทธิผลของนักเรียนเป็นดัชนีชี้วัด

 

6) ปฏิรูประบบสวัสดิการเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างทั่วถึง โดยคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ (Human Dignity) และความมั่นคงมนุษย์ (Human Security)

จัดเก็บภาษีอย่างทั่วถึงเป็นธรรม มุ่งเป็น สังคมสวัสดิการ ให้ทุกชีวิตดำรงอยู่อย่างเสมอภาค มีความมั่นคงบนพื้นฐานแห่งศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์อย่างเท่าเทียมกัน – ทั้งชีวิตเราดูแล “จากครรภ์มารดาสู่เชิงตะกอน”

- การดูแลตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา ช่วงก่อนเข้าเรียน และในช่วงวัยเรียน ตลอดจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน
- การขยายระบบประกันสังคมและบำนาญที่มีประสิทธิภาพ เหมาะสมและเป็นธรรม อย่างทั่วถึง

 

7) เศรษฐกิจที่มีการแข่งขันอย่างโปร่งใส เป็นธรรม เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค

- บังคับใช้กฎหมายการแข่งขันทางการค้าอย่างจริงจัง
- จัดตั้งองค์การคุ้มครองผู้บริโภคที่มีตัวแทนของภาคประชาชน และเป็นองค์กรที่เป็นอิสระนอกเหนือจากระบบราชการ

 

8) ปฏิรูปสื่อสารมวลชน

สิทธิเสรีภาพของสื่อมวลชนเป็นหลักการพื้นฐานที่สำคัญของระบอบประชาธิปไตย ประชาชนต้องมีข้อมูลสำหรับการตัดสินใจ มีส่วนร่วมทางการเมืองอย่างมีประสิทธิภาพ การแสดงออกซึ่งความคิดเห็นที่แตกต่าง โดยสันติ มีสิทธิ์ในการได้รับและเข้าถึงข้อมูลและข่าวสารของรัฐ จะต้องมีการคุ้มครอง ปกป้องอย่างจริงจัง ปราศจากการแทรกแซงโดยอำนาจรัฐ และอิทธิพลทางการเมือง ต้องไม่ถูกใช้เป็นเครื่องมือ

- สื่อมวลชนทุกแขนงต้องนำเสนอข่าวที่เท่าเทียมกันระหว่างฝ่ายรัฐบาล ฝ่ายค้าน และ ภาคประชาชน
- กำหนดมาตรฐานจริยธรรมของสื่อ มีองค์กรวิชาชีพเป็นเครื่องมือในการควบคุมจริยธรรมและจรรยาบรรณของสื่อสารมวลชน

 

9) ปฏิรูประบบยุติธรรม

สิทธิการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมอย่างทั่วถึง มีการบังคับใช้กฏหมายอย่างเท่าทียม ไม่ใช้กระบวนยุติธรรมเพื่อเป็นเครื่องมือกลั่นแกล้งทางการเมือง และผู้ที่ด้อยโอกาสในสังคม ไม่มีสองมาตรฐาน

- พิจารณาคดีในรูปแบบคณะอัยการ สำหรับคดีสำคัญ คดีที่มีความเกี่ยวกับสังคมส่วนรวม ไม่รวบอำนาจไว้ที่อัยการสูงสุด
- มีตัวแทนภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในระบบอัยการ เช่น อยู่ใน คณะกรรมการอัยการที่แต่งตั้งอัยการ หรือคัดเลือกองค์คณะอัยการในคดีที่สำคัญของแต่ท้องที่ เช่นคดีการเมืองในจังหวัด คดีการเมือง คดีผู้มีอิทธิพล
- ป้องกันการล้มคดี ในระดับตำรวจในคดีสำคัญให้อัยการร่วมในการสืบสวน หาพยานและหลักฐานด้วย




#1004462 อยากเชียร์นะ แต่ตอบหน่อยว่าจะปฎิรูปยังไงบ้าง

โดย ไทยไม่ทน on 13 มกราคม พ.ศ. 2557 - 17:58

 

คือเห็นเชียร์กันจังปฏิรูป ผมก็อยากเห่อตามกระแสบ้างนะครับ

แต่พอมาย้อนถามตัวเองดูว่า ปฏิรูปยังไงวะ? แม่มตอบตัวเองไม่ได้อะครับ

คือไอ้การจัดตั้งจากทุกสาขาอาชีพ แล้วให้ กปปส. เลือกมาเนี่ย คือรู้แล้วครับ

ไม่ต้องบอกหลายรอบ กปปส. เลือกมายกแผงก็ไม่ขัดข้องครับ

แต่ที่อยากรู้จริงๆและต้องการสักคนที่ตอบได้ ปฏิรูปยังไงวะ?

ขั้นตอนแบบไหน? มีโครงร่างคร่าวๆมั้ย? ระยะเวลาที่ชัดเจนละ?

แล้วผลสรุปจะเป็นแบบไหน? ถ้ามันไม่เป็นอย่างนั้นจะรับมือยังไง?

 

เนี่ยๆๆ อยากรู้แค่นี้แหละแสส คือไม่ต้องบอกว่าจะคัดสรรคนดี คนดง อะไรหรอก

กุบอกว่าทักษิณเป็นคนดีเมิงเชื่อกุปะละ เออ ก็ไม่เชื่อ แล้วทำไมต้องเชื่อว่าคนดีของเมิงมันดีวะ

แต่ไม่ไรนั่นไม่ใช่ประเด็นที่อยากถามคือ สมมุติเมิงจะบอกว่าทำให้การเลือกตั้งขาวสะอาดขึ้น(ยกตัวอย่าง)

 

ยังไง

 

ยังไง

 

ยังไง

 

อยากรู้แค่กระบวนการที่เมิงจะทำนี้แหละแสสสสส

 

ถูกต้องครับผมเห็นด้วย

ไหนๆ แผนปฏิรูป คนที่นี่เอามาโชว์หน่อยสิ เห็นว่าเป็นเสรีไทย ฉลาดกันนักนะ!!!

 

 

พิมพ์เขียวการปฏิรูปยัง ให้แบบชัดเจนไม่ได้

เพราะต้องรอ ประชาชนทุกสาขาอาชีพ มานั่งคุยตกลงกติกากันก่อนเพื่อประโยชน์ของประชาชน

ซึ่งถ้าทำแบบพิมพ์เขียวเสียแต่ตอนนี้ มันจะกลายเป็นเดธล๊อค ประชาชนจะไม่มีส่วนในการปกิรูปอย่างแท้จริง

 

แต่ที่มีแน่ๆคือ กฏหมายและกระบวนการ ลดบทบาทอำนาจของข้าราชการและนักการเมือง นี้มีแน่

กฏหมายลงโทษสำหรับคดีคอร์รัปชั่นไม่มีอายุความไม่ว่าโทษจะเบาแค่ไหน

 

ที่เหลือ ต้องรอการประชุมตกลงจากทุกฝ่ายเสียก่อนถึงจะตั้งพิมพ์เขียวได้

 

ความคิดผมนะ ถ้าจะกวนตีน เฉยๆ ก็เป็นควายโง่ๆต่อไป