Jump to content


เมือกมั่ง

เป็นสมาชิกตั้งแต่ 17 มกราคม 2557
ออฟไลน์ เข้าใช้งานครั้งล่าสุด: 27 มกราคม 2557 21:34
-----

Topics I've Started

ด่วน กปปส ถูกทำร้าย ช่วยกันด้วย

27 มกราคม พ.ศ. 2557 - 17:50

เจาะข่าวเด่น 27 มค 2557

 

ทำร้าย จิตใจ อย่างไร 

 

ไปดูเอง คร่า

ส่งใจไปช่วย นะคร่าาาาา

 

เห็นจะใช้ท่าไม้ตาย รอปฏิวัติอย่างเดียว 


กปปส ปิดล้อมไม่ให้ ผู้ต้องการเลือกตั้งเข้าไปใช้สิทธิ เป็นเหมือนกองโจร เผด็จการ เข้าไป...

26 มกราคม พ.ศ. 2557 - 10:20

กปปส ปิดล้อมไม่ให้ ผู้ต้องการเลือกตั้งเข้าไปใช้สิทธิ   เป็นเหมือนกองโจร เผด็จการ เข้าไปทุกวัน
 
ทำบ้านเมืองปั่นป่วน
 
ยิ่งหมดความชอบธรรมที่คนจะสนับสนุนมากขึ้น
เพราะคนเรา ไม่ว่าชาติไหนก็ไม่ชอบให้ใครมาบังคับให้ตัวเองทำอะไร
เป้นการล่วงเกินสิทธิและเสรีภาพ 
 
นี่แหละ!!!!!!!!!!! ทำให้เห็นเลยว่า
ใครกันแน่ที่ต้องการปฎิรูป
 
กปปส นั่นแหละ ที่ประเทศให้แย่ลง ทำให้กลายเป้นเผด็จการเข้าไปทุกที

“พรรคประชาธิปัตย์” ควรจะลงเลือกตั้งหรือไม่ หากมีสิทธิ ตัดสินใจอีก รอบ

25 มกราคม พ.ศ. 2557 - 19:30

ตลก กับ กกค ดันเปิดทาง ให้แล้ว

 

“พรรคประชาธิปัตย์” ควรจะลงเลือกตั้งหรือไม่ หากมีสิทธิ ตัดสินใจอีก รอบ

 

คิดเห็นกันอย่างไร


ปชช.ร้อยละ 79.6 ตั้งใจไปใช้สิทธิเลือกตั้ง 2 กพ. แม้การเมืองแรง ไม่เห็นด้วยรัฐประหาร

25 มกราคม พ.ศ. 2557 - 09:47

 วันที่ 24 ม.ค. ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) ได้สำรวจความคิดเห็น ประชาชนเรื่อง "การเลือกตั้งท่ามกลางความขัดแย้งทางการเมือง" โดยเก็บข้อมูลกับประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,018 คนพบว่า ประชาชนร้อยละ 49.3 ยังไม่เห็นการหาเสียงของผู้สมัคร เห็นเพียง ป้ายหาเสียง และร้อยละ 16.1 ยังไม่เห็นการหาเสียงในรูปแบบใดๆ เลย ขณะที่ร้อยละ 29.7 เห็นการหาเสียงของผู้สมัครแต่ไม่คึกคัก และมีเพียงร้อยละ 4.9 เท่านั้นที่เห็นการหาเสียงของผู้สมัครและคึกคักมาก

 
 เมื่อถามว่าสถานการณ์ความรุนแรงและขัดแย้งทางการเมืองมีผลต่อการไปเลือกตั้งในวันที่2ก.พ.ที่จะถึงนี้หรือไม่ส่วนใหญ่ร้อยละ 52.6 เห็นว่ามีผลต่อการไปเลือกตั้ง โดยในจำนวนนี้ร้อยละ 34.3 บอกว่ามีผลทำให้ต้องรอดูสถานการณ์ความรุนแรงอีกทีก่อนที่จะตัดสินใจว่าจะไปเลือกตั้งหรือไม่ และร้อยละ 18.3 ทำให้ไม่อยากไปเลือกตั้ง ขณะที่ร้อยละ 47.4 เห็นว่าไม่มีผลต่อการไปเลือกตั้ง โดยในจำนวนนี้ร้อยละ 23.4 ให้เหตุผลว่าต้องไปเลือกตั้งให้ได้อยู่แล้ว และอีกร้อยละ 24.0 ให้เหตุผลว่าไปเลือกเพราะเป็นหน้าที่ 

 เมื่อถามต่อว่า “หากในวันที่ 2 ก.พ. ที่จะถึงนี้ยังคงมีการเลือกตั้ง ท่านตั้งใจจะออกไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งหรือไม่ ร้อยละ 79.6 ตั้งใจจะออกไปใช้สิทธิ์ ขณะที่ร้อยละ 9.9 ตั้งใจจะไม่ออกไปใช้สิทธิ์ และร้อยละ 10.5 ยังไม่แน่ใจ
 
 ส่วนความเห็นต่อการจัดการเลือกตั้งในวันที่ 2 ก.พ. ที่จะถึงนี้ ประชาชน ส่วนใหญ่ร้อยละ 51.5 เห็นว่าควรมีการเดินหน้าเลือกตั้งตามเดิม ขณะที่ร้อยละ 28.1 เห็นว่าควรปฏิรูปก่อนแล้วค่อยเลือกตั้ง และร้อยละ 20.4 เห็นว่าควรเลื่อนการเลือกตั้งออกไปก่อน
 
 สุดท้ายเมื่อถามว่า “จากข่าวสถานการณ์ความขัดแย้งรุนแรงที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนทำให้มีผู้บาดเจ็บ และเสียชีวิต ท่านเห็นด้วยหรือไม่หากกองทัพตัดสินใจทำรัฐประหาร เพื่อยุติความขัดแย้งที่เป็นอยู่” ร้อยละ 56.0 ไม่เห็นด้วย ขณะที่ร้อยละ 21.6 เห็นด้วย และร้อยละ 22.4 ไม่แน่ใจ


สำนักจุฬาราชมนตรี ออกแถลงการณ์ ตำหนิม็อบ กปปส.

24 มกราคม พ.ศ. 2557 - 10:43

สำนักจุฬาราชมนตรี ออกแถลงการณ์ ตำหนิม็อบ กปปส. จังหวัดตรัง คุกคามมัสยิดบ้านสุโส๊ะ ขณะทำพิธีทางศาสนา

 

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า (24 ม.ค.) สำนักจุฬาราชมนตรีออกแถลงการณ์ กรณีเหตุการณ์กลุ่มผู้ชุมนุมคุกคามมัสยิดบ้านสุโส๊ะ อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง ระบุว่า สืบเนื่องจากเหตุการณ์กลุ่มผู้ชุมนุมใน จ.ตรัง ประมาณ 300 คน ได้เข้าไปปิดล้อมมัสยิดบ้านสุโส๊ะ อ.ปะเหลียน จ.ตรัง ขณะที่ในมัสยิดมีเด็กนักเรียนกำลังละหมาดซุฮฺรี และพี่น้องมุสลิมกลุ่มหนึ่งกำลังทำกิจกรรมการเรียนการสอน (ตะลีม) กันอยู่ โดยข่มขู่คุกคามให้โรงเรียน ซึ่งอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของมัสยิดหยุดการเรียนการสอน มีการยิงปืนขึ้นฟ้า และผู้ชุมนุมบางคนมีอาการมึนเมา เหตุเกิดเมื่อวันที่ 20 ม.ค. 2557 ที่ผ่านมานั้น

สำนักจุฬาราชมนตรี ขอเรียนแถลงว่า มัสยิดเป็นสถาบันทางศาสนาของอิสลามที่ทรงความสำคัญสูงสุดในการสะท้อนการดำรงอยู่ของมุสลิม มีหน้าที่ในการอบรมสั่งสอนสัปปุรุษทั้งหลายให้เป็นคนดี มีศาสนาเป็นสรณะ หลีกห่างจากความชั่ว และไม่สร้างความเดือดร้อนแก่ผู้ใด ทั้งนี้ โดยใช้ศาสนกิจประจำวันโดยละหมาด ซึ่งปฏิบัติกันอยู่ในมัสยิดนั่นเองเป็นตัวขัดเกลา นอกจากนี้ มัสยิดยังเป็นสถานที่จัดการเรียนการสอน และบ่มเพาะคุณธรรมจริยธรรมอิสลามแก่เยาวชน ให้เติบโตเป็นกำลังสำคัญของสังคมในการพัฒนาประเทศชาติต่อไป

มัสยิดจึงเป็นศูนย์รวมจิตใจของชุมชนมุสลิมเป็นเสาหลักค้ำจุนความสงบสุขของชุมชนและดำรงอยู่เหนือความขัดแย้งทางการเมืองทั้งปวงจึงไม่เป็นการบังควรที่คนกลุ่มหนึ่งกลุ่มใดจะทำการข่มขู่คุกคามและปิดกั้นมัสยิด ซึ่งเป็นศาสนสถาน มิให้ปฏิบัติหน้าที่ตามศาสนบัญญัติได้ การกระทำดังกล่าว จึงถือเป็นการละเมิดต่อสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานทางศาสนา ซึ่งรองรับโดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ที่ทุกคนมีอย่างเท่าเทียมกัน

สำนักจุฬาราชมนตรีจึงขอตำหนิการข่มขู่คุกคามมัสยิดบ้านสุโส๊ะในครั้งนี้และขอเรียกร้องให้ประชาชนทุกหมู่เหล่าเคารพและให้เกียรติต่อศาสนสถานของทุกศาสนาไม่ว่าจะเป็นมัสยิดหรือโบสถ์ก็ตาม โดยไม่นำศาสนสถานเหล่านี้มาเป็นเครื่องมือทางการเมือง หรือข่มขู่คุกคามการปฏิบัติศาสนกิจที่กระทำกันอยู่ในศาสนสถานนั้นๆ ทั้งนี้ โดยหลักธรรมของอิสลามแล้ว แม้ในยามสงครามก็ให้ละเว้นการทำลายศาสนสถาน ไม่คุกคามนักบวช และไม่ทำร้ายเกษตรกร

สำนักจุฬาราชมนตรีขอให้มุสลิมทุกคนมีความอดทนอดกลั้นต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและใช้วิจารณญาณในการรับฟังข้อมูลข่าวสารและการแสดงความคิดเห็นหลีกเลี่ยงการกระทบกระทั่งและการใช้ความรุนแรง ดังที่ปรากฏในพระมหาคัมภีร์อัลกุรอาน ความว่า จงเรียกร้องสู่แนวทางแห่งพระเจ้าของสูเจ้าโดยสุขุมและการตักเตือนที่ดี และจงโต้แย้งพวกเขาด้วยสิ่งที่ดีกว่า.. (16:125) ทั้งนี้ เพื่อรักษาไว้ซึ่งความเป็นปึกแผ่น ภราดรภาพ และความมั่นคงของสังคมและประเทศชาติสืบไป

 

http://news.sanook.c...อมมัสยิดสุโส๊ะ/