ดร.ปิยสวัสดิ์ หวั่นปฏิรูปพลังงานผิดทิศผิดทาง ก่อหายนะมหาศาล
วันจันทร์ ที่ 03 มีนาคม 2557 เวลา 15:35 น.โดย thaireformอดีตรมว.พลังงาน ชี้ปัจจุบันเรากำลังหลงประเด็น เชื่อข้อมูลโลกออนไลน์ หวั่นจะนำไปสู่การทำนโยบายที่ผิดพลาดในอนาคต ด้าน “บรรยง พงษ์พานิช” ยันโครงสร้างอุตฯ พลังงานไทย วางไว้ค่อนข้างดีอยู่แล้ว ไม่ต้องปฏิรูปใหญ่โต หรือรื้อเหมือนเรื่องอื่นๆ
เมื่อเร็วๆ นี้ ที่ อาคารชาญอิสระ 2 ชั้น 30 ถนนเพชรบุรี กรุงเทพฯ ดร.ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน บรรยายทางวิชาการถึงการปฏิรูปพลังงาน
ตอนหนึ่งของการบรรยาย ดร.ปิยสวัสดิ์ แสดงความเป็นห่วง โดยหวั่นว่า ในอนาคตอาจมีการปฏิรูปพลังงานในทิศทางที่ผิดจนกระทั่งส่งผลเสียหายแก่ประเทศไทย โดยเฉพาะหากประชาชนเชื่อในข้อมูล ไม่มีการศึกษาต่อ และมี Hate speech จำนวนมากในสังคมออนไลน์ กระทั่งนำไปสู่กระแสสังคมที่บีบบังคับรัฐบาลใครก็ตามที่จะเข้ามาปฏิรูปประเทศ ให้ดำเนินการตามนั้น
สำหรับความจำเป็นขณะนี้ควรปฏิรูปพลังงานหรือไม่ ดร.ปิยสวัสดิ์ กล่าวว่า ต้องไม่ปฏิรูปแบบให้ทวงคืนปตท. กลับมาเป็นของรัฐ แต่ในเรื่องโครงสร้างราคายอมรับว่า ควรมีการแก้ไข หรือราคาน้ำมัน โรงกลั่น การแข่งขันที่อาจน้อยไป ก็ให้ปตท.เข้าไปอยู่ในกฎหมายการแข่งขันทางการค้า อย่าไปยกเว้นรัฐวิสาหกิจ
“ขณะที่กิจการแก๊ส อย่างเก่งที่สุดก็เปิดให้บริการท่อ ส่วนการพัฒนาปิโตรเลียมที่ขาดความต่อเนื่องและจะมีผลเสียระยะยาวนั้น เสนอให้นำพื้นที่ทหารในภาคเหนือ ดึงเข้ามาอยู่ภายใต้พระราชบัญญัติปิโตรเลียม”
ส่วนผลประโยชน์ทับซ้อนของข้าราชการที่เข้าไปนั่งในบอร์ดรัฐวิสาหกิจ เรื่องการกำกับดูแลรัฐ อดีตรมว.พลังงาน กล่าวว่า ก็ต้องคิดออกแบบกระบวนการใหม่ ไม่ให้มีการเมืองเข้ามาแทรกแซงได้ รวมถึงการออกใบอนุญาต รง.4 ที่องค์กรพัฒนาเอกชนไม่เคยหยิบยกขึ้นมาพูดเลย
ดร.ปิยะสวัสดิ์ กล่าวว่า ปัจจุบันนี้เราหลงประเด็น นำไปสู่การทำนโยบายที่ผิดพลาด เช่น ปิโตรเลียมในประเทศมีน้อยลง เราก็ควรไปเร่งพัฒนาพลังงานหมุนเวียน ทำเรื่องการอนุรักษ์พลังงาน การมัวแต่ทวงคืนปตท.ด่าปตท. คนที่ชอบมากก็คือนักการเมืองที่สามารถกอบโกยผลประโยชน์ในรัฐวิสาหกิจได้อย่างเงียบโดยไม่มีใครมายุ่งเลย
" ผมคิดว่า รัฐวิสาหกิจที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ควรดันไปให้ไกลจากมือนักการเมืองมากที่สุด โดยเฉพาะช่วง 2 ปีครึ่งที่ผ่านมาเราจะเห็นว่า รัฐบาล นักการเมืองสามารถทำอะไรที่เก่งมาก อย่างที่ไม่เคยคิด สามารถตั้งคนเข้ามาเป็นบอร์ด การแทรกแซงมีมหาศาล โดยนักการเมืองชอบให้มีรัฐวิสาหกิจไว้ ได้ล้วงไปกินโดยตรงง่ายกว่ามาก การซื้อหุ้น หรือการไปลงทุนในแหล่งสัมปทาน”
ขณะที่นายบรรยง พงษ์พานิช ประธานกรรมการ บริษัท หลักทรัพย์ ภัทร จำกัด(มหาชน) กล่าวถึงการปฏิรูปพลังงาน ซึ่งเมื่อดูโครงสร้างอุตสาหกรรมพลังงานของไทยแล้ว เห็นว่า ได้วางไว้ค่อนข้างดีอยู่แล้ว ไม่ได้ต้องการการปฏิรูปใหญ่โต หรือต้องรื้อเหมือนเรื่องอื่นๆ เพียงแค่ต้องการปรับ เช่น เรื่องโครงสร้างราคา โครงสร้างภาษี มากกว่าอยู่เฉยๆ
“ในความรู้สึกของผม พลังงาน ไม่ได้ต้องการการปฏิรูปพลังงานใหญ่โตเหมือนด้านอื่นๆ เช่น ความเหลื่อมล้ำ หรือเรื่องคอร์รัปชั่น” นายบรรยง กล่าว และว่า ส่วนข้อเรียกร้องให้ปตท.กลับมาเป็นของรัฐด้วยว่า จะเกิดความหายนะในทุกๆ ด้าน ฉะนั้น ทางออก คือ ควรทำตรงข้าม ปล่อยให้สุดซอย “แปรรูป” ให้เป็นของตลาดหลักทรัพย์ฯ อย่างแท้จริง แต่จะทำอย่างไร ทั้งการปรับโครงสร้าง หรือกิจการที่ผูกขาด อย่างท่อแก๊ส การครอบงำตลาด เป็นเรื่องที่ต้องคิดกันต่อไป แต่ไม่ใช่วิธีการยึดคืน
นายบรรยง กล่าวด้วยว่า ทางเลือกของการทวงคืนปตท.เป็นทางหายนะแน่ๆ ทั้งตลาดทุน ระบบเศรษฐกิจ พลังงานที่มีการวางรากฐานมาอย่างดี ขณะที่อีกทางคืออยู่อย่างนี้และแก้หรือปรับบางส่วน เช่น เรื่องของท่อแก๊ส
“ขณะที่กิจการแก๊ส อย่างเก่งที่สุดก็เปิดให้บริการท่อ ส่วนการพัฒนาปิโตรเลียมที่ขาดความต่อเนื่องและจะมีผลเสียระยะยาวนั้น เสนอให้นำพื้นที่ทหารในภาคเหนือ ดึงเข้ามาอยู่ภายใต้พระราชบัญญัติปิโตรเลียม”
ปตท.เคยมีความพยายามจะขอบ่อน้ำมันในเขตทหารจากรัฐบาล ในสมัยรัฐบาลสุรยุทธ์ แต่ทางพล.อ.สพรั่ง กัลยาณมิตร ไม่เห็นด้วย ตามคำบอกเล่าของพ.ท.รัฐเขต แจ้งจำรัส ตอนนั้นรมว.พลังงานเป็นใครก็พอจะทราบกันดี
ยื่นผู้ตรวจการฯสอบขรก.การเมือง-จนท.รัฐกลุ่มพลังงาน
สพม.ยื่นผู้ตรวจการฯสอบขรก.การเมือง-จนท.รัฐกลุ่มพลังงานเบียดบังผลประโยชน์ชาติให้พวกตนเอง
วันอังคาร 27 มีนาคม 2555 เวลา 16:46 น.เมื่อวันที่ 27 มี.ค. ที่สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน พ.ท.พญ.กมลพรรณ ชีวพันธ์ศรี สมาชิกสภาพัฒนาการเมือง(สพม.) พร้อมด้วย น.อ.บัญชา รัตนาภรณ์ นายอภิเดช เดชวัฒนสกุล และนายเรืองศักดิ์ เจริญผล ในฐานะผู้เสียหายจากการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐ ได้เดินทางมายื่นหนังสือร้องเรียนต่อนายศรีราชา เจริญพานิช ผู้ตรวจการแผ่นดิน เพื่อให้ดำเนินการตรวจ ข้าราชการการเมือง และเจ้าหน้าที่รัฐ ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายและประมวลจริยธรรม ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 3 และ 279
โดย พ.ท.พญ.กมลพรรณ กล่าวว่า ขอให้ผู้ตรวจการแผ่นดินตรวจสอบการดำเนินงานของคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน รมว.พลังงาน คณะกรรมการบริษัท ปตท. จำกัด(มหาชน) คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ผอ.สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทร์ อดีต รมว.พลังงาน และพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ อดีตนายกฯ เนื่องจากมีการกระทำดังนี้ 1.ละเมิดคำสั่งศาลและใช้ทรัพย์สินของประชาชนมาแสวงหาผลประโยชน์ เนื่องจาก ปตท. ถูกศาลปกครองสูงสุดสั่งให้คืนท่อก๊าซให้แก่แผ่นดิน แต่ปรากฏว่า ปตท. ไม่ได้ปฏิบัติตามคำสั่งศาลในการคืนท่อก๊าซที่เป็นส่วนของแผ่นดินให้กับรัฐให้ทั้งหมด แต่ ปตท. อีกทั้งยังนำเอาท่อก๊าซที่เป็นทรัพย์สินของแผ่นดินไปใช้แสวงหาผลประโยชน์ โดยเรียกเก็บค่าท่อก๊าซผ่านท่อเพิ่มเติมจากเดิม ทำให้ประชาชนต้องจ่ายค่าก๊าซในราคาที่แพงกว่าเดิม
พ.ท.พญ.กมลพรรณ กล่าวอีกว่า 2.มีการกระทำที่หมกเม็ดบิดเบือนข้อมูลต่อประชาชน เพื่อให้เข้าใจว่าก๊าซแอลพีจีในประเทศไม่พอใช้สำหรับภาคครัวเรือนและภาคขนส่ง จึงต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ทำให้ก๊าซแอลพีจีมีราคาแพง ทั้งที่ความจริงการใช้ก๊าซแอลพีจีในภาคครัวและภาคขนส่งมีสัดส่วนน้อยกว่าภาคปิโตรเคมี ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ ปตท. จึงมองว่าเป็นการเอื้อประโยชน์และสร้างกำไรให้กับบริษัทลูกของ ปตท. อีกทั้งมีการนำเงินของกองทุนน้ำมัน ไปอุดหนุนราคาแอลพีจี ซึ่งสร้างกำไรให้กับบริษัทเหล่านี้ เช่น บริษัท ปตท. เคมิคอล มีกำไรเพิ่มขึ้น 180 เปอร์เซ็นต์ ในไตรมาสที่ 2 ปี54 และ 3.เจ้าหน้าที่รัฐแก้ไขกฎหมายเพื่อให้ประโยชน์แก่ผู้อื่น โดยในปี 2550 นายปิยสวัสดิ์ รมว.พลังงาน ในสมัยรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ ได้แก้ไข พ.ร.บ.ปิโตรเลียม มาตรา 22 , 28 และ 99 ให้เอื้อแก่เอกชนและให้อำนาจ รมว.พลังงานสามารถให้สัมปทาน ลดค่าสัมปทานแก่เอกชนโดยไม่ผ่านความเห็นหรือการมีส่วนร่วมของประชาชน ดังนั้นตนในฐานะผู้ร้องเรียนขอให้ทางผู้ตรวจการแผ่นดิน ไต่สวนข้อเท็จจริงและหากพิจารณาแล้วพบว่าผู้ถูกร้องละเมิดต่อกฎหมายจริง ให้ผู้ตรวจการแผ่นดิน ส่งเรื่องไปยังคณะรัฐมนตรี รัฐบาล คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) และศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อดำเนินการตามกฎหมายต่อไป
ด้านนายศรีราชา กล่าวว่า ทางผู้ตรวจการฯ จะรับเรื่องไว้พิจารณา ซึ่งอาจจะมีการตั้งทีมพิเศษขึ้นมาตรวจสอบ เนื่องจากกรณีดังกล่าว ควรมีการให้ข้อมูลที่โปร่งใสและเป็นธรรมกับประชาชน เพราะประชาชนเป็นผู้ที่ได้รับความเสียหาย และเป็นผู้ที่ใช้พลังงานในราคาที่แพงเกินกว่าเหตุ.http://www.manager.c...D=9500000150485
น.ส.รสนา ยังกล่าวถึงกรณีที่นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ รัฐมนตรีพลังงาน ระบุว่า ท่อก๊าซที่วางในทะเลไม่น่าจะเข้าข่ายที่ บมจ.ปตท.ต้องโอนคืนรัฐว่า รัฐมนตรีไม่ควรรีบด่วนตัดสินว่าเข้าข่ายหรือไม่เข้าข่าย แต่ควรให้ผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้พิจารณา เพราะแม้ทะเลจะไม่มีใครเป็นเจ้าของ แต่ก็เป็นของหลวง อย่างน้อยก็เป็นที่เข้าใจกันว่า ที่ที่เป็นทะเลหลวง อย่างน้อย 12 ไมล์ทะเล ใครจะเป็นเจ้าของไม่ได้ ดังนั้นรัฐมนตรีพลังงานหรือ บมจ.ปตท.ไม่ควรอ้างแค่ว่า ที่ในทะเลที่วางท่อก๊าซไม่ได้มาจากการรอนสิทธิ จึงไม่ต้องคืนรัฐ เพราะเป็นเหตุผลที่ง่ายเกินไป
ส่วนกรณีที่นายปิยสวัสดิ์ชี้ว่า ค่าเช่าท่อก๊าซที่รัฐจะคิดจาก บมจ.ปตท.หลังโอนคืน น่าจะอยู่ที่ประมาณ 2-5% เหมือนกับที่กรมธนารักษ์คิดกับ กฟผ.หรือ ทอท. ซึ่งในที่สุด ครม.ก็ให้หลักเกณฑ์ว่าน่าจะคิดที่ 5% นั้น น.ส.รสนา บอกว่า ไม่เห็นด้วยกับการอัตราดังกล่าว เพราะ กฟผ.ถือว่าเป็นองคาพยพของรัฐ รัฐสามารถคิดราคาถูกเช่นนั้นได้ แต่ ปตท.ไม่ใช่
น่าจะเป็น ปล่อยให้ปิยสวัสดิ์มาจุ้นปฏิรูปพลังงาน ก่อหายนะให้กระเป๋าตังคนไทยมหาศาลมากกว่า ที่ท่อในทะเลไม่คืนก็เพราะอย่างนี้นี่เอง? "นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ รัฐมนตรีพลังงาน ระบุว่า ท่อก๊าซที่วางในทะเลไม่น่าจะเข้าข่ายที่ บมจ.ปตท.ต้องโอนคืนรัฐ"
จริงๆดูคนๆนี้ดูง่ายมากว่ามันไม่ได้ห่วงประชาชนจะถูกขูดรีดเอารัดเอาเปรียบหรอก แต่แปลกใจทำไมคนดีด้วยกันมองไม่ออก
ในแง่ของปชช. หากราคาน้ำมัน แก๊สที่ไม่แพง ไ่ม่มีใครสนใจว่า ปตท.จะเป็นของรัฐฯ หรือ บริษัท
แต่ในเมื่อราคาแพง จึงเกิดคำถามว่า แพงเพราะอะไร ทำไมถึงแพง ขายส่งออกถูก ราคาเทียบเพื่อนบ้านแพงกว่า
แล้วทำไมเราคนไทยถึงต้องใช้ราคาแพง
ณ เวลานี้ปชช.รู้ว่ามีการปฎิรูปพลังงาน ก็ติดตามว่าจะทำให้ถูกลงได้ไหม ส่วนใครมาจากไหนอย่างไร
ผมคิดว่าปชช.ส่วนใหญ่ไม่สนใจหรอกครับ
มันแพงตั้งแต่แปรรูปไปเป็นเอกชนครับ แล้วอะไรก็ตามที่เป็นของเอกชน และยังผูกขาดหรือฮั้วราคากันได้ มันก็ตั้งหน้าตั้งตาจ้องแต่จะขูดเลือดขูดเนื้อประชาชนทั้งนั้น อันนี้คือข้อเท็จจริงที่ไม่เปลี่ยนตามสภาพอื่นๆ
ดูอย่างค่ายมือถือเป็นตัวอย่าง
ดังนั้นถ้าเอามาแต่ท่อส่ง ต่อให้ได้ท่อส่งในทะเลมาด้วย แล้วแปรรูปปตท.ให้สุดซอยหลุดจากรัฐไปเลย งานนี้หวานหมูพวกนายทุนหน้าเลือดเลยครับ น้ำมันลิตรละ 80 ทุกยี่ห้อ ไม่ไกลเกินจริง.
ผมคิดว่าสิ่งที่เป็นพลังงานต่างๆ เช่น ไฟฟ้า น้ำประปา น้ำมัน แก๊ส ควรต้องมีเป็นของรัฐ 100% เพื่อให้ประชาชนมีที่พึ่งในราคาถูก มันก็จะลดค่าครองชีพไปได้มากโขอีกด้วย