Jump to content


Ixora

Member Since 13 October 08
Offline Last Active 4 March 14 00:23
-----

#49106 ...ที่ดินรัชดา ประสาชาวบ้าน...

Posted by Ixora on 19 November 2011 - 10:32

“ถ้าปัญหาใด มีความเห็นแย้งกันเป็นสองฝ่าย จะหาเสียงข้างมากมิได้ ให้ผู้พิพากษาที่เห็นเป็นผลร้ายแก่จำเลยมากกว่า ยอมเห็นด้วยผู้พิพากษาซึ่งมีความเห็นเป็นผลร้ายแก่จำเลยน้อยกว่า” อีกด้วย

ท่านผู้พิพากษาเจ้าของสำนวนผู้ทำหน้าป็นประธานและต้องออกเสียงเป็นคนสุดท้าย ต้องถูกผูกมัดให้ปฎิบัติด้วยบทกฎหมายที่บัญญัติไว้นี้ ให้จำต้องลงมติว่า จำเลยที่ 1 ไม่มีความผิด เพราะเป็นผลร้ายแก่จำเลยน้อยกว่า แม้ผู้พิพากษาเจ้าของสำนวน จะมีความเห็นขณะนั้นว่า จำเลยที่ 1 มีความผิดก็ตาม


คะแนน 5 - 4 จึงเท่ากับว่า ผู้พิพากษาเจ้าของสำนวนที่ออกเสียงเป็นคนสุดท้ายได้ลงมติว่า จำเลยที่ 1 กระทำความผิด ซึ่งเป็นผลร้ายแก่จำเลยที่ 1 มากกว่า น่าจะขัดต่อ รธน. 50 มาตรา 39 วรรคสอง และ ป.วิอาญา 227 และ 184

ตัวบทมาตรา 184 ที่ว่า “...ให้เจ้าของสำนวนเป็นประธาน ถามผู้พิพาทที่นั่งพิจารณาทีละคน ให้ออกความเห็นทุกประเด็นที่จะวินิจฉัย...
ถ้าในปัญหาใด มีความเห็นแย้งกัน…” ดังนี้ เป็นเหมือนบังคับให้ท่านผู้พิพากษา ต้องปฏิบัติตามความในมาตรา 184 ไม่มีข้อยกเว้น


คุณเป็นคนเขียนบทความชิ้นนี้ หรือ คัดลอกมาครับ ถ้าคัดลอกมาก็น่าจะแจ้งที่มาด้วย
http://www.dlo.co.th/node/204

"หัวหน้าผู้พิพากษาในศาลนั้น หรือเจ้าของสำนวนเป็นประธาน
ถามผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาทีละคน ให้ออกความเห็นทุกประเด็นที่จะวินิจฉัย
ให้ประธานออกความเห็นสุดท้าย การวินิจฉัยให้ถือตามเสียงข้างมาก"


ประเด็นอยู่ที่ คุณไปเอาส่วนท้ายที่ว่า
"ให้ประธานออกเสียงเป็นคนสุดท้าย การวินิจฉัยให้ถือตามเสียงข้างมาก"

มาเป็นข้ออ้างเพราะว่า เกิดกรณี ก่อนประธานออกเสียง นับแล้ว 4 ต่อ 4
จึงอ้างว่า "การวินิจฉัย (ออกเสียง) ของประธานให้ถือตามเสียงข้างมาก
เพื่อจะได้ออกมาเป็นผลการวินิจฉัยสรุปอย่างที่คุณ "ตั้งธง" คือ 5-4

ซึ่งหมายความต่อไปอีกว่า ต่อให้ก่อนหน้านั้น เป็น 7-1, 6-2, 5-3
หากยึดตามที่คุณว่าแล้วละก็ ประธานก็ต้องยึดตามเสียงข้างมากเท่านั้น
ไม่มีสิทธิมีผลการวินิจฉัยเป็นของตนเองเลยแม้แต่น้อย (คุณเห็นด้วยหรือ?)
ซึ่งขัดต่อหลักกฎหมายของการให้สิทธิเสมอกันในการออกเสียง (โหวต)

ผู้พิพากษาทั้งคณะ แต่ละท่าน มีศักดิ์ และ สิทธิ์ เสมอกันทุกท่านนะครับ
เจ้าของสำนวน ทำหน้าที่เป็นประธาน และมี 1 เสียง เป็นสิทธิ์เฉพาะตนเหมือนท่านอื่นๆ
แต่กฎหมายบัญญัติให้ท่านออกเสียงเป็นคนสุดท้าย แล้วจึงค่อยนับคะแนนเสียงเป็นมติ

เหมือนเดิมครับ เพียงแค่คุณทำตามลำดับที่เขียนไว้ ไม่ต้องยอกย้อน
เอาส่วนท้าย (การวินิจฉัยให้ถือตามเสียงข้างมาก) มาทำเสียก่อน
เพื่อบังคับให้ผู้ลงคะแนนคนสุดท้าย (ประธาน) ต้องทำตามคะแนนเสียงข้างมากเท่านั้น
ภาษาชาวบ้านก็จะเรียกว่า คนลงคะแนนคนสุดท้ายจำต้อง "ตามน้ำ" อย่างเดียวเลย
ทั้งที่ผลการวินิจฉัยของแต่ละท่านเป็น "สิทธิ" ที่สงวนให้เสมอกันทุกท่านนะครับ

1. หัวหน้าผู้พิพากษาในศาลนั้น หรือเจ้าของสำนวนเป็นประธาน (องค์คณะมี 9 ท่าน)
2. ถามผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาทีละคน ให้ออกความเห็นทุกประเด็นที่จะวินิจฉัย (ถามทีละท่าน ได้ผล 4-4)
3. ให้ประธานออกความเห็นสุดท้าย (ประธานลงคะแนนได้เป็น 5-4)
4. การวินิจฉัยให้ถือตามเสียงข้างมาก (ผลการวินิจฉัย 5-4 ลงมติว่าผิด)

เขาไม่ได้เขียนกฎหมายมาให้ตีความยอกย้อน ซับซ้อน เลย
หากแต่เมื่อเราอยากเลี่ยงบาลี เลี่ยงกฎหมาย เราก็ตีความเพื่อให้ได้ประโยชน์แก่ตนเสียอย่างนั้น

และผมอยากขอร้องครับ กฎหมายเป็นรากฐานสำคัญของประเทศ
การใช้กฎหมายมั่วๆ ไปปลุกปั่นยุงยงคนที่ไม่รู้เรื่อง มันคือการบ่อนทำลายประเทศโดยทางอ้อม
คุณจะด่าใครชั่วช้าเลวทราม หรือไปชุมนุมกี่แสนกี่ล้านคน ถ้าไม่มีใครเดือดร้อนก็ทำไปเถอะผมเฉยๆ
แต่กฎหมายมันเขียนไว้ชัดก็ขอร้องว่าอย่าไปบิดเบือนให้มันเสียไป
โดยอาศัยว่าคนส่วนใหญ่ไม่รู้ชัดว่ากฎหมายบัญญัติไว้อย่างไร




#48849 ...ที่ดินรัชดา ประสาชาวบ้าน...

Posted by Ixora on 19 November 2011 - 01:08




อย่างที่คุณ Ixora เขียนมา นั่นแปลตามเนื้อหา ไม่ต้องย้อนหลังมาหน้า ตัด เปลี่ยนข้อความให้เข้าข้างตัวเลยสักนิด

ถามว่า ที่ปลายอ้อฯ เอามาว่า ประธานต้องตัดสินตามเสียงข้างให้ประโยชน์จำเลย เอามาจากไหน? คิดเอาเอง หรือใส่เอาตามใจ?

ภาษานี้ เป็นภาษาเก่า

สมัยก่อน เขาไม่เรียกกันว่า " ประธาน" อย่างที่เรียกๆกันในสมัยนี้

คำว่า "ให้ผู้พิพากษา" ตาม ม.184 ในสมัยนั้น หมายถึงประธาน (เจ้าของสำนวน).ในสมัยนี้
ที่จะออกเสียงเป็นคนสุดท้าย ..พระเจ้า !


"หัวหน้าผู้พิพากษาในศาลนั้น หรือเจ้าของสำนวนเป็นประธาน
ถามผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาทีละคน ให้ออกความเห็นทุกประเด็นที่จะวินิจฉัย
ให้ประธานออกความเห็นสุดท้าย การวินิจฉัยให้ถือตามเสียงข้างมาก"


ก็มาตรา 184 ก็เขียนไว้ตามนี้นี่ครับ


ด้วยความเคารพ

แล้วถ้าไม่มีเสียงข้างมาก ในการวินิจฉัยอรรถคดีนั้น ในเมื่อเสียงเสมอกันอยู่

ประธาน ต้องทำอย่างไร ?


คุณอ่าน แล้วคิด และทำตามลำดับสิครับ เขาเขียนว่า
ให้ออกเสียงทีละคน โดยให้ประธานออกเสียงเป็นคนสุดท้าย (แปลว่าประธานห้ามออกเสียงก่อน)
แล้วจากนั้นจึงให้นับ แล้วยึดเอาเสียงข้างมากที่ได้จากการนับ หลังจากประธานได้ร่วมออกเสียงแล้ว

หรือคุณเข้าใจว่า ให้ประธานออกเสียงเป็นคนสุดท้าย โดยประธานต้องยึดตามเสียงข้างมากเท่านั้น

เขาไม่ได้เขียนว่า
"ให้ประธานออกความเห็นสุดท้าย การวินิจฉัย (ของประธาน) ให้ถือตามเสียงข้างมาก" นะครับ

เขาเขียนว่า
"ให้ประธานออกเสียงเป็นคนสุดท้าย (เสร็จแล้วจึงสรุป) การวินิจฉัย (โดย) ให้ถือตามเสียงข้างมาก"


คุณถามผมว่าถ้าไม่มีเสียงข้างมากในการวินิจฉัย ประธานต้องทำอย่างไร

ผมก็จะตอบคุณว่า ตาม ม.184 หลังจากประธานได้ร่วมออกเสียง (เป็นคนสุดท้าย) แล้ว

หากยังไม่มีเสียงข้างมาก ประธานก็ต้องสรุปมติ แล้วยกประโยชน์ให้จำเลยไงครับ

แต่ย้ำว่า "หลังจากประธานได้ร่วมออกเสียงแล้ว" นะครับ