Jump to content


เรื่อยๆเอื่อยๆ

Member Since 24 April 10
Offline Last Active 30 May 14 11:12
*****

#244990 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี ขณะเป็นนายกฯไม่เคยลงพื้นที่ภาคใต้เลย....

Posted by เพื่อนร่วมชาติ on 8 May 2012 - 07:54

ถ้าเป็นคนทั่ว ๆ ไป ก็อาจจะแค่เสียหน้าที่พูดผิด

แต่นี่เป็นเรื่องน่าอายมากสำหรับนักวิชาการ

เพราะข้อความของ น.ส. สิริพรรณ นกสวน สวัสดี ไม่อาจตีความได้เป็นอื่น นอกจาก 1 ใน 2 อย่างนี้

1. น.ส. สิริพรรณ นกสวน สวัสดี เขียนโดยไม่รู้จริง เขียนด้วยความเขลา หรือนั่งเทียนเขียน

2. น.ส. สิริพรรณ นกสวน สวัสดี เขียนความเท็จทั้ง ๆ ที่รู้ว่าข้อเท็จจริงไม่เป็นเช่นนั้น = โกหก บิดเบือนข้อเท็จจริง

ทั้งสองอย่างเป็นเรื่องร้ายแรงมากสำหรับนักวิชาการ ผมจึงไม่ขอเรียก น.ส. สิริพรรณ ว่า อาจารย์ รวมทั้งไม่ขอเขียนตำแหน่ง รศ. ของเธอในกรณีใด ๆ ทั้งสิ้น

เพราะเธอได้ทำลายฐานะทางวิชาการของตัวเองไปหมดแล้ว


#206467 ทำไมน้ำมันตลาดโลกยุคอภิสิทธิ์แพงกว่า แต่ขายน้ำมันในประเทศได้ถูกกว่ารัฐบาลยิ่ง...

Posted by HWD on 7 April 2012 - 08:17



ที่จะบอกสุดท้ายนี้ ที่รัฐบาลปู แพงกว่า มาร์ค เพราะตอนนี้เลิกอุ้ม(เก็บภาษีน้ำมันเริ่มจากลิตรละ 1 บาท)แล้ว

ปล่อยไปตามกลไกตลาด ที่รัฐบาล อภิสิทธิ์ ถูกกว่านิดหน่อยเพราะอุ้ม น้ำมันอยู่(งดภาษี ลิตรละ 5 บาท)

ไม่เป็นไปตามกลไกตลาด





แค่นี้ละครับใครไม่ get ก้ไม่ต้อง get ผมมาบ่นเฉยๆ


บายครับ


ถ้าจะพูดถึงอุ้มแล้วบิดเบือนราคาตลาดล่ะก็ ช่วยย้อนกลับไปสมัยทักษิณเลยครับ เป็นคนริเริ่มกองทุนน้ำมัน

ปล. หลังโดนรัฐประหารไป เลยค้นพบว่า ในยุคทักษิณ ฐานะสุทธิกองทุนน้ำมันติดลบอยู่ ๕ หมื่นล้านนะจ๊ะ


สมัยทักษิณไม่มีการบิดเบือนนะ ถ้ามีขอหลักฐานหน่อย เท่าที่เคยอ่านมาคร่าวๆ มีแต่เพียงการเก็บเข้ากองทุนเพื่อชดเชยเมื่อราคาตลาดผันผวน

มาเริ่มโยกเงินกองทุนไปอุดหนุน+ ไปโปะดีเซล +โปะแก๊สก๊าซ กันมั่วซั่วจนราคาดูเหมือนถูก บิดเบือนราคาจริงที่ไม่ใช่ราคาที่ควรจะเป็น
อีตอนยุคของนายนักพูดอภิสิทธิ์นี่แหล่ะ

แถมมีช่วงนึงพออุ้มดีเซลจนกองทุนเริ่มไม่ไหว พี่แกเล่นลดภาษีสรรพสามิตออกซะลิตรละ 5 บาท เพื่อหยุดการจ่ายชดเชยกองทุนน้ำมัน
http://www.eppo.go.t...kpc/kpc-136.htm

บริหารเก่งโน๊ะ บริหารแบบนี้คนจบ ม.6 ก็ทำได้

และถ้าจะคำณวนกันนี่
ขณะที่มีคนในนี้ดีใจกับกองทุนน้ำมันเป็นบวก แต่สรรพสามิตขาดรายได้ไปเท่าไรแล้วหนอ


และตอนนั้นช่วง รบ.เด็กหนุ่มอุ้มดีเซล ลิตรละไม่เกิน30บาท สินค้าต่างๆก็ไม่ได้ถูกกว่าตอนนี้เลย


น่าเหนื่อยใจกับความเห็นที่อุดมด้วยอคติอย่างนี้

1 กองทุนน้ำมันมีไว้ให้บริหารราคาในตลาดอยู่แล้ว จะบอกว่าทักกี้ไม่บิดเบือนราคาได้อย่างไร ไปดูการชดเชยราคาใน Eppo นั่นแหละ ลองไล่ดูตั้งแต่ปีที่มีปัญหาอย่าง 2547 ประเด็นอยู่ที่ปีไหนมีการผันผวนของราคามากก็จะมีการชดเชยจากกองทุนมาก

2 การใช้มาตราการภาษีสรรพสามิตรหรือการใช้เงินกองทุน คนที่บริหารเป็น ก็จะมองว่ามันคือการมีแผนรองไว้หลายชั้น การใช้เงินกองทุนกระทบคนอื่นน้อยสุดเพราะมีวัตถุประสงค์จำกัดจึงใช้เป็นเครื่องมือหลัก ... การเลือกใช้มาตรการใดในเวลาใด ไม่ใช่เด็ก ม6 จะทำได้ และเป็นเรื่องที่แสดงถึงฝีมือของแต่ละคนต่างหาก .... เพราะนี่คือการตัดสินคล้ายการรบ... ลักษณะการตัดสินใจอย่างนี้ ผมเคยเห็นรัฐบาลไทยพ่ายแพ้อย่างวายป่วง 2 ครั้ง 1 การเอากองทุนสำรองเข้าสู้กับการเก็งกำไรค่าเงิน แต่คาดการณ์พลาดจนนำมาซึ่งการต้องประกาศลดค่าเงินครั้งสำคัญ 2 การเอากองทุนและภาษีเข้าสู้กับความผันผวนของราคาน้ำมันเพื่อประคองราคาน้ำมันดีเซลไว้ที่ 30 บาท จนกองทุนติดลบมหาศาลและนำมาซึ่งการปล่อยให้ราคานำมันขึ้นตามตลาดจนทะลุ 50 บาท โดยต้องไล่เก็บภาษีและเงินเข้ากองทุนอย่างบ้าระห่ำท่ามกลางการขึ้นของราคาน้ำมัน เป็นการซ้ำเติมความเดือดร้อนของประชาชน.... ทั้งสองครั้งเป็นการตัดสินใจในสมัยทักกี้

3. จาก 2 เงินในกองทุนหรือภาษีสรรพสามิตร เป็นเงินคนละกระเป๋า หรือ คนละบัญชี การจะบอกว่ามีการใช้เงินจากบัญชีนั้นแล้วเกิดความเสียหายหรือไม่ต้องดูว่า เอาเงินจากประเป๋าไปใช้ในภาวะไหน เช่น ถ้าเป็นกระเป๋าอย่างภาษีสรรพสามิตรที่อุดหนุนรายจ่ายหลายตัว ต้องแน่ใจว่ารายจ่ายเหล่านั้นจะไม่มีปัญหา ถ้าติดตามข่าวจะพบว่า นายกรณ์ระมัดระวังเรื่องนี้มาก แม้รัฐมนตรีจากพรรคอื่นที่รับผิดชอบเรื่องน้ำมันจะพยายามขอให้ใช้มาตรการทางภาษีฯ กรณ์ก็ไม่เออออและชี้แจงชัดเจนว่าจะใช้เมื่อเหตุการณ์เหมาะสมเท่านั้น และเมื่อถึงเวลาจำเป็นก็ไม่รีรอที่จะสั่งการให้ใช้มาตรการทางการคลังนี้ทันที และผลก็คือสามารถควบคุมราคาน้ำมันดีเซลให้อยู่ที่ 30 บาทได้ ... ผมถือว่านี่คือความฉลาด และ เป็นชัยชนะต่อการรบเชิงการเงินการคลังได้อย่างใจเย็นและมีขั้นตอนที่ดีมาก

4. การจะตัดสินใจตาม 3 ได้ คุณต้องแน่ใจว่าคุณรู้สายป่านในมือ (working capital) อ่านขาดว่าอนาคตจะมีทิศทางอย่างไร (visionary and strategic positioning) มีแผนสำรองในมือพร้อม (contingency plan) และรู้จักผ่อนหนักเบา (tactical managent) ผมเห็นสิ่งเหล่านี้ ภายใต้การกุมบังเหียนของคุณกรณ์ในฐานะแม่ทัพและสบายใจมากในสถานการณ์ที่ดูเหมือนน่ากลัว แต่รัฐนาวากลับแล่นฉิวจนตัวเลขทั้งการเงิน การคลัง และคะแนนความสามารถของคุณกรณ์พุ่งลิ่วอย่างไม่เคยเห็นในรัฐบาลอื่นใดมาก่อน

5. ราคาข้าวของจะแพงหรือไม่ มีปัจจัยหลักอยู่ที่ต้นทุน การควบคุมต้นทุนได้ ก็ย่อมรักษาเสถียรภาพราคาและสภาวะทางเศรษฐกิจมวลรวมได้อย่างดี ... เราคุยกันแค่ประเด็นตรงนี้ เรื่องความรู้สึกของคุณว่าราคาข้าวของสมัยนี้ไม่แพงกว่ารัฐบาลก่อน เป็นอีกเรื่อง ต้องดูกันต่อไป


#177516 พยัคฆ์ติดปีกกำลังผงาด แบงก์ชาติขยับเป้าจีดีพีพุ่ง 6% เชื่อหนุนครึ่งปีหลังแตะ 9%

Posted by Yasuhiro on 15 March 2012 - 10:04

ตามประสบการณ์ที่เคยเข้าร่วมประชุมของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทางเศรษฐกิจในสมัยแม้ว อยากจะบอกว่า จีดีพี และอัตราเงินเฟ้อที่ประเมินๆ กันหรือคาดการณ์ไว้น่ะครับ มันเชื่อถือไม่ค่อยได้ครับ เพราะตัวเลขพวกนี้บางครั้งมีการประเมินตัวเลขเพื่อเอาใจฝ่ายการเมืองหรือพวกทั่นๆสั่งมา ตัวเลขจีดีพี ที่แท้จริงเราจะทราบก็ต่อเมื่อผ่านไตรมาสหรือปีนั้นๆไปแล้วน่ะครับ ไอ้ที่คาดการณ์กัน อย่างที่ครับบางทีประกาศเพื่อเอาใจฝ่ายการเมืองและพยายามสร้างความเชื่อมั่นแก่ภาคเอกชน แต่ผมไม่ค่อยเห็นด้วยกับวิธีนี้ซักเท่าไหร่ เพราะว่าเมื่อตัวเลขประมาณการบิดเบือนไม่ตรงกับข้อเท็จจริง โมเดลหรือนโยบายที่นำมาใช้มันก็จะไม่ได้ผลเท่าที่ควร เพราะตัวเลขต่างๆมันถูกบิดเบือนตั้งแต่ต้น ที่สำคัญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องประเมินตัวเลขจีดีพี ไม่เคยตรงกันซักเจ้า แต่จะค่อยๆไปปรับให้ตรงกันในที่ประชุม (เพราะไม่มีใครอยากโดนเด้ง ข้อหาพูดความจริงจนรัฐบาลเดือดร้อน) คาดการณ์เท่าไหร่ คาดการณ์ไปเถิด แต่มันก็ไม่สามารถปิดฟ้าด้วยฝ่ามือว่าค่าครองชีพถีบตัวสูงขึ้น Cost Push Inflation เพิ่มมากขึ้น ในขณะที่รายได้เท่าเดิม และการกระจายรายได้ไปกระจุกตัวอยู่กับกลุ่มบุคคลที่อิงอยู่ฝั่งรัฐบาล มันปิดไม่มิดหรอกครับ ในเมื่อคนทั่วไปได้รับความเดือดร้อนไปทุกหย่อมหญ้า