Jump to content


Photo
- - - - -

จับโกหก“ยิ่งลักษณ์” อย่าโยนความผิดให้คนอื่น แต่ต้องเป็นผู้รับผิดชอบด้วยการลาออก


This topic has been archived. This means that you cannot reply to this topic.
14 ความเห็นในกระทู้นี้

#1 chorn

chorn

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 211 posts

ตอบ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 - 09:33

“สำนักข่าวทีนิวส์” เปิดบทพิสูจน์ข้อมูลโกหก-บิดเบือน แสดงอาการปัดความรับผิดชอบของผู้นำ ด้วยการโยนความผิดให้คนอื่น โดยเฉพาะโครงการฝนหลวงอยู่ด้วย ของ “Nat สหายใครหนอ” ซึ่งเป็นข้อมูลที่นายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นำเอามาให้สัมภาษณ์สื่อ นาทีนี้เราจึงต้องยืนยันว่านายกฯยิ่งลักษณ์ ต้องแสดงความรับผิดชอบด้วยการลาออกเท่านั้น ข้อมูลจำเป็นต้องยาวเพื่อแจกแจงให้เห็นความจริงทั้งหมด ถ้าเห็นด้วย กรุณาแชร์ และส่งต่อ ๆ กันไป ...”

กราบเรียน พณฯท่าน นายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
เรื่อง อย่าโยนความผิดให้คนอื่น ท่านจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบด้วยการลาออก

ตามที่ท่านได้ให้สัมภาษณ์ กับสื่อมวลชนว่า “ขอความเห็นใจเพราะปัญหาที่เกิดขึ้นไม่ได้เกิดจากการบริหารผิดพลาดแต่เกิดจากปัญหาด้านเทคนิค ที่เมื่อรัฐบาลเข้ารับตำแหน่งนี้น้ำก็มีอยู่เต็มเขื่อนแล้วและยังมีปริมาณน้ำฝนจากพายุ5 ลูกเข้ามาสมทบ” ซึ่งจากคำให้สัมภาษณ์ดังกล่าวนี้ เป็นการโยนความรับผิดชอบไปให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) ซึ่งเป็นผู้ดูแลเขื่อนอยู่และเป็นผู้รับผิดชอบในการบริหารเก็บกัก หรือการปล่อยน้ำว่าบริหารจัดการน้ำไม่ดีจึงเก็บน้ำไว้ในเขื่อนมากเกินไป จึงทำให้เกิดปัญหาให้เกิดปัญหาน้ำท่วมขึ้น การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เป็นรัฐวิสาหกิจ ซึ่งอยู่ภายใต้ความรับชอบของ กระทรวงพลังงาน มี นายพิชัย นริพทะพันธุ์ จากพรรคเพื่อไทย พรรคเดียวกับท่านนายกรัฐมนตรี เป็นผู้ดูแลบริหารอยู่ เค้าเห็นว่าถ้าไม่ชี้แจงแถลงออกมาน่ากลัวจะต้องเป็น แพะ”อย่างแน่นอน เค้าจึงทำเอกสารชี้แจงมาดังเอกสารด้านล่างนี้


กฟผ.แจงจัดการน้ำ 2เขื่อนใหญ่ตามเกณฑ์ เก็บน้ำมากช่วง ส.ค.-ก.ย.ช่วยบรรเทาน้ำท่วม

นายสุทัศน์ ปัทมสิริวัฒน์ ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย หรือ กฟผ.แจง บริหารจัดการน้ำเขื่อนภูมิพล-เขื่อนสิริกิติ์ ตาม“เกณฑ์ควบคุมระดับน้ำ”เผย ช่วง พ.ค.ปีนี้ ปริมาณน้ำยังอยู่ในระดับต่ำ แต่หลังจากนั้นมีพายุเข้าไทย 5ลูก จึงต้องช่วยเก็บน้ำปริมาณมากช่วง ส.ค.-ก.ย. เพื่อบรรเทาน้ำท่วมภาคกลาง และต้องเร่งระบายน้ำออกช่วงปลาย ก.ย.-ต.ค.เมื่อน้ำใกล้เต็มความจุของอ่าง แต่ล่าสุด การปล่อยน้ำกลับเข้าสู่ปกติแล้ว ยันน้ำท่วมรอบกรุงขณะนี้ ไม่ใช่น้ำจากเขื่อน แต่เป็นน้ำค้างทุ่ง

วันนี้(2พ.ย.)การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) ได้ส่งข้อมูลทางอีเมล์ไปยังสื่อมวลชนที่ต่างๆ เพื่อชี้แจงเรื่องการระบายน้ำของเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์ หลังจากที่มีข้อถกเถียงกันเรื่องการระบายน้ำจากเขื่อนขนาดใหญ่ 2แห่งดังกล่าวว่าเป็นต้นเหตุของอุทกภัยครั้งใหญ่ที่กำลังเกิดขึ้นในประเทศไทยขณะนี้หรือไม่ ตามรายละเอียดดังนี้

ข้อเท็จจริง เรื่อง การระบายน้ำของเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์

1.การบริหารจัดการน้ำในเขื่อนของ กฟผ.ทำอย่างไร
เขื่อนของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) ทุกเขื่อนเป็นเขื่อนเอนกประสงค์ มีหน้าที่กักเก็บน้ำไว้เพื่อใช้ประโยชน์ด้านการเกษตรกรรม การอุปโภคบริโภค การอุตสาหกรรมและการบรรเทาอุทกภัยเป็นหลัก ส่วนการผลิตกระแสไฟฟ้าเป็นเพียงผลพลอยได้จากการปล่อยน้ำผ่านเครื่องกำเนิดไฟฟ้าตามปริมาณ เพื่อการใช้ประโยชน์ที่กล่าวข้างต้น
ทั้งนี้ การบริหารจัดการน้ำในเขื่อนของ กฟผ.ตามหลักการจะควบคุมให้ระดับน้ำ อยู่ในกรอบของ เกณฑ์ควบคุมระดับน้ำ”(Rule Curve) ซึ่งมีอยู่ 2 เกณฑ์ คือ เกณฑ์ควบคุมระดับน้ำตัวล่าง”(Lower Rule Curve) และ เกณฑ์ควบคุมระดับน้ำตัวบน”(Upper Rule Curve) โดยในการจัดทำเกณฑ์ควบคุมระดับน้ำนั้น ได้นำปัจจัยและข้อมูลของปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเก็บน้ำและความต้องการใช้น้ำของพื้นที่ท้ายเขื่อนในรอบกว่า30 ปีมาประกอบการจัดทำ ทั้งนี้ยังได้ทำการปรับปรุงตามสภาวการณ์เป็นระยะๆ
เกณฑ์ควบคุมระดับน้ำตัวล่าง(Lower Rule Curve) จะทำหน้าที่บอกให้ทราบว่า หากเก็บน้ำไว้ต่ำกว่าระดับนี้ จะมีความเสี่ยงเรื่องการขาดแคลนน้ำในปีหน้า
เกณฑ์ควบคุมระดับน้ำตัวบน(Upper Rule Curve) จะทำหน้าที่บอกให้ทราบว่า หากเก็บน้ำไว้สูงกว่าระดับนี้จะมีความเสี่ยงเรื่อง น้ำล้นเขื่อนจนอาจต้องเปิดประตูระบายน้ำล้น (Spillway)
ในสภาวการณ์ปกติ เขื่อนจะควบคุมไม่ให้ระดับน้ำต่ำกว่า เกณฑ์ควบคุมระดับน้ำตัวล่างในช่วงฤดูแล้ง และช่วงฤดูฝน เขื่อนก็จะพยายามระบายน้ำเพื่อไม่ให้ระดับน้ำสูงเกินเกณฑ์ควบคุมระดับน้ำตัวบน ดังนั้นเกณฑ์ควบคุมระดับน้ำจึงเปรียบเสมือนเกณฑ์ที่คอยควบคุมระดับน้ำในเขื่อนให้มีปริมาณน้ำเก็บกักที่เหมาะสมตามสภาวการณ์ของปริมาณน้ำทั้งเหนือเขื่อนและสภาพน้ำในลุ่มน้ำท้ายเขื่อน เพื่อให้มีน้ำไว้ใช้ประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดในภาพรวมตลอดทั้งปี
ตัวอย่างการบริหารจัดการน้ำเขื่อนภูมิพลโดยเกณฑ์ระดับน้ำควบคุม (Rule Curve) ในปี พ.ศ. 2549 ซึ่งเป็นปีน้ำมาก
สำหรับการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา จะดำเนินการโดยคณะอนุกรรมการติดตามและวิเคราะห์แนวโน้มสถานการณ์น้ำ ที่มีอธิบดีกรมชลประทานเป็นประธาน และอีก 8หน่วยงานร่วมเป็นกรรมการ ประกอบด้วย กรมอุตุนิยมวิทยา สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร กรมทรัพยากรน้ำ กรมอุทกศาสตร์ สำนักการระบายน้ำ กทม. กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ(สำนักงาน กปร.) และ กฟผ. โดยคณะอนุกรรมการฯ จะติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิดและร่วมกันพิจารณาปริมาณน้ำที่เหมาะสมที่จะต้องระบายออกจากเขื่อนทุกสัปดาห์หรือทุกวัน ซึ่ง กฟผ.ก็ได้ปฏิบัติตามมติของคณะอนุกรรมการฯ มาโดยตลอด
2.ทำไมเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์จึงไม่ระบายน้ำออกมาก่อนในช่วงต้นฤดูฝนปีนี้
ช่วงต้นฤดูฝนปีนี้ ณ วันที่ 1 พ.ค.เขื่อนภูมิพลมีปริมาณน้ำเก็บกัก 6,076 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือร้อยละ 45.1 ของความจุ เขื่อนสิริกิติ์มีปริมาณน้ำเก็บกัก 4,784ล้านลูกบาศก์เมตร หรือร้อยละ 50.3 ของความจุ ซึ่งเมื่อเทียบกับเกณฑ์ควบคุมระดับน้ำ (Rule Curve) ที่ใช้เป็นกรอบในการปฏิบัติการบริหารจัดการน้ำของเขื่อนแล้วถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำมาก ซึ่งตามแนวปฏิบัติของการบริหารจัดการน้ำตามสถิติข้อมูลที่ใช้อ้างอิง จะต้องเก็บกักน้ำไว้ เพื่อให้สามารถมีน้ำไว้ใช้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดในภาพรวมตลอดทั้งปี ดังนั้นปริมาณน้ำที่ระบายน้ำออกจากเขื่อนในช่วงนี้จึงเป็นไปตามความต้องการใช้เพื่อการเกษตรกรรมและสาธารณูปโภคเป็นหลัก
ต่อมามีพายุเข้ามาหลายลูกได้แก่ ไหหม่า”(ปลาย มิ.ย.-ก.ค.) นกเตน”( ปลาย ก.ค.-ส.ค.) พายุโซนร้อน ไหถ่าง” และ เนสาด” (เดือน ก.ย.) และ นาลแก” (เดือน ต.ค.) ทำให้มีฝนตกทั้งบริเวณเหนือเขื่อนและท้ายเขื่อนรวมทั้งพื้นที่ในภาคกลาง เกิดภาวะน้ำท่วมในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่างและภาคกลาง นอกจากนั้นในลุ่มน้ำวังและลุ่มน้ำยมไม่มีเขื่อนขนาดใหญ่รองรับน้ำ ดังนั้นแม้จะพยายามระบายน้ำจากเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์ก็มีข้อจำกัดในการระมัดระวังผลกระทบต่อพื้นที่น้ำท่วมท้ายเขื่อน
3.ทำไมเขื่อนต้องระบายน้ำผ่านประตูระบายน้ำล้น(Spillway) เพิ่มขึ้นนอกเหนือจากการปล่อยน้ำผ่านการผลิตกระแสไฟฟ้า
ในปีนี้เขื่อนภูมิพลมีการระบายน้ำผ่านประตูระบายน้ำล้น ระหว่างวันที่ 5 –13ต.ค. และ 18 – 20 ต.ค. ส่วนเขื่อนสิริกิติ์มีการระบายน้ำผ่านประตูระบายน้ำล้น ระหว่างวันที่ 25 ส.ค. – 11ก.ย. 2554
การที่ทั้ง 2เขื่อนจำเป็นต้องระบายน้ำเพิ่มขึ้นผ่านประตูระบายน้ำล้น นอกเหนือจากการระบายน้ำผ่านการผลิตกระแสไฟฟ้า เนื่องจากขณะนั้นมีปริมาณน้ำใกล้เต็มความจุของอ่างเก็บน้ำ และจากการติดตามข้อมูลปริมาณน้ำที่ไหลเข้าอ่างฯ ยังมีแนวโน้มที่มีปริมาณสูงอยู่ จึงจำเป็นต้องระบายน้ำออกเพิ่มมากขึ้น เพื่อควบคุมไม่ให้ระดับเก็บกักน้ำเกินความจุของอ่าง ซึ่งจะมีผลกระทบต่อความมั่นคงปลอดภัยของเขื่อนและอาคารประกอบ ทั้งนี้ในระหว่างการระบายน้ำผ่านประตูระบายน้ำล้น ก็ได้มีการเฝ้าติดตามสถานการณ์น้ำที่ไหลเข้าอ่างฯ อย่างใกล้ชิด เมื่อพบว่ามีแนวโน้มลดลงก็ให้ลดปริมาณการระบายน้ำ จนปัจจุบันไม่มีการระบายน้ำผ่านประตูระบายน้ำล้นจากเขื่อนทั้งสอง
4.เขื่อนต้องการเก็บน้ำไว้มากเพื่อประโยชน์ในการผลิตกระแสไฟฟ้าหรือไม่
การผลิตกระแสไฟฟ้าจากเขื่อนไม่ใช่วัตถุประสงค์หลักของการบริหารจัดการน้ำในเขื่อน แต่เป็นผลพลอยได้จากการระบายน้ำตามความต้องการใช้น้ำเพื่อวัตถุประสงค์ต่าง ๆ อาทิ เช่น การอุปโภค บริโภค การเกษตรกรรม รวมทั้งการบรรเทาอุทกภัย ซึ่งการบริหารจัดการเรื่องปริมาณน้ำที่จะต้องระบายออก ในช่วงเวลาใดๆ ในรอบปี อยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของคณะอนุกรรมการติดตามและวิเคราะห์แนวโน้มสถานการณ์น้ำ ที่มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมเป็นคณะกรรมการ โดยมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อพิจารณาตัดสินใจบริหารน้ำร่วมกันอย่างใกล้ชิด
นอกจากนี้การเก็บกักน้ำไว้เพื่อใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้าจะไม่ก่อให้เกิดผลประโยชน์ในเรื่องรายได้ที่เพิ่มขึ้นต่อ กฟผ. แต่ประการใด ทั้งนี้เนื่องจากในระบบโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าปัจจุบัน คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานกำหนดให้ กฟผ.ได้รับอัตราค่าไฟฟ้าในรูปแบบ “ผลตอบแทนเงินลงทุน”(ROIC) จึงไม่มีแรงจูงใจให้ กฟผ.จะต้องเก็บกักน้ำไว้ในปริมาณมากๆ แต่อย่างใด ดังนั้น ปัจจุบันการระบายน้ำจากเขื่อนจึงเป็นไปตามความจำเป็นทางด้านเกษตรกรรม การบรรเทาอุทกภัย และสาธารณูปโภคเป็นหลัก
5.ปัจจุบันเขื่อนลดปริมาณการปล่อยน้ำลงแล้ว แต่ทำไมน้ำยังท่วมอยู่
ปัจจุบัน(29 ต.ค. 54) เขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์มีการระบายน้ำออกรวมกันวันละ53 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นปริมาณน้ำไหลผ่านจังหวัดนครสวรรค์เพียงประมาณ 610ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที หรือคิดเป็นร้อยละ 16.7ของมวลน้ำที่ไหลผ่านจังหวัดนครสวรรค์ราว 3,650ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ดังนั้นการระบายน้ำจากทั้งสองเขื่อนจึงไม่ใช่สาเหตุหลักของปัญหาน้ำท่วม ซึ่งน้ำที่ผ่านจังหวัดนครสวรรค์มาจากแม่น้ำหลัก 4สาย คือ ปิง วัง ยม และน่าน ขณะที่มีเขื่อนขนาดใหญ่กั้นอยู่เพียง 2สาย คือ แม่น้ำปิงและน่าน ปริมาณน้ำส่วนที่เหลือจึงมาจากแม่น้ำยมและวัง รวมทั้งน้ำที่ค้างอยู่ตามทุ่งไหลลงมา ซึ่งมีปริมาณรวมถึงร้อยละ 83.3ของน้ำที่ผ่านจังหวัดนครสวรรค์ แล้วไหลสู่กรุงเทพฯ และปริมณฑลไปรวมกับมวลน้ำที่ยังค้างอยู่ตามไร่นา จากสภาวะน้ำท่วมพื้นที่ภาคกลาง ตั้งแต่ช่วงเดือน ส.ค. – ก.ย.ทำให้มวลน้ำที่หลากเข้าสู่กรุงเทพฯ ยังคงมีปริมาณมาก
นอกจากนี้แล้ว เขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์ ยังช่วยเก็บกักน้ำปริมาณจำนวนมากไว้ในช่วงเดือน ส.ค.-ก.ย.เพื่อบรรเทาสภาวะน้ำท่วมในพื้นที่ภาคกลาง ซึ่งแม้ว่าจะมีปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเก็บน้ำทั้งสองเขื่อนมากถึง 10,940ล้านลูกบาศก์เมตร แต่มีการระบายน้ำออกรวมกันเพียง 4,915ล้านลูกบาศก์เมตร โดยได้เก็บกักน้ำไว้รวมทั้งสิ้น 6,025ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งหากปริมาณน้ำจำนวนนี้ไม่ได้ถูกเก็บกักไว้ในเขื่อนทั้งสอง จะส่งผลกระทบต่อภาวะน้ำท่วมในพื้นที่ภาคกลางมากขึ้น
อย่างไรก็ดี มวลน้ำที่ระบายออกจากเขื่อนทั้งสองจะใช้เวลาเดินทางมาถึงกรุงเทพฯ ประมาณ 2 สัปดาห์ จึงไม่ส่งผลต่อมวลน้ำก้อนใหญ่ที่โอบล้อมกรุงเทพฯ อยู่ขณะนี้ ประกอบกับน้ำจากพื้นที่ภาคเหนือและภาคกลางตอนบนก็กำลังมีปริมาณที่ลดลงเป็นลำดับ


***************************************************

จากข้อมูลดังกล่าวนี้ ก็แสดงให้เห็นว่า ไม่ พณฯท่านนายกรัฐมนตรี หรือ กฟผ.ใครคนใดคนหนึ่งพูดไม่จริง เป็นหน้าที่ของท่านต้องทำความจริงเรื่องนี้ให้ปรากฏเพราะหาก กฟผ.ให้ข้อมูลที่ไม่ตรงกับนายกรัฐมนตรี และทำให้นายกรัฐมนตรีเสียหายก็ควรจะต้องจัดการลงโทษกับผู้บริหาร
ไม่เพียงเท่านั้น ฯพณฯท่านนายกรัฐมนตรี สิ่งที่ท่านได้ให้สัมภาษณ์ ไปนั้นยังสอดคล้องกับข้อมูลในโซเชียลมีเดีย ไม่ว่าจะเป็นเฟซบุ๊ค หรือสื่ออินเตอร์เน็ต อื่น ๆ ซึ่งผู้เขียนใช้ชื่อว่า “Nat สหายใครหนอ”ได้เผยแพร่ข้อมูลที่พยายามอ้างอิงให้เป็นวิชาการเพื่อให้เกิดความน่าเชื่อถือว่า ปัญหาน้ำท่วมในครั้งนี้โทษใครไม่ได้เพราะปริมาณน้ำเหนือเขื่อนมีมากอยู่แล้วซึ่งสอดคล้องกับคำให้สัมภาษณ์ของ ฯพณฯท่านนายกรัฐมนตรี
และไม่เพียงเท่านั้น บทความของ “Nat สหายใครหนอ”ยังโยงใยไปยังโครงการฝนหลวง ในพระราชดำริ ว่าเป็นอีกหนึ่งต้นเหตุที่ทำให้น้ำท่วมเพราะน้ำเต็มเขื่อนอยู่แล้วยังมาทำฝนหลวงอีก ซึ่งเป็นเจตนาที่พยายามโยงใยไปที่สถาบันพระมหากษัตริย์ เพราะสอดรับกับสิ่งที่นายจักรภพ เพ็ญแข ได้พูดให้ร้าย โจมตีไว้ก่อนหน้านี้แล้ว
ยิ่งกว่านั้น เมื่อแกนนำ นปช. ได้นำเรื่องนี้มาแถลงข่าว และเผยแพร่วงกว้างไปยังคนเสื้อแดง ฯพณฯท่านนายกรัฐมนตรีควรจะได้รับรู้ด้วยว่า ข้อมูลชุดดังกล่าวนี้เมื่อถูกนำไปเผยแพร่ ก็ยิ่งเปิดประเด็น โจมตีสถาบันฯ อย่างหยาบคาย ดังนั้นเพื่อให้เห็นข้อเท็จจริงว่าข้อมูลดังกล่าวนั้นเป็นข้อมูลที่บิดเบือน สำนักข่าวทีนิวส์ จึงได้ติดตามข้อมูลอันเป็นความจริงมาแจกแจงให้เห็นดังนี้ครับ.
Nat สหายใครหนอ ลำดับเรื่องเป็นตอนๆ ชวนให้ติดตาม พร้อมประกอบกับลิงค์ข้อมูลทางวิชาการ ตัวเลขสถิติ แผนภูมิกราฟ เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือ
อันดับแรก ขอหมุนเวลาย้อนไปนิดหน่อยต้องทบทวนความจำกันก่อน น้ำได้ท่วมตั้งแต่รัฐบาลก่อนแล้ว ถ้ายังไม่ลืมเลือนกันไปจะเห็นภาพ อภิสิทธิ์ และ ยิ่งลักษณ์ ลุยน้ำหาเสียง ช่วยชาวบ้านกันอยู่
ลำดับที่2 หยุดโทษกัน แล้วมามองความเป็นจริงกันก่อน
อยากให้ทุกคนดูภาพที่เกิดขึ้นกันก่อน จะเห็นได้ว่า ครั้งนี้ มันหนัก เข้าขั้นสาหัสจริงๆ บริเวณที่น้ำท่วมขนาดนี้ถ้ามันไหลมาที่ กทม. ต่อให้เป็นเทวดา ก็ไม่อาจช่วยอะไรได้มากไปกว่านี้
Nat สหายใครหนอ พยายามนำเสนอว่าวิกฤตน้ำท่วมครั้งนี้ เริ่มก่อตัวขึ้น ก่อนที่น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จะเข้ามาเป็น นายกรัฐมนตรี เพื่อลดทอนเรื่องการบริหารจัดการอันล้มเหลวของรัฐบาล โดยใช้คำว่า “หยุดโทษกัน” ... “ต่อให้เป็นเทวดา ก็ไม่อาจช่วยอะไรได้มากไปกว่านี้”
Nat สหายใครหนอ ค่อยๆโน้มน้าวความคิดของผู้อ่าน ก่อนจะเข้าสู่ประเด็นสำคัญ ด้วยการตั้งคำถามว่า ลำดับที่3 มีการสั่งทำฝนเทียมตั้งแต่เดือนเมษายน2554 จนถึงเดือน ตุลาคม 2554
หลักฐานตามภาพแนบท้าย มาลองดูความเป็นจริง หน้าฝนเริ่มตั้งแต่เดือน มิถุนายน(แต่จริงๆฝนก็ตกมาก่อนหน้านี้แล้ว) นอกจากนี้ นักวิจัยจากศูนย์พยากรณ์อากาศทั่วโลกต่าง ได้พยากรณ์เอาไว้ว่า ให้ระวังพายุที่จะเข้ามาในช่วงปี 2554นี้ คัดมาบางส่วน Link อ้างอิง http://guru.google.c...52a3c8d9973822d
เรียกได้ว่ามีทั้งลิงค์ข้อมูลและข่าวแนบมาประกอบการนำเสนอ ซึ่งหากมองโดยผิวเผินก็อาจจะหลงเชื่อว่า บทความนี้มีหลักฐานและข้อมูลทางวิชาการยืนยันจริงๆ โดยเฉพาะข้ออ้างเรื่องการทำฝนหลวง ตั้งแต่เดือนเมษายนจนถึงเดือนตุลาคม2554 ซึ่งต้องย้ำว่า นี่คือเจตนาแอบแฝงที่ต้องการกล่าวร้ายสถาบันว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับการเติมปริมาณน้ำในเขื่อน
สรุปของสรุป ก็คือว่า รู้ทั้งรู้ว่าพายุจะเข้า หลังจาก เมษายน 2554แล้ว จะทำฝนหลวง เติมน้ำ
ในเขื่อน ภูมิพล ทำไมกัน และจากคำสั่งให้ทำฝนหลวง (ตามภาพแนบ2) ดันให้ทำปลายฤดูร้อน
(เมษายน) เป็นต้นไปจนถึงเดือน ตุลาคม จุดนี้ต่างหาก ที่ประชาชนต้องการคำตอบ

Posted Image


(ข่าวที่ถูกนำมาอ้างว่ามีการทำฝนหลวงช่วงเม.ย.-ต.ค.)


เรามาแจกแจงที่ละข้อๆ แบ่งเป็น 2 ประเด็น คือ
1.การทำฝนหลวง เมษายน-ตุลาคม จริงหรือไม่?
2.การอ้างบทวิเคราะห์ของนักวิชาการเมื่อปี2553 ว่าปี 2554 จะเกิดเหตุการณ์แล้งจัดในช่วงครึ่งปีแรก และฝนจะตกหนักในครึ่งปีหลังนั้นจริงหรือไม่

Nat สหายใครหนอ นำข่าวของกรมประชาสัมพันธ์วันที่ 6 เมษายน 2554มาอ้างถึงคำสั่งทำฝนหลวงช่วงเดือนเมษายน-ตุลาคม“หน่วยปฏิบัติการฝนหลวงภาคเหนือตอนล่าง เริ่มปฏิบัติการทำฝนหลวงตั้งแต่เดือนเมษายน-ตุลาคม(ดูรายละเอียดเพิ่มเติมในภาพแนบ) ข้อย้ำว่าเป็นข่าววันที่ 6 เมษายน 2554 นั่นหมายความว่า เป็นการนำเสนอข่าว แผนการทำฝนหลวงที่เตรียมจะดำเนินการไปจนถึงเดือนตุลาคม (จะทำ) ซึ่งเป็นเรื่องปกติของแผนการทำฝนหลวงที่ดำเนินการทุกปี ตามการร้องขอของแต่ละพื้นที่ (ดูข้อมูลประกอบ ตารางทำฝนหลวง ปี 2553)


Posted Image

(ตารางการทำฝนหลวงปี2553)



อย่างไรก็ตามแม้จะมีการเตรียมแผนระยะยาวแต่การทำฝนหลวงจะมีการประเมินสภาพอากาศเป็นระยะๆ ซึ่งปรากฏว่าแผนดังกล่าวก็ได้ถูกปรับเปลี่ยนในลักษณะยกเลิกแทบทั้งหมด เพราะพายุที่ซัดกระหน่ำประเทศไทยลูกแล้วลูกเล่าแบบคาดไม่ถึง!
Posted Image

(ตารางการทำฝนหลวงปี2554)


ทั้งนี้ตารางการทำฝนหลวงที่แตกต่างของปี2553 กับปี 2554 ยังเป็นอีกหนึ่งเครื่องพิสูจน์ว่า การทำฝนหลวงได้พิจารณาปัจจัยพื้นฐานเรื่องสภาพดินฟ้าอากาศอย่างละเอียด จึงได้มีการสั่งยุติการทำฝนหลวงในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่างแบบ 100%เนื่องจากมีพายุเข้าภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนืออย่างต่อเนื่อง
หลักฐานจากตารางการทำฝนหลวงปี2554 ในเขตภาคเหนือจึงแสดงให้เห็นว่า ข้อมูลของ Nat สหายใครหนอ ที่นำเสนอว่า มีการทำฝนหลวงไปจนถึงเดือนตุลาคมนั้น เป็นการบิดเบือนข้อมูลสุดๆ
ตารางการทำฝนหลวงปี2554ในเขตภาคเหนือบ่งบอกชัดเจนว่า ได้มีการทำครั้งสุดท้ายในเดือนพฤษภาคมเพียง 7วัน และนับแต่นั้นเป็นต้นมา ก็ไม่มีการทำฝนหลวงในพื้นที่ภาคเหนืออีกเลย
จากตารางอาจมีข้อสงสัยอยู่บ้างว่า ที่จังหวัดพิษณุโลกปรากฏข้อมูลการทำฝนหลวง เดือนพฤษภาคม 9 วัน มิถุนายน 4 วัน กรกฎาคม 18 วัน แต่ก็ได้รับการแจกแจงโดย นายวราวุธ ขันติยานันท์ ผู้อำนวยการสำนักฝนหลวงและการบินเกษตรว่า รายชื่อจังหวัดที่ขึ้นตามตารางไม่ได้หมายถึงจุดการทำฝนหลวง แต่เป็นฐานปฏิบัติการ โดยจะทำหน้าที่ขึ้นบินทำฝนหลวงในจังหวัดนั้นๆหรือจังหวัดใกล้เคียง ตามการร้องขอ
จากข้อมูลที่ปรากฏว่าจังหวัดพิษณุโลก ได้มีการทำฝนหลวงไปจนถึงเดือนกรกฎาคมก็หมายถึงการปฏิบัติการที่ศูนย์พิษณุโลกเท่านั้น โดยมีพื้นที่เป้าหมายอยู่ที่ไร้ข้าวโพดของจังหวัดเพชรบูรณ์ที่กำลังจะแห้งตาย(ตามเอกสารแนบพื้นที่การทำฝนหลวงไร่ข้าวโพด)
Posted Image

(พื้นที่ทำฝนหลวงจ.เพชรบูรณ์)


พื้นที่ศูนย์ปฏิบัติการทำฝนหลวง
ภาคเหนือ ตอนบน ได้แก่ เชียงใหม่ แพร่
ภาคเหนือ ตอนล่าง พิษณุโลก ตาก
ภาคกลาง ซีกตะวันออก นครสวรรค์ ลพบุรี
ภาคกลางซีกตะวันตก กาญจนบุรี
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ขอนแก่น
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง นครราชสีมา อุบลราชธานี บุรีรัมย์
ภาคตะวันออก ระยอง สระแก้ว จันทบุรี
ภาคใต้ หัวหิน เมืองประจวบฯ
อย่างไรก็ตามแม้ประเทศไทยจะเผชิญหน้ากับวิกฤตน้ำท่วมในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคกลาง และกรุงเทพปริมนทล อย่างหนัก แต่กับพื้นที่นอกเหนืออื่นๆ ยังคงปรากฏการทำฝนหลวง อย่างต่อเนื่อง เนื่องจากยังมีอีกหลายจุดที่ประสบกับภาวะแห้งแล้ง
เพื่อให้เกิดความกระจ่างชัดนายวราวุธ ยังได้เน้นย้ำกับ สำนักข่าวที-นิวส์ ว่า ปริมาณของน้ำจากการทำฝนหลวงนั้น มีปริมาณที่ไม่สามารถทำให้เกิดน้ำท่วมได้อย่างแน่นอน เพราะมีปริมาณที่น้อยไม่เกิน10 มิลลิเมตร
สาเหตุที่ต้องหยุดการทำฝนหลวงตามแผนที่วางเอาไว้ อย่างที่เรียนว่า มีพายุเข้าประเทศไทยลูกแล้วลูกเล่าดังนี้ 1.ไหหม่า 24-26 มิถุนายน (ภาคเหนือตอนบน)
2.นกเตน 30-31 กรกฎาคม(ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน)
3.ไห่ถาง 27-28 กันยายน (ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)
4.เนสาด 30 กันยายน-3ตุลาคม (ประเทศไทยตอนบน)
5.นาลแก 4-5 ตุลาคม(ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก)
Posted Image

(รายงานการเข้ามาของพายุ)







ยิ่งตอกย้ำให้เห็นถึงการทำงานของสำนักงานฝนหลวงอย่างเป็นระบบ เพราะทันทีที่รู้ว่าพายุจะเข้า ก็ได้มีการสั่งยุติการทำฝนหลวงทันที แต่ทว่าNat สหายใครหนอ กลับยังบิดเบือนและตั้งคำถามลวงโลกว่า เมื่อรู้ทั้งรู้ว่าพายุจะเข้าแล้วยังทำฝนหลวง ซึ่งขอย้ำว่า เป็นการบิดเบือนข้อมูล
ส่วนข้ออ้างของ Nat สหายใครหนอ ด้วยการนำเอาบทความวิเคราะห์สภาพอากาศตั้งแต่ปี2553 ว่า จะแล้งหนักและฝนมากในปี 2554 ก็แสดงให้เห็นอีกด้วยว่าไม่ว่าคำพยากรณ์ใดๆ ก็ไม่สามารถยืนยัน สภาพอากาศล่วงหน้าได้ 100%
“วิเคราะห์จากข้อมูลตอนนี้เห็นชัดว่า หน้าร้อนปีนี้เป็นสภาพเผาหลอก แต่ช่วงฤดูร้อนของปีหน้า หรือปี 2554จะเจอหน้าแล้งแบบเผาจริง เพราะปีนี้ยังมีน้ำเหลือในเขื่อนหรือแหล่งน้ำธรรมชาติจากปี 2552ที่ยังพอมีฝนตก แต่เริ่มปี 2553 ฝนจะตกน้อย น้ำถูกดึงมาใช้อุปโภคบริโภคแทบหมด เมื่อไม่มีน้ำธรรมชาติมาเติมลงไป แหล่งน้ำทั่วประเทศก็จะแห้งจนถึงหน้าร้อนปี 2554จะเผชิญทั้งอากาศร้อนและสภาพขาดแคลนน้ำ เหมือนในปี 2541ไทยเจอ ‘เอลนีโญ่’ ขั้นรุนแรง ยิ่งไปกว่านั้นหลังจากหมดฤดูร้อนของปี 2554ก็จะเข้าสู่ฤดูฝนที่ฝนจะตกหนัก คาดว่าต้องเจอพายุกระหน่ำหลายลูกเพราะเมื่อเกิดกระแสน้ำอุ่นจัดก็จะเกิดความชื้นมาก แล้วก่อตัวเป็นพายุฝน หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องต้องสนใจการคาดการณ์ปัญหานี้อย่างจริงจัง และเริ่มวางแผนใช้ทรัพยากรน้ำให้มีประสิทธิภาพสูงสุด เพราะปีหน้าจะเจอทั้งภัยแล้งและน้ำท่วม”

นี่คือข้อมูลเพียงตอนหนึ่ง(ขอย้ำว่าเป็นเพียงตอนหนึ่ง)ที่อยู่ในลิงค์บทความ(http://guru.google.c...2a3c8d9973822dX ที่ Nat สหายใครหนอ นำมากล่าวอ้าง ทั้งๆที่เนื้อหาทั้งหมดในบทความจากลิงค์ดังกล่าว ได้มีการขึ้นข่าวการวิเคราะห์ขอ งดร.เสรี ศุภราทิตย์ ผอ.ศูนย์วิจัยภัยธรรมชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต ที่บอกว่า ปรากฏการณ์ "เอลนีโญ่" เริ่มตั้งแต่ปีที่แล้ว ทั่วโลกเจอทั้งภัยหนาว น้ำท่วม หรือภัยแล้ง ข้อมูลจากศูนย์โนอา หรือองค์การมหาสมุทรและบรรยากาศแห่งสหรัฐ (National Oceanic and Atmospheric Administration : NOAA) ตรวจพบกระแสน้ำอุ่นในทะเลแปซิฟิกเพิ่มขึ้น2 องศาเซลเซียส
ช่วงต้นปีนี้ลดลงมาเหลือ1.5 จากปกติน้ำทะเลบริเวณนั้นจะมีอุณหภูมิ 26 องศาเซลเซียส ถ้าสูงขึ้นเกิน 0.5องศาเซลเซียส ก็ถือเป็นปรากฏการณ์ "เอลนีโญ่" แล้ว แต่ช่วงนี้สูงขึ้นไปมากถึง 1.5-2 องศาเซลเซียส สำหรับประเทศไทยวิเคราะห์ได้ว่า หน้าร้อนปีนี้จะเริ่มร้อนตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ โดยจะร้อนที่สุดในเดือนเมษายน จนถึงเดือนกรกฎาคม ฝนก็จะไม่ตกมากนักและ "เอลนีโญ่" จะยาวนานจนถึงเดือนตุลาคม 2554
ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ก็พยากรณ์พลาด หรือแม้กระทั่ง เนื้อหาบางตอนที่ Nat สหายใครหนอ อุตส่าห์นำมาเชื่อมโยงเพื่อสนับสนุนความคิดของตัวเองก็พยากรณ์พลาด เพราะบอกว่าหลังจากหมดฤดูร้อนของปี 2554 ก็จะเข้าสู่ฤดูฝนที่ฝนจะตกหนัก และคาดว่าต้องเจอพายุกระหน่ำหลายลูก ซึ่งโดยข้อเท็จจริงปี 2554 ประเทศไทยต้องเผชิญกับฝนตั้งแต่ต้นปี ไม่ใช่หลังจากพ้นฤดูร้อนหรือช่วงครึ่งปีหลัง
กรมอุตุนิยมวิทยาสรุปปรากฏการณ์ทางธรรมชาติของไทยในปี2554 ว่า แม้กระทั่งหน้าร้อนก็ถูกพายุฝนโจมตีอย่างหนัก ซึ่งเป็นความผิดปกติที่ยากจะคาดเดา ยิ่งไปกว่านั้นปริมาณน้ำฝนของปี 2554ก็ได้ทำลายทุกสถิติ โดยมีปริมาณมากกว่าค่าปกติถึง 32 %


ภัยพิบัติทางธรรมชาติ ปี พ.ศ. 2554
ในปี พ.ศ. 2554ประเทศไทยประสบปัญหากับภัยธรรมชาติที่รุนแรงบ่อยครั้ง นับตั้งแต่เดือนมีนาคมเป็นต้นมา โดยปกติสภาพอากาศของเดือนมีนาคมอยู่ในช่วงฤดูร้อน อากาศโดยทั่วไปจะร้อนอบอ้าวและมีฝนไม่มากนัก แต่ในปีนี้หาเป็นเช่นนั้นไม่กลับกลายเป็นว่าบริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศหนาวเย็นเกือบตลอดเดือน และมีฝนตกในบางช่วง เนื่องจากอิทธิพลของบริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนที่แผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนเป็นระยะ ๆในขณะเดียวกันมีหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงปกคลุมบริเวณภาคใต้ตอนกลาง ท่าให้บริเวณภาคใต้มีฝนตกชุกหนาแน่นเกือบตลอดเดือน
โดยมีฝนหนักถึงหนักมากต่อเนื่องในหลายพื้นที่ ก่อให้เกิดอุทกภัยเป็นบริเวณกว้างและรุนแรงเป็นประวัติการณ์ บริเวณจังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา พัทลุงนราธิวาส ยะลา ตรัง พังงา กระบี่ และสตูล นอกจากนี้ยังมีรายงานดินโคลนถล่มในจังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานีตรังและกระบี่ โดยปริมาณฝนรวมทั้งประเทศของเดือนมีนาคมปีนี้มากที่สุดในรอบ 36ปี(พ.ศ.2519-2554)และหลายพื้นที่มีปริมาณฝนมากที่สุดใน 24 ชั่วโมง สูงกว่าสถิติเดิมและอุณหภูมิต่ำสุดรายวันต่ำกว่าสถิติเดิมที่เคยตรวจวัดได้ของเดือนเดียวกัน สภาวการณ์ที่เกิดขึ้นถือว่าผิดปกติจากที่เคยเป็น
ต่อมาในช่วงฤดูฝนปีนี้หลายพื้นที่ของประเทศไทยมีฝนตกสม่ำเสมอ หลายพื้นที่ปริมาณฝนมากกว่าค่าปกติ40-50 %และในปีนี้ไม่มีฝนทิ้งช่วงอย่างที่เคยปรากฏ อย่างไรก็ตามมีเพียงบางพื้นที่และเป็นพื้นที่ส่วนน้อยที่มีฝนน้อยในช่วงต้นฤดู แต่โดยภาพรวมแล้วประเทศไทยตอนบนมีฝนมากเกินความต้องการโดยเฉพาะพื้นที่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จากอิทธิพลของมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ร่องความกดอากาศต่ำ พายุหมุนเขตร้อนที่เคลื่อนผ่าน และที่เคลื่อนเข้ามาใกล้อย่างต่อเนื่องลูกแล้วลูกเล่า โดยในเดือนมิถุนายน ได้รับ
อิทธิพลจากพายุโซนร้อนไหหม่า” (HAIMA) ที่เคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณประเทศเวียดนามตอนบนเมื่อวันที่24แล้วอ่อนก่ำลังลงเป็นพายุดีเปรสชันเคลื่อนผ่านประเทศลาวและอ่อนกาลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณประเทศลาว เมื่อวันที่ 26 จากนั้นได้เคลื่อนเข้าปกคลุมบริเวณจังหวัดน่านแล้วสลายตัวไปในวันเดียวกัน พายุลูกนี้ส่งผลให้หลายจังหวัดบริเวณประเทศไทยตอนบนโดยเฉพาะภาคเหนือมีฝนตกหนักถึงหนักมากต่อเนื่องและบางพื้นที่มีปริมาณฝนมากที่สุดใน24 ชั่วโมง สูงกว่าสถิติเดิมที่เคยตรวจวัดได้ของเดือนเดียวกัน โดยปริมาณฝนสูงสุดใน24 ชั่วโมงวัดได้ 335.2 มิลลิเมตร ที่อุทยานแห่งชาติดอยภูคา อำเภอปัวจังหวัดน่าน เมื่อวันที่ 25
และมีรายงานน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และดินถล่มในบริเวณจังหวัดแพร่เชียงราย พะเยา น่าน ตากและสุโขทัย มีผู้เสียชีวิตรวม 3 ราย ประชาชนได้รับความเดือดร้อน 105,703ครัวเรือน 411,573 คน พื้นที่เกษตรเสียหาย159,598 ไร่ (ที่มา : กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ณ วันที่4กรกฎาคม 2554)
ต่อมาในช่วงปลายเดือนกรกฏาคม ประเทศไทยได้รับอิทธิพลจาก พายุโซนร้อน “นกเตน”(NOCK-TEN)ซึ่งเคลื่อนตัวขึ้นฝั่งบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน ผ่านประเทศลาวแล้วอ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชันก่อนเคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทยบริเวณจังหวัดน่านในวันที่31และอ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำและปกคลุมภาคเหนือของประเทศไทยบริเวณจังหวัดเชียงใหม่และแม่ฮ่องสอนในเวลาต่อมา ท่าให้ประเทศไทยมีฝนตกชุกหนาแน่น กับมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่
โดยเฉพาะบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนมีฝนหนักถึงหนักมากหลายพื้นที่ ปริมาณฝนมากที่สุดใน 24 ชั่วโมง วัดได้ที่อำเภอเมืองจังหวัดหนองคาย เมื่อวันที่ 30สูงถึง 405.9 มิลลิเมตร ซึ่งท่าลายสถิติเดิมในรอบปีของจังหวัดหนองคาย และมีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ พิษณุโลก พิจิตร หนองคาย เลย อุดรธานี สกลนคร และนครพนม
เดือนสิงหาคมถึงแม้ไม่มีพายุเคลื่อนเข้ามาใกล้ แต่ประเทศไทยได้รับอิทธิพลจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และร่องความกดอากาศต่ำกำลังค่อนข้างแรงที่พาดผ่านประเทศไทยตอนบน ท่าให้มีฝนตกชุกหนาแน่นเกือบตลอดเดือนโดยเฉพาะบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีรายงานฝนหนักถึงหนักมากเป็นระยะๆ จนเกิดน้ำท่วมต่อเนื่องในหลายพื้นที่ ส่าหรับเดือนกันยายน
นอกเหนือจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และร่องความกดอากาศต่ำแล้ว ประเทศไทยได้รับอิทธิพลจากพายุหมุนเขตร้อนอีก 2 ลูก คือพายุโซนร้อน ไห่ถาง (HAITANG)”โดยพายุนี้ได้เคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณเมืองเว้ ประเทศเวียดนามในวันที่ 27แล้วอ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชันก่อนเคลื่อนตัวผ่านประเทศลาวแล้วอ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงเคลื่อนเข้าปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือของประเทศไทยในวันที่28 นอกจากนี้ไต้ฝุ่น เนสาด (NESAT)” ได้เคลื่อนตัวผ่านอ่าวตังเกี๋ยขึ้นฝั่งเมืองฮาลอง ประเทศเวียดนามในขณะมีกำลังแรงเป็นพายุโซนร้อนในวันที่ 30ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากพายุทั้ง 2 ลูก
ส่งผลให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนตกชุกหนาแน่นโดยมีรายงานฝนหนักถึงหนักมากเป็นระยะๆต่อเนื่องจากเดือนที่ผ่านมา และมีรายงานน้ำท่วมเป็นบริเวณกว้างและต่อเนื่องในหลายพื้นที่ บางพื้นที่น้ำท่วมอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน สร้างความเสียหายอย่างมาก ส่งผลกระทบต่อการด่ารงชีวิตทุกภาคส่วน และเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ
จากการประเมินความเสียหายของสถานการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้นในหลายพื้นที่ทั่วประเทศในเบื้องต้น ผู้ว่าการแบงค์ชาติ กล่าวว่าได้สร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจมีมูลค่าประมาณ 2หมื่นกว่าล้านบาท หากสถานการณ์น้ำท่วมเกิดขึ้นกินระยะเวลาไม่เกินช่วงเดือนตุลาคม-พฤศจิกายนปีนี้ แต่หากยืดเยื้อจะสร้างมูลค่าความเสียหายมากกว่าที่ประเมินไว้ (โพสต์ทูเดย์ 6 ต.ค.54)
ภัยพิบัติทางธรรมชาติ พ.ศ. 2554 ที่เกิดขึ้นนับได้ว่ารุนแรงที่สุดเท่าที่เคยปรากฏ และเมื่อเปรียบเทียบกับปริมาณฝนที่ตกในพื้นที่ต่างๆของประเทศไทยตั้งแต่ต้นปีมาจนถึงเดือนกันยายนปรากฏว่า ปริมาณฝนรวมทั้งประเทศสูงกว่าค่าปกติ ประมาณ 32 % ซึ่งสูงกว่าทุกปีที่เคยตรวจวัดมา อันดับ 2 ปี พ.ศ. 2496 สูงกว่าค่าปกติ 27 % และอันดับ 3 ปี พ.ศ. 2513สูงกว่าค่าปกติ 23 % แต่เมื่อพิจารณาเฉพาะช่วงฤดูฝน (พฤษภาคม-กันยายน) ปรากฏว่า ปีนี้ พ.ศ. 2554 ประเทศไทยมีปริมาณฝนมากกว่าค่าปกติ 20.1 % อยู่อันดับที่ 3 ขณะที่ ปี พ.ศ. 2513 และ พ.ศ. 2499 ปริมาณฝนสูงกว่าค่าปกติ 23.6 % และ 20.7 % อันดับที่ 1และ 2 ตามล่าดับ
ภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นดังที่กล่าวมาแล้วเป็นภัยที่เกิดขึ้นตั้งแต่ต้นปีถึงเดือนกันยายนเท่านั้น ตั้งแต่เดือนตุลาคมเป็นต้นไปจนสิ้นปี 2554เรายังต้องระวังและเตรียมพร้อมกับอุทกภัยที่จะเกิดขึ้นต่อเนื่อง เนื่องจากเดือนตุลาคม พฤศจิกายนและธันวาคม คาดว่าปริมาณฝนจะยังคงมากกว่าค่าปกติ ไม่ว่าจะเป็นประเทศไทยตอนบน และภาคใต้ที่จะเข้าสู่ฤดูน้ำหลากต่อไป หลายพื้นที่ที่ประสบกับภัยพิบัติทางธรรมชาติในปีนี้นับว่ารุนแรงที่สุดเท่าที่มีการบันทึกก็ว่าได้ แต่สิ่งเหล่านี้จะเป็นบทเรียนในการเตรียมความพร้อม การปรับตัวและการวางแผนในอนาคตที่จะอยู่ได้ต่อไป

ศูนย์ภูมิอากาศ

สำนักพัฒนาอุตุนิยมวิทยา

10ตุลาคม 2554

ข้อมูลหลักขนาดนี้ก็ถือว่าเหลือเฟือในการแสดงให้เห็นว่าอะไรเป็นอะไร แต่เพื่อให้เกิดความกระจ่างชัดเพราะยังมีอีกหนึ่งข้อสงสัยเกี่ยวกับการบริหารจัดการน้ำในตัวเขื่อน ภูมิพล กับสิริกิติ์ ว่าถูกเก็บสะสม เพื่อเล่นงานรัฐบาลยิ่งลักษณ์จริงหรือไม่
พิจารณาน้ำในเขื่อนภูมิพล ปี 2554 ตั้งแต่ต้นปียังคงมีระดับ ที่ใกล้เคียงกับการกักเก็บน้ำปี 2552 และ2553 ที่ประมาณ 6,000-7,500ล้านลูกบาศก์เมตร จากขนาดความจุ 13,460 ล้านลูกบาศก์เมตร
หลังจากนั้นในเดือนเมษายนเป็นต้นมา ระดับน้ำของปี 2554 ก็เริ่มฉีกหนีไปจาก 2552 และ 2553 มากขึ้น ซึ่งเป็นผลมาฝากฝนที่ตกตั้งแต่ต้นปี (ทั้งที่ยังไม่ใช่ฤดูฝน)ฝนที่ตกลงมาอย่างต่อเนื่องทำให้ระดับน้ำไต่ระดับขึ้นเรื่อยๆ กระทั่งเดือนมิถุนายน เส้นกราฟได้พุ่งสูงจนแทบเป็นแนวตั้ง ซึ่งสัมพันธ์กับพายุจำนวน 5ลูกที่เข้าโจมตีประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง จนมาถึงช่วงปลายเดือนกันยายนน้ำก็เต็มเขื่อน


Posted Image
สอดคล้องกับเขื่อนสิริกิติ์ ตั้งแต่ต้นปีมีน้ำสะสมอยู่ที่ประมาณ 7,400ล้านลูกบาศก์เมตร จากความจุ 9,500 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งเป็นตัวเลขที่น้อยกว่าปี 2552 ด้วยซ้ำที่อยู่เกือบ 8,000ล้านลูกบาศก์เมตร หลังจากนั้น ระดับของน้ำในปี 2554ก็เคลื่อนตัวตามปริมาณฝนที่เริ่มตกตั้งแต่เดือนมีนาคม ก่อนจะพุ่งสูงเป็นแนวดิ่งในเดือนมิถุนายนเหมือนกับเขื่อนภูมิพล ซึ่งเป็นผลมาจากพายุที่ได้เริ่มโจมตีประเทศไทยในเดือนมิถุนายนพอดี

Posted Image




จากหลักฐานที่ปรากฏแสดงให้เห็นว่า การเข้ามาของพายุนับได้ว่ามีส่วนสำคัญที่ทำให้มีปริมาณน้ำมากเป็นประวัติการณ์ หรือกล่าวโดยสรุปว่าคือสาเหตุที่ทำให้น้ำในเขื่อนเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นหลักฐานที่ชัดเจนที่สุดว่าข้อมูลของ Nat สหายใครหนอ ที่บอกว่า “ฝนไม่ได้มากกว่าทุกปีนั้น”ไม่เป็นความจริง!
“ผมไม่ได้บอกว่าใครผิด แต่ผมอยากให้เราทุกคน ทั้งเสื้อเหลือง เสื้อแดง หรือเสื้อขาวมาลองคิดกันหน่อยได้หรือเปล่าว่า การที่ มีเขื่อนเอาไว้ แต่ไม่ยอมปล่อยน้ำ ให้ประชาชนเอาไปทำนาทำไร่ ช่วงฤดูร้อน แต่มาปล่อยซ้ำเติมประชาชนในฤดูฝนมันสมควรแล้วหรือ เรามาช่วยหาคำตอบกันดีกว่า เพราะสาเหตุก็ทราบๆกันดีอยู่แล้ว ว่าปริมาณน้ำฝนในปีนี้ไม่ได้มากไปกว่าปีก่อนๆเท่าไรเลย แต่ ประเทศเราถึงกับต้องสูญเสียอย่างที่ไม่ควรจะเป็นไม่ได้กล่าวลอยๆ หลักฐาน ตาม Link เลยครับ”

แน่นอนว่าภัยธรรมชาติที่ยากเกินความควบคุมของมนุษย์ เป็นองค์ประกอบหลัก ที่นำมาสู่วิกฤตน้ำท่วมในครั้งนี้ แต่ก็น่าพิจารณาไม่น้อยว่า ถ้าหากรัฐบาลยิ่งลักษณ์มีการบริหารจัดการ หรือเตรียมการรับมือให้สอดคล้องกับสถานการณ์ ตั้งแต่ต้น ก็น่าที่จะช่วยบรรเทาสถานการณ์ได้มากกว่าที่เป็นอยู่

ขณะที่Nat สหายใครหนอ แสดงให้เห็นว่าการออกมาครั้งนี้ ก็เพื่อพยายามปกป้องรัฐบาลยิ่งลักษณ์ว่า สำหรับคนที่โจมตีรัฐบาลยิ่งลักษณ์ต่างๆ ว่าบริหารจัดการน้ำไม่ดีได้โปรดพิจารณาดูข้อมูล และรูปภาพนี้ก่อน จะลำดับเวลาให้เห็นเพื่อความชัดเจน
4.1 วันจันทร์ ที่ 8/8/54รัฐบาลพรรคเพื่อไทย ได้รับการโปรดเกล้าจาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
4.2 วันที่ 23-25สิงหาคม รัฐบาลแถลงนโยบาย ตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ (ถ้าไม่แถลงก่อนทำงานก็ไม่ได้ผิดกฎหมายอีก)
ถ้าดูจากระยะเวลารัฐบาลเข้ามาทำงาน แค่ 1เดือนครึ่งเท่านั้นอ่ะ จากนั้นลองมาดูภาพนี้สรุปของสรุปก็คือว่า ลองดูจากระยะเวลาที่รัฐบาลเริ่มทำงานครับ น้ำจากเขื่อนสิริกิติ์ และเขื่อนภูมิพล ไปถึงไหนกันแล้ว จากภาพจะเห็นได้ว่า ต้นเดือน กันยายน ความวินาศของประเทศมันรออยู่แล้ว ใช่หรือไม่ ?

สรุปว่าการสร้างหลักฐานเท็จทั้งหมดของNat สหายใครหนอ ก็เพื่อปกป้องรัฐบาลยิ่งลักษณ์ หนำซ้ำยังเคลือบแฝงไว้ด้วยเจตนาร้ายต่อสถาบัน ด้วยการกล่าวอ้างเรื่อง ฝนหลวง การกักเก็บน้ำในเขื่อน ด้วยข้อมูลที่บิดเบือน เพื่อเบี่ยงเบนประเด็นความผิดพลาดของกระบวนการทำงานของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ว่า ถูกวางแผนโค่นล้ม...
== ข้อความถูกระงับโดยผู้ดูแล ==

#2 PHOENiiX

PHOENiiX

    ปู 4ssโกงชาวนา

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 9,226 posts

ตอบ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 - 08:52

ชัดเจนค่ะ นายกต้องรับผิดชอบ

#3 Zelretch

Zelretch

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 387 posts

ตอบ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 - 09:07

สำหรับผม... ความเสียหายจากน้ำท่วมครั้งนี้... "เสื้อแดง" มีกรรมผูกติดไปด้วยครับ -_-

#4 อึ่งอ่างไชโย

อึ่งอ่างไชโย

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 443 posts

ตอบ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 - 09:35

ตายๆๆ ไม่ตายตอนนี้จะตายตอนไหน ยิ่งเละเอ๊ยยย!!

#5 halfmoon

halfmoon

    มหาเมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 12,338 posts

ตอบ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 - 09:45

ลาออกซะ
อธิปัตย์ 5 : อิสรภาพ เสรีภาพ ภราดรภาพ มิตรภาพ สันติภาพ : คือแก่นแท้แห่งอำนาจประชาธิปไตย : ท่านมีหรือยัง ถ้าไม่ จงสร้างเอง

#6 serithai11

serithai11

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 863 posts

ตอบ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 - 10:00

ยิ่งมั่ว ลาออกซะเถอะ

#7 กระท่อมปลายนา

กระท่อมปลายนา

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 208 posts

ตอบ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 - 10:18

หนับหนุนๆๆๆๆๆ.....ยิ่งเละ ต้องลาออกๆๆๆๆๆๆๆ

#8 CATCAT

CATCAT

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,018 posts

ตอบ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 - 10:31

ลาออก เช๊อะ ฝันไปเถอะ
นางเพิ่งจะประกาศว่า รัฐบาลชอเป็นแกนนำในการฟื้นฟูประเทศหลังน้ำลดตอผุด :P
เงินคุณ เงินผม เงินของพวกเราทู๊กคนนนน

#9 Grimmy

Grimmy

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,178 posts

ตอบ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 - 10:34

รีบสร้างประวัตฺิศาตร์นายกฯหญิงคนแรกที่มาเร็ว เคลมเร็วที่สุดของเมืองไทยเถอะครับ

#10 JUR1ST

JUR1ST

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 2,803 posts

ตอบ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 - 10:34

สนับสนุนให้รวบรวมหลักฐานไปฟ้องคดีครับ ฟ้องตอนที่ยังเป็นรัฐบาลอยู่นี่แหละ

ต่อให้ลาออกไปกี่ตลบก็ยังต้องรับผิดชอบ

#11 Bookmarks

Bookmarks

    มหาเมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 33,617 posts

ตอบ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 - 10:53

จะหาความละอายจากหญิงงามเมืองคนนี้หรือ ด้านตั้งแต่จะขอมาเป็นนายกแล้ว ตั้งแต่บริหารมา ยังไม่เคยเห็นรับผิดชอบอะไรสักอย่าง โทษนั่นโทษนี่ ไม่เคยโทษตัวมันเองเลย
ปล่อยเค้าพังคันกั้นน้ำ มันไปโทษว่า ชาวบ้านเครียด กรรูไม่สนว่าชาวบ้านจะเครียด กรรูสนแต่ว่า มรรึงจะจัดการอย่างไรต่างหาก

#12 เมณี ลีน

เมณี ลีน

    น้องใหม่

  • Members
  • Pip
  • 33 posts

ตอบ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 - 10:55

รับผิดชอบด้วยการลาออกไปทั้งครม.เถอะ ไปสู่ที่ชอบที่ชอบสักที่แม่คุณ รีบๆท้อแล้วก็ไปไปซะ
กฎแห่งกรรมยุติธรรมเสมอ

#13 5250401101

5250401101

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 461 posts

ตอบ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 - 11:09

เสื้อแดงมันจะฟังไหม?


#14 PHOENiiX

PHOENiiX

    ปู 4ssโกงชาวนา

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 9,226 posts

ตอบ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 - 15:21

กาลีบ้าน กาลีเมืองจริงๆ

#15 halfmoon

halfmoon

    มหาเมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 12,338 posts

ตอบ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 - 15:27

รับผิดชอบด้วยการลาออกไปทั้งครม.เถอะ ไปสู่ที่ชอบที่ชอบสักที่แม่คุณ รีบๆท้อแล้วก็ไปไปซะ


ปูลาออกคนเดี๋ยว คณะละครลิงก็ร่วงทั้งคณะครับ แล้วค่อยฟอร์มคณะลิเกหรือลำตัดขึ้นมาใหม่ ไม่แน่อาจจะได้ตลกคาเฟ่รวมคณะก็ได้นะ
อธิปัตย์ 5 : อิสรภาพ เสรีภาพ ภราดรภาพ มิตรภาพ สันติภาพ : คือแก่นแท้แห่งอำนาจประชาธิปไตย : ท่านมีหรือยัง ถ้าไม่ จงสร้างเอง