Jump to content


Photo

ลองลงรูปดู


This topic has been archived. This means that you cannot reply to this topic.
10 ความเห็นในกระทู้นี้

#1 Ghost

Ghost

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 528 posts

ตอบ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 - 10:05

มันจะได้ไหมวะนี่

#2 Guest_น้ำ_*

Guest_น้ำ_*
  • Guests

ตอบ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 - 21:18

ส่งกันยังไงอยากรู่้



#3 Guest_น้ำ_*

Guest_น้ำ_*
  • Guests

ตอบ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 - 21:57

ไม่รู้จะถามตรงไหน ถามตรงนี้ได้ป่ะ ไอ้เช้าบ็อกนี่คืออะไร

#4 Guest_หมู_*

Guest_หมู_*
  • Guests

ตอบ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 - 21:19

ทำไมห้องนี้มันมีท่ี่ให้พิมพ์ข้อความแต่ห้องอื่นไม่มี

#5 Majung

Majung

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 403 posts

ตอบ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 - 10:56

ลองโหลดลิงค์ดูมั่งน้า

ธมฺมจารี สุขํ เสติ

#6 เพลิงสีนิล

เพลิงสีนิล

    สมาชิก ชั้น 7 โฟร์ซีซั่น

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 3,629 posts

ตอบ 25 มกราคม พ.ศ. 2555 - 19:31

http://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=kbMJGCANcbo#!

Edited by เพลิงสีนิล, 25 มกราคม พ.ศ. 2555 - 19:32.

[color=#0000ff;][font="Tahoma, sans-serif;"]เราจะรู้.....รสชาติของความสุข[/color][font="Tahoma, sans-serif;"]ก็ต่อเมื่อ     เราผ่านความทุกข์มาก่อน[/font][/font]


#7 เพลิงสีนิล

เพลิงสีนิล

    สมาชิก ชั้น 7 โฟร์ซีซั่น

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 3,629 posts

ตอบ 25 มกราคม พ.ศ. 2555 - 19:32

ลองโหลดลิงค์ดูมั่งน้า
http://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=kbMJGCANcbo#!


Edited by เพลิงสีนิล, 25 มกราคม พ.ศ. 2555 - 19:32.

[color=#0000ff;][font="Tahoma, sans-serif;"]เราจะรู้.....รสชาติของความสุข[/color][font="Tahoma, sans-serif;"]ก็ต่อเมื่อ     เราผ่านความทุกข์มาก่อน[/font][/font]


#8 Guest_ลองมั่ง..._*

Guest_ลองมั่ง..._*
  • Guests

ตอบ 29 มกราคม พ.ศ. 2555 - 16:49

Fwd. mail: [narongsak.com] Mayura Su
ชอบมาก ๆ เลยอ่ะ แทงใจดำดี


คนเก่งจริงไม่เรื่องมาก คนฉลาดจริงไม่มากเรื่อง

Posted Image
โดย
วินทร์ เลียววาริณ.


Posted Image

วันแรกที่เข้าเรียนใน
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ผมพบเรื่องอัศจรรย์อย่างหนึ่งเมื่อรุ่นพี่บางคนบอกว่า

'การอดนอนเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการเรียนในคณะนี้'


วันสุดท้ายในคณะนี้ ผมพบว่าตั้งแต่เรียนมาห้าปี ไม่เคยต้องอดนอนเลย
ยกเว้นเมื่อต้องทำงานกลุ่ม

ทั้งนี้มิใช่เพราะผมทำงานเร็วกว่าคนอื่น

...แต่เพราะผมไม่เชื่อในทัศนคตินั้น จึงพยายามพิสูจน์ว่ามันไม่จริง
และพบว่าการวางแผนที่ดีแก้ปัญหาได้ทั้งหมด

แม้แต่การสร้างสรรค์งานศิลปะ..ที่น่าขันก็คือ
น้อยคนที่อดนอนได้คะแนนดี


Posted Image Posted Image Posted Image

ผมเป็นมนุษย์เงินเดือนมานานร่วมสามสิบปี.... ห้าปีในนั้นผมทำงานในต่างประเทศ
..เมื่อกลับมาเมืองไทย ผมพบเรื่องอัศจรรย์อีกเรื่องหนึ่ง

นั่นคือ หลายคนมองการก้าวเท้าออกจากสำนักงานตรงเวลา
' เป็นเรื่องประหลาดที่สุดในโลก '


ผมรู้ความจริงภายหลังว่า ...

คนจำนวนมากไม่ยอมออกจากสำนักงานตรงเวลา เพื่อแสดงให้เจ้านายเห็นว่า

ตนเองขยันขันแข็ง ยิ่งอยู่ดึก ยิ่งเป็นพนักงานตัวอย่าง
เสียสละเพื่อองค์กร น่ายกย่องชมเชย


บ่อยครั้งมีผลถึงการได้รับโบนัสตอนท้ายปี.. เนื่องจาก

เจ้านายมักเห็นหน้าเห็นตาใครคนนั้น หลังเวลาเลิกงานแล้วเสมอ

Posted Image Posted Image Posted Image

หากไม่เคยทำงานในต่างประเทศมาก่อน ผมอาจเข้าร่วมวงไพบูลย์


'มาสายกลับดึก ' ด้วย

แต่หลายปีในชีวิตการทำงานในประเทศที่มีประสิทธิภาพในการจัดการที่สุด..
ทำให้เห็นค่าเวลาทุกนาทีในชีวิต

ผมกลับมองว่า คนที่อยู่ดึกเป็นประจำคือพวกไร้ประสิทธิภาพ

ไม่สามารถทำงานให้เสร็จทันเวลา ..จึงต้องอยู่ดึก
ยิ่งทำงานมากชั่วโมงยิ่งแสดงถึงการทำงานโดยไม่มีการวางแผน ไม่มองภาพรวม

ลองคิดดู ? ? ? ?


การอยู่ดึกเพื่อทำงานพิเศษหนึ่งคืนหมายถึง ค่าไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น
เครื่องปรับอากาศทำงานมากขึ้น ค่าทะนุบำรุงสูงขึ้น
ผลกระทบต่อคนทำงานคือพักผ่อนน้อยกว่าที่ควรเป็น
ยิ่งอยู่ดึก ประสิทธิภาพของงานในวันถัดไปยิ่งตกต่ำลง

Posted Image

มือกระบี่ชั้นหนึ่งในแผ่นดิน


มองท่วงทีของศัตรูอย่างระวัง
ตวัดกระบี่ในมือเพียงฉับเดียว ก็เข่นฆ่าฝ่ายตรงข้าม


มือกระบี่ชั้นรองต้องประกระบี่ดังโคร้งเคร้งนานนับชั่วโมง
ราวกับอยากบอกโลกว่า ..ข้าก็ใช้กระบี่นะโว้ย

โลกรับรู้ แต่คมกระบี่ก็บิ่น ต้องเสียเวลาลับกระบี่อีกหลายวัน


งานดีอย่างเดียวไม่พอ ต้องตรงเวลาด้วย

งานดีไม่มีทางเกิดขึ้นตามยถากรรม ..หรืออารมณ์ขึ้นลง
ไปจนถึงความหนาแน่นรัดกุมของกฎเกณฑ์ ' ตอกบัตร'
ปริมาณเวลาในการทำงานชิ้นหนึ่ง
ไม่ได้เป็นสัดส่วนกับคุณภาพของผลงานเสมอไป
บ่อยครั้งเป็นปฏิภาคกัน ..หลายครั้งงานที่ให้เวลาน้อย
กลับออกมาดีกว่างานที่ให้เวลามาก

' คนเก่งจริงไม่เรื่องมาก คนฉลาดจริงไม่มากเรื่อง
ทำงานเสร็จแล้วก็เลิก! ไม่ต้องรอเทวดาบนสวรรค์วิมานมารับรู้ '
เพราะถึงเวลานั้นเทวดาก็กลับบ้านไปนานแล้ว


:rolleyes: http://www.cmadong.c...pic,7969.0.html



#9 ดราม่า

ดราม่า

    เมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 6,395 posts

ตอบ 29 มกราคม พ.ศ. 2555 - 17:09

คมบาดจิต :P
"หากท่านโกหกเรื่องใหญ่มากพอ, โกหกบ่อยครั้งเพียงพอ, เรื่องนั้นจะถูกเชื่อ" อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ สนับสนุนกฎหมายเก็บภาษีที่ดินคนรวย สนันสนุนกฎหมายเก็บภาษีมรดก “ขอพูดอะไรแรงๆ สักครั้งในชีวิตค่ะ พูดแล้วจะร้องไห้...น้ำท่วมไม่กลัว กลัวอย่างเดียว...ผู้นำโง่ เพราะพวกเราจะตายกันหมด”หนูดี

#10 Guest_sdf_*

Guest_sdf_*
  • Guests

ตอบ 6 มีนาคม พ.ศ. 2555 - 02:20

ไม่รู้จะถามตรงไหน ถามตรงนี้ได้ป่ะ ไอ้เช้าบ็อกนี่คืออะไร

test

#11 phoosana

phoosana

    เมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 7,687 posts

ตอบ 14 มีนาคม พ.ศ. 2555 - 07:56

ทดสอบไฮไลท์

"ดร.เสรี" ฟันธงปีนี้น้ำไม่ท่วมใหญ่เหมือนปี 54 แต่ปี 55-56 ไทยเจอภัยแล้งหนัก แนะปรับแผนพร่องน้ำจากเขื่อนมากกว่า 45% คาดปี 59-60 เจอท่วมใหญ่อีกระลอก ครม.อนุมัติงบ 2.4 หมื่นล้านทั้งที่ไม่มีรายละเอียดโครงการ อ้างป้องกันน้ำท่วมไม่ทัน "ปู" เผยไม่เกิน 1 เดือนเปิดพื้นที่รับน้ำพร้อมหลักเกณฑ์เยียวยา
เมื่อวันอังคาร ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ผอ.ศูนย์การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและภัยพิบัติ มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวในงานสัมมนากรมการปกครองส่วนท้องถิ่นกับการจัดการภัยพิบัติเชิงรุกและ ตั้งรับ จัดโดยวิทยาลัยพัฒนาการปกครองท้องถิ่น สถาบันพระปกเกล้า ว่า การคาดการณ์ด้านภูมิอากาศของ JAMSTEC ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมีความแม่นยำในการพยากรณ์ รายงานข้อมูลทางวิทยาศาสตร์บ่งชี้ว่า ปี 2555 เป็นต้นไป ไทยจะเผชิญความแห้งแล้ง และในปี 2556 จะเข้าสู่ช่วงเวลาแห่งภัยแล้งรุนแรง เป็นอิทธิพลจากการลดลงของปรากฏการณ์
ลานีญาในมหาสมุทรแปซิฟิก
เขาบอกว่า ปีนี้ปริมาณฝนกลางปีถึงปลายปีจะน้อยกว่าปกติ ปริมาณฝนน้อยกว่าค่าเฉลี่ย 15-20% โอกาสปริมาณน้ำจะเต็มเขื่อนเช่นปี 2554 เป็นไปได้ยาก และสถานการณ์การขาดแคลนน้ำจะเริ่มปรากฏให้เห็นชัดเจนในปีหน้า ซึ่งหาก กยน.ยังใช้มาตรการเดิมตามแผนปล่อยน้ำในเขื่อนเหลือ 45%ในเดือน พ.ค.นี้ อาจทำให้เหลือปริมาณน้ำในเขื่อนเหลือน้อยมาก นอกจากนี้ ในปี 2556 จะเป็นภัยแล้งที่รุนแรง จึงจำเป็นต้องปรับแผนการพร่องน้ำเพื่อให้น้ำในอ่างเหลือมากกว่า 45% เส้นกราฟปล่อยน้ำจึงต้องยืดหยุ่นให้เข้าสถานการณ์
"ปีนี้แนวโน้มไม่ท่วมใหญ่เหมือนปี 2554 แต่เราจะเผชิญภัยแล้งมาก เทียบเป็นเปอร์เซ็นต์ 70% อีก 30% คือน้ำท่วม จึงเป็นเรื่องการบริหารจัดการความเสี่ยงภัยพิบัติ นอกจากปรับแผนพร่องน้ำต้องเร่งทำความเข้าใจกับเกษตรกรผู้ใช้น้ำ เพราะการปลูกข้าว 1 ล้านไร่ ใช้น้ำ 1 พันล้านลูกบาศก์เมตร หากเกษตรกรยืนยันจะปลูกข้าวนาปรัง 10 ล้านไร่น้ำไม่เพียงพอแน่ๆ รัฐจำเป็นต้องบอกว่ามีน้ำปริมาณเพียงเท่านี้ และวางแผนให้เกษตรกรปลุกพืชระยะสั้นหรือพืชทนแล้ง" ดร.เสรีกล่าว และว่า น้ำแล้งจึงเป็นเรื่องใหญ่ ต้องมองควบคู่กันไป จะแก้แต่น้ำท่วมอย่างเดียวไม่ได้ ต้องให้ความสำคัญกับปัญหาภัยแล้งด้วย
ดร.เสรีกล่าวอีกว่า แผนแก้ปัญหาน้ำท่วมของรัฐบาลจะมีการสร้างคันกั้นน้ำชั่วคราวทางฝั่งตะวันออก แต่ยังไม่เคยทำความเข้าใจกับชุมชนหรือเจรจาเพื่อหาข้อสรุปเรื่องค่าชดเชย ซึ่งจะทำให้ปฏิบัติงานตามแผนได้ ปัจจุบันหน่วยปฏิบัติการยังไม่สามารถทำงานได้ทั้งที่เหลือเวลาอีก 4-5 เดือนก็จะถึงหน้าน้ำ
นักวิชาการด้านน้ำให้ความเห็นอีกว่า หลังจากนายกรัฐมนตรีทัวร์จังหวัดน้ำท่วม ซึ่งทำให้มีมาตรการป้องกันและแผนการเตรียมการ พร้อมทั้งฟลัดเวย์และการผันน้ำ ที่แต่ละจังหวัดเสนอให้ กอนช.พิจารณา แต่เหมือน "จิกซอว์" ที่ต่อกันไม่ติด เพราะต่างคนต่างคิด หลายโครงการไม่น่าจะเกิดขึ้นได้ ซึ่ง กอนช.ต้องกลับไปดูว่าแต่ละแผนที่ออกมาว่ามีความเป็นไปได้หรือไม่ และคำนึงถึงการใช้งบประมาณให้มีประสิทธิภาพ
"อนาคตเราหนีไม่พ้นน้ำท่วมแน่ แม้ปีนี้โอกาสน้ำมาน้อยมาก แต่ปี 2559-2560 คาดว่าจะเกิดน้ำท่วมอีกและรุนแรงกว่าปี 2554 ในพื้นที่อยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี ตอนเหนือของกรุงเทพฯ ฝั่งตะวันออกที่เป็นฟลัดเวย์และฝั่งตะวันตกที่มีปัญหาแม่น้ำท่าจีนรับน้ำได้ น้อย" ดร.เสรีกล่าว
ที่ทำเนียบรัฐบาล นายชลิตรัตน์ จันทรุเบกษา รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ครม.ได้อนุมัติกรอบงบประมาณการดำเนินการแก้ไขปัญหาอุทกภัยระยะเร่งด่วนปี 55 จำนวน 246 โครงการ วงเงินรวม 24,828,820,500 บาท ตามที่นายปลอดประสพ สุรัสวดี รมว.วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประธานคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย (กบอ.) เสนอ
แหล่งข่าวเปิดเผยว่า ที่ประชุมเป็นห่วงว่าเนื่องจากการเสนอโครงการครั้งนี้ไม่มีการจัดทำแผน บริหารโครงการหรือรายละเอียดของโครงการ มีเพียงแต่หัวข้อของโครงการเท่านั้น แต่เนื่องจากเป็นโครงการเร่งด่วนเพื่อป้องกันปัญหาน้ำท่วมให้เสร็จทันภายใน เดือน พ.ค.-มิ.ย.2555 จึงจำเป็นต้องอนุมัติให้ดำเนินการไปก่อน
ทั้งนี้ เมื่อที่ประชุม ครม.เห็นชอบในวันนี้แล้ว ให้ส่งรายละเอียดของโครงการให้สำนักงบประมาณไปดำเนินการจัดสรรงบประมาณให้ เจ้าของโครงการ แต่ต้องแจ้งให้คณะกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย (กบอ.) รับทราบก่อนที่จะอนุมัติเงินงบประมาณให้
"การพิจารณาครั้งนี้ ถือเป็นกรณีพิเศษ เฉพาะ 246 โครงการนี้เท่านั้น เนื่องจากว่าถ้าทำตามขั้นตอนก็จะต้องกลับไปเริ่มนับหนึ่งใหม่ ทำให้การแก้ไขปัญหาน้ำท่วมไม่ทันแน่นอน ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้ย้ำในที่ประชุม ครม.ในการพิจารณาโครงการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมครั้งต่อไป จะต้องทำตามขั้นตามระเบียบสำนักงบประมาณ โดยให้เจ้าของโครงการต้องเสนอโครงการพร้อมรายละเอียดและแผนบริหารเสนอผ่าน กบอ.ก่อน เมื่อ กบอ.ทำเรื่องและผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการนโยบายน้ำและอุทกภัยแห่งชาติ (กนอช.) จึงเสนอให้ครม.ให้ความเห็นชอบ จึงออกระเบียบสำนักนายกฯ ว่าด้วยการบริหารโครงการเพื่อวางระบบบริหารจัดการน้ำฯ ขึ้นมาบังคับใช้ก่อน" แหล่งข่าวกล่าว
น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงหลักเกณฑ์ในการพิจารณาพื้นที่รับน้ำ 2 ล้านไร่ หลังจากมีการเสนอที่เข้ามาถึง 3 ล้านไร่ว่า ที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอมา สามารถหาพื้นที่ได้ประมาณ 3 ล้านไร่ เราคงไม่ประกาศพื้นที่รับน้ำทันที เพราะทุกบาททุกสตางค์เป็นงบประมาณ ซึ่งรายละเอียดต้องให้ไปดูและวางพิกัดในจีพีเอสด้วย ถึงจะรู้ว่าแต่ละพื้นที่เป็นพื้นที่รับน้ำนองจริงๆ ดังนั้นคณะกรรมการ กนอช.จึงให้ไปทำรายละเอียดเพิ่มเติม เลยยังไม่ประกาศให้ประชาชนทราบ
We love fender.