พระพุทธ ศาสนา มี องค์ ๙
พระพุทธพจน์ คือ พระธรรมวินัย ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงประกอบด้วย องค์ ๙ คือ
สุตตะ ได้แก่พระสูตรทั้งหลาย มีมงคลสูตรเป็นต้นรวมถึงพระวินัยปิฎก และนิทเทส
เคยยะ คือ พระสูตรทั้งหมด ที่มีคาถา มีสคาถวรรคเป็นต้น
เวยยากรณะ คือพระอภิธรรมปิฎก พระสูตรที่ไม่มีคาถาปนและพระพุทธพจน์ ที่ไม่จัดเข้าในองค์ ๘
คาถา คือ พระ ธรรมบทเถรคาถา เถรีคาถา และคาถาล้วนๆ ที่ ไม่มีชื่อ สูตร ในสุตตนิบาต
อุทาน คือ พระ สูตร ๘๒ สูตร ที่ พระผู้มีพระภาค ทรงเปล่ง ด้วยโสมนัสญาณ
อิติวุตตกะ คือ พระ สูตร ๑๑๐ สูตรที่ขึ้นต้นด้วยคำว่า วุตฺตํ เหตํภคว ตา (ข้อนี้สมจริงดังคำที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้แล้ว)
ชาตกะ คือ เรื่อง อดีตชาติของพระผู้มีพระภาค และ พระสาวก มีอปัณณกชาดก เป็นต้น รวม ๕๕๐ชาดก
อัพภูตธรรม คือ พระสูตรที่ประกอบด้วยอัจฉริยอัพภูตธรรม(ธรรมที่ยิ่งด้วยคุณพิเศษน่าอัศจรรย์)
เวทัลละ คือ พระสูตรที่เมื่อถาม แล้วๆได้ความรู้และความยินดียิ่งๆขึ้น มีจูฬเวทัลลสูตรเป็นต้น
พระพุทธ พจน์ มี ๘๔,๐๐๐ พระ ธรรมขันธ์ อัน ท่านพระอานนท์ เรียน จากพระผู้มีพระภาคมา ๘๒,๐๐๐ พระธรรมขันธ์
เรียน จากพระ ภิกษุ มีท่านพระสารีบุตร เป็นต้น ๒,๐๐๐ พระธรรมขันธ์
พระธรรมขันธ์ คือ พระธรรมแต่ละข้อซึ่งอาจจะเป็นพระสูตร ๑ สูตร ก็ได้ เป็น ๑ พระ ธรรมขันธ์ หรือปัญหา๑ข้อ ก็เป็น ๑ พระ ธรรมขันธ์
คำวิสัชชนาข้อ หนึ่งๆ ก็เป็นพระธรรมขันธ์หนึ่งๆ เป็นต้น
พระ วินัย ปิฎก มี ๕ คัมภีร์ คือ
มหา วิภังค์
ภิกขุนีวิภังค์
มหาวรรค
จุลลวรรค
ปริวาร
คัมภีร์อรรถกถาซึ่งอธิบายข้อความในพระวินัยปิฎก คือสมันตปาสาทิกา
พระสุตตันตปิฎกมี ๕ นิกายคือ
ทีฆนิกาย รวมพระสูตรขนาดยาว มีพระสูตร ๓๔ สูตร แบ่งเป็น ๓ วรรค
คือ สีลขันธวรรค มหาวรรค ปาฏิกวรรค
คัมภีร์อรรถกถาทีฆนิกาย คือสุมังคลวิลาสินี
มัชฌิมนิกาย รวม พระสูตรขนาดกลางมีพระสูตร ๑๕๒สูตร แบ่ง เป็น ๓ ปัณณาสก์ คือ
มูลปัณณาสก์ มี ๕ วรรค วรรค ละ ๑๐ สูตรรวม ๕๐ สูตร
มัชฌิมปัณณาสก์ มี ๕ วรรค วรรค ละ ๑๐ สูตรรวม ๕๐ สูตร
อุปริปัณณาสก์ มี ๕ วรรค ๔ วรรคแรกมีวรรค ละ๑๐ สูตร วรรคที่ ๕ มี ๑๒ สูตรรวม๕๒ สูตร
คัมภีร์อรรถกถามัชฌิมนิกาย คือ ปปัญจสูทนี
สังยุตตนิกาย รวม พระสูตร เป็น พวกๆ แบ่ง เป็น วรรค ใหญ่๕ วรรค คือ
สคาถวรรค มี ๑๑ สังยุตต์
นิทานวรรค มี ๙ สังยุตต์
ขันธวารวรรค มี ๑๓ สังยุตต์
สฬายตนวรรค มี ๑๐ สังยุตต์
มหาวารวรรค มี ๑๒ สังยุตต์
คัมภีร์อรรถกถา สังยุตตนิกาย คือ สารัตถปกาสินี
อังคุตตรนิกาย รวมพระสูตตามจำนวนประเภท ของ ธรรมแบ่ง เป็น ๑๑ นิบาต คือ
เอกนิบาต รวม ธรรม ประเภทหมวด ๑
ทุกนิบาต รวม ธรรม ประเภทหมวด ๒
ติกนิบาต รวม ธรรมประเภทหมวด ๓
จตุกกนิบาต รวม ธรรม ประเภทหมวด ๔
ปัญจกนิบาต รวม ธรรม ประเภทหมวด ๕
ฉักกนิบาต รวม ธรรม ประเภทหมวด ๖
สัตตกนิบาต รวม ธรรม ประเภทหมวด ๗
อัฏฐกนิบาต รวม ธรรม ประเภทหมวด ๘
นวกนิบาต รวม ธรรม ประเภทหมวด ๙
ทสกนิบาต รวม ธรรม ประเภทหมวด ๑๐
เอกาทสกนิบาต รวม ธรรม ประเภทหมวด ๑๑
คัมภีร์ อรรถกถาอังคุตตรนิกาย คือ มโนรถปูรณี
ขุททกนิกาย นอกจากนิกาย ๔ มีทีฆนิกาย เป็นต้น นั้นแล้ว
พระพุทธพจน์อื่นนอกจาก นั้นรวม เป็น ขุททกนิกายมี
ขุททกปาฐะ ธรรมบท อุทาน อิติวุตตกะ สุตตนิบาตวิมาน
วัตถุเปต วัตถุเถร คาถาเถรี คาถาชาดก มหานิทเทส
จูฬนิทเทส ปฏิสัมภิทามัคค์ อปทาน พุทธวงศ์ และ จริยาปิฎก
คัมภีร์ อรรถกถาขุททกนิกาย คือ
ปรมัตถชติกา อรรถกถา ขุททกนิกายขุททกปาฐะและ สุตตนิบาต
ธัมมปทัฏฐกถา อรรถกถา คาถาธรรมบท
ปรมัตถทีปนี อรรถกถา อุทาน อิติวุตตกะ เปตวัตถุ เถรคาถา เถรีคาถา จริยาปิฎก
ปรมัตถทีปนี อรรถกถาวิมานวัตถุ(วิมลัตถทีปนี)
ชาตกัฏฐกถา อรรถกถาชาดก
สัทธัมมปัชโชติกา อรรถกถา มหานิทเทส จูฬนิทเทส
สัทธัมมปกาสินี อรรถกถา ปฏิสัมภิทามัคค์
วิสุทธชนวิลาสินี อรรถกถาอปทาน
มธุรัตถวิลาสินี อรรถกถาพุทธวงศ์
พระอภิธรรม ปิฎก มี ๗ คัมภีร์ คือ
ธัมมสังคณีปกรณ์ อรรถกถา คือ อัฏฐสาลินี
วิภังคปกรณ์ อรรถกถา คือ สัมโมหวิโนทนี
ธาตุกถาปกรณ์
ปุคคลปัญญัติปกรณ์
กถาวัตถุปกรณ์ อรรถกถา คือ ปรมัตถทีปนี
ยมกปกรณ์ ปัญจปกรณัฏฐกถา
ปัฏฐานปกรณ์
อรรถกถา พระไตรปิฎก นั้น ส่วนใหญท่านพระพุทธโฆษาจารย์แปลและเรียบเรียง จากอรรถกถาเดิม ในภาษาสิงหลคือ มหาอรรถกถา
มหาปัจจรี และ กุรุนทีซึ่ง สืบต่อกันมาตั้งแต่สมัยท่านพระมหินทเถระพระโอรส พระเจ้าอโศกมหาราชไป เผยแผ่พระพุทธศาสนาที่ประเทศศรีลังกา
นอกจาก คัมภีร์ฎีกาซึ่ง อธิบายข้อความในคัมภีร์อรรถกถาคือ สารัตถทีปนี (คัมภีร์ฎีกาพระวินัยปิฎก) สารัตถมัญชุสา(คัมภีร์ฎีกาพระสุตตันตปิฎก)
ปรมัตถปกาสินี (คัมภีร์ฎีกาพระอภิธรรมปิฎก)
อนุฎีกาซึ่งอธิบายคำศัพท์ในฎีกา และอัตถโยชนาซึ่งอธิบายความสัมพันธ์ของบทที่ใช้ใน อรรถกถาแล้ว คัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาที่ควรค่า
แก่การศึกษาซึ่งท่านพระเถระผู้ทรงคุณในอดีตสมัยต่อๆมาได้รจนาไว้ เช่น
มิลินทปัญหา รจนา โดย ท่านปิฏกจุฬาภัยประมาณ พ.ศ. ๕๐๐
วิสุทธิมัคค์ รจนา โดย ท่านพระ พุทธโฆษาจารย์ประมาณ พ.ศ. เกือบ ๑๐๐๐
อภิธัมมัตถสังคหะ รจนา โดย ท่านพระอนุรุทธาจารย์ประมาณ พ.ศ. เกือบ ๑๐๐๐
สารัตถสังคหะ รจนา โดย ท่านพระนันทาจารย์ประมาณ พ.ศ. เกือบ ๑๐๐๐
ปรมัตถมัญชุสา (ฎีกา อธิบายวิสุทธิมัคค์) รจนา โดยท่านพระธัมมปาลาจารย์
สัจจสังเขป รจนา โดย ท่านพระธัมมปาลาจารย์
อภิธัมมัตถวิภาวินีฎีกา (อธิบาย คัมภีร์อภิธัมมัตถ สังคหะ)รจนา โดย ท่านพระสุมังคลาจารย์
โมหวิจเฉทนี (อธิบาย ธัมมสังคณีปกรณ์ และวิภังคปกรณ์) รจนาโดยท่านพระกัสสปะ ประมาณ พ.ศ. ๑๗๐๓-๑๗๗๓
มังคลัตถทีปนี (อธิบาย มงคลสูตร) รจนา โดยท่าน สิริมังคลาจารย์ ชาวเชียงใหม่
.....................................................................................................................................................................
สำหรับผมแล้วเป็นปุถุชน บางครั้งศีลห้าแทบขาดทุกข้อ
ห่างไกลความเป็นคนไปบ้างก็มี
ความลังเลย สงสัย ในพระธรรมคำสั่งสอน ของพระพุทธเจ้าก็มี
เป็นเรื่องธรรมดาสำหรับผู้ที่ยังไม่บรรลุโสดาบัน
แต่สิ่งหนึ่งที่ไม่เคยขาดไปจากใจผมก็คือ สิ่งที่พระพุทธเจ้าตรัสก่อนปรินิพพานว่า
จะไม่แต่งตั้งผู้ใดเป็นตัวแทนพระองค์ นอกจากพระธรรมคำสั่งสอน
และพระธรรมคำสอนของพระองค์ ทั้งหมด ก็คือ พระไตรปิฏก
ท่านถามตัวเองเถิดครับ ว่า ท่านรู้จักพระไตรปิฏก จริงจริง หรือไม่
ท่านถามตังเองเถิดครับ ว่า นับถือศาสนาพุทธ เคารพศรัทธาในศาสนาพุทธจริงหรือไม่
ท่านถามตัวเองเถิดครับ ว่า ท่านจะยึดใคร เป็นศาสดาของท่าน
หรือท่านเพียงแค่นับถือศาสนาพุทธตามบัตรประชาชนเท่านั้น