Jump to content


Photo
- - - - -

ฟลัดเวย์ ไม่ใช่รับสั่งครั้งแรก แต่เป็นหนที่ 3 !

ปราโมทย์ฟลัดเวย สัมภาษณ์

This topic has been archived. This means that you cannot reply to this topic.
16 ความเห็นในกระทู้นี้

#1 หนูอ้อย

หนูอ้อย

    นักเขียนหน่อมแน้ม

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,215 posts

ตอบ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 - 09:49

"ผมว่านายกฯ ฟอร์มทีม ศปภ.ขึ้นมาแก้น้ำท่วมตอนนี้ เหมือนทำธุรกิจมากๆ อาจเพราะเป็นนักธุรกิจมาก่อน แต่ปัญหาน้ำท่วมไม่ใช่งานบริหารบริษัท มันเป็นงานรับมือวิกฤติ เป็นงานเทคนิค ในระยะเวลาฉุกเฉินอย่างนี้ ต้องชัดเจน ต้องเด็ดขาด เรากำลังทำสงครามกับน้ำ แต่เราไม่มีแม่ทัพภาคสนาม ไม่มีคนมีความรู้เรื่องนี้เข้าไปทำงาน และตอนนี้ก็สายไปแล้ว ที่จะทำอะไร"
.....อย่างลุ่มน้ำเทนเนสซีเป็นสาขาแม่น้ำมิสซิสซิปปี ได้จัดตั้ง Tennessee Valley Authority เป็นองค์กรปฏิบัติการพิเศษขึ้นตรงกับประธานาธิบดีสหรัฐ มีพลังอำนาจดำเนินการแบบเบ็ดเสร็จเพื่อการบรรเทาอุทกภัย การระบายน้ำ และความสะดวกในการคมนาคม
"ปัจจุบันนักการเมืองทำให้ป่วน น้ำเป็นงานด้านเทคนิค น้ำไม่มีขอบเขตจังหวัด ไม่ได้ทำเพื่อจังหวัดใดจังหวัดหนึ่ง แต่ทำเพื่อลุ่มน้ำ นักการเมืองอย่ายุ่ง เพราะเขาไม่ได้ทำด้วยใจ เวลานี้นักการเมืองทำให้ป่วน อย่างกระทรวงทรัพยากรน้ำ ถ้าตั้งขึ้นมาก็คงล้มเหลว นักการเมืองแห่เข้าไป ป่วยการ เพราะทำเป็นแต่งานปกติ แต่นี่เป็นการบริหารวิกฤติ เวลามีไม่มาก ต้องเด็ดขาดชัดเจน"
"ฟลัดเวย์" ปี38ไม่ใช่รับสั่งครั้งแรก แต่เป็นหนที่ 3 !
Posted Image
อาจารย์ปราโมทย์ ไม้กลัด
ปีนี้ประเทศไทยเผชิญวิกฤติน้ำท่วมครั้งใหญ่หลวงยิ่งนัก ประชาชนผู้ประสบพิบัติภัยในภาคกลางและกรุงเทพฯ กำลังเดือดร้อนหนักจากมวลน้ำมหาศาลที่ไหลหลั่งเข้ามา


ถ้าย้อนกลับไปเมื่อปี 2538 เป็นปีที่น้ำท่วมภาคกลางอย่างรุนแรง ลุกลามมาในพื้นที่กรุงเทพฯ บางแห่ง และในวันที่ 18 กันยายน 2538 กรุงเทพฯ ฝนตกหนักจากพายุดีเปรสชันไรอัน ด้วยความห่วงใยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงมีต่อพสกนิกร วันรุ่งขึ้นทรงร่วมประชุมวางแผนป้องกันและรับมือกับอุทกภัยร้ายแรงที่จะเกิดขึ้นในเมือง

นาทีนี้กระแสพระราชดำรัสของพระองค์ในวันนั้น ได้มีหลายฝ่ายนำออกมาเผยแพร่ตามช่องทางต่างๆ โดยเฉพาะในโซเชียลเน็ตเวิร์ก ถ้าใครได้ฟังกระแสพระราชดำรัส ก็จะต้องทึ่งในพระปรีชาสามารถของพระองค์ ที่ทรงมองเห็นปัญหาเรื่องน้ำท่วม ก่อนที่จะเกิดขึ้นจริงในปีนี้ และทรงมีแนวทางแก้ไขปัญหาที่เป็นทางออกที่ชัดเจน

แม้จนถึงขณะนี้ รัฐบาลจะยังไม่หือ ไม่อือ แสดงออกต่อการตอบรับแนวพระราชดำริการแก้ปัญหาน้ำท่วมโดยเฉพาะที่ทรงแนะในเรื่องการทำ Flood Way หรือ Green Belt ซึ่งเป็นทางน้ำไหลผ่านทางธรรมชาติ เป็นการระบายน้ำ ไม่ให้ท่วมกรุงเทพฯ แต่ในฐานะประชาชนที่ทนทุกข์กับน้ำท่วม ทำให้เห็นว่าแนวพระราชดำริ น่าจะเป็นหนทางเดียวในการแก้ปัญหาน้ำท่วมประเทศไทย

ในโอกาสนี้ จึงขอขยายความประเด็นแนวพระราชดำริ โดยการพูดคุยกับอาจารย์ ปราโมทย์ ไม้กลัด อดีตอธิบดีกรมชลประทาน ซึ่งอยู่ร่วมในเหตุการณ์เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2538 มาเล่าถึงแนวพระราชดำริในการป้องกันน้ำท่วมเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการน้อมนำแนวพระราชดำริเมื่อ 16 ปีก่อน มาสานต่อให้เป็นจริง

อาจารย์ปราโมทย์กล่าวว่า ปี 2538 มีฝนตกมากในลุ่มน้ำปิง วัง ยม น่าน ในปลายเดือนมิถุนายน และต้นเดือนกรกฎาคมมีพายุเข้า รูปแบบฝนตกเหมือนในปี 2554 ที่ทำให้เกิดอุทกภัยใหญ่ มวลน้ำเหนือปริมาณมากรวมตัวกันจะไหลเข้ามาในกรุงเทพฯ แน่นอน แต่ยังไม่เข้า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับน้ำเตรียมรับมือตามแบบฉบับ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงติดตามสถานการณ์น้ำตลอด ในวันที่ 19 กันยายน 2538 พระองค์ทรงเรียกประชุมองคมนตรีและข้าราชการที่อาคารหนึ่งข้างพระที่นั่งดุสิตพระมหาปราสาท เพราะปีนั้นสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี สมเด็จย่าสวรรคตเมื่อเดือนกรกฎาคม สมัยนั้นตนเป็นผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

ในวันนั้นทรงพระราชทานแนวพระราชดำริให้ทำ Flood Way ในพื้นที่ฝั่งตะวันออกเพื่อเป็นเส้นทางน้ำไหลผ่านตามธรรมชาติเพื่อบรรเทาอุทกภัย ทรงรับสั่งเรื่องฟลัดเวย์เป็นครั้งที่ 3

ครั้งแรกปี 2523 พระองค์ทรงตรัสถามถึงกรีนเบลท์ (Green Belt) และทางน้ำไหลผ่านในกรุงเทพฯ ซีกตะวันออก ซึ่งเคยมี ว่ายังอยู่ดีหรือเปล่า ก็ยังไม่มีภาครัฐรับมาดำเนินการ รัฐบาลทำแค่ระบบป้องกันปกติและทำคันกั้นน้ำ

ครั้งที่สองปี 2533 น้ำท่วมกรุงเทพฯ ครั้งใหญ่ ทุ่งรังสิตจม สวนส้มนับแสนไร่ตายหมด พระองค์ทรงรับสั่งถึงกรีนเบลท์อีกครั้ง ยังตรัสถามพื้นที่สีเขียว 3-4 หมื่นไร่หมดไปแล้วจริงหรือไม่ พื้นที่ซึ่งเป็นกรีนเบลท์ต้องไม่มีสิ่งกีดขวางทางน้ำ เพื่อให้หน้าน้ำ น้ำไหลผ่านไป และพอน้ำผ่านไปแล้วก็ใช้เป็นพื้นที่เพาะปลูก หลังจากนั้นปี 2538 พระองค์รับสั่งเรื่องฟลัดเวย์ (Flood Way)ชัดเจน

"แนวพระราชดำริฟลัดเวย์เป็นหลักคิดหลักทำสำหรับรัฐบาลควรน้อมรับพระสุรเสียงทั้ง 3 ครั้ง มาวิเคราะห์หรือไม่ หากไม่วิเคราะห์ทำฟลัดเวย์จะพบทางตัน ฟลัดเวย์คือทางผ่านน้ำอุทกภัยที่ล้นตลิ่งให้ไหลไปโดยสะดวกลงทะเลอย่างรวดเร็ว"

ส่วนหลักการคือ ควบคุมปริมาณน้ำให้อยู่ในตลิ่งโดยไม่เป็นอันตราย ฟลัดเวย์ไม่เพียงแต่จะช่วยบรรเทาน้ำท่วมที่จะเกิดขึ้นในทางตะวันออกเท่านั้น แต่ยังป้องกันไม่ให้น้ำล้นตลิ่งและไหลเข้าท่วมพื้นที่ฝั่งตะวันตกด้วย ลดความสูญเสีย เวลานี้น้ำไม่มีทางไป ไปตุง ไปกัก แทนที่จะไหลผ่านก็ยิ่งท่วมสูง ถึงเวลาที่รัฐบาลต้องตัดสินใจแล้ว ทรงรับสั่งถึง 3 ครั้ง ทรงย้ำ จำเป็นต้องมาคิดแก้ปัญหาเพื่ออนาคต 10 ปี 20 ปี หรือ 100 ปี ถ้าไทยยังแก้ปัญหาแบบนี้ก็เป็นแบบนี้ เมืองหลวงและย่านเศรษฐกิจน้ำก็ท่วม ต้องจัดระเบียบน้ำ

อาจารย์ปราโมทย์กล่าวด้วยว่า พื้นที่ทรงแนะว่าต้องใช้เป็นฟลัดเวย์ต้องอยู่ทางตะวันออก เพื่อใช้ป้องกันน้ำท่วม ทั้งรังสิต ลำลูกกา มีนบุรี หนองจอก ซึ่งหากไม่ทำ ประชาชนใช้ชีวิตอยู่แบบเสี่ยงอุทกภัย เดิมเป็นพื้นที่การเกษตร แต่ถูกออกเป็นโฉนดหมดแล้ว และเปลี่ยนมือจากชาวนาหลายครั้ง จนกลายเป็นพื้นที่อุตสาหกรรม หากรัฐบาลจะทำโครงการฟลัดเวย์ ก็ต้องซื้อที่ดินมาเป็นของรัฐ ตอบแทนด้วยเหตุและผล จำเป็นต้องสร้างความเข้าใจกับประชาชนอยู่ไปก็มีแต่ทุกข์ คนเป็นเจ้าของพื้นที่ซึ่งจมน้ำในปีนี้ก็ได้เงิน และชุมชนอื่นปีต่อไปได้อานิสงส์ เพราะช่วยการระบายน้ำให้ดีขึ้น ส่วนพื้นที่ฟลัดเวย์ ที่ตอนนี้กลายเป็นโรงงานไปแล้ว ก็ให้วิศวกรวางแนวป้องกัน

"วิธีการจัดการน้ำต้องเลือกแนวทางที่เกิดผลกระทบน้อยที่สุด แต่ไม่กระทบเลยเป็นไปไม่ได้ ถ้าขืนปล่อยอยู่อย่างนี้ปีไหนไม่เกิดปัญหาน้ำท่วมก็ลืม หรือผ่านไป 5 ปี คิดว่าน้ำไม่ท่วมแล้ว แต่คนเราต้องไม่ลืมประวัติศาสตร์ อนาคตน้ำที่มาอาจน้องๆ น้ำปี 54 หรือพี่ๆ ปี 54 ก็ได้ ไม่มีใครรู้ เรารับทราบปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ผลกระทบจากโลกร้อน ผมมีความเชื่อว่าความวิปริตมันต้องเกิดถี่ขึ้น อย่างปี 53 ก็เกิดแต่ยังดูแลได้ แต่ปีนี้อีกที่หนักกว่า" อาจารย์ปราโมทย์กล่าว

โครงการฟลัดเวย์ตามที่ในหลวงทรงแนะแนวทางนั้น อาจารย์ปราโมทย์ย้ำว่าต้องมีการะบุว่าด่วนที่สุด ถึงลงมือทำตอนนี้ 5 ปี ก็ยังไม่สำเร็จ แต่ก็ต้องเริ่มต้นเพื่อจุดประกายให้เกิดการดำเนินการ วิธีการอาจต้องใช้การเวนคืนที่ดิน หากได้พื้นที่ชัดเจนสามารถทำแบบลำลองเป็นทางน้ำไหลผ่าน แม้ไม่สมบูรณ์ แต่ช่วยผ่อนหนักให้เป็นเบาได้

"เพราะฉะนั้น รัฐบาลต้องรีบตัดสินใจ ทำฟลัดเวย์ เพราะน้ำมากขนาดนี้แล้ว ไม่ทำอะไรประเทศชาติเสียหาย ถึง 5 ปีทำไม่สำเร็จ ก็ควรทำแบบเป็นทางลำลอง เป็นช่องทางน้ำ จะได้ผ่อนหนักเป็นเบา"

แนวทางการทำฟลัดเวย์หรือกรีนเบลท์นั้น อาจารย์ปราโมทย์บอกว่า ไม่ใช่ขุดเป็นแม่น้ำ เพราะสภาพพื้นที่เป็นโคลนเลน แต่สามารถทำเป็นเส้นทางน้ำผ่านได้ อาจจะลึกประมาณ 2 เมตร ถ้าไม่ใช่หน้าน้ำ ก็ทำนาปลูกข้าวได้ แต่ทางที่จะทำเป็นที่ที่หลวงซื้อมา รัฐสามารถควบคุมการใช้ประโยชน์ได้

พร้อมยกตัวอย่างแม่น้ำมิสซิสซิปปี แม่น้ำขนาดใหญ่ของสหรัฐ ก็ทำฟลัดเวย์เป็นระยะกว้าง 2-3 กิโลเมตร เพื่อช่วยระบายน้ำลงทะเลอย่างรวดเร็ว แม้เป็นการลงทุนที่สูง แต่ก็ต้องทำเพื่ออนาคตของประเทศ

"ในเวลานี้ไม่ควรพูดเรื่องเงิน ควรพูดเรื่องหลักคิดหลักทำ การเงิน รัฐสามารถบริหารได้ อยากขอร้องผ่อนปรนระบบราชการบ้าง การประมูลจ้างเหมาที่แพงมโหฬาร เวลานี้ควรทำเพื่อบ้านเมือง และรัฐบาลควรพิจารณากำหนดหลักคิดหลักทำเสียใหม่ ไม่ใช่ปล่อยตามธรรมชาติ ถ้าเชื่อว่าปัญหาน้ำท่วมจะเกิดขึ้นอีก การบริหารจัดการน้ำต้องยึดธรรมชาติของน้ำ สภาพภูมิประเทศ สภาพภูมิศาสตร์ การจัดการต้องสอดคล้อง ก่อนจะมาสร้างหลักคิดเพื่อแก้ปัญหา จะทำแบบเต็มระบบครบถ้วนหรือ ทำแบบขอไปที ซึ่งแบบขอไปทีผมทำมาเยอะแล้ว ผมขอเสนอว่าขอให้ต้องทำเต็มรูปแบบ ค่อยๆ ทำไป เพราะธรรมชาติคงไม่โหดร้ายเกินไป" อาจารย์ปราโมทย์กล่าว

เมื่อถามว่าทำไมกรุงเทพฯ จึงรอดพ้นจากน้ำท่วมหนัก ปี 2538 ต่างจากในเวลานี้ที่น้ำกำลังทะลักเข้ากรุงเทพฯ ชั้นในแล้ว อาจารย์ปราโมทย์ตั้งข้อสังเกตและยกตัวอย่างด้วยว่า คลองรังสิต ประตูน้ำจุฬาฯ ปี 2538 ระดับน้ำน้อยกว่าปี 54 ประมาณ 20 เซนติเมตร แต่ปีนั้นยังสู้น้ำได้อย่างเต็มเหนี่ยว เพราะง่ายเรื่องมวลชนที่พูดคุยกันรู้เรื่อง แม้ผู้คนเดือดร้อน แต่คนแถบมีนบุรี หนองจอก ลาดกระบัง ที่เป็นฟลัดเวย์ ยอมรับที่น้ำเข้าท่วม เพราะรู้อดีตน้ำพอผ่านมาแล้วก็ผ่านไป หลังจากนั้นทำนา ทำการเกษตรได้ แต่พอเวลาผ่านมา 15 ปี มีคนใหม่เยอะมากที่เข้าไปอยู่ในพื้นที่เป็นฟลัดเวย์เยอะมาก คนพวกนี้มาแทนคนดั้งเดิม จึงทำให้เกิดปัญหาขึ้น

"ปี 2526 ปี 2538 น้ำไหลผ่านสะดวกกว่าปี 2554 ปีนี้น้ำไหลบ่าทะลุทะลวงไปในที่ทางของน้ำ แต่ฟลัดเวย์ย่านมีนบุรี หนองจอก ลาดกระบัง บางพลี บางบ่อ มีคนอยู่เต็มไปหมด มีสิ่งกีดขวาง Block น้ำไม่ให้ไหลผ่าน ส่งผลให้น้ำท่วมหนักกว่าอดีต ในหลวงก็เคยรับสั่งเรื่องนี้"

อย่างไรก็ตาม ผู้รู้ด้านศาสตร์น้ำยืนยันถึงอุปสรรคสำคัญต่อโครงการฟลัดเวย์ คือ ส.ส. นักการเมืองในพื้นที่ ซึ่งต่อต้านโครงการลักษณะนี้ที่สุด ตนพูดอยู่เสมอว่าการแก้ปัญหาอุทกภัย นักการเมืองอย่ายุ่ง ปล่อยให้นายช่างด้านเทคนิคและเทคโนโลยีดำเนินการ นักการเมืองเป็นฝ่ายสนับสนุนประคับประคองเท่านั้น ถ้ายุ่ง บ้านเมืองจะยับเยินด้วยความไม่รู้ นักการเมืองรู้แต่เรื่องมวลชน

ที่ผ่านมานักการเมืองไม่ได้แก้ปัญหาท่วมด้วยใจ แต่นายช่างทำด้วยใจ ก็อยากฝากว่าที่ผ่านมาไม่มีกระทรวงหรือกรมใดทำสำเร็จ ควรมีการตั้งองค์กรพิเศษเพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วมขึ้น ลำพังพลังของอธิบดีไม่ไหว เรื่องการทำฟลัดเวย์คงไปไม่รอดแน่ อย่างลุ่มน้ำเทนเนสซีเป็นสาขาแม่น้ำมิสซิสซิปปี ได้จัดตั้ง Tennessee Valley Authority เป็นองค์กรปฏิบัติการพิเศษขึ้นตรงกับประธานาธิบดีสหรัฐ มีพลังอำนาจดำเนินการแบบเบ็ดเสร็จเพื่อการบรรเทาอุทกภัย การระบายน้ำ และความสะดวกในการคมนาคม

"ปัจจุบันนักการเมืองทำให้ป่วน น้ำเป็นงานด้านเทคนิค น้ำไม่มีขอบเขตจังหวัด ไม่ได้ทำเพื่อจังหวัดใดจังหวัดหนึ่ง แต่ทำเพื่อลุ่มน้ำ นักการเมืองอย่ายุ่ง เพราะเขาไม่ได้ทำด้วยใจ เวลานี้นักการเมืองทำให้ป่วน อย่างกระทรวงทรัพยากรน้ำ ถ้าตั้งขึ้นมาก็คงล้มเหลว นักการเมืองแห่เข้าไป ป่วยการ เพราะทำเป็นแต่งานปกติ แต่นี่เป็นการบริหารวิกฤติ เวลามีไม่มาก ต้องเด็ดขาดชัดเจน"

อาจารย์ปราโมทย์ย้ำอีกว่า ตนเชื่อว่าหากมีการตั้งองค์กรพิเศษปฏิบัติการปัญหาเรื่องน้ำ จะมีบุคลากรที่ทำงานจะต้องทำด้วยใจ ไม่ใช่ตำแหน่ง ไม่ใช่เงิน มาช่วยทำงาน ซึ่งคนพวกนี้อาจอยู่ในภาคเอกชน ก็มารวมตัวกัน เชื่อว่าน่าจะเต็มใจมาทำงานเพื่อช่วยแก้ปัญหาวิกฤติชาติได้ นอกจากนี้ ในการจัดการ ไม่ว่าใครจะมาเป็นนายกรัฐมนตรีก็ต้องปฏิบัติตามมาตรการขององค์กรพิเศษเหล่านี้

"ผมขอให้เรามีการปฏิรูป ปฏิวัติประเทศไทยเกี่ยวกับองค์กร เพราะเราล้มเหลวมาตลอด ดึงวิศวกร นักเทคนิคใน-นอกระบบราชการ ผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญ คนนอกที่มีประสบการณ์มาประกอบเป็นคณะทำงานด้วย ผมเชื่อว่าเขาพร้อมที่จะทำ ถ้ารัฐบาลเข้าใจ" อาจารย์ปราโมทย์เสนอ

กระทั่งการแก้ปัญหาน้ำท่วมใหญ่ในบ้านเราเวลานี้ ซึ่งมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ถึงประสิทธิภาพในการคลี่คลายวิกฤติอุทกภัย รวมถึงความผิดหวังของผู้ประสบภัยในการทำงานบรรเทาทุกข์ของรัฐบาล อาจารย์ปราโมทย์แสดงความเห็นว่า ขณะนี้ไม่มีแม่ทัพภาคสนามที่จะบริหารวิกฤติ รัฐบาลทำงานแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นโดยเพียงตั้งคณะทำงานขึ้นมา แล้วใน ศปภ.(ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย) ก็มีหลายคณะทำงานซ้ำซ้อนกัน ขาดเอกภาพ ทำให้แตกฉานซ่านเซ็น

"ผมว่านายกฯ ฟอร์มทีม ศปภ.ขึ้นมาแก้น้ำท่วมตอนนี้ เหมือนทำธุรกิจมากๆ อาจเพราะเป็นนักธุรกิจมาก่อน แต่ปัญหาน้ำท่วมไม่ใช่งานบริหารบริษัท มันเป็นงานรับมือวิกฤติ เป็นงานเทคนิค ในระยะเวลาฉุกเฉินอย่างนี้ ต้องชัดเจน ต้องเด็ดขาด เรากำลังทำสงครามกับน้ำ แต่เราไม่มีแม่ทัพภาคสนาม ไม่มีคนมีความรู้เรื่องนี้เข้าไปทำงาน และตอนนี้ก็สายไปแล้ว ที่จะทำอะไร"

อาจารย์ปราโมทย์ขยายความอีกว่า แม้ทีม ศปภ.จะมี ดร.อานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา เป็นนักวิชาการ แต่ก็เป็นเพียงเสนาธิการด้านข้อมูล ไม่ได้ลงภาคสนาม ส่วนกรมชลประทาน ก็ขาดประสบการณ์เรื่องการรับมือกับวิกฤติ อีกทั้งไม่มีอุปกรณ์เครื่องไม้เครื่องมือ ที่จัดเตรียมการไว้

ที่กรมชลฯ หรือรัฐบาลบอกว่าจะบริหารจัดการน้ำที่กำลังท่วมฝั่งตะวันตก และอาจทำให้ฝั่งธนฯ จมทั้งหมด โดยการบล็อกน้ำเป็นชุดๆ อดีตอธิบดีกรมชลประทานโบกมือ ส่ายหน้าแล้วพูดว่า กรมชลฯ ก็พูดไป พูดตามรูปแบบความคิดของคน ไม่ใช่ความคิดของน้ำ แต่ของจริงจัดการอะไรล่ะ น้ำไม่ใช่ธุรกิจ จะได้บริหารจัดการ น้ำเป็นสสาร เราต้องสร้างระบบ สร้างเครื่องมือให้ชัดเจนเสียก่อน ที่จะมาบอกว่าบริหารจัดการ เราต้องมีเครื่องไม้เครื่องมือ เราไม่มีฟลัดเวย์ ทั้งฝั่งตะวันออก ตะวันตก ที่ส่วนใหญ่เป็นคลองส่งน้ำชลประทานหรือคลองเก็บกักน้ำเพื่อการเกษตร ไม่ใช่คลองระบายน้ำ แล้วเราจะบริหารจัดการอะไร

"แบ่งน้ำเป็น Blockๆ เพื่อสูบน้ำออกนั้น จะสูบไม่ทันกับมวลน้ำที่ขับเคลื่อนมา น้ำไม่ตามใจเรา ไม่เหมือนกระแสไฟฟ้ากดปิดสวิตช์ได้ สิ่งที่พูดเป็นการจัดการตามทฤษฎี แต่ทางปฏิบัติไม่ส่งผลกับการแก้ปัญหา และการตัดสินใจก็ล่าช้า มวลน้ำกองในพื้นที่เยอะแยะ" อาจารย์ปราโมทย์ ไม้กลัด สรุปปิดท้าย

ด้วยท่าทางหนักใจ.

http://www.thaipost....ay/061111/47660

 AMAZING  coup d'etat  , THAILAND ONLY ..  :ph34r:  


#2 Charlie

Charlie

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 2,449 posts

ตอบ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 - 09:51

เอานักการเมืองไปประหารให้หมด และจับยึดทรัพย์ให้เป็นเยื่ยงอย่าง

คนดีจริงไม่โกงที่วัด ไม่ยุแยงให้คนแตกแยก ไม่หลอกคนอื่นให้มารับเคราะห์ตายแทน


#3 อสูรนิรนาม

อสูรนิรนาม

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,002 posts

ตอบ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 - 09:56

เอานักการเมืองไปประหารให้หมด และจับยึดทรัพย์ให้เป็นเยื่ยงอย่าง

ขนาดพี่ชายมันมันโดนเเล้วมันยังส่งน้องมาเป็นตัวเเทนต่อเลย มาเอาคืน เเล้วถ้าน้องโดนน้องอีกคน ประเทศจะเป็นยังไงเนี้ย

#4 Ixora

Ixora

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 3,177 posts

ตอบ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 - 09:59

กระสันอยากบริหาร
แต่ทำงานก็ไม่เป็น
ชาวบ้านทุกข์ลำเค็ญ
ประเทศชาติถูกสังเวย
...ความชอบธรรมต้องอยู่บนพื้นฐานของความเป็นธรรม...

#5 ริวมะคุง

ริวมะคุง

    ห้ามให้อาหารสัตว์

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 6,577 posts

ตอบ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 - 10:00

ก็เอามาพัฒนามาเป็นเมืองเป็นเขตอุตสาหกรรมหมด เสียดายที่พระองค์ท่านไม่มีอำนาจเหนือการเมือง
Posted Image

#6 G.Maniac

G.Maniac

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 3,440 posts

ตอบ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 - 10:01

เอานักการเมืองไปประหารให้หมด และจับยึดทรัพย์ให้เป็นเยื่ยงอย่าง


ตัดหัว ริบเรือน เลยหรือคุณท่าน....ฮ่าๆๆๆ

กระผมเห็นด้วยขอรับ :P

#7 baboon

baboon

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,801 posts

ตอบ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 - 10:03

ขอเสริมนิด
เรื่อง TVA นี่พวกเรียนบริหารรัฐกิจน่าจะคุ้นๆบ้าง เพราะเป็นการทดสอบการบริหารแบบเอาผู้ที่มีความเห็นขัดแย้งกันมาร่วมกันแก้ปัญหาเป็นครั้งแรก หรือเรียกว่า Cooptation
สรุปว่าเหลวครับ เจ๊งสนิท (แต่ตอนเรียนอาจารย์แกไม่ค่อยเน้นเรื่องนี้นะ) แต่อยากให้ประเทศเราลองดูบ้าง เพราะอะไรที่มันดีกับประเทศเขามักจะเหลวในประเทศเรา ดังนั้นถ้ามันเหลวในประเทศเขา เราน่าจะใช้ได้นะครับ

#8 Sittitat

Sittitat

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 602 posts

ตอบ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 - 10:05

เอานักการเมืองไปประหารให้หมด และจับยึดทรัพย์ให้เป็นเยื่ยงอย่าง


เอาเลยๆ เห็นด้วยอย่างยิ่ง

#9 หนูอ้อย

หนูอ้อย

    นักเขียนหน่อมแน้ม

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,215 posts

ตอบ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 - 10:07

Tennessee Valley Authority สู้บางระกำโมเดสของคุณปูได้อ๊ะป่าว ??? 5555


The Tennessee Valley Authority (TVA) is a federally owned corporation in the United States created by congressional charter in May 1933 to provide navigation, flood control, electricity generation, fertilizer manufacturing, and economic development in the Tennessee Valley, a region particularly affected by the Great Depression. The enterprise was a result of the efforts of Senator George W. Norris of Nebraska. TVA was envisioned not only as a provider, but also as a regional economic development agency that would use federal experts and electricity to rapidly modernize the region's economy and society.

TVA's service area covers most of Tennessee, parts of Alabama, Mississippi, and Kentucky, and small slices of Georgia, North Carolina, and Virginia. It was the first large regional planning agency of the federal government and remains the largest. Under the leadership of David Lilienthal ("Mr. TVA"), TVA became a model for America's governmental efforts to modernize Third World agrarian societies

 AMAZING  coup d'etat  , THAILAND ONLY ..  :ph34r:  


#10 หนูอ้อย

หนูอ้อย

    นักเขียนหน่อมแน้ม

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,215 posts

ตอบ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 - 10:53

A green belt or greenbelt is a policy and land use designation used in land use planning to retain areas of largely undeveloped, wild, or agricultural land surrounding or neighbouring urban areas. In essence, a green belt is an invisible line encircling a certain area, preventing development of the area allowing wildlife to return and be established.

 AMAZING  coup d'etat  , THAILAND ONLY ..  :ph34r:  


#11 tu053

tu053

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 590 posts

ตอบ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 - 12:34

เสื้อแดงจะว่าอ.ปราโมทย์เป็นอำมาตย์ใช่หรือไม่

คนเราคิดต่างได้ แต่อย่าคิดชั่ว

ไม่ว่าจะมุมนี้หรือมุมไหน ถ้ามันเป็นเรื่องงี่เง่าไม่ขอเสียเวลามองว่ะ


#12 kim

kim

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,724 posts

ตอบ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 - 12:37

ไปตามไอ้เตี้ยดูสิ ท่าทางมันมางเมินรับสั่งตั้งแต่รับสั่งครั้งแรกแล้ว

#13 หนูอ้อย

หนูอ้อย

    นักเขียนหน่อมแน้ม

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,215 posts

ตอบ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 - 12:46

หลายรูปแบบ ‘ฟลัดเวย์-ฟรีเวย์น้ำ’ เตรียมพิเศษรับน้ำท่วม
วันจันทร์ ที่ 7 พฤศจิกายน 2554
http://www.dailynews...ontentId=174074
.
หลายเมืองในหลายประเทศต่างก็เคยเผชิญอุทกภัยครั้งใหญ่เช่นเดียวกับบ้านเรา โดยเฉพาะเหตุการณ์มวลน้ำมหาศาลไหลบ่าไปตามถนนสายใหญ่ หรือที่เรียกว่า Highway Flooding อย่างเช่น น้ำเอ่อท่วมถนนวิภาวดีรังสิตก็เข้าข่าย แม้จะมีท่อระบายน้ำและคูน้ำอยู่ก็ไม่สามารถรองรับน้ำจำนวนมากได้ กรณีที่เกิดขึ้นจึงส่งผลกระทบต่อการคมนาคมอย่างเห็นได้ชัด

ในต่างประเทศมีการเตรียมช่องทางระบายน้ำเมื่อเกิดอุทกภัย เพื่อป้องกันน้ำท่วมถนนและไม่ให้เมืองจมบาดาลไว้หลายวิธีด้วยกัน เริ่มจาก ‘วางระบบท่อใต้ดิน’ มีลักษณะเป็นอุโมงค์ขนาดใหญ่ มักวางตามแนวใต้ถนน โดยตัดไปลงแม่น้ำหรือทะเล ในภาพยนตร์ต่างประเทศหลายเรื่องก็เคยลงไปถ่ายทำกันในท่อใหญ่ยักษ์ให้เห็นกัน ส่วนในบ้านเรามีอุโมงค์ยักษ์ พระราม9-รามคำแหง ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 5.00 เมตร ยาวประมาณ 5.1 กิโลเมตร จัดเป็นอุโมงค์ระบายน้ำใต้ดินขนาดใหญ่ที่สุดที่กทม.เคยมี ระบายน้ำได้ปริมาณมากกว่า 60 ลูกบาศก์เมตร/วินาที จุดเริ่มต้นการสูบน้ำที่คลองลาดพร้าว คลองแสนแสบ และคลองประเวศ ลงสู่คลองพระโขนง ก่อนจะผันน้ำลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา

หรือในประเทศเพื่อนบ้าน อย่าง มาเลเซีย ในกรุงกัวลาลัมเปอร์ก็มีอุโมงค์ยักษ์ที่แบ่งไว้ถึง 3 ชั้น ให้น้ำไหลผ่านและรถยนต์สัญจรไปมาได้ มีชื่อเรียกว่า KL SMART Tunnel ใช้งบประมาณราว 1.8 หมื่นล้านบาท ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 11.8 เมตร ชั้นล่างสุดหรือท้องอุโมงค์เป็นช่องทางสำหรับระบายน้ำ ความยาว 9.7 กิโลเมตร ส่วนชั้น 2 และ 3 เป็นพื้นที่สำหรับการจราจร ทางยาว 4 กิโลเมตร จัดการใช้งานไว้ 3 ลักษณะ แบบแรกในสภาวะปกติ จะไม่มีน้ำเข้าอุโมงค์และเปิดให้รถวิ่ง 2 ชั้น หากเกิดพายุที่มีน้ำท่วมไม่รุนแรงจะปรับใช้แบบที่สอง โดยอุโมงค์จะเปิดรับน้ำให้ไหลในชั้นล่าง ส่วนรถก็ยังแล่นผ่านได้ตามปกติ ทว่าเกิดพายุขั้นรุนแรง ต้องเร่งระบายน้ำ อุโมงค์จะเปิดรับน้ำทั้ง 3 ชั้น โดยไม่ให้รถผ่านเข้ามา

วิธีต่อมาทำเป็น ‘คลองพายุ’ คลองคอนกรีตใหญ่ ช่วงเวลาปกติไม่มีน้ำไหลผ่าน หรืออาจมีบ้างเล็กน้อย บางประเทศคลองแบบนี้ยังจัดทัศนียภาพไว้สวยงาม สามารถลงไปเดินได้ รถขับผ่านได้ บางแห่งกว้างพอที่จะจอดเครื่องบินเลยทีเดียว แต่ในช่วงหน้าฝน หรือมีพายุ ภัยน้ำท่วม คลองจะเปิดรับน้ำเต็มที่ เช่น คลองกลางกรุงโซลที่เกาหลี คลองเชื่อมแม่น้ำเบรนต์ที่สหราชอาณาจักร ขณะที่สหรัฐอเมริกาสร้างไว้หลายแห่ง เน้นในพื้นที่ซึ่งอยู่ในแนวพายุ แห่งที่รู้จักกันมาก คือ แม่น้ำลอสแองเจลิส ที่จริงเป็นคลอง พื้นปูคอนกรีตยาว 77 กิโลเมตร เริ่มตั้งแต่เทือกเขาเฟอร์นันโดไปจนถึงชายหาดลองบีช ระบายน้ำออกสู่มหาสมุทรแปซิฟิก

ทั้งนี้ยังมีการระบายน้ำด้วยการทำ ‘สะพานส่งน้ำ’ เพื่อการระบายมวลน้ำส่วนเกิน โดยต้องออกแบบให้มีความลาดเอียดที่เหมาะสม หรือวางระบบเพิ่มเติมเพื่อช่วยผลักดันน้ำได้ ดังเช่นที่เยอรมัน ทำสะพานส่งน้ำที่เมือง Magdeburg เพราะแทนที่จะทำสะพานให้รถแล่น แต่นี่เป็นการสร้างสะพานให้น้ำและเรือแล่นผ่านได้ เสมือนคลองที่ยกตัวข้ามแม่น้ำด้านล่าง สูง 6.25 เมตร ยาว 918 เมตร กว้าง 43 เมตร เฉพาะส่วนที่จุนำกว้าง 32 เมตร ลึก 4.25 เมตร ทั้งยังมีพื้นที่ให้เดินตลอดแนวสะพานสองฝั่ง

สะพานส่งน้ำ มิใช่เรื่องไกลตัวคนไทย แท้ที่จริงแล้วขณะนี้บ้านเราก็มีสะพานส่งน้ำ อันเป็นส่วนหนึ่งของโครงการระบายน้ำบริเวณสนามบินสุวรรณภูมิ เนื่องจากทำเลที่ตั้งของสนามบิน เดิมเป็นพื้นที่รองรับน้ำกว่า 20,000 ไร่ แต่เมื่อสร้างสนามบินขึ้น กรมชลประทานจึงใช้งบประมาณกว่าแปดพันล้านบาท สร้างโครงการระบายน้ำดังกล่าวเพื่อป้องกันน้ำท่วม โดยสะพานส่งน้ำของที่นี่เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กยกระดับ รูปตัวยู ท้องคลองกว้าง 25 เมตร กำแพงสูงข้างละ 3.15 เมตร สูงจากถนนสุขุมวิทประมาณ 6 เมตร รับน้ำจากสถานีสูบน้ำ ยกระดับให้น้ำไหลไปตามสะพานน้ำ มีอัตราการไหล 100 ลูกบาศก์เมตร/วินาที ข้ามคลองชายทะเลและถนนสุขุมวิท ลงสู่ทะเลโดยตรง

อุทกภัยครั้งนี้มีคนไทยจำนวนไม่น้อยต้องเป็นผู้ประสบภัย จึงปฏิเสธไม่ได้ว่า การเพิ่มช่องทางระบายมวลน้ำก้อนใหญ่ หรือ ฟรีเวย์น้ำ บ้างเรียก ฟลัดเวย์น้ำ เป็นหนทางหนึ่งในการป้องกันน้ำท่วม ส่วนวิธีใดจะเหมาะสมและคุ้มค่าคงต้องเป็นหน้าที่ของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหลาย เร่งศึกษาเพื่อเตรียมการรับมือปัญหาน้ำท่วมใหญ่ที่อาจเกิดขึ้นได้อีกในอนาคต.

 AMAZING  coup d'etat  , THAILAND ONLY ..  :ph34r:  


#14 หนูอ้อย

หนูอ้อย

    นักเขียนหน่อมแน้ม

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,215 posts

ตอบ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 - 13:21

เปิดพิมพ์เขียว 3 อุโมงค์ยักษ์ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครกล่าวถึงแผนงานปี 2555 ว่า กทม.จะใช้วงเงินดำเนินการ 2,636 ล้านบาท โดยสร้างอุโมงค์ขนาดใหญ่เพิ่มเติมจากอุโมงค์ยักษ์ พระราม 9 - รามคำแหง(ซึ่งเป็นอุโมงค์ยักษ์แรกของกทม.)ขึ้นอีกรวม 3 แห่ง มูลค่า 13,400 ล้านบาทได้แก่

1.อุโมงค์ยักษ์ รัชดาภิเษก - สุทธิสาร จะสร้างอยู่ใต้คลองบางซื่อจากถนนรัชดาลงแม่น้ำเจ้าพระยา ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 5 เมตร ความยาว 6.4 กิโลเมตร มูลค่า 2,500 ล้านบาท จะช่วยแก้น้ำท่วมย่านรัชดาฯ ลาดพร้าว สุทธิสาร จตุจักร

2.อุโมงค์ยักษ์ดอนเมือง (ใต้คลองเปรมประชากร) เส้นผ่าศูนย์กลาง 5.7 เมตร ความยาว 13.5 กิโลเมตร มูลค่า 6,000 ล้านบาท เริ่มปี 2555-2558 จะช่วยพื้นที่กรุงเทพฯ โซนเหนือ เช่น ดอนเมือง บางเขน สายไหม และ

3.อุโมงค์ยักษ์สวนหลวงร.9 (บึงหนองบอน) เส้นผ่าศูนย์กลาง 5เมตร ความยาว 9.4 กิโลเมตร มูลค่า 4,900 ล้านบาท เริ่มปี 2556-2559 จะแก้น้ำท่วมย่านศรีนครินทร์ ประเวศ สวนหลวง พระโขนง ฯลฯ "อุโมงค์ทุกแห่งจะมีประสิทธิภาพช่วยระบายน้ำได้ในปริมาณ 60 ลูกบาศ์กเมตรต่อวินาที จากเดิม 5-6 ชั่วโมงจะเหลือไม่เกิน 2 ชั่วโมง หากไม่มีอุโมงค์ เวลาฝนตกน้ำที่คลองจะเอ่อล้นมาท่วมพื้นที่ต่าง ๆ อุโมงค์จะทำหน้าที่เป็นทางด่วนของน้ำช่วงระบายลงเจ้าพระยา"

ที่มีการตั้งข้อสังเกตประเด็นที่อุโมงค์ยักษ์มีขีดความสามารถรองรับได้เพียงน้ำฝนนั้น.....ยอมรับว่าอุโมงค์จะช่วยระบายน้ำในพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซาก น้ำท่วมปิดล้อม เมื่อน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาไหลเอ่อเข้ามา

แต่ไม่ว่าจะเป็นน้ำเหนือหรือน้ำหลาก อุโมงค์จะช่วยดึงน้ำจากคลองระบายลงสู่เจ้าพระยาและอ่าวไทยได้ แต่การลงทุนค่อนข้างสูง

ส่วนโครงการอื่น ๆ เช่น แก้มลิงจะจัดเพิ่มเติมและเพิ่มประสิทธิภาพแก้มลิงในปัจจุบันให้มากขึ้น ปรับปรุงระบบระบายน้ำคลองภาษีเจริญถึงคลองสนามชัย ปรับปรุงท่อระบายน้ำ สร้างเขื่อนป้องกันการกัดเซาะตลิ่งและคันป้องกันน้ำท่วมตามโครงการแก้มลิง ก่อสร้างสถานีสูบน้ำย่านศรีนครินทร์ งามวงศ์วาน เป็นต้น

 AMAZING  coup d'etat  , THAILAND ONLY ..  :ph34r:  


#15 หนูอ้อย

หนูอ้อย

    นักเขียนหน่อมแน้ม

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,215 posts

ตอบ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 - 16:06

ฟลัดเวย์ในทัศนะปฎิบัติของ ส.ว.ท่านหนึ่ง. . . . .

ส.ว.เผยเอกชนเสนอใช้ถนนพุทธสาครตัดเศรษฐกิจ1เป็นฟลัดเวย์

วันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

http://www.suthichai...om/detail/17677


ส.ว.เปิดอภิปรายสภาเช้านี้ ระบุเอกชนพื้นที่สมุทรสาคร เสนอให้ใช้ถนนพุทธสาคร ตัดถนนเศรษฐกิจ 1 เป็นฟลัดเวย์ ชี้การแก้ไขน้ำของรัฐบาลล้มเหลว ต้องเร่งปรับปรุงด้านการให้ข้อมูลต่อประชาชน

นายวิชาญ ศิริชัยเอกวัฒน์ ส..สรรหา อภิปรายในการประชุมวุฒิสภา วาระพิจารณาปัญหาสถานการณ์การเกิดอุทกภัยร้ายแรงในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และพื้นที่ในหลายจังหวัดของประเทศไทย ว่าในพื้นที่จ.สมุทรสาคร ที่คาดว่ามวลน้ำจากทางเหนือจะไหลเข้าสู่พื้นที่ 4-6 วันที่จะถึงนี้ เพราะรัฐบาลได้ผันน้ำเข้าสู่พื้นที่ดังกล่าวเพื่อให้ไหลลงสู่ทะเล จนถึงขณะนี้รัฐบาลได้แจ้งเตือนไปยังประชาชนแล้วหรือไม่ ว่าน้ำจะไหลเข้าสู่พื้นที่สูง 1-2 เมตร และหากน้ำท่วมถนนพระราม 2 สูง 10 ซม. จะทำให้ระดับน้ำในพื้นที่จ.สมุทรสาคร สูง 80 ซม. อีกทั้งรัฐบาลมีแผนป้องกันพื้นที่จ.สมุทรสาครที่เป็นพื้นที่เศรษฐกิจที่สำคัญแล้วหรือไม่

ที่ผ่านมานั้น ภาคเอกชนและภาคราชการในส่วนจังหวัดสมุทรสาครได้หารือถึงแนวทางผันน้ำลงสู่ทะเล คือ ให้ ถนนพุทธสาคร ตัด ถนนเศรษฐกิจ 1 ที่อยู่ใกล้กับแม่น้ำท่าจีนเป็นทางระบายน้ำ (ฟลัดเวย์) เพื่อให้มวลน้ำไหลลงสู่ทะเลได้โดยเร็ว ทั้งนี้ในพื้นที่ดังกล่าวนั้นมีชุมชนและโรงงานอยู่เป็นจำนวนมาก ดังนั้นรัฐบาลหรือหน่วยงานราชการส่วนกลางต้องเจรจากับประชาชน

หากใช้ถนนดังกล่าวเป็นฟลัดเวย์ก็จำเป็นต้องใช้ บิ๊กแบ๊ก มาวางข้างถนน และสูบน้ำลงไปในฟลัดเวย์ด้วย แม้ว่าถนนพุทธสาครตัดกับถนนเศรษฐกิจ 1 จะมีพื้นที่ไม่มาก แต่สามารถทำเป็นพื้นที่เพื่อเปิดให้น้ำไหลลงสู่ทะเลได้เร็วขึ้น ซึ่งดีกว่าการปล่อยให้น้ำเอ่อไปทุกหนทุกแห่ง ซึ่งประชาชนชาวสมุทรสาครยอมให้พื้นที่จังหวัดเป็นทางผ่านของน้ำ แต่รัฐบาลต้องเข้าไปสำรวจพื้นที่ในวันนี้ช่วงบ่ายหรือวันพรุ่งนี้ อยากให้ขึ้นเฮลิคอปเตอร์ตรวจดูพื้นที่เพื่อหาช่องผ่านน้ำ หากสิ่งเหล่านี้มีการเร่งดำเนินการ ก็จะเป็นการเร่งระบายน้ำเหนือให้ลงสู่ทะเลได้เร็วที่สุด

"และผมมองว่าการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่จังหวัดสมุทรสาครเป็นความท้าทายต่อการแก้ไขปัญหาน้ำของรัฐบาล ซึ่งหากรัฐบาลสามารถจัดการปัญหาได้ เชื่อว่าจะเรียกความเชื่อมั่นในตัวรัฐบาลกลับคืนมาได้นายวิชาญ อภิปราย

นายวิชาญ อภิปรายอีกว่าการทำงานของรัฐบาลที่ผ่านมา ตนมองว่ามีสิ่งที่ควรปรับปรุงในหลายด้านอาทิการให้ข้อมูลเกี่ยวกับมวลน้ำที่ทันเหตุการณ์และชัดเจนต่อประชาชน เพื่อให้ประชาชนนำไปประกอบการตัดสินใจในการอพยพ หรือป้องกันความเสียหายต่อทรัพย์สินของตน

การให้ความช่วยเหลือและการอพยพประชาชนที่พบว่ามีความซ้ำซ้อน และบางพื้นที่ยังไม่ได้รับการช่วยเหลือใดๆ

การแก้ไขปัญหาน้ำท่วมที่ควรให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไข เพื่อป้องกันปัญหามวลชนที่เคยเกิดขึ้น

นอกจากนั้นแล้ว ตนมองว่าการแก้ไขปัญหาของรัฐบาลเรื่องเครื่องอุปโภค บริโภคขาดแคลนนั้น ไม่มีความรอบคอบ เช่น การสั่งซื้อปลากระป๋องจากต่างประเทศของรัฐบาล ทั้งนี้ประเทศไทยเป็นประเทศที่ผลิตปลากระป๋องส่งออก และปลากระป๋องยังไม่ขาดแคลน เป็นตัวสะท้อนการทำงานของรัฐบาลที่ไม่รอบคอบ

 AMAZING  coup d'etat  , THAILAND ONLY ..  :ph34r:  


#16 หนูอ้อย

หนูอ้อย

    นักเขียนหน่อมแน้ม

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,215 posts

ตอบ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 - 16:11

วิชาญ ศิริชัยเอกวัฒน์
กับ
วิชาญ มีนชัยนันท์
ข่าวของสองคนนี้ช่างต่างกันซะจริง
:blink: :blink: :huh: :angry:

 AMAZING  coup d'etat  , THAILAND ONLY ..  :ph34r:  


#17 หนูอ้อย

หนูอ้อย

    นักเขียนหน่อมแน้ม

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,215 posts

ตอบ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 - 18:54

Posted Image


Posted Image

^ ^ ^ ^ ^
คลองชอง เก ชอน เป็นคลองสายประวัติศาสตร์ของเกาหลีใต้ คลองแห่งนี้ไหลผ่านย่านใจกลางกรุงโซล ซึ่งถือเป็นคลองที่มีความสำคัญไม่แพ้แม่น้ำฮัน แม่น้ำสายหลักที่หล่อเลี้ยงชีวิตของคนประเทศนี้

หลังจากที่เกาหลีได้ผ่านยุคสงคราม และรอดพ้นจากการเป็นอาณานิคมของญี่ปุ่น เกาหลีใต้ก็ได้เร่งพัฒนาประเทศอย่างต่อเนื่องจนมองข้ามในเรื่องสิ่งแวดล้อมของชุมชนไป

....ชั่วระยะเวลาเพียง 50 ปี เกาหลีใต้ฟื้นตัวขึ้นมาอย่างรวดเร็วหลังจากเยียวยาความบอบช้ำของสงครามสำเร็จ ทรัพยากรธรรมชาติทั้งหลายถูกขุดขึ้นมาใช้เพื่อพัฒนาประเทศอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอุตสาหกรรมเหล็ก จนทำให้เกาหลีใต้สามารถผลิตรถยนต์ส่งออกได้เป็นอันดับ 5 ของโลก รวมถึงสินค้าไอทีและเทคโนโลยีที่ล้ำหน้ากว่าประเทศอื่นในภูมิภาคเอเซีย ด้วยเหตุนี้เองที่ทำให้รัฐบาลเกาหลีใต้ต้องก่อสร้างถนน ทางยกระดับ รวมถึงทางด่วนหลายสายเพื่อพัฒนาภาคเศรษฐกิจของประเทศ จนเป็นต้นเหตุให้มีการก่อสร้างทางด่วนปิดทับคลองชอง เก ชอน ในปี ค.ศ.1957-1977 ซึ่งทำให้คลองสายนี้เริ่มตายไปจากชุมชนสองฝั่งคลองย่านใจกลางกรุงโซล และเมื่อทางด่วนผุดขึ้นกลางคลอง...การไหลของน้ำไม่สะดวก เกิดการตื้นเขิน ที่สำคัญเมื่อการเดินทางสะดวกมากขึ้นทำให้เกิดการขยายตัวของชุมชน มีร้านค้าขายของมากมายบริเวณใต้ทางด่วน จนทำให้น้ำในคลอง ชอง เก ชอน เน่าเหม็นและตายไปในที่สุด (ห้วงเวลานั้นคลองสายนี้ไม่ต่างไปจากคลองแสนแสบบ้านเราในปัจจุบัน !) คลองได้กลายมาเป็นที่ระบายสิ่งปฏิกูลและถังขยะขนาดใหญ่อยู่ใจกลางเมือง

กระทั่งปี ค.ศ.2003 นาย ลี เมียง บัก ซึ่งเป็นผู้ว่าการกรุงโซล ริเริ่มแนวคิดคืนคลองให้กับชุมชนเมือง จึงได้ตัดสินใจเสนอนโยบายทุบทางด่วนทิ้ง พร้อมกับก่อตั้ง "โครงการกู้ชีวิตคลอง ชอง เก ชอน ให้กับคนในกรุงโซล" แต่โครงการนี้ใช่ว่าจะสำเร็จได้โดยง่าย เพราะช่วงแรกได้รับการต่อต้านจากบรรดาพ่อค้าแม่ขายจากย่านใต้ทางด่วนริมคลอง จนเกิดการปะทะกันหลายต่อหลายครั้งจากฝ่ายที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย แต่สุดท้ายโครงการนี้ก็ผ่านไปได้ด้วยดีโดยเริ่มลงมือทุบทางด่วนในปี ค.ศ.2003 และคืนคลองชอง เก ชอนให้กรุงโซลสำเร็จในปี ค.ศ.2005 โดยใช้งบประมาณในการทุบทางด่วนรวมถึงการสร้างคลอง ชอง เก ชอน ให้ฟื้นกลับมามีชีวิตอีกครั้งกว่า 3.8 แสนล้านวอน หรือ ประมาณ 1 หมื่นล้านบาท พร้อมทั้งมีการฟื้นฟูธรรมชาติริมสองฝั่งคลองด้วย ตลอดความยาวกว่า 5.84 กิโลเมตร

Posted Image

( ^ ^ ^ ยังเหลือเสาซากทางด่วน<สีส้ม>ไว้เป็นที่ระลึก...)

ตลอดแนวมีการสร้างน้ำพุเป็นระยะๆ รวมถึงมีการสร้างน้ำตกเพื่อเป็นแนวกันน้ำและชะลอน้ำหน้าฝน มีการสร้างสะพานกว่า 22 แห่งเพื่อเป็นจุดชมวิวริมสองฝั่งคลอง และก่อสร้างทางเดินเลียบคลอง พร้อมทั้งจุดพักผ่อนด้วย

Posted Image


Posted Image
ปัจจุบันคลองชอง เก ชอน กลับฟื้นมาได้แล้ว และธรรมชาติรวมทั้งสิ่งแวดล้อมภายในกรุงโซล เริ่มคืนชีพมาใหม่อีกครั้ง และด้วยการสูบน้ำจากแม่น้ำฮัน เพื่อหล่อเลี้ยงคลองแห่งนี้ จากน้ำดำส่งกลิ่นเหม็น กลายเป็นสายน้ำใสไหลเย็น มีปลานานาชนิดแหวกว่าย มีนกเป็ดน้ำพากันมาหาอาหาร

จนทำให้ประชากรในหลายประเทศ รวมถึงประเทศไทยด้วย ต่างพากันเดินทางมาศึกษาดูงานการจัดระบบสิ่งแวดล้อมในชุมชนของกรุงโซลซึ่งถือว่าประสบผลสำเร็จอย่างยิ่งในการพัฒนาประเทศควบคู่ไปกับการรักษาสิ่งแวดล้อม และด้วยเหตุดังกล่าวจึงทำให้ประชาชนในกรุงโซลพอใจผลงานของนาย ลี เมียง บัก ผู้ว่าการกรุงโซล เป็นอย่างมาก

เกาหลีใต้ตั้งเป้าจะพัฒนาเมืองหลวงให้กลายเป็นมหานครที่ติดอันดับ 1 ใน 10 เมืองน่าอยู่ของโลกให้ได้ เพราะปัจจุบันกรุงโซลมีประชาชนอาศัยอยู่เป็นจำนวนมากกว่า 10 ล้านคน แต่มีพื้นที่เพียง 605 ตารางกิโลเมตรเท่านั้นซึ่งสภาพทั่วไปเป็นเกาะและภูเขา นับว่ามีพื้นที่เล็กกว่ากรุงเทพฯเป็นอย่างมาก ในขณะที่มีประชากรหนาแน่นในระดับที่ใกล้เคียงกัน

(หมายเหตุ กำลังจะได้ไปเกาหลี - ปักกิ่งปลายเดือน พ.ย.นี้......แต่ด้วยเหตุน้ำท่วมใหญ่ของประเทศ...จึงอดเลยเรา.....)
:( :( :(

 AMAZING  coup d'etat  , THAILAND ONLY ..  :ph34r: