Jump to content


Photo
* * * * * 1 votes

ตำนานทียังมีลมหายใจ!!! ขายหุ้นชินคอร์ปไม่เสียภาษีสักบาท ถึงขนาดเปรียบเปรยว่า.........? ตระกูลชินวัตรและดามาพงศ์? ยังจำกันได้ไหม


  • Please log in to reply
82 replies to this topic

#1 โจโฉ นายกตลอดกาล

โจโฉ นายกตลอดกาล

    น้องใหม่

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 5,795 posts

Posted 4 August 2012 - 17:17

*
POPULAR

....คนรุ่นหลัง จำนวนมากเกิดไม่ทันรู้ ดูไม่ทันเห็น ความชั่วร้ายของชายชื่อทักษิณ ชินวัตร และคณะตระกูลชินวัตร
และดามาพงศ์ แลพลพรรคไทยรักไทย หรือ เพื่อไทย ในปัจจุบัน
เมื่อครั้งมีอำนาจในมือซ้าย ถือกฎหมายในมือขวา
เมื่อครั้งนั่งเก้าอี้นายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร
สร้างผลงานโบว์ดำอันลือลั่นสั่นสะเทือนแผ่นดิน ด้วยการใช้อำนาจ และช่องโหว่ทางกฎหมาย
ซื้อขายหุ้นชินคอร์ปโดยไม่เสียภาษีสักบาทเดียว โดยมีกุนซือชื่อ สุวรรณ วลัยเสถียร ดำเนินการให้

ถึงขนาดยุคนั้นมีการเปรียบเปรยแบบปากต่อปากว่า

"คนขายก๋วยเตี๋ยวยังเสียภาษีแบบนับชามก๋วยเตี๋ยวเลย แล้วนายกฯเป็นใครทำไมไม่เสียภาษี"

ถึงไม่ผิดกฎหมายแต่ผิดจริยธรรมในฐานะที่เป็นถึงนายกรัฐมนตรีที่นำเงินภาษีมาใช้บริหารประเทศ

แต่ตัวเองและตระกูลกลับคิดใช้อำนาจช่องโหว่ หลบเลี่ยงภาษี

หลังจากนี้คือส่วนหนึ่งของข่าวสารที่ชวนคิดในยุคนั้น

เปิด10ปมคาใจขายหุ้นชินคอร์ป

กรุงเทพธุรกิจ l 30 มกราคม 2549 09:52 น.

การขายหุ้นบริษัท ชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ของตระกูล ชินวัตรและดามาพงศ์ ให้กับกลุ่มเทมาเส็ก โฮลดิ้งส์ สัดส่วน 49.95% ในราคาหุ้นละ 49.25 บาท พร้อมรับเงิน



7.32 หมื่นล้านบาท ยังมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ตามมาไม่ขาดสาย

และก็มีแนวโน้มว่าจะกลายเป็นปัญหายืดเยื้อ ที่ส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์และสถานะทางการเมืองของนายกรัฐมนตรี หาก "กุนซือ" ที่คิดสูตรพิสดาร ไม่สามารถอธิบายความซับซ้อนของดีลนี้ได้ จะทำให้เงื่อนปมปัญหากลับมาพันให้ตัวเองต้องหาทางแก้ไข

เหตุเพราะเป็นดีลที่มีวงเงินสูงและเป็นบริษัทที่ตระกูลนายกรัฐมนตรีขายหุ้นออก แถมทำให้ซับซ้อนเพื่อหาช่องปลอดภาษี จึงมีปมสงสัย "คาใจ" ทั้งด้าน "จริยธรรม" มาตรฐานของกรมสรรพากร กฎเกณฑ์ของตลาดหลักทรัพย์ มาตรฐานการกำกับของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)

ปมแรก ได้บทสรุปออกมาแล้วว่า หากดีลครั้งนี้ ก.ล.ต.ไม่ผ่อนคลายเกณฑ์เทนเดอร์ออฟเฟอร์ คาดว่ากลุ่มเทมาเส็ก ต้องจ่ายเงินเพิ่มอีก 1.92 แสนล้านบาท

ปมที่ 2 ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยยังไม่มีข้อสรุปออกมาเลยว่า ดีลครั้งนี้มีการใช้ข้อมูลภายในในการซื้อขายหุ้นหรือไม่ เนื่องจากนับตั้งแต่ธันวาคม 2548 ที่ผ่านมา ราคาหุ้นชินคอร์ป เคลื่อนไหวอยู่เพียง 37 บาท และขยับขึ้นอย่างต่อเนื่องตามกระแสข่าวการขายกิจการของตระกูลชินวัตรออกมา โดยที่ตลาดไม่ได้ขึ้นเครื่องหมายเตือน เนื่องจากมองว่าไม่เกี่ยวข้องกับบริษัท เพราะเป็นการตัดสินใจของผู้ถือหุ้น

แต่อาจจะลืมไปว่า ผู้ถือหุ้นและผู้บริหารในดีลนี้เกี่ยวข้องกันและกัน ทำให้ราคาหุ้นขยับขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเมื่อวันที่ 23 มกราคม 2549 มายืนระดับ 48 บาท แน่นอนย่อมมีผู้ได้รับกำไรมหาศาล ที่สำคัญในช่วงก่อน 1 เดือน ผู้บริหารในกลุ่มชินคอร์ปมีการทยอยขายหุ้นออกมาเป็นระยะ

ปมที่ 3 กรณี บริษัท แอมเพิล ริช ขายหุ้นออกมาให้กับ น.ส.พิณทองทา และนายพานทองแท้ ชินวัตร เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2549 ในราคาหุ้นละ 1 บาท และมาขายต่อให้กลุ่มเทมาเส็กวันที่ 23 มกราคม 2549 แต่ไม่พบการซื้อเกิดขึ้นในวันที่ 20 มกราคม 2549 ซึ่งยังเป็นข้อสงสัยถึงการซื้อขายและเจ้าของที่แท้จริงในบริษัทแอมเพิล ริช ว่าเป็นใคร ถึงใจดีขายหุ้นออกมาในราคา 1 บาท

ปมที่ 4 ต่อเนื่องมาจากกรณีของแอมเพิล ริช ในอดีตเมื่อ 11 มิถุนายน 2542 พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้แจ้ง ก.ล.ต.ชัดเจนว่า ได้ขายหุ้นชินคอร์ป 32.9 ล้านหุ้น (พาร์ 10 บาท) ให้กับแอมเพิล ริช ซึ่งเป็นบริษัทที่อยู่บนเกาะปลอดภาษี บริติช เวอร์จิน ขณะนั้น พ.ต.ท.ทักษิณ ถือหุ้น 100% อย่างไรก็ตาม ในช่วงที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช.ไต่สวนคดีซุกหุ้นช่วงปี 2543 นั้น พ.ต.ท.ทักษิณ ระบุว่า ได้โอนหุ้นให้กับบุคคลอื่นไปแล้ว เท่ากับว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ไม่ได้ถือหุ้นในแอมเพิล ริช แล้ว

เรื่องน่าจะจบเพียงแค่นี้ แต่เมื่อเกิดกรณีวันที่ 20 มกราคม 2549 ขึ้นมา จึงเกิดข้อสงสัยขึ้นว่า โอนให้ใคร เพราะ "ความใจดี" จึงยอมขายหุ้นออกมาในราคา 1 บาท แน่นอนสังคมอาจจะเข้าใจได้ว่า ต้องเป็นบุคคลใกล้ชิดกับตระกูลชินวัตร ถึงจะยอมกระทำเช่นนี้ เพียงแต่ตัวตนผู้ถือหุ้นที่แท้จริงยังไม่ยอมเปิดเผยออกมา

คำถามจึงตามมาว่า หากหุ้นแอมเพิล ริช ยังอยู่ในมือของ พ.ต.ท.ทักษิณ มาตลอด อะไรจะเกิดขึ้น เป็นปมใหญ่แน่นอน เพราะในทางการเมืองอาจจะหยิบมาตั้งคำถาม นำมาซึ่งการ "ซุกหุ้น" ภาคสอง นำไปสู่การเสนอถอดถอนตามรัฐธรรมนูญมาตรา 216(6) ได้

ปมที่ 5 พรรคประชาธิปัตย์ได้มีการประชุมคณะทำงานติดตามการซื้อขายหุ้นชินคอร์ปของตระกูลชินวัตร ห่วงว่า หลังจากนี้ครอบครัวของผู้ขายมีตำแหน่งนายกรัฐมนตรีด้วยนั้น อาจจะใช้อำนาจรัฐเพื่อเอื้อประโยชน์ให้แก่ผู้ซื้ออย่างไรหรือไม่ เพราะถ้าเกิดขึ้นจริงตามนั้น นอกจากประเทศไทยจะไม่ได้อะไรจากการซื้อขายหุ้นครั้งนี้แล้ว ยังจะมีความเสียหายตามมาด้วย

เหตุเพราะทราบดีว่ากลุ่มเทมาเส็ก โฮลดิ้งส์ของสิงคโปร์เข้ามาซื้อนั้น เป็นไปตามยุทธศาสตร์ของประเทศ ที่ต้องการย้ายทุนออกจากประเทศตัวเอง และประเมินแล้วว่า ไทยมีความขัดแย้งเรื่องเชื้อชาติน้อยกว่า เมื่อเทียบกับมาเลเซียและสิงคโปร์

ฝ่ายค้านจึงห่วงว่า เมื่อสิงคโปร์มีความต้องการที่หลากหลายจากประเทศไทย ดังนั้น การซื้อหุ้นส่วนนี้จากครอบครัวนายกรัฐมนตรี อาจเพื่อเจรจาต่อรองขอสิทธิประโยชน์ต่างๆ ซึ่งหากมีการมอบสิทธิพิเศษให้แก่สิงคโปร์จริง ก็จะเป็นการกระทำที่มิชอบ เพราะการขายหุ้นเป็นเรื่องส่วนตัว แต่กลับมาพัวพันกับประโยชน์ของชาติ

ปมที่ 6 เรื่องภาษีดูจะเป็นเรื่องอ่อนไหวทางการเมือง แม้ในทางกฎหมาย การขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์จะได้รับสิทธิยกเว้นภาษี แต่ให้สิทธิเฉพาะการขายหุ้นของบุคคลธรรมดา

กรณีนี้มีปมอยู่ที่ว่า เทมาเส็กจะให้ความสนใจเอไอเอสเท่านั้น แต่ที่ต้องซื้อชินคอร์ปเพื่อให้ปลอดทางภาษี เหตุเพราะหากซื้อเอไอเอสที่ชินคอร์ปถือหุ้นอยู่ 42% เท่ากับว่า เป็นการขายของนิติบุคคล แน่นอนชินคอร์ปในฐานะผู้ขาย ต้องจ่ายภาษี ซึ่งมีการประเมินกันว่า ต้องจ่ายภาษีนิติบุคคลมากกว่า 4 หมื่นล้านบาท และตระกูลชินวัตรซึ่งถือหุ้นใหญ่ในชินคอร์ป ต้องจ่ายภาษีบุคคลธรรมาจากเงินปันผลอีก 2 หมื่นล้านบาท

แต่เมื่อดีลครั้งนี้ซื้อผ่านผู้ถือหุ้นใหญ่ในชินคอร์ป ในฐานะบุคคลธรรมดา จึงได้รับสิทธิยกเว้นภาษี แน่นอนถูกต้องตามกฎหมาย แต่ถูกตั้งคำถามถึง "จริยธรรม" เพราะแม้นายกรัฐมนตรีจะไม่มีหุ้นในชินคอร์ป แต่ผู้ถือหุ้นใหญ่ล้วนอยู่ในตระกูลตามกฎหมาย

ปมที่ 7 ปมภาษี ยังขยายผลไปถึงเรื่องในอดีต ที่ถูกเฟ้นขึ้นมาขยายผลอีกครั้ง ในช่วงที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ขายหุ้นให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร 2 ล้านหุ้น ในราคาพาร์ 10 บาท และ คุณหญิงพจมาน ชินวัตร ขายหุ้นให้ นายบรรณพจน์ ชินวัตร 26.8 ล้านหุ้น ในราคาพาร์ 10 บาทเช่นกัน โดยทั้งสองรายการขายนอกตลาด ซึ่งในครั้งนั้น สรรพากรตีความว่าไม่ต้องจ่ายภาษี เนื่องจากขายในราคาทุน ในฐานะผู้ซื้อ หากมีการขายในอนาคตและมีกำไร ต้องจ่ายภาษี แต่เมื่อขายในตลาดหลักทรัพย์ กำไรจะได้รับการยกเว้นภาษี

อย่างไรก็ตาม ในกรณีเดียวกัน สรรพากรกลับเรียกเก็บภาษีของ นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ที่ได้รับหุ้นทางด่วนกรุงเทพจากบิดาในราคาพาร์ 10 บาท จากราคาตลาดที่อยู่ระดับ 21บาท มีส่วนต่าง 55,000 บาท แต่ถูกกรมสรรพากรเรียกเก็บภาษี อย่างไรก็ตาม เมื่อมีการร้องเรียน สรรพากรกลับยอมรับว่า ผิดพลาดและขอคืนเงินให้ นายเรืองไกร

กรณีนี้ทำให้มองได้ว่า การตัดสินใจคืนเงินของสรรพากร เพื่อไม่ให้เป็นมาตรฐานที่อาจจะส่งผลให้ผลการตัดสินการขายหุ้นของตระกูลชินวัตรก่อนหน้านี้มีปัญหาได้

ปมที่ 8 ยังมีกรณีที่ คุณหญิงพจมานโอนหุ้นชินคอร์ปให้นายบรรณพจน์ 4.5 ล้านหุ้น เมื่อปี 2540 ที่อ้างให้โดย "เสน่หา" ยังเป็นข้อสงสัยอยู่ว่า มูลค่าหรือความหมายแค่ไหน ถึงจะได้รับสิทธิยกเว้นภาษี ตามมาตรา 40(10)

ปมที่ 9 ประเด็นที่มีการแก้ไขกฎหมายเพื่อเอื้อให้ต่างชาติถือหุ้นได้เกิน 25% ก่อนการซื้อขายเพียง 3 วันนั้น เนื่องจากก่อนหน้านี้ รัฐบาลของ พ.ต.ท.ทักษิณเองที่แก้ให้ต่างชาติจากเดิมที่ถือหุ้น 49% ปรับลดเป็น 25% เพื่อสกัดการเข้ามาของทุนต่างประเทศในบริษัทคู่แข่ง แต่พอตัวเองเริ่มมีแนวคิดที่จะขายหุ้น ก็เห็นสมควรแก้กฎหมายให้มาอยู่ระดับเดิม คือ 49% โดยเฉพาะเมื่อดูถึงจังหวะในการแก้กฎหมายนี้ ก็มีเจตนารมณ์ที่ชัดเจนที่แก้เพื่อเอื้อการขายหุ้นของครอบครัวตัวเอง

ขณะเดียวกัน ถึงแม้จะเปิดให้ถือหุ้นได้ 49% แต่กรณีของการซื้อขายชินคอร์ป กลุ่มทุนสิงคโปร์ใช้นอมินี ที่เป็นสัญชาติไทยเข้ามาซื้อแทน หากนับจำนวนหุ้นที่แฝงอยู่ในนอมินีคนไทยแล้ว จะพบว่าสัดส่วนหุ้นแท้จริงมากกว่า 70% ด้วยซ้ำ

ปมที่ 10 ว่า ด้วยความมั่นคงและสื่อของชาติ เนื่องจากการเข้ามาถือหุ้นใหญ่ในบริษัทดาวเทียมของไทย รวมถึงไอทีวี ซึ่งจะเป็นปมปัญหาให้เทมาเส็ก ต้องคิดต่อไปว่า จะดำเนินการสองบริษัทนี้อย่างไร



ปิดตำนานซุกหุ้นชินคอร์ป สรรพากรยุติบี้ภาษีครอบครัว “ทักษิณ ชินวัตร ” – “แก้วสรร” คาใจต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล

หลังจากที่คณะกรรมการปฎิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ได้ยึดอำนาจการปกครองของไทยสำเร็จ ในเดือนกันยายน 2549 ก็ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ขึ้นมาตรวจสอบโครงการต่างๆที่ทำไว้ในสมัยรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
หลายเรื่องถูกดำเนินการไปเรียบร้อย อาทิ โครงการจัดซื้อที่ดินรัชดา, จัดซื้อกล้ายาง, รถดับเพลิง, หวยบนดิน ยกเว้นคดีหลบเลี่ยงภาษีจากการซื้อ-ขายหุ้นชินคอร์ปฯ ซึ่งเปรียบเสมือนหนามที่แทงกลางดวงใจ พ.ต.ท.ทักษิณ
นอกจากจะถูกศาลฎีกาแผนกคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง มีคำสั่งให้ยึดทรัพย์ พ.ต.ท.ทักษิณแล้ว ยังถูกกรมสรรพากรตามไปอายัดทรัพย์สินของนายพานทองแท้ และ น.ส.พินทองทา ชินวัตร (โอ๊ค-เอม)อีก 12,000 ล้านบาท ซึ่งทั้งคู่ได้นำคำพิพากษาของศาลฎีกาฯ ไปต่อสู่ในศาลภาษีอากรกลางจนชนะคดี เพราะบุคคลทั้งสองไม่ใช่เจ้าของหุ้นชินคอร์ปฯ ตัวจริง ทำให้กรมสรรพากรต้องถอนอายัดทรัพย์สินคืนให้กับโอ๊ค-เอม
ถึงแม้ทั้ง 2 ศาลตัดสินแล้วว่า หุ้นชินคอร์ปฯ ไม่ใช่หุ้นของโอ๊ค-เอม แล้วหุ้นชินคอร์ปฯ เป็นของใคร พ.ต.ท.ทักษิณ หรือ บริษัทแอมเพิลริชที่มี พ.ต.ท.ทักษิณเป็นเจ้าของ ก็ยังเป็นประเด็นที่จะต้องมีการตีความกัน ทำให้กรมสรรพากรต้องนำประเด็นนี้มาขอความเห็นจากคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากร ที่มีนายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงการคลังเป็นประธานฯ ซึ่งนายอารีพงศ์ได้มอบหมายให้นางเสาวนีย์ กมลบุตร รองปลัดกระทรวงการคลัง เป็นประธานฯ แทน
และในที่สุด มหากาพย์การต่อสู้ของคนในตระกูลชินวัตรก็ปิดฉากลง เมื่อคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากรได้มีการพิจารณาเรื่องนี้ โดยนางเสาวนีย์ กมลบุตร ในฐานะประธานคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากร กล่าวว่า เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ที่ประชุมคณะกรรมการฯ ได้วินิจฉัยกรณีการจัดเก็บภาษีจากการซื้อ-ขายหุ้นชินคอร์ปฯ โดยนำคำพิพากษาของศาลฎีกาฯ และศาลภาษีอากรมาประกอบการพิจารณา ซึ่งคำพิพากษาของศาลระบุว่า นายพานทองแท้ และ น.ส.พินทองทา ชินวัตร ไม่ใช่เจ้าของหุ้นชินคอร์ปฯ แต่เป็นของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ดังนั้น คณะกรรมการฯ จึงไม่สามารถวินิจฉัยเป็นอย่างอื่นได้ นอกจากจะตัดสินยืนตามคำพิพากษาของศาล
นางเสาวนีย์กล่าวต่อไปอีกว่า ส่วนกรณีที่กรมสรรพากรมาขอความเห็นว่า จะประเมินภาษีกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้หรือไม่ คณะกรรมการฯ มีความเห็นว่า เรื่องการจัดเก็บภาษีหรือการประเมินภาษีนั้น น่าอยู่ในขอบเขตอำนาจหน้าที่ของอธิบดีกรมสรรพากร ซึ่งคณะกรรมการฯ ไม่มีหน้าที่ไปตัดสินว่าจะให้กรมสรรพากรไปเก็บภาษีใคร หรือ ไม่เก็บใคร ประเด็นนี้ อธิบดีกรมสรรพากรจะต้องเป็นผู้วินิจฉัยว่าจะเก็บภาษี พ.ต.ท.ทักษิณหรือไม่
ด้านนายสาธิต รังคสิริ อธิบดีกรมสรรพากร เปิดเผยว่า หลังจากที่คณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากร ได้สรุปผลการวินิจฉัย กรณีการซื้อ-ขายหุ้นชินคอร์ปฯ ว่า เจ้าของหุ้นชินคอร์ปฯ ที่แท้จริง คือ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ส่วนนายพานทองแท้ และ น.ส.พินทองทา ชินวัตร ไม่ใช่เจ้าของหุ้นชินคอร์ปฯ ซึ่งการดำเนินการในลักษณะดังกล่าว เข้าข่ายปกปิดบัญชีทรัพย์สินที่จะต้องแสดงต่อสำนักงาน ป.ป.ช. ซึ่งศาลฎีกาฯ ได้มีคำสั่งให้ยึดทรัพย์สิน พ.ต.ท.ทักษิณ ให้ตกเป็นของแผ่นดินไปหมดแล้ว จากนั้นเมื่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ซึ่งเป็นเจ้าของหุ้นตัวจริงนำหุ้นชินคอร์ปฯ ไปขายให้กับกองทุนเทมาเสกผ่านตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ก็จะได้รับยกเว้นภาษีตามกฏกระทรวงฉบับที่ 126
“เรื่องภาษีหุ้นชินคอร์ปฯ ตอนนี้ถือว่าจบแล้ว ต่อจากนี้ไป กรมสรรพากรจะไม่มีการประเมินภาษีคนในตระกูลชินวิตรอีก เนื่องจากผลการตัดสินของคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากรถือเป็นที่สิ้นสุด ซึ่งคณะกรรมการฯ ก็มีมติเป็นเอกฉันท์ ยืนตามคำพิพากษาของศาลทั้ง 2 ศาล ส่วนเรื่องการประเมินภาษี พ.ต.ท.ทักษิณ คณะกรรมการฯ มอบหมายให้เป็นหน้าที่ของกรมสรรพากรเป็นผู้วินิจฉัย เมื่อสรรพากรพิจารณาแล้วว่าไม่ต้องเสียภาษี ตรงนี้ก็ถือเป็นที่สิ้นสุดด้วยเช่นกัน เพราะกรมสรรพากรทำตามผลการวินิจฉัยของคณะกรรมการฯ” นายสาธิตกล่าว
Posted Image
นายแก้วสรร อติโพธิ(คนกลาง) อดีตคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.)
ด้านนายแก้วสรร อติโพธิ อดีตคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) กล่าวว่า ผมไม่เข้าใจ ทำไมคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากร และอธิบดีสรรพากรไปเอาคำพิพากษาจากศาลมาพิจารณา เพราะศาลทั้ง 2 ศาล ก็ไม่ได้ตัดสินว่า พ.ต.ท.ทักษิณเป็นเจ้าของหุ้นชินคอร์ปฯ ตัวจริง แต่ศาลตัดสินว่า พ.ต.ท.ทักษิณเป็นเจ้าของบริษัทแอมเพิลริชที่ถือหุ้นชินคอร์ปฯ กล่าวคือในปี 2542 พ.ต.ท.ทักษิณได้จัดตั้งบริษัทแอมเพิลริช และมีการโอนหุ้นชินคอร์ปฯ ให้กับบริษัทแอมเพิลริช และก่อนที่ พ.ต.ท.ทักษิณจะเล่นการเมือง ในปี 2543 ได้ขายหุ้นชินคอร์ปฯ ให้กับนายพานทองแท้และนางสาวพินทองทาในราคา 1 บาทต่อหุ้น ต่อมา ทั้งคู่ได้นำหุ้นชินคอร์ปฯ ไปขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ เพื่อที่จะได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามประกาศกระทรวง ฉบับที่ 126 แต่มาถูก คตส. ตรวจสอบพบจึงนำเรื่องนี้ส่งฟ้องศาลฎีกาฯ
“กรมสรรพากรยอมรับหรือไม่ หุ้นชินคอร์ปฯ นั้นเป็นของบริษัทแอมเพิลริช และ พ.ต.ท.ทักษิณคือเจ้าของบริษัทแอมเพิลริช ศาลทั้ง 2 ศาลตัดสินว่า นายพานทองแท้ และ น.ส.พินทองทา ชินวัตร ไม่ใช่เจ้าของหุ้นชินคอร์ปฯ ตัวจริง ดังนั้นเจ้าของหุ้นชินคอร์ปฯ ตัวจริงก็คือบริษัทแอมเพิลริชที่มี พ.ต.ท.ทักษิณเป็นเจ้าของ เมื่อแอมเพิลริชนำหุ้นชินคอร์ปฯ ไปขายในตลาดหลักทรัพย์ ก็จะไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามประกาศกระทรวง ฉบับที่ 126 เพราะถือว่าเป็นการซื้อ-ขายหุ้นระหว่างบริษัทกับบริษัท ดังนั้น กรมสรรพากรจึงมีหน้าที่ที่จะต้องไปไล่เก็บภาษีเงินได้นิติบุคคล 30% หรือเรียกเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดากับทักษิณที่ได้หุ้นจากบริษัทแอมเพิลริชไปในราคาที่ต่ำกว่าราคาตลาด” นายแก้วสรรกล่าว
อนึ่ง คณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากร ตามมาตรา 13 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร จะมีปลัดกระทรวงการคลังเป็นประธานฯ กรรมการประกอบด้วย อธิบดีกรมสรรพากร อธิบดีกรมศุลกากร อธิบดีกรมสรรพสามิต ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา และผู้ทรงคุณวุฒิอีก 3 คน มีอำนาจหน้าที่ดังนี้ 1) กำหนดขอบเขตในการใช้อำนาจของเจ้าพนักงานประเมินและพนักงานเจ้าหน้าที่ 2) กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ ระยะเวลาในการตรวจสอบ และประเมินภาษีอากร 3) วินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับภาษีอากรที่กรมสรรพากรขอความเห็น และ 4) ให้คำปรึกษาหรือเสนอแนะแก่รัฐมนตรีในการจัดเก็บภาษีอากร คำวินิจฉัยของคณะกรรมการฯให้ถือเป็นที่สุด

Edited by โจโฉ นายกตลอดกาล, 4 August 2012 - 17:18.

เชื่อเถอะ อีกไม่ช้า นายเวร จะเสียฉายา "ร้อยล๊อกอิน" ไปในไม่กีอึดใจนี้

#2 kuuga

kuuga

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,008 posts

Posted 4 August 2012 - 17:23

จำได้ดีทีเดียวเชียวหละครับ
กระบือ=ควาย มีค่า มนุษย์มีค่า = ควาย ไร้ค่า

#3 ugly-maew

ugly-maew

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 592 posts

Posted 4 August 2012 - 17:26

....คนรุ่นหลัง จำนวนมากเกิดไม่ทันรู้ ดูไม่ทันเห็น ความชั่วร้ายของชายชื่อทักษิณ ชินวัตร และคณะตระกูลชินวัตร
และดามาพงศ์ แลพลพรรคไทยรักไทย หรือ เพื่อไทย ในปัจจุบัน
เมื่อครั้งมีอำนาจในมือซ้าย ถือกฎหมายในมือขวา
เมื่อครั้งนั่งเก้าอี้นายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร
สร้างผลงานโบว์ดำอันลือลั่นสั่นสะเทือนแผ่นดิน ด้วยการใช้อำนาจ และช่องโหว่ทางกฎหมาย
ซื้อขายหุ้นชินคอร์ปโดยไม่เสียภาษีสักบาทเดียว โดยมีกุนซือชื่อ สุวรรณ วลัยเสถียร ดำเนินการให้

ถึงขนาดยุคนั้นมีการเปรียบเปรยแบบปากต่อปากว่า

"คนขายก๋วยเตี๋ยวยังเสียภาษีแบบนับชามก๋วยเตี๋ยวเลย แล้วนายกฯเป็นใครทำไมไม่เสียภาษี"

ถึงไม่ผิดกฎหมายแต่ผิดจริยธรรมในฐานะที่เป็นถึงนายกรัฐมนตรีที่นำเงินภาษีมาใช้บริหารประเทศ

แต่ตัวเองและตระกูลกลับคิดใช้อำนาจช่องโหว่ หลบเลี่ยงภาษี

หลังจากนี้คือส่วนหนึ่งของข่าวสารที่ชวนคิดในยุคนั้น

เปิด10ปมคาใจขายหุ้นชินคอร์ป

กรุงเทพธุรกิจ l 30 มกราคม 2549 09:52 น.

การขายหุ้นบริษัท ชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ของตระกูล ชินวัตรและดามาพงศ์ ให้กับกลุ่มเทมาเส็ก โฮลดิ้งส์ สัดส่วน 49.95% ในราคาหุ้นละ 49.25 บาท พร้อมรับเงิน



7.32 หมื่นล้านบาท ยังมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ตามมาไม่ขาดสาย

และก็มีแนวโน้มว่าจะกลายเป็นปัญหายืดเยื้อ ที่ส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์และสถานะทางการเมืองของนายกรัฐมนตรี หาก "กุนซือ" ที่คิดสูตรพิสดาร ไม่สามารถอธิบายความซับซ้อนของดีลนี้ได้ จะทำให้เงื่อนปมปัญหากลับมาพันให้ตัวเองต้องหาทางแก้ไข

เหตุเพราะเป็นดีลที่มีวงเงินสูงและเป็นบริษัทที่ตระกูลนายกรัฐมนตรีขายหุ้นออก แถมทำให้ซับซ้อนเพื่อหาช่องปลอดภาษี จึงมีปมสงสัย "คาใจ" ทั้งด้าน "จริยธรรม" มาตรฐานของกรมสรรพากร กฎเกณฑ์ของตลาดหลักทรัพย์ มาตรฐานการกำกับของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)

ปมแรก ได้บทสรุปออกมาแล้วว่า หากดีลครั้งนี้ ก.ล.ต.ไม่ผ่อนคลายเกณฑ์เทนเดอร์ออฟเฟอร์ คาดว่ากลุ่มเทมาเส็ก ต้องจ่ายเงินเพิ่มอีก 1.92 แสนล้านบาท

ปมที่ 2 ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยยังไม่มีข้อสรุปออกมาเลยว่า ดีลครั้งนี้มีการใช้ข้อมูลภายในในการซื้อขายหุ้นหรือไม่ เนื่องจากนับตั้งแต่ธันวาคม 2548 ที่ผ่านมา ราคาหุ้นชินคอร์ป เคลื่อนไหวอยู่เพียง 37 บาท และขยับขึ้นอย่างต่อเนื่องตามกระแสข่าวการขายกิจการของตระกูลชินวัตรออกมา โดยที่ตลาดไม่ได้ขึ้นเครื่องหมายเตือน เนื่องจากมองว่าไม่เกี่ยวข้องกับบริษัท เพราะเป็นการตัดสินใจของผู้ถือหุ้น

แต่อาจจะลืมไปว่า ผู้ถือหุ้นและผู้บริหารในดีลนี้เกี่ยวข้องกันและกัน ทำให้ราคาหุ้นขยับขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเมื่อวันที่ 23 มกราคม 2549 มายืนระดับ 48 บาท แน่นอนย่อมมีผู้ได้รับกำไรมหาศาล ที่สำคัญในช่วงก่อน 1 เดือน ผู้บริหารในกลุ่มชินคอร์ปมีการทยอยขายหุ้นออกมาเป็นระยะ

ปมที่ 3 กรณี บริษัท แอมเพิล ริช ขายหุ้นออกมาให้กับ น.ส.พิณทองทา และนายพานทองแท้ ชินวัตร เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2549 ในราคาหุ้นละ 1 บาท และมาขายต่อให้กลุ่มเทมาเส็กวันที่ 23 มกราคม 2549 แต่ไม่พบการซื้อเกิดขึ้นในวันที่ 20 มกราคม 2549 ซึ่งยังเป็นข้อสงสัยถึงการซื้อขายและเจ้าของที่แท้จริงในบริษัทแอมเพิล ริช ว่าเป็นใคร ถึงใจดีขายหุ้นออกมาในราคา 1 บาท

ปมที่ 4 ต่อเนื่องมาจากกรณีของแอมเพิล ริช ในอดีตเมื่อ 11 มิถุนายน 2542 พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้แจ้ง ก.ล.ต.ชัดเจนว่า ได้ขายหุ้นชินคอร์ป 32.9 ล้านหุ้น (พาร์ 10 บาท) ให้กับแอมเพิล ริช ซึ่งเป็นบริษัทที่อยู่บนเกาะปลอดภาษี บริติช เวอร์จิน ขณะนั้น พ.ต.ท.ทักษิณ ถือหุ้น 100% อย่างไรก็ตาม ในช่วงที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช.ไต่สวนคดีซุกหุ้นช่วงปี 2543 นั้น พ.ต.ท.ทักษิณ ระบุว่า ได้โอนหุ้นให้กับบุคคลอื่นไปแล้ว เท่ากับว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ไม่ได้ถือหุ้นในแอมเพิล ริช แล้ว

เรื่องน่าจะจบเพียงแค่นี้ แต่เมื่อเกิดกรณีวันที่ 20 มกราคม 2549 ขึ้นมา จึงเกิดข้อสงสัยขึ้นว่า โอนให้ใคร เพราะ "ความใจดี" จึงยอมขายหุ้นออกมาในราคา 1 บาท แน่นอนสังคมอาจจะเข้าใจได้ว่า ต้องเป็นบุคคลใกล้ชิดกับตระกูลชินวัตร ถึงจะยอมกระทำเช่นนี้ เพียงแต่ตัวตนผู้ถือหุ้นที่แท้จริงยังไม่ยอมเปิดเผยออกมา

คำถามจึงตามมาว่า หากหุ้นแอมเพิล ริช ยังอยู่ในมือของ พ.ต.ท.ทักษิณ มาตลอด อะไรจะเกิดขึ้น เป็นปมใหญ่แน่นอน เพราะในทางการเมืองอาจจะหยิบมาตั้งคำถาม นำมาซึ่งการ "ซุกหุ้น" ภาคสอง นำไปสู่การเสนอถอดถอนตามรัฐธรรมนูญมาตรา 216(6) ได้

ปมที่ 5 พรรคประชาธิปัตย์ได้มีการประชุมคณะทำงานติดตามการซื้อขายหุ้นชินคอร์ปของตระกูลชินวัตร ห่วงว่า หลังจากนี้ครอบครัวของผู้ขายมีตำแหน่งนายกรัฐมนตรีด้วยนั้น อาจจะใช้อำนาจรัฐเพื่อเอื้อประโยชน์ให้แก่ผู้ซื้ออย่างไรหรือไม่ เพราะถ้าเกิดขึ้นจริงตามนั้น นอกจากประเทศไทยจะไม่ได้อะไรจากการซื้อขายหุ้นครั้งนี้แล้ว ยังจะมีความเสียหายตามมาด้วย

เหตุเพราะทราบดีว่ากลุ่มเทมาเส็ก โฮลดิ้งส์ของสิงคโปร์เข้ามาซื้อนั้น เป็นไปตามยุทธศาสตร์ของประเทศ ที่ต้องการย้ายทุนออกจากประเทศตัวเอง และประเมินแล้วว่า ไทยมีความขัดแย้งเรื่องเชื้อชาติน้อยกว่า เมื่อเทียบกับมาเลเซียและสิงคโปร์

ฝ่ายค้านจึงห่วงว่า เมื่อสิงคโปร์มีความต้องการที่หลากหลายจากประเทศไทย ดังนั้น การซื้อหุ้นส่วนนี้จากครอบครัวนายกรัฐมนตรี อาจเพื่อเจรจาต่อรองขอสิทธิประโยชน์ต่างๆ ซึ่งหากมีการมอบสิทธิพิเศษให้แก่สิงคโปร์จริง ก็จะเป็นการกระทำที่มิชอบ เพราะการขายหุ้นเป็นเรื่องส่วนตัว แต่กลับมาพัวพันกับประโยชน์ของชาติ

ปมที่ 6 เรื่องภาษีดูจะเป็นเรื่องอ่อนไหวทางการเมือง แม้ในทางกฎหมาย การขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์จะได้รับสิทธิยกเว้นภาษี แต่ให้สิทธิเฉพาะการขายหุ้นของบุคคลธรรมดา

กรณีนี้มีปมอยู่ที่ว่า เทมาเส็กจะให้ความสนใจเอไอเอสเท่านั้น แต่ที่ต้องซื้อชินคอร์ปเพื่อให้ปลอดทางภาษี เหตุเพราะหากซื้อเอไอเอสที่ชินคอร์ปถือหุ้นอยู่ 42% เท่ากับว่า เป็นการขายของนิติบุคคล แน่นอนชินคอร์ปในฐานะผู้ขาย ต้องจ่ายภาษี ซึ่งมีการประเมินกันว่า ต้องจ่ายภาษีนิติบุคคลมากกว่า 4 หมื่นล้านบาท และตระกูลชินวัตรซึ่งถือหุ้นใหญ่ในชินคอร์ป ต้องจ่ายภาษีบุคคลธรรมาจากเงินปันผลอีก 2 หมื่นล้านบาท

แต่เมื่อดีลครั้งนี้ซื้อผ่านผู้ถือหุ้นใหญ่ในชินคอร์ป ในฐานะบุคคลธรรมดา จึงได้รับสิทธิยกเว้นภาษี แน่นอนถูกต้องตามกฎหมาย แต่ถูกตั้งคำถามถึง "จริยธรรม" เพราะแม้นายกรัฐมนตรีจะไม่มีหุ้นในชินคอร์ป แต่ผู้ถือหุ้นใหญ่ล้วนอยู่ในตระกูลตามกฎหมาย

ปมที่ 7 ปมภาษี ยังขยายผลไปถึงเรื่องในอดีต ที่ถูกเฟ้นขึ้นมาขยายผลอีกครั้ง ในช่วงที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ขายหุ้นให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร 2 ล้านหุ้น ในราคาพาร์ 10 บาท และ คุณหญิงพจมาน ชินวัตร ขายหุ้นให้ นายบรรณพจน์ ชินวัตร 26.8 ล้านหุ้น ในราคาพาร์ 10 บาทเช่นกัน โดยทั้งสองรายการขายนอกตลาด ซึ่งในครั้งนั้น สรรพากรตีความว่าไม่ต้องจ่ายภาษี เนื่องจากขายในราคาทุน ในฐานะผู้ซื้อ หากมีการขายในอนาคตและมีกำไร ต้องจ่ายภาษี แต่เมื่อขายในตลาดหลักทรัพย์ กำไรจะได้รับการยกเว้นภาษี

อย่างไรก็ตาม ในกรณีเดียวกัน สรรพากรกลับเรียกเก็บภาษีของ นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ที่ได้รับหุ้นทางด่วนกรุงเทพจากบิดาในราคาพาร์ 10 บาท จากราคาตลาดที่อยู่ระดับ 21บาท มีส่วนต่าง 55,000 บาท แต่ถูกกรมสรรพากรเรียกเก็บภาษี อย่างไรก็ตาม เมื่อมีการร้องเรียน สรรพากรกลับยอมรับว่า ผิดพลาดและขอคืนเงินให้ นายเรืองไกร

กรณีนี้ทำให้มองได้ว่า การตัดสินใจคืนเงินของสรรพากร เพื่อไม่ให้เป็นมาตรฐานที่อาจจะส่งผลให้ผลการตัดสินการขายหุ้นของตระกูลชินวัตรก่อนหน้านี้มีปัญหาได้

ปมที่ 8 ยังมีกรณีที่ คุณหญิงพจมานโอนหุ้นชินคอร์ปให้นายบรรณพจน์ 4.5 ล้านหุ้น เมื่อปี 2540 ที่อ้างให้โดย "เสน่หา" ยังเป็นข้อสงสัยอยู่ว่า มูลค่าหรือความหมายแค่ไหน ถึงจะได้รับสิทธิยกเว้นภาษี ตามมาตรา 40(10)

ปมที่ 9 ประเด็นที่มีการแก้ไขกฎหมายเพื่อเอื้อให้ต่างชาติถือหุ้นได้เกิน 25% ก่อนการซื้อขายเพียง 3 วันนั้น เนื่องจากก่อนหน้านี้ รัฐบาลของ พ.ต.ท.ทักษิณเองที่แก้ให้ต่างชาติจากเดิมที่ถือหุ้น 49% ปรับลดเป็น 25% เพื่อสกัดการเข้ามาของทุนต่างประเทศในบริษัทคู่แข่ง แต่พอตัวเองเริ่มมีแนวคิดที่จะขายหุ้น ก็เห็นสมควรแก้กฎหมายให้มาอยู่ระดับเดิม คือ 49% โดยเฉพาะเมื่อดูถึงจังหวะในการแก้กฎหมายนี้ ก็มีเจตนารมณ์ที่ชัดเจนที่แก้เพื่อเอื้อการขายหุ้นของครอบครัวตัวเอง

ขณะเดียวกัน ถึงแม้จะเปิดให้ถือหุ้นได้ 49% แต่กรณีของการซื้อขายชินคอร์ป กลุ่มทุนสิงคโปร์ใช้นอมินี ที่เป็นสัญชาติไทยเข้ามาซื้อแทน หากนับจำนวนหุ้นที่แฝงอยู่ในนอมินีคนไทยแล้ว จะพบว่าสัดส่วนหุ้นแท้จริงมากกว่า 70% ด้วยซ้ำ

ปมที่ 10 ว่า ด้วยความมั่นคงและสื่อของชาติ เนื่องจากการเข้ามาถือหุ้นใหญ่ในบริษัทดาวเทียมของไทย รวมถึงไอทีวี ซึ่งจะเป็นปมปัญหาให้เทมาเส็ก ต้องคิดต่อไปว่า จะดำเนินการสองบริษัทนี้อย่างไร



ปิดตำนานซุกหุ้นชินคอร์ป สรรพากรยุติบี้ภาษีครอบครัว “ทักษิณ ชินวัตร ” – “แก้วสรร” คาใจต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล

หลังจากที่คณะกรรมการปฎิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ได้ยึดอำนาจการปกครองของไทยสำเร็จ ในเดือนกันยายน 2549 ก็ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ขึ้นมาตรวจสอบโครงการต่างๆที่ทำไว้ในสมัยรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
หลายเรื่องถูกดำเนินการไปเรียบร้อย อาทิ โครงการจัดซื้อที่ดินรัชดา, จัดซื้อกล้ายาง, รถดับเพลิง, หวยบนดิน ยกเว้นคดีหลบเลี่ยงภาษีจากการซื้อ-ขายหุ้นชินคอร์ปฯ ซึ่งเปรียบเสมือนหนามที่แทงกลางดวงใจ พ.ต.ท.ทักษิณ
นอกจากจะถูกศาลฎีกาแผนกคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง มีคำสั่งให้ยึดทรัพย์ พ.ต.ท.ทักษิณแล้ว ยังถูกกรมสรรพากรตามไปอายัดทรัพย์สินของนายพานทองแท้ และ น.ส.พินทองทา ชินวัตร (โอ๊ค-เอม)อีก 12,000 ล้านบาท ซึ่งทั้งคู่ได้นำคำพิพากษาของศาลฎีกาฯ ไปต่อสู่ในศาลภาษีอากรกลางจนชนะคดี เพราะบุคคลทั้งสองไม่ใช่เจ้าของหุ้นชินคอร์ปฯ ตัวจริง ทำให้กรมสรรพากรต้องถอนอายัดทรัพย์สินคืนให้กับโอ๊ค-เอม
ถึงแม้ทั้ง 2 ศาลตัดสินแล้วว่า หุ้นชินคอร์ปฯ ไม่ใช่หุ้นของโอ๊ค-เอม แล้วหุ้นชินคอร์ปฯ เป็นของใคร พ.ต.ท.ทักษิณ หรือ บริษัทแอมเพิลริชที่มี พ.ต.ท.ทักษิณเป็นเจ้าของ ก็ยังเป็นประเด็นที่จะต้องมีการตีความกัน ทำให้กรมสรรพากรต้องนำประเด็นนี้มาขอความเห็นจากคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากร ที่มีนายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงการคลังเป็นประธานฯ ซึ่งนายอารีพงศ์ได้มอบหมายให้นางเสาวนีย์ กมลบุตร รองปลัดกระทรวงการคลัง เป็นประธานฯ แทน
และในที่สุด มหากาพย์การต่อสู้ของคนในตระกูลชินวัตรก็ปิดฉากลง เมื่อคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากรได้มีการพิจารณาเรื่องนี้ โดยนางเสาวนีย์ กมลบุตร ในฐานะประธานคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากร กล่าวว่า เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ที่ประชุมคณะกรรมการฯ ได้วินิจฉัยกรณีการจัดเก็บภาษีจากการซื้อ-ขายหุ้นชินคอร์ปฯ โดยนำคำพิพากษาของศาลฎีกาฯ และศาลภาษีอากรมาประกอบการพิจารณา ซึ่งคำพิพากษาของศาลระบุว่า นายพานทองแท้ และ น.ส.พินทองทา ชินวัตร ไม่ใช่เจ้าของหุ้นชินคอร์ปฯ แต่เป็นของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ดังนั้น คณะกรรมการฯ จึงไม่สามารถวินิจฉัยเป็นอย่างอื่นได้ นอกจากจะตัดสินยืนตามคำพิพากษาของศาล
นางเสาวนีย์กล่าวต่อไปอีกว่า ส่วนกรณีที่กรมสรรพากรมาขอความเห็นว่า จะประเมินภาษีกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้หรือไม่ คณะกรรมการฯ มีความเห็นว่า เรื่องการจัดเก็บภาษีหรือการประเมินภาษีนั้น น่าอยู่ในขอบเขตอำนาจหน้าที่ของอธิบดีกรมสรรพากร ซึ่งคณะกรรมการฯ ไม่มีหน้าที่ไปตัดสินว่าจะให้กรมสรรพากรไปเก็บภาษีใคร หรือ ไม่เก็บใคร ประเด็นนี้ อธิบดีกรมสรรพากรจะต้องเป็นผู้วินิจฉัยว่าจะเก็บภาษี พ.ต.ท.ทักษิณหรือไม่
ด้านนายสาธิต รังคสิริ อธิบดีกรมสรรพากร เปิดเผยว่า หลังจากที่คณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากร ได้สรุปผลการวินิจฉัย กรณีการซื้อ-ขายหุ้นชินคอร์ปฯ ว่า เจ้าของหุ้นชินคอร์ปฯ ที่แท้จริง คือ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ส่วนนายพานทองแท้ และ น.ส.พินทองทา ชินวัตร ไม่ใช่เจ้าของหุ้นชินคอร์ปฯ ซึ่งการดำเนินการในลักษณะดังกล่าว เข้าข่ายปกปิดบัญชีทรัพย์สินที่จะต้องแสดงต่อสำนักงาน ป.ป.ช. ซึ่งศาลฎีกาฯ ได้มีคำสั่งให้ยึดทรัพย์สิน พ.ต.ท.ทักษิณ ให้ตกเป็นของแผ่นดินไปหมดแล้ว จากนั้นเมื่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ซึ่งเป็นเจ้าของหุ้นตัวจริงนำหุ้นชินคอร์ปฯ ไปขายให้กับกองทุนเทมาเสกผ่านตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ก็จะได้รับยกเว้นภาษีตามกฏกระทรวงฉบับที่ 126
“เรื่องภาษีหุ้นชินคอร์ปฯ ตอนนี้ถือว่าจบแล้ว ต่อจากนี้ไป กรมสรรพากรจะไม่มีการประเมินภาษีคนในตระกูลชินวิตรอีก เนื่องจากผลการตัดสินของคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากรถือเป็นที่สิ้นสุด ซึ่งคณะกรรมการฯ ก็มีมติเป็นเอกฉันท์ ยืนตามคำพิพากษาของศาลทั้ง 2 ศาล ส่วนเรื่องการประเมินภาษี พ.ต.ท.ทักษิณ คณะกรรมการฯ มอบหมายให้เป็นหน้าที่ของกรมสรรพากรเป็นผู้วินิจฉัย เมื่อสรรพากรพิจารณาแล้วว่าไม่ต้องเสียภาษี ตรงนี้ก็ถือเป็นที่สิ้นสุดด้วยเช่นกัน เพราะกรมสรรพากรทำตามผลการวินิจฉัยของคณะกรรมการฯ” นายสาธิตกล่าว
Posted Image
นายแก้วสรร อติโพธิ(คนกลาง) อดีตคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.)
ด้านนายแก้วสรร อติโพธิ อดีตคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) กล่าวว่า ผมไม่เข้าใจ ทำไมคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากร และอธิบดีสรรพากรไปเอาคำพิพากษาจากศาลมาพิจารณา เพราะศาลทั้ง 2 ศาล ก็ไม่ได้ตัดสินว่า พ.ต.ท.ทักษิณเป็นเจ้าของหุ้นชินคอร์ปฯ ตัวจริง แต่ศาลตัดสินว่า พ.ต.ท.ทักษิณเป็นเจ้าของบริษัทแอมเพิลริชที่ถือหุ้นชินคอร์ปฯ กล่าวคือในปี 2542 พ.ต.ท.ทักษิณได้จัดตั้งบริษัทแอมเพิลริช และมีการโอนหุ้นชินคอร์ปฯ ให้กับบริษัทแอมเพิลริช และก่อนที่ พ.ต.ท.ทักษิณจะเล่นการเมือง ในปี 2543 ได้ขายหุ้นชินคอร์ปฯ ให้กับนายพานทองแท้และนางสาวพินทองทาในราคา 1 บาทต่อหุ้น ต่อมา ทั้งคู่ได้นำหุ้นชินคอร์ปฯ ไปขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ เพื่อที่จะได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามประกาศกระทรวง ฉบับที่ 126 แต่มาถูก คตส. ตรวจสอบพบจึงนำเรื่องนี้ส่งฟ้องศาลฎีกาฯ
“กรมสรรพากรยอมรับหรือไม่ หุ้นชินคอร์ปฯ นั้นเป็นของบริษัทแอมเพิลริช และ พ.ต.ท.ทักษิณคือเจ้าของบริษัทแอมเพิลริช ศาลทั้ง 2 ศาลตัดสินว่า นายพานทองแท้ และ น.ส.พินทองทา ชินวัตร ไม่ใช่เจ้าของหุ้นชินคอร์ปฯ ตัวจริง ดังนั้นเจ้าของหุ้นชินคอร์ปฯ ตัวจริงก็คือบริษัทแอมเพิลริชที่มี พ.ต.ท.ทักษิณเป็นเจ้าของ เมื่อแอมเพิลริชนำหุ้นชินคอร์ปฯ ไปขายในตลาดหลักทรัพย์ ก็จะไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามประกาศกระทรวง ฉบับที่ 126 เพราะถือว่าเป็นการซื้อ-ขายหุ้นระหว่างบริษัทกับบริษัท ดังนั้น กรมสรรพากรจึงมีหน้าที่ที่จะต้องไปไล่เก็บภาษีเงินได้นิติบุคคล 30% หรือเรียกเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดากับทักษิณที่ได้หุ้นจากบริษัทแอมเพิลริชไปในราคาที่ต่ำกว่าราคาตลาด” นายแก้วสรรกล่าว
อนึ่ง คณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากร ตามมาตรา 13 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร จะมีปลัดกระทรวงการคลังเป็นประธานฯ กรรมการประกอบด้วย อธิบดีกรมสรรพากร อธิบดีกรมศุลกากร อธิบดีกรมสรรพสามิต ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา และผู้ทรงคุณวุฒิอีก 3 คน มีอำนาจหน้าที่ดังนี้ 1) กำหนดขอบเขตในการใช้อำนาจของเจ้าพนักงานประเมินและพนักงานเจ้าหน้าที่ 2) กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ ระยะเวลาในการตรวจสอบ และประเมินภาษีอากร 3) วินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับภาษีอากรที่กรมสรรพากรขอความเห็น และ 4) ให้คำปรึกษาหรือเสนอแนะแก่รัฐมนตรีในการจัดเก็บภาษีอากร คำวินิจฉัยของคณะกรรมการฯให้ถือเป็นที่สุด


เหล่ากาสรสีชาด จะอ่านกันมั๊ยเนี่ย

ถ้าอ่านแล้ว จะเข้าใจรึป่าวว้าาาาาาา :lol:

มันยาวไปอ่ะ อ่านไม่ไหว ไม่เข้าใจ

55555 :lol: :lol: :lol:

Edited by ugly-maew, 4 August 2012 - 17:28.

"ขอเกิดเป็นข้าฯใต้ฝ่าพระบาททุกชาติไป"

#4 voodoo

voodoo

    ไม่เป็นกลาง

  • Members
  • PipPipPip
  • 2,202 posts

Posted 4 August 2012 - 17:30

*
POPULAR

ผมติดใจเรื่องแก้กฎหมายให้ต่างชาติถือหุ้นได้ 49% มากกว่า
รัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ มีการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544 เพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นต่างชาติจากเดิมกำหนดไม่เกิน 30% ให้เป็น 49% โดยกฎหมายประกาศใช้และมีผลบังคับใช้วันเสาร์ที่ 21 มกราคม 2549 ต่อมาวันจันทร์ที่ 23 มกราคม 2549 บริษัทชินคอร์ปอเรชั่นฯ ได้ขายหุ้นให้แก่กองทุนเทมาเส็กจากสิงคโปร์
http://thaipublica.o...y-corruption-3/

Edited by voodoo, 4 August 2012 - 17:32.

" สลิ่มที่ไม่กล้่าเปิดตัวต่อสาธารณชนเท่าไรนัก เนื่องจากไม่ได้ทำประกันอัคคีภัย "

#5 โจโฉ นายกตลอดกาล

โจโฉ นายกตลอดกาล

    น้องใหม่

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 5,795 posts

Posted 4 August 2012 - 17:45

*
POPULAR

ผมติดใจเรื่องแก้กฎหมายให้ต่างชาติถือหุ้นได้ 49% มากกว่า
รัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ มีการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544 เพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นต่างชาติจากเดิมกำหนดไม่เกิน 30% ให้เป็น 49% โดยกฎหมายประกาศใช้และมีผลบังคับใช้วันเสาร์ที่ 21 มกราคม 2549 ต่อมาวันจันทร์ที่ 23 มกราคม 2549 บริษัทชินคอร์ปอเรชั่นฯ ได้ขายหุ้นให้แก่กองทุนเทมาเส็กจากสิงคโปร์


มาได้ถูกประเด็นเลยทีเดียว ขอเล่าเป็นเกล็ดในกระทู้นี้แล้วกัน

ถึงเพื่อนต่างวัยที่เคยเกื้อหนุนกันมา แม้กระทั่งหลังน้ำท่วมที่ผมใช้เงินจำนวนมาก

เขายังมีใจคิดถึงและยื่นมือเข้าช่วย เพียงเพราะความหลังที่เคยช่วยเหลือกันยามเขาทุกข์ยาก

เพื่อนผมคนนี้เป็นคู่แข่งตัวฉกาจของนักโทษชายเลยทีเดียว

กิจการประเภทเดียวกัน แต่นักโทษชายเดินตามหลังเพื่อนผมคนนี้ทุกก้าว!!!!!

ครั้งแรกที่ผลิตกระดูกหมา เพื่อนผมคนนี้ก็เจอบริษัทยักษ์ใหญ่มือถือยุคนั้นคือค่าย M.......

ค่าย M...... แอบซุ่มผลิตเจ้ากระดูกหมา เพื่อนผมเห็นเข้าก็ปิ๊งว่ามันสามารถเปลี่ยนวงการ

โทรคมนาคมเมืองไทยได้แน่ จึงดีลทันทีโดยลูกค้ารายใหญ่คือกองทัพและองค์การโทรฯ

นักโทษชายเห็นท่าจะรุ่งเลยจัดแข่งตามมาติดๆ

ครั้งยิงดาวเทียมเพื่อนผมคนนี้อีกนั้นแหละที่คิดริเริ่มคนแรกๆก่อนนักโทษชาย

โดยตั้งฐานยิงดาวเทียมที่อินเดียร่วมกับมหาศาสดาแป๊ะ แต่ไปไม่ถึงฝั่ง

โดนสกัดดาวรุ่งเสียก่อน เจ้าหนี้รุมเร้า นักโทษชายเลยแจ้งเกิดแทน

มาคราขายหุ้นเพื่อนผมคนนี้ก็นำหน้าก่อนหนึ่งก้าว เพราะ "ข่าววงใน"

ที่รู้แน่ๆว่านักโทษชายจะขายหุ้น แต่ต้องลงมือ "แก้กฎหมาย" เสียก่อน

เพื่อนผมตระหนักแล้วว่า ถ้าต่างชาติได้บริษัทนักโทษชายไป

ธุรกิจของเขาเองนี่แหละจะพินาศ เพราะต่างชาติทุนรอนหนาแน่นกว่าเขานั่นเอง

เขาจึงตัดสินใจ "ขายหุ้นทิ้งก่อนนักโทษชาย" เพื่อรักษาทุนรอนของตัวเอง

ไม่ให้พินาศไป หลังจากนั้นนักโทษชายได้ทีก็มาขี้ตู่ว่าบริษัทเพื่อนผมขายให้ต่างชาติเช่นกัน

ทำไมไม่เป็นประเด็นเพราะพวกเดียวกับฝ่ายค้านใช่ไหม ฮาาาาาาา
เชื่อเถอะ อีกไม่ช้า นายเวร จะเสียฉายา "ร้อยล๊อกอิน" ไปในไม่กีอึดใจนี้

#6 greeenday

greeenday

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 579 posts

Posted 4 August 2012 - 17:49

ไม่มีวันลืมแน่นอนครับ ขออนุญาตเพิ่มเติมอีกคดีครับ

กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว เปิดคำพิพากษาศาลฎีกา เมื่อทักษิณ ชินวัตร สั่งจ่ายเช็คเด้ง
คำพิพากษา

ในพระประมาภิไธยพระมหากษัตริย์
ที่ 149/2532 ศาลฎีกา
วันที่ 20 มกราคม 2532
ความ แพ่งระหว่าง นางชม้อย เชื้อประเสริฐ โจทก์ นายสันต์ สมิตเวช จำเลยที่ 1 พันตำรวจตรีทักษิณ ชินวัตร จำเลยที่ 2
เรื่อง ตั๋วเงิน
จำเลยที่ 2 ฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ลงวันที่ 10 พฤศจิกายน 2529

โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งเช็คธนาคารเอเชีย จำกัด สาขาเชียงใหม่ เลขที่ลงวันที่ 29 กันยายน 2525 จำนวนเงิน 1,300,000 บาท (หนึ่งล้านสามแสนบาทถ้วน) เป็นเช็คออกให้แก่ผู้ถือจำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อเป็นผู้สั่งจ่าย มอบให้โจทก์เพื่อชำระหนี้ จำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อเป็นผู้สลักหลังเพื่อรับรองเป็นประกัน สำหรับจำเลยที่ 1 เมื่อถึงกำหนดวันที่ลงเช็ค โจทก์นำเช็คดังกล่าวไปเข้าบัญชีของโจทก์ที่ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด สาขาสยามสแควร์ กรุงเทพมหานคร เพื่อให้เรียกเก็บเงินจากธนาคารตามเช็ค ปรากฏว่า ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2525 โดยให้เหตุผลในใบคืนเช็คว่า “โปรดติดต่อผู้สั่งจ่าย” โจทก์บอกกล่าวให้จำเลยทั้งสองชำระเงินตามเช็คหลายครั้ง แต่จำเลยทั้งสองเพิกเฉยเสีย โจทก์ขอคิดดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีในต้นเงิน 1,300,000 บาท นับแต่วันที่ 5 ตุลาคม 2525 จนถึงวันฟ้อง เป็นเวลา 1 ปี รวมเป็นดอกเบี้ย 97,500 บาท ขอให้พิพากษาให้จำเลยทั้งสองชำระเงิน 1,300,000 บาท พร้อมด้วยดอกเบี้ยอีก 97,500 บาท และดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีในต้นเงิน 1,300,000 บาท นับแต่วันฟ้องจนกว่าชำระเงินเสร็จแก่โจทก์

จำเลยที่ 1 ให้การว่า จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์ไม่ถึงจำนวนเงินตามเช็คตามฟ้อง โดยเป็นหนี้เพียง 750,000 บาท จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ไปแล้วบางส่วน โจทก์คิดดอกเบี้ยร้อยละห้าถึงเจ็ดต่อเดือน และนำดอกเบี้ยที่ค้างชำระมาทบรวมเป็นเงินต้นเป็นการไม่ชอบ จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดใช้เงินตามฟ้องทั้งหมด ขอให้ยกฟ้อง

จำเลยที่ 2 ให้การว่า โจทก์มิใช่ผู้ทรงเช็คตามฟ้องโดยชอบด้วยกฎหมายและได้เช็คมาโดยไม่สุจริต ลายมือชื่อด้านหลังเช็คที่โจทก์อ้างว่าเป็นลายมือชื่อผู้ค้ำประกันการจ่ายเงินตามเช็ค มิใช่ลายมือชื่อของจำเลยที่ 2 คำฟ้องของโจทก์เคลือบคลุมเพราะมิได้บรรยายให้ชัดเจนว่า โจทก์ได้เช็คพิพาทมาจากจำเลยที่ 1 เพื่อชำระหนี้ชนิดใด ทำให้จำเลยที่ 2 ไม่ทราบว่าจะให้การต่อสู้อย่างไรและเกี่ยวข้องกับเช็คตามฟ้องในทางใด ขอให้ยกฟ้อง

ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้ววินิจฉัยว่า คำฟ้องของโจทก์ไม่เคลือบคลุม จำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อเป็นผู้สั่งจ่ายเช็คตามฟ้อง จำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อเป็นผู้สลักหลัง พิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้เงิน 1,300,000 บาท พร้อมด้วยดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อไป นับแต่วันที่ 5 ตุลาคม 2525 จนกว่าชำระเงินเสร็จแก่โจทก์ ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าธรรมเนียมโดยกำหนดค่าทนายความ 5,000 บาท แทนโจทก์

จำเลยที่ 2 อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิจารณาแล้ว พิพากษายืน ให้จำเลยที่ 2 ใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์ 2,000 บาท แทนโจทก์

จำเลยที่ 2 ฎีกา
ศาลฎีกาตรวจสำนวนประชุมปรึกษาแล้ว ทางพิจารณาโจทก์ก็นำสืบว่า เมื่อเดือนกันยายน 2523 จำเลยที่ 2 ได้ซื้อโรงภาพยนตร์พร้อมที่ดินจากนายธรรมนนท์ สมิตเวช บิดาจำเลยที่ 1 ในราคา 8,500,000 บาท แต่ระบุในสัญญาไม่ถึง 8,500,000 บาท โดยจำเลยที่ 2 ให้นางพจมาน ชินวัตร ภริยาลงลายมือชื่อเป็นผู้ซื้อ จำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อเป็นผู้ให้ความยินยอม ปรากฏตามสำเนาภาพถ่ายหนังสือสัญญาขายที่ดิน ลงวันที่ 28 กันยายน 2523 เอกสารหมาย จ.3 ได้ชำระราคาเป็นเงินสดบางส่วน ที่เหลือชำระเป็นเช็คหลายฉบับ โดยจำเลยที่ 2 เป็นผู้สั่งจ่าย ต่อมาจำเลยที่ 1 นำเช็คที่จำเลยที่ 2 ออกให้เพื่อชำระค่าโรงภาพยนตร์และที่ดินมาชำระหนี้โจทก์ 3 ฉบับคือ เช็คธนาคารกสิกรไทย สาขาสะพานกรุงธน ลงวันออกเช็ควันที่ 29 กันยายน 2524 จำนวนเงิน 1,800,000 บาท และเช็คธนาคารเดียวกัน ลงวันออกเช็ควันที่ 29 กันยายน 2525 จำนวนเงิน 1,300,000 บาท ปรากฏตามสำเนาภาพถ่ายเช็คเอกสารหมาย จ.4 และ จ.5 ส่วนเช็คอีกฉบับหนึ่ง ลงวันออกเช็ควันที่ 29 กันยายน 2526 จำนวนเงิน 1,800,000 บาท ไม่ได้ถ่ายสำเนาไว้ เมื่อเช็คตามสำเนาภาพถ่ายเอกสารหมายเลข จ.4 ถึงวันออกเช็ค โจทก์ได้เรียกเก็บเงิน แต่ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินโดยให้เหตุผลว่า บัญชีปิดแล้ว ปรากฏตามสำเนาภาพถ่ายใบคืนเช็คเอกสารหมาย จ.4

โจทก์จึงติดต่อให้จำเลยที่ 2 มาชำระเงินตามเช็คดังกล่าว จำเลยที่ 2 นัดให้โจทก์ไปพบที่ห้องทำงานของจำเลยที่ 2 ที่กรมตำรวจในวันที่ 16 เมษายน 2525 ครั้นถึงวันนัดโจทก์ นายนภศูล สวัสติเวทิน ทนายโจทก์ และจำเลยที่ 1 ไปพบจำเลยที่ 2 ที่ห้องทำงานของจำเลยที่ 2 ได้มีการเจรจากัน ในที่สุด จำเลยที่ 2 บอกว่า จะออกเช็คให้ใหม่และขอเช็คเก่าคืน แต่ในขณะนั้นจำเลยที่ 2 ยังไม่ได้เปิดบัญชีใหม่ ขอให้จำเลยที่ 1 ออกเช็คไปก่อน โดยจำเลยที่ 2 สลักหลังเป็นประกันให้ โจทก์ยอมตกลงในวันนั้น จำเลยที่ 1 ได้ออกเช็คให้โจทก์ 3 ฉบับ โดยจำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อสลักหลังต่อหน้าโจทก์และนายนภศูล คือ เช็คธนาคารเอเชีย จำกัด สาขาเชียงใหม่ ลงวันออกเช็ควันที่ 29 กันยายน 2525 จำนวนเงิน 1,300,000 บาท ปรากฏตามสำเนาภาพถ่ายเอกสารหมาย จ.6 ซึ่งเป็นเช็คที่โจทก์นำมาฟ้องในคดีนี้ เช็คธนาคารเอเชียทรัสต์ จำกัด สาขาเชียงใหม่ ลงวันออกเช็ควันที่ 1 ตุลาคม 2526 จำนวนเงิน 1,800,000 บาท และเช็คธนาคารเอเชียทรัสต์ จำกัด สาขาเชียงใหม่ ลงวันออกเช็ควันที่ 1 ตุลาคม 2527 จำนวนเงิน 1,800,000 บาท ปรากฏตามสำเนาภาพถ่ายเอกสารหมาย จ.7 และ จ.8 ตามลำดับ (โจทก์ขออนุญาตส่งสำเนาภาพถ่ายแทน เพราะต้นฉบับจะนำไปดำเนินคดีที่ศาลจังหวัดเชียงใหม่)

ครั้นเช็คตามฟ้องถึงวันออกเช็คแล้ว โจทก์เรียกเก็บเงิน ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2525 โจทก์ทวงถามให้จำเลยทั้งสองชำระเงินตามเช็คตามฟ้องแล้ว จำเลยทั้งสองเพิกเฉยเสียจำเลยที่ 1 ขาดนัดพิจารณาจำเลยที่ 2 นำสืบว่า จำเลยที่ 2 รู้จักโจทก์ แต่ไม่เคยมีหนี้สินผูกพันกับโจทก์ และไม่เคยออกเช็คตามฟ้องให้โจทก์ เมื่อพุทธศักราช 2523 จำเลยที่ 2 ซื้อโรงภาพยนตร์และที่ดินจากบิดาจำเลยที่ 1 ในราคาบาท ได้ชำระราคาเป็นเช็คธนาคารกสิกรไทย สาขาสะพานกรุงธน รวม 5 ฉบับ จำนวนเงิน 1,300,000 บาท 1 ฉบับ, จำนวนเงิน 1,800,000 บาท 4 ฉบับ ลงวันออกเช็คห่างกันฉบับละ 1 ปี จำเลยที่ 2 ตกลงกับจำเลยที่ 1 ว่าไม่ให้นำเช็คไปเรียกเก็บเงินจากธนาคาร ได้มีการนำเช็คมาแลกเงินสดไปจากจำเลยที่ 2 แล้วทุกฉบับ วันที่ 26 เมษายน 2525 จำเลยที่ 2 ลาป่วยไม่ไปทำงาน

พิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติในเบื้องต้นว่า จำเลยที่ 1 ออกเช็คตามฟ้องแล้วมอบให้โจทก์ เมื่อถึงวันออกเช็คแล้ว โจทก์นำเช็คตามฟ้องไปเรียกเก็บเงิน ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2525 ที่จำเลยที่ 2 ฎีกาว่า คำฟ้องของโจทก์เคลือบคลุม เพราะมิได้บรรยายถึงมูลหนี้
ตามเช็คจึงขาดสาระสำคัญไปนั้น เห็นว่า เช็คตามฟ้องเป็นเช็คออกให้ใช้เงินแก่ผู้ถือ และตามกฎหมายถือว่าผู้ถือเป็นผู้ทรงและบุคคลผู้ลงลายมือชื่อในเช็คย่อมต้องรับผิดตามเนื้อความในเช็ค โจทก์ได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อเป็นผู้สั่งจ่าย จำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อเป็นผู้สลักหลัง เมื่อถึงวันออกเช็คแล้ว โจทก์นำเช็คตามฟ้องเรียกเก็บเงิน แต่ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน ขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันรับผิดใช้เงินตามเช็คให้โจทก์ แม้มิได้บรรยายถึงมูลหนี้ก็ถือได้ว่า คำฟ้องของโจทก์ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้ว จึงไม่เคลือบคลุมดังที่จำเลยที่ 2 ฎีกา ฎีกาข้อนี้ฟังไม่ขึ้น

ที่จำเลยที่ 2 ฎีกาว่า จำเลยที่ 2 มิได้ลงลายมือชื่อเป็นผู้สลักหลังเช็คตามฟ้อง และโจทก์เบิกความเท็จไม่น่าเชื่อถือ จะเห็นได้จากการที่โจทก์เบิกความในคดีนี้ว่า จำเลยที่ 1 สั่งจ่ายเช็คและจำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อเป็นผู้สลักหลังเช็คตามฟ้องและเช็คอื่นอีก 2 ฉบับ ที่ที่ทำงานของจำเลยที่ 2 ที่กรมตำรวจ เมื่อวันที่ 16 เมษายน 2525 แต่ในคดีอาญาหมายเลขดำที่ 52/2527 ของศาลจังหวัดเชียงใหม่ที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นจำเลย ในข้อหากระทำความผิดต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค โจทก์ฟ้องและเบิกความว่า จำเลย (จำเลยที่ 1 ในคดีนี้) สั่งจ่ายเช็คตามสำเนาภาพถ่ายเอกสารหมาย จ.7 ในคดีนี้ (ซึ่งโจทก์นำสืบในคดีนี้ว่า ออกพร้อมกับเช็คตามฟ้องคดีนี้) เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2525 และในคดีอาญาหมายเลขดำที่ 24358/2527 ของศาลอาญาที่จำเลยที่ 2 ฟ้องโจทก์เป็นจำเลยในข้อหาเบิกความเท็จ นายนภศูล ทนายโจทก์ก็ได้เบิกความว่า โจทก์กับนายนภศูล ไปพบจำเลยที่ 2 ที่ที่ทำงานของจำเลยที่ 2 เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2525 จำเลยที่ 2 มิได้ไปทำงานเพราะลาป่วย มีใบลาเป็นหลักฐาน คดีจึงฟังไม่ได้ว่า จำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อเป็นผู้สลักหลังเช็คตามฟ้อง และจำเลยที่ 2 ไม่เคยสั่งจ่ายเช็คให้จำเลยที่ 1 เพราะผู้ซื้อโรงภาพยนตร์และที่ดินคือนางพจมาน ภริยาจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 ไม่ได้เกี่ยวข้องด้วยนั้น โจทก์มีตัวโจทก์และนายนภศูลทนายโจทก์คนเดิมมาเบิกความว่า จำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อเป็นผู้สั่งจ่าย และจำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อเป็นผู้สลักหลังเช็คตามฟ้อง และเช็คตามสำเนาภาพถ่ายหมาย จ.7 และ จ.8 ที่ที่ทำงานของจำเลยที่ 2 เมื่อวันที่ 16 เมษายน 2525 ปรากฏรายละเอียดตามที่ศาลฎีกายกขึ้นกล่าวในข้อนำสืบของโจทก์

ปรากฏว่า จำเลยที่ 2 อ้างใบลาหยุดราชการในวันที่ 26 เมษายน 2525 เป็นพยาน เพื่อแสดงให้ ศาลเห็นว่า โจทก์เบิกความเท็จ พยานหลักฐานของโจทก์ไม่น่าเชื่อถือและเชื่อไม่ได้ว่า จำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อเป็นผู้สลักหลังเช็คตามฟ้อง จำเลยที่ 2 อ้างอิงข้อเท็จจริงในฎีกาว่า เมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยที่
1 ในคดีอาญาหมายเลขดำที่ 52/2527 ของศาลจังหวัดเชียงใหม่ โจทก์บรรยายฟ้องและเบิกความว่าจำเลยที่ 1 ออกเช็คเมื่อวันที่ 26 เมษายน 2525 ตามสำเนาภาพถ่ายคำฟ้องและคำให้การพยานโจทก์ ท้ายฎีกา เอกสารหมายเลข 1 และหมายเลข 2 และนายนภศูล ทนายโจทก์คนเดิมเบิกความเป็นพยานโจทก์ (จำเลยที่ 2 ในคดีนี้) ในคดีอาญา หมายเลขดำที่ 24358/2527 ของศาลอาญาว่า โจทก์และนายนภศูลไปพบจำเลยที่ 2 ที่ห้องทำงานของจำเลยที่ 2 ที่กรมตำรวจเมื่อวันที่ 26 เมษายน 2525 มิใช่วันที่ 16 เมษายน 2525 ตามสำเนาภาพถ่ายคำให้การพยานเอกสารท้ายฎีกาหมายเลข 3 พิจารณาแล้วเห็นว่า เดิมนายนภศูลเป็นทนายโจทก์ในคดีนี้ และเป็นผู้ลงลายมือชื่อเป็นโจทก์และเรียงฟ้องในคดีอาญา หมายเลขดำที่ 52/2527 ของศาลจังหวัดเชียงใหม่ ปรากฏว่า ในคดีนี้ เมื่อจำเลยที่ 2 ยื่นฎีกาแล้ว นายนภศูลในฐานะทนายโจทก์ยื่นคำร้อง ลงวันที่ 6 สิงหาคม 2530 ขอถอนฟ้อง
โดยอ้างว่า โจทก์และจำเลยที่ 2 ตกลงกันแล้ว จำเลยที่ 2 รับสำเนาคำร้องแล้วไม่คัดค้าน ศาลชั้นต้นสั่งนัดพร้อมเพื่อสอบถามเรื่องโจทก์ขอถอนฟ้อง ถึงวันนัด โจทก์และทนายคนใหม่มาศาลแถลงว่า โจทก์ไม่เคยตกลงหรือยินยอมให้นายนภศูลถอนฟ้อง ดังที่นายนภศูลยื่นคำร้องไว้ และยืนยันขอดำเนินคดีในขั้นฎีกาต่อไป

ศาลฎีกาพิเคราะห์พฤติการณ์ต่าง ๆ เหล่านี้แล้ว เห็นว่า คำฟ้องในคดีอาญา หมายเลขดำที่ 52/2527 ของศาลจังหวัดเชียงใหม่ และคำเบิกความของนายนภศูลในคดีอาญา หมายเลขดำที่ 24358/2527 ของศาลอาญา หาทำให้พยานหลักฐานของโจทก์ไม่น่าเชื่อถือและฟังไม่ได้ดังที่จำเลยที่ 2 ฎีกาหรือไม่ ที่โจทก์เบิกความในคดีดังกล่าวว่า จำเลยที่ 1 ออกเช็คเมื่อวันที่ 26 เมษายน 2525อาจเกิดจากความหลงถือหรือต้องเบิกความไปตามคำฟ้องก็ได้ อย่างไรก็ตามจำเลยที่ 1 จะลงลายมือชื่อเป็นผู้สั่งจ่ายและจำเลยที่ 2 จะลงลายมือชื่อเป็นผู้สลักหลังในเช็คตามฟ้องในวันที่ 16 หรือวันที่ 26 เมษายน 2525 ก็หาใช่สาระสำคัญไม่ ในปัญหาว่า จำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อเป็นผู้สลักหลังหรือไม่นั้น จำเลยที่ 2 ก็มิได้นำสืบปฏิเสธว่า ลายมือชื่อผู้สลักหลังในเช็คตามฟ้องมิใช่ลายมือชื่อของตน ในเรื่องของมูลหนี้นั้น จำเลยที่ 2 ก็ได้นำสืบว่า เมื่อพุทธศักราช 2523 จำเลยที่ 2 ซื้อโรงภาพยนตร์และที่ดินจากบิดาจำเลยที่ 1 ในราคา 8,500,000 บาท ชำระราคาเป็นเช็คธนาคารกสิกรไทย สาขาสะพานกรุงธน 5 ฉบับ จำนวนเงิน 1,300,000 บาท 1 ฉบับ จำนวน 1,800,000 บาท 4 ฉบับ เป็นเช็คส่วนตัวของจำเลยที่ 2 ข้อนำสืบดังกล่าว....กับพยานหลักฐานของโจทก์ แต่ที่จำเลยที่ 2 นำสืบว่า จำเลยที่ 1 นำเช็คดังกล่าวมาแลกเงินสดไปจากจำเลยที่ 2 ทุกฉบับแล้วนั้น ข้อนำสืบข้อนี้มีแต่คำเบิกความของจำเลยที่ 2 ลอยๆ เท่านั้น ไม่มีพยานหลักฐานอื่นมาสนับสนุน ด้วยเหตุผลดังกล่าว ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่า จำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อสลักหลังเช็คตามฟ้อง และเหตุที่จำเลยที่ 1 จะออกเช็คตามฟ้อง และจำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อเป็นผู้สลักหลังก็เกิดจากมูลหนี้ดังที่โจทก์นำสืบ จำเลยทั้งสองจึงต้องรับผิดใช้เงินตามเช็คตามฟ้องให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรง ฎีกาข้อนี้ฟังไม่ขึ้นเช่นกัน จำเลยที่ 2 ฎีกาขอให้ศาลฎีกาตั้งผู้เชี่ยวชาญตรวจพิสูจน์ลายมือชื่อผู้สลักหลังในเช็คตามฟ้องนั้น ศาลฎีกาได้มีคำสั่งในเรื่องนี้ไว้แล้ว จึงไม่สั่งซ้ำอีก

พิพากษายืนให้จำเลยที่ 2 ใช้ค่าทนายความชั้นฎีกา 3,000 บาทแทนโจทก์

องค์คณะผู้พิพากษาศาลฎีกา
นายบุญส่ง คล้ายแก้ว
นายประมาณ ชันซื่อ
นายนิเวศน์ คำผอง

มันเริ่มโกงเป็นสันดรตั้งแต่ยังไม่เล่นการเมืองเลย :angry:

ในบ้านเมืองนั้น มีทั้งคนดี และคนไม่ดี ไม่มีใครที่จะทำให้ทุกคนเป็นคนดีได้ทั้งหมด การทำให้บ้านเมืองมีความปกติสุขเรียบร้อยจึงมิใช่การทำให้ทุกคนเป็นคนดี หากแต่อยู่ที่การส่งเสริมคนดี ให้คนดีปกครองบ้านเมือง และควบคุมคนไม่ดี ไม่ให้มีอำนาจไม่ให้ก่อความเดือดร้อนวุ่นวายได้

พระบรมราโชวาท 11 ธันวาคม 2512


#7 greeenday

greeenday

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 579 posts

Posted 4 August 2012 - 18:03

กรณีนายวิลเลียม ไลล์ มอนซัน นักธุรกิจชาวสหรัฐอเมริกา
กรณีนายวิลเลียม ไลล์ มอนซัน นักธุรกิจชาวสหรัฐอเมริกา ซึ่งเคยร่วมทำธุรกิจเคเบิ้ลทีวีกับพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ในบริษัท อินเตอร์เนชั่นแนล บรอดคาสติ้ง คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ “ไอบีซี” เมื่อปี 2530 โดยข้อตกลงเดิม นายวิลเลียมจะเป็นคนสั่งซื้อและนำเข้าอุปกรณ์ต่างๆ ขณะที่ฝ่ายพ.ต.ท.ทักษิณจะทำหน้าที่ประสานและขอสัมปทานตามกฎหมายไทย แต่ต่อมาเมื่อธุรกิจสะดุด เพราะรัฐบาลขณะนั้น ยังไม่มีกฎหมายประกอบการทำธุรกิจเคเบิ้ลทีวี กระทั่งพ.ต.ท.ทักษิณตกลงที่จะขายอุปกรณ์ทั้งหมดของบริษัท วีดีโอลิงค์ให้

ต่อมาพ.ต.ท.ทักษิณได้มาขอทำธุรกิจดังกล่าวด้วยตัวเอง และให้นายวิลเลียมเป็นเพียงผู้ส่งอุปกรณ์ให้ โดยเปลี่ยนสถานะจาก “พาร์ตเนอร์” (ผู้ร่วมลงทุน) มาเป็น “ลูกจ้าง” เมื่อนายวิลเลียมไม่ตกลง พ.ต.ท.ทักษิณจึงไปแจ้งความให้เจ้าหน้าที่ตำรวจดำเนินคดีและบุกยึดอุปกรณ์ต่างๆ พร้อมทั้งมีการฟ้องร้องต่อศาลอาญาด้วย ซึ่งต่อมาศาลอุทธรณ์ให้ยืนตามศาลชั้นต้นให้ยกฟ้องไปแล้ว

ในเรื่องนี้น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และอดีตผู้อำนวยการนสพ.แนวหน้า ให้ความเห็นว่า คดีไอบีซีระหว่างนายวิลเลียมกับพ.ต.ท.ทักษิณนั้น เห็นได้ชัดว่า มีกระบวนการใช้อำนาจรัฐกลั่นแกล้ง เพราะหลังจากที่ทั้งสองฝ่ายมีคดีความฟ้องร้องกัน ปรากฏว่า นายวิลเลียมถูกแบล็คลิสต์ห้ามเข้าประเทศไทย โดยกล่าวหาว่า เป็นบุคคลไม่พึงปรารถนา ทั้งที่เรื่องราวดังกล่าวนั้น เห็นได้ชัดว่า มีการเอารัดเอาเปรียบนายวิลเลียม กล่าวคือ นายวิลเลียมเป็นผู้ประกอบธุรกิจโทรคมนาคมอยู่ก่อนแล้วในสหรัฐฯ และมีความต้องการจะเข้ามาลงทุนในเมืองไทย เพื่อทำเคเบิ้ลทีวี เมื่อมาเจอกับสองสามีภรรยาคู่นี้ (พ.ต.ท.ทักษิณ-คุณหญิงพจมาน ชินวัตร) ก็มาร่วมลงทุนกันทำ “ไอบีซี”

“โดยนายวิลเลียมนี้เป็นผู้ลงทุนสั่งซื้ออุปกรณ์ต่างๆ เข้ามาด้วยทุนตัวเองทั้งหมด โดยเข้ามาสมัยนั้น พล.อ.เปรม (ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ) ยังเป็นนายกรัฐมนตรีอยู่ แต่อยู่ในยุคปลายๆ ซึ่งผมเป็นเลขาธิการนายกรัฐมนตรีอยู่ และช่วงนั้นป๋าเปรมไม่อนุมัติ เพราะไม่มีนโยบายต่อเรื่องนี้ กระทั่งเปลี่ยนมาเป็นยุคสมัยพล.อ.ชาติชาย (ชุณหะวัณ) เป็นนายกรัฐมนตรี ถึงสำเร็จ มีการอนุมัติโครงการนี้ให้ ในยุคที่ร.ต.อ.เฉลิม (อยู่บำรุง) เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ผู้กำกับดูแลงานอสมท. (องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย) และเมื่อมีการนำอุปกรณ์ต่างๆ นี้เข้ามาแล้ว ก็ต้องไปเก็บไว้ที่อสมท. แต่เมื่อสองฝ่ายเกิดขัดแย้งกัน พ.ต.ท.ทักษิณก็ต้องการทั้งหมดเป็นของตัวเอง จึงไปแจ้งความไว้ที่สน.ทองหล่อ”น.ต.ประสงค์กล่าว

น.ต.ประสงค์ กล่าวต่อว่า เวลานั้นมีการฟ้องร้องกันทั้งคดีแพ่งและคดีอาญา แต่ศาลแพ่งนั้น ก็ได้ให้ความยุติธรรม เพราะรู้ดีว่า อุปกรณ์ต่างๆ นั้นเป็นของนายวิลเลียมจริง เพราะเป็นผู้ลงทุนและนำเข้ามา ดังนั้นข้อกล่าวหาที่ระบุว่า นายวิลเลียมยักยอกทรัพย์จึงตกไป ศาลไม่รับฟ้อง กระทั่งมีการอุทธรณ์และฎีกา แต่ศาลก็ยืนตามศาลชั้นต้นตลอด

อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวต่อว่า ช่วงเวลานั้น นายวิลเลียมก็มีฟ้องกลับพ.ต.ท.ทักษิณและคุณหญิงพจมาน กับพวก ในข้อหาแจ้งความเท็จ แต่ศาลก็ให้รอคำตัดสินของศาลแพ่งก่อน แต่ที่ไม่ถูกต้องคือ มีการห้ามไม่ให้นายวิลเลียมเข้ามาเมืองไทย ดังนั้นในช่วงนี้เมื่อนายวิลเลียมชนะในคดีแพ่ง จึงมีสิทธิเข้ามาดำเนินการฟ้องร้องกลับพ.ต.ท.ทักษิณกับพวกในข้อหาแจ้งความเท็จที่ค้างอยู่ได้ โดยตนทราบว่า มีอดีตส.ว. (นายไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ) ได้ให้ความช่วยเหลือในด้านคดีความที่นายวิลเลียมถูกกลั่นแกล้งแล้ว

“ที่ผ่านมา การกระทำของพ.ต.ท.ทักษิณมักจะเอาเปรียบผู้อื่นเสมอ จะเห็นได้ว่า ธุรกิจส่วนใหญ่ที่ดำเนินการ มักเป็นเรื่องเกี่ยวกับสัมปทานผูกขาดแต่เพียงผู้เดียว และจะเห็นได้ว่า ในธุรกิจมือถือนั้น ก็มีความพยายามที่จะขอสัมปทานตั้งแต่สมัยที่อาตัวเอง (นายสุรพันธ์ ชินวัตร) เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม และดูแลเรื่องนี้อยู่ ก็มีความพยายามมาตั้งแต่เวลานั้นแล้ว”น.ต.ประสงค์กล่าวและว่า สิ่งนี้สะท้อนให้เห็นตัวตนคนชื่อ พ.ต.ท.ทักษิณได้ดี เพราะขนาดลายเซ็นตัวเองที่เซ็นสลักหลังไป ยังไม่ยอมรับว่าเป็นของตัวเอง เมื่อมีการฟ้องร้องต่อศาล และศาลตัดสินว่า เป็นลายเซ็นของพ.ต.ท.ทักษิณจริง ก็ยังไม่ยอมรับ มีการยื่นขออุทธรณ์และฎีกา แต่สุดท้ายก็แพ้เหมือนเดิม คล้ายกรณีของไอบีซี เพราะศาลฎีกายืนตามคำตัดสินของศาลชั้นต้นเหมือนเดิม ทำให้พ.ต.ท.ทักษิณต้องชดใช้เงินดังกล่าว อันแสดงให้เห็นว่า พ.ต.ท.ทักษิณมีจิตใจที่โกหกได้แม้กระทั่งตัวเอง
http://playai.blogspot.com/2006/05/2.html

แต่เนื่องจากคดีหมดอายุความจึงเอาผิดมันไม่ได้
ศาลอาญารัชดา มีคำสั่งยกคำร้องในคดีที่ นายวิลเลี่ยมไลล์ มอนซัน ผู้บริหาร บริษัท ซี ทีวีซี ออฟ ฮาวาย จำกัด เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ เป็นจำเลยในความผิด ฐานเบิกความเท็จ ให้การเท็จจากกรณี เมื่อวันที่ 12 พ.ย.2539 และวันที่ 13 ม.ค.2540 พ.ต.ท.ทักษิณ ขึ้นเบิกความต่อศาลอาญากรุงเทพใต้ว่า นายวิลเลียม ผิดสัญญาซื้อขายขอยืม กรณีไม่ส่งคืนอุปกรณ์สื่อสาร ที่นำเข้าจากประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งคำเบิกความดังกล่าว ไม่เป็นความจริง
โดยศาลวิเคราะห์แล้วเห็นว่า คดีนี้ มีอายุความ 10 ปี แต่โจทก์ยื่นฟ้องวันสุดท้ายที่จำเลยขึ้นเบิกความ คือ วันที่ 12 ม.ค.2550 ศาล จึงไม่สามารถพิจารณาคดีได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 95 ซึ่งทนายโจทก์ เตรียมยื่น อุทธรณ์ขอให้ศาลส่งคำสั่งให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความในข้อกฎหมายว่า การขาดอายุความของคดี ในมาตรา 95 ขัดต่อกฎหมายรัฐธรรมนูญมาตรา 29 และ 39หรือไม่
http://www.dailyworldtoday.com/hotnews.php?hotnews_id=6231

แต่ล่าสุดมีการรื้อฟื้นคดีขึ้นมาใหม่ เป็นอย่างไรต่อไปโปรดติดตามกันต่อเองครับ :lol: :lol: :lol:
http://tnews.teenee.com/crime/2730.html

ขออภัยเจ้าของกระทู้เป็นอย่างสูงครับ เห็นคดีเกี่ยวกับไอ้ขี้โกงนี่แล้วทนไม่ได้ :angry: :angry: :angry:

ในบ้านเมืองนั้น มีทั้งคนดี และคนไม่ดี ไม่มีใครที่จะทำให้ทุกคนเป็นคนดีได้ทั้งหมด การทำให้บ้านเมืองมีความปกติสุขเรียบร้อยจึงมิใช่การทำให้ทุกคนเป็นคนดี หากแต่อยู่ที่การส่งเสริมคนดี ให้คนดีปกครองบ้านเมือง และควบคุมคนไม่ดี ไม่ให้มีอำนาจไม่ให้ก่อความเดือดร้อนวุ่นวายได้

พระบรมราโชวาท 11 ธันวาคม 2512


#8 โจโฉ นายกตลอดกาล

โจโฉ นายกตลอดกาล

    น้องใหม่

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 5,795 posts

Posted 4 August 2012 - 20:07

แก้กฎหมายขายบริษัทที่พ่วงด้วยสิ่งที่เรียกว่าสมบัติชาติ

มันน่ากลัวกว่ายุคไหนๆอีกนะครับ :angry:
เชื่อเถอะ อีกไม่ช้า นายเวร จะเสียฉายา "ร้อยล๊อกอิน" ไปในไม่กีอึดใจนี้

#9 dtonNA

dtonNA

    ไปๆมาๆ

  • Members
  • PipPipPip
  • 2,135 posts

Posted 4 August 2012 - 20:21

เห็นไอ้กิ้งก่ามันแอบมา แต่ไม่รู้มันจะอ่านหรือปล่าว สมองน้อย
เราต้องการคนดีมาเป็นผู้ปกครองบ้านเมืองเท่านั้น

#10 ..มือดีจากพระนคร..

..มือดีจากพระนคร..

    ขาประจำ

  • Banned
  • PipPipPip
  • 400 posts

Posted 4 August 2012 - 20:26

"คนขายก๋วยเตี๋ยวยังเสียภาษีแบบนับชามก๋วยเตี๋ยวเลย แล้วนายกฯเป็นใครทำไมไม่เสียภาษี"


พากันไปเอาความรู้ มาจากฟอร์เวิร์ดเมล์ ที่แป๊ะลิ้มส่งให้มาอ่านกันหรือไง ถึงได้แปะได้แปะดีจัง

กฏหมายเขียนไว้ ไม่ต้องเสียภาษี นักลงทุนซื้อขายกัน ในตลาดหุ้นก็ไม่มีใครเสีย

คนขายก๋วยเตี๋ยวเสียภาษี แต่คนขายก๋วยเตี๋ยว ไปขายในตลาดหุ้นไม่เสียภาษี

......ไม่มีภาษีจากการขายหุ้นในตลาดหุ้น.......

Edited by กิ้งก่าเปลี่ยนสี, 4 August 2012 - 20:30.


#11 โจโฉ นายกตลอดกาล

โจโฉ นายกตลอดกาล

    น้องใหม่

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 5,795 posts

Posted 4 August 2012 - 21:23

"คนขายก๋วยเตี๋ยวยังเสียภาษีแบบนับชามก๋วยเตี๋ยวเลย แล้วนายกฯเป็นใครทำไมไม่เสียภาษี"


พากันไปเอาความรู้ มาจากฟอร์เวิร์ดเมล์ ที่แป๊ะลิ้มส่งให้มาอ่านกันหรือไง ถึงได้แปะได้แปะดีจัง

กฏหมายเขียนไว้ ไม่ต้องเสียภาษี นักลงทุนซื้อขายกัน ในตลาดหุ้นก็ไม่มีใครเสีย

คนขายก๋วยเตี๋ยวเสียภาษี แต่คนขายก๋วยเตี๋ยว ไปขายในตลาดหุ้นไม่เสียภาษี

......ไม่มีภาษีจากการขายหุ้นในตลาดหุ้น.......


เชื่อแล้ว ว่าคนเสื้อแดงอ่านหนังสือไม่เกินสามบรรทัดจริงๆ

ไม่ต้องพูดอะไรมาก เห็นได้จากคำตอบนี้
เชื่อเถอะ อีกไม่ช้า นายเวร จะเสียฉายา "ร้อยล๊อกอิน" ไปในไม่กีอึดใจนี้

#12 Kraken

Kraken

    น้องเก่า

  • Members
  • PipPip
  • 171 posts

Posted 4 August 2012 - 21:31

"คนขายก๋วยเตี๋ยวยังเสียภาษีแบบนับชามก๋วยเตี๋ยวเลย แล้วนายกฯเป็นใครทำไมไม่เสียภาษี"


พากันไปเอาความรู้ มาจากฟอร์เวิร์ดเมล์ ที่แป๊ะลิ้มส่งให้มาอ่านกันหรือไง ถึงได้แปะได้แปะดีจัง

กฏหมายเขียนไว้ ไม่ต้องเสียภาษี นักลงทุนซื้อขายกัน ในตลาดหุ้นก็ไม่มีใครเสีย

คนขายก๋วยเตี๋ยวเสียภาษี แต่คนขายก๋วยเตี๋ยว ไปขายในตลาดหุ้นไม่เสียภาษี

......ไม่มีภาษีจากการขายหุ้นในตลาดหุ้น.......


ทำไมถึงไปวิเคราะห์ประเด็นของแป๊ะลิ้ม ทำไมไม่ลองวิเคราะห์ในรายละเอียด วิธีการ พฤติกรรม และจริยธรรมของนักโทษชาย ที่ จขกท.นำมาให้อภิปราย หรืออ่านหนังสือได้ไม่เกินสามบรรทัดอย่างที่เค้าร่ำลือ :(

#13 ปุถุชน

ปุถุชน

    มหาเมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 27,531 posts

Posted 4 August 2012 - 21:40

"คนขายก๋วยเตี๋ยวยังเสียภาษีแบบนับชามก๋วยเตี๋ยวเลย แล้วนายกฯเป็นใครทำไมไม่เสียภาษี"


พากันไปเอาความรู้ มาจากฟอร์เวิร์ดเมล์ ที่แป๊ะลิ้มส่งให้มาอ่านกันหรือไง ถึงได้แปะได้แปะดีจัง

กฏหมายเขียนไว้ ไม่ต้องเสียภาษี นักลงทุนซื้อขายกัน ในตลาดหุ้นก็ไม่มีใครเสีย

คนขายก๋วยเตี๋ยวเสียภาษี แต่คนขายก๋วยเตี๋ยว ไปขายในตลาดหุ้นไม่เสียภาษี

......ไม่มีภาษีจากการขายหุ้นในตลาดหุ้น.......




"คนขายก๋วยเตี๋ยวยังเสียภาษีแบบนับชามก๋วยเตี๋ยวเลย แล้วนายกฯเป็นใครทำไมไม่เสียภาษี".......ฮา

กิ้งก่าฯโง่.....
ไม่เข้าใจ"อุปมาอุปมัย"มั๊ย.......ฮ่า ฮ่า ฮ่า ฮ่า

เคียงข้างลุงกำนัน ปฏิรูปการเมืองไทย กำจัดระบอบทักษิณ ขับไล่มวลหมู่ขี้ข้า วันที่ 26 พฤษภาคม 2557...


#14 แสนยานุภาพ

แสนยานุภาพ

    สปอร์ต กทม ใจดี

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 3,267 posts

Posted 4 August 2012 - 21:47

ขออนุญาติ นำ e-book ของคุณ กอร์ปศักดิ์ สุภาวศุ มาลงนะครับ

ใครว่าคนรวยไม่โกง ฉบับ ผมผิดด้วยหรือ มีภาพสารบัญประกอบครับ

ใครว่าคนรวยไม่โกง ฉบับ CTX

ใครว่าคนรวยไม่โกง (เรื่องจริง)

Attached Images

  • 12.jpg

Edited by แสนยานุภาพ, 4 August 2012 - 21:52.


#15 แสนยานุภาพ

แสนยานุภาพ

    สปอร์ต กทม ใจดี

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 3,267 posts

Posted 4 August 2012 - 22:02

บทความของคุณ กอร์ปศักดิ์ ศุภาวสุ อา., ก.พ. 7, 2010

มารู้จักทักษิณ บนหมู่เกาะบริติช เวอร์จิ้น



ตามมารู้จักนายกรัฐมนตรีของเรา พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร กันครับ มาดูกันซิว่า สมัยท่านเป็นนักธุรกิจ ท่านบริหารธุรกิจของท่านอย่างไร ผมว่าเป็นประโยชน์มากเลยครับ…



จะได้เห็นวิธีการ ขั้นตอนสลับซับซ้อน น่าสนใจ และจะรู้และเข้าใจเลยว่า ทำไมถึงรวยได้เร็วจริง ๆ และจะได้รู้จักนายกฯทักษิณดีขึ้น ตามมาดูในเรื่องของ “ หุ้น ” ครับ


มีคำถามมากพอสมควรว่า ทำไม พ.ต.ท.ทักษิณและคุณหญิงพจมาน จึงโอนหุ้น ๘,๐๐๐,๐๐๐ กว่าหุ้น มีมูลค่ากว่า ๑๐,๐๐๐ ล้านบาท เอาไปให้แม่ครัวบ้าง พี่เลี้ยงบุตรบ้าง และยามที่อยู่ที่บ้านบ้าง


ต้องตามไปดู จึงจะจับร่องรอยได้


ไปดูว่าการโอนหุ้นนี้เกิดขึ้นเมื่อไหร่ !!!


พ.ต.ท.ทักษิณและคุณหญิงพจมาน โอนหุ้นให้กับนางสาวบุญชู ซึ่งเป็นแม่ครัว ๒,๗๙๔,๖๐๐ หุ้น


โอนหุ้นให้นางสาวดวงตา ซึ่งเป็นพี่เลี้ยงของบุตรของตัวเอง ๒,๗๙๒,๖๐๗ หุ้น


และโอนหุ้นให้นาย(ชัยรัตน์) ซึ่งเป็นยามที่บ้าน ๒,๖๑๙,๘๖๗ หุ้น


รวมทั้งหมดมีมูลค่ากว่า ๑๐,๐๐๐ ล้านบาท ในขณะนั้น



ความจริงการโอนหุ้นในลักษณะนี้ ถ้าเป็นคนที่เคยอยู่ในตลาดทุน คนที่เคยเล่นหุ้นก็จะรู้ว่า ทั้งพ.ต.ท.ทักษิณเอง คุณหญิงพจมานเอง ไม่ต้องการให้ใครรู้ ว่าตนเอง ซื้อหรือขายหุ้นที่ถือครองอยู่ในฐานะผู้ถือหุ้นรายใหญ่เท่าใดและเมื่อไหร่


เหตุผลที่ทำก็รู้ๆ กันอยู่ในวงการตลาดหุ้นครับ ดังนั้นการซื้อการขายหุ้นจะให้คนอื่นทำแทน ดูได้จากบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หุ้นในมือของ พ.ต.ท.ทักษิณและคุณหญิงพจมาน ไม่เคยเปลี่ยนแปลงเลยครับ


ตั้งแต่ปี ๒๕๓๕ เป็นต้นมา มีการเพิ่มทุนครั้งใดก็ซื้อเพิ่ม ตามสัดส่วนที่ตัวเองมีสิทธิตลอดเวลา มีการเปลี่ยนแปลงบ้าง เมื่อโอนหุ้นให้ลูกชาย ตอนที่ตัวเองเข้ามาเล่นการเมือง ที่ผมตั้งประเด็นไว้ตั้งแต่ต้นว่า ทำไมต้องไปโอนหุ้นให้อยู่ในชื่อของแม่ครัวบ้าง ยามบ้าง พี่เลี้ยงบุตรบ้าง คนเหล่านั้นไว้ใจได้แค่ไหน เพราะเงินนับหมื่นล้านบาทนะครับ


ต้องย้อนกลับไปดูว่า กลต. เขาจัดตั้งเมื่อไหร่ จะพบว่า กลต. จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เมื่อวันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๓๕


พ.ต.ท. ทักษิณ และคุณหญิงพจมาน ซุกหุ้นเมื่อวันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๕ ดูตามวันที่แล้วก็จะพบว่าซุกหุ้นเป็นเวลา ๑ เดือน ก่อนกฎหมายประกาศใช้


ผมไม่อยากจะคิด แต่เชื่อว่าไม่ใช่เฉพาะคุณหญิงพจมานและพ.ต.ท.ทักษิณเท่านั้นที่ประพฤติอย่างนี้ เชื่อว่ามีบริษัทอยู่ในตลาดหลักทรัพย์จำนวนมาก รู้และเข้าใจว่า เมื่อ กลต.เข้ามามีบทบาทควบคุมซื้อขายหุ้นของผู้ถือหุ้นรายใหญ่แล้ว ผู้ถือหุ้นรายใหญ่จะซื้อขายหุ้นต้องแจ้ง กลต. ครับ


เพราะฉะนั้นวิธีที่ดีที่สุดคือ การโอนหุ้นของตัวเองไปซ่อนไว้ ไปซุกไว้ในชื่อคนอื่น กลต.จะได้จับผิดไม่ได้



ผมว่าตรงนี้เป็นเหตุผลที่สำคัญ



เพราะว่าการโอนหุ้นครั้งนี้ โอนเป็นจำนวนมาก โอนในเวลาเดียวกัน คือโอนเพียง ๑ เดือน ก่อนที่ กลต.มีอำนาจเข้ามาควบคุมบริษัทเหล่านี้


คำถามที่ผมคิดว่าหาคำตอบได้ยากเต็มที เป็นประเด็นที่ต้องคิด เมื่อ พ.ต.ท.ทักษิณและคุณหญิงพจมานยอมรับว่า หุ้นเหล่านี้เป็นหุ้นของตัวเอง ปรากฏว่าการขายหุ้นเหล่านั้นได้เกิดขึ้นในช่วงเดือนเมษายน ๒๕๔๐ – ๒๕๔๑ ได้ขายไปทั้งหมด


จริงๆแล้วในช่วงเดือนเมษายน ๒๕๓๖ หุ้นในชื่อแม่ครัว พี่เลี้ยงบุตร และในชื่อของยามก็ขายไปหมดเกลี้ยง แต่ไม่ทราบว่าขายไปให้ใคร เมื่อขายแล้วก็กลับมาซื้อใหม่ ซื้อมาขายไป ทำให้คนสงสัยว่าพฤติกรรมอย่างนี้เป็นการปั่นหุ้นหรือเปล่า เรื่องนี้มีคำถามมากมาย แต่หาคำตอบได้ยากเต็มที เพราะในขณะนี้การตรวจสอบเกือบจะไม่มี ถ้าหากเราไปเรียกร้องให้มีการตรวจสอบ กลต.จะบอกว่า เดี๋ยวนี้หลักฐานทั้งหมดหาไม่เจอแล้ว เพราะเรื่องมันนานเต็มที


ตามไปดูเรื่องหุ้นกันต่อครับ



มีอยู่ช่วงหนึ่งที่ปรากฏว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีการขายหุ้นของตัวเองให้กับบริษัทข้ามชาติ การขายหุ้นในครั้งนั้นทำตอนที่มีการเพิ่มทุน ในช่วงนั้น พ.ต.ท.ทักษิณและคุณหญิงพจมาน ถือหุ้นจำนวนใกล้เคียงกัน พ.ต.ท.ทักษิณถือหุ้นอยู่ ๓๒,๙๒๐,๐๐๐ หุ้น คุณหญิงพจมานถือหุ้น ๓๔,๖๕๐,๐๐๐ หุ้น


ช่วงที่มีการเพิ่มทุน คุณหญิงพจมานก็ได้เพิ่มหุ้นของตัวเองเป็นเท่าตัวครับ จาก ๓๔,๖๕๐,๐๐๐ หุ้น เพิ่มเป็น ๖๙,๓๐๐,๐๐๐ หุ้น แต่ในส่วนของ พ.ต.ท.ทักษิณที่มีหุ้นอยู่ ๓๒,๙๒๐,๐๐๐ หุ้น ไม่ได้เพิ่มขึ้นครับ


ส่วนที่เพิ่มขึ้นนั้น ปรากฏว่าขายให้กับบริษัทข้ามชาติ บริษัทนี้มีชื่อว่า บริษัท Ample Rich Investments Limited ในทะเบียนหุ้น ระบุชัดเจนว่า บริษัทนี้ถือสัญชาติ บริติช เวอร์จิน ไอร์แลนด์ แปลความหมายง่ายๆ หมายความว่าบริษัทนี้ก่อตั้งขึ้นที่หมู่เกาะบริติช เวอร์จิน ครับ



Posted Image




ตอนที่มีเรื่องคดีซุกหุ้นเกิดขึ้น กลต.มีความจำเป็นต้องเข้าไปตรวจสอบ พบว่าบริษัท Ample Rich Investments Limited ที่ผมเรียนให้ท่านผู้อ่านทราบว่า พ.ต.ท.ทักษิณขายหุ้นให้บริษัทข้ามชาติบริษัทนี้ ปรากฏตามทะเบียนหุ้นว่าบริษัทนี้กลายเป็นบริษัทที่คุณทักษิณถือหุ้นไว้ทั้งหมด ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ !!!
ฟังดูแล้วแปลกดีครับ คุณทักษิณขายหุ้นตัวเองให้กับบริษัทที่ตัวเองถือหุ้น ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ครับ


คำถามที่ไม่มีคำตอบ และไม่มีใครรู้ได้นอกจาก พ.ต.ท.ทักษิณเองคือ

๑. ทำไมพ.ต.ท.ทักษิณต้องไปตั้งบริษัทไว้ที่หมู่เกาะ BVI ครับ ?
๒. ทำไมพ.ต.ท.ทักษิณต้องใช้บริษัทนั้นมาซื้อหุ้นของตัวเอง ?
๓. พ.ต.ท.ทักษิณใช้เงินที่ไหนในการซื้อหุ้นของตัวเองในครั้งนั้น ?


ประเด็นสำคัญพ.ต.ท.ทักษิณในฐานะผู้ขาย รับเงินการซื้อขายนี้แล้วนำเข้ามาในประเทศหรือเปล่า เอาไปไว้ที่ไหนครับ หรือในฐานะของผู้ซื้อนำเงินที่ไหนมาซื้อหุ้นจำนวนนี้

คำถามเหล่านี้ยังไม่มีคำตอบ

เวลาเราเข้าไปดูบริษัท Ample Rich Investments Limited เราจะเห็นว่าเป็นบริษัทที่ถือหุ้นใหญ่ในบริษัท ( ชิน คอร์ปอเรชั่น ) แต่มีหลักฐานปรากฏว่า ปัจจุบัน พ.ต.ท.ทักษิณไม่ได้เป็นเจ้าของบริษัทนี้แล้วครับ รวมทั้งไม่มีใครรู้ว่า เวลานี้บริษัทนี้ใครเป็นเจ้าของ เมื่อเข้าไปตรวจสอบลึกๆพบว่าที่อยู่ของบริษัทนี้ไม่ได้ใช้ที่อยู่ที่ BVI แต่ปรากฏว่ามีที่อยู่ที่สิงคโปร์ครับ เมื่อตรวจสอบหลายอัตรา ที่อยู่ของบริษัทนี้มีตัวตนหรือไม่ กลับพบว่าเป็นที่อยู่ของบริษัทชื่อ Petro-Asia Services Pte Ltd ครับ ชื่อเหมือนกับบริษัทค้าน้ำมัน ใช้ที่อยู่ที่เดียวกันกับบริษัท Ample Rich Investments Limited

ติดตามต่อไป กลับพบว่ามีการแตกหน่อออกไปอีก คือหลังจากบริษัท Ample Rich Investments Limited ซื้อหุ้นจากพ.ต.ท.ทักษิณไปแล้ว ก็มีการแตกหน่ออีก เป็นอีกบริษัทหนึ่งแต่ใช้ชื่อเดียวกัน กลายเป็นสัญชาติอังกฤษ มีหุ้น ๑๐,๐๐๐,๐๐๐ หุ้น เมื่อตรวจสอบที่อยู่ก็ใช้ที่อยู่ที่สิงคโปร์เหมือนกับบริษัท Ample Rich Investments Limited ที่ BVI กลายเป็นที่อยู่ของบริษัทชื่อ Pico Guards Pte Ltd เป็นบริษัทรับงานเรื่องยาม เรื่องรักษาความปลอดภัย

ที่ผมเล่าให้ฟังทั้งหมดนี้ ผมอยากจะชี้ให้เห็นถึงความซับซ้อนของการทำธุรกิจของนายกฯทักษิณครับ
คงไม่มีคำตอบว่า สิ่งที่เกิดขึ้นในอดีต เขาทำอะไรกันอยู่


ท่านอดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญ ท่านประเสริฐ นาสกุล เคยพูดเกี่ยวกับการซื้อขายหุ้นของนายกฯทักษิณกับบริษัทข้ามชาติไว้อย่างน่าสนใจ ท่านได้เขียนไว้ในคำพิพากษาส่วนตนหัวข้อที่ ๑๐
ท่านพูดว่า


“ อีกเรื่องหนึ่ง แม้เหตุการณ์ที่ผู้ร้องไม่ต้องยื่นบัญชีแล้ว เมื่อผู้ถูกร้องและคู่สมรสขายหุ้นบริษัท เอส ซี เค เอสเตท จำนวน ๓.๕ ล้านหุ้นเศษ และจำนวน ๒ ล้านหุ้น หุ้นละ ๑๐ บาท เป็นเงิน ๕๕ ล้านบาทเศษ ให้กับบริษัท Win Mark Limited ถือสัญชาติ British Virgin Island วันที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๔๓ ผู้ถูกร้องยืนยันว่า การขายหุ้นครั้งนี้เป็นการขายหุ้นตามปรกติ ไม่มีลักษณะการฟอกเงินแต่ประการใด”

ท่านเขียนต่อไปว่า

“ ทำให้เกิดปัญหา สงสัย ต่อไปว่า บริษัทผู้ซื้อใช้เงินสกุลใด มาจากที่ใด ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ”

ท่านประเสริฐเขียนต่อนะครับว่า

“ น่าเสียดายจัง ที่ผู้ถูกร้องไม่ได้อธิบายด้วย”

นี่แหละครับ คือการซับซ้อนการทำธุรกิจของท่านนายกรัฐมนตรี

เรื่องที่ขำไม่ออกก็คือ เมื่อวันที่ ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๔๕ ซึ่งตอนนั้น พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ท่านเป็นนายกรัฐมนตรีแล้วครับ วันนั้นมีการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่องยุทธศาสตร์เพื่อการแข่งขันของเศรษฐกิจไทย ท่านพูดในที่ประชุมครับ ผมเอาคำพูดของท่านมา ท่านพูดในช่วงหนึ่งน่าสนใจมาก

นอกจากนี้ยังมีข้อกำหนดหลายประเด็น (น่าจะเรียกว่าข้อไม่กำหนด) ที่ทำให้รัฐบาลของหลายประเทศปวดหัวกับบริษัทที่ไปตั้งที่หมู่เกาะนี้ เพราะบริษัทเหล่านี้ใช้ BVI เป็นแหล่งหนีภาษีและฟอกเงิน (Tax Heaven Territory) ท่านบอกว่า

“ เมื่อวานผมได้ดูข่าวจาก CNN ทราบว่าขณะนี้สภาของสหรัฐกำลังแก้ไขกฎหมายใหม่ ทั้งนี้เพราะบริษัทต่างๆไม่มีสำนักงานใหญ่ในสหรัฐ แต่ไปจดทะเบียนในประเทศอื่นๆ เช่น ในปานามาบ้าง หรือที่หมู่เกาะ บริติช เวอร์จิน ไอร์แลนด์ ซึ่งถือว่าเป็นบริษัทที่ไม่รักชาติ เพราะถือว่าเป็นการเลี่ยงภาษี เห็นได้ว่า แม้สหรัฐจะเป็นประเทศที่มีเสรีภาพสูงยังมีการดำเนินการเช่นนี้ ”

ท่านนายกรัฐมนตรียังพูดต่อนะครับว่า

“ ก็อยากฝากให้คนไทยและบริษัทต่างๆมีความรักชาติด้วย ”

ที่ผมบอกว่าตลกไม่ออกก็เพราะว่า แปลว่านายกฯทักษิณท่านรักชาติเฉพาะตอนที่ท่านมาเป็นนายกรัฐมนตรีเหรอ แล้วในอดีตก่อนที่ท่านมาเป็นนายกรัฐมนตรี สมัยท่านทำธุรกิจของท่าน ท่านไปตั้งบริษัทข้ามชาติเหล่านี้ ในหมู่เกาะที่ท่านเป็นคนพูดเองว่าเป็นการเลี่ยงภาษี ท่านไม่ได้รักชาติด้วยใช่หรือไม่
นี่ก็เป็นคำถามที่ไม่มีคำตอบ นอกจากว่านายกฯทักษิณเท่านั้นที่จะรู้ ว่าสิ่งที่ตัวเองทำไปนั้นทำเพื่ออะไรครับ


ที่เป็นประเด็นสำคัญและชี้ให้เห็นชัดเจน ว่าการดำเนินการในคดีซุกหุ้นส่วนที่พอจะหาหลักฐานได้เป็นการกระทำความผิดตามกฎหมายของ กลต. กลต.พิจารณาว่า คุณหญิงพจมานนั้นไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๒๔๖ และมีการเปรียบเทียบความผิด โดยคณะกรรมการเปรียบเทียบปรับตามมาตรา ๓๑๗
เรื่องนี้คุณหญิงพจมาน ชินวัตร โดนปรับไปเป็นเงินทั้งสิ้น ๖,๓๑๘,๐๐๐ บาทครับ


เรื่องของบริษัทที่ตั้งอยู่ที่หมู่เกาะบริติช เวอร์จิน ยังไม่จบง่าย ๆ ล่าสุดบริษัท Ample Rich Investments ถือหุ้น SHIN เป็นจำนวน ๒๒๙,๒๐๐,๐๐๐ หุ้น ( ร้อยละ ๗.๗๘ ) เมื่อวันที่ ๕ เมษายน ๒๕๔๗
ขอโทษนะ ตอนนี้ล่องหนหายตัวไปแล้วครับ ไม่ได้เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ในบริษัท SHIN อีกต่อไปแล้ว


จากรายงานล่าสุด เมื่อวันที่ ๓๐ สิงหาคม ๒๕๔๗ สด ๆ ร้อนๆ เลยครับ Ample Rich Investments ขายหุ้น SHIN ที่ถือครองไว้ถึงร้อยละ ๗.๗๘ ไปจนไม่ได้เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่แล้วครับ เป็นการขายล็อตใหญ่ กลต. ยังไม่เปิดเผยข้อมูล ถ้าตีราคาหุ้นละ ๔๐ บาท มูลค่าหุ้นก็เฉียด ๆ ๑๐,๐๐๐ ล้าน เกิดอะไรขึ้นครับเกี่ยวข้องกับฤดูเลือกตั้งหรือเปล่า เดายากครับ.

http://www.korbsak.c...egory/politics/


#16 แสนยานุภาพ

แสนยานุภาพ

    สปอร์ต กทม ใจดี

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 3,267 posts

Posted 4 August 2012 - 22:07

ญาติสนิทของ AMPLE RICH
ส., ก.พ. 6, 2010



Ample Rich ไม่ใช่มีแค่คู่แฝดอย่างเดียว แต่มีญาติสนิทโผล่ขึ้นมาอีกหนึ่งบริษัท ครับ



Ample Rich ชื่อเป็นไทยว่าบริษัทโคตรรวย ญาติสนิทของบริษัทโคตรรวย ชื่อ ชนะ-มาร์ค (Win Mark) ครับ พูดจริง ๆ นะครับ ไม่ใช่พูดเล่น ๆ


Ample Rich ถือสัญชาติบริติช เวอร์จิน ไอร์แลนด์ Win Mark ก็ถือ สัญชาติบริติช เวอร์จิน ไอร์แลนด์ เช่นกัน


Ample Rich ตั้งอยู่ที่ ตู้ ปณ. 3151 , Road Town, Tortola, British Virgin Island


เอกสารแสดงที่อยู่ของ Ample Rich ได้จากข้อมูลของหนังสือจาก บล.ดีบีเอส วิคเคอร์ส
(ประเทศไทย)



Posted Image




Win Mark ก็ตั้งอยู่ที่ ตู้ ปณ. 3151 , Road Town, Tortola, British Virgin Islandข้อมูลที่อยู่ของบริษัท Win Mark ได้จากคำเปิดเผยของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

Posted Image


ญาติสนิทกันจริง ๆ ใช้ตู้ ปณ. 3151 ตู้ปณ. เดียวกัน



ตรวจสอบพฤติกรรม การลงทุนของทั้งสองบริษัทกันครับ

ทั้ง Ample Rich และ Win Mark ชอบที่จะลงทุนโดยการซื้อหุ้นในประเทศไทย ที่น่าสนใจคือ เป็นการลงทุนโดยการซื้อหุ้นจากคนชื่อ ทักษิณ ชินวัตร เท่านั้น และคนชื่อทักษิณคนนี้ก็ใจดีเป็นพิเศษคือขายหุ้นให้ทั้ง Ample Rich และ Win Mark ในราคาทุนคือราคาพาร์ ทุกครั้ง Ample Rich ลงทุนซื้อหุ้นบริษัทชินจาก คุณทักษิณในราคาพาร์ คือหุ้นละ 10 บาท จำนวนถึง 32.92 ล้านหุ้น เก่งมาก เพราะซื้อได้ราคาต้นทุน ในขณะที่ราคาตลาดมีมูลค่าเกือบ 5 พันล้านบาทในขณะนั้น Win Mark ก็ไม่ด้อยกว่ากันครับ


Win Mark ลงทุนซื้อหุ้นบริษัทเอส ซี จากคุณทักษิณในราคาพาร์ คือหุ้นละ 10 บาท จำนวนถึง 55 ล้านหุ้น วันที่ Win Mark ซื้อหุ้นของ บริษัทเอส ซี บริษัทยังไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ จึงประมาณค่าไม่ได้ แต่เมื่อบริษัท เอสซีจดทะเบียนนำหุ้นจำหน่ายในตลาด หุ้นเคยมีราคาสูงถึง 30 กว่า บาท ต่อ หุ้น กำไร สบายสบาย เป็นพันล้าน


คุณทักษิณทำไมถึงเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ใจดีกับบริษัทต่างชาติขนาดนั้น

น่าแปลกไหมว่าเหตุใด Ample Rich และ Win Mark จึงมีความผูกพัน กับคุณทักษิณเสียเหลือเกิน
สำหรับ Ample Rich คงไม่แปลก เพราะความจริงปรากฏออกมาแล้วว่า คุณทักษิณ เป็นคนตั้งบริษัทนี้ด้วยตนเอง กำไรจึงไม่หนีไปไหน แต่ญาติสนิทที่ชื่อ ชนะ – มาร์ค (Win Mark) นี่ซิ ยังไม่รู้ว่าใครเป็นเจ้าของ


Ample Rich ซื้อหุ้นจากคุณทักษิณ เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2542 และต่อมาขายหุ้นให้ลูกชาย ลูกสาวของคุณทักษิณเมื่อวันที่ 20 มกราคม 2549 ในราคาเท่าทุน ลงทุน 7 ปี ไม่มีกำไรแม้แต่บาทเดียว ได้รับแค่เงินปันผลเท่านั้น Ample Rich ซื้อขายหุ้นในราคาพาร์ ทำเพื่ออะไร คนในตระกูลชินวัตร ยังไม่ตอบ แต่เชื่อขนมกินได้ คือ เป็นการบริหารภาษีอย่างชาญฉลาด รวมทั้งพยุงราคาหุ้นอีกด้วย

Win Mark ก็ไม่ต่างกัน

Win Mark ลงทุนซื้อหุ้นบริษัท เอส ซี เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2543 หลังจากนั้นอีก 3 ปี คือในวันที่ 19 สิงหาคม 2546 ก็ได้โอนหุ้นทั้งหมดให้บริษัท Value Assets Funds Ltd. สัญชาติมาเลเซีย เท่านั้นไม่พอ 3 อาทิตย์ต่อมา คือเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2546 บริษัท Value Assets Funds Ltd. ก็โอนหุ้นทั้งหมดให้ 2 กองทุนมาเลเซีย คือกองทุน OGF และ ODF

ท่านผู้อ่านสังเกตให้ดีจะพบว่า การโอนหุ้นเหล่านี้ เกิดขึ้นใกล้ๆ ช่วงเวลาที่บริษัท เอส ซี กำลังดำเนินการเพื่อจดทะเบียนนำหุ้นเข้า ซื้อ ขาย ในตลาดหลักทรัพย์

ที่สนุกมากมาก อยู่ในช่วงที่มีการเพิ่มทุนครับ บริษัทชนะมาร์ค ( Win Mark ) หรือ กองทุนเหล่านี้ เป็นผู้เสียสละอย่างใหญ่หลวง เพราะเมื่อบริษัท เอส ซี มีการเพิ่มทุน เพื่อนำหุ้นเข้าตลาด กองทุนทั้งสอง ได้โอนสิทธิ์ในการเพิ่มทุน จำนวนถึง 71 ล้านหุ้นให้กับลูกสาวทั้งสองของ คุณทักษิณ

Posted Image


หุ้นของบริษัท เอสซี เข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2546 ราคาวันนั้น ปิดที่ 27 บาท/หุ้น กองทุนจากมาเลเซียเสียผลประโยชน์ไปเกือบ 2,000 ล้านบาท คนที่ได้ประโยชน์คือลูกสาวทั้งสองของคุณทักษิณ


ถึงวันนี้ กองทุน ทั้งสองคือ OGF หรือ ODF ยังครอบครองหุ้นจำนวนมากในบริษัทเอสซี แต่ก็ไม่ส่งบุคคลใด เข้ามาเป็นกรรมการในบริษัทแต่อย่างใด

คุณกรณ์ จาติกวนิช มือเศรษฐกิจของประชาธิปัตย์ ยื่นหนังสือถึงกลต.ให้สอบครับ (ต้องขอ ขอบคุณ คุณกรณ์ ที่ให้ข้อมูลด้วยครับ )

คุณยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้แจ้งต่อ กลต.ว่าบริษัทชนะมาร์ค ( Win Mark ) หรือกองทุนของมาเลเซียทั้งสองกองทุน ว่าไม่มีความสัมพันธ์ กับตระกูลชินวัตร

พฤติกรรมการลงทุนของบริษัท Win Mark ไม่ต่างกับของ Ample Rich

วันนี้เรื่องแดงแล้วว่า Ample Rich เป็นของตระกูลชินวัตร เป็นการซุกหุ้น ภาคสอง ไม่นานหรอกครับ เราจะรู้ว่า บริษัท วิน–มาร์ค เป็นของใคร? เที่ยวนี้ไม่ใช่ซุกหุ้นแน่ เพราะมีการชำระเงินค่าหุ้น นำเงินสกปรกจากต่างประเทศมาฟอกให้ใสสะอาดในประเทศหรือเปล่า

อ่านคำวินิจฉัยของท่านประเสริฐ นานาสกุล อดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญ เกี่ยวกับคดีซุกหุ้นภาคหนึ่งกันครับ

ท่านอดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญ ท่านประเสริฐ นาสกุล พูดเกี่ยวกับการซื้อขายหุ้นของนายกฯทักษิณกับบริษัทข้ามชาติไว้อย่างน่าสนใจ ท่านได้เขียนไว้ในคำพิพากษาส่วนตนหัวข้อที่ ๑๐ ท่านพูดว่า

“ อีกเรื่องหนึ่ง แม้เหตุการณ์ที่ผู้ร้องไม่ต้องยื่นบัญชีแล้ว เมื่อผู้ถูกร้องและคู่สมรสขายหุ้นบริษัท เอส ซี เค เอสเตท จำนวน ๓๕ ล้านหุ้นเศษ และจำนวน ๒๐ ล้านหุ้น หุ้นละ ๑๐ บาท เป็นเงิน ๕๕๐ ล้านบาทเศษ ให้กับบริษัท Win Mark Limited ถือสัญชาติ British Virgin Island วันที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๔๓ ผู้ถูกร้องยืนยันว่า การขายหุ้นครั้งนี้เป็นการขายหุ้นตามปรกติ ไม่มีลักษณะการฟอกเงินแต่ประการใด”

ท่านเขียนต่อไปว่า


“ ทำให้เกิดปัญหาสงสัยต่อไปว่า บริษัทผู้ซื้อใช้เงินสกุลใด มาจากที่ใด ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ”


ท่านประเสริฐเขียนต่อนะครับว่า


“ น่าเสียดายจัง ที่ผู้ถูกร้องไม่ได้อธิบายด้วย” ( ผู้ถูกร้องชื่อ ทักษิณ ชินวัตร ครับ )

ท่านประเสริฐ ตั้งข้อสงสัยไว้เมื่อ 5 ปีมาแล้ว มาถึงวันนี้ ผมว่าท่านหายสงสัยแล้ว


เชื่อหรือยังว่า Ample Rich และ Win Mark เป็นญาติสนิทกัน

http://www.korbsak.c...ของ-ample-rich/

#17 แสนยานุภาพ

แสนยานุภาพ

    สปอร์ต กทม ใจดี

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 3,267 posts

Posted 4 August 2012 - 22:12

100 ล้านหุ้น ซุกอยู่ที่ไหน
อ., ก.ย. 11, 2007


Posted Image



ผมกำลังพูดถึงหุ้นของ บริษัทชิน ที่ แอมเพิล ริช ครอบครองจำนวน 32.92 ล้านหุ้น ครับ


แอมเพิล ริช ซื้อหุ้นทั้งหมดนี้จากคุณทักษิณ วันดีคืนดี 10 ล้านหุ้น ( มูลค่า100 ล้านหุ้นปัจจุบัน) ก็หลุดมือไปจากแอมเพิล ริช โดยไม่ทราบสาเหตุ และมาโผล่ที่ แอมเพิล ริช คู่แฝด (สัญชาติ English ) ในเวลาต่อมา


หลังจากนั้นหุ้น 100 ล้านจำนวนนี้ก็หายไปจากสาระบบอีก มาโผล่อีกครั้ง โดยเข้ามาอยู่ในความครอบครองของ แอมเพิล ริช ของบริติชเวอร์จิ้น ช่วงที่ ครอบครัวคุณทักษิณเตรียมขายหุ้นบริษัทชินทั้งหมด ให้ต่างชาตินั่นหละครับ


ผมว่าเรายอมเสียเวลา ตรวจเอกสารกันอีกครั้งดีไหมครับ


เอกสารสำคัญคือบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัท ชิน ผมลำดับเฉพาะช่วงการเปลี่ยนแปลงที่มีนัยสำคัญเท่านั้น ถ้านำเอกสารทั้งหมดมาแสดง ท่านผู้อ่านคงจะเบื่อแย่



ทำตัวเป็นผู้ตรวจสอบกันหน่อย ประเด็นที่ต้องตรวจสอบ คือ


1. แอมเพิล ริช ครอบครองหุ้นชินจำนวนเท่าใด?
2. ช่วงที่แอมเพิล ริช เปลี่ยนเจ้าของจาก คุณทักษิณเป็นบุตรชาย จำนวนหุ้นมีเท่าเดิมหรือไม่?
3. ช่วงที่ แอมเพิล ริช ขายหุ้นชินให้บุตรชาย และบุตรสาว ของคุณทักษิณ แอมเพิล ริช ได้หุ้นเพิ่มจากที่ไหนมาขายหรือเปล่า?


เมื่อท่านผู้อ่านได้ตรวจสอบบัญชีผู้ถือหุ้นนี้แล้ว ก็จะได้คำตอบครบครับ.


เอกสารฉบับที่ 1 ณ. วันที่ 6 มีนาคม 2543 ( ก่อนคุณทักษิณ เป็นนายกรัฐมนตรี )



Posted Image




ข้อสังเกตุ

๐ แอมเพิล ริช ครอบครองหุ้น 32.920 ล้านหุ้น ( มูลค่า 329.2 ล้านหุ้นปัจจุบัน )


๐ เจ้าของ แอมเพิล ริช คือ คุณทักษิณ ชินวัตร




เอกสารฉบับที่ 2 ณ. วันที่ 21 กรกฎาคม 2543 ( ก่อนคุณทักษิณ เป็นนายกรัฐมนตรี )


Posted Image



ข้อสังเกตุ

๐ แอมเพิล ริช ครอบครองหุ้น 22.920 ล้านหุ้น ( มูลค่า 229.2 ล้านหุ้นปัจจุบัน)


หุ้นหายไป 100 ล้านหุ้น ขายให้ใคร หรือซุกซ่อนไว้ ซ่อนไว้กับใคร




อกสารฉบับที่ 3 ณ. วันที่ 10 เมษายน 2544 ( คุณทักษิณ เป็นนายกรัฐมนตรี )




Posted Image



ข้อสังเกตุ ๐ แอมเพิล ริช ได้เจ้าของใหม่ชื่อ พานทองแท้ ชินวัตร


๐ แอมเพิล ริช มีคู่แฝด สัญชาติ English
๐ แอมเพิล ริช สัญชาติ English ครอบครองหุ้นจำนวน 10 ล้านหุ้น ( มูลค่า 100 ล้านหุ้นปัจจุบัน)
ซื้อ หรือ โอนมาจากใคร!




เอกสารฉบับที่ 4 ณ. วันที่ 22 ตุลาคม 2544




Posted Image



ข้อสังเกตุ

๐ แอมเพิล ริช ครอบครองหุ้น 229.2 ล้านหุ้น (จำนวนหุ้น เท่าเดิม ไม่มีการเปลี่ยนแปลง )

๐ แอมเพิล ริช คู่แฝด สัญชาติ English ขายหุ้น ไปหมดแล้ว

จึงไม่มีชื่อปรากฏในทะเบียน


ขายให้ใคร? เงินที่ได้รับจากการขายอยู่ที่ไหน!



เอกสารฉบับที่ 5 ณ. วันที่ 26 สิงหาคม 2548 ( ก่อนจะมีการขาบริษัท ชิน ให้ต่างชาติ 6 เดือน )



Posted Image



ข้อสังเกตุ

๐ แอมเพิล ริช ครอบครองหุ้น 329.2 ล้านหุ้น ในนามธนาคาร UBS จำนวนหุ้นเพิ่มจากที่มีอยู่เดิมถึง 100 ล้านหุ้น


แอมเพิล ริช ได้หุ้นเพิ่มมาอย่างไร? ซื้อหรือโอนมาจากใคร?





ปวดหัวไหมครับ! ดูแล้วปัญหาน่าจะอยู่ที่ 100 ล้านหุ้นที่วิ่งเข้าวิ่งออก เปลี่ยนมือผู้ถือไปเรื่อยๆ นับจริงๆน่าจะมี ตัวละครที่เกี่ยวข้อง เพียง 3 ตัว คือ


- Vicker Ballas ( เอกสาร ฉบับที่ 2 )
- แอมเพิล ริช คู่แฝดสัญชาติ English (เอกสารฉบับที่ 3 )
- ธนาคาร UBS ( เอกสารฉบับที่ 3-4-5)



คุณสุวรรณ ชี้แจงว่า ( โดยไม่มีหลักฐานประกอบ ) ตัวละครทั้งหมด คือคนกลุ่มเดียวกัน เพียงให้ถือหุ้นแทนเท่านั้น ทำไมถึงต้องเสียเงินเสียทอง โยนหุ้นระหว่างกัน ให้ยุ่งยากทำไม?


แน่ใจนะว่า 100 ล้านหุ้นที่ ฮุบๆโผล่ๆ ไม่ได้นำมาปั่นเล่นในตลาด



http://www.korbsak.c...-ซุกอยู่ที่ไหน/



#18 Robin

Robin

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 2,097 posts

Posted 4 August 2012 - 22:14

นับว่าเป็นเรื่องราวที่น่าศึกษามากครับ น่าเอาไปแปะที่ลากดำนามั่ง เพื่อบางพวก จะหูตาสว่างมั่ง พวกที่พายเรือไปส่งแล้วเขาถีบหัวเรือหนีน่ะ :D

#19 แสนยานุภาพ

แสนยานุภาพ

    สปอร์ต กทม ใจดี

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 3,267 posts

Posted 4 August 2012 - 22:14

ขออภัย เจ้าของกระทู้ ด้วยนะครับ ที่เอาบทความมาแปะ ไม่ตั้งใจจะมายำกระทู้นะครับ

ตอนนี้ผมสับสน เรื่อง ขายหุ้นชินคอร์ป / การซุกหุ้น / การตั้งบริษัทในเกาะบริทิช เวอร์จิ้น

คือ รู้สึกมันเริ่มปนกันแล้วน่ะครับ

ขออภัยอย่างสูง ...

#20 Robin

Robin

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 2,097 posts

Posted 4 August 2012 - 22:15

นี่แหละเรื่องที่น่าสนใจกว่าเรื่อง สด 43 ของมาร์ค มากนัก :lol: :lol:

#21 greeenday

greeenday

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 579 posts

Posted 4 August 2012 - 22:15

"คนขายก๋วยเตี๋ยวยังเสียภาษีแบบนับชามก๋วยเตี๋ยวเลย แล้วนายกฯเป็นใครทำไมไม่เสียภาษี"


พากันไปเอาความรู้ มาจากฟอร์เวิร์ดเมล์ ที่แป๊ะลิ้มส่งให้มาอ่านกันหรือไง ถึงได้แปะได้แปะดีจัง

กฏหมายเขียนไว้ ไม่ต้องเสียภาษี นักลงทุนซื้อขายกัน ในตลาดหุ้นก็ไม่มีใครเสีย

คนขายก๋วยเตี๋ยวเสียภาษี แต่คนขายก๋วยเตี๋ยว ไปขายในตลาดหุ้นไม่เสียภาษี

......ไม่มีภาษีจากการขายหุ้นในตลาดหุ้น.......

ยังมาแบบแป๊ะลิ้มมุกตลกฝืดอีก ยังละเมอเพ้อพกอีกเหรอ :o :o :o ท่าทางจะแค้นแป๊ะลิ้มมากแฮะ ผมแนะนำไปที่นู้นนะ www.manager.co.th
:lol: :lol: :lol:

ในบ้านเมืองนั้น มีทั้งคนดี และคนไม่ดี ไม่มีใครที่จะทำให้ทุกคนเป็นคนดีได้ทั้งหมด การทำให้บ้านเมืองมีความปกติสุขเรียบร้อยจึงมิใช่การทำให้ทุกคนเป็นคนดี หากแต่อยู่ที่การส่งเสริมคนดี ให้คนดีปกครองบ้านเมือง และควบคุมคนไม่ดี ไม่ให้มีอำนาจไม่ให้ก่อความเดือดร้อนวุ่นวายได้

พระบรมราโชวาท 11 ธันวาคม 2512


#22 greeenday

greeenday

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 579 posts

Posted 4 August 2012 - 22:22

ผมติดใจเรื่องแก้กฎหมายให้ต่างชาติถือหุ้นได้ 49% มากกว่า
รัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ มีการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544 เพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นต่างชาติจากเดิมกำหนดไม่เกิน 30% ให้เป็น 49% โดยกฎหมายประกาศใช้และมีผลบังคับใช้วันเสาร์ที่ 21 มกราคม 2549 ต่อมาวันจันทร์ที่ 23 มกราคม 2549 บริษัทชินคอร์ปอเรชั่นฯ ได้ขายหุ้นให้แก่กองทุนเทมาเส็กจากสิงคโปร์
http://thaipublica.o...y-corruption-3/

ตอนนี้บอกต้อนรับ AEC ประชาคมอาเซียน อนุญาตให้ต่างชาติถือหุ้นในบริษัทของไทยได้ 70% อีกแน๊ะ

Posted Image



"รองนายกฯ กิตติรัตน์" จี้ เอกชน ปรับตัวเพื่อรับ AEC หลังข้อตกลง เปิดโอกาสให้ต่างชาติถือหุ้นบริษัทไทย เกิน 70% ได้

นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวในงานสัมมนา นวัตกรรมนำไทยกล้าท้า AEC ว่า การเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC ในปี 2558 นั้น ภาคเอกชน ต้องเร่งปรับตัวทางด้านการแข่งขัน เนื่องจากจะมีการเปิดเสรีมากขึ้น โดยเฉพาะการเปิดให้บริษัทต่างชาติ เข้าถือหุ้นได้มากกว่าร้อยละ 70 ในประเทศไทยตามที่ได้มีการทำข้อตกลงกันไว้ก่อนหน้านี้ ซึ่งจะทำให้การแข่งขันมีความท้าทายมากขึ้น แต่ทั้งนี้จะเป็นผลดีต่อผู้บริโภค ที่จะมีตัวเลือกในการตัดสินใจมากขึ้นตามไปด้วย ส่วนภาคธนาคารนั้นจะมีรูปแบบที่แตกต่างกันออกไปตามข้อตกลงพิเศษ แต่ก็จะเป็นเรื่องปกติ ที่จะสามารถเข้าซื้อกิจการในประเทศไทยได้ แต่ว่า ทั้งนี้ทางภาครัฐ ขอยืนยันว่าจะไม่มีการออกใบอนุญาตประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์ เพิ่มเติมจากเดิมที่มีอยู่

เจริญไหมล่ะทีนี้

ในบ้านเมืองนั้น มีทั้งคนดี และคนไม่ดี ไม่มีใครที่จะทำให้ทุกคนเป็นคนดีได้ทั้งหมด การทำให้บ้านเมืองมีความปกติสุขเรียบร้อยจึงมิใช่การทำให้ทุกคนเป็นคนดี หากแต่อยู่ที่การส่งเสริมคนดี ให้คนดีปกครองบ้านเมือง และควบคุมคนไม่ดี ไม่ให้มีอำนาจไม่ให้ก่อความเดือดร้อนวุ่นวายได้

พระบรมราโชวาท 11 ธันวาคม 2512


#23 ..มือดีจากพระนคร..

..มือดีจากพระนคร..

    ขาประจำ

  • Banned
  • PipPipPip
  • 400 posts

Posted 4 August 2012 - 22:24


"คนขายก๋วยเตี๋ยวยังเสียภาษีแบบนับชามก๋วยเตี๋ยวเลย แล้วนายกฯเป็นใครทำไมไม่เสียภาษี"


พากันไปเอาความรู้ มาจากฟอร์เวิร์ดเมล์ ที่แป๊ะลิ้มส่งให้มาอ่านกันหรือไง ถึงได้แปะได้แปะดีจัง

กฏหมายเขียนไว้ ไม่ต้องเสียภาษี นักลงทุนซื้อขายกัน ในตลาดหุ้นก็ไม่มีใครเสีย

คนขายก๋วยเตี๋ยวเสียภาษี แต่คนขายก๋วยเตี๋ยว ไปขายในตลาดหุ้นไม่เสียภาษี

......ไม่มีภาษีจากการขายหุ้นในตลาดหุ้น.......




"คนขายก๋วยเตี๋ยวยังเสียภาษีแบบนับชามก๋วยเตี๋ยวเลย แล้วนายกฯเป็นใครทำไมไม่เสียภาษี".......ฮา

กิ้งก่าฯโง่.....
ไม่เข้าใจ"อุปมาอุปมัย"มั๊ย.......ฮ่า ฮ่า ฮ่า ฮ่า


คนขายก๋วยเตี๋ยวยังเสียภาษีแบบนับชามก๋วยเตี๋ยวเลย แล้วนายกฯเป็นใครทำไมไม่เสียภาษี

มันไม่ใช่การที่จะมาอุปมาอุปมัยอะไรหรอก ประโยคนี้

แป๊ะลิ้มหยิบยกมา เพื่อจะให้ฟายที่ไม่รู้เรื่องรู้ราว เข้าใจว่า ขายก๋วยเตี๋ยวยังเสีย เป็นนายกทำไมไม่เสีย

โดยไม่ยอมบอกความจริง อธิบายให้ฟายเข้าใจว่า....

......ไม่มีภาษีจากการขายหุ้นในตลาดหุ้น.......

#24 greeenday

greeenday

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 579 posts

Posted 4 August 2012 - 22:30



"คนขายก๋วยเตี๋ยวยังเสียภาษีแบบนับชามก๋วยเตี๋ยวเลย แล้วนายกฯเป็นใครทำไมไม่เสียภาษี"


พากันไปเอาความรู้ มาจากฟอร์เวิร์ดเมล์ ที่แป๊ะลิ้มส่งให้มาอ่านกันหรือไง ถึงได้แปะได้แปะดีจัง

กฏหมายเขียนไว้ ไม่ต้องเสียภาษี นักลงทุนซื้อขายกัน ในตลาดหุ้นก็ไม่มีใครเสีย

คนขายก๋วยเตี๋ยวเสียภาษี แต่คนขายก๋วยเตี๋ยว ไปขายในตลาดหุ้นไม่เสียภาษี

......ไม่มีภาษีจากการขายหุ้นในตลาดหุ้น.......




"คนขายก๋วยเตี๋ยวยังเสียภาษีแบบนับชามก๋วยเตี๋ยวเลย แล้วนายกฯเป็นใครทำไมไม่เสียภาษี".......ฮา

กิ้งก่าฯโง่.....
ไม่เข้าใจ"อุปมาอุปมัย"มั๊ย.......ฮ่า ฮ่า ฮ่า ฮ่า


คนขายก๋วยเตี๋ยวยังเสียภาษีแบบนับชามก๋วยเตี๋ยวเลย แล้วนายกฯเป็นใครทำไมไม่เสียภาษี

มันไม่ใช่การที่จะมาอุปมาอุปมัยอะไรหรอก ประโยคนี้

แป๊ะลิ้มหยิบยกมา เพื่อจะให้ฟายที่ไม่รู้เรื่องรู้ราว เข้าใจว่า ขายก๋วยเตี๋ยวยังเสีย เป็นนายกทำไมไม่เสีย

โดยไม่ยอมบอกความจริง อธิบายให้ฟายเข้าใจว่า....

......ไม่มีภาษีจากการขายหุ้นในตลาดหุ้น.......

ก็เพราะมันมีประชาชนแบบคุณที่นับถือตระกูลชินวัตรมากกว่าพ่อตัวเองอยู่น่ะสิครับ ที่ยอมให้พวกมันมาปุยี้ปูยำประเทศอยู่แบบเนี๊ย โกงแต่ทำงานงั้นเหรอ พูดขึ้นมาแล้วอยากจะขากถุ้ย ก็มันมีไอ้คนที่รู้แต่ทำนิ่งเฉยแถมยังชาบูมันอีก แบบคุณนะสิครับ มันถึงวุ่นวายอยู่แบบเนี้ย

Edited by greeenday, 4 August 2012 - 22:31.

ในบ้านเมืองนั้น มีทั้งคนดี และคนไม่ดี ไม่มีใครที่จะทำให้ทุกคนเป็นคนดีได้ทั้งหมด การทำให้บ้านเมืองมีความปกติสุขเรียบร้อยจึงมิใช่การทำให้ทุกคนเป็นคนดี หากแต่อยู่ที่การส่งเสริมคนดี ให้คนดีปกครองบ้านเมือง และควบคุมคนไม่ดี ไม่ให้มีอำนาจไม่ให้ก่อความเดือดร้อนวุ่นวายได้

พระบรมราโชวาท 11 ธันวาคม 2512


#25 Kraken

Kraken

    น้องเก่า

  • Members
  • PipPip
  • 171 posts

Posted 4 August 2012 - 22:38



"คนขายก๋วยเตี๋ยวยังเสียภาษีแบบนับชามก๋วยเตี๋ยวเลย แล้วนายกฯเป็นใครทำไมไม่เสียภาษี"


พากันไปเอาความรู้ มาจากฟอร์เวิร์ดเมล์ ที่แป๊ะลิ้มส่งให้มาอ่านกันหรือไง ถึงได้แปะได้แปะดีจัง

กฏหมายเขียนไว้ ไม่ต้องเสียภาษี นักลงทุนซื้อขายกัน ในตลาดหุ้นก็ไม่มีใครเสีย

คนขายก๋วยเตี๋ยวเสียภาษี แต่คนขายก๋วยเตี๋ยว ไปขายในตลาดหุ้นไม่เสียภาษี

......ไม่มีภาษีจากการขายหุ้นในตลาดหุ้น.......




"คนขายก๋วยเตี๋ยวยังเสียภาษีแบบนับชามก๋วยเตี๋ยวเลย แล้วนายกฯเป็นใครทำไมไม่เสียภาษี".......ฮา

กิ้งก่าฯโง่.....
ไม่เข้าใจ"อุปมาอุปมัย"มั๊ย.......ฮ่า ฮ่า ฮ่า ฮ่า


คนขายก๋วยเตี๋ยวยังเสียภาษีแบบนับชามก๋วยเตี๋ยวเลย แล้วนายกฯเป็นใครทำไมไม่เสียภาษี

มันไม่ใช่การที่จะมาอุปมาอุปมัยอะไรหรอก ประโยคนี้

แป๊ะลิ้มหยิบยกมา เพื่อจะให้ฟายที่ไม่รู้เรื่องรู้ราว เข้าใจว่า ขายก๋วยเตี๋ยวยังเสีย เป็นนายกทำไมไม่เสีย

โดยไม่ยอมบอกความจริง อธิบายให้ฟายเข้าใจว่า....

......ไม่มีภาษีจากการขายหุ้นในตลาดหุ้น.......


ถ้าคุณควายในวรรณคดีอ่านข้อมูลที่เพื่อนสมาชิกนำมาให้อ่าน คุณควายในวรรณคดีอาจจะอยากกลับมาลบความเห็นของตัวเองนะครับ เพราะมันพูดกันคนละเรื่อง :(

ที่เขากำลังถกกันคือตั้งแต่ส่วนที่กากบาทแดงไว้ ว่ามันเหมาะสมถูกต้องหรือไม่ ถือได้ว่าเป็นเจตนากระทำการกระทำทุจริตหรือไม่

Posted Image

ไอ้ข้างบนน่ะ มันเหมือนบทสวดมนต์ไปแล้วครับ ขายหุ้นไม่ต้องเสียภาษี ๆๆๆๆๆๆๆ....

เค้าถกกันคนละเรื่อง อ่านหนังสือหน่อยเถอะครับ :(

#26 แสนยานุภาพ

แสนยานุภาพ

    สปอร์ต กทม ใจดี

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 3,267 posts

Posted 4 August 2012 - 22:46

คุณกิ้งก่า ลองเข้าอ่านใน link นี้สิครับ

ใครว่าคนรวยไม่โกง ฉบับ ผมผิดด้วยหรือ

Attached Images

  • 122.jpg


#27 overtherainbow

overtherainbow

    เมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 5,295 posts

Posted 4 August 2012 - 22:47

เพิ่มกระทู้น่าติดตามอีกหนึ่ง

คนที่ได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในห้าผู้นำเลวของโลก

และหนึ่งในสิบที่ ถ้าไม่มีคนคนนี้โลกคงสงบสุข


ต้องมีชีวิตและความเป็นมา ไม่ธรรมดา

#28 ..มือดีจากพระนคร..

..มือดีจากพระนคร..

    ขาประจำ

  • Banned
  • PipPipPip
  • 400 posts

Posted 4 August 2012 - 22:50

อ้าว ขายหุ้นไม่ต้องเสียนี้ แล้วจะไปว่าเขาโกงได้ไง :)

เนƒเธ„เธฃเธงเนˆเธฒเธ„เธ™เธฃเธงเธขเน„เธกเนˆเน‚เธเธ‡ เธ‰เธšเธฑเธš เธœเธกเธœเธดเธ”เธ”เน‰เธงเธขเธซเธฃเธทเธญ
แสนยานุภาพ ลิงค์ให้ไว้เข้าไม่ได้ เข้าได้แต่ลิงค์ล่างนี้ :D

http://www.manager.co.th/home/

Edited by กิ้งก่าเปลี่ยนสี, 4 August 2012 - 22:53.


#29 kuuga

kuuga

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,008 posts

Posted 4 August 2012 - 22:52

อ้าว ขายหุ้นไม่ต้องเสียนี้ แล้วจะไปว่าเขาโกงได้ไง :)

ควายอ่านได้ไม่เกิน 3 บรรทัดนะเมริง
กระบือ=ควาย มีค่า มนุษย์มีค่า = ควาย ไร้ค่า

#30 แสนยานุภาพ

แสนยานุภาพ

    สปอร์ต กทม ใจดี

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 3,267 posts

Posted 4 August 2012 - 22:53

อ้าว ขายหุ้นไม่ต้องเสียนี้ แล้วจะไปว่าเขาโกงได้ไง :)



อ่านหนังสือบ้างเถอะคุณ ...

#31 No more

No more

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 882 posts

Posted 4 August 2012 - 22:55

Red shirt's argument is so boring.
The guy can't understand the point of discussion. Creating diversion? Very likely.

This poor thing doesn't care about Thailand at all.

Red shirts perhaps were not born idiots, but are acting idiotically and will die idiots. What a poor creature!

Red shirts in the cyber world are merely contract posters. These dumb fucks are worthless pieces of shit.

Stupidity and incompetence of the walking botox will run have run Thailand to the ground.

The magnitude of this disaster would have decreased exponentially if proper water management had been applied in time like since the inception of the Bang-Ra-Kum model.


#32 ..มือดีจากพระนคร..

..มือดีจากพระนคร..

    ขาประจำ

  • Banned
  • PipPipPip
  • 400 posts

Posted 4 August 2012 - 22:56

อ่านข้อมูลจากพวกคุณไม่เอาดีกว่า

มันเหมือนจะถูกล้างสมองยังไงไม่รู้ :P

#33 คนทุกที่

คนทุกที่

    ชนชั้นกลาง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 3,480 posts

Posted 4 August 2012 - 22:57

อ่านได้ไม่เกินสามบรรทัด แถมตีความไม่แตกอีก เฮ่อ :(

#34 แสนยานุภาพ

แสนยานุภาพ

    สปอร์ต กทม ใจดี

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 3,267 posts

Posted 4 August 2012 - 22:58

อ้าว ขายหุ้นไม่ต้องเสียนี้ แล้วจะไปว่าเขาโกงได้ไง :)

เนƒเธ„เธฃเธงเนˆเธฒเธ„เธ™เธฃเธงเธขเน„เธกเนˆเน‚เธเธ‡ เธ‰เธšเธฑเธš เธœเธกเธœเธดเธ”เธ”เน‰เธงเธขเธซเธฃเธทเธญ
แสนยานุภาพ ลิงค์ให้ไว้เข้าไม่ได้ เข้าได้แต่ลิงค์ล่างนี้ :D

http://www.manager.co.th/home/


link ที่ให้ไปมันเป็นไฟล์ pdf นะครับ ... http://www.korbsak.c...oads/book31.pdf แต่จริงๆน่าจะอ่านได้นะครับ เพราะมันไม่ได้ใช้โปรแกรมโดยตรง ... หรือใช้หว่าาาา :o

#35 kuuga

kuuga

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,008 posts

Posted 4 August 2012 - 23:00

อ่านข้อมูลจากพวกคุณไม่เอาดีกว่า

มันเหมือนจะถูกล้างสมองยังไงไม่รู้ :P

เพราะข้อมูลเกิน 3 บรรทัดใช่ไหม กิ้งก่า
กระบือ=ควาย มีค่า มนุษย์มีค่า = ควาย ไร้ค่า

#36 แสนยานุภาพ

แสนยานุภาพ

    สปอร์ต กทม ใจดี

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 3,267 posts

Posted 4 August 2012 - 23:00

อ่านข้อมูลจากพวกคุณไม่เอาดีกว่า

มันเหมือนจะถูกล้างสมองยังไงไม่รู้ :P


มันไม่ใช่ล้างสมองหรอกครับ แต่มันคือข้อเท็จจริงของความไม่โปร่งใส

ถ้าข้อมูลฝั่งคุณแน่น ก็ไม่น่าจะโดนล้างสมองนะครับ นอกจากจะมีวิจารณญาณอยู่บ้าง ก็จะต่างสว่างขึ้น :D

#37 Kraken

Kraken

    น้องเก่า

  • Members
  • PipPip
  • 171 posts

Posted 4 August 2012 - 23:02

อ่านข้อมูลจากพวกคุณไม่เอาดีกว่า

มันเหมือนจะถูกล้างสมองยังไงไม่รู้ :P


ดีแล้วล่ะครับ ผมยังพนมมือขอสิ่งศักดิ์สิทธิ์อยู่เลยอย่าดลใจให้คุณพยายามอ่าน

เป็นตัวของตัวเองนั่นล่ะ ดีแล้วครับ ;)

#38 nnnn43

nnnn43

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 3,771 posts

Posted 4 August 2012 - 23:04

อ้าว ขายหุ้นไม่ต้องเสียนี้ แล้วจะไปว่าเขาโกงได้ไง :)

เนƒเธ„เธฃเธงเนˆเธฒเธ„เธ™เธฃเธงเธขเน„เธกเนˆเน‚เธเธ‡ เธ‰เธšเธฑเธš เธœเธกเธœเธดเธ”เธ”เน‰เธงเธขเธซเธฃเธทเธญ
แสนยานุภาพ ลิงค์ให้ไว้เข้าไม่ได้ เข้าได้แต่ลิงค์ล่างนี้ :D

http://www.manager.co.th/home/


เกิน 3 บรรทัดไปป่าวไม่รู้ :lol:

3375.JPG
ผู้ที่ขาดคุณธรรม ย่อมไม่มีอุดมการณ์อันยิ่งใหญ่ ผู้ที่ขาดความรู้ ย่อมไม่มีสายตาอันกว้างไกล พูดคนฉลาดหนี่งคำ พูดคนโง่ร้อยคำ

#39 greeenday

greeenday

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 579 posts

Posted 5 August 2012 - 07:55

อ่านข้อมูลจากพวกคุณไม่เอาดีกว่า

มันเหมือนจะถูกล้างสมองยังไงไม่รู้ :P

เค้าเรียกว่าข้อเท็จจริงตามหลักที่มนุษย์ธรรมดาเค้าทำเค้าคิดกัน ไอ้คนที่โดนล้างสมองมองและฟังแต่แกนนำน่ะมันพวกคุณ


ซุกหุ้น ภาค 1
ลืมกันไปหรือยัง คดีซุกหุ้น ของนายกแต้ๆ ของเรา เมื่อปี 2544
เป็นคดีแรกของนายกแต้ๆ หลังชนะการเลือกตั้งทั่วไปและขึ้น
ดำรงตำแหน่งนายกของประเทศก่อนนำพา ประเทศสู่หายนะ
ซึ่ง มติ ปปช. 8:1 ทักสินจงใจปิดปิดบัญชีทรัพย์สิน แต่
ศาล รัฐธรรมนูญวินิจฉัย 8:7 ทักสินไม่มีความผิด..

การยื่นบัญชีแสดง รายการทรัพย์สินของนักการเมือง หรือ สส.
ต้องยื่นต่อ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
แห่งชาติ (ปปช.) 3 ครั้ง คือ
ครั้ง ที่ 1 ยื่นบัญชีฯ เมื่อเข้ารับตำแหน่ง
ครั้งที่ 2 ยื่นบัญชีฯ เมื่อพ้นจากตำแหน่ง
ครั้งที่ 3 ยื่นบัญชีฯ เมื่อพันจากตำแหน่งเป็นเวลา 1 ปี

วันที่ 26 ธันวาคม 2543 คณะกรรมการป้องกันและปราบปราม
การ ทุจริตแห่งชาติ หรือ ปปช. ได้แถลงผลการพิจารณาลงมิตเรื่อง
การไม่แสดง หุ้นที่อยู่ในชื่อของบุคคลอื่น ของ นายกทักสินและ
คุณหญิงพจมาน โดยสรุปดังนี้

1. ไม่แสดงทรัพย์สินที่อยู่ในชื่อของตนเองและคู่สมรส โดยแยกเป็น
อยู่ในชื่อตนเอง รวมมุลค่า 6,750.- บาท (หกพันเจ็ดร้อยห้าสิบบาท)
อยู่ในชื่อคู่สมรส รวมมูลค่า 6,337,599.35 บาท (หกล้านสามแสน
สามหมื่นเจ็ดพันห้าร้อยเก้าสิบเก้าบาทสามสิบห้าสตางค์)
ปปช. เห็นว่ามีมูลค่าน้อยเมื่อเทียบกับมูลค่าสินทรัพย์สุทธิ (ไม่ระบุจำนวน)
ซึ่งมูลค่าทรัพย์สินที่ไม่แสดง ไม่ส่งผลให้ตนเองและคุ่สมรสได้ประโยชน์
แต่อย่างใด ลงมติว่า ไม่ได้จงใจปกปิดรายการทรัพย์สินดังกล่าว

2. ทรัพย์สินที่อยู่ในชื่อของบุคคลอื่น ผลการตรวจสอบ สรุปได้ว่า ไม่แสดง
รายการทรัพย์สินที่อยู่ในชื่อบุคคลอื่น ดังนี้
ครั้งที่ 1 เมื่อเข้ารับตำแหน่ง ( 7 พฤศจิกายน 2540 ) ไม่แสดงรายการทรัพย์สิน
2,371,726,371.- (สองพันสามร้อยเจ็ดเอ็ดล้านเจ็ดแสนสองหมื่น..บาท)
ครั้งที่ 2 เมื่อพ้นจากตำแหน่ง ( 4 ธันวาคม 2540 ) ไม่แสดงรายการทรัพย์สิน
1,523,139,657.- (หนึ่งพันห้าร้อยยี่สิบสามล้านหนึ่งแสนสามหมื่น..บาท)
ครั้งที่ 3 เมื่อพ้นจากตำแหน่ง 1 ปี ( 4 ธันวาคม 2541) ไม่แสดงรายการทรัพย์สิน
646,984,383.- (หกร้อยสี่สิบหกล้านเก้าแสนแปดหมื่น...บาท)

คณะกรรมการ ปปช. พิจารณาแล้วมีมติด้วยคะแนนเสียง 8 ต่อ 1 ว่า พ.ต.ท. ทักษิณ จงใจยื่นบัญชีฯ อันเป็นเท็จ
และได้เสนอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยชื้ขาดตามมาตร 295 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยต่อไป
ซึ่งผลการวินิจฉัยของศาลรัฐ ธรรมนูญเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2544 ด้วยคะแนนเสียง 8 ต่อ 7 ว่า
พ.ต.ท. ทักษิณ ไม่มีความผิดตามรัฐธรรมนูญมาตรา 295 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

เมื่อศาลท่านวินิจฉัยเช่นนั้น ก็ต้องถือว่าแม้วไม่มีความผิด คงเหลือไว้แต่เพียงคำถามที่ค้างคาใจ
ท่าน ผู้ซึ่งกำลังจะขึ้นสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของประเทศ มีพฤติกรรมเช่นนี้ตั้งแต่ก่อนเข้ารับตำแหน่ง
ประชาชนจะไว้วางใจท่านได้ เต็ม 100 หรือไม่ว่า ท่านจะไม่จงใจปกปิดอะไรต่อมิอะไรที่เกี่ยวกับ
การ บริหารประเทศของท่านในอนาคตที่ยังมาไม่ถึง

ณ วันนี้ประชาชนส่วนใหญ่ก็คงจะได้คำตอบที่ค้างคาใจอยู่ ด้วยความเจ็บช้ำที่ครั้งหนึ่งได้หยิบยื่น
โอกาสให้ .......ตนหนึ่งเข้ามาทำร้ายบ้านเมืองอย่างไม่น่าให้อภัย

เปิดคำวินิจฉัย"ประเสริฐ นาสกุล" อดีตปธ.ศาลรธน.เสียงข้างน้อยผู้ล่วงลับ ตีแสกหน้า"แม้ว"ผิดคดีซุกหุ้น
อดีตปธ.ศาลรัฐธรรมนูญ "ประเสริฐ นาสกุล" ถึงแก่อนิจกรรมด้วยโรคหัวใจและติดเชื้อแล้ว ด้วยวัย 78 ปี ตั้งศพวัดธาตุทอง รดน้ำศพ 5 โมงเย็น สวด 5 วัน ปิดฉากชีวิต 1 ใน 7 คณะตุลาการศาลรธน.เสียงข้างน้อย ที่วินิจฉัยให้"ทักษิณ"มีความผิดในคดีซุกหุ้น ภาค 1

มีรายงานเมื่อวันที่ 9 ก.ค.ว่า นายประเสริฐ นาสกุล อดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญ ได้ถึงแก่อนิจกรรม ภายหลังเข้ารับการผ่าตัดโรคหัวใจและติดเชื้อ ด้วยวัย 78 ปี โดยจะมีพิธีรดน้ำศพ ในเวลา 17.00 น. ณ ศาลา 12 วัดธาตุทอง วันเดียวกันนี้ และสวดพระอภิธรรมศพ เป็นเวลา 5 วัน

สำหรับนาย ประเสริฐ เกิดเมื่อวันที่ 8 กันยายน 2474 เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญแต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตร์ และได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งเป็นประธานศาลรัฐธรรมนูญคนที่ 2 ของประเทศไทย โดยบทบาทสำคัญของนายประเสริฐ คือเป็นผู้ที่วินิจฉัยความผิดในคดีซุกหุ้นของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็น 1 ในจาก 7 เสียงส่วนน้อย ที่วินิจฉัยว่า พ.ต.ท.มีความผิดในคดีซุกหุ้น 1 เมื่อ พ.ศ.2544


ทั้งนี้ ขอยกตัวอย่างคำวินิจฉัยที่ นายประเสริฐ เคยวินิจฉัยเตือนสังคม ตั้งแต่ครั้งที่มีการพิจารณาคดี “ซุกหุ้น” ของ พ.ต.ท.ทักษิณ หลังเสียงข้างมากของตุลาการศาลศาลรัฐธรรมนูญ มีมติ ให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ไม่มีความผิด ด้วยคะแนน 8 ต่อ 7 เสียง ซึ่งนายประเสริฐ มีคำวินิจฉัยส่วนตัวว่า พ.ต.ท.ทักษิณ มีความผิดในคดีซุกหุ้น(ที่ 20/2544 วันที่ 3 สิงหาคม 2544 เรื่อง การจงใจยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน และเอกสารประกอบด้วยข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อเท็จจริงที่ควรแจ้งให้ทราบตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 295 (กรณีพันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร อดีตรองนายกรัฐมนตรี/ผู้ถูกร้อง ) โดยให้แง่คิดเตือนไว้ว่า

“หัวใจของการเมือง คือ ความไม่เห็นแก่ตัว หากเห็นแก่ตัวและพรรคของตัวแล้ว จะเห็นแก่มวลชนได้อย่างไร ดังนั้น นักการเมืองควรมีศีลธรรม ยึดถือธรรม บูชาธรรมยิ่งกว่าคนธรรมดา เมื่อเราทราบดีว่า การเมือง เศรษฐกิจ และสังคมปัจจุบันมีปัญหาที่ต้องแก้ไข หากผู้ที่อาสาเข้ามายังจะใช้วิธีการเดิมๆ อีก ย่อมจะแก้ไขไม่ได้ เพราะปัจจุบันเป็นผลของอดีต และจะเป็นเหตุของอนาคต ต้องคิดให้ดี พูดให้ดี และทำให้ดี ในอนาคตจึงจะมีความหวังได้ มิฉะนั้น ผู้สนับสนุนผู้ถูกร้อง (พ.ต.ท.ทักษิณ) จะต้องผิดหวังในที่สุด”


นอกจากนี้ นายประเสริฐ ยังมีคำวินิจฉัยส่วนตนที่น่าสนใจในการให้แง่คิดในเรื่องดังกล่าวว่า

“การที่รัฐธรรมนูญมิได้บังคับให้คู่สมรสผู้ถูกร้องยื่นบัญชีฯ นั้น มาตรา 291 บัญญัติให้ผู้ถูกร้องแต่เพียงผู้เดียวมีหน้าที่ยื่นบัญชีฯ เพราะมีมาตรา 209 ซึ่งบัญญัติให้รัฐมนตรีโอนหุ้นให้แก่นิติบุคคลซึ่งจัดการทรัพย์สินเพื่อประโยชน์ของผู้อื่น เพื่อมิให้รัฐมนตรีมีผลประโยชน์ขัดกันกับการประกอบธุรกิจของครอบครัว โดยมีพระราชบัญญัติการจัดการหุ้นส่วนและหุ้นของรัฐมนตรี พ.ศ. 2543 ใช้บังคับ นับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2543 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1470 ถึงมาตรา 1474 บัญญัติเกี่ยวกับทรัพย์สินของสามีและภริยา ประมวลรัษฎากร มาตรา 57 ตรี ว่าด้วยการเสียภาษีของสามีและภริยาในปีภาษีหนึ่งๆ และเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญที่จะปฏิรูปการเมือง ซึ่งผู้ใดเข้ามาทำงานการเมืองแล้ว จะต้องโอนการจัดการหุ้นบริษัทต่างๆ ที่มีอยู่ทั้งหมด มิใช่เพียงบอกกล่าวหรือโฆษณาให้ชาวบ้านทราบแต่เพียงว่า โอนกิจการให้แก่คู่สมรสหรือบุตรแล้ว แต่ในความเป็นจริงแล้ว ผู้ถูกร้องยังอยู่เบื้องหลังการประกอบธุรกิจของคู่สมรสและบุตร...

... การเอาประโยชน์โดยใช้ผู้ใกล้ชิดให้มีจำนวนเพียงพอที่จะก่อตั้งบริษัท แล้วโอนลอยหุ้น การใช้ชื่อบุคคลอื่นถือหุ้นแทน การปล่อยเงินกู้เฉพาะแก่คนรู้จัก การโอนถ่ายกำไรระหว่างบริษัท การใช้ข้อมูลภายในของบริษัท และกลุ่มบริษัทเพื่อขยายกิจการ และการซื้อขายหลักทรัพย์ที่ไม่เป็นธรรม มีการบอกกล่าวข้อความอันเป็นเท็จ การปล่อยข่าวลือ การอำพราง การใช้ข้อมูลภายใน..

...ผู้ถูกร้องจะทราบความจริงนี้หรือไม่ก็ตาม แต่ได้กล่าวอย่างภาคภูมิใจ และชัดถ้อยชัดคำว่า การที่ผู้ถูกร้องประกอบธุรกิจประสบความสำเร็จ จนมีบริษัทในเครือและทรัพย์สินมากมาย โอนลอยหุ้น และใช้ชื่อบุคคลอื่นถือหุ้นแทน นั้น “เป็นการประกอบธุรกิจตามปกติ ธรรมดาที่ใครๆ ก็ทำกันอย่างนั้น” ทั้งๆ ที่การทำธุรกิจในระบบนายทุนของต่างประเทศเป็นการกระทำมุ่งแสวงหากำไร เป็นความโลภ และความฟุ่มเฟือยฟุ้งเฟ้อ ไม่คำนึงถึงศีลธรรม และวัฒนธรรมอันดีงามของไทย

นอกจากนี้ ผู้ถูกร้องอ้างว่า เลิกกระทำธุรกิจหันมาทำงานการเมืองแล้ว ตั้งแต่ปี 2537 และมอบการบริหารธุรกิจในกลุ่มบริษัทให้แก่คู่สมรส (ในกรณีที่ผู้ถูกร้องเป็นผู้รับสัมปทานจากทางรัฐ อาจเป็นการกระทำที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 110 (2)) บุตรและเครือญาติ ดำเนินการต่อไป (แทนที่จะดำเนินการตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 209 โอนหุ้นให้นิติบุคคลซึ่งจัดการทรัพย์สินเพื่อประโยชน์ของผู้อื่น เช่น การให้ทรัสต์จัดการทรัพย์สิน ในกรณีดำรงตำแหน่งทางการเมืองของสหรัฐอเมริกา-ซึ่งเป็นความคิดก้าวหน้าสำหรับไทย)

และผู้ถูกร้องเข้าใจผิดว่า จำนวนประชาชนที่ออกเสียงเลือกผู้ถูกร้องในการเลือกตั้งทั่วไป เพราะผู้ถูกร้องเสนอโครงการต่างๆ เป็นที่ถูกใจได้นั้น มากมายมหาศาล แต่จำนวนประชาชนดังกล่าวมิได้มากกว่าจำนวนคนที่ทราบว่า ผู้ถูกร้องและคู่สมรสมีทรัพย์สินและหนี้สินจริงในวันยื่นบัญชีฯ ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 291 วรรคสอง เพราะประชาชนสิบเอ็ดล้านกว่าคนนั้น ไม่ทราบจำนวนทรัพย์สินและหนี้สินจริงของผู้ถูกร้องและคู่สมรสดีไปกว่าเลขานุการส่วนตัวเพียงสองคนของผู้ถูกร้องและคู่สมรส เพราะเป็นคนละเรื่องกัน...

...ผู้ถูกร้องโฆษณาให้ประชาชนทราบเพียงว่า ผู้ถูกร้องประสบความสำเร็จในความสำเร็จในการประกอบธุรกิจ มีเงินทองมากมมาย ไม่ทุจริต ผิดกฎหมาย และไม่อำพราง แล้วอุทิศตัวหันมาทำงานทางการเมือง โดยโอนการจัดการธุรกิจให้แก่คู่สมรส บุตร และเครือญาติ ผู้ถูกร้องรู้ปัญหาของบ้านเมืองดี จึงอาสาเข้าแก้ไข แต่ผู้ถูกร้องมิได้แสดงหรือเปิดเผยว่า ความสำเร็จในการประกอบธุรกิจในอดีตของผู้ถูกร้องในระยะเวลาอันสั้นนั้น กระทำได้อย่างไร และจะแก้ปัญหาการขัดระหว่างผลประโยชน์ของครอบครัวกับผลประโยชน์ของส่วนรวมหรือของชาติอย่างไร

อนึ่ง เป็นที่น่าสังเกตว่า เมื่อผู้ร้องกล่าวหาผู้ถูกร้องว่า จงใจยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สิน และหนี้สิน และเอกสารประกอบด้วยข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อเท็จจริงที่ควรแจ้งให้ทราบ มีข่าว ที่ค่อย ๆ เบี่ยงเบนประเด็นที่ผู้ถูกร้องถูกกล่าวหาทีละน้อย ๆ และเป็นระยะ ๆ ว่า ผู้ถูกร้องประกอบธุรกิจจนร่ำรวยด้วยน้ำพักน้ำแรง ไม่มีการทุจริต ผิดกฎหมาย ผู้ถูกร้องเป็นคนแรกที่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินให้ประชาชนทราบ ในขณะที่ยังไม่มีกฎหมายบังคับ ผู้ถูกร้องสมัครใจยื่นรายการทรัพย์สินและ หนี้สินเพิ่มเติมเอง

หากศาลเห็นว่า ผู้ถูกร้องกระทำผิด ก็เป็นการทำผิดโดยสุจริต ควรใช้หลักรัฐศาสตร์ ชลอการตัดสินคดี หรือยกโทษให้ผู้ถูกร้อง ไม่ควรลงโทษผู้ถูกร้องซึ่งได้รับการเลือกตั้งจากประชาชน สิบกว่าล้านคน เพื่อให้โอกาสผู้ถูกร้องบริหารประเทศต่อไปอีกระยะหนึ่ง เพราะไม่มีใครดีกว่าผู้ถูกร้อง ประเทศไทยขาดผู้ถูกร้องไม่ได้ ซึ่งไม่มีบทบัญญัติให้ศาลกระทำได้

และเมื่อใกล้จะถึงวันที่ศาลลงมติ มีข่าวหนาหูขึ้นว่า ฝ่ายผู้สนับสนุนผู้ถูกร้องจะชุมนุมกันเพื่อกดดันศาล จะวางเพลิงเผาศาล ตลอดจน จะทำร้ายตุลาการบางคน จนกระทั่งมีการส่งเจ้าหน้าที่ตำรวจไปให้ความคุ้มครอง ทำให้สิ้นเปลือง งบประมาณแผ่นดินไปอย่างน่าเสียดาย เป็นต้น ข่าวต่าง ๆ ดังกล่าวมานี้เกิดขึ้นได้อย่างไร หากมิใช่ เป็นการแสดง "ความเห็นแก่ตัว" ของคน

ปัญหาบ้านเมืองบางอย่าง อาจแก้ไขได้โดยไม่ต้องใช้เงินทองเลย เพียงแต่ผู้นำของประเทศต้องประพฤติตนให้เป็นแบบอย่างที่ดี โดยการคิด พูด และทำตรงกัน และชี้นำประชาชนในชาติว่า ปัญหาของชาตินั้นอยู่ที่ทุกคนจะต้องร่วมมือร่วมใจกันแก้ไขด้วยการลด ละ และเลิก “ความเห็นแก่ตัว” เป็นอันดับแรก...”

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเสียงข้างมาก 8 คนที่ระบุว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ไม่มีความผิดตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 295 คือ นายกระมล ทองธรรมชาติ, นายจุมพล ณ สงขลา, พลโทจุล อติเรก, นายปรีชา เฉลิมวณิชย์, นายผัน จันทรปาน, นายศักดิ์ เตชาชาญ, นายสุจินดา ยงสุนทร และ นายอนันต์ เกตุวงศ์ วินิจฉัยว่า

ส่วนตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเสียงข้างน้อย 7 คน คือ นายประเสริฐ นาสกุล, นายมงคล สระฏัน, นายสุจิต บุญบงการ, นายสุวิทย์ ธีรพงษ์, นายอมร รักษาสัตย์, นายอิสสระ นิติทัณฑ์ประภาศ และ นายอุระ หวังอ้อมกลาง วินิจฉัยว่า ผู้ถูกร้องมีความผิดตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 295

Edited by greeenday, 5 August 2012 - 07:57.

ในบ้านเมืองนั้น มีทั้งคนดี และคนไม่ดี ไม่มีใครที่จะทำให้ทุกคนเป็นคนดีได้ทั้งหมด การทำให้บ้านเมืองมีความปกติสุขเรียบร้อยจึงมิใช่การทำให้ทุกคนเป็นคนดี หากแต่อยู่ที่การส่งเสริมคนดี ให้คนดีปกครองบ้านเมือง และควบคุมคนไม่ดี ไม่ให้มีอำนาจไม่ให้ก่อความเดือดร้อนวุ่นวายได้

พระบรมราโชวาท 11 ธันวาคม 2512


#40 greeenday

greeenday

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 579 posts

Posted 5 August 2012 - 08:03

คดีซุกหุ้น ภาค 2 กรรมเก่า ยูเทิร์น สิ่งที่คน 11 ล้านไม่เคยรู้
บทความพิเศษ มติชนรายสัปดาห์ วันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2547 ปีที่ 24 ฉบับที่ 1262

ใครจะเชื่อว่าคดีซุกหุ้นของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ซึ่งชนะไปด้วยคะแนน 8 ต่อ 7 ในศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อ 4 ปีที่แล้ว จะตามมาหลอกหลอน พ.ต.ท.ทักษิณอีกครั้งหนึ่ง ทั้งๆ ที่ผู้นำได้ทำบุญกรวดน้ำไปให้แล้วก็ตาม

วันนี้ คน 11 ล้าน 6 แสนคน ที่เคยเลือกพรรคไทยรักไทย เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2544 กำลังสงสัยว่า คดีซุกหุ้น ภาค 2 คือ กรรมเก่าหวนคืน หรือ กรรมใหม่โคจร กันแน่ ?

ใครจะไปรู้ว่า วันดีคืนดี นายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ประธานศาลอุทธรณ์ภาค 7 อดีตผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา ไปให้การในฐานะพยานจำเลย ในคดีที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเสียงข้างมาก ฟ้อง น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ คอลัมนิสต์ น.ส.พ.แนวหน้าและพวก เป็นจำเลยฐานหมิ่นประมาทและดูหมิ่นศาลรัฐธรรมนูญ

ประกอบกับ คำให้การของ นายบัณฑิต ศิริพันธุ์ ทนายจำเลยที่ขึ้นเบิกความเป็นพยานด้วยตนเองระบุว่าก่อนการตัดสินคดีมีการวิ่งเต้นล็อบบี้ นายอุระ หวังอ้อมกลาง ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อช่วยให้ พ.ต.ท.ทักษิณ พ้นผิด

คำให้การของพยานเด็ด 2 ปากดังกล่าวทำเอาผู้นำพรรคไทยรักไทย นอนไม่หลับ เจออาการเซ็กซ์เสื่อม เพราะคดีซุกหุ้นที่ยูเทิร์นกลับมาใหม่ เสมือนไปสะกิดแผลเก่าของ พ.ต.ท.ทักษิณเข้าอย่างจัง

"อย่างบางเรื่องจบไปแล้วตั้งแต่ 4 ปีก่อน ก็ยังมีคนไปขุดคุ้ยมาอีก เพราะใกล้เลือกตั้ง ก็คือคดีซุกหุ้น แต่วันนี้ผมขอบอกว่า ขออโหสิกรรมให้กับทุกคนที่เคยล่วงเกินกันมา ที่พูดอย่างนี้ไม่ใช่จะลาบวช ผมกำลังจะออกรบ พร้อมที่จะอภัยให้ทุกคนขอกันกินมากกว่านี้" พ.ต.ท.ทักษิณ กล่าวบนเวทีเปิดแคมเปญ คิกออฟ 17 ตุลาคม 2547

ผู้นำหงุดหงิดยิ่งขึ้นเมื่อมาเจอ พวกขาประจำ จากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่ออกโรงเรียกร้องให้มีการพิสูจน์คำวินิจฉัยของ นายจุมพล ณ สงขลา และ กรณี "สินบน" ที่เสนอให้แก่ นายอุระ หวังอ้อมกลาง

เอาเข้าจริงแล้ว ขบวนการอุ้ม พ.ต.ท.ทักษิณ ในคดีซุกหุ้น ยังมีคนที่รู้เบื้องลึกอีกอย่างน้อย 2 คน คนแรกคือ "กล้านรงค์ จันทิก" อดีตเลขาธิการ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ซึ่งทำหน้าที่เป็นทนายความต่อกรกับฝ่าย พ.ต.ท.ทักษิณกลางเวทีศาลรัฐธรรมนูญอย่างเผ็ดมัน

"กล้านรงค์" เล่าให้ฟังในครั้งหนึ่งว่า ขณะทำคดีซุกหุ้น ทั้งหน้าบ้าน หลังบ้าน ยันที่ทำงานถูกก่อกวนสารพัด แม้กระทั่งมีคนส่งจดหมายใส่อุจจาระแห้งมาให้ถึงที่ทำงาน

"กล้านรงค์" บอกอีกว่า ในวันที่เดินทางไปแถลงปิดคดี คืนนั้นนอนคิดว่าไม่รอด คิดว่าไม่ได้กลับมาบ้านแน่ๆ รู้สึกโดดเดี่ยว สั่งลูกสั่งเมียไว้ว่าอาจเกิดอะไรขึ้นไม่รู้ ระหว่างนั่งรถตู้ไปศาลรัฐธรรมนูญ นึกขึ้นได้ก็นั่งร้องเพลงมอญดูดาว เพลงประจำมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปลุกปลอบใจไปตลอดทาง

"เมื่อผมร้องขึ้นคนหนึ่ง ลูกน้องผม 4-5 คนที่นั่งไปด้วยกัน นึกแปลกใจว่าท่านเลขาฯ ยังมีอารมณ์ร้องเพลง แล้วก็ร้องตาม กระทืบพื้นรถไปด้วย เมื่อไปถึงก็เจอม็อบธงเหลือง กว่าจะเข้าไปศาลรัฐธรรมนูญได้ก็แทบแย่"

"บิ๊กกล้า" ยังบอกอีกว่า ขณะแถลงสรุปคดีเป็นเวลา 20 นาทีก็ถูกฝ่ายตรงข้ามก่อกวนตลอด

"ตอนผมกำลังแถลงสรุปคดี ผมพูดจบหนึ่งประโยค จะได้ยินคนข้างหลังผมจะพูดขึ้นมาว่า "ไอ้โกหก" เมื่อผมพูดหนึ่งประโยค ผมจะได้ยินคนข้างหลัง ผมพูดว่า "ไอ้โกหกๆ" เป็นอย่างนี้ไปตลอด 20 นาทีจนผมแถลงจบ"

นี่คือ บันทึกประวัติศาสตร์คดีซุกหุ้นของ "บิ๊กกล้า" ในคดีซุกหุ้น

ส่วนตุลาการศาลรัฐธรรมนูญอีกคนหนึ่งที่รู้ธาตุแท้ของคนพันธุ์ "ตาดูดาว เท้าติดดิน" ดีที่สุดคือ นายประเสริฐ นาสกุล อดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งเขียนคำวินิจฉัยส่วนตัว ได้อย่างลุ่มลึก ทะลุไปถึงจิตวิญญาณ

"ประเสริฐ นาสกุล" เขียนคำวินิจฉัย ตอนหนึ่งว่า พ.ต.ท.ทักษิณ โฆษณาให้ประชาชนทราบเพียงว่า ประสบความสำเร็จในการประกอบธุรกิจ มีเงินทองมากมาย ไม่ทุจริต ผิดกฎหมาย และไม่อำพราง แล้วอุทิศตัวหันมาทำงานทางการเมืองโดยโอนการจัดการธุรกิจให้แก่คู่สมรส บุตร และเครือญาติ และอ้างว่า รู้ปัญหาของบ้านเมืองดีจึงอาสาเข้ามาแก้ไข

แต่ พ.ต.ท.ทักษิณ มิได้แสดงหรือเปิดเผยว่าความสำเร็จในการประกอบธุรกิจในอดีตของผู้ถูกร้องภายในระยะเวลาอันสั้นนั้น กระทำได้อย่างไร และจะแก้ปัญหาการขัดกันระหว่างผลประโยชน์ของครอบครัวกับประโยชน์ของส่วนรวมหรือของชาติอย่างไร

ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ชี้ว่า ปัญหาของบ้านเมืองบางอย่างอาจแก้ไขได้โดยไม่ต้องใช้เงินทองเลย เพียงแต่ผู้นำของประเทศต้องประพฤติตนให้เป็นแบบอย่างที่ดีโดยการ คิด พูด และทำตรงกัน ชี้นำประชาชนในชาติว่าปัญหาของชาตินั้นอยู่ที่ทุกคนจะต้องร่วมมือร่วมใจกันแก้ไขด้วยการ ลด ละ และเลิก "ความเห็นแก่ตัว" เป็นอันดับแรก

หากไม่แก้ไขความเห็นแก่ตัวก่อนแล้ว เห็นว่าหมดหวังเพราะไม่มีทางอื่นใดที่จะแก้ไขปัญหาของชาติในเวลานี้ได้

นายประเสริฐตั้งข้อสังเกตตอนหนึ่งว่า เมื่อ ป.ป.ช. กล่าวหา พ.ต.ท.ทักษิณ ว่าจงใจยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สิน หนี้สิน และเอกสารประกอบด้วยข้อความอันเป็นเท็จ ก็มีข่าวที่ค่อยๆ เบี่ยงเบนประเด็นทีละน้อยๆ และเป็นระยะๆ ว่า ตนเองประกอบธุรกิจจนร่ำรวยด้วยน้ำพักน้ำแรง ไม่มีการทุจริตผิดกฎหมาย

พร้อมกับอ้างว่า ตนเองเป็นคนแรกที่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินให้ประชาชนทราบในขณะที่ยังไม่มีกฎหมายบังคับ เป็นการสมัครใจยื่นรายการทรัพย์สินและหนี้สินเพิ่มเติมเอง

และหากศาลเห็นว่า พ.ต.ท.ทักษิณ กระทำผิดก็เป็นการทำผิดโดยสุจริต ควรใช้หลักรัฐศาสตร์ชะลอการตัดสินคดี หรือยกโทษ ไม่ควรลงโทษ เพราะ ตนเองได้รับการเลือกตั้งจากประชาชน 11 ล้านคน เพื่อให้โอกาสผู้นำพรรคไทยรักไทย บริหารประเทศต่อไปอีกระยะหนึ่ง เพราะไม่มีใครดีกว่า และประเทศไทยขาดคนชื่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ไม่ได้

เมื่อใกล้จะถึงวันที่ศาลรัฐธรรมนูญลงมติ มีข่าวหนาหูขึ้นว่าฝ่ายผู้สนับสนุน จะมีการชุมนุมกันเพื่อกดดันศาล จะวางเพลิงเผาศาล ตลอดจนจะทำร้ายตุลาการบางคน จนกระทั่งมีการส่งเจ้าหน้าที่ตำรวจไปให้ความคุ้มครอง ทำให้สิ้นเปลืองงบประมาณแผ่นดินไปอย่างน่าเสียดาย

ข่าวต่างๆ ดังกล่าวมานี้เกิดขึ้นได้อย่างไร หากมิใช่เป็นการแสดง "ความเห็นแก่ตัว" ของคน

นี่คือ ความจริงอีกด้านที่คน 11 ล้าน 6 แสนคน ไม่เคยฉุกคิดว่า เรื่องทั้งปวงล้วนเป็นกรรมเก่าล้วนๆ

คตส.เชือดซุกหุ้นภาค2 ดาบประหาร”แม้ว”
วันที่ 12/9/2007
หลังจากที่ทำงานมาจะครบ 1 ปี หลังการรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 ก.ย.ปีที่แล้ว ในที่สุดคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ก็โชว์ผลงานชิ้นโบแ ดงที่อาจจะเรียกได้ว่าชิ้นใหญ่ที่สุดในบรรดาคดีอื้อฉาวที่คตส.ตรวจสอบการทุจริตประพฤติมิชอบโครงการต่างๆ ในรัฐบาลชุดที่แล้วรวม 14 คดี และคดีซุกหุ้นภาคสองนี้ถือได้ว่าเป็นดาบประหาร พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯผู้พลัดถิ่นอย่างแท้จริง

หลังจากที่คณะอนุกรรมการคตส.ไต่สวนกรณีที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ใช้อำนาจเอื้อประโยชน์ต่อธุรกิจของตัวเองและพวกพ้องที่มี นายแก้วสรร อติโพธิ เป็นประธาน ได้แกะรอยตรวจสอบเกี่ยวกับเบื้องหน้าเบื้องหลังการซุกหุ้นบริษัทชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด ของครอบครัวชินวัตรมานานหลายเดือนในที่สุดก็ได้พบหลักฐานชิ้นสำคัญที่สามารถมัดอดีตนายกฯและคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ภริยา โดยพบว่ามีการซุกหุ้นโดยตั้งบริษัทแอมเพิล ริช และบริษัทวินมาร์ค ลิมิเต็ด ขึ้นเป็นนอมินีบังหน้าแล้วมีการถ่ายโอนหุ้นไปมาระหว่างคนในครอบครัวชินวัตรไปมาอย่างสลับซับซ้อนเพื่อเลี่ยงกฎหมายและเลี่ยงการเสียภาษีเป็นมูลค่ามหาศาล

ทั้งนี้ การกระทำผิดด้วยการซุกหุ้นภาค 2 เกิดขึ้นตั้งแต่ก่อนที่ พ.ต.ท.ทักษิณ จะมาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จนกระทั่งขณะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแล้วก็ยังมีการใช้อำนาจหน้าที่อื้อประโยชน์แก่ธุรกิจที่ตัวเองถือหุ้นอยู่มูลค่าหลายหมื่นล้านบาท จนในที่สุดก็มีการขายหุ้นชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด มูลค่าถึง 73,300 ล้านบาท ให้กับกองทุนเทมาเซค ของสิงคโปร์ อย่างมีเงื่อนไขงำและไม่เสียภาษีแม้แต่บาทเดียว จนเป็นชนวนนำไปสู่การล่มสลายของระบอบทักษิณ

จากหลักฐานที่มีอยู่ชี้ให้เห็นว่า มีการถ่ายโอนหุ้นชิน คอร์ปอเรชั่น โดยผิดกฎหมายต่างกรรมต่างวาระหลายครั้ง ซึ่งหากในอนาคตศาลพิพากษาว่ามีความผิดจริงอดีตนายกฯและภริยา จะต้องถูกจำคุกเป็นเวลาหลายปีทีเดียว

หลักฐานสำคัญอีกชิ้นหนึ่งที่ คตส.ได้รับล่าสุดที่สามารถใช้มัดอดีตนายกฯผู้พลัดถิ่นก็คือเอกสารของธนาคารยูบีเอส สิงคโปร์ ซึ่งครอบครัวชินวัตร ใช้บริการอยู่ระบุว่า พ.ต.ท.ทักษิณ คือผู้ถือหุ้นชิน คอร์ปอเรชั่น ตัวจริง ทั้งๆ ที่ก่อนหน้านี้ พ.ต.ท.ทักษิณ ยืนยันมาตลอดว่า ได้โอนหุ้นทั้งหมดให้แก่สมาชิกในครอบครัวไปหมดแล้ว ก่อนที่จะมาเล่นการเมือง นั่นย่อมแสดงให้เห็นว่า อดีตนายกฯผู้พลัดถิ่นปกปิดและแสดงบัญชีทรัพย์สินอันเป็นเท็จต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) ซึ่งมีความผิดตามกฎหมาย

นอกจากนี้ คตส. ยังตรวจพบการทำธุรกรรมการซื้อขายหุ้นที่สร้างผลกำไรในลักษณะที่ได้รับข้อมูลภายในหรือ อินไซเดอร์ ซึ่งผิดกฎหมายตลาดหลักทรัพย์ฯ

คตส.จึงมีมติอย่างเป็นทางการให้แจ้งข้อกล่าวหาดำเนินคดีกับ พ.ต.ท.ทักษิณ และ คุณหญิงพจมาน ภายใน 7 วัน โดยซึ่งโทษนอกจากจำคุกต่างกรรมต่างวาระแล้ว ที่สำคัญก็คือ ทรัพย์สินมูลค่าหลายหมื่นล้านบาทจะถูกยึดตกเป็นของแผ่นดินทันทีเมื่อศาลมีคำพิพากษาว่าทรัพย์สินได้มากโดยมิชอบ

ไม่เพียงเท่านี้คตส.ยังเดินหน้าขยายผลเพื่อขุดคุ้ยตามล่าตรวจสอบขุมทรัพย์ของอดีตนายกฯในต่างแดนอีกด้วย โดยเฉพาะเป้าหมายที่กำลังเพ่งเล็งก็คือ เงินจำนวนเกือบ 10,000 ล้านบาท ที่ถูกนำไปซื้อกิจการสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ ซิตี้ ของอังกฤษที่เชื่อว่าน่าจะเป็นทรัพย์สินส่วนหนึ่ง ที่ถูกซุกไว้ด้วยวิธีการอันแยบยล

นายสุริยะใส กตะศิลา เลขาธิกาคณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย(ครป.) ชมเชยผลงานเปิดโปงคดีซุกหุ้นภาค 2 ของคตส.ครั้งนี้ว่า เป็นผลงานชิ้นโบแดงที่คลี่คลายปมที่สาธารณชนสงสัยมานานได้อย่างแจ่มแจ้ง พร้อมทั้งเสนอให้รัฐบาลตั้งคณะกรรมการเพื่อสอบสวนคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ก.ล.ต.)โดยเชื่อว่าน่าจะมีส่วนรู้เห็นกับอดีตนายกฯเกี่ยวกับข้อมูลอินไซเดอร์

นอกจากนี้ ยังเตือนพรรคพลังประชาชนว่าหากยังขืนปกป้องอดีตนายกฯผู้พลัดถิ่นก็เท่ากับยัดเยียดประชาชนให้ยอมรับคนโกง หรือเลือกพรรคการเมืองที่สนับสนุนคนโกง

ดังนั้น การลงดาบเชือดในคดีซุกหุ้นภาค 2 ถือเป็นดาบประหาร พ.ต.ท.ทักษิณ และครอบครัว”ชินวัตร”อย่างแท้จริง เพราะนอกจากทำให้ภาพพจน์และความน่าเชื่อถือของ พ.ต.ท.ทักษิณ ในสายตานานาชาติลดลงแล้ว ที่สำคัญวันใดที่ศาลมีคำพิพากษาว่าอดีตนายกฯ และภริยามีความผิดจริงนอกจากต้องติดคุกแล้วทรัพย์สินหลายหมื่นล้านบาท ต้องถูกยึดตกเป็นของแผ่นดิน ซึ่งนั่นหมายถึงการปิดฉากอนาคตทั้งทางด้านการเมืองและชีวิตส่วนตัวลงอย่างสิ้นเชิง ฉะนั้น ในที่สุดทางเลือกสำหรับอดีตนายกฯผู้ถื้อฉาวเห็นทีอาจจะต้องใช้ชีวิตบั้นปลายในต่างแดนอย่าวถาวรในฐานะผู้ลี้ภัยการเมือง

ในบ้านเมืองนั้น มีทั้งคนดี และคนไม่ดี ไม่มีใครที่จะทำให้ทุกคนเป็นคนดีได้ทั้งหมด การทำให้บ้านเมืองมีความปกติสุขเรียบร้อยจึงมิใช่การทำให้ทุกคนเป็นคนดี หากแต่อยู่ที่การส่งเสริมคนดี ให้คนดีปกครองบ้านเมือง และควบคุมคนไม่ดี ไม่ให้มีอำนาจไม่ให้ก่อความเดือดร้อนวุ่นวายได้

พระบรมราโชวาท 11 ธันวาคม 2512


#41 overtherainbow

overtherainbow

    เมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 5,295 posts

Posted 5 August 2012 - 08:04

ดันกระทู้

#42 greeenday

greeenday

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 579 posts

Posted 5 August 2012 - 08:04

ศึก "ซุกหุ้น” ภาค 3 ตอน "แก้วสรร-หมอตุลย์” ขย่ม "ปูแดง”

มีเหตุผลมากมายที่ทำให้เชื่อได้ว่า การออกมาเคลื่อนไหว "ขย่มปูแดง” ของ "เครือข่ายพลเมืองคัดค้านนิรโทษกรรมคอรัปชั่นทักษิณ" (คนท.) ที่นำโดย "แก้วสรร อติโพธิ" นักวิชาการและอดีตคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ในฐานะเครือข่ายพลเมืองอาสาปกป้องแผ่นดิน และ "นพ.ตุลย์ สิทธิสมวงศ์" แกนนำเครือข่ายคนเสื้อหลากสี ที่เคลื่อนไหวให้ประชาชนร่วมลงชื่อยื่นกล่าวโทษ "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" ผู้สมัคร ส.ส. ระบบบัญชีรายชื่อ หรือปาร์ตี้ลิสต์ ลำดับที่ 1 ของพรรคเพื่อไทย เพื่อหยุดการเสนอกฎหมายนิรโทษกรรมให้ "ทักษิณ ชินวัตร" ในคดีซุกหุ้น, นั้นเป็นการออกมาเคลื่อนไหวต่อสู้เพื่อพรรคประชาธิปัตย์

ทั้งๆ ที่นายแก้วสรรเป็นผู้กล่าวประโยคที่ว่า "หน้าข้าว หน้าเหล้า นักเลงเขาไม่ทำกัน" แต่เพียงหนึ่งสัปดาห์ผ่านไป ไฉนนักเลง "แก้วสรร" ถึงทำกันอย่างนี้ ดังนั้น จึงช่วยไม่ได้ที่หลายฝ่ายจะตั้งข้อสงสัย และแม้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ รวมถึงนายสุเทพ เทือกสุบรรณจะออกมาปฏิเสธความเกี่ยวโยงกับการเคลื่อนไหวของเครือข่ายกลุ่มดังกล่าวให้ตาย ก็ไม่มีใครเชื่อ !

แต่กระนั้นก็ดี ประเด็นทั้งหลายทั้งปวงก็ปฏิเสธมิได้เช่นกันว่า เป็นความจริงที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ จะต้องยอมรับ เพราะมีประจักษ์พยานยืนยันชัดเจนว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ให้การเท็จจริง และซุกหุ้นของพี่ชายจริง

อย่างไรก็ตาม การออกมาเคลื่อนไหวของสองบุรุษ เริ่มจาก น.พ.ตุลย์ สิทธิสมวงศ์ แกนนำกลุ่มเสื้อหลากสี และตัวแทนเครือข่ายพลเมืองปกป้องแผ่นดินเข้าพบ "ธาริต เพ็งดิษฐ์” อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) เพื่อเรียกร้องให้ดีเอสไอดำเนินการกับ น.ส.ยิ่งลักษณ์ น้องสาว พ.ต.ท.ทักษิณ และพวก จากกรณีที่ศาลได้ตัดสินให้ยึดทรัพย์คดีซุกหุ้นชินคอร์ป แต่จนถึงขณะนี้ยังไม่มีการกล่าวโทษกับผู้ที่อ้างถือหุ้นแทน ซึ่งรวมถึง น.ส.ยิ่งลักษณ์

ทั้งนี้ นพ.ตุลย์ ได้ยื่นเอกสารกล่าวโทษต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ กรมสอบสวนคดีพิเศษว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ และพวก คือ พ.ต.ท.ทักษิณ, นางพจมาน ณ ป้อมเพชร, นายบรรณพจน์ ดามาพงศ์, นายพานทองแท้, น.ส.พินทองทา และนางกาญจนาภา หงษ์เหิน ได้ร่วมกันกระทำผิด เป็นหลายกรรมหลายวาระ เป็นอาญาแผ่นดิน แต่ก็ยังมิได้ถูกดำเนินคดีใดๆ และจะใช้อำนาจทางการเมืองมาทำลายกฎหมายบ้านเมือง จะนิรโทษกรรมให้แก่พวกของตนอีก จึงจำเป็นที่ดีเอสไอเป็นผู้รับผิดชอบบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมาย จะต้องใช้อำนาจดำเนินคดีต่อบุคคลเหล่านี้โดยด่วน

ตามคำพิพากษาศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง คดีหมายเลขแดงที่ อม. 2553 ระหว่างอัยการสูงสุดกับ พ.ต.ท.ทักษิณ เรื่องขอให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน เมื่อวันที่ 26 ก.พ.2553 ได้วินิจฉัยเป็นที่ยุติแล้วว่า ระหว่างที่ พ.ต.ท.ทักษิณดำรงตำแหน่งนายกฯ เมื่อปี 2544 นั้น หุ้นบริษัทชินคอร์ปซึ่งรับสัญญาโทรคมนาคมกับรัฐกว่า 49% ยังคงเป็นกรรมสิทธิ์ของ พ.ต.ท.ทักษิณและภริยา อันเป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย ฐานเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐแล้วยังคงถือไว้ซึ่งสัญญาสัมปทาน

ส่วนคำคัดค้านของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ และพวก ว่าหุ้นชินคอร์ปจำนวนดังกล่าวเป็นกรรมสิทธิ์ของตน เพราะได้ซื้อมาจาก พ.ต.ท.ทักษิณนั้น ศาลฟังว่าเป็นความเท็จ เป็นการสมคบให้ใช้ชื่อถือแทนเพื่อหลีกเลี่ยงกฎหมาย

ทั้งนี้ เมื่อผู้พิพากษาทั้ง 9 ท่านได้มีมติเป็นเอกฉันท์ข้างต้นแล้ว ก็ได้วินิจฉัยต่อไปว่ามีการใช้อำนาจรัฐเอื้อประโยชน์แก่ธุรกิจบริษัทชินคอร์ปหลายประการ จนทำให้หุ้นชินคอร์ปมีมูลค่าสูงขึ้นเป็นอันมาก มูลค่านี้จึงเป็นทรัพย์สินที่ พ.ต.ท.ทักษิณและภริยาได้มาโดยมิสมควรสืบเนื่องจากตำแหน่งหน้าที่ จึงพร้อมกันพิพากษาให้เงินที่ได้จากการขายหุ้นจำนวน 4.6 หมื่นล้านบาทตกเป็นของแผ่นดิน

อีกทั้ง คำวินิจฉัยข้างต้นที่ว่าหุ้นชินคอร์ปยังเป็นของ พ.ต.ท.ทักษิณและภริยาอยู่ตลอดเวลาที่อยู่ในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีนี้ถือเป็นที่สุด และมีผลผูกพัน น.ส.ยิ่งลักษณ์ และพวก ที่ล้วนเข้าไปเป็นตัวความในคดียึดทรัพย์นี้ด้วย

อย่างไรก็ตาม หลังจากนั้น "เครือข่ายพลเมืองคัดค้านนิรโทษกรรมคอร์รัปชันทักษิณ” (คนท.) นำโดย นายแก้วสรร อติโพธิ นักวิชาการ อดีตกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ก็ได้เผยแพร่เอกสารคำชี้แจงผ่านเว็บไซต์เฟซบุ๊กในหัวข้อ "กล่าวโทษปู หยุดกฎหมู่ชินวัตร”

โดยจากการตรวจสอบในหน้าเฟซบุ๊กของเขาทราบว่าได้เตรียมที่จะเอาผิดกับ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ในข้อหาให้ "ข้อมูลเท็จ” อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากคดี "ซุกหุ้นภาค 2” ของทักษิณ ในกรณีขายหุ้นชินคอร์ป โดยคราวนั้น ยิ่งลักษณ์ไปยืนยันว่าร่วมรับซื้อหุ้นดังกล่าวมา แต่ต่อมาศาลตรวจสอบแล้วพบว่าเป็นเรื่องเท็จและพิพากษาให้ยึดทรัพย์ทักษิณจำนวน 4.6 หมื่นล้านบาท ดังนั้น การกระทำของยิ่งลักษณ์ถือว่าเป็นความผิดสำเร็จแล้วและเป็นคดีอาญาจะต้องดำเนินการตามกฎหมายต่อไป รวมไปถึงการรณรงค์ชี้ให้สังคมได้เห็นว่าความพยายามในการนิรโทษกรรมลบล้างความผิดให้ทักษิณ ถือว่าเป็นการใช้ "กฎหมู่” เป็นการบิดเบือนกระบวนการยุติธรรมโดยใช้วิธี "ประชามติ” หรือการเลือกตั้ง

"...พ.ต.ท.ทักษิณ จะถูกผิดอย่างไร ต้องตัดสินด้วยหลักฐานด้วยกระบวนการยุติธรรมที่ต่อสู้คดีกันในศาล ไม่ใช่ด้วยการให้ประชาชนลงคะแนนว่าทักษิณผิดหรือไม่ผิด หากยอมให้มีการใช้ประชามติอย่างนี้เมื่อใด ประชาธิปไตยจะล้ำแดนกฎหมายกลายเป็นกฎหมู่ ตระกูลชินวัตรจะเป็นตระกูลที่อยู่เหนือกฎหมายทำผิดไม่ได้ไปในทันที...

"ต่อไปตระกูลไหนต้องคดีความก็ลงทุนตั้งพรรคการเมืองแก้กฎหมายนิรโทษกรรมตนเองได้อย่างนี้อีก ส่วนใครที่ทุจริตแต่ไม่มีเงินก็ปล่อยให้ติดคุกต่อไปอีก เราจะยอมให้เขาทำได้อย่างนั้นหรือ เราเชื่อว่าคนส่วนใหญ่ไม่มีใครยอมให้เป็นเช่นนี้...” นี่คือข้อความบางส่วนจากเอกสารคำชี้แจงเรื่อง "ร่วมกล่าวโทษปู หยุดกฎหมู่ชินวัตร” ของแก้วสรร ที่เขียนไว้ในเฟซบุ๊ก

ต่อจากนั้น เครือข่ายพลเมืองคัดค้านนิรโทษกรรมคอร์รัปชั่นทักษิณ (คนท.) นำโดย นายแก้วสรร และนพ.ตุลย์ ได้เข้ายื่นหนังสือต่อคณะกรรมาธิการศึกษา ตรวจสอบการทุจริต และเสริมสร้างธรรมาภิบาล วุฒิสภา เพื่อขอให้ติดตามการทำงานของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) อัยการสูงสุด (อสส.) และสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เกี่ยวกับคดีที่ คตส.ได้ตรวจสอบคดีความของ "พ.ต.ท.ทักษิณ” และส่งเรื่องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อทำหน้าที่ตามกระบวนของกฎหมาย

จากนั้น คนท. จะแจกเอกสารให้ประชาชนทั่วไปร่วมกล่าวโทษ น.ส.ยิ่งลักษณ์ หรือจะร่วมกล่าวโทษผ่านทางเว็บไซต์เฟซบุ๊กชื่อ "กล่าวโทษปู หยุดกฎหมู่ชินวัตร" โดยจะรวบรวมเอกสารการกล่าวโทษทั้งหมดในวันที่ 18 มิ.ย. ที่ ม.ธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ และในวันที่ 21 มิ.ย. จะไปยื่นต่ออธิบดีดีเอสไอ เพื่อให้เร่งรัดคดีที่ต่อเนื่องมาจาก คตส.

ขณะเดียวกัน อีกด้านหนึ่ง, เมื่อหันมามองในมุมของพรรคเพื่อไทย โดยเฉพาะ "ปู-ยิ่งลักษณ์” ในเมื่อ "คนสวย” ประกาศสลัดคราบนักธุรกิจสาวก้าวเข้าสู่ถนนการเมือง การถูกตรวจสอบจากภาคสังคมไม่ว่าจะเป็นที่ใด เวลาใด ก็เป็นเรื่องธรรมดาตามวิถีประชาธิปไตย เมื่อมีการกล่าวหามา จะจริงหรือเท็จอย่างไร เป็นเรื่องที่ผู้ถูกกล่าวหาจะต้องชี้แจงแสดงเหตุผล จะด้วยเอกสารหลักฐาน หรือพยานก็แล้วแต่เพื่อให้เกิดความกระจ่าง ยิ่งเมื่อนโยบายปรองดองของพรรคเพื่อไทย พุ่งเป้าไปที่การ "นิรโทษกรรม” เพื่อนำทักษิณกลับประเทศไทยโดยไม่ติดคุก สังคมย่อมตั้งคำถามถึงนัยการออกกฎหมายนิรโทษกรรม รวมถึงตัวของ "ยิ่งลักษณ์” ด้วย

อีกทั้ง จากการที่พรรคเพื่อไทยหวังจะใช้การเลือกตั้งครั้งนี้เป็นเครื่อง "ฟอกความผิด” ให้ทักษิณ ด้วยการหาเสียงกันอย่างคึกคักเรื่องการออกกฎหมาย "นิรโทษกรรม” เพื่อนำทักษิณกลับบ้านให้ได้ โดยในช่วงเริ่มต้นออกหาเสียงกันใหม่ๆ ถึงกับออกไอเดียโดยใช้สโลแกนหาเสียงว่า "หากต้องการให้นิรโทษฯ ให้ทักษิณก็ต้องเลือกพรรคเพื่อไทย”

แต่ไม่น่าเชื่อว่า ทำไปทำมา การรณรงค์ของพรรคเพื่อไทยและทีมงานที่หวังจะใช้การเลือกตั้งครั้งนี้เป็นเครื่อง "ฟอกความผิด" ให้ทักษิณ จะกลายเป็นประเด็นลุกลาม "ย้อนเข้าตัว” และทำลายคะแนนเสียงของตัวเองมากขึ้น และที่สำคัญเริ่มส่งผลสะเทือนออกไปในวงกว้างอย่างไม่น่าเชื่อ !

ทั้งนี้ ผลที่เกิดขึ้นทำให้เวลานี้พรรคเพื่อไทยต้องออกมาแก้เกมอย่างหนัก ทั้งในเรื่องของการออกมาปฏิเสธข้อกล่าวหาในเรื่อง "แผนบันได 4 ขั้น” เหยียบชาวบ้านไปสู่การนิรโทษฯ ซึ่งมีทั้ง ยิ่งลักษณ์และทักษิณที่พูดผ่าน "คนรับใช้” อย่าง นพดล ปัทมะ เพื่อหวังตัดเกมโดยเร็วก่อนที่จะลุกลามขยายวงออกไปจนเสียการใหญ่ในภายหน้า เพราะแม้ว่าจะมั่นใจในเสียงสนับสนุนของคนเสื้อแดงขนาดไหนก็ตาม แต่ถ้าคนส่วนใหญ่ไม่เอาด้วย มันจะยุ่ง !

ดังนั้น ถ้าพิจารณาอย่างรอบด้านแล้วจะเห็นว่านี่คือเกม "ย้อนศร” วัดความรู้สึกของสังคมว่าคิดอย่างไรกับแนวความคิด "อภิสิทธิ์ชน” ที่นักการเมืองคนหนึ่งมีความผิดในเรื่องคอร์รัปชัน กำลังจะใช้วิธีการ "พิเศษ” เฉพาะตัวผ่านการเลือกตั้ง หรือเรียกว่าใช้ "ประชามติฟอกความผิด” เหนือกว่านิติรัฐที่คนทั่วไปยอมรับกันอยู่ และแม้จะรู้ทันว่าเป็นเกมการเมืองที่แฝงอยู่ แต่อีกด้านหนึ่งต้องยอมรับว่านี่คือ "ความจริง” ที่กำลังมีการทดสอบกันอยู่ว่า ประชาชนส่วนใหญ่จะเห็นกันอย่างไร

ซึ่งจะว่าไปแล้ว เรื่องที่เกิดขึ้นนี้ก็คล้ายเมื่อครั้ง "ทักษิณ” โดนคดีซุกหุ้นภาคแรก ที่สังคมไทยแตกแยกออกเป็นสองเสี่ยง "บกพร่องโดยสุจริต” คือประโยคฮิตติดหูมาจนทุกวันนี้

และวันนี้สังคมไทยกำลังถูกทดสอบด้วย "ซุกหุ้นภาค 3” ซึ่งเป็นเรื่องราวทำนองเดียวกันอีกครั้ง !?

ในบ้านเมืองนั้น มีทั้งคนดี และคนไม่ดี ไม่มีใครที่จะทำให้ทุกคนเป็นคนดีได้ทั้งหมด การทำให้บ้านเมืองมีความปกติสุขเรียบร้อยจึงมิใช่การทำให้ทุกคนเป็นคนดี หากแต่อยู่ที่การส่งเสริมคนดี ให้คนดีปกครองบ้านเมือง และควบคุมคนไม่ดี ไม่ให้มีอำนาจไม่ให้ก่อความเดือดร้อนวุ่นวายได้

พระบรมราโชวาท 11 ธันวาคม 2512


#43 Stargate-1

Stargate-1

    SG-1

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,578 posts

Posted 5 August 2012 - 08:23

อ้าว ขายหุ้นไม่ต้องเสียนี้ แล้วจะไปว่าเขาโกงได้ไง :)

เนƒเธ„เธฃเธงเนˆเธฒเธ„เธ™เธฃเธงเธขเน„เธกเนˆเน‚เธเธ‡ เธ‰เธšเธฑเธš เธœเธกเธœเธดเธ”เธ”เน‰เธงเธขเธซเธฃเธทเธญ
แสนยานุภาพ ลิงค์ให้ไว้เข้าไม่ได้ เข้าได้แต่ลิงค์ล่างนี้ :D

http://www.manager.co.th/home/


ลิงค์นี้ใช่ไหม

http://www.korbsak.c...oads/book31.pdf


คุณกิ้งก่าเปลี่ยนสีเคยซื้อขายหุ้นหรือเปล่า หรือฟังเขาพูดกันตอนเสริฟกาแฟในห้องค้าหุ้น

Edited by Stargate-1, 5 August 2012 - 08:26.

Tam-mic-ra ฟันธง!  คำว่า "โดนพริกไทยมั๊ง" น่ะ แค่นี่เอามาเป็นหลักฐาน ได้ยังไงครับ .....  คิดครับคิด  :lol:   จากกระทู้แก้ข่าวหน้า 2 qoute #96  ใครยิงวสันต์-ภู่ทอง   แอลพีจีทำมาจากซี2ซี3


#44 นิติรั่ว

นิติรั่ว

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,513 posts

Posted 5 August 2012 - 08:33

....คนรุ่นหลัง จำนวนมากเกิดไม่ทันรู้ ดูไม่ทันเห็น ความชั่วร้ายของชายชื่อทักษิณ ชินวัตร และคณะตระกูลชินวัตร
และดามาพงศ์ แลพลพรรคไทยรักไทย หรือ เพื่อไทย ในปัจจุบัน
เมื่อครั้งมีอำนาจในมือซ้าย ถือกฎหมายในมือขวา
เมื่อครั้งนั่งเก้าอี้นายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร
สร้างผลงานโบว์ดำอันลือลั่นสั่นสะเทือนแผ่นดิน ด้วยการใช้อำนาจ และช่องโหว่ทางกฎหมาย
ซื้อขายหุ้นชินคอร์ปโดยไม่เสียภาษีสักบาทเดียว โดยมีกุนซือชื่อ สุวรรณ วลัยเสถียร ดำเนินการให้

ถึงขนาดยุคนั้นมีการเปรียบเปรยแบบปากต่อปากว่า

"คนขายก๋วยเตี๋ยวยังเสียภาษีแบบนับชามก๋วยเตี๋ยวเลย แล้วนายกฯเป็นใครทำไมไม่เสียภาษี"

ถึงไม่ผิดกฎหมายแต่ผิดจริยธรรมในฐานะที่เป็นถึงนายกรัฐมนตรีที่นำเงินภาษีมาใช้บริหารประเทศ

แต่ตัวเองและตระกูลกลับคิดใช้อำนาจช่องโหว่ หลบเลี่ยงภาษี

หลังจากนี้คือส่วนหนึ่งของข่าวสารที่ชวนคิดในยุคนั้น

เปิด10ปมคาใจขายหุ้นชินคอร์ป

กรุงเทพธุรกิจ l 30 มกราคม 2549 09:52 น.

การขายหุ้นบริษัท ชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ของตระกูล ชินวัตรและดามาพงศ์ ให้กับกลุ่มเทมาเส็ก โฮลดิ้งส์ สัดส่วน 49.95% ในราคาหุ้นละ 49.25 บาท พร้อมรับเงิน



7.32 หมื่นล้านบาท ยังมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ตามมาไม่ขาดสาย

และก็มีแนวโน้มว่าจะกลายเป็นปัญหายืดเยื้อ ที่ส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์และสถานะทางการเมืองของนายกรัฐมนตรี หาก "กุนซือ" ที่คิดสูตรพิสดาร ไม่สามารถอธิบายความซับซ้อนของดีลนี้ได้ จะทำให้เงื่อนปมปัญหากลับมาพันให้ตัวเองต้องหาทางแก้ไข

เหตุเพราะเป็นดีลที่มีวงเงินสูงและเป็นบริษัทที่ตระกูลนายกรัฐมนตรีขายหุ้นออก แถมทำให้ซับซ้อนเพื่อหาช่องปลอดภาษี จึงมีปมสงสัย "คาใจ" ทั้งด้าน "จริยธรรม" มาตรฐานของกรมสรรพากร กฎเกณฑ์ของตลาดหลักทรัพย์ มาตรฐานการกำกับของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)

ปมแรก ได้บทสรุปออกมาแล้วว่า หากดีลครั้งนี้ ก.ล.ต.ไม่ผ่อนคลายเกณฑ์เทนเดอร์ออฟเฟอร์ คาดว่ากลุ่มเทมาเส็ก ต้องจ่ายเงินเพิ่มอีก 1.92 แสนล้านบาท

ปมที่ 2 ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยยังไม่มีข้อสรุปออกมาเลยว่า ดีลครั้งนี้มีการใช้ข้อมูลภายในในการซื้อขายหุ้นหรือไม่ เนื่องจากนับตั้งแต่ธันวาคม 2548 ที่ผ่านมา ราคาหุ้นชินคอร์ป เคลื่อนไหวอยู่เพียง 37 บาท และขยับขึ้นอย่างต่อเนื่องตามกระแสข่าวการขายกิจการของตระกูลชินวัตรออกมา โดยที่ตลาดไม่ได้ขึ้นเครื่องหมายเตือน เนื่องจากมองว่าไม่เกี่ยวข้องกับบริษัท เพราะเป็นการตัดสินใจของผู้ถือหุ้น

แต่อาจจะลืมไปว่า ผู้ถือหุ้นและผู้บริหารในดีลนี้เกี่ยวข้องกันและกัน ทำให้ราคาหุ้นขยับขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเมื่อวันที่ 23 มกราคม 2549 มายืนระดับ 48 บาท แน่นอนย่อมมีผู้ได้รับกำไรมหาศาล ที่สำคัญในช่วงก่อน 1 เดือน ผู้บริหารในกลุ่มชินคอร์ปมีการทยอยขายหุ้นออกมาเป็นระยะ

ปมที่ 3 กรณี บริษัท แอมเพิล ริช ขายหุ้นออกมาให้กับ น.ส.พิณทองทา และนายพานทองแท้ ชินวัตร เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2549 ในราคาหุ้นละ 1 บาท และมาขายต่อให้กลุ่มเทมาเส็กวันที่ 23 มกราคม 2549 แต่ไม่พบการซื้อเกิดขึ้นในวันที่ 20 มกราคม 2549 ซึ่งยังเป็นข้อสงสัยถึงการซื้อขายและเจ้าของที่แท้จริงในบริษัทแอมเพิล ริช ว่าเป็นใคร ถึงใจดีขายหุ้นออกมาในราคา 1 บาท

ปมที่ 4 ต่อเนื่องมาจากกรณีของแอมเพิล ริช ในอดีตเมื่อ 11 มิถุนายน 2542 พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้แจ้ง ก.ล.ต.ชัดเจนว่า ได้ขายหุ้นชินคอร์ป 32.9 ล้านหุ้น (พาร์ 10 บาท) ให้กับแอมเพิล ริช ซึ่งเป็นบริษัทที่อยู่บนเกาะปลอดภาษี บริติช เวอร์จิน ขณะนั้น พ.ต.ท.ทักษิณ ถือหุ้น 100% อย่างไรก็ตาม ในช่วงที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช.ไต่สวนคดีซุกหุ้นช่วงปี 2543 นั้น พ.ต.ท.ทักษิณ ระบุว่า ได้โอนหุ้นให้กับบุคคลอื่นไปแล้ว เท่ากับว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ไม่ได้ถือหุ้นในแอมเพิล ริช แล้ว

เรื่องน่าจะจบเพียงแค่นี้ แต่เมื่อเกิดกรณีวันที่ 20 มกราคม 2549 ขึ้นมา จึงเกิดข้อสงสัยขึ้นว่า โอนให้ใคร เพราะ "ความใจดี" จึงยอมขายหุ้นออกมาในราคา 1 บาท แน่นอนสังคมอาจจะเข้าใจได้ว่า ต้องเป็นบุคคลใกล้ชิดกับตระกูลชินวัตร ถึงจะยอมกระทำเช่นนี้ เพียงแต่ตัวตนผู้ถือหุ้นที่แท้จริงยังไม่ยอมเปิดเผยออกมา

คำถามจึงตามมาว่า หากหุ้นแอมเพิล ริช ยังอยู่ในมือของ พ.ต.ท.ทักษิณ มาตลอด อะไรจะเกิดขึ้น เป็นปมใหญ่แน่นอน เพราะในทางการเมืองอาจจะหยิบมาตั้งคำถาม นำมาซึ่งการ "ซุกหุ้น" ภาคสอง นำไปสู่การเสนอถอดถอนตามรัฐธรรมนูญมาตรา 216(6) ได้

ปมที่ 5 พรรคประชาธิปัตย์ได้มีการประชุมคณะทำงานติดตามการซื้อขายหุ้นชินคอร์ปของตระกูลชินวัตร ห่วงว่า หลังจากนี้ครอบครัวของผู้ขายมีตำแหน่งนายกรัฐมนตรีด้วยนั้น อาจจะใช้อำนาจรัฐเพื่อเอื้อประโยชน์ให้แก่ผู้ซื้ออย่างไรหรือไม่ เพราะถ้าเกิดขึ้นจริงตามนั้น นอกจากประเทศไทยจะไม่ได้อะไรจากการซื้อขายหุ้นครั้งนี้แล้ว ยังจะมีความเสียหายตามมาด้วย

เหตุเพราะทราบดีว่ากลุ่มเทมาเส็ก โฮลดิ้งส์ของสิงคโปร์เข้ามาซื้อนั้น เป็นไปตามยุทธศาสตร์ของประเทศ ที่ต้องการย้ายทุนออกจากประเทศตัวเอง และประเมินแล้วว่า ไทยมีความขัดแย้งเรื่องเชื้อชาติน้อยกว่า เมื่อเทียบกับมาเลเซียและสิงคโปร์

ฝ่ายค้านจึงห่วงว่า เมื่อสิงคโปร์มีความต้องการที่หลากหลายจากประเทศไทย ดังนั้น การซื้อหุ้นส่วนนี้จากครอบครัวนายกรัฐมนตรี อาจเพื่อเจรจาต่อรองขอสิทธิประโยชน์ต่างๆ ซึ่งหากมีการมอบสิทธิพิเศษให้แก่สิงคโปร์จริง ก็จะเป็นการกระทำที่มิชอบ เพราะการขายหุ้นเป็นเรื่องส่วนตัว แต่กลับมาพัวพันกับประโยชน์ของชาติ

ปมที่ 6 เรื่องภาษีดูจะเป็นเรื่องอ่อนไหวทางการเมือง แม้ในทางกฎหมาย การขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์จะได้รับสิทธิยกเว้นภาษี แต่ให้สิทธิเฉพาะการขายหุ้นของบุคคลธรรมดา

กรณีนี้มีปมอยู่ที่ว่า เทมาเส็กจะให้ความสนใจเอไอเอสเท่านั้น แต่ที่ต้องซื้อชินคอร์ปเพื่อให้ปลอดทางภาษี เหตุเพราะหากซื้อเอไอเอสที่ชินคอร์ปถือหุ้นอยู่ 42% เท่ากับว่า เป็นการขายของนิติบุคคล แน่นอนชินคอร์ปในฐานะผู้ขาย ต้องจ่ายภาษี ซึ่งมีการประเมินกันว่า ต้องจ่ายภาษีนิติบุคคลมากกว่า 4 หมื่นล้านบาท และตระกูลชินวัตรซึ่งถือหุ้นใหญ่ในชินคอร์ป ต้องจ่ายภาษีบุคคลธรรมาจากเงินปันผลอีก 2 หมื่นล้านบาท

แต่เมื่อดีลครั้งนี้ซื้อผ่านผู้ถือหุ้นใหญ่ในชินคอร์ป ในฐานะบุคคลธรรมดา จึงได้รับสิทธิยกเว้นภาษี แน่นอนถูกต้องตามกฎหมาย แต่ถูกตั้งคำถามถึง "จริยธรรม" เพราะแม้นายกรัฐมนตรีจะไม่มีหุ้นในชินคอร์ป แต่ผู้ถือหุ้นใหญ่ล้วนอยู่ในตระกูลตามกฎหมาย

ปมที่ 7 ปมภาษี ยังขยายผลไปถึงเรื่องในอดีต ที่ถูกเฟ้นขึ้นมาขยายผลอีกครั้ง ในช่วงที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ขายหุ้นให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร 2 ล้านหุ้น ในราคาพาร์ 10 บาท และ คุณหญิงพจมาน ชินวัตร ขายหุ้นให้ นายบรรณพจน์ ชินวัตร 26.8 ล้านหุ้น ในราคาพาร์ 10 บาทเช่นกัน โดยทั้งสองรายการขายนอกตลาด ซึ่งในครั้งนั้น สรรพากรตีความว่าไม่ต้องจ่ายภาษี เนื่องจากขายในราคาทุน ในฐานะผู้ซื้อ หากมีการขายในอนาคตและมีกำไร ต้องจ่ายภาษี แต่เมื่อขายในตลาดหลักทรัพย์ กำไรจะได้รับการยกเว้นภาษี

อย่างไรก็ตาม ในกรณีเดียวกัน สรรพากรกลับเรียกเก็บภาษีของ นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ที่ได้รับหุ้นทางด่วนกรุงเทพจากบิดาในราคาพาร์ 10 บาท จากราคาตลาดที่อยู่ระดับ 21บาท มีส่วนต่าง 55,000 บาท แต่ถูกกรมสรรพากรเรียกเก็บภาษี อย่างไรก็ตาม เมื่อมีการร้องเรียน สรรพากรกลับยอมรับว่า ผิดพลาดและขอคืนเงินให้ นายเรืองไกร

กรณีนี้ทำให้มองได้ว่า การตัดสินใจคืนเงินของสรรพากร เพื่อไม่ให้เป็นมาตรฐานที่อาจจะส่งผลให้ผลการตัดสินการขายหุ้นของตระกูลชินวัตรก่อนหน้านี้มีปัญหาได้

ปมที่ 8 ยังมีกรณีที่ คุณหญิงพจมานโอนหุ้นชินคอร์ปให้นายบรรณพจน์ 4.5 ล้านหุ้น เมื่อปี 2540 ที่อ้างให้โดย "เสน่หา" ยังเป็นข้อสงสัยอยู่ว่า มูลค่าหรือความหมายแค่ไหน ถึงจะได้รับสิทธิยกเว้นภาษี ตามมาตรา 40(10)

ปมที่ 9 ประเด็นที่มีการแก้ไขกฎหมายเพื่อเอื้อให้ต่างชาติถือหุ้นได้เกิน 25% ก่อนการซื้อขายเพียง 3 วันนั้น เนื่องจากก่อนหน้านี้ รัฐบาลของ พ.ต.ท.ทักษิณเองที่แก้ให้ต่างชาติจากเดิมที่ถือหุ้น 49% ปรับลดเป็น 25% เพื่อสกัดการเข้ามาของทุนต่างประเทศในบริษัทคู่แข่ง แต่พอตัวเองเริ่มมีแนวคิดที่จะขายหุ้น ก็เห็นสมควรแก้กฎหมายให้มาอยู่ระดับเดิม คือ 49% โดยเฉพาะเมื่อดูถึงจังหวะในการแก้กฎหมายนี้ ก็มีเจตนารมณ์ที่ชัดเจนที่แก้เพื่อเอื้อการขายหุ้นของครอบครัวตัวเอง

ขณะเดียวกัน ถึงแม้จะเปิดให้ถือหุ้นได้ 49% แต่กรณีของการซื้อขายชินคอร์ป กลุ่มทุนสิงคโปร์ใช้นอมินี ที่เป็นสัญชาติไทยเข้ามาซื้อแทน หากนับจำนวนหุ้นที่แฝงอยู่ในนอมินีคนไทยแล้ว จะพบว่าสัดส่วนหุ้นแท้จริงมากกว่า 70% ด้วยซ้ำ

ปมที่ 10 ว่า ด้วยความมั่นคงและสื่อของชาติ เนื่องจากการเข้ามาถือหุ้นใหญ่ในบริษัทดาวเทียมของไทย รวมถึงไอทีวี ซึ่งจะเป็นปมปัญหาให้เทมาเส็ก ต้องคิดต่อไปว่า จะดำเนินการสองบริษัทนี้อย่างไร



ปิดตำนานซุกหุ้นชินคอร์ป สรรพากรยุติบี้ภาษีครอบครัว “ทักษิณ ชินวัตร ” – “แก้วสรร” คาใจต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล

หลังจากที่คณะกรรมการปฎิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ได้ยึดอำนาจการปกครองของไทยสำเร็จ ในเดือนกันยายน 2549 ก็ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ขึ้นมาตรวจสอบโครงการต่างๆที่ทำไว้ในสมัยรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
หลายเรื่องถูกดำเนินการไปเรียบร้อย อาทิ โครงการจัดซื้อที่ดินรัชดา, จัดซื้อกล้ายาง, รถดับเพลิง, หวยบนดิน ยกเว้นคดีหลบเลี่ยงภาษีจากการซื้อ-ขายหุ้นชินคอร์ปฯ ซึ่งเปรียบเสมือนหนามที่แทงกลางดวงใจ พ.ต.ท.ทักษิณ
นอกจากจะถูกศาลฎีกาแผนกคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง มีคำสั่งให้ยึดทรัพย์ พ.ต.ท.ทักษิณแล้ว ยังถูกกรมสรรพากรตามไปอายัดทรัพย์สินของนายพานทองแท้ และ น.ส.พินทองทา ชินวัตร (โอ๊ค-เอม)อีก 12,000 ล้านบาท ซึ่งทั้งคู่ได้นำคำพิพากษาของศาลฎีกาฯ ไปต่อสู่ในศาลภาษีอากรกลางจนชนะคดี เพราะบุคคลทั้งสองไม่ใช่เจ้าของหุ้นชินคอร์ปฯ ตัวจริง ทำให้กรมสรรพากรต้องถอนอายัดทรัพย์สินคืนให้กับโอ๊ค-เอม
ถึงแม้ทั้ง 2 ศาลตัดสินแล้วว่า หุ้นชินคอร์ปฯ ไม่ใช่หุ้นของโอ๊ค-เอม แล้วหุ้นชินคอร์ปฯ เป็นของใคร พ.ต.ท.ทักษิณ หรือ บริษัทแอมเพิลริชที่มี พ.ต.ท.ทักษิณเป็นเจ้าของ ก็ยังเป็นประเด็นที่จะต้องมีการตีความกัน ทำให้กรมสรรพากรต้องนำประเด็นนี้มาขอความเห็นจากคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากร ที่มีนายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงการคลังเป็นประธานฯ ซึ่งนายอารีพงศ์ได้มอบหมายให้นางเสาวนีย์ กมลบุตร รองปลัดกระทรวงการคลัง เป็นประธานฯ แทน
และในที่สุด มหากาพย์การต่อสู้ของคนในตระกูลชินวัตรก็ปิดฉากลง เมื่อคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากรได้มีการพิจารณาเรื่องนี้ โดยนางเสาวนีย์ กมลบุตร ในฐานะประธานคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากร กล่าวว่า เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ที่ประชุมคณะกรรมการฯ ได้วินิจฉัยกรณีการจัดเก็บภาษีจากการซื้อ-ขายหุ้นชินคอร์ปฯ โดยนำคำพิพากษาของศาลฎีกาฯ และศาลภาษีอากรมาประกอบการพิจารณา ซึ่งคำพิพากษาของศาลระบุว่า นายพานทองแท้ และ น.ส.พินทองทา ชินวัตร ไม่ใช่เจ้าของหุ้นชินคอร์ปฯ แต่เป็นของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ดังนั้น คณะกรรมการฯ จึงไม่สามารถวินิจฉัยเป็นอย่างอื่นได้ นอกจากจะตัดสินยืนตามคำพิพากษาของศาล
นางเสาวนีย์กล่าวต่อไปอีกว่า ส่วนกรณีที่กรมสรรพากรมาขอความเห็นว่า จะประเมินภาษีกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้หรือไม่ คณะกรรมการฯ มีความเห็นว่า เรื่องการจัดเก็บภาษีหรือการประเมินภาษีนั้น น่าอยู่ในขอบเขตอำนาจหน้าที่ของอธิบดีกรมสรรพากร ซึ่งคณะกรรมการฯ ไม่มีหน้าที่ไปตัดสินว่าจะให้กรมสรรพากรไปเก็บภาษีใคร หรือ ไม่เก็บใคร ประเด็นนี้ อธิบดีกรมสรรพากรจะต้องเป็นผู้วินิจฉัยว่าจะเก็บภาษี พ.ต.ท.ทักษิณหรือไม่
ด้านนายสาธิต รังคสิริ อธิบดีกรมสรรพากร เปิดเผยว่า หลังจากที่คณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากร ได้สรุปผลการวินิจฉัย กรณีการซื้อ-ขายหุ้นชินคอร์ปฯ ว่า เจ้าของหุ้นชินคอร์ปฯ ที่แท้จริง คือ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ส่วนนายพานทองแท้ และ น.ส.พินทองทา ชินวัตร ไม่ใช่เจ้าของหุ้นชินคอร์ปฯ ซึ่งการดำเนินการในลักษณะดังกล่าว เข้าข่ายปกปิดบัญชีทรัพย์สินที่จะต้องแสดงต่อสำนักงาน ป.ป.ช. ซึ่งศาลฎีกาฯ ได้มีคำสั่งให้ยึดทรัพย์สิน พ.ต.ท.ทักษิณ ให้ตกเป็นของแผ่นดินไปหมดแล้ว จากนั้นเมื่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ซึ่งเป็นเจ้าของหุ้นตัวจริงนำหุ้นชินคอร์ปฯ ไปขายให้กับกองทุนเทมาเสกผ่านตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ก็จะได้รับยกเว้นภาษีตามกฏกระทรวงฉบับที่ 126
“เรื่องภาษีหุ้นชินคอร์ปฯ ตอนนี้ถือว่าจบแล้ว ต่อจากนี้ไป กรมสรรพากรจะไม่มีการประเมินภาษีคนในตระกูลชินวิตรอีก เนื่องจากผลการตัดสินของคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากรถือเป็นที่สิ้นสุด ซึ่งคณะกรรมการฯ ก็มีมติเป็นเอกฉันท์ ยืนตามคำพิพากษาของศาลทั้ง 2 ศาล ส่วนเรื่องการประเมินภาษี พ.ต.ท.ทักษิณ คณะกรรมการฯ มอบหมายให้เป็นหน้าที่ของกรมสรรพากรเป็นผู้วินิจฉัย เมื่อสรรพากรพิจารณาแล้วว่าไม่ต้องเสียภาษี ตรงนี้ก็ถือเป็นที่สิ้นสุดด้วยเช่นกัน เพราะกรมสรรพากรทำตามผลการวินิจฉัยของคณะกรรมการฯ” นายสาธิตกล่าว
Posted Image
นายแก้วสรร อติโพธิ(คนกลาง) อดีตคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.)
ด้านนายแก้วสรร อติโพธิ อดีตคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) กล่าวว่า ผมไม่เข้าใจ ทำไมคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากร และอธิบดีสรรพากรไปเอาคำพิพากษาจากศาลมาพิจารณา เพราะศาลทั้ง 2 ศาล ก็ไม่ได้ตัดสินว่า พ.ต.ท.ทักษิณเป็นเจ้าของหุ้นชินคอร์ปฯ ตัวจริง แต่ศาลตัดสินว่า พ.ต.ท.ทักษิณเป็นเจ้าของบริษัทแอมเพิลริชที่ถือหุ้นชินคอร์ปฯ กล่าวคือในปี 2542 พ.ต.ท.ทักษิณได้จัดตั้งบริษัทแอมเพิลริช และมีการโอนหุ้นชินคอร์ปฯ ให้กับบริษัทแอมเพิลริช และก่อนที่ พ.ต.ท.ทักษิณจะเล่นการเมือง ในปี 2543 ได้ขายหุ้นชินคอร์ปฯ ให้กับนายพานทองแท้และนางสาวพินทองทาในราคา 1 บาทต่อหุ้น ต่อมา ทั้งคู่ได้นำหุ้นชินคอร์ปฯ ไปขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ เพื่อที่จะได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามประกาศกระทรวง ฉบับที่ 126 แต่มาถูก คตส. ตรวจสอบพบจึงนำเรื่องนี้ส่งฟ้องศาลฎีกาฯ
“กรมสรรพากรยอมรับหรือไม่ หุ้นชินคอร์ปฯ นั้นเป็นของบริษัทแอมเพิลริช และ พ.ต.ท.ทักษิณคือเจ้าของบริษัทแอมเพิลริช ศาลทั้ง 2 ศาลตัดสินว่า นายพานทองแท้ และ น.ส.พินทองทา ชินวัตร ไม่ใช่เจ้าของหุ้นชินคอร์ปฯ ตัวจริง ดังนั้นเจ้าของหุ้นชินคอร์ปฯ ตัวจริงก็คือบริษัทแอมเพิลริชที่มี พ.ต.ท.ทักษิณเป็นเจ้าของ เมื่อแอมเพิลริชนำหุ้นชินคอร์ปฯ ไปขายในตลาดหลักทรัพย์ ก็จะไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามประกาศกระทรวง ฉบับที่ 126 เพราะถือว่าเป็นการซื้อ-ขายหุ้นระหว่างบริษัทกับบริษัท ดังนั้น กรมสรรพากรจึงมีหน้าที่ที่จะต้องไปไล่เก็บภาษีเงินได้นิติบุคคล 30% หรือเรียกเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดากับทักษิณที่ได้หุ้นจากบริษัทแอมเพิลริชไปในราคาที่ต่ำกว่าราคาตลาด” นายแก้วสรรกล่าว
อนึ่ง คณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากร ตามมาตรา 13 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร จะมีปลัดกระทรวงการคลังเป็นประธานฯ กรรมการประกอบด้วย อธิบดีกรมสรรพากร อธิบดีกรมศุลกากร อธิบดีกรมสรรพสามิต ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา และผู้ทรงคุณวุฒิอีก 3 คน มีอำนาจหน้าที่ดังนี้ 1) กำหนดขอบเขตในการใช้อำนาจของเจ้าพนักงานประเมินและพนักงานเจ้าหน้าที่ 2) กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ ระยะเวลาในการตรวจสอบ และประเมินภาษีอากร 3) วินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับภาษีอากรที่กรมสรรพากรขอความเห็น และ 4) ให้คำปรึกษาหรือเสนอแนะแก่รัฐมนตรีในการจัดเก็บภาษีอากร คำวินิจฉัยของคณะกรรมการฯให้ถือเป็นที่สุด

อย่ามาใส่ร้ายท่านทักษิณนะ คุณโจโฉ เป็นอำมาตย์ ท่านทักษิณเป็นคนดี มีเงินให้ใช้ ชาบู ชาบู
ผมไม่ใช่คนเก่งกฎหมาย แค่รู้กฎหมาย แต่ไม่เคยคิดใช้ช่องว่างของกฎหมายมาทำให้กฎหมายขาดความเป็นธรรม

#45 โจโฉ นายกตลอดกาล

โจโฉ นายกตลอดกาล

    น้องใหม่

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 5,795 posts

Posted 5 August 2012 - 09:04

เห็นกิ้งก่าเปลี่ยนสี ดิ้นพล่านเป็นเดือดเป็นร้อนแทน "เจ้ามูลเมือง" ในสองกระทู้ของผม

นับว่ากิ้งก่าให้เกียรติกับผมอย่างยิ่งเลย รออ่านความเห็นจากคนที่คุยว่า "จะมาให้ความรู้"

อย่างกิ้งก่าเปลี่ยนสี ดูดิว่าจะได้ความรู้สมราคาคุยหรือไม่
เชื่อเถอะ อีกไม่ช้า นายเวร จะเสียฉายา "ร้อยล๊อกอิน" ไปในไม่กีอึดใจนี้

#46 greeenday

greeenday

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 579 posts

Posted 5 August 2012 - 09:07

เค้าเคยให้ความรู้ด้วยเหรอครับท่านโจโฉ
:( :( :(

ในบ้านเมืองนั้น มีทั้งคนดี และคนไม่ดี ไม่มีใครที่จะทำให้ทุกคนเป็นคนดีได้ทั้งหมด การทำให้บ้านเมืองมีความปกติสุขเรียบร้อยจึงมิใช่การทำให้ทุกคนเป็นคนดี หากแต่อยู่ที่การส่งเสริมคนดี ให้คนดีปกครองบ้านเมือง และควบคุมคนไม่ดี ไม่ให้มีอำนาจไม่ให้ก่อความเดือดร้อนวุ่นวายได้

พระบรมราโชวาท 11 ธันวาคม 2512


#47 โจโฉ นายกตลอดกาล

โจโฉ นายกตลอดกาล

    น้องใหม่

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 5,795 posts

Posted 5 August 2012 - 09:08

ขออภัย เจ้าของกระทู้ ด้วยนะครับ ที่เอาบทความมาแปะ ไม่ตั้งใจจะมายำกระทู้นะครับ

ตอนนี้ผมสับสน เรื่อง ขายหุ้นชินคอร์ป / การซุกหุ้น / การตั้งบริษัทในเกาะบริทิช เวอร์จิ้น

คือ รู้สึกมันเริ่มปนกันแล้วน่ะครับ

ขออภัยอย่างสูง ...


ไม่มีปัญหาหรอกครับ เชิญแสดงความเห็นได้เต็มที่ มีข้อมูลอะไรเอามาแชร์

หรือหักล้างกัน เป็นเรื่องที่ดี ส่วนประเด็นจะปนกันหรือไม่ ก็ต้องย้อนไปที่ตระกูลชินวัตรนั่นแหละครับ

ทำไว้ซับซ้อนซ่อนเงื่อน จนมาปนกันมั่วไปหมด ทุกข้อความที่ท่าน แสนยานุภาพนำเสนอ

ก็ยังล้วนอยู่แต่ในประเด็นของกระทู้นี้ครับ
เชื่อเถอะ อีกไม่ช้า นายเวร จะเสียฉายา "ร้อยล๊อกอิน" ไปในไม่กีอึดใจนี้

#48 โจโฉ นายกตลอดกาล

โจโฉ นายกตลอดกาล

    น้องใหม่

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 5,795 posts

Posted 5 August 2012 - 09:11

เค้าเคยให้ความรู้ด้วยเหรอครับท่านโจโฉ
:( :( :(


เขาเคยคุยโม้โอ้อวดว่ามาให้ความรู้ชาวเสรีไทยครับ บางครั้งถึงขนาดสถาปนาตนเป็น

"เซียนเหยียบเมฆ" เลยทีเดียว ไม่เชื่อลองไปค้นกระทู้เก่าๆดู นี่ไม่ใช่ครั้งแรก และ ครั้งสุดท้าย

มีให้ดูเรื่อยๆครับ ถาม Mod ดูก็ได้ หรือ อยากทราบข้อมูลอื่นๆก็ถามท่าน tony ดูก็ได้จะได้รู้

ว่าคนที่อยากดมขี้ทักษิณเป็นเช่นไร
เชื่อเถอะ อีกไม่ช้า นายเวร จะเสียฉายา "ร้อยล๊อกอิน" ไปในไม่กีอึดใจนี้

#49 โจโฉ นายกตลอดกาล

โจโฉ นายกตลอดกาล

    น้องใหม่

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 5,795 posts

Posted 5 August 2012 - 09:16

....คนรุ่นหลัง จำนวนมากเกิดไม่ทันรู้ ดูไม่ทันเห็น ความชั่วร้ายของชายชื่อทักษิณ ชินวัตร และคณะตระกูลชินวัตร
และดามาพงศ์ แลพลพรรคไทยรักไทย หรือ เพื่อไทย ในปัจจุบัน
เมื่อครั้งมีอำนาจในมือซ้าย ถือกฎหมายในมือขวา
เมื่อครั้งนั่งเก้าอี้นายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร
สร้างผลงานโบว์ดำอันลือลั่นสั่นสะเทือนแผ่นดิน ด้วยการใช้อำนาจ และช่องโหว่ทางกฎหมาย
ซื้อขายหุ้นชินคอร์ปโดยไม่เสียภาษีสักบาทเดียว โดยมีกุนซือชื่อ สุวรรณ วลัยเสถียร ดำเนินการให้

ถึงขนาดยุคนั้นมีการเปรียบเปรยแบบปากต่อปากว่า

"คนขายก๋วยเตี๋ยวยังเสียภาษีแบบนับชามก๋วยเตี๋ยวเลย แล้วนายกฯเป็นใครทำไมไม่เสียภาษี"

ถึงไม่ผิดกฎหมายแต่ผิดจริยธรรมในฐานะที่เป็นถึงนายกรัฐมนตรีที่นำเงินภาษีมาใช้บริหารประเทศ

แต่ตัวเองและตระกูลกลับคิดใช้อำนาจช่องโหว่ หลบเลี่ยงภาษี


หลังจากนี้คือส่วนหนึ่งของข่าวสารที่ชวนคิดในยุคนั้น

เปิด10ปมคาใจขายหุ้นชินคอร์ป

กรุงเทพธุรกิจ l 30 มกราคม 2549 09:52 น.

การขายหุ้นบริษัท ชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ของตระกูล ชินวัตรและดามาพงศ์ ให้กับกลุ่มเทมาเส็ก โฮลดิ้งส์ สัดส่วน 49.95% ในราคาหุ้นละ 49.25 บาท พร้อมรับเงิน



7.32 หมื่นล้านบาท ยังมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ตามมาไม่ขาดสาย

และก็มีแนวโน้มว่าจะกลายเป็นปัญหายืดเยื้อ ที่ส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์และสถานะทางการเมืองของนายกรัฐมนตรี หาก "กุนซือ" ที่คิดสูตรพิสดาร ไม่สามารถอธิบายความซับซ้อนของดีลนี้ได้ จะทำให้เงื่อนปมปัญหากลับมาพันให้ตัวเองต้องหาทางแก้ไข

เหตุเพราะเป็นดีลที่มีวงเงินสูงและเป็นบริษัทที่ตระกูลนายกรัฐมนตรีขายหุ้นออก แถมทำให้ซับซ้อนเพื่อหาช่องปลอดภาษี จึงมีปมสงสัย "คาใจ" ทั้งด้าน "จริยธรรม" มาตรฐานของกรมสรรพากร กฎเกณฑ์ของตลาดหลักทรัพย์ มาตรฐานการกำกับของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)

ปมแรก ได้บทสรุปออกมาแล้วว่า หากดีลครั้งนี้ ก.ล.ต.ไม่ผ่อนคลายเกณฑ์เทนเดอร์ออฟเฟอร์ คาดว่ากลุ่มเทมาเส็ก ต้องจ่ายเงินเพิ่มอีก 1.92 แสนล้านบาท

ปมที่ 2 ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยยังไม่มีข้อสรุปออกมาเลยว่า ดีลครั้งนี้มีการใช้ข้อมูลภายในในการซื้อขายหุ้นหรือไม่ เนื่องจากนับตั้งแต่ธันวาคม 2548 ที่ผ่านมา ราคาหุ้นชินคอร์ป เคลื่อนไหวอยู่เพียง 37 บาท และขยับขึ้นอย่างต่อเนื่องตามกระแสข่าวการขายกิจการของตระกูลชินวัตรออกมา โดยที่ตลาดไม่ได้ขึ้นเครื่องหมายเตือน เนื่องจากมองว่าไม่เกี่ยวข้องกับบริษัท เพราะเป็นการตัดสินใจของผู้ถือหุ้น

แต่อาจจะลืมไปว่า ผู้ถือหุ้นและผู้บริหารในดีลนี้เกี่ยวข้องกันและกัน ทำให้ราคาหุ้นขยับขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเมื่อวันที่ 23 มกราคม 2549 มายืนระดับ 48 บาท แน่นอนย่อมมีผู้ได้รับกำไรมหาศาล ที่สำคัญในช่วงก่อน 1 เดือน ผู้บริหารในกลุ่มชินคอร์ปมีการทยอยขายหุ้นออกมาเป็นระยะ

ปมที่ 3 กรณี บริษัท แอมเพิล ริช ขายหุ้นออกมาให้กับ น.ส.พิณทองทา และนายพานทองแท้ ชินวัตร เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2549 ในราคาหุ้นละ 1 บาท และมาขายต่อให้กลุ่มเทมาเส็กวันที่ 23 มกราคม 2549 แต่ไม่พบการซื้อเกิดขึ้นในวันที่ 20 มกราคม 2549 ซึ่งยังเป็นข้อสงสัยถึงการซื้อขายและเจ้าของที่แท้จริงในบริษัทแอมเพิล ริช ว่าเป็นใคร ถึงใจดีขายหุ้นออกมาในราคา 1 บาท

ปมที่ 4 ต่อเนื่องมาจากกรณีของแอมเพิล ริช ในอดีตเมื่อ 11 มิถุนายน 2542 พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้แจ้ง ก.ล.ต.ชัดเจนว่า ได้ขายหุ้นชินคอร์ป 32.9 ล้านหุ้น (พาร์ 10 บาท) ให้กับแอมเพิล ริช ซึ่งเป็นบริษัทที่อยู่บนเกาะปลอดภาษี บริติช เวอร์จิน ขณะนั้น พ.ต.ท.ทักษิณ ถือหุ้น 100% อย่างไรก็ตาม ในช่วงที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช.ไต่สวนคดีซุกหุ้นช่วงปี 2543 นั้น พ.ต.ท.ทักษิณ ระบุว่า ได้โอนหุ้นให้กับบุคคลอื่นไปแล้ว เท่ากับว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ไม่ได้ถือหุ้นในแอมเพิล ริช แล้ว

เรื่องน่าจะจบเพียงแค่นี้ แต่เมื่อเกิดกรณีวันที่ 20 มกราคม 2549 ขึ้นมา จึงเกิดข้อสงสัยขึ้นว่า โอนให้ใคร เพราะ "ความใจดี" จึงยอมขายหุ้นออกมาในราคา 1 บาท แน่นอนสังคมอาจจะเข้าใจได้ว่า ต้องเป็นบุคคลใกล้ชิดกับตระกูลชินวัตร ถึงจะยอมกระทำเช่นนี้ เพียงแต่ตัวตนผู้ถือหุ้นที่แท้จริงยังไม่ยอมเปิดเผยออกมา

คำถามจึงตามมาว่า หากหุ้นแอมเพิล ริช ยังอยู่ในมือของ พ.ต.ท.ทักษิณ มาตลอด อะไรจะเกิดขึ้น เป็นปมใหญ่แน่นอน เพราะในทางการเมืองอาจจะหยิบมาตั้งคำถาม นำมาซึ่งการ "ซุกหุ้น" ภาคสอง นำไปสู่การเสนอถอดถอนตามรัฐธรรมนูญมาตรา 216(6) ได้

ปมที่ 5 พรรคประชาธิปัตย์ได้มีการประชุมคณะทำงานติดตามการซื้อขายหุ้นชินคอร์ปของตระกูลชินวัตร ห่วงว่า หลังจากนี้ครอบครัวของผู้ขายมีตำแหน่งนายกรัฐมนตรีด้วยนั้น อาจจะใช้อำนาจรัฐเพื่อเอื้อประโยชน์ให้แก่ผู้ซื้ออย่างไรหรือไม่ เพราะถ้าเกิดขึ้นจริงตามนั้น นอกจากประเทศไทยจะไม่ได้อะไรจากการซื้อขายหุ้นครั้งนี้แล้ว ยังจะมีความเสียหายตามมาด้วย

เหตุเพราะทราบดีว่ากลุ่มเทมาเส็ก โฮลดิ้งส์ของสิงคโปร์เข้ามาซื้อนั้น เป็นไปตามยุทธศาสตร์ของประเทศ ที่ต้องการย้ายทุนออกจากประเทศตัวเอง และประเมินแล้วว่า ไทยมีความขัดแย้งเรื่องเชื้อชาติน้อยกว่า เมื่อเทียบกับมาเลเซียและสิงคโปร์

ฝ่ายค้านจึงห่วงว่า เมื่อสิงคโปร์มีความต้องการที่หลากหลายจากประเทศไทย ดังนั้น การซื้อหุ้นส่วนนี้จากครอบครัวนายกรัฐมนตรี อาจเพื่อเจรจาต่อรองขอสิทธิประโยชน์ต่างๆ ซึ่งหากมีการมอบสิทธิพิเศษให้แก่สิงคโปร์จริง ก็จะเป็นการกระทำที่มิชอบ เพราะการขายหุ้นเป็นเรื่องส่วนตัว แต่กลับมาพัวพันกับประโยชน์ของชาติ

ปมที่ 6 เรื่องภาษีดูจะเป็นเรื่องอ่อนไหวทางการเมือง แม้ในทางกฎหมาย การขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์จะได้รับสิทธิยกเว้นภาษี แต่ให้สิทธิเฉพาะการขายหุ้นของบุคคลธรรมดา

กรณีนี้มีปมอยู่ที่ว่า เทมาเส็กจะให้ความสนใจเอไอเอสเท่านั้น แต่ที่ต้องซื้อชินคอร์ปเพื่อให้ปลอดทางภาษี เหตุเพราะหากซื้อเอไอเอสที่ชินคอร์ปถือหุ้นอยู่ 42% เท่ากับว่า เป็นการขายของนิติบุคคล แน่นอนชินคอร์ปในฐานะผู้ขาย ต้องจ่ายภาษี ซึ่งมีการประเมินกันว่า ต้องจ่ายภาษีนิติบุคคลมากกว่า 4 หมื่นล้านบาท และตระกูลชินวัตรซึ่งถือหุ้นใหญ่ในชินคอร์ป ต้องจ่ายภาษีบุคคลธรรมาจากเงินปันผลอีก 2 หมื่นล้านบาท

แต่เมื่อดีลครั้งนี้ซื้อผ่านผู้ถือหุ้นใหญ่ในชินคอร์ป ในฐานะบุคคลธรรมดา จึงได้รับสิทธิยกเว้นภาษี แน่นอนถูกต้องตามกฎหมาย แต่ถูกตั้งคำถามถึง "จริยธรรม" เพราะแม้นายกรัฐมนตรีจะไม่มีหุ้นในชินคอร์ป แต่ผู้ถือหุ้นใหญ่ล้วนอยู่ในตระกูลตามกฎหมาย

ปมที่ 7 ปมภาษี ยังขยายผลไปถึงเรื่องในอดีต ที่ถูกเฟ้นขึ้นมาขยายผลอีกครั้ง ในช่วงที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ขายหุ้นให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร 2 ล้านหุ้น ในราคาพาร์ 10 บาท และ คุณหญิงพจมาน ชินวัตร ขายหุ้นให้ นายบรรณพจน์ ชินวัตร 26.8 ล้านหุ้น ในราคาพาร์ 10 บาทเช่นกัน โดยทั้งสองรายการขายนอกตลาด ซึ่งในครั้งนั้น สรรพากรตีความว่าไม่ต้องจ่ายภาษี เนื่องจากขายในราคาทุน ในฐานะผู้ซื้อ หากมีการขายในอนาคตและมีกำไร ต้องจ่ายภาษี แต่เมื่อขายในตลาดหลักทรัพย์ กำไรจะได้รับการยกเว้นภาษี

อย่างไรก็ตาม ในกรณีเดียวกัน สรรพากรกลับเรียกเก็บภาษีของ นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ที่ได้รับหุ้นทางด่วนกรุงเทพจากบิดาในราคาพาร์ 10 บาท จากราคาตลาดที่อยู่ระดับ 21บาท มีส่วนต่าง 55,000 บาท แต่ถูกกรมสรรพากรเรียกเก็บภาษี อย่างไรก็ตาม เมื่อมีการร้องเรียน สรรพากรกลับยอมรับว่า ผิดพลาดและขอคืนเงินให้ นายเรืองไกร

กรณีนี้ทำให้มองได้ว่า การตัดสินใจคืนเงินของสรรพากร เพื่อไม่ให้เป็นมาตรฐานที่อาจจะส่งผลให้ผลการตัดสินการขายหุ้นของตระกูลชินวัตรก่อนหน้านี้มีปัญหาได้

ปมที่ 8 ยังมีกรณีที่ คุณหญิงพจมานโอนหุ้นชินคอร์ปให้นายบรรณพจน์ 4.5 ล้านหุ้น เมื่อปี 2540 ที่อ้างให้โดย "เสน่หา" ยังเป็นข้อสงสัยอยู่ว่า มูลค่าหรือความหมายแค่ไหน ถึงจะได้รับสิทธิยกเว้นภาษี ตามมาตรา 40(10)

ปมที่ 9 ประเด็นที่มีการแก้ไขกฎหมายเพื่อเอื้อให้ต่างชาติถือหุ้นได้เกิน 25% ก่อนการซื้อขายเพียง 3 วันนั้น เนื่องจากก่อนหน้านี้ รัฐบาลของ พ.ต.ท.ทักษิณเองที่แก้ให้ต่างชาติจากเดิมที่ถือหุ้น 49% ปรับลดเป็น 25% เพื่อสกัดการเข้ามาของทุนต่างประเทศในบริษัทคู่แข่ง แต่พอตัวเองเริ่มมีแนวคิดที่จะขายหุ้น ก็เห็นสมควรแก้กฎหมายให้มาอยู่ระดับเดิม คือ 49% โดยเฉพาะเมื่อดูถึงจังหวะในการแก้กฎหมายนี้ ก็มีเจตนารมณ์ที่ชัดเจนที่แก้เพื่อเอื้อการขายหุ้นของครอบครัวตัวเอง

ขณะเดียวกัน ถึงแม้จะเปิดให้ถือหุ้นได้ 49% แต่กรณีของการซื้อขายชินคอร์ป กลุ่มทุนสิงคโปร์ใช้นอมินี ที่เป็นสัญชาติไทยเข้ามาซื้อแทน หากนับจำนวนหุ้นที่แฝงอยู่ในนอมินีคนไทยแล้ว จะพบว่าสัดส่วนหุ้นแท้จริงมากกว่า 70% ด้วยซ้ำ

ปมที่ 10 ว่า ด้วยความมั่นคงและสื่อของชาติ เนื่องจากการเข้ามาถือหุ้นใหญ่ในบริษัทดาวเทียมของไทย รวมถึงไอทีวี ซึ่งจะเป็นปมปัญหาให้เทมาเส็ก ต้องคิดต่อไปว่า จะดำเนินการสองบริษัทนี้อย่างไร



ปิดตำนานซุกหุ้นชินคอร์ป สรรพากรยุติบี้ภาษีครอบครัว “ทักษิณ ชินวัตร ” – “แก้วสรร” คาใจต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล

หลังจากที่คณะกรรมการปฎิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ได้ยึดอำนาจการปกครองของไทยสำเร็จ ในเดือนกันยายน 2549 ก็ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ขึ้นมาตรวจสอบโครงการต่างๆที่ทำไว้ในสมัยรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
หลายเรื่องถูกดำเนินการไปเรียบร้อย อาทิ โครงการจัดซื้อที่ดินรัชดา, จัดซื้อกล้ายาง, รถดับเพลิง, หวยบนดิน ยกเว้นคดีหลบเลี่ยงภาษีจากการซื้อ-ขายหุ้นชินคอร์ปฯ ซึ่งเปรียบเสมือนหนามที่แทงกลางดวงใจ พ.ต.ท.ทักษิณ
นอกจากจะถูกศาลฎีกาแผนกคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง มีคำสั่งให้ยึดทรัพย์ พ.ต.ท.ทักษิณแล้ว ยังถูกกรมสรรพากรตามไปอายัดทรัพย์สินของนายพานทองแท้ และ น.ส.พินทองทา ชินวัตร (โอ๊ค-เอม)อีก 12,000 ล้านบาท ซึ่งทั้งคู่ได้นำคำพิพากษาของศาลฎีกาฯ ไปต่อสู่ในศาลภาษีอากรกลางจนชนะคดี เพราะบุคคลทั้งสองไม่ใช่เจ้าของหุ้นชินคอร์ปฯ ตัวจริง ทำให้กรมสรรพากรต้องถอนอายัดทรัพย์สินคืนให้กับโอ๊ค-เอม
ถึงแม้ทั้ง 2 ศาลตัดสินแล้วว่า หุ้นชินคอร์ปฯ ไม่ใช่หุ้นของโอ๊ค-เอม แล้วหุ้นชินคอร์ปฯ เป็นของใคร พ.ต.ท.ทักษิณ หรือ บริษัทแอมเพิลริชที่มี พ.ต.ท.ทักษิณเป็นเจ้าของ ก็ยังเป็นประเด็นที่จะต้องมีการตีความกัน ทำให้กรมสรรพากรต้องนำประเด็นนี้มาขอความเห็นจากคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากร ที่มีนายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงการคลังเป็นประธานฯ ซึ่งนายอารีพงศ์ได้มอบหมายให้นางเสาวนีย์ กมลบุตร รองปลัดกระทรวงการคลัง เป็นประธานฯ แทน
และในที่สุด มหากาพย์การต่อสู้ของคนในตระกูลชินวัตรก็ปิดฉากลง เมื่อคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากรได้มีการพิจารณาเรื่องนี้ โดยนางเสาวนีย์ กมลบุตร ในฐานะประธานคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากร กล่าวว่า เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ที่ประชุมคณะกรรมการฯ ได้วินิจฉัยกรณีการจัดเก็บภาษีจากการซื้อ-ขายหุ้นชินคอร์ปฯ โดยนำคำพิพากษาของศาลฎีกาฯ และศาลภาษีอากรมาประกอบการพิจารณา ซึ่งคำพิพากษาของศาลระบุว่า นายพานทองแท้ และ น.ส.พินทองทา ชินวัตร ไม่ใช่เจ้าของหุ้นชินคอร์ปฯ แต่เป็นของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ดังนั้น คณะกรรมการฯ จึงไม่สามารถวินิจฉัยเป็นอย่างอื่นได้ นอกจากจะตัดสินยืนตามคำพิพากษาของศาล
นางเสาวนีย์กล่าวต่อไปอีกว่า ส่วนกรณีที่กรมสรรพากรมาขอความเห็นว่า จะประเมินภาษีกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้หรือไม่ คณะกรรมการฯ มีความเห็นว่า เรื่องการจัดเก็บภาษีหรือการประเมินภาษีนั้น น่าอยู่ในขอบเขตอำนาจหน้าที่ของอธิบดีกรมสรรพากร ซึ่งคณะกรรมการฯ ไม่มีหน้าที่ไปตัดสินว่าจะให้กรมสรรพากรไปเก็บภาษีใคร หรือ ไม่เก็บใคร ประเด็นนี้ อธิบดีกรมสรรพากรจะต้องเป็นผู้วินิจฉัยว่าจะเก็บภาษี พ.ต.ท.ทักษิณหรือไม่
ด้านนายสาธิต รังคสิริ อธิบดีกรมสรรพากร เปิดเผยว่า หลังจากที่คณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากร ได้สรุปผลการวินิจฉัย กรณีการซื้อ-ขายหุ้นชินคอร์ปฯ ว่า เจ้าของหุ้นชินคอร์ปฯ ที่แท้จริง คือ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ส่วนนายพานทองแท้ และ น.ส.พินทองทา ชินวัตร ไม่ใช่เจ้าของหุ้นชินคอร์ปฯ ซึ่งการดำเนินการในลักษณะดังกล่าว เข้าข่ายปกปิดบัญชีทรัพย์สินที่จะต้องแสดงต่อสำนักงาน ป.ป.ช. ซึ่งศาลฎีกาฯ ได้มีคำสั่งให้ยึดทรัพย์สิน พ.ต.ท.ทักษิณ ให้ตกเป็นของแผ่นดินไปหมดแล้ว จากนั้นเมื่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ซึ่งเป็นเจ้าของหุ้นตัวจริงนำหุ้นชินคอร์ปฯ ไปขายให้กับกองทุนเทมาเสกผ่านตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ก็จะได้รับยกเว้นภาษีตามกฏกระทรวงฉบับที่ 126
“เรื่องภาษีหุ้นชินคอร์ปฯ ตอนนี้ถือว่าจบแล้ว ต่อจากนี้ไป กรมสรรพากรจะไม่มีการประเมินภาษีคนในตระกูลชินวิตรอีก เนื่องจากผลการตัดสินของคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากรถือเป็นที่สิ้นสุด ซึ่งคณะกรรมการฯ ก็มีมติเป็นเอกฉันท์ ยืนตามคำพิพากษาของศาลทั้ง 2 ศาล ส่วนเรื่องการประเมินภาษี พ.ต.ท.ทักษิณ คณะกรรมการฯ มอบหมายให้เป็นหน้าที่ของกรมสรรพากรเป็นผู้วินิจฉัย เมื่อสรรพากรพิจารณาแล้วว่าไม่ต้องเสียภาษี ตรงนี้ก็ถือเป็นที่สิ้นสุดด้วยเช่นกัน เพราะกรมสรรพากรทำตามผลการวินิจฉัยของคณะกรรมการฯ” นายสาธิตกล่าว
Posted Image
นายแก้วสรร อติโพธิ(คนกลาง) อดีตคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.)
ด้านนายแก้วสรร อติโพธิ อดีตคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) กล่าวว่า ผมไม่เข้าใจ ทำไมคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากร และอธิบดีสรรพากรไปเอาคำพิพากษาจากศาลมาพิจารณา เพราะศาลทั้ง 2 ศาล ก็ไม่ได้ตัดสินว่า พ.ต.ท.ทักษิณเป็นเจ้าของหุ้นชินคอร์ปฯ ตัวจริง แต่ศาลตัดสินว่า พ.ต.ท.ทักษิณเป็นเจ้าของบริษัทแอมเพิลริชที่ถือหุ้นชินคอร์ปฯ กล่าวคือในปี 2542 พ.ต.ท.ทักษิณได้จัดตั้งบริษัทแอมเพิลริช และมีการโอนหุ้นชินคอร์ปฯ ให้กับบริษัทแอมเพิลริช และก่อนที่ พ.ต.ท.ทักษิณจะเล่นการเมือง ในปี 2543 ได้ขายหุ้นชินคอร์ปฯ ให้กับนายพานทองแท้และนางสาวพินทองทาในราคา 1 บาทต่อหุ้น ต่อมา ทั้งคู่ได้นำหุ้นชินคอร์ปฯ ไปขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ เพื่อที่จะได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามประกาศกระทรวง ฉบับที่ 126 แต่มาถูก คตส. ตรวจสอบพบจึงนำเรื่องนี้ส่งฟ้องศาลฎีกาฯ
“กรมสรรพากรยอมรับหรือไม่ หุ้นชินคอร์ปฯ นั้นเป็นของบริษัทแอมเพิลริช และ พ.ต.ท.ทักษิณคือเจ้าของบริษัทแอมเพิลริช ศาลทั้ง 2 ศาลตัดสินว่า นายพานทองแท้ และ น.ส.พินทองทา ชินวัตร ไม่ใช่เจ้าของหุ้นชินคอร์ปฯ ตัวจริง ดังนั้นเจ้าของหุ้นชินคอร์ปฯ ตัวจริงก็คือบริษัทแอมเพิลริชที่มี พ.ต.ท.ทักษิณเป็นเจ้าของ เมื่อแอมเพิลริชนำหุ้นชินคอร์ปฯ ไปขายในตลาดหลักทรัพย์ ก็จะไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามประกาศกระทรวง ฉบับที่ 126 เพราะถือว่าเป็นการซื้อ-ขายหุ้นระหว่างบริษัทกับบริษัท ดังนั้น กรมสรรพากรจึงมีหน้าที่ที่จะต้องไปไล่เก็บภาษีเงินได้นิติบุคคล 30% หรือเรียกเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดากับทักษิณที่ได้หุ้นจากบริษัทแอมเพิลริชไปในราคาที่ต่ำกว่าราคาตลาด” นายแก้วสรรกล่าว
อนึ่ง คณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากร ตามมาตรา 13 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร จะมีปลัดกระทรวงการคลังเป็นประธานฯ กรรมการประกอบด้วย อธิบดีกรมสรรพากร อธิบดีกรมศุลกากร อธิบดีกรมสรรพสามิต ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา และผู้ทรงคุณวุฒิอีก 3 คน มีอำนาจหน้าที่ดังนี้ 1) กำหนดขอบเขตในการใช้อำนาจของเจ้าพนักงานประเมินและพนักงานเจ้าหน้าที่ 2) กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ ระยะเวลาในการตรวจสอบ และประเมินภาษีอากร 3) วินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับภาษีอากรที่กรมสรรพากรขอความเห็น และ 4) ให้คำปรึกษาหรือเสนอแนะแก่รัฐมนตรีในการจัดเก็บภาษีอากร คำวินิจฉัยของคณะกรรมการฯให้ถือเป็นที่สุด


แค่บรรทัดสีแดงที่ผมเน้นไว้บรรทัดเดียวก็แสดงออกให้เห็นแล้วว่า "กิ้งก่าเปลี่ยนสี"

อ่านหนังสือไม่เกิน "สามบรรทัด" เพราะอ่านๆแล้วมาหยุดที่ประโยคเดียวคือ

"คนขายก๋วยเตี๋ยวยังเสียภาษีแบบนับชามก๋วยเตี๋ยวเลย แล้วนายกฯเป็นใครทำไมไม่เสียภาษี"

คำเปรียบเปรยมันแทงใจ เลยวนๆเวียนๆอยู่แต่แป๊ะ ลิ้ม สักพักก็จะเข้าสู่โหมด

"พวกพันธมิตรขี้เหลือง ปิดสนามบิ๊นนนนนนนน" 55555

สมองกิ้งก่ารับข้อมูลได้ไม่กี่บรรทัดโปรดจงเข้าใจและให้อภัยเขาด้วย
เชื่อเถอะ อีกไม่ช้า นายเวร จะเสียฉายา "ร้อยล๊อกอิน" ไปในไม่กีอึดใจนี้

#50 QueenBee

QueenBee

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 547 posts

Posted 5 August 2012 - 09:19

อ้าว ขายหุ้นไม่ต้องเสียนี้ แล้วจะไปว่าเขาโกงได้ไง :)

เนƒเธ„เธฃเธงเนˆเธฒเธ„เธ™เธฃเธงเธขเน„เธกเนˆเน‚เธเธ‡ เธ‰เธšเธฑเธš เธœเธกเธœเธดเธ”เธ”เน‰เธงเธขเธซเธฃเธทเธญ
แสนยานุภาพ ลิงค์ให้ไว้เข้าไม่ได้ เข้าได้แต่ลิงค์ล่างนี้ :D

http://www.manager.co.th/home/



คุณกิ้งก่าลองสละเวลาแล้วอ่านข้อมูลอีกด้านดูสิคะ
อ่านแล้ววิเคราะห์ ไตร่ตรองว่าจริงหรือไม่
ชอบไม่ชอบเป็นอีกเรื่องนึง


เป็นคนธรรมดาๆที่รักในหลวงยิ่งชีวิตเบื่อผู้นำที่คิดไม่เป็นเชื่อว่าแม้วคือศัตรูของชาติรับไม่ได้กับแดงเผาเมือง




0 user(s) are reading this topic

0 members, 0 guests, 0 anonymous users