ปัญหาความไม่โปร่งใสที่เกิดขึ้นภายในกระทรวงสาธารณสุข กรณีการจัดซื้อคุรุภัณฑ์ทางการแพทย์ 6 รายการ ที่เป็นปัญหาหลังถูกฝ่ายค้าน และแพทย์ชนบทโจมตีว่าใช้งบประมาณไม่โปร่งใส และราคาสูงเกินจากความเป็นจริงนั้น
ล่าสุดนายแพทย์ไพจิตร์ วราชิต รักษาการปลัดกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วยนายแพทย์เสรี หงษ์หยก ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข ประธานคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง รวมถึงประธานคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงการจัดซื้อเครื่องทำลายเชื้อโรคด้วยระบบยูวี รวมถึงคณะกรรมการนายแพทย์สุรเชษฐ์ สถิตนิรามัย ได้ออกมาชี้แจงถึงความคืบหน้าโครงการไทยเข้มแข็งในการจัดสรรงบประมาณปี 2553-2555 ด้วยงบประมาณกว่า 80,000 ล้านบาทว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นจะเร่งคลี่คลายให้เร็วที่สุด โดยสั่งดำเนินการ 2 เรื่องทันที คือ 1.ทำหนังสือถึงนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ ให้ชะลอการจัดซื้อคุรุภัณฑ์ทางการแพทย์ ทั้ง 6 รายการไว้ก่อน หลังถูกโจมตีว่ามีราคาแพงเกินกว่าความเป็นจริง คือ 1.1) เครื่องฆ่าเชื้อโรคด้วยรังสียูวี จากเดิมที่มีราคา 5,000-6,000 บาทต่อเครื่อง แต่ตั้งงบประมาณจัดซื้อถึง 40,000 บาทต่อเครื่อง 1.2) เครื่องช่วยหายใจ ราคาจริงจะอยู่ที่ประมาณ 500,000 บาท แต่ตั้งไว้ 1.5 แสนบาท 1.3) เครื่องดมยาสลบ ราคาจะอยู่ที่ประมาณ 1.2 ล้านบาท แต่ตั้งงบประมาณไว้ 2,000,000-3,000,000 บาท 1.4) เครื่องติดตามการทำงานของหัวใจ ราคาจริงจะอยู่ไม่เกิน 3,000,000 บาท แต่ตั้งงบไว้ถึง 6,000,000 บาท 1.5) เครื่องตรวจวัดเคมีในเลือด และรถพยาบาลจะตั้งงบเพิ่มไปอีก 100,000-500,000 บาท
นอกจากนี้ยังมีเสาธงที่เพิ่มขึ้นมาอีก 1 ราย ซึ่งจะกระจายไปยังโรงพยาบาลทั่วประเทศ ราคาจริงจะอยู่ที่ประมาณ 200,000 บาท แต่ตั้งไว้ที่ 500,000 บาท ต่อ 1 เสา 2.ตั้งคณะกรรมการ 2 ชุด 2.1) ชุดที่ 1 เป็นชุดตรวจสอบทบทวนความเหมาะสมของโครงการ ซึ่งมีผู้แทนหลายฝ่าย รวมถึงชมรมแพทย์ชนบทเป็นกรรมการตรวจสอบด้วย ซึ่งจะตรวจสอบรายการในโครงการทั้งหมด 14 โครงการ จำนวน 7,400 รายการ ซึ่งจะให้แล้วเสร็จภายใน 1 สัปดาห์2.2) กรรมการชุดที่ 2 เป็นคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงภาพรวมที่มีรองปลัดสาธารณสุขทุกคนเป็นประธาน โดยต้องตรวจสอบให้แล้วเสร็จภายในไม่เกิน 1 เดือน และรายงานผลต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
ทั้งนี้นายแพทย์ไพจิตร์ ระบุว่าหากผลการตรวจสอบออกมาระบุว่าการเสนอราคาจัดซื้อคุรุภัณฑ์ทางการแพทย์เอื้อประโยชน์ต่อบริษัทใดบริษัทหนึ่ง ก็พร้อมที่จะประกาศปลดล็อคสเปครายการคุรุภัณฑ์นั้น เพื่อให้เกิดความโปร่งใส ไม่เป็นที่ครหาต่อสังคม
นายแพทย์ไพจิตร์ ระบุด้วยว่าประเด็นปัญหาการจัดซื้อคุรุภัณฑ์อีก 46 รายการ ที่จัดส่งให้กับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนั้น ล่าสุดสั่งให้ทบทวนวิธีปฏิบัติบางประการในการจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นอุปสรรคแล้ว โดยจะแก้ปัญหาให้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล สามารถเลือกซื้อคุรุภัณฑ์ทางการแพทย์ได้ตามความจำเป็น ไม่มีการล็อคสเปค โดยให้วงเงินไม่เกิน 850,000 บาทต่อโรงพยาบาล ซึ่งโรงพยาบาลที่จัดซื้อคุรุภัณฑ์ต้องลงรายละเอียดผ่านเว็บไซด์ เพื่อชี้แจงราคาทั้งหมดให้กับส่วนกลาง หรือคณะกรรมการได้รับทราบอย่างละเอียดด้วย
นอกจากนี้นายวิทยา แก้วภราดัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข จะเดินสายรับฟังปัญหาอุปสรรคการดำเนินงานตามโครงการไทยเข้มแข็งในพื้นที่โดยตรง โดยจะกำหนดลงพื้นที่ตรวจเยี่ยม และตรวจสอบคุรุภัณฑ์ทางการแพทย์ที่ขาดเหลือในทุกโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุกแห่ง นำร่องโรงพยาบาลจังหวัดลพบุรีวันที่ 6 ตุลาคมนี้ เป็นจังหวัดแรก ก่อนจะตระเวนไปทั่วทุกภูมิภาคให้ครอบคลุมทั้งหมด โดยเปิดกว้างให้สื่อมวลชนตามบันทึกภาพข่าว โดยไม่ปกปิดใดๆ ทั้งสิ้น
เข้าใจว่าทางมติชนคงพิมพ์ผิด
^^ มีลิงค์ที่มาของข่าวไหม
ปลัดสธ.เบรกซื้อครุภัณฑ์6รายการ รอ2สัปดาห์สอบราคาไทยเข้มแข็ง
../../../images2006/space.gif
ปลัด สธ. สั่ง สสจ.เบรกจัดซื้อครุภัณฑ์ 6 รายการเจ้าปัญหา รอผลสอบแล้วเสร็จ 2 สัปดาห์ พร้อมสั่งทบทวนจัดซื้อครุภัณฑ์ทางการแพทย์ 7,400 รายการ พร้อมปลดล็อกเครื่องมือแพทย์ 46 รายการ ในโครงการไทยเข้มแข็งทั้งหมด ชี้หากสอดไส้รายการที่พื้นที่ไม่ได้ขอ ต้องหาตัวคนสั่ง ขณะที่ “วิทยา" เตรียมเดินสายแจงจัดซื้อโครงการไทยเข้มแข็งแก่ผู้บริหารโรงพยาบาลทั่วประเทศ
นพ.ไพจิตร์ วราชิต รักษาราชการแทนปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) นพ.เสรี หงษ์หยก ผู้ตรวจราชการ สธ. ประธานคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงการจัดซื้อเครื่องทำลายเชื้อโรคด้วยระบบยูวี นพ.สุรเชษฐ์ สถิตนิรามัย สาธารณสุขนิเทศ 1 ในคณะกรรมการพิจารณาความเหมาะสมและแก้ไขปัญหาโครงการไทยเข้มแข็งของ สธ. นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กรรมการและเลขานุการคณะกรรมการพิจารณาความเหมาะสมฯ และ นพ.คำรณ ไชยศิริ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารโครงการไทยเข้มแข็ง 2555 ร่วมแถลงความคืบหน้าดำเนินการโครงการภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 (แผนฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะที่ 2) กระทรวงสาธารณสุข มูลค่า 86,685.61 ล้านบาท
นพ.ไพจิตร์ กล่าวว่า โครงการไทยเข้มแข็งของ สธ. ยังอยู่ระหว่างการพิจารณางบประมาณในสภา ยังไม่ได้จัดซื้อจัดจ้าง ยังไม่มีการจ่ายเงินออกไป ทั้งการก่อสร้างและจัดซื้อครุภัณฑ์ แต่เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้น นายวิทยา แก้วภราดัย รมว.สาธารณสุข จึงให้ทบทวนและตรวจสอบเพื่อความโปร่งใส และในฐานะที่ตนเป็นปลัด สธ.จึงได้สั่งดำเนินการดังนี้
มีหนังสือสั่งการไปยังนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด (นพ.สสจ.) ทุกจังหวัดให้ชะลอการจัดซื้อครุภัณฑ์ 6 รายการ ที่มีการท้วงติง ได้แก่ เครื่องทำลายเชื้อโรคด้วยระบบยูวี หรือ ยูวีแฟน เครื่องช่วยหายใจ เครื่องดมยาสลบ เครื่องติดตามการทำงานของหัวใจ หรือเซ็นทรัลมอนิเตอร์ เครื่องตรวจสารเคมีในเลือด และรถพยาบาล และให้คณะกรรมการชุดตรวจสอบรายการที่เป็นปัญหา มี นพ.เสรี หงษ์หยก เป็นประธาน ตรวจสอบให้เสร็จสิ้นใน 1-2 สัปดาห์
ส่วนกรรมการอีก 1 ชุด ซึ่งเป็นชุดตรวจสอบทบทวนความเหมาะสมโครงการฯ มีผู้แทนหลายฝ่ายรวมถึงชมรมแพทย์ชนบท เป็นกรรมการตรวจสอบ โดยให้ตรวจสอบทั้งหมด 14 โครงการ รวม 7,400 รายการ เพื่อดูความเหมาะสม คุ้มค่าและจำเป็นจริงๆ รวมทั้งราคาจัดซื้อที่ต้องไม่สูงเกินจริง ให้แล้วเสร็จภายใน 1 เดือน
นพ.ไพจิตร์ กล่าวว่า การจัดซื้อครุภัณฑ์ให้แก่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) นั้น มีการกำหนดรายการจัดซื้อ 46 รายการ ทำให้มี รพ.สต.ท้วงติง เนื่องจากไม่ตรงกับความต้องการในแต่ละพื้นที่ เพื่อแก้ไขปัญหานี้จึงได้เชิญผู้แทนจากสำนักงบประมาณเข้าร่วมหารือ เพื่อปลดล็อกปัญหาการคีย์ข้อมูล นอกจาก 46 รายการแล้ว จะเปิดให้พื้นที่เป็นผู้เลือกซื้อเพื่อตรงความต้องการของพื้นที่มากขึ้น
“การดำเนินการของกระทรวงไม่ใช้ทำเพื่อแก้ข้อกล่าวหา แต่เป็นการตรวจสอบข้อเท็จจริง หากมีการล็อกสเปคจริงก็ต้องปรับเปลี่ยน ซึ่งอยากย้ำว่าขณะนี้ยังไม่มีการจัดซื้อเกิดขึ้น เนื่องจากงบประมาณยังอยู่ระหว่างการพิจารณาในสภา ยืนยันว่าการตรวจสอบจะไม่กระทบทำให้โครงการไทยเข้มแข็งต้องล่าช้า เพราะใช้เวลาพิจารณาเพียงแค่ 1-2 สัปดาห์เท่านั้น ขณะที่การพิจารณางบก้อนนี้ในสภา ยังต้องใช้เวลาเป็นเดือนจึงจะแล้วเสร็จ เชื่อว่าไม่เป็นปัญหา”
ทั้งนี้ ในการรวบรวมความต้องการจัดซื้อจากพื้นที่ ต้องเห็นใจเจ้าหน้าที่ซึ่งทำงานอย่างตั้งใจ ด้วยความเหนื่อยยาก ภายใต้เวลาที่จำกัด อาจมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นบ้าง เช่น รายการครุภัณฑ์ที่ปรากฏอยู่ในรายการโดยพื้นที่ไม่ได้ขอ จะต้องหาให้ได้ว่าใครเป็นคนสั่ง
นพ.ไพจิตร์ กล่าวต่อว่า เพื่อความโปร่งใสในโครงการไทยเข้มแข็ง ตลอดสัปดาห์หน้านี้ นายวิทยา จะเดินสายรับฟังปัญหาและอุปสรรคการดำเนินงานตามโครงการฯ จากพื้นที่โดยตรง โดยจะประชุม นพ.สสจ. ผอ.รพ.ศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป ทั่วประเทศ ในวันจันทร์ที่ 5 ต.ค. ลงตรวจเยี่ยมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลที่จังหวัดกาญจนบุรี ในวันที่ 6 ต.ค. และประชุมผอ.รพ.ชุมชนทั่วประเทศในวันที่ 7 ต.ค.
ส่วนในวันที่ 8 ต.ค. จะรับฟังความคืบหน้าการตรวจสอบข้อเท็จจริงของคณะกรรมการทั้ง 2 ชุด จากนั้นจะประชุมสาธารณสุขอำเภอและหัวหน้าสถานีอนามัยทุกภาค เริ่มที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ จ.นครราชสีมา ในวันที่ 9 ต.ค. ภาคกลางที่ จ.พระนครศรีอยุธยา ในวันที่ 10 ต.ค. ภาคใต้ที่ จ.สงขลา วันที่ 11 ต.ค. และภาคเหนือที่ จ.พิษณุโลก วันที่ 12 ต.ค. เพื่อให้การลงทุนก่อสร้างและจัดซื้อครุภัณฑ์ทุกชิ้น เกิดประโยชน์ต่อการแก้ไขปัญหาสุขภาพของประชาชนในแต่ละพื้นที่มากที่สุด ไม่มีปัญหาทุจริตเกิดขึ้นในโครงการ
ส่วนที่ นพ.เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ ประธานชมรมแพทย์ชนบท ระบุว่าการทบทวนโครงการไทยเข้มแข็งจะประหยัดงบได้ถึง 30,000 ล้านบาท นั้น นพ.ไพจิตร์ กล่าวว่า ให้รอผลการทบทวนการจัดซื้อของคณะกรรมการพิจารณาฯ ที่ตั้งก่อน เช่นเดียวกับกรณีการกำหนดสเปคเสาธงต้นละเกือบ 5 แสนบาท ซึ่งยอมรับว่าแพงจริง ตลอดการจัดซื้อครุภัณฑ์ทางการแพทย์ที่เป็นปัญหาอื่นๆ ด้วย
ด้าน นพ.เสรี หงษ์หยก ผู้ตรวจราชการเขต 7 ในฐานะประธานคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีการจัดซื้อครุภัณฑ์ทางการแพทย์โครงการไทยเข้มแข็ง กล่าวว่า งบไทยเข้มแข็งถือเป็นงบกระตุ้นเศรษฐกิจ หากจ่ายเงินได้เร็ว ถูกระเบียบ ได้ของมีคุณภาพ และนำไปใช้งานได้จริงถือเป็นเรื่องที่ดี โดยกรอบการทำงานของตนจะดูว่าครุภัณฑ์ต่างๆ มาได้อย่างไร ที่ไหนได้รับบ้าง และมีความเหมาะสมหรือไม่ นอกจากนี้จะดูความคุ้มค่าและราคา ก่อนที่จะสรุปเพื่อนำเสนอต่อปลัดกระทรวงสาธารณสุขพิจารณาอีกครั้ง
นพ.ดร.สมยศ ดีรัศมี อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กล่าวถึงกรณีที่มีการวิพากษ์วิจารณ์การก่อสร้างอาคาร รพ.ชุมชน ในโครงการไทยเข้มแข็ง ที่มีการสร้างเสาธงมูลค่า 4.95 แสนบาทต่อแห่ง ว่า จากการสอบถามกองแบบแผนได้รับการชี้แจงว่า ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันมีเสาธงกว่า 10 แบบ ที่มีราคาแตกต่างกันตั้งแต่ 20,000 บาทขึ้นไป สำหรับแบบล่าสุดที่เป็นประเด็นในขณะนี้นั้น ได้รับการชี้แจงว่ามีราคา 3.57 แสนบาท โดยเป็นเหล็กขนาด 20 เมตร เคลือบด้วยสารกันสนิมกัลวาไนท์ นอกจากนี้ยังมีฐานสูงที่ต้องวางเสาเข็ม พื้นเป็นหินทรายขัด ทำให้มีราคาสูง
ผู้สื่อข่าวถามว่า ทำไมราคาจึงสูงถึง 4.95 แสนบาท ทั้งๆ ที่ราคากองแบบแผนระบุอยู่ที่ 3.57 แสนบาท นพ.ดร.สมยศ กล่าวว่า รายละเอียดคงต้องถามทางกองแบบแผน แต่เท่าที่ทราบมีการบวกเพิ่มค่าวัสดุเข้าไปด้วย และเมื่อบวกค่าประมาณการ ทำให้ราคาอยู่ที่ 4.95 แสนบาท และเมื่อมีการจัดซื้อจริงๆ อาจมีราคาต่ำกว่าที่ตั้งไว้ แล้วแต่ในพื้นที่จะไปดำเนินการกันเอง
http://www.bangkokbi...ews_id=29579212
Edited by ใจสั่งมา, 17 August 2012 - 13:32.