Jump to content


Photo
- - - - -

ของจำนำ เอาไปขายได้หรือ


  • Please log in to reply
67 ความเห็นในกระทู้นี้

#1 amplepoor

amplepoor

    เมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,365 posts

ตอบ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 11:20

*
POPULAR

งงครับ

รัฐบาลรับจำนำข้าว
หมายความว่า ข้าวนั้นไม่ใช่ของรัฐบาล
จะเป็นของรัฐบาลได้ ก็ต้องรอให้หมดเวลารับจำนำ
แล้วชาวนาไม่มาไถ่ถอน.....ถูกต้องใหมครับ

ขอถามผู้รู้ครับ

1 ระยะเวลารับจำนำ นานกี่เดือน

2 ถ้าชาวนามาไถ่ถอน ดอกเบี้ยเท่าไหร่

3 ข้าวที่ชาวนาขนมา จำนำเสร็จแล้วรัฐบาลต้องหาที่เก็บรอการไถ่ถอน
ที่เก็บนั่น รัฐบาลทำสัญญากับโรงสีหรือเปล่า

4 สมมติว่า โรงสีเป็นคนรับจำนำ โรงสีมีใบอนุญาตประกอบการสถานธนานุเคราะห์ปล่าว
อ้อ แม้แต่รัฐบาลก็เหอะ หน้าที่รับจำนำมันเป็ของกรมประชาสงเคราะห์ไม่ใช่หรือ

5 เกิดชาวนามาไถ่ถอน จะเอาข้าวกระสอบเดิมคืนเขาได้ยังงัย กองกันเป็นหมื่นๆ ลูก

6 หรือว่าที่จริงมันไม่ใช่การรับจำนำ แต่เอาคำว่าจำนำมาใช้
ถ้างั้นผิดกฏหมายหรือเปล่าน่ะ





ที่ถามนี่เพราะไม่รู้ครับ
ถ้ารู้ก็คงไปเป็นนายกรัฐมนตรีแล้วละฮาฟฟฟ

#2 MOD X

MOD X

    Moderator

  • Moderators
  • 4,393 posts

ตอบ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 11:25

คำด่าใหม่ อีนายก

---------------------------------------


#3 จอมโจรคิด

จอมโจรคิด

    อธรรมผู้น่ารัก

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 3,299 posts

ตอบ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 11:32

ปกติต้องรอระยะเวลานึงก่อนถึงจะเอามาขายเป็นของหลุดจำนำได้นี่ครับ

เจตนารมณ์ส่วนตัว
- ไม่ใช้ถ้อยคำที่คำหยาบคาย
- ไม่ต่อล้อต่อเถียงอย่างไม่มีเหตุผล


#4 sendou tiger

sendou tiger

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 490 posts

ตอบ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 11:37

เออ จริงแฮะ ไม่เคยเอะใจมาก่อนเลยครับ
ฮ่าๆๆๆ

#5 ริวมะคุง

ริวมะคุง

    ห้ามให้อาหารสัตว์

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 6,577 posts

ตอบ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 11:39

ก็ถึงว่าไม่เรียกไปเลยว่า

โครงการรับซื้อข้าวราคาสูง

โถ่ถังกะละมัง
Posted Image

#6 kon_thai

kon_thai

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,437 posts

ตอบ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 11:43

คำตอบอยู่ที่นี่ครับ..
http://clip.thaipbs....d=2938&ap=flase

#7 ขุนพลชิน

ขุนพลชิน

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 2,053 posts

ตอบ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 11:43

เอ่อนั้นดิ ทำไมถึงเรียกรับจำนำข้าว มันซื้อขาดชัดๆ

#8 amplepoor

amplepoor

    เมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,365 posts

ตอบ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 11:47

http://www.thailandl...974921&Ntype=19



พระราชบัญญัติ

โรงรับจำนำ

พ.ศ. ๒๕๐๕

ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.

ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๐๕

เป็นปีที่ ๑๗ ในรัชกาลปัจจุบัน



#9 Solidus

Solidus

    เลิกเล่น

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 14,367 posts

ตอบ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 12:14

ลักษณะ 13
จำนำ

หมวด 1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป
มาตรา 747 อันว่าจำนำนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่า ผู้จำนำส่งมอบสังหาริมทรัพย์สิ่งหนึ่งให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่า ผู้รับจำนำ เพื่อเป็นประกันการชำระหนี้
มาตรา 748 การจำนำนั้นย่อมเป็นประกันเพื่อการชำระหนี้ กับ ทั้งค่าอุปกรณ์ต่อไปนี้ด้วย คือ
(1) ดอกเบี้ย
(2) ค่าสินไหมทดแทนในการไม่ชำระหนี้
(3) ค่าฤชาธรรมเนียมในการบังคับจำนำ
(4) ค่าใช้จ่ายเพื่อรักษาทรัพย์สินซึ่งจำนำ
(5) ค่าสินไหมทดแทน เพื่อความเสียหายอันเกิดแต่ความชำรุด บกพร่องแห่งทรัพย์สินจำนำซึ่งไม่เห็นประจักษ์
มาตรา 749 คู่สัญญาจำนำจะตกลงกันให้บุคคลภายนอกเป็นผู้ เก็บรักษาทรัพย์สินจำนำไว้ก็ได้
มาตรา 750 ถ้าทรัพย์สินที่จำนำเป็นสิทธิซึ่งมีตราสาร และมิได้ ส่งมอบตราสารนั้นให้แก่ผู้รับจำนำ ทั้งมิได้บอกกล่าวเป็นหนังสือแจ้ง การจำนำแก่ลูกหนี้แห่งสิทธินั้นด้วยไซร้ ท่านว่าการจำนำย่อมเป็นโมฆะ
มาตรา 751 ถ้าจำนำตราสารชนิดออกให้แก่บุคคลเพื่อเขาสั่งท่าน ห้ามมิให้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอก เว้นแต่จะได้สลักหลังไว้ที่ ตราสารให้ปรากฏการจำนำเช่นนั้น
อนึ่ง ในการนี้ไม่จำเป็นต้องบอกกล่าวแก่ลูกหนี้แห่งตราสาร
มาตรา 752 ถ้าจำนำตราสารชนิดออกให้แก่บุคคลโดยนามและ จะโอนกันด้วยสลักหลังไม่ได้ ท่านว่าต้องจดข้อความแสดงการจำนำ ไว้ให้ปรากฏในตราสารนั้นเอง และท่านห้ามมิให้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ ลูกหนี้แห่งตราสารหรือบุคคลภายนอก เว้นแต่จะได้บอกกล่าวการ จำนำนั้นให้ทราบถึงลูกหนี้แห่งตราสาร
มาตรา 753 ถ้าจำนำใบหุ้น หรือใบหุ้นกู้ชนิดระบุชื่อ ท่านห้ามมิ ให้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บริษัทหรือบุคคลภายนอก เว้นแต่จะได้จดลง ทะเบียนการจำนำนั้นไว้ในสมุดของบริษัท ตามบทบัญญัติทั้งหลาย ในลักษณะ 22 ว่าด้วยการโอนหุ้นหรือหุ้นกู้
มาตรา 754 ถ้าสิทธิซึ่งจำนำนั้นถึงกำหนดชำระก่อนหนี้ซึ่งประกัน ไว้นั้นไซร้ ท่านว่าลูกหนี้แห่งสิทธิต้องส่งมอบทรัพย์สินอันเป็นวัตถุ แห่งสิทธิให้แก่ผู้รับจำนำ และทรัพย์สินนั้นก็กลายเป็นของจำนำแทน สิทธิซึ่งจำนำ
ถ้าสิทธิซึ่งจำนำนั้นเป็นมูลหนี้ซึ่งต้องชำระเป็นเงิน และถึงกำหนด ชำระก่อนหนี้ซึ่งประกันไว้นั้นไซร้ ท่านว่าต้องใช้เงินให้แก่ผู้รับจำนำและ ผู้จำนำร่วมกัน ถ้าและเขาทั้งสองนั้นไม่ปรองดองตกลงกันได้ ท่านว่า แต่ละคนชอบที่จะเรียกให้วางเงินจำนวนนั้นไว้ ณ สำนักงานฝาก ทรัพย์ได้เพื่อประโยชน์อันร่วมกัน
มาตรา 755 ถ้าจำนำสิทธิ ท่านห้ามมิให้ทำสิทธินั้นให้สิ้นไปหรือ แก้ไขสิทธินั้นให้เสียหายแก่ผู้รับจำนำโดยผู้รับจำนำมิได้ยินยอมด้วย
มาตรา 756 การที่จะตกลงกันไว้เสียแต่ก่อนเวลาหนี้ถึงกำหนด ชำระเป็นข้อความอย่างใดอย่างหนึ่งว่า ถ้าไม่ชำระหนี้ ให้ผู้รับจำนำ เข้าเป็นเจ้าของทรัพย์สินจำนำ หรือให้จัดการแก่ทรัพย์สินนั้นเป็น ประการอื่นนอกจากตามบทบัญญัติทั้งหลายว่าด้วยการบังคับจำนำ นั้นไซร้ ข้อตกลงเช่นนั้นท่านว่าไม่สมบูรณ์
มาตรา 757 บทบัญญัติทั้งหลายในลักษณะ 13 นี้ท่านให้ใช้บังคับ แก่สัญญาจำนำที่ทำกับผู้ตั้งโรงรับจำนำ โดยอนุญาตรัฐบาลแต่เพียง ที่ไม่ขัดกับกฎหมายหรือข้อบังคับว่าด้วยโรงจำนำ

หมวด 2 สิทธิและหน้าที่ของผู้จำนำและผู้รับจำนำ
มาตรา 758 ผู้รับจำนำชอบที่จะยึดของจำนำไว้ได้ทั้งหมดจนกว่า จะได้รับชำระหนี้และค่าอุปกรณ์ครบถ้วน
มาตรา 759 ผู้รับจำนำจำต้องรักษาทรัพย์สินจำนำไว้ให้ปลอดภัย และต้องสงวนทรัพย์สินจำนำนั้นเช่นอย่างวิญญูชนจะพึงสงวนทรัพย์สิน ของตนเอง
มาตรา 760 ถ้าผู้รับจำนำเอาทรัพย์สินซึ่งจำนำออกใช้เอง หรือ เอาไปให้บุคคลภายนอกใช้สอย หรือเก็บรักษาโดยผู้จำนำมิได้ยินยอม ด้วยไซร้ ท่านว่าผู้รับจำนำจะต้องรับผิดเพื่อทรัพย์สินจำนำนั้นสูญหาย หรือบุบสลายไปอย่างใด ๆ แม้ทั้งเป็นเพราะเหตุสุดวิสัย เว้นแต่จะ พิสูจน์ได้ว่าถึงอย่างไร ๆ ก็คงจะต้องสูญหาย หรือบุบสลายอยู่นั่นเอง
มาตรา 761 ถ้ามิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่นในสัญญา หากมีดอกผล นิตินัยงอกจากทรัพย์สินนั้นอย่างไร ท่านให้ผู้รับจำนำจัดสรรใช้เป็นค่า ดอกเบี้ยอันค้างชำระแก่ตน และถ้าไม่มีดอกเบี้ยค้างชำระ ท่านให้จัด สรรใช้ต้นเงินแห่งหนี้อันได้จำนำทรัพย์สินเป็นประกันนั้น
มาตรา 762 ค่าใช้จ่ายใด ๆ อันควรแก่การบำรุงรักษาทรัพย์สิน จำนำนั้น ผู้จำนำจำต้องชดใช้ให้แก่ผู้รับจำนำ เว้นแต่จะได้กำหนดไว้ เป็นอย่างอื่นในสัญญา
มาตรา 763 ท่านห้ามมิให้ฟ้องคดีดั่งจะกล่าวต่อไปนี้ เมื่อพ้น หกเดือนนับแต่วันส่งคืน หรือขายทอดตลาดทรัพย์สินจำนำ คือ
(1) ฟ้องเรียกสินไหมทดแทนเพื่อความบุบสลายอันผู้รับจำนำ ก่อให้เกิดแก่ทรัพย์สินจำนำ
(2) ฟ้องเรียกให้ชดใช้ค่าใช้จ่ายเพื่อการบำรุงรักษาทรัพย์สินจำนำ
(3) ฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทน เพื่อความเสียหายอันเกิดแก่ผู้รับจำนำเพราะความชำรุดบกพร่องในทรัพย์สินจำนำซึ่งไม่เห็นประจักษ์


หมวด 3 การบังคับจำนำ
มาตรา 764 เมื่อจะบังคับจำนำ ผู้รับจำนำต้องบอกกล่าวเป็น หนังสือไปยังลูกหนี้ก่อนว่า ให้ชำระหนี้และอุปกรณ์ภายในเวลา อันควรซึ่งกำหนดให้ในคำบอกกล่าวนั้น
ถ้าลูกหนี้ละเลยไม่ปฏิบัติตามคำบอกกล่าว ผู้รับจำนำชอบที่จะเอา ทรัพย์สินซึ่งจำนำออกขายได้ แต่ต้องขายทอดตลาด
อนึ่ง ผู้รับจำนำต้องมีจดหมายบอกกล่าวไปยังผู้จำนำบอกเวลา และสถานที่ซึ่งจะขายทอดตลาดด้วย
มาตรา 765 ถ้าไม่สามารถจะบอกกล่าวก่อนได้ ผู้รับจำนำจะ เอาทรัพย์สินจำนำออกขายทอดตลาดเสีย ในเมื่อหนี้ค้างชำระมาล่วง เวลาเดือนหนึ่งแล้วก็ให้ทำได้
มาตรา 766 ถ้าจำนำตั๋วเงิน ท่านให้ผู้รับจำนำเก็บเรียกเงิน ตามตั๋วเงินนั้นในวันถึงกำหนด ไม่จำเป็นต้องบอกกล่าวก่อน
มาตรา 767 เมื่อบังคับจำนำได้เงินจำนวนสุทธิเท่าใด ท่านว่า ผู้รับจำนำต้องจัดสรรชำระหนี้และอุปกรณ์เพื่อให้เสร็จสิ้นไป และถ้า ยังมีเงินเหลือก็ต้องส่งคืนให้แก่ผู้จำนำ หรือแก่บุคคลผู้ควรจะได้เงินนั้น
ถ้าได้เงินน้อยกว่าจำนวนค้างชำระท่านว่าลูกหนี้ก็ยังคงต้องรับ ใช้ในส่วนที่ขาดอยู่นั้น
มาตรา 768 ถ้าจำนำทรัพย์สินหลายสิ่งเพื่อประกันหนี้แต่ รายหนึ่งรายเดียว ท่านว่าผู้รับจำนำจะเลือกเอาทรัพย์สินสิ่งหนึ่ง สิ่งใดออกขายก็ได้แต่จะขายจนเกินกว่าที่จำเป็นเพื่อใช้เงินตาม สิทธิแห่งตนนั้นหาได้ไม่

ความระงับสิ้นไปแห่งการจำนำ
มาตรา 769 อันจำนำย่อมระงับสิ้นไป
(1) เมื่อหนี้ซึ่งจำนำเป็นประกันอยู่นั้นระงับสิ้นไปเพราะเหตุประการ อื่นมิใช่เพราะอายุความ หรือ
(2) เมื่อผู้รับจำนำ ยอมให้ทรัพย์สินจำนำกลับคืนไปสู่ครอบครอง ของผู้จำนำ

[color=#ff0000;]สำหรับผมคงเลิกเล่นบอร์ดนี้ไว้เพียงเท่านี้ ถ้าไอดีนี้ยังมีบุคคลอื่นที่ใครบางคนคิดว่าเป็นตัวจริงอยู่จริง เขาก็เข้ามาใช้บอร์ดนี้ต่อเองแต่ไม่ใช่ผมแน่นอน[/color]

ลาก่อน สวัสดีครับ 17 มกราคม 2556


#10 korkang

korkang

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 2,879 posts

ตอบ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 12:23

เออ ใช่ๆ คิดได้ไง

#11 amplepoor

amplepoor

    เมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,365 posts

ตอบ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 12:29

มาตรา 749 คู่สัญญาจำนำจะตกลงกันให้บุคคลภายนอกเป็นผู้ เก็บรักษาทรัพย์สินจำนำไว้ก็ได้

ถ้าใช้เงื่อนไขนี้
ก็จะมีเอกสารตามนี้

1 รัฐบาลแต่งตั้งโรงสีให้รับจำนำ
2 โรงสีออกใบรับจำนำและเก็บข้าว
3 ชาวนาเอาเอกสารจากโรงสีไปขึ้นเงิน

เอาแค่ 3 ข้อนี้ ผมว่า ก้อ ยุ่ ง ต า ย ห่ า แล้วละ
เพราะประเด็นคือ รัฐบาลจ่ายเงินไปโดยไม่สามารถตรวจทรัพย์สินได้
สมมติมีชาวนา 3 ล้านคน ก็ต้องมีใบรับจำนำ 3 ล้านใบ มีสิ่งของ 3 ล้านรายการ


โอยยยยย
มิน่า อีปูถึงเอ๋อ

#12 nnnn43

nnnn43

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 3,771 posts

ตอบ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 12:30

เรียก รับซื้อจะดีกว่า :lol:
แต่ก่อนจำนำข้าวให้ราคาไม่เกิน 80 % ของราคาตลาด

Edited by nnnn43, 11 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 12:31.

ผู้ที่ขาดคุณธรรม ย่อมไม่มีอุดมการณ์อันยิ่งใหญ่ ผู้ที่ขาดความรู้ ย่อมไม่มีสายตาอันกว้างไกล พูดคนฉลาดหนี่งคำ พูดคนโง่ร้อยคำ

#13 Solidus

Solidus

    เลิกเล่น

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 14,367 posts

ตอบ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 12:31

มาตรา 749 คู่สัญญาจำนำจะตกลงกันให้บุคคลภายนอกเป็นผู้ เก็บรักษาทรัพย์สินจำนำไว้ก็ได้

ถ้าใช้เงื่อนไขนี้
ก็จะมีเอกสารตามนี้

1 รัฐบาลแต่งตั้งโรงสีให้รับจำนำ
2 โรงสีออกใบรับจำนำและเก็บข้าว
3 ชาวนาเอาเอกสารจากโรงสีไปขึ้นเงิน

เอาแค่ 3 ข้อนี้ ผมว่า ก้อ ยุ่ ง ต า ย ห่ า แล้วละ
เพราะประเด็นคือ รัฐบาลจ่ายเงินไปโดยไม่สามารถตรวจทรัพย์สินได้
สมมติมีชาวนา 3 ล้านคน ก็ต้องมีใบรับจำนำ 3 ล้านใบ มีสิ่งของ 3 ล้านรายการ


โอยยยยย
มิน่า อีปูถึงเอ๋อ

รัฐบาลจำนำจ่ายเงิน 15000 แต่รับของ 12000 อีก 3000 หายไปไหน :lol: :lol: :lol:

[color=#ff0000;]สำหรับผมคงเลิกเล่นบอร์ดนี้ไว้เพียงเท่านี้ ถ้าไอดีนี้ยังมีบุคคลอื่นที่ใครบางคนคิดว่าเป็นตัวจริงอยู่จริง เขาก็เข้ามาใช้บอร์ดนี้ต่อเองแต่ไม่ใช่ผมแน่นอน[/color]

ลาก่อน สวัสดีครับ 17 มกราคม 2556


#14 nhum

nhum

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,056 posts

ตอบ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 12:34

เหมือนจะยื่นศาลรัฐธรรมนูญแล้วไม่รับปล่าวครับ ไม่แน่ใจ

#15 สิงห์สนามซ้อม

สิงห์สนามซ้อม

    คนดีไม่กลัวการตรวจสอบ

  • Members
  • PipPipPip
  • 2,757 posts

ตอบ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 12:38

เปิดกระทู้ได้สวยเลยครับ

" ประกาศบอยคอต ช่อง 3 ไม่ว่าจะข่าว ละคร หรือการ์ตูนลูก  กรูไม่ดู !!! "


#16 อู๋ ฮานามิ

อู๋ ฮานามิ

    สมาชิกหน้าเก่า

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 12,018 posts

ตอบ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 12:51

เหมือนจะยื่นศาลรัฐธรรมนูญแล้วไม่รับปล่าวครับ ไม่แน่ใจ


ใช่ครับ ฟ้องผิดศาล

ถึงผมจะเป็นคนหัวขบถ แต่ไม่คิดทรยศบุญคุณแผ่นดินเกิด

 

เสียงส่วนใหญ่ของประชาชน ไม่ใช่ใบอนุญาตทำร้ายประเทศชาติ


#17 amplepoor

amplepoor

    เมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,365 posts

ตอบ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 12:52

เหมือนจะยื่นศาลรัฐธรรมนูญแล้วไม่รับปล่าวครับ ไม่แน่ใจ


ที่ยื่นเป็นเรื่องผิดรัฐธรรมนูญครับ
แต่ที่ผมสงสัยนี่ คือข้อกฏหมายธรรมดา

กรณีจะเหมือนที่ทักษิณทำผิดพรบ. กองสลาก คือการออกสลากต้องคำนวณรายรับได้
แต่หวยบนดินมันเป็นการพนัน เพราะเจ้ามือไม่รู้ว่าจะขายตั๋วเลขท้าย 2 ตัว 3 ตัว ได้เท่าไหร่
เมื่อไม่รู้ว่าขายได้เท่าไหร่ ก็จะมาคิดเงินถ้าแทงถูกไม่ได้ เพราะรางวัลตามพรบ ต้องหารจากรายรับแต่ละงวด
ซึ่งกองสลากบังคับยี่ปั๊วซื้อหมด จึงรู้วงเงิน แต่หวยบนดิน ไม่มีใครรู้ว่าชาวบ้านจะแทงเท่าไหร่

กรณีจำนำข้าวนี่ มันมีสองช่อง
1 คือใช้พรบ. โรงรับจำนำ
2 คือออกกฏหมายใหม่ จะเป็นกฏหระทรวง จะเป็นคำสั่งนายกฯ บล่าๆๆๆๆ แต่ต้องมีข้อกฏหมายรองรับ
เมื่อมีข้อกฏหมายรองรับ ก็แปลว่า สามารถตรวจสอบข้าวได้ทุกเม็ด

ผมนั่งคิดมาหลายวันแล้ว คิดไม่ตก ถึงต้องเปิดมู้ปรึกษานี่ละครับ






ไม่ใช่อะไร
ผมกลัวปูอยู่ไม่ครบแปดปี
ต้องไปนั่งมนคุกเสีย 7 ปี......5555

#18 nhum

nhum

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,056 posts

ตอบ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 12:55

แหะ ๆ พอดีเดาเอาว่านักวิชาการน่าจะมีเรื่องนี้ผสมไปกับที่ยื่นด้วยนะครับ
แต่เรื่องที่ยื่นไปนี่ไม่ทราบเหมือนกัน


#19 amplepoor

amplepoor

    เมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,365 posts

ตอบ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 12:59

อิอิ ยกข้อนี้มา ถ้าอีปูใช้กฏหมายโรงรับจำนำละก้อ...งามไส้
---------------
หมวด 3 การบังคับจำนำ
มาตรา 764 เมื่อจะบังคับจำนำ ผู้รับจำนำต้องบอกกล่าวเป็น หนังสือไปยังลูกหนี้ก่อนว่า ให้ชำระหนี้และอุปกรณ์ภายในเวลา อันควรซึ่งกำหนดให้ในคำบอกกล่าวนั้น


ถ้าลูกหนี้ละเลยไม่ปฏิบัติตามคำบอกกล่าว ผู้รับจำนำชอบที่จะเอา ทรัพย์สินซึ่งจำนำออกขายได้ แต่ต้องขายทอดตลาด
อนึ่ง ผู้รับจำนำต้องมีจดหมายบอกกล่าวไปยังผู้จำนำบอกเวลา และสถานที่ซึ่งจะขายทอดตลาดด้วย


มาตรา 765 ถ้าไม่สามารถจะบอกกล่าวก่อนได้ ผู้รับจำนำจะ เอาทรัพย์สินจำนำออกขายทอดตลาดเสีย ในเมื่อหนี้ค้างชำระมาล่วง เวลาเดือนหนึ่งแล้วก็ให้ทำได้
------------------------
ซึ่งจะทำให้ข้าวสาร 15 ล้านตัน ต้องมาขายแบบนี้
หลุดจำนำดอทคอม


www.ludjumnum.com/ - Cached - Translate this pageสินค้าหลุดจำนำ [ดูทั้งหมด...] จำนวนผู้เข้าชม: 735593 ... [ สั่งซื้อ ] [ สอบถาม ]. รหัส: 005557 ขาย 9,500 บาท ... [ สั่งซื้อ ] [ สอบถาม ]. รหัส: 005556 ขาย 12,500 บาท ...

สินค้า หลุด จำนำ - สินค้า ฝาก ขาย - สินค้า ที่ ขาย ไป แล้ว - ลืม รหัส ผ่าน

#20 พระฤๅษี

พระฤๅษี

    มหาเมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 10,127 posts

ตอบ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 13:25

คิดว่า..จะใช้หลัก 3 เดือน 30 วัน หรือเปล่า ?

ไม่รู้นะ..แต่ว่าของเขาเอามาจำนำนี่ เอาไปขาย

เอ...? ยักยอก รึ เปล่า ?? รัดบาน....

#21 Solidus

Solidus

    เลิกเล่น

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 14,367 posts

ตอบ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 13:42

คิดว่า..จะใช้หลัก 3 เดือน 30 วัน หรือเปล่า ?

ไม่รู้นะ..แต่ว่าของเขาเอามาจำนำนี่ เอาไปขาย

เอ...? ยักยอก รึ เปล่า ?? รัดบาน....

แค่เอาไปสีแปรรูปก็เข้าข่ายแล้วล่ะครับ :lol: :lol: :lol:

[color=#ff0000;]สำหรับผมคงเลิกเล่นบอร์ดนี้ไว้เพียงเท่านี้ ถ้าไอดีนี้ยังมีบุคคลอื่นที่ใครบางคนคิดว่าเป็นตัวจริงอยู่จริง เขาก็เข้ามาใช้บอร์ดนี้ต่อเองแต่ไม่ใช่ผมแน่นอน[/color]

ลาก่อน สวัสดีครับ 17 มกราคม 2556


#22 เมาอยู่

เมาอยู่

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,182 posts

ตอบ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 14:07

อยากลากไปพันธุ์ดริฟจังครับ

#23 amplepoor

amplepoor

    เมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,365 posts

ตอบ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 15:00


คิดว่า..จะใช้หลัก 3 เดือน 30 วัน หรือเปล่า ?
ไม่รู้นะ..แต่ว่าของเขาเอามาจำนำนี่ เอาไปขาย
เอ...? ยักยอก รึ เปล่า ?? รัดบาน....

แค่เอาไปสีแปรรูปก็เข้าข่ายแล้วล่ะครับ :lol: :lol: :lol:


รู้สึกว่า จะโกโซบิ๊กซะแล้น
ผมเดาว่ารัฐบาลจะใช้ธกส. เป็นเจ้าภาพ
ก็ต้องไปไล่ดูละว่า

ธกส. มีอำนาจหน้าที่ตามกฏหมายขนาดใหน
แต่ไม่มีใบอนุญาตรับจำนำแน่ๆ......ม้าง
จำนองละก้อ คงได้

จุดอ่อนที่เห็นชัดสุดก็คือ คำว่า "จำนำ"
ซึ่งหมายความว่า ต้องไถ่ถอนได้ และชาวนามีภาระดอกเบี้ย

เอ....นี่มันบังคับให้ชาวนาเป็นหนี้นี่หว่า
ในทางบัญชี หนี้โรงรับจำนำ เขาเอาใส่ฝั่งใหนหว่า


งง เพิ่มอีกตรู

Edited by amplepoor, 11 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 15:02.


#24 ปุถุชน

ปุถุชน

    มหาเมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 27,531 posts

ตอบ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 15:02

งงครับ

รัฐบาลรับจำนำข้าว
หมายความว่า ข้าวนั้นไม่ใช่ของรัฐบาล
จะเป็นของรัฐบาลได้ ก็ต้องรอให้หมดเวลารับจำนำ
แล้วชาวนาไม่มาไถ่ถอน.....ถูกต้องใหมครับ

ขอถามผู้รู้ครับ

1 ระยะเวลารับจำนำ นานกี่เดือน

2 ถ้าชาวนามาไถ่ถอน ดอกเบี้ยเท่าไหร่

3 ข้าวที่ชาวนาขนมา จำนำเสร็จแล้วรัฐบาลต้องหาที่เก็บรอการไถ่ถอน
ที่เก็บนั่น รัฐบาลทำสัญญากับโรงสีหรือเปล่า

4 สมมติว่า โรงสีเป็นคนรับจำนำ โรงสีมีใบอนุญาตประกอบการสถานธนานุเคราะห์ปล่าว
อ้อ แม้แต่รัฐบาลก็เหอะ หน้าที่รับจำนำมันเป็ของกรมประชาสงเคราะห์ไม่ใช่หรือ

5 เกิดชาวนามาไถ่ถอน จะเอาข้าวกระสอบเดิมคืนเขาได้ยังงัย กองกันเป็นหมื่นๆ ลูก

6 หรือว่าที่จริงมันไม่ใช่การรับจำนำ แต่เอาคำว่าจำนำมาใช้
ถ้างั้นผิดกฏหมายหรือเปล่าน่ะ





ที่ถามนี่เพราะไม่รู้ครับ
ถ้ารู้ก็คงไปเป็นนายกรัฐมนตรีแล้วละฮาฟฟฟ




ยิ่งบักษณ์ใช้คำว่า"จำนำข้าว"เพื่อไม่ให้ต่างด้าวปัญญาอ่อนก่นด่าเธอเท่านั้นแหละ......ฮ่า ฮ่า ฮ่า ฮ่า

เคียงข้างลุงกำนัน ปฏิรูปการเมืองไทย กำจัดระบอบทักษิณ ขับไล่มวลหมู่ขี้ข้า วันที่ 26 พฤษภาคม 2557...


#25 korkang

korkang

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 2,879 posts

ตอบ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 15:07

แล้วเวลารับจำนำ แยกไหมว่าข้าวพันธิ์อะไร แบบว่าแยกระหว่าง ทองกับ เงินแบบนั้น่ะ ราคาเท่ากันหมดเลยเหรอ :huh:

#26 RaRa

RaRa

    Seien Sie loyal zu Majesty

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 6,976 posts

ตอบ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 15:23



คิดว่า..จะใช้หลัก 3 เดือน 30 วัน หรือเปล่า ?
ไม่รู้นะ..แต่ว่าของเขาเอามาจำนำนี่ เอาไปขาย
เอ...? ยักยอก รึ เปล่า ?? รัดบาน....

แค่เอาไปสีแปรรูปก็เข้าข่ายแล้วล่ะครับ :lol: :lol: :lol:


รู้สึกว่า จะโกโซบิ๊กซะแล้น
ผมเดาว่ารัฐบาลจะใช้ธกส. เป็นเจ้าภาพ
ก็ต้องไปไล่ดูละว่า

ธกส. มีอำนาจหน้าที่ตามกฏหมายขนาดใหน
แต่ไม่มีใบอนุญาตรับจำนำแน่ๆ......ม้าง
จำนองละก้อ คงได้

จุดอ่อนที่เห็นชัดสุดก็คือ คำว่า "จำนำ"
ซึ่งหมายความว่า ต้องไถ่ถอนได้ และชาวนามีภาระดอกเบี้ย

เอ....นี่มันบังคับให้ชาวนาเป็นหนี้นี่หว่า
ในทางบัญชี หนี้โรงรับจำนำ เขาเอาใส่ฝั่งใหนหว่า


งง เพิ่มอีกตรู


"จำนำได้ราคามากกว่าราคาจริง" เป็นใครก็ไม่ต้องการไปไถ่ออกมา

เรื่องนี่ "รัฐบาลอีเม้ย" รู้อยู่แล้ว มันเลยจัดแจง เอาของที่จำนำ ไปเร่ขายซะ

เพื่อทำลายหลักฐาน ความระยำของ "นโยบายจำนำชาติ" -_- -_-

ขอเทิดทูนศักดิ์ศรียิ่งสิ่งใด

...แม้แต่ลมหายใจก็ยอมพลี

โลกยังไม่สิ้นหวัง ถ้ายังมั่นในความดี

...ศรัทธาไม่เคยหน่ายหนี คนดีไม่มีวันตาย


#27 กรรมกรไอที

กรรมกรไอที

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,208 posts

ตอบ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 15:34

ตามหลักการ น่ะ ใช่ครับ
แต่มันอยู่ที่เงื่อนไข (อีกหล่ะ)

1. มีระยะเวลา จำนำ กี่วัน 30 60 90 วัน ก็ว่ากันไป
ล่าสุด ชาวนา บอก จำนำไปแล้ว 90 วัน ยังไม่ได้เงินเลย จ้าาาาา
2. ราคาจำนำสูงกว่าท้องตลาด ยังงี้ (ถ้าได้ราคานี้จริงๆนะ)
เป็นผม ผมก็ไม่ไถ่คืนหลอกครับ
3. รัฐบาลชุดนี้ เคยยืนอยู่บนหลักการ และ เหตุผล หรือเปล่า ล่ะครับ
ตอบเลยว่า ไม่...

ทำเหมือนกับ ปชป. เป็นเสื้อแดงซะทุกคน
พูดอะไรๆ ก็ต้องเชื่อ แถไปข้างๆคูๆ
มันเคยสนใจมองลงมาที่ ประชาชนบ้างรึเปล่า

- ขนาดไอ้เป็ดเหลิม มันยังแถว่าไม่ได้พบกับ นช.ทักษิณ เลย
หลักฐาน รูปถ่าย วีดีโอ คลิป ขนาดนั้น
- รมต. บุญทรง ก็เป็น 5 อะไรไม่รู้ แค่ถามเรื่องว่า ขายข้าวให้ประเทศไหน บ้าง
เสือ........ก บอกว่า เป็นความลับ นายก ก็พูดผิดๆถูก เดี๋ยวก็ MOU เดี๋ยวก็ สัญญาซื้อขาย
ดูข่าวทีไร มันเหนื่อยใจทุกที เราไม่มีนักข่าวที่เก่งๆ เลยเหรอประเทศนี้
เอาอย่างคุณ สมจิตร ช่อง7 สัก 4-5 คน เทคทีมกันเข้าไป จี้เข้าสัก วันล่ะหลายๆที
เหมือนเป็ดเหลิมวันก่อน มันยังไปไม่เป็นเลย

.
.
.
.
แค่ - อยาก - ละ - บาย

#28 Alone

Alone

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,726 posts

ตอบ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 15:54

ผมก็งงครับเพราะถ้าใช้คำว่า "จำนำ" ตามความเข้าใจแบบบ้านๆ ของผม
คนที่จำนำน่าจะมาไถ่ถอนของของตัวเองคืนทีหลัง แต่ถ้าดันให้ราคาจำนำซะสูงลิบ
มันจะมีคนยอมมาไถ่ถอนของตัวเองคืนหรือ?

ดูจากวิธีการน่าจะเรียกว่า "โครงการกว้านซื้อข้าว (มาเก็บให้เน่าคาโกดัง)" ซะมากกว่า

#29 amplepoor

amplepoor

    เมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,365 posts

ตอบ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 16:07

เรื่องให้ราคาจำนำสูงเกินจริงไม่ผิดกฏหมายครับ

แต่การใช้คำว่า "จำนำ"
โดยละเมิดพรบ. โรงรับจำนำนี่ น่าจะมีปัญหา

#30 amplepoor

amplepoor

    เมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,365 posts

ตอบ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 16:10

แล้วดูมันทำ ผมจะเข้าไปดูข้อมูล ที่นี่

โครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรัง ปี 2555 - กรมการค้าภายใน กระทรวง ...

www.dit.go.th/contentmain.asp?typeid=8&catid... - Translate this page
This site may harm your computer.
รายชื่อโรงสีที่เปิดรับจำนำโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรัง ปี 2555 ถึงวันที่ 3 ตุลาคม 2555 · ราคาซื้อขายข้าวเปลือกนาปรัง ปี 2555 ในตลาดทั่วประเทศ ณ ความชื้นไม่เกิน 15% ..



เจอนี่เลย
-------------------------------


Warning - visiting this web site may harm your computer!

Suggestions:Or you can continue to http://www.dit.go.th...eid=8&catid=145 at your own risk. For detailed information about the problems we found, visit Google's Safe Browsing diagnostic page for this site.

For more information about how to protect yourself from harmful software online, you can visit StopBadware.org.

If you are the owner of this web site, you can request a review of your site using Google's Webmaster Tools. More information about the review process is available in Google's Webmaster Help Center. Advisory provided by Posted Image

#31 amplepoor

amplepoor

    เมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,365 posts

ตอบ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 16:12

ไปที่นี่ เจออีก
---------------------------

http://www.thairicee...ion program.htm คณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.)
Posted Image สรุปผลการประชุมนโยบายข้าวแห่งชาตPosted Image ปี 2555 Posted Image ปี 2554 Posted Image ปี 2554 (รัฐบาลเก่า) Posted Image ปี 2553 Posted Image ปี 2552 Posted Image ปี 2551(รัฐบาลใหม่) Posted Image ปี 2551(รัฐบาลเก่า) Posted Image ปี 2550

#32 amplepoor

amplepoor

    เมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,365 posts

ตอบ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 16:28

ชัดละครับ มีคำว่า "ไถ่ถอน" แปลว่าเป็นการจำนำจริงๆ ระยะเวลา 4 เดือน
อ่านแล้วเข้าใจเลยว่าทำไมโกร่งถึงค้านให้หยุด

งานนี้น่าจะถึงยุบพรรคได้นะครับ มันเป็นการทุจริตเชิงนโยบาย ที่ละเมิดกฏหมายเห็นๆ

ระยะเวลาไถ่ถอน ๔ เดือน นับถัดจากเดือนที่รับจำนำ ระยะเวลาโครงการ ๗ ตุลาคม ๒๕๕๔ – ๓๐ กันยายน ๒๕๕๕
วิธีการรับจำนำ ให้รับจำนำข้าวเปลือกเจ้า ข้าวเปลือกหอมจังหวัด และข้าวเปลือกปทุมธานี เฉพาะใบประทวนเท่านั้น โดยให้ อคส. และ อ.ต.ก. รับสมัครโรงสี/ตลาดกลางเข้าร่วมโครงการเป็นจุดรับฝากข้าวเปลือกและจ่ายใบ ประทวน ให้เกษตรกรที่นำข้าวเปลือกมาจำนำ
เพื่อให้เกษตรกรนำใบประทวนไปจำนำกับ ธ.ก.ส. และ ธ.ก.ส. ต้องจ่ายเงินให้เกษตรกร ภายใน ๓ วันทำการ
โดยให้โรงสีที่รับฝากข้าวเปลือกไว้ดำเนินการสีแปรสภาพข้าวเปลือกเป็นข้าวสาร ส่งมอบเข้าโกดังกลางตามหลักเกณฑ์และมติของคณะอนุกรรมการกำกับดูแลการรับจำนำข้าว



ที่มาจากกรมประชาสัมพันธ์
http://hq.prd.go.th/...ilename=Test_04
----------------------
คณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) ได้มีมติเมื่อวันที่ ๙ กันยายน ๒๕๕๔ อนุมัติกรอบชนิด ราคา ปริมาณ ระยะเวลา วิธีการ หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และงบประมาณการดำเนินโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต ๒๕๕๔/๕๕ โครงการรับจำนำข้าวที่นำมาใช้นี้ไม่ใช่เป็นโครงการทั่วไปเหมือนหนก่อน ที่แค่ต้องการแก้ปัญหาราคาข้าวตกต่ำ แต่เป็นการใช้ราคาชี้นำตลาด สูงกว่าราคาเดิมเกินกว่า ๕๐% และยังรับจำนำข้าวทุกเมล็ด โดยมีเป้าหมายสูงสุดเพื่อจัดการรูปแบบวงการค้าข้าวครั้งใหม่ ให้มีการปรับฐานราคาสูงขึ้น เพื่อไม่ให้เกษตรกรเป็นเบี้ยล่างของพ่อค้าและต่างชาติเหมือนที่ผ่าน ๆ มาและนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบกรอบ วิธีการ หลักเกณฑ์ และเงื่อนไขโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต ๒๕๕๔/๕๕
เป้าหมายการรับจำนำ ไม่จำกัดปริมาณข้าวเปลือกที่รับจำนำทั้งโครงการ ส่วนปริมาณข้าวเปลือกที่ เกษตรกรแต่ละรายจะจำนำได้ไม่จำกัดจำนวนเช่นกัน โดยต้องเป็นข้าวเปลือกที่เกษตรกรเพาะปลูกเองในปีการผลิต ๒๕๕๔/๕๕ และต้องมีหนังสือรับรองเกษตรกรของกรมส่งเสริมการเกษตร ซึ่งผ่านการทำประชาคม และเกษตรกรลงชื่อรับรองตัวเอง พร้อมทั้ง เจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมการเกษตร และปลัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายลงชื่อรับรองด้วย ระยะเวลาดำเนินการ
ระยะเวลาดำเนินการรับจำนำ ๗ ตุลาคม ๒๕๕๔-๒๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ (ภาคใต้ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ - ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๕๕) ระยะเวลาไถ่ถอน ๔ เดือน นับถัดจากเดือนที่รับจำนำ ระยะเวลาโครงการ ๗ ตุลาคม ๒๕๕๔ – ๓๐ กันยายน ๒๕๕๕
วิธีการรับจำนำ ให้รับจำนำข้าวเปลือกเจ้า ข้าวเปลือกหอมจังหวัด และข้าวเปลือกปทุมธานี เฉพาะใบประทวนเท่านั้น โดยให้ อคส. และ อ.ต.ก. รับสมัครโรงสี/ตลาดกลางเข้าร่วมโครงการเป็นจุดรับฝากข้าวเปลือกและจ่ายใบ ประทวน ให้เกษตรกรที่นำข้าวเปลือกมาจำนำ เพื่อให้เกษตรกรนำใบประทวนไปจำนำกับ ธ.ก.ส. และ ธ.ก.ส. ต้องจ่ายเงินให้เกษตรกร ภายใน ๓ วันทำการ โดยให้โรงสีที่รับฝากข้าวเปลือกไว้ดำเนินการสีแปรสภาพข้าวเปลือกเป็นข้าวสาร ส่งมอบเข้าโกดังกลางตามหลักเกณฑ์ และมติของคณะอนุกรรมการกำกับดูแลการรับจำนำข้าว สำหรับตลาดกลางที่เข้าร่วมโครงการฯ ให้เก็บรักษาข้าวเปลือกไว้ในโกดังที่ อคส./อ.ต.ก. กำหนดเป็นโกดังกลาง ๓ ในกรณีการรับจำนำข้าวเปลือกหอมมะลิและข้าวเปลือกเหนียวให้รับจำนำใบประทวน เท่านั้น แต่ อาจพิจารณาให้มีการรับจำนำยุ้งฉางเฉพาะในพื้นที่ที่มียุ้งฉางเก็บรักษาและมี การดูแลได้มาตรฐาน โดยในอดีตไม่เคยมีปัญหาสร้าง ความเสียหายให้ภาครัฐเท่านั้น ตามหลักเกณฑ์และมติของคณะอนุกรรมการ กำกับดูแลการรับจำนำข้าว
การที่รัฐบาลยอมเปิดจำนำ หรือรับซื้อข้าวจากชาวนาในราคาที่สูงกว่าตลาดเกือบ ๑ เท่าตัวจากราคาก่อนรับจำนำข้าวเปลือก รัฐบาลได้หาวิธีป้องกันการที่ประชาชนต้องแบกภาระค่าครองชีพสูงขึ้นโดยได้ เตรียมรับมือไว้ ๒ ส่วน คือ การกวดขันดูแลไม่ให้พ่อค้าฉวยโอกาสขึ้นราคาสูงเกินจริง กับอีกส่วนคือการจัดทำถุงข้าวราคาถูกแทรกแซงตลาด ช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยให้สามารถซื้อข้าวราคาถูกมาบริโภคได้
----------------------

Edited by amplepoor, 11 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 16:29.


#33 eAT

eAT

    ผมเป็นเสื้อแดงฮับ

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 10,589 posts

ตอบ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 16:35

แล้ว ปชป. จะกล้าเล่นประเด็นนี้หรือ
เพราะก็เคยทำ รายละเอียดอาจจไม่เหมือน
แต่คิดว่าน่าจะผิดเหมือนกัน

#34 amplepoor

amplepoor

    เมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,365 posts

ตอบ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 16:35

เจอแล้ว มติครม. ประชุมที่อุบล
-------------------
12. เรื่อง มาตรการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรัง ปี 2555
คณะรัฐมนตรีรับทราบและเห็นชอบตามที่ กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอดังนี้
1. รับทราบโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรัง ปี 2555 และการแก้ไขปัญหาเกษตรกรที่เก็บเกี่ยวข้าวเปลือกนาปรัง ปี 2555 ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2555
2. เห็นชอบงบประมาณดำเนินการและมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการโดยเร่งด่วนต่อไป
สาระสำคัญของเรื่อง
1. โครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรัง ปี 2555 เป็นการดำเนินการช่วยเหลือเกษตรกรเพื่อยกระดับราคาให้เกษตรกรขายข้าวได้คุ้มกับต้นทุนการผลิตและเป็นการช่วยเหลือต่อเนื่องจากโครงการรับจำนำข้าวเปลือก ปีการผลิต 2554/55 และจะเริ่มรับจำนำในวันที่ 1 มีนาคม 2555
2. ผลผลิตข้าวเปลือกนาปรัง ปี 2555 ได้เริ่มทยอยออกสู่ตลาดในเดือนกุมภาพันธ์ 2555 แล้วและจะออกมากในเดือนมีนาคม 2555 จะต้องเร่งดำเนินโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรัง ปี 2555 โดยกำหนดกรอบชนิดราคา ปริมาณ ระยะเวลา วิธีการ หลักเกณฑ์ และเงื่อนไขให้เกษตรกรได้รับทราบโดยเร็ว
3. คณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) ได้มีการประชุมเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2555 เพื่อพิจารณาโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรัง ปี 2555 และพิจารณาการแก้ไขปัญหาเกษตรกรที่เก็บเกี่ยวข้าวนาปรัง ปี 2555 ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2555 และมีมติสรุปได้ดังนี้
3.1 การกำหนดมาตรการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรัง ปี 2555
อนุมัติกรอบชนิด ราคา ปริมาณ ระยะเวลา วิธีการ หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และงบประมาณการดำเนินโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรัง ปี 2555 และนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบกรอบ วิธีการ หลักเกณฑ์ และเงื่อนไขโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2554/55 ดังนี้
1. ชนิดและราคารับจำนำข้าวเปลือกนาปรัง ปี 2555
ให้กำหนดชนิดและราคารับจำนำข้าวเปลือกนาปรัง ปี 2555 ณ ความชื้นไม่เกิน 15 % ดังนี้
1) ข้าวเปลือกเจ้า 100% ตันละ 15,000 บาท
ข้าวเปลือกเจ้า 5% ตันละ 14,800 บาท
ข้าวเปลือกเจ้า 10% ตันละ 14,600 บาท
ข้าวเปลือกเจ้า 15 % ตันละ 14,200 บาท
ข้าวเปลือกเจ้า 25 % ตันละ 13,800 บาท
2) ข้าวเปลือกปทุมธานี 1 (42 กรัม) ตันละ 16,000 บาท
3) ข้าวเปลือกเหนียว 10% เมล็ดยาว ตันละ 16,000 บาท
ข้าวเปลือกเหนียว 10% เมล็ดสั้น ตันละ 15,000 บาท
ทั้งนี้ ราคารับจำนำข้าวเปลือกปทุมธานี 1 ให้ปรับเพิ่ม – ลดตามจำนวนกรัมในอัตรากรัมละ 200 บาท
สำหรับการรับจำนำข้าวเปลือกหอมมะลินาปรัง ปี 2555 เห็นชอบให้ตั้งคณะทำงานพิจารณาการรับจำนำข้าวเปลือกหอมมะลิ นาปรัง ปี 2555 โดยมีผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กรมการค้าภายใน กรมการข้าว กรมส่งเสริมการเกษตร อคส. อ.ต.ก. และ ธ.ก.ส. ร่วมกันพิจารณาแนวทางการรับจำนำข้าวเปลือกหอมมะลินาปรัง การกำหนดราคารับจำนำ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อให้เกษตรกรที่เพาะปลูกข้าวเปลือกหอมมะลินาปรังได้รับราคาที่เหมาะสม และเพื่อป้องกันปัญหาการปนของข้าวพันธุ์อื่นในแปลงนาของหอมมะลิในฤดูนาปี
2. เป้าหมายการรับจำนำ ไม่จำกัดปริมาณข้าวเปลือกที่รับจำนำทั้งโครงการ โดยรับจำนำผลผลิตข้าวเปลือกนาปรัง ปี 2555 ที่ผลิตในประเทศไทยทั้งหมด ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์คาดการณ์ว่าจะมีผลผลิตรวม 11.11 ล้านตัน
3. ปริมาณจำนำของเกษตรกรแต่ละราย จะคำนวณตามพื้นที่เพาะปลูกผลผลิตเฉลี่ยรายจังหวัดและผลผลิตรวมของเกษตรกรตามหนังสือรับรองที่กรมการส่งเสริมการเกษตรออกให้แก่เกษตรกรเป็นข้อมูลประกอบ กรณีผลผลิตของเกษตรกรสูงกว่าปริมาณผลผลิตเฉลี่ย ให้ปรับเพิ่มได้อีกไม่เกิน 20% (ณ ความชื้น 15%) โดยให้เกษตรกรรับรองว่าข้าวเปลือกของเกษตรกรเองและแจ้งให้อนุกรรมการติดตามและกำกับดูแลการรับจำนำระดับจังหวัดสุ่มตรวจสอบอย่างน้อย 20% ของเกษตรกรที่มีผลผลิตเกินกว่าผลผลิตเฉลี่ยที่กำหนด
4. การกำหนดพันธุ์ข้าวที่จะเข้าร่วมโครงการ ให้เป็นไปตามมติคณะอนุกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติด้านการผลิตเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2554 ที่เห็นชอบให้เกษตรกรสามารถนำข้าวทุกพันธุ์เข้าร่วมโครงการฯ ได้ รวมทั้งพันธุ์ข้าวที่ปลูกและให้ข้าวสารคุณภาพต่ำ จำนวน 18 พันธุ์ ซึ่งในโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปี 25554/55 ไม่ได้ให้เข้าร่วมโครงการ
5. ระยะเวลาดำเนินการ
1) ระยะเวลาเพาะปลูกและเก็บเกี่ยว ให้เป็นไปตามที่คณะอนุกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติด้านการผลิตมีมติเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2554
(ราบละเอียดเขาทำเป็นตารางไว้ ผมขี้เกียจจัดหน้า ขอตัดออกครับ คลิกโหลดมาดูได้)
http://www.google.co...uJr17ig&cad=rja

2) ระยะเวลาดำเนินการรับจำนำ 1 มีนาคม – 15 กันยายน 2555 ภาคใต้
1 กรกฎาคม – 31 ตุลาคม 2555 ระยะเวลาไถ่ถอน 4 เดือน นับถัดจากเดือนที่รับจำนำ ระยะเวลาโครงการ เดือนมีนาคม
2555 – มกราคม 2556
6. วิธีการรับจำนำ ให้รับจำนำเฉพาะใบประทวนเท่านั้นโดยให้ อคส. และ อ.ต.ก. รับสมัครโรงสีเข้าร่วมโครงการ เพื่อเป็นจุดรับฝากข้าวเปลือกและออกใบประทวนให้เกษตรกรที่นำข้าวเปลือกมาจำนำภายใน 3 วันทำการ เพื่อให้เกษตรกรนำใบประทวนไปจำนำกับ ธ.ก.ส. และ ธ.ก.ส. ต้องจ่ายเงินให้เกษตรกรภายใน 3 วันทำการ โดยให้โรงสีที่รับฝากข้าวเปลือกไว้ดำเนินการสีแปรสภาพข้าวเปลือกเป็นข้าวสารส่งมอบเข้าโกดังกลางตามหลักเกณฑ์และมติของอนุกรรมการกำกับดูแลการรับจำนำข้าวโดยเคร่งครัด
7. หลักเกณฑ์การรับจำนำ
1) เกษตรกรผู้มีสิทธิจำนำ จะต้อง (1) มีหนังสือรับรองเกษตรกรจากกรมส่งเสริมการเกษตร ซึ่งผ่านการทำประชาคม และเกษตรกรลงชื่อรับรองตัวเอง พร้อมทั้งเจ้าหน้าที่ผู้ที่ได้รับมอบหมายลงชื่อรับรองด้วย (2) เป็นข้าวเปลือกที่เกษตรกรเพาะปลูกเองในฤดูการผลิตข้าวนาปรัง ปี 2555 และ (3) เป็นลูกค้าของ ธ.ก.ส. ทั้งนี้ เกษตรกรสามารถเข้าร่วมโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลได้ไม่เกินปีละ 2 ครั้ง โดยไม่จำกัดว่าเป็นข้าวนาปีหรือข้าวนาปรัง สำหรับการจำนำข้าวของสถาบันเกษตรกรหรือกลุ่มเกษตรกร ให้ อคส. และ อ.ต.ก. ออกใบประทวนให้เกษตรกรแต่ละรายเพื่อนำไปทำสัญญาและรับเงินจาก ธ.ก.ส. ทั้งนี้ ให้สถาบันเกษตรกรหรือกลุ่มเกษตรกรคิดค่าขนส่งและค่าบริหารจัดการจากเกษตรกรได้ ไม่เกินตันละ 200 บาท
2) พื้นที่รับจำนำ เกษตรกรสามารถรับจำนำข้าวเปลือกได้ในพื้นที่จังหวัดของตนเองเท่านั้น ยกเว้นพื้นที่ตำบลติดต่อกัน โดยการจำนำข้ามเขตของเกษตรกรและการจำนำข้ามเขตของโรงสี ให้ดำเนินการเช่นเดียวกับโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2554/55
8. การเข้าร่วมโครงการของโรงสี การสีแปรสภาพ การเก็บรักษา การระบาย และการกำกับดูแล ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด
9. งบประมาณที่ใช้ดำเนินการ เนื่องจากวงเงินงบประมาณที่ใช้ดำเนินการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2554/55 มีคงเหลือเพียงพอ จึงขอให้นำมาใช้ในการดำเนินโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรัง ปี 2555 ไปก่อนหากไม่เพียงพอจึงขออนุมัติเพิ่มเติมในภายหลัง กรณี กค. ยังไม่สามารถจัดหาเงินกู้ให้ ธ.ก.ส. เพื่อนำมารับจำนำข้าวเปลือกนาปรังปี 2555 ได้ทัน ให้ ธ.ก.ส. สำรองจ่ายเงินไปก่อนและให้ สงป. ชดเชยต้นทุนเงินให้ ธ.ก.ส. ตามอัตราที่กำหนดไว้เดิม
3.2 การแก้ไขปัญหาเกษตรกรที่เก็บเกี่ยวข้าวเปลือกนาปรัง ปี 2555 ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2555
เห็นชอบให้กรมส่งเสริมการเกษตรรับขึ้นทะเบียนและออกหนังสือรับรองให้เกษตรกรที่เพาะปลูกข้าวตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2554 และจะเก็บเกี่ยวข้าวตั้งแต่วันที่ 1 – 29 กุมภาพันธ์ 2555 ซึ่งเป็นผลผลิตข้าวนาปรัง ปี 2555 ตามที่กรมส่งเสริมการเกษตรกำหนด โดยให้เกษตรกรสามารถนำข้าวเปลือกมาจำนำตามโครงการรับจำนำในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2555 ได้ โดยให้ อคส. และ อ.ต.ก. รับฝากข้าวเปลือกของเกษตรกรไว้ก่อนและออกใบประทวนให้แก่เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการรับจำนำตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2555 เป็นต้นไป และให้ ธ.ก.ส. จ่ายเงินให้เกษตรกร โดยใช้วงเงินค่าใช้จ่ายจากโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรัง ปี 2555 ทั้งนี้ เกษตรกรที่นำข้าวเปลือกที่ได้จากการเพาะปลูกข้าวในช่วง พฤศจิกายน 2554 และเก็บเกี่ยวในช่วงกุมภาพันธ์ 2555 มาจำนำในโครงการรับจำนำข้าวเปลือก ช่วง 1- 29 กุมภาพันธ์ 2555 ไม่สามารถนำข้าวเปลือกมาเข้าร่วมโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรัง ปี 2555 ที่จะเริ่มรับจำนำในวันที่ 1 มีนาคม 2555 ได้อีก

Edited by amplepoor, 11 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 16:40.


#35 Kyubey

Kyubey

    รับสมัครสาวน้อยเวทมนตร์หลายอัตรา

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 4,482 posts

ตอบ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 16:38

เรื่องให้ราคาจำนำสูงเกินจริงไม่ผิดกฏหมายครับ

แต่การใช้คำว่า "จำนำ"
โดยละเมิดพรบ. โรงรับจำนำนี่ น่าจะมีปัญหา


อ่านถึงตรงนี้ ผมเห็นด้วยเลยครับ
/人^ ‿‿ ^人\

╱/(っ◕ ‿‿◕)っ Hello, I'm a Kyubey /人◕ ‿‿ ◕人\

╱/(っ◕ ‿‿◕)っ Please Make a contract with me and become a Magical girl! /人◕ ‿‿ <人\

ข้าพเจ้าขอสนับสนุนท่านผู้นำที่น่ารักที่สุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ!!! Heil Lertih Adolf!! Heil Lertih Adolf!! Heil Lertih Adolf!!


#36 amplepoor

amplepoor

    เมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,365 posts

ตอบ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 16:39

แล้ว ปชป. จะกล้าเล่นประเด็นนี้หรือ
เพราะก็เคยทำ รายละเอียดอาจจไม่เหมือน
แต่คิดว่าน่าจะผิดเหมือนกัน


ผิดก็ต้องยอมรับครับ

พรรคการเมืองไม่ใช่ของพวกเรา ยุบก็ตั้งใหม่ได้
ประเทศชาติสิ ของพวกเรา เจ๊งแล้วเจ๊งเลย

#37 amplepoor

amplepoor

    เมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,365 posts

ตอบ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 16:42

งานนี้ล้มรัฐบาลได้ง่ายๆ เลย

แค่มีชาวนาสัก 200 คน จากหลายๆ แห่ง
ไปขอไถ่ถอนข้าว เมื่อครบ 4 เดือน






จบข่าว

#38 eAT

eAT

    ผมเป็นเสื้อแดงฮับ

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 10,589 posts

ตอบ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 16:46


แล้ว ปชป. จะกล้าเล่นประเด็นนี้หรือ
เพราะก็เคยทำ รายละเอียดอาจจไม่เหมือน
แต่คิดว่าน่าจะผิดเหมือนกัน


ผิดก็ต้องยอมรับครับ

พรรคการเมืองไม่ใช่ของพวกเรา ยุบก็ตั้งใหม่ได้
ประเทศชาติสิ ของพวกเรา เจ๊งแล้วเจ๊งเลย


ผมว่า ปชป. ไม่กล้าเล่น แต่ไม่ได้หมายความว่า
คนอื่นเขาจะไม่เล่นนี่ อย่างนักวิชาการที่รวมตัวกัน
ผมคิดว่า เขาจะเปลี่ยนมาใช้วิธีนี้ แต่ ปชป. จะทำ
เป็นไม่รู้ไม่ชี้ ถึงจริงๆ จะเป็นหน้าที่รับผิดชอบของ
พรรคอื่นก็ตาม แต่ตัวนายก ก็ต้องรับผิดชอบด้วย

คงต้องดูรายละเอียดกัน เพราะมันต่างกันแน่ๆ

#39 amplepoor

amplepoor

    เมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,365 posts

ตอบ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 16:57

ที่จริงโครงการนี้คือ "การแทรกแซงราคาโดยรัฐ"
ซึ่งตัวนังยิ่งลักเอง เคยบอกว่า ไม่ทำ
http://news.voicetv....land/31971.html
นายกรัฐมนตรี ยืนยัน รัฐบาลจะไม่แทรกแซงราคาสินค้า แต่จะศึกษากระบวนการการผลิตทั้งหมด เพื่อกำหนดโครงสร้างราคาสินค้าที่เหมาะสม และจัดโครงการธงฟ้าช่วยเหลือค่าครองชีพประชาชน

Edited by amplepoor, 11 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 17:06.


#40 amplepoor

amplepoor

    เมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,365 posts

ตอบ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 17:06

มาดูช่องทางตามกฏหมาย

ที่เขาวางระบบไว้น่าจะเป็นว่า ชาวนาจำนำ"ใบประทวน" ให้กับธกส.

เอาละ พอรับได้ เพราะกฎหมายอนุญาต
แต่อัตราดอกเบี้ยล่ะ........ถ้าไม่เก็บ ต้องบอกว่าดอกเบี่้ย 0 %
ผมเห็นแต่ข่าวใบประทวนปลอม ยังไมเห็นหน้าตาว่าจะตรงกับหลักของการรับจำนำหรือเปล่า

อีกข้อหนึ่งก็คือ
ให้โรงสีแปรสภาพ การเก็บรักษา การระบาย และการกำกับดูแล ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด
ตรงนี้ทำได้หลัง 4 เดือนไปแล้ว เมื่อข้าวเป็นของธกส.แต่จะมีโรงสีใหนเก็บข้าวเปลือกไว้ 120 วันครับ
แล้วค่าใช้จ่ายตรงนี้ ที่จริงชาวนาต้องออก แต่ไม่เห็นมีการเรียกเก็บ ดังนั้นถ้าไม่ใช่ธกส. ก็โรงสีต้องออก

ถ้าโรงสีออก ราคาข้าวก็ต้องเพิ่มไปอีก......โอย
งง มัน ทุ ก ประ เด็น

มึนจังกรู

#41 อู๋ ฮานามิ

อู๋ ฮานามิ

    สมาชิกหน้าเก่า

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 12,018 posts

ตอบ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 17:14

กระทู้ปลอดแดงอีกหรือเปล่าเนี่ย ?

ถึงผมจะเป็นคนหัวขบถ แต่ไม่คิดทรยศบุญคุณแผ่นดินเกิด

 

เสียงส่วนใหญ่ของประชาชน ไม่ใช่ใบอนุญาตทำร้ายประเทศชาติ


#42 ผึ้งน้อยตุหรัดตุเหร่

ผึ้งน้อยตุหรัดตุเหร่

    หน้าตาดี มีอุดมการณ์

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 21,670 posts

ตอบ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 17:59

ก็ถึงว่าไม่เรียกไปเลยว่า

โครงการรับซื้อข้าวราคาสูง

โถ่ถังกะละมัง


เรียกไม่ได้ครับ เพราะผิดกฎ WTO ที่ว่า..รัฐห้ามแทรกแซงตลาดการค้า
มันถึงต้องเลี่ยงไปว่าเป็นชื่อ "จำนำข้าว" แทนการ "รับซื้อ" ไงครับ
gladiator 1.jpg

 

 

 

 

 

 


#43 ผึ้งน้อยตุหรัดตุเหร่

ผึ้งน้อยตุหรัดตุเหร่

    หน้าตาดี มีอุดมการณ์

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 21,670 posts

ตอบ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 18:02

แล้ว ปชป. จะกล้าเล่นประเด็นนี้หรือ
เพราะก็เคยทำ รายละเอียดอาจจไม่เหมือน
แต่คิดว่าน่าจะผิดเหมือนกัน


โดยรายละเอียด ประกันราคามันเหมือน insurance นะครับ
คือถ้านาล่ม น้ำท่วม พืชผลตกต่ำ รัฐจะ "จ่ายเงินส่วนต่าง" ไปช่วย
แต่ถ้าพืชผลดี ได้ราคาดี รัฐไม่ต้องจ่าย

ต่างกันมากๆเลยครับ เพราะแบบนี้รัฐไม่ได้รับซื้อข้าวราคาสูง แต่ "ประกันรายได้" แทนเมื่อชาวนาเกิดวิกฤต
gladiator 1.jpg

 

 

 

 

 

 


#44 eAT

eAT

    ผมเป็นเสื้อแดงฮับ

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 10,589 posts

ตอบ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 18:28


แล้ว ปชป. จะกล้าเล่นประเด็นนี้หรือ
เพราะก็เคยทำ รายละเอียดอาจจไม่เหมือน
แต่คิดว่าน่าจะผิดเหมือนกัน


โดยรายละเอียด ประกันราคามันเหมือน insurance นะครับ
คือถ้านาล่ม น้ำท่วม พืชผลตกต่ำ รัฐจะ "จ่ายเงินส่วนต่าง" ไปช่วย
แต่ถ้าพืชผลดี ได้ราคาดี รัฐไม่ต้องจ่าย

ต่างกันมากๆเลยครับ เพราะแบบนี้รัฐไม่ได้รับซื้อข้าวราคาสูง แต่ "ประกันรายได้" แทนเมื่อชาวนาเกิดวิกฤต


ไม่ใช่หมายถึงคุณมาร์คนะครับ
ปชป. ไม่ได้เป็นรัฐบาลแค่หนเดียวนะ
ใครเป็นแฟน ปชป. ได้ยินแล้วเศร้าเลยนะแบบนี้

#45 amplepoor

amplepoor

    เมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,365 posts

ตอบ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 18:41

ใช่ครับ
โครงการจำนำพืชผล มีมาเป็นสิบปีแล้วครับ
ไม่แน่ใจว่ารัฐบาลใหนเริ่ม
แต่ไม่เคยมีครั้งใหนให้ราคาเกินท้องตลาด
ซึ่งทำให้ต้องมีการไถ่ถอน ก็ไม่วายโกง

มันคือโครงงการโกงบูรณาการครับ

#46 amplepoor

amplepoor

    เมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,365 posts

ตอบ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 18:45

คดีที่ตึกโครมที่สุด เกษตรกรซวยลูกเดียว
http://www.komchadlu...ml#.UHawu1HtyTY
------------------
เกษตรกรกว่า4พันพ้นคุกคดีทุจริตลำไย

สมัชชาเกษตรกรผู้เดือดร้อนคดีทุจริตลำไย ปี 47 เฮ หลังเดินหน้าเคลื่อนไหวร้อนเรียนหลายหน่วยงาน จนศาลเห็นใจตัดสินให้เสียค่าปรับแทนโทษจำคุก


นายภิรมย์ จามพฤกษ์ เลขาธิการสมัชชาเกษตรกรผู้เดือดร้อนคดีทุจริตลำไย จ.ลำพูน กล่าวถึงความคืบหน้าคดีทุจริตลำไยปี 2547 ซึ่งมีเกษตรกรรวมถึงกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ที่ลงชื่อรับรองในใบ ลย.1 ถูกดำเนินคดีกว่า 4,000 คน ว่า หลังสมัชชาเกษตรฯเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องความเป็นธรรมให้เกษตรกรที่ตกเป็น ผู้ต้องหาโดยการยื่นหนังสือถึงหลายหน่วยงานทั้งในกรุงเทพ และที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ ดีเอสไอ



จนกระทั่งศาล จ.ลำพูน มีคำพิพากษาตัดสินให้สั่งปรับ นายก อบต. กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ที่เป็นผู้เซ็นรับรองเอกสารใบ ลย.รวมทั้งเกษตรกรที่ตกเป็นผู้ต้องหา ที่รับสารภาพหรือปฎิเสธไม่รับสารภาพรายละ 3,000 บาท แต่หากรายใดไม่มีเงินจ่ายเป็นค่าปรับก็ให้รับโทษกักขังแทน
ทั้งนี้ ส่วนผู้ต้องหากลุ่มแรกที่รับสารภาพและถูกตัดสินจำคุกไปนั้นถือเป็นแพะรับบาป ในคดีนี้หลายรายยังคงต้องโทษจำคุกอยู่ เนื่องจากศาลต้องตัดสินตามคำรับสารภาพตามตัวหนังสือและสำนวนที่ตำรวจทำเสนอ อัยการ ขณะที่เกษตรตำบลและเกษตรอำเภอ 4 รายที่เกี่ยวข้องในคดีนี้ มี 2 รายที่กลายเป็นโจทย์ยื่นฟ้องเกษตรกร ส่วนอีก 2 รายเป็นผู้ต้องหา สำหรับผู้ประกอบการล้งและกลุ่มทุนรายใหญ่ที่เกี่ยวข้องในคดีนี้กลับหลุดรอด ไม่ได้รับโทษแต่อย่างใด
นายภิรมย์ กล่าวต่อว่า ปัจจุบันมีเกษตรกรที่ถูกศาลพิพากษาตัดสินให้เสียค่าปรับไปแล้วกว่า 2,000 ราย ยังเหลืออีกประมาณ 2,000 รายที่ศาลทะยอยตัดสิน ต้องยอมรับว่าคดีนี้เกษตรกรกลายเป็นแพะรับบาปเพราะเจ้าหน้าที่บอกให้รับ สารภาพแต่เมื่อรับสารภาพไปแล้ว ตำรวจกลับทำสำนวนให้เป็นผู้ต้องหาในคดีอาญาจนต้องโทษถึงขั้นจำคุก
"ขณะนี้ทราบว่ากรณีที่เกิดขึ้นกับเกษตรกรใน จ.ลำพูน กำลังจะลุกลามไปยังเกษตรกรชาวสวนลำไยใน อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ เพราะเจ้าหน้าที่กำลังเข้าไปสืบสวนสอบสวนเพื่อเอาผิดกับเกษตรกรในคดีทุจริต ดังนั้น จึงขอให้เกษตรกรนำตัวอย่างของคดีทุจริตลำไยที่เกิดขึ้นในจ.ลำพูนเป็นกรณีศึกษา ไม่ควรรับสารภาพตามที่เจ้าหน้าที่กล่าวอ้างเพราะอาจกลายเป็นแพะรับบาปแทนขบวนการทุจริตลำไย และตกเป็นผู้ต้องหาถูกพิพากษาติดคุกโดยที่ไม่มีความผิด" นายภิรมย์ กล่าว

#47 amplepoor

amplepoor

    เมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,365 posts

ตอบ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 18:48

พลิกแฟ้มคดีทุจริตลำไยปี 2545 รากเหง้ามาเฟียโกงรัฐหมื่นล้าน ASTVผู้จัดการออนไลน์ 25 กรกฎาคม 2548 20:12 น.
รายงาน ศูนย์ข่าวเชียงใหม่
ลำไยอบแห้งของปี 2545 ที่เวลานี้อยู่ระหว่างการขั้นตอนการขนย้ายและให้ กรมพัฒนาที่ดินทำลายเพื่อทำเป็นปุ๋ยต่อไป กำหนดจะแล้วเสร็จภายในสิ้นเดือนกรกฎาคมนี้ ปริมาณลำไยตามบัญชีที่จะทำลายประมาณ 22,000 ตัน หรือคิดเป็นลำไยบรรจุกล่องละ 10 กิโลกรัม จำนวนถึงกว่า 2,200,000 กล่อง


ราคาเฉลี่ยที่รับจำนำของปีดังกล่าวอยู่ที่ กิโลกรัมละ 60 บาท ตีราคาขั้นต่ำที่สุดไม่รวมค่ากล่อง ไม่รวมค่าเช่าโกดังระยะเวลา 3 ปี ไม่รวมเบี้ยเลี้ยงการตรวจสอบรอบแล้วรอบเล่า จิปาถะ เท่ากับจะมีการทำลายเม็ดเงินไม่น้อยกว่า 1,400 ล้านบาท แต่อันที่จริงแล้ว ความเสียหายจากโครงการรับจำนำลำไยอบแห้งของปี 2545 มีมากกว่าตัวเลขที่ได้ประเมินมาเบื้องต้น เพราะความเสียหายที่แท้จริงของลำไย ปี 2545 อยู่ที่ประมาณ 5 พันล้านบาทเลยทีเดียว !!

เป็น 5 พันล้านบาทที่เสียไปแล้วยังไม่พอ ...เพราะยังเป็นรากเหง้าของเภทภัยทุจริตในวงการลำไยไทยต่อเนื่องมาจนวันนี้

คนในวงการลำไยพูดกันเสมอว่า การทุจริตลำไยของปี 2545 เป็นการทุจริตครั้งใหญ่ที่สุด ใหญ่กว่าปี 2547 แต่เรื่องไม่โด่งดังเท่า สาธารณชนให้ความสนใจน้อย นี่จึงเป็นคำตอบว่าเหตุใดจึงยังไม่มีการดำเนินการใดๆ กับผู้เกี่ยวข้องกับการทุจริตครั้งมโหฬารในรอบนี้

ปี 2545 เป็นปีแรกที่รัฐบาลไทยรักไทย ที่มี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นผู้เข้ามาดำเนินการอย่างเต็มสูบ แม้ว่าในปี 2544 จะเริ่มมีปัญหาลำไยล้นตลาดมาก่อน แต่เนื่องจากว่ารัฐบาลไทยรักไทยเพิ่งเข้ามาบริหารจึงยังตั้งตัวไม่ทัน และไม่ได้เตรียมงบประมาณเอาไว้

มาตรการแก้ปัญหาของปี 2545 เป็นการดำเนินการร่วมกัน ระหว่างกระทรวงพาณิชย์โดย องค์การคลังสินค้า (อคส.) และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) โดยแบ่งการรับจำนำดังนี้ คือ
อ.ต.ก.รับจำนำจากเกษตรกร 6,828 ราย จำนวน 31,464.98 ตัน มูลค่า 1,890.29 ล้านบาท
อคส.รับจำนำจากเกษตรกร 13,360 ราย จำนวน 49,498.30 ตัน มูลค่า 29,530.13 ล้านบาท
รวมแล้วรับจำนำถึง 80,963.28 ตัน มูลค่า 4,843.42 ล้านบาท
ความผิดปกติประการแรก คือ หากยึดตามตัวเลขการรับจำนำปริมาณลำไยสดที่แปรมาเป็นลำไยอบแห้งของปี 2545 ที่ต้องเอา 3 คูณ มีมากกว่าผลผลิตที่ควรจะเป็น ข้อสังเกตก็คือ มีการพยายามเพิ่มยอดการรับจำนำมากขึ้นเรื่อยๆ และอาจมีการสวมสิทธิ์มาจำนำราคาแพงกับรัฐ เพราะแรกทีเดียวนั้น รัฐบาลตั้งเป้าจะรับจำนำลำไยเพียง 40,000 ตันเท่านั้น ต่อมาขยายเพิ่มเป็น 60,000 ตัน และ 80,000 ตันในที่สุด ซึ่งในยุคต่อมา คณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร หรือ คชก.ได้สั่งให้ตรวจสอบ ซึ่งก็พบความผิดปกติจริง เพราะพบการส่อทุจริตของหน่วยรับซื้อ 14 จุด พบทั้งลำไยอบแห้งขาดบัญชี และไม่ได้มาตรฐาน รวมถึงเอกชนผู้ร่วมสัญญาไม่ได้ทำตามเงื่อนไขสัญญา
ที่แน่ๆ มีการสวมสิทธิ์เกษตรกร และการแจ้งปริมาณเท็จ รวมถึงการร่วมกันแจ้งคุณภาพเท็จ (คิวซี) ระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐกับเอกชน แต่จุดดังกล่าวก็เป็นแค่จุดเริ่มต้นจุดแรกของการทุจริตในวงการลำไยตามมาต่อเนื่อง นั่นเพราะลำไยทั้งหมดถูกฝากไว้กับโกดังของเอกชน ที่ล้วนเป็นบริษัทผู้ค้าลำไยรายใหญ่ บางรายเป็นผู้ส่งออก


ต่อมามีการทำสัญญาให้บริษัทเอกชนเป็นผู้ขายลำไยล็อตดังกล่าว ครั้งแรก ได้กำไร 311,530 บาท ขายไป 1,477.23 ตัน แต่ครั้งที่ 2 รายไป 3,352.69 ตัน ขาดทุนจากมูลค่ารับจำนำไป 791,019 บาท จนเมื่อปี 2547 โดยมติ คชก.วันที่ 5 เมษายน 2547 อนุมัติให้ขายลำไยที่เหลือ 56,066.49 ตัน เป็นเงิน 3,342.135 ล้านบาท ล็อตนี้เองที่มีการทักท้วงขึ้นมาจากผู้สังเกตการณ์ภายนอกว่า มีการตั้งราคาขายแบบขาดทุนมโหฬาร เพราะขายต่ำกว่าราคาซื้อ รวมแล้วรัฐจะขาดทุนถึง 2,639.228 ล้านบาท

เรื่องราวของลำไย ปี 2545 ยังไม่หมดแค่นั้น เพราะนั่นเป็นการติดต่อซื้อขาย ระหว่างคนของรัฐบาล กับบริษัทเอกชนผู้จำหน่ายลำไยส่งออกนอกประเทศ ที่ต้องตั้งเงื่อนไขต่อรองกันตามปกติ แต่ความผิดปกติอยู่ที่ ในการแก้ปัญหาลำไยปีต่อมา คือปี 2546 ได้ปรากฏว่า มีลำไยของปี 2545 ปลอมปนออกมาจำนวนมาก ปนลำไยปี 2546 ที่รัฐรับจำนำใหม่ ทำกำไรหลายทอด เพราะเอกชนที่เข้ามาเกี่ยวข้อง จะได้ทั้งเงินจำนำของปี 2546 แต่ตัวสินค้าจริงๆ ก็ใช้ลำไยเก่าของรัฐบาลนั่นเองมาสวม ขณะที่ลำไยปี 2546 ก็นำไปจำนำใหม่หรือส่งออกขายแล้วแต่สะดวก

ผู้เกี่ยวข้องที่สามารถนำลำไยเก่า ปี 2545 มีไม่กี่จำพวก
กลุ่มแรก คือ เจ้าของโกดังที่ อคส. หรือ อ.ต.ก.มาเช่าเอาไว้ แต่ปล่อยปละละเลยให้ลอบนำออก
กลุ่มต่อมา คือ บริษัทเอกชนผู้เป็นคู่ค้าจำหน่ายลำไยเก่าปี 2545 กับรัฐบาลโดยตรง ซึ่งได้มีการตรวจสอบในเวลาต่อมาก็พบว่า บริษัทผู้จำหน่ายลำไยล็อตนั้นก็คือ เอกชนผู้ที่พัวพันกับการทุจริตลำไยปี 2547 ที่ผ่านมานี่เอง !!


ลำไยในสต๊อกปี 2545 ถูกปล่อยปละให้มีการบริหารจัดการตามมีตามเกิด ภายใต้การเข้ามาหาประโยชน์ของกลุ่มบริษัทเอกชนหน้าเดิมที่มีอิทธิพลในวงการ นี้มายาวนานตั้งแต่เริ่มโครงการในปี 2545 ตามมาด้วยการเข้ามาทำสัญญารับซื้ออ้างว่าจะไปขาย แต่ขอซื้อในราคาถูกที่รัฐขาดทุน ไม่เพียงเท่านั้น เอกชนกลุ่มเดียวกันยังเกี่ยวข้องกับการนำลำไยเก่าล็อตนี้ออกมาปลอมปนกับลำไย ใหม่ ไม่ได้ตั้งใจขายต่างประเทศจริง จนที่สุด ปริมาณลำไยปี 2545 ที่ยังคงเหลือในโกดังเพียงประมาณ 2.2 หมื่นตันในวันนี้

รวมแล้วความเสียหายจากกรณีดังกล่าว แบ่งเป็นเงินงบประมาณในการรับจำนำลำไยปี 2545 จำนวน 4,843.42 ล้านบาท และค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น ค่าเช่าโกดัง การตรวจสอบ ฯลฯ รวมแล้วกว่า 5 พันล้านบาท เป็น 5 พันล้านบาท ที่ยังไม่ได้นำตัวคนเกี่ยวข้อง ทั้งในส่วนของนักการเมือง ข้าราชการ และบริษัทเอกชนมาร่วมรับผิดชอบในความเสียหายจำนวนนี้!และเมื่อนับรวมกับการจำนำลำไยปี 2546-2547 เป็นเม็ดเงินรวมกันกว่าหมื่นล้านบาท ที่ล้วนแต่มีผู้เกี่ยวข้องหน้าเดิมๆ ทั้งสิ้น

จริงอยู่ กรณีลำไยปี 2545 มีบางเรื่องที่ อ.ต.ก. หรือ อคส.ได้เข้าแจ้งความกับเจ้าหน้าที่ตำรวจเอาไว้ แต่นั่นก็ดูเหมือนว่าจะเป็นการแจ้งความแก้เกี้ยวเท่านั้น ! เพราะล่าสุด ผู้เกี่ยวข้องกับความเสียหาย 5 พันล้านบาท ก็ยังคงลอยนวลอยู่ในสังคม และแวดวงลำไยอยู่เช่นเดิม !!!

Edited by amplepoor, 11 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 18:52.


#48 noswords

noswords

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 543 posts

ตอบ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 19:09

เจตจำนงค์ชัดเจนครับ ตั้งแต่ขนข้าวมาเข้าโครงการ
เอามาจำนำแบบตั้งใจปล่อยหลุดแน่นอน
ชาวนาไม่โง่นะครับ จำนำไว้ 3-4เดือน แล้วต้องมาไถ่ถอนในราคาที่สูงกว่าราคาตลาด ในขณะที่ข้าวก็เสื่อมสภาพ มอดบานตะไท ไถ่ไปแล้วจะเอาไปขายที่ไหน ขายให้ใคร
เมื่อเป็นเช่นนี้จะไถ่ถอนให้โง่เหรอครับ
ถ้ามีใครมาไถ่ถอน
ผมให้เหยียบหน้าใจดีหรือหมูอวกากเลยก็ได้

Edited by noswords, 11 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 19:53.

What is a rebel? - A man who says NO!Albert Camus


#49 ผึ้งน้อยตุหรัดตุเหร่

ผึ้งน้อยตุหรัดตุเหร่

    หน้าตาดี มีอุดมการณ์

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 21,670 posts

ตอบ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 19:16

ใช่ครับ
โครงการจำนำพืชผล มีมาเป็นสิบปีแล้วครับ
ไม่แน่ใจว่ารัฐบาลใหนเริ่ม
แต่ไม่เคยมีครั้งใหนให้ราคาเกินท้องตลาด
ซึ่งทำให้ต้องมีการไถ่ถอน ก็ไม่วายโกง

มันคือโครงงการโกงบูรณาการครับ


โครงการจำนำเริ่มตั้งแต่ไอ้ทักกี้ครับ
ก่อนหน้านั้นจะคล้าย แต่ไม่เท่ากับไอ้ทักกี้ที่ "จำนำทุกเมล็ด"
แต่ผมแปลกใจปีพศ. เขาต้องพิมพ์ผิดแน่เลย(เจ้าพระยานิวส์)


http://chaoprayanews...าลทักษิณรับจำน/

อาจารย์พรายพลอธิบายถึงมาตรา 84 ในรัฐธรรมนูญ ได้ชัดเจนดีครับ อ่านดูนะครับ
“รัฐธรรมนูญมาตรา 84 ยอมให้รัฐบาลแทรกแซงเรื่องนโยบายเศรษฐกิจได้แค่ 3 กรณีคือ
หนึ่ง เพื่อความมั่นคงของประเทศ
สอง เพื่อประโยชน์ส่วนรวม และ
สาม เพื่อสาธารณูปโภค เช่น ไฟฟ้า ประปา เช่นรัฐวิสาหกิจ
ในกรณีข้าวไม่ใช่ความมั่นคง และสาธารณูปโภค เพราะมีข้าวกินกันพอ เหลือส่งออกด้วยซ้ำ ก็เหลืออันเดียวคือประโยชน์ส่วนรวมซึ่งเราตีความว่าคือประโยชน์ของคนโดยรวม คือทุกคนในประเทศ
ซึ่ง กรณีจำนำข้าวเป็นประโยชน์สำหรับคนบางกลุ่มเท่านั้น แล้วคนที่ควรจะช่วยก็ไม่ไปช่วย คือพวกเกษตรกรรายย่อย แล้วจะเรียกว่า ประโยชน์ส่วนรวมได้อย่างไร”
อาจารย์พรายพลย้อนอดีตให้ฟังด้วยว่า “ที่ผ่านมาแม้จะมีการจำนำข้าวมาแล้ว แต่ทุกครั้งเขาตั้งราคาต่ำกว่าตลาด ที่ทำกันตั้งแต่ปี 2524 หรือสมัยรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร ก็ทำแต่ราคาจำนำต่ำกว่าราคาตลาด ไม่งั้นจะเรียกจำนำได้ไง เพราะการจำนำต้องให้ราคาต่ำกว่าตลาด หากให้ราคาสูงกว่าตลาด เขาก็ขายเลย จะวิ่งไปไถ่ถอนทำไม”
อาจารย์พรายพลให้สัมภาษณ์ด้วยว่า “เราเห็นว่าเป็นโครงการไม่ถูกต้อง ไม่เกี่ยวกับการเมือง ไม่มีสีอะไรทั้งสิ้น ไม่ใช่เพราะเป็นรัฐบาลเพื่อไทย
ถ้าประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาลแล้วทำโครงการเสียหายแบบนี้ ก็ต้องออกมาคัดค้านยื่นศาลรัฐธรรมนูญเหมือนกัน”

Edited by ผึ้งน้อยตุหรัดตุเหร่, 11 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 19:18.

gladiator 1.jpg

 

 

 

 

 

 


#50 amplepoor

amplepoor

    เมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,365 posts

ตอบ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 19:50

เรื่องจำนำในราคาสูงกว่าตลาดนี่
ผมคิดว่ามีช่องเอาผิดได้เหมือนกัน เพราะมันใช้ช่องผิด
คือถ้าเป็นการอุดหนุนส่วนต่าง หรือเป็นเงินชดเชยอะไรก็ว่ากันไป

แต่นี่ใช้ระบบจำนำ เพื่อเจตนาขาดทุน
ส่อว่าน่าจะทำให้รัฐเสียหาย เข้าข่ายกฏหมายปปช. ได้

ประเด็นคือ ถ้าเอ็งใช้ตำว่าจพนำ ข้าก็จะใช้กฏหมายจำนำมาฆ่า
เอ็งไม่อยากตาย ก็ต้องเปลี่ยน

ความถูกต้อง ต้องมาก่อนความชอบทำ




ผู้ใช้ 1 ท่านกำลังอ่านกระทู้นี้

สมาชิก 0 ท่าน, ผู้เยี่ยมชมทั่วไป 1 ท่าน และไม่เปิดเผยตัวตน 0 ท่าน