พอดีเจ้าหนี้กับรัฐบาลเป็นคนเดียวกัน
ปัญหามีว่าถ้าเป็นเจ้าหนี้นาย ก. ข. ค. ก็แล้วแต่เป็นผู้รับจำนำ
เอาของไปขายทอดตลาดแล้วได้ไม่ถึงมูลค่าหนี้ที่ค้างชำระ
ก็สามารถเรียกร้องเงินส่วนที่ขาดไปได้
ตีความว่าจะเรียกร้องเอาหรือไม่เอาก็ได้แล้วแต่ผู้รับจำนำ
แต่ที่นี้พอมาเป็นรัฐบาล ใช้เงินแผ่นดิน ส่วนที่ขาดหายไป
เอาเป็นว่ารัฐบาลไม่เรียกร้องส่วนที่ขาดเอาจากชาวนาก็ได้
แต่มองในแง่การทำหน้าที่แล้วรัฐบาลเอาเงินส่วนรวมไปใช้
แบบนี้ไม่แปลก หรือใช้ในกรณีอื่นก็มีปัญหาให้คิดเหมือนกัน
เช่นงบให้ไปเปล่าๆ ตัวอย่างเงินอุดหนุนรายหัวให้แก่โรงเรียนเอกชน
บางโรงเรียนหรูหรากว่าของรัฐบาลหลายเท่าในขณะที่โรงเรียนของรัฐบาลเอง
บางแห่งยังขาดแตลนอย่างมาก
แล้วมีคนมาร้องเรียนว่ารัฐบาลให้เงินไปเปล่าๆ
แบบนี้ได้ยังไงมันเสียหายนะ
อันนี้มันก็จะยุ่งอีรุงตุงนังหมด
แต่ถ้าประชาชนติดใจจะเอาเงินส่วนที่ขาดไปให้ได้คืนทั้งต้นทั้งดอกก็น่าจะทำได้เหมือนกัน
แล้วใครจะเป็นคนฟ้องรัฐบาล มาตรา 157 ก็ฟ้องได้ สมมติ ว่าศาลตัดสินว่าผิด
ม. 157 รัฐบาลใหม่เข้ามาแม้ยกเลิกนโยบายจำนำก็ต้องทวงหนี้ชาวนาด้วย
ไม่งั้นจะโดน ม. 157 เหมือนกันทีนี้ล่ะมันเลย
Edited by phoosana, 12 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 01:41.
We love fender.