Jump to content


Photo
- - - - -

ข่าว: กรณีหนี้กองทุนน้ำมันฯ : ปตท.คือผู้ร้ายตัวจริง


  • Please log in to reply
9 ความเห็นในกระทู้นี้

#1 kim

kim

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,724 posts

ตอบ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 09:31

ในขณะที่กระทรวงพลังงานกำลังรณรงค์ “รวมพลังปลดดินพอกหางหมู” ซึ่งมีเนื้อหาเพื่อขอขึ้นราคาก๊าซหุงต้ม (แอลพีจี) ให้เท่ากับราคาในตลาดโลก เพื่อไม่ให้กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงต้องเป็นหนี้มากกว่านี้ คือประมาณ 2.2 หมื่นล้านบาท แต่ปรากฏว่า คณะอนุกรรมาธิการเสริมสร้างธรรมาภิบาลด้านพลังงาน ในคณะกรรมาธิการศึกษา ตรวจสอบเรื่องการทุจริตและเสริมสร้างธรรมาภิบาล วุฒิสภา กลับสวนกระแสว่า ให้ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) นำเงินที่ได้รับการชดเชยจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงประมาณหนึ่งแสนล้านบาทคืนให้แก่กองทุนน้ำมันฯ โดยเร็ว

อ้าว อย่างไรกันนี่!

ในตอนท้ายของบทความนี้ผมได้แนบเอกสารประกอบการแถลงข่าวของคณะอนุฯชุดดังกล่าวมาลงโดยไม่มีการตัดต่อแต่อย่างใด แต่ก่อนอื่นผมขอสรุปสั้นๆ เพื่อให้เกิดความเข้าใจร่วมกัน

ความเดิมมีอยู่ว่า เมื่อหลายปีก่อนประเทศไทยเคยผลิตก๊าซหุงต้มได้มากกว่าความต้องการใช้ภายในประเทศ จนต้องมีการส่งออก แหล่งที่มาของก๊าซหุงต้ม (หรือก๊าซปิโตรเลียมเหลว เรียกย่อๆ ว่าแอลพีจี) มาจากสองแหล่งคือโรงแยกก๊าซกับโรงกลั่นน้ำมัน

วัตถุดิบที่ใช้ป้อนเข้าโรงแยกก๊าซทั้งหมดมาจากแหล่งปิโตรเลียมภายในประเทศซึ่งถือว่าเป็นทรัพยากรของประชาชนไทยทั้งประเทศ สำหรับวัตถุดิบที่ป้อนเข้าโรงกลั่นน้ำมันนั้นส่วนมาก (ประมาณ 3 ใน 4) เป็นน้ำมันดิบซึ่งต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ที่เหลืออีก 1 ใน 4 เป็นน้ำมันดิบที่ขุดได้จากประเทศไทย

อย่างไรก็ตาม เฉพาะก๊าซแอลพีจีที่ผลิตได้จากโรงแยกก๊าซเพียงอย่างเดียวก็เพียงพอสำหรับให้ภาคประชาชนใช้ซึ่งได้แก่ภาคครัวเรือนและภาคยานยนต์ใช้ แต่ต่อมาหลังปี 2551 อุตสาหกรรมปิโตรเคมีซึ่งเป็นบริษัทลูกของ ปตท. ได้นำก๊าซแอลพีจีเป็นจำนวนมากไปใช้เป็นวัตถุดิบ (ไม่ใช่เชื้อเพลิง) จึงส่งผลให้ต้องมีการนำเข้าก๊าซแอลพีจีจากต่างประเทศมาเพิ่ม

ที่เป็นปัญหามากกว่านั้นก็คือ ราคาก๊าซแอลพีจีที่ภาคอุตสาหกรรมซื้อไปใช้นั้นทั้งก่อนและหลังช่วงที่มีการนำเข้านั้นเป็นราคาที่ได้รับการอุดหนุนจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง

เงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงมาจากไหน? ก็มาจากการเก็บไปจากผู้ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงทุกคนซึ่งก็คือประชาชนนั่นเอง มูลค่าที่อุตสาหกรรมปิโตรเคมีได้รับการชดเชยราคาไปแล้วก็ประมาณหนึ่งแสนล้านบาท

กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงนั้นได้จัดตั้งขึ้นมาเพื่อรักษาระดับราคาเชื้อเพลิงไม่ให้สูงหรือต่ำเกินไป ยามใดที่น้ำมันดิบมีราคาต่ำรัฐบาลก็เก็บเงินเข้ากองทุนฯ ยามใดที่น้ำมันดิบมีราคาสูงเกินไปก็ดึงเงินจากกองทุนมาอุดหนุน ยามใดที่รัฐบาลจะหาเสียงก็ดึงเงินกองทุนน้ำมันฯ มาชดเชยมากหน่อย แต่ต่อมารัฐบาลก็นำเงินกองทุนน้ำมันฯ มาชดเชยราคาก๊าซแอลพีจีด้วย ซึ่งก็ยังอยู่ในกรอบของ “เชื้อเพลิง” เหมือนเดิม แต่กองทุนน้ำมันฯ ไม่เคยมีวัตถุประสงค์เพื่อชดเชยราคาวัตถุดิบให้แก่อุตสาหกรรมใดเลย

แต่ในช่วงประมาณ 10 ปีมานี้ได้เกิดอุตสาหกรรมปิโตรเคมีขึ้น ซึ่งวัตถุดิบของอุตสาหกรรมนี้ก็คือก๊าซแอลพีจี โรงงานอุตสาหกรรมปิโตรเคมีส่วนใหญ่เป็นของ ปตท. จึงได้ซื้อวัตถุดิบไปใช้ในราคาที่ได้รับการชดเชยจากกองทุนน้ำมันซึ่งเป็นกองทุนที่เก็บหอมรอมริบมาจากประชาชน

นี่คือเหตุผลที่คณะอนุกรรมาธิการฯ อ้างให้ “การทวงคืนโดยเร็ว” (ในข้อ 4 ของใบแถลงข่าว)

อีกเหตุผลหนึ่งซึ่งปรากฏอยู่ในข้อที่ 3 ของเอกสารแถลงข่าวคือ การสัมปทานแหล่งปิโตรเลียมในประเทศไทยนั้น รัฐบาลไทยคิดค่าตอบแทนในอัตราที่ต่ำมาก คือต่ำที่สุดในบรรดากลุ่มประเทศอาเซียน และต่ำกว่าราคาในตลาดโลกถึง 40% ส่งผลให้หน่วยธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียม (ปตท.สผ.) มีกำไรก่อนหักดอกเบี้ยและภาษีในปี 2554 ถึงกว่า 8.4 หมื่นล้านบาท หรือคิดเป็น 54.3% ของทุกธุรกิจในเครือ ปตท.ทั้งหมด

ตารางข้างล่างนี้ ได้แสดงถึงผลกำไรก่อนหักดอกเบี้ยและภาษีรวม 6 หน่วยธุรกิจกว่า 1.55 แสนล้านบาท
Posted Image Posted Image
แปลกดีแท้นะครับ ตอนขอสัมปทานแหล่งทรัพยากรปิโตรเลียม ปตท.สผ. (รวมทั้งบริษัทรับสัมปทานอื่นๆ ด้วย) ได้บริษัทได้รับปิโตรเลียมในราคาที่ต่ำกว่าตลาดโลกถึง 40% แต่เวลาจะขายสินค้าให้กับเจ้าของทรัพยากรกลับขอขายในราคาตลาดโลก ข้างล่างนี้เป็นเอกสารแถลงข่าวของคณะอนุฯ ทุกตัวอักษรครับผม

เอกสารประกอบการแถลงข่าว

เรื่อง “ปัญหาและทางออกกรณีก๊าซแอลพีจี”


จากความพยายามของกระทรวงพลังงาน ในการปรับขึ้นราคาก๊าซหุงต้มหรือก๊าซแอลพีจี ในภาคครัวเรือนและภาคยานยนต์ โดยมีการโฆษณาผ่านสื่อต่างๆ คณะอนุกรรมาธิการเสริมสร้างธรรมาภิบาลด้านพลังงาน ในคณะกรรมาธิการศึกษา ตรวจสอบเรื่องการทุจริตและเสริมสร้างธรรมาภิบาล วุฒิสภา ได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงพบว่า โฆษณาดังกล่าวเป็นการให้ข้อมูลที่ไม่ครบถ้วนและบิดเบือน โดยมีข้อเท็จจริงดังต่อไปนี้

จากสถานการณ์การใช้ก๊าซแอลพีจีในปัจจุบัน ประกอบด้วยผู้ใช้สองกลุ่มใหญ่ คือ ภาคประชาชน ประกอบด้วย ภาคครัวเรือนและภาคยานยนต์ และภาคอุตสาหกรรม ประกอบด้วย อุตสาหกรรมปิโตรเคมี และอุตสาหกรรมทั่วไป ทั้งนี้ ในปี 2554 ปริมาณการใช้ของทั้งสองภาคมีปริมาณใกล้เคียงกันคือ ภาคประชาชน มีสัดส่วนร้อยละ 51.8 (ใช้รวม 3.57 ล้านตัน ครัวเรือน 2.65 ล้านตัน ยานยนต์ 0.92 ล้านตัน) ขณะที่ภาคอุตสาหกรรมมีสัดส่วนการใช้ร้อยละ 48.2 (ใช้รวม 3.32 ล้านตัน ปิโตรเคมี 2.6 ล้านตัน อุตสาหกรรมทั่วไป 0.72 ล้านตัน) จึงเห็นได้ว่าปริมาณการใช้ก๊าซแอลพีจีครึ่งหนึ่งเกิดจากภาคอุตสาหกรรมโดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรมปิโตรเคมีซึ่งเป็นบริษัทในเครือของ บมจ.ปตท ที่มีการขยายตัวอย่างมากในช่วงหลายปีที่ผ่านมา จนเป็นเหตุให้ต้องมีการนำเข้าก๊าซแอลพีจีจากต่างประเทศ ดังนั้น การให้ข้อมูลว่าปัญหาทั้งหมดเกิดขึ้นจากภาคครัวเรือนและยานยนต์ที่มีการใช้อย่างสิ้นเปลือง จึงเป็นข้อมูลที่บิดเบือนไปจากข้อเท็จจริง

เพื่อแก้ไขปัญหาภาระของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงและการกำหนดราคาแอลพีจีที่เป็นธรรมต่อประชาชน จึงมีข้อเสนอดังนี้

1. รัฐควรจัดลำดับความสำคัญในการใช้ก๊าซแอลพีจีที่ผลิตได้จากโรงแยกก๊าซธรรมชาติให้ภาคประชาชนใช้ก่อน เนื่องจากก๊าซธรรมชาติที่ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตแอลพีจีมาจากแผ่นดินไทยอันเป็นทรัพยากรของประชาชน ทั้งนี้ในปี 2554 โรงแยกก๊าซฯ มีกำลังการผลิตก๊าซแอลพีจีได้ 3.60 ล้านตัน (ภาคประชาชนใช้ 3.57 ล้านตัน) โดยในปี 2555 คาดว่าจะผลิตได้ 3.88 ล้านตัน ซึ่งเพียงพอต่อการใช้ของภาคประชาชนอยู่แล้ว ดังนั้นก๊าซแอลพีจีส่วนที่เหลือจากการใช้ของภาคประชาชนให้จำหน่ายกับภาคอุตสาหกรรมได้ หากไม่เพียงพอให้ภาคอุตสาหกรรมเป็นผู้รับภาระในการนำเข้าเอง

2. เนื่องจากการให้สัมปทานปิโตรเลียมของประเทศไทยเป็นระบบสัมปทานที่รัฐได้รับผลประโยชน์ตอบแทนต่ำที่สุดในอาเซียน ทำให้ผู้รับสัมปทานมีต้นทุนการผลิตก๊าซแอลพีจีที่ต่ำ เช่น แหล่งน้ำมันสิริกิติ์ อันเป็นแหล่งใหญ่มีพื้นทีครอบคลุมถึง 5 จังหวัดได้แก่ กำแพงเพชร สุโขทัย พิษณุโลก นครสวรรค์ และอุตรดิตถ์ มีต้นทุนการผลิตแอลพีจีบวกกำไรของผู้รับสัมปทาน อยู่ที่ประมาณ 9 บาทต่อกิโลกรัมเท่านั้น ขณะที่ราคาค้าปลีกแอลพีจีที่จำหน่ายให้แก่ภาคครัวเรือน และภาคยานยนต์ ซึ่งรวมกำไรของผู้ค้าและภาษีแล้ว อยู่ที่ 18.13 บาทต่อกิโลกรัม และ 21.38 บาทต่อกิโลกรัม ตามลำดับ จึงเป็นราคาที่ผู้ค้าได้กำไรมากอยู่แล้ว ดังนั้น จึงไม่สมควรที่รัฐจะให้มีการปรับราคาแอลพีจีกับภาคครัวเรือนและภาคยานยนต์เพิ่มขึ้นอีก (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมจากงบการเงินของ บมจ.ปตท.)

3. ให้เลิกนำเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงไปอุดหนุนการใช้แอลพีจีเป็นวัตถุดิบของธุรกิจปิโตรเคมี ในราคาที่ต่ำกว่าราคาตลาดโลกประมาณร้อยละ 40 การนำเงินกองทุนน้ำมันฯ ไปอุดหนุนให้ภาคปิโตรเคมีดังกล่าว เป็นการกระทำที่ผิดวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งกองทุนน้ำมันฯ ตั้งแต่แรกเริ่ม ที่มีขึ้นเพื่อรักษาระดับราคาพลังงาน มิใช่เพื่อไปอุดหนุนราคาวัตถุดิบในอุตสาหกรรมใดโดยเฉพาะ จึงเป็นการกระทำที่ไม่เป็นธรรมต่ออุตสาหกรรมอื่นที่ไม่ได้รับการอุดหนุน และยังเป็นการเอาเปรียบประชาชน ผู้เป็นเจ้าของกองทุนน้ำมันฯ อีกด้วย

4. จากข้อมูลปริมาณแอลพีจีที่ผลิตได้จากโรงแยกก๊าซฯ ในประเทศ ซึ่งพอเพียงต่อการใช้ของภาคประชาชน ดังที่กล่าวไว้แล้วในข้อ 1 ดังนั้น ปัญหาหลักที่ต้องมีการนำเข้าแอลพีจี และมีการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันฯ จากประชาชนเกิดจากนำเงินไปอุดหนุนธุรกิจปิโตรเคมีซึ่งเป็นบริษัทในเครือบมจ.ปตท ดังนั้นเพื่อความเป็นธรรม จึงควรให้ บมจ.ปตท. ส่งคืนเงินที่ได้รับชดเชยส่วนต่างราคาแอลพีจีนำเข้าไปแล้วประมาณหนึ่งแสนล้านบาทให้แก่กองทุนน้ำมันฯ โดยเร็ว เพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินของกองทุนน้ำมันฯ ที่นำไปชดเชยให้ภาคปิโตรเคมีนับแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

5. ให้ปลัดกระทรวงและข้าราชการระดับสูงของกระทรวงพลังงานแสดงความรับผิดชอบต่อการนำเสนอนโยบายที่เป็นการเอาเปรียบประชาชนผู้เป็นเจ้าของทรัพยากรปิโตรเลียมในความพยายามสร้างผลกำไรให้ภาคธุรกิจพลังงานเกินสมควร ด้วยการลาออกจากการเป็นกรรมการของธุรกิจพลังงานทั้งหมด เนื่องจากการรับเงินเดือน โบนัส และเบี้ยประชุมจากบริษัทพลังงานของข้าราชการเป็นการกระทำที่มีผลประโยชน์ทับซ้อนในการปฏิบัติหน้าที่ จึงนำมาซึ่งปัญหาดังกล่าวข้างต้น และเป็นการกระทำที่ผิดหลักธรรมาภิบาลสากลอย่างร้ายแรง

แถลงเมื่อวันอาทิตย์ที่ 14 ตุลาคม 2555 โดย คณะอนุกรรมาธิการเสริมสร้างธรรมาภิบาลด้านพลังงาน ในคณะกรรมาธิการศึกษา ตรวจสอบเรื่องการทุจริตและเสริมสร้างธรรมาภิบาล วุฒิสภา

http://www.manager.c...D=9550000125953 ที่มา

สรุปจะยกเลิกอุดหนุนก็ยกเลิกอุดหนุนภาคอุตสาหกรรมของปตท.เถอะ เหลือบกินกองทุนตัวจริง แล้วมาใส่ร้ายให้ประชาชนตีกันเอง และราคาก๊าซตอนนี้ก็ไม่ขาดทุนแถมยังกำไรอีกด้วย ไม่ทราบจะขึ้นไปทำพระเจ้าชินทำไหม

#2 wat

wat

    เนตังมะมะ เนโสหะมัสมิ นะเมโสอัตตา.

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 5,542 posts

ตอบ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 09:36

-_- เฮ้อออออ... เฮงซวยจริงๆคนไทย แล้วจะทำอะไรมันได้ ไปง้างเอาหมูออกจากปากหมาเนี่ยนะ... เห๊อะๆๆๆ
:) Sometime...Sun shine through the rain...

#3 kon_thai

kon_thai

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,437 posts

ตอบ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 12:10

ก็นั้นซิครับมันยาก...แต่พอดีหมูชิ้นนั้นมันเป็นของคนทั้งประ้ทศนะครับ..ก็ต้องหาวิธีละครับ..ผมคิดได้หลายวิธีเหมือนกัน..
1. ขอจากหมาดีๆ.2.ถ้ายังดื้อไม่คืน.ก็เอาไม้ตีหมา..3ถ้ายังวิ้งหนีอีก.เอาปืนยิงหมาเลย.หรือวางยาเบื่อในหมูชิ้นใหม่.ให้มันกิน..น่ารองดูนะครับ..แต่ผมคิดว่ายังงัยหมามันก็ต้องสู้อยู่แล้วครับต้องมีคนโดนกัดบ้างก็ธรรมดา..แต่หมาจะยอมคายหมูหรือยอมตายเพราะหมูก็แล้วแต่หมาครับ.. ^_^

#4 ypk

ypk

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 2,173 posts

ตอบ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 13:55

เหอ เหอ เหอ ปัญหามันเกิดจาก สภาพ ครึ่งคนครึ่งผี ของ ปตท มากกว่า
เพราะสิทธิประโยชน์ของ ปตท ที่ได้รับมันเป็นสิทธประโยชน์ที่อยู่ในสถานะ
ของการเป็นรัฐวิสาหกิจ ส่วนผลกำไรของ ปตท ที่ได้รับนั้น มันอยู่ในสถานะ
ขององกรเอกชนที่แสวงหากำไร 555

ทำธุรกิจครึ่งผีครึ่งคนแบบนี้ ถ้าไม่รวยก็แสดงว่าผู้บริหาร ห่วยแตก สิ้นดีแล้วล่ะ

55555

#5 ทรงธรรม

ทรงธรรม

    ต่อให้ต้องเรียนจนแก่ ก็จะเรียนต่อไป คนเราพัฒนาได้ทุกคน

  • Members
  • PipPipPip
  • 2,157 posts

ตอบ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 14:47

การใช้ประโยชน์จากก๊าซธรรมชาติ เราสามารถใช้ประโยชน์จากก๊าซธรรมชาติได้ใน 2 ลักษณะใหญ่ๆ คือ 1. ใช้เป็นเชื้อเพลิง เราสามารถใช้ก๊าซธรรมชาติได้โดยตรง ด้วยการใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับผลิตกระแสไฟฟ้า หรือในโรงงานอุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรมเซรามิก อุตสาหกรรมสุขภัณฑ์ ฯลฯ หรือสามารถนำมาใช้ในระบบ Co-generatio Posted Image ทั้งนี้โดยมีประเภทการใช้โดยสรุป ดังนี้ • ใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับผลิตกระแสไฟฟ้า • ใช้เป็นเชื้อเพลิงในโรงงานอุตสาหกรรม • ใช้เป็นเชื้อเพลิงในระบบ Co-generation • ใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับยานพาหนะ ที่เรียกว่า ก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ (Natural Gas for Vehicles : NGV) 2. ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ หลังผ่านกระบวนการแยกในโรงแยกก๊าซ Posted Image เพราะในตัวเนื้อก๊าซธรรมชาติ มีสารประกอบที่เป็นประโยชน์ อยู่มากมาย เมื่อนำมาผ่านกระบวนการแยกที่โรงแยกก๊าซแล้ว ก็จะได้ผลิตภัณฑ์ต่างๆ มาใช้ประโยชน์ได้ดังนี้ • ก๊าซมีเทน (C1) : ใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับผลิตกระแสไฟฟ้า ในโรงงานอุตสาหกรรม และนำไปอัดใส่ถังด้วยความดันสูง เรียกว่าก๊าซธรรมชาติอัด สามารถใช้เป็นเชื้อเพลิงในรถยนต์ รู้จักกันในชื่อว่า "ก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์" (Natural Gas for Vehicles : NGV)ก๊าซอีเทน (C2) : ใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีขั้นต้น สามารถนำไปใช้ผลิตเม็ดพลาสติก เส้นใยพลาสติกชนิดต่างๆ เพื่อนำไปใช้แปรรูปต่อไป • ก๊าซโพรเพน (C3) และก๊าซบิวเทน (C4) : ก๊าซโพรเพนใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีขั้นต้นได้เช่นเดียวกัน และหากนำเอาก๊าซโพรเพนกับก๊าซบิวเทนมาผสมกัน อัดใส่ถังเป็นก๊าซปิโตรเลียมเหลว (Liquefied Petroleum Gas - LPG) หรือที่เรียกว่าก๊าซหุงต้ม สามารถนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงในครัวเรือน เป็นเชื้อเพลิงสำหรับรถยนต์ และใช้ในการเชื่อมโลหะได้ รวมทั้งยังนำไปใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมบางประเภทได้อีกด้วย • ไฮโดรคาร์บอนเหลว (Heavier Hydrocarbon) : อยู่ในสถานะที่เป็นของเหลวที่อุณหภูมิและความดันบรรยากาศ เมื่อผลิตขึ้นมาถึงปากบ่อบนแท่นผลิต สามารถแยกจากไฮโดรคาร์บอนที่มีสถานะเป็นก๊าซบนแท่นผลิต เรียกว่า
คอนเดนเสท (Condensate) สามารถลำเลียงขนส่งโดยทางเรือหรือทางท่อ นำไปกลั่นเป็นน้ำมันสำเร็จรูปต่อไป • ก๊าซโซลีนธรรมชาติ : แม้ว่าจะมีการแยกคอนเดนเสทออกเมื่อทำการผลิตขึ้นมาถึงปากบ่อบนแท่นผลิตแล้ว แต่ก็ยังมีไฮโดรคาร์บอนเหลวบางส่วนหลุดไปกับไฮโดรคาร์บอนที่มีสถานะเป็นก๊าซ เมื่อผ่านกระบวนการแยกจากโรงแยกก๊าซธรรมชาติแล้ว ไฮโดรคาร์บอนเหลวเหล่านี้ก็จะถูกแยกออก เรียกว่า ก๊าซโซลีนธรรมชาติ หรือ NGL (natural gasoline) และส่งเข้าไปยังโรงกลั่นน้ำมัน เป็นส่วนผสมของผลิตภัณฑ์น้ำมันสำเร็จรูปได้เช่นเดียวกับ คอนเดนเสท และยังเป็นตัวทำละลายซึ่งนำไปใช้ในอุตสาหกรรมบางประเภทได้เช่นกัน • ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ : เมื่อผ่านกระบวนการแยกแล้ว จะถูกนำไปทำให้อยู่ในสภาพของแข็ง เรียกว่าน้ำแข็งแห้ง นำไปใช้ในอุตสาหกรรมถนอมอาหาร อุตสาหกรรมน้ำอัดลมและเบียร์ ใช้ในการถนอมอาหารระหว่างการขนส่ง นำไปเป็น วัตถุดิบสำคัญในการทำฝนเทียม และนำไปใช้สร้างควันในอุตสาหกรรมบันเทิง อาทิ การแสดงคอนเสิร์ต หรือ การถ่ายทำภาพยนตร์
ข้อมูลเล็ก ๆ น้อย สำหรับการนำไปใช้ ซึ่ง ก๊าซธรรมชาติ ในอุตสาหกรรม ปิโตรเคมีครับ

ที่มา https://pttweb.pttpl...ion.aspx?INFO=4

ขอให้พวกเรา ชาวหลากสี และพันธมิตร จงมีชีวิตรอด จากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ฝีมือปูนา ไปตลอดรอดฝั่งด้วยครับ

 

PEMDAS ย่อมาจาก ลำดับการคำนวณ Parentheses , Exponentials , Multiply , Divide , Add , Subtract

 

FWGHSO ย่อมาจาก ลำดับการประเมินผลของ query  FROM, WHERE, GROUP BY, HAVING, SELECT, ORDER BY


#6 RaRa

RaRa

    Seien Sie loyal zu Majesty

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 6,976 posts

ตอบ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 15:39

"ยกเลิกกองทุนน้ำมัน" ก็แค่นโยบายหาเสียงระยำ

ตราบใดที่ผู้รัีบผลประโยชน์ยังไม่ยอมเสียสละ

และลดความ "ละโมบโลภมาก" เยี่ยงทุกวันนี้ -_-

ขอเทิดทูนศักดิ์ศรียิ่งสิ่งใด

...แม้แต่ลมหายใจก็ยอมพลี

โลกยังไม่สิ้นหวัง ถ้ายังมั่นในความดี

...ศรัทธาไม่เคยหน่ายหนี คนดีไม่มีวันตาย


#7 ขุนพลชิน

ขุนพลชิน

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 2,053 posts

ตอบ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 15:51

เพิ่งรู้ว่าต้นทุนธุรกิจสายนี้ของ ปตท. ได้รับอานิสงจากการอุดหนุนราคาพลังงาน ถ้าเป็นเช่นนั้นก็ไม่ไหวละมั่ง เอาภาษีเราไปอุดหนุน

#8 Stargate-1

Stargate-1

    SG-1

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,578 posts

ตอบ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 16:17

ราคาขาย สผ..JPEG
Lifting cost สผ..JPEG
ต้นทุนน้ำมันดิบ$28.9 ต่อบาร์เรล หรือ ลิตรละ 6 บาท ราคาต้นทุนของน้ำมันดิบของปตท.สผ.ก็หาได้จาก Unit Cost ของ Operating Cost จาก Latest Presentation: Thailand Focus 2012 ใน http://www.pttep.com...esentation.aspx

คิดง่ายๆ เอาราคาน้ำมัน คูณด้วย 0.20 คือคูณ ราคาต้นทุน $28.90 ต่อบาร์เรล ด้วย 0.20 บาท-บาร์เรลต่อ$-ลิตร (1$ = 33 บาท, 1 บาร์เรล = 159 ลิตร)

ต้นทุนของมาเลเซียก็ไม่ต่างกัน ถ้าให้นำเข้าน้ำมันสำเร็จรูปจากต่างประเทศได้อย่างเสรีจะเป็นอย่างไรหนอ ถ้าไม่ต้องเก็บภาษีนำเข้าและภาษีสรรพสามิต ในเมื่อสินค้าที่ต้องควบคุมราคา เช่น น้ำมันดีเซล ไม่ควรเป็นสินค้าฟุ่มเฟือยที่ต้องเสียภาษีสรรพสามิต

หากปรับเปลี่ยนแก้ไขสัญญาสัมปทานใหม่ให้ได้ผลประโยชน์คลอบคลุมรายได้จากการเก็บภาษีสรรพสามิตของน้ำมันสำเร็จรูป ก็สามารถลดราคาน้ำมันลงได้ตามนโยบายที่รัฐบาลได้ให้ไว้ จนทำให้สามารถลอยตัวราคาน้ำมันและแก๊สทุกชนิดได้ เป็นผลให้ไม่ต้องมีกองทุนน้ำมันตามนโยบายรัฐบาลอีกเช่นกัน สิ่งเหล่านี้รัฐบาลได้เห็นอยู่แล้วตั้งแต่ได้ทำนโยบายเลือกตั้งขึ้นมาหาเสียง แต่ที่ไม่ทำเพราะอะไร

แล้วที่ว่านำเข้าน้ำมันมาจากตะวันออกกลางนั้นจริงหรือเปล่า เท่าที่ทางกมธ.ฯของสว.ขอสัญญาซื้อขายไป 5 ครั้ง ยังไม่ส่งมาให้กมธ.ฯเลย จึงเป็นที่สงสัยกันว่านำเข้ามาจากอ่าวไทยนี่เอง ตามในคลิปข้างล่าง นาทีที่ 1:31




Edited by Stargate-1, 15 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 16:17.

Tam-mic-ra ฟันธง!  คำว่า "โดนพริกไทยมั๊ง" น่ะ แค่นี่เอามาเป็นหลักฐาน ได้ยังไงครับ .....  คิดครับคิด  :lol:   จากกระทู้แก้ข่าวหน้า 2 qoute #96  ใครยิงวสันต์-ภู่ทอง   แอลพีจีทำมาจากซี2ซี3


#9 adnap

adnap

    น้องใหม่

  • Members
  • Pip
  • 19 posts

ตอบ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 09:12

ปัจจุบันปัญหาหนี้กองทุนน้ำมันอยู่ในขั้นวิกฤตแล้ว เมื่อรวมภาระหนี้ของกองทุนทั้งหมด รวมภาระการอุดหนุนดีเซลจนถึงสิ้นปีนี้อีกประมาณ 1.2 หมื่นล้านบาท และรวมดอกเบี้ยพันธบัตร 5 ปีอีก 1.55 หมื่นล้านบาท พบว่ายอดหนี้กองทุนน้ำมันที่ต้องชำระทั้งสิ้นจะสูงถึง 1.085 แสนล้านบาท จิงๆๆๆรัฐบาลควรเร่งลอยตัวราคาน้ำมันให้เร็วที่สุดภายใน 3 เดือน เนื่องจากหากเลยไปจากช่วงนี้จะเข้าสู่ฤดูหนาวซึ่งราคาเชื้อเพลิงจะสูงขึ้นอีกครั้ง การลอยตัวจะช่วยลดภาระหนี้ของกองทุน และช่วยแก้ปัญหาการขาดดุลที่เกิดจากการนำเข้าน้ำมันได้บ้าง ะเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นประมาณ 1.7 หมื่นล้านบาท ที่มีอยู่ในงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม นำมาใช้หนี้ของกองทุนน้ำมัน ซึ่งรัฐบาลอาจจะขึ้นภาษีน้ำมันเบนซินเพื่อชดเชยรายได้แทนและควรวางแผนให้กองทุนน้ำมันนำรายได้มาคืนคลังในอนาคตด้วย

#10 Stargate-1

Stargate-1

    SG-1

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,578 posts

ตอบ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 21:29

ที่ชอบพูดว่าเรามีหนี้กองทุนน้ำมันนั้น ต้องเข้าใจก่อนว่า เรามีรายรับจากอะไรบ้าง และ รายจ่ายจากอะไร ดูได้จาก
http://webboard.seri...150#entry381083

ที่เอามาจาก รายงาน

http://www.efai.or.t...heoil-money.htm

เงินชดเชยราคาก๊าซ LPG ที่นำเข้าจากต่างประเทศ
หลังจากสร้างโรงแยกแก๊สธรรมชาติหน่วยที่ 6 และเดินเครื่องเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องนำเข้าแก๊ส LPG อีก เพราะทำให้ได้แก็ส LPG เพียงพอใช้ในประเทศสำหรับทุกภาคส่วน ตรงตามวัตถุประสงค์ในการสร้างโรงแยกแก๊ส ครบ 6 โรง ทั้งๆที่ยังไม่ได้รวมโรงแยกแก๊สที่สงขลาเข้าไปเลย

เงินชดเชยราคาก๊าซ LPG ที่ผลิตโดยโรงกลั่นน้ำมันภายในประเทศ
LPG จากโรงแยกแก๊สเพียงพอแล้ว ไม่จำเป็นต้องใช้จากโรงกลั่นอีกต่อไป

เงินชดเชยราคาขายปลีก NGV
เงินชดเชยส่วนลดค่าก๊าซธรรมชาติจากการเพิ่มกำลังการผลิดไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าขนอม

ต้นทุนของแก๊สธรรมชาติต่ำกว่าราคาที่ขายอยู่ ไม่ได้ขายขาดทุนตามอ้าง ก็ไม่จำเป็นต้องชดเชยอีกต่อไป

เงินชดเชยน้ำมันเชื้อเพลิงประเภทต่างๆ
เงินชดเชย ตามมาตรการปรับลดราคาขายปลีกน้ำมัน

ต้นทุนของน้ำมันประเภทต่างๆที่ต้องชดเชยต่ำกว่าราคาขายอีกเช่นกัน ก็ไม่จำเป็นต้องชดเชยอีกต่อไป ต้นทุนของแก๊สโซออล ดูได้จาก
http://webboard.seri...200#entry464834

จึงสรุปได้ว่าการให้ข้อมูลที่ผิด นำมาซึ่งความเข้าใจผิดได้ว่า จำเป็นต้องมีการชดเชย LPG และ น้ำมันบางประเภทข้างต้น ซึ่งป็นเหตุให้มีการตั้งกองทุนน้ำมันขึ้น รัฐบาลทราบข้อเท็จจริงแล้วก็ควรยกเลิกเสีย ตามนโยบายที่ให้ไว้ตั้งแต่ตอนหาเสียง ความจริงแล้วรัฐบาลน่าจะเห็นตั้งแต่แรกแล้ว จึงเขียนนโยบายขึ้นมา แต่เมื่อเป็นรัฐบาลก็เปลี่ยนไป จะเป็นด้วยได้รับข้อมูลเท็จจากข้าราชการบางคนในกระทรวงพลังงาน หรือเห็นผลประโยชน์อันมหาศาลจะได้รับจากเอกชน จนไม่อาจทำตามนโยบายที่เคยให้ไว้ได้

Edited by Stargate-1, 29 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 21:35.

Tam-mic-ra ฟันธง!  คำว่า "โดนพริกไทยมั๊ง" น่ะ แค่นี่เอามาเป็นหลักฐาน ได้ยังไงครับ .....  คิดครับคิด  :lol:   จากกระทู้แก้ข่าวหน้า 2 qoute #96  ใครยิงวสันต์-ภู่ทอง   แอลพีจีทำมาจากซี2ซี3





ผู้ใช้ 1 ท่านกำลังอ่านกระทู้นี้

สมาชิก 0 ท่าน, ผู้เยี่ยมชมทั่วไป 1 ท่าน และไม่เปิดเผยตัวตน 0 ท่าน