”เรียนท่านผู้ดูแลเวป
ท่านลองอธิบาย คำว่า "หาเสียงข้างมากมิได้" คืออะไร ? คือไม่มีเสียงข้างมากใช่หรือไม่ ?
อธิบายคำว่า "ให้ผู้พิพากษาที่เห็นเป็นผลร้ายแก่จำเลยมากกว่า ยอมเห็นด้วยผู้พิพากษาซึ่งมีความเห็นเป็นผลร้ายแก่จำเลยน้อยกว่า" หมายความว่าอย่างไร ?
พูดกันง่ายๆ แบบชาวบ้านๆ
หลักกฎหมายไทย
ถ้าสิ่งใดยังเป็นที่เคลือบแคลงสงสัยในคดี
ศาลจะยกประโยชน์ให้จำเลย เพราะผู้พิพากษาท่านก็ไม่ได้อยู่ในเหตุการณ์นั้นด้วย ท่านดูตามหลักฐานเอกสาร
ถ้าท่านอ่าน มาตรานี้ให้จบ
กฎหมายบัญญัติไว้ว่า ถ้ามีเสียงเท่ากัน ก็ถือว่าเป็นเหตุแห่งความสงสัย ไม่เป็นเอกฉันท์
ผู้พิพากษาเจ้าของสำนวน (ประธาน) ต้องยอมเห็นคล้อยไปกับผู้พิพากษาที่มีความเห็นเป็นผลร้ายแก่จำเลยน้อยกว่า..
เพราะยังเป็นข้อสงสัย ต้องยกประโยชน์ให้จำเลย
ผมมีความเห็นดังนี้ ท่านว่าอย่างไร ?
ปล.ผมไม่ใช่คนรักทักษิณ แต่ผมเห็นใจทักษิณ
ต้องยอมรับว่า ท่านมั่วกฎหมายได้เก่งจริงๆ
หาเสียงข้างมากมิได้ ก็คือ ได้เท่ากันนั่นแหละ
แต่นั่นมันต้องพิจารณาจากเสียงขององค์คณะทั้งหมดหลังจากลงมติแล้ว
ไม่ใช่ไปหักเสียงของเจ้าของสำนวนทิ้งแล้วบอกว่าได้เท่ากัน
คุณพยายามจะแถว่าได้ 4-4 เลยต้องใช้วรรค 2 มาช่วย
ซึ่งมันไม่ใช่ เพราะเจ้าของสำนวนยังไม่ลงมติ ไอ้ 4-4 นั่นก็ไม่ใช่ผลการลงมติ
ผลการลงมติคือ 5-4
และหลักสำคัญคือ ผู้พิพากษาทุกคน ต้องมีความเห็นของตัวเองนะครับ
ไม่ใช่ประธานไปดูคำตอบของ 8 คน แล้วค่อยกลับบ้านไปเขียนคำวินิจฉัยของตัวเอง
อันนั้นมั่วครับ
การยอมตาม โดยปกติ ผู้พิพากษาส่วนน้อย ก็ยอมตามเสียงส่วนมากอยู่แล้ว
คือก็มีความเห็น มีคำวินิจฉัยส่วนตนเหมือนกัน แต่ว่าก็ยอมตามเสียงส่วนใหญ่
ถึงแม้จะขัดกับคำวินิจฉัยของตัวเองก็ตาม
และการยอมตามในที่นี้ ไม่ได้หมายความว่า ยอมมีคำวินิจฉัยไปในทางอื่นนะครับ
คำวินิจฉัยส่วนตนยังคงอยู่ทุกคน แต่ว่ายอมให้ทำตามมติของเสียงส่วนใหญ่
แต่ถ้าเท่ากันจริงๆ จึงจะใช้วรรค 2 คือให้ดำเนินการไปในทางที่มีผลเสียน้อยกว่า
และต้องย้ำว่า เท่ากัน จะต้องพิจารณาจากองค์คณะทั้งหมด
ไม่ใช่ลงมติยังไม่เสร็จ ก็ทะลุกลางปล้องอ้างวรรค 2 ขั้นมา ทำไม่ได้ครับ
(ดีนะท่านไม่บอกว่าตอนที่ 1-1 ก็ต้องใช้วรรค 2 แล้ว
)
และหลักใหญ่คือทุกคนจะเขียนคำวินิจฉัยมาเอง แล้วมาสรุปกันในที่ประชุมครับ
ไม่มีการมาดูของคนอื่นแล้วค่อยไปเขียนของตัวเอง
ส่วนเรื่องเหตุแห่งความสงสัย นั่นเป็นเรื่องของการพิจารณาคดีครับ
ไม่เกี่ยวกับการประชุมเลย
และผมอยากขอร้องครับ กฎหมายเป็นรากฐานสำคัญของประเทศ
การใช้กฎหมายมั่วๆ ไปปลุกปั่นยุงยงคนที่ไม่รู้เรื่อง มันคือการบ่อนทำลายประเทศโดยทางอ้อม
คุณจะด่าใครชั่วช้าเลวทราม หรือไปชุมนุมกี่แสนกี่ล้านคน ถ้าไม่มีใครเดือดร้อนก็ทำไปเถอะผมเฉยๆ
แต่กฎหมายมันเขียนไว้ชัดก็ขอร้องว่าอย่าไปบิดเบือนให้มันเสียไป
โดยอาศัยว่าคนส่วนใหญ่ไม่รู้ชัดว่ากฎหมายบัญญัติไว้อย่างไร