Jump to content


Photo
- - - - -

สมคิด เลิศไพฑูรย์ เห็นด้วยกับ"จำนำข้าว" ในแง่ "ประเทศใดมีสินทรัพย์ใดที่สำคัญ ต้องทำให้สินทรัพย์นั้นราคาสูง"


  • Please log in to reply
59 ความเห็นในกระทู้นี้

#51 อู๋ ฮานามิ

อู๋ ฮานามิ

    สมาชิกหน้าเก่า

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 12,018 posts

ตอบ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 14:22

กระทู้ปลอดแดง ?

ถึงผมจะเป็นคนหัวขบถ แต่ไม่คิดทรยศบุญคุณแผ่นดินเกิด

 

เสียงส่วนใหญ่ของประชาชน ไม่ใช่ใบอนุญาตทำร้ายประเทศชาติ


#52 samin

samin

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 323 posts

ตอบ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 14:25

สำหรับผม... นโยบาย 2 สูงเป็นหนึ่งในนโยบายที่ไม่ควรเอามาใช้ในประเทศไทยอย่างเด็ดขาด
เหตุผลคือ เศรษฐกิจของประเทศไทยไม่ได้ใช้เทคโนโลยีระดับสูงในการขับเคลื่อนการผลิตเป็นหลัก ตามปกติเราเป็นผู้รับจ้างผลิตมากกว่า
ต่อให้เรามีเทคโนโลยีระดับสูงของตนเองแบบญี่ปุ่น หรืออเมริกาผมก็ไม่เห็นด้วย
เนื่องจากในคนประเทศเหล่านี้มีค่าแรงที่สูงมากเกินไปจะทำให้เศรษฐกิจขับเคลื่่อนได้ยากจนทำให้เกิดคนตกงานจำนวนมาก เพราะไม่มีใครจ้างเนื่องจากค่าแรงแพง
ขนาดประเทศจีนซึ่งตอนนี้มีเทคโนโลยีระดับสูงอยู่เป็นจำนวนมาก ยังพยายามทำให้ค่าแรงและค่าเงินถูกลง ไม่งั้นเศรษฐกิจจีนมีปัญหาแน่
(แม้ว่าประเทศจีนช่วงนี้เริ่มมีการปรับค่าแรงบ้าง แต่เป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป ไม่ใช่ขึ้นพรวดเดียว 300 บาท 15,000 บาท)
อีกเหตุผลหนึ่งคือ การเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ย่อมทำให้เกิดการย้ายทุนได้อย่างอิสระ
ประเทศที่น่าสนใจคือประเทศพม่าเพิ่งเปิดประเทศ แม้ว่าสาธารณูปโภคยังไม่ดีเท่าไทย แต่เนื่องจากมีเขื่อนผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยตนเอง มีค่าแรงถูก มีวัตถุดิบหลายๆ อย่าง
การย้ายลงทุนจากไทยไปพม่าย่อมเกิดขึ้นแน่นอนเพราะค่าแรงงานไทยแพง เมื่อมีการย้ายโรงงานแบบนี้ รัฐบาลจะหาเงินด้วยการเก็บภาษีได้เหมือนเดิมหรือ?

ส่วนเรื่องการจัดตั้งกลุ่มการกำหนดราคาข้าว ปัญหาที่ผมเห็นคือ ไม่มีการจัดตั้งกลุ่มการกำหนดราคาข้าวอย่างจริงจัง แล้วมาใช้นโยบายจำนำข้าวแบบนี้ มันจะเจ๊งก็ไม่แปลกครับ (ไม่เจ๊งสิแปลก)
เอาเป็นว่า สมมุติมีการจัดตั้งกลุ่มกำหนดราคาข้าวแล้ว กำหนดให้ข้าว A จากเดิมราคา 10 เป็น 20 บาท พุ่งขึ้นเท่าตัว สิ่งที่จะเกิดขึ้นคือ ประชาชนประท้วงเพราะค่าอาหารแพงแบบเดียวกับประท้วงเรื่องราคาน้ำมัน
สำหรับการขึ้นราคา ผมขอยกตัวอย่างผลิตภัณฑ์พวกข้าวตัง... เออ...เอาเป็นว่ายกตัวอย่างข้าวผัด จากราคาเดิม 30 บาท เป็น 40-50 บาททั้งประเทศ บวกค่าแรงของพนักงานที่เพิ่มขึ้น รวมทั้งหมดเป็น 60 บาท
ดังนั้น แม้ว่าค่าแรงจะสูงขึ้น ค่าใช้จ่ายก็สูงตาม มันก็ไม่ได้ช่วยอะไรเท่าไรเลยครับ แถมทำให้การท่องเที่ยวไทยซบเซาเพราะชาวต่างชาติต้องจ่ายเงินมากขึ้นเพื่อมาเที่ยวในประเทศไทย...
เผลอๆ คนอาจเลิกนิยมทานเข้ามาทานอย่างอื่นแทน เหมือนรถที่ใช้น้ำมัน หันมาใช้ก๊าซหรือพลังงานไฟฟ้าแทน เพราะราคาถูกกว่า...
ผมว่าถ้าจะรวมตัวกำหนดราคาข้าวจริงๆ การกำหนดราคาข้าวไม่ควรสูงเกิน 25% จากการขายข้าวราคาปกติทั่วไปครับ ไม่งั้นเกิดผลกระทบกับคนทั่วไปแน่ๆ

อันที่จริงถ้าอยากช่วยชาวนา ผมแนะนำให้รณรงค์ลดต้นทุนการทำนา งดใช้เครื่องจักรราคาแพง งดใช้ปุ๋ยเคมี งดใช้ยาฆ่าแมลง วิจัยพันธุ์ข้าวให้มีคุณภาพ เอาแบบเวียดนาม
ซึ่งผมเชื่อว่ามันเป็นการที่ทำให้คุณภาพชีวิตของชาวนาดีขึ้นแน่ๆ ครับ...
/人◕ ‿‿ ◕人\

คุณพูดทุกสิ่งที่ตรงกับใจและความคิดผมเลยครับ

#53 ผึ้งน้อยตุหรัดตุเหร่

ผึ้งน้อยตุหรัดตุเหร่

    หน้าตาดี มีอุดมการณ์

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 21,670 posts

ตอบ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 14:27

อาทิตย์ที่แล้วเคยดูรายการช่อง tpbs ที่ไปถ่ายทำสัมภาษณ์ในเวียดนาม เรื่องข้าว
เวียดนามเขาเริ่มโครงการนี้ เมื่อปี 2548 ผ่านมา 7 ปี เขาประสบความสำเร็จพอสมควร
เขาใช้ นโยบาย 3เพิ่ม 3ลด และประกันราคาข้าวให้ชาวนาควบคู่กันไป โดยประกันว่าชาวนาจะได้กำไรไม่ต่ำกว่า 30%
ถ้าราคาข้าวตลาดโลกดี ชาวนาก็จะได้กำไรมากกว่า 30% แต่ถ้าราคาตลาดโลกตกต่ำ ชาวนาก็จะไม่ขาดทุนแน่นอน

นโยบาย 3เพิ่ม 3ลด ของเขาก็รณรงค์และสื่อสารไปสู่ชาวนาให้ปฏิบัติตามอย่างจริงจัง
3ลด ก็คือ ลดต้นทุนลง โดย ลดการใช้การปุ๋ยเคมี ลดยาฆ่าแมลง ลดการใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวลง (ถ้าหว่านเมล็ดพันธุ์มากเกินไป ไม่ได้ช่วยให้ได้ข้าวมากขึ้น แต่ต้นข้าวจะขึ้นอัดกันแน่นเกินไป และง่ายต่อการเกิดโรค)
3เพิ่ม ก็คือ การเพิ่มกำไร โดย เลือกใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวให้เหมาะสมกับดินและพื้นที่เพาะปลูก อะไรทำนองนั้น เจ้าหน้าที่วิจัยพันธุ์ข้าวเขาให้ความรู้กับชาวนาโดยพาชาวนาทัวร์แปลงวิจัย

สรุปแล้ว คือ ชาวนาเวียดนาม เขาสามารถปลูกข้าวได้ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร สูงมาก สูงกว่าไทย 2เท่า และต้นทุนการปลูกข้าวของเขาก็ต่ำมากเมื่อเปรียบเทียบกับชาวนาไทย ผมจำตัวเลขไม่ได้ว่าเท่าไหร่ แต่ถ้าคิดเป็นจำนวนเท่า ชาวนาเวียดนามใช้ต้นทุนต่ำกว่าไทยประมาณ 3 เท่าตัว

ในเมื่อต้นทุนการผลิตน้อยลง และผลผลิตต่อไร่ ก็ได้เพิ่มขึ้น อย่างนี้ ราคาข้าวตันละเท่าไหร่ ชาวนาก็ได้กำไรครับ

อาจจะไม่ตรงประเด็นกับหัวกระทู้ แต่ผมเห็นว่ามันเกี่ยวกับเรื่องข้าวเหมือนกัน ก็เลยเอามาแชร์น่ะครับ


ได้ความรู้อย่างยิ่งเลยครับท่าน ขอบคุณมากๆครับ
ไลค์หมดแล้ว จึงได้ให้ใจแทนนะครับให้ใจเธอนะ emo.gif
gladiator 1.jpg

 

 

 

 

 

 


#54 isa

isa

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 447 posts

ตอบ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 15:08

ถ้าระดับอธิการบดีออกมาให้ความเห็นแบบนี้ ผมก็ว่าธรรมศาสตร์สิ้นหวังแล้วล่ะครับ

ทฤษฎีสองสูงมันมีจุดอ่อนตั้งแต่แรก แต่เถ้าแก่ซีพีไม่ยอมบอก หรือไม่ยอมมองตั้งแต่แรก หรือมองข้ามไปอย่างน่าเตะ เพราะถือว่าไม่เกี่ยวกับกรู
แต่คนที่เป็นรัฐบาลต้องคิดก็คือ

- ประชาชนนั้นไม่ได้ประกอบด้วยคนที่มีอาชีพและมีรายได้เท่านั้น แต่ประกอบด้วย
1. ชายหญิงในวัยทำงาน
2. เยาวชนวัยทารกไปจนถึงวัยรุ่นก่อนทำงาน ในสมัยที่เรายังเป็นสังคมเกษตร เยาวชนที่อายุ 10 ขวบขึ้นไปก็มีส่วนร่วมในการผลิต แต่ปัจจุบัน ตราบใดที่เยาวชน
ยังไม่มีการทำงานรูปแบบใดๆ ไม่ว่าจะเป็นงานประจำหรืองานนอกเวลา ก็ถือว่าเป็นผู้ไม่มีรายได้
3. ผู้สูงอายุที่ไม่มีรายได้อีกต่อไป แต่อาศัยรายได้จากรัฐอย่างบำเหน็จ บำนาญ หรือเงินสะสมก่อนเกษียณในกรณีของพนักงานบริษัท หรือบางรายอาจมีกิจการของตัวเอง
จากนโยบายเออร์ลี่รีไทร์ของรัฐบาล ทำให้กลุ่มผู้สูงอายุเหล่านี้มีเพิ่มขึ้น และหลายๆรายสตาร์ทตั้งแต่อายุ 50 กว่าๆก็มี เหล่านี้คือภาระของสังคมที่จะต้องดูแล และสังคมไทย
ที่เริ่มก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ทำให้สัดส่วนของพลเมืองกลุ่มนี้มีแต่จะสูงขึ้นๆ และจะกินรายจ่ายมากขึ้นในการดูแลรักษาสุขภาพ

ขณะที่พลเมืองกลุ่มที่ 1 อาจจะมีจำนวนแค่ไม่ถึง 1 ใน 3 ของพลเมืองทั้งหมดของประเทศ ซ้ำร้าย พลเมืองในกลุ่มที่ 1 หลายๆคนอาจจัดอยู่ในกลุ่มคนตกงาน คนไร้ความสามารถ
หญิงที่เป็นแม่บ้าน ไม่ประกอบอาชีพ รายได้ที่เพิ่มขึ้นก็ส่งผลประโยชน์ให้แก่พลเมืองกลุ่มแรกเท่านั้น แต่ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นนั้น ส่งผลต่อพลเมืองทั้งหมดของประเทศ
ไม่ว่าจะมีรายได้หรือไม่มีก็ตาม

และในเมื่อพลเมืองกลุ่มแรกทำหน้าที่โอบอุ้มพลเมืองอีก 2 กลุ่มที่เหลือ ไม่ว่าจะโดยทางตรง โดยการดูแลสมาชิกในครอบครัวด้วยรายได้ของตัวเอง
หรือโดยทางอ้อมผ่านภาษี ก็ลองคิดดูแล้วกันว่าขณะที่รายได้ x 1 แต่รายจ่าย x 3 แล้วจะเอาอะไรเหลือ

...เจ้าสัวงี่เง่าก็เป็นเรื่องปกติของคนค้าขายที่จะมองแต่กำไรตัวเอง ไม่มองอย่างอื่น แต่นักวิชาการระดับอธิบดี กลับคิดเรื่องแค่นี้ไม่ออก
ผมว่าการศึกษาไทยมันเข้าขั้นหายนะแล้วล่ะครับ -_-

#55 Et tu Brute?

Et tu Brute?

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 3,529 posts

ตอบ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 16:03

ถ้าสองสูงแล้วโดนเข้าไปแบบปี 40 จะกลับบ้านนอกไปเก็บผักจิ้มน้ำพริกไม่ได้แล้วนะจ๊ะ

ผักกำละร้อย ขายอย่างเดียว เงินมาผ้าหลุด ^_^

It's us against the world


#56 Bookmarks

Bookmarks

    มหาเมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 33,617 posts

ตอบ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 18:23

ไม่อยากจะเชื่อว่าแกจะแยกแยะ น้ำมัน กับ ข้าวไม่ออก แต่เชื่อว่า แก เห็นด้วยกับ การให้ราคาข้าวแพง เพราะแกอยากเห็นรัฐบาลนี้ พรรคนี้ มันชิบหายไปสักที

#57 ID007

ID007

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 2,055 posts

ตอบ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 18:50

รณรงค์ให้ควายแดงแดรกข้าววันละ กระสอบต่อคน แทนแดรกหญ้า ให้ได้ยังจะง่ายกว่า

ไอ้นโยบายป๊อกเด้ง รอคนอื่นเจ๊ง ค่อยขายนี่ หลอกควาย ชัดๆ

อยากเล่นการพนัน พวกมรึงก็ไปเข้าบ่อน แต่นี่เสรือกเอาเงินหลวง ภาษีกรูมาแทงหวยข้าว

แน่จริง เพาะฝูงตั๊กแตนปาทังก้า แล้วส่งไปแพร่พันธ์ ตามแหล่งปลูกข้าว

หรือจะออกแนวไสยศาสตร์ บนเทวดา พญานาคให้ปล่อยน้ำท่วม ฝนแล้ง ประเทศอื่น

ฮ่วย มันสมองมีแค่เนี้ย มาบริหารประเทศ

อ้อ แนะนำให้ จะให้ผูกขาดตลาดข้าว คุมราคาได้ชัวร์ๆ

แม่มรึงก็กู้เงิน เอาเงินส่วนตัวพวกมรึงด้วยนะ

ไปกว้านซื้อข้าวจากประเทศเพื่อนบ้านมาให้หมด แล้วรอขายคนเดียวเลย ดูดิ ผลจะเป็นยังไง

#58 คลำปม

คลำปม

    สลิ่มเต็มขั้นจ้า

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 3,657 posts

ตอบ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 19:03

ผมว่าคุณสมคิดแสดงทัศนคติเรื่องนี้เหมือนคุณสิ้นคิดเสียมากกว่า

อย่างที่เพื่อนสมาชิกหลายท่านแสดงความคิดเห็นไปแล้วครับว่าข้าวต่างจากน้ำมัน

น้ำมันนั้นประเทศที่ผลิตได้มีจำกัด เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีแต่จะหมดไป
กระนั้นก็ยังใช่ว่ากลุ่มโอเปคจะตั้งราคาน้ำมันได้ตามใจชอบ
ราคาน้ำมันก็ยังมีขึ้นมีลง ตามกลไกของการเก็งกำไรในตลาดซื้อขายล่วงหน้าอยู่ดี

การจะเอาข้าวไปเปรียบกับน้ำมันนั่นจึงเป็นเรื่องเบาปัญญามากเลยครับ

อย่าลืมว่าในอนาคตเพื่อนบ้านเราจะพัฒนาระบบชลประทานกันได้ดีขึ้น
เขมร, พม่า, ลาว ประเทศเหล่านี้เขาจะปลูกข้าวได้น้อยลงหรือ?

ไทยเราก็ยังปลูกข้าวกันมากขึ้น
(ยิ่งจากนโยบายจำนำข้าวยิ่งยั่วยุให้คนอยากปลูกกันโดยไม่ได้คำนึงถึงคุณภาพ ยังไงก็จำนำได้หมื่นต้นอยู่ดี)

ไทยเราจะกัดฟันดันราคาข้าวขึ้นไปสูงๆเพื่อให้ประเทศคู่แข่ง, ประเทศเพื่อนบ้านของเราขายดีไปทำไมครับ

เรื่อง 2 สูงมันจึงเป็นเรื่องที่มองจากฝั่งพ่อค้าที่อยากขายของกินของใช้ในประเทศเท่านั้นเอง
ลองไปถามโรงงานที่ต้องใช้แรงงานมากๆ (อย่างเช่นพวกการ์เมนท์)
ดูสิครับว่าเขามีปัญญาส่งออกไหม?
(ดับไปแล้วครับ เพื่อนผมก็เพิ่งย้ายโรงงานไปเวียดนาม)

ประเทศเราใช้นโยบาย 2 สูงไม่ได้หรอกครับ เราไม่ยูนีคพอที่ใครเขาจะต้องมางอนง้อซื้อของเรา

ผมเห็นว่าประเทศไทยควรใช้นโยบาย "สมดุล" มากกว่า

ตรงจุดไหนเรามีความเข้มแข็ง พัฒนาได้อีกรัฐบาลก็สนับสนุน ผลักดันให้คนเข้าสู่วงจรนั้นมากขึ้น

อย่างข้าวในตลาดโลกนี่ตีกันเละ อนาคตผู้ผลิตหน้าใหม่จะเติบโตขึ้นอีก การแข่งขันรุนแรงมาก
เราก็ควรถอยลง สนับสนุนให้เกษตรกรหันไปปลูกพืชชนิดอื่นบ้าง
ใส่เงินลงไปกับการสนับสนุนการปลูกข้าวให้น้อยลง

เรียกว่าเราแข็งแกร่งตรงไหนให้เสริมตรงนั้นครับ
ไม่ใช่ควักกระเป๋าจ่ายส่งเสริมเรื่องที่ยิ่งทำยิ่งขาดทุน
แบบนั้นมันต้องโง่ระดับมหากาฬที่ทำ
เรื่องนี้ตรงไปตรงมามากๆครับ

วิธีการยุติระบอบทักษิณ

ก็แค่เพียงทำให้คนไทยส่วนใหญ่ "ฉลาด"


#59 พ่อไอ้ร้อยล็อคอิน

พ่อไอ้ร้อยล็อคอิน

    เมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 6,450 posts

ตอบ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 19:29

อันที่จริงถ้าอยากช่วยชาวนา ผมแนะนำให้รณรงค์ลดต้นทุนการทำนา งดใช้เครื่องจักรราคาแพง งดใช้ปุ๋ยเคมี งดใช้ยาฆ่าแมลง วิจัยพันธุ์ข้าวให้มีคุณภาพ เอาแบบเวียดนาม
ซึ่งผมเชื่อว่ามันเป็นการที่ทำให้คุณภาพชีวิตของชาวนาดีขึ้นแน่ๆ ครับ...
/人◕ ‿‿ ◕人\


เจ้าสัววิ่งเต้นล้มโครงการสุดฤทธิ์แน่ <_<
อยากรู้ว่าประชาธิปไตยไทยเป็นแบบไหน ให้ดูการใช้รถใช้ถนนรู้จักกันแต่สิทธิ แต่ไม่เคยรู้จักหน้าที่ ในการปฏิบัติตามกฎระเบียบที่วางไว้

#60 ผึ้งน้อยตุหรัดตุเหร่

ผึ้งน้อยตุหรัดตุเหร่

    หน้าตาดี มีอุดมการณ์

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 21,670 posts

ตอบ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 01:51

ไทยเราก็ยังปลูกข้าวกันมากขึ้น
(ยิ่งจากนโยบายจำนำข้าวยิ่งยั่วยุให้คนอยากปลูกกันโดยไม่ได้คำนึงถึงคุณภาพ ยังไงก็จำนำได้หมื่นต้นอยู่ดี)


ที่ท่านคลำปมกล่าวมา น่ากลัวอย่างมากเลยครับ
ข้าวไร้คุณภาพ แต่ยังไงก็ขายได้ราคาดี........น่ากลัวที่สุดงเพราะเป็นการทำลายคุณภาพแบรนด์ในระยะยาว


อย่างข้าวในตลาดโลกนี่ตีกันเละ อนาคตผู้ผลิตหน้าใหม่จะเติบโตขึ้นอีก การแข่งขันรุนแรงมาก
เราก็ควรถอยลง สนับสนุนให้เกษตรกรหันไปปลูกพืชชนิดอื่นบ้าง
ใส่เงินลงไปกับการสนับสนุนการปลูกข้าวให้น้อยลง


ในหลวงทรงสอนเกษตรผสมผสานมาตลอด ทั้งทรงทำการทดลอง ทำตัวอย่างให้ดู มีโครงการพระราชดำริเผยแพร่
แต่..................ก็มิได้นำพากัน แห่ไปเชื่อไอ้หอกแม้ว

มีพระอยู่กับตัวไม่เชื่อ ไปเชื่อซาตานจากนรก
gladiator 1.jpg

 

 

 

 

 

 





ผู้ใช้ 0 ท่านกำลังอ่านกระทู้นี้

สมาชิก 0 ท่าน, ผู้เยี่ยมชมทั่วไป 0 ท่าน และไม่เปิดเผยตัวตน 0 ท่าน