มีบทบัญญัติตรงไหนบ้างที่นิรโทษกรรม คมช. การนิรโทษกรรมได้หมดสิ้นไปแล้วตามรัฐธรรมนูญปี 49 เพราะรัฐธรรมนูญ 49 ได้นิรโทษกรรม คมช.ไปแล้ว ในทางกฎหมายจึงไม่ต้องนิรโทษกรรม คมช.อีกต่อไป ยืนยันว่า มาตรา 309 มุ่งอุดช่องว่างของกฎหมายในปัญหากฎหมายที่อาจจะเกิดขึ้นเท่านั้น ไม่ได้ผิดหลักการการปกครองของประชาชน โดยประชาชน เพื่อประชาชน อย่างที่หลายคนได้พูดแต่ประการใด
นายสมคิด เลิศไพฑูรย์
คนนี้เถียงแทนผมไปนานแล้วครับ เคยอ่านบ้างไหม
เรียนคุณเพลิงสีนิล
ผมตอบ 2 ประเด็น
1.รธน.ชั่วคราว ได้นิรโทษคมช.ไปแล้วจริงๆอย่างที่ว่า แต่มาตรา 309 ที่ออกมานั้น เพื่อย้ำรธน.49 นั้นให้หนักแน่นขึ้นไปอีก
2.มาตรา 309 ยังใส่เพิ่มข้อความครอบคลุม "การกระทำใดๆ ไม่ว่าก่อนหรือหลัง ถือว่าชอบด้วยกฎหมายทังหมด" คุณจะตีความหมายว่าอย่างไร? ผมตีความหมายว่า อะไรที่ทำขึ้นถือว่าถูกต้องตามรัฐธรรมนูญ ไม่ว่าก่อนหรือหลัง คุณไม่สามารถเอาความผิดใครได้ หรือคณะรัฐประหารอาจจะกลับมายึดอำนาจก็ได้ ถือว่าไม่ผิดรัฐธรรมนูญ คือ "การใดๆ"
ส่วนที่มีเพื่อนสมาชิก บอกว่าแล้วหลังประกาศรัฐธรรมนูญรัฐบาลสมัครใช้รัฐธรรมนูญฉบับนี้
ใช่ครับ ! เพราะมีการเลือกตั้งปี 50 ไงครับ และการเลือกตั้งท่ามกลางทหารที่พยายามจะให้ชาวบ้านไปเลือกอีกพรรคหนึ่ง ที่ คมช.หมายตาไว้ แต่ก็ไม่เป็นไปตามนั้น เพราะพรรคพลังประชาชนชนะเลือกตั้งด้วยคะแนน 233 เสียง จึงต่อมาเป็นผลให้การบริหารงานของรัฐบาลติดขัด เพราะทหารไม่เอาด้วย..ประมาณนี้
ผมถึงบอกว่า รัฐธรรมนูญมาตรานี้ มันผิดหลักนิติรัฐ นิติธรรม และหลักสากล ทำไมนายอภิสิทธิ์จึงไม่หยิบประเด็นนี้ขึ้นมานำเสนอบ้าง แถมยังสนับสนุนให้ ใช้ ม.7 อีก จนถูกในหลวงทรงปฏิเสธ
ด้วยความเคารพ