เปปซี่ อเมริกา และ เอเซียแปซิฟิค เตรียมที่จะฟ้อง ศาล ในไทย และ ศาล ใน อเมริกา
ว่า เครื่องดื่ม เอส ของ กลุ่มทุนน้ำเมาไทย ลอกเลียนแบบ
รูปรสชาติ และ สารเคมีบางตัว ของ เปปซี่ อเมริกา
โดยขอให้ ศาล ในไทย และ ศาล ใน อเมริกา มีคำสั่งให้
1. สั่งระงับการโฆษณาและการขาย เครื่องดื่ม เอส ของ กลุ่มทุนน้ำเมาไทย ในตลาดเมืองไทย
2. เครื่องดื่ม เอส ของ กลุ่มทุนน้ำเมาไทย ชดใช้ค่าเสียหาย
แก่ เปปซี่ อเมริกา และ เอเซียแปซิฟิค จากการละเมิดลิขสิทธิ์ ตามความเสียหายจริง
คดีแบบนี้ ก็จะคล้ายๆกับ มือถือ APPLE ฟ้อง มือถือ SAMSUNG ต่อ ศาล ใน อเมริกา
เรื่องนี้น่าสนใจ เพราะหากเปปซี่ต้องการที่จะฟ้องในศาลไทยหรือศาลอเมริกาเพื่อร้องขอให้มีการระงับการขายเครื่องดื่มเอสในตลาดเมืองไทยและให้ชดใช้ค่าเสียหาย เพราะสูตรของหัวเชื้อน้ำดำน่าจะเป็นความลับทางการค้า ไม่ใช่เรื่องลิขสิทธิ์หรือสิทธิบัตร เพราะลิขสิทธิ์ควรเป็นเรื่องเกี่ยวกับการลอกเลียนแบบตราสัญลักษณ์ สีหรือรูปรอยต่างๆ ส่วนสิทธิบัตรนั้นก็ไม่น่าใช่อีกเพราะในการจดสิทธิบัตรต้องนำสูตรไปจดทะเบียน และถ้าเกิน 25 ปีแล้วก็ไม่ได้รับความคุ้มครองอีก ตามข้อเท็จจริงแล้วน่าจะเป็นเรื่องความลับทางการค้าที่ไม่ต้องไปจดทะเบียนก็สามารถใช้บังคับโดยไม่จำกัดเวลา
หากเปปซี่มาฟ้องในศาลไทยว่ามีการละเมิดความลับทางการค้า สูตรหัวเชื้อก็จะไม่เป็นความลับอีกต่อไปเพราะต้องมีการนำสืบแสดงสูตรของตนในชั้นพิจารณาคดีเพื่อแสดงให้เห็นว่า เอส ลอกเลียนแบบสูตรอย่างไร การพิจารณาในศาลไม่เป็นความลับ ข้อมูลการนำสืบก็อาจเผยแพร่ต่อสาธารณะได้
การฟ้องศาลในสหรัฐอเมริกาอาจจะเป็นวิธีที่เหมือนดูดี เพราะศาลสหรัฐฯ น่าจะมีคำพิพากษาที่เป็นประโยชน์กับโจทก์ซึ่งมีสัญชาติเดียวกัน แต่ปัญหาต่อไปก็คือการบังคับคดีเพราะคำพิพากษาของศาลในประเทศหนึ่งไม่สามารถไปบังคับคดีในอีกประเทศหนึ่งได้เว้นแต่ว่าจะมีข้อตกลงระหว่างประเทศ (ซึ่งประเทศไทยไม่ได้ทำข้อตกลงเรื่องการบังคับคดีตามคำพิพากษาศาลต่างประเทศกับประเทศใดเลย) เมื่อ เอส ไม่ได้ทำตลาดในประเทศสหรัฐฯ และไม่มีทรัพย์สินใดในสหรัฐฯ เปปซี่ก็อาจเป็นฝ่ายชนะคดีตามคำพิพากษา แต่ไม่สามารถบังคับคดีได้ตามความเป็นจริง (อาจทำได้หากบริษัทผู้ถือหุ้น เอส เข้าตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ และสิงคโปร์ยอมรับที่จะบังคับตามคำพิพากษาของสหรัฐฯ แต่ในทางปฏิบัติยังไม่ชัดเจนว่าสิงค์โปร์จะยอมรับบังคับตามคำพิพากษาของศาลต่างประเทศหรือไม่) กรณีนี้แตกต่างจากข้อพิพาทระหว่าง Apple และ Samsung เพราะว่าสินค้าของ Samsung นั้นทำตลาดในสหรัฐฯ และทั่วโลก เมื่อ Apple ชนะคดีที่ศาลสหรัฐฯ จึงบังคับตามคำพิพากษาให้ Samsung ระงับการจำหน่ายบางโมเดลในสหรัฐฯ ได้ แต่น้ำดำ เอส ไม่ได้ทำตลาดในสหรัฐแต่อย่างใด
สุดท้ายเพื่อไม่ให้มีความเสียหาย ทั้งสองฝ่ายอาจต้องมาเจรจาตกลงค่าเสียหาย และอาจเจรจาถึงการกระจายสินค้าในไทยและภูมิภาคอาเซียนก็ได้ครับ