ค่าแรงขั้นต่ำสามร้อยบาททำให้สร้างปัญหาจริงหรือ
Posted by เสี้ยนใผ่ในมัดตอก, ผู้อ่าน : 477 , 19:46:31 น.
รัฐบาลประกาศขึ้นค่าแรงสามร้อยบาททั่วประเทศตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.56 นี้ หลังจากขึ้นไปแล้ว เมื่อ 1 เม.ย.55 ค่าจ้างแรงงานเพิ่มขึ้นตั้งแต่ 79 บาท ถึง 63 บาท http://www.lm-south.org/content/salary
การเพิ่มค่าแรงครั้งนี้ทำให้ค่าแรงเพิ่มขึ้นตั้งแต่ 27-73 บาท (เทียบจากตารางข้างบน) จะเห็นได้ว่าการขึ้นค่าแรงครั้งนี้ไม่ได้ขึ้นมากกว่าครั้งที่ผ่านมา
การประเมินผลจากการขึ้นค่าแรงครั้งที่ผ่านมาไม่ได้ทำให้เอสเอ็มอี (ตอนแรกฉันนึกว่าเอสเอ็มอีก็คือพวกโรงงานหรือร้านค้าเล็ก ๆ แต่เห็นพูดกันคือ 50 ล้าน 200 ล้าน หรือคนงานก็ต้องระดับ 50 คน) เกิดปัญหาอย่างที่หลายคนวิตกกังวล (การขึ้นค่าแรงครั้งที่แล้วมีโรงงานตั้งปิดกิจการแค่แห่งเดียว) และเกิดผลเสียทางเศรษฐกิจของประเทศอย่างที่หลายคนวิตกกังวล
http://www.matichon....pid=01&catid=01
แต่มีหลายคนแม้ไม่ใช้ผู้ประกอบการก็ดูจะไม่เห็นด้วยกับการขึ้นค่าแรง 300 บาทนี้ บางคนบอกว่า “ใช้สมองสุนัขปัญญากระบือคิด” ฉันก็ไม่รู้ว่ากลุ่มบุคคลเหล่านี้พูดเพราะไม่เห็นด้วยกับนโยบายนี้หรือว่าเพราะเกลียดรัฐบาลนี้กันแน่
แต่ฉันเห็นด้วยกับนโยบายนี้เพราะเคยเป็นสาวโรงงานมาก่อน เช่น บ.CRC ครีเอชัน ปัจจุบันคือ FN หรือฟลายนาว ตอนนั้นค่าแรง 85 บาท บ. เวิลด์เบดดิ้งที่เคยมีข่าวรถตกเหวที่เมืองกาญจน์ แต่ 2 โรงงานนี้ไม่ค่อยมีโอก็ทำให้ต้องดิ้นรนไปทำโรงงานปลากระป๋องบ้าง กุ้งบ้างที่มหาชัย (และเจ้าของโรงงานที่ฉันทำอยู่ตอนนี้ก็มีกำไรเหลือไปเปิดรีสอร์ทเป็นงานอดิเรก)
ในอดีตการขึ้นค่าแรงจะขึ้นตามอัตราเงินเฟ้อ สมมุติว่าปีนี้เงินเฟ้อ 3% ค่าแรงก็ขึ้น 3% เท่ากับว่าค่าแรงไม่ได้ขึ้นเป็นอย่างนี้เป็นสิบ ๆ ปีไม่มีการเปลี่ยนแปลงแนวคิดต่างไปจากนี้เลย คนงานจึงต้องอาศัยการทำงานนอกเวลา (โอ) เพื่อเพิ่มรายได้ให้ตนเอง ถ้าไม่มีโอก็แทบไม่เหลือถ้าเจ็บป่วย (แม้จะมีประกันสังคม) ก็ต้องมีค่าเดินทาง ค่าอาหาร ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ถ้ามีลูกค่าใช้จ่ายยิ่งเพิ่มขึ้นอีกทั้งค่าเทอม ค่าเสื้อผ้า ค่าหนังสือ ค่ากิจกรรม ค่าใช้จ่ายรายวันที่ต้องให้ลูกไปเรียน ยังมีค่าใช้จ่ายอื่นอีกจิปาถะเรียกว่าค่าแรงขั้นต่ำที่ได้จะใช้ได้ไปแค่เดือน ๆ หนึ่งเท่านั้น ไม่มีโอกาสลืมตาอ้าปาก เมื่อแก่ตัวลงก็ไม่มีอะไร จะรอให้ถึงเกษียณบริษัทก็หาทางบีบให้ออกเพราะผู้มีอายุประสิทธิภาพการทำงานจะลดลง
นโยบายนี้จะมีใครว่าเป็นนโยบายหาเสียงแต่ก็ทำให้คนจนได้มีชีวิตที่ดีขึ้น เงินที่เพิ่มขึ้นนี้ก็ไม่ได้มากจนทำให้ผู้ใช้แรงงานรวยขึ้นเพียงแค่ทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้นเท่านั้น ส่วนนายทุนก็แค่กำไรลดลง แต่ถ้าเทียบกับที่เคยอาศัยแรงงานถูก ๆ สร้างความร่ำรวยให้มาตลอดนั้นไม่มีนายทุนคนใดคิดถึงเลย แค่คนงานประท้วงหยุดงานสองสามวันยังทำให้บริษัทขาดรายได้จนบ้างบริษัทต้องเลิกกิจการไป
จะเห็นว่าลูกจ้างนั้นมีความสำคัญต่อกิจการมากแค่ไหน แต่หลายคนกับมองไม่เห็นความสำคัญคิดแต่จะเอารัดเอาเปรียบอยู่ตลอดเวลา การจะหาคนงานที่มีความจงรักภักดีนายจ้างก็ต้องให้ความจงรักภักดีต่อลูกจ้างเช่นกัน ความเป็นมนุษย์นั้นมีค่าเท่าเทียมกันต่างกันที่โอกาสเท่านั้นไม่เท่ากัน และที่สำคัญรู้บ้างไหมว่า ลึก ๆ แรงงานเหล่านี้ไม่ได้อยากเป็นลูกจ้างอย่างนี้ไปตลอดชีวิต ถ้ามีทางไป อย่าว่าแต่วันละ 300 บาทเลย วันละ 3000 บาทก็ไม่เอา เพราะคำว่า “ลูกจ้าง” จริง ๆ แล้วก็ไม่ได้ต่างกับคำว่า “ขี่ ข้ า” สักเท่าไหร่