จี้รัฐบาลแก้มือจัดการน้ำพลาด
นายวีระ วงศ์แสงนาค อดีตรองอธิบดีกรมชลประทาน ในฐานะปรึกษากรมชลฯ เปิดเผยว่า สาเหตุที่ปริมาณน้ำในเขื่อนช่วงหน้าแล้งของปีนี้ มีน้อยเกินไป จนเป็นสาเหตุของการเกิดปัญหาภัยแล้งนั้น เพราะระบายน้ำออกจากเขื่อนในช่วงหน้าฝนมากเกินไป เพราะรัฐบาลประกาศไปแล้วว่าปี 55 จะมีน้ำท่วมอีกไม่ได้ ซึ่งเมื่อเลือกการบริหารน้ำแบบสุดขั้ว ไม่ให้มีน้ำท่วมเลยก็ต้องเผชิญกับปัญหาน้ำแล้งตามมา เพราะสภาพภูมิประเทศของประเทศไทย โดยเฉพาะภาคกลางเป็นพื้นที่ราบลุ่ม ตั้งอยู่ในเขตมรสุมจะไม่ให้เกิดน้ำท่วมเลยคงทำไม่ได้
ดังนั้น การบริหารน้ำในเขื่อนก็ต้องยอมรับสภาพความจริงของพื้นที่ว่า พื้นที่ใดเป็นพื้นที่สำคัญต้องไม่ให้ท่วม ส่วนพื้นที่ท่วมซ้ำซาก เป็นสภาพปกติธรรมชาติ เช่น อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก หรือพื้นที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาใน จ.พระนครศรีอยุธยา ก็ต้องยอมรับว่าท่วมได้ ถ้าไม่ให้ท่วมเลยก็ต้องเจอกับภัยแล้งอย่างในปัจจุบัน
“นักวิชาการ ที่นั่งอยู่ในคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย(กบอ.) ควรรับฟังความเห็นของเจ้าหน้าที่ชลประทาน ในฐานะเป็นผู้มีประสบการณ์ รวมทั้งฝ่ายการเมืองไม่ควรไปกดดันเจ้าหน้าที่จนเกินไป”
นายวีระ กล่าวว่า รัฐต้องระมัดระวังและใช้น้ำที่มีในเขื่อน จะฟุ่มเฟือยไม่ได้ โดยเฉพาะภาคกลางที่ปริมาณน้ำในเขื่อนค่อนข้างตึงตัวและภาคอีสานที่กำลังขาด แคลนน้ำ เพราะประเทศไทยมีฤดูแล้งยาวนานกว่าฤดูฝน โดยมีฤดูแล้งตามปฏิทินหน่วยงานราชการ 6 เดือน คือตั้งแต่เดือน พ.ย.ไปจนถึงเดือน เม.ย.ของปีถัดไป แต่ในหลักการบริหารน้ำ ช่วงต้นฤดูฝน 2 เดือนแรก คือ เดือน พ.ค.-มิ.ย.ทุกปี ฝนที่ตกยังเบาบางหรือที่ชาวบ้านเรียกฝนช่อมะม่วง ไม่ได้ช่วยเพิ่มปริมาณน้ำในเขื่อนมากนัก จึงอาจนับว่าฤดูแล้งของไทยยาวนานถึง 8 เดือน
“หากไม่ระมัดระวังการ ใช้น้ำในเขื่อนที่มีอยู่วันนี้ แล้วหน้าฝนปี 56 เกิดฝนมาล่าช้าหรือฝนตกน้อย จะกลายเป็นความแห้งแล้งยาวนาน ซึ่งปัญหาการขาดแคลนน้ำน่ากลัวกว่าน้ำท่วม เพราะคนอาจแย่งน้ำกันจนก่อความรุนแรงได้ รัฐบาลต้องเตรียมรับมือภัยแล้งอย่างเป็นระบบ”.
ปีที่แล้วท่วม ปีนี้แล้งยาวถึงกลางปีหน้าหรือกว่านั้น...........
แต่ข้าวดันมีมากกว่าช่วงน้ำดี????
บริหารจัดการดีจริงๆเสียนี้กระไร
Edited by sigree, 6 ธันวาคม พ.ศ. 2555 - 22:58.