ผมพยายามทำความเข้าใจจขกท. คาดเดาสิ่งที่เขาไม่เข้าใจ ซึ่งจริงๆคุณโทนี่ได้ให้เหตุผลไว้แล้วตั้งแต่ rep แรก แต่จขกท.ก็ยังไม่เข้าใจ คงเป็นเพราะยังไม่มีการอธิบายที่ชัดเจน
ผมจะขอโอกาสทำความเข้าใจกับจขกท. อีกครั้ง เพราะถ้าเรายังไม่เข้าใจจุดนี้ก็พูดคุยกันต่อไปได้ยาก แต่หากยังไม่เข้าใจก็คงต้องรบกวนท่านอื่นมาอธิบายละกัน อย่างน้อยก็ลดประเด็นที่ถกเถียงกันได้บ้าง ไม่ต้องพายเรือในอ่างอีก เพราะเท่าที่ดูมา คำถามต่างๆเกิดจากไม่มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องแต่แรก ถ้ายังเพิกเฉยก็คุยกันได้ยาก (หากยังแกล้งไม่เข้าใจก็ปล่อยจขกท.ไปละกัน คิดซะว่าอธิบายให้คนอื่นที่ยินดีรับฟังแทนนะ)
รัฐธรรมนูญปี 2550 มาตรา 309 บัญญัติว่า
"บรรดาการใดๆ ที่ได้รับรองไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับชั่วคราว พุทธศักราช 2549 ว่าเป็นการชอบด้วยกฎหมายและรัฐธรรมนูญ รวมทั้งการกระทำที่เกี่ยวเนื่องกับกรณีดังกล่าวไม่ว่าก่อนหรือหลังวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ ให้ถือว่าการนั้นและ การกระทำนั้นชอบด้วยรัฐธรรมนูญนี้"
แปลว่า
สิ่งที่รัฐธรรมนูญ 49 รับรองว่าถูกต้องตามกฎหมายและรัฐธรรมนูญ ให้ถือว่าการกระทำนั้นถูกต้องตามรัฐธรรมนูญปี 50
ดังที่ได้เปิดความหมายแล้วว่า ชอบด้วยกฎหมาย คือ ถูกต้องตามกฎหมาย ถูกกฎหมาย ไม่ใช่ ถูกต้องตามคนตั้งกฎหมาย
ดังนั้น ถ้าคนตั้งบัญญัติกฎหมายผิดๆ ไม่ถูกต้อง ไม่เป็นธรรม ก็ไม่รวมในมาตรานี้แต่จะไปอยู่มาตรา 37ดังที่คุณโทนี่ยกมาให้ดูตั้งแต่ rep แรกว่า
เมื่อพลิกดู รัฐธรรมนูญ (ฉบับชั่วคราว) ปี 2549 มาตรา 37 ได้เขียนบทบัญญัติในลักษณะใกล้เคียงกันดังนี้ “บรรดาการกระทำทั้งหลายซึ่งได้กระทำเนื่องในการยึดและควบคุมอำนาจการปกครองแผ่นดิน เมื่อวันที่ 19 ก.ย. 2549 ของ หัวหน้าและคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข รวมตลอดทั้งการกระทำของบุคคลที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำดังกล่าวหรือของผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากหัวหน้าหรือคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือของผู้ซึ่งได้รับคำสั่งจากผู้ที่ได้รับมอบหมายจากหัวหน้าหรือคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข อันได้กระทำไปเพื่อการดังกล่าวข้างต้นนั้น การกระทำดังกล่าวมาทั้งหมดนี้ ไม่ว่าเป็นการกระทำเพื่อให้มีผลบังคับในทางนิติบัญญัติ ในทางบริหาร หรือในทางตุลาการ รวมทั้งการลงโทษและการกระทำอันเป็นการบริหารราชการอย่างอื่น ไม่ว่ากระทำในฐานะตัวการผู้สนับสนุน ผู้ใช้ให้กระทำ หรือผู้ถูกใช้ให้กระทำ และไม่ว่ากระทำในวันที่กล่าวนั้นหรือก่อนหรือหลังวันที่กล่าวนั้น หากการกระทำนั้นผิดต่อกฎหมายก็ให้ผู้กระทำพ้นจากความผิดและความรับผิดโดยสิ้นเชิง”.
แสดงว่าถ้าสิ่งที่คณะปฏิวัติตั้งขึ้น ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ก็จะให้เข้ากับมาตรา 37 ซึ่งก็จะพ้นผิดได้
แต่ จากเวบ MThai http://talk.mthai.com/topic/362154 เป็นตัวอย่างของการเข้าใจผิด คือ แปลมาตรา 309
...มันแปลไทยเป็นไทยว่ารัฐธรรมนูญมาตรานี้มีไว้เพื่อคุ้มครองเผด็จการครับเผด็จการที่ออกมายึดอำนาจ ทำรัฐประหาร ฉีกรัฐธรรมนูญและตามมาด้วยการออกกฏหมายที่ปกป้องการกระทำของตนเอง
ผมว่านี่เป็นการบิดเบือนให้เข้าใจผิด และแตกแยก ทำให้คนไร้เดียงสาอย่างจขกท.ถกเถียงเอาเป็นเอาตายมาหลายหน้า
(สาเหตุที่เกิดความเข้าใจผิด ผมได้อธิบายไปแล้วใน rep แรกของผมว่าเป็นกระบวนการล้างสมองที่พวกทักษิณชอบใช้)
ในเมื่อกฎหมายมันถูกต้องเหมาะสมแล้ว ก็เป็นธรรมดาที่คนย่อมคัดค้านการแก้ไข ยิ่งเอาเงินงบประมาณเป็นพันล้านเปรียบเหมือนการตำน้ำพริกละลายแม่น้ำเปล่าๆ นอกจากว่าจะแก้ให้มันดีขึ้นกว่าเดิมแบบนั้นก็น่าพิจารณา
- จึงขอถามกลับไปยังจขกท.ว่าที่อยากยกเลิก/แก้เพราะอะไรครับ??
- ถ้าแก้จะแก้เป็นยังไงครับให้ดีกว่าเดิม??
ปล. ผมพยายามตอบคำถามจขกท.แล้ว หวังว่าจะได้รับความร่วมมือเล็กๆน้อยๆบ้างนะครับ หากคุณรังเกียจคณะปฏิวัติที่ตั้งกฎหมายให้ตัวเอง ก็จงรังเกียจพวกทักษิณที่ใช้อำนาจแก้ไขรัฐธรรมนูญให้เป็นประโยชน์กับตัวเอง ก็ยังดีที่ศาลท่านท้วงติงให้ทำประชามติก่อน แต่ตอนนี้ก็ต้องมาผจญกับการปลุกระดมล้างสมองต่อ
ปล.2 ไม่รีบร้อนสำหรับคำตอบครับ จะไปสวดมนต์ข้ามปี เจอกันใหม่ปีหน้าครับ
Edited by ไร้สีไร้กลิ่น, 31 December 2012 - 17:07.