ผมลองใช้เวลาไปค้นคว้าเอามาเผยแพร่และแลกเปลี่ยนกันไปนะครับ
ไม่ได้มีเจตนาที่จะหักล้าง ซึ่งก็ลองอ่านๆ ในหลายที่แล้วหลายมุมมองก็เอามาเล่าสู้กันฟัง
สิ่งดี-เลวก็ลองวิเคราะห์ดูนะครับ
อันดับแรกในยุคบ้านเมืองช่วงนั้นเป็นก้าวผ่านไปสู่การปกครองใหม่คือ "ประชาธิปไตย"
โดยมาจากกลุ่มคณะราษฏร์ที่มีหลักๆก็คือสายทหาร(พระยาพหลฯ) และสายนักวิชาการหัวก้าวหน้า(ปรีดี)
ตรงนี้ผมจะไม่ไปกล่าวเรื่องวิธีการหรือหนทางนะครับว่าเป็นไปมายังไงคงพอรู้ๆกันบ้าง
แต่จะไปว่าถึงช่วงการเปลี่ยนถ่ายจากรัชกาลที่ 7 ไปสู่รัชกาลที่ 8 ครับ
การอัญเชิญ ร.8 ขึ้นครองราชย์
อันนี้ต้องย้อนกลับไปในสมัยรัชกาลที่ 6 ก่อนนะครับ ร.6 ท่านเป็นองค์รัชทายาทของ ร.5 แต่ไม่ใช่พระองค์แรก
ในการเป็นองค์รัชทายาทจริงๆ มีอีกท่านหนึ่งก็คือ สมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ แต่ท่านสวรรคตไปก่อน ร.5 ท่านจึงแต่งตั้งใหม่
ก็คือ ร.6 นั้นเอง แต่เป็นคนละแม่กัน (ซึ่งตามหลักกฏมณเทียรฯ แล้วก็จะต้องตั้งผู้น้องก็คือกรมหลวงสงขลาฯต่อจาก สมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ นั้นเอง)
ที่นี้หลังจาก ร.6 ขึ้นครองราชย์และไม่มีทายาทสืบต่อก็ต้องเป็นพี่น้อง ซึ่งกฏมนเทียรฯ ก็มีไว้ข้อหนึ่ง
ที่จะต้องมีภรรยาเป็นคนไทยโดยเชื้อสายเท่านั้น ตรงนี้ก็เลยข้ามลำดับไปหมด(ไม่เล่านะครับ) ไปลงที่องค์สุดท้องพี่น้องของ ร.6 ก็คือ ร.7 นั้นเอง
เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองและ ร. 7 ท่านจะสละราชสมบัติก็ได้เรียก นายกฯ (พระยามโนฯ) พระยาพหล ปรีดี ฯลฯ เข้าเฝ้า
มีประโยคหนึ่งหนึ่งที่ ร.7 ท่านกล่าวไว้ก็คือการคืนสิทธิ์การครองราชย์ ให้กับสายกรมหลวงสงขลาฯ (บันทึกลับที่จดโดยพระยามหิธร เสนาบดีกระทรวงมุรธาธร)
ดังนั้นคณะราษฏร์นำโดย นายปรีดีจึงทำตามพระประสงค์และการคืนกลับไปสู่กฏมณเทียรฯ ที่ถูกต้องก็คือการอัญเชิญ ร.8 ท่านกลับมาครองราชย์
งัดข้อผู้ยิ่งใหญ่ในการปกป้องพระเกียรติ
อันนี้ผมมีความเชื่ออยู่อย่างว่า ในยุคบ้านเมืองช่วงนั้นคนที่มีอำนาจล้นฟ้าไม่มีใครเกินไปกว่าจอมพล ป.เป็นแน่
การที่ปรีดี เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ก็เพราะ ร.8 ท่านยังพระเยาว์และยังศึกษาอยู่ที่ต่างประเทศ
ตามระบอบประชาธิปไตยของเราการจะออก กฏหมาย พระราชบัญญัติ ราชโองการต่างๆ ก็ต้องนำทูลเกล้าเพื่อลงพระปรมาภิไธย
ซึ่งตามหลักจะยังไม่ต้องลงนามผู้รับสนองฯ (ก็คือนายกฯ)ก่อน แต่ทุกครั้งจอมพล ป. จะลงนามมาด้วยก่อนทุกครั้ง
ถือว่าเป็นการผิดกฏหมายรัฐธรรมนูญ และหมิ่นพระเกียรติ (ถึงแม้ว่าจะมองเป็นแค่เพียงผู้สำเร็จฯก็มิใช่สิ่งถูกต้อง) (หนังสือความทรงจำของ นายทวี บุณยเกตุ ในฐานะเลขาธิการคณะรัฐมนตรี)
หลายครั้งเข้า ปรีดีก็ส่งกลับไปให้เลขาครม. ทำมาใหม่ให้ถูกต้องและไม่ขัดรัฐธรรมนูญ
เอาแค่นี้ก่อนครับ แล้วค่อยมาว่ากันใหม่นะ
ผมว่ามองเห็นเค้ารางอะไรบางอย่างในยุคนั้นระหว่างจอมพล ป กับ นายปรีดี บ้างแล้วครับ