Jump to content


Photo
- - - - -

พลิกปูมปมพระวิหาร ใครประเคนอธิปไตยไทยให้เขมร ใครปกป้องแผ่นดิน


  • Please log in to reply
53 ความเห็นในกระทู้นี้

#1 wewe

wewe

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 3,005 posts

ตอบ 7 มกราคม พ.ศ. 2556 - 21:49

สายตรงภาคสนาม

พลิกปูมปมพระวิหาร ใครประเคนอธิปไตยไทยให้เขมร ใครปกป้องแผ่นดิน

• 2505 ศาลโลกตัดสินให้เขาพระวิหารเป็นของเขมร ซึ่งไทยไม่ยอมรับคำตัดสินแต่ปฏิบัติตาม มีการออกมติ ครม. ล้อมรั้วแสดงอธิปไตยรอบตัวปราสาทโดยกัมพูชาไม่ทักท้วง
• มีการกระทบกระทั่งตามแนวชายแดน รัฐบาลชวน หลีกภัยทำ MOU43 เป็นกลไกเจรจากัมพูชา
• เปลี่ยนเป็นรัฐบาลทักษิณทำ MOU44 แบ่งผลประโยชน์ทางทะเล สัญญาไทยเสียเปรียบ
• มีข้อครหาผลประโยชน์ทับซ้อนทักษิณ – ฮุนเซน แต่การแบ่งปันผลประโยชน์ยังไม่สำเร็จ
• เกิดการรัฐประหาร 19 กันยา 49 รัฐบาลสุรยุทธ ไม่สนับสนุนกัมพูชาขึ้นทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกโลกฝ่ายเดียว
• รัฐบาลสมัครออกแถลงการณ์ร่วม ไทย-กัมพูชา หนุนการขึ้นทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกโลกของกัมพูชา
• มีการต่อต้านจากกลุ่มพันธมิตรและหลายฝ่าย 28 มิ.ย. 51 ศาลปกครองมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวห้ามใช้แถลงการณ์ดังกล่าว
• รัฐบาลสมัครไม่ได้ชี้แจงปัญหาข้อกฎหมายภายในประเทศ ปล่อยให้กัมพูชาใช้แถลงการณ์เป็นประโยชน์ต่อการขึ้นทะเบียนมรดกโลก
• 8 ก.ค. 51 กรรมการมรดกโลกมีมติขึ้นทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกโลกตามคำขอของกัมพูชา เป็ยวันเดียวกันที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าแถลงการณ์ร่วมดังกล่าวขัดรัฐธรรมนูญ แต่ไม่สามารถยับยั้งการขึ้นทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารได้
• รัฐบาลอภิสิทธิ์เข้าบริหารประเทศ 3 ปี คัดค้านการบริหารพื้นที่รอบปราสาทพระวิหาร ทำให้กัมพูชายังขึ้นทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารไม่สมบูรณ์จนถึงทุกวันนี้
• กัมพูชาสร้างสถานการณ์นำไปสู่การปะทะบริเวณชายแดนเพื่อยกระดับสู่ศาลโลก ไทยสู้คดีเพราะเป็นคดีเก่า หากไม่สู้คดีจะทำให้ศาลฟังความข้างกัมพูชาฝ่ายเดียว ไทยจะเสียประโยชน์
• ศาลโลกมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวให้ทั้ง 2 ฝ่ายถอนทหารจากพื้นที่ทั้งสองฝั่งของสันปันน้ำ ไม่ได้คุ้มครองตามที่กัมพูชารร้องขอให้ไทยถอนทหารฝ่ายเดียว
• รัฐบาลยิ่งลักษณ์เข้าบริหารประเทศไม่มีความชัดเจนเกี่ยวกับการต่อสู้คดี นอกจากอ้างว่าใช้ทีมทนายความเดิมรัฐบาลชุดเก่า
• ท่าทีรัฐบาลอ้างความสัมพันธ์ที่ดีโดยไม่มีการประท้วงเมื่อกัมพูชามีพฤติกรรมละเมิดอธิปไตยไทยจนอาจส่งผลต่อรูปคดีที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลโลก
• รัฐบาลไม่เคยใช้ความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้นำกัมพูชา ในทางที่เป็นประโยชน์ต่อชาติ ตรงกันข้ามกลับมีท่าทีเหมือนสมยอมที่จะให้กัมพูชาขึ้นทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกโลกอย่างสมบูรณ์
• รัฐบาลสนับสนุนให้กัมพูชาเป็นเจ้าภาพกรรมการมรดกโลกโดยไม่เสนอตัวแข่งขัน ต่างจากแนวนโยบายรัฐบาลอภิสิทธิ์    จึงทำให้ไทยเสียเปรียบเพิ่มขึ้น

http://www.facebook....320744928030320

 

เรียบเรื่องได้ดีมากเลยค่ะ อ่านเข้าใจง่าย

หวังว่าลูกๆแป๊ะคงจะอ่านรู้เรื่องนะคะ


ความเท็จแม้นเร้นได้ในปัจจุบัน  แต่ก็เหมือนซ่อนสุริยันไว้หลังเมฆ

อย่านึกถึงแต่ความผิดพลาด  จงระลึกถึงต้นเหตุของความผิดพลาด


#2 kokkai

kokkai

    เมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 7,237 posts

ตอบ 7 มกราคม พ.ศ. 2556 - 21:56

เพจหยุดกระบวนล้มประเทศไทย.jpg



#3 RaRa

RaRa

    Seien Sie loyal zu Majesty

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 6,976 posts

ตอบ 7 มกราคม พ.ศ. 2556 - 23:46

ไม่เอาธงลง.jpg
 
ปี 2505 ไงครับ...การที่เราไม่ลดธงขาติลงจากยอดเสา
 
ก็เป็นอีกสัญลักษณ์นึง ที่แสดงถึงการไม่ยอมรับแล้วหล่ะครับ..!!! -_-

ขอเทิดทูนศักดิ์ศรียิ่งสิ่งใด

...แม้แต่ลมหายใจก็ยอมพลี

โลกยังไม่สิ้นหวัง ถ้ายังมั่นในความดี

...ศรัทธาไม่เคยหน่ายหนี คนดีไม่มีวันตาย


#4 Stargate-1

Stargate-1

    SG-1

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,578 posts

ตอบ 8 มกราคม พ.ศ. 2556 - 08:53

wshd3.png
แบบจำลองระดับความสูงระดับน้ำที่ 116 เมตร จะได้แนวสันปันน้ำ ที่เห็นในรูป ที่ชี้ไว้ด้วยกรอบสีเหลือง

wshd2.png
ภาพดาวเทียม Google Earth และเส้นระดับความสูง (Contour) บริเวณเขาพระวิหาร แนวเขตแดนทั้งสองอ้างอิงด้วยหลักเกณฑ์อะไรจึงต่างกัน

คิดว่าศาลในปัจจุบันจะยอมรับเขตแดนนักเลงของเขมรได้หรือ แนวสันปันน้ำอยู่ไหน ปีนขึ้นหน้าผาไปเลยหรือ

contour เขาพระวิหาร.JPG
หากเราอ้างอิง Contour ของศาลโลกที่ใช้อยู่ทั่วโลกและใช้ชี้แนวกันชนไทย-เขมรตามรูป ซึ่งตรงกับของไทย L7018

ก็แสดงว่าเส้นเขตแดนทั้งหมด จะมี Contour เดียวกับเส้นเขตแดนของไทย

 

ถ้าอาศัยอ้างอิงการพิจารณาเหมือนอารยประเทศเขาคือใช้วิธีพิจารณาของแนวสันปันน้ำ ที่ลากไปตาม Contour ของศาลโลก

เส้นเขตแดนก็จะตรงกับแผนที่ L7018 ของไทยหมด ซึ่งก็รวมถึงเขาพระวิหารด้วย

นี่อาจเป็นโอกาสที่จะทวงคืนเขาพระวิหารมาเป็นของไทยก็ได้ ใครจะรู้ ขอให้องค์พระปิยะมหาราชทรงช่วยพวกเราด้วย


Edited by Stargate-1, 8 มกราคม พ.ศ. 2556 - 23:17.

Tam-mic-ra ฟันธง!  คำว่า "โดนพริกไทยมั๊ง" น่ะ แค่นี่เอามาเป็นหลักฐาน ได้ยังไงครับ .....  คิดครับคิด  :lol:   จากกระทู้แก้ข่าวหน้า 2 qoute #96  ใครยิงวสันต์-ภู่ทอง   แอลพีจีทำมาจากซี2ซี3


#5 Mootang

Mootang

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 507 posts

ตอบ 8 มกราคม พ.ศ. 2556 - 09:16

เรื่องนี้คันปากยิบๆ เนื่องจากว่าหลายคดีมากที่ศาลโลกตัดสินแบบค้านสายตาเพราะเมื่อก่อนศาลโลกก็คือศาลยุโรปที่ชาติมหาอำนาจตั้งขึ้นมา จึงไม่ต้องแปลกใจที่ศาลโลกจะไปยึดเอาแต่แผนที่ที่ฝรั่งเศสทำขึ้นทีหลัง ถ้าใครศึกษาเรื่องหลักการข้อพิจารณาของศาลโลกในการพิจารณาเรื่องต่างๆ จะรู้ทันทีว่าการอ้างแบบนี้เป็นการอ้างจากหลักฐานที่น้ำหนักเบาที่สุด ผลก็คือไทยเสียปราสาทเขาพระวิหารไปแบบเจ็บปวดที่สุด

#6 กรกช

กรกช

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 3,930 posts

ตอบ 8 มกราคม พ.ศ. 2556 - 10:47

แฉ 7 ตัวการใหญ่ทำไทยเสียดินแดนให้เขมร

 

http://www.manager.c...D=9530000097313

 

- เปิดบิ๊กนักการเมืองในอดีต-ปัจจุบันทำชาติเสียดินแดน
       - สาวลึกพบผลประโยชน์มหาศาล ล่อใจนักการเมือง-ข้าราชการ-ทหาร ยอมให้เขมรฮุบแผนดินไทย
       - ฟันธงทุกพรรคการเมืองวัวสันหลังหวะ ไม่กล้าเดินหน้าแก้ปัญหา
       - นักวิชาการกฎหมายระหว่างประเทศพบช่องทางทวงแผ่นดินคืน
       
       ประเด็นเรื่องเสียดินแดนให้เขมรยังคุกรุ่น เป็นโจทย์ใหญ่ของรัฐบาลชุดนี้ที่ต้องแก้ไขให้ได้ แต่ที่ไม่สามารถแก้ไขปัญหาดังกล่าวไปได้เสียที จากการพลิกปูมย้อนหลังพบว่า มีบุคคลที่เกี่ยวข้อง ทั้งพรรคการเมืองใหญ่ อย่างประชาธิปัตย์ เครือข่ายของระบอทักษิณ ข้าราชการ ทหาร ล้วนอยู่ในเครือข่ายเชื่อมโยงกันด้วผลประโยชน์ส่วนตัวเหนือผลประโยชน์ชาติ เหนืออธิปไตยดินแดน แทบทั้งสิ้น จนอาจนำไปสู่การเสียดินแดนที่คนไทยทุกคนล้วนไม่ต้องการให้เกิดขึ้นซ้ำรอยประวัติศาสตร์อีกครั้ง
       
       1.ชวน หลีกภัย
       หัวขบวน มาตราส่วน 1:200,000


  blank.gif        ปฏิเสธไม่ได้ว่า ข้อเท็จจริงสำคัญ คือ MOU 2543 หรือ บันทึกความเข้าใจระหว่างไทย-กัมพูชา ในการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบก เกิดขึ้นในยุคสมัยที่เขาเป็นนายกรัฐมนตรีสมัยที่ 2 ในปี 2543 โดยมีการอนุมัติให้ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงต่างประเทศในครั้งนั้นไปลงนาม เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2543 หรือ 10 ปีที่ผ่านมา
       
       เนื้อหาของเอ็มโอยู ดังกล่าว มีการกล่าวถึงแผนที่ แต่ไม่ได้ระบุถึงแผนที่มาตราส่วน 1: 200,000 เพียงแต่ กำหนดว่า “แผนที่ ซึ่งจัดทำขึ้นตามผลงานการปักปันเขตแดนของคณะกรรมการปักปันเขตแดนระหว่างสยามกับอินโดจีน ซึ่งจัดตั้งขึ้นตามอนุสัญญาฉบับปี ค.ศ.1904 หรือสนธิสัญญาฉบับปี ค.ศ.1907...” แต่ด้วยเหตุความเข้าใจผิดหรือตีความผิดของข้าราชการกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศในยุคนั้น หรือเพราะยอมจำนนด้วยคำพิพากษาของศาลโลก ทำให้เข้าใจว่า แผนที่มาตราส่วน 1:200,000 ที่ฝรั่งเศสทำขึ้น และกัมพูชานำมาใช้ เป็นแผนที่จัดทำขึ้นโดยคณะกรรมการปักปันเขตแดนระหว่างสยามกับอินโดจีนจริงๆ
       
       ยิ่งตอกย้ำความเข้าใจชัดเจนขึ้นไปอีก เมื่อหลักฐานสำคัญอีกชิ้นหนึ่ง คือ บันทึกผลการประชุมคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา (JBC) ครั้งที่ 2 โดย สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี สำนักการเมืองต่างประเทศ เสนอโดย รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติราชการแทนเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เสนอให้อดีตนายกรัฐมนตรี ชวน หลีกภัย เป็นผู้ลงนามอนุมัติ เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2543 ก่อนให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงต่างประเทศไปลงนาม MOU 2543 เพียง 2 วัน
       
       ในบันทึกผลการประชุม JBC ครั้งนั้น ระบุ แผนที่แสดงเส้นเขตแดนระหว่างไทย-กัมพูชา มาตราส่วน 1:200,000 ซึ่งจัดขึ้นตามผลงานของคณะกรรมการปักปันเขตแดนระหว่างสยามกับอินโดจีนอย่างชัดเจนในเนื้อหา ข้อ 2.1 หัวข้อ บันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลกัมพูชาว่าด้วยการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบก เรื่อง พื้นฐานทางกฎหมาย เกี่ยวกับ การสำรวจและปักปันเขตแดนทางบกจะดำเนินการ โดยใช้เอกสารหลักฐานที่ผูกพันไทยและกัมพูชาตามกฎหมายระหว่างประเทศ คือ อนุสัญญา ลงวันที่ 13 กุมภาพันธุ์ ค.ศ. 1904 สนธิสัญญาฉบับลงวันที่ 23 มีนาคม ค.ศ. 1907 กับพิธีสารแนบท้ายและแผนที่แสดงเส้นเขตแดนระหว่างไทย-กัมพูชา มาตราส่วน 1:200,000 ผลของการลงนามมอบหมายให้ตัวแทนรัฐมนตรีช่วยกระทรวงต่างประเทศไปเซ็นMOU 2543 และบันทึกผลการประชุมคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา (JBC) ครั้งที่ 2 จึงทำให้ประธานที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ เข้ามาเกี่ยวโยงกับ แผนที่มาตราส่วน1:200000 ซึ่งจัดทำขึ้นตามผลงานของคณะกรรมการปักปันเขตแดนระหว่างสยามและอินโดจีน อันเป็นพื้นฐานของการใช้แบ่งเส้นเขตแดนระหว่างไทยกับกัมพูชา ทั้งที่ในข้อเท็จจริงตั้งแต่ปี 2505 เป็นต้นมาประเทศไทยยังยึดถือสันปันน้ำตามสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ค.ศ.1904 เป็นแนวเขตแดนตลอดมา
       
       จากคำยืนยันของผู้เชี่ยวชาญกฎหมายระหว่างประเทศ ดร.สมปอง สุจริตกุล ระบุว่า เนื่องจากปราสาทพระวิหารตั้งอยู่บนเขาพระวิหารซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาดงรักหรือเขาบรรทัดในเขตแดนไทยซึ่งต่อกับเขตแดนกัมพูชา ระหว่างปี ค.ศ.1905-1907 คณะกรรมการปักปันเขตแดนผสม สยาม-ฝรั่งเศสได้ไปตรวจสอบแล้วเห็นว่า การกำหนดเขตแดนในบริเวณทิวเขาดงรักโดยใช้สันปันน้ำเป็นหลักตามสนธิสัญญา ค.ศ.1904 นั้นชัดแจ้งอยู่แล้ว ดังนั้น เส้นสันปันน้ำจึงเป็นเส้นกำหนดเขตไทย-กัมพูชา ซึ่งเป็นที่ยอมรับมาโดยตลอดและไม่มีการเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขตั้งแต่ปี ค.ศ.1904 จนถึงปัจจุบันโดยไม่เคยมีผู้ใดโต้แย้งหรือให้ความเห็นเป็นอย่างอื่น และไม่มีการเปลี่ยนแปลงเป็นอื่นไปได้นอกจากได้รับความยินยอมเห็นชอบจากภาคีคู่สัญญา
       อีกทั้งประเทศไทยก็ไม่เคยยอมรับแผนที่มาตราส่วน 1:200,000 ที่ฝรั่งเศสทำเพียงฝ่ายเดียว เพราะแผนที่ดังกล่าวไม่ได้ยึดหลักตามภูมิศาสตร์ หรือไม่ยึดหลักสันปันน้ำที่ถูกต้องตามหลักสากล อีกทั้ง ยังส่งผลให้กินพื้นที่วัดเข้ามาในดินแดนไทย ตัวปราสาทพระวิหารและรอบปราสาทพระวิหารกว่า 3,000 ไร่ และยังกินดินแดนเข้ามาอีกหลายจังหวัด เช่น อุบลราชธานี ศรีษะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ สระแก้ว จันทบุรี และตราดรวมพื้นที่เกือบ 2 ล้านไร่ นำมาซึ่งการประท้วงของเครือข่ายภาคประชาชน นักวิชาการ นักประวัติศาสตร์ และชาวบ้านในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง
       
       2.ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร
       MOU 2543 จุดเริ่มต้นปัญหา


  blank.gif        อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ สมัยรัฐบาลชวน 2 ที่มีความเกี่ยวพันโดยตรงกับ MOU 2543 เพราะเป็นบุคคลที่ได้รับมอบหมายให้เป็นตัวแทนของประเทศไปลงนามบันทึกความเข้าใจระหว่างไทย-กัมพูชา ในการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบก เมื่อ 10ปีที่ผ่านมา อันเป็นจุดเริ่มต้นของปมปัญหาเรื้อรังเขตแดนไทย-กัมพูชามายาวนาน เนื่องจาก ทำให้มีการใช้แผนที่มาตราส่วน 1:200,000 กันถ้วนหน้า ในการทำบันทึกข้อตกลง MOU 2543 MOU 2544 TOR 2546 และ JC 2551 ตั้งแต่นับตั้งแต่ปี 2543 จนถึงปัจจุบัน ผ่านรัฐบาลหลายยุคหลายสมัย อาทิ รัฐบาลยุคชวน หลีก ยุคทักษิณ ชินวัตร ยุคสมัคร สุนทรเวช ยุคสมชาย วงศ์สวัสดิ์ และล่าสุดรัฐบาลภายใต้การนำของหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์คนปัจจุบัน “อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ”
       
       ทั้งนี้ ท่าทีของ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ต่อเรื่องนี้ ปรากฏแต่เพียงว่า “เราปฏิเสธประวัติศาสตร์ไม่ได้” กระทั่ง ม.ล.วัลย์วิภา จรูญโรจน์ นักวิจัยผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันไทยคดีศึกษา จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และเครือข่ายภาคประชาชนจำนวนหนึ่ง ได้ออกมาเรียกร้องให้ยกเลิก MOU 2543 รวมทั้งให้พรรคประชาธิปัตย์แสดงความรับผิดชอบด้วยการบอกต่อ ประชาชนว่า ตนมีส่วนทำให้เกิดความผิดพลาดและจะมีผลกระทบรุนแรงต่อประเทศชาติ เนื่องจากประเทศไทยไม่เคยรับรองหรืออ้างอิงแผนที่มาตราส่วน 1:200,000 เลย อีกทั้งยังเสนอให้รัฐบาล อันมีพรรคประชาธิปัตย์เป็นแกนนำ สมควรแสดงความเป็นผู้นำยกเลิก MOU 2543อย่างเร่งด่วน
       
       ไม่เพียงกำหนดแผนที่ ซึ่งจัดทำขึ้นตามผลงานการปักปันเขตแดนของคณะกรรมการปักปันเขตแดนระหว่างสยามกับอินโดจีน ใน MOU 2543 ยังได้กำหนดโครงสร้างและอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วม หรือ JBC ซึ่งถูกตั้งข้อสงสัยจากผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายระหว่างประเทศ และเครือข่ายภาคประชาชน ว่า ถูกครอบงำหรือยอมจำนนด้วยคำพิพากษาของศาลโลกตั้งแต่ปี 2505 เพราะบรรดาตัวแทนที่รัฐบาลไทยและกัมพูชาแต่งตั้ง โดยฝ่ายไทยล้วนเป็นผู้มีหน้าที่รักษาความมั่นคงในอธิปไตยและผลประโยชน์ดินแดนไทย ไม่ว่า ตำแหน่งประธาน JBC เป็นของกระทรวงต่างประเทศ และกรรมการ ได้แก่ เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ ผู้แทนกองบัญชาการทหารสูงสุด เจ้ากรมแผนที่ทหาร เจ้ากรมอุทกศาสตร์ทหารเรือ ผู้แทนมหาดไทย ผู้บัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน อธิบดีกรมการปกครองและอธิบดีกรมทรัพยากรธรณี เป็นต้น
       
       3.วศิน ธีรเวชญาณ
       ประธานเจซีบีฝ่ายไทย-ใฝ่เขมร


  blank.gif        บทบาทของประธาน JBC คนนี้ เริ่มเป็นที่จับตาต่อสาธารณชนทันที เมื่อเขาออกมายอมรับแผนที่มาตราส่วน 1:200,000 ที่กัมพูชาเปิดเผยขึ้นมา และปรากฏต่อสื่อหลายต่อหลายครั้งว่า เขามีข้อมูลและทัศนคติเรื่องแผนที่มาตราส่วน 1:200,000 คลาดเคลื่อนต่อความเป็นจริงอย่างหน้ามือเป็นหลังมือ นำไปสู่การสืบค้นประวัติ พบว่า วศินดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมายในปี 2543 โดยเป็นที่ปรึกษาด้านกฎหมายของกระทรวงต่างประเทศตั้งแต่สมัย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรีและได้รับตำแหน่ง ประธาน JBC ฝ่ายไทยตั้งแต่เดือนตุลาคม 2551 สมัยอดีตนายกรัฐมนตรี สมชาย วงศ์สวัสดิ์ จนถึงปัจจุบันก็ยังได้รับความไว้วางใจจากรัฐบาลปัจจุบัน
       
       จุดยืนในการยอมรับเรื่องการใช้แผนที่มาตราส่วน 1:200,000 ในการเจรจาเพื่อผลประโยชน์ ทำให้มีเสียงสะท้อนจากสื่อสาธารณะและสังคมให้เปลี่ยนตัว หรือเสนอให้ปลดออกจากประธาน JBC ฝ่ายไทย โดยนักวิชาการด้านโบราณคดีที่ศึกษาในบริเวณพื้นที่แถบชายแดนไทย-กัมพูชา จังหวัดศรีษะเกษที่เคยไปร่วมให้ข้อมูลกับ วศิน ต่อคณะกรรมาธิการศิลปะและวัฒนธรรม วุฒิสภา เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม ได้ส่งความเห็นมายังภาคีเครือข่ายผู้ติดตามสถานการณ์ปราสาทพระวิหาร ด้วยเหตุผลหลายประการ ที่สำคัญๆ เช่น เขาทำงานโดยแสดงความเชื่อมั่นว่า ศาลโลกตัดสินไทยแพ้คดี โดยให้ประสาทและแผ่นดินเป็นของเขมร ขัดแย้งกับข้อเท็จจริงในคำพิพากษาศาลโลกที่ตัดสินให้เสียเฉพาะตัวปราสาทเท่านั้น
       
       นอกจากนี้ เขายังเป็นผู้สนับสนุนผลงานที่นภดล ปัทมะไปทำแถลงการณ์ร่วม ซึ่งถูกศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้เป็นการกระทำที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ว่าเป็นการกระทำที่ถูกต้อง โดยให้ความเห็นแย้งกับปปช.และศาลในวันที่ 28 ตุลาคม 2552 และยังถูกตั้งข้อสังเกตในการทำงานว่าไม่ศึกษาปัญหาสำคัญที่เกิดต่อประเทศชาติและไม่รับรู้ว่า ถ้าไทยยอมรับการใช้แผนที่มาตราส่วน 1:200,000 ซึ่งทำโดยฝรั่งเศสฝ่ายเดียว และไทยไม่ยอมรับมาโดยตลอดในการต่อสู้ระหว่างถูกฟ้องต่อศาลโลก ทำให้เกิดความเสียหายมากหรือน้อยเพียงใด อีกทั้งยังมีความเห็นในหลักเจรจาสนับสนุนการใช้แผนที่มาตราส่วน 1:200,000 ซึ่งทำให้ไทยเสียเปรียบในการเจรจา เรื่องการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนไทย-กัมพูชา
       
       4.ทักษิณ ชินวัตร
       นำทีม ทำไทยเสียพื้นที่


  blank.gif        พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีเป็นบุคคลสำคัญที่สุดอีกบุคคลหนึ่งซึ่งมีส่วนทำให้ประเทศไทยมีโอกาสเสียเขตแดนซึ่งเป็นพื้นที่ทับซ้อนให้กัมพูชามากที่สุด เพราะในสมัยที่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ทักษิณได้วางตัวบุคคลใกล้ชิดและไว้ใจมากที่สุดมานั่งเก้าอี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ รวมถึงตำแหน่งสำคัญๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อสานต่อภาระกิจที่จะยกพื้นที่ทับซ้อนกับกัมพูชา ให้กัมพูชาโดยโปร่งใส ไม่มีข้อครหานินทาจากทุกฝ่าย เพื่อแลกกับการเข้าไปทำธุรกิจในเกาะกง
       
       รวมทั้งผลประโยชน์ที่จะได้จากการทำธุรกิจพลังงานในอ่าวไทย ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานของโลกที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งและยังไม่เคยมีการขุดเจาะขึ้นมาใช้เลย ซึ่งทักษิณรู้ดีว่าธุรกิจพลังงานจะสร้างรายได้อย่างมหาศาลในอนาคต ซึ่งไม่ใช่ธุรกิจไอทีอีกต่อไปเริ่มจากสมัยรัฐบาล ทักษิณ 1 เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2544 ได้มีการลงนามแถลงการณ์ร่วมระหว่างไทยกับกัมพูชาในเรื่องการแบ่งผลประโยชน์ทางทะเล (โดยไม่ผ่านความเห็นชอบของรัฐสภา) โดยข้อความในแถลงการณ์ร่วมข้อ 13 ระบุว่า ทั้งสองฝ่ายย้ำถึงความตั้งใจมั่นที่จะดำเนินการปักปันเขตแดนทางบกระหว่างกันให้เสร็จสิ้นโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะกระทำได้
       
       นอกจากนี้ ในวันที่ 20 พฤษภาคม 2546 คณะกรรมการปักปันเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา (JBC) ได้มีการจัดทำแผนแม่บทและข้อกำหนดหน้าที่ในการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนร่วมทางบกของ JBC หรือTOR2546โดยระบุในข้อ 1.1.3 และข้อ 4 เรื่องขั้นตอนการสำรวจและจัดวางหลักเขตแดนว่า ให้ใช้แผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 200,000 เป็นพื้นที่ของการดำเนินงานในการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดน ซึ่งเป็นมาตราส่วนของ“แผนที่ซึ่งฝรั่งเศสจัดทำขึ้นเองเพียงฝ่ายเดียว”
       
       5. สุรเกียรติ์ เสถียรไทย
       แลกพื้นที่ทับซ้อน ทำธุรกิจ


  blank.gif        สุรเกียรติ์ เสถียรไทย อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เป็นบุคคลที่ทักษิณวางตัวให้เข้ามาจัดการเรื่องความขัดแย้งระหว่างไทย-กัมพูชา โดยแลกพื้นที่ทับซ้อนกับการเข้าทำธุรกิจในกัมพูชา โดยสุรเกียรติ์ได้ประชุมกับฝ่ายกัมพูชา เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2547 ณ กรุงพนมเปญ โดยทั้งสองฝ่ายตกลงในหลักการพื้นฐาน เกี่ยวกับการพัฒนาร่วมเขาพระวิหาร โดยฝ่ายกัมพูชาเห็นชอบที่จะเชื่อมโยง ช่องตาเฒ่า ซึ่งเป็นพื้นที่ผลประโยชน์ที่ฝ่ายกัมพูชาพยายามผลักดันให้เปิดเป็นจุดผ่านแดนเพื่อการค้าและการท่องเที่ยวมาอย่างต่อเนื่อง โดยมีโครงการก่อสร้าง Casino และ Entertainment Complex รองรับอยู่แล้ว เป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาร่วมเขาพระวิหาร
       
       6. สมชาย วงศ์สวัสดิ์
       นอมินี "ทักษิณ"


  blank.gif        สมัยรัฐบาลสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี และน้องเขย ทักษิณ ชินวัตร โดยรัฐสภาไทยได้มีการประชุมลับ และลงมติเรื่องกรอบการเจรจาระหว่างไทย-กัมพูชา ให้รับรอง MOU 2543 และ TOR 2546 ซึ่งมีการระบุว่าการเจรจา การสำรวจและปักปันเขตแดนให้เป็นไปตามมาตราส่วน 1 ต่อ 200,000 ซึ่งเป็นแผนที่ซึ่งฝรั่งเศสจัดทำขึ้นเองเพียงฝ่ายเดียว โดยสมาชิกรัฐสภา(ฝ่ายค้าน รัฐบาล และวุฒิสภา) ลงมติเห็นชอบด้วยเสียงข้างมากด้วยคะแนนเสียง 406 ต่อ 8 งดออกเสียง 2 คน ไม่เว้นแม้แต่อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านที่ลงมติ เห็นชอบ กับวาระดังกล่าวด้วยความสัมพันธ์ที่แนบแน่นของสมชาย กับกัมพูชา เห็นได้จากการเปิดถนนหมายเลข 48 และสะพาน 4 แห่ง เชื่อม จ.ตราด-เกาะกง เมื่อวันที่ 14 พ.ค. 2551 จึงปรากฏร่างของสมชายทั้งที่ไม่ได้กำกับดูแลกระทรวงการต่างประเทศ
       
       7. นพดล ปัทมะ
       รับไม่ต่อขึ้นทะเบียนมรดกโลก


  blank.gif        นพดล ปัทมะ อดีตรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงต่างประเทศ อดีตทนายความ และโฆษกประจำตัว ทักษิณ ได้ลงนามในแถลงการณ์ร่วมและแผนที่แนบท้าย ตามที่ สมัคร สุนทรเวช อดีตนายกรัฐมนตรี เสนอให้เปลี่ยนชื่อแผนที่เป็นแผนผังแทน โดยให้ข้อสังเกตเพิ่มเติมว่ากรณีข้อพิพาทพื้นที่ทับซ้อนอยากระบุให้ชัดเจน เมื่อขึ้นทะเบียนเขาพระวิหารเป็นมรดกโลกจะไม่ครอบคลุมถึงพื้นที่ทับซ้อนดังกล่าว
       
       โดยเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2551 มีการหารือร่วมกันระหว่าง นพดล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกับรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกัมพูชา สก อัน ในประเด็นที่กัมพูชาขอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก โดยนพดล ยืนยันท่าทีของไทยว่าจะให้การสนับสนุนในหลักการการขึ้นทะเบียนดังกล่าว แต่จะต้อง หารือถึงพื้นที่ทับซ้อนบริเวณรอบตัวปราสาทพระวิหาร
       
       ต่อมา วันที่ 6 มิถุนายน 2551 รัฐบาลกัมพูชาได้ส่งแผนที่ให้ฝ่ายไทย ตามที่ได้ตกลงเบื้องต้นในเดือนพฤษภาคม 2551 แต่รัฐบาลไทยยังไม่ได้เปิดเผยรายละเอียดให้สาธารณชนและรัฐสภาได้รับทราบ แต่นำเข้าอนุมัติอย่างมีเงื่อนงำในวัน ที่ 17 มิถุนายน 2551 โดยอ้างเพียงว่าได้รับการรับรองจากกระทรวงการต่างประเทศและสภาความมั่นคงแห่งชาติแล้ว
       
       **********
       
       แผนเบื้องลึก ขุมทรัพย์เขาพระวิหาร
       
       เป็นเรื่องที่คารังคาซังมานาน สำหรับปัญหาบริเวณเขาพระวิหาร และการปักปันเขตแดนไทย-กัมพูชา ก็ยังไม่มีทีท่าว่าจะจบลงง่าย 1 ในเรื่อง ซึ่งเป็นที่มาเหตุความขัดแย้งคือ “ผลประโยชน์” เกี่ยวเนื่องกับความมั่นคง ทางเศรษฐกิจ และทรัพยากรธรรมชาติ ที่มีหลายฝ่ายเข้ามาเกี่ยวข้อง ทั้งกลุ่มนักการเมือง และนักธุรกิจกลุ่มนายทุนได้วางแผนฮุบพื้นที่ขุมทรัพย์ที่เกี่ยวเนื่องจากบริเวณนี้กันอย่างมีขั้นตอน โดยพื้นที่ซึ่งกลุ่มผู้มีประโยน์เหล่านี้ร่วมมือกับเขมรหวังยึดพื้นที่ 1.5 ล้านไร่ ใน 7 จังหวัดตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา ไล่ตั้งแต่ อุบลราชธานี ศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ สระแก้วจันทบุรี และตราด ซึ่งเป็นผลจากการใช้แผนที่ตามแบบฝรั่งเศสวัดจากมาตราส่วน 1 ต่อ 200,000 ที่รัฐบาลยุคทักษิณฉวยโอกาสต่อยอดตอนที่รัฐบาลชุดชวน หลีกภัย ไปลงนามไว้
       
       ที่สำคัญ ครั้งนี้ไม่ใช่แค่การเสียดินแดนเท่านั้น เพราะหากมองในแง่มุมเศรษฐกิจ นั่นหมายถึงมูลค่าทางการค้าชายแดนทั้ง 7 จังหวัด ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสินค้าการเกษตรที่มีมูลค่ามากมาย โดยปี 2552 มูลค่าการค้าระหว่างไทย-กัมพูชามีถึ 56,578.4 ล้านบาท แบ่งเป็นส่งออก 53,918.4 นำเข้า 2,660 ล้านบาท และ 5 อันดับแรกที่มีการส่งออกสูงสุดคือ สระแก้ว ตราด จันทบุรี สุรินทร์ และตราด
       
       การค้าตลอดแนวเขตแดนไทย-กัมพูชา ถือว่ามีแนวโน้มที่ดี เพราะมีหลายจุดจะมีแผนการพัฒนา เช่น บริเวณด่านผ่านแดนถาวรไทย-กัมพูชาช่องสะงำ อ.ภูสิงห์ จ.ศรีสะเกษ ซึ่งเป็นช่องทางที่มีการค้าขายและประชาชนไปมาหาสู่กันจำนวนมาก แต่ยังขาดความสะดวก ศุลกากร, ตรวจคนเข้าเมือง ต่างมีความเห็นตรงกันว่าจะทำให้บริเวณนี้มีความสะดวกมากขึ้น และมีการจัดระเบียบกันใหม่ทั้งหมด
       
       ไม่เพียงการเสียหายทางด้านเศรษฐกิจ จากกรณีพิพาทครั้งนี้ หมายถึง การยึดพื้นที่แหล่งท่องเที่ยว แนวปราสาท โบราณสถานต่างๆ โดยสร้างแนวการท่องเที่ยวจากเขาพระวิหารเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงไปยังชายแดนหลายจังหวัดดังกล่าว นอกจากนั้นยังกินพื้นที่ป่าสงวนอุทยานแห่งชาติ พื้นที่อุทยานเกาะกูด จังหวัดตราด ซึ่งมีแหล่งแก๊สธรรมชาติระหว่างไทยกับเขมรอยู่ 2 จุด ซึ่งเป็นขุมทรัพย์ ที่หมายปองมาครอบครองของนักธุรกิจ-นักการเมือง
       
       ผลประโยชน์มหาศาลที่ได้หากยึดพื้นที่ 1.5 ล้านไร่ ดูจากความสัมพันธ์ระหว่างฮุนเซนกับทักษิณ ซึ่งรายการเมืองไทยรายสัปดาห์ โดยสนธิ ลิ้มทองกุล ชี้ให้เห็นว่า พื้นที่ดังกล่าวอยู่ในยุทธศาสตร์ของโลกตะวันตก โดยเฉพาะอย่างยิ่งสหรัฐอเมริกา ได้มีการสำรวจพลังงานทั่ว ซึ่งในทะเลของประเทศไทยมีอยู่ 2 จุด คือจุดที่เป็นพื้นที่ทับซ้อนระหว่างไทยกับเขมรในอ่าวไทย และอีกจุดหนึ่งก็คือ แอ่งปัตตานี
       
       จากผลประโยชน์ทางพลังงานนี่เอง ทำให้ปฎิบัติการยึดพื้นที่ของเขมรเริ่มขึ้นเมื่อฮุน เซน เป็นนายกรัฐมนตรี และมีการเจรจากับฝรั่ง โดยมีทักษิณร่วมมือกับโมฮัมหมัด อัลฟาเยด เจ้าของห้างแฮร์ร็อดส์ ซึ่งทักษิณเคยพาไปดูพื้นที่ในทะเล เพราะโมฮัมหมัด อัล ฟาเยด อยากจะมาลงทุนที่นั่น
       
       ขณะที่ข้อมูลบางส่วนจากข้อเขียนในนิตยสาร ASTVผู้จัดการสุดสัปดาห์ เรื่อง “ 25 กรกฎาคม 53 วันฉลองเส้นเขตแดนกัมพูชากับการสูญเสียดินแดนไทย!!” ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ กล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า สิ่งที่ทำให้รัฐบาลไทยส่งสัญญาณยอมรับแผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 200,000 ซึ่งจัดทำโดยฝรั่งเศสแต่เพียงฝ่ายเดียว ประการหนึ่ง่ทหาร ข้าราชการ และนักการเมืองบางส่วนก็ได้รับประโยชน์ทำมาหากินกับฝ่ายกัมพูชาทั้งการค้าสินค้าหนีภาษี สินค้าลักขโมย บ่อนการพนัน การรับเหมาก่อสร้างถนน และการขายสิ่งปลูกสร้างให้กับชาวกัมพูชาเป็นอีกประการหนึ่ง
       
       ผลประโยชน์ทางด้านพลังงานแสดงให้เห็นจากปรากฏการณ์ วันที่ 25 กรกฎาคมนี้ จะมียักษ์ใหญ่เชฟรอนของอเมริกา ทั้งซีนูกของจีน และโทเทลสัญชาติฝรั่งเศส 3 มหาอำนาจทางด้านพลังงาน ซึ่งมีตัวแทนอยู่ในคณะกรรมการ 7 ชาติที่จะเข้าไปเสนอแผนบริหารจัดการกับพื้นที่รอบปราสาทพระวิหารหากกัมพูชาได้รับอนุมัติเป็นมรดกโลกครั้งนี้ด้วย
       
       เพราะผลประโยชน์ทางพลังงานในอ่าวไทยนั้นยั่วยวนให้มหาอำนาจพร้อมที่จะทำอะไรก็ได้เพื่อให้ได้ผลประโยชน์ในอ่าวไทยมากที่สุด เกมการขอขึ้นทะเบียนเขาพระวิหารเป็นมรดกโลก และการบริหารจัดการพื้นที่รอบปราสาทพระวิหารและพื้นที่รอบในฐานะเป็นมรดกโลกจึงเกิดขึ้นเป็นฉากแรก
       
       ขณะที่มีข้อมูลที่น่าสนใจจาก เขาพระวิหารดอทเน็ต ที่กล่าวในเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนของ ทักษิณ ชินวัตร กับฮุนเซน ซึ่งเมื่อเดือนพฤษภาคม ปี2551 พล.อ.เตีย บัน รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมกัมพูชา ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนว่าทักษิณจะลงทุนธุรกิจพลังงาน โดยเฉพาะการเช่าเกาะกง
       
       อย่างไรก็ตาม ข้อมูลซึ่งโยงใยจากความสัมพันธ์ของ ทักษิณ กับบริษัทที่ทำธุรกิจพลังงาน เพิร์ล ออยล์ ที่มีกลุ่มทุนเทมาเส็กของรัฐบาลสิงคโปร์ และ แฮร์รอดส์ เอ็นเนอร์ยี่(ประเทศไทย)ที่ทักษิณพยายามชักชวนเข้าไปลงทุนในกัมพูชา รวมทั้งนำบริษัท ปตท.สผ.อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด(มหาชน) หรือPTTEPI ซึ่งเป็นบริษัทในเครือ ปตท. ซึ่งทักษิณและเครือข่าย มีหุ้นได้ไปร่วมทุนกับบริษัทอื่นที่จดทะเบียนในกัมพูชา ขอรับสัมปทานจากกัมพูชาในการขุดเจาะน้ำมันและก๊าซ ในบล็อก B หรือที่ PTTEPI ตั้งรหัสโครงการว่า โครงการ G9/43 และปรากฏด้วยว่า PTTEPI มีความสัมพันธ์ในการลงทุนกับเพิร์ล ออยล์ ในที่สุด
       
       ข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อมูลในเชิงประชาสัมพันธ์ของ Te Duong Tara ผู้อำนวยการ Cambodian National Petroleum Authority เมื่อต้นปี พ.ศ. 2549 และมีข้อมูลประกอบที่น่าสนใจอีกด้วยว่า Te Duong Tara ผู้อำนวยการ องค์กรที่คล้ายปตท. ซึ่งสมเด็จฮุน เซน ตั้งขึ้นมาคนนี้ เป็นคนเชื้อสายเวียดนาม และตลอดเวลาที่ดำรงตำแหน่ง ก็ถูกชาวบ้านและนักลงทุนต่างชาติตั้งคำถามเรื่องความโปร่งใสและธรรมาภิบาลในการบริหารองค์กร วิพากษ์วิจารณ์ว่าทำเพื่อผลประโยชน์ของกลุ่มมากกว่าประเทศชาติ
       
       ***************
       
       'เลิกฝัน' ทวงคืนเขาพระวิหาร
       “ปชป.-พท.” สันหลังหวะ-หวังผลยาก

       
       ฝันที่ยากจะเป็นจริง กรณีทวงคืนเขาพระวิหาร ฝ่ายการเมืองยากจะเดินหน้า เพราะมีชนักติดหลังทั้งคู่ คนปชป. ชี้ ไทยยังมีสิทธิสู้แต่ต้องใช้เวลา ขณะที่ ส.ว. เชื่อ รัฐบาลจำเป็นต้องพิสูจน์และชี้แจงข้อเท็จจริงทุกปมบนโต๊ะเพื่อกรุยทางแก้ปัญหา-ทำงานประสานภาคสังคม แต่ข้อเท็จจริง ระบุชัด ทั้ง “ปชป.-พท.” สันหลังหวะ หวั่นเกมการเมืองขยายแผล ฝ่ายความมั่นคง ระบุชัด “เขาพระวิหาร” ถูกใช้เป็นเครื่องมือโจมตีทางการเมืองมากกว่าการแก้ปัญหาอย่างแท้จริง...
       
       เงื่อนปมกรณีการทวงคืนเขาพระวิหารยังคงเป็นปัญหาสำคัญที่ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลชุดใด ก็ไม่อาจเดินหน้าในอย่างจริงจังได้ เนื่องจากรัฐบาลไทยไม่อาจเปลี่ยนแปลงคำตัดสินของศาลโลกเมื่อ ปี 2505 ที่ให้สิทธิ์เหนือตัวปราสาทพระวิหารแก่ประเทศกัมพูชาไปแล้วได้
       
       ปชป. ไม่คืบ-สันหลังหวะเซ็น “MOU 43”
       
       แต่พรรคประชาธิปัตย์ถูกจับตามองและตั้งข้อครหาในกรณีดังกล่าวมากขึ้น หลังจากที่รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ เมื่อครั้ง ชวน หลีกภัย ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีและมี ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ บริพัตร รมช.การต่างประเทศ ที่ไปลงนามในบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชาว่าด้วยการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบก (MOU 2543) เมื่อวันที่ 14 มิ.ย. 2543 ทำให้ข้อตกลงดังกล่าวเป็นปมสำคัญที่ทำให้พรรคประชาธิปัตย์ถูกจับตาถึงการเดินหมากที่อาจผิดพลาดนั้น จนทำให้รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ ที่นำโดย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ก็ไม่อาจทำอะไรให้คืบหน้าเพื่อรักษาผลประโยชน์ของชาติเท่าที่ควร
       
       “เบื้องต้นที่ต้องเร่งดำเนินการคือการยื่นหนังสือคัดค้านการพัฒนาพื้นที่โดยรอบตัวปราสาท โดยทีมของของสุวิทย์ คุณกิตติ และมีการประสานกับคณะทำงานของดร.ไตรรงค์ที่จะดำเนินการในเรื่องนี้ต่อไป ซึ่งความไม่ชัดเจนในเรื่องของเขตแดนนี้ยังต้องใช้เวลา และกระทรวงต่างประเทศเชื่อว่ากัมพูชาจะยังไม่สามารถทำอะไรหากยังไม่ได้รับความเห็นชอบจากรัฐบาลไทย”
       
       ชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต เลขานุการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ระบุ พร้อมอธิบายว่า การดำเนินการโดยกระทรวงการต่างประเทศนั้นยังคงยึดหลักเดิม คือ ยังคงสงวนท่าทีในการยินยอมให้มีการพัฒนาพื้นที่โดยรอบเขาพระวิหารโดยพุ่งเป้าไปที่การยื่นหนังสือคัดค้านแผนการบริหารจัดการพื้นที่โดยรอบเขาพระวิหารหรือ พื้นที่กันชน (BUFFER ZONE)ที่ต้องได้รับการเห็นชอบจากไทยในการประชุมของคณะกรรมการมรดกโลก ครั้งที่ 34 ซึ่งจัดขึ้นที่ประเทศบราซิล ระหว่าง 25 ก.ค. - 3 ส.ค.53 นี้ โดยมี สุวิทย์ คุณกิตติ รมว.กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นตัวแทนรัฐบาลในการยื่นหนังสือคัดค้าน
       
       รวมถึงการจัดตั้งคณะกรรมแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลกของไทย ซึ่งมี ดร.ไตรรงค์ สุวรรณคีรี รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานแต่ก็ยังไม่ปรากฎผลงานมากนัก รวมถึงการชี้แจงกรณีการลงนามMOU 43 ในครั้งนั้นโดย ศิริโชค โสภา ส.ส.สงขลา พรรคประชาธิปัตย์ผ่านเครือข่ายเฟซบุ๊คเท่านั้น ดังนั้น กรณีดังกล่าวจึงเป็นงานหนักที่พรรคประชาธิปัตย์จะต้องตอบคำถามสังคมเนื่องจากพรรคมีความเกี่ยวพันกับกรณีดังกล่าวมาแล้วตั้งแต่ต้น
       
       “แม้ว่า MOU 43 จะถูกมองว่าเป็นปัญหาเริ่มต้นของเรื่องดังกล่าว แต่การจะไปยกเลิกคงทำไม่ได้ เพราะ MOU43 นั้นมีการสำรวจเส้นทางไปทั่วประเทศแล้ว แต่ควรจะแก้ไขเป็นบางจุดที่มีปัญหาแทนเท่านั้น” ไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ ส.ส.สัดส่วน พรรคประชาธิปัตย์ ระบุ
       
       ขณะที่ มุมมองของ อนุศักดิ์ คงมาลัย ส.ว.สรรหา 1ใน 8 ส.ว.ที่งดลงมติในการลงมติอนุมัติกรอบการเจรจาไทย-กัมพูชาการลง เมื่อวันที่ 28 ต.ค.51 กล่าวว่าโดยข้อเท็จจริงแม้พรรคประชาธิปัตย์จะมีส่วนเกี่ยวข้องในหลายประการแต่ในฐานะเป็นรัฐบาลก็ควรที่จะหยิบข้อมูลในส่วนที่สามารถเปิดเผยได้ หรือชี้ประเด็นปัญหาทั้งกรณี MOU 43 และแผนแม่บทและข้อกำหนดหน้าที่ในการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบกปี 2546 (TOR 46) รวมถึงข้อจำกัดในการดำเนินการเพื่อทวงคืนเขาพระวิหาร หรือ แนวทางและความเป็นไปได้ในการดำเนินการดังกล่าวฯเพื่อสร้างความเข้าใจให้กับสังคมและมีความเข้าใจที่ตรงกันต่อผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
       
       “พรรคประชาธิปัตย์จำเป็นต้องเดินหน้าในเรื่องนี้ในฐานะผู้นำ แม้ว่าในข้อเท็จจริงบางส่วนจะมีความเกี่ยวพันอยู่ก็ควรชี้แจงและให้ข้อมูลและข้อจำกัดทั้งในอดีตและอนาคตเพื่อให้สังคมรับทราบและยอมรับในผลที่อาจจะเกิดขึ้น มิฉะนั้นหากรัฐบาลยังคงนิ่งหรือไม่มีความชัดเจนก็จะถูกถามถึงกรณีการเซ็นข้อตกลงในปี 43 อยู่เสมอ”
       
       อนุศักดิ์ ยังชี้ว่า ผู้นำรัฐบาลควรมีบทบาทนำในการเดินหน้าทวงคืนเขาพระวิหารในฐานะตัวแทนของประเทศ ด้วยการประสานการทำงานกับผู้เชี่ยวชาญ องค์กร หรือภาคประชาสังคมที่ทำงานในเรื่องดังกล่าวอย่างจริงจัง
       
       "ขั้วแม้ว" ผลประโยชน์อื้อซ่า
       
       หากมองไปยังขั้วของพรรคการเมืองใหญ่อย่างพรรคเพื่อไทย ที่อาจจำต้องมีบทบาทในการดำเนินการในเรื่องดังกล่าวเช่นกันในอนาคตหากชนะการเลือกตั้งและเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล ก็ถือว่าเป็นเรื่องยากเช่นกันที่พรรคเพื่อไทยจะเดินหน้าในเรื่องนี้อย่างจริงจัง โดยเฉพาะในยุคของรัฐบาลพ.ต.ต.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นที่ได้ลงนามในข้อตกลง TOR 46 ซึ่งถือว่าเป็นตราบาปที่ส.ส.ในขั้วดังกล่าวไม่อาจที่จะเดินหน้าได้เช่นเดียวกัน
       
       “ การมีข้อตกลงหรือผลประโยชน์ที่พัวพันในการใช้ทรัพยากรหรือการพัฒนาพื้นที่ต่างๆในยุครัฐบาลคุณทักษิณนั้นทำให้มีการตั้งข้อสังเกตได้ว่าการมีเรื่องของผลประโยชน์เข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งก็เป็นจุดอ่อนของพรรคการเมืองขั้วนี้อยู่และอาจจะถูกหยิบยกขึ้นมาโจมตีได้ในอนาคต ”
       
       โดยเฉพาะข้อเท็จจริงในยุครัฐบาลพ.ต.ท.ทักษิณ ถูกตั้งข้อสังเกตว่ามีเรื่องผลประโยชน์เข้ามาเกี่ยวพันในหลายกรณีทั้งการออกMOU ในปี 2544 ด้วยข้อตกลงเรื่องพลังงานในอ่าวไทยกับกัมพูชา รวมถึงการปล่อยให้มีการทำผิดข้อตกลงตามข้อตกลงMOU 43 ของฝ่ายกัมพูชารวมถึงการออกTOR 46 และการสนับสนุนการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกของกัมพูชาในเวลาต่อมา
       
       ปมปัญหาหลายประการที่ทับซ้อนกันนี้ จึงยิ่งทำให้สังคมตั้งคำถามกับภาคการเมืองมากขึ้น โดยเฉพาะประเด็นผลประโยชน์ทับซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้หรือหากประเมินอย่างสุดขั้ว กรณีการเข้ารับตำแหน่งที่ปรึกษาส่วนตัวของสมเด็จฮุนเซน ผู้นำกัมพูชาหรือที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจแก่รัฐบาลกัมพูชา ของพ.ต.ท.ทักษิณ นั้น ก็อาจจะมีความเกี่ยวพันกับประเด็นทรัพยากรธรรมชาติในน่านน้ำก็เป็นได้
       
       พรรคใหญ่ล้วนมีแผล
       
       ด้วยเหตุนี้ คำถามถึงการดำเนินการอย่างจริงจังที่ไม่มีความคืบหน้าเท่าใดนัก เนื่องจากเจ้าภาพหลักในฝ่ายการเมืองล้วนแล้วแต่มีจุดอ่อนในเรื่องดังกล่าวทั้งคู่ ไม่ว่าจะเป็นพรรคประชาธิปัตย์ หรือพรรคเพื่อไทยก็ตาม ที่ต่างก็หยิบยกประเด็นดังกล่าวขึ้นมาโจมตีฝ่ายตรงข้ามว่าเป็นต้นเหตุสำคัญของปัญหามากกว่าที่จะหาทางออกอย่างแท้จริง
       
       “ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นคนในพรรคประชาธิปัตย์หรือพรรคเพื่อไทยก็มีแผลในกรณีดังกล่าวเช่นกันการที่จะหยิบยกขึ้นมาก็จะเจอการมุ่งโจมตีทางการเมือง ทางออกที่พอจะมองได้ก็คือรัฐบาลชุดใดก็ตามต้องอธิบายให้ประชาชนเข้าใจและหาทางเจรจาเพื่อพัฒนาพื้นที่ดังกล่าวร่วมกันทั้ง 2 ประเทศจึงเป็นทางออกที่ดีที่สุด
       
       ความคืบหน้าและความหวังที่ประชาชนจะได้เห็นแนวทางหรือแผนการทวงคืนเขาพระวิหาร กลับมาเป็นของไทยนั้น จึงยังไม่อาจที่จะตั้งความหวังได้เท่าใดนัก เพราะสถานการณ์เฉพาะหน้าที่รับทราบก็คือก็การประวิงเวลาหรือยื้อเวลาในการกระทำของไม่ให้ต้องสูญเสียดินแดนหรือผลประโยชน์ ของชาติในยุคที่ฝ่ายตนเป็นรัฐบาลอยู่เท่านั้น” แหล่งข่าวสายความมั่นคง ระบุ
       
       ***********
       
       ปลดล็อกพิพาทไทย-เขมร
       เสนอวัด 3 มิติคู่แผนที่ไทยโบราณ

       
       เมื่อปมปัญหาเขตแดนไทย-กัมพูชา กรณีปราสาทพระวิหารส่อเค้าไม่อาจยุติลงได้ง่ายๆเลย ความพยายามของแต่ละฝ่าย เพื่อคลี่คลายวิกฤตระหว่างประเทศในครั้งนี้จึงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดแวดวงนักกฏหมายระหว่างประเทศได้เสนอมาตราส่วนวัด แบบผสมผสมทั้งแมทริกซ์ของ “ ฝรั่งเศส อาหรับ และอิตาลี” สำหรับแบ่งเขตแดนไทย-กัมพูชา ใช้คู่กับ แผนที่ไทยโบราณที่ไทยทำขึ้นเองตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 2 และรัชกาลที่ 3 เพื่อเอาแผ่นดินไทยคืน
       
       แหล่งข่าวจากวงการกฏหมายระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า มาตราส่วน 1ต่อ200000ที่ประเทศไทยใช้คำนวนแบ่งเขตพื้นที่ไทยกับกัมพูชา เป็นระบบคำนวนพื้นที่แบบแมทริกซ์ของฝรั่งเศสนั้น ที่มีจุดอ่อนค่อนข้างมาก เพราะมักปัดเศษเป็นศูนย์หมด แต่ในความเป็นจริงของโลกมีลักษณะกลม ทำให้พื้นที่จึงไม่ได้ราบเรียบ แต่มีลักษณะเป็นรูปโค้ง ซึ่งถ้าหากต้องการคำนวนพื้นที่ให้ได้ตามความเป็นจริง จึงไม่ควรใช้อัตราส่วนวัดแบบแมทริกซ์ เพราะทำให้เกิดความผิดพลาดสูงในพื้นที่วัด อันจะทำให้พื้นที่ของไทยหายไปเป็นจำนวนมาก
       
       อีกทั้ง ความละเอียดในการคำนวนสู้กับระบบอื่นๆ ไม่ได้ เห็นได้ชัดจาก แบบอิตาลี หรือ แบบอาราบิก ไม่ได้ ทั้งนี้ มาตราส่วนแบบอิตาลี กำหนดระยะทาง 1 ไมล์ เท่ากับ 1,238 เมตร ส่วนแบบอาราบิก ระยะทาง 1ไมล์ เท่ากับ 1,830เมตร และแบบแมทริกซ์ 1 ไมล์ เท่ากับ 1000 เมตร โดยเฉพาะแบบอาราบิก มีจุดเด่นคือ สามารถคำนวนส่วนโค้ง เว้าของพื้นที่ได้ดี ทั้งนี้ หากมีการนำมาตราส่วนแต่ละแบบมาผสมผสานใช้ร่วมกันก็จะทำให้ได้เขตแดนที่เป็นจริง
       
       “ยิ่งมีระยะห่างมากของมาตราส่วนแต่ละแบบน้อย เมื่อนำไปวัดกับระยะทางจำนวนมากหลายหมื่นกิโลเมตร ความผิดพลาดจะเหลือเพียงเล็กน้อย ดังนั้นจึงจำเป็นต้องใช้วิธีผสมผสานจึงทำให้ความถูกต้องและแม่นยำ”
       
       อเมริกา-นาซ่าใช้สูตรผสม
       พื้นที่แม่นยำ-กันข้อขัดแย้ง

       
       ดังนั้น หากต้องการแก้ไขข้อพิพาทเรื่องเขตแดนอย่างถาวร ประเทศไทย โดยรัฐบาลควรนำมาตราส่วนวัดพื้นที่ทั้ง 3 แบบดังกล่าวมาใช้แบบผสมผสานควบคู่ไปแผนที่ไทยโบราณที่ได้มีการจัดทำขึ้นมาตั้งแต่รัชกาลที่ 2 และรัชกาลที่ 3 ซึ่งฝรั่งเศสได้ให้การยอมรับในสมัยนั้นมาใช้ ก็จะทำให้การแบ่งเขตแดนเป็นไปอย่างไร้ข้อถกเถียง
       
       ดังเช่น คริสโตเฟอร์โคลัมบัส นักสำรวจผู้ค้นพบดินแดนอเมริกาใช้ในการสำรวจเส้นทางเดินเรือของตัวเองจากซีกโลกหนึ่งของคาบสมุทรแอตแลนติกมายังโลกใหม่ ทั้งนี้ หากโคลัมบัสใช้มาตราส่วนแมทริกซ์เพียงแบบเดียว เสบียงอาหาร น้ำที่เตรียมสำหรับเดินทางสำรวจคงไม่เพียงพอ ลูกเรือคงไม่มีชีวิตรอดไปค้นพบทวีปอื่นๆเพราะเกิดความคลาดเคลื่อนในระยะทาง เวลา
       
       รวมไปถึงองค์การนาซ่าก็ยังใช้วิธีคำนวนการแบบผสมผสาน ในการยิงยานอวกาศจากพื้นโลกไปยังดาวอื่นๆอย่างแม่นยำ หรือหากเกิดความผิดพลาดก็เพียงเล็กน้อยเท่านั้น
       
       “อเมริกากับแคนาดา เม็กซิโก มีเขตแดนประเทศติดต่อกัน แต่แทบจะไม่เคยเกิดความขัดแย้งหรือถกเถียงกัน เรื่องเขตแดนเลยในประวัติศาสตร์ เหตุเพราะช่วงก่อตั้งชาติอเมริกา Amerigo Vesppuci เป็นนายทหารและช่างเดินสำรวจและใช้การจำลองพื้นที่ลงบนโต๊ะ โดยชื่อของเขาภายหลังถูกนำมาตั้งเป็นชื่อประเทศ America”
       
       ทั้งนี้ ในการเดินสำรวจ พื้นที่สูง เมื่อใช้เครื่องมือกล้องส่องลงมาเจอหุบเหวลึก จะเห็นความมืดของพื้นที่บริเวณนั้น ซึ่งไม่อาจทราบได้ว่ามีขนาดพื้นที่เท่าไหร่ ก็ต้องใช้องศาของเส้นรุ้ง เส้นแวงมาคำนวนด้วย ดังนั้นวิธีการผสมผสานทั้งอิตาลี อาราบิก และแมทริกซ์ ทำให้อเมริกาคำนวนพื้นที่ได้อย่างถูกต้อง
       
       แนะข้อต่อสู้เผือกร้อน MOU
       
       กรณีพิพาทไทยกับกัมพูชาที่ถกเถียงกันเรื่อง พื้นที่ดินแดน แหล่งข่าวจากวงการกฏหมายระหว่างประเทศ ให้ความเห็นว่า เพราะเหตุว่า กัมพูชาต้องการให้ไทยยอมรับระบบแมทริกซ์ ซึ่งมีข้อผิดพลาดสูงไทยยอมรับไม่ได้อีกทั้งในสมัยนั้นฝ่ายบริหารของประเทศ คือ รัฐบาลได้ไปดำเนินการทำ MOU โดยไม่ได้ขออนุญาติรัฐสภา จึงไม่มีผลผูกพันระหว่างรัฐต่อรัฐ
       
       “ฝ่ายบริหารประเทศคนใดไปทำไว้เมื่อไหร่ก็มีผลผูกพันกับคนนั้น เพราะเป็นเพียงข้อตกลงระหว่างประเทศ ไม่ใช่สนธิสัญญา ดังนั้นจึงมีผลผูกพันและเป็นความรับผิดชอบของฝ่ายบริหารประเทศชุดดำเนินการเท่านั้นไม่ผูกพันรัฐ เมื่อฝ่ายบริหารชุดนั้นหมดวาระไปแล้ว ก็ไม่ควรไปยอมรับแต่สามารถยกเป็นข้อต่อสู้ได้ ในทางตรงกันข้ามหากจะมีผลผูกพันรัฐได้ ต้องดำเนินการครบทั้ง 4 ส่วน ตั้งแต่ ฝ่าย บริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ และฝ่ายตุลากร รวมถึงการลงพระปรมาภิไธยจากประมุขของประเทศอีกด้วย "แหล่งข่าวคนเดิมกล่าวในตอนท้าย 

  blank.gif

 



#7 ypk

ypk

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 2,173 posts

ตอบ 8 มกราคม พ.ศ. 2556 - 11:22

เหอ เหอ เหอ น้ากรกช น่าจะสรุปประเด็นให้ด้วยนะ เพราะบทความมันยาว

จับประเด็นไม่ถูก ว่าสรุปแล้ว อะไรมันทำให้เสียดินแดน เพราะบทความมัน

เป็นลักษณะผูกโยงเรื่อง ไปเรื่อย ไม่ว่า MOU หรือ JBC มันทำให้เสียดินแดน

ยังไง ผมเห็นเขาพูดลักษณะนี้มาตั้งแต่ออกมาชุมนุมประท้วงจนเลิกไป พอมัน

มีข่าวเรื่องศาลโลกขึ้นมา ก็ออกมาแนวเดิมอีก มาทั้ง MOU ทั้ง JBC ก็ถ้าไอ้

สองเรื่องนี่มันทำให้เสียดินแดน มันก็น่าจะจบไปแล้ว ทำไมเขมรยังไปฟ้องศาลโลก

ให้ตีความเรื่องพื้นที่อีกละครับ

 

555



#8 คนบูรพา

คนบูรพา

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 3,290 posts

ตอบ 8 มกราคม พ.ศ. 2556 - 11:23

แค่อยากรู้ว่า............มันสายไปจริงแล้วหรือ...........


ถ้าไม่คิดจะตอบแทนแผ่นดิน ก็จงอย่าทำลาย

#9 hentai

hentai

    เมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 6,046 posts

ตอบ 8 มกราคม พ.ศ. 2556 - 11:27

สายตรงภาคสนาม

พลิกปูมปมพระวิหาร ใครประเคนอธิปไตยไทยให้เขมร ใครปกป้องแผ่นดิน

• 2505 ศาลโลกตัดสินให้เขาพระวิหารเป็นของเขมร ซึ่งไทยไม่ยอมรับคำตัดสินแต่ปฏิบัติตาม มีการออกมติ ครม. ล้อมรั้วแสดงอธิปไตยรอบตัวปราสาทโดยกัมพูชาไม่ทักท้วง
• มีการกระทบกระทั่งตามแนวชายแดน รัฐบาลชวน หลีกภัยทำ MOU43 เป็นกลไกเจรจากัมพูชา
• เปลี่ยนเป็นรัฐบาลทักษิณทำ MOU44 แบ่งผลประโยชน์ทางทะเล สัญญาไทยเสียเปรียบ
• มีข้อครหาผลประโยชน์ทับซ้อนทักษิณ – ฮุนเซน แต่การแบ่งปันผลประโยชน์ยังไม่สำเร็จ
• เกิดการรัฐประหาร 19 กันยา 49 รัฐบาลสุรยุทธ ไม่สนับสนุนกัมพูชาขึ้นทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกโลกฝ่ายเดียว
• รัฐบาลสมัครออกแถลงการณ์ร่วม ไทย-กัมพูชา หนุนการขึ้นทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกโลกของกัมพูชา
• มีการต่อต้านจากกลุ่มพันธมิตรและหลายฝ่าย 28 มิ.ย. 51 ศาลปกครองมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวห้ามใช้แถลงการณ์ดังกล่าว
• รัฐบาลสมัครไม่ได้ชี้แจงปัญหาข้อกฎหมายภายในประเทศ ปล่อยให้กัมพูชาใช้แถลงการณ์เป็นประโยชน์ต่อการขึ้นทะเบียนมรดกโลก
• 8 ก.ค. 51 กรรมการมรดกโลกมีมติขึ้นทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกโลกตามคำขอของกัมพูชา เป็ยวันเดียวกันที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าแถลงการณ์ร่วมดังกล่าวขัดรัฐธรรมนูญ แต่ไม่สามารถยับยั้งการขึ้นทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารได้
• รัฐบาลอภิสิทธิ์เข้าบริหารประเทศ 3 ปี คัดค้านการบริหารพื้นที่รอบปราสาทพระวิหาร ทำให้กัมพูชายังขึ้นทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารไม่สมบูรณ์จนถึงทุกวันนี้
• กัมพูชาสร้างสถานการณ์นำไปสู่การปะทะบริเวณชายแดนเพื่อยกระดับสู่ศาลโลก ไทยสู้คดีเพราะเป็นคดีเก่า หากไม่สู้คดีจะทำให้ศาลฟังความข้างกัมพูชาฝ่ายเดียว ไทยจะเสียประโยชน์
• ศาลโลกมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวให้ทั้ง 2 ฝ่ายถอนทหารจากพื้นที่ทั้งสองฝั่งของสันปันน้ำ ไม่ได้คุ้มครองตามที่กัมพูชารร้องขอให้ไทยถอนทหารฝ่ายเดียว
• รัฐบาลยิ่งลักษณ์เข้าบริหารประเทศไม่มีความชัดเจนเกี่ยวกับการต่อสู้คดี นอกจากอ้างว่าใช้ทีมทนายความเดิมรัฐบาลชุดเก่า
• ท่าทีรัฐบาลอ้างความสัมพันธ์ที่ดีโดยไม่มีการประท้วงเมื่อกัมพูชามีพฤติกรรมละเมิดอธิปไตยไทยจนอาจส่งผลต่อรูปคดีที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลโลก
• รัฐบาลไม่เคยใช้ความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้นำกัมพูชา ในทางที่เป็นประโยชน์ต่อชาติ ตรงกันข้ามกลับมีท่าทีเหมือนสมยอมที่จะให้กัมพูชาขึ้นทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกโลกอย่างสมบูรณ์
• รัฐบาลสนับสนุนให้กัมพูชาเป็นเจ้าภาพกรรมการมรดกโลกโดยไม่เสนอตัวแข่งขัน ต่างจากแนวนโยบายรัฐบาลอภิสิทธิ์    จึงทำให้ไทยเสียเปรียบเพิ่มขึ้น

http://www.facebook....320744928030320

 

เรียบเรื่องได้ดีมากเลยค่ะ อ่านเข้าใจง่าย

หวังว่าลูกๆแป๊ะคงจะอ่านรู้เรื่องนะคะ

 

นิยายเอาไว้หลอกพวกเดียวกันเรื่อง... "อั้วไม่รู้เรื่องด้วยนะโว้ย"...     หรือ แปลเป็นไทยได้ว่า...

"พวกเองผิดกันหมด...  ข้าถูก"  ...     :D


"คนโง่มักจะชอบว่าคนอื่นว่าโง่"

"ถ้าคนเราคิดเหมือนกันหมด ก็ไม่มีเลือกตั้งซิครับ"

"ผมไม่พูด เรื่อง 112 แล้ว นะครับ กรุณาอย่าถาม (17 พค 2012)"


#10 HiddenMan

HiddenMan

    Long Live The King

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 12,023 posts

ตอบ 8 มกราคม พ.ศ. 2556 - 11:32

สายตรงภาคสนาม

พลิกปูมปมพระวิหาร ใครประเคนอธิปไตยไทยให้เขมร ใครปกป้องแผ่นดิน

• 2505 ศาลโลกตัดสินให้เขาพระวิหารเป็นของเขมร ซึ่งไทยไม่ยอมรับคำตัดสินแต่ปฏิบัติตาม มีการออกมติ ครม. ล้อมรั้วแสดงอธิปไตยรอบตัวปราสาทโดยกัมพูชาไม่ทักท้วง
• มีการกระทบกระทั่งตามแนวชายแดน รัฐบาลชวน หลีกภัยทำ MOU43 เป็นกลไกเจรจากัมพูชา
• เปลี่ยนเป็นรัฐบาลทักษิณทำ MOU44 แบ่งผลประโยชน์ทางทะเล สัญญาไทยเสียเปรียบ
• มีข้อครหาผลประโยชน์ทับซ้อนทักษิณ – ฮุนเซน แต่การแบ่งปันผลประโยชน์ยังไม่สำเร็จ
• เกิดการรัฐประหาร 19 กันยา 49 รัฐบาลสุรยุทธ ไม่สนับสนุนกัมพูชาขึ้นทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกโลกฝ่ายเดียว
• รัฐบาลสมัครออกแถลงการณ์ร่วม ไทย-กัมพูชา หนุนการขึ้นทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกโลกของกัมพูชา
• มีการต่อต้านจากกลุ่มพันธมิตรและหลายฝ่าย 28 มิ.ย. 51 ศาลปกครองมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวห้ามใช้แถลงการณ์ดังกล่าว
• รัฐบาลสมัครไม่ได้ชี้แจงปัญหาข้อกฎหมายภายในประเทศ ปล่อยให้กัมพูชาใช้แถลงการณ์เป็นประโยชน์ต่อการขึ้นทะเบียนมรดกโลก
• 8 ก.ค. 51 กรรมการมรดกโลกมีมติขึ้นทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกโลกตามคำขอของกัมพูชา เป็ยวันเดียวกันที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าแถลงการณ์ร่วมดังกล่าวขัดรัฐธรรมนูญ แต่ไม่สามารถยับยั้งการขึ้นทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารได้
• รัฐบาลอภิสิทธิ์เข้าบริหารประเทศ 3 ปี คัดค้านการบริหารพื้นที่รอบปราสาทพระวิหาร ทำให้กัมพูชายังขึ้นทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารไม่สมบูรณ์จนถึงทุกวันนี้
• กัมพูชาสร้างสถานการณ์นำไปสู่การปะทะบริเวณชายแดนเพื่อยกระดับสู่ศาลโลก ไทยสู้คดีเพราะเป็นคดีเก่า หากไม่สู้คดีจะทำให้ศาลฟังความข้างกัมพูชาฝ่ายเดียว ไทยจะเสียประโยชน์
• ศาลโลกมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวให้ทั้ง 2 ฝ่ายถอนทหารจากพื้นที่ทั้งสองฝั่งของสันปันน้ำ ไม่ได้คุ้มครองตามที่กัมพูชารร้องขอให้ไทยถอนทหารฝ่ายเดียว
• รัฐบาลยิ่งลักษณ์เข้าบริหารประเทศไม่มีความชัดเจนเกี่ยวกับการต่อสู้คดี นอกจากอ้างว่าใช้ทีมทนายความเดิมรัฐบาลชุดเก่า
• ท่าทีรัฐบาลอ้างความสัมพันธ์ที่ดีโดยไม่มีการประท้วงเมื่อกัมพูชามีพฤติกรรมละเมิดอธิปไตยไทยจนอาจส่งผลต่อรูปคดีที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลโลก
• รัฐบาลไม่เคยใช้ความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้นำกัมพูชา ในทางที่เป็นประโยชน์ต่อชาติ ตรงกันข้ามกลับมีท่าทีเหมือนสมยอมที่จะให้กัมพูชาขึ้นทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกโลกอย่างสมบูรณ์
• รัฐบาลสนับสนุนให้กัมพูชาเป็นเจ้าภาพกรรมการมรดกโลกโดยไม่เสนอตัวแข่งขัน ต่างจากแนวนโยบายรัฐบาลอภิสิทธิ์    จึงทำให้ไทยเสียเปรียบเพิ่มขึ้น

http://www.facebook....320744928030320

 

เรียบเรื่องได้ดีมากเลยค่ะ อ่านเข้าใจง่าย

หวังว่าลูกๆแป๊ะคงจะอ่านรู้เรื่องนะคะ

 

นิยายเอาไว้หลอกพวกเดียวกันเรื่อง... "อั้วไม่รู้เรื่องด้วยนะโว้ย"...     หรือ แปลเป็นไทยได้ว่า...

"พวกเองผิดกันหมด...  ข้าถูก"  ...     :D

 

:D แล้วมีเรื่อง... "อั้วรู้ทุกเรื่องด้วยนะโว้ย" ด้วยมั๊ย อยากอ่าน


“Live as if you were to die tomorrow. Learn as if you were to live forever.”  - Mahatma Gandhi

 

สนใจบ้านพักคนชราเสรีไทย (FB Secret Group) ติดต่อ (PM) เว็บบอร์ด

https://www.facebook...denman.serithai


#11 redfrog53

redfrog53

    เกิดที่รัสเซีย มาโตที่ สรท.

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 25,221 posts

ตอบ 8 มกราคม พ.ศ. 2556 - 11:56

ยังมี "กองทุนมูลนิธิยามเฝ้าแผ่นดินเพื่อทวงคืนเขาพระวิหาร

ณ 20/7/54  ยอกบริจาค รวม 79,318,853.32 ค่าใช้จ่าย(รัยหว่า?) 76,023,446.72  เหลืออีกตั้ง 3,295,406.60 

ยังเหลืออยู่ๆๆๆๆๆ 

 

Posted Image

#12 ครุฑดำ

ครุฑดำ

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 3,056 posts

ตอบ 8 มกราคม พ.ศ. 2556 - 12:45

สายตรงภาคสนาม

พลิกปูมปมพระวิหาร ใครประเคนอธิปไตยไทยให้เขมร ใครปกป้องแผ่นดิน

• 2505 ศาลโลกตัดสินให้เขาพระวิหารเป็นของเขมร ซึ่งไทยไม่ยอมรับคำตัดสินแต่ปฏิบัติตาม มีการออกมติ ครม. ล้อมรั้วแสดงอธิปไตยรอบตัวปราสาทโดยกัมพูชาไม่ทักท้วง
• มีการกระทบกระทั่งตามแนวชายแดน รัฐบาลชวน หลีกภัยทำ MOU43 เป็นกลไกเจรจากัมพูชา
• เปลี่ยนเป็นรัฐบาลทักษิณทำ MOU44 แบ่งผลประโยชน์ทางทะเล สัญญาไทยเสียเปรียบ
• มีข้อครหาผลประโยชน์ทับซ้อนทักษิณ – ฮุนเซน แต่การแบ่งปันผลประโยชน์ยังไม่สำเร็จ
• เกิดการรัฐประหาร 19 กันยา 49 รัฐบาลสุรยุทธ ไม่สนับสนุนกัมพูชาขึ้นทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกโลกฝ่ายเดียว
• รัฐบาลสมัครออกแถลงการณ์ร่วม ไทย-กัมพูชา หนุนการขึ้นทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกโลกของกัมพูชา
• มีการต่อต้านจากกลุ่มพันธมิตรและหลายฝ่าย 28 มิ.ย. 51 ศาลปกครองมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวห้ามใช้แถลงการณ์ดังกล่าว
• รัฐบาลสมัครไม่ได้ชี้แจงปัญหาข้อกฎหมายภายในประเทศ ปล่อยให้กัมพูชาใช้แถลงการณ์เป็นประโยชน์ต่อการขึ้นทะเบียนมรดกโลก
• 8 ก.ค. 51 กรรมการมรดกโลกมีมติขึ้นทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกโลกตามคำขอของกัมพูชา เป็ยวันเดียวกันที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าแถลงการณ์ร่วมดังกล่าวขัดรัฐธรรมนูญ แต่ไม่สามารถยับยั้งการขึ้นทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารได้
• รัฐบาลอภิสิทธิ์เข้าบริหารประเทศ 3 ปี คัดค้านการบริหารพื้นที่รอบปราสาทพระวิหาร ทำให้กัมพูชายังขึ้นทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารไม่สมบูรณ์จนถึงทุกวันนี้
• กัมพูชาสร้างสถานการณ์นำไปสู่การปะทะบริเวณชายแดนเพื่อยกระดับสู่ศาลโลก ไทยสู้คดีเพราะเป็นคดีเก่า หากไม่สู้คดีจะทำให้ศาลฟังความข้างกัมพูชาฝ่ายเดียว ไทยจะเสียประโยชน์
• ศาลโลกมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวให้ทั้ง 2 ฝ่ายถอนทหารจากพื้นที่ทั้งสองฝั่งของสันปันน้ำ ไม่ได้คุ้มครองตามที่กัมพูชารร้องขอให้ไทยถอนทหารฝ่ายเดียว
• รัฐบาลยิ่งลักษณ์เข้าบริหารประเทศไม่มีความชัดเจนเกี่ยวกับการต่อสู้คดี นอกจากอ้างว่าใช้ทีมทนายความเดิมรัฐบาลชุดเก่า
• ท่าทีรัฐบาลอ้างความสัมพันธ์ที่ดีโดยไม่มีการประท้วงเมื่อกัมพูชามีพฤติกรรมละเมิดอธิปไตยไทยจนอาจส่งผลต่อรูปคดีที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลโลก
• รัฐบาลไม่เคยใช้ความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้นำกัมพูชา ในทางที่เป็นประโยชน์ต่อชาติ ตรงกันข้ามกลับมีท่าทีเหมือนสมยอมที่จะให้กัมพูชาขึ้นทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกโลกอย่างสมบูรณ์
• รัฐบาลสนับสนุนให้กัมพูชาเป็นเจ้าภาพกรรมการมรดกโลกโดยไม่เสนอตัวแข่งขัน ต่างจากแนวนโยบายรัฐบาลอภิสิทธิ์    จึงทำให้ไทยเสียเปรียบเพิ่มขึ้น

http://www.facebook....320744928030320

 

เรียบเรื่องได้ดีมากเลยค่ะ อ่านเข้าใจง่าย

หวังว่าลูกๆแป๊ะคงจะอ่านรู้เรื่องนะคะ

 

นิยายเอาไว้หลอกพวกเดียวกันเรื่อง... "อั้วไม่รู้เรื่องด้วยนะโว้ย"...     หรือ แปลเป็นไทยได้ว่า...

"พวกเองผิดกันหมด...  ข้าถูก"  ...     :D

มีแต่ไอ้นพเหล่ ขี้ข้าไอ้แม้วสินะที่รู้ ถึงได้เซ็นต์ยินยอมให้เขมรไปขึ้นทะเบียนมรดกโลกได้ บรรพบุรุษต่อสู้มาตลอดเพื่อรงบรวมผืนแผ่นดินให้ลูกหลานได้อาศัย

 

คนอย่างท่านถ้าต้องเสียที่ดินในบ้านตัวเองให้คนอื่นไปเปล่าๆจะยอมไหม??? :angry:

 

หรือว่าแท้จริงแล้วคุณคือเขมรมาอาศัยประเทศบรรพบุรุษผมอยู่ ถึงได้เมินเฉยกับเรื่องอธิปไตยและผืนแผ่นดินของชาติไทย

หมายังสำนึกบุญคุณ ท่าน(น่าจะ)เป็นคนใยไม่สำนึกในบุญคุณบรรพบุรุษ หรือว่าไม่ใช่? :huh: จึงไม่คิดว่าควรปกป้องบ้านเมืองตัวเอง


เอ็งขอเป็น"ขี้ข้าโจร" ข้าเลือกเป็น"ข้าธุลีพระบาท" เอ็งขอเป็น"ไพร่" ข้าเลือกเป็น"พสกนิกร"


#13 kaidum

kaidum

    ขาดขา

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 4,125 posts

ตอบ 8 มกราคม พ.ศ. 2556 - 13:17

สายตรงภาคสนาม

พลิกปูมปมพระวิหาร ใครประเคนอธิปไตยไทยให้เขมร ใครปกป้องแผ่นดิน

• 2505 ศาลโลกตัดสินให้เขาพระวิหารเป็นของเขมร ซึ่งไทยไม่ยอมรับคำตัดสินแต่ปฏิบัติตาม มีการออกมติ ครม. ล้อมรั้วแสดงอธิปไตยรอบตัวปราสาทโดยกัมพูชาไม่ทักท้วง
• มีการกระทบกระทั่งตามแนวชายแดน รัฐบาลชวน หลีกภัยทำ MOU43 เป็นกลไกเจรจากัมพูชา
• เปลี่ยนเป็นรัฐบาลทักษิณทำ MOU44 แบ่งผลประโยชน์ทางทะเล สัญญาไทยเสียเปรียบ
• มีข้อครหาผลประโยชน์ทับซ้อนทักษิณ – ฮุนเซน แต่การแบ่งปันผลประโยชน์ยังไม่สำเร็จ
• เกิดการรัฐประหาร 19 กันยา 49 รัฐบาลสุรยุทธ ไม่สนับสนุนกัมพูชาขึ้นทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกโลกฝ่ายเดียว
• รัฐบาลสมัครออกแถลงการณ์ร่วม ไทย-กัมพูชา หนุนการขึ้นทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกโลกของกัมพูชา
• มีการต่อต้านจากกลุ่มพันธมิตรและหลายฝ่าย 28 มิ.ย. 51 ศาลปกครองมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวห้ามใช้แถลงการณ์ดังกล่าว
• รัฐบาลสมัครไม่ได้ชี้แจงปัญหาข้อกฎหมายภายในประเทศ ปล่อยให้กัมพูชาใช้แถลงการณ์เป็นประโยชน์ต่อการขึ้นทะเบียนมรดกโลก
• 8 ก.ค. 51 กรรมการมรดกโลกมีมติขึ้นทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกโลกตามคำขอของกัมพูชา เป็ยวันเดียวกันที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าแถลงการณ์ร่วมดังกล่าวขัดรัฐธรรมนูญ แต่ไม่สามารถยับยั้งการขึ้นทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารได้
• รัฐบาลอภิสิทธิ์เข้าบริหารประเทศ 3 ปี คัดค้านการบริหารพื้นที่รอบปราสาทพระวิหาร ทำให้กัมพูชายังขึ้นทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารไม่สมบูรณ์จนถึงทุกวันนี้
• กัมพูชาสร้างสถานการณ์นำไปสู่การปะทะบริเวณชายแดนเพื่อยกระดับสู่ศาลโลก ไทยสู้คดีเพราะเป็นคดีเก่า หากไม่สู้คดีจะทำให้ศาลฟังความข้างกัมพูชาฝ่ายเดียว ไทยจะเสียประโยชน์
• ศาลโลกมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวให้ทั้ง 2 ฝ่ายถอนทหารจากพื้นที่ทั้งสองฝั่งของสันปันน้ำ ไม่ได้คุ้มครองตามที่กัมพูชารร้องขอให้ไทยถอนทหารฝ่ายเดียว
• รัฐบาลยิ่งลักษณ์เข้าบริหารประเทศไม่มีความชัดเจนเกี่ยวกับการต่อสู้คดี นอกจากอ้างว่าใช้ทีมทนายความเดิมรัฐบาลชุดเก่า
• ท่าทีรัฐบาลอ้างความสัมพันธ์ที่ดีโดยไม่มีการประท้วงเมื่อกัมพูชามีพฤติกรรมละเมิดอธิปไตยไทยจนอาจส่งผลต่อรูปคดีที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลโลก
• รัฐบาลไม่เคยใช้ความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้นำกัมพูชา ในทางที่เป็นประโยชน์ต่อชาติ ตรงกันข้ามกลับมีท่าทีเหมือนสมยอมที่จะให้กัมพูชาขึ้นทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกโลกอย่างสมบูรณ์
• รัฐบาลสนับสนุนให้กัมพูชาเป็นเจ้าภาพกรรมการมรดกโลกโดยไม่เสนอตัวแข่งขัน ต่างจากแนวนโยบายรัฐบาลอภิสิทธิ์    จึงทำให้ไทยเสียเปรียบเพิ่มขึ้น

http://www.facebook....320744928030320

 

เรียบเรื่องได้ดีมากเลยค่ะ อ่านเข้าใจง่าย

หวังว่าลูกๆแป๊ะคงจะอ่านรู้เรื่องนะคะ

 

นิยายเอาไว้หลอกพวกเดียวกันเรื่อง... "อั้วไม่รู้เรื่องด้วยนะโว้ย"...     หรือ แปลเป็นไทยได้ว่า...

"พวกเองผิดกันหมด...  ข้าถูก"  ...     :D

 

 

 

ถ้าเค้าผิด คุณคิดว่าอะไรคือถูกครับ 

หรืออย่ามาหลอกข้า เพราะข้าไม่รู้เรื่อง  :D   

 

เอาอย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ครับ


ประชาธิปไตยของผม ไม่ได้เกิดจากอารมณ์และการอุปถัมป์ โดยใคร

#14 Tam-mic-ra.

Tam-mic-ra.

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 2,948 posts

ตอบ 8 มกราคม พ.ศ. 2556 - 13:23

มีใครพอจะมีความรู้ มาคุยกับผมและเสื้อแดง ในเรื่องนี้ไหมครับ  คัดตัวกันมาเลยครับ 

เอาคนที่แจ่มๆหน่อยนะครับ  เพราะผมเบื่อตอบพวกไม่รู้เรื่องแต่อยากเด่นอยากโพสต์ ชอบมาถามและโจมตีอะไรบ้าๆบ๊องส์ๆและวนเวียนไปมา  น่าปวดหัวและเมื่อยนิ้วมากๆ  

ถ้ามีแจ้งมา เดี๋ยวเปิดกระทู้ใหม่เอากันเลย


"คนพาลไร้สติ มักสร้างเรื่องและหลักฐานเท็จโกหก เพื่อคอยใส่ร้ายอีกฝ่ายหนึ่งเสมอ" :unsure:

 

นาย ''Starเก๋ง'' ฟันธง!  รถเก๋งขับมายิงเสื้อแดง :lol:      http://webboard.seri...แค/#entry842224   ;      http://webboard.seri...-25#entry408954


#15 คนบูรพา

คนบูรพา

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 3,290 posts

ตอบ 8 มกราคม พ.ศ. 2556 - 14:15

ผมเชื่ออย่างสุดใจ........ใครคิดไม่ดีต่อประเทศชาติ...........มันอยู่สบายไม่นานหรอกครับ

 

แล้วจะมาเสียใจภายหลัง........มันก็สายเกินไปเสียแล้ว


ถ้าไม่คิดจะตอบแทนแผ่นดิน ก็จงอย่าทำลาย

#16 Axis Kernel

Axis Kernel

    น้องเก่า

  • Members
  • PipPip
  • 186 posts

ตอบ 8 มกราคม พ.ศ. 2556 - 14:55

http://topicstock.pa...6/X9560596.html



#17 Axis Kernel

Axis Kernel

    น้องเก่า

  • Members
  • PipPip
  • 186 posts

ตอบ 8 มกราคม พ.ศ. 2556 - 15:26

ลำดับความเป็นมากรณีปราสาทพระวิหาร
by Noppadon Pattama on Thursday, July 29, 2010 at 1:01pm ·
 

ลำดับความเป็นมากรณีปราสาทพระวิหาร 

ประเด็นเรื่องปราสาทพระวิหารกลับมาอยู่ในข่าวครั้งแล้วครั้งเล่า เพราะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับปัญหาเขตแดนของไทยและกัมพูชา แต่ที่มันแก้ยากมากขึ้น เพราะกลุ่มพันธมิตรเอาเรื่องนี้มาจุดกระแสคลั่งชาติ และร่วมมือกับนักการเมืองบางกลุ่มใช้ประเด็นนี้ทำลายกันทางการเมือง โดยบิดเบือนข้อเท็จจริงและประเด็นข้อกฎหมายอย่างไร้ความละอาย หวังแต่จะเอาชนะและทำลายคนอื่นโดยอาศัยความเท็จ แต่พอตนเองมีหน้าที่ในการแก้ปัญหา กลับไม่สามารถแก้ปัญหาได้ แต่ยังพยายามโยนบาปและโทษคนอื่น เพื่อให้ผู้อ่านไม่ตกเป็นเหยื่อของพวกจุดกระแสคลั่งชาติ และนักการเมืองประเภทพูดเอาดีใส่ตัวเอาชั่วใส่คนอื่น และใช้ข้อมูลเท็จ ลองมาดูข้อเท็จจริงพอสังเขปในเรื่องนี้ดังนี้ครับ 

1. ในปี 2505 ไทยแพ้คดีในศาลโลกในคดีที่หม่อมเสนีย์ ปราโมช ว่าความ รัฐบาลจอมพลสฤษดิ์จึงจำใจ และจำยอมยกปราสาทพระวิหารและที่ดินใต้ปราสาทให้กัมพูชาตามคำตัดสินของศาลโลกเมื่อ 46 ปีที่แล้ว นายสมัครหรือนายนพดล ไม่ใช่คนยกปราสาทพระวิหารให้กัมพูชา 
เดิมไทยใช้สันปันน้ำเป็นเส้นแบ่งเขตกับกัมพูชา แต่หลังจากยกปราสาทให้กัมพูชาไปแล้ว ไทยจึงทำแผนที่ประเทศบริเวณนั้นใหม่ โดยตัดพื้นที่ปราสาทออกจากราชอาณาจักรไทยและกันออกไปให้อยู่ในเขตกัมพูชา ที่เรียกว่าแผนที่ชุด L 7017 ทุกหน่วยงานของรัฐ รวมทั้งกองทัพไทย และกระทรวงต่างประเทศถือว่าเส้นเขตแดนไทยกับกัมพูชาเป็นไปตามแผนที่ชุด L 7017 
นายอภิสิทธิ์โกหกในสภาตอนเป็นฝ่ายค้านว่าพื้นที่ใต้ปราสาทยังเป็นของไทย แต่เผลอลืมไปว่าในปี 2541 ตอนเป็น รมต ในครม ชวน ตนเองก็ออกแผนที่ประกาศเขตอุทยานเขาพระวิหารตามแผนที่ L 7017 และระบุว่า เส้นบริเวณปราสาท เป็นเส้นเขตแดนระหว่างประเทศ ไทยและกัมพูชา ที่น่าละอายก็คือพอตนเองทำนั้น บอกทำได้ แต่พอคนอื่นทำ บอกว่าจะทำให้เสียดินแดน 

2. กระทรวงการต่างประเทศและกองทัพไทยยืนยันว่าไทยยกทั้งปราสาทและที่ดินใต้ปราสาทให้กัมพูชา เพราะศาลโลกตัดสินว่า “ ปราสาทพระวิหารตั้งอยู่ในดินแดนภายใต้อธิปไตยของกัมพูชา “ แต่พรรคปชป. และนายอภิสิทธ์ เห็นว่าไทยยกให้เฉพาะตัวปราสาท แต่ที่ดินใต้ตัวปราสาทยังเป็นของไทย ดังนั้นเมื่อพรรคปชป.เป็นรัฐบาล ก็ต้องเจรจาเอาที่ดินกลับมาตามที่โจมตีท่านสมัครและนายนพดล ตอนตัวเองเป็นฝ่ายค้าน หรือหากสงสัยก็ยื่นขอให้ศาลโลกตีความความหมายหรือขอบเขตคำพิพากษาได้ ตามธรรมนูญศาลโลก ข้อ 60 ซึ่งยื่นได้ตลอดเวลา ไม่มีอายุความ ประเด็นคือ นายอภิสิทธิ์กล้าพอไหม? 

3. ปี 2549 กัมพูชาไปยื่นคำขอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก โดยแผนที่ที่ยื่นนั้นมันรุกล้ำและผนวกอาพื้นที่ทับซ้อน 4.6 ตารางกม. ที่ไทยอ้างสิทธิเข้าไปด้วย กล่าวคือกัมพูชายื่นขอขึ้นทะเบียน a) ตัวปราสาท และ B) พื้นที่ทับซ้อน 

4. ปี 2550 ในสมัยรัฐบาลสุรยุทธ์ไทยคัดค้านไม่ให้เขาเอา B) พื้นที่ทับซ้อน ไปขึ้นทะเบียน จนคณะกรรมการมรดกโลกเลื่อนการพิจารณาการขึ้นทะเบียนปราสาทจากปี 2550 ไปเป็น ก.ค. 2551 

5. เดือน ก.พ. 2551 รัฐบาล คมช. หมดวาระลง รัฐบาลสมัครเข้ามาจึงต้องรับช่วงแก้ปัญหา และรัฐบาลเสมือนถูกไฟลนก้น เพราะเหลือเวลาเพียง 5 เดิอนก่อนประชุมมรดกโลกในเดือน ก.ค. 2551 และต้องเร่งเจรจาให้กัมพูชาตัดพื้นที่ทับซ้อนออกก่อนให้ได้ เพราะแผนที่ที่กัมพูชายื่นคาไว้ตั้งแต่ปี 2549 มันผนวกเอาพื้นที่ทับซ้อนเราไปขึ้นทะเบียนไว้ 

6. พื้นที่ทับซ้อน 4.6 ตารางกม. นี้ต่างฝ่ายต่างอ้างสิทธิ ไทยก็อ้างเป็นเจ้าของ กัมพูชาก็อ้างว่าเป็นเจ้าของ กัมพูชาไม่เคยยอมรับว่าเป็นพื้นที่ทับซ้อน เพราะกัมพูชาเห็นว่าศาลโลกตัดสินในปี 2505 ชัดเจนแล้วเรื่องเส้นเขตแดน โดยยึดเอาเส้นเขตแดนสยามฝรั่งเศส แต่ไทยไม่เห็นด้วยกับกัมพูชา เพราะไทยอ้างว่าศาลโลกไม่ได้ตัดสินเรื่องเส้นเขตแดน 

7. เมื่อต่างคนต่างอ้างสิทธิในพื้นที่ทับซ้อน ต่างฝ่ายจึงต้องแสดงการใช้อำนาจอธิปไตยเหนือพื้นที่เพื่อไม่ให้ตนเองเสียสิทธิ เช่นการส่งคนเข้าไปอยู่ การส่งกำลังทหารเข้าไปครอบครองไว้ เพื่ออ้างว่าเป็นของตน และในระหว่างนั้นก็เจรจากัน โดยไม่รบกัน หลายประเทศเลือกการพัฒนาร่วมกันไปก่อนจนกว่าจะมีการปักปันของคณะกรรมการชุดต่างๆ และนี่คือแนวทางที่ตกลงกันในคำแถลงการณ์ร่วม 

8. รัฐบาลสมัคร และนายนพดล จึงพยายามเจรจาให้กัมพูชาตัดพื้นที่ทับซ้อนออก และห้ามนำไปขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก เพราะหากกัมพูชาขึ้นทะเบียนพื้นที่ทับซ้อนเป็นมรดกโลกสำเร็จ ไทยจะสุ่มเสี่ยงเสียอธิปไตยในพื่นที่ทับซ้อน ส่วนตัวปราสาทนั้นไทยแพ้คดีที่ศาลโลกในปี 2505 และจำใจยกปราสาทให้เขาไป 46 ปีที่แล้ว เขาจะขึ้นทะเบียนก็เป็นเรื่องของเขา เราห้ามเขาไม่ได้ 
มีคำถามว่าทำไมไทยไม่ยื่นขอขึ้นทะเบียนร่วม คำตอบก็คือ ในอดีตไทยเคยขอขึ้นทะเบียนร่วม แต่ถูกกัมพูชาปฏิเสธมาแล้ว และงานเฉพาะหน้าของรัฐบาลสมัครคือการเร่งเจรจาตัดพื้นที่ทับซ้อนออกก่อน ก.ค. 2551 ไม่ใช่การขึ้นทะเบียนร่วม เพราะการขอขึ้นทะเบียนต้องยื่นล่วงหน้าหลายปี 

9. การดำเนินการที่รัฐบาลสมัครและนายนพดลทำไปนั้น ดำเนินการเป็นขั้นเป็นตอน หน่วยงานของรัฐและข้าราชการประจำทุกฝ่ายร่วมกันทำ และเห็นด้วย เช่นกระทรวงการต่างประเทศ กองทัพไทย สภาความมั่นคงแห่งชาติ กรมแผนที่ทหาร ครม พล.อ. อนุพงษ์ ผบทบ. พล.อ. วินัย ภัทยกุล เห็นด้วย 

10. หากรัฐบาลสมัครและนายนพดลไม่คัดค้านอย่างแข็งขันและเจรจาจนสำเร็จ กัมพูชาจะผนวกเอาพื้นที่ทับซ้อนไปขึ้นทะเบียนด้วย เราจะแย่กว่านี้ พวกเขาเป็นผู้ปกป้องดินแดนไทย 

11. ที่กัมพูชาส่งทหารเข้าไปในพื้นที่ทับซ้อน และไทยก็ทำเช่นกัน ก็เพื่อแสดงความเป็นเจ้าของ และอ้างสิทธิ 

12. การทูตนั้นต้องเจรจา และรักษาไมตรีไว้ หากทำตามแนวทางของรัฐบาลสมัครจะรักษาได้ทั้งดินแดน และ ไมตรี 

13. คำแถลงการณ์ร่วมที่ครม.สมัครอนุมัติให้นายนพดล ไปเซ็นนั้นขณะนี้สิ้นผลไปแล้วตามหนังสือยืนยันของ รมต ต่างประเทศกัมพูชา และตอนที่กัมพูชาขึ้นทะเบียนปราสาทเป็นมรดกโลกในเดือน กค. 2551 นั้น คณะกรรมการมรดกโลกก็ห้ามไม่ให้นำคำแถลงการณ์ร่วมเข้าประกอบการพิจารณาตามที่ไทยขอระงับผลตามคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวของศาลปกครอง แสดงว่าไทยจะสนับสนุนการขึ้นทะเบียนตัวปราสาทหรือไม่ ก็ไม่ได้มีความสำคัญเลย กัมพูชาก็ขึ้นทะเบียนเฉพาะตัวปราสาทได้อยู่ดี 

14. คำแถลงการณ์ร่วมทำให้กัมพูชายอมรับเป็นครั้งแรกว่ามีพื้นที่ทับซ้อน ทั้งๆที่ปฏิเสธมาโดย 
ตลอด และโชคดีที่ในการประชุมที่แคนาดาที่ผ่านมา กัมพูชาขอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหาร โดยไม่เอาพื้นที่ทับซ้อนขึ้นทะเบียนด้วย โชคดีที่เขาทำตามแนวทางของแถลงการณ์ร่วม แม้ว่ามันไม่ผูกพันเขาเพราะไทยระงับผลไว้ก็ตาม 

15 ศาลรัฐธรรมนูญตัดสินว่าคำแถลงการณ์ร่วมเป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา 190 และต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาก่อนทำขึ้น เพราะ 1. คำแถลงการณ์ร่วม” อาจมีบทบัญญัติเปลี่ยนแปลงอาณาเขต.” และ 2. เป็นหนังสือสัญญาที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม 
ศาลรัฐธรรมนูญตัดสินผิดเพราะ 1) คำแถลงการณ์ร่วมไม่เป็นหนังสือสัญญา แต่เป็นเพียงแถลงการณ์ทางการเมิอง และคู่กรณีไม่มีเจตนาผูกนิติสัมพันธ์กัน ซึ่งยืนยันได้จากหนังสือของ รมต ต่างประเทศกัมพูชาที่ระบุว่า กัมพูชาไม่เห็นว่าคำแถลงการณ์ร่วมเป็น international treaty (สนธิสัญญาระหว่างประเทศ) 2) ประการที่สอง ศาลรัฐธรรมนูญตัดสินเกินที่รัฐธรรมนูญเขียนไว้ในมาตรา 190 โดยเติมคำว่า “ อาจ” เข้าไป และ 3) ประการที่สาม ข้อความที่ว่าเป็นหนังสือสัญญาที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม เป็นบทบัญญัติใหม่ ครอบจักรวาล มีปัญหา และขาดความชัดเจน และเจตนารมณ์หมายถึงข้อตกลงเขตการค้าเสรี มากกว่าจะเป็นหนังสือประเภท คำแถลงการณ์ร่วม 



#18 wewe

wewe

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 3,005 posts

ตอบ 8 มกราคม พ.ศ. 2556 - 15:34

สายตรงภาคสนาม

พลิกปูมปมพระวิหาร ใครประเคนอธิปไตยไทยให้เขมร ใครปกป้องแผ่นดิน

• 2505 ศาลโลกตัดสินให้เขาพระวิหารเป็นของเขมร ซึ่งไทยไม่ยอมรับคำตัดสินแต่ปฏิบัติตาม มีการออกมติ ครม. ล้อมรั้วแสดงอธิปไตยรอบตัวปราสาทโดยกัมพูชาไม่ทักท้วง
• มีการกระทบกระทั่งตามแนวชายแดน รัฐบาลชวน หลีกภัยทำ MOU43 เป็นกลไกเจรจากัมพูชา
• เปลี่ยนเป็นรัฐบาลทักษิณทำ MOU44 แบ่งผลประโยชน์ทางทะเล สัญญาไทยเสียเปรียบ
• มีข้อครหาผลประโยชน์ทับซ้อนทักษิณ – ฮุนเซน แต่การแบ่งปันผลประโยชน์ยังไม่สำเร็จ
• เกิดการรัฐประหาร 19 กันยา 49 รัฐบาลสุรยุทธ ไม่สนับสนุนกัมพูชาขึ้นทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกโลกฝ่ายเดียว
• รัฐบาลสมัครออกแถลงการณ์ร่วม ไทย-กัมพูชา หนุนการขึ้นทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกโลกของกัมพูชา
• มีการต่อต้านจากกลุ่มพันธมิตรและหลายฝ่าย 28 มิ.ย. 51 ศาลปกครองมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวห้ามใช้แถลงการณ์ดังกล่าว
• รัฐบาลสมัครไม่ได้ชี้แจงปัญหาข้อกฎหมายภายในประเทศ ปล่อยให้กัมพูชาใช้แถลงการณ์เป็นประโยชน์ต่อการขึ้นทะเบียนมรดกโลก
• 8 ก.ค. 51 กรรมการมรดกโลกมีมติขึ้นทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกโลกตามคำขอของกัมพูชา เป็ยวันเดียวกันที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าแถลงการณ์ร่วมดังกล่าวขัดรัฐธรรมนูญ แต่ไม่สามารถยับยั้งการขึ้นทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารได้
• รัฐบาลอภิสิทธิ์เข้าบริหารประเทศ 3 ปี คัดค้านการบริหารพื้นที่รอบปราสาทพระวิหาร ทำให้กัมพูชายังขึ้นทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารไม่สมบูรณ์จนถึงทุกวันนี้
• กัมพูชาสร้างสถานการณ์นำไปสู่การปะทะบริเวณชายแดนเพื่อยกระดับสู่ศาลโลก ไทยสู้คดีเพราะเป็นคดีเก่า หากไม่สู้คดีจะทำให้ศาลฟังความข้างกัมพูชาฝ่ายเดียว ไทยจะเสียประโยชน์
• ศาลโลกมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวให้ทั้ง 2 ฝ่ายถอนทหารจากพื้นที่ทั้งสองฝั่งของสันปันน้ำ ไม่ได้คุ้มครองตามที่กัมพูชารร้องขอให้ไทยถอนทหารฝ่ายเดียว
• รัฐบาลยิ่งลักษณ์เข้าบริหารประเทศไม่มีความชัดเจนเกี่ยวกับการต่อสู้คดี นอกจากอ้างว่าใช้ทีมทนายความเดิมรัฐบาลชุดเก่า
• ท่าทีรัฐบาลอ้างความสัมพันธ์ที่ดีโดยไม่มีการประท้วงเมื่อกัมพูชามีพฤติกรรมละเมิดอธิปไตยไทยจนอาจส่งผลต่อรูปคดีที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลโลก
• รัฐบาลไม่เคยใช้ความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้นำกัมพูชา ในทางที่เป็นประโยชน์ต่อชาติ ตรงกันข้ามกลับมีท่าทีเหมือนสมยอมที่จะให้กัมพูชาขึ้นทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกโลกอย่างสมบูรณ์
• รัฐบาลสนับสนุนให้กัมพูชาเป็นเจ้าภาพกรรมการมรดกโลกโดยไม่เสนอตัวแข่งขัน ต่างจากแนวนโยบายรัฐบาลอภิสิทธิ์    จึงทำให้ไทยเสียเปรียบเพิ่มขึ้น

http://www.facebook....320744928030320

 

เรียบเรื่องได้ดีมากเลยค่ะ อ่านเข้าใจง่าย

หวังว่าลูกๆแป๊ะคงจะอ่านรู้เรื่องนะคะ

 

นิยายเอาไว้หลอกพวกเดียวกันเรื่อง... "อั้วไม่รู้เรื่องด้วยนะโว้ย"...     หรือ แปลเป็นไทยได้ว่า...

"พวกเองผิดกันหมด...  ข้าถูก"  ...     :D

 

เพ้อเจ้อนิยงนิยายอะไร อย่ามั่ว แหกขี้ตาอ่านยัง

ถ้ามีรอยหยักในสมองอ่านแล้วก็น่าจะแยกแยะได้นะว่าอะไรเป็นอะไร

 

ไม่มีใครหลอกใครได้หรอก คิดเองได้กัน ยกเว้นพวกแกล้งโง่อยากมีส่วนในการขายชาติ


ความเท็จแม้นเร้นได้ในปัจจุบัน  แต่ก็เหมือนซ่อนสุริยันไว้หลังเมฆ

อย่านึกถึงแต่ความผิดพลาด  จงระลึกถึงต้นเหตุของความผิดพลาด


#19 Gop

Gop

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 4,450 posts

ตอบ 8 มกราคม พ.ศ. 2556 - 15:59

มีใครพอจะมีความรู้ มาคุยกับผมและเสื้อแดง ในเรื่องนี้ไหมครับ  คัดตัวกันมาเลยครับ 
เอาคนที่แจ่มๆหน่อยนะครับ  เพราะผมเบื่อตอบพวกไม่รู้เรื่องแต่อยากเด่นอยากโพสต์ ชอบมาถามและโจมตีอะไรบ้าๆบ๊องส์ๆและวนเวียนไปมา  น่าปวดหัวและเมื่อยนิ้วมากๆ  
ถ้ามีแจ้งมา เดี๋ยวเปิดกระทู้ใหม่เอากันเลย

55555

เรื่องนี้คุณไม่เบื่อบ้างหรือครับ

ผมว่สผมเบื่อแล้วล่ะ ความยากอีกอย่างของเรื่องนี้คือ เราได้แต่คาดเดา อย่างผมเชื่อว่า MOU43 นั้นเป็นประโยชน์เห็นๆ แต่หลายคนกลับมองว่าทำให้เสียดินแดน

เรื่องแถลงการณ์ร่วมก็เหมือนกัน ด้านนึงผมก็ทราบแล้ว ว่ามันไม่ใช่ส่วนที่ทำให้ขึ้นมรดกโลก แต่อีกด้านนึง ผมก็ไม่เห็นว่ามันจะมีประโยชน์อะไรนักหนาอย่างที่คุณบอกเลย เพราะในแถลงการณื แผนผังมันกินพื้นที่นิดเดียวของพื้นที่พิพาท

แล้วคุณคิดว่า แบบนี้จะได้ข้อสรุปมั้ยครับ ว่าใครผิด ใครถูก เสียหรือไม่เสียดินแดน หรือ ใครต้องรับผิดชอบ ฯลฯ

หลักฐานไม่เคยโกหก (Gilbert Grissom C.S.I.)<p>Beneath this mask there is more than flesh. Beneath this mask there is an idea, Mr. Creedy, and ideas are bulletproof.

 


#20 Axis Kernel

Axis Kernel

    น้องเก่า

  • Members
  • PipPip
  • 186 posts

ตอบ 8 มกราคม พ.ศ. 2556 - 16:03

 ที่ พธม. 1/2556
                                                                         พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
                                                                         102/1 ถนนพระอาทิตย์
                                                                         แขวงชนะสงคราม เขตพระนคร
                                                                         กรุงเทพ 10200
       
                                              วันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2556
       
       เรื่อง ขอให้ปฏิเสธอำนาจศาลยุติธรรมระหว่างประเทศและรักษาอธิปไตยของราชอาณาจักรไทย
       เรียน ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี
       
       สิ่งที่ส่งมาด้วย: 1) แถลงการณ์พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยฉบับที่ 1/2556 ลงวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2556 พร้อมด้วยสำเนาข่าวแถลงการณ์ฉบับที่ 3/2554, 4/2554, 5/2554, 6/2554
       
       เป็นที่ทราบกันดีว่า พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยได้เคยเคลื่อนไหวชุมนุมการเมืองและดำเนินการทางกฎหมายเพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลในทุกยุคได้ปกป้องและรักษาอธิปไตยของชาติกรณีเขตแดนไทย-กัมพูชา โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณโดยรอบปราสาทพระวิหารตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา ดังปรากฏเป็นแถลงการณ์ของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย แถลงการณ์ 4 ฉบับ ในวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 เพื่อแสดงว่าภาคประชาชนได้ต่อสู้มาอย่างยาวนานอย่างไร และประสบผลสำเร็จอย่างไร อีกทั้งได้เสนอหาทางออกเอาไว้แล้ว ได้แก่ ฉบับที่ 3/2554 เรื่อง “ภาคประชาชนได้ต่อสู้เรื่องอธิปไตยและดินแดนอย่างเต็มที่สุดความสามารถแล้ว” ฉบับที่ 4/2554 เรื่อง “ทหารของจอมทัพไทยยังไม่ได้ทำหน้าที่ของตัวเองในการรักษาอธิปไตยของชาติ” ฉบับที่ 5/2554 เรื่อง“บทพิสูจน์ความล้มเหลวของรัฐบาลประชาธิปัตย์ในการใช้ MOU 2543 และจะเสียดินแดนต่อไปเพราะรับอำนาจศาลโลก” และฉบับที่ 6/2555 “ขอให้รัฐบาลชุดต่อไปปกป้องอธิปไตยของชาติ” 
       
       อย่างไรก็ตาม การแถลงการณ์ดังกล่าวของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยข้างต้น ก็มิได้รับการตอบสนองใดๆ จากรัฐบาลชุดนี้เช่นกัน ยิ่งไปกว่านั้น รัฐบาลชุดปัจจุบันกลับส่งสัญญาณให้ประชาชนชาวไทยเตรียมตัวยอมรับความพ่ายแพ้ที่รัฐบาลได้รับอำนาจศาลยุติธรรมระหว่างประเทศในการตีความคดีปราสาทพระวิหาร พ.ศ. 2505 อีกทั้งยังจะปฏิบัติตามมาตรการคุ้มครองชั่วคราวเป็นประเทศแรกในโลกใบนี้อีกด้วย
       
       แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเห็นว่า การดำเนินการที่กระทำอยู่ในปัจจุบันนี้รังแต่จะทำให้ราชอาณาจักรไทยเสียเปรียบ และมีความเสี่ยงจนถึงขั้นทำให้ราชอาณาจักรไทยซึ่งเสียดินแดนในทางพฤตินัยไปแล้วยังต้องเสียดินแดนในทางนิตินัยเพิ่มเติมอีก อันเป็นความเสียหายที่ร้ายแรงและไม่อาจจะเป็นที่ยอมรับได้สำหรับประชาชนชาวไทยผู้รักชาติและหวงแหนอธิปไตยของชาติที่บรรพบุรุษไทยเราปกป้องและแลกมาด้วยเลือดเนื้อและชีวิต
       
       โดยหลังจากนี้ หากไทยถลำลึกยอมรับอำนาจศาลยุติธรรมระหว่างประเทศแล้ว ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศมีแนวโน้มจะตีความให้เป็นคุณต่อกัมพูชา และเป็นโทษต่อประเทศไทยโดยศาลยุติธรรมระหว่างประเทศจะใช้การอ้างอิงกฎหมายปิดปากที่ประเทศไทยไม่ปฏิเสธแผนที่มาตราส่วน 1 : 200,000 ซึ่งจัดทำโดยฝรั่งเศส ซึ่งเป็นมูลฐานในการพิพากษาให้ปราสาทพระวิหารตกอยู่ภายใต้อำนาจอธิปไตยของกัมพูชาเมื่อ พ.ศ. 2505 ซึ่งจะเป็นผลทำให้ไทยต้องเสียดินแดนอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน และจะเป็นผลทำให้กัมพูชาขึ้นทะเบียนมรดกโลกได้เป็นผลสำเร็จ และจะเป็นจุดเริ่มต้นที่จะทำให้ไทยต้องเสียดินแดนเพิ่มเติมต่อไปอีกตลอดแนวชายแดนไทย-กัมพูชา
       
       เมื่อความผิดพลาดในอดีตของหลายรัฐบาลได้ล่วงเลยมาถึงเวลานี้แล้ว แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยจึงได้มีการประชุมกันเมื่อวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2556 จึงได้มีมติออกเป็นแถลงการณ์ฉบับที่ 1/2556 เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลปฏิเสธและไม่รับอำนาจศาลยุติธรรมระหว่างประเทศและปกป้องอธิปไตยของชาติ (ตามสิ่งที่ส่งมาด้วย 1) ดังปรากฏเป็นข้อเรียกร้อง 7 ประการ ดังต่อไปนี้
       
       ประการแรก ใช้โอกาสสุดท้ายที่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (International Court of Justice) ได้กำหนดให้มีการนั่งพิจารณาคดี (public hearings) กรณีกัมพูชายื่นคำขอตีความคำพิพากษาคดีปราสาทพระวิหารปี 2505 ในวันจันทร์ที่ 15 เมษายน ถึงวันศุกร์ที่ 19 เมษายน 2556 ณ วังสันติภาพ (Peace Palace) ซึ่งเป็นที่ทำการของศาลฯ ที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ โดยขอเรียกร้องให้รัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยประกาศอย่างเป็นทางการว่าราชอาณาจักรไทยถือว่าศาลยุติธรรมระหว่างประเทศไม่มีอำนาจในการตีความคดีนี้ และราชอาณาจักรไทยจะไม่รับอำนาจศาลยุติธรรมระหว่างประเทศในการตีความในคดีความนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากการตีความนั้นก่อให้เกิดผลเสียต่ออธิปไตยและบูรณภาพแห่งดินแดนของราชอาณาจักรไทย
       
       ทั้งนี้ เพราะราชอาณาจักรไทยได้ปฏิบัติตามคำพิพากษาครบถ้วนแล้วและเป็นที่รับทราบโดยปราศจากการคัดค้าน ทั้งจากราชอาณาจักรกัมพูชา และสมาชิกองค์การสหประชาชาติ อีกทั้งราชอาณาจักรไทยยังได้แถลงประท้วงไม่เห็นด้วย คัดค้านในคำตัดสินที่ผิดพลาดและอยุติธรรม จึงได้ตั้งข้อสงวนเอาไว้ในการทวงคืนปราสาทพระวิหารในอนาคตหากกฎหมายระหว่างประเทศพัฒนาขึ้น โดยคำแถลงครั้งนั้นไม่ได้มีประเทศสมาชิกในองค์การสหประชาชาติคัดค้านแต่ประการใด ประกอบกับราชอาณาจักรไทยก็ไม่ได้ต่ออายุปฏิญญาการยอมรับอำนาจศาลยุติธรรมระหว่างประเทศโดยบังคับ มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2505
       
       ข้อเสนอของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยที่กล่าวมาข้างต้นนี้ ได้รับการสนับสนุนจาก ศ.ดร.สมปอง สุจริตกุล นักกฎหมายระหว่างประเทศอาวุโสและอดีตข้าราชการกระทรวงการต่างประเทศผู้ที่มีความเชี่ยวชาญและเป็นนักกฎหมายคนสุดท้ายที่ยังมีชีวิตอยู่ที่รับรู้ความเป็นไปในการตัดสินในคดีปราสาทพระวิหาร พ.ศ. 2505 โดย ศ.ดร.สมปอง สุจริตกุล ได้เคยเขียนแสดงความเห็นตั้งแต่วันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2554 ความตอนหนึ่งว่า :
       
       “จุดสำคัญที่พึงกระทำในชั้นนี้ คือ ไทยต้องคัดค้านอำนาจศาลในโอกาสแรกที่สามารถทำได้ การกล่าวแต่เพียงว่าเขตอำนาจของศาลไม่ครอบคลุมถึงคำขอของกัมพูชานั้นยังไม่เพียงพอ ไทยต้องยืนยันอย่างเป็นทางการว่าไทยคัดค้านอำนาจศาล เพราะไทยมิได้ยินยอมรับอำนาจศาลอีกเลยหลังจากขาดอายุไปแล้วเป็นเวลากว่า 50 ปี...
       
       การไปปรากฏตัวที่ศาลแต่ละครั้ง ก็ด้วยวัตถุประสงค์หลักเพียงอย่างเดียวคือ คัดค้านอำนาจศาล มิใช่เพียงโต้แย้งว่าคำขอของกัมพูชาไม่อยู่ในเขตอำนาจพิจารณา...”
       
       ประการที่สอง
 เมื่อราชอาณาจักรไทยไม่รับว่าศาลยุติธรรมระหว่างประเทศมีอำนาจในการตีความแล้ว รัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยจึงไม่จำเป็นต้องปฏิบัติตามมาตรการคุ้มครองชั่วคราวของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ไม่ต้องถอนทหารหรือตำรวจตระเวนชายแดนออกจากแผ่นดินไทย และขอให้เร่งผลักดันชุมชนกัมพูชาให้ออกจากแผ่นดินไทย ทั้งนี้ ได้ปรากฏเป็นหลักฐานอย่างชัดเจนแล้วว่า ตั้งแต่มีการก่อตั้งศาลยุติธรรมระหว่างประเทศมา มีประเทศคู่พิพาทให้ศาลออกมาตรการคุ้มครองชั่วคราว 17 คดี แต่ศาลรับให้ออกมาตรการคุ้มครองชั่วคราว 10 คดี ผลปรากฏว่า จนถึงบัดนี้ยังไม่เคยมีประเทศใดปฏิบัติตามเลยแม้แต่ประเทศเดียว ซึ่งรวมถึงสหรัฐอเมริกาด้วย ดังนั้นคำสั่งดังกล่าวไม่มีสภาพบังคับแต่ประการใด และหากรัฐบาลไทยยินยอมปฏิบัติถอนทหารออกจากพื้นที่จะถือเป็นประเทศแรกในโลกที่ปฏิบัติตามมาตรการคุ้มครองชั่วคราว ทั้งๆ ที่มีชุมชุนกัมพูชารุกรานเข้ามาอาศัยอยู่บนแผ่นดินของราชอาณาจักรไทย
       
       ประการที่สาม ให้รัฐบาลไทยเร่งฟื้นฟูและพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศโดยเฉพาะกับประเทศในคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติอย่างเร่งด่วน เพื่อเป็นหลักประกันว่าจะไม่มีประเทศใดเข้ามาใช้อำนาจในการละเมิดอธิปไตยของชาติ
       
       ประการที่สี่ อาศัยกฎบัตรสหประชาชาติข้อ 2 วรรค 7 และให้รัฐบาลไทยยืนยันว่าสมาชิกสหประชาชาติไม่มีอำนาจในการแทรกแซงในเรื่องภายในอธิปไตยของราชอาณาจักรไทย และให้รัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยยืนยันตามข้อ 2 (ก) และ 2 (ง) แห่งกฎบัตรสมาคมแห่งประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ว่ารัฐสมาชิกอาเซียนจะต้องปฏิบัติตามหลักการในการเคารพเอกราช อธิปไตย ความเสมอภาค บูรณภาพแห่งดินแดน ตลอดจนไม่แทรกแซงกิจการภายในของรัฐสมาชิกอาเซียน
       
       ประการที่ห้า รัฐบาลราชอาณาจักรไทยจะต้องไม่กลับเข้าไปเป็นภาคีอนุสัญญามรดกโลกอีก
       
       ประการที่หก
 ให้รัฐบาลไทยหยุดการใช้นักวิชาการ 7.1 ล้านบาท ที่รับจ้างจากกระทรวงการต่างประเทศมาโฆษณาชวนเชื่อในสื่อของรัฐฝ่ายเดียว เพียงเพื่อให้คนไทยยอมจำนนกับการยกดินแดนไทยให้กับกัมพูชา เพราะนักวิชาการเหล่านี้มีจุดยืนอยู่ข้างฝ่ายกัมพูชา และควรเปิดพื้นที่สื่อให้กว้างขวางเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลจากผู้ที่ต้องการปกป้องอธิปไตยของชาติและไม่เห็นด้วยกับนโยบายของรัฐบาลด้วย
       
       ประการที่เจ็ด ให้ช่วยเหลือ นายวีระ สมความคิด และ น.ส.ราตรี พิพัฒนาไพบูรณ์ ซึ่งถูกทหารกัมพูชาจับในแผ่นดินไทยแต่รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ กลับใส่ร้ายว่าถูกจับในแผ่นดินกัมพูชา โดยเร่งรัดดำเนินการให้ทั้ง 2 คนถูกปล่อยตัวออกจากเรือนจำกัมพูชาโดยเร็วที่สุด
       
       ดังนั้น หากรัฐบาลเมื่อทราบทางเลือกแล้วยังไม่ปฏิบัติตาม อีกทั้งยังประชาสัมพันธ์เพื่อให้คนไทยยอมจำนนกับความพ่ายแพ้อย่างอยุติธรรมในเวทีศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ย่อมถือว่ารัฐบาลมีเจตนาขายชาติขายแผ่นดิน จึงต้องเป็นผู้ร่วมรับผิดชอบด้วยหากราชอาณาจักรไทยต้องสูญเสียอธิปไตยและบูรณภาพแห่งดินแดนครั้งนี้ และหากราชอาณาจักรไทยต้องสูญเสียดินแดนในครั้งนี้จะถือว่าเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ชาติไทยที่ราชอาณาจักรไทยต้องเสียดินแดนในรัชกาลปัจจุบันเพราะการสมรู้ร่วมคิด รู้เห็นเป็นใจ ของนักการเมืองทุกฝ่าย ข้าราชการที่เกี่ยวข้อง และผู้นำกองทัพที่ไม่ทำหน้าที่ในการปกป้องอธิปไตยของชาติตามรัฐธรรมนูญอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน และจะต้องร่วมกันรับผิดชอบในความอัปยศทั้งหมดที่กำลังจะเกิดขึ้นต่อไป
       
       จากเหตุผลดังกล่าวข้างต้น แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยจึงมีมติให้เรียกร้องต่อ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีให้ทำหน้าที่ในการปกป้องอธิปไตยของชาติและปฏิบัติตามข้อเรียกร้องทั้ง 7 ประการข้างต้นโดยเร็วต่อไป

       
       ขอแสดงความนับถือ
       
       (นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์)
       ผู้แทนแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย



#21 ทรงธรรม

ทรงธรรม

    ต่อให้ต้องเรียนจนแก่ ก็จะเรียนต่อไป คนเราพัฒนาได้ทุกคน

  • Members
  • PipPipPip
  • 2,157 posts

ตอบ 8 มกราคม พ.ศ. 2556 - 16:15

มีใครพอจะมีความรู้ มาคุยกับผมและเสื้อแดง ในเรื่องนี้ไหมครับ  คัดตัวกันมาเลยครับ 

เอาคนที่แจ่มๆหน่อยนะครับ  เพราะผมเบื่อตอบพวกไม่รู้เรื่องแต่อยากเด่นอยากโพสต์ ชอบมาถามและโจมตีอะไรบ้าๆบ๊องส์ๆและวนเวียนไปมา  น่าปวดหัวและเมื่อยนิ้วมากๆ  

ถ้ามีแจ้งมา เดี๋ยวเปิดกระทู้ใหม่เอากันเลย

 

รบกวน คุณ tam micra

 

ช่วยอธิบาย แบบ คร่าว ๆ ไม่ต้องอ้างอิง แหล่งที่มา ก็ได้ครับ

 

จุดประสงค์ ของผม อยากทราบความเห็นในส่วน ของ ทางคนเสื้อแดง บ้างครับ

 

เพื่อใช้เป็น ข้อเปรียบเทียบ เพราะผมเอง ก็อยากอ่าน เรื่องนี้ในมุมมองใหม่บ้าง

 

แต่ติดที่ช่วงนี้ ผมเรียนหนังสือ อยู่ เลยไม่ค่อยมีเวลาค้น

 

รบกวนด้วยครับ

 

ผมจะขออนุญาต save ไว้ ลง evernote ของผมด้วยครับ ไว้เป็น แหล่งอ้างอิง

 

ขอบคุณครับ


ขอให้พวกเรา ชาวหลากสี และพันธมิตร จงมีชีวิตรอด จากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ฝีมือปูนา ไปตลอดรอดฝั่งด้วยครับ

 

PEMDAS ย่อมาจาก ลำดับการคำนวณ Parentheses , Exponentials , Multiply , Divide , Add , Subtract

 

FWGHSO ย่อมาจาก ลำดับการประเมินผลของ query  FROM, WHERE, GROUP BY, HAVING, SELECT, ORDER BY


#22 ypk

ypk

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 2,173 posts

ตอบ 8 มกราคม พ.ศ. 2556 - 16:16

เหอ เหอ เหอ  การลำดับเรื่องราว มันก็อยู่ที่ว่าใครเชียร์ใครแล้วยกเอาเรื่องราวขึ้นมาพูด

มันมีการละเว้นข้อเท็จจริง เหตุการณ์ พฤติกรรม บางเรื่องบางอย่างของผู้ที่มีผลประโยชน์

เอาด้านดีมากล่าวอ้างอย่างเดียว คนที่ไม่รู้ไม่เคยติดตาม ก็มักจะคล้อยตามเสมอ ใครทำ

อะไรควรรู้อยู่แก่ใจ ใครมีผลประโยชน์อะไร ไปตกลงอะไรกันไว้ อย่างไร คนอื่นอาจไม่รู้แต่

มันเป็นแผ่นดินไทย เขามีสิทธิ์ระแวงสงสัยว่าคุณไปทำอย่างนั้นทำไม

 

กรณีของนพดล คุณไม่มีคำชี้แจงแต่แรก คุณอ้ำ ๆ อึ้ง ๆ แต่แรก คุณปกปิดเป็นความลับ

แต่แรก ถามว่า ทำไม ?

 

ถ้าดูตามความเห็นที่ น้า Axis เอาลิงค์ จาก พันทิพย์มาแปะ จะเห็นว่า บางความเห็นที่

เชียร์นพดลจะบอกว่า 4.6 มันเป็นของเขมร เพราะในเนื้อหาคำพิพากษามันเป็นของเขมร

แล้ว แต่นพดลไปเจรจาว่าเป็นพื้นที่ทับซ้อน

 

ไอ้ตีความแบบนี้น่ะ มันหมายความอย่างไร ก็ขนาดเขมรเองยังต้องไปฟ้องศาลขอให้

ตีความเลยว่าพื้นที่มันแค่ไหน แต่กองเชียร์นพดลบอกเป็นของเขมรแล้ว แต่นพดลอุตส่าห์

ไปเจรจาให้เป็นพื้นที่ทับซ้อน

 

แล้วไอ้เรื่องที่ลำดับมาน่ะ ทั้งของสายตรงภาคสนาม และของน้า AXIS มันก็เป็นแค่หัวข้อ

ต่างคนต่างยกเอาส่วนดีของฝ่ายที่ตนเชียร์มาพูดนั่นแหละ มันไม่มีพฤติกรรม หรือเหตุการณ์

ที่รัฐบาลแต่ละรัฐบาลทำเพื่อปกป้องดินดินหรือทำเพื่อผลประโยชน์ตัวเองมาประกอบ ลำดับ

เรื่องไปมันก็เท่านั้นแหละ ทุกคนก็เคยเห็นเหตุการณ์ เคยเห็นพฤติกรรมของนักการเมือง

บางผู้บางคนกันแล้ว ว่าน่าเชื่อถือได้หรือไม่เพียงใดในเรื่องนี้

 

ปัญหาการถกเถียงเรื่องนี้มันจะไม่เกิดขึ้นเลย ถ้า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ

ไม่ออกมาพูดทำนองให้คนไทยยอมรับการเสียดินแดนจากการตัดสินของศาลโลก พร้อมทั้ง

โยนความผิดไปให้พรรคประชาธิปัตย์ เพราะการพูดแบบนี้มันบ่งบอกให้เห็นได้ว่า รัฐบาลนี้มี

ความรับผิดชอบหรือมุ่งโยนความรับผิดชอบ แค่อยากได้อำนาจ อยากได้ตำแหน่ง แต่ไม่อยาก

รับผิดชอบ เท่านั้นหรือ หรือมันมีอะไรแอบแฝงอยู่ถึงออกมาพูดให้ประชาชนยอมรับการเสีย

ดินแดนตั้งแต่ศาลยังไม่ได้มีการพิจารณาตัดสินอะไร ความรู้สึกของคนทั่วไป มันรู้สึกว่า รัฐบาล

นี้อยากมอบดินแดนให้เขมรเหลือเกิน เหมือนกองเชียร์นพดลที่บอกว่าเนื้อหาในคำพิพากษา

มันเป็นของเขมรแล้ว ทั้ง ๆ ที่เขมรเองยังไม่กล้ารับเลย  55555



#23 Axis Kernel

Axis Kernel

    น้องเก่า

  • Members
  • PipPip
  • 186 posts

ตอบ 8 มกราคม พ.ศ. 2556 - 16:36

http://forum.seritha...hp?topic=3429.0



#24 นีโอ

นีโอ

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 200 posts

ตอบ 8 มกราคม พ.ศ. 2556 - 16:54

มีใครพอจะมีความรู้ มาคุยกับผมและเสื้อแดง ในเรื่องนี้ไหมครับ  คัดตัวกันมาเลยครับ 

เอาคนที่แจ่มๆหน่อยนะครับ  เพราะผมเบื่อตอบพวกไม่รู้เรื่องแต่อยากเด่นอยากโพสต์ ชอบมาถามและโจมตีอะไรบ้าๆบ๊องส์ๆและวนเวียนไปมา  น่าปวดหัวและเมื่อยนิ้วมากๆ  

ถ้ามีแจ้งมา เดี๋ยวเปิดกระทู้ใหม่เอากันเลย

 

มีใครพอจะมีความรู้ มาคุยกับผมและเสื้อแดง ในเรื่องนี้ไหมครับ  คัดตัวกันมาเลยครับ 

เอาคนที่แจ่มๆหน่อยนะครับ  เพราะผมเบื่อตอบพวกไม่รู้เรื่องแต่อยากเด่นอยากโพสต์ ชอบมาถามและโจมตีอะไรบ้าๆบ๊องส์ๆและวนเวียนไปมา  น่าปวดหัวและเมื่อยนิ้วมากๆ  

ถ้ามีแจ้งมา เดี๋ยวเปิดกระทู้ใหม่เอากันเลย

 

ไม่ต้องมาปะทะคารมกัน เพื่อหาเหตุผลว่า ใครที่ทำให้แพ้คดี

 

เพราะเห็นแล้ว รู้สึกสงสารประเทศไทย

 

จริงๆอยากถามใจทุกท่านว่า

 

ถ้าศาลโลกตีความว่า กัมพูชาได้ครอบครองพื้นที่โดยรอบปราสาท

 

ใครบ้าง ที่ยอมรับและปฏิบัติตามคำตัดสินนั้น

 

ลงชื่อไว้ในกระทู้นี้ได้เลย  เอาตามนั้นพอ



#25 Tam-mic-ra.

Tam-mic-ra.

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 2,948 posts

ตอบ 8 มกราคม พ.ศ. 2556 - 18:01

มีใครพอจะมีความรู้ มาคุยกับผมและเสื้อแดง ในเรื่องนี้ไหมครับ  คัดตัวกันมาเลยครับ 
เอาคนที่แจ่มๆหน่อยนะครับ  เพราะผมเบื่อตอบพวกไม่รู้เรื่องแต่อยากเด่นอยากโพสต์ ชอบมาถามและโจมตีอะไรบ้าๆบ๊องส์ๆและวนเวียนไปมา  น่าปวดหัวและเมื่อยนิ้วมากๆ  
ถ้ามีแจ้งมา เดี๋ยวเปิดกระทู้ใหม่เอากันเลย

55555

เรื่องนี้คุณไม่เบื่อบ้างหรือครับ

ผมว่สผมเบื่อแล้วล่ะ ความยากอีกอย่างของเรื่องนี้คือ เราได้แต่คาดเดา อย่างผมเชื่อว่า MOU43 นั้นเป็นประโยชน์เห็นๆ แต่หลายคนกลับมองว่าทำให้เสียดินแดน

เรื่องแถลงการณ์ร่วมก็เหมือนกัน ด้านนึงผมก็ทราบแล้ว ว่ามันไม่ใช่ส่วนที่ทำให้ขึ้นมรดกโลก แต่อีกด้านนึง ผมก็ไม่เห็นว่ามันจะมีประโยชน์อะไรนักหนาอย่างที่คุณบอกเลย เพราะในแถลงการณื แผนผังมันกินพื้นที่นิดเดียวของพื้นที่พิพาท

แล้วคุณคิดว่า แบบนี้จะได้ข้อสรุปมั้ยครับ ว่าใครผิด ใครถูก เสียหรือไม่เสียดินแดน หรือ ใครต้องรับผิดชอบ ฯลฯ

 

ผมเบื่อหรือเปล่าไม่รู้ครับ แต่เห็นข้อมูลที่ไม่ตรงกับที่ผมศึกษามา แล้วมาเป่าหูกรอกตาคนไทย     เห็นแล้วมันคันปากมากๆครับ

 

MOU43 ผมก็เห็นตามคุณ ว่ามันก็เจรจากันก็เท่านั้นไม่ได้เสียดินแดนบ้าบออะไรสักหน่อย  แต่หากไม่เจรจาก็ต้องรบ ตาย-เจ็บ  แล้วต้องมาหยุดยิงเจรจาอีกอยู่ดี  

 

เรื่องแถลงการณ์ร่วมผมว่ามีประโยชน์ เพราะ ทำให้เขาตัดแผนที่ตัวเอง ที่จะยื่นยูเนสโก้ได้สำเร็จ   จนเหลือแต่ภาพแผนผังธรรมดาๆไม่มีการระบุเส้นเขตแดนใดๆ และไม่ล้ำไทยด้วย

 

และป่านนี้อาจจะมีตลาดค้าขายตรง 4.6 นั้น    สร้างเงินสร้างงานไปแล้วก็ได้

นักท่องเที่ยวมาดูปราสาท-มาดูหน้าผาทิวทัศน์  เงินมันจะไปไหน มันก็ชาวบ้าน2ฝากฝั่งแถวนั้นน่ะแหล่ะ 

 

ดินแดนก็ไม่เสีย แบบที่ม๊อปส้วมพร่ำบ่นไม่เลิก  เพราะคำแถลงค์การณ์ระบุไว้ชัดๆว่า JBC ก็ทำงานต่อไป        ผมขี้เกียจยกมาแปะซ้ำๆ 


"คนพาลไร้สติ มักสร้างเรื่องและหลักฐานเท็จโกหก เพื่อคอยใส่ร้ายอีกฝ่ายหนึ่งเสมอ" :unsure:

 

นาย ''Starเก๋ง'' ฟันธง!  รถเก๋งขับมายิงเสื้อแดง :lol:      http://webboard.seri...แค/#entry842224   ;      http://webboard.seri...-25#entry408954


#26 Tam-mic-ra.

Tam-mic-ra.

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 2,948 posts

ตอบ 8 มกราคม พ.ศ. 2556 - 18:05

มีใครพอจะมีความรู้ มาคุยกับผมและเสื้อแดง ในเรื่องนี้ไหมครับ  คัดตัวกันมาเลยครับ 

เอาคนที่แจ่มๆหน่อยนะครับ  เพราะผมเบื่อตอบพวกไม่รู้เรื่องแต่อยากเด่นอยากโพสต์ ชอบมาถามและโจมตีอะไรบ้าๆบ๊องส์ๆและวนเวียนไปมา  น่าปวดหัวและเมื่อยนิ้วมากๆ  

ถ้ามีแจ้งมา เดี๋ยวเปิดกระทู้ใหม่เอากันเลย

 

รบกวน คุณ tam micra

 

ช่วยอธิบาย แบบ คร่าว ๆ ไม่ต้องอ้างอิง แหล่งที่มา ก็ได้ครับ

 

จุดประสงค์ ของผม อยากทราบความเห็นในส่วน ของ ทางคนเสื้อแดง บ้างครับ

 

เพื่อใช้เป็น ข้อเปรียบเทียบ เพราะผมเอง ก็อยากอ่าน เรื่องนี้ในมุมมองใหม่บ้าง

 

แต่ติดที่ช่วงนี้ ผมเรียนหนังสือ อยู่ เลยไม่ค่อยมีเวลาค้น

 

รบกวนด้วยครับ

 

ผมจะขออนุญาต save ไว้ ลง evernote ของผมด้วยครับ ไว้เป็น แหล่งอ้างอิง

 

ขอบคุณครับ

 

 

ข้อมูลของคุณ Axis Kernel   ที่ #17    สรุปได้ดีและเป็นข้อเท๊จจริงครับ   เอาตามนั้นไปก่อนเลยครับ

ส่วนรายละเอียดปลีกย่อยนั้น  มันมีเอกสาร-หลักฐาน แสดงอยู่แล้วทั้งหมด  ไม่สามารถบิดเบือนได้ครับ


"คนพาลไร้สติ มักสร้างเรื่องและหลักฐานเท็จโกหก เพื่อคอยใส่ร้ายอีกฝ่ายหนึ่งเสมอ" :unsure:

 

นาย ''Starเก๋ง'' ฟันธง!  รถเก๋งขับมายิงเสื้อแดง :lol:      http://webboard.seri...แค/#entry842224   ;      http://webboard.seri...-25#entry408954


#27 Axis Kernel

Axis Kernel

    น้องเก่า

  • Members
  • PipPip
  • 186 posts

ตอบ 8 มกราคม พ.ศ. 2556 - 18:13

คุณนีโอ หลงประเด็นแล้ว ใครประเคนอธิปไตยไทยให้เขมร ใครปกป้องแผ่นดิน

 เขมรหรือไทย ได้ครอบครองพื้นที่โดยรอบปราสาท  คำตอบก็คือ ศาลโลก



#28 นีโอ

นีโอ

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 200 posts

ตอบ 8 มกราคม พ.ศ. 2556 - 19:12

สำหรับผมในเรื่องประเด็นนี้ ออกทางเดียวเลย  ไม่ยอมรับการเสียดินแดน ไม่ว่าหน้าไหนจะมาตัดสิน

 

คนเราเกิดบนแผ่นดินไหน  ก็รักแผ่นดินนั้น  นั้นเป็นคติที่ดี

 

คนเรากตัญญูต่อพ่อแม่ ก็มีใจกตัญญูต่อแผ่นดิน

 

ผมไม่เห็นเหตุผลที่ผมจะสนับสนุนเหตุผลของศาลโลก(นี้ หรือ โลกไหนๆ)

 

ที่จะมาตัดสินให้ประเทศของเราต้องเสียดินแดน

 

ทุกท่านควรตระหนักว่า  ประเทศเสียทรัพย์สินไปกับคอรัปชั่น พวกโกงเอาเงินออกนอกประเทศ แต่เอาแผ่นดินไปไม่ได้

 

เราช่วยกันฟื้นความมั่งคั่งกลับขึ้นมาใหม่จากผืนแผ่นดินเรา

 

แต่ถ้าเราเสียดินแดน  นั่นคือ สิ้นชาติ

 

การน้อมคำนับยอมรับการเสียดินแดนโดยง่าย แม้เพียงดินแดนผืนเล็ก

 

ก็ฟ้องว่าท่านพร้อมสิ้นชาติได้เหมือนกัน



#29 ramboboy26

ramboboy26

    เมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 5,532 posts

ตอบ 8 มกราคม พ.ศ. 2556 - 23:22

ตอนนี้ทั้งสองขั้วพรรคการเมืองต่างออกมาประสานเสียงกันว่า อย่าเอาเรื่องเขาพระวิหารมาโยงการเมือง

ผมรู้สึกเหมือนเริ่มมีการผลักภาระความรับผิดชอบออกจากฝ่ายการเมืองแล้วสิ...

 

เป้นเค้าลางไม่ดีรึป่าวครับ


  • OSR likes this
กูขอปฏิญาณ ต่อหน้าสถูปสถานศักดิ์สิทธิ์ ต่อหน้าอิฐหินดินทราย ขอจองล้างจองผลาญจนตาย ต่อผู้ทำลาย แผ่นดิน...

#30 Gop

Gop

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 4,450 posts

ตอบ 9 มกราคม พ.ศ. 2556 - 00:52

ตอนนี้ทั้งสองขั้วพรรคการเมืองต่างออกมาประสานเสียงกันว่า อย่าเอาเรื่องเขาพระวิหารมาโยงการเมือง
ผมรู้สึกเหมือนเริ่มมีการผลักภาระความรับผิดชอบออกจากฝ่ายการเมืองแล้วสิ...
 
เป้นเค้าลางไม่ดีรึป่าวครับ

ผมมองว่า ถึงเวลาที่ต้องสามัคคีกันแล้วครับ ดูให้ดีๆ ว่าใครกันแน่ที่กำลังทำร้ายประเทศไทย

ผมคิดว่ากัมพูชา ที่นำโดยฮุนเซ็นครับ
  • OSR likes this

หลักฐานไม่เคยโกหก (Gilbert Grissom C.S.I.)<p>Beneath this mask there is more than flesh. Beneath this mask there is an idea, Mr. Creedy, and ideas are bulletproof.

 


#31 OSR

OSR

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,365 posts

ตอบ 9 มกราคม พ.ศ. 2556 - 01:44

ตอนนี้ทั้งสองขั้วพรรคการเมืองต่างออกมาประสานเสียงกันว่า อย่าเอาเรื่องเขาพระวิหารมาโยงการเมือง
ผมรู้สึกเหมือนเริ่มมีการผลักภาระความรับผิดชอบออกจากฝ่ายการเมืองแล้วสิ...
 
เป้นเค้าลางไม่ดีรึป่าวครับ

ผมมองว่า ถึงเวลาที่ต้องสามัคคีกันแล้วครับ ดูให้ดีๆ ว่าใครกันแน่ที่กำลังทำร้ายประเทศไทย

ผมคิดว่ากัมพูชา ที่นำโดยฮุนเซ็นครับ

 

ผมเห็นด้วยกับ คุณ Gop แต่... ใครล่ะครับ (มองไม่เห็นจริงๆ)
ที่สามารถเข้ามาประสานให้คนไทยเกิดความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน
เห็นเล่นแต่เรื่องการเมืองจนจะไม่เผาผีกันอยู่แล้ว รักชาติ รักในหลวง เหมือนกันแท้ๆ
แต่อะไรหนอ ดลใจให้ไทยแตกกันได้ถึงขนาดนี้ ถ้าพวกเราไม่สามัคคีกัน ก็ยกดินแดนให้เขมรมันไปเหอะ

Edited by OSR, 9 มกราคม พ.ศ. 2556 - 01:45.

หายจน ทั้งแผ่นดิน ด้วยการต่อต้าน นกม.ชั่ว และเอา ปตท กลับคืนมาเป็นของคนไทย


#32 ทรงธรรม

ทรงธรรม

    ต่อให้ต้องเรียนจนแก่ ก็จะเรียนต่อไป คนเราพัฒนาได้ทุกคน

  • Members
  • PipPipPip
  • 2,157 posts

ตอบ 9 มกราคม พ.ศ. 2556 - 10:28

เท่าที่อ่าน เอกสาร mou43 และคำแถลงการณ์ร่วม แล้ว แบบคร่าว ๆ นะ

 

ก็คิดว่า มีจุดอ่อน ทั้ง 2 ล่ะนะ

 

ของ mou43 ก็ตรงที่ ไม่ได้บอกชัด ใน mou43 ว่า ไม่ได้ยอมรับ แผนที่ผนวก 1  1 ต่อ 200,000

 

ซึ่ง ถ้า ฮุนเซน จะเอาประเด็นนี้ มาอ้างอิง ก็ทำได้ในส่วนหนึ่ง

 

ส่วนของ คำแถลงการณ์ร่วม ก็ตรงที่บอกว่า

 

สนับสนุน ให้กัมพูชา ขึ้นทะเบียน ประสาทพระวิหาร เป็นมรดกโลก

 

และ กรณี รวม จุด เบอร์ 2 เข้าไปด้วย (พื้นที่ ฝั่งใต้ และ ตะวันออก ของตัวประสาท) เท่ากับยอมรับไปกลาย ๆ ว่าเป็นสิทธิ ของ กัมพูชา

 

 

ความเห็นส่วนตัวผม นะ เออ อย่าโกรธกันนะ

 

คำแถลงการณ์ร่วม จำเป็น ต้องยกเลิก

 

ส่วน mou43 ก็ อาจมีผลทำให้ไทยเสียดินแดนได้ ถ้า ฮุนเซ็น ยืนยันว่า ไทย ไม่ได้ปฏิเสธ แผนที่ 1 ต่อ 200,000

 

 

สรุป ตอนนี้ ควรต้อง ต่อสู้คดีอย่างเต็มที่ เสียแล้ว

 

มิฉะนั้น โอกาสแพ้มีสูง


ขอให้พวกเรา ชาวหลากสี และพันธมิตร จงมีชีวิตรอด จากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ฝีมือปูนา ไปตลอดรอดฝั่งด้วยครับ

 

PEMDAS ย่อมาจาก ลำดับการคำนวณ Parentheses , Exponentials , Multiply , Divide , Add , Subtract

 

FWGHSO ย่อมาจาก ลำดับการประเมินผลของ query  FROM, WHERE, GROUP BY, HAVING, SELECT, ORDER BY


#33 Stargate-1

Stargate-1

    SG-1

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,578 posts

ตอบ 9 มกราคม พ.ศ. 2556 - 10:35

เขาพระวิหารของไทยหรือของใคร
 
โดย กลุ่มวิทยาศาสตร์สังคม

(ดูวีดีโอแสดงภาพเคลื่อนไหวระดับน้ำใน YouTube)


 
3 มีนาคม 2554

            กรณีพิพาทเขาพระวิหารระหว่างไทยและกัมพูชาในปัจจุบันเกิดขึ้นจากประเทศไทยต้องเสียดินแดนให้แก่ฝรั่งเศส ซึ่งเป็นเจ้าอาณานิคมอินโดจีนครอบครองกัมพูชา-ลาว-เวียดนามในคริสศตวรรษที่ 19 ซึ่งสยามมีแสนยานุภาพเป็นรองจักรวรรดินิยมฝรั่งเศสในช่วงนั้น สยามจึงต้องตกลงทำสนธิสัญญากับ ฝรั่งเศส ปี1904 – 1907 โดยเฉพาะการจัดทำแผนที่ ซึ่งฝรั่งเศสจัดทำขึ้นเพียงฝ่ายเดียวในปี1907 โดยใช้มาตราส่วน 1: 200000 ที่แสดงแนวเขตแดนให้เห็นว่าปราสาทเขาพระวิหารอยู่ในแดนกัมพูชา
 เมื่อครั้งที่นำคดีสู่ศาลโลก ทนายฝ่ายไทยยืนยันไม่ยอมรับการขีดเส้นแบ่งเขตแดนในแผนที่ของฝรั่งเศสที่จัดทำขึ้นเองเพียงฝ่ายเดียวและแม้คำพิพากษาของศาลโลกมิได้นำมาพิจารณาตามคำฟ้องของฝ่ายกัมพูชา แต่ฝ่ายกัมพูชา และนักวิชาการไทยบางส่วนที่สนับสนุนแนวคิดยอมรับแผนที่1:200000 ก็ยังนำมาอ้างอิงจนเป็นการวิวาทะกันในปัจจุบัน ซึ่งกลุ่มวิทยาศาสตร์สังคมเห็นว่ายังมีช่องว่างของการอธิบายในเรื่องสันปันน้ำ( Watershed ) จึงใคร่นำเสนอ เพื่อให้คนไทยที่ใฝ่รู้ความจริงได้พิจารณาเป็นหลักฐานใหม่ ก่อนไทยจะสูญเสียดินแดน 4.6 ตร.กม หรือสูญเสียดินแดนตามแนวเขตแผนที่ของฝรั่งเศสไปถึงจังหวัดศรีสะเกษจรดจังหวัดสุรินทร์ และ อาจถึงพื้นที่ในทะเลซึ่งหมายถึงสูญเสียทรัพยากรธรรมชาติในอ่าวไทยอีกมาก  ทั้งเป็นการกระตุ้นให้คนไทยที่มีจิตสำนึก ที่เป็นวิทยาศาสตร์ได้ทบทวน และลุกขึ้นมาทักท้วงความไม่ถูกต้อง ซึ่งทางกลุ่มวิทยาศาสตร์สังคมขอให้พิจารณาถึง
หลักแห่งธรรมชาติ (ในที่นี้หมายถึงลักษณะของพื้นที่ ภูมิประเทศ การใช้ที่ดิน และ แหล่งต้นกำเนิดลุ่มน้ำลำธาร ฯลฯ) เป็นสิ่งที่มีอยู่แล้ว แต่การค้นพบและการใช้เครื่องมือเพื่อการค้นพบดังกล่าวได้รับการพัฒนาเทคโนโลยีซึ่งสามารถพิสูจน์ได้โดยหลักวิทยาศาสตร์ในปัจจุบัน และเป็นความจริงหรือสัจธรรมที่พิสูจน์ได้
เพื่อให้สามารถเข้าใจถึงปฐมเหตุแห่งปัญหาและการบิดเบือนธรรมชาติและความชั่วร้ายของนักล่าเอาณานิคม ขอเริ่มจากคำนิยามว่า Watershed หรือที่คนไทยทั่วไปเรียกว่าเส้นสันปันน้ำดังที่ปรากฏในคำพิพากษาที่อ้างถึงสนธิสัญญาไทย-ฝรั่งเศส ปี 1904 คือสาระสำคัญที่ฝ่ายนักล่าอาณานิคมนำมาบิดเบือนความจริงซึ่งขัดแย้งอย่างรุนแรงกับธรรมชาติที่ดำรงอยู่ตราบใดที่ยังใช้คำนิยามเส้นสันปันน้ำ ฝ่ายจักรวรรดินิยมฝรั่งเศสและกัมพูชาและฝ่ายสนับสนุนก็ยังสามารถใช้เป็นข้ออ้างอันถือว่าเป็นการใช้เล่ห์เพทุบายเพื่อบิดเบือนเส้นเขตแดนที่แท้จริงได้จนกระทั่งถึงทุกวันนี้   
สิ่งที่เป็นสาระสำคัญตามแนวกระบวนคิดใหม่ที่เป็นวิทยาศาสตร์ที่นำเสนอในที่นี้คือคำนิยามที่แท้จริงของคำว่า Watershed ที่แปลว่าพื้นที่ลุ่มน้ำ ซึ่งอธิบายได้กว้างขวางกว่าคำว่าสันปันน้ำ  อันจักเกิดขึ้นตามธรรมชาติซึ่งได้รังสรรค์ขึ้นโดยเส้นระดับความสูงภูมิประเทศ(Contour)และความลาดชันที่กำหนดการไหลของน้ำหรือเส้นแบ่งน้ำหรือปันน้ำนั่นเอง Watershed หรือพื้นที่ลุ่มน้ำโดยคำนิยามที่ใช้กันทั่วโลกซึ่งยกนำมาอ้างอิงในที่นี้คือจากคำนิยามของWatershedแห่งสถาบันป้องกันสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา (Environment Protection Agency – EPA) (http://water.epa.gov/type/watersheds/whatis.cfm) ดังนี้ A watershed is the area of land where all of the water that is under it or drains off of it goes into the same place. John Wesley Powell, scientist geographer, put it best when he said that a watershed is:"that area of land, a bounded hydrologic system, within which all living things are inextricably linked by their common water course and where, as humans settled, simple logic demanded that they become part of a community."
wshd1.png
                                            รูปที่ 1 Watershed ตามคำนิยามลุ่มน้ำ
     
หรือแปลได้ว่า “พื้นที่ลุ่มน้ำคือพื้นที่ของแผ่นดินที่ปริมาณน้ำทั้งหมดที่อยู่ใต้ดินหรือไหลอยู่บนดินไหลลงมารวมในพื้นที่เดียวกัน นาย จอหน์ เวสลีย์ โพเวล นักวิทยาศาสตร์สาขาภูมิศาสตร์ให้คำนิยามที่ดีที่สุดของพื้นที่ลุ่มน้ำคือ – พื้นที่ล้อมรอบระบบน้ำที่สิ่งมีชีวิตที่อยู่ร่วมกันโดยแบ่งแยกมิได้โดยระบบน้ำร่วมและเป็นสถานที่ซึ่งมนุษย์สร้างถิ่นฐานโดยตรรกะพื้นฐานแห่งความต้องการที่แสดงว่าพวกเขาเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน”   
สรุปคำนิยามของพื้นที่ลุ่มน้ำคือพื้นที่แหล่งกำเนิดชุมชนที่สร้างขึ้นโดยระบบน้ำร่วมจึงเห็นได้ว่าพื้นที่ลุ่มน้ำครอบคลุมตั้งแต่แหล่งกำเนิดหรือต้นน้ำหรือพื้นที่ระบบน้ำที่อยู่ในที่สูงกว่า และ พื้นที่ระบบน้ำที่อยู่ต่ำกว่าซึ่งน้ำไหลมารวมกันที่เป็นชุมชน ระบบน้ำและสิ่งมีชีวิตรวมถึงมนุษย์และสรรพสิ่งเกี่ยวเนื่องกันและโดยกฎแห่งธรรมชาติที่ระบบน้ำก่อกำเนิดจากฝนที่ตกลงมาบนพื้นที่ๆสูงกว่าได้แก่บนภูเขาและสันเขาตามธรรมชาติ และไหลมาตามทางเส้นทางน้ำทั้งใต้ดิน และ บนดิน ได้แก่ ห้วย หนอง คลอง บึง ลำธาร แม่น้ำ ทะเลสาป ทะเล และ มหาสมุทร ตามลำดับ  และโดยธรรมชาติถิ่นฐานและชุมชนของมนุษย์จะอยู่เหนือระดับน้ำของพื้นที่ลุ่มน้ำใดลุ่มน้ำหนึ่ง
จากคำนิยามดังกล่าวพื้นที่ลุ่มน้ำสามารถถูกจำแนกแยกแยะได้โดยสมการทางคณิตศาสตร์เพื่อกำหนดเป็นพื้นที่เพื่อให้สามารถกำหนดชั้นคุณภาพลุ่มน้ำได้โดยตัวแปรหลักๆดังนี้คือ ระดับความสูงของแผ่นดินเหนือระดับน้ำทะเล ความลาดชัน ลักษณะแผ่นดิน ลักษณะธรณีวิทยา ลักษณะดิน ประเภทการใช้ที่ดิน เป็นต้น โดยการจำแนกคุณภาพลุ่มน้ำตามมาตรฐานสากลกำหนดเป็นชั้นคุณภาพที่แสดงด้วยตัวเลขเช่นชั้น 1A 1B ชั้นที่ 2 3 4 หรือ 5 เป็นต้น ซึ่งได้จากการแทนค่าตัวแปรและนำมาจัดลำดับเพื่อให้สะดวกต่อการบริหารจัดการ  เพื่อให้เข้าใจง่ายๆพื้นที่ลุ่มน้ำที่มีระดับความสูงของแผ่นดินและ ความลาดชันสูงจะมีตัวเลขน้อย คือชั้น 1A 1B ซึ่งคือภูเขาสูงชันและป่าสมบูรณ์ที่เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารเป็นส่วนใหญ่ และ ชั้นที่ 2 3 4 หรือ 5 ก็คือพืนที่ลุ่มน้ำที่ระดับต่ำกว่า และ ความลาดชันน้อยกว่า จึงมักเป็นภูเขาเตี้ย และที่ราบลุ่มใกล้แม่น้ำ หนอง คลองบึง ที่มนุษย์ก่อสร้างชุมชนและอาศัยอยู่ ดังที่กล่าวมาจึงสามารถกล่าวได้ว่ามนุษย์ต่างตั้งถิ่นฐานและอยู่ร่วมกันในพื้นที่ลุ่มน้ำใดลุ่มน้ำหนึ่ง
ดังนั้นหากเรานิยามคำว่า Watershed ใหม่ตามมาตรฐานสากลก็สามารถแบ่งพื้นที่เขตแดนตามคำนิยามของสนธิสัญญา 1904-1907 ได้โดยมิต้องคำนึงถึงเส้นแบ่งเขตแดนตามที่ปรากฎในแผนที่อีกต่อไปว่าถูกต้องหรือไม่ ปัญหาที่ฝ่ายอ้างอิงเส้นเขตแดนในแผนที่อาจโต้แย้งคือ คำว่า Watershed ใหม่ตามมาตรฐานสากลจะตรงกับความหมายและใช้ได้ตามสนธิสัญญา1904-1907 หรือไม่ เมื่อตรวจสอบรากศัพท์ของคำว่า Watershed พบว่ามีกำเนิดมาจาก ภาษาเยอรมันคือ Wasserscheide ซึ่งมีกำเนิดและนำมาใช้ตั้งแต่ คริสศตวรรตที่ 14ประกอบด้วยคำว่า Wasser แปลว่าน้ำ และ scheideแปลว่า เส้นแบ่ง และ เป็นคำที่เริ่มใช้ในภาษาอังกฤษ คือWatershed  ในคริสศตวรรตที่ 18-19 จนถึงปัจจุบัน ดังนั้นคำว่า Watershedจึงไม่ใช่คำใหม่แต่มีรากฐานและความหมายดั้งเดิมที่เกี่ยวกับสันปันน้ำหรือเส้นแบ่งน้ำ
 
           เมื่อพิจารณาว่าพื้นที่ลุ่มน้ำในปัจุบันหรือสันปันน้ำในอดีตดังกล่าวที่ปรากฎในแผนที่จะมีลักษณะหรือตรงกับคำนิยามและเจตนารมย์ของสนธิสัญญาหรือไม่ เราสามารถพิสูจน์ได้โดยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System – GIS) ซึ่งเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในคริสศตวรรตที่ 21 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ กล่าวคือโดยภาพดาวเทียมและระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์Google Earth ที่แสดงภูมิ
        รูปที่ 2 ภาพดาวเทียม Google Earth และเส้นระดับความสูง (Contour) บริเวณเขาพระวิหาร
                                     
 
ประเทศบริเวณเขาพระวิหารและเส้นระดับความสูงที่สร้างจากระบบ GIS  ตามรูปที่ 2 จะเห็นว่าเราได้ค้นพบหลักฐานใหม่คือเส้นระดับความสูงและพื้นลุ่มน้ำที่สามารถสร้างขี้นได้อย่างถูกต้องโดยไม่จำเป็นต้องทำการสำรวจในพื้นที่จริงเหมือนในอดีต และพิสูจน์ได้ว่าเส้นเขตแดนหรือเส้นสันปันน้ำของฝรั่งเศสในแผนที่ 1:200000 ไม่ถูกต้องโดยพิสูจน์ได้จากแบบจำลอง 3 มิติ ของระดับน้ำซึ่งทำขึ้นจากข้อมูลแผนที่ดิจิตอลระดับความสูง(Digital Elevation Model – DEM)โดยสามารถอธิบายได้ดังนี้คือ    ในสภาวะปกติแผ่นดินของกัมพูชาแถบเทือกเขาพนมดงรักอยู่ในลุ่มน้ำที่ต่ำกว่าคืออยู่ที่ระดับเหนือน้ำทะเลที่ประมาณ 90-116 เมตร ตามรูปที่ 3 ชุมชนชาวกัมพูชาสร้างถิ่นฐานอยู่ในพื้นนี้ได้เป็นปกติแต่หากจำลองให้ระดับน้ำสูงขึ้นมาที่ระดับ 206 เมตร ตามรูปที่ 4 หรือสูงขึ้นมา 90 เมตร (ซึ่งหากเกิดเหตุการณ์เช่นนี้จริงหมู่บ้านและชุมชนทั้งหมดในบริเวณนี้จะจมอยู่ใต้น้ำ) พื้นที่ดังกล่าวย่อมไม่เกิดเป็นชุมชนเพื่อการตั้งถิ่นฐานอีกต่อไปแต่จะกลายเป็นทะเลสาบชุมชนชาวกัมพูชาจะต้องอยู่เหนือขึ้นมาซึ่ง 
ไม่มีอยู่จริงในปี 1904-1907
wshd3.png
รูปที่ 3 แบบจำลองระดับความสูงระดับน้ำที่ 116 เมตร        
wshd4.pngรูปที่ 4 แบบจำลองระดับความสูงระดับน้ำที่ 206 เมตร
 
 
และหากจำลองให้ระดับน้ำสูงขึ้นอีกถึงระดับ 306 เมตร ตามรูปที่ 5 แผ่นดินกัมพูชาไม่เฉพาะบริเวณเชิงเทือกเขาพนมดงรักแต่แผ่นดินทั่วไปจะกลายเป็นผืนน้ำกว้างใหญ่แต่แผ่นดินสยามยังเป็นผืนดินที่มนุษย์ยังสามารถตั้งถิ่นฐานและดำรงเป็นชุมชนได้อยู่เพราะอยู่เหนือระดับน้ำที่ต่ำกว่าและยังปรากฎขอบเขตที่ชัดเจนของดินแดนอย่างต่อเนื่องครอบคลุมพื้นที่เขาพระวิหารทั้งหมดและจากแบบจำลองระดับน้ำไม่พบว่าเส้นเขตแดนตามที่ปรากฎใน
wshd5.png
                                            รูปที่ 5 แบบจำลองระดับความสูงระดับน้ำที่ 336 เมตร

แผนที่  1 : 200000 สามารถแบ่งพื้นที่ลุ่มน้ำหรือเป็นเส้นสันปันน้ำได้ตามที่ระบุสนธิสัญญากล่าวคือหากจำลองระดับน้ำมาถึงที่ระดับ 566 เมตร ตามรูปที่ 6 ซึ่งอยู่ในระดับความสูงใกล้เคียงเส้นสันปันน้ำตามแผนที่ฝรั่งเศสที่ยังคงปราสาทเขาพระวิหารในเขตแดนประเทศกัมพูชาตามแผนที่ 1: 200000 ดังกล่าว  สภาพเขาพระวิหารบริเวณปราสาทจะกลายเป็นเกาะเล็กๆในฝั่งกัมพูชา แต่ที่ราบลุ่มเกือบทั้งประเทศจะกลายเป็นทะเลทั้งหมดที่ชุมชนไม่อาจอาศัยอยู่ได้ จึงเห็นได้ว่าเส้นเขตแดนดังกล่าวไม่ถูกต้องตามธรรมชาติที่พิสูจน์ได้โดยอย่างชัดเจนโดยเทคโนโลยีในปัจจุบัน

wshd6.png
                                               รูปที่ 6 แบบจำลองระดับความสูงระดับน้ำที่ 566


          จากข้อเท็จจริงดังกล่าวสามารถสรุปได้ว่าธรรมชาติหรือลักษณะของพื้นที่ของภูมิประเทศของเขตแดนไทยและกัมพูชาได้ถูกแบ่งอย่างชัดเจนโดยธรรมชาติโดยชุมชนชาวกัมพูชาอาศัยตั้งถิ่นฐานอยู่พื้นที่ลุ่มน้ำหนึ่งที่ต่ำกว่าคือที่ระดับไม่เกิน 116 เมตร และตั้งแต่ระดับความลาดชันที่ความสูง 206 เมตรของเชิงเขาพระวิหารขึ้นไปเป็นพื้นที่ของอีกลุ่มน้ำหนึ่งที่ทำหน้าที่เป็นเส้นแบ่งหรือพื้นที่แบ่งและยังเป็นจริงจนถึงที่ความลาดชันสูง 306 เมตร ขึ้นไปจนถึงระดับสูงสุดคือที่ระดับประมาณ 636 เมตร กล่าวคือเป็นพื้นที่อีกลุ่มน้ำหนึ่งในเขตแดนของสยามครอบครองและตั้งชุมชน และเหนือขึ้นไปบนยอดเขาก็เป็นที่ตั้งเทวาลัยคือปราสาทเขาพระวิหารที่สร้างสรรค์โดยชุมชนรุ่นบรรพชนนั่นเอง  เขตแดนสยามบริเวณเขาพระวิหารที่ติดกับฝั่งเขมรจึงควรเริ่มที่ระดับน้ำ 206 เมตร (แม้ว่าทางปฎิบัติจริงที่ระดับระหว่าง 206-306 เป็นแนวผาสูงชันไม่มีชุมชนตั้งอยู่ก็ได้) นอกจากนั้นก่อนเกิดสนธิสัญญาปี 1904-1907 เป็นความจริงที่ชุมชนจะอยู่ในพื้นที่ลุ่มน้ำเสมอชุมชนสยามยังสามารถขยายอาณาเขตครอบครองลงมาทางด้านทิศใต้ที่ระดับต่ำกว่า 116 เมตร จนถึงเสียมราฐซึ่งเป็นอีกพื้นที่ลุ่มน้ำหนึ่งที่มีชั้นคุณภาพลุ่มน้ำใกล้เคียงกับบริเวณเชิงเขาพระวิหารฝั่งเขมรจรดลุ่มน้ำทะเลสาบน้ำจืดโตนเลสาบ
สภาพพื้นที่ลุ่มน้ำตามเทือกเขาพนมดงรักดังกล่าวดำรงอยู่จริงจึงก่อเกิดเส้นแบ่งเขตแดนตามธรรมชาติโดยระดับความสูง ความลาดชัน เพื่อเป็นถิ่นที่ตั้งของชุมชน และสิ่งก่อสร้างเทวาลัยมานับร้อยๆปีมาแล้วก่อนเกิดเส้นเขตแดนที่จักรวรรดินิยมฝรั่งเศสสร้างขึ้นบนแผนที่ 1: 200000 โดยความไม่ชอบธรรม โดยอคติ ไม่สุจริต หรือเป็นเท็จอันไม่ถูกต้องตามเจตนารมย์ของสนธิสัญญามาตั้งแต่ต้นกระบวนคิดใหม่โดยการอธิบายคำนิยามใหม่ของพื้นที่ลุ่มน้ำ (Watershed) และการนำเสนอใหม่นี้จึงอธิบายความหมายของคำว่า Watershed ได้อย่างสมบูรณ์มากกว่าคำนิยามเดิมที่เพียงใช้คำว่าสันปันน้ำอย่างเดียว และยังสามารถพิสูจน์ได้ว่าปราสาทเขาพระวิหารและพื้นที่โดยรอบ4.6 ตารางกิโลเมตร รวมถึงสันเขาของเทือกเขาพนมดงรักตลอดเขตแดนจังหวัดศรีสะเกษ จรดจังหวัดสุรินทร์อยู่ในดินแดนของประเทศไทย
เป็นความจริงที่ดินแดนในบริเวณดังกล่าวอาจถูกครอบครองโดยบรรพชนแห่งรัฐกัมพูชาในอดีต และเป็นจริงที่การขยายอาณาเขตในอดีตคือการครอบครองโดยการเข้ายึดครองโดยสยาม แต่ เมื่อสยามเสียดินแดนหรือเสียการครอบครองให้ฝรั่งเศส และได้ระบุในสนธิสัญญาว่าการกำหนดเส้นเขตแดนใช้คำว่า Watershed การสร้างเส้นเขตแดนจริงจึงต้องทำให้ถูกต้องและชอบธรรม ดังนั้นหากฝรั่งเศสซึ่งครอบครองอินโดจีนในขณะนั้นบังคับสยามให้สละดินแดนโดยสร้างเขตแดนที่ไม่ถูกต้องตามเจตนารมย์ของสนธิสัญญา เมื่อสามารถใช้กระบวนคิดใหม่โดยอธิบายนิยามของคำว่าพื้นที่ลุ่มน้ำมาพิสูจน์ได้ว่าเส้นเขตแดนของฝรั่งเศสไม่ถูกต้อง ก็ควรเป็นหน้าที่ของคนไทยทุกฝ่ายที่ควรจะร่วมมือกันแก้ไขทวงสิทธิและสมควรปกป้องดินแดนมิให้เสียเพิ่มเติมต่อไป  
อาจมีข้อโต้แย้งว่าชาวเขมรเป็นผู้สร้างปราสาท หรือ รูปแบบของปราสาทคือนวัตกรรมที่รังสรรค์อันเป็นเอกลักษณ์ของชนชาติเขมรดังนั้นปราสาทต้องอยู่ในดินแดนเขมร   เราสามารถอธิบายได้ว่าศิลปของปราสาทก็คือเอกลัษณ์ หรือ วัฒนธรรมของชนชาติหนึ่ง (ที่ จิตร ภูมิศักดิ์ สันนิฐานว่าคือชนชาติขอม)  การปรากฎของเอกลักษณ์ที่เผยแพร่ไปนี้เป็นปรากฎการณ์ของวัฒนธรรมไร้พรมแดนประการหนึ่งเช่นเดียวกับ การบริโภคแมคโดนัล  กาแฟสตาร์บัคส์ การบริโภคอาหารจีนและอาหารญี่ปุ่นโดยใช้ตะเกียบ หรือการบริโภคต้มยำกุ้งอันมีรสชาติและวิธีการปรุงอันเป็นเอกลักษณ์ของอาหารไทยที่เผยแพร่ไปทั่วโลกซึ่งก็คือรูปแบบหนึ่งของวัฒนธรรมไร้เขตแดนเช่นกัน  ปรากฎการณ์วัฒนธรรมไร้พรมแดนหรือไร้เขตแดนที่เห็นได้ชัดเจนในปัจจุบันคือวัฒนธรรมการใช้อินเตอร์เน็ต หรือ กระแสธารวัฒนธรรมที่ไหลบ่าผ่านอินเตอร์เน็ตในปัจจุบันนั้นเอง  ขณะที่ประเทศก็ยังคงขอบเขตและพรมแดนอยู่ต่อไป นี่คือคำตอบที่ไขปริศนาเหตุใดจึงมีปราสาทเมืองสิงห์ซึ่งมีศิลปคล้ายเขมรอยู่ที่จังหวัดกาญจนบุรี  
     แล้วใครเป็นผู้สร้างปราสาทพระวิหาร? หากใช้กระบวนคิดกฎของธรรมชาติเราก็สามารถอธิบายคำถามดังกล่าวได้ดังนี้คือโดยธรรมชาติแล้วไม่มีมนุษย์คนไหนจะสร้างบ้านบนที่ดินของคนอื่น และ ไม่มีมนุษย์คนไหนสร้างบ้านให้มีทางเข้าบ้านจากหลังบ้านหรือให้มีทางเข้าผ่านที่ดินของคนอื่น  มนุษย์ย่อมสร้างบ้านโดยให้มีทางเข้าจากหน้าบ้านเสมอ  ปราสาทพระวิหารก็เช่นกันลักษณะของปราสาทมีทางขึ้นหรือทางเข้าจากจังหวัดศรีสะเกษซึ่งเป็นดินแดนที่ราบสูงของประเทศไทยอยู่คนละลุ่มน้ำกับเขมรต่ำ   ดังที่กล่าวมาแล้วความสัมพันธ์ของมนุษย์กับสรรพสิ่งในชุมชนบนลุ่มน้ำเดียวกันย่อมเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กันโดยแบ่งแยกไม่ได้ปราสาทพระวิหารก็ย่อมต้องมีความสัมพันธ์กับชุมชนสยามตั้งแต่อดีตกาลอย่างแน่นอน การกระทำใดๆที่กระทำโดยฝืนธรรมชาติเช่นการพยามตัดความสัมพันธ์ของชุมชนสยามหรือประเทศไทยในปัจจุบันออกจากปราสาทพระวิหารที่อยู่ในลุ่มน้ำเดียวกันก็เท่ากับกระทำการอันฝืนธรรมชาติก็ย่อมก่อให้เกิดปัญหาอย่างแน่นอนไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง
        ดังนั้นวาทะกรรมที่นักวิชาการ หรือฝ่ายสนับสนุนคำตัดสินของศาลโลกและการยอมรับแผนที่1:200000 โดยการยึดมั่นถือมั่นในตัวตนหรือถือหลักแห่งความไม่ยุติธรรมโดยการตีความเพื่อเข้าข้างตัวเองไม่ว่าโดยอคติ หรือ การมีผลประโยชน์แห่งตน และ พวกพ้อง บริวาร หรือ การว่าจ้างวานให้กระทำ หรือรับจ้างมากระทำโดยความพยายามอ้างหลักฐานทางประวัติศาสตร์หรือการตีความที่ไร้ซึ่งตรรกะเพื่อบิดเบือนหลักหรือกฎแห่งธรรมชาติรวมถึงการนำเสนอกระบวนคิดโลกไร้พรมแดน และ การสร้างวาทะกรรมอันชั่วร้าย โดยเฉพาะการประนามว่าการทวงคืนดินแดนเป็นการกระทำอันกระหายสงคราม  เป็นสาวกของระบอบราชานิยม อำมาตยาเสนาชาตินิยม คลั่งชาติ ดังกล่าวนี้ คือหลักคิดด้านลบ คับแคบไม่เป็นวิทยาศาสตร์  อันปฎิเสธกฎแห่งธรรมชาติที่สุดแสนจะล้าหลังสวนทางกับกงล้อประวัติศาสตร์อย่างไร้เดียงสา ไร้ยางอาย และน่าละอายที่สุด
         ไม่เพียงแต่คำสงวนคำตัดสินของประเทศไทยต่อคำตัดสินของศาลโลกเท่านั้นที่ให้ความชอบธรรมในการทวงสิทธิดินแดนคืนแต่ในฐานะคนไทยรักชาติต้องนำเสนอความจริงทางวิทยาศาสตร์อันเป็นสัจจธรรมแห่งธรรมชาติ เพื่อต่อต้านแนวคิดจักรวรรดนิยมที่มีแสนยานุภาพเหนือกว่าไทยในอดีตที่บังอาจกระทำหลักฐานเส้นแบ่งเขตพรมแดนตามอำเภอใจและได้สร้างปัญหาจนถึงปัจจุบัน  กระบวนคิดใหม่นี้จึงถือเป็นภาระกิจสำคัญที่ต้องปฎิบัติให้เป็นจริงโดยประจักษ์โดยมิอาจหยุดยั้งได้นับตั้งแต่วินาที่นี้เป็นต้นไป 


(ดูวีดีโอแสดงภาพเคลื่อนไหวระดับน้ำใน YouTube)

 
 

Tam-mic-ra ฟันธง!  คำว่า "โดนพริกไทยมั๊ง" น่ะ แค่นี่เอามาเป็นหลักฐาน ได้ยังไงครับ .....  คิดครับคิด  :lol:   จากกระทู้แก้ข่าวหน้า 2 qoute #96  ใครยิงวสันต์-ภู่ทอง   แอลพีจีทำมาจากซี2ซี3


#34 want09

want09

    น้องใหม่

  • Members
  • Pip
  • 24 posts

ตอบ 9 มกราคม พ.ศ. 2556 - 10:36

ประเทศไทยรวมเลือดเนื้อชาติเชื้อไทย

เป็นประชารัฐ

ไผทของไทยทุกส่วน

อยู่ดำรงคงไว้ได้ทั้งมวล

ด้วยไทยล้วนหมาย รักสามัคคี

ไทยนี้รักสงบ แต่ถึงรบไม่ขลาด

เอกราชจะไม่ให้ใครข่มขี่

สละเลือดทุกหยาดเป็นชาติพลี

เถลิงประเทศชาติไทยทวี มีชัย ชโย

 

 

 

 

ถ้าเป็นคนไทยคงเข้าใจความหมายของเพลงนี้ และเป็นเพลงเเรกตั้งแต่เข้าเรียนเมื่อยังเป็นเด็ก ที่ร้องครั้งแรกในชีวิตได้จนจบเพลง ทั้งๆที่ในวัยนั้นยังไม่เข้าใจถึงความหมายว่าอย่างไรในตอนนั้น เมื่อวันเวลาผ่านไป ได้เข้าใจอะไรๆในความหมายของเนื้อเพลงมากขึ้น


Edited by want09, 9 มกราคม พ.ศ. 2556 - 10:37.


#35 Shariff

Shariff

    สมาชิกหน้าตาดี

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 3,802 posts

ตอบ 9 มกราคม พ.ศ. 2556 - 10:44

สายตรงภาคสนาม

พลิกปูมปมพระวิหาร ใครประเคนอธิปไตยไทยให้เขมร ใครปกป้องแผ่นดิน

• 2505 ศาลโลกตัดสินให้เขาพระวิหารเป็นของเขมร ซึ่งไทยไม่ยอมรับคำตัดสินแต่ปฏิบัติตาม มีการออกมติ ครม. ล้อมรั้วแสดงอธิปไตยรอบตัวปราสาทโดยกัมพูชาไม่ทักท้วง
• มีการกระทบกระทั่งตามแนวชายแดน รัฐบาลชวน หลีกภัยทำ MOU43 เป็นกลไกเจรจากัมพูชา
• เปลี่ยนเป็นรัฐบาลทักษิณทำ MOU44 แบ่งผลประโยชน์ทางทะเล สัญญาไทยเสียเปรียบ
• มีข้อครหาผลประโยชน์ทับซ้อนทักษิณ – ฮุนเซน แต่การแบ่งปันผลประโยชน์ยังไม่สำเร็จ
• เกิดการรัฐประหาร 19 กันยา 49 รัฐบาลสุรยุทธ ไม่สนับสนุนกัมพูชาขึ้นทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกโลกฝ่ายเดียว
• รัฐบาลสมัครออกแถลงการณ์ร่วม ไทย-กัมพูชา หนุนการขึ้นทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกโลกของกัมพูชา
• มีการต่อต้านจากกลุ่มพันธมิตรและหลายฝ่าย 28 มิ.ย. 51 ศาลปกครองมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวห้ามใช้แถลงการณ์ดังกล่าว
• รัฐบาลสมัครไม่ได้ชี้แจงปัญหาข้อกฎหมายภายในประเทศ ปล่อยให้กัมพูชาใช้แถลงการณ์เป็นประโยชน์ต่อการขึ้นทะเบียนมรดกโลก
• 8 ก.ค. 51 กรรมการมรดกโลกมีมติขึ้นทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกโลกตามคำขอของกัมพูชา เป็ยวันเดียวกันที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าแถลงการณ์ร่วมดังกล่าวขัดรัฐธรรมนูญ แต่ไม่สามารถยับยั้งการขึ้นทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารได้
• รัฐบาลอภิสิทธิ์เข้าบริหารประเทศ 3 ปี คัดค้านการบริหารพื้นที่รอบปราสาทพระวิหาร ทำให้กัมพูชายังขึ้นทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารไม่สมบูรณ์จนถึงทุกวันนี้
• กัมพูชาสร้างสถานการณ์นำไปสู่การปะทะบริเวณชายแดนเพื่อยกระดับสู่ศาลโลก ไทยสู้คดีเพราะเป็นคดีเก่า หากไม่สู้คดีจะทำให้ศาลฟังความข้างกัมพูชาฝ่ายเดียว ไทยจะเสียประโยชน์
• ศาลโลกมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวให้ทั้ง 2 ฝ่ายถอนทหารจากพื้นที่ทั้งสองฝั่งของสันปันน้ำ ไม่ได้คุ้มครองตามที่กัมพูชารร้องขอให้ไทยถอนทหารฝ่ายเดียว
• รัฐบาลยิ่งลักษณ์เข้าบริหารประเทศไม่มีความชัดเจนเกี่ยวกับการต่อสู้คดี นอกจากอ้างว่าใช้ทีมทนายความเดิมรัฐบาลชุดเก่า
• ท่าทีรัฐบาลอ้างความสัมพันธ์ที่ดีโดยไม่มีการประท้วงเมื่อกัมพูชามีพฤติกรรมละเมิดอธิปไตยไทยจนอาจส่งผลต่อรูปคดีที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลโลก
• รัฐบาลไม่เคยใช้ความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้นำกัมพูชา ในทางที่เป็นประโยชน์ต่อชาติ ตรงกันข้ามกลับมีท่าทีเหมือนสมยอมที่จะให้กัมพูชาขึ้นทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกโลกอย่างสมบูรณ์
• รัฐบาลสนับสนุนให้กัมพูชาเป็นเจ้าภาพกรรมการมรดกโลกโดยไม่เสนอตัวแข่งขัน ต่างจากแนวนโยบายรัฐบาลอภิสิทธิ์    จึงทำให้ไทยเสียเปรียบเพิ่มขึ้น

http://www.facebook....320744928030320

 

เรียบเรื่องได้ดีมากเลยค่ะ อ่านเข้าใจง่าย

หวังว่าลูกๆแป๊ะคงจะอ่านรู้เรื่องนะคะ

 

นิยายเอาไว้หลอกพวกเดียวกันเรื่อง... "อั้วไม่รู้เรื่องด้วยนะโว้ย"...     หรือ แปลเป็นไทยได้ว่า...

"พวกเองผิดกันหมด...  ข้าถูก"  ...     :D

 

 

มีความสุขมากเหรอครับถึงได้ใส่อีโมแบบนั้น


"การปลดปล่อยตัวเองออกจากความเป็นทาสทางความคิดมิใช่ใครอื่น, มีแต่เราเท่านั้นที่จะต้องกระทำ "จากเพลง Redemption song.

#36 Axis Kernel

Axis Kernel

    น้องเก่า

  • Members
  • PipPip
  • 186 posts

ตอบ 9 มกราคม พ.ศ. 2556 - 10:58

8360349829_7eb9e2f265_o.png



#37 Stargate-1

Stargate-1

    SG-1

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,578 posts

ตอบ 9 มกราคม พ.ศ. 2556 - 16:15

10f.gif  เส้นชั้นความสูง  (Contouring)  10f.gif

 Contours90.jpg

                แผนที่  ที่แสดงทั้งค่าระดับความสูงของพื้นดินและรายละเอียดต่าง ๆ  ทั้งที่เป็นธรรมชาติ  และมนุษย์สร้างขึ้น  เราเรียกแผนที่ชนิดนี้ว่า  Topographic  map  เวลาไปทำการสำรวจจะต้องวาง  Bm  ซึ่งเราเรียกว่า  Vertieal  control  หรือจุดบังคับทางดิ่ง  และทำวงรอบหรือสามเหลี่ยมเรียกว่า  Horizontal  Control  ในแผนที่  ค่าความสูงจะมีหลายอย่างที่นิยมที่สุดคือ  เส้นชั้นความสูง  Contouring

contour91.jpg      contour94.gif

                Contour  Line  หรือ  เส้นชั้นความสูง  คือ  เส้นจิตนาการของระดับที่คงที่บนพื้นดิน  ซึ่งได้จากการลากเส้นคงที่ผ่านจุดต่าง ๆ  บนพื้นดินที่มีค่าระดับเท่ากัน  เส้นที่ลากโยงเหล่านี้เราเรียกว่า  เส้นชั้นความสูง

                Contour  Interval  คือ  ค่าความต่างของเส้น  Contour  แต่ละเส้นซึ่งถูกกำหนดในแนวดิ่ง  เช่น  เส้น  Contour  เส้นที่  100  กับ  101  ความต่างคือ  1  นั้นคือ  1  เมตร  คือ  Contour  interval
                    contour92.gif    contour93.gif

การกำหนด  Contour  interval  กำหนดได้ดังนี้

1.       ลักษณะดินเดิมตามธรรมชาติ  (Nature  of  grand)  เช่น  ดินที่มีความลาดชันมาก  Contour  interval  จะมีค่ามาก  แต่ถ้าเป็นพื้นราบ  Contour  interval  จะต้องมีค่าน้อย  ทั้งนี้จะทำให้  Contour  Line  ไม่ผิดกัน

2.       มาตราส่วนแผนที่  Scale  of  the  map  ถ้าแผนที่มาตราส่วนเล็ก  Contour  interval  จะมีค่ามากจะเห็นว่า  Contour  interval   แปรผกผันกับ  Scale

3.       ขึ้นอยู่กับจุดประสงค์และเนื้อที่ทำการสำรวจ

4.       ระยะเวลาและค่าใช้จ่ายในการสำรวจ

Contours95.jpg

ลักษณะของเส้นชั้นความสูง

                1.  Contour  Line    ที่มีค่าความสูงต่างกันจะต้องกันไม่ได้ หรือระดับเท่ากันจะพาดผ่านกันไม่ได้

                2.  Contour  Line    ที่มีค่าระดับต่างกันจะรวมกันได้ก็ต่อเมื่อเป็นหน้าผาสูงชัน

                3.  ถ้า  Contour  Line  ชิดหรือห่างกันจะแสดงให้เห็นลักษณะภูมิประเทศดังนี้

                                3.1  ลาดชั้น  Steep  Slope  ชิดติดกันมากเป็นหน้าผา

                                3.2  Gentle  Slope  ลาดไม่สม่ำเสมอ  คือสูง ๆ ต่ำ ๆ

                                3.3  Unform  Slope  ลักษณะพื้นดินราบเรียบมาก  Contour  เดียวขนานกัน

                                3.4  Plane  Slope  พื้นดินราบเรียบเป็นแผนเดียวกัน  Contour  จะเป็นเส้นทางและขนานกัน

                4.  เส้น  Contour  จะตั้งได้ฉากกับแนวที่ลาดชันมากที่สุด

                5.  เส้น  Contour  จะบรรจบกันเองเสมอไม่ว่าจะเป็นภูเขา  หรือที่ลุ่ม  (Depression  Contour)

                6.  ค่าเส้นชั้นความสูงผ่านเส้นบันน้ำ  Contour  จะออกเป็น  U-shape

                7.  ถ้า  Contour  ผ่าน  Valley  line  จะออกเป็นรูป  V-shape

                8.  เส้น  Contour  เส้นเดียวกันจะปรากฏบนด้านตรงกันข้ามของ  Valley line

                9.  ถ้าพื้นที่สูงขึ้นหรือต่ำลง  Contour  line  จะปิดเป็นวงรอบ


Tam-mic-ra ฟันธง!  คำว่า "โดนพริกไทยมั๊ง" น่ะ แค่นี่เอามาเป็นหลักฐาน ได้ยังไงครับ .....  คิดครับคิด  :lol:   จากกระทู้แก้ข่าวหน้า 2 qoute #96  ใครยิงวสันต์-ภู่ทอง   แอลพีจีทำมาจากซี2ซี3


#38 wewe

wewe

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 3,005 posts

ตอบ 9 มกราคม พ.ศ. 2556 - 16:55

ย้อนเรื่องเดิมช่วงคาบเกี่ยวระหว่างรัฐบาลที่แล้วกับรัฐบาลปัจจุบัน การดำเนินการเพื่อปฏิบัติตามคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวของศาลโลกในคดีปราสาทพระวิหาร 

โดย ดร.สุวันชัย แสงสุขเอี่ยม

 

 

1. คำสั่งกำหนดมาตรการคุ้มครองชั่วคราวของศาลโลก   
  
ตามที่กัมพูชาได้ยื่นขอให้ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ซึ่งต่อไปเรียกว่า “ศาลโลก”)  ตีความคำพิพากษาคดีปราสาทพระวิหารที่ศาลโลกได้ตัดสินเมื่อวันที่ 15 มิ.ย. 2505  และพร้อมกันนี้กัมพูชาได้ยื่นคำร้องเร่งด่วนขอให้ศาลโลกกำหนดมาตรการคุ้มครองชั่วคราว เมื่อวันที่ 28 เม.ย. 2554  ต่อมาในวันที่ 18 ก.ค. 2554  ศาลโลกได้มีคำสั่งต่อคำร้องขอของกัมพูชาให้กำหนดมาตรการคุ้มครองชั่วคราวดังนี้  

(A) โดยเอกฉันท์  ยกคำขอของประเทศไทยที่ให้จำหน่ายคดีที่กัมพูชายื่นให้พิจารณาเมื่อวันที่ 28 เม.ย. 2554  ออกจากสารบบความของศาล 

(B) กำหนดมาตรการคุ้มครองชั่วคราวดังนี้
   

(1) โดยคะแนนเสียง 11 ต่อ 5  ทั้งสองฝ่ายต้องถอนกำลังทหารซึ่งปัจจุบันอยู่ในเขตปลอดทหารชั่วคราว (Provisional Demilitarized Zone: PDZ) ตามที่กำหนดในย่อหน้าที่ 62 ของคำสั่งนี้ในทันที  และงดเว้นจากการวางกำลังทหารภายในเขตนั้น  และจากกิจกรรมทางอาวุธใดๆ ที่มุ่งหมายไปที่เขตนั้น 
 (2) โดยคะแนนเสียง 15 ต่อ 1  ประเทศไทยจะต้องไม่ขัดขวางการเข้าถึงอย่างอิสระ (free access) ของกัมพูชาไปยังปราสาทพระวิหาร  หรือการจัดส่งเสบียงของกัมพูชาให้เจ้าหน้าที่ที่ไม่ใช่ทหารของตนในปราสาทพระวิหาร   
 (3) โดยคะแนนเสียง 15 ต่อ 1  ทั้งสองฝ่ายต้องดำเนินความร่วมมือกันต่อไปตามที่ทั้งสองฝ่ายได้เข้าร่วมในกรอบอาเซียน  และโดยเฉพาะต้องอนุญาตให้คณะผู้สังเกตการณ์ที่แต่งตั้งโดยอาเซียนเข้าไปยังเขตปลอดทหารชั่วคราวดังกล่าวได้   
 (4) โดยคะแนนเสียง 15 ต่อ 1  ทั้งสองฝ่ายต้องงดเว้นจากการกระทำใดๆ ที่อาจทำให้ข้อพิพาทที่ปรากฏต่อศาลเลวร้ายลงหรือเกิดมากขึ้น  หรือทำให้มันยากยิ่งขึ้นที่จะแก้ไข  
 © โดยคะแนนเสียง 15 ต่อ 1  ตัดสินว่าแต่ละฝ่ายต้องแจ้งต่อศาลถึงการปฏิบัติตามมาตรการคุ้มครองชั่วคราวข้างต้น   
 (D) โดยคะแนนเสียง 15 ต่อ 1  ตัดสินว่าจนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาต่อคำร้องขอสำหรับการตีความ  ศาลยังคงอำนาจต่อไปในการพิจารณาเรื่องราวสาระที่ก่อให้เกิดคำสั่งครั้งนี้

 

2. ท่าทีและการดำเนินการของรัฐบาลไทยต่อคำสั่งศาลโลก  

 

ในวันที่ 18 ก.ค. 2554    ภายหลังศาลโลกได้มีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวดังกล่าว  นายกษิต  ภิรมย์ รมต.กระทรวงการต่างประเทศในขณะนั้น  ได้แถลงต่อผู้สื่อข่าวว่า  ฝ่ายไทยเคารพคำสั่งของศาลและจะปฏิบัติตาม  ทั้งนี้  ไทยมีความพอใจต่อคำสั่งดังกล่าวเพราะมีผลให้ทั้งสองฝ่ายต้องปฏิบัติตาม  ไม่ใช่เฉพาะฝ่ายไทยฝ่ายเดียว  และไทยกับกัมพูชาคงต้องมีการหารือกันภายในกรอบของคณะกรรมการชายแดนทั่วไปไทย-กัมพูชา (GBC)
 

ต่อมาในวันที่ 25 ก.ค. 2554  ได้มีการประชุมหารือระหว่างกระทรวงการต่างประเทศกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในเรื่องการดำเนินการของไทยกรณีศาลโลกออกมาตรการคุ้มครองชั่วคราว นายกษิต  ภิรมย์  ได้แถลงต่อผู้สื่อข่าวว่า  ข้อสรุปจากที่ประชุมจะได้นำเรียนต่อนายกรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาส่งมอบให้รัฐบาลชุดใหม่ต่อไป  โดยแนวทางการปรับกำลังทหารนั้น  ทั้งสองฝ่ายต่างมีกำลังในเขตปลอดทหารชั่วคราว (PDZ)  ที่ศาลโลกได้กำหนด  จึงจำเป็นต้องหารือกันว่าจะดำเนินการในเรื่องนี้อย่างไร  รวมถึงรายละเอียดเกี่ยวกับการเข้าไปใน PDZ ของพลเรือนและเจ้าหน้าที่ตำรวจ  อย่างไรก็ตามเป็นเรื่องที่รัฐบาลใหม่ต้องพิจารณาต่อไป    
 

รัฐบาลชุดใหม่ที่มี น.ส. ยิ่งลักษณ์  ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี  ได้เข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 9 ส.ค. 2554  และคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มีมติเมื่อวันที่  16 ส.ค. 2554  ให้กระทรวงการต่างประเทศไปพิจารณารายละเอียดร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสำหรับกรณีการที่กัมพูชาขอให้ตีความคำพิพากษาของศาลโลกในคดีปราสาทพระวิหารและคำสั่งมาตรการคุ้มครองชั่วคราวดังกล่าว  ให้รอบคอบและรอบด้านก่อนนำเสนอ ครม.ต่อไป
 

 

ต่อมากระทรวงการต่างประเทศและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ประชุมหารือในเรื่องดังกล่าวและได้เสนอให้สภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) พิจารณาโดยได้ให้ความเห็นชอบเมื่อวันที่  12 ต.ค. 2554  จากนั้นในวันที่  18 ต.ค. 2554  ครม. ได้มีมติให้ความเห็นชอบตามที่ สมช. เสนอ  ให้มีการปฏิบัติตามคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวของศาลโลก  พร้อมทั้งแนวทางในการดำเนินการเพื่อปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าว  รวมทั้งให้ความเห็นชอบท่าทีของไทยในการประสานกับกัมพูชาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามคำสั่งของศาลโลกต่อไป   
 

ในวันเดียวกันนั้น  นายสุรพงษ์  โตวิจักษณ์ชัยกุล  รมต. กระทรวงการต่างประเทศ  ได้เสนอวาระจรเพื่อขอให้ครม. ให้ความเห็นกรณีผู้บังคับบัญชาการทหารสูงสุดและปลัดกระทรวงการต่างประเทศจะเดินทางไปหารือกับทางการกัมพูชาเพื่อหารือถึงกรอบการเจรจา GBC ในการดำเนินการตามคำสั่งศาลโลก ผู้สื่อข่าวได้รายงานว่า  ครม. ได้มีความเห็นแบ่งออกเป็น 3 ฝ่ายในเรื่องนี้
 

ฝ่ายแรกเป็นส่วนของนายสุรพงษ์  โตวิจักษณ์ชัยกุล  โดยมีความเห็นว่า ครม. ควรมีมติที่ชัดเจนในท่าทีที่มีต่อกรอบการเจรจา  หรือดำเนินการนำเข้าสู่การพิจารณาให้ความเห็นชอบของรัฐสภาตามรัฐธรรมนูญ  มาตรา 190  ฝ่ายที่สองเป็นส่วนของนายวรวัจน์  เอื้ออภิญญกุล  รมต. กระทรวงศึกษาธิการ  นายปลอดประสพ  สุรัสวดี  รมต. กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  และนายต่อพงษ์  ไชยสาส์น  รมช. กระทรวงสาธารณสุข  โดยไม่เห็นด้วยกับการให้ ครม. มีมติตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ  แต่สนับสนุนให้นำเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภา   และฝ่ายที่สามเป็นส่วนของ น.ส. ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร  และนายเฉลิม  อยู่บำรุง  รองนายกรัฐมนตรี  โดยมีความเห็นว่า ครม. ไม่ควรมีมติในเรื่องนี้  และไม่จำเป็นต้องนำเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภาตามรัฐธรรมนูญ  มาตรา 190  เนื่องจากเป็นเพียงการไปหารือเพื่อวางกรอบเจรจาเท่านั้น  ไม่ได้เป็นการทำสนธิสัญญา
 

ผู้สื่อข่าวได้รายงานอีกว่า  ระหว่างที่ ครม. ทั้ง 3 ฝ่ายกำลังถกเถียงกันในเรื่องดังกล่าว  พล.อ.ยุทธศักดิ์  ศศิประภา  รมต. กระทรวงกลาโหม  ได้กล่าวว่า  เกี่ยวกับเรื่องนี้  ผู้บัญชาการทหารสูงสุดได้ให้ความเห็นว่า  หากไม่มีมติ ครม.  ไม่ผ่านการพิจารณาของรัฐสภา  ก็จะไม่เดินทางเดินทางเจรจากับกัมพูชา 

 

จากนั้น น.ส.ยิ่งลักษณ์  ชินวัตร  จึงได้สอบถามความเห็นของเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา  ซึ่งได้รับคำตอบว่า  นายกรัฐมนตรีมีสิทธินำเรื่องเข้าหารือกับรัฐสภาเพื่อรับฟังความคิดเห็นโดยไม่มีการลงมติตามรัฐธรรมนูญ  มาตรา 179  แต่กรณีการหารือกรอบเจรจา GBC นั้นไม่เข้าข่ายที่จะต้องนำเรื่องเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภา  ในที่สุด  น.ส.ยิ่งลักษณ์  ชินวัตร  จึงได้ตัดสินใจว่า  เรื่องนี้ไม่ต้องนำเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภา  และไม่จำเป็นต้องมีมติ ครม. เพื่อแสดงท่าทีและวางกรอบในการไปเจรจาครั้งนี้  และขอให้ผู้ที่จะไปเจรจาเดินทางไปเจรจาอย่างสบายใจ  หากใครไม่ยอมไปเจรจาก็ให้ รมต. กระทรวงต้นสังกัดมาหารืออีกครั้งหนึ่ง
 

ในวันที่ 21 ต.ค. 2554  นายธานี  ทองภักดี  ในฐานะโฆษกกระทรวงการต่างประเทศได้แถลงต่อผู้สื่อข่าวว่า  โดยที่การปฏิบัติตามคำสั่งมาตรการคุ้มครองชั่วคราวของศาลโลกเป็นเรื่องการใช้อำนาจบริหารของรัฐบาลในการประสานกับฝ่ายกัมพูชาเพื่อปฏิบัติตามคำสั่งศาลโลก  มิใช่เป็นเรื่องการจัดทำหนังสือสัญญาตามรัฐธรรมนูญ  มาตรา 190  จึงไม่ต้องเสนอให้รัฐสภาพิจารณาให้ความเห็นชอบ  อย่างไรก็ดีการปฏิบัติตามคำสั่งศาลโลกเป็นเรื่องสำคัญซึ่งรัฐบาลจะต้องพิจารณาดำเนินการอย่างรอบคอบ  และรัฐสภาซึ่งเป็นฝ่ายนิติบัญญัติควรได้รับทราบและให้ความเห็นเกี่ยวกับการตัดสินใจในการดำเนินการของรัฐบาล  ดังนั้นส่วนราชการต่างๆ  รวมถึงกระทรวงการต่างประเทศจึงเสนอให้รัฐบาลเสนอเรื่องเข้าสู่รัฐสภาเพื่อเปิดโอกาสให้รัฐสภารับทราบและแสดงความคิดเห็นโดยไม่มีการลงมติตามรัฐธรรมนูญ  มาตรา 179
 

ในวันที่ 3 พ.ย. 2554  นายสุรพงษ์  โตวิจักษณ์ชัยกุล  รมต. กระทรวงการต่างประเทศ  ได้เปิดเผยต่อสื่อมวลชนว่า  น.ส.ยิ่งลักษณ์  ชินวัตร  นายกรัฐมนตรี  ได้ลงนามในหนังสือส่งให้ประธานรัฐสภาเพื่อขอให้เปิดการประชุมร่วมกันของรัฐสภาตามที่ ครม. ได้ให้เปิดการอภิปรายทั่วไปโดยไม่มีการลงมติตามรัฐธรรมนูญ  มาตรา 179  ต่อกรณีการปฏิบัติตามคำสั่งมาตรการคุ้มครองชั่วคราวของศาลโลก  ซึ่งศาลโลกได้กำหนดให้ไทยและกัมพูชาส่งรายงานการปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าวภายในวันที่ 21 พ.ย. 2554  โดยที่ทางทหารในฐานะผู้ปฏิบัติมีความกังวลว่า  การถอนทหารออกจากพื้นที่พิพาทอาจทำให้มีการกล่าวหาว่าเป็นต้นเหตุให้ประเทศเสียอธิปไตย  และนำไปสู่การยื่นฟ้องดำเนินคดีการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบตามกฎหมายอาญามาตรา 157 ได้  ที่ประชุม สมช. จึงมีความเห็นมายังรัฐบาลขอให้เปิดการประชุมร่วมกันของรัฐสภาดังกล่าวเพื่อป้องกันการฟ้องร้องที่จะมีขึ้นได้ในอนาคต  โดยประธานรัฐสภาได้กำหนดให้มีการประชุมร่วมกันของรัฐสภาสำหรับเรื่องดังกล่าวในวันที่ 15 พ.ย. 2554

 

มีต่อ


ความเท็จแม้นเร้นได้ในปัจจุบัน  แต่ก็เหมือนซ่อนสุริยันไว้หลังเมฆ

อย่านึกถึงแต่ความผิดพลาด  จงระลึกถึงต้นเหตุของความผิดพลาด


#39 wewe

wewe

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 3,005 posts

ตอบ 9 มกราคม พ.ศ. 2556 - 16:57

3. ผลกระทบที่สำคัญจากการปฏิบัติตามคำสั่งมาตรการคุ้มครองชั่วคราวของศาลโลก 
 
 ผลกระทบที่สำคัญจากการปฏิบัติตามคำสั่งมาตรการคุ้มครองชั่วคราวของศาลโลก  สรุปได้ดังนี้

 3.1 ในการปฏิบัติตามคำสั่งศาลข้อ (1)  ไทยต้องถอนกำลังทหารทั้งหมดออกจากพื้นที่ที่อยู่ภายใต้อำนาจอธิปไตยของไทยซึ่งไม่ได้เป็นพื้นที่พิพาทแต่อย่างใด  คำสั่งศาลดังกล่าวเป็นการล่วงล้ำอำนาจอธิปไตยของไทย  
 

เขตปลอดทหารชั่วคราว (PDZ)  ที่ศาลกำหนดมีพื้นที่ประมาณ 17.8 ตร.กม.  แต่พื้นที่พิพาทที่ทั้งสองฝ่ายอ้างสิทธิทับซ้อนกันมีพื้นที่เพียงประมาณ 4.6 ตร.กม.  และพื้นที่ที่อยู่ภายใต้อำนาจอธิปไตยของไทยซึ่งไม่ได้เป็นพื้นที่พิพาทแต่อย่างใดภายใน PDZ มีพื้นที่ประมาณ 20% ของพื้นที่ PDZ ทั้งหมด  หรือประมาณ 3.5 ตร.กม.  
 

สำหรับคำสั่งศาลในข้อนี้   มีผู้พิพากษาถึง 5 คนซึ่งมีประธานศาลโลกรวมอยู่ด้วยที่มีความเห็นแย้ง  โดยเหตุผลหลักที่ผู้พิพากษาทั้งห้าไม่เห็นด้วยกับคำสั่งศาลในข้อนี้พอสรุปได้ดังนี้  ประการที่หนึ่ง  ศาลไม่มีอำนาจไปกำหนดเขตปลอดทหารดังกล่าวให้ล้ำเข้าไปในพื้นที่ที่อยู่ภายใต้อำนาจอธิปไตยของแต่ละรัฐซึ่งไม่ได้เป็นพื้นที่พิพาทแต่อย่างใด  อันเป็นการล่วงล้ำอำนาจอธิปไตยของรัฐนั้นๆ โดยปราศจากความยินยอมของรัฐดังกล่าว  หากจะมีการกำหนดเขตปลอดทหารก็ควรจำกัดอยู่เฉพาะพื้นที่ที่มีข้อพิพาทกันเท่านั้น 

 

ประการที่สอง  ศาลกำหนดเขตปลอดทหารดังกล่าวเป็นรูปสี่เหลี่ยมที่ตำแหน่งของมุมทั้งสี่มีการกำหนดพิกัดที่แน่นอน  โดยปราศจากการอธิบายให้เหตุผลว่าทำไมจึงต้องเป็นพิกัดดังกล่าว  อีกทั้งยังเป็นการกำหนดในลักษณะที่ประดิษฐ์ขึ้น (artificial manner)  โดยไม่ได้คำนึงถึงภูมิประเทศจริง รวมถึงความเป็นไปได้และความยากลำบากในการดำเนินการหรือการบังคับให้เป็นไปตามมาตรการดังกล่าวของแต่ละฝ่าย
 

 

สำหรับการถอนกำลังทหารของไทยออกจาก PDZ นั้น  รัฐบาลทั้งชุดปัจจุบันและชุดที่แล้วได้อ้างว่าไม่ได้ทำให้ประเทศไทยสูญเสียอธิปไตยหรือเปลี่ยนแปลงอาณาเขตแต่อย่างใดเนื่องจากเป็นเพียงมาตรการคุ้มครองชั่วคราว  แต่เป็นที่ชัดเจนว่าคำสั่งศาลดังกล่าวเป็นการล่วงล้ำอำนาจอธิปไตยของไทย  และมีประชาชนจำนวนมากรวมทั้งกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยไม่เห็นด้วยกับการถอนกำลังทหารดังกล่าว 

 

ดังนั้นหากมีการดำเนินการถอนทหารดังกล่าวคงจะมีประชาชนจำนวนมากในหลายจังหวัดออกมาประท้วงในเรื่องนี้  ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางสังคมอย่างกว้างขวาง  อีกทั้งมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ไทยจะต้องทำข้อตกลงเป็นลายลักษณ์อักษรกับกัมพูชาว่าการถอนกำลังทหารของทั้งสองฝ่ายออกจาก PDZ มีขั้นตอนและรายละเอียดการถอนกำลังทหารรวมทั้งการตรวจสอบระหว่างกันอย่างไรเพื่อให้เกิดความชัดเจนและรอบคอบ  
 

 

 นอกจากนี้สำหรับ PDZ ที่ศาลกำหนดนั้น  ศาลระบุอย่างชัดเจนในย่อหน้าที่ 61 ของคำสั่งศาลว่า ย่อมไม่กระทบต่อการดำเนินการทางปกครองตามปกติ  ซึ่งรวมถึงการให้เจ้าหน้าที่ที่มิใช่ทหารเข้าไปประจำการในส่วนที่จำเป็นต่อการรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชนและทรัพย์สิน  ดังนั้นฝ่ายไทยควรต้องจัดให้มีเจ้าหน้าที่เข้าไปประจำการในเขตดังกล่าวเพื่อดำเนินการต่างๆ ทางปกครอง  และคอยสอดส่องดูความเคลื่อนไหวของฝ่ายกัมพูชาด้วย  ทั้งนี้มีความจำเป็นที่จะต้องจัดทำข้อตกลงที่เป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อให้เกิดความชัดเจนและยืนยันตรวจสอบกันได้ในประเด็นนี้ด้วยว่า  เจ้าหน้าที่ที่มิใช่ทหารนั้นหมายรวมถึงเจ้าหน้าที่ในลักษณะใดบ้าง  มีพื้นที่ประจำการที่ใดได้  และอนุญาตให้มีอาวุธแบบใดได้บ้างในการใช้เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยในเขตดังกล่าว 

 

 3.2 ในการปฏิบัติตามคำสั่งศาลข้อ (1)  ไทยต้องยอมให้ตลาด วัด และชุมชนของกัมพูชาที่อยู่ในพื้นที่พิพาทบริเวณเขาพระวิหารอยู่ต่อไป  

 

 เนื่องจากคำสั่งศาลดังกล่าวไม่ได้ให้ชุมชนที่อาศัยอยู่ใน PDZ  ต้องออกไปด้วย  ซึ่งบริเวณดังกล่าวมีเฉพาะชุมชนกัมพูชาเพียงฝ่ายเดียว  ยิ่งไปกว่านั้นเกือบทั้งหมดเป็นครอบครัวของทหารกัมพูชา  อีกทั้งเป็นการยากที่จะแยกแยะว่าบุคคลใดเป็นทหารหรือไม่หากอยู่ในชุดพลเรือน  และยากที่ไทยจะป้องกันไม่ให้มีชาวกัมพูชาเข้ามาอาศัยเพิ่มขึ้นอีก  หรือมีการก่อสร้างอะไรเพิ่มเติม  อันเป็นการรุกล้ำอธิปไตยของไทยในพื้นที่พิพาทดังกล่าว  เพื่อให้มีหลักประกันที่จะป้องกันปัญหาดังกล่าว  จึงมีความจำเป็นที่จะต้องจัดทำข้อตกลงที่เป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อให้เกิดความชัดเจนและยืนยันตรวจสอบกันได้ในเรื่องดังกล่าวด้วย


 นอกจากนี้การที่ต้องยอมให้ตลาด วัด และชุมชนของกัมพูชาที่อยู่ในพื้นที่พิพาทบริเวณเขาพระวิหารอยู่ต่อไป  รวมทั้งการให้เจ้าหน้าที่ของกัมพูชาที่มิใช่ทหารเข้าไปประจำการในส่วนที่จำเป็นต่อการรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชนและทรัพย์สินของกัมพูชาในพื้นที่พิพาทดังกล่าวนั้น  เป็นการปฏิบัติที่ไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ  พ.ศ. 2504  ที่มีการประกาศพระราชกฤษฎีกาตามมาในปี พ.ศ. 2541 กำหนดให้ป่าเขาพระวิหารเป็นอุทยานแห่งชาติ  ซึ่งพื้นที่  PDZ  อยู่ภายในบริเวณอุทยานแห่งชาติดังกล่าว  
 

ทั้งนี้ตามมาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว  ห้ามมิให้ผู้ใดยึดถือหรือครอบครองที่ดิน ก่นสร้าง แผ้วถาง หรือเผาป่า  เก็บหา  นำออกไป  ทำด้วยประการใดๆ ให้เป็นอันตรายหรือทำให้เสื่อมสภาพซึ่งไม้  แร่หรือทรัพยากรธรรมชาติอื่น  ปิดหรือทำให้กีดขวางแก่ทางน้ำหรือทางบก  เป็นต้น  ดังนั้นการปล่อยให้ชุมชนและเจ้าหน้าที่กัมพูชากระทำการดังกล่าวในพื้นที่อุทยานแห่งชาติ  จึงเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย  รัฐบาลจึงต้องพิจารณาดำเนินการแก้ไขประเด็นข้อกฎหมายในเรื่องนี้ดังกล่าวนี้ด้วย 

 

3.3 ในการปฏิบัติตามคำสั่งศาลข้อ (2)  ไทยต้องยอมไม่ขัดขวางการเข้าถึงอย่างอิสระของกัมพูชาไปยังปราสาทพระวิหาร  หรือการจัดส่งเสบียงของกัมพูชาให้เจ้าหน้าที่ที่ไม่ใช่ทหารของตนในปราสาทพระวิหาร ซึ่งกัมพูชาอาจใช้เส้นทางเข้าถึงไปยังปราสาทพระวิหารที่เป็นการรุกล้ำอธิปไตยของไทยในพื้นที่พิพาทได้  
 

เนื่องจากปัจจุบันมีทางเข้าถึงปราสาทพระวิหารได้ถึง 3 ทาง คือ ทางบันไดทางขึ้นใหญ่ทางทิศเหนือ  ทางบันไดทางขึ้นทางทิศตะวันออกตรงช่องบันไดหัก  และทางถนนทางทิศตะวันตกจากบ้านโกมุยในฝั่งกัมพูชาที่กัมพูชาได้สร้างรุกล้ำผ่านพื้นที่พิพาท 4.6 กม. ขึ้นไปยังปราสาทพระวิหาร 
  

สำหรับบันไดทางขึ้นทางทิศตะวันออกซึ่งมีความสูงชันมากนั้น  เดิมเป็นบันไดหินขนาดเล็กและมีหลายส่วนที่ชำรุดเสียหาย  แต่ปัจจุบันกัมพูชาได้สร้างบันไดไม้คร่อมบนบันไดหินดังกล่าว  เพื่อให้นักท่องเที่ยวใช้เป็นเส้นทางเดินขึ้นไปเยี่ยมชมปราสาทพระวิหาร  สำหรับบันไดทางขึ้นใหญ่ทางทิศเหนือและถนนทางทิศตะวันตกจากบ้านโกมุย  หากกัมพูชาจะใช้ผ่านขึ้นไปยังปราสาทพระวิหารจะต้องผ่านพื้นที่พิพาท 4.6 กม.  ดังนั้นไทยจึงไม่ควรให้กัมพูชาผ่านไปยังปราสาทพระวิหารโดยใช้สองเส้นทางนี้  
  

 

ไทยควรต้องเจรจาตกลงกับกัมพูชาให้กัมพูชาใช้เฉพาะบันไดทางขึ้นทางทิศตะวันออกดังกล่าวเพื่อขึ้นไปถึงยังปราสาทพระวิหารเท่านั้น  ส่วนทางขึ้นอื่นควรใช้ได้เฉพาะเมื่อมีเหตุผลจำเป็นอันไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ทั้งนี้ตามเงื่อนไขที่ทั้งไทยและกัมพูชาจะได้ตกลงกัน  แต่ทางที่ดีที่สุดควรให้กัมพูชาใช้ทางขึ้นเฉพาะทางบันไดทางทิศตะวันออกดังกล่าวเท่านั้น  ทั้งนี้ข้อสรุปจากการเจรจาดังกล่าวจำเป็นต้องทำเป็นข้อตกลงที่เป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อให้เกิดความชัดเจนและยืนยันตรวจสอบกันได้    
              
 3.4 ในการปฏิบัติตามคำสั่งศาลข้อ (3) ไทยต้องอนุญาตให้คณะผู้สังเกตการณ์ที่แต่งตั้งโดยอาเซียนเข้าไปยังเขตปลอดทหารชั่วคราวดังกล่าวได้
 

ทั้งนี้คำสั่งนี้ศาลไม่ได้กำหนดว่า  คณะผู้สังเกตการณ์จะต้องเข้าไปในเขตปลอดทหารชั่วคราวในทันทีหรือก่อนที่จะมีการถอนกำลังทหารออกจาก PDZ   แต่ปรากฏว่า นายฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา กลับออกมาแถลงยืนยันว่า ทหารกัมพูชาจะถอนออกจากเขตดังกล่าวก็ต่อเมื่อคณะผู้สังเกตการณ์ได้เข้าไปในเขตดังกล่าวก่อน  การกระทำดังกล่าวของนายฮุน เซน จึงเป็นการไม่เหมาะสมและไม่สอดคล้องกับคำสั่งศาล  เพราะศาลสั่งตามข้อ (1) ให้ถอนกำลังทหารทั้งสองฝ่ายออกจากเขตปลอดทหารชั่วคราวในทันที  แต่ไม่ได้สั่งตามข้อ (3) ว่าคณะผู้สังเกตการณ์ต้องเข้าไปยังเขตดังกล่าวในทันทีหรือก่อนที่จะมีการถอนกำลังทหารของทั้งสองฝ่าย 
 

อย่างไรก็ตามก่อนที่ศาลโลกจะมีคำสั่งดังกล่าว  ในการประชุมอย่างไม่เป็นทางการของรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนที่ประเทศอินโดนีเซีย เมื่อวันที่ 22 ก.พ. 2554  ไทยและกัมพูชาได้ให้คำมั่นต่อกันและต่ออาเซียนที่จะไม่ให้เกิดการปะทะกันอีก  และเพื่อให้ความมั่นใจต่อกัน ต่ออาเซียน และต่อประชาคมโลก  ทั้งสองประเทศได้เชิญรัฐบาลอินโดนีเซียให้ส่งคณะผู้สังเกตการณ์ไปในพื้นที่บริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา  ฝั่งละ 15 คน  โดยอินโดนีเซียจะได้มีหนังสือถึงไทยและกัมพูชาเกี่ยวกับขอบเขตอำนาจหน้าที่ของคณะผู้สังเกตการณ์อินโดนีเซีย (TOR)  
 

แต่หลังจากนั้นไทยและกัมพูชาก็ยังไม่สามารถตกลงเงื่อนไขการส่งคณะผู้สังเกตการณ์อินโดนีเซียไปในพื้นที่ดังกล่าวได้  เนื่องจากไทยยืนยันว่าคณะผู้สังเกตการณ์อินโดนีเซียจะเข้าไปปฏิบัติหน้าที่ได้ก็ต่อเมื่อกองกำลังกัมพูชาต้องถอนออกจากปราสาทพระวิหาร วัดแก้วสิกขาคีรีสะวารา  ชุมชน และตลาดก่อน  ทั้งนี้หากคณะผู้สังเกตการณ์อินโดนีเซียเข้าไปโดยที่ยังมีกองกำลังกัมพูชาอยู่ในพื้นที่ดังกล่าวเท่ากับเป็นการยอมรับการกระทำดังกล่าวของกัมพูชา  อีกทั้งยังเป็นการยอมรับการสูญเสียอธิปไตยและบูรณภาพเหนือดินแดนไทย  แต่กัมพูชาปฏิเสธที่จะปฏิบัติตามที่ไทยยืนยัน  ดังนั้นคณะผู้สังเกตการณ์อินโดนีเซียจึงยังไม่สามารถเขาปฏิบัติหน้าที่ได้  
 

แต่เมื่อศาลโลกมีคำสั่งตามข้อ (1) ให้ทั้งสองฝ่ายถอนฝ่ายถอนกำลังทหารออกจาก PDZ  การส่งคณะผู้สังเกตการณ์อินโดนีเซียเข้าไปปฏิบัติหน้าที่จึงไม่น่าจะมีปัญหาอีกต่อไป  ยกเว้นในกรณีที่นายฮุน เซน ยังคงยืนยันว่า ทหารกัมพูชาจะถอนออกจากเขตดังกล่าวก็ต่อเมื่อคณะผู้สังเกตการณ์ได้เข้าไปในเขตดังกล่าวก่อน    อย่างไรก็ตามคงต้องรอให้มีการตกลงในรายละเอียดและการลงนามรับรอง TOR ดังกล่าวเสร็จสิ้นสมบูรณ์ก่อน    

 

3.5 ในการปฏิบัติตามคำสั่งศาลข้อ (4)  กัมพูชาอาจอ้างว่าการคัดค้านแผนบริหารจัดการปราสาทพระวิหารที่กัมพูชาเสนอต่อคณะกรรมการมรดกโลกโดยฝ่ายไทยนั้น  เป็นการกระทำให้ข้อพิพาทเลวร้ายลงหรือเกิดมากขึ้น  
 

เนื่องจากคำสั่งศาลข้อนี้ให้ไทยต้องงดเว้นจากการกระทำใดๆ ที่อาจทำให้ข้อพิพาทที่ปรากฏต่อศาลเลวร้ายลงหรือเกิดมากขึ้น  หรือทำให้มันยากยิ่งขึ้นที่จะแก้ไข  ดังนั้นหากไทยยังคงดำเนินการคัดค้านแผนบริหารจัดการปราสาทพระวิหารของกัมพูชาต่อไป  ไทยจำเป็นต้องทำความเข้าใจกับประเทศต่างๆ ว่า  การดำเนินการดังกล่าวเป็นไปด้วยเจตนาอันบริสุทธิ์ที่จะปกป้องอธิปไตยของไทยเนื่องจากแผนบริหารจัดการดังกล่าวกัมพูชามีการกำหนดเขตกันชน (Buffer zone) ที่ไม่ชัดเจนซึ่งอาจรุกล้ำเข้ามาในเขตไทย  รวมทั้งต้องเรียกร้องอย่างเป็นทางการให้คณะกรรมการมรดกโลกชะลอการพิจารณาอนุมัติแผนบริหารจัดการดังกล่าวไว้ก่อนจนกว่าศาลโลกจะมีคำตัดสินเกี่ยวกับการตีความคำพิพากษาคดีปราสาทพระวิหารที่ศาลโลกได้ตัดสินเมื่อวันที่ 15 มิ.ย. 2505 ตามที่กัมพูชาร้องขอ 
  


ความเท็จแม้นเร้นได้ในปัจจุบัน  แต่ก็เหมือนซ่อนสุริยันไว้หลังเมฆ

อย่านึกถึงแต่ความผิดพลาด  จงระลึกถึงต้นเหตุของความผิดพลาด


#40 Gop

Gop

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 4,450 posts

ตอบ 9 มกราคม พ.ศ. 2556 - 16:58

เท่าที่อ่าน เอกสาร mou43 และคำแถลงการณ์ร่วม แล้ว แบบคร่าว ๆ นะ
 
ก็คิดว่า มีจุดอ่อน ทั้ง 2 ล่ะนะ
 
ของ mou43 ก็ตรงที่ ไม่ได้บอกชัด ใน mou43 ว่า ไม่ได้ยอมรับ แผนที่ผนวก 1  1 ต่อ 200,000
 
ซึ่ง ถ้า ฮุนเซน จะเอาประเด็นนี้ มาอ้างอิง ก็ทำได้ในส่วนหนึ่ง
 
ส่วนของ คำแถลงการณ์ร่วม ก็ตรงที่บอกว่า
 
สนับสนุน ให้กัมพูชา ขึ้นทะเบียน ประสาทพระวิหาร เป็นมรดกโลก
 
และ กรณี รวม จุด เบอร์ 2 เข้าไปด้วย (พื้นที่ ฝั่งใต้ และ ตะวันออก ของตัวประสาท) เท่ากับยอมรับไปกลาย ๆ ว่าเป็นสิทธิ ของ กัมพูชา
 
 
ความเห็นส่วนตัวผม นะ เออ อย่าโกรธกันนะ
 
คำแถลงการณ์ร่วม จำเป็น ต้องยกเลิก
 
ส่วน mou43 ก็ อาจมีผลทำให้ไทยเสียดินแดนได้ ถ้า ฮุนเซ็น ยืนยันว่า ไทย ไม่ได้ปฏิเสธ แผนที่ 1 ต่อ 200,000
 
 
สรุป ตอนนี้ ควรต้อง ต่อสู้คดีอย่างเต็มที่ เสียแล้ว
 
มิฉะนั้น โอกาสแพ้มีสูง

คิดแบบนี้ เราก็อ้าง mou 43 ได้เช่นกัน ว่าเค้ายอมรับแผนที่ของเรา

คุณลองคิดดูนะครับ ถ้าไม่มี mou นี้ เราจะมีอะไรไปอ้างอิงศาลโลกล่ะครับ ว่าดินแดนตรงนี้อยู่ระหว่างการเจรจา หาได้มีการกำหนดเสร็จสิ้นไปแล้ว

หลักฐานไม่เคยโกหก (Gilbert Grissom C.S.I.)<p>Beneath this mask there is more than flesh. Beneath this mask there is an idea, Mr. Creedy, and ideas are bulletproof.

 


#41 wewe

wewe

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 3,005 posts

ตอบ 9 มกราคม พ.ศ. 2556 - 16:58

4. การดำเนินการเพื่อให้การปฏิบัติตามคำสั่งของศาลโลกของรัฐบาลเป็นไปตามรัฐธรรมนูญ

 

ตามที่กล่าวมาแล้วในข้อ 2  รัฐบาลได้ดำเนินการให้ประธานรัฐสภาเปิดการประชุมร่วมกันของรัฐสภาเพื่อให้มีการอภิปรายทั่วไปโดยไม่มีการลงมติตามรัฐธรรมนูญ  มาตรา 179  ต่อกรณีการปฏิบัติตามคำสั่งมาตรการคุ้มครองชั่วคราวของศาลโลก  แต่การดำเนินการดังกล่าวเป็นเพียงการเปิดโอกาสให้รัฐสภาได้รับทราบและแสดงความคิดเห็นในเรื่องดังกล่าวโดยไม่มีการลงมติใดๆ  ทั้งนี้รัฐบาลได้อ้างว่ามิใช่เป็นเรื่องการจัดทำหนังสือสัญญาตามรัฐธรรมนูญ  มาตรา 190  จึงไม่ต้องเสนอให้รัฐสภาพิจารณาให้ความเห็นชอบ

 

 แต่หากพิจารณาให้รอบคอบและถี่ถ้วนแล้ว  จะเห็นว่าในการปฏิบัติตามคำสั่งมาตรการคุ้มครองชั่วคราวของศาลโลกนั้น  มีความจำเป็นอย่างยิ่งและหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องทำข้อตกลงเป็นลายลักษณ์อักษรกับกัมพูชาในหลายเรื่องตามที่ได้กล่าวมาแล้วในข้อ 3 เพื่อให้เกิดความชัดเจนและยืนยันตรวจสอบกันได้  อันจะเป็นการป้องกันปัญหาความขัดแย้งที่อาจมีขึ้น  
 

ยิ่งไปกว่านั้นคำสั่งศาลข้อ (1) ตามที่ได้กล่าวมาแล้วในข้อ 3.1 เป็นคำสั่งที่ล่วงล้ำอำนาจอธิปไตยของไทย เนื่องจากมีการกำหนด PDZ ให้รวมถึงพื้นที่ที่อยู่ภายใต้อำนาจอธิปไตยของไทยซึ่งไม่ได้เป็นพื้นที่พิพาทแต่อย่างใด  อีกทั้งมีประชาชนจำนวนมากรวมทั้งกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยไม่เห็นด้วยกับการถอนกำลังทหารดังกล่าว  ดังนั้นหากมีการดำเนินการถอนทหารดังกล่าวคงจะมีประชาชนจำนวนมากในหลายจังหวัดออกมาประท้วงในเรื่องนี้  ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางสังคมอย่างกว้างขวาง

 

ดังนั้นการปฏิบัติตามคำสั่งมาตรการคุ้มครองชั่วคราวของศาลโลก  จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งและหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่รัฐบาลจะต้องจัดทำหนังสือสัญญาเพื่อตกลงเป็นลายลักษณ์อักษรกับกัมพูชา  ซึ่งหนังสือสัญญาดังกล่าวมีผลกระทบต่อความมั่นคงทางสังคมอย่างกว้างขวาง  จึงเข้าองค์ประกอบของหนังสือสัญญาตามรัฐธรรมนูญ  มาตรา 190 วรรคสอง   ซึ่งต้องได้รับความเห็นชอบของรัฐสภา
 

นอกจากนั้น  ก่อนดำเนินการเพื่อจัดทำหนังสือสัญญาดังกล่าว  ครม. ต้องให้ข้อมูลและจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน  รวมทั้งต้องชี้แจงและเสนอกรอบการเจรจาต่อรัฐสภาเพื่อขอความเห็นชอบด้วย  ตามที่บัญญัติในรัฐธรรมนูญ  มาตรา 190 วรรคสาม  และเมื่อลงนามในหนังสือสัญญาดังกล่าวแล้ว  ก่อนที่จะแสดงเจตนาให้มีผลผูกพัน  คณะรัฐมนตรีต้องให้ประชาชนสามารถเข้าถึงรายละเอียดของหนังสือสัญญานั้น  และในกรณีที่การปฏิบัติตามหนังสือสัญญาดังกล่าวก่อให้เกิดผลกระทบต่อประชาชนหรือผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม  ครม. ต้องดำเนินการแก้ไขหรือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบนั้นอย่างรวดเร็ว  เหมาะสม และเป็นธรรม  ตามที่บัญญัติในรัฐธรรมนูญ  มาตรา 190 วรรคสี่  
 

 การประชุมร่วมกันของรัฐสภาที่มีขึ้นในวันที่ 15 พ.ย. 2554  เพื่อให้มีการอภิปรายทั่วไปโดยไม่มีการลงมติตามรัฐธรรมนูญ  มาตรา 179  ต่อกรณีการปฏิบัติตามคำสั่งมาตรการคุ้มครองชั่วคราวของศาลโลกนั้น  จึงไม่น่าจะมีประโยชน์ด้วยเหตุผลที่กล่าวข้างต้น  ดังนั้นรัฐบาลจึงควรต้องดำเนินการให้มีการประชุมร่วมกันของรัฐสภาเพื่อชี้แจงและเสนอกรอบการเจรจากับกัมพูชาในการปฏิบัติตามคำสั่งมาตรการคุ้มครองชั่วคราวของศาลโลกเพื่อขอความเห็นชอบของรัฐสภาตามรัฐธรรมนูญ  มาตรา 190 วรรคสามก่อน  
 

นอกจากนี้ศาลโลกได้กำหนดให้ไทยต้องส่งข้อสังเกตที่เป็นลายลักษณ์อักษร (Written Observation) ให้ศาลภายในวันที่  21 พ.ย. 2554  สำหรับการพิจารณาคำร้องที่กัมพูชาร้องขอให้ศาลโลกตีความคำพิพากษาคดีปราสาทพระวิหาร  ซึ่งในเรื่องนี้กระทรวงการต่างประเทศได้แถลงต่อสื่อมวลชนว่า  หลังจากศาลได้มีคำสั่งมาตรการคุ้มครองชั่วคราว  นายวีรชัย  พลาศรัย ตัวแทน (agent) ฝ่ายไทย  ได้ร่วมหารือกับที่ปรึกษากฎหมายของไทยที่กรุงปารีส  ในเรื่องการจัดทำร่างข้อสังเกตดังกล่าวแล้ว  สำหรับเรื่องนี้รัฐบาลไม่ควรปล่อยให้กระทรวงการต่างประเทศเป็นผู้รับผิดชอบต่อสู้คดีนี้แต่เพียงฝ่ายเดียว  ควรให้ผู้ที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องจากภาคส่วนต่างๆ  ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการช่วยดำเนินการต่อสู้คดีด้วย  โดยอาจตั้งเป็นรูปของคณะกรรมการกลาง  นอกจากนี้กระทรวงการต่างประเทศควรแปลเอกสารทั้งหมดที่เกี่ยวกับคำสั่งศาลโลกเมื่อวันที่ 18 ก.ค. นี้  เพื่อเผยแพร่ให้ประชาชนทั่วไปได้รับทราบข้อมูล

 

(โดย ดร.สุวันชัย  แสงสุขเอี่ยม  กรรมการสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และอดีตสมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ)


Edited by wewe, 9 มกราคม พ.ศ. 2556 - 17:03.

ความเท็จแม้นเร้นได้ในปัจจุบัน  แต่ก็เหมือนซ่อนสุริยันไว้หลังเมฆ

อย่านึกถึงแต่ความผิดพลาด  จงระลึกถึงต้นเหตุของความผิดพลาด


#42 Tam-mic-ra.

Tam-mic-ra.

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 2,948 posts

ตอบ 9 มกราคม พ.ศ. 2556 - 23:09

เท่าที่อ่าน เอกสาร mou43 และคำแถลงการณ์ร่วม แล้ว แบบคร่าว ๆ นะ

 

ก็คิดว่า มีจุดอ่อน ทั้ง 2 ล่ะนะ

 

ของ mou43 ก็ตรงที่ ไม่ได้บอกชัด ใน mou43 ว่า ไม่ได้ยอมรับ แผนที่ผนวก 1  1 ต่อ 200,000

 

ซึ่ง ถ้า ฮุนเซน จะเอาประเด็นนี้ มาอ้างอิง ก็ทำได้ในส่วนหนึ่ง

 

ส่วนของ คำแถลงการณ์ร่วม ก็ตรงที่บอกว่า

 

สนับสนุน ให้กัมพูชา ขึ้นทะเบียน ประสาทพระวิหาร เป็นมรดกโลก

 

และ กรณี รวม จุด เบอร์ 2 เข้าไปด้วย (พื้นที่ ฝั่งใต้ และ ตะวันออก ของตัวประสาท) เท่ากับยอมรับไปกลาย ๆ ว่าเป็นสิทธิ ของ กัมพูชา

 

 

ความเห็นส่วนตัวผม นะ เออ อย่าโกรธกันนะ

 

คำแถลงการณ์ร่วม จำเป็น ต้องยกเลิก

 

ส่วน mou43 ก็ อาจมีผลทำให้ไทยเสียดินแดนได้ ถ้า ฮุนเซ็น ยืนยันว่า ไทย ไม่ได้ปฏิเสธ แผนที่ 1 ต่อ 200,000

 

 

สรุป ตอนนี้ ควรต้อง ต่อสู้คดีอย่างเต็มที่ เสียแล้ว

 

มิฉะนั้น โอกาสแพ้มีสูง

 

 

เบอร์ 2  มันของเขาอยู่แล้วครับ แผนที่ไทยก็บอกอยู่ ว่านั่นของเขา

 

 

 

 ที่ถูกยกมาเล่นงาน ใส่ร้ายแดงกัน     มัน เบอร์ 3 ครับ  และ เบอร์ 1 ครับ ......     ซึ่งมันมีคำตอบทุกเบอร์น่ะครับว่าเรื่องนี้ตลกอย่างไร

 

:D  :D :D  

 

joint_map.jpg


"คนพาลไร้สติ มักสร้างเรื่องและหลักฐานเท็จโกหก เพื่อคอยใส่ร้ายอีกฝ่ายหนึ่งเสมอ" :unsure:

 

นาย ''Starเก๋ง'' ฟันธง!  รถเก๋งขับมายิงเสื้อแดง :lol:      http://webboard.seri...แค/#entry842224   ;      http://webboard.seri...-25#entry408954


#43 Tam-mic-ra.

Tam-mic-ra.

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 2,948 posts

ตอบ 9 มกราคม พ.ศ. 2556 - 23:16

 ต่ออีกรูป ให้คุณ ทรงธรรม    ศึกษา 

ไทยยึดสันปันน้ำ  แต่ก็ขีดให้เขาไปแล้วตามเส้นเหลือง  เมื่อปีไหนไม่รู้ ค้นดูเอาเอง  ดังนั้น เบอร์ 1 ตามภาพRepก่อน  ยากและสายไปแล้วมากๆ ที่จะเอาคืนได้

 

 

29273_full.jpg


"คนพาลไร้สติ มักสร้างเรื่องและหลักฐานเท็จโกหก เพื่อคอยใส่ร้ายอีกฝ่ายหนึ่งเสมอ" :unsure:

 

นาย ''Starเก๋ง'' ฟันธง!  รถเก๋งขับมายิงเสื้อแดง :lol:      http://webboard.seri...แค/#entry842224   ;      http://webboard.seri...-25#entry408954


#44 annykun

annykun

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 2,567 posts

ตอบ 10 มกราคม พ.ศ. 2556 - 16:47

สรุปว่า  แนวคิดของเสื้อแดงคือ

 

เราเสียดินแดนรอบปราสาทเขาพระวิหารไปตั้งแต่แรกแล้ว  ตั้งแต่ปี 2505  พวกเราโดนอำมาตย์หลอกมาตลอด  40  ปี   ว่ายังเป็นของไทยอยู่   จนทะเลาะกับเขมร  แต่นพดลไปทำสัญญากับเขมร  จนเขมรยอมให้เราหาผลประโยชน์จากดินแดนตรงนั้นได้แล้ว  ทุกอย่างเป็นไปได้ด้วยดีแล้ว  แต่อ้ายมาร์คดันมาทำเสียเรื่อง  จะเอาทั้งดินแดนและปราสาทกลับไปเป็นของเรา  เขมรโกรธเลยไปฟ้องศาลโลก  พวกเราแพ้แน่เขมรคงยึดคืนไปหมด  เสียดินแดนจริงๆกันล่ะคราวนี้  เสียโอกาสแทนที่จะได้ใช้ประโยชน์จากพื้นที่ร่วมกันแท้ๆ  กลับต้องเป็นของเขมรหมด   ทั้งหมดเพราะอ้ายมาร์คแท้ๆ  เป็นความผิดของอ้ายมาร์ค  และสลิ่มเหลืองคลั่งชาติทั้งหมดเลย  พวกกรูไม่เกี่ยวนะจ๊ะ


คุณสมบัติที่สำคัญที่สุดของผู้ชนะสงคราม  คือ   ความแข็งแกร่ง และ อุดมการณ์ที่สอดคล้องกับความเป็นจริง

คุณธรรมที่พร้ำสอน  ล้วนเป็นสิ่งที่จำเป็นรองลงมา   ส่วน  ประชาธิปไตยน่ะรึ  เอาเข้าจริงๆ  สำคัญอันใด?? 

 


#45 Tam-mic-ra.

Tam-mic-ra.

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 2,948 posts

ตอบ 10 มกราคม พ.ศ. 2556 - 18:28

สรุปว่า  แนวคิดของเสื้อแดงคือ

 

เราเสียดินแดนรอบปราสาทเขาพระวิหารไปตั้งแต่แรกแล้ว  ตั้งแต่ปี 2505  พวกเราโดนอำมาตย์หลอกมาตลอด  40  ปี   ว่ายังเป็นของไทยอยู่   จนทะเลาะกับเขมร  แต่นพดลไปทำสัญญากับเขมร  จนเขมรยอมให้เราหาผลประโยชน์จากดินแดนตรงนั้นได้แล้ว  ทุกอย่างเป็นไปได้ด้วยดีแล้ว  แต่อ้ายมาร์คดันมาทำเสียเรื่อง  จะเอาทั้งดินแดนและปราสาทกลับไปเป็นของเรา  เขมรโกรธเลยไปฟ้องศาลโลก  พวกเราแพ้แน่เขมรคงยึดคืนไปหมด  เสียดินแดนจริงๆกันล่ะคราวนี้  เสียโอกาสแทนที่จะได้ใช้ประโยชน์จากพื้นที่ร่วมกันแท้ๆ  กลับต้องเป็นของเขมรหมด   ทั้งหมดเพราะอ้ายมาร์คแท้ๆ  เป็นความผิดของอ้ายมาร์ค  และสลิ่มเหลืองคลั่งชาติทั้งหมดเลย  พวกกรูไม่เกี่ยวนะจ๊ะ

 

ดินแดนรอบปราสาท ยังไม่เสียครับ   พวกผมบอกตอนไหนว่าดินแดนรอบปราสาทเสียไปแล้ว

และที่ผมแปลกใจกับคุณ  คือว่าภาพที่ Rep #43  ก็เพิ่งบอกไปทนโท่ ว่าไทยเราขีดให้ไปแค่เสั้นเหลืองกันตัวปราสาทออกไปเท่านั้น :unsure:

 

ดินแดนรอบปราสาทยังไม่เสีย

แต่อาจกำลังจะเสียตอนที่ศาลโลกกำลังจะตัดสินเร็วๆนี้   เพราะ ปชป-พธม- นี่แหล่ะ 

ที่ไปทำให้กัมพูชาต้องยื่นให้ศาลตีความเพิ่มเติมในคำพิพากษาเดิม   ว่าพื้นที่รอบปราสาทเป็นของใครกันแน่ :unsure:


"คนพาลไร้สติ มักสร้างเรื่องและหลักฐานเท็จโกหก เพื่อคอยใส่ร้ายอีกฝ่ายหนึ่งเสมอ" :unsure:

 

นาย ''Starเก๋ง'' ฟันธง!  รถเก๋งขับมายิงเสื้อแดง :lol:      http://webboard.seri...แค/#entry842224   ;      http://webboard.seri...-25#entry408954


#46 Stargate-1

Stargate-1

    SG-1

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,578 posts

ตอบ 10 มกราคม พ.ศ. 2556 - 22:53

 


Edited by Stargate-1, 11 มกราคม พ.ศ. 2556 - 09:58.

Tam-mic-ra ฟันธง!  คำว่า "โดนพริกไทยมั๊ง" น่ะ แค่นี่เอามาเป็นหลักฐาน ได้ยังไงครับ .....  คิดครับคิด  :lol:   จากกระทู้แก้ข่าวหน้า 2 qoute #96  ใครยิงวสันต์-ภู่ทอง   แอลพีจีทำมาจากซี2ซี3


#47 annykun

annykun

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 2,567 posts

ตอบ 10 มกราคม พ.ศ. 2556 - 23:04

สรุปว่า  แนวคิดของเสื้อแดงคือ

 

เราเสียดินแดนรอบปราสาทเขาพระวิหารไปตั้งแต่แรกแล้ว  ตั้งแต่ปี 2505  พวกเราโดนอำมาตย์หลอกมาตลอด  40  ปี   ว่ายังเป็นของไทยอยู่   จนทะเลาะกับเขมร  แต่นพดลไปทำสัญญากับเขมร  จนเขมรยอมให้เราหาผลประโยชน์จากดินแดนตรงนั้นได้แล้ว  ทุกอย่างเป็นไปได้ด้วยดีแล้ว  แต่อ้ายมาร์คดันมาทำเสียเรื่อง  จะเอาทั้งดินแดนและปราสาทกลับไปเป็นของเรา  เขมรโกรธเลยไปฟ้องศาลโลก  พวกเราแพ้แน่เขมรคงยึดคืนไปหมด  เสียดินแดนจริงๆกันล่ะคราวนี้  เสียโอกาสแทนที่จะได้ใช้ประโยชน์จากพื้นที่ร่วมกันแท้ๆ  กลับต้องเป็นของเขมรหมด   ทั้งหมดเพราะอ้ายมาร์คแท้ๆ  เป็นความผิดของอ้ายมาร์ค  และสลิ่มเหลืองคลั่งชาติทั้งหมดเลย  พวกกรูไม่เกี่ยวนะจ๊ะ

 

ดินแดนรอบปราสาท ยังไม่เสียครับ   พวกผมบอกตอนไหนว่าดินแดนรอบปราสาทเสียไปแล้ว

และที่ผมแปลกใจกับคุณ  คือว่าภาพที่ Rep #43  ก็เพิ่งบอกไปทนโท่ ว่าไทยเราขีดให้ไปแค่เสั้นเหลืองกันตัวปราสาทออกไปเท่านั้น :unsure:

 

ดินแดนรอบปราสาทยังไม่เสีย

แต่อาจกำลังจะเสียตอนที่ศาลโลกกำลังจะตัดสินเร็วๆนี้   เพราะ ปชป-พธม- นี่แหล่ะ 

ที่ไปทำให้กัมพูชาต้องยื่นให้ศาลตีความเพิ่มเติมในคำพิพากษาเดิม   ว่าพื้นที่รอบปราสาทเป็นของใครกันแน่ :unsure:

ok  เข้าใจผิดเล็กน้อย  ผมดูผิดไปเองล่ะ  โทษที  พอดีเข้าไปดูในพันทิปแล้วเห็นเสื้อแดงพูดกันประมาณนี้  เลยไม่ดูว่าคุณพูดอะไรไว้บ้างในทู้นี้

แต่สงสัย  แม้ว่าจะไม่มี  พธม.  กับ  ปชป.  ไปประท้วง  แล้วจะมีอะไรไปรับประกันว่า  กัมพูชาจะไม่ฟ้องตีความในอนาคตล่ะ?

หากเค้าต้องการจะเอาจริงๆ  เค้าก็ฟ้องแล้วเอาไปได้อยู่ดี  แล้วเพราะอะไรถึงคิดว่าเราถึงจะแพ้แน่นอน


คุณสมบัติที่สำคัญที่สุดของผู้ชนะสงคราม  คือ   ความแข็งแกร่ง และ อุดมการณ์ที่สอดคล้องกับความเป็นจริง

คุณธรรมที่พร้ำสอน  ล้วนเป็นสิ่งที่จำเป็นรองลงมา   ส่วน  ประชาธิปไตยน่ะรึ  เอาเข้าจริงๆ  สำคัญอันใด?? 

 


#48 Tam-mic-ra.

Tam-mic-ra.

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 2,948 posts

ตอบ 11 มกราคม พ.ศ. 2556 - 13:09

สรุปว่า  แนวคิดของเสื้อแดงคือ

 

เราเสียดินแดนรอบปราสาทเขาพระวิหารไปตั้งแต่แรกแล้ว  ตั้งแต่ปี 2505  พวกเราโดนอำมาตย์หลอกมาตลอด  40  ปี   ว่ายังเป็นของไทยอยู่   จนทะเลาะกับเขมร  แต่นพดลไปทำสัญญากับเขมร  จนเขมรยอมให้เราหาผลประโยชน์จากดินแดนตรงนั้นได้แล้ว  ทุกอย่างเป็นไปได้ด้วยดีแล้ว  แต่อ้ายมาร์คดันมาทำเสียเรื่อง  จะเอาทั้งดินแดนและปราสาทกลับไปเป็นของเรา  เขมรโกรธเลยไปฟ้องศาลโลก  พวกเราแพ้แน่เขมรคงยึดคืนไปหมด  เสียดินแดนจริงๆกันล่ะคราวนี้  เสียโอกาสแทนที่จะได้ใช้ประโยชน์จากพื้นที่ร่วมกันแท้ๆ  กลับต้องเป็นของเขมรหมด   ทั้งหมดเพราะอ้ายมาร์คแท้ๆ  เป็นความผิดของอ้ายมาร์ค  และสลิ่มเหลืองคลั่งชาติทั้งหมดเลย  พวกกรูไม่เกี่ยวนะจ๊ะ

 

ดินแดนรอบปราสาท ยังไม่เสียครับ   พวกผมบอกตอนไหนว่าดินแดนรอบปราสาทเสียไปแล้ว

และที่ผมแปลกใจกับคุณ  คือว่าภาพที่ Rep #43  ก็เพิ่งบอกไปทนโท่ ว่าไทยเราขีดให้ไปแค่เสั้นเหลืองกันตัวปราสาทออกไปเท่านั้น :unsure:

 

ดินแดนรอบปราสาทยังไม่เสีย

แต่อาจกำลังจะเสียตอนที่ศาลโลกกำลังจะตัดสินเร็วๆนี้   เพราะ ปชป-พธม- นี่แหล่ะ 

ที่ไปทำให้กัมพูชาต้องยื่นให้ศาลตีความเพิ่มเติมในคำพิพากษาเดิม   ว่าพื้นที่รอบปราสาทเป็นของใครกันแน่ :unsure:

ok  เข้าใจผิดเล็กน้อย  ผมดูผิดไปเองล่ะ  โทษที  พอดีเข้าไปดูในพันทิปแล้วเห็นเสื้อแดงพูดกันประมาณนี้  เลยไม่ดูว่าคุณพูดอะไรไว้บ้างในทู้นี้

แต่สงสัย  แม้ว่าจะไม่มี  พธม.  กับ  ปชป.  ไปประท้วง  แล้วจะมีอะไรไปรับประกันว่า  กัมพูชาจะไม่ฟ้องตีความในอนาคตล่ะ?

หากเค้าต้องการจะเอาจริงๆ  เค้าก็ฟ้องแล้วเอาไปได้อยู่ดี  แล้วเพราะอะไรถึงคิดว่าเราถึงจะแพ้แน่นอน

 

ผมว่ามันไม่มีอะไรไปรับประกันว่า กัมพูชาจะไม่ฟ้องตีความในอนาคตหรอกครับ 

แต่ความน่าจะเป็นมันยากมากที่เขาจะไปฟ้อง  ถ้าเรามีการค้าขายดีรุ่งเรืองดีที่ตรงนั้น   และไม่ไปไปรุกราน-ระรานเขา 

ปล่อยให้มันทับซ้อนแบบนั้น รอ JBC ทำงานต่อไป

 

แต่ตอนนี้ไม่ทันแล้ว เขาฟ้องไแล้ว   แถมคนก่อเรื่องจ้องจะโยนความผิดพลาดให้คนอื่น แบบน่าเกลียดอีกต่างหาก :unsure:


"คนพาลไร้สติ มักสร้างเรื่องและหลักฐานเท็จโกหก เพื่อคอยใส่ร้ายอีกฝ่ายหนึ่งเสมอ" :unsure:

 

นาย ''Starเก๋ง'' ฟันธง!  รถเก๋งขับมายิงเสื้อแดง :lol:      http://webboard.seri...แค/#entry842224   ;      http://webboard.seri...-25#entry408954


#49 phoosana

phoosana

    เมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 7,687 posts

ตอบ 11 มกราคม พ.ศ. 2556 - 13:52

ใครคือคนก่อเรื่อง

 

ใครระรานใครก่อน


We love fender.

#50 wewe

wewe

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 3,005 posts

ตอบ 11 มกราคม พ.ศ. 2556 - 15:24

 

 

ดินแดนรอบปราสาท ยังไม่เสียครับ   พวกผมบอกตอนไหนว่าดินแดนรอบปราสาทเสียไปแล้ว

และที่ผมแปลกใจกับคุณ  คือว่าภาพที่ Rep #43  ก็เพิ่งบอกไปทนโท่ ว่าไทยเราขีดให้ไปแค่เสั้นเหลืองกันตัวปราสาทออกไปเท่านั้น :unsure:

 

ดินแดนรอบปราสาทยังไม่เสีย

แต่อาจกำลังจะเสียตอนที่ศาลโลกกำลังจะตัดสินเร็วๆนี้   เพราะ ปชป-พธม- นี่แหล่ะ 

ที่ไปทำให้กัมพูชาต้องยื่นให้ศาลตีความเพิ่มเติมในคำพิพากษาเดิม   ว่าพื้นที่รอบปราสาทเป็นของใครกันแน่ :unsure:

แล้วที่นพเหล่ทำไว้ล่ะไม่พูดถึง

โยนขรี้เห็นๆ เลยนะแต๋ม 


ความเท็จแม้นเร้นได้ในปัจจุบัน  แต่ก็เหมือนซ่อนสุริยันไว้หลังเมฆ

อย่านึกถึงแต่ความผิดพลาด  จงระลึกถึงต้นเหตุของความผิดพลาด





ผู้ใช้ 2 ท่านกำลังอ่านกระทู้นี้

สมาชิก 0 ท่าน, ผู้เยี่ยมชมทั่วไป 2 ท่าน และไม่เปิดเผยตัวตน 0 ท่าน