Jump to content


Photo
- - - - -

พลิกปูมปมพระวิหาร ใครประเคนอธิปไตยไทยให้เขมร ใครปกป้องแผ่นดิน


  • Please log in to reply
53 ความเห็นในกระทู้นี้

#51 55555

55555

    มหาเมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 13,795 posts

ตอบ 11 มกราคม พ.ศ. 2556 - 18:17

สรุปว่า  แนวคิดของเสื้อแดงคือ

 

เราเสียดินแดนรอบปราสาทเขาพระวิหารไปตั้งแต่แรกแล้ว  ตั้งแต่ปี 2505  พวกเราโดนอำมาตย์หลอกมาตลอด  40  ปี   ว่ายังเป็นของไทยอยู่   จนทะเลาะกับเขมร  แต่นพดลไปทำสัญญากับเขมร  จนเขมรยอมให้เราหาผลประโยชน์จากดินแดนตรงนั้นได้แล้ว  ทุกอย่างเป็นไปได้ด้วยดีแล้ว  แต่อ้ายมาร์คดันมาทำเสียเรื่อง  จะเอาทั้งดินแดนและปราสาทกลับไปเป็นของเรา  เขมรโกรธเลยไปฟ้องศาลโลก  พวกเราแพ้แน่เขมรคงยึดคืนไปหมด  เสียดินแดนจริงๆกันล่ะคราวนี้  เสียโอกาสแทนที่จะได้ใช้ประโยชน์จากพื้นที่ร่วมกันแท้ๆ  กลับต้องเป็นของเขมรหมด   ทั้งหมดเพราะอ้ายมาร์คแท้ๆ  เป็นความผิดของอ้ายมาร์ค  และสลิ่มเหลืองคลั่งชาติทั้งหมดเลย  พวกกรูไม่เกี่ยวนะจ๊ะ

 

ดินแดนรอบปราสาท ยังไม่เสียครับ   พวกผมบอกตอนไหนว่าดินแดนรอบปราสาทเสียไปแล้ว

และที่ผมแปลกใจกับคุณ  คือว่าภาพที่ Rep #43  ก็เพิ่งบอกไปทนโท่ ว่าไทยเราขีดให้ไปแค่เสั้นเหลืองกันตัวปราสาทออกไปเท่านั้น :unsure:

 

ดินแดนรอบปราสาทยังไม่เสีย

แต่อาจกำลังจะเสียตอนที่ศาลโลกกำลังจะตัดสินเร็วๆนี้   เพราะ ปชป-พธม- นี่แหล่ะ 

ที่ไปทำให้กัมพูชาต้องยื่นให้ศาลตีความเพิ่มเติมในคำพิพากษาเดิม   ว่าพื้นที่รอบปราสาทเป็นของใครกันแน่ :unsure:

ok  เข้าใจผิดเล็กน้อย  ผมดูผิดไปเองล่ะ  โทษที  พอดีเข้าไปดูในพันทิปแล้วเห็นเสื้อแดงพูดกันประมาณนี้  เลยไม่ดูว่าคุณพูดอะไรไว้บ้างในทู้นี้

แต่สงสัย  แม้ว่าจะไม่มี  พธม.  กับ  ปชป.  ไปประท้วง  แล้วจะมีอะไรไปรับประกันว่า  กัมพูชาจะไม่ฟ้องตีความในอนาคตล่ะ?

หากเค้าต้องการจะเอาจริงๆ  เค้าก็ฟ้องแล้วเอาไปได้อยู่ดี  แล้วเพราะอะไรถึงคิดว่าเราถึงจะแพ้แน่นอน

 

ผมว่ามันไม่มีอะไรไปรับประกันว่า กัมพูชาจะไม่ฟ้องตีความในอนาคตหรอกครับ 

แต่ความน่าจะเป็นมันยากมากที่เขาจะไปฟ้อง  ถ้าเรามีการค้าขายดีรุ่งเรืองดีที่ตรงนั้น   และไม่ไปไปรุกราน-ระรานเขา 

ปล่อยให้มันทับซ้อนแบบนั้น รอ JBC ทำงานต่อไป

 

แต่ตอนนี้ไม่ทันแล้ว เขาฟ้องไแล้ว   แถมคนก่อเรื่องจ้องจะโยนความผิดพลาดให้คนอื่น แบบน่าเกลียดอีกต่างหาก :unsure:

 

"ไม่ไปรุกราน-ระรานเขา"

 

ทำไมผมอ่านภาษาเขมรออกว๊ะเนี่ย...

 

คนไทยมีแต่ช่วยเขมร...สมัยไอ้ฮุนเซ็นต์ลำบากตอนเขมร 3 ฝ่ายมันก็อาศัยใบบุญประเทศไทย

 

ไม่งั้นมันจะนับถือ บิ๊กจิ๋วเหมือนพ่อมันรึ

 

ก่อนจะมีเรื่องฟ้องร้องมันก็ยิงใส่ไทยก่อน แถมยิงเข้าบ้านคนอืกต่างหาก

 

มันสารเลวซะขนาดนั้น จะคิดว่าไทยจะไปรุกรานมันก่อนรึ

 

:D 


Edited by 55555, 11 มกราคม พ.ศ. 2556 - 18:18.


#52 55555

55555

    มหาเมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 13,795 posts

ตอบ 15 มกราคม พ.ศ. 2556 - 10:03

มีใครพอจะมีความรู้ มาคุยกับผมและเสื้อแดง ในเรื่องนี้ไหมครับ  คัดตัวกันมาเลยครับ 
เอาคนที่แจ่มๆหน่อยนะครับ  เพราะผมเบื่อตอบพวกไม่รู้เรื่องแต่อยากเด่นอยากโพสต์ ชอบมาถามและโจมตีอะไรบ้าๆบ๊องส์ๆและวนเวียนไปมา  น่าปวดหัวและเมื่อยนิ้วมากๆ  
ถ้ามีแจ้งมา เดี๋ยวเปิดกระทู้ใหม่เอากันเลย

55555

เรื่องนี้คุณไม่เบื่อบ้างหรือครับ

ผมว่สผมเบื่อแล้วล่ะ ความยากอีกอย่างของเรื่องนี้คือ เราได้แต่คาดเดา อย่างผมเชื่อว่า MOU43 นั้นเป็นประโยชน์เห็นๆ แต่หลายคนกลับมองว่าทำให้เสียดินแดน

เรื่องแถลงการณ์ร่วมก็เหมือนกัน ด้านนึงผมก็ทราบแล้ว ว่ามันไม่ใช่ส่วนที่ทำให้ขึ้นมรดกโลก แต่อีกด้านนึง ผมก็ไม่เห็นว่ามันจะมีประโยชน์อะไรนักหนาอย่างที่คุณบอกเลย เพราะในแถลงการณื แผนผังมันกินพื้นที่นิดเดียวของพื้นที่พิพาท

แล้วคุณคิดว่า แบบนี้จะได้ข้อสรุปมั้ยครับ ว่าใครผิด ใครถูก เสียหรือไม่เสียดินแดน หรือ ใครต้องรับผิดชอบ ฯลฯ

 

ผมเบื่อหรือเปล่าไม่รู้ครับ แต่เห็นข้อมูลที่ไม่ตรงกับที่ผมศึกษามา แล้วมาเป่าหูกรอกตาคนไทย     เห็นแล้วมันคันปากมากๆครับ

 

MOU43 ผมก็เห็นตามคุณ ว่ามันก็เจรจากันก็เท่านั้นไม่ได้เสียดินแดนบ้าบออะไรสักหน่อย  แต่หากไม่เจรจาก็ต้องรบ ตาย-เจ็บ  แล้วต้องมาหยุดยิงเจรจาอีกอยู่ดี  

 

เรื่องแถลงการณ์ร่วมผมว่ามีประโยชน์ เพราะ ทำให้เขาตัดแผนที่ตัวเอง ที่จะยื่นยูเนสโก้ได้สำเร็จ   จนเหลือแต่ภาพแผนผังธรรมดาๆไม่มีการระบุเส้นเขตแดนใดๆ และไม่ล้ำไทยด้วย

 

และป่านนี้อาจจะมีตลาดค้าขายตรง 4.6 นั้น    สร้างเงินสร้างงานไปแล้วก็ได้

นักท่องเที่ยวมาดูปราสาท-มาดูหน้าผาทิวทัศน์  เงินมันจะไปไหน มันก็ชาวบ้าน2ฝากฝั่งแถวนั้นน่ะแหล่ะ 

 

ดินแดนก็ไม่เสีย แบบที่ม๊อปส้วมพร่ำบ่นไม่เลิก  เพราะคำแถลงค์การณ์ระบุไว้ชัดๆว่า JBC ก็ทำงานต่อไป        ผมขี้เกียจยกมาแปะซ้ำๆ 

 

เอ้าแต๋มอธิบายหน่อย มีคนเข้าไม่เข้าใจเรื่อง MOU 43

 

คุณ  Tam-mic-ra  เค้าไม่เข้าใจ

 

 

 

http://webboard.seri...วเ/#entry569298

 

:lol:


Edited by 55555, 15 มกราคม พ.ศ. 2556 - 11:03.


#53 แดงประจำเดือน

แดงประจำเดือน

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 2,021 posts

ตอบ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 - 00:24

 ไม่จริงค่ะ คนที่สนับสนุนให้ขึ้นทะ้บียนเขาพระวืหารเป็นมรดกโลกคือจิงเน่าสุรยุทธ แต่วีรบุรุษคืดคุณนพดลปัทมะที่คัดค้าน



#54 แดงประจำเดือน

แดงประจำเดือน

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 2,021 posts

ตอบ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 - 00:37

http://www.insidetha...nt/view&id=1006

 

คำต่อคำ รมว.ต่างประเทศ เปิดเอกสารลับมาก ยืนยัน รัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ ต้นเรื่องยินยอมกัมพูชาขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก


วันที่ 9 พฤศจิกายน 2556 InsideThaiGOV - นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวใน “รายการรัฐบาลยิ่งลักษณ์พบประชาชน” ถึงกรณีที่ศาลโลกจะพิพากษาคดีปราสาทพระวิหารในวันที่ 11พฤศจิกายน 2556 เนื้อหาดังต่อไปนี้

( ช่วงที่ 1 )

พิธีกร (คุณจอม เพชรประดับ ) : สวัสดีครับ ขอต้อนรับท่านผู้ชมเข้าสู่รายการรัฐบาลยิ่งลักษณ์พบประชาชน วันนี้ดำเนินรายการโดยผม จอม เพชรประดับ ในวันจันทร์ที่ 11 พฤศจิกายน 2556 นี้ ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ หรือศาลโลก ที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ จะมีการอ่านคำตัดสิน หรือคำพิพากษากรณีปราสาทพระวิหาร ซึ่งทั้งสองประเทศ ทั้งประเทศไทยและประเทศกัมพูชาเฝ้าลุ้นระทึกกับคดีนี้ ในส่วนของประเทศไทยก็มีการเตรียมการและเตรียมรับมือกับคำตัดสินของศาลโลก ไม่ว่าจะออกมาอย่างไรก็ตาม แต่ประเทศไทยมีการประเมินว่าความเป็นไปได้ที่ศาลโลกจะมีการตัดสินนั้นก็จะออกมาใน 4 แนวทางด้วยกัน แนวทางแรกคือศาลโลกอาจจะไม่รับคำร้องและอาจจะไม่มีการตัดสินคดีนี้ เพราะเห็นว่าไม่อยู่ในอำนาจที่จะตัดสินในเรื่องของเขตแดน แนวทางที่ 2 อาจจะเป็นไปได้ว่าศาลโลกอาจจะรับคำร้องของประเทศกัมพูชานั้นหมายถึงว่าศาลโลกอาจจะยอมรับในเรื่องของแผนที่แนบท้าย 1 : 200,000 ซึ่งอาจจะทำให้พื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตร นั้นอาจจะตกเป็นของประเทศกัมพูชา แนวทางที่ 3 ศาลโลกอาจจะรับคำร้องของประเทศไทย หรือเห็นด้วยกับข้อเสนอของประเทศไทย ในกรณีว่าประเทศไทยได้ปฏิบัติตามคำสั่งของศาลโลก ปี 2505 มาโดยตลอด และอาจจะยอมรับพื้นที่ที่เป็นเขตแนวรั้วที่เป็นมติคณะรัฐมนตรี ตั้งแต่ปี 2505 ตรงนี้จะเป็นอีกแนวทางหนึ่ง และแนวทางที่ 4 ศาลโลกอาจจะมีการตัดสินในลักษณะที่เป็นกลาง ๆ เป็นประโยชน์ของทั้ง 2 ประเทศ เพราะเห็นว่าคำตัดสินในปี 2505 นั้นมีความชัดเจนอยู่แล้ว แต่อาจจะมีแนวทางที่จะทำให้ทั้ง 2 ประเทศ หาทางที่จะคลี่คลายความขัดแย้ง อย่างไรก็ตามไม่ว่าออกมาเป็นแนวทางไหน ทำอย่างไรที่จะไม่ให้คำตัดสินหรือคำพิพากษาของศาลโลกนั้น นำไปสู่การปลุกปั่นยั่วยุให้เกิดความขัดแย้งขึ้นทั้งประเทศไทยและประเทศกัมพูชา และที่สำคัญจะทำอย่างไรที่ไม่ให้คำตัดสินของศาลโลกที่ออกมานั้นนำมาซึ่งความขัดแย้งเกิดขึ้นภายในประเทศไทยของเรา รัฐบาลจะเตรียมรับมืออย่างไร รายการรัฐบาลยิ่งลักษณ์พบประชาชนในวันนี้จะพูดคุยกับคุณสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ สวัสดีครับ

รองนรม.และรมว.กต. : สวัสดีครับ

พิธีกร : ก่อนที่จะอธิบายการเตรียมรับมือกับเหตุการณ์ที่จะขึ้น จริง ๆ แล้วเชื่อว่าประชาชนหลายคนอาจจะเข้าใจสับสนว่าจริง ๆ ปราสาทพระวิหารเป็นของใครกันแน่ เป็นของประเทศไทยหรือประเทศกัมพูชาจะอธิบายด้วยเหตุผล ด้วยหลักฐานอะไร

รองนรม.และรมว.กต. : ขอเล่าความไปถึงอดีตให้พี่น้องประชาชนคนไทยได้เข้าใจตรงกันก่อน ว่าที่จริงแล้วข้อพิพาทเขาพระวิหารเกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2502 ซึ่งประเทศกัมพูชาได้ยื่นต่อศาลโลก ในคดีปราสาทพระวิหารครั้งนั้นมีการสู้คดีกัน และในที่สุดเมื่อปี 2505 วันที่ 15 มิถุนายน สมัยรัฐบาลจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ (นายกรัฐมนตรีคนที่ 11) ศาลโลกก็มีคำพิพากษาให้ปราสาทพระวิหารตั้งอยู่บนดินแดนภายใต้อธิปไตยกัมพูชา ก็หมายความว่าปราสาทพระวิหารตกเป็นของประเทศกัมพูชา และตอนนั้นศาลโลกก็ให้ประเทศไทยถอนทหารและตำรวจออกจากตัวปราสาทฯ ในคำสั่งศาล ณ ขณะนั้นเมื่อปี 2505 และบริเวณใกล้เคียงปราสาทฯ ให้คืนวัตถุโบราณที่อาจจะนำออกมาจากปราสาทฯ อันนั้นคือคำตัดสินของศาล

พิธีกร : ซึ่งประเทศไทยก็ปฏิบัติตามคำตัดสินนั้นครบถ้วนสมบูรณ์หรือไม่

รองนรม.และรมว.กต. : ขออนุญาตอ่านเอกสารเล็กน้อย วันนี้ได้เตรียมรายละเอียดทั้งหมดมา ในขณะนั้นพอศาลมีคำพิพากษา เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2505ว่าปราสาทพระวิหารตกเป็นของประเทศกัมพูชาแล้ว วันที่ 3กรกฎาคม 2505 รัฐบาลจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ออกแถลงการณ์แสดงความไม่เห็นด้วยต่อคำพิพากษาของศาลโลก แต่ยอมปฏิบัติตามในฐานะสมาชิกสหประชาชาติ อันนั้นเป็นฉบับแรก ฉบับที่ 2 วันที่ 6 กรกฎาคม 2505 คือ 3 วัน ให้หลัง นายถนัด คอมันตร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ มีหนังสือไปถึงเลขาธิการสหประชาชาติแจ้งว่าใครไม่เห็นด้วยต่อผลคำพิพากษาของศาลโลก แต่ก็จะปฏิบัติตามในฐานะสมาชิกองค์การสหประชาชาติ พร้อมสงวนสิทธิ์ในการทวงคืนปราสาทพระวิหารโดยวิธีทางกฎหมาย ต่อจากนั้นอีก 4 วัน 10 กรกฎาคม 2505 คณะรัฐมนตรีในสมัยรัฐบาลท่านจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ มีมติให้ปฏิบัติตามคำพิพากษาพร้อมกำหนดขอบเขตบริเวณใกล้เคียงปราสาทพระวิหาร และให้สร้างป้ายแสดงเขตดังกล่าว และสร้างรั้วลวดหนามล้อมรอบตัวปราสาทพระวิหาร จากนั้นอีก 5 วัน 15 กรกฎาคม 2505 ประเทศไทยถอนกำลังออกจากปราสาทพระวิหาร และเคลื่อนย้ายเสาธงออกจากพื้นที่ โดยไม่ได้เชิญธงชาติไทยลงจากยอดเสา อันนี้คือ 4เหตุการณ์ที่ต้องเล่าให้ประชาชนคนไทยได้ฟัง

พิธีกร : ประเด็นที่น่าสนใจ การไม่ได้นำธงชาติไทยลงจากยอดเสา เป็นเพราะว่าก่อนหน้านั้นเราได้เปิดช่องไว้แล้วว่า ประเทศไทยอาจจะมีการทักท้วงภายหลังได้ เพราะไม่เห็นด้วยกับมติศาลโลก

รองนรม.และรมว.กต. : ใช่ครับ เพราะว่าเราบอกว่าเราสงวนสิทธิ์ในการทวงคืนปราสาทพระวิหารโดยวิธีทางกฎหมาย อันนี้คือ 4 วัน ใน 1 เดือน หลังจากคำตัดสินคือ 1 -15 กรกฎาคม 2505 15 วันแค่นั้น รัฐบาลมีอะไรบ้างในการแสดงออก

พิธีกร : ถ้าอย่างนั้น ในคำตัดสินที่จะออกมาในวันที่ 11 พฤศจิกายน 2556ในเมื่อประเทศไทยไม่ยอมรับอำนาจศาลมาตั้งแต่ปี 2503 แล้ว ประเทศไทยจะไม่รับคำตัดสินหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของศาลจะได้หรือไม่

รองนรม.และรมว.กต. : เมื่อสักครู่ได้พูดให้พี่น้องประชาชนได้ฟังว่าสมัยจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้มี 4เหตุการณ์ที่ออกแถลงการณ์ตั้งแต่วันที่ 3 – 15 กรกฎาคม รัฐบาลประกาศชัดเจนว่าจะไม่เห็นด้วยกับคำตัดสิน แต่ก็ต้องปฏิบัติตามในฐานะที่เราเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ ต้องขออธิบายความเล็กน้อยว่าประเทศไทยเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติตั้งแต่เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2489 สมัยรัฐบาลหลวงพลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ หรือ หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ (นายกรัฐมนตรีคนที่8) ประเทศไทยเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ และการเป็นสมาชิกขององค์การสหประชาชาตินั้นทำให้ประเทศไทยต้องเป็นภาคีของศาลโลกโดยอัตโนมัติ ฉะนั้นถ้าประเทศไทยไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลก็ต้องลาออกจากการเป็นสมาชิกขององค์การสหประชาชาติ ซึ่งเป็นสิ่งที่สร้างความเสียหายกับประเทศมากกว่า เพราะทุกประเทศตอนนี้ทุกคนก็เป็นสมาชิกขององค์การสหประชาชาติ บางประเทศก็พยายามจะเข้าไป ผมคิดว่าตรงนี้เราต้องคิดให้หนักมาก และสิ่งที่เราจะไม่รับคำตัดสินเลย ผมว่าประชาชนคนไทยจะต้องร่วมกันตัดสิน สมมุติว่าในเหตุการณ์ ออกมาในทางลบ วันที่ 11 พฤศจิกายน 2556 ออกมาเป็นอย่างไร รัฐบาลก็ตั้งใจที่จะต้องตั้งใจถามประชาชน และต้องนำเรื่องนี้เข้าสภา เพราะรัฐบาลตั้งใจว่าสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดเรื่องประเทศกัมพูชา มันไม่ได้เกิดขึ้นสมัยรัฐบาลนี้ เกิดตั้งแต่สมัยที่ได้กล่าวตอนต้น ซึ่งรัฐบาลรับผิดชอบร่วมกัน ฉะนั้นทำอะไรเราต้องตัดสินใจร่วมกับประชาชน เพราะประชาชนกับประเทศชาติเป็นของทุกคน คนไทยต้องร่วมกันตัดสินใจ

พิธีกร : แต่ประเด็นเรื่องความขัดแย้งประเทศไทยกับประเทศกัมพูชา กรณีปราสาทพระวิหารก็เงียบหายไปหลังจากปี 2505 แต่ในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา 5 - 7 ปีที่ผ่านมาเกิดอะไรขึ้น ที่มีการพยายามที่จะนำประเด็นนี้ในการที่จะมายั่วยุปลุกปั่น ทั้งเรื่องของความเป็นค่านิยม และการนำประเด็นนี้มาต่อสู้ทางการเมืองในประเทศไทย มีหลักฐานมีข้อมูลอะไรหรือไม่ที่จะทำให้ประชาชนได้มีความเข้าใจมากขึ้นว่าข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นมันคืออะไรกันแน่

รองนรม.และรมว.กต. : ต้องเข้าใจอยู่อย่างหนึ่งว่า ในการปลุกปั่นเกิดกระแสต่อต้านต่าง ๆ ขึ้นมาได้นั้น ถ้าผู้ปลุกปั่นยุยง หรือนำข้อมูลหลักฐานจริงมาดำเนินการก็จะไม่ว่ากัน แต่สิ่งที่เกิดขึ้นในกรณีปราสาทพระวิหาร บังเอิญผมศึกษาในรายละเอียดปรากฏว่ามีเอกสาร หลักฐานบางส่วนได้ขาดหายไปก็ทำให้ประชาชนเข้าใจผิด เพราะการยั่วยุของกลุ่มคนก็จะปลุกกระแสขึ้น สมัยรัฐบาลท่านนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรีคนที่ 25) ตอนนั้นเข้ามา ท่านนพดล ปัทมะ ท่านเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ พยายามที่จะคัดค้านในการขึ้นทะเบียนมรดกโลกของปราสาทพระวิหาร ให้เอาเฉพาะตัวปราสาทพระวิหารเท่านั้น และได้มีการทำแถลงการณ์ร่วมที่เรียกว่าJoint Communique ระหว่างประเทศไทยกับประเทศกัมพูชาและยูเนสโก และในที่สุดการประชุมสมัชชามรดกโลกครั้งที่ 32 ในช่วงสมัยท่านสมัครฯ พอดีก็มีมติให้ขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก เฉพาะตัวปราสาท

พิธีกร : เท่ากับว่าทางรัฐบาลคุณสมัครฯ คุณนพดลฯ ยอมที่จะให้ประเทศกัมพูชาเอาปราสาทพระวิหารขึ้นเป็นมรดกโลกได้ ก็เลยนำไปสู่ความขัดแย้งปัญหาต่าง ๆ มากมายก็ตามมา แต่ข้อเท็จจริงที่ท่านกำลังจะอธิบายคืออะไร


รองนรม.และรมว.กต. : ผมไปเจอหลักฐานไม่ใช่เริ่มสมัยรัฐบาลสมัครฯ ที่จะไปขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก ผมเพิ่งไปพบหลักฐานมาว่ารัฐบาลท่านพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรีคนที่ 24) ในการประชุมสมัชชามรดกโลกครั้งที่ 31 ที่เมืองไคร้สท์เชิร์ช ประเทศไทยกับประเทศกัมพูชาได้เห็นพ้องต้องกันที่จะให้ปราสาทพระวิหารไปเป็นมรดกโลกเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ประเทศไทยได้มีหนังสือ มีแถลงการณ์ออกแสดงความยินดีกับประชาชนและประเทศกัมพูชา

พิธีกร : หนังสือแถลงการณ์นั้นบอกไว้ว่าอย่างไร

รองนรม.และรมว.กต. : ระบุไว้ชัดเจนว่าประเทศไทย ขออนุญาตอ่านเพราะเอกสารผมเพิ่งค้นเจอและเป็นเอกสารลับมาก เอกสารฉบับนี้เป็นเอกสารที่ทางรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศที่รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศในขณะนั้น ทำถึงอดีตนายกรัฐมนตรีพลเอก สุรยุทธ์ฯ เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2550 มีเนื้อความว่าในที่สุด ในวันที่ 28 มิถุนายน 2550 ที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลกได้มีฉันทามติเกี่ยวกับการที่ประเทศกัมพูชาขอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก โดยเห็นว่าปราสาทพระวิหารมีคุณค่าที่เป็นสากลอย่างเด่นชัด และสมควรได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก และทราบว่าขั้นตอนการขึ้นทะเบียนอยู่ในระหว่างการดำเนินการ ซึ่งประเทศไทยและประเทศกัมพูชาตกลงที่จะร่วมมือกันอย่างเข้มแข็งในการจัดทำแผนอนุรักษ์ และบริหารจัดการบริเวณปราสาทพระวิหาร โดยเห็นชอบให้มีการพิจารณาคำขอขึ้นทะเบียนอีกครั้งหนึ่งในการประชุมคณะกรรมการสมัยที่ 32 ในปี 2551 ก็บังเอิญปีในสมัยของท่านสมัครฯ เป็นนายกรัฐมนตรี

พิธีกร : ถ้าดูจากหนังสือเล่มนี้ หรือหนังสือที่มีการประชุมกันในส่วนนี้เท่ากับว่าพื้นที่ที่กำลังมีปัญหาทับซ้อนต้องถูกรวมอยู่ในพื้นที่นี้

รองนรม.และรมว.กต. : มาถึงสมัยรัฐบาลของท่านสมัคร สุนทรเวช ลำดับเหตุการณ์ที่มีอยู่เป็นที่กระทรวงการต่างประเทศได้เตรียมไว้ ทันทีที่รัฐบาลท่านสมัครฯ ในปี 2551 ไทยพยายามรักษาสิทธิทางเขตแดนจึงประท้วงและคัดค้านการขอขึ้นทะเบียนของกัมพูชา กระทั่งกัมพูชาปรับคำขอการขึ้นทะเบียนเฉพาะตัวปราสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกโลกเท่านั้น ที่จริงแล้วสมัยรัฐบาลท่านสมัครฯ ประสบผลสำเร็จคือการประท้วงให้ขึ้นเฉพาะตัวปราสาท

พิธีกร : ประท้วงจากการที่รัฐบาลไทยเคยมีมติยินยอมและจะร่วมกันในการพัฒนาพื้นที่ปราสาทว่าถ้าจะพัฒนาพื้นที่ของปราสาทต้องเฉพาะตัวปราสาทเท่านั้น นั้นหมายถึงทำสำเร็จในรัฐบาลท่านสมัครฯ

รองนรม.และรมว.กต. : แต่สิ่งที่เกิดขึ้นบังเอิญในรัฐบาลท่านสมัครฯ มีการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยที่ 32 ซึ่งมีมติให้เฉพาะตัวปราสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกโลก แต่ข้อมูลหายไปในรัฐบาลของท่านพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ กระทรวงการต่างประเทศที่เตรียมให้มา เพิ่งมีโอกาสได้เจอหลักฐานเมื่อ 2 อาทิตย์ ก่อนหน้านี้มีหลักฐานที่กระทรวงการต่างประเทศเตรียมมาโดยตลอด ฉะนั้นข้ามประเด็นนี้ไปหรือข้ามจดหมายนี้ไปว่าเราไม่ยอมรับตั้งแต่ต้น ฉะนั้นจึงทำให้สังคมไม่ได้รับข้อมูลที่แท้จริง พวกปลุกกระแสได้ปลุกระดมคนว่ารัฐบาลท่านสมัครฯ ไปยินยอมเขา ว่าท่านนพดล ปัทมะ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศไปแถลงการณ์ร่วมไปยอมเขาหมดและไปขึ้นศาลรัฐธรรมนูญว่าไปแถลงการณ์นั้นใช้ไม่ได้ ไม่ได้ผ่านสภา ถ้าเป็นข้อเท็จจริงแบบนี้รัฐบาลท่านสมัครฯ ไม่ได้ทำความผิด กลับทำประโยชน์ แต่สำหรับเรื่องนี้เกิดขึ้นไปแล้วเพราะฉะนั้นสิ่งที่เป็นห่วงมากที่สุดคือ ขณะนี้มีคนพยายามใช้วิธีการเช่นเดียวกันคือปลุกกระแสและเอาประเด็นนี้ มาเล่นเป็นประเด็นการเมืองในวันที่ 11 นี้ คือข้อห่วงใย ฉะนั้นวันนี้จำเป็นต้องขอนายกรัฐมนตรีว่าขอออกรายการนี้เพื่อนำข้อเท็จจริงต่าง ๆ มาเปิดเผยเพื่อให้สังคมไทยได้เข้าใจตรงกัน และเราจะได้หันหน้าเข้าหากัน ผมไม่อยากเห็นการชุมนุมประท้วงก่อให้เกิดความเดือดร้อน เกิดความแตกแยก เพราะครั้งที่เกิดในตอนนั้นสมัยรัฐบาลท่านสมัครฯ โยงมาสมัยรัฐบาลท่านอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ความวุ่นวายก็เกิดขึ้นบริเวณตามแนวชายแดนเกิดการปะทะกันเกิดการสูญเสียชีวิตทหาร พี่น้องประชาชนตามแนวชายแดน ญาติพี่น้องผู้สูญเสียชีวิตได้รับบาดเจ็บล้มตายกัน รัฐบาลไม่ต้องการให้เหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้น ถ้าเหตุการณ์ทุกอย่างเป็นข้อเท็จจริงแล้วประชาชนไม่คล้อยตาม กลุ่มที่ยื่นเรื่องก็ไม่สามารถที่จะยื่นเรื่องได้ประสบผลสำเร็จ ในขณะเดียวกันพรรคการเมืองขณะนั้นต้องขออนุญาตเอ่ยนามฝ่ายค้าน ในสมัยรัฐบาลท่านสมัครฯ นั้นคือพรรคประชาธิปัตย์ก็ผสมโรงทำให้เกิดความเข้าใจผิดไปทั้งหมด

พิธีกร : ประเด็นที่ฝ่ายตรงข้ามหรือกลุ่มประชาชนที่อยู่ตรงข้ามเขาคัดค้านบอกว่า ทั้งหมดที่เกิดขึ้น เพราะว่ารัฐบาลนี้หรือพลังประชาชนก่อนหน้านั้นไปไปยินยอมอย่างที่ท่านสุรพงษ์ฯ อธิบายแต่จริง ๆ ไม่ใช่แต่ไปปกป้องในพื้นที่ 4.6 ตร.กม. แต่สุดท้ายกลับถูกบิดเบือนว่าเป็นการไปยินยอมและนำไปสู่ที่ทำให้กัมพูชานำไปสู่การตัดสินใหม่ของศาลโลก ขอร้องให้ศาลได้ตีความใหม่มาจากรัฐบาลนี้

รองนรม.และรมว.กต. : ไม่ใช่ ผมจะต้องลำดับให้พี่น้องประชาชนได้เข้าใจเพราะวันนี้รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ขณะผมมาเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศถูกกล่าวหาว่าไปสมรู้ร่วมคิด ไปยอมให้กัมพูชานำเรื่องนี้ไปขึ้นศาล ไปยอมให้เสียดินแดน4.6 ตร.กม. ถูกกล่าวหาต่าง ๆ นานา ต้องขอลำดับเหตุการณ์ให้พี่น้องประชาชนได้เข้าใจว่าที่จริงเหตุการณ์ทั้งหมดหลังจากที่มีการประท้วงกันของกลุ่มพันธมิตรในสมัยรัฐบาลท่านสมัครฯ มาจนถึงสมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์ฯ เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2552 เกิดเหตุปะทะตามแนวชายแดนพื้นที่ใกล้เคียงต่อเนื่องมาทั้งปีจนถึงวันที่  7 กุมภาพันธ์ 2554 ช่วงสุดท้ายของรัฐบาลท่านอภิสิทธิ์ฯ ก็เกิดการปะทะอย่างรุนแรงขึ้นอีกครั้งหนึ่งสูญเสียชีวิต โดยที่สุดวันที่ 28 เมษายน 2554 ในสมัยรัฐบาลท่านอภิสิทธิ์ฯ กัมพูชายื่นขอให้ศาลตีความคำพิพากษาคดีปราสาทเขาพระวิหารเมื่อปี 2505 และขอให้ศาลโลกออกเร่งคำสั่งมาตรการชั่วคราวให้ยุติความขัดแย้ง เพราะมิฉะนั้นเหตุการณ์ก็จะวุ่นวาย ซึ่งไปสอดคล้องกับท่านฮอร์ นำฮง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกัมพูชา ที่เราได้การแถลงข่าวร่วมกันที่ปอยเปตเมื่อวันที่ 28 ตุลาคมที่ผ่านมา ท่านฮอ นำฮง พูดชัดเจนเหตุผลที่ได้นำเรื่องนี้ไปขึ้นศาลโลก เพราะตอนนั้นเกิดการปะทะกันอย่างรุนแรงคนเสียชีวิต ท่านฮอ นำฮงไม่ต้องการเห็นสิ่งเหล่านี้ ถ้ารัฐบาลพูดคุยได้ก็ไม่จำเป็นต้องไปขึ้นศาล แต่เพราะเป็นความจำเป็น

อยากจะกราบเรียนว่าพอวันที่ 28 เมษายน 2554 รัฐบาลท่านอภิสิทธิ์ฯ กัมพูชายื่นขอตีความในศาลวันที่ 3 พฤษภาคม 2554 คณะรัฐมนตรีของท่านอภิสิทธิ์ฯ ได้มีมติแต่งตั้งคณะดำเนินคดีปราสาทเขาพระวิหารของประเทศไทยซึ่งมีทั้ง ท่าน ดร.วีรชัย พลาศรัย เอกอัครราชทูต ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ เป็นหัวหน้าคณะและมีฝรั่ง Professor  3 - 4 คนที่ว่าความให้กับประเทศเราเป็นทีมงาน นอกจากนั้นรัฐบาลท่านอภิสิทธิ์ฯอนุมัติงบประมาณทั้งหมด 125 ล้านบาท เพื่อไปสู้คดีและในที่สุดได้ไปขึ้นศาลครั้งแรกเมื่อวันที่ 30 - 31 พฤษภาคม เป็นการไปฟัง Overheading อย่างที่เราไปขึ้นเมื่อเดือนเมษายน แต่ขณะนั้นรัฐบาลท่านอภิสิทธิ์ฯ ไม่มีการถ่ายทอดสด ประชาชนจึงไม่รู้ว่ามีคดีแบบนี้ โชคดีที่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ฯ เข้ามา ผมมานั่งกำกับที่กระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งได้ศึกษาในรายละเอียดตอนที่ไปสู้คดีเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมาที่มีการถ่ายทอดสดรัฐบาลยิ่งลักษณ์ฯ ตัดสินใจให้มีการถ่ายทอดสด เพราะไม่มีอะไรที่ต้องปิดบังประชาชน รัฐบาลเปิดเผยทุกอย่างและผมถูกกล่าวหาว่าบีบบังคับไม่ให้ทีมทนายสู้เต็มที่ อยากจะกราบเรียนว่าวันสุดท้ายที่ท่านทูตวีรชัยฯ ขึ้นกล่าวสรุปกล่าวคำพูดที่ค่อนข้างรุนแรง และท่านทูตวีรชัยฯ ก่อนที่จะกล่าวนั้นท่านมาถามผมว่า ท่านรัฐมนตรีสุรพงษ์ฯ ขออนุญาตใช้คำพูดที่รุนแรงได้หรือไม่ ผมบอกว่าเต็มที่เลยท่านทูตวีรชัยฯ ในเมื่อเราสู้คดีก็เหมือนนักมวยที่ขึ้นชก ชกให้เต็มที่ ท่านทูตฯ ก็ดีใจเพราะว่าท่านทูตวีรชัยฯ กลัวว่าเพราะตอนนี้ความสัมพันธ์เราดี พอพูดอะไรรุนแรงอาจจะกระทบ ผมบอกว่าเต็มที่แต่ต้องแยกแยะประเด็นเหล่านี้ออก เพราะท่านนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ฯ กับท่านนายกรัฐมนตรีฮุนเซน ท่านพูดกันทุกครั้งว่าเราจะแยกเรื่องความสัมพันธ์กับคดีออกจากกัน คดีต้องดำเนินอย่างเต็มที่ แต่เมื่อคดีสิ้นสุดเราต้องพูดคุยเจรจากันตกลงกัน  และมาดูว่าที่ผมไปพูดคุยกับท่านฮอ นำฮงฯ ที่ปอยเปตเราได้ข้อสรุปอะไรบ้าง

พิธีกร : พักกันสักครู่ หลังจากนั้นเราจะกลับมาดูกันว่าคำตัดสินของศาลโลกที่จะออกมานั้นไม่ว่าจะออกมาเป็นแนวทางใดทางรัฐบาลไทยเตรียมที่จะรับมืออย่างไร และที่สำคัญเตรียมที่จะอธิบายต่อประชาชนชาวไทยอย่างไร พบกันช่วงหน้า

( ช่วงที่ 2 )

พิธีกร : รายการรัฐบาลยิ่งลักษณ์พบประชาชนวันนี้พูดคุยกับท่าน สุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ พูดถึงเรื่องของการรอฟังคำตัดสินของศาลโลกในวันที่ 11 พฤศจิกายน 2556 สุดท้ายจะเป็นอย่างไร ในคดีปราสาทเขาพระวิหาร ท่านสุรพงษ์ฯ ประเมินอย่างไร มีการวิเคราะห์อยู่ใน 3 - 4 แนวทาง คิดว่าแนวทางไหนมีความเป็นไปได้มากที่สุด

รองนรม.และรมว.กต. : เท่าที่ติดตามการพิพากษาของศาลโลก ศาลโลกจะพิพากษาในกรณีพิพาทต่าง ๆ เพื่อให้ทั้ง 2 ฝ่ายอยู่ร่วมกันได้ด้วยความสันติสุข ตามที่เห็นจากประสบการณ์และคาดหวังว่าศาลโลกคงดำเนินการตัดสินหรือพิพากษากรณีพิพากไทยกับกัมพูชาเป็นไปในเชิงสร้างสรรค์ จะทำให้ทั้ง 2 ฝ่ายสามารถอยู่ร่วมกันได้ตรงนี้คือความคาดหวัง แต่ที่เป็นห่วงและกังวลมากที่สุด คือ เกิดกรณีเกิดคำพิพากษาออกมาในทางลบไม่เป็นไปตามที่คาดหวังไว้ ความวุ่นวายต่าง ๆ อาจจะเกิดขึ้นได้ ซึ่งเป็นข้อห่วงใยมาก ๆ และเป็นสิ่งที่นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ฯ กับสมเด็จฮุนเซนฯ ได้พูดคุยกันว่าเราไม่อยากเห็นความแตกแยกและกระทบความสัมพันธ์ ผมได้ไปพบกับท่านฮอ นำฮงฯ ที่ปอยเปต ได้หารือกันในเบื้องต้นว่าถ้าเกิดเหตุการณ์ต่าง ๆ ขึ้นมา สมมุติคำตัดสินจะออกมาไม่ว่าจะเป็นในลักษณะไหน ถ้าเป็นบวกคงไม่เป็นอะไรซึ่งง่ายต่อการพูดคุยเจรจาหาแนวทางที่จะบริหารจัดการร่วมกัน แต่ถ้าออกมาในทางลบต้องให้เวลาซึ่งกันและกัน เราได้พูดคุยกันว่าอะไรจะเกิดขึ้นต้องให้เวลาซึ่งกันและกัน การก่อตั้งระบอบประชาธิปไตยต้องเคารพในสิทธิและการแสดงออกของแต่ละฝ่าย เพราะเรามีขั้นตอนกฎหมายภายใน โดยเฉพาะประเทศไทยมีมาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญ มาตรา 179 ที่เราจะต้องชี้แจงสอบถามความคิดเห็นประชาชนต่าง ๆ ในกรณีที่เกิดเหตุการณ์เลวร้าย แต่ที่เป็นห่วงมากที่สุด คือปลุกกระแสคลั่งชาติและไม่ได้คำนึงถึงข้อเท็จจริง ซึ่งวันนี้การออกรายการถึงได้ยกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตั้งแต่สมัยรัฐบาลท่านสมัครฯ ซึ่งตอนนั้นได้มีการปลุกกระแสและมีพรรคฝ่ายค้านไปร่วมผสมโรงจึงทำให้การปลุกกระแสนั้นประสบความสำเร็จในการปลุกกระแส แต่ทำความเสียหายให้กับพี่น้องความสัมพันธ์แย่ลง เกิดการปะทะกันทหารเสียชีวิตพี่น้องประชาชนบาดเจ็บล้มตายเกิดการเปลี่ยนแปลงและมีการยุติ ความเป็นมิตรที่ดีก็ขาดหายไป ไม่อยากเห็นสิ่งเหล่านี้ รายการนี้จึงต้องมาปูพื้นฐานทั้งหมดให้สังคมไทยได้เข้าใจว่า เหตุการณ์นี้มีต่อเนื่องกันมาทุกรัฐบาล ถือว่าทุกรัฐบาลต้องรับผิดชอบร่วมกันในฐานะที่เป็นผู้บริหารประเทศ เป็นผู้บริหารแทนประชาชน สิ่งใดที่เกิดขึ้นประชาชนต้องยอมรับได้ คือสิ่งที่ต้องการเห็นในวันนั้น รัฐบาลจะเคารพในการใช้สิทธิ์ไม่ว่าจะเป็นการประท้วงหรือแสดงออกสามารถกระทำได้ แต่ขอให้คำนึงถึงผลกระทบต่อพี่น้องประชาชนที่อยู่บริเวณนั้นว่า ได้รับผลกระทบอย่างไร อย่างเช่นกรณีที่เด็กซ้อมหลุมหลบภัย ไม่อยากเห็นสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้น และสิ่งที่ท่านนายกรัฐมนตรีเป็นห่วง ซึ่งได้มีการพูดคุยกับท่านพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก เมื่อวานนี้ และได้สั่งการให้แม่ทัพภาคที่ 2 ของประเทศไทยนัดเจรจาหารือกับแม่ทัพภาคที่ 4 ของประเทศกัมพูชา คาดว่าภายในสัปดาห์นี้จะมีการเจรจาดังกล่าว อย่างน้อยเพื่อไม่ให้มีการดำเนินการใด ๆ ที่จะส่งผลกระทบ หากผลการตัดสินออกมาในทางลบ เพราะถ้าเป็นทางบวกคงไม่มีปัญหา สิ่งที่สำคัญที่สุดที่สอดคล้องกับการแถลงร่วมกับท่าน ฮอ นำฮง ในหัวข้อที่ 2  โดยจะต้องมีมาตรการเพื่อรักษาความสงบตามแนวชายแดนร่วมกัน นี่ถือว่าเป็นนิมิตหมายที่ดี เพราะฉะนั้นอยากให้พี่น้องประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณแนวชายแดนสบายใจได้ อย่างน้อยนี่คือทหารที่พูดคุยกันคงจะไม่เกิดการปะทะอะไรกัน ผมต้องการให้คนไทยชมรายการถ่ายทอดสดในวันที่ 11 พฤศจิกายน 2556 นี้ด้วยสติ เมื่อผลออกมาเป็นอย่างไรแล้ว ขอเวลาให้รัฐบาล ไม่ว่าผลจะเป็นบวกหรือลบ ถ้าเป็นบวกก็จะมีการเจรจาหารือกันว่าจะต้องเจรจาประเด็นใดบ้าง เพื่อจะอยู่ร่วมกันอย่างไร แต่ถ้าออกมาแนวลบจะมีวิธีการอย่างไรบ้าง ก็จะมีขั้นตอน ซึ่งทุกอย่างขั้นตอนต่าง ๆ นายกรัฐมนตรีได้มีการประชุมที่กระทรวงกลาโหมและทำเนียบรัฐบาล 3 วันที่ผ่านมา ได้มีการพูดคุยเพื่อเตรียมการกันไว้ทุกขั้นตอน ผมได้หารือกับท่าน ฮอร์ นำฮง อย่างชัดเจน ไม่ว่าผลจะเป็นอย่างไรในการปฏิบัติการภายในของแต่ละประเทศต้องให้เวลาซึ่งกันและกัน ก่อนที่จะทำอะไร จะเจรจากันอย่างไร ก็จะมีการหารือกันทุกครั้ง

พิธีกร : นั้นหมายถึงกรณีที่ศาลตัดสินออกมาเป็นลบ จะเป็นลบของฝั่งกัมพูชาหรือฝั่งไทย หมายถึงเป็นลบทั้ง 2 ประเทศหรืออะไรก็แล้วแต่ที่จะนำมาซึ่งปัญหา แผนการณ์ในการหารือกัน ให้เวลาซึ่งกันและกัน เพื่อทำความเข้าใจและปรับเปลี่ยน ไม่ให้เกิดความรุนแรง นี่มีแผนรองรับอยู่แล้ว

รอง นรม.และ รมว.กต. : ใช่ครับ

พิธีกร : รัฐบาลนี้มีความสัมพันธ์ค่อนข้างจะแนบแน่นกับรัฐบาลของกัมพูชา ทำให้ฝ่ายค้านในประเทศไทย ฝ่ายที่อยู่ตรงข้ามกับรัฐบาลไทย มองว่ามีการสมยอมกัน มีการสมคบ มีผลประโยชน์แฝงเร้นในการที่มีความสัมพันธ์อันดี และการพิจารณาคดีประสาทเขาพระวิหารอาจจะเป็นส่วนหนึ่งของผลประโยชน์ที่อาจจะเกิดขึ้นกับผู้นำรัฐทั้งสองฝั่ง นี่เป็นประเด็นที่มีการพูดถึงกันมากมาย ยืนยันอีกครั้งว่ามีประเด็นเหล่านี้อยู่ในความสัมพันธ์ที่แนบแน่นระหว่างไทยกับกัมพูชาจริงไหม

รอง นรม.และ รมว.กต. : กราบเรียนว่า ความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกันสามารถแยกแยะได้ รัฐบาลไม่นำผลประโยชน์ของประเทศชาติไปทำให้เสียหายแน่นอน เพราะทุกคนที่เป็นคนไทยต่างก็มีความรักประเทศ โดยเฉพาะรัฐบาลเองก็มาจากการเลือกตั้งของประชาชน ได้รับเสียงข้างมาก การจะทำอะไรจึงต้องคิดอย่างถี่ถ้วน ยิ่งรัฐบาลอยู่ในกระแสที่ถูกโจมตีมาโดยตลอด โดยเฉพาะเรื่องเขาพระวิหาร อย่างที่ได้เรียนไว้ว่า ตั้งแต่รัฐบาลสมัยท่านสมัคร สุนทรเวช พรรคพลังประชาชน ก็ได้ถูกโจมตีเรื่องนี้มา ซึ่งวันนี้ผมนำหลักฐานทุกอย่างมาเปิดเผยให้สังคมได้เข้าใจ และรัฐบาลได้ทำงานมาอย่างต่อเนื่องถึงแม้จะมีการโจมตีกล่าวหา ผมก็ใช้ทีมเดิม ทีมทนายก็ทีมเดิม เขาก็พยายามจะเบี่ยงเบนว่าต้องรับผิดชอบ เพราะว่าพยายามจะโยนความผิด ถ้าเกิดแพ้คดีจะโยนความผิดให้ ผมไม่มีนิสัยอย่างนั้น ถือว่าวันนี้มาสู้ในขบวนการศาลแล้วและก็สู้อย่างเต็มที่ ทีมทนายถือว่ามีประสบการณ์และได้พิสูจน์แล้ว จากการถ่ายทอดสดทุกคนเห็นแล้วว่าทำอย่างเต็มที่ ฉะนั้นเป็นความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกัน ซึ่งรัฐบาลแยกแยะออก รัฐบาลไม่นำผลประโยชน์ของชาติมาทำให้เสียหายอย่างแน่นอน เชื่อมั่น โดยเฉพาะตัวผมเองทำทุกอย่างด้วยความบริสุทธิ์ใจ ผมตั้งใจจริงถึงได้ทำขั้นตอนต่าง ๆ ในการประชาสัมพันธ์ทุกเรื่องตั้งแต่เกิดเรื่องขึ้นมา ใช้งบประมาณที่อธิบายให้สังคมไทยได้เข้าใจถึงความเป็นมาต่าง ๆ ส่วนการที่บอกว่าจะไปร่วมกันคดโกงไม่มีเด็ดขาด ผลประโยชน์ทับซ้อนบางครั้งก็กล่าวหาว่าไปนำผลประโยชน์ทับซ้อนทางทะเลแล้วมาโยงกับเรื่องนี้ กราบเรียนว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่อ่อนไหว และผมทราบมาตั้งแต่ต้นและได้หารือกับท่านนายกรัฐมนตรีและได้บอกว่าเรื่องพื้นที่ทับซ้อนทางทะเล เกาะกง นี้ ไม่มีการหยิบยกขึ้นมาในรัฐบาลนี้เลย เพราะไม่ต้องการให้เกิดความเข้าใจผิด ถ้านำมาพูดก็จะหาว่ามีผลประโยชน์

รอง นรม.และ รมว.กต. : วันนี้เชื่อว่าสังคมไทยส่วนหนึ่งเปิดใจรับได้ ดูจากผลสำรวจที่ออกมา คนไทยเริ่มมีความเข้าใจในเรื่องนี้ อย่างกรณีที่ต้องกล่าวตั้งแต่ต้นว่าปราสาทเขาพระวิหารเป็นของกัมพูชา หลังจากที่ไปขึ้นศาลเสร็จแล้ว ได้ไปที่ธนาคารมีผู้หญิงที่จบปริญญาตรีนั่งทำงานที่เคาน์เตอร์ถามว่า เราจะได้ปราสาทเขาพระวิหารคืนไหม แสดงว่ายังมีความเข้าใจผิดอยู่ จึงมีความจำเป็นที่ต้องการใช้รายการนี้ชี้แจงว่า ปราสาทเขาพระวิหารนี้ตกเป็นของกัมพูชา โดยคำตัดสินของศาลโลกตั้งแต่ปี 2505 แล้ว วันนี้ได้มีความขัดแย้งบริเวณพื้นที่รอบข้าง ซึ่งมติคณะรัฐมนตรีเมื่อปี 2505 สมัยรัฐบาลจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้มีการทำรั้วลวดหนามกั้นเขตแดนไว้เรียบร้อย กัมพูชาก็ไม่ได้ท้วงติงแต่อย่างใด ได้มีการสู้คดีในรูปแบบนี้ วันนี้บริเวณใกล้เคียง ซึ่งกัมพูชาได้เรียกร้อง ไทยก็ต่อสู้ว่ากัมพูชาไม่มีสิทธิในการเรียกร้อง ได้ทำอย่างเต็มที่ รัฐบาลสมัยนายสมัคร สุนทรเวช โดย นายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้มีการต่อสู้อย่างชัดเจน ตอนแรกจะไปขึ้นทะเบียนมรดกโลกทั้งพื้นที่ ก็ปัดให้เหลือเฉพาะตัวปราสาทเขาพระวิหาร ทุกอย่างทุกรัฐบาลทำมาตามขั้นตอนไม่มีผลประโยชน์ใด ๆ ซ่อนเร้น แต่การปลุกกระแส สร้างความเข้าใจผิดหรือแม้กระทั่งมากล่าวหาผมว่า พยายามจะไปสมรู้ร่วมคิดทำให้นายกรัฐมนตรีนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร มีความสัมพันธ์ที่ดีกับท่านสมเด็จฮุน เซน อยากจะกราบขอร้องทุกฝ่ายว่าอย่านำประเด็นการต่างประเทศอย่างนี้มาเล่นเป็นประเด็นการเมือง เพราะทุกประเทศที่เจริญแล้ว ไม่มีพรรคการเมืองใดที่แตกความสามัคคีกันแล้วนำการต่างประเทศมาเล่นเป็นการเมือง เรียนว่าไทยเสียกรุงศรีอยุธยาไปสมัยนั้น เพราะความแตกแยกของคนไทย วันนี้คนไทยต้องหันหน้าเข้าหากัน คิดในทางสร้างสรรค์ คิดอย่างไรเพื่อให้อยู่กับกัมพูชาได้อย่างสันติสุข เพราะเป็นเพื่อนบ้านกัน จะแยกประเทศกัมพูชาจากไทยเป็นไปไม่ได้ เพราะเรามีแนวชายแดนติดต่อกัน

พิธีกร : คำตัดสินวันที่ 11 พฤศจิกายน 2556 ถ้าคำตัดสินนั้นมีความชัดเจน ความหมายนี้คือรู้แพ้รู้ชนะไปเลยว่าใครแพ้ใครชนะ แต่ถ้าเกิดมีการตัดสินออกมาในลักษณะที่กลาง ๆ เทา ๆ จะนำไปสู่การตีความว่า ไทยแพ้หรือชนะ สิ่งนี้จะทำอย่างไรถึงจะให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง

รอง นรม.และ รมว.กต. : ถ้าออกมากลาง ๆ เป็นแนวทางที่ 4

พิธีกร : บางคนอาจจะมีความคิดว่า นี่เราแพ้แล้วหรือ บางคนบอกว่านี่เราชนะ ซึ่งอาจจะเกิดความสับสนในสิ่งที่เป็นกลาง ๆ จะสร้างความเข้าใจที่ตรงกันอย่างไร

รอง นรม.และ รมว.กต. : เป็นสิ่งที่ได้หารือกับท่านทูตวีรชัย พลาศรัย ภายในกระทรวงการต่างประเทศหารือกันว่า ศาลได้ตัดสินให้นำมาหารือกันเอง ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่ดี เราก็ต้องเจรจากัน คิดว่าเราเจรจากันได้ทุกเรื่อง และยังมีกรอบ MOU 2543 เกี่ยวกับเรื่องหลักเขตแดนต่าง ๆ ก็สามารถนำเรื่องนี้มาเจรจากันได้ คิดว่าถ้าออกมาเป็นลักษณะดังกล่าวก็เป็นสิ่งที่ดี ก็จะใช้เวทีเจรจานี้ ด้วยความสัมพันธ์ที่ดีน่าจะเจรจาได้รู้เรื่อง

พิธีกร : แต่ห่วงว่ากลุ่มการเมืองที่ต่อต้านรัฐบาลในประเทศไทยขณะนี้จะตีความเป็นว่าไทยแพ้

รอง นรม.และ รมว.กต. : กลุ่มการเมืองหากเล่นโดยหลักผลประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนก็ยินดีน้อมรับ แต่ถ้าเล่นการเมืองเพื่อหวังผลประโยชน์ของตนเองหรือต้องการล้มรัฐบาลคิดว่าไม่ใช่สิ่งที่ถูกต้อง อย่างกรณีนิรโทษกรรมวันนี้ ซึ่งรัฐบาลยอมถอย นายกรัฐมนตรีได้ประกาศอย่างชัดเจนแล้วน่าจะยุติได้ แต่พรรคฝ่ายค้านได้คืบจะเอาศอก ได้ศอกจะเอาวา คิดว่าสังคมต้องตัดสินบ้าง เพราะไม่มีพรรคการเมืองใดที่จะทำทุกอย่างได้ถูกต้องหมด พรรคไหนจะถูกต้องทุกเรื่องเป็นไปไม่ได้ ความไม่ดีถูกเปิดเผยหรือไม่แค่นั้นเอง

พิธีกร : สมมุติว่าศาลตัดสินออกมาว่าเราอาจจะแพ้ คือการออกไปยอมรับคำร้องของกัมพูชา และดูเหมือนว่าคนไทยคิดว่าหากเป็นเช่นนั้น ถึงเวลานั้นรัฐบาลจะให้ประชาชนไทยตั้งสติอย่างไร

รอง นรม.และ รมว.กต. : ต้องการให้ประชาชนได้ฟังคำชี้แจง และแนวทางการดำเนินการของรัฐบาล เพราะจะมีขั้นตอนในการดำเนินการ ซึ่งได้มีการเตรียมการว่าจะทำอย่างไรบ้าง เอาอย่างนี้ดีกว่าเราสู้เต็มที่ เพื่อรักษาผลประโยชน์ของพี่น้องประชาชนและประเทศไทย ขอให้ใจเย็น และรับฟังด้วยเหตุผล และรัฐบาลจะสอบถามประชาชนด้วย ย้ำว่ารัฐบาลนี้มาจากประชาชน เรามีระบบรัฐสภา ก็จะฟังเสียงจากรัฐสภาและจะรับฟังเสียงจากประชาชนด้วยเช่นกัน หากถึงขั้นที่เราต้องตัดสินใจร่วมกัน รัฐบาลจะไม่ทำอะไรโดยพลการ เพราะทุกอย่างรัฐบาลจะมีการเปิดเผย

พิธีกร : แม้แต่ประชาชนเอง ก็อย่าทำอะไรโดยพลการด้วย

รอง นรม.และ รมว.กต. : รัฐบาลทำทุกอย่างมาอย่างเปิดเผยตลอด จะเห็นว่าตั้งแต่มารับตำแหน่งนี้ เรื่องปราสาทเขาพระวิหารนี้เป็นของร้อนนะ แต่พยายามชี้แจงมาโดยตลอด ทุกเรื่องมีการถ่ายทอดสด มีการนำเสนอข่าวสารมาโดยตลอด ไม่มีปิดบัง รัฐบาลดำเนินการอะไรก็ได้นำเสนอให้เห็น เชื่อมั่นว่าวันนี้ประชาชนคนไทยเข้าใจและมีเหตุผลขึ้นมากกว่าในอดีต สิ่งไหนที่รับได้ก็รับ สิ่งไหนที่รับไม่ได้ก็แสดงออกกัน แต่ควรจะแสดงออกในสิ่งที่มีข้อเท็จจริง มีข้อมูลที่เป็นจริง ไม่ต้องการให้ประชาชนตกเป็นเหยื่อของข้อมูลข่าวสารที่เป็นเท็จ นี่เป็นสิ่งที่กังวลมากที่สุด ขอให้เรียนรู้จากข้อมูลที่แท้จริง และตัดสินใจ อย่าเรียนรู้ข้อมูลแบบหลวม ๆ กำกวม หรือเชื่อใครง่าย ไม่อยากเห็นอย่างนั้น

พิธีกร : สุดท้ายท่านอยากจะให้ความมั่นใจกับประชาชนที่อยู่ตามตะเข็บชายแดนไทย – กัมพูชาอย่างไร เพราะตอนนี้อาจจะอยู่ในความกังวลอย่างที่สุด จะให้ความมั่นใจอย่างไรไม่ว่าจะเป็นบวกหรือลบกับใคร เขาจะปลอดภัย

รอง นรม.และ รมว.กต. : เชื่อว่าฝ่ายทหารสามารถปกป้องความเป็นอยู่ของพี่น้องประชาชนตามแนวชายแดนได้ และครั้งนี้เหตุการณ์รุนแรงคงไม่เกิดขึ้นอย่างแน่นอน โดยเฉพาะสิ่งที่ดีที่สุดคือแม่ทัพภาคที่ 2 ของไทยได้มีการนัดเจรจาหารือกับแม่ทัพภาคที่ 4ของกัมพูชาตามบัญชาของท่านนายกรัฐมนตรีในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ร่วมกับท่าน ผบ.ทบ. พลเอก ประยุทธ์ฯ ซึ่งได้ดำเนินการไปแล้ว เพราะฉะนั้นพี่น้องประชาชนที่อยู่ตามบริเวณชายแดนนอนตาหลับได้และไม่ต้องเป็นห่วง เชื่อว่าไม่ได้รับผลกระทบไม่เกิดอันตรายอย่างแน่นอน เพราะอย่างน้อยรัฐบาลทั้ง 2 ประเทศสามารถพูดคุยกันได้ โดยการเจรจาจะเป็นทางออกที่ดีระหว่าง 2 ประเทศ ผมกับท่าน ฮอ นำฮง พร้อมที่จะพูดคุยกัน ท่านสมเด็จฮุนเซนก็พร้อมที่จะพูดคุยกับท่านนายกรัฐมนตรีเรา ฝ่ายทหารเองก็พร้อมที่จะพูดคุยกัน คิดว่าวันนี้สังคมโลกยอมรับได้ โดยเฉพาะที่เราจะก้าวสู่ประชาคมอาเซียน ประเทศในกลุ่มอาเซียนต่าง ๆ ก็ต้องการเห็นความสงบสุขในภูมิภาคของอาเซียน พี่น้องประชาชนบริเวณตะเข็บชายแดนเบาใจได้ ผมให้ความเชื่อมั่นว่าท่านจะอยู่ได้อย่างมีความสุข ไม่รับผลกระทบ

พิธีกร : พี่น้องประชาชนคนไทยก็คงจะสบายใจว่ามาตรการที่รัฐบาลดำเนินการอยู่ ไม่ใช่แค่รัฐบาลของไทย แต่รวมถึงรัฐบาลของกัมพูชาด้วยเช่นกัน ในการป้องกันไม่ให้ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากคำตัดสินของศาลโลกออกมาแล้วสร้างปัญหาทั้งภายในของทั้ง 2ประเทศหรือแม้แต่เป็นความขัดแย้งระหว่าง 2 ประเทศ ท่านผู้ชมที่อยากจะดูรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถเข้าไปรับชมได้ที่คลิป ซึ่งปรากฏอยู่หน้าจอได้ รายละเอียดนั้นน่าสนใจเหมือนกัน สิ่งเดียวที่จะทำได้ในขณะนี้สำหรับประชาชนคนไทยนั้นก็คือการศึกษาหาข้อมูลที่มีอยู่ให้มากที่สุด และสร้างความเข้าใจบนพื้นฐานของการเป็นมิตรกับประเทศกัมพูชาในฐานะที่เป็นเพื่อนบ้านของเรา วันนี้ขอบคุณท่านมากที่ร่วมรายการ และนี่คือทั้งหมดของรายการรัฐบาลยิ่งลักษณ์พบประชาชน ขอบคุณทุกท่านที่ติดตามรับชม ท่านสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล ผม จอม เพชรประดับ และทีมงานลาไปก่อน สวัสดีครับ

 






ผู้ใช้ 0 ท่านกำลังอ่านกระทู้นี้

สมาชิก 0 ท่าน, ผู้เยี่ยมชมทั่วไป 0 ท่าน และไม่เปิดเผยตัวตน 0 ท่าน