http://www.oknation....t.php?id=688949
ย้อนไป เมื่อ20 กว่าปีมาแล้ว รถถังเวียตนามเข้ามา"ปลดปล่อย"ดินแดนของเขมรแดง กองกำลังเวียดนามมีความเข้มแข็งจน อเมริกันต้องยกธงพ่ายมาแล้ว
วันนี้ ผู้นำกัมพูชากัมพูชายังคงเดินหน้าแสวงหาความช่วยเหลือประเทศเพื่อนบ้านอย่างเวียดนาม และประเทศพันธมิตรที่เดินทัพเข้ามาลงทุน ในกัมพูชา
ความรุนแรงและสงครามจากความขัดแย้งนี้อยู่ในความสนใจขององค์กรพัฒนาเอกชนที่เป็นนายทุนต่างชาติที่เข้าไปทำงานในประเทศกัมพูชาและชาวต่างชาติที่น่ากลัว บนภูมิภาคที่มีความละเอียดอ่อนอันเนื่องจากมีวาระต่างๆเข้ามามากมาย ตั้งแต่อดีต ตั้งแต่ยุค เหมา นิกสัน และนอกเหนือจากจีนยังมีอินเดีย ที่ต้องทำสงครามเศรษฐกิจเพื่อครองความเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ ประชาคมอาเซียนที่ประเทศไทยต้องการเข้าไปสร้างคอมมูนิตี้เพื่อความพัฒนาด้านการค้าและเศรษฐกิจ ในขณะที่สมเด็จฮุนเซน แสดงเจตนาว่าให้แยกเรื่องระหว่างการค้าและการพัฒนา แต่เบี้องหลังก็อาจมีวาระแฝงเร้น เพื่อให้ประเทศไทยดูไม่ดีจากสายตาโลกจากกรณีความขัดแย้ง
สำหรับประเด็นของ MOU 2543 และเรื่องราวการปักปันในอดีต นั้น ลองดูความเป็นมาเกี่ยวกับกรณีปราสาทพระวิหาร โดยเป็นอีกมุมมองที่บล็อกเกอร์ ศุภศรุตได้ไปออกรายการ จับข่าวคุย ช่องสุวรรณภูมิ ASTV5 เมื่อวันที่ 17 ก.พ. (มี 4 คลิปด้วยกัน )
ภาพจากGoogle
แผนที่แสดง แนวปะทะในปัจจุบัน เมื่อวันที่ 4 ก.พ.2554
ก่อนอื่นขอนำภาพแผนที่และระวางต่างๆ ครั้งสนธิสัญญาสยาม - อินโดจีน 1904 - 1907 ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นของการปักปันเขตแดน ก่อนที่จะนำมาซึ่งความขัดแย้ง จนไปถึง คำตัดสินของศาลโลก
ภาพ 1 กรอบแผนที่ 5 ระวาง สนธิสัญญาสยาม - อินโดจีน 1904
ภาพ 2 แผนที่ 6 ระวาง สนธิสัญญาสยาม - อินโดจีน 1904 - 1907 จะเห็นว่า ตรงบริเวณที่ไม่มีระวางแผนที่ต่อจากภาพที่ 1 ใช้แม่น้ำโขงเป็นเส้นเขตแดน
เมื่อมีการทำสัญญาใหม่ในวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ.2449/ค.ศ.1907 โดยที่ฝ่ายสยามตกลงที่จะยกดินแดนพระตะบอง เสียมราฐ และศรีโสภณให้ฝรั่งเศส แลกกับพื้นที่จังหวัดตราดและด่านซ้าย จึงมีผลให้แผนที่ 3 ระวางสุดท้าย คือ พนมกุเลน Phnom Kulen, Lake และ Muang Trat ถูกยกเลิกไป
ภาพ 3 แผนที่ ระวางดงเร็ก พิมพ์ในปี 1908
ภาพที่ 4 แผนที่ระวาง โขง พิมพ์ในปี 1908
ภาพที่ 5 ภาพขยายของแผนที่ 1:200,000 ระวางดงเร็ก ตรงบริเวณปราสาทเขาพระวิหาร
ภาพที่ 6 แผนที่ L 708 กรมแผนที่ทหาร พิมพ์ 2508 (เทคโนโลยีสหรัฐอเมริกา)
ภาพที่ 7 ขยายเฉพาะส่วนบริเวณปราสาทพระวิหาร ของแผนที่ L708
ภาพที่ 8 แผนที่ L7017 ประมาณปี 2527
ภาพที่ 9 ขยาย L7017
ภาพที่ 10 แผนที่ L 7018 พิมพ์ประมาณปี 2538
ภาพที่ 11 ขยาย L7018
ผิดครับแก้เป็นอันนี้ครับ http://webboard.seri...ลก/#entry567677สนธิสัญญาใช้ภาษาไทยกับภาษาฝรั่งเศส คุณเอานิยามใหม่ของภาษาอังกฤษมาใช้ก็ต้องฉีกฉบับเก่าทิ้งก่อนนะครับ ไม่สามารถใช้นิยามของ watershed ที่นิยามใหม่มาอ้างว่าเป็นเส้นที่ถูกต้องตามสนธิสัญญาได้
Drainage Divide ที่ฝั่งหนึ่งเป็น แม่น้ำแสนกับแม่โขงและอีกฝั่งเป็นแม่น้ำมูนต้องไปดูแผนที่ L7018 ครับ
ภาพนี้เห็นยอดเขาได้ดีเลย
เส้นของ drainage divide ต้องลากผ่านยอดเขาพระวิหารไปยังยอดภูมะเขือ เพราะมันจะแย้งไม่ได้ว่ายังมีส่วน drainage basin ของลุ่มน้ำมูนหรือลุ่มน้ำโขงที่อยู่สูงกว่า
ช่วยชี้หน่อยครับว่า สันปันน้ำอยู่ตรงไหน