Jump to content


Photo
- - - - -

ประเด็น..ปราสาทเขาพระวิหาร


  • Please log in to reply
85 ความเห็นในกระทู้นี้

#1 bird

bird

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 4,191 posts

ตอบ 15 มกราคม พ.ศ. 2556 - 13:11

ขออนุญาติเปิดกระทู้ว่าด้วย ประเด็นปราสาทเข้าพระวิหาร ตามข้อมูลที่พอจะมีอยู่

 

เท่าที่ฟัง เท่าที่อ่าน ข้อมูลส่วนใหญ่มักจะพุ่งเป้าไปที่ตัวแผนที่และสนธิสัญญา

ที่เกี่ยวข้องหลัก ๆ 

 

1.) อนุสัญญาระหว่างสยามกับฝรั่งเศสแก้ไขเพิ่มเติมข้อบทแห่งสนธิสัญญาฉบับ

ลงวันที่ 3 ตุลาคม รัตนโกสินทรศก 112 ( ค.ศ. 1893 ) ว่าด้วยดินแดนกับข้อตกลง

อื่น ๆ ฉบับลงนาม ณ กรุงปารีส เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ รัตนโกสินทรศา 122

( ค.ศ. 1904 )

 

2.) สนธิสัญญาระหว่างสมเด็นพระเจ้าแผ่นดินสยามกับประธานาธิบดีแห่งสาธาณรัฐ

ฝรั่งเศส ฉบับลงนาม ณ กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่  23  มีนาคม รัตนโกสินทรศก

125 ( ค.ศ. 1907 ) กับ พิธีสารว่าด้วยการปักปันเขตแดนแนบท้ายสนธิสัญญา

ฉบับลงวันที่  23  มีนาคม  รัตนโกสินทรศก 125 ( ค.ศ. 1907)

 

3.) แผนที่ที่จัดทำขึ้นตามการปักปันเขตแดนของคณะกรรมการปักปันเขตแดน

ระหว่างสยามกับอินโดจีน ตามอนุสัญญา ค.ศ. 1904 และ สนธิสัญญา ค.ศ 1907

 

รวมไปถึง MOU 43 และแถลงการณ์ร่วม 2551

 

ทั้ง ๆ ที่ยังมีข้อมูล ข้อตกลงอีกหลายฉบับ หลายครั้งที่เข้ามาเกี่ยวข้อง และอาจจะ

เป็นปัจจัยที่ทืำให้กัมพูชาดำเนินงานขึ้นทะเบียน ปราสาทพระวิหาร เป็นมรดกโลก

แต่เพียงฝ่ายเดียว

 

ซึ่งข้อตกลง และหลักการเหล่านี้ ไม่ได้ถูกนำมาประกอบการวิเคราะห์ปมปัญหา

ปราสาทเขาพระวิหารแต่อย่างใด อีกทั้งยังไม่มีการกล่าวถึง เสมือนว่า ข้อตกลง

เหล่านั้น มิได้เกิดขึ้น

 

หรือว่า....ต้องการบิดเบือนข้อมูล ข้อเท็จจริง เพื่อปกปิดจุดประสงค์ที่แท้จริง

ที่ซุกซ้อนอยู่ภายใต้ผลประโยชน์ที่เต็มเม็ดเต็มหน่วยของใครบางคน

 

หรือเพื่อ...สร้างวาทกรรม โยนความผิด ตราบาปให้กับฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง

อย่างที่เคยกระทำ ภายใต้มาตรฐานเดิม ๆ...

 

ก่อนเข้าสู่เนื้อหา...ขอชี้แจงให้ทราบว่า

 

โดยส่วนตัวแล้ว ไม่ได้มีความรู้ความสามารถ ความชำนาญพิเศษ หรือ รอบรู้ใน

ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ ประเด็นปัญหา ปราสาทเขาพระวิหาร แต่อาศัยหาอ่านตาม

หนังสือ และสรุปใจความด้วยความคิดเห็นส่วนตัว...

 

ทำให้ข้อมูลในบางช่วง บางตอน อาจจะไม่ครอบคลุม หรือไม่กระจ่าง 100%

ขออภัยไว้ ณ โอกาสนี้

 

ข้อมูลที่ได้มาทั้งหมด ประมวลมาจาก

 

2bkocy.jpg

 

- หนังสือ คดีเขาพระวิหาร  โดย  ม.ร.ว. เสนีย์  ปราโมช  ฉบับแรกปี 2505

โดย โรงพิมพ์สำนักทำเนียบนายกรัฐมนตรี 

 

- หนังสือรวม สนธิสัญญา ไทย-ฝรั่งเศส  (จำไม่ได้ว่าใครเป็นผู้รวบรวม..

เนื่องจากเป็นเพียงสำเนาเอกสาร)

 

pwofVH.jpg

 

- หนังสือ ไทยแพ้คดี เสียดินแดน ให้เขมร  เรียบเรียงโดย  คุณบุญร่วม เทียมจันทร์

อัยการอาวุโส อดีตอธิบดีอัยการ และคณะ  ฉบับพิมพ์ครั้งที่ ๑  ตุลาคม ๒๕๕๐

 

Ur1oGC.jpg

 

- หนังสือ เอกสาร "ลับที่สุด"  ปราสาทพระวิหาร พ.ศ. ๒๕๐๕ - ๒๕๕๑ โดย

ศ.ดร.บวรศักดิ์  อุวรรณโร   ราชบัณฑิต  ฉบับพิมพ์ครั้งที่ ๒

 

Io7GMb.jpg

 

- หนังสือ  ปฐมเหตุ  ปราสาทเขาพระวิหาร ไทย-กัมพูชา ฉบับสมบูรณ์

โดย คุณประเทือง  โพธิ์ชะออน  ฉบับพิมพ์ครั้งแรก  ตุลาคม  ๒๕๕๓

 

- สยามจดหมายเหตุ ของ สยามบรรณ  ตั้งแต่ชุดที่ 26 ถึงปัจจุบัน 

( ปี 2544 - 2554 )

 

สุดท้ายนี้..เรียนเชิญสมาชิกทุกท่าน แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ข้อมูล ด้วย

ถ้อยคำที่สุภาพ โดยมีผลประโยชน์ของประเทศเป็นพื้นฐาน....

 

ด้วยความเคารพ

 

 

แก้ไข : 18 มค.56

 

เพิ่มเติมรูปประกอบชุดที่ 1


Edited by bird, 18 มกราคม พ.ศ. 2556 - 22:07.


#2 bird

bird

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 4,191 posts

ตอบ 15 มกราคม พ.ศ. 2556 - 13:30

ในหนังสือ  คดีเขาพระวิหาร  ม.ร.ว. เสนีย์  ปราโมช ได้กล่าวไว้ในช่วงหนึงของคำนำ

ความว่า

 

" ดินแดนอันเป็นที่ตั้งปราสาทเข้าพระวิหาร ได้ตกมาเป็นของไทยในทางประวัติศาสตร์

เป็นเวลานานหลายร้อยปี  แม้จะมาว่ากันเมื่อศตวรรษที่ ๑๙ แห่งคริสต์ศักราช  อันเป็น

สมัยที่ฝรั่งเศสเข้ามาล่าเมืองขึ้นในตะวันออกไกล  และไทยต้องเสียเขมรให้แก่ฝรั่งเศส

 

ว่ากันเฉพาะที่ภูเขาดงรักตรงเขาพระวิหารนี้ 

 

ไทยก็เสียไปแต่เพียงดินแดนที่เขมรต่ำเท่านั้น ไม่ได้เสียดินแดนเขาพระวิหารบนไทยสูง

อันเป็นที่ตั้งของตัวปราสาทไปด้วย

 

ทั้งนี้เพราะสนธิสัญญาปี ค.ศ. ๑๙๐๔  ที่ไทยทำกับฝรั่งเศส  กำหนดให้แบ่งพรมแดนที่

ภูเขาดงรักตามเส้นสันปันน้ำ  เมื่อปราสาทเขาพระวิหารตั้งอยู่ภายในเส้นสันปันน้ำทาง

ฝ่ายไทย  ปราสาทจึงยังเป็นของไทยอยู่ดังเดิม...."

 

ข้างต้น เป็นส่วนของคำนำ ที ม.ร.ว. เสนย์  ปราโมช  บันทึกไว้เมื่อวันที่  ๒  กุมภาพันธ์

๒๕๐๕  ก่อนที่จะมีคำพิพากษาศาลโลก ในเดือน มิถุนายน ๒๕๐๕

 

ในขณะนั้นทีมทนายไทย มีความหวังชนะคดีด้วยเหตุผลและหลักฐานที่ใช้ยื่นประกอบ

ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเอกสารมหาชนที่คนทั่วโลกมีสิทธิจะไปขอดูได้

 

แต่ท่้ายที่สุด ภายหลังการต่อสู้ทางศาลประมาณ ๒ ปี ๘ เดือน ในวันที่  ๑๕  มิถุนายน 

พ.ศ. ๒๕๐๕  ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ก็มีคำตัดสิน โดยไทยเป็ยฝ่ายแพ้คดี 

ด้วยมติ 

 

๙  ต่อ ๓  ลงความเห็นว่าปราสาทพระวิหารตั้งอยู่ในอาณาเขตภายในของ

กัมพูชา  ตามคำขอท้ายคำฟ้องของกัมพูชา ข้อ  ๓

 

- ๙  ต่อ ๓  ลงความเห็นว่า ประเทศไทยมีพันธะต้องถอนกำลังเจ้าหน้าที่ ออกจาก

บริเวณปราสาทพระวิหาร ตามคำขอท้ายฟ้องของกัมพูชา ข้อ ๔

 

๗ ต่อ ๕  ลงความเห็นว่า ประเทศไทยจะต้องคืนบรรดาวัตถุที่ได้โยกย้ายไปจาก

ปราสาทพระวิหารให้กัมพูชา ตามคำขอท้ายฟ้องของกัมพูชา ข้อ ๕

 

แล้วคำขอท้ายฟ้องของกัมพูชาข้อ ๑  และ ข้อ ๒ ....คืออะไร.. 


Edited by bird, 18 มกราคม พ.ศ. 2556 - 22:11.


#3 bird

bird

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 4,191 posts

ตอบ 15 มกราคม พ.ศ. 2556 - 14:50

คำขอท้ายฟ้องของกัมพูชา..

 

ก่อนจะลงรายละเอียดต่อไป ลองย้อนกลับไปดู คำขอท้ายฟ้องของกัมพูชาทั้ง  ๕  ข้อ

และบางส่วนของคำพิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ กรณีพิพาทเขาพระวิหาร

เมื่อวันที่  ๑๕  มิถุนายน  ๒๕๐๕  ความว่า

 

คำขอท้ายฟ้อง

 

๑.)  พิพากษาและชี้ขาดว่า แผนที่ตอนเขาดงรัก (ภาคผนวก ๑ ท้ายคำฟ้อง) นั้นได้ถูก

จัดทำและพิมพ์ขึ้นเผยแพร่ในนามของคณะกรรมการปักปันเขตแดนผสมที่้ตั้งขึ้นโดย

สนธิสัญญาลงวันที่  ๑๓  กุมภาพันธ์  ค.ศ. ๑๙๐๔  และว่าแผนที่นี้แสดงรายละเอียด

ตรงตามมติของคณะกรรมการดังกล่าว โดยเหตุผลจากความจริงข้อนี้ และด้วยความ

ตกลงและการปฏิบัติต่อมาของภาคีในสัญญา แผนที่นี้มีลักษณะเป็นสนธสัญญาอย่าง

หนึ่ง

 

๒.)  พิพากษาและชี้ขาดว่า  เส้นเขตแดนระหว่างกัมพูชากับไทยในเขตพิพาทกัน

ในบริเวณปราสาทพระวิหารเป็นเส้นเขตแดนที่ลากไว้บนแผนที่ของคณะกรรมการ

ปักปันเขตแดนระหว่างอินโดจีนกับสยาม  (ภาคผนวก ๑ ต่อท้ายคำฟ้อง)

 

ในส่วนคำขอท้ายฟ้อง  ๒ ข้อนี้ ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศได้มีคำพิพากษา

สรุปพอสังเขป ความว่า

 

" คำแถลงสรุปข้อที่หนึ่ง และข้อที่สอง ของกัมพูชาที่ขอให้ศาสพิพากษาชี้ขาดใน

เรื่องสภาพทางกฎหมายของแผนที่ภาคผนวก ๑ และในเรื่องเส้นเขตแดนใน

อาณาบริเวณที่พิพาท  จะรับฟังได้ก็แต่เพียงในฐานที่เป็นการแสดงเหตุผล และ

มิใช่เป็นข้อเรียกร้องที่จะต้องกล่าวถึงในบทปฏิบัติการของคำพิพากษา

 

ในทางตรงกันข้าม ศาลเห็นว่า ประเทศไทยนั้น หลังจากที่ได้แถลงข้อเรียกร้อง

ของตนเกี่ยวกับอธิปไตยเหนือพระวิหารแล้ว  ได้จำกัดการต่อสู้คดีตามคำแถลง

สรุปของตนในตอนจบกระบวนพิจารณาภาควาจาอยู่แต่เพียง การโต้แย้งและ

ปฏิเสธเพื่อลบล้างข้อต่อสู้ของคู่ความฝ่ายตรงข้ามเท่านั้น โดยปล่อยให้เป็น

หน้าที่ของศาล ที่จะเลือกหาเหตุผลที่ศาลเห็นว่าเหมาะสมซึ่งคำพิพากษา 

อาศัยเป็นมูลฐาน "

 

แปลความได้ว่า....คำขอท้ายฟ้องที่ ๑ และ ๒  ศาลรับฟังเพียงใช้เป็นเหตุผล

ประกอบคำฟ้อง และไม่ใช่ข้อเรียกร้องที่ต้องคำพิพากษา...สรุปคือ...ยกฟ้อง

 

ดังนี้...แผนที่ที่ กัมพูชาแนบท้ายคำฟ้อง ไม่ถือเป็นเขตแดนโดยหลักสากล

และประเทศไทยไม่จำเป็นต้องรับรอง และ ถือปฎิบัติ (สำหรับรูปแผนทีนั้น

ละไว้ก่อน)

 

๓.)  พิพากษาและชี้ขาดว่า ปราสาทพระวิหารตั้งอยู่ในดินแดนที่อยู่ภายใต้

อำนาจอธิปไตยของราชอาณาจักรกัมพูชา

 

๔.)  พิพากษาและชี้ขาดว่า ราชอาณาจักรไทยมีพันธะกรณีที่จะต้องถอน

หน่วยทหารที่ได้ส่งไปตั้งประจำ ณ บริเวณสิ่งหักพังของปราสาทพระวิหาร

ภายในดินแดนกัมพูชาตั้งแต่ ค.ศ. ๑๙๕๔

 

๕.)  พิพากษาและชี้ขาดว่า สิ่งปฎิมากรรม แผ่นศิลา ส่วนปรักหักพังของ

อนุสาวรีย์ รูปปั้นหินทราย และเครื่องปั้งดินเผาโบราณ ซึ่งได้ถูกโยกย้ายไป

จากปราสาทพระวิหารโดยเจ้าหน้าที่ไทย นับแต่ ค.ศ. ๑๙๕๔ นั้น รัฐบาล

ไทยจะต้องส่งคืนให้แก่รัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา

 

คำข้อท้ายฟ้องทั้ง ๓ ข้อ ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ได้มีคำพิพากษา

สรุปพอสังเขป ความว่า

 

" ในการพิจารณาข้อเรียกร้อง ซึ่งได้เสนอต่อศาลโดยกัมพูชา และไทย

ตามลำดับเกี่ยวกับอำนาจอธิปไตยเหนือพระวิหารอันเป็นข้อพิพาทระหว่าง

รัฐทั้งสอง ศาลยังพิพากษามีความเห็นอันเป็นคุณแก่กัมพูชาตามคำแถลง

สรุปข้อที่สาม นอกจากนั้น ศาลยังพิพากษาเป็นคุณแก่กัมพูชาตามคำแถลง

สรุปข้อที่สี่  เกี่ยวกับการถอนหน่วยทหารออกไปด้วย

 

ในส่วนที่เกี่ยวกับคำแถลงสรุข้อที่ห้าของกัมพูชาเกี่ยวกับการคืนสิ่งของ

ศาลพิจารณาเห็นว่าคำขอในขัอนี้มิได้เป็นการขายข้อเรียกร้องเดิมของ

กัมพูชา หากแต่ปรากฏอยู่โดยปริยายและเป็นผลสืบเนื่องมาจากข้อเรียก

ร้องเกี่ยวกับอำนาจอธิปไตยเช่นเดียวกับคำแถลงสรุปข้อที่สี่

 

ในอีกทางหนึ่งไม่มีพยานหลักฐานแน่ชัดที่ได้ยื่นต่อศาลแสดงให้เห็นอย่าง

แน่นอนว่า วัตถุชนิดที่กล่าวไว้ในคำแถลงสรุปนี้ประเทศไทยได้เคลื่อนย้าย

ไปจากปราสาทพระวิหารหรือบริเวณปราสาทนับแต่ประเทศไทยได้เข้า

ครอบครองเมื่อ ค.ศ. ๑๙๕๔  เป็นความจริงที่ประเทศไทยก็มิได้ปฏิเสธ

มากมายนักในข้อกล่าวหานี้  นอกจากจะอ้างว่าคำขอนี้รับฟังไม่ได้

 

ถึงอย่างไรก็ดี ในพฤติการณ์เช่นนี้ การมองคืนสิ่งของจึงเป็นปัญหาที่ศาล

จะวินิจฉัยได้แต่เพียงในหลักการให้เป็นไปตามคำขอของกัมพูชาโดยไม่

กล่าวถึงวัตถุสิ่งใดโดยเจาะจง

 

ด้วยเหตุผลดังกล่าวแล้วนี้ 

 

ศาล 

 

โดยคะแนนเสียงเก้าต่อสาม

ลงความเห็นว่าปราสาทพระวิหารตั้งอยู่ในอาณาเขตภายในอธิปไตยของ

กัมพูชา

 

โดยเหตุนี้ จึงพิพากษา โดยคะแนนเสียงเก้าต่อสาม

ว่าประเทศไทยมีพันธะที่จะต้องถอนกำลังทหารหรือตำรวจ ผู้เฝ้ารักษา

หรือผู้ดูแลซึ่งประเทศไทยส่งไปประจำอยู่ที่ปราสาทพระวิหาร หรือใน

บริเวณใกล้เคียงบนอาณาเขตของกัมพูชา

 

โดยคะแนนเสียงเจ็ดต่อห้า

ว่าประเทศไทยมีพันธะที่จะต้องคืนให้แก่ประเทศกัมพูชา บรรดาวัตถุ

ชนดที่ได้ระบุไว้ในคำแถลงสรุปข้อห้าของกัมพูชา ซึ่งเจ้าหน้าที่ไทย

อาจจะได้โยกย้ายไปจากปราสาทหรือบริเวณพระวิหาร นับแต่วันที่

ประเทศไทยเข้าครอบครองพระวิหารเมื่อ ค.ศ. ๑๙๕๔ "

 

นั้นคือความทรงจำที่เจ็บปวดของคนไทยทั้งประเทศในขณะนั้น

แต่รัฐบาลไทย ก็มิได้ปล่อยให้คำพิพากษาผ่านเลยไปโดยมิได้

โต้แย้งใด

 

ในวันที่  ๑๓  กรกฎาคม  ๒๕๐๕  รัฐบาลไทยโดย ดร.ถนัด  คอมันตร์

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้มีหนังสือไปยังเลขาธิการ

สหประชาชาติ เพื่อประท้วงคำพิพากษาของศาลโลก...


Edited by bird, 18 มกราคม พ.ศ. 2556 - 22:17.


#4 bird

bird

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 4,191 posts

ตอบ 15 มกราคม พ.ศ. 2556 - 14:52

แถลงการณ์คำประท้วงของรัฐบาลไทย

 

ภายหลังศาลยุติธรรมระหว่างประเทศมีคำพิพากษาให้อำนาจอธิปไตยเหนือ

ปราสาทพระวิหารเป็นของเขมร..

 

ขอย้ำว่า...ศาลพิพากษาเฉพาะตัวปราสาทพระวิหารเท่านั้น ไม่ได้เกี่ยวข้อง

กับพื้นที่โดยรอบ หรือการรับรองเขตแดนตามแผนที่ที่กัมพูชากล่าวอ้าง

 

คณะรัฐมนตรีในขณะนั้นมีมติเมื่อวันที่  ๓  กรกฎาคม  ๒๕๐๕ ให้ประกาศจุดยืน

ของประเทศไทยว่า " ไทยไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยของศาลฯ " แต่ในฐานะที่

ประเทศไทยเป็นสมาชิกของสหประชาชาติ จึงจำเป็นต้องปฏิบัติตามพันธะ

ข้อ  ๙๔ แห่งกฎบัตรสหประชาชาติ  กล่าวคือ

 

" กฎบัตรสหประชาชาติ  (เผยแพร่โดยกระทรวงการต่างประเทศ ตุลาคม  ๒๕๓๗)

ข้อ  ๙๔

 

1.)  สมาชิกแต่ละประเทศของสหประชาชาติ รับที่จะอนุวัตตามคำวินิจฉัยของ

ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศในคดีใด ๆ ที่ตนตกเป็นฝ่ายหนึ่ง

 

2.)  ถ้าผู้เป็นฝ่ายในคดีใด ไม่สามารถปฏิบัติตามข้อผูกพันซึ่งตกอยู่แก่ตนตาม

คำพิพากษาของศาล ผู้เป็นฝ่ายอีกฝ่ายหนึ่งอาจร้องเรียนไปยังคณะมนตรี

ความมั่นคง ซึ่งถ้าเห็นว่าจำเป็นก็อาจทำคำแนะนำ หรือวินิจฉัยมาตรการที่จะ

ดำเนินเพื่อให้เกิดผลตามคำพิพากษา "

 

จอมพลสฤษดิ์  ธนะรัชย์ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นได้กล่าวปราศัยต่อประชาชน

คนไทย ประกาศจุดยืนไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยของศาลฯ ในวันที่  ๔  กรกฎาคม

๒๕๐๕ ใจความสำคัญพอสรุปได้

 

" ...แม้ว่ารัฐบาลและประชาชนขาวไทย จะได้มีความรู้สึกสลดใจและขมขื่น

เพียงใด  ในฐานะที่ประเทศไทยเป็นสามชิกของสหประชาชาติ ก็จะต้องปฏิบัติ

ตามพันธกรณีในกฎบัตรสหประชาชาติ กล่าวคือ จำต้องยอมให้กัมพูชา มีอำนาจ

อธิปไตยเหนือพระวิหาร ตามพันธกรณีแห่งสหประชาชาติ

 

แต่รัฐบาลขอตั้งข้อประท้วง และขอสงวนสิทธิ์อันชอบธรรมของประเทศไทย

ในเรื่องนี้ไว้  เพื่อสงวนสิทธิ์ที่จะดำเนินการทางกฎหมายที่จำเป็น  ซึ่งอาจมีขึ้น

ในภายหน้าให้ได้สิทธิ์นี้กลับคืนมาในโอกาสอันควร.."

 

"...พี่น้องชาวไทยที่รัก ในวันหนึ่งข้างหน้า เราจะต้องเอาปราสาทพระวิหาร

กลับคืนมาเป็นของชาติไทยให้จงได้.."

 

ต่อมาในวันที่  ๖  กรกฎาคม  ๒๕๐๕  ดร.ถนัด  คอมันตร์  ลงนามในหนังสือ

ถึงเลขาธิการสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก ประกาศจุดยืนของรัฐบาลไทย

ว่า ไม่เห็นด้วยและขอคัดค้านคำพิพากษา ซึ่งรัฐบาลไทยมองว่าขัดต่อสนธิ

สัญญาสยาม - ฝรั่งเศส ปี ค.ศ. ๑๙๐๔ และ ฉบับปี ค.ศ. ๑๙๐๗  แต่ไทย

จะปฏิบัติตามคำพิพาษในฐานะที่เป็นสมาชิกของสหประชาชาติ

 

อีกทั้ง ประเทศไทยยังได้ตั้งข้อสงวนเกี่ยวกับสิทธิที่มีอยู่ และจะพึงมีใน

อนาคต ในการครอบครองปราสาทพระวิหาร ตามกระบวนการที่ชอบด้วย

กฎหมาย  ซึ่งข้อสงวนดังกล่าวนี้จะมีผลตลอดไป โดยไม่จำกัดเวลา

 

ข้อสงวนของรัฐบาลไทยดังกล่าว ได้ส่งเวียนให้ประเทศสมาชิกของ

สหประชาชาติรับทราบทั่วกัน

 

กล่าวโดยสรุป..

 

คำพิพากษาศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ มีมติให้กัมพูชามีอำนาจอธิปไตย

เหนือตัวปราสาทพระวิหารเท่านั้น ไม่ได้มีการรับรองเส้นเขตแดน หรือรับรอง

แผนที่ที่กัมพูชาแนบท้ายคำฟ้อง แต่ประการใด

 

และ รัฐบาลไทยในขณะนั้นได้ประกาศจุดยืนไม่เห็นด้วยกับคำพิพากษา แต่ใน

ฐานะที่ไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติจำเป็นต้องปฏิบัติตามคำพิพากษา 

 

รัฐบาลไทยได้ตั้งข้อสงวนที่เกี่ยวกับสิทธิอันพึงมีในขณะนั้นและจะพึงมีใน

อนาคต ในการครอบครองปราสาทพระวิหาร ตามกระบวนการของกฎหมาย

โดยข้อสงวนนี้ ไม่จำกัดเวลา...

 

ขอเน้นย้ำ....ข้อสงวนนี้..ไม่จำกัดเวลา...


Edited by bird, 18 มกราคม พ.ศ. 2556 - 22:22.


#5 bird

bird

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 4,191 posts

ตอบ 15 มกราคม พ.ศ. 2556 - 20:32

สนธิสัญญาที่เกี่ยวข้อง

 

 

คราวนี้ลองมาดูเนื้อหาที่ปรากฎในสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ที่เกี่ยวข้องทั้ง ๒ ฉบับ

 

๑.)  อนุสัญญาระหว่างสยามกับฝรั่งเศส แก้ไขเพิ่มเติมข้อบทแห่งสนธิสัญญาฉบับ

ลงวันที่  ๓  ตุลาคม  รัตนโกสินทรศก  ๑๑๒ (ปี ค.ศ. ๑๘๙๓)  ว่าด้วยดินแดนกับ

ข้อตกลงอื่น ๆ ฉบับลงนาม ณ กรุงปารีส ลงวันที่  ๑๓  กุมภาพันธ์  รัตนโกสินทรศก

๑๒๒  (ฉบับปี ค.ศ.๑๙๐๔)

 

มีข้อสัญญาร่วมกันทั้งหมด  ๑๖ ข้อ ในที่นี้จะขอกล่าวถึงเพียง ข้อ ๑ และ ข้อ ๒

ซึงเป็นข้อกำหนดเกี่ยวกับเขตแดนบริเวณภูเขาพนมดงรัก หรือที่ตั้งปราสาทพระวิหาร

(ถอดความตามหนังสือสัญญาฯ )

 

ข้อ  ๑ 

เขตร์แดนในระหว่างกรุงสยามกับกรุงกัมพูชานั้น ตั้งต้นแต่ปากคลองสดุงรอลูออส

ข้างฝั่งซ้าย ทะเลสาป เปนเส้นเขตร์แดนตรงทิศตวันออก ไปจนบรรจบถึงคลอง

กะพงจาม  ตั้งแต่นี้ต่อไปเขตร์แดนเปนเส้นตรงทิศเหนือขึ้นไปจนบรรจบถึงภูเขา

พนมดงรัก ต่อนั้นไปเขตร์แดนเนื่องไปตามแนวยอดภูเขาปันน้ำในระหว่างดินแดน

น้ำตกน้ำแสนแลดินแดนน้ำตกแม่น้ำโขงฝ่ายหนึ่ง กับดินแดนน้ำตกน้ำมูนอีกฝ่ายหนี่ง

จนบรรจบถึงภูเขาผาด่าง แล้วต่อเนื่องไปข้างทิศตะวันออกตามแนวยอดภูเขานี้

จนบรรจบถึงแม่โขง ตั้งแต่ที่บรรจบนี้ขึ้นไปแม่โขงเป็นเขตร์แดนของกรุงสยาม ตาม

ความข้อ ๑ ในหนังสือสัญญาใหญ่ ณ วันที่  ๓  ตุลาคม  รัตนโกสินทรศก  ๑๑๒

 

ข้อ  ๒

ฝ่ายเขตร์แดนในระหว่างเมืองหลวงพระบางข้างฝั่งขวาแม่น้ำโขงแลเมืองพิไชยกับ

เมื่องน่านนั้น เขตร์แดนตั้งต้นแต่ปากน้ำเฮียงที่แยกจากแม่น้ำโขงเนื่องไปตามกลาง

ลำน้ำแม่เฮียง จนถึงแยกปากน้ำตาง เลยขึ้นไปตามลำน้ำตางจนบรรจบยอดภูเขา

ปันน้ำ ในระหว่างดินแดนน้ำตกแม่โขง แลดินแดนน้ำตกแม่น้ำเจ้าพระยา ตรงที่

แห่งหนึ่งที่ภูเขาแดนดิน  ตั้งแต่ที่นี้เขตร์แดนต่อเนื่องขึ้นไปทางทิศเหนือตามแนว

ยอดเขาปันน้ำ ในระหว่างดินแดนน้ำตกแม่โขง แลดินแดนน้ำตกแม่น้ำเจ้าพระยา

จนบรรจบถึงปลายน้ำควบแล้ว เขตร์ต่อแดนเนื่องไปตามลำน้ำควบจนบรรจบกับ

แม่น้ำโขง

 

หากถอดความตามหนังสือ คดีเขาพระวิหาร (ม.ร.ว.เสนย์  ปราโมช, พ.ศ. ๒๕๐๕)

ซึ่งได้กล่าวไว้ในส่วนของมูลกรณีพิพาท ข้อที่ ๔  ความว่า

 

" สนธิสัญญาฉบับแรก ซึ่งเป้นบทบังคับสำหรับกรณีพิพาทนี้ได้แก่  สนธิสัญญา

ลงวันที่  ๑๓  กุมภาพันธ์  ค.ศ. ๑๙๐๔ (เดอแกล็ค เล่ม ๒๒ หน้า ๔๕๑ เดอ มาตัง

ชุดสอง เล่ม ๓๒ หน้า ๑๓๐)  ตามข้อ ๑

 

พรมแดนระหว่างสยามกับกัมพูชาเริ่มแต่ฝั่งซ้ายของทะเลสาบที่ปากแม่น้ำสดุงรอ

ลูออส เดินตามเส้นขนานไปทางตะวันออกจนถึงแม่น้ำ เปร็ค กำปงเทียม  ต่อจาก

จุดบรรจบนี้เส้นพรมแดนหักขึ้นไปทางเหนือ และเดินไปตามเส้นเมริเดียนจนถึง

เทือกเขาพนมดงรัก  จากนั้น เส้นพรมแดนเดินไปตามสันปันน้ำระหว่างลุ่มแม่น้ำ

แสนและแม่น้ำโขงทางหนึ่ง

 

กับลุ่มแม่น้ำมูลอีกทางหนึ่ง ไปจนบรรจบเทือกเขาพนมผาด่าง  เดินตามสันเขาไป

ทางทิศตะวันออกจนถึงแม่น้ำโขง  เหนือน้ำขึ้นไปจากจุดนี้  แม่น้ำโขงคงเป็นเส้น

อาณาเขตของราชอาณาจักรสยามต่อไปตามข้อ ๑ แห่งสนธิสัญญาลงวันที่  ๓

ตุลาคม  ค.ศ. ๑๘๙๓


Edited by bird, 18 มกราคม พ.ศ. 2556 - 22:28.


#6 bird

bird

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 4,191 posts

ตอบ 15 มกราคม พ.ศ. 2556 - 23:11

สนธิสัญญาที่เกี่ยวข้อง (ต่อ)

 

๒.)  สนธิสัญญาระกหว่างสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินสยามกับประธานาธิบดีแห่ง

สาธารณรัฐฝรั่งเศส ณ กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่  ๒๓  มีนาคม รัตนโกสินทรศก

๑๒๕  (ฉบับปี ค.ศ. ๑๙๐๗) กับพิธีสารว่าด้วยการปักปันเขตแดนแนบท้าย

สัญญาฉบับลงวันที่  ๒๓  มีนาคม  รัตนโกสินทรศก ๑๒๕

 

ในส่วนของหนังสือสัญญามีรายละเอียดทั้งสิ้น  ๘ ข้อ ขออนุญาตที่จะไม่กล่าวถึง

เพราะส่วนสำคัญของเนื้อหาอยู่ในข้อ ๑ ของสัญญาว่าด้วยปักปันเขตร์แดนแนบ

ท้ายสัญญา ซึ่งกล่าวถึงการปักปันเขตแดน ความว่า

 

สัญญาว่าด้วยปักปันเขตแดนติดท้ายหนังสือสัญญาลงวันที  ๒๓  มีนาคม

รัตสโกสินทรศก  ๑๒๕

 

ข้อ  ๑

เขตรแดนในระหว่างกรุงสยามกับอินโดจินของฝรั่งเศสนั้น  ตั้งแต่ชายทเลที่ตรงข้าม

จากยอดเขาสูงที่สุดของเกาะกูตเปนหลักแล้ว  ตั้งแต่นี้ต่อไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ

ถึงสันเขาพนมกระวาน แลเปนที่เข้าใจกันชัดเจนด้วยว่า  แม้จะมีเหตุการณ์อย่างไรก็ดี

ฟากไหล่เขาเหล่านี้ข้างทิศตะวันออก รวมทั้งลุ่มน้ำคลองเกาะปอด้วยนั้นต้องคงเปน

ดินแดนฝ่ายอินโดจินของฝรั่งเศสแล้ว 

 

เขตรแดนต่อไปตามสันเขาพนมกระวานทางทิศเหนือจนถึงเขาพนมทมซึ่งเปนเขาใหญ่

บันน้ำทั้งหลายระหว่างลำน้ำที่ไหลตกอย่างสยามฝ่ายหนึ่ง กับลำน้ำไหลตกทเลสาบอีก

ฝ่ายหนึ่ง ตั้งแต่เขาพนมทมนี้ เขตรแดนไปตามทิศพายัพก่อนแล้วจึงไปตามทิศเหนือตาม

เขตรแดนซึ่งเป็นอยู่ในประจุบันนี้ระหว่างเมืองพระตะบองฝ่ายหนึ่ง กับเมืองจันทบุรี

แลเมืองตราษอีกฝ่ายหนึ่ง  

 

แล้วต่อไปจนถึงเขตรแดนนี้ข้ามลำน้ำใสตั้งแต่นี้ต่อไปตามลำน้ำนี้จนถึงปากที่ต่อกับ

ลำน้ำศรีโสภณ แลตามลำน้ำศรีโสภณต่อไปจนถึงที่แห่งหนึ่งในลำน้ำนี้  ประมาณสิบ

กิโลเมตร์ฤาสองร้อยห้าสิบเส้นใต้เมืองอารัญ  ตั้งแต่ที่นี้ตีเส้นตรงไปจนถึงเขาแดงแรก

ตรงระหว่างกลางทางช่องเขาทั้ง ๒ ที่เรียกว่า ช่องตะโก กับ ช่องสเมด

 

แต่ได้เปนที่เข้ากันว่าเส้นเขตรแดนที่กล่าวมาที่สุดนี้จะต้องปักปักกันให้มีทางเดินตรง

ในระหว่างเมืองอารัญกับช่องตะโกคงไว้ในเขตรกรุงสยาม  ตั้งแต่ที่เขาแดงแรกที่กล่าว

มาข้างต้นนั้น  เขตรแดนต่อไปตามเขาบันน้ำที่ตกทเลสาบ แลแม่น้ำโขงฝ่ายหนึ่ง กับที่

ตกน้ำมูนอีกฝ่ายหนึ่ง  แล้วต่อไปจนตกลำแม่น้ำโขงใต้ปากมูนตรงปากห้วยดอนตาม

เส้นเขตรแดนที่กรรมการปักปันแดนครั้งก่อนได้ตกลงกันแล้ว เมื่อวันที่  ๑๘  มกราคม 

รัตนโกสินทรศก  ๑๒๕ (ค.ศ. ๑๙๐๗ )

 

ได้เขียนเส้นพรหมแดนประเมินไว้อย่างหนึ่งในแผนที่ตามความที่กล่าวในข้อนี้ติดเนื่อง

ไว้ในสัญญานี้ด้วย “

 

ถอดความตามหนังสือ คดีเขาพระวิหาร (ม.ร.ว.เสนีย์  ปราโมช, พ.ศ. ๒๕๐๕)

ได้อธิบายไว้ในส่วนของ มูลกรณีพิพาท  ข้อ ๕ และ ข้อ ๖  ความว่า

 

๕.)  การปักปันเขตแดนได้กระทำกันตั้งแต่ปี ค.ศ. ๑๙๐๔  จนถึงปี ค.ศ. ๑๙๐๗

เท่าที่เกี่ยวกับการปักปันอาณาเขตบนเทือกเขาดงรัก  กรรมการปักปันได้กำหนด

แนวพรมแดนเป็นยุติในระหว่างปี  ๑๙๐๗  ปราสาทเปรี้ยะวิเฮียร์ ที่เส้นลองถิจูด

ตะวันออก ๑๐๒°-๒๐’  กับเส้นแลถิจูดเหนือ  ๑๔°-๒๕’  ตั้งอยู่ทางใต้เส้นเขตแดนนี้

(เอกสารหมาย ๑ แผนที่เขตแดนระหว่างอินโดจีนกับสยามของกรรมการปักปันแผ่น

ภูเขาดงรัก  มาตราส่วน ๑ / ๒๐๐,๐๐๐  นายร้อยเอกแกเลย์ และนายร้อยเอกอุ่ม

(ชาวเขมร มียศเป็นนายร้อยเอกในกองทหารฝรั่งเศส)   กรรมการปักปันเป็นผู้ทำขึ้น

ณ ท้องที่)

 

๖.)  เส้นเขตแดนดังกล่าวนั้น ต่อมายังได้มีการยืนยันไว้ในอนุสัญญาต่อท้ายสนธิสัญญา

ฉบับใหม่  ซึ่งฝรั่งเศสและสยามได้เซ็นกันเมื่อวันที่  ๒๓  มีนาคม  ๑๙๐๗ (เดอมาตัง

ชุดสาม  เล่ม ๒ หน้า ๓๘)  ตามคำปรารภ อนุสัญญาต่อท้ายสนธิสัญญาเกี่ยวกับการ

ปักปันเขตแดนได้ทำไว้ต่อกัน “ เมื่อไม่ให้มีปัญหายุ่งยากเกี่ยวกับการปักปันเขตแดน

 

มาตรา ๑ กล่าวถึงพรมแดนบนเทือกภูเขาดงรักไว้ดังต่อไปนี้

 

จากจุดบนภูเขาดงรักดังกล่าวข้างต้น  เส้นเขตแดนเดินไปตามสันปันน้ำระหว่างที่

ลุ่มทะเลสาบและแม่น้ำโขงทางหนึ่ง กับที่ลุ่มแม่น้ำมูลอีกทางหนึ่ง  และเดินต่อไป

จนบรรจบแม่น้ำโขง ณ ปากมูลที่ปากห้วยเดื่อ ตามเส้นซึ่งกรรมการปักปันชุดก่อน

ได้ตกลงกันเมื่อวันที่  ๑๘  มกราคม  ๑๙๐๗

 

สรุปใจความได้ว่า

 

เส้นเขตแดนที่กล่าวถึงในสนธิสัญญาทั้ง  ๒ ฉบับต่างยึดตามเส้นปันน้ำทั้งสิ้น

และประเทศไทยได้ยึดถือมาโดยตลอด ซึ่งกัมพูชาก็รับรู้มาโดยตลอด และไม่ได้มี

การทักท้วงแต่ประการใด...

 

คล้อยหลังไปเกือบ 40 ปี....ใครบางคน บางกลุ่ม กับข้อตกลงที่มีจุดประสงค์

แอบแฝงซ่อนเร้น กำลังทำให้ชายแดนระอุขึ้นมา...เพื่ออะไร.เป็นคำถามที่ต้อง

ค้นหาคำตอบต่อไป....

 

หมายเหตุ..

ภาษาเขียนในสัญญาข้างต้นเป็นภาษาเขียนในปี 2450 บางคำอาจจะทำให้

สับสน..


Edited by bird, 18 มกราคม พ.ศ. 2556 - 22:40.


#7 bird

bird

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 4,191 posts

ตอบ 15 มกราคม พ.ศ. 2556 - 23:24

ปราสาทเขาพระวิหาร...กับกาลเวลา

 

ต่อมาในวันที่  ๑๐  กรกฎาคม  ๒๕๐๕  รัฐบาลไทยได้ปฏิบัติตามคำพิพากษา

ศาลยุติธรรมระหว่างเทศตามข้อเรียกร้องท้ายฟ้อง ข้อที่ ๓, ข้อ ๔ และ ข้อ ๕

ตามที่ได้นำเสนอแล้วข้างต้น..

 

หลังจากนั้น...ในภาวะสงครามภายในของกัมพูชาเอง ทำให้ ปราสาทพระวิหาร

เงียบหายไปจากความทรงจำ...ตกอยู่ในสภาพรกร้าง นับจากนั้นจนกระทั้งใน

ปี พ.ศ. ๒๕๓๒

 

รัฐบาลของ พลเอกชาติชาย  ชุณหะวัณ (ขออภัยต่อดวงวิญญาณของท่าน)

จัดประชุมคณะรัฐมนตรีครั้งที่  ๒  ในวันที่  ๘  เมษายน  ๒๕๓๒ ขึ้นที่จังหวัด

ขอนแก่น

 

การประชุมครั้งนี้ สส จากภาคตะวันออกเฉียงเหนือบางท่าน ได้เสนอให้ ครม

ขออนุญาตกัมพูชาให้นักท่องเที่ยวเข้าชมปราสาทพระวิหาร เพื่อการส่งเสิรม

การท่องเที่ยวภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่ง ครม มีมติเห็นชอบในข้อเสนอ

ในวันที่  ๒๗  มิถุนายน  ๒๕๓๒

 

จากรายงานของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ที่แจ้งต่อ ครม ความว่า

 

(๑)  รัฐบาลกัมพูชาประชาธิปไตยเห็นด้วย และพร้อมที่จะเปิดปราสาท

เขาพระวิหารให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว

 

(๒)  ความปลอดภัย ฝ่ายทหารไทยและประเทศกัมพูชาประชาธิปไตจะได้

ร่วมกันกวาดล้างทุ่นระเบิด และวัตถุระเบิดที่ยังตกค้าง

 

(๓)  ร่วมพิจารณาจัดวางกฎระเบียการนำชมปราสาทหินเขาพระวิหาร

 

(๔)  หากมีการเปิดปราสาทหินเขาพระวิหารอย่างเป็นทางการแล้ว

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยจะดำเนินการจัดทำนำเที่ยวเป็นปฐมฤกษ์

และจะให้บริษัทนำเที่ยวเอกชนดำเนินการต่อไป

 

แต่บทสรุป ก็มิอาจเป็นไปได้ อันเป็นผลมาจากปัญหาขัดแย้งทางการเมือง

ของกัมพูชาเอง (เขมร ๔ ฝ่าย)  เรื่องได้เงียบหายไปพร้อมๆ กับกาลเวลา


Edited by bird, 18 มกราคม พ.ศ. 2556 - 22:43.


#8 Tam-mic-ra.

Tam-mic-ra.

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 2,948 posts

ตอบ 15 มกราคม พ.ศ. 2556 - 23:54

แนะนำคุณ bied อ่านอันนี้ประกอบไปด้วยครับ สั้นๆแต่ได้ใจความ แบบ time line  ด้วย  

+  น่าเชื่อถือดีด้วยครับ

 

http://heritage.mod....e/prawihan2.htm


"คนพาลไร้สติ มักสร้างเรื่องและหลักฐานเท็จโกหก เพื่อคอยใส่ร้ายอีกฝ่ายหนึ่งเสมอ" :unsure:

 

นาย ''Starเก๋ง'' ฟันธง!  รถเก๋งขับมายิงเสื้อแดง :lol:      http://webboard.seri...แค/#entry842224   ;      http://webboard.seri...-25#entry408954


#9 bird

bird

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 4,191 posts

ตอบ 16 มกราคม พ.ศ. 2556 - 00:33

เปิดเขาพระวิหาร...

 

ภายหลังกัมพูชาปิดเขาพระวิหาร ใน พ.ศ. ๒๕๑๘ เนื่องจากเขมรแดงเข้ายึด

อำนาจการปกครองประเทศ เกิดความวุ่นวายขึ้นภายในประเทศ  จวบจนกระทั่ง

วันที่  ๙  มกราคม  ๒๕๓๕  เขาพระวิหารได้เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าเยี่ยมชม

อีกครั้ง แต่เป็นเพียงช่วงเวลาสั้น ๆ รวมระยะเวลา 30 ปี นับจากวันที่ศาลโลก

ตัดสินให้กัมพูชามีอธิปไตยเหนือปราสาทพระวิหาร

 

ต่อมาในราวเดือน กรกฎาคม  ๒๕๓๖  เขาพระวิหารปิดลงอีกครั้ง เนื่องจาก

กลุ่มเขมรแดงเข้ายึดครองพื้นที่

 

ในวันที่  ๒๙  มีนาคม ๒๕๓๘ มีการลงนามความตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้าน

การท่องเที่ยว ร่วมกันระหว่างไทย-กัมพูชา อันเป็นผลมาจากการประชุมคณะ

กรรมาธิการร่วม ว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคี (ลงนาม ๑ มกราคม ๒๕๓๗)

ในช่วง พ.ศ. ๒๕๓๘ – ๒๕๔๓  มีการลงนามความตกลงร่วมกันอีกหลายครั้ง

เช่น ในวันที่ ๒๔  กรกฎาคม ๒๕๔๑  ได้มีการเจรจาตกลงร่วมทดลองเปิดจุด

ฝ่านแดน ณ เขาพระวิหาร โดยอนุญาตให้นักท่องเที่ยวเข้าได้ในช่วงเวลา

๘.๐๐ – ๑๖.๐๐ น.

 

วันที่  ๑ สิงหาคม  ๒๕๔๑  ได้มีการทดลองเปิดเขาพระวิหารเป็นแหล่งท่อง

เที่ยว  แน่นอนสิงที่ตามมาก็คือ  ปัญหา ขยะมูลฝอย น้ำเสียจากร้านอาหาร

ที่ไหลลงสู่แม่น้ำ ระบบสุขอนามัยที่ขาดระบบบำบัดน้ำเสยส่งผลกระทบต่อ

สภาพแวดล้อม ดินแดนศักดิ์สิทธิ์ สวยงามกำลังเสื่อมโทรมลง ประชาชน

ชาวกัมพูชา และชาวไทย เริ่มทะยอยปลูกสร้างที่พัก ร้านค้า ชุมชนย่อย ๆ

กำลังเริ่มก่อตัวขึ้น...เหมือนแหล่งท่องเที่ยวอื่น ๆ เช่น เมืองโบราณอยุธยา

หรือ สุโขทัย ที่จะมีประชาชนเข้าไปปลูกสร้างเพิงร้านค้า..

 

และในปี พ.ศ. 2541  วัดแก้วสิกขาคีรีสวาระ ก็ถูกสร้างขึ้นทางทิศตะวันตก

ของปราสาทพระวิหาร ใกล้บริเวณอุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร  และในเวลา

ต่อมา กัมพูชา ก็กล่าวอ้างว่า..ชาวกัมพูชาเป็นผู้สร้างขึ้น สร้างขึ้นบนพื้นที่

ที่อยู่ภายใต้อธิปไตยของกัมพูชา มีการนำธงกัมพูชามาปักเพื่อแสดงกรรมสิทธิ์

แต่รัฐบาลไทยในขณะนั้น ได้ทำการประท้วงตามกระบวนการทางกฎหมาย

 

วันที่  20  มีนาคม  2541  รัฐบาลไทยได้ประกาศให้พื้นที่โดยรอบของ

ปราสาทพระวิหารเป็นอุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร ตามพระราชบัญญัติ

อุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 ประกาศในพระราชกิจจานุเบกษาเล่ม 115

ตอนที่ 14 ก  เป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 83  ของประเทศ  มีเนื้อที่ประมาณ

81,250  ไร่ หรือ 130 ตรม. อาณาเขตด้านใต้ติดต่อกับกัมพูชา มีถนนและ

บันไดทางขึ้น ปราสาทเขาพระวิหาร บริเวณผามออีแดง ในตำบลเสาธงชัย

อำเภอกันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ 

 

แต่ที่สำคัญคือการลงนามร่วมกันไทย-กัมพูชา วันที่  ๑๔  มิถุนายน ๒๕๔๓

บันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย กับ รัฐบาลแห่ง

ราชอาณาจักรกัมพูชา ว่าด้วยการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบก

หรือที่รู้จักในนาม....MOU 43…

 

ที่หลาย ๆ คนกล่าวว่า  การลงนามใน MOU 43 อาจจะสุ่มเสี่ยงต่อการเสีย

ดินแดน อันเป็นพื้นที่ทับซ้อน..

 

ขอตั้งข้อสังเกตไว้ตรงนี้ว่า...ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา นับจากวันที่ศาลโลก

ได้มีคำพิพากษาให้กัมพูชามีอำนาจอธิปไตยเหนือปราสาทพระวิหาร โดยไม่

เกี่ยวข้องกับพื้นที่โดยรอบ  ไม่เคยมีรัฐบาลคณะใดกล่าวว่า..พื้นที่บริเวณนั้น

เป็นพื้นที่ทับซ้อน..ในทางตรงข้ามกันกับกล่าวอ้างอธิปไตยเหนือพื้นที่บริเวณ

โดยรอบปราสาทพระวิหารว่าเป็นของประเทศไทย..

 

หากพิจารณาเนื้อหา ใจความในบันทึกความเข้าใจฯ หรือ MOU 43  โดยนำ

รายละเอียดที่ปรากฏในสนธิสัญญาที่ระบุไว้ใน ข้อ ๑ ของบันทึกความเข้าใจฯ

จะเห็นได้ว่า บันทึกความเข้าใจฯ นี้เป็นเพียงการกำหนดแนวทางการสำรวจ

และปักปันเขตแดนโดยปกติ เช่นเดียวกันที่เคยทำไว้ในอดีต

 

เนื้อหาโดยสรุป

 

บันทึกความเข้าใจว่าด้วยการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบก

MOU 2543

 

ข้อ  ๑

อธิบายความว่าจะตกลงร่วมกันสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนภายใต้สนธิ

สัญญา ๒ ฉบับ คือ ฉบับปี ค.ศ. ๑๙๐๔ และ ปี ค.ศ. ๑๙๐๗  (รายละเอียดได้นำ

เสนอแล้วข้างต้น และข้อย้ำอีกครั้งว่า ศาลโลกมิได้รับรองแผ่นที่ตามที่กัมพุชา

กล่าวอ้างแต่อย่างใด)

 

3opjz3.jpg

 

ข้อ  ๒

กำหนดให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการจัดทำหลักเขตแดน และกำหนดอำนาจ

หน้าที่ของคณะกรรมมการ ซึ่งในอดีตก็มีการปฎิบัติเช่นเดียวกัน

 

jbn9rG.jpg

 

ข้อ  ๓

กำหนดให้มีคณะอนุกรรมการเทคนิคร่วม และกำหนดอำนาจหน้าที่ของคณะ

อนุกรรมการเทคนิคทั้งกล่าว  สรุปก็คือ การจัดตั้งฝ่ายเทคนิค หรือผู้เชี้ยวชาญ

เฉพาะทาง เช่น หน่วยวัด หน่วยสำรวจพื้นที่ เป็นต้น

 

YjNYQf.jpg

 

ข้อ  ๔

กำหนดแนวทางการสำรวจและการจัดทำหลักเขตแดน โดยแบ่งเป็นช่วง ๆ

เมื่อแล้วเสร็จในแต่ละช่วงก็ให้ประธานกรรมการตามข้อ ๒ ลงนามในบันทึก

ความเข้าใจและแผนที่ที่จะใช้แนบบันทึกความเข้าใจในแต่ละช่วงที่แล้วเสร็จ 

ก็คือการสรุปงาน

 

ข้อ  ๕

เป็นข้อกำหนด หรือจะเรียกว่าข้อบังคับ ในระหว่างการดำเนินการสำรวจและ

จัดทำหลักเขตแดน โดยระบุไว้ชัดเจนว่า

 

เพื่ออำนวยความสะดวกให้การสำรวจตลอดแนวเขตแดนทางบกร่วมกันเป็นไปอย่าง

มีประสิทธิผล หน่วยงานของรัฐบาลกับเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานเหล่านั้นจะงดเว้นการ

ดำเนินการใด ๆ ที่มีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมของพื้นที่ชายแดน เว้นแต่

จะเป็นการดำเนินการของคณะอนุกรรมการเทคนิคร่วม เพื่อผลประโยชน์ในการสำรวจ

และจัดทำหลักเขตแดน “ 

สรุปคือ...ห้ามกระทำการใด ๆ ในส่วนที่ยังไม่ได้ทำการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดน

 

ข้อ  ๖

กำหนดความรับผิดชอบในเรื่องของค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นของแต่ละฝ่าย

 

ข้อ  ๗

กำหนดแนวทางการขนย้ายวัสดุอุปกรณ์ รวมทั้งเจ้าหน้าที่ ที่อาจจะต้องมีการ

ข้ามเขตแดนในบางโอกาส

 

hmpOc2.jpg

 

 

ข้อ  ๘

กำหนดแนวทางการแก้ไขกรณีเกิดความไม่เข้าใจจากการตีความหรือการบังคับ

ใช้บันทึกความเข้าใจฯ

 

ข้อ  ๙  กำหนดวันที่บันทึกความเข้าใจมีผลบังคับใช้..

 

BXAHdI.jpg

 

ประเด็นสำคัญคือ นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1907  ไทย-กัมพูชายังไม่มีการปักปันเขต

เพิ่มเติมขึ้นมาจวบจนกระทั้งปัจจุบัน ยังคงมีหลักมุดแสดงเขตแดนที่ได้ทำขึ้น

ตามสนธิสัญญา ซึ่งมีการลงนามรับรองจากกรุงสยาม(ไนขณะนั้น) กับผู้แทน

จากกรุงฝรั่งเศส (ในขณะนั้น) ซึ่งในปัจจุบันคณะกรรมการปักปันเขตแดนร่วม

ยังคงทำการค้นหาหลักมุดเดิม ถ้าข้อมูลไม่คลาดเคลื่อนน่าจะพบไปแล้ว

ประมาณ 62 - 63 หลัก

 

จำได้แต่ว่า หลักที่ 62 ปักอยู่กลางคลอง ( เคย save รูปไว้ แต่ยังหาไม่เจอ

ขออนุญาติละไว้ก่อน)

 

ละไว้ตรงนี้ก่อน...เพราะนับจากช่วงเวลานี้จะเข้าสู่จุดเปลี่ยนประเด็นปัญหาที่ต้องใช้

ความระมัดระวังในการพิมพ์อย่างมาก...


Edited by bird, 19 มกราคม พ.ศ. 2556 - 00:49.


#10 bird

bird

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 4,191 posts

ตอบ 16 มกราคม พ.ศ. 2556 - 00:36

แนะนำคุณ bied อ่านอันนี้ประกอบไปด้วยครับ สั้นๆแต่ได้ใจความ แบบ time line  ด้วย  

+  น่าเชื่อถือดีด้วยครับ

 

http://heritage.mod....e/prawihan2.htm

 

ขอบคุณที่แนะนำค่ะ...แต่สิ่งที่ bird มีอยู่ ก็ดีพอสำหรับ bird แล้วค่ะ  



#11 Tam-mic-ra.

Tam-mic-ra.

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 2,948 posts

ตอบ 16 มกราคม พ.ศ. 2556 - 01:10

- ประโยชน์ของ MOU 43
 

แม้ MOU 43 ข้อ ๑ (ค)
กำหนดว่าการจะร่วมกันดำเนินการสำรวจและจัดทำเขตแดนระหว่างไทยกับกัมพูชา
โดยส่วนหนึ่งให้มีการนำแผนที่จัดทำขึ้นตามผลงานการปักปันเขตแดนระหว่างสยามกับอินโดจีน
ซึ่งจัดตั้งขึ้นตามอนุสัญญาระหว่างสยามกับฝรั่งเศส ฉบับปีค.ศ.๑๙๐๔ และสนธิสัญญาฉบับปี ค.ศ.๒๙๐๗ มาใช้ ได้แก่
แผนที่ ๑/๒๐๐,๐๐๐ อันเป็นแผนที่ที่กัมพูชาใช้กล่าวอ้างก็ตาม
แต่ประเทศไทยก็ได้รับประโยชน์จากการที่ MOU 43 ข้อ ๑ (ก) และ (ข)กำหนดให้การดำเนินการสำรวจและจัดทำหลักเขตดังกล่าว

เป็นไปตามอนุสัญญาระหว่างสยามกับฝรั่งเศส ฉบับปี ค.ศ.๑๙๐๔ และ ๑๙๐๗ ที่ยึดสันปันน้ำ จึงได้มีการจัดทำ MOU 43
อย่างไรก็ตามบันทึกความเข้าใจดังกล่าวเป็นเพียงบันทึกความเข้าใจร่วมกัน (mutual understanding)
เพื่อใช้เป็นแนวปฏิบัติของแต่ละฝ่ายหรือผูกพันทางการเมืองเท่านั้น
ไม่มีผลผูกพันตามกฎหมาย (non-binding agreement)

เมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ปฏิบัติตามก็ไม่มีสภาพบังคับตามกฎหมาย  จึงไม่จำเป็นต้องยกเลิก MOU 43
 

๖.๒ ข้อดี - ข้อเสียของ MOU 43
 

๖.๒.๑ข้อดี
๑)เป็นการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนที่มีอยู่แล้วให้ชัดเจนขึ้น
๒) แยกประเด็นทางการเมืองออกจากประเด็นเขตแดน
๓)วางกรอบและกลไกการปฏิบัติงานบนพื้นฐานและของการเคารพเส้นเขตแดนของทั้งสองประเทศ
๔)ทำให้การเจรจาเขตแดนตั้งอยู่บนพื้นฐานของกฎหมายระหว่างประเทศตามอนุสัญญากรุงเวียนนาฯ
๕)ลดการเผชิญหน้าและลดความเสี่ยงในการเกิดความขัดแย้งตามแนวชายแดน
๖)เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้คณะกรรมการมรดกโลกเห็นว่าการเจรจาเขตแดนระหว่างไทย – กัมพูชา ยังไม่แล้วเสร็จ
๗)ใช้ในการประท้วงกรณีกัมพูชาละเมิดดินแดน (MOUข้อ ๕)
 

๖.๒.๒ ข้อเสีย
๑) ภาคสังคมเกรงว่าจะเป็นการยอมรับแผนที่ ๑/๒๐๐,๐๐๐ ทั้งใน MOU ปี ๒๕๔๓ และ TOR ปี ๒๕๔๖ที่จะนำไปใช้ในการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดน
ซึ่งฝ่ายกัมพูชาอาจนำมาอ้างในแง่กฎหมายหรือลักษณะกฎหมายปิดปาก(estopped) เหมือนที่ไทยเคยเสียปราสาทพระวิหารในอดีต
๒) ขาดกลไกในการบังคับใช้ MOU  หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งละเมิด

๓) การดำเนินการตาม TOR ด้านเทคนิคมีความซับซ้อนและยากต่อความเข้าใจ
การยกเลิก MOU จะเป็นการยกเลิกกลไกการเจรจาที่จะทำให้เส้นเขตแดนมีความชัดเจน
และหากเกิดความขัดแย้ง ทั้งสองฝ่ายอาจใช้กำลังทหารเข้าแก้ไขปัญหา
และในที่สุดจะนำไปสู่การเจรจาในเวลาต่อมา  และนำไปสู่การเจรจาเพื่อกำหนด MOU
ขึ้นมาใหม่อีกครั้งหนึ่งเมื่อมีปัญหาความไม่ชัดเจนของเส้นเขตแดน

 

:D


"คนพาลไร้สติ มักสร้างเรื่องและหลักฐานเท็จโกหก เพื่อคอยใส่ร้ายอีกฝ่ายหนึ่งเสมอ" :unsure:

 

นาย ''Starเก๋ง'' ฟันธง!  รถเก๋งขับมายิงเสื้อแดง :lol:      http://webboard.seri...แค/#entry842224   ;      http://webboard.seri...-25#entry408954


#12 หงส์แดง

หงส์แดง

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,755 posts

ตอบ 16 มกราคม พ.ศ. 2556 - 01:12

บอกตรงๆผมไม่เชื่อมั่นในรัฐบาลนี้ที่จะสามารถทำให้เขาพระวิหารกลับมาเป็นของไทย สุดท้ายคงกำลังหาวิธีแก้ตัว และทำอย่างไรให้คนไทยลืมโดยเร็วที่สุด

ถ้าแยกเสียงส่วนใหญ่ กับความถูกต้องไม่ออก ก็อย่ามาอ้างว่ามาจากประชาธิปไตยเลย


#13 bird

bird

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 4,191 posts

ตอบ 16 มกราคม พ.ศ. 2556 - 10:57

- ประโยชน์ของ MOU 43
 

แม้ MOU 43 ข้อ ๑ (ค)
กำหนดว่าการจะร่วมกันดำเนินการสำรวจและจัดทำเขตแดนระหว่างไทยกับกัมพูชา
โดยส่วนหนึ่งให้มีการนำแผนที่จัดทำขึ้นตามผลงานการปักปันเขตแดนระหว่างสยามกับอินโดจีน
ซึ่งจัดตั้งขึ้นตามอนุสัญญาระหว่างสยามกับฝรั่งเศส ฉบับปีค.ศ.๑๙๐๔ และสนธิสัญญาฉบับปี ค.ศ.๒๙๐๗ มาใช้ ได้แก่
แผนที่ ๑/๒๐๐,๐๐๐ อันเป็นแผนที่ที่กัมพูชาใช้กล่าวอ้างก็ตาม
แต่ประเทศไทยก็ได้รับประโยชน์จากการที่ MOU 43 ข้อ ๑ (ก) และ (ข)กำหนดให้การดำเนินการสำรวจและจัดทำหลักเขตดังกล่าว

เป็นไปตามอนุสัญญาระหว่างสยามกับฝรั่งเศส ฉบับปี ค.ศ.๑๙๐๔ และ ๑๙๐๗ ที่ยึดสันปันน้ำ จึงได้มีการจัดทำ MOU 43
อย่างไรก็ตามบันทึกความเข้าใจดังกล่าวเป็นเพียงบันทึกความเข้าใจร่วมกัน (mutual understanding)
เพื่อใช้เป็นแนวปฏิบัติของแต่ละฝ่ายหรือผูกพันทางการเมืองเท่านั้น
ไม่มีผลผูกพันตามกฎหมาย (non-binding agreement)

เมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ปฏิบัติตามก็ไม่มีสภาพบังคับตามกฎหมาย  จึงไม่จำเป็นต้องยกเลิก MOU 43
 

๖.๒ ข้อดี - ข้อเสียของ MOU 43
 

๖.๒.๑ข้อดี
๑)เป็นการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนที่มีอยู่แล้วให้ชัดเจนขึ้น
๒) แยกประเด็นทางการเมืองออกจากประเด็นเขตแดน
๓)วางกรอบและกลไกการปฏิบัติงานบนพื้นฐานและของการเคารพเส้นเขตแดนของทั้งสองประเทศ
๔)ทำให้การเจรจาเขตแดนตั้งอยู่บนพื้นฐานของกฎหมายระหว่างประเทศตามอนุสัญญากรุงเวียนนาฯ
๕)ลดการเผชิญหน้าและลดความเสี่ยงในการเกิดความขัดแย้งตามแนวชายแดน
๖)เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้คณะกรรมการมรดกโลกเห็นว่าการเจรจาเขตแดนระหว่างไทย – กัมพูชา ยังไม่แล้วเสร็จ
๗)ใช้ในการประท้วงกรณีกัมพูชาละเมิดดินแดน (MOUข้อ ๕)
 

๖.๒.๒ ข้อเสีย
๑) ภาคสังคมเกรงว่าจะเป็นการยอมรับแผนที่ ๑/๒๐๐,๐๐๐ ทั้งใน MOU ปี ๒๕๔๓ และ TOR ปี ๒๕๔๖ที่จะนำไปใช้ในการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดน
ซึ่งฝ่ายกัมพูชาอาจนำมาอ้างในแง่กฎหมายหรือลักษณะกฎหมายปิดปาก(estopped) เหมือนที่ไทยเคยเสียปราสาทพระวิหารในอดีต
๒) ขาดกลไกในการบังคับใช้ MOU  หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งละเมิด

๓) การดำเนินการตาม TOR ด้านเทคนิคมีความซับซ้อนและยากต่อความเข้าใจ
การยกเลิก MOU จะเป็นการยกเลิกกลไกการเจรจาที่จะทำให้เส้นเขตแดนมีความชัดเจน
และหากเกิดความขัดแย้ง ทั้งสองฝ่ายอาจใช้กำลังทหารเข้าแก้ไขปัญหา
และในที่สุดจะนำไปสู่การเจรจาในเวลาต่อมา  และนำไปสู่การเจรจาเพื่อกำหนด MOU
ขึ้นมาใหม่อีกครั้งหนึ่งเมื่อมีปัญหาความไม่ชัดเจนของเส้นเขตแดน

 

:D

 

ขอบคุณ...แต่..

 

การจะบอกว่า MOU 43  มีผลดี หรือ ผลเสียอย่างไร ก็เป็นเรื่องของแต่ละ

บุคคลที่มอง ที่จะเข้าใจเจตนารมณ์ของ MOU 43 ว่าแท้จริงแล้วเป็นอย่างไร

 

และยังขึ้นอยู่กับ แนวทางการเคลื่อนไหวของแกนนำแต่ละกลุ่ม ไม่มีใครผิด

ไม่มีใครถูก ความคิดต่าง เป็นเรื่องปกติที่จะต้องเกิดขึ้นในประเทศที่ปกครอง

ด้วยระบอบประชาธิปไตย ไม่ใช่ระบอบเผด็จการ

 

ส่วนที่ว่า แกนนำของแต่ละกลุ่มจะสามารถเสนอแนวทางการเคลื่อนไหวของ

ตนต่อสมาชิกของกลุ่ม รวมไปถึงจะสามารถอธิบายความให้บุคคลอื่นที่ไม่ได้

เป็นสมาชิกของกลุ่มให้เข้าใจได้มากน้อยเพียงใด...

 

ก็สุดแล้วแต่ความสามารถของแกนนำแต่ละกลุ่มว่าจะมีวิธีการอย่างไร

 

โดยส่วนตัว bird แล้วไม่ได้มีอคติกับ MOU43 ในทางที่ไม่ดี..

 

แต่จุดที่ทำให้ต้องคิดเกี่ยวกับ MOU43 คือ..

 

bird มองไม่เห็นว่า หากไม่มี MOU43 แล้วไทยจะสุ่มเสี่ยงต่อการเสีย

ผลประโยชน์หรือรุนแรงถึงการเสียดินแดนอย่างไร..

 

การที่กล่าวเช่นนี้อาจจะเป็นการสร้างศัตรูโดยไม่รู้ตัว...แต่ก็เข้าใจ

 

bird ตัดสินจากทุกอย่างที่เห็นและเป็นอยู่...

 

หากการมี MOU43  สุ่มเสี่ยงอย่างที่หลายฝ่ายกังวลจริง ๆ

 

กัมพูชาคงไม่นิ่งเฉยมานานนับ  ๑๐ ปีเช่นนี้ กัมพูชาคงกระทำการ

อย่างหนึ่งอย่างใด เพื่อให้ได้มีอำนาจอธิปไตยเหนือเขาพระวิหาร

ทั้งตัวปราสาทและพื้นที่โดยรอบ มานานแล้ว...

 

แต่่การเคลื่อนไหวของกัมพูชา อย่างเป็นรูปธรรม เพิ่งจะเกิดขึ้น

ไม่นานมานี้...เพราะอะไร...

 

นั่นต่างหาก คือประเด็นที่ต้องขบคิด

 

ก่อนหน้านี้...กัมพูชา รับรู้สิทธิตามคำพิพากษา ๒๕๐๕  เฉพาะ

อำนาจอธิปไตยเหนือตัวปราสาทพระวิหารเท่านนั้น

 

โดยไม่มีข้อโต้แย้ง....แต่อะไร..ที่ทำให้กัมพูชามีท่าที่ที่เปลี่ยนไป

 

นั่นต่างหาก...ที่คนไทยต้องตีโจทย์ให้กระจ่าง...

 

ขอย้ำอีกครั้ง....

 

ประเทศไทยประกาศจุดยืนสงวนสิทธิอันพึงมีในปี ๒๕๐๕ และที่จะพึงมี

ในอนาคตตามกระบวนการทางกฎหมาย เพื่อทวงสิทธิในการครอบครอง

ปราสาทเขาพระวิหาร โดยไม่มีจำกัดเวลา


Edited by bird, 16 มกราคม พ.ศ. 2556 - 11:00.


#14 redfrog53

redfrog53

    เกิดที่รัสเซีย มาโตที่ สรท.

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 25,221 posts

ตอบ 16 มกราคม พ.ศ. 2556 - 11:16

แพรต ศิษย์แป๊ะลิ้มจอมขมังเวทย์ จะเข้าใจมั่ย??


Posted Image

#15 Stargate-1

Stargate-1

    SG-1

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,578 posts

ตอบ 16 มกราคม พ.ศ. 2556 - 11:28

หนึ่งในผู้ที่มีความพยายามและน่าชื่นชมที่ทุ่มเทค้นหาความจริง คือเพื่อนในเฟสบุ๊คคนหนึ่ง ชื่อ Chayut Ratanapong ได้เขียนบทความลงในเฟสบุ๊คของตัวเองชื่อ “แผนที่ฝรั่งเศส ค.ศ. 1908 จงใจเลื่อนตำแหน่งเขาพระวิหารหรือไม่? ซึ่งได้นำแผนที่ของกัมพูชาซึ่งจัดทำโดยฝรั่งเศสแต่เพียงฝ่ายเดียวซึ่งจัดทำขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1908 มาเทียบกับเทคโนโลยีภาพถ่ายดาวเทียมของกูเกิล เอิร์ธ แล้วพบว่า:
       
       แผนที่ดังกล่าวเป็นแผนที่ซึ่งไม่ถูกต้องและเป็นเท็จ โดยเฉพาะแนวสันปันน้ำตามแนวหน้าผาในระวางดงรักนั้นคาดเคลื่อนจากความเป็นจริงอย่างมาก เป็นผลทำให้แผนที่ซึ่งจัดทำโดยฝรั่งเศสแต่เพียงฝ่ายเดียวผิดพลาดห่างจาก “สันปันน้ำและหน้าผาจริง” กินเข้ามาในดินแดนไทยถึง 4.49 กิโลเมตร ในขณะที่บางจุดก่อนถึงช่องสะงำผิดพลาดกินล้ำเข้ามาในดินแดนไทยไปถึง 9.78 กิโลเมตร โดย ขออนุญาตนำความบางตอนที่สำคัญในบทความของ Chayut Ratanapong ดังนี้
 

ระวางดงรัก1.jpg

 

ภาพแสดงเปรียบเทียบ เส้นสีแดงได้มาจาก กูเกิล เอิรธ์ วัดตำแหน่งเส้นรุ้งและเส้นแวง เทียบกับแนวหน้าผาและเส้นเขตแดนตามแผนที่มาตราส่วน 1:200,000 ซึ่งเป็นเท็จและไม่สามารถยึดตามแผนที่ของฝรั่งเศสได้ blank.gif        โดยในภาพนี้อธิบายสีของแต่ละเส้นดังนี้คือ เส้นสีเทาแนวนอน: เส้นรุ้ง(Latitude) 14 องศา 20 ลิปดา เหนือ (N), เส้นสีเทาแนวตั้ง: เส้นแวง(Longitude) 104 องศา 40 ลิปดาตะวันออก(E) , เส้นสีม่วง: เส้นเขตแดนประเทศที่ฝรั่งเศสเขียนคลาดเคลื่อน, เส้นสีแดง: แนวขอบหน้าผาต่างระดับตามภูมิประเทศจริง, เส้นสีน้ำเงิน: หน้าผาเป้ยตาดีจริงแตกต่างกับหน้าผาเป้ยตาดีในแผนที่ 1.98 km, เส้นสีฟ้าอมเขียว: หน้าผาเป้ยตาดีในแผนที่แตกต่างกับเส้นเขตแดนในแผนที่ 2.51 km, รวมเส้นสีน้ำเงินและเส้นสีฟ้าอมเขียว เป็นระยะทาง 4.49 km
       
       เส้นสีแดงคือแนวขอบหน้าผาต่างระดับที่น่าจะตรงกับคำว่า "จนบรรจบภูเขาผาต่าง" ใน ข้อ 1 ของอนุสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ค.ศ. 1904 เส้นสีแดงนี้ได้มาจากภาพแผนที่ของ Google Earth ซึ่งถ่ายระยะไกลจากดาวเทียมด้วยความละเอียดสูง จึงมีความแม่นยำมากกว่าแผนที่ทหาร (Datum: Indian Thailand) มาตราส่วน 1: 50,000
       
        เมื่อเทียบระยะกับเส้นรุ้ง-เส้นแวง ก็สังเกตได้ชัดว่า เส้นชั้นความสูงที่เป็นรูปร่างของเขาพระวิหารนั้น ถูกฝรั่งเศสเขียนให้ผิดตำแหน่ง โดยหน้าผาเป้ยตาดีผิดตำแหน่งจาก Latitude 14 องศา 23.3794 ลิปดา เป็น 14 องศา 24.3616 ลิปดา ซึ่งล้ำดินแดนสยาม 1.98 กิโลเมตร
       
       ฝรั่งเศสเขียนเส้นเขตแดนโดยเทียบระยะกับรูปร่างของภาพที่เป็นแนวหน้าผา … เมื่อแนวหน้าผาล้ำดินแดนขึ้นมาในแนว Latitude แนวเส้นเขตแดนจึงย่อมล้ำดินแดนขึ้นมาด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ ฝรั่งเศสเขียนเส้นเขตแดนบริเวณเขาพระวิหารล้ำแนวเป้ยตาดีเข้ามาในดินแดนสยาม 2.51 กิโลเมตร
       
       การเขียนรูปร่างภูมิประเทศให้ผิดตำแหน่ง Latitude เช่นนี้ ฝรั่งเศสจะจงใจหรือไม่ก็ตาม แต่มีผลให้รู้สึกว่า แนวเส้นเขตแดนล้ำดินแดนสยามไม่มาก … แต่ในการปักปันเขตแดนจำต้องปักหลักเขตแดนตาม Coordinate ของเส้นรุ้งเส้นแวง ฉะนั้น เส้นเขตแดนในแผนที่ฝรั่งเศส ค.ศ. 1908 จึงล้ำเป้ยตาดีเข้ามาในดินแดนไทยมากถึง 4.49 กิโลเมตร
       
       ถ้าใช้หลักการนี้ ก็จะพบว่าบางพื้นที่อย่างเช่นกรณีใกล้ๆกับช่องสะงำ จ.ศรีสะเกษ แผนที่ของฝรั่งเศสผิดพลาดจากแผนที่ตาม กูเกิล เอิรธ์ ถึง 9.78 กิโลเมตร

 

ระวางดงรัก2.jpg

 

ภาพแสดง ตำแหน่งที่แท้จริงของเส้นเขตแดนตาม กูเกิล เอิรธ์ (สีแดง)ระวางดงรัก เทียบกับ เส้นเขตแดนตามแผนที่มาตราส่วน 1: 200,000 ของฝรั่งเศส (สีม่วง) blank.gif     
  blank.gif

Tam-mic-ra ฟันธง!  คำว่า "โดนพริกไทยมั๊ง" น่ะ แค่นี่เอามาเป็นหลักฐาน ได้ยังไงครับ .....  คิดครับคิด  :lol:   จากกระทู้แก้ข่าวหน้า 2 qoute #96  ใครยิงวสันต์-ภู่ทอง   แอลพีจีทำมาจากซี2ซี3


#16 Stargate-1

Stargate-1

    SG-1

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,578 posts

ตอบ 16 มกราคม พ.ศ. 2556 - 14:16

แผนที่
 
"ปราสาทพระวิหาร" ใน "แผนที่" (Mapping)
"ปราสาทพระวิหาร" ศาสนสถานในคติความเชื่อแบบเขมร-ฮินดู พุทธศตวรรษที่ 14 บนเทือกเขาพนมดองเร็ก สู่ความขัดแย้งในยุครัฐประชาชาติ(ประเทศ) ทีใช้ "แผนที่"(Mapping) เป็นเครื่องมือในการสร้าง "เส้นแยกเขตแดน"
  by ศุภศรุต :

416203.jpg
แผนที่ ตามอนุสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ปี 1904
 
416204.jpg
ระวางแผนที่ทั้ง 5 1904-1907
 
416205.jpg
ระวางแผนที่ทั้ง 6 1904-1907
 

416206.jpg
แผนที่ ตามสนธิสัญญาแลกเปลี่ยนดินแดน 1907-1908
 
416207.jpg
แผนที่ระวางดองเร็ก 1908
 
416208.jpg
แผนที่ระวางโขง 1908
 

416209.jpg
แผนที่อเมริกา(สันปันน้ำ) ไทย-อินโดจีน 1954
 
416210.jpg
แผนที่กรมแผนที่ทหาร 1954
 
416211.jpg
แผนผังแสดงการกำหนดอาณาเขตของปราสาทพระวิหาร ปี 1962
 

416212.jpg
แผนที่ L708 กรมแผนที่ทหาร 1965 ปราสาทพระวิหารอยู่ในเขตกัมพูชา
 
416214.jpg
แผนที่ L7017 ประมาณปี 1975 ปราสาทพระวิหารอยู่ในเขตกัมพูชา
 
416215.jpg
แผนที่ L7018 ปี 2007 ปราสาทพระวิหารอยู่ในเขตกัมพูชา ตามมติคณะรัฐมนตรีปี 2505
 

Tam-mic-ra ฟันธง!  คำว่า "โดนพริกไทยมั๊ง" น่ะ แค่นี่เอามาเป็นหลักฐาน ได้ยังไงครับ .....  คิดครับคิด  :lol:   จากกระทู้แก้ข่าวหน้า 2 qoute #96  ใครยิงวสันต์-ภู่ทอง   แอลพีจีทำมาจากซี2ซี3


#17 Stargate-1

Stargate-1

    SG-1

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,578 posts

ตอบ 16 มกราคม พ.ศ. 2556 - 15:53

http://www.manager.c...D=9540000129673

 

นับตั้งแต่ศาลโลกได้ตัดสินคดีปราสาทพระวิหารไปเมื่อ พ.ศ. 2505 (พ.ศ. 1962) ประเทศไทยก็มิได้ยอมรับแผนที่เก๊ที่ไม่ได้จัดทำขึ้นโดยคณะกรรมการปักปันเขตแดนสยาม-อินโดจีนฝรั่งเศส แต่เป็นผลงานของ พันเอกแบร์นาร์ดในฐานะที่เขาเป็นประธานฝ่ายฝรั่งเศสในคณะกรรมการชุดนี้ เขาได้ทำเรื่องเบิกเงินสูงถึง 7,000 ฟรังก์แต่ใช้ไปในการจัดทำแผนที่เพียง 6,000 ฟรังก์เท่านั้น แผนที่ดังกล่าวมีทั้งหมด 11 ระวางเริ่มจากเขตแดนกัมพูชาไปจนถึงเขตแดนลาว เรียกชื่อแผนที่ตามภูมิประเทศและเมืองสำคัญๆ ต่าง เช่น แผนที่ระวางโขง ระวางดงรัก ระหว่างกุเลน เป็นต้น  
       
       แผนที่ชุดนี้พิมพ์เสร็จราวเดือนพฤษภาคม  ค.ศ. 1908 ซึ่งเป็นเวลาเดียวกันกับที่คณะกรรมการปักปันเขตแดนสยาม-อินโดจีน ได้สลายตัวไปแล้ว และพึ่งเป็นการเริ่มต้นของคณะกรรมการชุดใหม่ซึ่งจัดตั้งขึ้นมาตามสนธิสัญญาฉบับใหม่ในปี ค.ศ. 1907 สนธิสัญญาฉบับนี้ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเขตแดนประเทศสยามใหม่ในเวลานั้นสยามได้เสียดินแดนเพิ่มเติมไปอีกเป็นจำนวนมาก
       
       ดังนั้นแผนที่ทั้ง 11 ระวาง อันได้แก่ 1. ระวางเมืองคอบและเมืองเชียงล้อม 2. ระวางลำน้ำต่างๆ ทางภาคเหนือ 3. ระวางเมืองน่าน 4. ระวางปากลาย 5. ระวางน้ำเหือง 6. ระวางจำปาศักดิ์ 7. ระวางแม่โขง 8. ระวางดงรัก 9. ระวางพนมกุเลน 10. ระวางทะเลสาบ 11. ระวางตราด ซึ่งเป็นผลงานของพันเอกแบร์นาร์ดจึงเป็นแผนที่เก๊ เพราะไม่ได้นำเข้าสู่ที่ประชุมเพื่อให้ของคณะกรรมการปักปันเขตแดนสยาม-อินโดจีนฝรั่งเศส ตามอนุสัญญาปี ค.ศ. 1904 ได้พิจารณา คณะกรรมการชุดดังกล่าวได้สลายตัวไปแล้ว เหตุที่ผมต้องย้ำเรื่องนี้อยู่เสมอเพราะมีผู้ไปแอบอ้างเรื่องที่เจ้านายของประเทศสยามได้ทำการขอแผนที่ชุดนี้เพิ่มเติม (ซึ่งพวกเขาตีความว่าได้เป็นการยอมรับแผนที่ด้วย) 
       
       การสู้คดีในศาลโลกคณะทนายฝ่ายไทยได้ทำการต่อสู้ในชั้นศาล เนื่องจากผู้ขอแผนที่ไม่ได้เป็นสมาชิกในคณะกรรมการปักปันเขตแดน-สยามอินโดจีน เจ้านายพระองค์นั้นจึงไม่สามารถเป็นตัวแทนของประเทศสยามในการยอมรับแผนที่เก๊ชุดนี้ได้ ด้วยการอธิบายเหตุผลนี้ทำให้ศาลโลกไม่ตัดสินแผนที่ และยอมรับว่าแผนที่เก๊ชุดนี้ไม่ได้เป็นผลงานของคณะกรรมการปักปันเขตแดนสยาม-อินโดจีนฝรั่งเศสแต่อย่างใด
       
       มีนักการเมืองที่ไม่ได้ศึกษาเรื่องนี้พยายามทำให้สังคมเข้าใจว่า การตัดสินของศาลโลกในคดีปราสาทพระวิหารนั้นศาลยอมรับเรื่องเส้นเขตแดน ที่ปรากฏบนแผนที่เก๊ชุดดังกล่าว ซึ่งในข้อเท็จจริงมิได้เป็นเช่นนั้นเลย นักการเมืองอีกกลุ่มหนึ่งยังหลงเชื่อคำโกหกของนักวิชาการไทยสายเขมรว่า “ศาลได้ยกปราสาทพระวิหารและดินแดนโดยรอบให้กับกัมพูชาไปแล้ว อันสอดคล้องกับสมุดปกขาวของกระทรวงการต่างประเทศที่จัดทำขึ้นแล้วแท้งไม่ได้คลอดออกมา” ทั้งคำอธิบายของนักการเมืองที่มักชอบพูดชอบเป็นข่าวกับข้าราชการบางคนของกระทรวงการต่างประเทศยิ่งทำให้ประเทศกัมพูชาได้เปรียบประเทศไทยในเวทีนานาชาติ    
       
       เพื่อให้ผู้อ่านได้มีความเข้าใจตรงกันในเรื่องที่มาที่ไปของแผนที่เก๊ 1:200,000 ทุกระวาง ผมจึงขออธิบายอย่างง่ายๆ ดังนี้ครับ เมื่อประเทศสยามได้ลงนามในอนุสัญญาปี ค.ศ. 1904 ได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการปักปันเขตแดนขึ้นมา 1 ชุด ฝ่ายไทยมีหม่อมชาติเดชอุดมเป็นประธาน ฝ่ายฝรั่งเศสมีพันเอกแบร์นาร์ดเป็นประธาน ทั้งสองฝ่ายได้ทำหน้าที่ตามที่อนุสัญญาได้กล่าวถึง โดยกำหนดให้พรมแดนธรรมชาติเป็นเส้นเขตแดน ซึ่งในการประชุมครั้งสุดท้ายที่ประชุมของคณะกรรมการได้มีมติให้มีการจัดทำแผนที่มาตราส่วน 1:200,000 เพื่อแสดงเส้นเขตแดนที่ได้ตกลงกันไว้ (อันเป็นผลมาจากการเดินสำรวจ) โดยที่เส้นเขตแดนด้านทิวเขาพนมดงรัก (อันเป็นที่ตั้งตัวปราสาทพระวิหารแห่งนี้ด้วย) ได้กำหนดให้ใช้สันปันน้ำที่ขอบหน้าผา 
       
       ทั้งนี้ พันเอกแบร์นาร์ดก็ได้กล่าวหลายครั้งทั้งในที่ประชุมและการแสดงปาฐกถาที่ปารีส เมื่อคณะกรรมการมีมติให้พิมพ์แผนที่ ได้มอบหมายให้ฝ่ายฝรั่งเศสไปดำเนินการมา และในที่สุดแผนที่พิมพ์เสร็จไม่ได้เข้าที่ประชุม และคณะกรรมการสลายตัว แผนที่เก๊ที่พิมพ์มาทั้ง 11 ระวาง จึงเป็นแผนที่ที่ไม่สมบูรณ์ไม่ได้ผ่านการพิจารณา ผมจึงเรียกว่าแผนที่เก๊   
       
       ต่อมาประเทศสยามได้มีการแลกเปลี่ยนและสูญเสียดินแดนเพิ่มเติม ได้มีการทำสนธิสัญญา ปี ค.ศ. 1907 และได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการปักปันเขตแดนฯ ชุดที่ 2 โดยคณะกรรมการชุดนี้มีพระองค์เจ้าบวรเดชและพันตรีมองแกร์ เป็นประธานทั้งสองฝ่าย มีการประชุมกันเป็นลำดับ โดยพื้นที่ที่ฝ่ายสยามได้สูญเสียไปนั้น บางส่วนไม่สามารถใช้พรมแดนธรรมชาติได้เพราะเป็นที่ลุ่ม จึงจำเป็นต้องจัดสร้างหลักเขตแดน ส่วนไหนที่ใช้พรมแดนธรรมชาติ เช่น สันปันน้ำ ส่วนนั้นก็เป็นไปตามอนุสัญญา 1904 คณะกรรมการปักปันฯ ได้ทำงานอยู่หลายปีในที่สุดก็ได้เลือกที่จะปักหลักเขต 
       
       โดยหลักที่ 1 เลือกบริเวณช่องสะงำ เป็นหลักเขตที่ 1 และตามช่องต่างๆ ได้วางเสาศิลาเพื่อเป็นสัญลักษณ์ให้เห็นชัดเจน พรมแดนของสยามและกัมพูชาตั้งแต่ช่องสะงำไปจนถึงหลักเขตที่ 73 ที่จังหวัดตราด มีหลักเขตรวมทั้งหมด 74 หลักเขต และมีแผนที่มาตราส่วน 1:200,000 ทำเป็นโครงวาดแสดงจุดอ้างอิงกำกับไว้ทุกหลักเขตด้วย (เฉพาะหลักเขตที่ 22 มี 22A และ 22B ต่อมายุบรวมกันเป็นหลักเขตเดียว) ปัจจุบันจึงเหลือหลักเขต 73 หลักเขต (กัมพูชาพยายามจะย้ายหลักเขตที่ 73 ให้ได้ในอนาคตอันใกล้นี้) 
       
       คณะกรรมการเมื่อมีการปักหลักเขตเรียบร้อยแล้วจึงได้ประชุมกันเป็นครั้งสุดท้าย รายงานการประชุมระบุว่าต้องทำแผนที่ระบุตำแหน่งหลักเขตทั้ง 74 หลักเขต เพื่อกันเอาไว้เป็นหลักฐาน หากอนาคตหลักเขตนั้นถูกเคลื่อนย้าย นอกจากนี้คณะกรรมการไม่ได้สนใจแผนที่ 11 ระวางของคณะกรรมการชุดแรกเลย เพราะเห็นว่าพรมแดนตั้งแต่ช่องสะงำไปจนถึงทางใต้ของเมืองจำปาสัก มีทิวเขามองเห็นสันปันน้ำที่ขอบหน้าผาอย่างชัดเจนซึ่งเป็นไปตามอนุสัญญาปี ค.ศ. 1904 แล้ว คณะกรรมการชุดที่ 2 นี้ยังได้จัดทำแผนที่จากช่องสะงำไปจนถึงตราด 5 ระวาง ได้แก่ระวางหมายเลข 1 หมายเลข 5 เมื่อพิมพ์แผนที่ออกมาแล้ว ปรากฏว่าแผนที่กลับไม่ระบุตำแหน่งของหลักเขตทั้ง 74 หลักเขต ตามที่คณะกรรมการชุดที่ 2 ต้องการ จึงเป็นแผนที่ที่ไม่สมบูรณ์อีกเช่นกัน 
       
       ผมจึงถือว่าแผนที่มาตราส่วน 1:200,000 ของคณะกรรมการปักปันฯ ทั้งชุดที่ 1 และชุดที่ 2 นั้น เป็นแผนที่ที่ใช้ไม่ได้และแน่นอนศาลโลกไม่ได้ยอมรับแผนที่เก๊มาตราส่วน 1:200,000 นี้เลย (อ่านต่อตอนจบสัปดาห์หน้า)

 


Tam-mic-ra ฟันธง!  คำว่า "โดนพริกไทยมั๊ง" น่ะ แค่นี่เอามาเป็นหลักฐาน ได้ยังไงครับ .....  คิดครับคิด  :lol:   จากกระทู้แก้ข่าวหน้า 2 qoute #96  ใครยิงวสันต์-ภู่ทอง   แอลพีจีทำมาจากซี2ซี3


#18 Stargate-1

Stargate-1

    SG-1

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,578 posts

ตอบ 16 มกราคม พ.ศ. 2556 - 16:04

https://soclaimon.wo...เขาพระวิหาร1-เ/

 

หากย้อนประวัติศาสตร์ก่อนสงครามอินโดจีน เดิมพื้นที่ประเทศกัมพูชาบางส่วน รวมถึงปราสาทนครวัดนครธม เคยเป็นของประเทศไทย แต่ต้องเสียดินแดนอันกว้างขวางไปถึง 2 ครั้ง เมื่อเกิดสงครามอินโดจีน ประเทศไทยต้องเสีย จ.พระวิหาร แลกกับ จ.จันทบุรี ที่ฝรั่งเศสยึดไว้ และต้องยกพื้นที่ฝั่งขวาของแม่น้ำโขงให้กับฝรั่งเศส คือ บริเวณทิวเขาหลวงพระบาง ทิวเขาพนมดงรัก และทำสนธิสัญญา วันที่ 13 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1904 (พ.ศ.2447) จากนั้นมีการตั้งคณะกรรมการปักปันเขตแดนกันขึ้น โดยฝ่ายไทยมีพลตรีหม่อมชาติเดชอุดม เป็นข้าหลวงปักปัน ฝ่ายฝรั่งเศส มีพลตรี เอฟ แบร์นารด์ (Colonel F.Bemerd) เป็นข้าหลวงปักปัน แต่ข้อเท็จจริงการสำรวจทำแผนที่นั้นฝรั่งเศสเป็นผู้ทำแต่เพียงผู้เดียว แม้ว่าไทยจะเรียนการทำแผนที่จากอังกฤษ แต่ก็รู้จักการแสดงสัญลักษณ์แผนที่ของภูเขาด้วยลายขวางสับ ซึ่งมีสัญลักษณ์คล้ายกับตัวหนอน ส่วนฝรั่งเศสทำแผนที่ในลักษณะเขียนสัญลักษณ์แทนภูเขาด้วยเส้นชั้นความสูง

space.gif การปักปันเขตแดนในครั้งนั้นจะทำเฉพาะส่วนที่ไม่ใช่แม่น้ำโขง แผนที่จึงมี 2 ตอน คือ ทิวเขาหลวงพระบาง และแม่น้ำเหือง มีอยู่ 5 ระวาง คือ Mg.khop Mg.XienG Lom,Huat Mc.Nam,Mg.Nan, Pak Layc และNam Heung ส่วนทางทิวเขาพนมดงรัก และเขตในกัมพูชา มีอยู่ 6 ระวาง คือ Bassac,Khong,Dangrek,Phnom Coulen,Grand Lac และMg.krad สำหรับในส่วนของกัมพูชา จะเป็นเขตแดนครึ่งระวางของระวาง Khong ส่วนระวาง Dangrek นั้นเส้นแดนมาตามสันปันน้ำของทิวเขาพนมดงรักเพียงครึ่งระวางเช่นเดียวกัน เมื่อถึงจุดแบ่งเขต จ.ศรีสะเกษ กับ จ.สุรินทร์ ตรงช่องสะงำ เส้นเขตแดนจะหักลงทางทิศใต้ตัดไปที่ทะเลสาบเขมร แล้วลากไปตามเขตแดนของ จ.อุดรมีชัย เสียมราฐ และพระตะบอง กับจ.พระวิหาร ก้มปงทม โพธิสัต และเส้นเขตแดน จะกัน จ.ตราด ไว้ในกัมพูชา แผนที่ทั้ง 11 ระวาง ชื่อว่าแผนที่คณะกรรมการปักปันเขตแดนระหว่างอินโดจีนกับสยามมาตราส่วน1:200,000 จากนั้นฝรั่งเศสก็ถอนกำลังจาก จ.จันทบุรี ไปยัง จ.ตราด

space.gif ต่อมาเพื่อแลกกับเปลี่ยนกับอำนาจศาล อ.ด่านซ้าย และ จ.ตราด จึงมีการทำหนังสือสัญญาลงวันที่ 25 มีนาคม ค.ศ.1907 (พ.ศ.2450) ฝ่ายไทยยกพื้นที่ จ.อุดรมีชัย จ.เสียมราฐ และจ.พระตะบอง ให้กับฝรั่งเศส และได้มีการปักปันเขตแดนเพิ่มเติมจากส่วนที่ทำไปแล้ว การปักปันเขตแดนจะเริ่มจากทิวเขาพนมดงรัก ตรงช่องสะงำ หรือตรงจุดแบ่งเขตระหว่าง จ.ศรีสะเกษ กับ จ.สุรินทร์ ไปตาม”สันปันน้ำ”ของทิวเขาพนมดงรัก ทำให้เส้นแดนบนแผนที่คณะกรรมการปักปันเขตแดนระหว่างอินโดจีน-สยาม ชุดแรก Dangrek ต้องถูกยกเลิกไปครึ่งหนึ่ง และตั้งแต่ระวาง Phnom Coulen,Grand Lac และMg.krad ถูกยกเลิกไปโดยอัตโนมัติ

space.gif คณะกรรมการปักปันเขตแดนใหม่ทำการปักปันเขตแดนตาม”สันปันน้ำ”ของทิวเขาพนมดงรัก จากช่องสะงำ โดยการปักปันเขตแดนด้วยไม้ และทำแผนแดนไว้ แต่เป็นที่น่าเสียดายที่แผนที่ชุดนี้แสดงเฉพาะเส้นเขตแดน แต่ไม่ได้แสดงตำแหน่งหลักเขตแดนไว้ และไม่มีการแสดงเส้นละติจูต และลองจิจูตไม่ได้ตีกรอบระวาง ส่วนชื่อระวางนั้นใช้หมายเลขแทน คือ หมายเลขที่1 จากชายฝั่งทะเลขึ้นไป สำหรับลำดับหมายเลขหลักเขตที่ปักไว้สวนทางกับลำดับหมายเลขระวางแผนที่ คือ ปักหลักเขตที่ 1 ตรงช่องสะงำ ปักไปตามสันปันน้ำทิวเขาพนมดงรัก จนถึงหลักที่ 28 จึงวกลงพื้นที่ราบใน อ.ตาพระยา อรัญประเทศ คลองหาด จ.สระแก้ว อ.โป่งน้ำร้อน จ.จันทบรี จนถึงหลักเขตที่ 68 เส้นเขตแดน จึงไปตามสันปันน้ำทิวเขาบรรทัด ในเขต อ.บ่อไร่ อ.เมือง อ.คลองใหญ่ จ.ตราด จนสุดปรายทิวเขาบรรทัดเป็นหลักที่72 จึงหักไปทางตะวันตก ตัดชายฝั่ง เป็นหลักเขตที่ 73 ตรงบ้านหาดเล็ก อ.คลองใหญ่ จ.ตราด

space.gif ขณะเดียวกันคณะกรรมการปักปันก็ได้เขียนเส้นเขตแดนใหม่บนแผนที่ 8 ฉบับ ส่วนอีก 3 ฉบับยังปล่อยไว้เช่นเดิม แผนที่ทั้ง11 ฉบับ พิมพ์เสร็จใน ค.ศ.1908 (พ.ศ.2451 ) และได้ส่งมาให้ไทย50 ชุด ซึ่งฝ่ายไทยได้ตอบรับขอบคุณไป

space.gif แต่สนธิสัญญาปี ค.ศ. 1907 ระบุไว้ว่า เส้นเขตแดนไปตามสันปันน้ำทิวเขาพนมดงรัก แต่ตรงบริเวณที่ตั้งปราสาทเขาพระวิหาร เส้นเขตแดนบนระวาง Dangrek กลับเขียนผิดสภาพความจริงตัดเอาส่วนที่เป็นปราสาทไว้ในเขตของฝรั่งเศส ถ้าเขียนตามสันปันน้ำแล้วปราสาทเขาพระวิหารต้องอยู่ในเขตไทย ฝ่ายไทยไม่เคยสังเกตแผนที่ที่ฝรั่งเศสเขียนอย่างไร แต่ประเทศไทยก็เข้าใจไปครอบครองเขาพระวิหารตลอดมา

space.gif เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม ค.ศ. 1925 (พ.ศ.2468) จ.ศรีสะเกษ ประกาศขึ้นเป็นทะเบียนเป็นโบราณสถาน และนำกำลังทหารประจำอยู่ตามจุดต่างในปราสาทเขาพระวิหาร ใน พ.ศ.2501 รับรัฐบาลได้รายงานจากสถานฑูตไทยประจำกรุงพนมเปญว่าฝ่ายกัมพูชากำลังรวบรวมหลักฐานที่จะฟ้องร้องต่อศาลยุติธรรมระหว่างประเทศว่าไทยยึดปราสาทเขาพระวิหารของกัมพูชาไป

space.gif ในที่สุดวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ.2502 รัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา ได้ยื่นคำร้องต่อศาลสำนักทะเบียนศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ เพื่อนำข้อพิพาทระหว่างกัมพูชากับไทยขึ้นสู่ศาล โดยขอให้ศาลพิพากษาและแถลงไม่ว่าราชอาณาจักรไทยจะปรากฏตัวหรือไม่ คือ1.ว่าเป็นราชอาณาจักรไทยอยู่ภายใต้พันธกรณีที่จะถอนกำลังทหารที่ได้ส่งไปประจำการในปราสาทเขาพระวิหาร 2.ว่าอธิปไตยแห่งดินแดนเหนือปราสาทเขาพระวิหารเป็นขอราชอาณาจักรกัมพูชา ส่วนคำร้องกัมพูชาได้ยื่นต่อศาลยุติธรรมระหว่างประเทศในวันที่ 23 มกราคม พ.ศ.2503

space.gif เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2505 โดยการฟ้องร้องของรัฐบาลกัมพูชา ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (International Court of Justice) หรือที่เรียกว่า ศาลโลก ได้ตัดสินให้ปราสาทพระวิหารเป็นของประเทศกัมพูชา ในวันที่ 10 กรกฎาคม 2505 รัฐบาลไทย จึงได้ประกาศกำหมดเส้นเขตแดนบริเวณนี้ว่า แนวเขตแดนตรงบันไดสิงห์มาทางเหนือ 20 เมตร ลากเส้นตั้งฉากจากแนวกึ่งกลางบันไดสิงห์ไปทางตะวันตก 100 เมตร แล้วลากเส้นตรงไปทางทิศใต้ ไปจนตัดขอบของหน้าผาใกล้เป้ยยาดี ส่วนด้านเหนือที่ห่างจากบันไดสิงห์ 20 เมตร ให้ลากเส้นโค้งไปจดกันกับหน้าผาตรงบันไดหัก ต่อมากรมแผนที่ทหารบก ได้ไปรังวัดแนวเขตตามที่คณะรัฐมนตรีกำหมด แล้วกั้นลวดหนามไว้ ซึ่งแนวเขตแดนรั้วหนามนี้ ประเทศกัมพูชา ไม่เคยทักท้วงมาจนทุกวันนี้

space.gif ปัญหาก็คือฝ่ายไทยถือแผนที่ L7017 ระหว่างบ้านโป่งสะลอน มาตราส่วน1:50000 ส่วนฝ่ายกัมพูชา ถือแผ่นที่อยู่ 2 ฉบับ คือ แผ่นที่ 1:200000 ตามอนุสัญญา ปี ค.ศ.1904 โดยปักปันเขตแดนสยาม-อินโดจีน ซึ่งฝรั่งเศสเป็นฝ่ายกระทำเพียงผู้เดียว โดยใช้สันปันน้ำ เป็นตัวแบ่งเขตแดน และฉบับที่2 คือ 1:50000 L7016 ที่สหรัฐอเมริกา ทำให้กับกัมพูชา แต่ทั้ง 2 ฉบับ หากแผ่นที่ฉบับไหนที่กัมพูชา คิดว่าได้เปรียบจะถือฉบับนั้น และจะนำมาต่อรองกับไทยตลอด

space.gif การขึ้นปราสาทเขาพระวิหาร เป็นมรดกโลก ยืนต่อคณะกรรมการยูเนสโก ซึ่งยังมีความขัดแย้งในแนวเขตกันอยู่ ทางคณะกรรมการยูเนสโก จึงให้ไทย-กัมพูชา ที่จะบริหารร่วมกันระหว่าง 2 ประเทศ แต่ฝ่ายกัมพูชา ได้กระทำเพียงฝ่ายเดียว โดยไม่เคยปรึกษาฝ่ายไทย แต่รัฐบาลก็ไม่เคยทักท้วง หรือดำเนินการอะไร ปล่อยให้เรื่องบานปลายจึงถึงปัจจุบัน


Tam-mic-ra ฟันธง!  คำว่า "โดนพริกไทยมั๊ง" น่ะ แค่นี่เอามาเป็นหลักฐาน ได้ยังไงครับ .....  คิดครับคิด  :lol:   จากกระทู้แก้ข่าวหน้า 2 qoute #96  ใครยิงวสันต์-ภู่ทอง   แอลพีจีทำมาจากซี2ซี3


#19 Stargate-1

Stargate-1

    SG-1

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,578 posts

ตอบ 16 มกราคม พ.ศ. 2556 - 16:14

http://www.thaiworld...question_id=769

 

พันเอก นพดล โชติศิริ (กรมแผนที่ทหาร กองบัญชาการทหารสูงสุด):

Napadon.jpgสภาพแนวเขตแดนไทย-กัมพูชา มีความยาวประมาณ 798 กิโลเมตร เป็นสันปันน้ำ 524 กิโลเมตร เป็นเส้นตรง 58 กิโลเมตร เป็นลำคลอง 216 กิโลเมตร แนวเขตแดนเริ่มตั้งแต่ช่องบก อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี จนถึงหลักเขตแดนที่ 73 บริเวณแหลมสารพัดพิษ อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด

 

 

  • แนวเขตแดนไทย-กัมพูชา ได้ถูกกำหนดให้เป็นไปตามหลักฐานทางกฎหมายที่สำคัญดังนี้

     

     

  • ประการแรก สนธิสัญญาระหว่างสยามกับฝรั่งเศส ว่าด้วยดินแดนและข้อตกลงอื่น ๆ ฉบับลงนาม ณ กรุงปารีส วันที่ 13 กุมภาพันธ์ รัตนโกสินทร์ศก 122 (ค.ศ. 1904)

     

     

  • ประการที่ 2 สัญญาว่าด้วยการปักปันเขตแดนระหว่างพระเจ้าแผ่นดินสยามกับประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส ฉบับลงนาม ณ กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 23 มีนาคม รัตนโกสินทร์ศก 125 (ค.ศ. 1907) กับพิธีสารว่าด้วยการปักปันเขตแดนแนบท้ายสนธิสัญญาฉบับลงวันที่ 23 มีนาคม รัตนโกสินทร์ศก 125 (ค.ศ. 1907)

     

     

  • ประการที่ 3 สิ่งที่ใช้เป็นหลักฐานทางกฎหมายคือ แผนที่ซึ่งจัดทำขึ้นตามผลงานการปักปันเขตแดนของคณะกรรมการปักปันเขตแดนระหว่างสยามกับอินโดจีน มาตราส่วน 1:200,000 ซึ่งจัดทำขึ้นตามอนุสัญญา ค.ศ. 1904 และ 1907 ที่ผ่านมารวมทั้งเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบังคับอนุสัญญา ค.ศ. 1904 และ 1907 ระหว่างสยามกับฝรั่งเศส

     

     

  • สำหรับการสำรวจและปักปันเขตแดนนั้น สยามและฝรั่งเศสได้แต่งตั้งคณะกรรมการปักปันเขตแดนระหว่างสยามและฝรั่งเศสขึ้น โดยมีหน้าที่ในการสำรวจและปักปันเขตแดนทางบกให้เป็นไปตามอนุสัญญา ค.ศ. 1904 ฝ่ายสยามมีพลตรีหม่อมชาติเดชอุดม เป็นประธาน ส่วนฝ่ายฝรั่งเศสมี พันตรีแบร์นาร์ เป็นประธานกรรมการ

     

     

  • คณะกรรมการชุดดังกล่าวได้ทำแผนที่แสดงแนวเขตแดนมาตรส่วน 1:200,000 ไว้จำนวน 6 ระวาง (แผนที่มีชื่อว่า Commission de Délimitation entre l Indochine et le Siam) ในเวลานั้นเมืองเสียมราฐ พระตะบอง อยู่ในเขตไทย ซึ่งศรีโสภณตอนนั้นอยู่ในเขตเมืองพระตะบอง ต่อมาในปี 1907 ทั้งสองฝ่ายได้แลกเปลี่ยนดินแดนกันระหว่างจังหวัดตราด อำเภอด่านซ้ายกับเมืองเสียมราฐ พระตะบอง และศรีโสภณ พร้อมทั้งได้มีการทำสนธิสัญญาแสดงแนวเขตแดนฉบับ ค.ศ. 1907

     

     

  • ต่อมาทั้งสองฝ่ายได้จัดตั้งคณะกรรมการปักปันเขตแดนโดยฝ่ายสยามมีพระองค์เจ้าบวรเดช เป็นประธาน ฝ่ายฝรั่งเศสมีพันตรี กิชาร์ มองแกร์ เป็นประธานกรรมการ ซึ่งคณะกรรมการชุดนี้นับเป็นคณะกรรมการปักปันเขตแดนชุดที่ 2 ซึ่งมีหน้าที่ในการปักปันเขตแดนให้เป็นไปตามอนุสัญญา ค.ศ. 1907 และคณะกรรมการชุดดังกล่าวได้จัดทำแผนที่มาตรส่วน 1:200,000 โดยใช้ชื่อเดิม แผนที่ชุดนี้ได้เฉือนส่วนที่เป็นพระตะบอง เสียมราฐ และศรีโสภณ ออกไป เพราะฉะนั้นแผนที่ชุดนี้จะเหลืออยู่จำนวน 5 ระวาง ซึ่งจะครอบคลุมพื้นที่จังหวัดตราด จันทบุรี สระแก้ว บุรีรัมย์ และสุรินทร์ ซึ่งเป็นพื้นที่ประเทศไทยในปัจจุบัน แผนที่ชุดนี้ได้จัดทำแล้วเสร็จใน ค.ศ. 1908 ส่วนจังหวัดศรีสะเกษและอุบลราชธานีให้ใช้แผนที่ที่จัดทำไว้เดิมตามอนุสัญญา ค.ศ. 1904 จำนวน 2 ระวาง คือ ระวางดงรักและระวางโขง เขาพระวิหารอยู่ในระวางดงรัก

     

     

  • นอกจากนั้นยังได้ทำการปักปันเขตแดนไว้จำนวน 75 หลัก หลักใหญ่ 73 หลัก หลักย่อย 2 หลัก โดยเริ่มหลักเขตแดนที่ 1 ที่ช่องสะงำ จังหวัดศรีสะเกษ รอยต่อกับจังหวัดสุรินทร์ ไล่ลงมาจนถึงหลักเขตแดนที่ 73 ที่อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด ทั้งนี้ไม่มีการปักหลักเขตแดนไว้ในเขตจังหวัดศรีสะเกษและจังหวัดอุบลราชธานี เพราะปราสาทเขาพระวิหารอยู่ในพื้นที่บริเวณนี้

     

     

  • ปัญหาและลักษณะของเส้นเขตแดนบริเวณปราสาทเขาพระวิหาร จากหลักฐานทางกฎหมายที่ทั้งสองฝ่ายยึดถือเป็นดังนี้

     

     

  • ตามสนธิสัญญาระหว่างสยาม-ฝรั่งเศส ค.ศ. 1904 และ 1907 กำหนดให้แนวเส้นเขตแดนไปตามสันปันน้ำของทิวเขาพนมดงรักฝั่งบนเป็นฝั่งไทย ฝั่งล่างเป็นฝั่งกัมพูชา ซึ่งเป็นหน้าผาสูงชัน ปราสาทเขาพระวิหารอยู่บนเนิน ส่วนทางขึ้นปราสาทนั้นอยู่ทางฝั่งไทย โดยจะกันตัวปราสาทเขาพระวิหารไว้ในฝั่งไทย แต่แผนที่มาตรา 1:200,000 ของพันตรีแบร์นาร์ กลับลากเส้นเขตแดนไม่สอดคล้องกับสนธิสัญญาดังกล่าว ดังนั้น การที่ไทยและกัมพูชามีข้อพิพาทเรื่องเขาพระวิหารขึ้น จึงมีสาเหตุจากการที่เส้นเขตแดนในแผนที่ไม่ตรงกับที่เขียนไว้ในสนธิสัญญา ท่านผู้ฟังคิดว่าระหว่างสนธิสัญญากับแผนที่ อย่างไหนมีความสำคัญเหนือกว่ากัน สนธิสัญญาเปรียบเสมือนกฎหมายแม่ เมื่อระบุให้ไปตามสันปันน้ำแล้ว แผนที่ก็ควรไปตามสันปันน้ำด้วย หรือท่านคิดว่าแผนที่ที่มาทีหลังควรจะมีน้ำหนักมากกว่า เพราะเป็นสิ่งที่มาทีหลัง ปัญหาที่เกิดขึ้นนี้เองทำให้ไทยมีข้อพิพาทกับกัมพูชา

     

     

  • แผนที่ชุดของพันตรีแบร์นาร์เห็นได้ชัดว่า กันตัวปราสาทเขาพระวิหารไว้ในเขตกัมพูชา และกัมพูชาก็ยึดถือเส้นเขตแดนนี้เป็นหลัก ทั้ง ๆ ที่ไม่สอดคล้องกับสนธิสัญญาระหว่างสยามกับฝรั่งเศส ค.ศ. 1904 และ 1907 เมื่อเกิดข้อพิพาทกรณีเขาพระวิหารระหว่างไทยกับกัมพูชา ใน พ.ศ. 2505 ศาลโลกได้ติดสินให้อำนาจอธิปไตยเหนือปราสาทเขาพระวิหาร (ตัดสินเฉพาะตัวปราสาท) ให้เป็นของกัมพูชา หลังคำตัดสินของศาลโลกแล้ว ฝ่ายไทยได้กันเส้นเขตแดนบริเวณปราสาทเขาพระวิหารออกจากแผนที่ ซึ่งเป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี พ.ศ. 2505 โดยวิธีการนับออกจากบันไดนาค บันไดสิงห์ 20 เมตร ห่างออกมา 100 เมตร มาถึงเป้ยตาดี โค้งไปถึงบันไดหัก

     

     

  • ปัจจุบันฝ่ายไทยได้ยึดถือเอาเส้นเขตแดนที่ปรากฏตามแผนที่ 1:50,000 ขณะที่ฝ่ายกัมพูชายึดถือแนวเส้นเขตแดนตามแผนที่ปักปันตามมาตราส่วน 1:200,000 (หรือแผนที่แบร์นาร์) ซึ่งเส้นเขตแดนทั้งสองแนวมีความแตกต่างกันมาก ดังนั้น พื้นที่ที่อยู่ในสองเส้นเขตแดนดังกล่าวจึงเป็นพื้นที่ที่เป็น Grey Area ดังนั้นการกระทำกิจกรรมใด ๆ ในพื้นที่นี้ มักจะมีการกระทบกระทั่งกันระหว่างสองฝ่ายอยู่เสมอ<

     

     

  • ในเรื่องการขึ้นทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกโลก จากการประชุมคณะรัฐมนตรีร่วมระหว่างไทยกับกัมพูชา เมื่อเดือนพฤษภาคม 2546 ได้มีมติให้ตั้งคณะกรรมการร่วมมือเพื่อพัฒนาปราสาทพระวิหาร ต่อมาในเดือนมีนาคม 2547 คณะกรรมการดังกล่าวได้มีการประชุมและตกลงในหลักการที่จะมีการพัฒนาพื้นที่บริเวณปราสาทพระวิหารเพื่อให้มีการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกในรูปแบบของการดำเนินการร่วมกัน เพื่อไม่ให้ปัญหาเขตแดนในพื้นที่ดังกล่าวเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนา

     

     

  • ต่อมาในเดือนมกราคม 2549 กัมพูชาได้ยื่นขอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกโดยใช้แผนผังที่แสดงองค์ปราสาทและพื้นที่อนุรักษ์บางส่วนล้ำเข้ามาในดินแดนไทย และได้ออกพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตคุ้มครองปราสาทพระวิหาร แสดงพื้นที่ Zone ต่าง ๆ และการใช้อำนาจอธิปไตยของกัมพูชาในเขตคุ้มครองล้ำเข้ามาในดินแดนไทย แผนผังแสดงเขตอนุรักษ์ของกัมพูชาเมื่อพิจารณาจากเส้นเขตแดนตามมติคณะรัฐมนตรี พ.ศ. 2505 จะเห็นว่าบริเวณที่เป็น Core Zone หรือ Central Zone จะล้ำเข้ามาในเขตแดนไทยประมาณ 0.5 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 331 ไร่ ส่วน Buffer Zone ไม่ได้ล้ำเข้ามาในเขตไทย แผนผังชุดนี้กัมพูชาแนบไปเมื่อเสนอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก ให้กับคณะกรรมการมรดกโลก หรือ UNESCO เป็นผู้พิจารณา

     

     

  • ส่วนที่ล้ำเข้ามาในเขตไทยตรงพื้นที่ Development Zone ประมาณ 2.5 ตารางกิโลเมตรหรือประมาณ 1,500 กว่าไร่ ปัญหาคือ ถ้าหากคณะกรรมการมรดกโลกเห็นชอบกับการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกตามคำขอของกัมพูชาแล้ว จะทำให้ท่าทีในเรื่องเขตแดนของกัมพูชาได้รับการยอมรับในระดับพหุภาคี และจะกระทบกระเทือนต่อการใช้อำนาจอธิปไตยของไทยในพื้นที่บริเวณดังกล่าว

     

     

  • ในส่วนของไทยนั้น กระทรวงการต่างประเทศตั้งคณะทำงานเพื่อศึกษาถึงผลกระทบของกรณีดังกล่าว ก่อนที่จะมีการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยที่ 31 ระหว่างวันที่ 23 มีนาคม ถึงวันที่ 2 กรกฎาคม 2550 ที่ประเทศนิวซีแลนด์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทยได้พยายามหารือกับนายฮอร์ นัม ฮง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของกัมพูชา เพื่อหาทางออกเกี่ยวกับเรื่องนี้ เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2550

     

     

  • ประเด็นที่ทั้งสองฝ่ายมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องของการจดทะเบียนขึ้นเป็นมรดกโลก ฝ่ายไทยพิจารณาและเห็นว่าทั้งสองฝ่ายควรหาข้อยุติในประเด็นสำคัญ ได้แก่ เรื่องของเส้นเขตแดน เรื่องการใช้อำนาจอธิปไตย ซึ่งจะเกี่ยวพันกับพระราชกฤษฎีกาของกัมพูชาในการบริหารจัดการพื้นที่บริเวณปราสาทพระวิหารให้ได้ก่อน แต่จากการหารือก่อนที่จะมีการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก ไม่มีความคืบหน้าเท่าที่ควร

     

     

  • ต่อมาที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลกครั้งที่ 31 มีมติให้ไทยและกัมพูชาร่วมมือกันจัดทำแผนอนุรักษ์และบริหารจัดการบริเวณปราสาทเขาพระวิหาร หมายความว่า ต้องร่วมมือกันโดยจะมีการพิจารณาคำขอขึ้นทะเบียนดังกล่าวอีกครั้งหนึ่งในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยที่ 32 ที่ควิเบก ประเทศแคนาดา ปี 2008 นี้ โดยกัมพูชามีพันธกรณีที่จะต้องเสนอรายงานความก้าวหน้า (Progress Report) ผลการดำเนินการ ให้ประธานคณะกรรมการมรดกโลกทราบ ภายในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2551 ซึ่งทราบมาว่าขณะนี้ได้ประชุมร่วมกันไปแล้วที่กรุงพนมเปญ

     

     

  • ฝ่ายไทยได้จัดตั้งคณะทำงานพิเศษว่าด้วยการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก เพื่อจัดทำ Roadmap วางยุทธศาสตร์ของไทยในการดำเนินการในเรื่องต่าง ๆ มีการจัดประชุมไปแล้วเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2550 ได้เห็นชอบให้มีการจัดทำแผนแม่บทในด้านการบริหารจัดการแผนบูรณปฏิสังขรณ์ และอนุรักษ์โบราณสถาน ตลอดจนแผนงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อสนับสนุนบทบาทของไทย ตามมติคณะกรรมการมรดกโลกครั้งที่ 31 มีลักษณะการดำเนินการร่วมกัน กำหนดแผนงานไว้ 4 แผน คือ

     

     

  • 1) แผนงานบริหารจัดการพื้นที่บริเวณปราสาทพระวิหาร โดยรวมตัวปราสาทพระวิหารและบริเวณเขาพระวิหาร

     

     

  • 2) แผนบูรณปฏิสังขรณ์และอนุรักษ์ปราสาทพระวิหาร

     

     

  • 3) แผนแก้ไขปัญหาในเรื่องเขตแดนและอำนาจอธิปไตย

     

     

  • 4) แผนในเรื่องการรักษาความมั่นคงและการเก็บกู้ทุ่นระเบิด

     

     

  • สิ่งที่อาจจะเป็นผลตามมาและกระทบกระเทือนต่อความสัมพันธ์ไทย-กัมพูชา ซึ่งคาดว่าเป็นข้อกังวลของฝ่ายไทยมี 2 กรณี คือ

     

     

  • กรณีแรก คือ หากกัมพูชาขึ้นทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกโลกโดยลำพัง (Separate Nomination) ได้เป็นผลสำเร็จ สิ่งที่ตามมาคือ ปัญหาเรื่องการใช้อำนาจอธิปไตยของกัมพูชาเหนือปราสาทพระวิหาร เนื่องจากแผนผังชุดนี้แสดงเขตคุ้มครองปราสาทพระวิหาร มีพื้นที่พัฒนารุกล้ำเข้ามา 2.5 ตารางกิโลเมตร เทียบกับมติคณะรัฐมนตรี พ.ศ. 2505 ซึ่งถ้าหากกัมพูชาสามารถขึ้นทะเบียนได้เป็นผลสำเร็จ แผนผังชุดนี้จะมีบังคับใช้โดยปริยาย ซึ่งในทางปฏิบัติแล้วทั้งสองฝ่ายควรจะมีสิทธิ์ที่จะกำหนดพื้นที่ที่จะเป็น Central Zone หรือ Buffer Zone หรือ Development Zone เพราะว่าเป็นพื้นที่ที่จำเป็นต้องได้รับการพัฒนาร่วมกัน หรือร่วมมือกันพัฒนาจึงจะประสบผลสำเร็จ โดยที่ยังไม่ต้องพูดถึงเรื่องของเขตแดน กล่าวอีกนัยหนึ่งไม่ให้เรื่องของเขตแดนเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาร่วม แต่ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของกลไกในการเจรจาในเรื่องของเขตแดนของทั้งสองฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

     

     

  • กรณีที่ 2 คือ ถ้าหากกัมพูชาขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกไม่สำเร็จ ในลักษณะที่ไม่ได้มีการดำเนินการร่วมมือ สิ่งที่ตามมาคือ ฝ่ายไทยจะตกเป็นจำเลยว่าเป็นผู้ขัดขวางการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกของกัมพูชา ประกอบกับในช่วงนี้เป็นระยะของการหาเสียงทางการเมืองของกัมพูชา เกรงว่าประเด็นเขาพระวิหารอาจถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นประเด็นทางการเมือง ซึ่งอาจจะทำให้กระทบกระเทือนต่อความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศได้

     

     

  • สรุป ทั้งสองกรณีต่างก่อให้เกิดผลเสียหายแก่ประเทศไทยทั้งสิ้น กรณีแรก ขึ้นทะเบียนได้ก็มีผลเรื่องการใช้อำนาจอธิปไตย กรณีที่สอง ขึ้นทะเบียนไม่ได้ไทยก็ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้ขัดขวาง ขอเรียนชี้แจงว่า ขณะนี้ฝ่ายไทยในระดับรัฐบาล โดยเฉพาะกระทรวงการต่างประเทศมิได้ต้องการคัดค้านฝ่ายกัมพูชาในการขอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก ตามที่สื่อของทั้งสองฝ่ายได้ประโคมข่าวแต่อย่างใด

     

     

  • ในทางตรงข้าม นโยบายในระดับรัฐบาลของไทยมีท่าทีที่ชัดเจนในการสนับสนุนการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารของกัมพูชาเป็นมรดกโลกให้ได้ โดยขอให้เป็นการขึ้นทะเบียนร่วมกัน (Joint Nomination) และยังไม่เอาเรื่องเขตแดนมาเกี่ยวข้อง เรื่องของเขตแดนถือเป็น Unresolved Problem สมมติว่าพื้นที่ที่กัมพูชาเคยเสนอให้เป็น Core Zone หรือ Central Zone ก็ควรให้ฝ่ายไทยมีส่วนร่วมในการพิจารณาด้วย เมื่อจะมีการพัฒนาพื้นที่ร่วมกันแล้วไทยควรมีส่วนร่วมในการพิจารณา การขยายขอบเขตพื้นที่ที่เป็น Central Zone เข้ามาครอบคลุมพื้นที่ทางฝั่งไทยโดยอาจรวมพื้นที่ที่ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของปราสาทพระวิหารเข้าไปด้วย เช่น สระตราว ซึ่งนักวิชาการของไทยถือว่าเป็นบาราย อันเป็นส่วนหนึ่งของปราสาทพระวิหาร ในหลักการแล้ว ทั้งสองฝ่ายควรมีส่วนในการพิจารณาร่วมกัน โดยทั้งนี้ลืมเรื่องเส้นเขตแดนเอาไว้ก่อน

Tam-mic-ra ฟันธง!  คำว่า "โดนพริกไทยมั๊ง" น่ะ แค่นี่เอามาเป็นหลักฐาน ได้ยังไงครับ .....  คิดครับคิด  :lol:   จากกระทู้แก้ข่าวหน้า 2 qoute #96  ใครยิงวสันต์-ภู่ทอง   แอลพีจีทำมาจากซี2ซี3


#20 Stargate-1

Stargate-1

    SG-1

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,578 posts

ตอบ 16 มกราคม พ.ศ. 2556 - 16:40

http://www.dailynews...e/176699/176712

 

จากกรณีข้อพิพาทปราสาทพระวิหาร ระหว่างประเทศไทยและกัมพูชา ที่กำลังรอการชี้ขาดจากศาลโลกในเดือนตุลาคมถึงธันวาคมนี้ เดลินิวส์ออนไลน์ ขอนำ ข้อมูลที่ประชาชนไทยควรทราบเกี่ยวกับกรณีปราสาทพระวิหารและการเจรจาเขตแดนไทย-กัมพูชา ซึ่งทาง กระทรวงการต่างประเทศ ได้จัดพิมพ์เป็นหนังสือแจกจ่ายให้แก่ประชาชนได้รับทราบข้อมูลในเรื่องปราสาทเขาพระวิหารตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

เริ่มกันที่ ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับปราสาทพระวิหาร ปราสาทดังกล่าวเป็นปราสาทโบราณตามแบบศิลปะขอม ตั้งอยู่บนภูเขาเทือกเขาพนมดงรัก บริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา ตรงข้ามบ้านภูมิซรอล ตำบลบึงมะลู อำเภอกันทรลักษณ์ จังหวัดศรีสะเกษ ตัวปราสาทไล่เรียงเป็นชั้น ๆ เป็นทางยาวตามแกนทิศเหนือ-ใต้ เริ่มจากเชิงเขาด้านล่างทางทิศเหนือไปจนสุดยอดเขา ซึ่งสูงห่างจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 646 เมตร

ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ปราสาทพระวิหารสร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 15-16 เพื่อเป็นศาสนสถานตามคติความเชื่อในศาสนาฮินดูลัทธิไศวนิกายที่นับถือพระศิวะเป็นเทพสูงสุด ถือเป็นร่องรอยความเจริญรุ่งเรืองและวิถีชีวิตของผู้คนในอดีต และยังสะท้อนถึงความสำคัญของปราสาทที่เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจและสร้างความสัมพันธ์ใกล้ชิดระหว่างผู้คนในชุมชนโบราณในดินแดนแถบนี้มาแต่บรรพกาล

ในส่วนของ สนธิสัญญากำหนดเขตแดน สยาม-ฝรั่งเศส มีประวัติการกำหนดเขตแดน ระหว่างสยามกับอินโดจีนฝรั่งเศส ดังนี้ วิกฤติการณ์ปากน้ำ ร.ศ.112 เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม ค.ศ.1893 ฝรั่งเศสได้ส่งเรือรบ 2 ลำ ฝ่าป้อมพระจุลที่เมืองปากน้ำ เอาปืนเรือข่มขู่ขึ้นตั้งเล็งจะระดมยิงพระบรมมหาราชวัง ผลคือ สยามตกลงทำสนธิสัญญากับฝรั่งเศส ที่ต้องสละประเทศราช ได้แก่ ดินแดนลาว คือ ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำโขง รวมทั้งเกาะแก่ง ตลอดจนต้องชดใช้ค่าเสียหายให้ฝรั่งเศส 2 ล้านฟรังก์ ตามสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ลงวันที่ 3 ตุลาคม ค.ศ.1893

อนุสัญญา ค.ศ.1904 วันที่ 13 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1904 สยามตกลงทำอนุสัญญา ค.ศ.1904 สละดินแดนประเทศราช “ไซยะบูลี” (ตรงข้ามหลวงพระบาง) “จำปาศักดิ์” (รวมทั้งปราสาทวัดพู) และ “เมืองมโนไพร” ทางด้านฝั่งขวาของแม่น้ำโขงสุดเทือกเขาพนมดงรักไปอีก โดยอนุสัญญา ค.ศ.1904 นี้ ได้กำหนดว่าเขตแดนสยาม-อินโดจีนฝรั่งเศส แบ่งโดยใช้ “สันปันน้ำ” (ข้อ1) กับให้มีการตั้ง “ข้าหลวงผสม (สยาม-อินโดจีนฝรั่งเศส)” ทำการกำหนดเขตแดนหรือแผนที่ (ข้อ 3) อย่างไรก็ตามแม้ว่าจะตกลงกันได้ดังนี้ ฝรั่งเศสก็ยังคงยึดเมืองด่านซ้าย (จังหวัดเลย) กับเมืองตราดไว้เป็นประกันต่อไปอีก 3 ปี อนุสัญญานี้กำหนดเขตแดนบริเวณปราสาทพระวิหารด้วย

สนธิสัญญา ค.ศ.1907 วันที่ 23 มีนาคม ค.ศ.1907 สืบเนื่องจากอนุสัญญา ค.ศ.1904 (ข้อ 1และ2) สยามยกเมืองพระตะบอง เสียมราฐ และศรีโสภณ ให้กับอินโดจีนฝรั่งเศส เพื่อแลกกับเมืองด่านซ้ายและเมืองตราดตลอดจนเกาะทั้งหลายใต้แหลมจนถึงเกาะกูด

ปัจจุบันประเทศไทยมีเขตแดนทางบกร่วมกับกัมพูชา 798 กิโลเมตร เป็นพื้นที่ที่ยังไม่ได้ปักหลักเขตแดน 195 กิโลเมตร (ตามอนุสัญญา ค.ศ.1904 และสนธิสัญญา ค.ศ.1907) และพื้นที่ที่ปักหลักเขตแดนแล้ว (จำนวน 73 หลัก) 603 กิโลเมตร (หลักเขตที่ 1 ช่องสะงำ อำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ-หลักเขตที่ 73 บ้านหาดเล็ก อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด ตามสนธิสัญญา ค.ศ.1907) พื้นที่บริเวณปราสาทพระวิหารอยู่ในเขตแดนช่วงที่ไม่มีการปักหลักเขตแดน (195 กิโลเมตร) ซึ่งอนุสัญญา ค.ศ.1904 กำหนดให้เส้นเขตแดนบริเวณนี้เป็นไปตามสันปันน้ำของเทือกเขาพนมดงรัก

คณะกรรมการปักปันผสมตามอนุสัญญา ค.ศ.1904 นี้ ฝ่ายฝรั่งเศส นำโดยพันตรีแบร์นาร์ดและฝ่ายสยาม นำโดย พลตรีหม่อมชาติเดชอุดม ได้มีการพบกันครั้งสุดท้าย เมื่อวันที่ 18 มกราคม ค.ศ.1907 โดยขณะนั้นเจ้าหน้าที่จัดทำแผนที่ยังดำเนินการไม่เสร็จสิ้น โดยเมื่อฝ่ายฝรั่งเศสได้นำผลสำรวจกลับไปจัดทำแผนที่ประเทศฝรั่งเศสแล้วส่งแผนที่ที่จัดทำ (แผนที่มาตราส่วน 1 : 200,000) ให้ประเทศไทยในเดือนสิงหาคม ค.ศ.1908 จำนวน 11 ระวางนั้น แผนที่ดังกล่าวไม่ได้รับการรับรองโดยคณะกรรมการปักปันผสมตามอนุสัญญา ค.ศ.1904 เพราะคณะกรรมการปักปันผสมชุดนี้ ได้สลายตัวไปก่อนที่แผนที่ชุดดังกล่าวจะจัดพิมพ์เสร็จ


Tam-mic-ra ฟันธง!  คำว่า "โดนพริกไทยมั๊ง" น่ะ แค่นี่เอามาเป็นหลักฐาน ได้ยังไงครับ .....  คิดครับคิด  :lol:   จากกระทู้แก้ข่าวหน้า 2 qoute #96  ใครยิงวสันต์-ภู่ทอง   แอลพีจีทำมาจากซี2ซี3


#21 mr.patton

mr.patton

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 579 posts

ตอบ 16 มกราคม พ.ศ. 2556 - 17:01

ถ้าเป็นเรื่องปกป้องผลประโยชน์ของชาติ เเล้ว  "ไม่มีชนชาติใดยอมรับการเสียดินเเดน ไม่ว่ามันจะชอบธรรมหรือยุติธรรม หรือไม่ ผมเห็นก็เเต่ชนชาติไทยบ้างพวกนี้ ละ คับ ช่วยกันเเก้ต่างให้ชาติศัตรู จะเรียกคนพวกนี้ว่าพวกขายชาติได้ไหม สำหรับ ทักษิณ ฮุนเซน พวกนายทุนทรราช ชาติมหาอำนาจ ดินเเดนนี้มันก็เเค่ที่ ที่หนึ่ง เเต่สำหรับคนชาติไทยนั้น ดินเเดนนี้มันคือ บ้าน"    

 

พวกที่สนับสนุนรัฐบาลทรราชยกเเผ่นดินไทยให้เขมร จงรับรู้ไว้  



#22 susu

susu

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 2,066 posts

ตอบ 18 มกราคม พ.ศ. 2556 - 08:22

แนะนำคุณ bied อ่านอันนี้ประกอบไปด้วยครับ สั้นๆแต่ได้ใจความ แบบ time line  ด้วย  

+  น่าเชื่อถือดีด้วยครับ

 

http://heritage.mod....e/prawihan2.htm

 

ขอบคุณที่แนะนำค่ะ...แต่สิ่งที่ bird มีอยู่ ก็ดีพอสำหรับ bird แล้วค่ะ  

ของเขาเป็น ความคิดเห็นประกอบข้อมูลเสียมาก เท่าที่อ่านนะครับ อ่านได้ แต่ ใช้อ้างอิงคงไม่ได้



#23 hinotori

hinotori

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,899 posts

ตอบ 18 มกราคม พ.ศ. 2556 - 08:35

ผมว่านะ ไม่ต้องใครที่ไหนล่ะ เอาสมาชิก สรท. กับผู้รักชาติที่ค้นหาข้อมูลมาตลอด

ไปเป็นทีมทนาย เราอาจมีสิทธิ์พลิกคดีได้เลย

#24 bird

bird

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 4,191 posts

ตอบ 19 มกราคม พ.ศ. 2556 - 00:28

ประเด็นสำคัญคือ นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1907  ไทย-กัมพูชายังไม่มีการปักปันเขต

เพิ่มเติมขึ้นมาจวบจนกระทั้งปัจจุบัน ยังคงมีหลักมุดแสดงเขตแดนที่ได้ทำขึ้น

ตามสนธิสัญญา ซึ่งมีการลงนามรับรองจากกรุงสยาม(ไนขณะนั้น) กับผู้แทน

จากกรุงฝรั่งเศส (ในขณะนั้น) ซึ่งในปัจจุบันคณะกรรมการปักปันเขตแดนร่วม

ยังคงทำการค้นหาหลักมุดเดิม ถ้าข้อมูลไม่คลาดเคลื่อนน่าจะพบไปแล้ว

ประมาณ 62 - 63 หลัก  ขออนุญาตแก้ไขเป็น  48  หลัก ตามผลการประชุมค่ะ

 

จำได้แต่ว่า หลักที่ 62 ปักอยู่กลางคลอง ( เคย save รูปไว้ แต่ยังหาไม่เจอ

ขออนุญาติละไว้ก่อน)

 

ละไว้ตรงนี้ก่อน...เพราะนับจากช่วงเวลานี้จะเข้าสู่จุดเปลี่ยนประเด็นปัญหาที่ต้องใช้

ความระมัดระวังในการพิมพ์อย่างมาก...

 

ตามสัญญาค่ะ หลักฐานการค้นพบ หลักเขตแดนที่  62 และ 63

 

8A02kS.gif

 

 

และหลักฐานการยืนยันข้อมูลที่ว่า ในปัจจุบันยังไม่มีการปักปันเขตแดนเพิ่มเติม

จากเดิม

 

bmx4Ap.JPG



#25 Stargate-1

Stargate-1

    SG-1

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,578 posts

ตอบ 20 มกราคม พ.ศ. 2556 - 22:10

http://www.oknation....t.php?id=283984

 

สรุปเหตุผล กรณีพิพาทเรื่องเขาพระวิหาร 2505 ไทยแพ้คดีในศาลโลก

 

                   551000008756401.jpg

 

คําร้องของกัมพูชาที่สำคัญที่ให้ศาลโลกวินิจฉัยคือประเด็นที่ว่า กัมพูชามีอำนาจอธิปไตยเหนือดินแดนอันเป็นที่ตั้งของปราสาทพระวิหาร การนำเสนอพยานหลักฐานของทั้งสองฝ่ายนั้นมีดังนี้

           ฝ่ายไทยเสนอว่า หากพิจารณาตามสนธิสัญญาที่สยามทำกับประเทศฝรั่งเศส (ขณะนั้นประเทศฝรั่งเศสปกครองกัมพูชา) เมื่อปี ค.ศ.1904 ซึ่งตามสนธิสัญญาจะใช้ "สันปันน้ำ" (watershed) ปราสาทพระวิหารจะอยู่ฝั่งไทย แต่หากพิจารณาตามแผนที่ ปราสาทพระวิหารจะอยู่ฝั่งกัมพูชา

 

                        551000007805601.jpg

  ขออธิบายตรงนี้เลยว่าหลังจากที่มีการทำสนธิสัญญาทวิภาคีในปี ค.ศ.1904 ทั้งสองฝ่ายได้ตั้งคณะกรรมการผสมขึ้น และไม่นานนัก คณะกรรมการชุดนี้ก็มิได้ทำงานอีกต่อไป ต่อมา ฝ่ายไทยได้ร้องขอให้ประเทศฝรั่งเศสจัดทำแผนที่ขึ้น ข้อสังเกตเกี่ยวกับแผนที่เจ้าปัญหาฉบับนี้ มีดังนี้

 

              ประการแรก แผนที่นี้เป็นการร้องขอจากฝ่ายไทยให้ประเทศฝรั่งเศสทำขึ้น แผนที่นี้ทำขึ้นที่กรุงปารีส การที่ประเทศร้องขอให้ประเทศฝรั่งเศสทำขึ้นนั้นเป็นเพราะว่าในขณะนั้น ประเทศไทยยังขาดผู้เชี่ยวชาญในการทำแผนที่

             ประการที่สอง การปักปันเขตแดนแล้วลงมาตราส่วนลงในแผนที่เป็นการกระทำฝ่ายเดียวของประเทศฝรั่งเศส โดยที่ฝ่ายไทยไม่มีส่วนร่วมเลย

             ประการที่สาม การทำแผนที่นี้ไม่เกี่ยวกับคณะกรรมการผสมแต่อย่างใด ในประเด็นนี้ผู้พิพากษาฟิสต์มอริสซึ่งเป็นหนึ่งในองค์คณะกล่าวว่า คณะกรรมการผสมไม่เคยแม้แต่จะ "เห็น" แผนที่นี้ อย่าว่าแต่ "รับรอง" เลย เป็นการร้องขอฝ่ายเดียวจากรัฐบาลไทย

             ประการที่สี่ เป็นเรื่องที่สำคัญที่สุดและเป็นเหตุผลสำคัญที่ศาลโลกวินิจฉัยให้ประเทศไทยแพ้ก็คือ แม้ประเทศไทยจะไม่มีส่วนในการทำแผนที่ แต่ประเทศไทยก็ไม่เคยคัดค้านหรือประท้วงเกี่ยวกับความถูกต้องของแผนที่ ทั้งๆ ที่ประเทศไทยมีโอกาสอยู่หลายครั้งที่จะทักท้วงหรือประท้วงถึงความคลาด เคลื่อนหรือความผิดพลาดของแผนที่

           โอกาสที่จะประท้วงความไม่ถูกต้องของแผนที่ เช่น กรณีการเจรจาทำสนธิสัญญาทางไมตรี พาณิชย์และการเดินเรือกับประเทศฝรั่งเศสที่ทำขึ้นในปี ค.ศ.1925-1937 แต่ไทยก็มิได้ทักท้วง

           ซึ่งศาลโลกเห็นว่า การนิ่งเฉยของประเทศไทยเป็นเวลานานเท่ากับเป็นการยอมรับความถูกต้องของแผนที่แล้ว จะมาปฏิเสธในภายหลังนั้น ไม่อาจกระทำได้ เป็นการปิดปากประเทศไทยว่าจะมาปฏิเสธความผิดพลาดของแผนที่ไม่ได้

           ยิ่งไปกว่านั้น ทางการของไทยเองยังได้ทำแผนที่ใช้ขึ้นเองอีกด้วยในปี ค.ศ.1937 โดยแผนที่ที่เจ้าหน้าที่ของไทยเป็นผู้จัดทำ ได้แสดงว่าปราสาทพระวิหารตั้งอยู่ในดินแดนของกัมพูชา ประเด็นนี้ไทยอ้างว่า แผนที่ที่ไทยทำขึ้นเองฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในการทหารเป็นการภายในเท่านั้น แต่ศาลโลกไม่เห็นด้วยกับข้ออ้างของไทยในประเด็นนี้

           เหตุผลประการหนึ่งที่ศาลโลกเห็นว่า ประเทศไทยยอมรับอำนาจอธิปไตยของกัมพูชาเหนือที่ตั้งปราสาทพระวิหารก็คือ การที่กรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ไปเยือนกึ่งเป็นทางการที่ปราสาทพระวิหาร ในครั้งนั้น กองทหารฝรั่งเศสได้ตั้งกองทหารเกียรติยศรับการเสด็จอย่างเต็มที่ และยังชักธงชาติของประเทศฝรั่งเศสด้วย

           ซึ่งศาลโลกเห็นว่า เท่ากับประเทศไทยยอมรับอำนาจอธิปไตยเหนือปราสาทพระวิหารว่าเป็นของกัมพูชา (ภายใต้การปกครองของฝรั่งเศส) อย่างไรก็ตาม ประเด็นนี้ ผู้พิพากษาศาลโลกท่านหนึ่งคือ ท่านเวลลิงตัน คู ซึ่งเป็นตุลาการเสียงข้างน้อยได้ทำความเห็นแย้งว่า ในเวลานั้นกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยแล้ว แต่ดำรงตำแหน่งนายกราชบัณฑิตยสถานแห่งประเทศไทย อีกทั้งพระองค์ยังตรัสว่า การมาเยือนปราสาทพระวิหารนี้ไม่เกี่ยวกับการเมือง

           นอกจากนี้ สาเหตุอีกประการหนึ่งที่ไทยแพ้คดีอาจเป็นผลมาจากการตั้งรูปคดีที่ผิดพลาดมา ตั้งแต่ต้น แทนที่ประเทศไทยจะปฏิเสธความผิดพลาดของแผนที่ ควรรับประเด็นเรื่องแผนที่ แล้วยกข้อต่อสู้ว่า ในกรณีที่ข้อความในสนธิสัญญาที่ให้ใช้ "สันปันน้ำ" แย้งกับ "แผนที่" ในกรณีนี้ให้ถือว่าข้อความในสนธิสัญญามีค่าบังคับเหนือกว่า

           ซึ่งอนุสัญญาแวร์ซายส์ มาตรา 29 ก็มีข้อความทำนองนี้ อีกทั้งก็มีคดีที่ศาลตัดสินให้ความน่าเชื่อถือของสนธิสัญญายิ่งกว่าแผนที่

            จริงหรือที่ "การนิ่งเฉย" หรือ "กฎหมายปิดปาก" มิใช่เป็นหลักกฎหมาย

           หลังจากที่ไทยแพ้คดี นายถนัด คอมันตร์ รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศเวลานั้นกล่าวทำนองว่าศาลโลกนำหลักกฎหมายที่ไม่ชัดเจนมาตัดสินคดี ที่น่าคิดก็คือ ทำไมทนายฝ่ายไทยไม่ทราบ หรือว่า "หลักกฎหมายปิดปาก" หรือ "การนิ่งเฉย" นั้น ศาลโลกหรืออนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศเคยนำมาใช้หลายคดีแล้ว

           อีกทั้งนักกฎหมายระหว่างประเทศก็ยังได้เขียนบทความเรื่อง "หลักกฎหมายปิดปากที่ใช้ในศาลระหว่างประเทศและความสัมพันธ์ของหลักกฎหมาย ดังกล่าวกับการนิ่งเฉย" (Estoppel before Internationals and Its Relation to Acquiescence) เขียนโดยนักกฎหมายระหว่างประเทศชื่อ Bowett ลงในวารสาร British Yearbook of International Law ปี ค.ศ.1957 และบทความชื่อ "หลักกฎหมายปิดปากในกฎหมายระหว่างประเทศ" โดย Mcgibborn ในวารสาร International and Comparative Law Quarterly ปี 1958 ซึ่งตีพิมพ์ก่อนที่ศาลโลกจะตัดสินประมาณ 3-4 ปี

           ไม่อาจคาดการณ์ได้แน่ชัดว่าฝ่ายไทยได้เคยอ่านบทความนี้หรือไม่ แต่ไม่ว่าฝ่ายไทยจะได้เคยอ่านบทความนี้หรือไม่ก็ตาม ประเด็นที่น่าคิดก็คือ ทนายความของฝ่ายไทยน่าจะย่อมรู้ถึงหลักกฎหมายปิดปากเป็นอย่างดี

           เพราะหลักว่าด้วย "การถูกการตัดสิทธิ" (Preclusion) หรือ "การนิ่งเฉย" อาจเทียบได้หรือมีผลเท่ากันกับ "หลักกฎหมายปิดปาก" อันเป็นหลักกฎหมายอังกฤษ หรือแองโกลแซกซอน

  บทส่งท้าย

           สรุปเหตุผลที่แท้จริงที่ประเทศไทยเสียปราสาทพระวิหารคือ การยอมรับความคลาดเคลื่อนของแผนที่อันเป็นผลมาจากการทำแผนที่ฝ่ายเดียวของ เจ้าหน้าที่ฝรั่งเศส ซึ่งศาลโลกเห็นว่า หลังจากที่ทำสนธิสัญญาประเทศสยามอยู่ในฐานะที่จะคัดค้านความไม่ถูกต้องของ แผนที่ได้หลายครั้ง แต่ก็มิได้คัดค้าน จึงปิดปากประเทศสยามว่าต่อมาจะปฏิเสธความไม่ถูกต้องของแผนที่ไม่ได้       
           

 

 

ตัดจากบทความบางส่วน ที่เขียนโดย ประสิทธิ์ ปิวาวัฒนพานิช คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์


Edited by Stargate-1, 20 มกราคม พ.ศ. 2556 - 22:15.

Tam-mic-ra ฟันธง!  คำว่า "โดนพริกไทยมั๊ง" น่ะ แค่นี่เอามาเป็นหลักฐาน ได้ยังไงครับ .....  คิดครับคิด  :lol:   จากกระทู้แก้ข่าวหน้า 2 qoute #96  ใครยิงวสันต์-ภู่ทอง   แอลพีจีทำมาจากซี2ซี3


#26 Stargate-1

Stargate-1

    SG-1

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,578 posts

ตอบ 20 มกราคม พ.ศ. 2556 - 22:12

http://www.manager.c...D=9510000074449
ผู้จัดการออนไลน์ - เปิดเอกสาร แถลงการณ์ร่วม (Joint Communique) ที่นายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ลงนามกับ นายซก อัน รองนายกรัฐมนตรีกัมพูชา โดยมีเจ้าหน้าที่ระดับสูงของยูเนสโกลงนามเป็นพยานเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2551 (ค.ศ.2008) อันเป็นผลมาจากการประชุมหารือเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2551


แถลงการณ์ร่วม


ณ วันที่ 22 พฤษภาคม 2008 มีการประชุมหารือกันระหว่าง นายซก ฮัน รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีรับผิดชอบสำนักคณะรัฐมนตรี แห่งราชอาณาจักรกัมพูชา และนายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศแห่งราชอาณาจักรไทย เพื่อสืบต่อการหารือระหว่างทั้งสองท่าน ว่าด้วยการขอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารไว้ในบัญชีมรดกโลก การประชุมคราวนี้จัดขึ้นที่สำนักงานใหญ่ขององค์การยูเนสโก ในกรุงปารีส โดยที่มีท่านอื่นๆ เข้าร่วมด้วย ได้แก่ นางฟรองซัวส์ ริเวเร (Francoise Riviere) ผู้ช่วยผู้อำนวยการใหญ่ฝ่ายวัฒนธรรมของยูเนสโก, เอกอัครราชทูต ฟรานเซสโก คารูโซ (Francesco Caruso), นาย อาเซดิโน เบสชอต (Azedino Beschaouch), นางเปาลา เลออนซินี บาร์โตลี (Paola Leoncini Bartoli) และนายจิโอวานนี บอคคาร์ดี (Giovanni Boccardi)

การประชุมหารือคราวนี้ดำเนินไปด้วยเจตนารมณ์แห่งมิตรภาพและความร่วมมือกัน

ระหว่างการประชุมหารือ ทั้งสองฝ่ายได้ทำความตกลงกันดังต่อไปนี้

1. ราชอาณาจักรไทยสนับสนุนการขึ้นทะเบียนประสาทพระวิหาร เข้าไว้ในบัญชีมรดกโลก ตามการเสนอของราชอาณาจักรกัมพูชา ณ การประชุมครั้งที่ 32 ของคณะกรรมการพิจารณามรดกโลก (นครควิเบก, ประเทศแคนาดา, เดือนกรกฎาคม 2008) ตามขอบเขตรอบดินแดนซึ่งระบุไว้ว่าเป็น หมายเลข 1 ในแผนที่ซึ่งจัดทำโดยทางการผู้รับผิดชอบของกัมพูชา และได้แนบท้ายมาด้วยแล้ว แผนที่ดังกล่าวยังได้ครอบคลุมพื้นที่กันชนทางด้านตะวันออกและด้านใต้ของปราสาท โดยระบุให้เป็น หมายเลข 2

2. ด้วยเจตนารมณ์แห่งมิตรภาพและความร่วมมือกัน ราชอาณาจักรกัมพูชายอมรับว่า ปราสาทพระวิหารที่จะเสนอขอขึ้นทะเบียนไว้ในบัญชีมรดกโลก ในขั้นนี้จะไม่ได้รวมพื้นที่กันชนทางด้านเหนือและด้านตะวันตกของปราสาท

3. แผนที่ซึ่งอ้างไว้ในวรรค 1 ข้างต้น จะแทนที่แผนที่ต่างๆ ซึ่งเกี่ยวข้องและบรรจุไว้ใน “Schema Directeur pour le Zonage de Preah Vihear” ตลอดจนการอ้างอิงด้านกราฟฟิกทั้งหมดที่ระบุบ่งชี้ถึง “บริเวณหลัก” (core zone) และการแบ่งบริเวณอื่นๆ (zonage) ของปราสาทพระวิหาร ที่บรรจุอยู่ในแฟ้มเสนอขอขึ้นทะเบียนของกัมพูชาด้วย

4. ระหว่างที่รอผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการร่วมเพื่อการปักปันเขตแดนทางบก (Joint Commission for Land Boundary หรือ JBC) เกี่ยวกับพื้นที่ด้านเหนือและด้านตะวันตกรอบๆ ปราสาทพระวิหาร ซึ่งได้รับการระบุให้เป็น หมายเลข 3 ในแผนที่ที่อ้างอิงไว้ในวรรค 1 ข้างต้น แผนการบริหารจัดการพื้นที่เหล่านี้จะได้รับการจัดทำในลักษณะของการประสานร่วมมือกันระหว่างทางการผู้รับผิดชอบของกัมพูชาและทางการผู้รับผิดชอบของไทย โดยสอดคล้องกับมาตรฐานการอนุรักษ์ระหว่างประเทศ ด้วยทัศนะที่มุ่งรักษาคุณค่าอันเป็นสากลที่โดดเด่นของทรัพย์สินดังกล่าวนี้ แผนการบริหารจัดการดังกล่าวนี้จะบรรจุไว้ในแผนการบริหารจัดการสุดท้ายสำหรับปราสาทพระวิหารและบริเวณรอบๆ ปราสาท ซึ่งจะยื่นเสนอต่อศูนย์กลางมรดกโลก (World Heritage Centre) ภายในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2010 เพื่อการพิจารณาของคณะกรรมการพิจารณามรดกโลก ในการประชุมครั้งที่ 34 ในปี 2010

5. การขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารไว้ในบัญชีมรดกโลกครั้งนี้ จะไม่ทำให้เสื่อมเสียสิทธิ์ของราชอาณาจักรกัมพูชาและราชอาณาจักรไทย ในการกำหนดปักปันเขตแดนของคณะกรรมการร่วมเพื่อการปักปันเขตแดนทางบก (JBC) ของประเทศทั้งสอง

6. ราชอาณาจักรกัมพูชาและราชอาณาจักรไทย ขอแสดงความซาบซึ้งใจอย่างยิ่งต่อท่านผู้อำนวยการใหญ่องค์การยูเนสโก ฯพณฯ นายโคอิชิโร มัตสึอุระ สำหรับความช่วยเหลือของท่านในการอำนวยความสะดวกให้แก่กระบวนการเพื่อการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารไว้ในบัญชีมรดกโลก

พนมเปญ, 18 มิถุนายน 2008 กรุงเทพฯ, 18 มิถุนายน 2008

ในนามรัฐบาลราชอาณาจักรกัมพูชา ในนามรัฐบาลราชอาณาจักรไทย

ฯพณฯ นาย ซก อัน ฯพณฯ นายนพดล ปัทมะ
รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
รัฐมนตรีรับผิดชอบสำนักคณะรัฐมนตรี


ปารีส, 18 มิถุนายน 2008
ผู้แทนของยูเนสโก



ฟรองซัวส์ ริวีเร
ผู้ช่วยผู้อำนวยการใหญ่ฝ่ายวัฒนธรรม




สำหรับคำอธิบายและการแจกแจงเนื้อหาของแถลงการณ์ร่วมข้างต้น (รวมถึงแผนผังแนบท้าย) ม.ล.วัลย์วิภา จรูญโรจน์ นักวิจัยผู้เชี่ยวชาญ สถาบันไทยคดีศึกษา ชี้ให้เห็นประเด็นบางประการที่ไว้ดังนี้คือ

ข้อที่ 1 ที่ระบุว่า ไทยสนับสนุนการลงทะเบียนประสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกในการประชุมคณะกรรมการพิจารณามรดกโลกครั้งที่ 32 เมื่อเดือนกรกฎาคม 2551 ณ นครควิเบก ประเทศแคนาดา โดยการกำหนดเขตรอบดินแดนนั้นระบุตามหมายเลข 1 ในแผนที่ซึ่งจัดทำโดยกัมพูชา รวมถึงหมายเลข 2 คือ ด้านตะวันออกและด้านใต้ของปราสาทก็ถูกรวมเข้าไปในแผนที่ดังกล่าวด้วย

ข้อที่ 2 ที่ระบุว่า เพื่อเห็นแก่ความปรองดอง กัมพูชาจะยอมรับการเสนอให้ปราสาทพระวิหารขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกโดยละเว้นการระบุว่าพื้นที่บริเวณด้านเหนือและด้านตะวันตกของตัวปราสาทว่าเป็นของใคร และ ข้อที่ 5 ที่ระบุว่า การลงทะเบียนปราสาทพระวิหารให้เป็นมรดกโลกจะต้องปราศจากการละเมิดสิทธิของกัมพูชาและไทย ในการกำหนดเขตแดนในการทำงานของคณะทำงานร่วม The Joint Commission for Land Boundary (JBC) ของทั้งสองประเทศ ซึ่ง แถลงการณ์ร่วมทั้ง 3 ข้อนั้นบ่งชี้ว่าไทยยอมรับแผนที่ปักปันที่ทางกัมพูชาทำเสนอในขอขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกในมาตรการส่วน 1:200,000 โดยไม่ได้ยอมรับแผนที่ของฝ่ายไทยที่ยึดถือแผนที่มาตรส่วน 1:50,000 ตามมติคณะรัฐมนตรีปี 2505 ซึ่งถือเป็นการขัดต่อมติคณะรัฐมนตรี และการที่ไทยยอมรับพื้นที่ตามแผนผังจะถือว่าเป็นการยอมรับพื้นที่ตามพระราชกฤษฎีกาของกัมพูชาเท่ากับว่าไทยต้องเสียดินแดนที่เป็นปัญหาทับซ้อนกันให้กับกัมพูชาถึง 4.6 ตารางกิโลเมตร (อ่านข่าวเพิ่มเติม : นักวิชาการยันไทยเสียดินแดนให้กัมพูชา 4.6 ตร.กม.)

นอกจากประเด็นข้างต้นแล้ว ยังมีนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญชี้ให้ด้วยเห็นว่า “แถลงการณ์ร่วม” ฉบับนี้ในทางสากลอาจมีผลเช่นเดียวกันกับ “หนังสือสัญญา” ระหว่างรัฐต่อรัฐ และอาจมีผลทำให้ประเทศไทยสูญเสียอธิปไตยเหนือดินแดนอีกด้วย

post-14906-0-88329700-1358440282.jpg
สำเนาต้นฉบับหน้าที่ 1

post-14906-0-98068400-1358440299.jpg
สำเนาต้นฉบับหน้าที่ 2

post-14906-0-88273600-1358440604.jpg
สำเนาต้นฉบับหน้าที่ 3


Edited by Stargate-1, 17 มกราคม พ.ศ. 2556 - 23:44.


Tam-mic-ra ฟันธง!  คำว่า "โดนพริกไทยมั๊ง" น่ะ แค่นี่เอามาเป็นหลักฐาน ได้ยังไงครับ .....  คิดครับคิด  :lol:   จากกระทู้แก้ข่าวหน้า 2 qoute #96  ใครยิงวสันต์-ภู่ทอง   แอลพีจีทำมาจากซี2ซี3


#27 Stargate-1

Stargate-1

    SG-1

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,578 posts

ตอบ 20 มกราคม พ.ศ. 2556 - 22:22

http://th.wikipedia....rg/wiki/มรดกโลก

 

มรดกโลก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
 
ตราสัญลักษณ์

มรดกโลก (อังกฤษ: World Heritage Site; ฝรั่งเศส: Patrimoine Mondial) คือสถานที่ อันได้แก่ ป่าไม้ ภูเขา ทะเลสาบ ทะเลทราย อนุสาวรีย์ สิ่งก่อสร้างต่างๆ รวมไปถึงเมือง ซึ่งคัดเลือกโดยองค์การยูเนสโกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2515 เพื่อเป็นการบ่งบอกถึงคุณค่าของสิ่งที่มนุษยชาติ หรือธรรมชาติได้สร้างขึ้นมา และควรจะปกป้องสิ่งเหล่านั้นได้อย่างไร เพื่อให้ได้ตกทอดไปถึงอนาคต

ในปัจจุบัน (กรกฎาคม 2555) มีมรดกโลกทั้งหมด 962 แห่ง ใน 157 ประเทศทั่วโลก ซึ่งแบ่งเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม 745 แห่ง มรดกโลกทางธรรมชาติ 188 แห่ง และอีก 29 แห่งเป็นแบบผสมทั้งสองประเภท [1][2] โดยอิตาลีเป็นประเทศที่มีจำนวนมรดกโลกมากที่สุด คือ 47 แห่ง แม้ว่ายูเนสโกจะอ้างอิงถึงมรดกโลกแต่ละแห่งด้วยหมายเลข แต่การขึ้นทะเบียนในหลายครั้งก็จะผนวกเอามรดกโลกที่ได้ขึ้นทะเบียนไปแล้วเข้าเป็นส่วนหนึ่งของมรดกโลกที่มีพื้นที่มากขึ้น ดังนั้นจึงมีหมายเลขมรดกโลกเกิน 1,200 ไปแล้วแม้ว่าจะมีจำนวนมรดกโลกน้อยกว่าก็ตาม

มรดกโลกแต่ละแห่งเป็นทรัพย์สินของประเทศที่เป็นเจ้าของดินแดนที่มรดกโลกตั้งอยู่ แต่ได้ถูกพิจารณาให้เป็นผลประโยชน์ของประชาคมระหว่างประเทศในการอนุรักษ์มรดกโลกแห่งนั้น

 

ขั้นตอนการเสนอชื่อสถานที่

ประเทศที่ต้องการเสนอชื่อสถานที่ในประเทศของตนให้ได้รับการพิจารณาให้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก อันดับแรกจะต้องจัดทำบัญชีรายชื่อสถานที่ที่มีความสำคัญทางธรรมชาติและวัฒนธรรมทั้งหมดภายในประเทศของตน บัญชีนี้จะเรียกว่า บัญชีรายชื่อเบื้องต้น (Tentative List) ซึ่งมีความสำคัญมาก เพราะมีเพียงสถานที่ที่มีชื่ออยู่ในบัญชีนี้เท่านั้นที่จะมีสิทธิได้รับการเสนอชื่อ ขั้นต่อมา ประเทศนั้นๆจะต้องเลือกรายชื่อสถานที่ที่ต้องการเสนอชื่อมาจากบัญชีรายชื่อเบื้องต้น เพื่อจัดทำเป็นแฟ้มข้อมูล (Nomination File) โดยทางศูนย์มรดกโลกอาจให้คำแนะนำและช่วยเหลือในการจัดทำแฟ้มข้อมูลนี้

เมื่อถึงขั้นตอนนี้ แฟ้มข้อมูลจะถูกตรวจสอบและพิจารณาจากองค์กร 2 แห่ง ได้แก่ สภานานาชาติว่าด้วยการดูแลอนุสรณ์สถานและแหล่งโบราณคดี (International Council on Monuments and Sites) และ สหภาพสากลเพื่อการอนุรักษ์ [3] (World Conservation Union) แล้วทั้งสององค์กรนี้จะยื่นข้อเสนอแนะต่อคณะกรรมการมรดกโลก ทางคณะกรรมการจะมีการประชุมร่วมกันปีละหนึ่งครั้ง เพื่อตัดสินว่าสถานที่ที่มีการเสนอชื่อแห่งใดบ้างที่ควรได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก หรือทางคณะกรรมการอาจร้องขอให้ประเทศที่เสนอชื่อได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่เพิ่มเติม โดยการพิจารณาว่าจะขึ้นทะเบียนสถานที่แห่งใดจะต้องมีลักษณะตามเกณฑ์มาตรฐานข้อใดข้อหนึ่งหรือหลายข้อ

[แก้] ข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ในการพิจารณาให้เป็นมรดกโลก

กระทั่งปี พ.ศ. 2548 มีข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ทั้งหมด 6 ข้อสำหรับมรดกโลกทางวัฒนธรรม และ 4 ข้อสำหรับมรดกโลกทางธรรมชาติในการพิจารณาให้เป็นแหล่งมรดกโลก[4] ดังนี้

[แก้] หลักเกณฑ์ทางวัฒนธรรม
  • (i) - เป็นตัวแทนในการแสดงผลงานชิ้นเอกที่จัดทำขึ้นด้วยการสร้างสรรค์อันชาญฉลาดของมนุษย์
  • (ii) - เป็นสิ่งที่มีอิทธิพลยิ่ง ผลักดันให้เกิดการพัฒนาสืบต่อมาในด้านการออกแบบทางสถาปัตยกรรม อนุสรณ์สถาน ประติมากรรม สวน และภูมิทัศน์ ตลอดจนการพัฒนาศิลปกรรมที่เกี่ยวข้อง หรือการพัฒนาการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ซึ่งได้เกิดขึ้นในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง หรือบนพื้นที่ใดๆ ของโลกซึ่งทรงไว้ซึ่งวัฒนธรรม
  • (iii) - เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงหลักฐานของวัฒนธรรมหรืออารยธรรมที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันหรือว่าที่สาบสูญไปแล้ว
  • (iv) - เป็นตัวอย่างอันโดดเด่นของประเภทของสิ่งก่อสร้างอันเป็นตัวแทนของการพัฒนาทางด้านวัฒนธรรม สังคม ศิลปกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี อุตสาหกรรม ในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ
  • (v) - เป็นตัวอย่างอันโดดเด่นของวัฒนธรรมมนุษย์ ขนบธรรมเนียมประเพณีแห่งสถาปัตยกรรม วิธีการก่อสร้าง หรือการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ซึ่งเสื่อมสลายได้ง่ายจากผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมตามกาลเวลา
  • (vi) - มีความคิดหรือความเชื่อที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับเหตุการณ์ หรือมีความโดดเด่นยิ่งในประวัติศาสตร์
[แก้] หลักเกณฑ์ทางธรรมชาติ
  • (vii) - เป็นตัวอย่างที่เด่นชัดของการเป็นตัวแทนในวิวัฒนาการสำคัญต่างๆในอดีตของโลก เช่น ยุคสัตว์เลื้อยคลาน ยุคน้ำแข็ง ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการพัฒนาความหลากหลายทางธรรมชาติบนพื้นโลก
  • (viii) - เป็นตัวอย่างที่เด่นชัดในการเป็นตัวแทนของขบวนการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญทางธรณีวิทยาหรือวิวัฒนาการทางชีววิทยา และปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์ต่อสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติที่กำลังเกิดอยู่ เช่น ภูเขาไฟ เกษตรกรรมขั้นบันได
  • (ix) - เป็นแหล่งที่เกิดจากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่มีเอกลักษณ์หายากหรือสวยงามเป็นพิเศษ เช่น แม่น้ำ น้ำตก ภูเขา
  • (x) - เป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของชนิดสัตว์และพันธุ์พืชที่หายากหรือที่ตกอยู่ในสภาวะอันตราย แต่ยังคงสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ ซึ่งรวมถึงระบบนิเวศอันเป็นแหล่งรวมความอุดมสมบูรณ์ของพืชและสัตว์ที่ทั่วโลกให้ความสนใจด้วย

การประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ

คณะกรรมการมรดกโลกจะมีการประชุมร่วมกันหลายครั้งในแต่ละปี เพื่ออภิปรายถึงแผนการจัดการเกี่ยวกับแหล่งมรดกโลกที่ยังคงอยู่ และรับรายชื่อสถานที่ที่ประเทศต่างๆเสนอให้ได้รับการพิจารณาให้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก และจะมีการประชุมครั้งหนึ่งที่เรียกว่า การประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ (World Heritage Committee Session) ซึ่งจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี เพื่อตัดสินว่าสถานที่ที่ได้รับการเสนอชื่อแห่งใดที่จะได้รับการขึ้นทะเบียนอย่างเป็นทางการ

การประชุมสมัยสามัญประจำปีจะผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันจัดในเมืองสำคัญต่างๆจากทั่วโลก ซึ่งนอกจากครั้งที่จัดขึ้นที่กรุงปารีส อันเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ขององค์การยูเนสโกแล้ว จะมีเพียงประเทศที่สมาชิกของคณะกรรมการมรดกโลกเท่านั้นที่จะได้รับสิทธิในการจัดการประชุมครั้งต่อไป โดยจะต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ และรับรองได้ว่าสมาชิกภาพของประเทศนั้นๆจะไม่หมดวาระลงเสียก่อนที่จะได้จัดการประชุม


Edited by Stargate-1, 20 มกราคม พ.ศ. 2556 - 22:23.

Tam-mic-ra ฟันธง!  คำว่า "โดนพริกไทยมั๊ง" น่ะ แค่นี่เอามาเป็นหลักฐาน ได้ยังไงครับ .....  คิดครับคิด  :lol:   จากกระทู้แก้ข่าวหน้า 2 qoute #96  ใครยิงวสันต์-ภู่ทอง   แอลพีจีทำมาจากซี2ซี3


#28 Stargate-1

Stargate-1

    SG-1

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,578 posts

ตอบ 20 มกราคม พ.ศ. 2556 - 22:25

http://www.manager.c...D=9510000080004

 

คณะกรรมการมรดกโลก รับขึ้นทะเบียน “ปราสาทพระวิหาร” เป็นมรดกโลกของกัมพูชาแล้ว พร้อมกับเมืองมะละกา-ปีนังของมาเลเซีย และแหล่งการเกษตรโบราณของปาปัวนิวกินี “ปองพล” อ้อมแอ้ม ไทยอาจได้ขึ้นทะเบียนบริเวณอุทยานรอบๆ ปราสาท และเทือกเขาพนมดงรักปลอบใจ
       
       สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานว่า คณะกรรมการมรดกโลกของยูเนสโกมีมติขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกของกัมพูชาแล้ว จากการประชุมที่เมืองควิเบก ประเทศแคนาดา เมื่อวันจันทร์ที่ 7 ก.ค. การประชุมครั้งนี้มีขึ้นระหว่างวันที่ 2-10 กรกฎาคม 2551 โดยมีสถานที่ที่ได้รับการเสนอชื่อขึ้นทะเบียนมรดกโลกทั้งหมด 45 แห่ง
       
       โดย ปราสาทพระวิหาร ได้รับการขึ้นทะเบียนพร้อมๆ กับเมืองมะละกา และปีนังของมาเลเซีย และแหล่งการเกษตรยุคโบราณในปาปัวนิวกินี
       
       อย่างไรก็ตาม ก่อนที่คณะกรรมการมรดกโลกจะมีคำตัดสิน นายปองพล อดิเรกสาร ประธานกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลกของไทย ซึ่งไปสังเกตการณ์การประชุมคณะกรรมการมรดกโลก ครั้งที่ 32 ในฐานะรัฐภาคีอนุสัญญามรดกโลก ที่เมืองควิเบก ประเทศแคนาดา ให้สัมภาษณ์ว่า คณะกรรมการมรดกโลก 21 ประเทศ ส่วนใหญ่เห็นว่าควรขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารตามที่กัมพูชาเสนอ เพราะเข้า 1 ใน 3 หลักเกณฑ์ แต่การขึ้นทะเบียนจะไม่ทำให้ไทยเสียดินแดน เนื่องจากกัมพูชายื่นจดทะเบียนปราสาทพระวิหาร ซึ่งตามแผนที่แนบท้ายแถลงการณ์ร่วมที่ไทยและกัมพูชาตกลงกันไว้ว่าจะขึ้นทะเบียนเฉพาะตัวปราสาท ซึ่งไม่ล้ำเข้ามาในเขตไทย
       
       นายปองพล กล่าวว่า คณะกรรมการมรดกโลกเสนอทางออกให้แก่ประเทศไทย โดยให้ไทยเสนออุทยานเขาพระวิหาร และพื้นที่ป่าสมบูรณ์เทือกเขาพนมดงรักซึ่งอยู่ในเขตไทย และให้สำรวจจัดทำข้อมูลแหล่งโบราณสถานในพื้นที่ดังกล่าวเพื่อขอเสนอเป็นมรดกโลกให้เร็วที่สุด
       
       ส่วนกรณีที่ไทยส่งหนังสือการคุ้มครองชั่วคราวของศาลปกครองให้คณะกรรมการมรดกโลกพิจารณานั้น ที่ประชุมแจ้งว่ารับทราบแล้ว แต่การจะให้เลื่อนการพิจารณาปราสาทพระวิหารออกไปคงไม่ได้ เพราะได้เลื่อนมาครั้งหนึ่งแล้ว
       
       คณะกรรมการมรดกโลกได้ตัดสินว่าปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกของกัมพูชา เมื่อเวลาประมาณ 23.00 น.ของวันที่ 7 ก.ค.ที่ผ่านมา ตามเวลาประเทศไทย
       
       ขณะที่ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบก เปิดเผยก่อนหน้านี้ว่า ความขัดแย้งกรณีปราสาทพระวิหารระหว่างไทยกับกัมพูชา อยากให้ประชาชนทั้งสองประเทศสร้างความเข้าใจ เพื่อให้สถานการณ์ในพื้นที่ดีขึ้น เพราะการใช้ความรุนแรงไม่ใช่ทางแก้ปัญหา
       
       ต่อมานายปองพล ให้สัมภาษณ์ภายหลังจากคณะกรรมการมรดกโลกมีมติให้ขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกของกัมพูชาว่า การขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหาร ตามข้อเสนอของกัมพูชาเป็นมรดกโลกนั้น ถือว่าเป็นการลดความน่าเชื่อถือของคณะกรรมการมรดกโลกเอง เพราะได้มีมติสวนทางกับหลักการและหลักเกณฑ์ ซึ่งคณะกรรมการฯ เป็นผู้กำหนดไว้ นั่นก็คือความสมบูรณ์ของความเป็นมรดกโลก และยังสวนทางกับรายงานของฝ่ายวิชาการ คือ องค์กร ICOMOS ของเขาเอง เพราะว่า ICOMOS บอกว่า หลักเกณฑ์ 3 หลักเกณฑ์ ที่กัมพูชาเสนอนั้น คือหลักเกณฑ์ที่ 1 หลักเกณฑ์ที่ 3 และหลักเกณฑ์ที่ 4 นั้น ผ่านเฉพาะหลักเกณฑ์ที่ 1 เท่านั้น คือ สถาปัตย์กรรมที่มาจากการสร้างสรรค์ของมนุษย์ แต่หลักเกณฑ์ที่ 3 และที่ 4 ที่เกี่ยวกับภูมิทัศน์ทางวัฒนธรรมไม่ผ่าน เพราะว่าขาดความสมบูรณ์ เนื่องจากโบราณสถานที่อยู่เขตพื้นที่ทับซ้อนก็ดี ในฝ่ายไทยก็ดี ไม่ได้นำมารวม และเมื่อวินิจฉัยและตัดสินออกมาเช่นนี้ก็ทำให้ความน่าเชื่อถือของคณะกรรมการมรดกโลกลดลงไป
       
       อย่างไรก็ตาม นายปองพล กล่าวยืนยันว่า ประเทศกัมพูชาขึ้นทะเบียนมรดกโลกเฉพาะตัวปราสาทเท่านั้น ไม่ได้มีพื้นที่เข้ามาดินแดนประเทศไทย และประชาชนไม่ควรเสียใจที่ประเทศกัมพูชาได้ขึ้นทะเบียน เพราะเราจะดำเนินการเสนอพื้นที่บริเวณเขาพระวิหารส่วนของประเทศไทยขึ้นเป็นมรดกโลก ทั้งนี้ คณะกรรมการมรดกโลกเสนอทางออกให้แก่ประเทศไทย โดยให้ไทยเสนออุทยานเขาพระวิหาร และพื้นที่ป่าสมบูรณ์เทือกเขาพนมดงรักซึ่งอยู่ในเขตไทย และให้สำรวจจัดทำข้อมูลแหล่งโบราณสถานในพื้นที่ดังกล่าวเพื่อขอเสนอเป็นมรดกโลกให้เร็วที่สุด
       
       นายปองพล ย้ำว่า การที่คณะกรรมการมรดกโลกขึ้นทะเบียนพระวิหารเป็นมรดกโลกถือว่าเป็นการลดความเชื่อถือของตัวคณะกรรมการ ที่มติสวนทางกับหลักการและกฎเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ในเรื่อง ความสมบูรณ์ของความเป็นมรดกโลก รวมทั้งขาดความรอบด้านในการพิจารณา ดังนั้นแม้ประเทศกัมพูชาจะได้เป็นมรดก แต่ก็ไม่มีความสง่างาม ขาดคุณค่า ส่วนเอกสารคำแถลงการณ์ร่วมของไทยและกัมพูชา ที่ระงับโดยสารปกครองกลาง ไม่ได้มีผลใดๆ ต่อการพิจารณาของคณะกรรมการมรดกโลก
       
       ด้านนายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมาการมรดกโลก ครั้งที่ 32 ว่า ผู้แทนไทยเดินทางมาหลายฝ่าย และปฏิบัติตามคำสั่งศาลปกครองอย่างคร่งครัด แม้ที่สุดคณะกรรมการมรดกโลกจะมีมติขึ้นทะเบียนเขาพระวิหาร แต่ตนได้แถลงคัดค้านไม่เห็นด้วย รวมทั้งสงวนสิทธิ์ของประเทศไทย โดยเรื่องนี้ถือเป็นเรื่องละเอียดอ่อน ไม่อยากให้นำมาเป็นประเด็นที่กระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และถือว่าทำเรื่องนี้อย่างดีที่สุดแล้ว
       
       พลโทนิพัทธ์ ทองเล็ก เจ้ากรมกิจการชายแดนทหาร กล่าวว่า จากการติดตามสถานการณ์ตามแนวชายแดนได้รับรายงานว่ายังไม่มีสถานการณ์ใดๆ ที่น่าเป็นห่วงหรือกระทบต่อความสัมพันธ์ของประเทศ อย่างให้ทุกฝ่ายสบายใจในเรื่องนี้
       
       ด้าน พันเอก นพดล โชติศิริ นายทหารกรมแผนที่ทหาร กองบัญชาการทหารสูงสุด กล่าวว่า จากการดูแผนผังในที่กัมพูชาแนบเสนอให้ปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก มีมาตราส่วน 1:10,000 จากการตรวจสอบพบว่าไม่มีส่วนใดล้ำไปอยู่ในแนวเขตเขาพระวิหารตามมติของศาลโลก ส่วนโซนหมายเลข 3 ที่หลายฝ่ายเป็นห่วงก็ไม่ได้รวมอยู่ในพื้นที่ขึ้นทะเบียนเขาพระวิหาร
       
       นายถวิล เปลี่ยนสี รองเลขาธิการสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ กล่าวว่า ได้มีการปรึกษาหารือในเรื่องนี้อย่างรอบคอบเพื่อรักษาผลประโยชน์ให้ดีที่สุด และทำทุกอย่างเท่าที่ทำได้ ทางออกในเรื่องนี้มีไม่มากนัก อีกทั้งมีหลายเรื่องอยู่นอกเหนือการควบคุม และผลที่ออกมาก็สอดคล้องกับความพยายามที่จะลดความเสียหายที่เกิดขึ้น
 


Tam-mic-ra ฟันธง!  คำว่า "โดนพริกไทยมั๊ง" น่ะ แค่นี่เอามาเป็นหลักฐาน ได้ยังไงครับ .....  คิดครับคิด  :lol:   จากกระทู้แก้ข่าวหน้า 2 qoute #96  ใครยิงวสันต์-ภู่ทอง   แอลพีจีทำมาจากซี2ซี3


#29 Stargate-1

Stargate-1

    SG-1

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,578 posts

ตอบ 20 มกราคม พ.ศ. 2556 - 22:41

http://www.dailynews...e/176699/178263

 

ปราสาทพระวิหารกับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก

วันอังคารที่ 15 มกราคม 2556 เวลา 12:16 น.
178263.jpg
 
ทั้งสองฝ่ายได้ตกลงกันที่จะให้มีความร่วมมือเพื่อพัฒนาเขาพระวิหารและบูรณะปฏิสังขรณ์ปราสาทพระวิหาร เพื่อเป็นสัญลักษณ์แห่งมิตรภาพ

ในการประชุมคณะรัฐมนตรีร่วมไทย - กัมพูชา ระหว่างวันที่ 31 พฤษภาคม - 1 มิถุนายน 2546 ที่เมืองเสียมราฐ ประเทศกัมพูชา และที่จังหวัดอุบลราชธานี ทั้งสองฝ่ายได้ตกลงกันที่จะให้มีความร่วมมือเพื่อพัฒนาเขาพระวิหารและบูรณะปฏิสังขรณ์ปราสาทพระวิหาร เพื่อเป็นสัญลักษณ์แห่งมิตรภาพและความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นและยั่งยืนระหว่างสองประเทศ และเพื่อผลประโยชน์ร่วมกันของประชาชนไทยกับกัมพูชา ดังนั้นเพื่อเป็นการปฏิบัติให้เป็นไปตามมติที่ประชุมคณะรัฐมนตรีร่วมดังกล่าว ไทยได้จัดตั้งคณะกรรมการร่วมเพื่อพัฒนาเขาพระวิหาร และกัมพูชาได้จัดตั้งคณะกรรมการระหว่างกระทรวงเพื่อเตรียมการพัฒนาพื้นที่ช่องตาเฒ่าและเขาพระวิหารขึ้น เพื่อเป็นกลไกหลักในการทำงานร่วมกันการจัดประชุมกลุ่มย่อยเมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2547 ที่กรุงเทพฯ ทั้งสองฝ่ายได้ตกลงในหลักการขั้นพื้นฐานเพื่อร่วมพัฒนาเขาพระวิหารและบูรณะปฏิสังขรณ์ปราสาทพระวิหาร โดยกัมพูชาได้ร้องขอว่าความร่วมมือระหว่างไทย - กัมพูชาในเรื่องนี้จะเริ่มขึ้นหลังจากที่องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือยูเนสโก (UNESCO) ได้ขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก ซึ่งในครั้งนั้น ฝ่ายไทยได้รับทราบโดยขอให้มีความร่วมมือและการปรึกษาหารืออย่างใกล้ชิดในทุกส่วนที่เกี่ยวข้องกับการขอขึ้นทะเบียนมรดกโลก การพัฒนาพื้นที่ และการบูรณะปฏิสังขรณ์ปราสาทพระวิหาร

มรดกโลก...มรดกโลกคืออะไร

มรดกโลกคือ สถานที่ที่มีคุณค่าอันเป็นสากลควรแก่การอนุรักษ์และทะนุบำรุงเพื่ออนุชนรุ่นหลัง โดยอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองมรดกโลกทางวัฒนธรรมและทางธรรมชาติ ปี 251510 (Convention concerning the Protection of the World Cultural and Natural Heritage, 1972) ขององค์การยูเนสโก (หรืออนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก) กำหนดให้ประเทศภาคีเสนอสถานที่ที่มีคุณค่าที่มีความโดดเด่นเป็นสากล (Outstanding Universal Value) ในประเทศของตน เพื่อขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกพร้อมกับนำเสนอแผนการบริหารจัดการในการอนุรักษ์คุ้มครองสถานที่ดังกล่าว

ปัจจุบัน ไทยมีสถานที่ที่ได้รับการประกาศจากยูเนสโกให้เป็นมรดกโลก จำนวน 5 แห่ง แล้ว เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม 3 แห่ง ได้แก่ นครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาและเมืองบริวาร (ปี 2534) เมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร (ปี 2534) และแหล่งโบราณคดีบ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี (ปี 2535) และมรดกโลกทางธรรมชาติ 2 แห่ง ได้แก่ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร - ห้วยขาแข้ง (ปี 2534) และพื้นที่ผืนป่าเขาใหญ่ - ดงพญาเย็น (ปี 2548) นอกจากนี้ มีสถานที่อื่น ๆ ของไทยที่ได้เสนอให้บรรจุอยู่ในบัญชีรายชื่อเบื้องต้นของแหล่งที่จะขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก (Tentative List) อีก จำนวน 3 แห่ง ได้แก่ (1) เส้นทางวัฒนธรรมพิมาย ปราสาทพนมรุ้ง และปราสาทเมืองต่ำ (ปี 2547) (2) อุทยานแห่งชาติภูพระบาท จังหวัดอุดรธานี (ปี 2547) (3) อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี (ปี 2554)

การคัดเลือกสถานที่เพื่อขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก

การพิจารณาขึ้นทะเบียนมรดกโลกจะดำเนินการโดยคณะกรรมการมรดกโลก (World Heritage Committee) ซึ่งประกอบด้วยประเทศสมาชิกที่เป็นภาคีอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลกที่ได้รับเลือกตั้งจำนวน 21 ประเทศ แต่ละประเทศมีวาระดำรงตำแหน่งคราวละ 4 - 6 ปี โดยไทยดำรงตำแหน่งในช่วงปี 2532 - 2538 ปี 2540 - 2546 และ ปี 2552 -2556 11 ในปี 2554 ประเทศสมาชิกคณะกรรมการมรดกโลก ได้แก่ ออสเตรเลีย บาห์เรน บาร์เบโดส บราซิล กัมพูชา จีน อียิปต์ เอธิโอเปีย เอสโตเนีย ฝรั่งเศส อิรัก จอร์แดน มาลี เม็กซิโก ไนจีเรีย รัสเซีย แอฟริกาใต้ สวีเดน สวิตเซอร์แลนด์ ไทย และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ คณะกรรมการมรดกโลกจะประชุมกันปีละครั้ง เพื่อพิจารณาคำขอขึ้นทะเบียนมรดกโลกของรัฐภาคีต่าง ๆ

กระบวนการการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก

ประเทศที่ประสงค์จะขอขึ้นทะเบียนจะต้องส่งคำขอไปยังศูนย์มรดกโลก (World Heritage Center) ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส โดยคำขอจะต้องประกอบด้วยข้อมูลแผนบริหารจัดการพื้นที่เขตแกน (Core zone) การกำหนดพื้นที่กันชน (Buffer zone) เพื่อกำหนดมาตรการอนุรักษ์คุ้มครองสถานที่ที่ขอขึ้นทะเบียนและต้องแนบแผนที่กำหนดเส้นเขตแดนที่
ชัดเจนของสถานที่และพื้นที่อนุรักษ์ดังกล่าว จากนั้นในกรณีมรดกโลกทางวัฒนธรรม ศูนย์มรดกโลกจะส่งองค์กรที่ปรึกษาของคณะกรรมการมรดกโลก คือ International Council on Monuments and Sites หรือ อิโคโมส (ICOMOS) ซึ่งทำหน้าที่กลั่นกรองคำขอขึ้นทะเบียนไปสำรวจสถานที่และจัดทำรายงานข้อเสนอแนะเกี่ยวกับข้อมูลด้านวัฒนธรรมและเทคนิค และร่างคำตัดสินเสนอเพื่อบรรจุในระเบียบวาระของการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกปัญหาที่เกิดขึ้นและกระทบต่อประเทศไทย คือ เอกสารประกอบคำร้องยื่นขอจดทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก (Nomination File) ของกัมพูชาได้แนบแผนที่กำหนดเขตแกน (Core zone) เขตกันชน (Buffer zone) และเขตพัฒนา (Development zone) ของอาณาบริเวณปราสาทพระวิหารที่กัมพูชาจะยื่นขอจดทะเบียนเป็นมรดกโลกล้ำเข้ามาในดินแดนไทย

การกำหนดขอบเขตดังกล่าว ตั้งอยู่บนพื้นฐานความเข้าใจของฝ่ายกัมพูชาในเรื่องเส้นเขตแดนที่ต่างจากไทย ซึ่งทำให้บางส่วนของพื้นที่เขตแกนและเขตพัฒนาที่ฝ่ายกัมพูชาระบุล้ำเข้ามาในดินแดนของไทย และทำให้มีชาวกัมพูชารุกล้ำเข้ามาก่อสร้างชุมชน ร้านขายของที่ระลึก และวัดในดินแดนของไทย ใกล้กับตัวปราสาทพระวิหารอีกด้วย ซึ่งเกี่ยวกับเรื่องการรุกล้ำของชุมชนกัมพูชาดังกล่าว กระทรวงการต่างประเทศได้ทำการประท้วงรัฐบาลกัมพูชาอย่างเป็นทางการมาอย่างต่อเนื่องโดยตลอด

เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2549 กัมพูชาได้ส่งเอกสารรายละเอียดเกี่ยวกับปราสาทพระวิหารเพื่อการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกให้กับศูนย์มรดกโลก ซึ่งต่อมาได้รับรองและนำเสนอเข้าวาระในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก สมัยที่ 31 ที่เมืองไครสต์เชิร์ช ประเทศนิวซีแลนด์ในเดือนมิถุนายน 2550

ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก สมัยที่ 31 ฝ่ายไทยได้รณรงค์ทางการเมืองและการทูต จนประสบผลสำเร็จให้คณะกรรมการมรดกโลกมีมติเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2550 ให้เลื่อนการพิจารณาขึ้นทะเบียนของกัมพูชาออกไป 1 ปี และให้ไทยและกัมพูชาร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดในเรื่องนี้ โดยให้มีการพิจารณาเรื่องนี้ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก สมัยที่ 32 เดือนกรกฎาคม 2551 ณ เมืองควิเบก ประเทศแคนาดา

การประชุมคณะกรรมการมรดกโลก สมัยที่ 32 (WHC 32) ณ เมืองควิเบก ประเทศแคนาดา ปี 2551

ในการดำเนินการของฝ่ายไทยเพื่อหาทางแก้ปัญหาร่วมกันกับฝ่ายกัมพูชา ฝ่ายไทยได้เสนอในหลายโอกาสให้ฝ่ายกัมพูชาถอนคำขอขึ้นทะเบียนเดิมของตน และให้กัมพูชาและไทยร่วมกันนำปราสาทพระวิหาร

ในพื้นที่ฝั่งกัมพูชา รวมทั้งโบราณสถานที่เกี่ยวข้องกับปราสาทที่อยู่ในฝั่งไทย อาทิ สระตราว สถูปคู่ แหล่งตัดหิน ไปขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกแต่ฝ่ายกัมพูชาไม่รับข้อเสนอดังกล่าวของไทยในเดือนมิถุนายน 2551 ไทยได้เสนอรายงานข้อโต้แย้งทางวิชาการเกี่ยวกับการประเมินของ ICOMOS กรณีการเสนอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก โดยอ้างเหตุผลต่าง ๆ อาทิ การไม่ได้นำองค์ประกอบสำคัญอื่น ๆ ที่ต่อเนื่องจากปราสาท (อาทิ สระตราว แหล่งตัดหิน) มาพิจารณา การไม่คำนึงถึงความสัมพันธ์ของปราสาทกับชุมชนดั้งเดิมในแง่ความผูกพันทางจิตใจ และความคลาดเคลื่อนของการตีความและนำเสนอข้อมูล

อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลก สมัยที่ 32 ได้มีมติเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2551 ให้ปราสาทพระวิหาร (ไม่รวมชะง่อนเขาที่มีพื้นที่กว้างหน้าผา และถ้ำต่าง ๆ) เป็นมรดกโลก เนื่องจากมีคุณค่าที่โดดเด่นเป็นสากลของตัวปราสาทพระวิหารเอง

ในการประชุมดังกล่าว ไทยในฐานะผู้สังเกตการณ์ได้แถลงคัดค้านการขึ้นทะเบียน รวมทั้งเอกสารทุกชิ้นและแผนผังทั้งปวงที่กัมพูชายื่นประกอบโดยอ้างข้อ 11 (3) ของอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองมรดกโลกทางวัฒนธรรมและทางธรรมชาติ ปี 2515 ซึ่งระบุว่า การรวมเอาทรัพย์สินที่ตั้งอยู่ในดินแดนอธิปไตยหรือเขตอำนาจที่อ้างสิทธิโดยรัฐมากกว่าหนึ่งรัฐจะไม่กระทบกระเทือนสิทธิของคู่พิพาทไม่ว่าในทางใด (The inclusion of a property situated in a territory, sovereignty or jurisdiction over which is claimed by more than one State, will in no way prejudice the
rights of the party to the dispute.)

ข้อมติที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลก สมัยที่ 32 ณ เมืองควิเบก ประเทศแคนาดา เรื่องการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก วันที่ 7 กรกฎาคม 2551

Decision: 32 COM 8B.102
The World Heritage Committee,

1. Having examined Document WHC-08/32.COM/INF. 8B1.Add2,

2. Recalling Decision 31 COM 8B.24, which recognized ‘that the Sacred Site of the Temple of Preah Vihear is of great international significance and has Outstanding Universal Value on the basis of criteria (i), (iii) and (iv), and agreed in principle that it should be inscribed on the World Heritage List’,

3. Having noted the progress made by the State Party of Cambodia towards the development of a Management Plan for the property, as requested by the Committee by its Decision 31 COM 8B.24 in Christchurch, New Zealand,

4. Expressing gratitude to the governments of Belgium, the United States of America, France, and India for providing support for the work of experts to assist in this effort, and to the governments of China and Japan, as well as ICCROM, for providing valuable expert input to this process

5. Recognizing that the Joint Communiqué signed on 18 June 2008 by the representatives of the Governments of Cambodia and Thailand, as well as by UNESCO, including its draft which was erroneously referred to as having been signed on 22 and 23 May 2008 in the document WHC-08/32.COM/INF.8B1.Add.2, must be disregarded, following the decision of the Government of Thailand to suspend the effect of the Joint Communiqué, pursuant to the Thai Administrative Court’s interim injunction on this issue,

6. Noting that the State Party of Cambodia submitted to the World Heritage Centre the revised graphic plan of the property (RGPP) included in WHC-08/32.COM/INF.8B1.Add2 (hereinafter called “RGPP”) indicating a revised perimeter of the area proposed for inscription on the World Heritage List,

7. Decides, on an exceptional basis, to accept, in view of the multilateral process leading to the elaboration of the supplementary report submitted in May 2008 by the State Party of Cambodia at the request of the UNESCO World Heritage Centre, the information submitted by the State Party beyond the deadline established in the paragraph 148 of the Operational Guidelines;

8. Recognizes that Thailand has repeatedly expressed a desire to participate in a joint nomination of the Temple of Preah Vihear and its surrounding areas;

9. Notes that the property proposed for inscription is reduced and comprises only the Temple of Preah Vihear and not the wider promontory with its cliffs and caves;

10. Considers further that archaeological research is underway which could result in new significant discoveries that might enable consideration of a possible new transboundary nomination, that would require the consent of both Cambodia and Thailand;

11. Encourages Cambodia to collaborate with Thailand for safeguarding the value of the property, in view of the fact that peoples of the surrounding region have long treasured the Temple of Preah Vihear, and agrees that it would be desirable in the future to reflect its full values and landscape setting through a possible additional inscription to the World Heritage List that could capture criteria (iii) and (iv), which had been recognized by the Committee in its Decision 31 COM 8B.24.

12. Inscribes the Temple of Preah Vihear, Cambodia,on the World Heritage List under criterion (i);

13. Adopts the following Statement of Outstanding Universal Value:

The Temple of Preah Vihear, a unique architectural complex of a series of sanctuaries linked by a system of pavements and staircases on an 800 metre long axis, is an outstanding masterpiece of Khmer architecture, in terms of plan, decoration and relationship to the spectacular landscape environment.

Criterion (i): Preah Vihear is an outstanding masterpiece of Khmer architecture. It is very ‘pure’ both in plan and in the detail of its decoration.

Authenticity, in terms of the way the buildings and their materials express well the values of the property, has been established. The attributes of the property comprise the temple complex; the integrity of the property has to a degree been compromised by the absence of part of the promontory from the perimeter of the property. The protective measures for the Temple, in terms of legal protection are adequate; the progress made in defining the parameters of the Management Plan needs to be consolidated into an approved, full Management Plan;

14. Requests the State Party of Cambodia, in collaboration with UNESCO, to convene an international coordinating committee for the safeguarding and development of the property no later than February 2009, inviting the participation of the Government of Thailand and not more than seven other appropriate international partners, to examine general policy matters relating to the safeguarding of the Outstanding Universal Value of the property in conformity with international conservation standards;

15. Requests the State Party of Cambodia to submit to the World Heritage Centre, by 1 February 2009, the following documents:

• a) A provisional map providing additional details of the inscribed property and a map delineating the buffer zone identified in the RGPP;

B) Updated Nomination dossier to reflect the changes made to the perimeter of the property;

• c) Confirmation that the management zone for the property will include the inscribed property and buffer zone identified in the RGPP;

• d) Progress report on the preparation of the Management Plan;

16. Further requests the State Party of Cambodia to submit to the World Heritage Centre by February 2010, for submission to the World Heritage Committee at its 34th session in 2010 a full Management Plan for the inscribed property, including a finalized map.

(คำแปลอย่างไม่เป็นทางการ)
ข้อตัดสินใจ: 32 COM 8B.102
คณะกรรมการมรดกโลก

1. ได้ตรวจสอบ เอกสาร WHC-08/32.COM/INF.8B1.Add.2

2. โดยอ้างถึง ข้อตัดสินใจ 31 COM 8B.24 ซึ่งยอมรับ “ว่าสถานที่ศักดิ์สิทธิ์แห่งปราสาทพระวิหารมีความสำคัญระหว่างประเทศอย่างสูงและมีคุณค่าที่โดดเด่นเป็นสากลบนพื้นฐานของเกณฑ์ (1) (3) และ(4) และตกลงในหลักการว่า ปราสาทพระวิหารควรได้รับการขึ้นทะเบียน
ในบัญชีมรดกโลก”

3. ได้บันทึกความคืบหน้าที่ดำเนินการโดยรัฐภาคีกัมพูชาในการพัฒนาแผนบริหารจัดการทรัพย์สิน ตามที่ได้รับการร้องขอโดยคณะกรรมการตามข้อตัดสินใจ 31 COM 8B.24 ที่เมืองไครสต์เชิร์ช นิวซีแลนด์

4. ขอแสดงความขอบคุณต่อรัฐบาลเบลเยียม สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส และอินเดีย ที่ให้การสนับสนุนการทำงานของผู้เชี่ยวชาญที่ช่วยเหลือในความพยายามครั้งนี้ และต่อรัฐบาลจีน และญี่ปุ่น และICCROM ที่ได้ให้ข้อเสนอแนะ ของผู้เชี่ยวชาญที่มีค่าในกระบวนการนี้

5. รับรองว่า จะไม่นำแถลงการณ์ร่วมเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน ค.ศ. 2008 โดยผู้แทนรัฐบาลกัมพูชา และไทย กับยูเนสโก รวมทั้ง ร่างแถลงการณ์ร่วมซึ่งได้อ้างผิดว่าได้ลงนามเมื่อวันที่ 22 และ 23 พฤษภาคม ค.ศ. 2008 ในเอกสาร WHC-08/32.COM/INF.8B1.Add.2 มาใช้ตามการตัดสินใจของรัฐบาลไทยที่ระงับผลของแถลงการณ์ร่วม ภายหลังคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวของศาลปกครองไทยในเรื่องนี้

6. บันทึกว่า รัฐภาคีกัมพูชาได้ยื่นต่อคณะกรรมการมรดกโลก ซึ่งแผนผังฉบับใหม่ของทรัพย์สิน (RGPP) รวมอยู่ใน WHC-08/32.COM/INF.8B1.Add.2 (ซึ่งต่อจากนี้ไปจะเรียกว่า “RGPP”) ระบุขอบเขตที่ทบทวนใหม่ของพื้นที่ที่เสนอสำหรับการขึ้นทะเบียนในบัญชีมรดกโลก

7. ตัดสินเป็นกรณีพิเศษ โดยคำนึงถึงกระบวนการหลายฝ่ายในการขยายความรายงานที่ได้รับการเสนอโดยรัฐภาคีกัมพูชา เมื่อเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2008 ตามคำร้องขอของศูนย์มรดกโลก ยูเนสโก ยอมรับข้อมูลที่เสนอโดยรัฐภาคีนั้นภายหลังเวลาที่กำหนดไว้ตามวรรค 148 ของแนวปฏิบัติของอนุสัญญา

8. รับรองว่า ไทยได้แสดงความปรารถนาหลายครั้ง เพื่อที่จะร่วมในการขอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหาร และพื้นที่โดยรอบ

9. บันทึกว่า ทรัพย์สินที่เสนอสำหรับขึ้นทะเบียน ได้รับการลดขนาดและประกอบเพียงปราสาทพระวิหาร และไม่รวมชะง่อนเขาที่มีพื้นที่กว้าง หน้าผา และถ้ำต่าง ๆ

10. พิจารณาต่อไปอีกว่า การค้นคว้าทางโบราณคดีกำลังดำเนินอยู่ ซึ่งอาจมีการค้นพบสำคัญซึ่งอาจทำให้สามารถพิจารณาการขอขึ้นทะเบียนข้ามพรมแดนใหม่ได้ ซึ่งจะต้องได้รับความยินยอมทั้งจากกัมพูชาและประเทศไทย

11. ส่งเสริมให้กัมพูชาประสานงานกับไทยในการอนุรักษ์คุณค่าของทรัพย์สินด้วยข้อเท็จจริงที่ว่า ประชาชนในพื้นที่โดยรอบได้ให้คุณค่าแก่ปราสาทพระวิหารมาช้านาน และตกลงว่าจะเป็นสิ่งพึงปรารถนาในอนาคตที่จะสะท้อนคุณค่าและภูมิทัศน์อย่างสมบูรณ์ โดยการขอขึ้นทะเบียนในบัญชีมรดกโลกเพิ่มเติมซึ่งจะเข้าเกณฑ์ 3 และ 4 ซึ่งได้รับการรับรองแล้วโดยคณะกรรมการในคำตัดสิน 31 COM 8B.24

12. ขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหาร กัมพูชาในบัญชีมรดกโลกในเกณฑ์ 1

13. ออกคำแถลงเกี่ยวกับคุณค่าโดดเด่นอันเป็นสากลดังต่อไปนี้

ปราสาทพระวิหาร ซึ่งเป็นกลุ่มสถาปัตยกรรมที่มีลักษณะเฉพาะของชุดอาคารที่เชื่อมต่อกันด้วยระบบทางเดินและบันไดเป็นแนวแกนยาว 800 เมตร เป็นศิลปกรรมชั้นเยี่ยมของสถาปัตยกรรมเขมรในเรื่องของผังการตกแต่ง และความสัมพันธ์กับภูมิทัศน์แวดล้อมที่น่าตื่นตาตื่นใจ

เกณฑ์ 1 : พระวิหารเป็นศิลปกรรมชั้นเยี่ยมของสถาปัตยกรรมเขมร ซึ่งมีความบริสุทธิ์อย่างยิ่ง ทั้งในเรื่องผังและในรายละเอียดของการตกแต่ง

มีความถูกต้องแท้จริงปรากฏในลักษณะของตัวปราสาทและวัสดุที่ใช้ซึ่งแสดงให้เห็นถึงคุณค่าของทรัพย์สินนั้นเป็นอย่างดี แม้ว่าบูรณภาพของทรัพย์สินจะไม่สมบูรณ์เป็นเพราะไม่ได้รวมส่วนหนึ่งของชะง่อนเขาไว้ในขอบเขตของทรัพย์สิน มาตรการป้องกันปราสาทในทางกฎหมาย ถือว่าเพียงพอ และความคืบหน้าในกำหนดแนวทางของแผนบริหารจัดการ ต้องได้รับการพัฒนาเป็นแผนบริหารจัดการเต็มรูปแบบที่ได้รับการรับรอง

14. ร้องขอให้รัฐภาคีกัมพูชา โดยการประสานงานกับยูเนสโกจัดการประชุมคณะกรรมการประสานงานระหว่างประเทศเพื่อรักษาและพัฒนาทรัพย์สินภายในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2009 โดยเชิญให้รัฐบาลไทยและหุ้นส่วนระหว่างประเทศอีกไม่เกิน 7 ประเทศ เข้าร่วม เพื่อตรวจสอบนโยบายทั่วไปเกี่ยวกับการรักษาคุณค่าโดดเด่นอันเป็นสากลของทรัพย์สินโดยสอดคล้องกับมาตรฐานการอนุรักษ์สากล

15. ร้องขอให้รัฐภาคีกัมพูชาให้ส่งเอกสารต่อไปนี้ให้ศูนย์มรดกโลกภายในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2009 :

ก) แผนที่ชั่วคราวซึ่งให้รายละเอียดเพิ่มเติมของทรัพย์สินที่ได้ขึ้นทะเบียน และแผนที่กำหนดขอบเขตของเขตกันชนที่ระบุใน RGPP
ข) เอกสารคำขอขึ้นทะเบียนที่ปรับปรุงแล้วเพื่อสะท้อนการเปลี่ยนแปลงขอบเขตของทรัพย์สิน
ค) คำยืนยันว่าพื้นที่บริหารจัดการของทรัพย์สินจะรวมทรัพย์สินที่ขึ้นทะเบียนและเขตกันชนที่ระบุใน RGPP
ง) รายงานความคืบหน้าเกี่ยวกับการเตรียมแผนบริหารจัดการ

16. ร้องขอเพิ่มเติมต่อรัฐภาคีกัมพูชาให้ส่งแผนบริหารจัดการที่สมบูรณ์เพื่อทรัพย์สินที่ได้รับการขึ้นทะเบียนพร้อมทั้งแผนที่ที่แล้วเสร็จ
ให้ศูนย์มรดกโลกภายในกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2010 เพื่อส่งให้แก่คณะกรรมการมรดกโลกสมัยที่ 34 ค.ศ. 2010

การประชุมคณะกรรมการมรดกโลก สมัยที่ 33 (WHC 33) ณ เมืองเซบีญา ประเทศสเปน ปี 2552

ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ สมัยที่ 33 ณ เมืองเซบีญา ประเทศสเปน ที่ประชุมฯ ได้กำหนดให้เรื่องนี้เข้าสู่การพิจารณา โดยไม่อนุญาตให้มีการอภิปราย และในที่สุดได้มีมติเมื่อวันที่28 มิถุนายน 2552 ขอให้กัมพูชายื่นรายงานความคืบหน้าเกี่ยวกับการดำเนินการตามข้อมติคณะกรรมการมรดกโลก สมัยที่ 32 ทั้งหมดภายในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2553 เพื่อให้คณะกรรมการมรดกโลกตรวจสอบ ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก สมัยที่ 34 ปี 2553

ข้อตัดสินใจที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลก สมัยที่ 33 ณ เมืองเซบีญา ประเทศสเปน เรื่องการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก วันที่ 28 มิถุนายน 2552

Decision: 33 COM 7B.65
The World Heritage Committee,

1. Having examined Document WHC-09/33.COM/7B.Add,

2. Recalling Decisions 31 COM 8B.24 and 32 COM 8B. 102, adopted at its 31st session (Christchurch, 2007) and 32nd Session (Quebec City, 2008) respectively,

3. Notes the developments that have occurred at the property since its inscription on the World Heritage List, the information contained in the State Party report and the preliminary findings of the Reinforced monitoring mission;

4. Requests the State Party to submit to the World Heritage Centre, by 1 February 2010, a report on the progress made in the implementation of the recommendations by the Committee in its Decision 32 COM 8B.102, for the examination by the World Heritage Committee at its 34th session in 2010.

(คำแปลอย่างไม่เป็นทางการ)
ข้อตัดสินใจ 33 COM 7B.65
คณะกรรมการมรดกโลก

1. ได้รับเอกสาร WHC-09/33.COM/7B.Add

2. อ้างถึงข้อตัดสินใจที่ 31 COM 8B.24 ที่ได้รับการรับรองในการประชุมครั้งที่ 31 (ที่เมืองไครสต์เชิร์ช ค.ศ. 2007), ข้อตัดสินใจที่ 32 COM 8B.102 ในการประชุมครั้งที่ 32 (ที่เมืองควิเบก ค.ศ. 2008)ตามลำดับ

3. รับทราบถึงพัฒนาการที่มีต่อทรัพย์สินนับตั้งแต่ได้ถูกขึ้นทะเบียนในบัญชีมรดกโลก โดยข้อมูลได้ถูกบรรจุอยู่ในรายงานของรัฐภาคีและจากสืบค้นข้อเท็จจริงเบื้องต้นของปฏิบัติการการเฝ้าระวังเสริม

4. เรียกร้องให้รัฐภาคีเสนอต่อรายงานความคืบหน้าของการปฏิบัติตามคำแนะนำของคณะกรรมการมรดกโลกตามข้อตัดสินใจที่32 COM 8B.102 ต่อศูนย์มรดกโลก ภายในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2010 เพื่อให้ที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลก สมัยที่ 34 ในปี ค.ศ. 2010 ตรวจสอบต่อไป

การประชุมคณะกรรมการมรดกโลก สมัยที่ 34 (WHC 34) ณ กรุงบราซิเลีย ประเทศบราซิล ปี 2553

ต่อมา ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก สมัยที่ 34 ซึ่งมีขึ้นระหว่างวันที่ 25 กรกฎาคม - 3 สิงหาคม 2553 ณ กรุงบราซิเลีย ประเทศบราซิล คณะผู้แทนไทยได้พยายามเจรจานอกรอบเพื่อขอให้ที่ประชุมเลื่อนการพิจารณาเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับวาระการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหาร รวมทั้งแผนบริหารจัดการปราสาทพระวิหารที่จัดทำโดยกัมพูชาในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก สมัยที่ 35 ปี 2554 โดยในที่สุดที่ประชุมได้มีข้อตัดสินใจ 34 COM 7B.66 เกี่ยวกับกรณีการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหาร ดังนี้

ข้อตัดสินใจที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลก สมัยที่ 34 ณ กรุงบราซิเลีย ประเทศบราซิล เรื่องการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดก วันที่ 3 สิงหาคม 2553

Decision: 34 COM 7B.66
The World Heritage Committee,

1. Having received Document WHC-10/34.COM/7B.Add.3,

2. Recalling Decisions 31 COM 8B.24, 32 COM 8B.102, and 33 COM 7B.65, adopted at its 31st session (Christchurch, 2007), 32nd session (Quebec City, 2008), and 33rd session (Seville, 2009) respectively,

3. Takes note that the World Heritage Centre has the documents submitted by the State Party;

4. Further welcomes the steps taken by the State Party towards the establishment of an international coordinating committee for the sustainable conservation of the Temple of Preah Vihear;

5. Decides to consider the documents submitted by the State Party at its 35th session in 2011.

(คำแปลอย่างไม่เป็นทางการ)
ข้อตัดสินใจ 34 COM 7B.66
คณะกรรมการมรดกโลก

1. ได้รับเอกสาร WHC-10/34.COM/7B.Add3

2. อ้างถึงข้อตัดสินใจที่ 31 COM 8B.24 (ได้รับการรับรองที่ไครสต์เชิร์ช ค.ศ. 2007), ข้อตัดสินใจที่ 32 COM 8B.102 (ได้รับการรับรองที่ควิเบก ค.ศ. 2008) และข้อตัดสินใจที่ 33 COM 7B.65 (ได้รับการรับรองที่เซบีญา ค.ศ. 2009)

3. รับทราบว่าศูนย์มรดกโลกมีเอกสารที่รัฐภาคีนำส่ง

4. ยินดีกับขั้นตอนที่รัฐภาคีได้ดำเนินการเพื่อนำไปสู่การจัดตั้งคณะกรรมการประสานงานระหว่างประเทศ (ICC) สำหรับการอนุรักษ์ปราสาทพระวิหารอย่างยั่งยืน

5. ตัดสินใจที่จะพิจารณาเอกสารที่ยื่นเสนอโดยรัฐภาคีในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก สมัยที่ 35 ในปี ค.ศ. 2011

อย่างไรก็ดี แม้ประเทศต่าง ๆ จะได้รับการทาบทามจากฝ่ายกัมพูชาแต่เนื่องจากฝ่ายไทยแสดงการคัดค้านมาโดยตลอดนับตั้งแต่เสร็จสิ้น การประชุมคณะกรรมการมรดกโลก สมัยที่ 34 จนถึงปัจจุบัน จึงยังไม่ได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการประสานงานระหว่างประเทศ (International Coordinating Committee - ICC) แต่อย่างใด

การประชุมคณะกรรมการมรดกโลก สมัยที่ 35 (WHC 35) ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ปี 2554

ก่อนการประชุม WHC35 ผู้อำนวยการใหญ่ยูเนสโกได้จัดการประชุมหารือระหว่างไทยกับกัมพูชา ในช่วงการประชุมเตรียมการสำหรับการประชุม WHC35 เมื่อวันที่ 25 - 26 พฤษภาคม 2554 ณ กรุงปารีส ซึ่งในระหว่างการหารือดังกล่าว ผู้อำนวยการใหญ่ยูเนสโกได้เสนอร่างข้อตัดสินใจ

ในวาระการประชุม WHC35 เรื่องการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก เพื่อให้ได้ข้อสรุปซึ่งเป็นที่ยอมรับได้ของทั้งสองฝ่ายก่อนการประชุม WHC35 แต่ทั้งสองฝ่ายไม่สามารถหาข้อสรุปได้ในการประชุม WHC35 ซึ่งมีขึ้นระหว่างวันที่ 19 - 29 มิถุนายน 2554 ณ กรุงปารีส ผู้อำนวยการใหญ่ยูเนสโกได้มอบหมายให้นาย Kishore Rao ผู้อำนวยการศูนย์มรดกโลก และนาย Mourni Bouchnaki ผู้แทนของ ICCROM ซึ่งเป็น 1 ใน 3 Advisory Bodies ของศูนย์มรดกโลก หารือกับฝ่ายไทยและกัมพูชาเกี่ยวกับร่างข้อตัดสินใจในวาระเรื่องการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารฯ ซึ่งไทยได้ยืนยันท่าทีที่เสนอให้เลื่อนการพิจารณาแผนบริหารจัดการปราสาทพระวิหารออกไปก่อน เนื่องจากการเจรจาเรื่องเขตแดนระหว่างไทยกับกัมพูชายังไม่แล้วเสร็จ

เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2554 ระหว่างการประชุม WHC35 ขณะที่ไทยและกัมพูชายังไม่สามารถตกลงกันได้เกี่ยวกับร่างข้อตัดสินใจ และกำลังเจรจากันอยู่ ฝ่ายเลขานุการของการประชุมฯ ได้นำเสนอร่างข้อตัดสินใจที่ไทยและกัมพูชายังไม่ได้ตกลงกันเข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุมผู้แทนไทย (นำโดยนายสุวิทย์ คุณกิตติ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม) จึงได้ขอให้ที่ประชุมเลื่อนการพิจารณาวาระดังกล่าวออกไปก่อน แต่ที่ประชุมกลับเดินหน้าพิจารณาต่อไป ผู้แทนไทยจึงประกาศแสดงเจตนารมณ์ในที่ประชุมที่จะบอกเลิกการเป็นภาคีอนุสัญญามรดกโลก และได้ยื่นหนังสือแสดงเจตนารมณ์ดังกล่าว (ลงนามโดยนายสุวิทย์ คุณกิตติ) ต่อ ผู้อำนวยการใหญ่ยูเนสโก

อย่างไรก็ดี ไทยยังไม่ได้ดำเนินการบอกเลิกการเป็นภาคีอนุสัญญาฯ อย่างเป็นทางการ ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวจะต้องเป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลใหม่ต่อไป ดังนั้น ในขณะนี้ ยังถือว่า ไทยยังคงเป็นภาคีอนุสัญญา มรดกโลก และเป็นสมาชิกองค์การยูเนสโก

ข้อมูลเกี่ยวกับขั้นตอนบอกเลิกการเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองมรดกโลก ปี ค.ศ. 1972

ตามข้อ 35 ของอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองมรดกโลก รัฐภาคีสามารถบอกเลิกการเป็นภาคีอนุสัญญาฯ ได้โดยต้องดำเนินการ ดังนี้

1. รัฐภาคีจะต้องยื่นตราสารการบอกเลิกการเป็นภาคีอนุสัญญาฯเป็นลายลักษณ์อักษรกับผู้อำนวยการใหญ่ องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (หรือยูเนสโก) โดยทั่วไปแล้ว ตราสารดังกล่าวจะต้องลงนามโดยผู้นำรัฐบาลหรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของรัฐภาคีนั้น

2. การบอกเลิกการเป็นภาคีอนุสัญญาฯ จะมีผลบังคับใช้ 12 เดือนหลังจากผู้อำนวยการใหญ่ฯ ได้รับตราสารเป็นลายลักษณ์อักษร และรัฐภาคียังคงมีพันธกรณีทางการเงินและด้านอื่น ๆ ต่ออนุสัญญาฯ จนกว่าการบอกเลิกจะมีผลบังคับใช้

ข้อตัดสินใจที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลก สมัยที่ 35 ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เรื่องการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก วันที่ 25 มิถุนายน 2554

Decision: 35 COM 7B.62
The World Heritage Committee:

1. Having examined Document WHC-11/35.COM7B. Add.2;

2. Recalling decisions 31 COM 8B.24, 32 COM 8B.102, 33 COM 7B.65, 34 COM 7B.66 adapted at its 31st session (Christchurch, New Zealand, 2007), 32nd session (Quebec, Canada, 2008), 33rd session (Seville, Spain, 2009) and 34th session (Brasilia, Brazil, 2010)

3. Thanks the Director-General of UNESCO for dispatching her Special Envoy, Mr. Koichiro Matsuura to the Kingdoms of Thailand and of Cambodia in February 2011 with a view to resuming dialogue between the two Parties;

4. Appreciates the efforts of the Director-General of UNESCO in facilitating individual and bilateral discussions between the two Parties at UNESCO Headquarters in May 2011;

5. Acknowledges the good will of the Parties and reaffirms the need to ensure, in accordance with the Operational Guideline, the protection and conservation of the property from any damage;

6. Encourages the States Parties of Cambodia and Thailand to use the 1972 Convention as a tool to support conservation, sustainable development and dialogue.

(คำแปลอย่างไม่เป็นทางการ)
ข้อตัดสินใจ 35 COM 7B.62
คณะกรรมการมรดกโลก

1. ได้พิจารณาตรวจสอบ WHC -11/35.COM7B.Add.2

2. ระลึกถึง ข้อตัดสินใจที่ 31 COM 8B.24, 32 COM 8B.102, 33 COM 7B.65, 34 COM 7B.66 ได้รับการรับรองในสมัยที่ 31 (ไครสต์เชิร์ช นิวซีแลนด์ ค.ศ. 2007), สมัยที่ 32 (ควิเบก แคนาดา ค.ศ. 2008) สมัยที่ 33 (เซบีญา สเปน ค.ศ. 2009) และสมัยที่ 34 (บราซิเลีย บราซิล ค.ศ. 2010)

3. ขอบคุณผู้อำนวยการใหญ่ยูเนสโกที่ได้ส่งผู้แทนพิเศษ นายโคอิชิโร มัตซึอุระ มายังราชอาณาจักรไทยและกัมพูชาในเดือนกุมภาพันธ์ 2554 เพื่อที่จะเริ่มการหารือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างทั้งสองประเทศอีกครั้ง

4. ชื่นชมความพยายามของผู้อำนวยการใหญ่ยูเนสโกในความพยายามช่วยจัดการหารือทวิภาคีและหารือแยกระหว่างสองฝ่าย ณ สำนักงานใหญ่ยูเนสโกในเดือนพฤษภาคม 2554

5. รับทราบถึงไมตรีจิตของทั้งสองฝ่าย และยืนยันถึงความจำเป็นที่จะต้องปกป้องและอนุรักษ์ทรัพย์สิน (ปราสาท) จากความเสียหายใด ๆ ซึ่งเป็นไปตามแนวทางในเชิงปฏิบัติ (Operational Guideline)

6. ส่งเสริมให้ประเทศไทยและกัมพูชาใช้อนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลกปี 1972 เพื่อเป็นเครื่องมือในการสนับสนุนการอนุรักษ์ การพัฒนาที่ยั่งยืน และการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น

การดำเนินการของไทยและการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน

ไทยได้พยายามที่จะให้เกิดความร่วมมือและการปรึกษาหารือเกี่ยวกับการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกมาโดยตลอด ทั้งการติดต่ออย่างเป็นลายลักษณ์อักษรและการหยิบยกขึ้นหารือในโอกาสต่าง ๆ กับยูเนสโก และสมาชิกคณะกรรมการมรดกโลก เพื่อสอบถามเกี่ยวกับการดำเนินการของกัมพูชา รวมทั้งการเสนอแผนบริหารจัดการปราสาทพระวิหาร และเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหาร ตลอดจนชี้แจงให้เข้าใจท่าทีของไทยในเรื่องนี้ ในเวทีอื่น ๆ เช่น คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ สมัชชาสหประชาชาติ และอาเซียน เป็นต้น

ที่ผ่านมา การดำเนินการเกี่ยวกับมรดกโลกอยู่ภายใต้กลไกของคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก ซึ่งจัดตั้งขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2551 และต่อมา คณะรัฐมนตรี มีมติเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2552 เห็นชอบข้อเสนอของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในการปรับปรุงองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการแห่งชาติฯ โดยมีรองนายกรัฐมนตรีตามที่นายกรัฐมนตรีมอบหมายเป็นประธาน มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเป็นรองประธาน มีกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นฝ่ายเลขานุการ และมีองค์ประกอบคณะกรรมการประกอบด้วยผู้แทนกระทรวงต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงศึกษาธิการกระทรวงกลาโหม กระทรวงมหาดไทย และสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ เป็นต้น มีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาเสนอแหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรมและทางธรรมชาติต่อคณะกรรมการมรดกโลก เพื่อบรรจุไว้ในบัญชีมรดกโลก รวมทั้งพิจารณาปรับปรุงเพิ่มเติมแหล่งมรดกโลกดังกล่าวให้เหมาะสมตามสถานการณ์ และกำกับดูแลการปฏิบัติตามข้อบัญญัติการเข้าร่วมเป็นภาคีอนุสัญญาฯ


Edited by Stargate-1, 20 มกราคม พ.ศ. 2556 - 22:42.

Tam-mic-ra ฟันธง!  คำว่า "โดนพริกไทยมั๊ง" น่ะ แค่นี่เอามาเป็นหลักฐาน ได้ยังไงครับ .....  คิดครับคิด  :lol:   จากกระทู้แก้ข่าวหน้า 2 qoute #96  ใครยิงวสันต์-ภู่ทอง   แอลพีจีทำมาจากซี2ซี3


#30 สงสารสาวจันทร์

สงสารสาวจันทร์

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,698 posts

ตอบ 20 มกราคม พ.ศ. 2556 - 23:12

ขี้เกียจอ่าน สายตาไม่ดีครับ

ตามหลักโบราณ มีภูเขากั้นอยู่และฝ่ายเรามีหน้าผาอยู่ข้างหน้า มีศัตรูอยู่บนหน้าผาแม้ครึ่งเดียว จะไม่มีทหารที่เก่งกาจมาจากไหนจะรบเพื่อให้ชนะได้

#31 bird

bird

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 4,191 posts

ตอบ 20 มกราคม พ.ศ. 2556 - 23:28

http://www.oknation....t.php?id=283984

 

สรุปเหตุผล กรณีพิพาทเรื่องเขาพระวิหาร 2505 ไทยแพ้คดีในศาลโลก

 

คําร้องของกัมพูชาที่สำคัญที่ให้ศาลโลกวินิจฉัยคือประเด็นที่ว่า กัมพูชามีอำนาจอธิปไตยเหนือดินแดนอันเป็นที่ตั้งของปราสาทพระวิหาร 

 

คำถาม....คำร้องปีไหนค่ะ....2505  หรือ ที่กำลังอยู่ระหว่างการพิจารณา

 

เหตุผลประการหนึ่งที่ศาลโลกเห็นว่า ประเทศไทยยอมรับอำนาจอธิปไตยของกัมพูชาเหนือที่ตั้งปราสาทพระวิหาร

 

คำถาม....ศาลโลกตัดสินเมื่อไหร่ที่ว่า...ไทยยอมรับอำนาจอธิปไตยของกัมพูชาเหนือที่ตั้งปราสาทพระวิหาร



#32 bird

bird

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 4,191 posts

ตอบ 20 มกราคม พ.ศ. 2556 - 23:50

เหตุการณ์ภายหลังจาก รัฐบาลคุณชวน ลงนามใน MOU 43 เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน  2543

เกิดอะไรขึ้น...

 

นั้นคือส่วนที่หายไปจากการวิพากย์วิจารณ์  ช่วงเวลานั้น มีข้อตกลงซึ่งเป็นปลีกย่อยกี่ฉบับ

และมีเนื้อหาใจความว่าอย่างไร นี่ไม่รวมถึง MOU 44 ที่ยกเลิกไปแล้วในรัฐบาลคุณอภิสิทธิ์

 

ก่อนการลงนามใน MOU2544 ใครทำอะไรที่ไหน มีข้อตกลงว่าอย่างไร...

และในปี 2547  บันทึกข้อตกลงระหว่างใครกับใคร..ในข้อตกลงนั้นกล่าวไว้ว่าอย่างไร

 

นั้นคือส่วนที่หายไป  หรือเพราะมันเป็นเพียงบันทึกข้อตกลงฉบับเล็ก ๆ ที่ไม่สำคัญ..

ก็เลยมองข้ามไป

 

ประโยคที่ว่า....

 

.....เพื่อแบ่งผลประโยชน์การอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย....มีความสำคัญหรือไม่

 

.....การดำเนินการร่วมกันนี้จะกระทำได้ก็ต่อเมือ...ปราสาทพระวิหารได้รับจาก

ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกเรียบร้อยแล้ว.....

 

มีความสำคัญหรือไม่ ต่อพฤติกรรมของฮุนเซน ของนพดล...

 

หรือเพราะมันเป็นเพียงข้อตกลงฉบับเล็ก ๆ ที่ไม่มีค่าควรนำมากล่าวถึง

 

 



#33 bird

bird

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 4,191 posts

ตอบ 21 มกราคม พ.ศ. 2556 - 00:11

ท่านใดมีเวลาว่าง...ลองโหลดเอกสาร 2 ชุดนี้มาวิเคราะห์ดูน่ะค่ะ

 

ชุดนี้เป็นเอกสาร โดย กระทรวงการต่างประเทศ, ธันวาคม  2554

ทั้งหมด  107  หน้า

 

http://www.mfa.go.th...0148-368665.pdf

 

ชุดนี้เป็นรายงานเอเซียน ฉบับที่  215,  6  ธันวาคม  2554

โดย  International Crisisgroup

 

http://www.crisisgro...r-conflict-thai



#34 tonythebest

tonythebest

    สมาชิกขั้นสูง 178 เซนติเมตร

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 13,595 posts

ตอบ 21 มกราคม พ.ศ. 2556 - 00:39

พรุ่งนี้มีเวลาจะโหลดไปอ่านที่ออฟฟิศครับ ขอบคุณคุณเบิร์ดครับผม :) 


ข อ ใ ห้ โ ช ค ดี ต่ อ ค ว า ม เ ชื่ อ ค รั บ

 

 

 

เราอยู่ด้วยกัน ยืนข้างกัน เดินไปด้วยกัน ด้วยเพราะเรามีมุมมองและเป้าหมายไปในทิศทางเดียวกัน

จนกว่าจะถึงวันที่เราพบว่า เรามีจุดหมายปลายทางคนละตำแหน่งกัน


#35 Tam-mic-ra.

Tam-mic-ra.

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 2,948 posts

ตอบ 21 มกราคม พ.ศ. 2556 - 03:23

บริหารร่วมกัน ตามแถลงค์ร่วม  ก็จบไปแล้ว   ดินแดนก็รอปักปันต่อ ไม่มีใึครได้-เสีย ดินแดน

และแถบนั้น  มันต้องมีเงินสะพัด เพราะการท่องเที่ยวแน่ๆ

 

แต่เพราะความบ้าบ๊องส์เพราะเงินฝืดของกลุ่มบางกลุ่ม (ปชป-พธม)   จึงไปหยิบเรื่องบ้าบอนี้ มาโจมตีฝ่ายตรงข้าม

สุดท้ายเพราะความหล่อแต่ไม่มีสมองของคนหล่อนักพูด 

 

กัมพูชา ก็จึงไปฟ้องตีความคำเพิ่มในพิพากษาเดิม  ว่าเขตแดน 4.6 เป็นของใคร?

คนในวงการเขารู้ดี ว่าไทยเสียเปรียบในหลักฐานหลายๆเรื่อง เช่น การยอมรับแผนที่ 1ต่อ2แสน .......ของ mou43       

 

ประโยคที่ว่า  "เจ๊ากับเจ๊ง"   ผมจึงเห็นตามว่ามันเป็นความจริง          เพราะพวกไอ๊เจ๊ก .......   และไอ๊หน้าหล่อ                          แท้ๆัชัดๆเลย  

 

บ้าบอกันไปหมดแล้ว :unsure:


"คนพาลไร้สติ มักสร้างเรื่องและหลักฐานเท็จโกหก เพื่อคอยใส่ร้ายอีกฝ่ายหนึ่งเสมอ" :unsure:

 

นาย ''Starเก๋ง'' ฟันธง!  รถเก๋งขับมายิงเสื้อแดง :lol:      http://webboard.seri...แค/#entry842224   ;      http://webboard.seri...-25#entry408954


#36 Stargate-1

Stargate-1

    SG-1

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,578 posts

ตอบ 21 มกราคม พ.ศ. 2556 - 08:14

http://www.oknation....t.php?id=283984

 

สรุปเหตุผล กรณีพิพาทเรื่องเขาพระวิหาร 2505 ไทยแพ้คดีในศาลโลก

 

คําร้องของกัมพูชาที่สำคัญที่ให้ศาลโลกวินิจฉัยคือประเด็นที่ว่า กัมพูชามีอำนาจอธิปไตยเหนือดินแดนอันเป็นที่ตั้งของปราสาทพระวิหาร 

 

คำถาม....คำร้องปีไหนค่ะ....2505  หรือ ที่กำลังอยู่ระหว่างการพิจารณา

 

เหตุผลประการหนึ่งที่ศาลโลกเห็นว่า ประเทศไทยยอมรับอำนาจอธิปไตยของกัมพูชาเหนือที่ตั้งปราสาทพระวิหาร

 

คำถาม....ศาลโลกตัดสินเมื่อไหร่ที่ว่า...ไทยยอมรับอำนาจอธิปไตยของกัมพูชาเหนือที่ตั้งปราสาทพระวิหาร

 

เรื่องเก่าครับ ในปี 2505 ที่ไทยทำผิดซ้ำซาก จนดูเหมือนเรื่องเดิมครับ

ความจริงแล้วในคดีเก่าที่ตัดสินไปในปี2505 ไอ้เขมรร้อง ขอเพิ่มคำร้องให้พิจารณาเขตแดนด้วย แต่ไทยคัดค้านทัน คำขอจึงตกไป

 

มันเลยมาขอใหม่ให้ตีความอีกครั้ง แต่ศาลเห็นความทุเรศของมันไม่ไหว ออกแถลงการณ์ว่าเป็นคำขอใหม่ รมว.ต่างประเทศไทยกลับเห็นตามไอ้เขมร บอกว่าเป็นเรื่องเก่า ยอมแพ้ตั้งแต่ยังไม่สู้อไรเลย ที่ถูกคือต้องยืนยันอนุสัญญาปี1904 สนธิสัญญาปี1907 และอนุสัญญาโตเกียวว่าเขตแดนไทยอยู่ที่สันปันน้ำขอบสันเขา

 

จะรู้ว่านายนพดล ทำผิดเรื่อง TOR หรือไม่ใท้ถามเขาว่า ตอนนี้ปราสาทพระวิหารอยู่ในเขตไทย หรือพื้นที่ทับซ้อน ถ้าตอบว่าบนพื้นที่ทับซ้อนแสดงว่าเขาผิดแน่นอน


Tam-mic-ra ฟันธง!  คำว่า "โดนพริกไทยมั๊ง" น่ะ แค่นี่เอามาเป็นหลักฐาน ได้ยังไงครับ .....  คิดครับคิด  :lol:   จากกระทู้แก้ข่าวหน้า 2 qoute #96  ใครยิงวสันต์-ภู่ทอง   แอลพีจีทำมาจากซี2ซี3


#37 Stargate-1

Stargate-1

    SG-1

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,578 posts

ตอบ 21 มกราคม พ.ศ. 2556 - 10:35


Tam-mic-ra ฟันธง!  คำว่า "โดนพริกไทยมั๊ง" น่ะ แค่นี่เอามาเป็นหลักฐาน ได้ยังไงครับ .....  คิดครับคิด  :lol:   จากกระทู้แก้ข่าวหน้า 2 qoute #96  ใครยิงวสันต์-ภู่ทอง   แอลพีจีทำมาจากซี2ซี3


#38 Stargate-1

Stargate-1

    SG-1

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,578 posts

ตอบ 21 มกราคม พ.ศ. 2556 - 10:36


Tam-mic-ra ฟันธง!  คำว่า "โดนพริกไทยมั๊ง" น่ะ แค่นี่เอามาเป็นหลักฐาน ได้ยังไงครับ .....  คิดครับคิด  :lol:   จากกระทู้แก้ข่าวหน้า 2 qoute #96  ใครยิงวสันต์-ภู่ทอง   แอลพีจีทำมาจากซี2ซี3


#39 Stargate-1

Stargate-1

    SG-1

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,578 posts

ตอบ 21 มกราคม พ.ศ. 2556 - 22:31


Tam-mic-ra ฟันธง!  คำว่า "โดนพริกไทยมั๊ง" น่ะ แค่นี่เอามาเป็นหลักฐาน ได้ยังไงครับ .....  คิดครับคิด  :lol:   จากกระทู้แก้ข่าวหน้า 2 qoute #96  ใครยิงวสันต์-ภู่ทอง   แอลพีจีทำมาจากซี2ซี3


#40 bird

bird

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 4,191 posts

ตอบ 22 มกราคม พ.ศ. 2556 - 00:05

ส่วนชุดนี้...กระทรวงการต่างประเทศ  จัดพิมพ์เมื่อ  มีนาคม  ๒๕๕๒

จำนวน  48  หน้า....

 

ที่มา  :  เอกสารเผยแพร่ทางอินเตอร์เน็ต  กองพันทหารสื่อสารที่ 3 

 

http://s1003.cloud.r...at/prasat_1.pdf


Edited by bird, 22 มกราคม พ.ศ. 2556 - 00:09.


#41 tonythebest

tonythebest

    สมาชิกขั้นสูง 178 เซนติเมตร

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 13,595 posts

ตอบ 22 มกราคม พ.ศ. 2556 - 00:27

บริหารร่วมกัน ตามแถลงค์ร่วม  ก็จบไปแล้ว   ดินแดนก็รอปักปันต่อ ไม่มีใึครได้-เสีย ดินแดน

และแถบนั้น  มันต้องมีเงินสะพัด เพราะการท่องเที่ยวแน่ๆ

 

แต่เพราะความบ้าบ๊องส์เพราะเงินฝืดของกลุ่มบางกลุ่ม (ปชป-พธม)   จึงไปหยิบเรื่องบ้าบอนี้ มาโจมตีฝ่ายตรงข้าม

สุดท้ายเพราะความหล่อแต่ไม่มีสมองของคนหล่อนักพูด 

 

กัมพูชา ก็จึงไปฟ้องตีความคำเพิ่มในพิพากษาเดิม  ว่าเขตแดน 4.6 เป็นของใคร?

คนในวงการเขารู้ดี ว่าไทยเสียเปรียบในหลักฐานหลายๆเรื่อง เช่น การยอมรับแผนที่ 1ต่อ2แสน .......ของ mou43       

 

ประโยคที่ว่า  "เจ๊ากับเจ๊ง"   ผมจึงเห็นตามว่ามันเป็นความจริง          เพราะพวกไอ๊เจ๊ก .......   และไอ๊หน้าหล่อ                          แท้ๆัชัดๆเลย  

 

บ้าบอกันไปหมดแล้ว :unsure:

 

 

ถ้าเช่นนั้น ผมขอถามความเห็นคุณแต่มหน่อย

ไม่เอาสนธินะ ขี้เกียจพุดถึง

 

เอาอภิสิทธิ์คนเดียวแล้วกัน

ถ้าเป็นไอเดียของคนฝั่งคุณ

อภิสิทธิ์ ควรทำอะไรบ้าง และไม่ควรทำอะไรบ้างครับ

เพื่อไม่ให้เป็นเรื่องบ้าบอในสายตาคุณ

รบกวนช่วยทำให้ผมเข้าใจ


ข อ ใ ห้ โ ช ค ดี ต่ อ ค ว า ม เ ชื่ อ ค รั บ

 

 

 

เราอยู่ด้วยกัน ยืนข้างกัน เดินไปด้วยกัน ด้วยเพราะเรามีมุมมองและเป้าหมายไปในทิศทางเดียวกัน

จนกว่าจะถึงวันที่เราพบว่า เรามีจุดหมายปลายทางคนละตำแหน่งกัน


#42 bird

bird

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 4,191 posts

ตอบ 22 มกราคม พ.ศ. 2556 - 01:09

เสริมให้ค่ะ..

 

แถลงการณ์ร่วม 2551  จบลงไปแล้วตามคำสั่งศาล  เพราะนพดลกระทำผิดรัฐธรรมนูญ

แต่เจตนารมณ์ คือสนับสนุนและเห็นด้วย

 

และถ้าอ่านจากเอกสาร ในการประชุมร่วมกันระหว่าง ไทย-กัมพูชา จะมีข้อตกลงร่วมกัน

 

และข้อตกลงนั้นจะกระทำได้ก็ต่อเมื่อ....

 

กัมพูชาได้ขึ้นทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกโลกเรียบร้อยแล้ว...

 

ใครเป็นผู้เริ่ม...เริ่มขึ้นเมื่อไหร่...ใครสานต่อ...ใครลงนามสนับสนุน และ สุดท้าย

ใครที่ช่วยสร้างประเด็น

 

MOU 43  ข้อ  5

 

" เพื่ออำนวยความสะดวกให้การสำรวจตลอดแนวเขตแดนทางบกร่วมกันเป็นไป

อย่างประสิทธิผล หน่วยงานของรัฐบาลกับเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานเหล่านั้น

 

จะงดเว้นการดำเนินการใด ๆ ที่มีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพ

แวดล้อมของพื้นที่ชายแดน

 

เว้นแต่จะเป็นการดำเนินกงานของคณะอนุกรรมการเทคนิคร่วม เพื่อประโยชน์

ในการสำรวจและจัดทำหลักชายแดน "

 

ข้อนี้คือสัญญาร่วมกันว่า จะไม่มีการดำเนินการใด ๆ แต่ กัมพูชา กับดำเนินการ

ยื่นขอขึ้นทะเบียนมรดกโลก โดยระบุพื้นที่โดยรอบล้ำเข้ามาในเขตไทยตาม

สนธิสัญญา 1904 และ 1907  ถือเป็นการละเมิดต่อ MOU 43 ที่กัมพูชาลงนาม

(ตามเนื้อหาในสนธิสัญญา มิใช่ตามแผนที่ที่กัมพูชากล่าวอ้าง เพราะไทยไม่เคย

รับรองแผ่นที่ และ ศาลโลกก็ไม่ได้มีคำพิพากษารับรองแผ่นที่ด้วยเช่นกัน)

 

ถ้าหาก  ไม่มี MOU43  ก็เท่ากับว่า...ข้อกำหนดข้อนี้ถือเป็นโมฆะไปโดยปริยาย

นั้นก็เท่ากับว่า เป็นการสนับสนุนให้ กัมพูชาขึ้นทะเบียนมรดกโลกได้ง่ายขึ้น

จะไม่ใช่เฉพาะตัวปราสาทตามที่ มรดกโลก ขึ้นทะเบียนตามเกณฑ์ 1

 

แต่จะหมายรวมถึง พื้นที่ที่ระบุอยู่ในข้อตกลงบันทึกความร่วมมือของ ครม ร่วม

เมื่อวันที่ 25  มีนาคม  2547  (เอกสารเผยแพร่ มีนาคม 2552 หน้า 16 )

ที่ลงนามร่วมกัน โดยระบุไว้ว่า

 

" ความร่วมมือระหว่างไทย -กัมพูชาในเรื่องนี้จะเริ่มขึ้นหลังจากที่องค์การการ

ศึกษาวิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติหรือยูเนสโก (UNESCO)

ได้ขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก "

 

จากนั้น  2548 - 2551  กัมพูชาก็ยื่นเอกสารของขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหาร

แต่ยังไปไม่ถึงฝัน..ก็เกิดอุบัติเหตุทางการเมืองภายในประเทศไทยเสียก่อน

 

...เมื่อทุกอย่างสงบลง  รัฐบาลนอมินี 1 ก็เริ่มดำเนินการสานต่อความต้องการ

ที่ริเริ่มไว้ตั้งแต่ปี 2544....

 

อนาคตของปราสาทพระวิหารจะเป็นอย่างไร...ประเทศไทยยังมีโอกาสทวงคืน

ได้ตามเจตนารมณ์ของประชาชนไทยในปี 2505 หรือไม่..

 

ข้อสงวนสิทธิที่ ดร.ถนัด   คอมันต์  ได้ยื่นเอกสารไว้ โดยไม่จำกัดเวลา

จะเป็นโมฆะ เพราะบันทึกข้อตกลงความร่วมมือหรือไม่

 

พฤติกรรมต่าง ๆ ล้วนแสดงเจตนารมณ์...ของผู้กระทำ...ถมไม่เต็มจริง ๆ...

 

ข้อกังวลนี้..เป็นเพียงประเด็นเล็ก ๆ ที่ซ่อนอยู่โดยไม่มีใครกล่าวถึง

จะจงใจ ตั้งใจ หรือ เพราะมันเป็นเพียงประเด็นเล็ก ๆ ก็เลยมองข้ามไป

แต่...อย่าลืมว่า...นั้นคือข้อแม้ในการจัดสรรผลประโยชน์ที่จะตามมา....

 

 

 

 

 

 

 

 



#43 Can Thai

Can Thai

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,383 posts

ตอบ 22 มกราคม พ.ศ. 2556 - 02:26

หลายปีก่อน ข้อมูลเรื่องสนธิสัญญา ลากยาวมา MOU 43 มรดกโลก เต็มขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด

แต่ไม่ได้รวบรวมให้เป็นเรื่องเป็นราว เหตุผลที่โต้แย้งกันก็ยังวนๆ อยู่แบบเดิมๆ

แล้วแต่ว่าใคร ฝ่ายไหนอยากใช้ข้อมูลมาโจมตีใคร

สุดท้ายก็ต้องเงยหน้าขึ้นมาดูความจริง ในโลกจริง

พูดกันไปทั้งสังคม เดินขบวนอีก กีร้อยวันก็งั้น ๆ

รอให้ถึงวันพิพากษาก็รู้เอง

#44 Stargate-1

Stargate-1

    SG-1

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,578 posts

ตอบ 22 มกราคม พ.ศ. 2556 - 10:26

หลักเกณฑ์ทางวัฒนธรรม

  • (i) - เป็นตัวแทนในการแสดงผลงานชิ้นเอกที่จัดทำขึ้นด้วยการสร้างสรรค์อันชาญฉลาดของมนุษย์

.ใช่ครับ ชนเผาเขมรขนหินขนทรายขึ้นมาจากตีนเขา ปีนหน้าผาขึ้นมาสร้างปราสาท โดยมีทางขึ้นเป็นของอีกชนเผ่าหนึ่ง  เป็นนวัตกรรมอันยอดเยี่ยม

  • (ii) - เป็นสิ่งที่มีอิทธิพลยิ่ง ผลักดันให้เกิดการพัฒนาสืบต่อมาในด้านการออกแบบทางสถาปัตยกรรม อนุสรณ์สถาน ประติมากรรม สวน และภูมิทัศน์ ตลอดจนการพัฒนาศิลปกรรมที่เกี่ยวข้อง หรือการพัฒนาการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ซึ่งได้เกิดขึ้นในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง หรือบนพื้นที่ใดๆ ของโลกซึ่งทรงไว้ซึ่งวัฒนธรรม

เป็นการผลิกปูมการสืบค้นการตั้งถิ่นทางประวัติศาสตร์ที่สุดประหลาด ชนเผ่าที่ตั้งถิ่นฐานบนดินแดนทางฝั่งพื้นที่ต่ำ แต่สามารถขึ้นมาสร้างประติมากรรมบนหน้าผาของชนเผ่าที่ตั้งอยู่บนพื้นที่สูงได้

  • (iii) - เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงหลักฐานของวัฒนธรรมหรืออารยธรรมที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันหรือว่าที่สาบสูญไปแล้ว

วัฒนธรรมของชนเผ่าทางพื้นที่ต่ำที่แพร่ขึ้นมาบนหน้าผา จนกลมกลืนกับวัฒนธรรมชนเผ่าทางพื้นที่สูง

  • (iv) - เป็นตัวอย่างอันโดดเด่นของประเภทของสิ่งก่อสร้างอันเป็นตัวแทนของการพัฒนาทางด้านวัฒนธรรม สังคม ศิลปกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี อุตสาหกรรม ในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ

สิ่งก่อสร้างนี้ทำให้สามารถพลิกประวัติศาสตร์เดิมๆไปได้เลยระหว่างสองชนเผ่า  จนแยกไม่ออกระหว่างประวัติศาสตร์ของชนเผ่าพื้นที่ต่ำกับพื้นที่สูง

  • (v) - เป็นตัวอย่างอันโดดเด่นของวัฒนธรรมมนุษย์ ขนบธรรมเนียมประเพณีแห่งสถาปัตยกรรม วิธีการก่อสร้าง หรือการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ซึ่งเสื่อมสลายได้ง่ายจากผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมตามกาลเวลา

ทำให้วิธีตั้งสมมุติฐานการตั้งถิ่นฐานเดิมๆ เปลี่ยนไปได้เลย ว่าชนเผาทางพื้นที่ต่ำขึ้นมาสร้างสถาปัตยกรรมบนพื้นที่สูงของอีกชนเผ่าหนึ่ง

  • (vi) - มีความคิดหรือความเชื่อที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับเหตุการณ์ หรือมีความโดดเด่นยิ่งในประวัติศาสตร์

ทำให้ประวัติศาสตร์เปลี่ยนไปได้เลย หากยอมรับว่าสิ่งก่อสร้างนี้เกิดจากชนเผ่าพื้นที่ต่ำ

 

ผมลองให้เหตุผลเล่นๆ กับการพิจารณาขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกของปราสาทพระวิหารครับ


Tam-mic-ra ฟันธง!  คำว่า "โดนพริกไทยมั๊ง" น่ะ แค่นี่เอามาเป็นหลักฐาน ได้ยังไงครับ .....  คิดครับคิด  :lol:   จากกระทู้แก้ข่าวหน้า 2 qoute #96  ใครยิงวสันต์-ภู่ทอง   แอลพีจีทำมาจากซี2ซี3


#45 โคนัน

โคนัน

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 4,836 posts

ตอบ 22 มกราคม พ.ศ. 2556 - 11:49

หลักเกณฑ์ทางวัฒนธรรม
  • (i) - เป็นตัวแทนในการแสดงผลงานชิ้นเอกที่จัดทำขึ้นด้วยการสร้างสรรค์อันชาญฉลาดของมนุษย์

.ใช่ครับ ชนเผาเขมรขนหินขนทรายขึ้นมาจากตีนเขา ปีนหน้าผาขึ้นมาสร้างปราสาท โดยมีทางขึ้นเป็นของอีกชนเผ่าหนึ่ง  เป็นนวัตกรรมอันยอดเยี่ยม

  • (ii) - เป็นสิ่งที่มีอิทธิพลยิ่ง ผลักดันให้เกิดการพัฒนาสืบต่อมาในด้านการออกแบบทางสถาปัตยกรรม อนุสรณ์สถาน ประติมากรรม สวน และภูมิทัศน์ ตลอดจนการพัฒนาศิลปกรรมที่เกี่ยวข้อง หรือการพัฒนาการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ซึ่งได้เกิดขึ้นในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง หรือบนพื้นที่ใดๆ ของโลกซึ่งทรงไว้ซึ่งวัฒนธรรม

เป็นการผลิกปูมการสืบค้นการตั้งถิ่นทางประวัติศาสตร์ที่สุดประหลาด ชนเผ่าที่ตั้งถิ่นฐานบนดินแดนทางฝั่งพื้นที่ต่ำ แต่สามารถขึ้นมาสร้างประติมากรรมบนหน้าผาของชนเผ่าที่ตั้งอยู่บนพื้นที่สูงได้

  • (iii) - เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงหลักฐานของวัฒนธรรมหรืออารยธรรมที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันหรือว่าที่สาบสูญไปแล้ว

วัฒนธรรมของชนเผ่าทางพื้นที่ต่ำที่แพร่ขึ้นมาบนหน้าผา จนกลมกลืนกับวัฒนธรรมชนเผ่าทางพื้นที่สูง

  • (iv) - เป็นตัวอย่างอันโดดเด่นของประเภทของสิ่งก่อสร้างอันเป็นตัวแทนของการพัฒนาทางด้านวัฒนธรรม สังคม ศิลปกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี อุตสาหกรรม ในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ

สิ่งก่อสร้างนี้ทำให้สามารถพลิกประวัติศาสตร์เดิมๆไปได้เลยระหว่างสองชนเผ่า  จนแยกไม่ออกระหว่างประวัติศาสตร์ของชนเผ่าพื้นที่ต่ำกับพื้นที่สูง

  • (v) - เป็นตัวอย่างอันโดดเด่นของวัฒนธรรมมนุษย์ ขนบธรรมเนียมประเพณีแห่งสถาปัตยกรรม วิธีการก่อสร้าง หรือการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ซึ่งเสื่อมสลายได้ง่ายจากผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมตามกาลเวลา

ทำให้วิธีตั้งสมมุติฐานการตั้งถิ่นฐานเดิมๆ เปลี่ยนไปได้เลย ว่าชนเผาทางพื้นที่ต่ำขึ้นมาสร้างสถาปัตยกรรมบนพื้นที่สูงของอีกชนเผ่าหนึ่ง

  • (vi) - มีความคิดหรือความเชื่อที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับเหตุการณ์ หรือมีความโดดเด่นยิ่งในประวัติศาสตร์

ทำให้ประวัติศาสตร์เปลี่ยนไปได้เลย หากยอมรับว่าสิ่งก่อสร้างนี้เกิดจากชนเผ่าพื้นที่ต่ำ

 

ผมลองให้เหตุผลเล่นๆ กับการพิจารณาขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกของปราสาทพระวิหารครับ

 

 

อันนี้ของเห็นต่าง ผมไม่เคยคิดว่าตัวปราสาทพระวิหาร ชนชาติไทยจะเป็นผู้สร้าง หรือถ้าเป็นผู้สร้างจริง อยากได้หลักฐานทางว่าไทยเป็นผู้สร้าง ถ้าจำไม่ผิด ตอนศาลตัดสินครั้งนั้น มีผู้พิพากษาอ้างคำตัดสิน ประมาณว่า เป็นศิลปะ ของเขมรมัน

 

ถ้าเป็นไปได้ ก็อยากจะขุดทั้งปราสาทพระวิหาร และโยนลงไปให้มันทั้งหมด

 

 

ที่เห็นต่างอีก เป็นไปได้ว่า เขมรเคยขึ้นมาอยู่ตรงแถวนั้น สร้างพระวิหารขึ้นมาเอง หรืออาจจะเป็นชนกลุ่มอื่นที่ไม่ใช่เขมร  คือไม่จำเป็นหรอกครับต้องขนอิฐขึ้นไป  บ้างสิ่งบ้างอย่างถ้าหาหลักฐานไม่ได้ มันก็ยังไม่ถือกับว่าต้องประหลาดหรอกครับ พิรามิดอย่างนี้ stone head อย่างนี้ 



#46 Stargate-1

Stargate-1

    SG-1

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,578 posts

ตอบ 22 มกราคม พ.ศ. 2556 - 12:06

หลักเกณฑ์ทางวัฒนธรรม
  • (i) - เป็นตัวแทนในการแสดงผลงานชิ้นเอกที่จัดทำขึ้นด้วยการสร้างสรรค์อันชาญฉลาดของมนุษย์

.ใช่ครับ ชนเผาเขมรขนหินขนทรายขึ้นมาจากตีนเขา ปีนหน้าผาขึ้นมาสร้างปราสาท โดยมีทางขึ้นเป็นของอีกชนเผ่าหนึ่ง  เป็นนวัตกรรมอันยอดเยี่ยม

  • (ii) - เป็นสิ่งที่มีอิทธิพลยิ่ง ผลักดันให้เกิดการพัฒนาสืบต่อมาในด้านการออกแบบทางสถาปัตยกรรม อนุสรณ์สถาน ประติมากรรม สวน และภูมิทัศน์ ตลอดจนการพัฒนาศิลปกรรมที่เกี่ยวข้อง หรือการพัฒนาการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ซึ่งได้เกิดขึ้นในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง หรือบนพื้นที่ใดๆ ของโลกซึ่งทรงไว้ซึ่งวัฒนธรรม

เป็นการผลิกปูมการสืบค้นการตั้งถิ่นทางประวัติศาสตร์ที่สุดประหลาด ชนเผ่าที่ตั้งถิ่นฐานบนดินแดนทางฝั่งพื้นที่ต่ำ แต่สามารถขึ้นมาสร้างประติมากรรมบนหน้าผาของชนเผ่าที่ตั้งอยู่บนพื้นที่สูงได้

  • (iii) - เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงหลักฐานของวัฒนธรรมหรืออารยธรรมที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันหรือว่าที่สาบสูญไปแล้ว

วัฒนธรรมของชนเผ่าทางพื้นที่ต่ำที่แพร่ขึ้นมาบนหน้าผา จนกลมกลืนกับวัฒนธรรมชนเผ่าทางพื้นที่สูง

  • (iv) - เป็นตัวอย่างอันโดดเด่นของประเภทของสิ่งก่อสร้างอันเป็นตัวแทนของการพัฒนาทางด้านวัฒนธรรม สังคม ศิลปกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี อุตสาหกรรม ในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ

สิ่งก่อสร้างนี้ทำให้สามารถพลิกประวัติศาสตร์เดิมๆไปได้เลยระหว่างสองชนเผ่า  จนแยกไม่ออกระหว่างประวัติศาสตร์ของชนเผ่าพื้นที่ต่ำกับพื้นที่สูง

  • (v) - เป็นตัวอย่างอันโดดเด่นของวัฒนธรรมมนุษย์ ขนบธรรมเนียมประเพณีแห่งสถาปัตยกรรม วิธีการก่อสร้าง หรือการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ซึ่งเสื่อมสลายได้ง่ายจากผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมตามกาลเวลา

ทำให้วิธีตั้งสมมุติฐานการตั้งถิ่นฐานเดิมๆ เปลี่ยนไปได้เลย ว่าชนเผาทางพื้นที่ต่ำขึ้นมาสร้างสถาปัตยกรรมบนพื้นที่สูงของอีกชนเผ่าหนึ่ง

  • (vi) - มีความคิดหรือความเชื่อที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับเหตุการณ์ หรือมีความโดดเด่นยิ่งในประวัติศาสตร์

ทำให้ประวัติศาสตร์เปลี่ยนไปได้เลย หากยอมรับว่าสิ่งก่อสร้างนี้เกิดจากชนเผ่าพื้นที่ต่ำ

 

ผมลองให้เหตุผลเล่นๆ กับการพิจารณาขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกของปราสาทพระวิหารครับ

 

 

อันนี้ของเห็นต่าง ผมไม่เคยคิดว่าตัวปราสาทพระวิหาร ชนชาติไทยจะเป็นผู้สร้าง หรือถ้าเป็นผู้สร้างจริง อยากได้หลักฐานทางว่าไทยเป็นผู้สร้าง ถ้าจำไม่ผิด ตอนศาลตัดสินครั้งนั้น มีผู้พิพากษาอ้างคำตัดสิน ประมาณว่า เป็นศิลปะ ของเขมรมัน

 

ถ้าเป็นไปได้ ก็อยากจะขุดทั้งปราสาทพระวิหาร และโยนลงไปให้มันทั้งหมด

 

 

ที่เห็นต่างอีก เป็นไปได้ว่า เขมรเคยขึ้นมาอยู่ตรงแถวนั้น สร้างพระวิหารขึ้นมาเอง หรืออาจจะเป็นชนกลุ่มอื่นที่ไม่ใช่เขมร  คือไม่จำเป็นหรอกครับต้องขนอิฐขึ้นไป  บ้างสิ่งบ้างอย่างถ้าหาหลักฐานไม่ได้ มันก็ยังไม่ถือกับว่าต้องประหลาดหรอกครับ พิรามิดอย่างนี้ stone head อย่างนี้ 

 

พื้นที่สันปันน้ำเป็นการแบ่งโดยใช้อารยธรรม ด้วยครับ ชุมชนพื้นที่ต่ำอาศัยอยู่ด้านล่างทางตีนเขา ชุมชนพื้นที่สูงอยู่ทางส่วนบนเนินเขาครับ หากศึกษาตามหลักวิทยาศาสตร์สังคมนี้ครับ

 

http://webboard.seri...ลก/#entry567220

 

ที่ว่าขนหินขนทรายขึ้นมา เขาคงมาตามบันไดครับ นี้มีบันไดอยู่แล้วไม่ใช้หรือครับ


Tam-mic-ra ฟันธง!  คำว่า "โดนพริกไทยมั๊ง" น่ะ แค่นี่เอามาเป็นหลักฐาน ได้ยังไงครับ .....  คิดครับคิด  :lol:   จากกระทู้แก้ข่าวหน้า 2 qoute #96  ใครยิงวสันต์-ภู่ทอง   แอลพีจีทำมาจากซี2ซี3


#47 tonythebest

tonythebest

    สมาชิกขั้นสูง 178 เซนติเมตร

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 13,595 posts

ตอบ 22 มกราคม พ.ศ. 2556 - 13:10

ถามแบบคนไม่รู้อะไรเลยนะครับ

เป็นไปได้มั๊ย ที่คนสร้างจะไม่ใช่ขอมมาตั้งแต่ต้น

ประเทศไทยเราเป็นประเทศที่รวมหลากหลายวัฒนธรรมเข้าด้วยกัน

ภาษาไทยเรายังดัดแปลงมาจากหลากหลายภาษา รวมถึงภาษาขอม

จะแปลกมั๊ย ที่ชนเผ่าที่สร้างตัวปราสาท จะนำอิทธิพลทางศิลปะขอมมาใช้

ในประเทศไทย เรายังมีสิ่งปลูกสร้างแบบขอมอยู่หลายที่ไม่ใช่หรือ


ข อ ใ ห้ โ ช ค ดี ต่ อ ค ว า ม เ ชื่ อ ค รั บ

 

 

 

เราอยู่ด้วยกัน ยืนข้างกัน เดินไปด้วยกัน ด้วยเพราะเรามีมุมมองและเป้าหมายไปในทิศทางเดียวกัน

จนกว่าจะถึงวันที่เราพบว่า เรามีจุดหมายปลายทางคนละตำแหน่งกัน


#48 Stargate-1

Stargate-1

    SG-1

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,578 posts

ตอบ 22 มกราคม พ.ศ. 2556 - 13:54

ทางฝั่งเขมรมีการศึกษาและเอามาเป็นข้ออ้างอิงในการขึ้นทะเบียนด้วย แถมยังมาพูดที่ธรรมศาสตร์ด้วย
ทางฝั่งไทยไม่มีการเผยแพร่ความรู้ทางประวัติศาสตร์นี้เลย ยกตัวอย่าง คำแย้งของเว็บนี้ ไม่มีใครศึกษาอย่างจริงจัง เอาไปแย้งเขมรได้เลยหรือ
 
http://board.palungj...ร-148644.html

 

กษัตริย์นครศรีธรรมราช ผู้สร้างเขาพระวิหาร

ขอม1.jpg

 

อิทธิพลอาณาจักรขอม
.......อาณาจักรพนมที่กระบี่ปรากฏตัวตน บนเอกสารที่เกิดขึ้นประมาณ พ.ศ.๖๖๗ อาณาจักรมลราชที่ อ.ลานสกา นครศรีธรรมราช พ.ศ.๖๙๒ สองอาณาจักรนี้มีเส้นทางติดต่อกันทางแม่น้ำตาปี โดยมีกลองมโหระทึกเป็นโบราณวัตถุหลักฐานตามเส้นทางสายนี้ และ ๒ นครรัฐนี้คือ ชนเผ่าชวากะตัวจริงและเป็นส่วนร่วมของราชวงศ์ศรีบูชาราชวงศ์กษัตริย์ราชวงศ์แรกของนครศรีธรรมราชที่อาหรับเรียกขาน

 

ขอม2.jpg

วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร นครศรีธรรมราช
(เดิมเรียก หาดทรายแก้ว)

ภูมิหลังส่วนหนึ่งของเมืองนคร
......... เมื่อมีนครรัฐที่ลานสกา ชื่อมลราช เมื่อพ.ศ.๖๙๒ แสดงว่านครศรีธรรมราชมีท่าเรือชายทะเลที่คับคั่งด้วยเรือนานาชาติ ดังนั้นนางเหมชาลาและพระทนตกุมาร จึงอาศัยเรือผ่านนครศรีธรรมราช และฝังกระดูกพระพุทธเจ้าไว้ที่หาดทรายแก้ว ใต้องค์พระธาตุปัจจุบัน เมื่อ พ.ศ.๘๕๔

......... ในปี พ.ศ.๑๐๖๑ พราหมณ์มาลี และพราหมณ์มาลา จากอินเดียอพยพเข้าเมืองนครไปรวมกับเขาวัง ลานสกา และสร้างพระธาตุครั้งที่ ๒

......... พ.ศ.๑๑๑๑ พระภิกษุ ๓๐๐ องค์ อพยพเข้าเมืองนครสร้างวัดท้าวโครตยุคแรก

......... พ.ศ.๑๑๙๑ นครโฮลิง-นครศรีธรรมราช ส่งทูตไปจีน ยุคนี้นครศรีธรรมราชปกครองด้วย พระนางสีมา กษัตริย์ผู้หญิงลูกครึ่งโรมัน ผู้สั่งฆ่าโอรสที่เก็บทองคำกลางเมืองได้แล้วไม่คืนให้เจ้าของ
......... พ.ศ. ๑๑๙๓ เจ้าชายโมคคัลลานะ ขัดแย้งกับพ่อกษัตริย์ลังกา มาสร้างเมืองใหม่ที่โมคลาน อ.ท่าศาลา ยึดเส้นทางการค้าระหว่างลังกากับอาณาจักรฟูนัน

......... พ.ศ.๑๒๐๒ กำเนิดอาณาจักรศรีโพธิ์หรือศรีวิไชยา ในจ.สุราษฏร์ธานีปัจจุบัน

......... พ.ศ.๑๒๑๐ เมืองนครถูกปกครองโดยราชวงศ์ศิวะไกลวัลย์(ใช้พราหมณ์ทุกตำแหน่ง)

......... พ.ศ.๑๒๙๕ พระองค์ตั้งลึงค์บรรพตเขาคา อ.สิชล เพื่อประกอบพิธีกรรมวันศิวาราตรีบูชาพระศิวะในวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๓ ทุกปี ศาสนาพุทธเป็นวันมาฆบูชา

......... เรามองเห็นความเกี่ยวเนื่องระหว่าง ขอม-นครศรีธรรมราช-ลังกา อินเดียได้อย่างชัดเจน

......... พ.ศ.๑๒๑๐-๑๓๑๐ นครศรีธรรมราช ปกครองโดยราชวงศ์พราหมณ์ศรีศิวะไกวัลย์ ดังนั้นในปี พ.ศ.๑๓๑๐ พระเจ้าวิษณุที่๑ แห่งชวา ปาเล็มบัง ส่งวิษณุที่ ๒ โอรสมายึดครองนครศรีธรรมราชเป็นพระเจ้าศรีวิชัย แปลว่า ผู้ชนะพราหมณ์

......... พ.ศ.๑๓๓๕ นครศรีธรรมราชเป็นศูนย์กลางของศรีวิชัยทั้ง ๓ ไชยา-นครศรีธรรมราช-ชวา

 

ขอม3.jpg

Map of Southeast Asia at end of 12th century

ลัทธิเทวราชา
......... ลัทธิเทวราชา โดยมุ่งกษัตริย์ให้เป็นพระศิวะหรือเทพเจ้าหลังความตาย พระเจ้าไชยวรมันที่๒ เป็นผู้กำเนิดขึ้น ในตำนานศรีวิไชยากล่าวว่า “พระอินทร์” ฉายาของกษัตริย์องค์ต้นๆของอาณาจักรศรีโพธิ์ไชยา ผู้เป็นลุงได้เลี้ยง พระเจ้าไชยวรมันที่ ๒ มาตั้งแต่ ๖ ขวบตามหลักสูตรเจ้าชายศรีวิชัยจนอายุ ๑๖ ปี อาจจะมีแม่หรือพ่อเป็นขอมแล้วไปส่งให้เป็นกษัตริย์ขอมโดยมอบมหาพราหมณ์ศิวะไกลวัลย์ พระมหาฤาษีระดับสุดยอดที่ศรีวิชัยมีไปเป็นพี่เลี้ยง พระเจ้าไชยวรมันที่ ๒ ครองราชย์ระหว่างปี พ.ศ.๑๓๓๒-๑๓๙๓ รวมครองราชย์ ๖๑ ปี รวบรวมเขมรหรือขอมโบราณให้เป็นราชอาณาจักร จากพระกรณียกิจดังนี้
......... ๑.ทรงรวบรวมเจนละบกแถบภูเขาและเจนละน้ำแถบทะเลสาบหลายเผ่าพันธุ์เข้าด้วยกัน ทำให้กัมพูชาเป็นอาณาจักรเดียว
......... ๒.สร้างเมืองพนมบาแค็ง
......... ๓.เมืองอินทร์ปุระ เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแก่ “พระอินทร์” แห่งศรีวิไชยา
......... ๔.สร้างเมืองบันทายไพรนคร
......... ๕.เมืองพระนครทะเลสาบ
......... ๖.ปราสาทบันทายกุฏี
......... ๗.หริหราลัย
......... ๘.อมเรนทรปุระ
......... ๙.ปราสาทออกยม
......... ๑๐.มเหนทรบรรพตที่พนมกุเลน
......... พระเจ้าไชยวรมันที่ ๒ แผ่อิทธิพลออกทะเลใต้ไปทางจันทบุรี-เกาะกง-สู่ศรีวิชัยไชยา-ศรีวิชัยนครศรีธรรมราช และศรีวิชัยชวาปาเล็มบัง ทรงรวบรวมลัทธิพุทธมหายาน ลัทธิชัยเกษตรที่บูชาพนมบูชาบุณคุณของภูเขาเข้ากับลัทธิไศวนิกายที่บูชาศิวลึงค์ เป็นศาสนาใหม่ เรียกว่า “ลัทธิเทวราชา” ยกกษัตริย์เป็นเทพโดยสมมุติโดยมีเป้าหมายทำกษัตริย์ให้อยู่ในเทพเจ้าและเทพเจ้าอยู่ในตัวตนกษัตริย์ พิธีกรรมนี้กระทำบนภูเขาพนมกุเลน โดยพราหมณ์ศิวะไกลวัลย์เป็นเจ้าพิธีและกองทัพ “สยามกุก” ก็ปรากฏตัวตนที่นี่ดังเป็นปัญหาของนักวิชาการกรุงเทพฯตามจดหมายเหตุของจีน คำว่า “เสียมหลอ”(Siam-Lo) เป็นอาณาจักรรวมระหว่าง “ไชยากับละโว้” และเป็นที่มาของคำว่า “สยาม”(Siam) ในปัจจุบัน

นครศรีธรรมราชสยายปีก
......... ในปี พ.ศ.๑๔๔๖ พระแก้วมรกตสถิตอยู่ที่นครศรีธรรมราช นครศรีธรรมราชเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรศรีวิชัยทั้ง๓ ครั้งที่ ๒ ละโว้แปรพักตร์จะไปเข้าข้างขอมมากขึ้น กษัตริย์นครศรีธรรมราชจึงส่งพระเจ้าสุชิตราชพร้อมพล ๑๗ หมื่นไปตีละโว้หรือลพบุรีเพราะขอมส่งกองทัพมารุกรานนครศรีธรรมราช พระเจ้าสุชิตมีแม่เป็นเจ้าหญิงละโว้ ในขณะนั้นกษัตริย์ลำพูนยกทัพมาทำศึกกับละโว้ พระเจ้าละโว้ยกกองทัพออกไปนอกเมือง พระเจ้าสุชิตราชจึงเข้ายึดละโว้ได้โดยง่ายแล้วปกครองอยู่ ๒๖ ปี ๘ เดือน ในพระนามพระยาปานะโกศลกัมโพชราช น่าสงสัยว่าเป็นเชื้อสายของพราหมณ์กัมพุชหรือกัมโพช เป็นพราหมณ์ประเภทเลี้ยงวัว ที่อพยพจากอินเดียมาสู่นครศรีธรรมราช แถววัดป่ายาง ต.ท่างิ้ว ซึ่งพบเทวรูปพระกฤษณะ เทพเจ้าคนเลี้ยงวัวที่นั่น

......... เจ้ากรุงละโว้จากเมืองนครได้โปรดให้โอรสองค์ใหญ่ไปครองเมืองราม ที่เมืองพระสวามีพระนางจามเทวีเคยปกครองมาก่อน เมืองนี้ต่อมาปริวรรตมาเป็นแคว้นอโยธยา ชื่อเมืองของพระรามในรามเกียรติ์ แสดงว่า คัมภีร์รามายณะก็มีอิทธิพลต่อระบบกษัตริย์ไม่แพ้ศาสนาฮินดูพุทธแล้วให้โอรสองค์ที่ ๒ ไปครองเมืองศรีจนาศะเดิมเรียกชื่อใหม่ว่า “วิมายะ” หรือ พิมาย โดยสร้างประสาทหินพิมายขึ้น เพราะ “วิมายะ” เป็นชื่อหนึ่งของพระนารายณ์หรือพระวิษณุ และพระยาสุชิตราช เป็นผู้นับถือศาสนาพราหมณ์นิกายวิษณุ หรือไวษณพนิกายจากนครศรีธรรมราช โอรสองค์ที่ ๒ นี้คือ พระเจ้าสุริยวรมันที่ ๑ ต่อมาได้โปรดสร้างเทวาลัยเขาพระวิหาร จากที่มีการสร้างมาหลายครั้งให้ยิ่งใหญ่อลังการกว่าเดิม ประสาทเขาพระวิหารจึงมีทั้งศิลปะแบบเกาะแกร์ แบบปาปวน และแบบบายน รวมทั้งเทวรูปจตุคามรามเทพแบบนครศรีธรรมราช

......... กษัตริย์ในสมัยกรุงศรีอยุธยารัชกาลที่ ๒๗ สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงหนีความวุ่นวายของฝรั่งเศสทั้งด้านการทูต การทหาร การศาสนาและการปกครอง ดังเจ้าพระยาวิชเยนทร์ ฝรั่งชาติกรีกเอเยนต์สายตรงของฝรั่งเศสที่มียศถึงสมุหนายก เสด็จมาสร้างเมืองหลวงสำรองที่ลพบุรี หรือละโว้ชะรอยพระองค์จะทรงรู้ว่า “เทพเจ้าวิมายะ” แห่งปราสาทหินพิมายเป็นฮวงจุ้ยที่ดีของเทพเจ้าพระนารายณ์ด้วยกันที่มีพระนามเหมือนกัน ทำให้พระองค์ปลอดภัยจากศัตรูตลอดมาข้อนี้น่าคิด

ความเป็นไป
........การสร้างเทวาลัยเขาพระวิหารดูจะเป็นรูปแบบเล็กๆมาตั้งแต่ พ.ศ.๗๐๐-พ.ศ.๙๐๐ จากอิทธิพลของกษัตริย์โกณฑัญญะจากอาณาจักรพนม และสร้างเปลี่ยนรูปไปตามกาลเวลา เพราะตำแหน่งที่ตั้งของเขาพระวิหารต้องโฉลก “ลึงค์บรรพต” หรือภูเขาที่เป็นรูปลึงค์ของพระศิวะ โดยธรรมชาติการพัฒนาการสร้างและเปลี่ยนเจ้าของ ผู้สร้างจึงเปลี่ยนไปเสมอเหมือนกระท่อมเปลี่ยนเป็นบ้าน บ้านกลายเป็นตัวตึก จากตัวตึกกลายเป็นคอนโด เมื่อเปลี่ยนเจ้าของเดิม แต่ต้องสร้างในที่เดียวกัน

........ดังนั้น การสร้างด้วยรูปแบบแผนผังศักดิ์สิทธิ์ดัง “ปุระ” ของพราหมณ์จะเกิดขึ้นจริงๆประมาณ พ.ศ.๑๔๓๐ เป็นต้นมา และการสร้างอย่างจริงจัง ในปี พ.ศ.๑๔๓๖ เป็นต้นมาเมื่อพระเจ้าสุริยวรมันที่ ๑ ทรงสร้างเทวาลัย วิมายะ-พิมายเสร็จแล้ว จึงเข้ามาบริหารจัดการสร้างเขาพระวิหารประมาณปี พ.ศ.๑๔๖๐ โดยอภิเษกกับเจ้าหญิงขอมพระองค์หนึ่งทำให้มีกำลังคน ทั้งนายช่างฝ่ายต่างๆ คนงานและพราหมณ์ผู้รอบรู้พิธีกรรม
........และที่สำคัญที่สุดคือ เครื่องมือที่ใช้ในการก่อสร้างและเสบียงอาหารตลอดเวลาการสร้างเทวาลัยอย่างต่อเนื่องจนมาถึงสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ ๒

ขอม4.jpg


ศาสตราจารย์ยอร์ช เซเดส์
........ศาสตราจารย์ยอร์ช เซเดส์ เป็นผู้เชี่ยวชาญประวัติศาสตร์เอเชียชาวฝรั่งเศส เข้ามาศึกษาวิจัยนครวัด นครธม และอาณาจักรศรีวิชัย ตามคำสั่งของรัฐบาลฝรั่งเศสในสมัยรัชกาลที่๖ พ.ศ.๒๔๖๑ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ พระบิดาประวัติศาสตร์ไทยได้นำมาขุดค้นวัดเสมาเมือง นครศรีธรรมราชพบศิลาจารึกหลักที่ ๒๓ จารึกเมื่อ พ.ศ.๑๓๑๘ โดยพระเจ้าวิษณุที่ ๒ หรือพระเจ้าศรีวิชเยนทรราชาในจารึกหลักนี้มีคำว่า “ศรีวิชัย” แปลว่า “ผู้ชนะพราหมณ์”

........ยิ่งกว่านั้น ยอร์ช เซเดส์ ยืนยันว่าผู้สร้างเขาพระวิหารพระเจ้าสุริยวรมันที่ ๑ เป็นกษัตริย์ไปจากนครศรีธรรมราช แต่ ณ วันนี้ นักวิชาการกรุงเทพฯกำลังแสดงท่าทีอคติกับฝรั่งเศส เรื่องเขาพระวิหารเป็นของเขมรเพราะขอมเป็นผู้สร้างเขาพระวิหารแต่พอผู้เชี่ยวชาญชาวฝรั่งเศสยืนยันว่า คนไทยเป็นผู้สร้างเขาพระวิหาร นักวิชาการกรุงเทพฯและนักการเมืองกลับไม่เชื่อ แถมปฏิเสธ แทนที่จะอ้างประวัติศาสตร์ส่วนนี้ว่า คนไทยสร้างจะได้มีน้ำหนักต่อคำพิพากษา นักวิชาการเหล่านี้กลับปฏิเสธ ว่าเป็นไปไม่ได้

คุณกลัวอะไร??
........กลัวศรีวิชัยนครศรีธรรมราชจะปกครองประเทศไทย หรือหากความกลัวนี้เป็นจริงและต่อเนื่องมาจากอดีต ความคิดของราชธานีกรุงเทพฯที่เผาเอกสารจำนวนมากหน้าวัดพระธาตุเมืองนคร พ.ศ. ๒๔๖๖ ก็เป็นจริง เพื่อลบศรีวิชัยนครศรีธรรมราชออกไปจากนโยบายการปกครอง

พระเจ้าไชยวรมันที่ ๗
........พระเจ้าไชยวรมันที่ ๗ ครองราชย์ระหว่างพ.ศ.๑๗๒๔-๑๗๖๒ ผู้ตั้งลัทธิพุทธราชาห่างจากพระเจ้าไชยวรมันที่ ๒ เกือบ ๔๐๐ ปี ผู้สร้างปราสาทตาพรม ปราสาทพระขรรค์ ปราสาทพิมานอากาศ เป็นต้น โดยนักประวัติศาสตร์ที่มีชื่อเสียงท่านหนึ่งยืนยันว่าพระองค์ท่านเป็นกษัตริย์จากเมืองพิมายและละโว้ โดยเป็นราชบุตรเขยของกษัตริย์ขอมอีกทีหนึ่ง
........ด้วยเหตุนี้ ในปี พ.ศ.๑๗๔๐ พระองค์ได้ส่งกรมเต็งอัญศรีชคตไตรโลกราชจากละโว้ให้มาปกครองศรีวิชัยไชยา ในนามพระเจ้าสูรยนารายณ์ที่ ๒ หรือพระเจ้าไตรโลกยราชเพื่อป้องกันการข่มขู่ศรีวิชัยไชยา จากแคว้นอโยธยาที่ขยายอำนาจลงใต้มา ตั้งแต่ปี พ.ศ.๑๗๒๒ โดยผนึกกำลังกับเมืองโปโลนนรุวะในลังกา และเมืองพระเวียงนครศรีธรรมราช พระเจ้าไตรโลกยราช คือ “ปู่” ของพระเจ้าจันทร-ภาณุศรีธรรมโศกราชมหาราชแห่งนครศรีธรรมราช (พ.ศ.๑๗๗๐-๑๘๑๓) ผู้พยายามจะให้นครศรีธรรมราช(ตามพรลิงค์) เป็นศูนย์กลางของอาณาจักรศรีวิชัย ทั้ง ๓ ครั้งที่ ๓ และในช่วงปี พ.ศ. ๑๗๔๐-๑๗๖๒ ที่นครศรีธรรมราช ต้องส่งส่วยน้ำศักดิ์สิทธิ์ทั้ง ๗ แห่ง ไปให้กษัตริย์ขอมอาบเหมือนละโว้โดยขนส่งทางเรือ อาบบนมนังคศิลาอาสน์สมมุติที่ทำด้วยไม้มะเดื่อเพื่อความเป็นราชาเทวะ

บทสรุป
........จากบริบทที่กล่าวมาแล้วทั้งหมดแสดงให้เห็นว่า พราหมณ์หนุ่มโกณฑัญญะจากอาณาจักรพนม(กระบี่) ไปสร้างอาณาจักรฟูนัน(พนัน) พระเจ้าไชยวรมันที่ ๒ กษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ของขอมผู้ตั้งลัทธิเทวราชาไปจากศรีวิชัย-ไชยา พระเจ้าสุริยวรมันที่ ๑ ผู้สร้างเขาพระวิหารเป็นกษัตริย์นครศรีธรรมราช และพระเจ้าไชยวรมันที่ ๗ ผู้ตั้งลัทธิพุทธราชาไปจาก “พิมาย” ลูกหลานละโว้ นครศรีธรรมราช แล้วเราจะไปกลัวอะไรกับการอ้างเอาว่า “ขอมเป็นผู้สร้างเขาพระวิหาร” เพราะปราสาทหินมากมายในอาณาจักรขอม คนไทยจากภาคใต้เป็นผู้สร้าง

........และยิ่งมีน้ำหนักเข้าไปอีกมาก เมื่อศาสตราจารย์ยอร์ช เซเดส์ ผู้เชี่ยวชาญชาวฝรั่งเศสเองยืนยันว่าสุริยวรมันที่ ๑ เป็นกษัตริย์จากนครศรีธรรมราช นักวิชาการ นักการเมือง ระดับชาติของไทยเองต่างหากที่ไม่น่าเชื่อหลักฐานชิ้นนี้ แล้วกลับไปด่าฝรั่งเศสว่าเป็นผู้วางระเบิดเวลาใช้เขาพระวิหารเป็นเครื่องมือ หากนักวิชาการไทยยังมีความคิดปฏิเสธความยิ่งใหญ่ของศรีวิชัยที่เป็นอาณาจักรของคนไทยเสียเองก็เป็นการยากที่จะไปเอาชัยชนะคืนมาจากเขมรลูกน้องของศรีวิชัยในอดีต
____________________________________

หมายเหตุ อาณาจักรพนม พ.ศ.๖๖๗ ครอบคลุมอาณาบริเวณในอดีตของ จ.กระบี่และ อ.เวียงสระ สุราษฏร์ธานี


Edited by Stargate-1, 24 มกราคม พ.ศ. 2556 - 14:08.

Tam-mic-ra ฟันธง!  คำว่า "โดนพริกไทยมั๊ง" น่ะ แค่นี่เอามาเป็นหลักฐาน ได้ยังไงครับ .....  คิดครับคิด  :lol:   จากกระทู้แก้ข่าวหน้า 2 qoute #96  ใครยิงวสันต์-ภู่ทอง   แอลพีจีทำมาจากซี2ซี3


#49 tonythebest

tonythebest

    สมาชิกขั้นสูง 178 เซนติเมตร

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 13,595 posts

ตอบ 22 มกราคม พ.ศ. 2556 - 15:05

น่าสนใจดีนะครับ

น่าเสียดายที่ไม่มีใครขุดเรื่องนี้ขึ้นมาเลย

 

อีกทั้ง ลักษณะที่ตั้งของตัวปราสาท ก็อ่านดูน่าสนใจ

เพราะถ้าเป็นของเขมร เหตุใดต้องสร้างโดยใช้ทางขึ้นในฝั่งนี้

มันจะไม่ลำบากต่อการขึ้นไปของฟากทางเขมรหรืออย่างไร


ข อ ใ ห้ โ ช ค ดี ต่ อ ค ว า ม เ ชื่ อ ค รั บ

 

 

 

เราอยู่ด้วยกัน ยืนข้างกัน เดินไปด้วยกัน ด้วยเพราะเรามีมุมมองและเป้าหมายไปในทิศทางเดียวกัน

จนกว่าจะถึงวันที่เราพบว่า เรามีจุดหมายปลายทางคนละตำแหน่งกัน


#50 Tam-mic-ra.

Tam-mic-ra.

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 2,948 posts

ตอบ 22 มกราคม พ.ศ. 2556 - 19:19

บริหารร่วมกัน ตามแถลงค์ร่วม  ก็จบไปแล้ว   ดินแดนก็รอปักปันต่อ ไม่มีใึครได้-เสีย ดินแดน

และแถบนั้น  มันต้องมีเงินสะพัด เพราะการท่องเที่ยวแน่ๆ

 

แต่เพราะความบ้าบ๊องส์เพราะเงินฝืดของกลุ่มบางกลุ่ม (ปชป-พธม)   จึงไปหยิบเรื่องบ้าบอนี้ มาโจมตีฝ่ายตรงข้าม

สุดท้ายเพราะความหล่อแต่ไม่มีสมองของคนหล่อนักพูด 

 

กัมพูชา ก็จึงไปฟ้องตีความคำเพิ่มในพิพากษาเดิม  ว่าเขตแดน 4.6 เป็นของใคร?

คนในวงการเขารู้ดี ว่าไทยเสียเปรียบในหลักฐานหลายๆเรื่อง เช่น การยอมรับแผนที่ 1ต่อ2แสน .......ของ mou43       

 

ประโยคที่ว่า  "เจ๊ากับเจ๊ง"   ผมจึงเห็นตามว่ามันเป็นความจริง          เพราะพวกไอ๊เจ๊ก .......   และไอ๊หน้าหล่อ                          แท้ๆัชัดๆเลย  

 

บ้าบอกันไปหมดแล้ว :unsure:

 

 

ถ้าเช่นนั้น ผมขอถามความเห็นคุณแต่มหน่อย

ไม่เอาสนธินะ ขี้เกียจพุดถึง

 

เอาอภิสิทธิ์คนเดียวแล้วกัน

ถ้าเป็นไอเดียของคนฝั่งคุณ

อภิสิทธิ์ ควรทำอะไรบ้าง และไม่ควรทำอะไรบ้างครับ

เพื่อไม่ให้เป็นเรื่องบ้าบอในสายตาคุณ

รบกวนช่วยทำให้ผมเข้าใจ

 

เอาตามความคิดผมนะ

 

อภิสิทธิ์ ควรทำอะไรบ้าง ?

 

1. เมื่อมีการปลุกกระแส  มาร์คในฐานะหัวหน้าพรรค  ควรศึกษาเรื่องราวย้อนหลังให้ดีก่อน

ไม่ใช่พอเห็นว่าจะตีกินฝั่งตรงข้ามได้ ก็รีบหยิบมาเล่น เห็นตามทันที      ..   ต้องมีภาวะผู้นำ  

 

2 ถ้าศึกษาดีๆจะพบว่า ไทยถูกคำพิพากษายกปราสาทให้เขาไปแล้ว ทนายไทยชุดนั้นก็ดันไม่หาอะไรไปไม่โต้แย้งคำพิพากษา ทั้งที่เขาให้เวลา 10 ปี

มา 2543 ก็ไปแสดงท่าทีตาม mou 43  ซึ่งอันนี้ผมเห็นกลางๆถึงข้อดี-ข้อเสีย  แต่ว่าในเนื้อหามันก็ดันมีการอ้างแผนที่เขมรอันเดิมอีก   ซึ่งตรงนี้เป็นเรื่องตีกลับเข้าพรรคตัวเองชัดๆเลย 

 

สรุป ควรอยู่เฉยๆ และช่วยปรามลูกพรรคหรือคนอื่นๆ   เพราะตอนนั้นท่าทีฝ่ายไทยได้เดินมาถูกทางแล้ว  ที่จะบริหารร่วมกันเพื่อแก้ปัญหาต่างๆ    ....   โดยที่ JBC ก็ทำงานต่อด้วยตามข้อตกลง  

 

 

อภิสิทธิ์ ไม่ควรทำอะไรบ้าง ?

 

-ไม่ควรทำทั้งหมดที่ได้ทำลงไป ทั้งพูด-คิด-แสดงออก-การสั่งการ

  เพราะอย่างที่ผมบอก  สุดท้ายมีการยิงกัน มีคนเจ็บ-ตาย บ้านเรือนเสียหาย      มันคุ้มไหม  กับไอ้พื้นที่บ้าบ๊องกับปราสาท ผุๆพังๆ   

 

คนที่อ่านของผม  ลองถามใจตัวเองว่าทุกวันนี้ไทยได้อะไร??  อนาคตจะได้อะไร??   ผมเห็นหลักฐานฝ่ายไทยแล้ว มันมีแต่เจ๊ากับเจ๊ง จริงๆ

 

สถานที่ๆใครทั่วโลกก็อยากไปยืนถ่ายรูปตรงหน้าผา  หากอยู่กันดีๆ ค้าขายกันเฟื่องฟู  เขมรไม่มีทางจะไปยื่นศาลโลกตีความเพิ่มเติมแบบนี้ได้เลย

หนำซ้ำในตอนนั้นเขามีการลงนามยอมบริหารร่วมพื้นที่กัน  กับ รมต.นพดล ตรงพื้นที่  4.6     ที่มีชาวบ้านเขมรมาอยู่อาศัยไว้ก่อนแล้ว

 

 

หากใครเก่งจริง  ช่วยไปเอาน้ำมันทุกลิตรที่มาเลย์ขุดไป ในพื้นที่ทะเลไทย  กลับคืนมาจะดีกว่า :unsure:  เรื่องทำนองเดียวกันเลย


"คนพาลไร้สติ มักสร้างเรื่องและหลักฐานเท็จโกหก เพื่อคอยใส่ร้ายอีกฝ่ายหนึ่งเสมอ" :unsure:

 

นาย ''Starเก๋ง'' ฟันธง!  รถเก๋งขับมายิงเสื้อแดง :lol:      http://webboard.seri...แค/#entry842224   ;      http://webboard.seri...-25#entry408954





ผู้ใช้ 0 ท่านกำลังอ่านกระทู้นี้

สมาชิก 0 ท่าน, ผู้เยี่ยมชมทั่วไป 0 ท่าน และไม่เปิดเผยตัวตน 0 ท่าน