วันอังคารที่ 15 มกราคม 2556 เวลา 12:16 น.
ในการประชุมคณะรัฐมนตรีร่วมไทย - กัมพูชา ระหว่างวันที่ 31 พฤษภาคม - 1 มิถุนายน 2546 ที่เมืองเสียมราฐ ประเทศกัมพูชา และที่จังหวัดอุบลราชธานี ทั้งสองฝ่ายได้ตกลงกันที่จะให้มีความร่วมมือเพื่อพัฒนาเขาพระวิหารและบูรณะปฏิสังขรณ์ปราสาทพระวิหาร เพื่อเป็นสัญลักษณ์แห่งมิตรภาพและความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นและยั่งยืนระหว่างสองประเทศ และเพื่อผลประโยชน์ร่วมกันของประชาชนไทยกับกัมพูชา ดังนั้นเพื่อเป็นการปฏิบัติให้เป็นไปตามมติที่ประชุมคณะรัฐมนตรีร่วมดังกล่าว ไทยได้จัดตั้งคณะกรรมการร่วมเพื่อพัฒนาเขาพระวิหาร และกัมพูชาได้จัดตั้งคณะกรรมการระหว่างกระทรวงเพื่อเตรียมการพัฒนาพื้นที่ช่องตาเฒ่าและเขาพระวิหารขึ้น เพื่อเป็นกลไกหลักในการทำงานร่วมกันการจัดประชุมกลุ่มย่อยเมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2547 ที่กรุงเทพฯ ทั้งสองฝ่ายได้ตกลงในหลักการขั้นพื้นฐานเพื่อร่วมพัฒนาเขาพระวิหารและบูรณะปฏิสังขรณ์ปราสาทพระวิหาร โดยกัมพูชาได้ร้องขอว่าความร่วมมือระหว่างไทย - กัมพูชาในเรื่องนี้จะเริ่มขึ้นหลังจากที่องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือยูเนสโก (UNESCO) ได้ขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก ซึ่งในครั้งนั้น ฝ่ายไทยได้รับทราบโดยขอให้มีความร่วมมือและการปรึกษาหารืออย่างใกล้ชิดในทุกส่วนที่เกี่ยวข้องกับการขอขึ้นทะเบียนมรดกโลก การพัฒนาพื้นที่ และการบูรณะปฏิสังขรณ์ปราสาทพระวิหาร
มรดกโลก...มรดกโลกคืออะไร
มรดกโลกคือ สถานที่ที่มีคุณค่าอันเป็นสากลควรแก่การอนุรักษ์และทะนุบำรุงเพื่ออนุชนรุ่นหลัง โดยอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองมรดกโลกทางวัฒนธรรมและทางธรรมชาติ ปี 251510 (Convention concerning the Protection of the World Cultural and Natural Heritage, 1972) ขององค์การยูเนสโก (หรืออนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก) กำหนดให้ประเทศภาคีเสนอสถานที่ที่มีคุณค่าที่มีความโดดเด่นเป็นสากล (Outstanding Universal Value) ในประเทศของตน เพื่อขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกพร้อมกับนำเสนอแผนการบริหารจัดการในการอนุรักษ์คุ้มครองสถานที่ดังกล่าว
ปัจจุบัน ไทยมีสถานที่ที่ได้รับการประกาศจากยูเนสโกให้เป็นมรดกโลก จำนวน 5 แห่ง แล้ว เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม 3 แห่ง ได้แก่ นครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาและเมืองบริวาร (ปี 2534) เมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร (ปี 2534) และแหล่งโบราณคดีบ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี (ปี 2535) และมรดกโลกทางธรรมชาติ 2 แห่ง ได้แก่ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร - ห้วยขาแข้ง (ปี 2534) และพื้นที่ผืนป่าเขาใหญ่ - ดงพญาเย็น (ปี 2548) นอกจากนี้ มีสถานที่อื่น ๆ ของไทยที่ได้เสนอให้บรรจุอยู่ในบัญชีรายชื่อเบื้องต้นของแหล่งที่จะขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก (Tentative List) อีก จำนวน 3 แห่ง ได้แก่ (1) เส้นทางวัฒนธรรมพิมาย ปราสาทพนมรุ้ง และปราสาทเมืองต่ำ (ปี 2547) (2) อุทยานแห่งชาติภูพระบาท จังหวัดอุดรธานี (ปี 2547) (3) อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี (ปี 2554)
การคัดเลือกสถานที่เพื่อขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก
การพิจารณาขึ้นทะเบียนมรดกโลกจะดำเนินการโดยคณะกรรมการมรดกโลก (World Heritage Committee) ซึ่งประกอบด้วยประเทศสมาชิกที่เป็นภาคีอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลกที่ได้รับเลือกตั้งจำนวน 21 ประเทศ แต่ละประเทศมีวาระดำรงตำแหน่งคราวละ 4 - 6 ปี โดยไทยดำรงตำแหน่งในช่วงปี 2532 - 2538 ปี 2540 - 2546 และ ปี 2552 -2556 11 ในปี 2554 ประเทศสมาชิกคณะกรรมการมรดกโลก ได้แก่ ออสเตรเลีย บาห์เรน บาร์เบโดส บราซิล กัมพูชา จีน อียิปต์ เอธิโอเปีย เอสโตเนีย ฝรั่งเศส อิรัก จอร์แดน มาลี เม็กซิโก ไนจีเรีย รัสเซีย แอฟริกาใต้ สวีเดน สวิตเซอร์แลนด์ ไทย และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ คณะกรรมการมรดกโลกจะประชุมกันปีละครั้ง เพื่อพิจารณาคำขอขึ้นทะเบียนมรดกโลกของรัฐภาคีต่าง ๆ
กระบวนการการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก
ประเทศที่ประสงค์จะขอขึ้นทะเบียนจะต้องส่งคำขอไปยังศูนย์มรดกโลก (World Heritage Center) ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส โดยคำขอจะต้องประกอบด้วยข้อมูลแผนบริหารจัดการพื้นที่เขตแกน (Core zone) การกำหนดพื้นที่กันชน (Buffer zone) เพื่อกำหนดมาตรการอนุรักษ์คุ้มครองสถานที่ที่ขอขึ้นทะเบียนและต้องแนบแผนที่กำหนดเส้นเขตแดนที่
ชัดเจนของสถานที่และพื้นที่อนุรักษ์ดังกล่าว จากนั้นในกรณีมรดกโลกทางวัฒนธรรม ศูนย์มรดกโลกจะส่งองค์กรที่ปรึกษาของคณะกรรมการมรดกโลก คือ International Council on Monuments and Sites หรือ อิโคโมส (ICOMOS) ซึ่งทำหน้าที่กลั่นกรองคำขอขึ้นทะเบียนไปสำรวจสถานที่และจัดทำรายงานข้อเสนอแนะเกี่ยวกับข้อมูลด้านวัฒนธรรมและเทคนิค และร่างคำตัดสินเสนอเพื่อบรรจุในระเบียบวาระของการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกปัญหาที่เกิดขึ้นและกระทบต่อประเทศไทย คือ เอกสารประกอบคำร้องยื่นขอจดทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก (Nomination File) ของกัมพูชาได้แนบแผนที่กำหนดเขตแกน (Core zone) เขตกันชน (Buffer zone) และเขตพัฒนา (Development zone) ของอาณาบริเวณปราสาทพระวิหารที่กัมพูชาจะยื่นขอจดทะเบียนเป็นมรดกโลกล้ำเข้ามาในดินแดนไทย
การกำหนดขอบเขตดังกล่าว ตั้งอยู่บนพื้นฐานความเข้าใจของฝ่ายกัมพูชาในเรื่องเส้นเขตแดนที่ต่างจากไทย ซึ่งทำให้บางส่วนของพื้นที่เขตแกนและเขตพัฒนาที่ฝ่ายกัมพูชาระบุล้ำเข้ามาในดินแดนของไทย และทำให้มีชาวกัมพูชารุกล้ำเข้ามาก่อสร้างชุมชน ร้านขายของที่ระลึก และวัดในดินแดนของไทย ใกล้กับตัวปราสาทพระวิหารอีกด้วย ซึ่งเกี่ยวกับเรื่องการรุกล้ำของชุมชนกัมพูชาดังกล่าว กระทรวงการต่างประเทศได้ทำการประท้วงรัฐบาลกัมพูชาอย่างเป็นทางการมาอย่างต่อเนื่องโดยตลอด
เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2549 กัมพูชาได้ส่งเอกสารรายละเอียดเกี่ยวกับปราสาทพระวิหารเพื่อการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกให้กับศูนย์มรดกโลก ซึ่งต่อมาได้รับรองและนำเสนอเข้าวาระในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก สมัยที่ 31 ที่เมืองไครสต์เชิร์ช ประเทศนิวซีแลนด์ในเดือนมิถุนายน 2550
ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก สมัยที่ 31 ฝ่ายไทยได้รณรงค์ทางการเมืองและการทูต จนประสบผลสำเร็จให้คณะกรรมการมรดกโลกมีมติเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2550 ให้เลื่อนการพิจารณาขึ้นทะเบียนของกัมพูชาออกไป 1 ปี และให้ไทยและกัมพูชาร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดในเรื่องนี้ โดยให้มีการพิจารณาเรื่องนี้ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก สมัยที่ 32 เดือนกรกฎาคม 2551 ณ เมืองควิเบก ประเทศแคนาดา
การประชุมคณะกรรมการมรดกโลก สมัยที่ 32 (WHC 32) ณ เมืองควิเบก ประเทศแคนาดา ปี 2551
ในการดำเนินการของฝ่ายไทยเพื่อหาทางแก้ปัญหาร่วมกันกับฝ่ายกัมพูชา ฝ่ายไทยได้เสนอในหลายโอกาสให้ฝ่ายกัมพูชาถอนคำขอขึ้นทะเบียนเดิมของตน และให้กัมพูชาและไทยร่วมกันนำปราสาทพระวิหาร
ในพื้นที่ฝั่งกัมพูชา รวมทั้งโบราณสถานที่เกี่ยวข้องกับปราสาทที่อยู่ในฝั่งไทย อาทิ สระตราว สถูปคู่ แหล่งตัดหิน ไปขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกแต่ฝ่ายกัมพูชาไม่รับข้อเสนอดังกล่าวของไทยในเดือนมิถุนายน 2551 ไทยได้เสนอรายงานข้อโต้แย้งทางวิชาการเกี่ยวกับการประเมินของ ICOMOS กรณีการเสนอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก โดยอ้างเหตุผลต่าง ๆ อาทิ การไม่ได้นำองค์ประกอบสำคัญอื่น ๆ ที่ต่อเนื่องจากปราสาท (อาทิ สระตราว แหล่งตัดหิน) มาพิจารณา การไม่คำนึงถึงความสัมพันธ์ของปราสาทกับชุมชนดั้งเดิมในแง่ความผูกพันทางจิตใจ และความคลาดเคลื่อนของการตีความและนำเสนอข้อมูล
อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลก สมัยที่ 32 ได้มีมติเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2551 ให้ปราสาทพระวิหาร (ไม่รวมชะง่อนเขาที่มีพื้นที่กว้างหน้าผา และถ้ำต่าง ๆ) เป็นมรดกโลก เนื่องจากมีคุณค่าที่โดดเด่นเป็นสากลของตัวปราสาทพระวิหารเอง
ในการประชุมดังกล่าว ไทยในฐานะผู้สังเกตการณ์ได้แถลงคัดค้านการขึ้นทะเบียน รวมทั้งเอกสารทุกชิ้นและแผนผังทั้งปวงที่กัมพูชายื่นประกอบโดยอ้างข้อ 11 (3) ของอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองมรดกโลกทางวัฒนธรรมและทางธรรมชาติ ปี 2515 ซึ่งระบุว่า การรวมเอาทรัพย์สินที่ตั้งอยู่ในดินแดนอธิปไตยหรือเขตอำนาจที่อ้างสิทธิโดยรัฐมากกว่าหนึ่งรัฐจะไม่กระทบกระเทือนสิทธิของคู่พิพาทไม่ว่าในทางใด (The inclusion of a property situated in a territory, sovereignty or jurisdiction over which is claimed by more than one State, will in no way prejudice the
rights of the party to the dispute.)
ข้อมติที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลก สมัยที่ 32 ณ เมืองควิเบก ประเทศแคนาดา เรื่องการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก วันที่ 7 กรกฎาคม 2551
Decision: 32 COM 8B.102
The World Heritage Committee,
1. Having examined Document WHC-08/32.COM/INF. 8B1.Add2,
2. Recalling Decision 31 COM 8B.24, which recognized ‘that the Sacred Site of the Temple of Preah Vihear is of great international significance and has Outstanding Universal Value on the basis of criteria (i), (iii) and (iv), and agreed in principle that it should be inscribed on the World Heritage List’,
3. Having noted the progress made by the State Party of Cambodia towards the development of a Management Plan for the property, as requested by the Committee by its Decision 31 COM 8B.24 in Christchurch, New Zealand,
4. Expressing gratitude to the governments of Belgium, the United States of America, France, and India for providing support for the work of experts to assist in this effort, and to the governments of China and Japan, as well as ICCROM, for providing valuable expert input to this process
5. Recognizing that the Joint Communiqué signed on 18 June 2008 by the representatives of the Governments of Cambodia and Thailand, as well as by UNESCO, including its draft which was erroneously referred to as having been signed on 22 and 23 May 2008 in the document WHC-08/32.COM/INF.8B1.Add.2, must be disregarded, following the decision of the Government of Thailand to suspend the effect of the Joint Communiqué, pursuant to the Thai Administrative Court’s interim injunction on this issue,
6. Noting that the State Party of Cambodia submitted to the World Heritage Centre the revised graphic plan of the property (RGPP) included in WHC-08/32.COM/INF.8B1.Add2 (hereinafter called “RGPP”) indicating a revised perimeter of the area proposed for inscription on the World Heritage List,
7. Decides, on an exceptional basis, to accept, in view of the multilateral process leading to the elaboration of the supplementary report submitted in May 2008 by the State Party of Cambodia at the request of the UNESCO World Heritage Centre, the information submitted by the State Party beyond the deadline established in the paragraph 148 of the Operational Guidelines;
8. Recognizes that Thailand has repeatedly expressed a desire to participate in a joint nomination of the Temple of Preah Vihear and its surrounding areas;
9. Notes that the property proposed for inscription is reduced and comprises only the Temple of Preah Vihear and not the wider promontory with its cliffs and caves;
10. Considers further that archaeological research is underway which could result in new significant discoveries that might enable consideration of a possible new transboundary nomination, that would require the consent of both Cambodia and Thailand;
11. Encourages Cambodia to collaborate with Thailand for safeguarding the value of the property, in view of the fact that peoples of the surrounding region have long treasured the Temple of Preah Vihear, and agrees that it would be desirable in the future to reflect its full values and landscape setting through a possible additional inscription to the World Heritage List that could capture criteria (iii) and (iv), which had been recognized by the Committee in its Decision 31 COM 8B.24.
12. Inscribes the Temple of Preah Vihear, Cambodia,on the World Heritage List under criterion (i);
13. Adopts the following Statement of Outstanding Universal Value:
The Temple of Preah Vihear, a unique architectural complex of a series of sanctuaries linked by a system of pavements and staircases on an 800 metre long axis, is an outstanding masterpiece of Khmer architecture, in terms of plan, decoration and relationship to the spectacular landscape environment.
Criterion (i): Preah Vihear is an outstanding masterpiece of Khmer architecture. It is very ‘pure’ both in plan and in the detail of its decoration.
Authenticity, in terms of the way the buildings and their materials express well the values of the property, has been established. The attributes of the property comprise the temple complex; the integrity of the property has to a degree been compromised by the absence of part of the promontory from the perimeter of the property. The protective measures for the Temple, in terms of legal protection are adequate; the progress made in defining the parameters of the Management Plan needs to be consolidated into an approved, full Management Plan;
14. Requests the State Party of Cambodia, in collaboration with UNESCO, to convene an international coordinating committee for the safeguarding and development of the property no later than February 2009, inviting the participation of the Government of Thailand and not more than seven other appropriate international partners, to examine general policy matters relating to the safeguarding of the Outstanding Universal Value of the property in conformity with international conservation standards;
15. Requests the State Party of Cambodia to submit to the World Heritage Centre, by 1 February 2009, the following documents:
• a) A provisional map providing additional details of the inscribed property and a map delineating the buffer zone identified in the RGPP;
• Updated Nomination dossier to reflect the changes made to the perimeter of the property;
• c) Confirmation that the management zone for the property will include the inscribed property and buffer zone identified in the RGPP;
• d) Progress report on the preparation of the Management Plan;
16. Further requests the State Party of Cambodia to submit to the World Heritage Centre by February 2010, for submission to the World Heritage Committee at its 34th session in 2010 a full Management Plan for the inscribed property, including a finalized map.
(คำแปลอย่างไม่เป็นทางการ)
ข้อตัดสินใจ: 32 COM 8B.102
คณะกรรมการมรดกโลก
1. ได้ตรวจสอบ เอกสาร WHC-08/32.COM/INF.8B1.Add.2
2. โดยอ้างถึง ข้อตัดสินใจ 31 COM 8B.24 ซึ่งยอมรับ “ว่าสถานที่ศักดิ์สิทธิ์แห่งปราสาทพระวิหารมีความสำคัญระหว่างประเทศอย่างสูงและมีคุณค่าที่โดดเด่นเป็นสากลบนพื้นฐานของเกณฑ์ (1) (3) และ(4) และตกลงในหลักการว่า ปราสาทพระวิหารควรได้รับการขึ้นทะเบียน
ในบัญชีมรดกโลก”
3. ได้บันทึกความคืบหน้าที่ดำเนินการโดยรัฐภาคีกัมพูชาในการพัฒนาแผนบริหารจัดการทรัพย์สิน ตามที่ได้รับการร้องขอโดยคณะกรรมการตามข้อตัดสินใจ 31 COM 8B.24 ที่เมืองไครสต์เชิร์ช นิวซีแลนด์
4. ขอแสดงความขอบคุณต่อรัฐบาลเบลเยียม สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส และอินเดีย ที่ให้การสนับสนุนการทำงานของผู้เชี่ยวชาญที่ช่วยเหลือในความพยายามครั้งนี้ และต่อรัฐบาลจีน และญี่ปุ่น และICCROM ที่ได้ให้ข้อเสนอแนะ ของผู้เชี่ยวชาญที่มีค่าในกระบวนการนี้
5. รับรองว่า จะไม่นำแถลงการณ์ร่วมเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน ค.ศ. 2008 โดยผู้แทนรัฐบาลกัมพูชา และไทย กับยูเนสโก รวมทั้ง ร่างแถลงการณ์ร่วมซึ่งได้อ้างผิดว่าได้ลงนามเมื่อวันที่ 22 และ 23 พฤษภาคม ค.ศ. 2008 ในเอกสาร WHC-08/32.COM/INF.8B1.Add.2 มาใช้ตามการตัดสินใจของรัฐบาลไทยที่ระงับผลของแถลงการณ์ร่วม ภายหลังคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวของศาลปกครองไทยในเรื่องนี้
6. บันทึกว่า รัฐภาคีกัมพูชาได้ยื่นต่อคณะกรรมการมรดกโลก ซึ่งแผนผังฉบับใหม่ของทรัพย์สิน (RGPP) รวมอยู่ใน WHC-08/32.COM/INF.8B1.Add.2 (ซึ่งต่อจากนี้ไปจะเรียกว่า “RGPP”) ระบุขอบเขตที่ทบทวนใหม่ของพื้นที่ที่เสนอสำหรับการขึ้นทะเบียนในบัญชีมรดกโลก
7. ตัดสินเป็นกรณีพิเศษ โดยคำนึงถึงกระบวนการหลายฝ่ายในการขยายความรายงานที่ได้รับการเสนอโดยรัฐภาคีกัมพูชา เมื่อเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2008 ตามคำร้องขอของศูนย์มรดกโลก ยูเนสโก ยอมรับข้อมูลที่เสนอโดยรัฐภาคีนั้นภายหลังเวลาที่กำหนดไว้ตามวรรค 148 ของแนวปฏิบัติของอนุสัญญา
8. รับรองว่า ไทยได้แสดงความปรารถนาหลายครั้ง เพื่อที่จะร่วมในการขอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหาร และพื้นที่โดยรอบ
9. บันทึกว่า ทรัพย์สินที่เสนอสำหรับขึ้นทะเบียน ได้รับการลดขนาดและประกอบเพียงปราสาทพระวิหาร และไม่รวมชะง่อนเขาที่มีพื้นที่กว้าง หน้าผา และถ้ำต่าง ๆ
10. พิจารณาต่อไปอีกว่า การค้นคว้าทางโบราณคดีกำลังดำเนินอยู่ ซึ่งอาจมีการค้นพบสำคัญซึ่งอาจทำให้สามารถพิจารณาการขอขึ้นทะเบียนข้ามพรมแดนใหม่ได้ ซึ่งจะต้องได้รับความยินยอมทั้งจากกัมพูชาและประเทศไทย
11. ส่งเสริมให้กัมพูชาประสานงานกับไทยในการอนุรักษ์คุณค่าของทรัพย์สินด้วยข้อเท็จจริงที่ว่า ประชาชนในพื้นที่โดยรอบได้ให้คุณค่าแก่ปราสาทพระวิหารมาช้านาน และตกลงว่าจะเป็นสิ่งพึงปรารถนาในอนาคตที่จะสะท้อนคุณค่าและภูมิทัศน์อย่างสมบูรณ์ โดยการขอขึ้นทะเบียนในบัญชีมรดกโลกเพิ่มเติมซึ่งจะเข้าเกณฑ์ 3 และ 4 ซึ่งได้รับการรับรองแล้วโดยคณะกรรมการในคำตัดสิน 31 COM 8B.24
12. ขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหาร กัมพูชาในบัญชีมรดกโลกในเกณฑ์ 1
13. ออกคำแถลงเกี่ยวกับคุณค่าโดดเด่นอันเป็นสากลดังต่อไปนี้
ปราสาทพระวิหาร ซึ่งเป็นกลุ่มสถาปัตยกรรมที่มีลักษณะเฉพาะของชุดอาคารที่เชื่อมต่อกันด้วยระบบทางเดินและบันไดเป็นแนวแกนยาว 800 เมตร เป็นศิลปกรรมชั้นเยี่ยมของสถาปัตยกรรมเขมรในเรื่องของผังการตกแต่ง และความสัมพันธ์กับภูมิทัศน์แวดล้อมที่น่าตื่นตาตื่นใจ
เกณฑ์ 1 : พระวิหารเป็นศิลปกรรมชั้นเยี่ยมของสถาปัตยกรรมเขมร ซึ่งมีความบริสุทธิ์อย่างยิ่ง ทั้งในเรื่องผังและในรายละเอียดของการตกแต่ง
มีความถูกต้องแท้จริงปรากฏในลักษณะของตัวปราสาทและวัสดุที่ใช้ซึ่งแสดงให้เห็นถึงคุณค่าของทรัพย์สินนั้นเป็นอย่างดี แม้ว่าบูรณภาพของทรัพย์สินจะไม่สมบูรณ์เป็นเพราะไม่ได้รวมส่วนหนึ่งของชะง่อนเขาไว้ในขอบเขตของทรัพย์สิน มาตรการป้องกันปราสาทในทางกฎหมาย ถือว่าเพียงพอ และความคืบหน้าในกำหนดแนวทางของแผนบริหารจัดการ ต้องได้รับการพัฒนาเป็นแผนบริหารจัดการเต็มรูปแบบที่ได้รับการรับรอง
14. ร้องขอให้รัฐภาคีกัมพูชา โดยการประสานงานกับยูเนสโกจัดการประชุมคณะกรรมการประสานงานระหว่างประเทศเพื่อรักษาและพัฒนาทรัพย์สินภายในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2009 โดยเชิญให้รัฐบาลไทยและหุ้นส่วนระหว่างประเทศอีกไม่เกิน 7 ประเทศ เข้าร่วม เพื่อตรวจสอบนโยบายทั่วไปเกี่ยวกับการรักษาคุณค่าโดดเด่นอันเป็นสากลของทรัพย์สินโดยสอดคล้องกับมาตรฐานการอนุรักษ์สากล
15. ร้องขอให้รัฐภาคีกัมพูชาให้ส่งเอกสารต่อไปนี้ให้ศูนย์มรดกโลกภายในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2009 :
ก) แผนที่ชั่วคราวซึ่งให้รายละเอียดเพิ่มเติมของทรัพย์สินที่ได้ขึ้นทะเบียน และแผนที่กำหนดขอบเขตของเขตกันชนที่ระบุใน RGPP
ข) เอกสารคำขอขึ้นทะเบียนที่ปรับปรุงแล้วเพื่อสะท้อนการเปลี่ยนแปลงขอบเขตของทรัพย์สิน
ค) คำยืนยันว่าพื้นที่บริหารจัดการของทรัพย์สินจะรวมทรัพย์สินที่ขึ้นทะเบียนและเขตกันชนที่ระบุใน RGPP
ง) รายงานความคืบหน้าเกี่ยวกับการเตรียมแผนบริหารจัดการ
16. ร้องขอเพิ่มเติมต่อรัฐภาคีกัมพูชาให้ส่งแผนบริหารจัดการที่สมบูรณ์เพื่อทรัพย์สินที่ได้รับการขึ้นทะเบียนพร้อมทั้งแผนที่ที่แล้วเสร็จ
ให้ศูนย์มรดกโลกภายในกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2010 เพื่อส่งให้แก่คณะกรรมการมรดกโลกสมัยที่ 34 ค.ศ. 2010
การประชุมคณะกรรมการมรดกโลก สมัยที่ 33 (WHC 33) ณ เมืองเซบีญา ประเทศสเปน ปี 2552
ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ สมัยที่ 33 ณ เมืองเซบีญา ประเทศสเปน ที่ประชุมฯ ได้กำหนดให้เรื่องนี้เข้าสู่การพิจารณา โดยไม่อนุญาตให้มีการอภิปราย และในที่สุดได้มีมติเมื่อวันที่28 มิถุนายน 2552 ขอให้กัมพูชายื่นรายงานความคืบหน้าเกี่ยวกับการดำเนินการตามข้อมติคณะกรรมการมรดกโลก สมัยที่ 32 ทั้งหมดภายในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2553 เพื่อให้คณะกรรมการมรดกโลกตรวจสอบ ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก สมัยที่ 34 ปี 2553
ข้อตัดสินใจที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลก สมัยที่ 33 ณ เมืองเซบีญา ประเทศสเปน เรื่องการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก วันที่ 28 มิถุนายน 2552
Decision: 33 COM 7B.65
The World Heritage Committee,
1. Having examined Document WHC-09/33.COM/7B.Add,
2. Recalling Decisions 31 COM 8B.24 and 32 COM 8B. 102, adopted at its 31st session (Christchurch, 2007) and 32nd Session (Quebec City, 2008) respectively,
3. Notes the developments that have occurred at the property since its inscription on the World Heritage List, the information contained in the State Party report and the preliminary findings of the Reinforced monitoring mission;
4. Requests the State Party to submit to the World Heritage Centre, by 1 February 2010, a report on the progress made in the implementation of the recommendations by the Committee in its Decision 32 COM 8B.102, for the examination by the World Heritage Committee at its 34th session in 2010.
(คำแปลอย่างไม่เป็นทางการ)
ข้อตัดสินใจ 33 COM 7B.65
คณะกรรมการมรดกโลก
1. ได้รับเอกสาร WHC-09/33.COM/7B.Add
2. อ้างถึงข้อตัดสินใจที่ 31 COM 8B.24 ที่ได้รับการรับรองในการประชุมครั้งที่ 31 (ที่เมืองไครสต์เชิร์ช ค.ศ. 2007), ข้อตัดสินใจที่ 32 COM 8B.102 ในการประชุมครั้งที่ 32 (ที่เมืองควิเบก ค.ศ. 2008)ตามลำดับ
3. รับทราบถึงพัฒนาการที่มีต่อทรัพย์สินนับตั้งแต่ได้ถูกขึ้นทะเบียนในบัญชีมรดกโลก โดยข้อมูลได้ถูกบรรจุอยู่ในรายงานของรัฐภาคีและจากสืบค้นข้อเท็จจริงเบื้องต้นของปฏิบัติการการเฝ้าระวังเสริม
4. เรียกร้องให้รัฐภาคีเสนอต่อรายงานความคืบหน้าของการปฏิบัติตามคำแนะนำของคณะกรรมการมรดกโลกตามข้อตัดสินใจที่32 COM 8B.102 ต่อศูนย์มรดกโลก ภายในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2010 เพื่อให้ที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลก สมัยที่ 34 ในปี ค.ศ. 2010 ตรวจสอบต่อไป
การประชุมคณะกรรมการมรดกโลก สมัยที่ 34 (WHC 34) ณ กรุงบราซิเลีย ประเทศบราซิล ปี 2553
ต่อมา ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก สมัยที่ 34 ซึ่งมีขึ้นระหว่างวันที่ 25 กรกฎาคม - 3 สิงหาคม 2553 ณ กรุงบราซิเลีย ประเทศบราซิล คณะผู้แทนไทยได้พยายามเจรจานอกรอบเพื่อขอให้ที่ประชุมเลื่อนการพิจารณาเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับวาระการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหาร รวมทั้งแผนบริหารจัดการปราสาทพระวิหารที่จัดทำโดยกัมพูชาในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก สมัยที่ 35 ปี 2554 โดยในที่สุดที่ประชุมได้มีข้อตัดสินใจ 34 COM 7B.66 เกี่ยวกับกรณีการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหาร ดังนี้
ข้อตัดสินใจที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลก สมัยที่ 34 ณ กรุงบราซิเลีย ประเทศบราซิล เรื่องการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดก วันที่ 3 สิงหาคม 2553
Decision: 34 COM 7B.66
The World Heritage Committee,
1. Having received Document WHC-10/34.COM/7B.Add.3,
2. Recalling Decisions 31 COM 8B.24, 32 COM 8B.102, and 33 COM 7B.65, adopted at its 31st session (Christchurch, 2007), 32nd session (Quebec City, 2008), and 33rd session (Seville, 2009) respectively,
3. Takes note that the World Heritage Centre has the documents submitted by the State Party;
4. Further welcomes the steps taken by the State Party towards the establishment of an international coordinating committee for the sustainable conservation of the Temple of Preah Vihear;
5. Decides to consider the documents submitted by the State Party at its 35th session in 2011.
(คำแปลอย่างไม่เป็นทางการ)
ข้อตัดสินใจ 34 COM 7B.66
คณะกรรมการมรดกโลก
1. ได้รับเอกสาร WHC-10/34.COM/7B.Add3
2. อ้างถึงข้อตัดสินใจที่ 31 COM 8B.24 (ได้รับการรับรองที่ไครสต์เชิร์ช ค.ศ. 2007), ข้อตัดสินใจที่ 32 COM 8B.102 (ได้รับการรับรองที่ควิเบก ค.ศ. 2008) และข้อตัดสินใจที่ 33 COM 7B.65 (ได้รับการรับรองที่เซบีญา ค.ศ. 2009)
3. รับทราบว่าศูนย์มรดกโลกมีเอกสารที่รัฐภาคีนำส่ง
4. ยินดีกับขั้นตอนที่รัฐภาคีได้ดำเนินการเพื่อนำไปสู่การจัดตั้งคณะกรรมการประสานงานระหว่างประเทศ (ICC) สำหรับการอนุรักษ์ปราสาทพระวิหารอย่างยั่งยืน
5. ตัดสินใจที่จะพิจารณาเอกสารที่ยื่นเสนอโดยรัฐภาคีในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก สมัยที่ 35 ในปี ค.ศ. 2011
อย่างไรก็ดี แม้ประเทศต่าง ๆ จะได้รับการทาบทามจากฝ่ายกัมพูชาแต่เนื่องจากฝ่ายไทยแสดงการคัดค้านมาโดยตลอดนับตั้งแต่เสร็จสิ้น การประชุมคณะกรรมการมรดกโลก สมัยที่ 34 จนถึงปัจจุบัน จึงยังไม่ได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการประสานงานระหว่างประเทศ (International Coordinating Committee - ICC) แต่อย่างใด
การประชุมคณะกรรมการมรดกโลก สมัยที่ 35 (WHC 35) ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ปี 2554
ก่อนการประชุม WHC35 ผู้อำนวยการใหญ่ยูเนสโกได้จัดการประชุมหารือระหว่างไทยกับกัมพูชา ในช่วงการประชุมเตรียมการสำหรับการประชุม WHC35 เมื่อวันที่ 25 - 26 พฤษภาคม 2554 ณ กรุงปารีส ซึ่งในระหว่างการหารือดังกล่าว ผู้อำนวยการใหญ่ยูเนสโกได้เสนอร่างข้อตัดสินใจ
ในวาระการประชุม WHC35 เรื่องการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก เพื่อให้ได้ข้อสรุปซึ่งเป็นที่ยอมรับได้ของทั้งสองฝ่ายก่อนการประชุม WHC35 แต่ทั้งสองฝ่ายไม่สามารถหาข้อสรุปได้ในการประชุม WHC35 ซึ่งมีขึ้นระหว่างวันที่ 19 - 29 มิถุนายน 2554 ณ กรุงปารีส ผู้อำนวยการใหญ่ยูเนสโกได้มอบหมายให้นาย Kishore Rao ผู้อำนวยการศูนย์มรดกโลก และนาย Mourni Bouchnaki ผู้แทนของ ICCROM ซึ่งเป็น 1 ใน 3 Advisory Bodies ของศูนย์มรดกโลก หารือกับฝ่ายไทยและกัมพูชาเกี่ยวกับร่างข้อตัดสินใจในวาระเรื่องการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารฯ ซึ่งไทยได้ยืนยันท่าทีที่เสนอให้เลื่อนการพิจารณาแผนบริหารจัดการปราสาทพระวิหารออกไปก่อน เนื่องจากการเจรจาเรื่องเขตแดนระหว่างไทยกับกัมพูชายังไม่แล้วเสร็จ
เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2554 ระหว่างการประชุม WHC35 ขณะที่ไทยและกัมพูชายังไม่สามารถตกลงกันได้เกี่ยวกับร่างข้อตัดสินใจ และกำลังเจรจากันอยู่ ฝ่ายเลขานุการของการประชุมฯ ได้นำเสนอร่างข้อตัดสินใจที่ไทยและกัมพูชายังไม่ได้ตกลงกันเข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุมผู้แทนไทย (นำโดยนายสุวิทย์ คุณกิตติ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม) จึงได้ขอให้ที่ประชุมเลื่อนการพิจารณาวาระดังกล่าวออกไปก่อน แต่ที่ประชุมกลับเดินหน้าพิจารณาต่อไป ผู้แทนไทยจึงประกาศแสดงเจตนารมณ์ในที่ประชุมที่จะบอกเลิกการเป็นภาคีอนุสัญญามรดกโลก และได้ยื่นหนังสือแสดงเจตนารมณ์ดังกล่าว (ลงนามโดยนายสุวิทย์ คุณกิตติ) ต่อ ผู้อำนวยการใหญ่ยูเนสโก
อย่างไรก็ดี ไทยยังไม่ได้ดำเนินการบอกเลิกการเป็นภาคีอนุสัญญาฯ อย่างเป็นทางการ ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวจะต้องเป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลใหม่ต่อไป ดังนั้น ในขณะนี้ ยังถือว่า ไทยยังคงเป็นภาคีอนุสัญญา มรดกโลก และเป็นสมาชิกองค์การยูเนสโก
ข้อมูลเกี่ยวกับขั้นตอนบอกเลิกการเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองมรดกโลก ปี ค.ศ. 1972
ตามข้อ 35 ของอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองมรดกโลก รัฐภาคีสามารถบอกเลิกการเป็นภาคีอนุสัญญาฯ ได้โดยต้องดำเนินการ ดังนี้
1. รัฐภาคีจะต้องยื่นตราสารการบอกเลิกการเป็นภาคีอนุสัญญาฯเป็นลายลักษณ์อักษรกับผู้อำนวยการใหญ่ องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (หรือยูเนสโก) โดยทั่วไปแล้ว ตราสารดังกล่าวจะต้องลงนามโดยผู้นำรัฐบาลหรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของรัฐภาคีนั้น
2. การบอกเลิกการเป็นภาคีอนุสัญญาฯ จะมีผลบังคับใช้ 12 เดือนหลังจากผู้อำนวยการใหญ่ฯ ได้รับตราสารเป็นลายลักษณ์อักษร และรัฐภาคียังคงมีพันธกรณีทางการเงินและด้านอื่น ๆ ต่ออนุสัญญาฯ จนกว่าการบอกเลิกจะมีผลบังคับใช้
ข้อตัดสินใจที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลก สมัยที่ 35 ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เรื่องการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก วันที่ 25 มิถุนายน 2554
Decision: 35 COM 7B.62
The World Heritage Committee:
1. Having examined Document WHC-11/35.COM7B. Add.2;
2. Recalling decisions 31 COM 8B.24, 32 COM 8B.102, 33 COM 7B.65, 34 COM 7B.66 adapted at its 31st session (Christchurch, New Zealand, 2007), 32nd session (Quebec, Canada, 2008), 33rd session (Seville, Spain, 2009) and 34th session (Brasilia, Brazil, 2010)
3. Thanks the Director-General of UNESCO for dispatching her Special Envoy, Mr. Koichiro Matsuura to the Kingdoms of Thailand and of Cambodia in February 2011 with a view to resuming dialogue between the two Parties;
4. Appreciates the efforts of the Director-General of UNESCO in facilitating individual and bilateral discussions between the two Parties at UNESCO Headquarters in May 2011;
5. Acknowledges the good will of the Parties and reaffirms the need to ensure, in accordance with the Operational Guideline, the protection and conservation of the property from any damage;
6. Encourages the States Parties of Cambodia and Thailand to use the 1972 Convention as a tool to support conservation, sustainable development and dialogue.
(คำแปลอย่างไม่เป็นทางการ)
ข้อตัดสินใจ 35 COM 7B.62
คณะกรรมการมรดกโลก
1. ได้พิจารณาตรวจสอบ WHC -11/35.COM7B.Add.2
2. ระลึกถึง ข้อตัดสินใจที่ 31 COM 8B.24, 32 COM 8B.102, 33 COM 7B.65, 34 COM 7B.66 ได้รับการรับรองในสมัยที่ 31 (ไครสต์เชิร์ช นิวซีแลนด์ ค.ศ. 2007), สมัยที่ 32 (ควิเบก แคนาดา ค.ศ. 2008) สมัยที่ 33 (เซบีญา สเปน ค.ศ. 2009) และสมัยที่ 34 (บราซิเลีย บราซิล ค.ศ. 2010)
3. ขอบคุณผู้อำนวยการใหญ่ยูเนสโกที่ได้ส่งผู้แทนพิเศษ นายโคอิชิโร มัตซึอุระ มายังราชอาณาจักรไทยและกัมพูชาในเดือนกุมภาพันธ์ 2554 เพื่อที่จะเริ่มการหารือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างทั้งสองประเทศอีกครั้ง
4. ชื่นชมความพยายามของผู้อำนวยการใหญ่ยูเนสโกในความพยายามช่วยจัดการหารือทวิภาคีและหารือแยกระหว่างสองฝ่าย ณ สำนักงานใหญ่ยูเนสโกในเดือนพฤษภาคม 2554
5. รับทราบถึงไมตรีจิตของทั้งสองฝ่าย และยืนยันถึงความจำเป็นที่จะต้องปกป้องและอนุรักษ์ทรัพย์สิน (ปราสาท) จากความเสียหายใด ๆ ซึ่งเป็นไปตามแนวทางในเชิงปฏิบัติ (Operational Guideline)
6. ส่งเสริมให้ประเทศไทยและกัมพูชาใช้อนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลกปี 1972 เพื่อเป็นเครื่องมือในการสนับสนุนการอนุรักษ์ การพัฒนาที่ยั่งยืน และการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
การดำเนินการของไทยและการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน
ไทยได้พยายามที่จะให้เกิดความร่วมมือและการปรึกษาหารือเกี่ยวกับการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกมาโดยตลอด ทั้งการติดต่ออย่างเป็นลายลักษณ์อักษรและการหยิบยกขึ้นหารือในโอกาสต่าง ๆ กับยูเนสโก และสมาชิกคณะกรรมการมรดกโลก เพื่อสอบถามเกี่ยวกับการดำเนินการของกัมพูชา รวมทั้งการเสนอแผนบริหารจัดการปราสาทพระวิหาร และเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหาร ตลอดจนชี้แจงให้เข้าใจท่าทีของไทยในเรื่องนี้ ในเวทีอื่น ๆ เช่น คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ สมัชชาสหประชาชาติ และอาเซียน เป็นต้น
ที่ผ่านมา การดำเนินการเกี่ยวกับมรดกโลกอยู่ภายใต้กลไกของคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก ซึ่งจัดตั้งขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2551 และต่อมา คณะรัฐมนตรี มีมติเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2552 เห็นชอบข้อเสนอของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในการปรับปรุงองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการแห่งชาติฯ โดยมีรองนายกรัฐมนตรีตามที่นายกรัฐมนตรีมอบหมายเป็นประธาน มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเป็นรองประธาน มีกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นฝ่ายเลขานุการ และมีองค์ประกอบคณะกรรมการประกอบด้วยผู้แทนกระทรวงต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงศึกษาธิการกระทรวงกลาโหม กระทรวงมหาดไทย และสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ เป็นต้น มีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาเสนอแหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรมและทางธรรมชาติต่อคณะกรรมการมรดกโลก เพื่อบรรจุไว้ในบัญชีมรดกโลก รวมทั้งพิจารณาปรับปรุงเพิ่มเติมแหล่งมรดกโลกดังกล่าวให้เหมาะสมตามสถานการณ์ และกำกับดูแลการปฏิบัติตามข้อบัญญัติการเข้าร่วมเป็นภาคีอนุสัญญาฯ