นพดลร่วมประชุมมรดกโลก แจงท่าที เขาพระวิหาร
นายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กล่าววันนี้ (2 กรกฎาคม) ภายหลังศาลปกครองมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวไม่ให้นำมติ ครม.ไปรับรองการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหาร เป็นมรดกโลกของประเทศกัมพูชา ว่าได้มีการทำหนังสือชี้แจงไปยังรัฐบาลกัมพูชา ผู้แทนคณะกรรมการมรดกโลก 21 ประเทศ เมื่อวานนี้ (1 กรกฎาคม) โดยผู้แทนไทยที่จะไปร่วมการประชุมที่ประเทศแคนนาดา ประกอบด้วย ตน เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ เจ้ากรมกิจการพลเรือน เจ้ากรมแผนที่ทหาร อธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย อธิบดีกรมสารนิเทศ และที่ปรึกษากระทรวงการต่างประเทศ โดยจะชี้แจงถึงท่าทีของไทยที่ต้องปฏิบัติตามคำสั่งศาลปกครองกลาง ไม่สามารถทำตามข้อตกลงในแถลงการณ์ร่วมฯ ได้
นายนพดล กล่าวว่า หวังว่าเรื่องดังกล่าวจะไม่กระทบความสัมพันธ์ของ 2 ประเทศ ส่วนเหตุผลที่ไม่ทำหนังสือชี้แจงทันทีกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หลังได้รับทราบคำสั่งศาลปกครอง เนื่องจากต้องรอความชัดเจนและต้องหารือกับคณะรัฐมนตรีก่อน
เมื่อถามถึงการยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลปกครองหรือไม่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวว่า ต้องรอผลสรุปของคณะกรรมการกฤษฎีกาก่อน ยืนยันการดำเนินการทุกอย่างโปร่งใส ไม่มีอะไรปกปิด มั่นใจกระทรวงการต่างประเทศทำดีที่สุดแล้วเพื่อประเทศชาติ พร้อมรับผิดชอบทุกอย่างที่ดำเนินไป
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ข้อมูลที่ประชาชนไทยควรทราบ
เกี่ยวกับกรณีปราสาทพระวิหาร
และการเจรจาเขตแดนไทย - กัมพูชา
กระทรวงการต่างประเทศ
การประชุมคณะกรรมการมรดกโลก สมัยที่ 32 (WHC 32) ณ เมืองควิเบก ประเทศแคนาดา ปี 2551
ในการดำเนินการของฝ่ายไทยเพื่อหาทางแก้ปัญหาร่วมกันกับ ฝ่ายกัมพูชา ฝ่ายไทยได้เสนอในหลายโอกาสให้ฝ่ายกัมพูชาถอนคำขอ ขึ้นทะเบียนเดิมของตน และให้กัมพูชาและไทยร่วมกันนำปราสาทพระวิหาร ในพื้นที่ฝั่งกัมพูชา รวมทั้งโบราณสถานที่เกี่ยวข้องกับปราสาทที่อยู่ใน ฝั่งไทย อาทิ สระตราว สถูปคู่ แหล่งตัดหิน ไปขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก แต่ฝ่ายกัมพูชาไม่รับข้อเสนอดังกล่าวของไทย
ในเดือนมิถุนายน 2551 ไทยได้เสนอรายงานข้อโต้แย้งทางวิชาการ เกี่ยวกับการประเมินของ ICOMOS กรณีการเสนอขึ้นทะเบียนปราสาท พระวิหารเป็นมรดกโลก โดยอ้างเหตุผลต่าง ๆ อาทิ การไม่ได้นำองค์ประกอบ สำคัญอื่น ๆ ที่ต่อเนื่องจากปราสาท (อาทิ สระตราว แหล่งตัดหิน) มาพิจารณา การไม่คำนึงถึงความสัมพันธ์ของปราสาทกับชุมชนดั้งเดิม ในแง่ความผูกพันทางจิตใจ และความคลาดเคลื่อนของการตีความและ นำเสนอข้อมูล
อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลก สมัยที่ 32 ได้มีมติ เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2551 ให้ปราสาทพระวิหาร (ไม่รวมชะง่อนเขาที่มี พื้นที่กว้างหน้าผา และถ้ำต่าง ๆ) เป็นมรดกโลก เนื่องจากมีคุณค่าที่โดด เด่นเป็นสากลของตัวปราสาทพระวิหารเอง
ในการประชุมดังกล่าว ไทยในฐานะผู้สังเกตการณ์ได้แถลงคัดค้าน การขึ้นทะเบียน รวมทั้งเอกสารทุกชิ้นและแผนผังทั้งปวงที่กัมพูชายื่น ประกอบโดยอ้างข้อ 11 (3) ของอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองมรดกโลก ทางวัฒนธรรมและทางธรรมชาติ ปี 2515 ซึ่งระบุว่า การรวมเอาทรัพย์สินที่ ตั้งอยู่ในดินแดนอธิปไตยหรือเขตอำนาจที่อ้างสิทธิโดยรัฐมากกว่าหนึ่งรัฐ จะไม่กระทบกระเทือนสิทธิของคู่พิพาทไม่ว่าในทางใด (The inclusion of a property situated in a territory, sovereignty or jurisdiction over which is claimed by more than one State, will in no way prejudice the rights of the party to the dispute.)
ข้อมติที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลก สมัยที่ 32
ณ เมืองควิเบก ประเทศแคนาดา
เรื่องการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก
วันที่ 7 กรกฎาคม 2551
Decision: 32 COM 8B.102
The World Heritage Committee,
1. Having examined Document WHC-08/32.COM/INF. 8B1.Add2,
2. Recalling Decision 31 COM 8B.24, which recognized ‘that the Sacred Site of the Temple of Preah Vihear is of great international significance and has Outstanding Universal Value on the basis of criteria (i), (iii) and (iv), and agreed in principle that it should be inscribed on the World Heritage List’,
3. Having noted the progress made by the State Party of Cambodia towards the development of a Management Plan for the property, as requested by the Committee by its Decision 31 COM 8B.24 in Christchurch, New Zealand,
4. Expressing gratitude to the governments of Belgium, the United States of America, France, and India for providing support for the work of experts to assist in this effort, and to the governments of China and Japan, as well as ICCROM, for providing valuable expert input to this process
5. Recognizing that the Joint Communiqué signed on 18 June 2008 by the representatives of the Governments of Cambodia and Thailand, as well as by UNESCO, including its draft which was erroneously referred to as having been signed on 22 and 23 May 2008 in the document WHC-08/32.COM/INF.8B1.Add.2, must be disregarded, following the decision of the Government of Thailand to suspend the effect of the Joint Communiqué, pursuant to the Thai Administrative Court’s interim injunction on this issue,
6. Noting that the State Party of Cambodia submitted to the World Heritage Centre the revised graphic plan of the property (RGPP) included in WHC-08/32.COM/INF.8B1.Add2 (hereinafter called “RGPP”) indicating a revised perimeter of the area proposed for inscription on the World Heritage List,
7. Decides, on an exceptional basis, to accept, in view of the multilateral process leading to the elaboration of the supplementary report submitted in May 2008 by the State Party of Cambodia at the request of the UNESCO World Heritage Centre, the information submitted by the State Party beyond the deadline established in the paragraph 148 of the Operational Guidelines;
8. Recognizes that Thailand has repeatedly expressed a desire to participate in a joint nomination of the Temple of Preah Vihear and its surrounding areas;
9. Notes that the property proposed for inscription is reduced and comprises only the Temple of Preah Vihear and not the wider promontory with its cliffs and caves;
10. Considers further that archaeological research is underway which could result in new significant discoveries that might enable consideration of a possible new transboundary nomination, that would require the consent of both Cambodia and Thailand;
11. Encourages Cambodia to collaborate with Thailand for safeguarding the value of the property, in view of the fact that peoples of the surrounding region have long treasured the Temple of Preah Vihear, and agrees that it would be desirable in the future to reflect its full values and landscape setting through a possible additional inscription to the World Heritage List that could capture criteria (iii) and (iv), which had been recognized by the Committee in its Decision 31 COM 8B.24.
12. Inscribes the Temple of Preah Vihear, Cambodia, on the World Heritage List under criterion (i);
13. Adopts the following Statement of Outstanding Universal Value:
The Temple of Preah Vihear, a unique architectural complex of a series of sanctuaries linked by a system of pavements and staircases on an 800 metre long axis, is an outstanding masterpiece of Khmer architecture, in terms of plan, decoration and relationship to the spectacular landscape environment.
Criterion (i): Preah Vihear is an outstanding masterpiece of Khmer architecture. It is very ‘pure’ both in plan and in the detail of its decoration.
Authenticity, in terms of the way the buildings and their materials express well the values of the property, has been established. The attributes of the property comprise the temple complex; the integrity of the property has to a degree been compromised by the absence of part of the promontory from the perimeter of the property. The protective measures for the Temple, in terms of legal protection are adequate; the progress made in defining the parameters of the Management Plan needs to be consolidated into an approved, full Management Plan;
14. Requests the State Party of Cambodia, in collaboration with UNESCO, to convene an international coordinating committee for the safeguarding and development of the property no later than February 2009, inviting the participation of the Government of Thailand and not more than seven other appropriate international partners, to examine general policy matters relating to the safeguarding of the Outstanding Universal Value of the property in conformity with international conservation standards;
15. Requests the State Party of Cambodia to submit to the World Heritage Centre, by 1 February 2009, the following documents:
• a) A provisional map providing additional details of the inscribed property and a map delineating the buffer zone identified in the RGPP;
• Updated Nomination dossier to reflect the changes made to the perimeter of the property;
• c) Confirmation that the management zone for the property will include the inscribed property and buffer zone identified in the RGPP;
• d) Progress report on the preparation of the Management Plan;
16. Further requests the State Party of Cambodia to submit to the World Heritage Centre by February 2010, for submission to the World Heritage Committee at its 34th session in 2010 a full Management Plan for the inscribed property, including a finalized map.
(คำแปลอย่างไม่เป็นทางการ)
ข้อตัดสินใจ: 32 COM 8B.102 คณะกรรมการมรดกโลก
1. ได้ตรวจสอบ เอกสาร WHC-08/32.COM/INF.8B1.Add.2
2. โดยอ้างถึง ข้อตัดสินใจ 31 COM 8B.24 ซึ่งยอมรับ “ว่าสถานที่ศักดิ์สิทธิ์แห่งปราสาทพระวิหารมีความสำคัญระหว่างประเทศ อย่างสูงและมีคุณค่าที่โดดเด่นเป็นสากลบนพื้นฐานของเกณฑ์ (1) (3) และ (4) และตกลงในหลักการว่า ปราสาทพระวิหารควรได้รับการขึ้นทะเบียน ในบัญชีมรดกโลก”
3. ได้บันทึกความคืบหน้าที่ดำเนินการโดยรัฐภาคีกัมพูชาใน การพัฒนาแผนบริหารจัดการทรัพย์สิน ตามที่ได้รับการร้องขอโดย คณะกรรมการตามข้อตัดสินใจ 31 COM 8B.24 ที่เมืองไครสต์เชิร์ช นิวซีแลนด์
4. ขอแสดงความขอบคุณต่อรัฐบาลเบลเยียม สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส และอินเดีย ที่ให้การสนับสนุนการทำงานของผู้เชี่ยวชาญ ที่ช่วยเหลือในความพยายามครั้งนี้ และต่อรัฐบาลจีน และญี่ปุ่น และ ICCROM ที่ได้ให้ข้อเสนอแนะ ของผู้เชี่ยวชาญที่มีค่าในกระบวนการนี้
5. รับรองว่า จะไม่นำแถลงการณ์ร่วมเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน ค.ศ. 2008 โดยผู้แทนรัฐบาลกัมพูชา และไทย กับยูเนสโก รวมทั้ง ร่างแถลงการณ์ร่วมซึ่งได้อ้างผิดว่าได้ลงนามเมื่อวันที่ 22 และ 23 พฤษภาคม ค.ศ. 2008 ในเอกสาร WHC-08/32.COM/INF.8B1.Add.2 มาใช้ตามการ ตัดสินใจของรัฐบาลไทยที่ระงับผลของแถลงการณ์ร่วม ภายหลังคำสั่ง คุ้มครองชั่วคราวของศาลปกครองไทยในเรื่องนี้
6. บันทึกว่า รัฐภาคีกัมพูชาได้ยื่นต่อคณะกรรมการมรดกโลก ซึ่งแผนผังฉบับใหม่ของทรัพย์สิน (RGPP) รวมอยู่ใน WHC-08/32.COM/
INF.8B1.Add.2 (ซึ่งต่อจากนี้ไปจะเรียกว่า “RGPP”) ระบุขอบเขตที่ทบทวน ใหม่ของพื้นที่ที่เสนอสำหรับการขึ้นทะเบียนในบัญชีมรดกโลก
7. ตัดสินเป็นกรณีพิเศษ โดยคำนึงถึงกระบวนการหลายฝ่าย ในการขยายความรายงานที่ได้รับการเสนอโดยรัฐภาคีกัมพูชา เมื่อเดือน พฤษภาคม ค.ศ. 2008 ตามคำร้องขอของศูนย์มรดกโลก ยูเนสโก ยอมรับ ข้อมูลที่เสนอโดยรัฐภาคีนั้นภายหลังเวลาที่กำหนดไว้ตามวรรค 148 ของ แนวปฏิบัติของอนุสัญญา
8. รับรองว่า ไทยได้แสดงความปรารถนาหลายครั้ง เพื่อที่จะ ร่วมในการขอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหาร และพื้นที่โดยรอบ
9. บันทึกว่า ทรัพย์สินที่เสนอสำหรับขึ้นทะเบียน ได้รับการลด ขนาดและประกอบเพียงปราสาทพระวิหาร และไม่รวมชะง่อนเขาที่มีพื้นที่ กว้าง หน้าผา และถ้ำต่าง ๆ
10. พิจารณาต่อไปอีกว่า การค้นคว้าทางโบราณคดีกำลัง ดำเนินอยู่ ซึ่งอาจมีการค้นพบสำคัญซึ่งอาจทำให้สามารถพิจารณาการขอ ขึ้นทะเบียนข้ามพรมแดนใหม่ได้ ซึ่งจะต้องได้รับความยินยอมทั้งจาก กัมพูชาและประเทศไทย
11. ส่งเสริมให้กัมพูชาประสานงานกับไทยในการอนุรักษ์ คุณค่าของทรัพย์สินด้วยข้อเท็จจริงที่ว่า ประชาชนในพื้นที่โดยรอบได้ให้ คุณค่าแก่ปราสาทพระวิหารมาช้านาน และตกลงว่าจะเป็นสิ่งพึงปรารถนา ในอนาคตที่จะสะท้อนคุณค่าและภูมิทัศน์อย่างสมบูรณ์ โดยการขอขึ้น ทะเบียนในบัญชีมรดกโลกเพิ่มเติมซึ่งจะเข้าเกณฑ์ 3 และ 4 ซึ่งได้รับการ รับรองแล้วโดยคณะกรรมการในคำตัดสิน 31 COM 8B.24
12. ขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหาร กัมพูชาในบัญชีมรดกโลก ในเกณฑ์ 1
13. ออกคำแถลงเกี่ยวกับคุณค่าโดดเด่นอันเป็นสากล ดังต่อไปนี้ ปราสาทพระวิหาร ซึ่งเป็นกลุ่มสถาปัตยกรรมที่มีลักษณะเฉพาะ ของชุดอาคารที่เชื่อมต่อกันด้วยระบบทางเดินและบันไดเป็นแนวแกนยาว 800 เมตร เป็นศิลปกรรมชั้นเยี่ยมของสถาปัตยกรรมเขมรในเรื่องของผัง การตกแต่ง และความสัมพันธ์กับภูมิทัศน์แวดล้อมที่น่าตื่นตาตื่นใจ
เกณฑ์ 1 : พระวิหารเป็นศิลปกรรมชั้นเยี่ยมของสถาปัตยกรรมเขมร ซึ่งมีความบริสุทธิ์อย่างยิ่ง ทั้งในเรื่องผังและในรายละเอียดของการตกแต่ง
มีความถูกต้องแท้จริงปรากฏในลักษณะของตัวปราสาทและวัสดุที่ ใช้ซึ่งแสดงให้เห็นถึงคุณค่าของทรัพย์สินนั้นเป็นอย่างดี แม้ว่าบูรณภาพของ ทรัพย์สินจะไม่สมบูรณ์เป็นเพราะไม่ได้รวมส่วนหนึ่งของชะง่อนเขาไว้ใน ขอบเขตของทรัพย์สิน มาตรการป้องกันปราสาทในทางกฎหมาย ถือว่า เพียงพอ และความคืบหน้าในกำหนดแนวทางของแผนบริหารจัดการ ต้อง ได้รับการพัฒนาเป็นแผนบริหารจัดการเต็มรูปแบบที่ได้รับการรับรอง
14. ร้องขอให้รัฐภาคีกัมพูชา โดยการประสานงานกับยูเนสโก จัดการประชุมคณะกรรมการประสานงานระหว่างประเทศเพื่อรักษาและ พัฒนาทรัพย์สินภายในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2009 โดยเชิญให้รัฐบาลไทย และหุ้นส่วนระหว่างประเทศอีกไม่เกิน 7 ประเทศ เข้าร่วม เพื่อตรวจสอบ นโยบายทั่วไปเกี่ยวกับการรักษาคุณค่าโดดเด่นอันเป็นสากลของทรัพย์สิน โดยสอดคล้องกับมาตรฐานการอนุรักษ์สากล
15. ร้องขอให้รัฐภาคีกัมพูชาให้ส่งเอกสารต่อไปนี้ให้ศูนย์ มรดกโลกภายในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2009 :
ก) แผนที่ชั่วคราวซึ่งให้รายละเอียดเพิ่มเติมของทรัพย์สิน ที่ได้ขึ้นทะเบียน และแผนที่กำหนดขอบเขตของเขตกันชนที่ระบุใน RGPP
ข) เอกสารคำขอขึ้นทะเบียนที่ปรับปรุงแล้วเพื่อสะท้อน การเปลี่ยนแปลงขอบเขตของทรัพย์สิน
ค) คำยืนยันว่าพื้นที่บริหารจัดการของทรัพย์สินจะรวม ทรัพย์สินที่ขึ้นทะเบียนและเขตกันชนที่ระบุใน RGPP
ง) รายงานความคืบหน้าเกี่ยวกับการเตรียมแผนบริหาร จัดการ
16. ร้องขอเพิ่มเติมต่อรัฐภาคีกัมพูชาให้ส่งแผนบริหารจัดการ ที่สมบูรณ์เพื่อทรัพย์สินที่ได้รับการขึ้นทะเบียนพร้อมทั้งแผนที่ที่แล้วเสร็จ ให้ศูนย์มรดกโลกภายในกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2010 เพื่อส่งให้แก่คณะกรรมการ มรดกโลกสมัยที่ 34 ค.ศ. 2010