Jump to content


Photo
- - - - -

เขมรยื่นคำฟ้องเพิ่ม เพื่อต้องการยึดดินแดนไทย ???


  • Please log in to reply
73 ความเห็นในกระทู้นี้

#1 Stargate-1

Stargate-1

    SG-1

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,578 posts

ตอบ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 - 07:06

จาก

http://www.icj-cij.o...les/45/4857.pdf

 

คำฟ้องแรก

 

On behalf of the Government of Cambodia,

in the Application and in the Memorial:

"May it please the Court to adjudge and declare, whether the

Kingdom of Thailand appears or not :

(1) that the Kingdom of Thailand is under an obligation to withdraw

the detachments of armed forces it has stationed since 1954

in the ruins of the Temple of Preah Vihear;

(2) that the territorial sovereignty over the Temple of Preah

Vihear belongs to the Kingdom of Cambodia";

 

in the Reply :

"May it please the Court:

1.-To reject the submissions presented by the Kingdom of

Thailand in its Counter-Memorial, subject, in particular, to

the presentation, if necessary, of any other grounds for the

rejection of any further submissions that may be presented by

the Kingdom of Thailand;

11.-To find in favour of the submissions containeà in its Application

instituting proceedings and in its Memorial.

To adjudge and declare

1.-That the Kingdom of Thailand is under an obligation to withdraw

the detachments of armed forces it has stationed since

1954 in the ruins of the Temple of Preah Vihear;

2.-That the territorial sovereignty over the Temple of Preah

Vihear belongs to the Kingdom of Cambodia."


 

On behalf of the Government of Thailand,

in the Counter-Memorial :

"The Government of Thailand submits:

(1) that the claims of the Kingdom of Cambodia formulated in

the Application and the Memorial are not sustainable and should be

rejected;

(2) that Phra Viharn is in Thai territory : and the Court is respectfully

asked so to adjudge and declare."

 

 


Edited by Stargate-1, 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 - 15:56.

Tam-mic-ra ฟันธง!  คำว่า "โดนพริกไทยมั๊ง" น่ะ แค่นี่เอามาเป็นหลักฐาน ได้ยังไงครับ .....  คิดครับคิด  :lol:   จากกระทู้แก้ข่าวหน้า 2 qoute #96  ใครยิงวสันต์-ภู่ทอง   แอลพีจีทำมาจากซี2ซี3


#2 Stargate-1

Stargate-1

    SG-1

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,578 posts

ตอบ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 - 07:22

ต่อมามีการฟ้องเพิ่ม

 

On behalf of the Government of Cambodia:

A. Submissions read at the hearing of 5 March 1962

"May it please the Court:

I. To adjudge and declare that the frontier line between Carnbodia

and Thailand, in the Dangrek sector, is that which is marked on the

map of the Commission of Delimitation between Indo-China and

Siam (Annex 1 to the Memorial of Cambodia) ;

2. TO adjudge and declare that the Temple of'preah Vihear is

situated in territory under the sovereignty of the Kingdom of

Cambodia ;

3. TO adjudge and declare that the Kingdom of Thailand is under

an obligation to withdraw the detachments of armed forces it has

stationed since 1954, in Cambodian territory, in the ruins of the

Temple of Preah Vihear ;

4. TO adjudge and declare that the sculptures, stelae, fragments

of monuments, sandstone mode1 and ancient pottery which have

been removed from the Temple by the Thai authorities since 1954

are to be returned to the Government of the Kingdom of Cambodia

by the Government of Thailand."

B. Submissions, entitled Final Submissions, read at the hearing of

20 March 1962

"May it please the Court:

I. To adjudge and declare that the map of the Dangrek sector

(Annex 1 to the Memorial of Cambodia) was drawn up and published

in the name and on behalf of the Mixed Delimitation Commission

set up by the Treaty of 13 February 1904, that it sets forth the

decisions taken by the said Commission and that, by reason of

that fact and also of the subsequent agreements and conduct of the

Parties, it presents a treaty character;

2. To adjudge and declare that the frontier line between Cambodia

and Thailand, in the dispiited region in the neighborhood of the

Temple of Preah Vihear, is that which is marked on the map of the

Commission of Delimitation between Indo-China and Siam (Annex 1

to the Memorial of Cambodia) ;

3. To adjudge and declare that the Temple of Preah Vihear is

situated in territory under the sovereignty of the Kingdom of

Cambodia ;

4. To adjudge and declare that the Kingdom of Thailand is under

an obligation to withdraw the detachments of armed forces it has

stationed, since 1954, in Cambodian territory, in the ruins of the

Temple of Preah Vihear ;

j. To adjudge and declare that the sculptures, stelae, fragments of

monuments, sandstone mode1 and ancient pottery which have been

removed from the Temple by the Thai authorities since 1954 are

to be returned to the Government of the Kingdom of Cambodia by

the Government of Thailand."

 

On behalf of the Governrnent of Thailand:

 

A. Submissions read at the hearing of 20 March 1962

"With respect to the Submissions presented by the Governnient

of Cambodia on the 5th March, 1962, the Government of Thailand

respectfully presents the following as its Submissions to the Court:

1. The Court is asked not to entertain the clairns put fonvard by

Cambodia in paragraphs I and 4 of the Submissions presented on

Monday, 5th March, by the Agent for the Government of Cambodia,

on the ground that both those claims are put fonvard too late and

were not included as claims which the Government of Cambodia

wished to present to the Court in the Application instituting these

proceedings or in the course of the written pleadings and mere for

the first time put forward by the Agent for Cambodia when he

formulated Cambodia's conclusions.

It is therefore submitted that these claims should not now be

entertained by the Court.

2. Alternatively,

In regard to the first of the said claims Thailand submits the

following conclusions :

(i) The map Annex 1 has not been proved to be a document binding

on the Parties whether by virtue of the Treaty af 1904 or

otherwise.

(ii) Thailand and Cambodia have not in fact treated the frontier

marked out on Annex 1 as the frontier between Thailand and

Cambodia in the Dang Rek region.

(iii) For the above reasons, the frontier line marked on Annex 1

ought not to be substituted for the existing boundary line in

fact observed and accepted by the two Parties in the Dang Rek

range.

(iv) Even, therefore, if the Court, contrary to the submission of

Thailand, thinks it proper to entertain the said claim (1) now

put forward by Cambodia, Thailand submits that on the merits

this claim is not well founded and ought to be rejected.

3. Thailand submits the following further conclusions in answer

to Submissions 2 and 3 put fonvard by Cambodia:

(i) Abundant evidence has been given that at al1 material times

Thailand has exercised full sovereignty in the area of the

Temple to the exclusion of Cambodia. Alternatively, if, which

is denied, Cambodia in any sense carried out any administrative

functions in the said area, such acts were sporadic and inconclusive,

and in no sense such as to negative or qualify the

full exercise of sovereignty in the said area by Thailand.

(ii) The watershed in the said area substantially corresponds with

the cliff edge running round Phra Viharn and constitutes the

treaty boundary in the said area as laid down by the Treaty

of 1904.

(iii) To the estent that the cliff edge does not precisely correspond

with the watershed as shown by the configuration of the

ground in the area, the divergencies are minimal and sholild

be disregarded.

(iv) The general nature of the area allows access from Thailand to

the Temple, whereas access from Cambodia involves the scaling

of the high cliff from the Cambodian plain.

(v) There is no room in the circumstances of the present case for

the application in favour of Cambodia of any of the doctrines

prayed in aid by Counsel for Cambodia, whether acquiescence,

estoppel or prescription.

(vi) Cambodia ought not in any event now to be allowed by the

Court to put forward a claim based on prescription not having

anywhere in her pleadings or until the very end of her oral

argument put forward any such claim.

(vii) The evidence in favour of Cambodia is in any event wholly

inadequate to support any prescriptive title in Cambodia.

Cambodia's second and third Submissions ought therefore to be

rejected.

4. Further and in the alternative with regard to Cambodia's fourth

Submission, it is submitted that this Submission, even if entertained

by the Court, is wholly unsupported by evidence, and the claim

put forward by Cambodia in its fourth Submission is accordingly

unsustainable."

B. Revised Submissions presented on 20 March 1962 after the

hearing

"With respect to the revised Submissions presented by the

Government of Cambodia on the 20th March 1962, the Government

of Thailand respectfullÿ submits the following Submissions to the

Court :

1. TVith regard to the first claim of the revised Submissions :

I. The whole of the evidence before the Court shows that the map of

the sector of the Dang Rek which 1s Annex 1 to the Memorial of

Cambodia \vas not prepared or published either in the name or on

behalf of the Mixed Commission of Delimitation set up under the

Treaty of the 13th February, 1904; but, whereas the said Mixed

Commission consisted of a French Commission and a Siamese

Commission, the said Annex 1 was prepared by members of the

French Commission alone and published only in the name of the

French Commission.

2. The French officers who prepared the said Annex 1 had no

authority to give any officia1 or final interpretation of the decisions

of the said Mixed Comn~ission, still less of the intentions of the

said Mixed Commission at points at which no decision had been

recorded.

3. No decision of the said Mixed Commission uras recorded about

the boundary at Phra Viharn. If the said Mixed Commission did

reach such a decision, that decision is not correctly represented on

the said Annex 1, but was a decision that in the Phra Viharn area

the boundary should coincide with the cliff edge.

4. There was no subsequent agreement of the parties attributing

a bilateral or conventional character to the said Annex 1.

j. The conduct of the parties, so far from attributing any conventional

character to the said Annes 1, shows that the Parties have

not treated the line marked on the said Annes 1 as the boundary

in the Dang Rek; Thailand has remained in undisputed possession

of al1 the territory at the top of the Dang Rek. Wherever there is

a cliff edge in the Dang Rek the edge of the cliff is, and has been,

accepted as constituting the \vatershed boundary established in

this region by Article 1 of the said Treaty of 1904.

6. Even if the said Annes 1 were to be regarded as possessing a

conventional cliaracter, the boundary line marked on it would not

be binding on the parties when proved-as it has been in the disputed

area-to be based on an inaccurate survey of the terrain.

II. IVith regard to the second claim of the rezised Submissions:

I . The Court is asked not to entertain the claim, because:

(i) the claim to a region 'in the neighbourhood of the temple of

Phra Viharn' constitutes an enlargement of the claim presented

by the Government of Cambodia in the Application instituting

these proceedings and throughout the written pleadings;

(ii) the terms of the claim are too vague to allow either the Court

or the Government of Thailand to appreciate what are the limits

of the territory claimed.

2. Alternatively, the Government of Thailand repeats paragraph 3

of its submissions presented at the sitting of the Court on the 20th

March, 1962.

III. JYitlz regard to the third and fourth claims of the reoised

Submissions :

The Government of Thailand repeats paragraph 3 of its submissions

presented at the sitting of the Court on the 20th March, 1962.

IV. With regard to the fifth claim of the revised Submissions.

I. The Court is asked not to entertain this claim, because it constitutes

an enlargement of the claim presented by the Government

of Cambodia in the Application instituting these proceedings and

throughout the written pleadings.

2. ~lternativelyt,h e rejection of the firçt, second and third clairns

of the revised Submissions must involve the rejection of this claim.

3. Alternatively, this claim should be restricted to any objects

of the kinds specified in the claim proved by the evidence before

the Court to have been removed from the temple since 1954 by the

Thai authorities."

 


Tam-mic-ra ฟันธง!  คำว่า "โดนพริกไทยมั๊ง" น่ะ แค่นี่เอามาเป็นหลักฐาน ได้ยังไงครับ .....  คิดครับคิด  :lol:   จากกระทู้แก้ข่าวหน้า 2 qoute #96  ใครยิงวสันต์-ภู่ทอง   แอลพีจีทำมาจากซี2ซี3


#3 Stargate-1

Stargate-1

    SG-1

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,578 posts

ตอบ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 - 16:31


หลักฐานเริ่มชัด! ต้องหยุดขายชาติ

 


กระทรวงการต่างประเทศได้ออกเอกสารเผยแพร่เรื่องข้อเท็จจริงที่คนไทยควรรู้เกี่ยวกับกรณีปราสาทพระวิหารที่กำลังถูกเขมรฟ้องคาอยู่ในศาลโลก....ข้อเท็จจริงหลายเรื่องที่ปรากฏในเอกสารดังกล่าวทำให้ความจริงเริ่มชัดเจนมากขึ้นทุกทีว่า มีคนขายชาติ


                คนขายชาติได้สมคบกับเขมรยืมมือศาลโลกเพื่อให้ตัดสินให้ดินแดนไทยถึง 19 ล้านไร่ตกเป็นของเขมร แล้วเอาผลประโยชน์ทั้งทางบก ทางทะเล ไปแบ่งปันกัน


                เอกสารเผยแพร่ดังกล่าวมีความตอนหนึ่งยอมรับความจริงว่า ในคดีปราสาทพระวิหารที่ศาลโลกได้ตัดสินในปี พ.ศ. 2505 ในสมัยรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ รัฐบาลเขมรได้ยื่นฟ้องประเทศไทยเป็นสองรอบ คือ


                รอบแรก ยื่นฟ้องเมื่อ ค.ศ. 1959 หรือ พ.ศ. 2502 เป็นการฟ้องเรียกเอาตัวปราสาทพระวิหารว่าเป็นของเขมร ขอให้ศาลโลกตัดสินให้ปราสาทพระวิหารเป็นอธิปไตยของเขมร


                รอบที่สอง เมื่อ ค.ศ. 1962 หรือ พ.ศ.2505 เขมรได้ยื่นคำร้องเพิ่มเติมคำฟ้อง กล่าวอ้างว่าพื้นที่รอบปราสาทพระวิหารตามแผนที่อัตราส่วน 1:200,000 เป็นของเขมรด้วย


                แต่น่าละอายยิ่งนักที่ผู้คนในกระทรวงการต่างประเทศปกปิดไม่เปิดเผยความจริงให้ครบถ้วนว่า ในการฟ้องคดีรอบที่สองในรูปแบบของการยื่นคำร้องขอเพิ่มเติมคำฟ้องนั้นเป็นอย่างไร


                กระทรวงการต่างประเทศคงสรุปคำตัดสินของศาลโลกว่าตัดสินเฉพาะตัวปราสาทพระวิหาร ว่าเป็นอธิปไตยของเขมร แต่ก็ได้ยอมรับเอาไว้เองว่าศาลโลกไม่ได้ตัดสินเรื่องพื้นที่หรือดินแดนรอบปราสาทพระวิหาร


                ตรงนี้เป็นประเด็นสำคัญที่จะเผยให้เห็นว่า มีการขายชาติ มีการสมคบกันเพื่อยกดินแดนไทยให้กับเขมร ดังนั้นข้อเท็จจริงอะไรที่ขาดหายไป หรือที่ถูกปกปิดไว้จึงต้องนำเอามาแฉและนำเอามาเปิดเผย เพื่อให้คนไทยทั้งประเทศและทหารทุกเหล่าทัพได้รู้เช่นเห็นชาติของขบวนการขายชาติ และจะได้ทำหน้าที่รักษาเอกราชอธิปไตยตามรัฐธรรมนูญได้อย่างเต็มภาคภูมิ


                คำฟ้องรอบที่สองที่เขมรฟ้องเรียกเอาดินแดน 4.6 ตารางกิโลเมตร ตามแผนที่อัตราส่วน 1:200,000 ในรูปแบบของคำฟ้องเพิ่มเติมนั้น ในเอกสารของกระทรวงการต่างประเทศที่ว่าคนไทยควรรู้ แต่ไม่ได้เปิดเผยไว้คือ รัฐบาลไทยไม่ยอมรับศาลโลก ไม่ยอมรับให้เขมรเพิ่มเติมคำฟ้อง


                นั่นคือเมื่อเขมรยื่นคำร้องขอเพิ่มเติมคำฟ้องเรียกเอาดินแดน 4.6 ตารางกิโลเมตรอบปราสาทพระวิหารแล้ว โดยข้อกำหนดวิธีพิจารณาความของศาลโลก ศาลโลกไม่มีอำนาจสั่งว่าจะดำเนินคดีในส่วนนี้ได้หรือไม่ เพราะต้องรอฟังประเทศที่เป็นภาคีก่อน ศาลโลกจึงสั่งให้ส่งสำเนาแก่ทนายความฝ่ายไทยว่า จะคัดค้านการเพิ่มเติมคำฟ้องหรือไม่


                คณะทนายความได้รับสำเนาคำร้องขอเพิ่มเติมคำฟ้องพร้อมคำสั่งศาลแล้ว ได้เสนอต่อรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ว่า สมควรเห็นชอบให้เขมรเพิ่มเติมคำฟ้องเรียกเอาดินแดนได้


                คณะรัฐมนตรีที่จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ นั่งเป็นประธาน มีมติมอบให้พระยาอรรถการีนิพนธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมไปพิจารณาเสนอความเห็นต่อคณะรัฐมนตรี


                พระยาอรรถการีนิพนธ์ได้ตั้งคณะทำงาน มีศาสตราจารย์กำธร พันธุลาภ เนติบัณฑิตอังกฤษ  ผู้พิพากษา พร้อมด้วยนายบุศย์ ขันธวิทย์ เนติบัณฑิตไทย ผู้พิพากษา และคนอื่น ๆ อีก เพื่อพิจารณาเรื่องนี้ โดยพระยาอรรถการีนิพนธ์ได้สอบถามนายบุศย์ ขันธวิทย์ เป็นการส่วนตัวก่อนว่าในฐานะที่เคยเป็นทนายความมาก่อน มีความเห็นเรื่องเขมรขอเพิ่มเติมคำฟ้องอย่างไร


                นายบุศย์ ขันธวิทย์ แจ้งแก่พระยาอรรถการีนิพนธ์ว่า ไม่มีธรรมเนียมที่ไหนที่ฝ่ายโจทก์จะเพิ่มเติมคำฟ้องให้ตัวเองเสียเปรียบ มีแต่จะเพิ่มเติมเพื่อเอาเปรียบฝ่ายจำเลย เพียงเหตุผลเท่านี้ก็ต้องคัดค้านไม่ให้เขมรเพิ่มเติมคำฟ้อง ท่านเจ้าคุณพระยาอรรถการีนิพนธ์เห็นด้วย


                คณะทำงานพิจารณาเรื่องแล้วมีความเห็นเป็นเอกฉันท์ให้รัฐบาลไทยคัดค้านการเพิ่มเติมคำฟ้อง คือไม่ยอมรับอำนาจศาลโลกให้พิจารณาเรื่องดินแดน และไม่ยอมรับให้เขมรเพิ่มเติมคำฟ้องเรื่องดินแดน


                ศาลโลกจึงมีคำสั่งยกคำร้องที่ฟ้องเรียกเอาดินแดนของเขมรนั้นเสีย ดังนั้นคดีดังกล่าวจึงพิพาทกันเฉพาะตัวปราสาทพระวิหาร และประเทศไทยก็แพ้คดีเฉพาะตัวปราสาทพระวิหาร นี่คือเหตุผลว่าทำไมศาลโลกจึงไม่ได้พิพากษาเรื่องดินแดนและเรื่องแผนที่อัตราส่วน 1:200,000 เพราะเป็นเรื่องนอกฟ้อง นอกประเด็น


                ดังนั้นไอ้หน้าไหนก็ตามที่มาโกหกคนไทยว่าศาลโลกตัดสินให้ดินแดน 4.6 ตารางกิโลเมตร ตามแผนที่ 1:200,000 เป็นของเขมรจึงเป็นวาทกรรมของพวกขายชาติ ทรยศ กบฏชาติ ที่ต้องประหารชีวิตสถานเดียวเท่านั้น!

 

http://www.oknation....t.php?id=846377


Tam-mic-ra ฟันธง!  คำว่า "โดนพริกไทยมั๊ง" น่ะ แค่นี่เอามาเป็นหลักฐาน ได้ยังไงครับ .....  คิดครับคิด  :lol:   จากกระทู้แก้ข่าวหน้า 2 qoute #96  ใครยิงวสันต์-ภู่ทอง   แอลพีจีทำมาจากซี2ซี3


#4 Stargate-1

Stargate-1

    SG-1

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,578 posts

ตอบ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 - 16:43

คอลัมน์ ชาติเชื้อ ชนบท
เขาพระวิหารเป็นของใคร? (ต่อ) โดย นายแพทย์ ตุลย์ สิทธิสมวงศ์


 เขมรได้ร้องขอให้ศาลโลกพิจารณาสถานภาพของแผนที่ผนวก 1 นี้ และให้วินิจฉัยความถูกต้องของเส้นเขตแดนที่ปรากฏบนแผนที่ * แต่ศาลฯงดเว้นมิได้สนองตอบคำขอของเขมรแต่อย่างใด เพราะในระหว่างการพิจารณารายงานของผู้เชี่ยวชาญด้านแผนที่ ซึ่งเสนอจากทั้งฝ่ายไทยและเขมร มีชาวฮอลแลนด์เป็นหลัก ศาลฯได้พบว่าแผนที่ฉบับนี้มีข้อมูลที่ผิดพลาดหลายประการ ทำให้เส้นเขตแดนเบี่ยงไป ไม่เป็นไปตามเส้นสันปันน้ำตามสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ศาลฯจึงมิอาจให้คำวินิจฉัยตามที่เขมรร้องขอ เพียงแต่ตัดสินว่า ตามคำฟ้องของเขมร ปราสาทพระวิหารปรากฏอยู่ในแผนที่ผนวก 1 ที่ฝั่งไทยน่าจะได้เห็น แต่ไทยมิได้คัดค้าน จึงได้พิพากษาโดยคะแนนเสียง 9 ต่อ 3 ลงความเห็นว่า

 

“ปราสาทพระวิหารตั้งอยู่ในอาณาเขตภายใต้อธิปไตยของกัมพูชา”

 

* มีความจริงที่คนไทยส่วนใหญ่ไม่ทราบคือ ตั้งแต่ประเทศกัมพูชายื่นฟ้องศาลโลกในกรณีปราสาทพระวิหาร เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2502  ได้มีการเพิ่มเติมคำฟ้องในคำแถลงสรุป เมื่อวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2505 และในคำแถลงสรุปสุดท้าย เมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2505  คำฟ้องเพิ่มเติมที่สำคัญ คือ ขอให้ศาลได้โปรด


1. พิพากษาและชี้ขาดว่า แผนที่ตอนเขาดงรัก (ภาคผนวก 1 ต่อท้ายคำฟ้องของประเทศกัมพูชา) นั้น ได้ถูกจัดทำและพิมพ์ขึ้นเผยแพร่ในนามของคณะกรรมการปักปันเขตแดนผสมที่ตั้งขึ้นโดยสนธิสัญญา ลงวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2447 และว่าแผนที่นี้แสดงรายละเอียด ตรงตามมติของคณะกรรมการดังกล่าว โดยเหตุผลจากความจริงข้อนี้ และด้วยความตกลง และการปฏิบัติต่อมาของภาคีในสัญญา แผนที่นี้จึงมีลักษณะเป็นสนธิสัญญาอย่างหนึ่ง

 

2. พิพากษาและชี้ขาดว่า เส้นเขตแดนระหว่างกัมพูชากับไทยในเขตพิพาทกันในบริเวณปราสาทพระวิหาร เป็นเส้นเขตแดนที่ลากไว้บนแผนที่ของคณะกรรมการปักปันเขตแดนระหว่างอินโดจีนกับสยาม (ภาคผนวก 1 ต่อท้ายคำฟ้องของกัมพูชา)

 

ส่วนข้อที่ 3-5 ทุกคนคงทราบกันดีอยู่แล้ว

 

ประเด็นอยู่ตรงที่ว่า ศาลโลกใช้  จุดที่ปรากฏบนแผนที่ที่มีชื่อว่าพระวิหาร  เป็นหลักในการตัดสินคดี โดยไม่คำนึงถึงว่าเส้นเขตแดนที่ปรากฏบนแผนที่นั้น ผิดพลาดเพียงใดหรือสอดคล้องกับตัวบทของสนธิสัญญาหรือไม่ ปรากฏในคำพิพากษาระบุว่า “.. ไม่มีความจำเป็น ที่จะ ต้องพิจารณาว่า ณ พระวิหาร เส้นเขตแดนตามแผนที่จะตรงกับเส้นสันปันน้ำที่แท้จริงในบริเวณใกล้เคียงนี้หรือไม่ หรือว่าได้เคยตกลงกันในระหว่าง ค.ศ. 1904-1907 หรือไม่ หรือว่าถ้าไม่ตรงกันแล้ว เส้นสันปันน้ำจะเป็นอย่างไรตามความเป็นจริง...”  ทั้งๆที่เป็นประเด็นหลักฐานที่สำคัญที่สุด ที่ศาลใช้ในการลงความ เห็นว่าปราสาทพระวิหารตกเป็นของประเทศกัมพูชา

 

อย่างไรก็ตาม มีรายละเอียดในการพิจารณาคดี ที่ไม่ค่อยเปิดเผยให้ทราบกันแพร่หลาย ก็คือความ เห็นของผู้พิพากษา มอเรโน กินตานา ผู้พิพากษาชาวอาร์เจนตินา ซึ่งร่วมเป็นองค์คณะผู้พิพากษาของศาลโลก ที่พิจารณาคดีปราสาทพระวิหารด้วย  ความว่า  “ ...ข้าพเจ้ามีความเสียใจอย่างยิ่ง ที่ไม่อาจเห็นด้วยกับส่วนข้างมากของสหายร่วมงานของข้าพเจ้า ในการตัดสินคดีนี้  ข้าพเจ้ามีความเชื่อมั่น อย่างหนักแน่นว่า อธิปไตยเหนือส่วนของดินแดนปราสาทพระวิหารนี้เป็นของประเทศไทย..”


และมีความอีกตอนหนึ่ง ความว่า “... สันปันน้ำเป็นผลอันเกิดขึ้นจากลักษณะของพื้นภูมิประเทศ และย่อมเป็นลักษณะของภูมิประเทศอยู่เสมอ สันเขา แนวชะง่อนผา หรือส่วนสูงของพื้นดินเหล่านี้ย่อมจะประกอบกันเป็นเส้นสันปันน้ำธรรมชาติ...” และที่สำคัญที่สุดคือ

 

“... ยิ่งกว่านั้น ยังมีหลักอันเป็นที่รับนับถือกันทั่วไป ปรากฏอยู่ในข้อ 29 ของ สนธิสัญญากรุงแวร์ซายส์ ลงวันที่ 28 มิถุนายน ค.ศ. 1919 หลักข้อนี้มีอยู่ว่า เมื่อเกิดมีความแตกต่างกันในเรื่องการปักปันเขตแดนระหว่างตัวบทของสนธิสัญญากับแผนที่ ให้ถือตัวบท และไม่ใช่แผนที่เป็นสำคัญ เมื่อเป็นดังนี้ และจนกว่าจะได้มีหลักฐานแน่ชัดแสดงว่า พระวิหารตั้งอยู่ที่ไหน ข้อ 1 ของสนธิสัญญาฉบับ ค.ศ. 1904 ซึ่งระบุให้ใช้สันปันน้ำเป็นเส้นเขตแดนของประเทศทั้งสอง ย่อมสนับสนุนการตีความของประเทศไทยได้ดีกว่าข้อเถียงของเขมร อาจกล่าวได้ว่า ข้อ 1 ของพิธีสารผนวกท้ายสนธิสัญญาฉบับ ค.ศ. 1907 ก็เป็นเช่นเดียวกัน พิธีสารนี้มิได้กล่าวถึงพระวิหารเลยเช่นกัน แต่ก็ยังยืนยันว่าสันปันน้ำเป็นเส้นเขตแดน่...”


                ถ้าผู้อ่านได้อ่านคำพิพากษาของศาลโลกทั้งหมดและสังเกตให้ดี จะพบว่า ศาลโลกเลี่ยงที่จะไม่พิจารณาคำฟ้องที่ 1และ 2  เพราะถ้ามีการพิจารณาความถูกต้องของแผนที่ผนวก 1 แล้ว จะต้องใช้หลักการตามสนธิสัญญาแวร์ซายร์ ข้อที่ 29 ทำให้ต้องใช้สันปันน้ำเป็นเส้นเขตแดน  ซึ่งจะทำให้ปราสาทพระวิหารตั้งอยู่ในเขตแดนอธิปไตยของประเทศไทย แทนที่จะเป็นของประเทศเขมร เมื่อเลี่ยงที่จะพิพากษาในข้อที่ 1 และ 2 แล้ว ทำให้สามารถนำข้อที่ว่าประเทศไทยไม่เคยทักท้วงความไม่ถูกต้องของแผนที่นี้ มาเป็นข้ออ้างประกอบการพิจารณาให้ปราสาทพระวิหารตั้งอยู่ในเขตแดนอธิปไตยของประเทศเขมรได้

 

                เมื่อคณะรัฐมนตรีของจอมพลสฤษดิ์รับทราบมติของศาลโลกแล้ว ก็ได้พิจารณาดำเนินการให้สอดคล้องกับคำพิพากษา แต่ก็สงวนสิทธิ์ที่จะดำเนินการทวงปราสาทพระวิหารคืน หากมีข้อมูลหรือข้อกฎหมายที่เปลี่ยนแปลงไปในอนาคต โดย พันเอก ถนัด คอมันตร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่าง ประเทศในสมัยนั้น ได้ส่งหนังสือถึง นาย อูถั่น รักษาการเลขาธิการสหประชาชาติ เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2505 เพื่อแสดงออกถึงการประท้วง คำพิพากษา ของศาลโลกและแจ้งการสงวนสิทธิ์ในการทวงคืน และในสัปดาห์ต่อมา คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้มีการล้อมรั้วรอบปราสาทพระวิหาร โดยมีเขตทางด้านเหนือห่างจากตัวปราสาท 20 เมตร ส่วนทางทิศตะวันตกลากเส้นขนานกับตัวปราสาท 100 เมตรห่างจากแนวกลางของตัวปราสาท ให้ถอนกำลังทหารออกพ้นเขตที่มติครม.กำหนดไว้ ทั้งนี้ครม.มีความเห็นว่า ศาลโลกตัดสินให้ปราสาทพระวิหารเป็นของเขมรก็จริง แต่ไทยยังคงยึดถือว่า พื้นที่ที่ปราสาทพระวิหารตั้งอยู่ ในเขตแดนฝั่งไทยของสันปันน้ำ ซึ่งคณะผู้เชี่ยยวชาญรายงานว่าอยู่ที่ขอบหน้าผา และมีผู้พิพากษาศาลโลกสามคนที่ให้ความเห็นแย้งกับเสียงส่วนใหญ่  นอกจากนั้น ผู้พิพากษา เซอร์ เจอรัลด์ ฟิตซ์มอริสยังลงความเห็นเป็นการส่วนตัวว่า ขอบหน้าผาหรือเส้นสันปันน้ำเป็นเส้นเขตแดนไทยกับเขมร    เนื่องจากศาลโลกไม่ได้ตัดสินเรื่องเขตแดน รั้วที่ฝ่ายไทยล้อมไว้ตามมติครม. พ.ศ. 2505 จึงไม่ใช่เส้นเขตแดน เป็นเพียงเส้นเขตบริเวณปฏิบัติการ ไม่ให้ทหารเข้าไป ทั้งนี้ เขมรก็ได้น้อมรับการปฏิบัติตามพันธกรณีคำพิพากษาของศาลโลกโดยสิ้นเชิง รวมทั้งรับทราบข้อสงวนของไทย โดยมิได้โต้ตอบ หรือแสดงปฏิกิริยาแต่อย่างใด ที่เป็นปัญหาสำคัญก็คือ อีก 40 กว่าปีต่อมา เขมรกลับแอบอ้างว่า ศาลโลกตัดสินว่าเส้นเขตแดนที่ปรากฏในแผนที่ผนวก 1 เป็นเส้นเขตแดนที่ถูกต้อง ทั้งๆที่ศาลฯมิเคยตัดสินเช่นนั้น (ดูข้างต้น)  แนวรั้วซึ่งล้ำเข้ามาในเขตไทย เกินกว่ารั้วที่ครม.ของไทยกำหนดให้ เป็นพื้นที่กว้างประมาณ 4.6 ตารางกิโลเมตร พื้นที่บริเวณนี้แหละที่คนไทย สื่อไทย ตลอดจนรัฐบาลไทย เข้าใจผิดและนิยมเรียกว่า พื้นที่ทับซ้อน แต่เขมรบอกว่าเป็นของเขาแต่เพียงผู้เดียว หากพิจารณาตามข้อเท็จจริงตามที่ผู้เขียนรวบรวมมา โดยเฉพาะคำพิพากษาแย้งของผู้พิพากษา มอเรโน กินตานา ที่อ้างถึงสนธิสัญญาแวร์ซายร์ ข้อ 29 คงจะสรุปได้ว่า แม้ศาลโลกจะพิพากษาว่า ปราสาทพระวิหารตั้งอยู่ในดินแดนอธิปไตยของประเทศกัมพูชา โดยอาศัยแต่แผนที่ฉบับของพันตรี แบร์นาร์ด แต่หากพิจารณาเรื่องเขตแดนแล้ว ควรใช้ตัวบทในสนธิสัญญาเป็นหลักมากกว่าแผนที่  ดินแดนบนเขาพระวิหารทั้งหมด ซึ่งอยู่ในขอบเขตฝั่งไทยของสันปันน้ำ ย่อมเป็นดินแดนของประเทศไทยอย่างไม่ต้องสงสัย ในชื่อของบทความผู้เขียนจึงเลือกใช้คำว่า “เขาพระวิหาร” แทนคำว่า “ปราสาทพระวิหาร”

 

                ผู้เขียนเรียบเรียงข้อมูลต่างๆ ซึ่งล้วนแล้วแต่เกิดขึ้นก่อนที่ผู้เขียนจะเกิดเสียอีก เพื่อเป็นการให้ข้อมูลเกี่ยวกับกรณีที่แท้จริงและครบถ้วนกับคนไทยทั้งมวล ด้วยความหวังที่จะล้มล้างความเชื่อและความเคยชินที่ว่า มีพื้นที่ทับซ้อนในบริเวณปราสาทพระวิหาร หรือบางคนถึงกับคิดว่าเป็นเขตแดนของเขมรด้วยซ้ำ ผู้เขียนมีความประสงค์ให้คนไทยทุกคนมีความเข้าใจตรงกันว่า ไม่มีพื้นที่ทับซ้อนใดๆบนเขาพระวิหาร ดินแดนเหนือสันปันน้ำขึ้นมา ล้วนแล้วแต่เป็นดินแดนอธิปไตยของประเทศไทยทั้งสิ้น  เป็นที่น่าสังเกตว่า ที่ผ่านมารัฐบาลเขมรและคนเขมรทั้งชาติ มีความเป็นหนึ่งอันเดียวกัน พูดตรงกันว่า ดินแดนใต้ต่อเส้นในแผนที่ผนวก 1 รวมทั้งตัวปราสาทพระวิหาร เป็นของเขมรแต่เพียงผู้เดียว ผู้เขียนขอเรียกร้องให้รัฐบาลไทย ข้าราชการ ทหาร และประชาชนคนไทยทั้งมวล มีความเข้าใจตรงกัน รวมทั้งประกาศให้ทั้งโลก ทราบความจริงในเรื่องนี้ และสนับสนุนประเทศไทย แทนที่จะไปสนับสนุนประเทศเขมร ตามที่เขาประท้วงประเทศไทยไปที่องค์การสหประชาชาติ เมื่อ 2 วันที่ผ่านมา พวกเราจะได้ร่วมแรงร่วมใจกันดำเนินการทุกวิถีทาง ทวงคืนดินแดนและทรัพย์สินของประเทศไทยกลับคืนมา ตามที่สมควรจะเป็นตั้งแต่เมื่อ 46 ปีที่แล้ว

 

ผู้เขียนขอกราบขอบพระคุณ ท่าน ศ. ดร. สมปอง สุจริตกุล ที่ได้กรุณาเล่าเรื่องราวที่เกิดขึ้นทั้งหมด ที่เกี่ยวข้องกับการพิจารณาคดีปราสาทพระวิหารของศาลโลก และตรวจทานแก้ไขบทความนี้ จนถูกต้องสมบูรณ์

 

http://www.sereechai...ews.php?no=4059


Tam-mic-ra ฟันธง!  คำว่า "โดนพริกไทยมั๊ง" น่ะ แค่นี่เอามาเป็นหลักฐาน ได้ยังไงครับ .....  คิดครับคิด  :lol:   จากกระทู้แก้ข่าวหน้า 2 qoute #96  ใครยิงวสันต์-ภู่ทอง   แอลพีจีทำมาจากซี2ซี3


#5 Stargate-1

Stargate-1

    SG-1

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,578 posts

ตอบ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 - 16:56

๑. ปัญหา
           การขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกของประเทศกัมพูชาจะมีผลกระทบต่อเขตแดนไทยตามกลไกของการเป็นมรดกโลก
๒. ข้อเท็จจริง
           ๒.๑ ก่อนเกิดคดีปราสาทพระวิหาร
                   ๒.๑.๑ ปราสาทพระวิหารตั้งอยู่บนเขาพระวิหารในเทือกเขาพนมดงรัก อันเป็นเส้นแบ่งเขตแดนไทย - กัมพูชา นับตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๔๗ (ค.ศ.๑๙๐๔) โดยหนังสือสัญญาสยาม – ฝรั่งเศส วันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ ร.ศ.๑๒๒ (ค.ศ.๑๙๐๔ หรือ พ.ศ.๒๔๔๗) สำหรับเขตแดนไทย (สยาม) กับกัมพูชา ปรากฏอยู่ในข้อ ๑ ของสนธิสัญญา มีความว่า
                   "เขตร์แดนในระหว่างกรุงสยามกับกรุงกัมพูชานั้นตั้งต้นแต่ปากคลองสดุงโรลูออส ข้างฝั่งซ้าย ทะเลสาปเป็นเส้นเขตร์แดนตรงทิศตะวันออกไปจนบรรจบถึงคลองกะพงจาม ตั้งแต่นี้ต่อไปเขตร์แดนเป็นเส้นตรงทิศเหนือขึ้นไปจนบรรจบถึงภูเขาพนมดงรัก (คือ ภูเขาบรรทัด) ต่อนั้นไปเขตร์แดนเนื่องไปตามแนวยอดภูเขาปันน้ำ ในระหว่างดินแดนน้ำตกน้ำแสนแลดินแดนน้ำตกแม่โขง ฝ่ายหนึ่งกับดินแดนน้ำตกน้ำมูนอีกฝ่ายหนึ่งจนบรรจบถึงภูเขาผาด่าง แล้วต่อเนื่องไปข้างทิศตะวันออกตามแนวยอดภูเขานี้จนบรรจบถึงแม่โขง ตั้งแต่บรรจบนี้ขึ้นไป แม่น้ำโขงเป็นเขตแดนของกรุงสยามตามความข้อ ๑ ในหนังสือสัญญาใหม่ ณ วันที่ ๓ ตุลาคม รัตนโกสินทรศก ๑๑๒ "
                   ๒.๑.๒ ในช่วงนี้ได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการปักปันเขตแดน ระหว่างสยาม – ฝรั่งเศส ทำแผนที่ปักปันเขตแดนขึ้นด้วยมาตราส่วน ๑ : ๒๐๐.๐๐๐ แสดงเส้นเขตแดนตามสนธิสัญญาปี ค.ศ.๑๙๐๔ (พ.ศ.๒๔๔๗) ไว้ในตอนทิวเขาหลวงพระบาง มีแผนที่ ๕ ระวาง ตอนทิวเขาพนมดงรัก มีแผนที่ ๖ ระวาง และเขตแดนตอนล่าง มีแผนที่ ๓ ระวาง เป็นการเขียนไปตามเขตแดนของเมืองเสียมราฐกับเมืองพระตะบองแล้วตัดเอาจังหวัดตราดไปเป็นของฝรั่งเศส
                   ๒.๑.๓ เพื่อแลกกับอำนาจศาลเมืองด่านซ้ายและจังหวัดตราด ไทย (สยาม) ได้ยอมยกเมือง เสียมราฐกับพระตะบองให้กับฝรั่งเศส จึงได้มีการทำหนังสือสัญญา ลงวันที่ ๒๓ มีนาคม ร.ศ.๑๒๕ (ค.ศ.๑๙๐๗ หรือ พ.ศ.๒๔๕๐) เขตแดนไทย (สยาม) กับกัมพูชา ปรากฎอยู่ในข้อ ๑ ของสนธิสัญญา มีความว่า
                   " เขตร์แดนในระหว่างกรุงสยามกับอินโดจีนของฝรั่งเศสนั้นตั้งแต่ชายทะเลที่ตรงข้ามกับยอดเขาสูงที่สุดของเกาะกูตเปนหลักแล้วตั้งแต่นี้ต่อไป ทางตะวันออกเฉียงเหนือถึงสันเขาพนมกระวานแลเปนที่เข้าใจกันชัดเจนด้วยว่า แม้จะมีเหตุการณ์อย่างไรๆก็ดี ฟากไหล่เขาเหล่านี้ ข้างทิศตะวันออกรวมทั้งที่ลุ่มน้ำคลองเกาะปอด้วยนั้นต้องเป็นดินแดนฝ่ายอินโดจีนของฝรั่งเศสแล้ว เขตร์แดนต่อไปตามสันเขาพนมกระวานทางทิศเหนือ จนถึงเขาพนมทม ซึ่งเป็นเขาใหญ่ปันน้ำทั้งหลาย ระหว่างลำน้ำที่ไหลตกอ่าวสยามฝ่ายหนึ่งกับลำน้ำที่ไหลตกทเลสาบอีกฝ่ายหนึ่ง ตั้งแต่เขาพนมทมนี้ เขตร์แดนไปตามทิศพายัพก่อนแล้วไปตามทิศเหนือตามเขตร์แดนที่เปนอยู่ในปัจจุบัน ระหว่างเมืองพระตะบองฝ่ายหนึ่งกับเมืองจันทบุรี แลเมืองตราษอีกฝ่ายหนึ่งแล้วต่อไปจนถึงเขตร์แดนที่ข้ามลำน้ำใส ตั้งแต่นี้ต่อไปตามลำน้ำนี้จนถึงปากที่ต่อจากลำน้ำศรีโสภณ แลตามลำน้ำศรีโสภณต่อไปจนถึงที่แห่งหนึ่งในลำน้ำนี้ ประมาณสิบกิโลเมตร ฤาสองร้อยห้าสิบเส้นใต้เมืองอารัญ ตั้งแต่นี้ตีเส้นตรงไปถึงเขาแดงแรกตรงระหว่างกลางทางช่องเขาทั้ง ๒ ที่เรียกว่า ช่องตะโก กับช่องสเมด ได้เปนที่เข้าใจกันว่า เส้นเขตร์แดนที่กล่าวมาที่สุดนี้จะต้องปักปันกันให้มีทางเดินตรงในระหว่างเมืองอารัญ กับช่องตะโกไว้ในเขตร์กรุงสยาม ตั้งแต่ที่เขาแดงแรกที่กล่าวมาข้างต้นนั้น เขตร์แดนต่อไปตามปันน้ำที่ตกทเลสาบแลแม่โขงฝ่ายหนึ่งกับที่น้ำมูนอีกฝ่ายหนึ่งแล้วต่อไปจนตกลงลำแม่น้ำโขงใต้ปากมูน ตรงปากห้วยดอน ตามเส้นเขตร์แดนที่กรรมการปักปันแดนครั้งก่อน ได้ตกลงกันแล้ว เมื่อวันที่๑๘ มกราคม รัตนโกสินทรศก ๑๒๕ คฤสตศักราช ๑๙๐๗ ได้เขียนเส้นพรมแดนประเมินไว้อย่างหนึ่งในแผนที่ตามที่กล่าวในข้อนี้ติดข้องไว้ในสัญญานี้ด้วย "
                   ๒.๑.๔ คณะกรรมการปักปันก็ได้เขียนเส้นเขตแดนใหม่บนแผนที่ทั้ง ๘ ฉบับ ส่วนอีก ๓ ฉบับ ยังคงปล่อยไว้เช่นเดิม แผนที่ทั้ง ๑๑ ฉบับ พิมพ์เสร็จในปี ค.ศ.๑๙๐๗ (พ.ศ.๒๔๕๑) และได้ส่งมาให้ไทย ๕๐ ชุด
                   ๒.๑.๕ สนธิสัญญาทั้งสองฉบับดังกล่าวแล้ว ระบุไว้ว่าเส้นเขตแดนไปตามสันปันน้ำของทิวเขาพนมดงรักแต่ตรงบริเวณที่ตั้งปราสาทพระวิหาร และเส้นเขตแดนระวาง DANGREK กลับเขียนผิดสภาพความเป็นจริง ตามสภาพภูมิศาสตร์กันเอาส่วนที่เป็นที่ตั้งปราสาทพระวิหารไปไว้ในเขตอินโดจีนของฝรั่งเศสซึ่งที่ถูกต้องแล้ว จะต้องอยู่ในเขตไทย
                   ๒.๑.๖ ฝ่ายไทยไม่เคยสังเกตว่าแผนที่ระว่างดังกล่าวนั้น เขียนไปอย่างไรแต่ไทยก็เข้าครอบครองเขาพระวิหารตลอดมา จังหวัดศรีสะเกษได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของไทย เมื่อวันที่ ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๖๘ (ค.ศ.๑๙๒๕)
                   ๒.๑.๗ ในปี พ.ศ.๒๔๘๓ จากกรณีพิพาทอินโดจีนไทยได้ดินแดนมณฑลบูรพา ที่เคยเสียไปในรัชกาลที่ ๕ กลับคืนมาตามสนธิสัญญาโตเกียว แต่หลังสงครามมหาเอเชียบูรพาไทยต้องคืนดินแดนดังกล่าวให้ฝรั่งเศสไปแต่ยังคงครอบครองปราสาทพระวิหารมาโดยตลอด แม้ฝรั่งเศสจะประท้วงไทยหลายครั้ง ในปี พ.ศ.๒๔๙๒
           ๒.๒ คดีปราสาทพระวิหาร
                   ๒.๒.๑ ในปี พ.ศ.๒๕๐๑ รัฐบาลได้รับรายงานจากสถานทูตไทย ประจำกรุงพนมเปญว่าฝ่ายกัมพูชากำลังรวบรวมหลักฐานที่จะฟ้องร้องต่อศาลยุติธรรมระหว่างประเทศว่าไทยได้ยึดปราสาทพระวิหารของกัมพูชา
                   ๒.๒.๒ ฝ่ายไทยคณะรัฐมนตรีได้ตั้งคณะกรรมการเตรียมเรื่องพระวิหาร ตามกฎหมาย โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นประธาน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เป็นรองประธานกรรมการ คณะกรรมการชุดนี้ได้ประชุมกันเป็นครั้งแรก เมื่อ ๑ ก.ย.๐๑ และได้มีการประชุมกันติดต่อโดยต่อเนื่อง เตรียมการสู้คดีอย่างทุกแง่ ทุกมุม การประชุมได้กระทำถึง ๗๓ ครั้ง ประชุมครั้งสุดท้าย เมื่อ ๒๗ ธ.ค.๐๔
                   ๒.๒.๓ ๖ ต.ค.๐๒ รัฐบาลกัมพูชาได้ยื่นคำร้องต่อสำนักทะเบียนศาลยุติธรรมระหว่างประเทศเพื่อนำข้อพิพาทระหว่างกัมพูชากับไทยขึ้นสู่ศาลโดยขอให้ศาลพิพากษาและแถลงไม่ว่าประเทศไทยจะปรากฏตัวหรือไม่
                             ๒.๒.๓.๑ ว่าเป็นประเทศไทยจะอยู่ภายใต้พันธกรณีที่จะถอนกำลังทหารที่ได้ส่งไปประจำการตั้งแต่ปี ค.ศ.๑๙๕๔ (พ.ศ.๒๔๙๗) ในปราสาทพระวิหาร
                             ๒.๒.๓.๒ ว่าอธิปไตยแห่งดินแดนเหนือปราสาทพระวิหารเป็นของกัมพูชา
                   ๒.๒.๔ กัมพูชาได้ยื่นคำฟ้องต่อศาลยุติธรรมระหว่างประเทศใน ๒๓ ม.ค.๐๓ สรุปคำฟ้องได้ดังนี้
                             ๒.๒.๔.๑ ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๙๒ กัมพูชาได้ประท้วงทางสายการทูตต่อไทยหลายครั้งว่าไทยยึดครองเขตแดนกัมพูชาบริเวณปราสาทพระวิหารแต่ไม่ได้ผลเพื่อป้องกันสิทธิอันชอบธรรม จึงต้องยื่นคดีนี้ต่อศาล
                             ๒.๒.๔.๒ สิทธิของกัมพูชามีหลักฐานสนับสนุน ๓ ประการ - อาศัยสนธิสัญญาปักปันเขตแดนระหว่างฝรั่งเศสและสยาม - กัมพูชาไม่เคยสละอำนาจเหนือดินแดนที่อ้างถึง - ไทยไม่ได้กระทำใดๆในทางใช้อำนาจเหนือดินแดนที่อ้างงถึงมาก่อน พร้อมกับรายละเอียดประกอบอีก ๓๐ หัวข้อ
                   ๒.๒.๕ ฝ่ายไทยได้แถลงคำค้านเบื้องต้น เมื่อ ๒๓ พ.ค.๐๓ สรุปว่า ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ไม่มีอำนาจพิจารณาคำร้องนี้ แต่ในที่สุดศาลก็ยกคำร้องของไทยและและสั่งการให้ประเทศไทยไปแก้คดี ฝ่ายไทยได้ยื่นคำให้การแก้ข้อกล่าวหาเมื่อ ๒๙ ก.ย.๐๔ และตั้งคณะทนายความเพื่อแก้ต่างในศาลคือ หม่อมเจ้าวงศ์ มหินชยางกูร เอกอัครราชทูตไทย ประจำเนเธอร์แลนด์ เป็นผู้แทนรัฐบาลไทย
                   ๒.๒.๖ คำแก้ข้อกล่าวหาของไทย สรุปได้คือ
                             ๒.๒.๖.๑ ไทยครอบครองปราสาทพระวิหารมาตั้งแต่ปี ค.ศ.๑๙๐๔ (พ.ศ.๒๔๔๗) โดยฝรั่งเศสหรือกัมพูชาไม่เคยโต้แย้งหรือขัดขวางเลย
                             ๒.๒.๖.๒ ตามที่กัมพูชาอ้างหลักฐานสนับสนุน ๓ ประการ - ประการแรก ฝ่ายไทยเห็นพ้องทุกประการที่จะต้องใช้สนธิสัญญาระหว่าง สยาม - ฝรั่งเศส ลงวันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ ค.ศ.๑๙๐๔ เป็นบทบังคับในคดีนี้ สนธิสัญญาระบุว่า ให้สันปันน้ำเขาพนมดงรักเป็นเส้นเขตแดน และสันปันน้ำนี้ได้กันเอาปราสาทพระวิหารไว้ในเขตไทย - ประการที่สอง ตามที่กัมพูชาอ้างว่าไม่เคยทอดทิ้งอำนาจอธิปไตยเหนือเขตแดนนี้ ราษฎรกัมพูชาได้ไปทำศาสนกิจธุดงค์ที่ปราสาทนี้เสมอมานั้น คนเขมรนับถือพระพุทธศาสนาจะไปทำศาสนกิจในเทวาลัยของศาสนาพราหมณ์ได้อย่างไร การเดินทางจากกัมพูชามายังปราสาท จะต้องไต่หน้าผาสูงชัน ยากจะปีนป่ายขึ้นมาได้ - ประการที่สาม กัมพูชาอ้างว่าไทยไม่เคยอ้างสิทธิเหนือปราสาทพระวิหาร มาก่อนนั้น ฝ่ายไทยทราบดีว่า เขตแดนไทยอยู่ ณ ที่ใด ไม่จำเป็นต้องประกาศอีก ปราสาทพระวิหารในสนธิสัญญา ก็ไม่มีระบุไว้เกี่ยวข้องกับเขตแดนอย่างไร กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ได้ค้นพบปราสาทแห่งนี้ ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๔๒ ในครั้งนั้น ไม่มีผู้ใดสนใจกันมากนัก เพราะยังอยู่ในป่าดงดิบ ต่อมาจังหวัดศรีสะเกษได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน ตั้งแต่ปี ค.ศ.๑๙๒๕ (พ.ศ.๒๔๖๘)
                             ฝ่ายไทยได้แก้ข้อกล่าวหาของฝ่ายกัมพูชาทุกข้อ โดยเฉพาะแผนที่ตามเอกสารท้ายคำฟ้อง หมายเลข ๑ คือแผนที่คณะกรรมการปักปันเขตแดนที่ฝรั่งเศสทำขึ้นฝ่ายเดียวไม่มีการเสนอให้คณะกรรมการปักปันเขตแดนตรวจสอบและให้คำรับรองก่อน สรุปแล้วแผนที่ชุดนี้ไม่มีผลบังคับใช้
                   ๒.๒.๗ ฝ่ายกัมพูชาได้เสนอคำคัดค้าน โดยอ้างว่า
                             - จากรายงานของกรมแผนที่ทหารบก ในการสำรวจมณฑลนครราชสีมา ในปี ค.ศ.๑๙๒๘ (พ.ศ.๒๔๗๑) ระบุว่า บริเวณนั้นเป็นป่าทึบมีบ้านเรือนอยู่กระจัดกระจาย ส่วนใหญ่ประชาชนเป็นชาวเขมรแสดงว่าพื้นที่ดังกล่าวอยู่ในความปกครองของกัมพูชา
                             - ปราสาทพระวิหาร กษัตริย์สมัยนครวัด เป็นผู้สร้าง ดังนั้นจึงต้องเป็นของกัมพูชา
                             - แผนที่ตามคำฟ้องของกัมพูชาชุดดังกล่าวพิมพ์ขึ้นตามสนธิสัญญา ปี ค.ศ.๑๙๐๔ (พ.ศ.๒๔๔๗) และแก้ไขตามสนธิสัญญา ปี ค.ศ.๑๙๐๗ (พ.ศ.๒๔๕๐) ซึ่งแสดงเขตแดนปัจจุบันของไทย กัมพูชา และลาว
                             - การกำหนดเขตแดนตามสนธิสัญญา ใช้สันปันน้ำเป็นเส้นเขตแดน แต่สันปันน้ำไม่ใช่เส้นเขตแดนตามธรรมชาติ ที่เห็นได้ด้วยตาจึงต้องกำหนดเขตแดนที่แน่ชัดไว้บนแผนที่
                             - การพิมพ์แผนที่ตามคำฟ้องหมายเลข ๑ นั้น หัวหน้าคณะกรรมการปักปันเขตแดนฝ่ายฝรั่งเศสร่วมกับหัวหน้าคณะกรรมการปักปันเขตแดนฝ่ายไทยเป็นคณะกรรมการผสมตามสนธิสัญญาสยาม - ฝรั่งเศส ปี พ.ศ.๑๙๐๔ (พ.ศ.๒๔๔๗) พิมพ์เสร็จในเดือนพฤษภาคม ค.ศ.๑๙๐๘ (พ.ศ.๒๔๕๑) และได้กันแผนที่ ๕๐ ชุด ไปให้รัฐบาลสยาม และอีก ๑๙ ชุด ให้คณะกรรมการทั้งสองฝ่ายอีก ๑๕ ชุด ไปแจกจ่ายตามหัวเมืองต่าง ๆ ฝ่ายไทยไม่ได้แสดงเอกสารใด ๆ ที่แสดงความสงสัยในความถูกต้องแท้จริง
                   ๒.๒.๘ กัมพูชาขอให้ศาลพิจารณาตัดสินให้ คือ                              - ยกคำให้การของประเทศไทย รวมทั้งเหตุผลอย่างอื่นที่จะยกมาภายหลังด้วย                              - ขอให้ศาลพิจารณาว่า ไทยต้องถอนทหารออกไปจากเขาพระวิหารและอธิปไตยทางดินแดนที่ปราสาทพระวิหารตั้งอยู่เป็นของกัมพูชา
                   ๒.๒.๙ ฝ่ายไทยได้เสนอคำท้วงติง คือ
                              - ฝ่ายไทยได้ชี้ชัดให้เห็นแล้วว่า แผนที่หมายเลข ๑ นั้น ฝรั่งเศสเป็นผู้ทำฝ่ายเดียว และเส้นเขตแดนที่ปรากฏตามโครงวาดดังกล่าว ไม่อาจนำมาใช้ผูกพันแทนสนธิสัญญาได้
                              - ปัญหาเชื้อชาติที่กัมพูชาอ้างนั้นปัจจุบันก็ยังมีคนเขมรมากมายในเขตไทย และคนเขมรเหล่านั้นล้วนแต่เป็นพลเมืองไทย
                              - ตัวปราสาทพระวิหารที่กัมพูชาอ้างว่าเป็นฝีมือของชาวขอมเช่นเดียวกับปราสาทนครวัด ดังนั้น จึงต้องเป็นของกัมพูชานั้นอารยธรรมของขอม ได้แพร่เข้ามายังประเทศไทยอีกมากมาย เช่น ปราสาท หินพิมาย ปราสาทหินที่ลพบุรี เป็นต้น การอ้างดังกล่าว จึงไม่เป็นการถูกต้อง
                              - ฝ่ายไทยได้สรุปที่มาของแผนที่ ประกอบคำฟ้องหมายเลข ๑ อีกมากที่จะชี้ให้เห็นว่า เป็นแผนที่ที่ฝรั่งเศส ทำแต่ฝ่ายเดียว
                              - ตามที่กัมพูชาอ้างแผนที่กรมแผนที่ทหารบกทำนั้นฝ่ายไทยได้เสนอหลักฐานว่า กัมพูชาบิดเบือนความจริงที่ถูกต้อง แผนที่ดังกล่าวสำรวจในปี ค.ศ.๑๙๓๔ (พ.ศ.๒๔๗๗) ได้แสดงว่าปราสาทพระวิหารอยู่ในเขตไทย
                              - ฝ่ายไทยได้เสนอแผนที่ทันสมัยที่เขียนจากรูปถ่ายทางอากาศ ซึ่งได้รับการรับรองจาก ศาสตราจารย์ สเกมา ฮอน คณบดีศูนย์ฝึกการสำรวจทางอากาศระหว่างประเทศ ณ เมืองเดลฟท์ ว่าแนวสันปันน้ำอยู่ทางทิศใต้ของปราสาทพระวิหาร
                              - สรุปแล้ว ประเด็นที่ใช้ในการตัดสินคดีปราสาทพระวิหารเหลือประเด็นเดียว ที่มีผลตามกฎหมายระหว่างประเทศ คือ สนธิสัญญา ค.ศ.๑๙๐๔ (พ.ศ.๒๔๔๗) และ ค.ศ.๑๙๐๗ (พ.ศ.๒๔๕๐) ที่กำหนดไว้ว่า "จากจุดบนภูเขาพนมดงรักที่ว่านี้ไป เส้นเขตดินแดนตามสันปันน้ำ ............"
                   ๒.๒.๑๐ คำตัดสินของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ เมื่อ ๑๕ มิ.ย.๐๕ ได้ตัดสินโดยการลงคะแนน ดังนี้
                              - เก้าเสียง ต่อสามเสียง ลงความเห็นว่าปราสาทพระวิหารอยู่ในอาณาเขตภายใต้อธิปไตยของกัมพูชา
                              - เก้าเสียง ต่อสามเสียง ลงความเห็นว่า ไทยต้องถอนทหารและตำรวจที่ประจำอยู่ที่ปราสาทพระวิหารออกให้พ้นเขตกัมพูชา
                              - เจ็ดเสียง ต่อห้าเสียง ให้ไทยคืนวัตถุโบราณต่าง ๆที่โยกย้ายไปจากปราสาทพระวิหารให้กัมพูชา
                              - มีสามเสียง ที่มีความเห็นแย้งคือ นายมอเรโน กินตานา ชาวอาร์เจนตินา นายเวลลิงตัน คู ชาวจีน (ไต้หวัน) และเซอร์ เพอซี เสปนเดอร์ ชาวออสเตรเลีย
                   ๒.๒.๑๑ ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศไม่ได้ระบุในคำตัดสินถึงแนวเส้นเขตแดนที่ถูกต้อง แน่ชัดในพื้นที่ดังกล่าว เพราะแม้ศาลโลกได้สรุปว่า ต้องใช้แผนที่คณะกรรมการปักปันเขตแดนสยาม - อินโดจีน ฝรั่งเศส มาตราส่วน ๑ : ๒๐๐,๐๐๐ เป็นเหตุผลในการวินิจฉัย แต่ศาลก็ชี้ชัดว่า ข้อเรียกร้องของกัมพูชาที่ขอให้ศาลประกาศนิติฐานะของเส้นเขตแดน ตามแผนที่ดังกล่าวนั้น ศาลสามารถพิจารณาให้ได้เฉพาะในขอบเขตที่เป็นเครื่องแสดงเหตุผลเท่านั้น และไม่ใช้ฐานเป็นข้อเรียกร้องที่จะตัดสินให้ในข้อบทปฏิบัติการของคำพิพากษา
           ๒.๓ การปฏิบัติของรัฐบาลไทย
                   ๒.๓.๑ รัฐบาลไทยได้แถลงว่า ไม่เห็นด้วยกับคำพิพากษาดังกล่าว แต่ในฐานะประเทศสมาชิกขององค์การสหประชาชาติ ไทยก็จะปฏิบัติตามพันธกรณีต่างๆ อันเป็นผลมาจากคำพิพากษาตามข้อ ๙๔ ของกฎบัตรสหประชาชาติ โดยมติคณะรัฐมนตรี เมื่อ ๑๐ ก.ค.๐๕ รัฐบาลไทยได้คืนตัวปราสาทพระวิหารให้แก่กัมพูชา โดยกำหนดขอบเขตพื้นที่ที่คืนให้แก่ฝ่ายกัมพูชาทางทิศเหนือที่ระยะ ๒๐ เมตร จากบันไดนาค ไปทางทิศตะวันออกจนถึงช่องบันไดหัก และทิศตะวันตกที่ระยะ ๑๐๐ เมตร จากแกนของตัวปราสาทไปทางทิศใต้ จนจรดขอบหน้าผา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทยได้แจ้งการปฏิบัติตามคำพิพากษาดังกล่าว แก่เลขาธิการสหประชาชาติ เมื่อ ๑๓ ก.ค.๐๕ และยึดถือเขตแดนบริเวณนี้ ตามที่กำหนดข้างต้นตลอดมา
                   ๒.๓.๒ ข้อสงวนของรัฐบาลไทย ในหนังสือถึงเลขาธิการสหประชาชาติดังกล่าวได้แจ้งด้วยว่าไทยขอตั้งข้อสงวนสิทธิใด ๆ ที่ประเทศไทยมีหรืออาจจะมีในอนาคต เพื่อเอาปราสาทพระวิหารกลับคืนมา โดยอาศัยกระบวนการกฎหมายที่มีอยู่ หรือที่จะพึงนำมาใช้ได้ในภายหลัง และตั้งข้อประท้วงต่อคำพิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศที่ตัดสินให้ปราสาทพระวิหารเป็นของกัมพูชา
                   ข้อสงวนที่รัฐบาลไทยได้ตั้งไว้มีขอบเขตกว้างขวางครอบคลุมถึงธรรมนูญศาลทั้งหมด รวมทั้ง ข้อ ๖๐ ซึ่งไม่มีการจำกัดเวลา ๑๐ ปี เช่นข้อ ๖๑ นอกจากนั้นยังคลุมถึงกฎบัตรสหประชาชาติทั้งฉบับ โดยเฉพาะข้อ ๓๓ ที่เปิดโอกาสให้คู่กรณีแสวงหาช่องทาง ระงับกรณีพิพาทโดยสันติวิธี เช่น อนุญาโตตุลาการ คณะกรรมการไกล่เกลี่ย ฯลฯ
           ๒.๔ การสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบก ระหว่างไทย - กัมพูชา
                   ๒.๔.๑ ลักษณะแนวเขตแดนทางบกไทย – กัมพูชา แนวเขตแดนตลอดแนว มีความยาวประมาณ ๗๙๘ กิโลเมตร แบ่งเป็นตามแนวเส้นตรงประมาณ ๕๘ กิโลเมตร ตามแนวลำน้ำประมาณ ๒๑๖ กิโลเมตร และตามแนวสันปันน้ำประมาณ ๕๒๐ กิโลเมตร แบ่งออกเป็น
                   - เริ่มตั้งแต่จุดร่วมเขตแดนสามประเทศคือไทย - กัมพูชา - ลาว บริเวณช่องบก จังหวัดอุบลราชธานีไปตามทิวเขาพนมดงรักผ่านจังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดสุรินทร์จนถึงรอยต่อจังหวัดบุรีรัมย์กับจังหวัดสระแก้ว (บริเวณหลักเขตแดนที่ ๒๘) เขตแดนใช้แนวสันปันน้ำของทิวเขาพนมดงรักเป็นเส้นเขตแดน รวมความยาวประมาณ ๓๖๔ กิโลเมตร
                   - เริ่มตั้งแต่หลักเขตแดนที่ ๑๘ เส้นเขตแดนไปตามลำคลองสลับกับแนวเส้นตรงไปจนถึงต้นน้ำของทิวเขาบรรทัดทอง (ใกล้หลักเขตที่ ๖๘) ผ่านจังหวัดสระแก้วและจังหวัดจันทบุรี รวมความยาวประมาณ ๒๗๓ กิโลเมตร
                   - เริ่มตั้งแต่ต้นน้ำคลองน้ำใส (รอยต่อจังหวัดจันทบุรีกับจังหวัดตราด)เส้นเขตแดนไปตามแนวสันปันน้ำของทิวเขาบรรทัดในเขตจังหวัดตราดผ่านหลักเขตแดนที่ ๖๙ ไปจนถึงหลักเขตแดนที่ ๗๒ ความยาวประมาณ ๑๖๐ กิโลเมตร และจากหลักเขตแดนที่ ๗๒ เขตแดนเป็นเส้นตรงจนถึงหลักเขตแดนที่ ๗๓ อำเภอ คลองใหญ่ จังหวัดตราด ความยาวประมาณ ๑ กิโลเมตร
                   ๒.๔.๒ การปักปันเขตแดนไทย - กัมพูชา ในอดีต เขตแดนไทย - กัมพูชา ได้เคยมีการปักปันเขตแดนร่วมกันในภูมิประเทศ โดยมีหลักฐานทางกฎหมายที่ผูกพันมาถึงปัจจุบัน ดังนี้
                   - อนุสัญญา ระหว่างสยามกับฝรั่งเศสแก้ไขเพิ่มเติมข้อบทสนธิสัญญา ฉบับลงวันที่ ๓ ตุลาคม ร.ศ.๑๑๒ (ค.ศ.๑๘๙๓ หรือ พ.ศ.๒๔๓๖) ว่าด้วยดินแดนกับข้อตกลงอื่น ๆ ลงนาม ณ กรุงปารีส เมื่อวันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ ร.ศ.๑๒๒ (ค.ศ.๑๙๐๔ หรือพ.ศ.๒๔๔๗)
                   - สนธิสัญญา ระหว่างสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินสยามกับประธานาธิบดีฝรั่งเศส ฉบับลงนาม ณ กรุงเทพ ฯ เมื่อวันที่ ๒๓ มีนาคม ร.ศ.๑๒๕ (ค.ศ.๑๙๐๗ หรือ พ.ศ.๒๔๕๐) กับพิธีสารว่าด้วยการปักปันเขตแดนแนบท้ายสนธิสัญญา ลงวันที่ ๒๓ มีนาคม ร.ศ.๑๒๕
                   -แผนที่ ที่จัดทำตามผลงานการปักปันเขตแดนของคณะกรรมการปักปันเขตแดนระหว่างสยามกับอินโดจีน มาตราส่วน ๑ : ๒๐๐,๐๐๐ จำนวนเจ็ดระวาง ซึ่งจัดทำขึ้นตามอนุสัญญา ฉบับปี ค.ศ.๑๙๐๔ (พ.ศ.๒๔๔๗) สองระวาง และสนธิสัญญา ฉบับปี พ.ศ.๑๙๐๗ (พ.ศ.๒๔๕๐) ห้าระวาง และเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้องกับการบังคับใช้อนุสัญญา ฉบับปี ค.ศ.๑๙๐๔ (พ.ศ.๒๔๔๗) และสนธิสัญญา ฉบับปี ค.ศ.๑๙๐๗ (พ.ศ.๒๔๕๐) ระหว่างสยามกับฝรั่งเศส
                   - หลักเขตแดน ได้มีการจัดทำหลักเขตแดนในภูมิประเทศร่วมกันให้เป็นไปตามสนธิสัญญา ฉบับปี ค.ศ.๑๙๐๗ (พ.ศ.๒๔๕๐) เมื่อปี พ.ศ.๒๔๕๐ ลักษณะของเขตแดนเป็นหลักไม้โดยเริ่มปักตั้งแต่ช่องสะงำ อำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ (รอยต่อระหว่างจังหวัดสุรินทร์กับจังหวัดศรีสะเกษ เป็นหลักเขตแดนที่ ๑ ไปตามสันปันน้ำของทิวเขาพนมดงรักไปจนถึงอำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด ซึ่งเป็นหลักเขตแดนที่ ๗๓ รวมปักปันเขตแดนจำนวน ๗๓ หลัก และหลักเขตแดนย่อยอีก ๒ หลัก (เสริมระหว่างหลัก ๒๒ และ ๒๓) ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๖๑ ทั้งสองฝ่ายได้สร้างหลักเขตแดนใหม่หมดเป็นคอนกรีตทั้ง ๗๓ หลัก แต่ไม่ได้สร้างตรงตำแหน่งเดิมมีการขยับไปตำแหน่งใกล้เคียงที่เหมาะสมและได้ทำบันทึกวาจาการปักหลักหมายเขตแดน (Proces - Verbal ) ของแต่ละหลักเขตไว้ด้วย
                   ๒.๔.๓ การสำรวจและจัดทำเขตแดนทางบกร่วมไทย - กัมพูชา ไทย- กัมพูชา ได้ร่วมลงนามในบันทึกความเข้าใจ ( Memorandum of Understanding ) ว่าด้วยการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบก เมื่อ ๑๔ มิ.ย.๔๓ ให้มีการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบกตลอดแนวร่วมกันให้เป็นไปตามหลักฐานทางกฎหมายที่ผูกพันมาในอดีตทั้งสองฝ่ายได้ตกลงให้มีการดำเนินการดังนี้
                   - แต่งตั้งคณะกรรมาธิการร่วม (Joint Boundary Commission JBC ) ฝ่ายไทยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และฝ่ายกัมพูชามีนายวาร์ คิม ฮอง เป็นประธาน เพื่อรับผิดชอบให้การสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนให้เป็นไปตามหลักฐานทางกฎหมาย
                   - แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเทคนิคร่วมไทย - กัมพูชา (Joint Technical Sub - Commission JTSC ) ฝ่ายไทยมีเจ้ากรมแผนที่ทหารฝ่ายกัมพูชามีนายลอง วิสาโล เป็นประธาน เพื่อรับผิดชอบในแนวการปฏิบัติงานของคณะ JBC จัดทำแผนแม่บทและข้อกำหนดอำนาจหน้าที่ในการสำรวจ และจัดทำหลักเขตแดน (Term of Reference : TOR ) เพื่อใช้เป็นกรอบทางเทคนิคในการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนในครั้งนี้
                   ๒.๔.๔ ขั้นตอนการสำรวจ มีอยู่ ๕ ขั้นตอนด้วยกันคือ
                   - ขั้นตอนที่ ๑ ค้นหาที่ตั้งหลักเขตแดนทั้ง ๗๓ หลัก เมื่อตกลงที่ตั้งของแต่ละหลักได้แล้ว จะทำการซ่อมแซมในกรณีที่ชำรุด และสร้างขึ้นใหม่ในกรณีที่สูญหายหรือถูกเคลื่อนย้าย
                   - ขั้นตอนที่ ๒ จัดแผนที่ภาพถ่าย (Orthophoto Map ) เป็นการทำแผนที่ภาพถ่ายแสดงลักษณะภูมิประเทศตามแนวเขตแดนทางบกตลอดแนว โดยใช้ภาพถ่ายทางอากาศ ภาพดาวเทียม เพื่อช่วยในการสำรวจตามแนวเขตแดนในภูมิประเทศ โดยอาจจะใช้เวลาจัดทำประมาณหนึ่งปี โดยการจ้างประเทศที่สาม
                   - ขั้นตอนที่ ๓ กำหนดแนวที่เดินสำรวจลงบนแผนที่ภาพถ่ายทั้งสองฝ่ายจะร่วมกันกำหนดแนวทางในการเดินสำรวจตามหลักฐานทางกฎหมายลงบนแผนที่ภาพถ่าย เพื่อเป็นแนวทางในการเดินสำรวจหาแนวเขตแดนจริงในภูมิประเทศ ให้สะดวกรวดเร็ว และมีความถูกต้อง
                   - ขั้นตอนที่ ๔ เดินสำรวจตามแนวเขตแดนในภูมิประเทศทั้งสองฝ่ายจะร่วมกันเดินสำรวจในภูมิประเทศจริง เพื่อกำหนดแนวเขตแดน โดยใช้แผนที่ภาพถ่ายที่เป็นตัวช่วยแบ่งเป็นตามสันปันน้ำ ตามลำคลอง และเป็นเส้นตรง พร้อมทั้งกำหนดจุดที่จะก่อสร้างเขตแดนไปด้วย (ทุกระยะ ๕ กม.โดยประมาณ)
                   - ขั้นตอนที่ ๕ สร้างหลักเขตแดน โดยแบ่งตามลักษณะของแนวเขตแดนคือ ส่วนที่เป็นสันปันน้ำ สร้างหลักบนสันปันน้ำ ส่วนที่เป็นลำคลองสร้างหลักบนตลิ่งของลำคลองส่วนเป็นที่เป็นเส้นตรง สร้างหลักตามแนวเส้นตรง
                   ๒.๔.๕ ลำดับพื้นที่การสำรวจร่วมไทย - กัมพูชา
                              - ตอนที่ ๔ เริ่มจากหลักเขตแดนที่ ๔๙ - ๒๓
                              - ตอนที่ ๓ เริ่มจากหลักเขตแดนที่ ๕๐ - ๖๖
                              - ตอนที่ ๒ เริ่มจากหลักเขตแดนที่ ๖๗ - ๗๑
                              - ตอนที่ ๕ เริ่มจากหลักเขตแดนที่ ๗๒ - ๗๓
                              - ตอนที่ ๖ เริ่มจากหลักเขตแดนที่ ๑ ถึง เขาสัดตะโสม
                              - ตอนที่ ๗ เริ่มจากเขาสัตตะโสม ถึงช่องบก
           ๒.๕ เขตแดนระหว่างประเทศ
                    ๒.๕.๑ นิยามศัพท์
                              - เขตแดน ( Boundary ) มีความหมายเป็นสามนัยคือ ขอบเขตเส้นแบ่งเขตและเขตแดนระหว่างประเทศ ในความหมายของเขตแดนระหว่างประเทศหมายถึง เส้นที่สมมุติขึ้นโดยประเทศทวิภาคี เพื่อกำหนดเป็นขอบเขตให้รู้ว่าอำนาจอธิปไตยของตนมาสิ้นสุดที่เส้นนี้ เส้นสมมุติดังกล่าวอาจเขียนขึ้นบนแผนที่ หรือแสดงด้วยถ้อยคำเป็นลายลักษณ์อักษรก็ได้ จะแสดงหลักฐานบนพื้นดิน เช่น ปักหลักเขตแดนด้วยหรือไม่ก็ได้
                              - แนวพรมแดน ( Frontier) เป็นพื้นที่คาบเกี่ยวของสองประเทศไปตามเส้นเขตแดนระหว่างประเทศไม่มีข้อกำหนดว่า จะลึกเข้าไปด้านละเท่าไร
                              - ชายแดน ( Border ) คือพื้นที่ที่ซึ่งนับจากเส้นเขตแดนระหว่างประเทศเข้าไปในดินแดนของประเทศใดประเทศหนึ่ง ไม่มีข้อกำหนดว่าจะลึกเข้าไปเท่าใด
                              - ดินแดน ( Territorial ) คือพื้นที่ของประเทศใดประเทศหนึ่ง ซึ่งถูกกำหนดขึ้นด้วยเส้นเขตแดนระหว่างประเทศ ผู้มีอำนาจปกครองมีอธิปไตยเหนือดินแดนนั้น ทุกประการ
                              - เส้นปันน้ำ ( Watershed ) คือลักษณะของพื้นดินที่สูงกว่าบริเวณอื่นที่ต่อเนื่องกันเมื่อฝนตกจะแบ่งน้ำออกเป็นสองส่วน เช่น สันเขาที่ต่อเนื่องกันโดยไม่มีลำน้ำตัดผ่าน
                              - สันเขา ( Ridge ) คือ ลักษณะของทิวเขาในส่วนที่สูงที่สุดซึ่งยาวต่อกันเป็นพืด จะขาดตอนเป็นช่วง ๆ หรือต่อกันเป็นพืดยาวก็ได้ถ้าต่อเป็นพืดยาวจะเรียกว่า สันปันน้ำ
                              - ร่องน้ำลึก ( Thalweg) เป็นภาษาฝรั่งเศส ส่วนภาษาอังกฤษใช้คำว่า Deepest water chanel คือ ร่องน้ำลึกที่สุดและต่อเนื่องกันในท้องน้ำ
                              - กลางลำน้ำ ( Mid river ) คือจุดกลางของแนวที่ลากจากฝั่งลำน้ำหนึ่ง มายังอีกฝั่งหนึ่งในลักษณะที่ทำมุมกับฝั่งใกล้เคียงมุมฉากมากที่สุด
                              - การเปลี่ยนทางเดินของลำน้ำอย่างฉับพลัน ( Avulsion ) คือการที่ลำน้ำที่ใช้เป็นเส้นเขตแดนเปลี่ยนร่องน้ำไปจากเดิมในลักษณะคุ้งน้ำถูกตัดขาดหรือช่วงใดช่วงหนึ่งของลำน้ำเปลี่ยนไปจากเดิมอย่างฉับพลันในช่วงน้ำหลากในฤดูเดียว ลักษณะเช่นนี้ เส้นเขตแดนยังไม่เปลี่ยนแปลง
                              - การเปลี่ยนทางเดินแบบค่อยเป็นค่อยไป ( Erosion ) คือการที่ลำน้ำที่ใช้เป็นเส้นเขตแดน เปลี่ยนร่องน้ำไปจากเดิมในลักษณะน้ำกัดเซาะฝั่งให้พังทลายไปทีละเล็กละน้อย ถ้าประเทศเจ้าของชายฝั่งไม่ทำการอนุรักษ์ฝั่งสภาพเส้นเขตแดนก็เป็นไปตามลำน้ำที่ปรากฏในปัจจุบัน
                              - หลักเขตแดน ( Boundary Pillar ) คือสิ่งที่แสดงไว้บนเส้นเขตแดน ในลักษณะเป็นหลัก โดยเจ้าหน้าที่ของประเทศทั้งสองได้รับมอบหมายให้ทำขึ้นเพื่อแสดงให้รู้ว่าเส้นเขตแดนอยู่ตรงไหน
                              - หลักอ้างอิงเขตแดน ( Boundary Reference ) คือหลักในลักษณะของหลักเขตแดน แต่ไม่ได้ปักไว้บนเส้นเขตแดนแต่สามารถใช้อ้างอิงให้รู้ว่า เส้นเขตแดนอยู่ตรงไหน
                   ๒.๕.๒ วิธีกำหนดเส้นเขตแดน
                              - เส้นเขตแดนที่ยอมรับกันโดยพฤตินัย ( Non Agreement Boundary ) คือ เส้นเขตแดนระหว่างประเทศสองประเทศที่เกิดขึ้นและยอมรับโดยพฤตินัย ประเทศคู่ภาคีไม่เคยมีการทำความตกลงอย่างเป็นทางการระหว่างกันเจ้าหน้าที่และราษฎรในท้องถิ่นเท่านั้น จะรู้ว่าเส้นเขตแดนของตนอยู่ที่ใด
                              - เส้นเขตแดนที่กำหนดอย่างเป็นทางการ ( Agreement Boundary ) คือ เส้นเขตแดนที่ทวิภาคี ที่มีดินแดนต่อเนื่องทำความตกลงกันอย่างเป็นทางการ ซึ่งมีความตกลงนั้นจะทำในรูปของเอกสารประกอบข้อตกลง เส้นแสดงเขตแดนบนแผนที่ ( Boundary on Map) และสร้างหลักเขตไว้ในภูมิประเทศ ( Boundary Pillars on Terrain Feature ) การกำหนดเขตแดนเป็นทางการนี้ผู้แทนที่ได้รับมอบอำนาจเต็มจากรัฐบาลจะต้องมีการแลกเปลี่ยนหนังสือมอบอำนาจ ( Credentials ) ก่อนจึงจะมีอำนาจในการลงนามในเอกสาร หรือแผนที่ดังกล่าว แต่ยังไม่มีผลสมบูรณ์ตามกฎหมายระหว่างประเทศจนกว่ารัฐบาลทั้งสองฝ่ายจะมีการแลกเปลี่ยนสัตยาบัน ( Ratify ) กันอีกครั้งหนึ่ง
                   ๒.๕.๓ หลักนิยมในการกำหนดเขตแดนบนพื้นดิน
                              - ใช้สิ่งกีดขวางตามธรรมชาติ ( Natural Barrier ) ได้แก่ แม่น้ำ ลำคลอง ลำห้วย โดยมีหลักนิยมว่า ถ้าเรือเดินได้นิยมใช้ร่องน้ำลึก ถ้าเรือเดินไม่ได้ อาจใช้กลางลำน้ำ หรือร่องน้ำลึกก็ได้ หรือตามแต่จะตกลงกัน
                              - กำหนดโดยสภาพสังคม เช่น มีการแบ่งเขตแดนกันตามเผ่าพันธุ์ของประชาชน ที่ครอบครองพื้นที่เหล่านั้นอยู่
                              - กำหนดโดยใช้คณิตศาสตร์ เป็นการขีดเส้นเขตแดนเป็นเส้นตรงตามค่าพิกัดภูมิศาสตร์ ซึ่งได้แก่ค่าเส้นรุ้ง (Latitude ) และเส้นแวง (Longitude )
           ๒.๖ องค์กรระหว่างประเทศ ไทย - กัมพูชา ในการแก้ปัญหาชายแดน
                   ๒.๖.๑ คณะกรรมาธิการร่วมไทย - กัมพูชา (Thai Cambodian Joint Commission JC ) มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศทั้งสองฝ่ายเป็นประธานร่วม ฝ่ายไทยมีอธิบดีกรมเอเซียตะวันออกเป็นเลขานุการ มีภารกิจในการแก้ปัญหาระหว่างไทยกับกัมพูชาทุกเรื่อง ยกเว้นด้านความมั่นคง
                   ๒.๖.๒ คณะกรรมาธิการชายแดนไทยร่วมไทย - กัมพูชา ( Thai Cambodian Joint Boundary Commission JBC )ไทยมีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศเป็นประธานร่วมกับที่ปรึกษารัฐบาลรับผิดชอบกิจการชายแดนของกัมพูชา ฝ่ายไทยมีอธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมายเป็นเลขานุการรับผิดชอบในการกำหนดแนวทางในการสำรวจจัดหาทำหลักเขตแดนไทย – กัมพูชาทางบก
                   ๒.๖.๓ คณะกรรมการชายแดนทั่วไป (General Border Committee GBC ) มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมทั้งสองฝ่ายเป็นประธานกรรมการร่วม ฝ่ายไทยมีเจ้ากรมยุทธการทหาร เป็นเลขานุการ
                   ๒.๖.๔ คณะกรรมการร่วมมือรักษาความสงบเรียบร้อยบริเวณชายแดนไทย – กัมพูชา ฝ่ายไทยมี ผู้บัญชาการทหารสูงสุดเป็นประธานร่วมกับประธานคณะเสนาธิการกองทัพอากาศแห่งชาติกัมพูชาเป็นประธานฝ่ายกัมพูชา ฝ่ายไทยมีหัวหน้าศูนย์อำนวยการร่วม บก.ทหารสูงสุดเป็นเลขานุการ
                   ๒.๖.๕ คณะกรรมการชายแดนส่วนภูมิภาคด้านกองทัพภาค ๑ ของไทยและภูมิภาคทหารที่ ๕ ของกัมพูชา ฝ่ายไทยมีแม่ทัพภาคที่ ๑ เป็นประธานร่วมกับผู้บัญชาภาคทหารที่ ๕ เป็นประธานฝ่ายกัมพูชา ฝ่ายไทยมีเสนาธิการกองทัพภาคที่ ๑ เป็นเลขานุการ
                   ๒.๖.๖ คณะกรรมการชายแดนส่วนภูมิภาคด้านกองทัพภาคที่ ๒ ของไทยและภูมิภาคทหารที่ ๔ ของกัมพูชา ฝ่ายไทยมีแม่ทัพภาคที่ ๒ เป็นประธาน ฝ่ายกัมพูชามีผุ้บัญชาการภาคทหารที่ ๔ เป็นประธาน ฝ่ายไทยมีเสนาธิการกองทัพภาคที่ ๒ เป็นเลขานุการ
                   ๒.๖.๗ คณะกรรมการชายแดนส่วนภูมิภาคด้านกองบัญชาการป้องกันชายแดนจันทบุรี – ตราด ของไทย กับด้านภูมิภาคทหารที่ ๓ ของกัมพูชา ฝ่ายไทยมีผู้บัญชาการป้องกันชายแดนจันทบุรี - ตราด เป็นประธานร่วมกับผู้บัญชาการภาคทหารที่ ๓ ของกัมพูชา ฝ่ายไทยมีเสนาธิการกองบัญชาการป้องกันชายแดนจันทบุรี - ตราด เป็นเลขานุการ
 

http://heritage.mod....e/prawihan3.htm


Tam-mic-ra ฟันธง!  คำว่า "โดนพริกไทยมั๊ง" น่ะ แค่นี่เอามาเป็นหลักฐาน ได้ยังไงครับ .....  คิดครับคิด  :lol:   จากกระทู้แก้ข่าวหน้า 2 qoute #96  ใครยิงวสันต์-ภู่ทอง   แอลพีจีทำมาจากซี2ซี3


#6 Stargate-1

Stargate-1

    SG-1

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,578 posts

ตอบ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 - 17:16

 “ไพศาล” ชี้เขมรฟ้องไทยต่อศาลโลกไม่ได้เพราะสละสิทธิ์มานานแล้ว

 

    นายไพศาล พืชมงคล อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เปิดเผยต่อสื่อมวลชนสนับสนุนท่าทีของนายกรัฐมนตรีว่า เขมรฟ้องประเทศไทยต่อศาลโลกไม่ได้ และเขมรได้สละสิทธิ์ในที่ดินรอบพระวิหารมาตั้งแต่ฟ้องคดีก่อนแล้ว 

     นายไพศาล พืชมงคล กล่าวว่าขณะนี้นายฮวยเซ็งเหมือนสุนัขบ้า อาละวาดและพล่ามไปทั่ว จนชาวโลกเขาหัวเราะเยาะว่าทำไมกัมพูชาจึงมีผู้นำเป็นคนอย่างนี้ การขู่ว่าจะฟ้องประเทศไทยต่อศาลโลกเพื่อเรียกพื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตร รอบปราสาทพระวิหารนั้นเป็นเรื่องที่ทำไม่ได้ด้วยเหตุสองประการ 

     ประการแรก การจะฟ้องคดีต่อศาลโลกได้ต้องเป็นเรื่องที่คู่ความทั้งสองฝ่ายยินยอม ซึ่งเชื่อว่าประเทศไทยจะไม่ยอมรับหมาย และไม่ยอมรับให้คดีขึ้นสู่ศาลโลก เพราะเป็นศาลการเมือง ซึ่งขณะนี้มีการติดสินบนกันล่วงหน้า โดยเอาผลประโยชน์ในอ่าวไทยไปให้สัมปทานกับหลายชาติแล้ว เมื่อไทยไม่ยอมรับศาลโลกก็ไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษา 

     ประการที่สอง ในการฟ้องเรียกปราสาทพระวิหารในอดีตนั้น เขมรได้ฟ้องเรียกเฉพาะตัวปราสาทว่าเป็นของเขมร ในระหว่างนั้นก็ได้ยื่นคำร้องขอเพิ่มเติมคำฟ้องเพื่อเรียกเอาที่ดินอันเป็นที่ตั้งตัวปราสาทและโดยรอบด้วย ศาลโลกส่งสำเนาคำขอแก้ฟ้องให้รัฐบาลไทย ซึ่งในยุคนั้นจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรีได้มอบให้พระยาอรรถการีนิพนธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม รับผิดชอบพิจารณาเรื่องนี้ พระยาอรรถการีนิพนธ์ ได้ปรึกษากับนายบุศย์ ขันธวิทย์ อดีตประธานกรรมการของบริษัท ธรรมนิติ มีความเห็นพ้องต้องกันว่าไม่ยอมให้เขมรแก้ฟ้อง จึงคัดค้าน ศาลโลกจึงมีคำสั่งไม่อนุญาตให้เขมรเพิ่มเติมคำฟ้อง จึงเป็นเหตุให้คดีพิพาทกันเฉพาะตัวปราสาทพระวิหาร ส่วนที่ดินอันเป็นที่ตั้งและโดยรอบปราสาทพระวิหารนั้นเมื่อศาลโลกไม่อนุญาตให้เพิ่มเติมฟ้อง เขมรก็ยอมรับคำสั่งศาล จึงถือได้ว่าเขมรได้สละสิทธิ์และที่ดินอันเป็นที่ตั้งรวมทั้งบริเวณโดยรอบยังเป็นของประเทศไทยโดยสมบูรณ์ หลักฐานพวกนี้ยังมีอยู่ และบันทึกการปรึกษาเรื่องนี้ก็ยังมีลงพิมพ์ไว้ในหนังสืองานศพนายบุศย์ ขันธวิทย์ เมื่อเขมรไม่มีสิทธิ์แล้วก็ฟ้องไม่ได้ 

      นายไพศาล พืชมงคล ได้กล่าวสนับสนุนท่าทีของนายกรัฐมนตรีในการพิทักษ์รักษาอธิปไตยของประเทศ และพิทักษ์ศักดิ์ศรีเกียรติภูมิของชาติไทย ตลอดจนพิทักษ์พระบรมเดชานุภาพของพระมหากษัตริย์ไทย ซึ่งคนไทยทุกหมู่เหล่าโดยเฉพาะทหาร ตำรวจ ข้าราชการ จะต้องสนับสนุนท่าทีดังกล่าวนี้อย่างเป็นเอกภาพทั่วประเทศ.

 

http://www.oknation....t.php?id=557514


Tam-mic-ra ฟันธง!  คำว่า "โดนพริกไทยมั๊ง" น่ะ แค่นี่เอามาเป็นหลักฐาน ได้ยังไงครับ .....  คิดครับคิด  :lol:   จากกระทู้แก้ข่าวหน้า 2 qoute #96  ใครยิงวสันต์-ภู่ทอง   แอลพีจีทำมาจากซี2ซี3


#7 Stargate-1

Stargate-1

    SG-1

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,578 posts

ตอบ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 - 17:32

รสนา โตสิตระกูล

                                                                                                 
คดีปราสาทพระวิหารสมัย 2505 คำฟ้องของกัมพูชาที่ขอให้ศาลโลกวินิจฉัย มี5ข้อ ศาลวินิจฉัยแค่ 3ข้อคือ
1) ชี้ขาดว่าพื้นที่ที่ปราสาทพระวิหารตั้งอยู่นั้นอยู่ภายใต้อธิปไตยกัมพูชา
2) ให้ไทยถอนกองกำลังจากตัวปราสาทและบริเวณที่ตั้งปราสาท
3) ให้ไทยคืนวัตถุโบราณที่หายไปจากปราสาทพระวิหาร

ส่วนคำขออีก2เรื่อง ศาลไม่รับพิจารณาคือ
1) สถานภาพของแผนที่ผนวก1 แนบท้ายฟ้อง ซึ่งคือแผนที่ 1:200,000 ที่เกี่ยวพันกับพื้นที่ 4.6 ...ตารางกิโลเมตร
2) ให้ศาลรับรองความถูกต้องของเขตแดนที่ปรากฎบนแผนที่ผนวก 1 ซึ่งถ้าศาลรับรอง เท่ากับพื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตรจะตกเป็นของกัมพูช

เมื่อคำขอ 2ข้อนี้ ศาลโลกเมื่อปี2505 ไม่รับพิจารณา ก็ต้องตกไป ไม่สามารถหยิบยกขึ้นมาอีก การที่กัมพูชาหาเหตุยื่นตีความคำพิพากษาเดิม ทั้งที่คำพิพากษานั้นผ่านมากว่า 50ปีแล้ว และไทยได้จัดการล้อมพื้นที่รอบปราสาทพระวิหาร และถอนกำลังออกพื้นที่บริเวณนั้นไปแล้ว โดยกัมพูชาไม่ได้โต้แย้งมาเกือบ 50ปี ควรถือว่าจบแล้ว แม้ไทยจะเคยประกาศสงวนสิทธิที่จะต่อสู้ เพื่อเอาปราสาทพระวิหารคืน พื้นที่ที่จะถือว่าเป็นพื้นที่ทับซ้อน ก็ต้องจำกัดอยู่แค่พื้นที่รอบปราสาทพระวิหาร ไม่ใช่พื้นที่4.6 ตารางกิโลเมตร

การที่กัมพูชาไปขอให้ศาลตีความ โดยอ้างแผนที่1:200,000 อีก จึงเป็นสิ่งที่อยู่นอกเหนืออำนาจศาลในการตีความ เพราะศาลในปี2505 ไม่รับพิจารณา และยกคำร้องเรื่องการรับรองแผนที่ (ที่ไปเกี่ยวข้องกับเขตแดน)ไปแล้ว ศาลในปัจจุบันจึงไม่มีอำนาจตีความเรื่องเขตแดนตามที่กัมพูชาต้องการ

ถ้าศาลมาตัดสินเรื่องแผนที่ ที่เกี่ยวข้องกับเขตแดน ไทยต้องไม่ยอมรับเพราะไม่ใช่การตีความเรื่องเดิมอีกต่อไป จะกลายเป็นข้อพิพาทใหม่ ซึ่งกัมพูชาไปร้องฝ่ายเดียวไม่ได้ เพราะไทยไม่ได้ยอมรับอำนาจศาลโลกที่จะมาวินิจฉัยคดีใหม่

กรณีนี้ผู้แทนไทยที่ไแถลงต่อศาล 1) ต้องสู้ในประเด็นว่า ศาลไม่มีอำนาจตีความ เพราะกัมพูชาให้ตีความในสิ่งที่ศาลไม่รับวินิจฉัยในปี 2505
2) รัฐบาลควรประกาศขอสงวนสิทธิที่จะไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลที่มาล่วงล้ำอธิปไตยเรื่องดินแดนของเรา ถ้าศาลตัดสินเกินอำนาจที่มี

การประกาศสงวนสิทธิของรัฐบาลจะเป็นการแสดงจุดยืนที่ถูกต้อง และจะทำให้ประชาชนเกิดความมั่นใจ หมดข้อสงสัยว่ารัฐบาลกำลังจะ " ล้มมวย " เพราะคำพูดของรัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศ ที่ว่า "ให้ประชาชนทำใจว่าจะแพ้ อย่างดีก็เสมอตัว" ดูเหมือนเป็นนักมวยที่ประกาศถอดใจตั้งแต่ยังไม่ได้ขึ้นชก ทำให้เกิดความหวาดระแวงว่านักมวยฝ่ายไปรับผลประโยชน์ฝั่งตรงข้าม เพื่อล้มมวยหรือเปล่า??

ถ้ารัฐบาลไม่กล้าประกาศสงวนสิทธิที่จะไม่ทำตามคำตัดสินของศาลโลก ทั้งที่เป็นสิทธิอันชอบธรรม เพราะกลัวจะถูกกล่าวหาว่าคนบ้านป่าเมืองเถื่อน จะไม่สามารถอยู่ในสังคมโลก ถ้าปฏิเสธอำนาจศาลดังที่มีคนออกมาพูดผ่านสื่อ

เพื่อให้ความประสงค์ของประชาชน เป็นหลังอิงให้รัฐบาล ขอเสนอให้รัฐบาลปรึกษาหารือกับประชาชน โดยทำ "ประชามติ " ถามประชาชนเลยว่า " จะให้รัฐบาลประกาศสงวนสิทธิไม่ทำตามคำพิพากษาของศาลโลก ในกรณีคำตัดสินนั้นมาล่วงล้ำอธิปไตยของไทย ในเขตแดน 4.6 ตารางกิโลเมตร (โดยศาลโลกไม่มีอำนาจ)หรือไม่ "

ดิฉันเชื่อว่า เสียงของประชาชนจะดังไปยังประชาคมโลก เพื่อไม่ให้เกิดการใช้อำนาจที่ไม่ถูกต้องมาปิดปากเราเหมือนที่เราเคยประสบมาจากคำพิพากษาเมื่อปี2505 อีก

การทำประชามติจะทำเกิดมติมหาชน เพื่อแก้ปัญหาความขัดแย้งระหว่างประชาชนกลุ่มต่างๆ ที่มีความเห็นต่างกัน และประชามติจะทำให้เกิดการกำหนดทิศทางที่รัฐบาล และประชาชนสามารถเดินไปร่วมกัน ต่อสู้ในทิศทางเดียวกัน และรัฐบาลก็จะหมดข้อครหาว่า ส่งสัณญาณ " ล้มมวย "

ขอฟังความเห็นจากเพื่อนมิตรทั้งหลายด้วยค่ะ
ดูเพิ่มเติม
 
 
 
 
 

Tam-mic-ra ฟันธง!  คำว่า "โดนพริกไทยมั๊ง" น่ะ แค่นี่เอามาเป็นหลักฐาน ได้ยังไงครับ .....  คิดครับคิด  :lol:   จากกระทู้แก้ข่าวหน้า 2 qoute #96  ใครยิงวสันต์-ภู่ทอง   แอลพีจีทำมาจากซี2ซี3


#8 Stargate-1

Stargate-1

    SG-1

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,578 posts

ตอบ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 - 18:57

“ณ บ้านพระอาทิตย์”
       โดย...ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
       
       ในคดีปราสาทพระวิหารที่ศาลโลกได้ตัดสินเมื่อ พ.ศ. 2505 นั้นศาลได้ตัดสินให้ปราสาทพระวิหารตั้งอยู่ในอาณาเขตภายใต้ออธิปไตยของกัมพูชา แต่มีคำถามอยู่ว่าเหตุใดศาลโลกไม่ตัดสินให้เบ็ดเสร็จเด็ดขาดในเรื่องแผนที่มาตราส่วน 1:200,000 ?
       
       เพราะถ้าตัดสินทางใดทางหนึ่งให้รู้แล้วรู้รอดความขัดแย้งคงไม่ลามมาจนถึงวันนี้
       
       บางคนอ่านจากคำพิพากษาของศาลโลกแล้ววิเคราะห์เอาเองว่า ศาลโลกไม่มีอำนาจตัดสินเรื่องเขตแดน บางคนก็วิเคราะห์ว่าเป็นเพราะกัมพูชาเพิ่งมามีคำขอให้ศาลโลกพิพากษาตัดสินในเรื่องแผนที่มาตราส่วน 1:200,000 ในภายหลัง และบางคนก็สรุปเอาอย่างสั้นๆง่ายๆว่าประเทศไทยโชคดี ฯลฯ
       
       เพื่อความกระจ่างจึงน่าจะถอดรหัสถึงการบรรยายเหตุผลหรือเบื้องหลังหาสาเหตุว่าทำไมศาลโลกไม่พิพากษาแผนที่มาตราส่วน 1:200,000
       
       ประเด็นแรกคือศาลโลกไม่ตัดสินการขยายคำฟ้องจากเดิมจริงหรือไม่?
       
       กล่าวโดยสรุปคือเริ่มแรกกัมพูชาได้ยื่นคำขอให้ศาลโลกพิพากษาเพียงแค่ 2 ข้อคือ 1.ขอให้ไทยถอนทหารออกจากตัวปราสาทและ 2. ขอให้ศาลตัดสินอำนาจอธิปไตยแห่งดินแดนเหนือปราสาทพระวิหารเป็นของกัมพูชา
       
       ต่อมาวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2505 กัมพูชาเพิ่มคำขอเป็น 4 ข้อ โดยให้พิพากษาเพิ่มเติมอีก 2 ข้อ คือ ขอให้ศาลโลกพิพากษา “เส้นเขตแดน”ตามแผนที่มาตราส่วน 1:200,000 ประการหนึ่ง และขอให้พิพากษาชี้ขาดว่ารัฐบาลไทยจะต้องส่งคืน สิ่งประติมากรรม แผ่นศิลา ส่วนปรักหังพังของอนุสาวรีย์ รูปหินทราย และเครื่องปั้นดินเผาที่ได้ถูกโยกย้ายไปจากปราสาทพระวิหาร
       
       ต่อมาวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2505 กัมพูชาเพิ่มคำขออีก 1 ข้อ คือ ขอให้ศาลพิพากษาแผนที่มาตราส่วน 1:200,000
       
       สุดท้ายศาลโลกไม่พิพากษา “เส้นเขตแดน” ตามแผนที่มาตราส่วน 1:200,000 ที่กัมพูชาเพิ่มคำขอต่อศาลโลกมาตั้งแต่วันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2505 และไม่พิพากษา “แผนที่”มาตราส่วน 1:200,000 ที่กัมพูชาเพิ่มคำขอต่อศาลโลกมาตั้งแต่วันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2505
       
       แต่ศาลโลกนอกจากจะพิพากษาใน 2 ประเด็นแรกเริ่มที่กัมพูชาร้องขอ (ตัวปราสาทพระวิหาร และ ให้ไทยถอนทหารออกจากตัวปราสาทพระวิหาร) ศาลโลกกลับพิพากษาเรื่องที่ว่ารัฐบาลไทยจะต้องส่งคืนโบราณวัตถุที่ถูกย้ายออกไปจากตัวปราสาทพระวิหารให้กับกัมพูชาด้วย ซึ่งกัมพูชาขอได้ขอต่อศาลโลก”เพิ่มเติม”เอาไว้เมื่อวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2505
       
       ดังนั้นการขอให้ศาลโลกพิพากษาชี้ขาดเพิ่มเติมในภายหลังนั้น ไม่น่าจะใช่เหตุผลที่ศาลโลกไม่พิพากษา “แผนที่” และ “เส้นเขตแดน”ตามแผนที่มาตราส่วน 1:200,000 เพราะโดยข้อเท็จจริงแล้วศาลโลกไม่ได้พิพากษาในบางประเด็นที่กัมพูชาร้องขอเพิ่มเติม แต่ศาลโลกก็ได้พิพากษาตามที่กัมพูชาร้องขอเพิ่มเติมในบางประเด็นเช่นกัน
       
       แท้ที่จริงแล้วโครงสร้างการต่อสู้คดีปราสาทพระวิหาร เมื่อ พ.ศ. 2505 นั้นมีองค์ประกอบที่หยิบยกขึ้นมาต่อสู้ 3 ประเด็น
       
       ประเด็นแรก ฝ่ายไทยหยิบยกประเด็นข้อได้เปรียบที่ว่าแผนที่มาตราส่วน 1:200,000 ไม่ใช่ผลงานการปักปันระหว่างสยามกับฝรั่งเศส เพราะถือว่าฝรั่งเศสจัดทำขึ้นฝ่ายเดียว โดยที่คณะกรรมการปักปันสยามกับฝรั่งเศสไม่ได้รับรอบความถูกต้องของแผนที่ดังกล่าว
       
       ประเด็นที่สอง ฝ่ายกัมพูชาหยิบยกประเด็นที่ว่าแผนที่มาตาราส่วน 1:200,000 นั้นฝ่ายไทยไม่เคยปฏิเสธ นิ่งเฉย ไทยจึงโดนกฎหมายปิดปากให้ถือว่ายอมรับแผนที่มาตราส่วน 1:200,000
       
       ประเด็นที่สาม ฝ่ายไทยหยิบยกในประเด็นข้อเท็จจริงของผู้เชี่ยวชาญทางวิทยาศาสตร์ ว่าสันปันน้ำอยู่ที่ขอบหน้าผา และยังปรากฏบันทึกของประธานคณะกรรมการปักปันฝ่ายฝรั่งเศสอีกด้วยว่า การสำรวจและปักปันสยามกับฝรั่งเศสนั้นเสร็จสิ้นแล้ว และบริเวณทิวเขาดงรักนั้น สันปันน้ำคือขอบหน้าผาเห็นได้ชัดเจนมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าจากตีนภูเขาดงรัก ดังนั้นแผนที่จึงมีความผิดพลาดไม่เป็นไปตามสนธิสัญญาสยามกับฝรั่งเศส และไม่เป็นไปตามที่ได้ตกลงปักปันกันระหว่างสยามกับฝรั่งเศส
       
       ผลปรากฏว่าในประเด็นแรกศาลโลกได้ยอมรับว่าแผนที่นี้ไม่ได้จัดทำขึ้นโดยคณะกรรมการปักปันสยามกับฝรั่งเศส แต่ว่าจัดทำโดยฝรั่งเศสแต่เพียงฝ่ายเดียวจริงตามที่ฝ่ายไทยได้หยิบยกขึ้นมาต่อสู้ แต่ศาลโลกเห็นว่าไทยก็นิ่งเฉยและไม่ปฏิเสธต่อแผนที่ดังกล่าวที่ฝรั่งเศสจัดทำขึ้นตามที่กัมพูชาต่อสู้เช่นกันจึงเท่ากับว่าไทยต้องยอมรับตามกฎหมายปิดปาก ศาลจึงสรุปว่าให้น้ำหนักเหตุผลประเด็นเรื่องกฎหมายปิดปากของกัมพูชามากกว่าเหตุผลของไทย


       
       คงเหลือประเด็นที่สามซึ่งฝ่ายไทยได้ต่อสู้เรื่องสันปันน้ำที่แท้จริงตามสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ตามหลักวิทยาศาสตร์ และตามผลงานการสำรวจและปักปันระหว่างสยามกับฝรั่งเศสที่ปรากฏในบันทึกรายงานของประธานการปักปันฝ่ายฝรั่งเศสนั้น ปรากฏว่าศาลโลกไม่กล่าวถึงประเด็น “สันปันน้ำที่แท้จริง” ในคำพิพากษาหลักเลยราวกับว่าไม่เคยมีเรื่องนี้เกิดขึ้น คงเหลือแต่เอาไว้ในคำพิพากษาแย้งของผู้พิพากษาหลายคนที่เห็นว่าตามหลักข้อเท็จจริงแล้วเมื่อสันปันน้ำอยู่ที่ขอบหน้าผาแล้ว ปราสาทจึงต้องอยู่ในแผ่นดินไทย ซึ่งปรากฏว่าไม่มีผู้พิพากษาในศาลโลกแม้แต่คนเดียวที่โต้แย้งในประเด็นนี้ของฝ่ายไทยได้
       
       ดังนั้นศาลโลกจึงไม่บรรยายชี้ขาดหรือโต้แย้งในคำพิพากษาหลักในประเด็นเรื่องข้อเท็จจริงในเรื่องสันปันน้ำอยู่ที่ขอบหน้าผาตามที่ฝ่ายไทยหยิบยกมาแม้แต่น้อย เพราะหากหยิบยกขึ้นมาพิจารณาหรือบรรยายเหตุผลเมื่อไรก็จะขัดแย้งอย่างรุนแรงกับกฎหมายปิดปาก ซึ่งอันที่จริงแล้วศาลโลกย่อมตระหนักว่าข้อเท็จจริงเรื่องสันปันน้ำตามสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส และผลงานการสำรวจและปักปันระหว่างสยามกับฝรั่งเศสว่าสันปันน้ำอยู่ที่ขอบหน้าผา ตลอดจนเหตุผลที่พิสูจน์ในทางวิทยาศาสตร์เรื่องสันปันน้ำที่ฝ่ายไทยหยิบยกนั้นนอกจากจะขัดแย้งอย่างรุนแรงกับกฎหมายปิดปากแล้ว ยังจะมีน้ำหนักมากกว่ากฎหมายปิดปากเสียอีก
       
       ตรงนี้นี่เองน่าจะเป็นเหตุผลสำคัญที่ศาลโลกไม่พูดถึง “สันปันน้ำที่แท้จริง” และน่าจะเป็นเหตุผลที่แท้จริงที่ทำให้ศาลโลก ไม่ตัดสินเรื่อง “แผนที่” และ “เส้นเขตแดน” ตามแผนที่มาตราส่วน 1:200,000 เพราะถ้าจะพิพากษาเรื่องแผนที่และเส้นเขตแดนตามแผนที่มาตราส่วน 1:200,000 ตามที่กัมพูชาร้องขอ ศาลโลกจะไม่มีสิทธิ์ละเว้นหรือหลีกเลี่ยงไม่พูดถึงประเด็นในเรื่อง “สันปันน้ำที่แท้จริง” ไปได้เลย
       
       ด้วยเหตุผลนี้เราจึงพบร่องรอยบางถ้อยคำในคำพิพากษาของศาลโลกในตอนท้ายว่าเหตุใดจึงไม่พิพากษา “แผนที่” และ “เส้นเขตแดน” ตามแผนที่มาตราส่วน 1:200,000 จึงไม่ใช่บทปฏิบัติการของคำพิพากษาความว่า:
       
       “คำแถลงสรุปข้อที่หนึ่งและข้อที่สองของกัมพูชาที่ขอให้ศาลพิพากษาชี้ขาดในเรื่องสภาทางกฎหมายของแผนที่ภาคผนวก 1 และในเรื่องเส้นเขตแดนในอาณาบริเวณที่พิพาท จะรับฟังได้ก็แต่เพียงในฐานที่เป็นการแสดงเหตุผล และมิใช่เป็นข้อเรียกร้องที่จะต้องกล่าวถึงในบทปฏิบัติการของคำพิพากษา ในทางตรงกันข้ามศาลเห็นว่าประเทศไทยนั้นหลังจากที่ได้แถลงข้อเรียกร้องของตนเกี่ยวกับอธิปไตยเหนือพระวิหารแล้ว ได้จำกัดการต่อสู้คดีตามคำแถลงสรุปของตนในตอนจบกระบวนพิจารณาภาควาจาอยู่แต่เพียงการโต้แย้งและปฏิเสธเพื่อลบล้างข้อต่อสู้ฝ่ายตรงข้ามเท่านั้น โดยปล่อยให้เป็นหน้าที่ของศาลที่จะเลือกหาเหตุผลที่ศาลเห็นเหมาะสมซึ่งคำพิพากษาอาศัยเป็นมูลฐาน”
       
       ความหมายก็คือไทยโต้แย้งเฉพาะโต้แย้งฝ่ายกัมพูชาเท่านั้น และปล่อยให้ศาล “เลือกมูลฐาน”เกี่ยวกับกฎหมายปิดปากอย่างเดียว โดยไม่กล่าวถึงมูลฐาน “สันปันน้ำที่แท้จริง” ใช้ในการตัดสินคดีปราสาทพระวิหาร
       
       ด้วยเหตุผลนี้รัฐบาลไทยในยุคนั้นจึงได้ทำการประท้วง และสงวนสิทธิ์ในความอยุติธรรมของศาลโลก พ.ศ. 2505 ต่อเลขาธิการองค์การสหประชาชาติ ตลอดจนได้แถลงต่อที่ประชุมสมาชิกสหประชาชาติ โดยปราศจากการโต้แย้งใดๆ จากที่ประชุมทั้งสิ้น
       
       ส่วนกัมพูชาก็ดูจะพอใจอย่างยิ่งที่ได้ตัวปราสาทพระวิหารมาตั้งแต่นั้น โดยกัมพูชายอมอยู่ในรั้วที่ฝ่ายไทยกั้นเอาไว้ให้ ไม่เคยประท้วง ไม่เคยอุทธรณ์ และไม่เคยสงวนสิทธิ์ที่หวังจะได้ดินแดนตามแผนที่มาตราส่วน 1:200,000 จนเลยระยะเวลา 10 ปี ตามธรรมนูญศาลโลก ที่จะขยายผลคำพิพากษาไปยังแผนที่มาตราส่วน 1:200,000 ไปนานแล้ว
       
       กว่า 30 - 40 ปี ไทยกับกัมพูชาจึงอยู่กันอย่างสงบในบริเวณเขาพระวิหาร เพราะฝ่ายไทยตั้งข้อสงวนที่จะทวงคืนปราสาทพระวิหารในอนาคต ส่วนฝ่ายกัมพูชาก็ยินดีและพอใจที่อยู่ในขอบรั้วที่ฝ่ายไทยกั้นเอาไว้ให้ คนไทยและกัมพูชาก็จะขึ้นตัวปราสาทพระวิหารจากฝั่งไทย และอยู่กันอย่างเอื้ออาทรต่อกัน


http://pad.fix.gs/in...opic=858.0;wap2


   

           
       


Tam-mic-ra ฟันธง!  คำว่า "โดนพริกไทยมั๊ง" น่ะ แค่นี่เอามาเป็นหลักฐาน ได้ยังไงครับ .....  คิดครับคิด  :lol:   จากกระทู้แก้ข่าวหน้า 2 qoute #96  ใครยิงวสันต์-ภู่ทอง   แอลพีจีทำมาจากซี2ซี3


#9 RaRa

RaRa

    Seien Sie loyal zu Majesty

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 6,976 posts

ตอบ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 - 19:11

เรื่องใหญ่และสำคัญขนาดนี้ แต่...จะมีสักกี่คนที่คิดจะ

 

"สนใจ" และ "ใส่ใจ" ที่จะอ่านเรื่องนี้กันบ้างครับ....!!!

 

เพราะตอนนี้ "โฟกัส" ของคนไทย ( เกือบทุกคน )

 

พุ่งเป้าไปอยู่ที่ การเลือกตั้ง ผู้ว่าราชการ ของ กทม.

 

โดย(อาจ) ลืมไปชั่วขณะ ว่า "ประเทศไทย" ไม่ได้มีแค่ "กทม.".....นะครับ -_- -_-


  • OSR likes this

ขอเทิดทูนศักดิ์ศรียิ่งสิ่งใด

...แม้แต่ลมหายใจก็ยอมพลี

โลกยังไม่สิ้นหวัง ถ้ายังมั่นในความดี

...ศรัทธาไม่เคยหน่ายหนี คนดีไม่มีวันตาย


#10 Stargate-1

Stargate-1

    SG-1

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,578 posts

ตอบ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 - 20:11

ทรรศนะส่วนหนึ่งต่อการเคลื่อนไหวกรณีความขัดแย้ง ไทย กัมพูชา
…..เกรียงไกร รัตติกาล
เพื่อความเข้าต่อปัญหาชายแดนระหว่างไทยกับเขมร เรามีความจำเป็นที่จะต้องทำความเข้าใจทรรศนะเกี่ยวกับประวัติศาสตร์บางประการ เพราะการศึกษาประวัติศาสตร์ในระบอบการศึกษาไทยที่ผ่านมา ยังมีลักษณะคับแคบ ด้านเดียว เน้นการท่องจำถึงวีรกรรมของบูรพกษัตริย์ เป็นทรรศนะและวิธีการศึกษาประวัติศาสตร์ที่รับใช้อุดมการณ์รัฐชาตินิยม เรามาลองดูว่า ยังมีแนวทางการศึกษาประวัติศาสตร์ในแง่มุมอื่นๆ ที่ต่างออกไป
1 ขอบเขตของรัฐไทยในอดีตตั้งแต่สุโขทัย อยุธยา รัตนโกสินทร์ตอนต้น ก่อนที่จะเปลี่ยนชื่อจาก สยาม เป็น ไทย
ในสมัยก่อน สังคมตะวันออกเรายังไม่ได้ให้ความสำคัญหรือมีอาณาเขตที่แน่นอน ขึ้นอยู่กับความเข้มแข็งของรัฐนั้นๆ ถ้าเจ้ารัฐนั้นเข็มแข็งอาณาเขตก็จะขยายออกไปกว้างขวางนอกจากนั้นยังแผ่อิทธิพล ไปยังรัฐใกล้เคียงที่อ่อนแอกว่า แต่ก็ยังไม่ถือว่าเป็นรัฐเดียวกันอาจเป็นเพียงประเทศราชหรือรัฐในคุ้มครองที่จะต้องส่งเครื่องราชบรรณาการ หรือถูกเกณฑ์คนมาช่วยรบเวลาเกิดศึกสงคราม แต่ยังมีเจ้าผู้ปกครองรวมทั้งวัฒนธรรมประเพณีที่ต่างกัน เช่น สมัยสุโขทัยที่ยังเข้มแข็งอยู่ก็เคยแผ่อิทธิพลปกครองตลอดแหลมมาลายู อาณาจักรใกล้เคียง ครั้งหนึ่งพม่าก็เคยเข้มแข็งจนถึงกระทั่งเคยรบทัพมาตีอยุธยา แต่พอพม่าอ่อนแอลง อยุธยาก็แยกตัวเป็นอิสระไม่ขึ้นกับพม่าอีกต่อไป แต่ถ้าอำนาจรัฐส่วนกลางอ่อนแอประเทศราชก็อาจแยกตัวไปเป็นอิสระหรืออาจไปซบรัฐอื่นที่เข้มแข็งกว่าก็ได้ ความเป็นรัฐชาติสมัยใหม่ที่มีขอบเขตที่แน่นอนได้เกิดภายหลัง
ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นราชอาณาจักรไทยเคยแผ่ดินแดนไปถึงลาว เขมร จวบจน พ.ศ. 2430 จักรวรรดินิยมฝรั่งเศสได้นำเรือปืนมายึดเวียดนามเอาดื้อๆ และพยายามขยายอิทธิพลมายังลาวและเขมร
กระทั่งเกิดวิกฤตการณ์ ร.ศ.112 (พ.ศ.2436/ค.ศ.1893) ฝรั่งเศสได้ส่งเรือรบ 2 ลำ คือ เรือรบเลอ ลูแดง (le Lutin) และเรือรบ เอ็ม.เอส.สวิฟท์ (M.S.Swift) ผ่านปากแม่น้ำเจ้าพระยาเข้ามาจอดอยู่หน้าสถานทูตฝรั่งเศส ข่มขู่ ราชสำนักไทยในสมัยรัชกาลที่ 5 จนรัชกาลที่ 5 ต้องยอมยกดินแดนลาว คือฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงให้ฝรั่งเศสไป โดยฝรั่งเศสอ้างว่าลาวเคยเป็นของเวียดนาม เมื่อฝรั่งเศสได้เวียดนามแล้วจึงต้องได้ลาวด้วย
ในระหว่างเจรจาฝรั่งเศสยังได้ยึดจันทบุรีไว้เป็นประกัน แต่เมื่อไทยทำตามสัญญาแล้วฝรั่งเศสก็ยังไม่ยอมคืนจันทบุรีให้
ไทยจึงต้องทำสัญญาอีก 2 ฉบับ ลงวันที่ 7 ตุลามคม พ.ศ. 2445/ค.ศ.1902 และ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2447/ค.ศ.1904 ยกดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขง เช่น หลวงพระบาง จำปาศักดิ์ให้ฝรั่งเศส
แต่ฝรั่งเศสกลับไปยึดด่านซ้าย เมืองตราด เกาะช้างไว้อีก ไทยจึงต้องทำสัญญาอีกฉบับในวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2449/ค.ศ.1906 ยกเมืองพระตะบอง เสียมราฐ ศรีโสภณ( ซึ่งคือที่ตั้งของนครวัด นครธม ) เพื่อแลกกับด่านซ้าย เมืองตราด
ภายหลังลัทธิล่าอาณานิคมเริ่มเสื่อมลง ฝรั่งเศสเริ่มอ่อนแอลงจนกระทั่งถูกเยอรมันนียึดครอง ไทยจึงยกกำลังไปยึด พระตะบอง เสรียมราฐ ศรีโสภณ กลับมาจากฝรั่งเศสโดยตั้งเป็นมณฑลบูรพา โดยการไกล่เกลี่ยของญี่ปุ่นซึ่งขณะนั้นกำลังเป็นมหาอำนาจใหม่ภายใต้ “อนุสัญญากรุงโตเกียว 9 พฤษภา พ.ศ.2484 (ค.ศ. 1941)” ซึ่งต่อมาภายหลังไทยก็ต้องคืนดินแดนเหล่านี้ให้แก่กัมพูชาไป ตาม “อนุสัญญากรุงวอชิงตัน 17 พฤศจิกายน 2489 (ค.ศ.1946) “
จากเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้นจะเห็นได้ว่า ราชอาณาจักรสยามและประเทศในเอเชียอาคเนย์เดิมนั้นไม่มีเส้นเขตแดนที่แน่นอน ชาวตะวันตกเป็นผู้เอาแนวคิดเรื่องประเทศหรือรัฐที่มีอาณาเขตที่แน่นอนมาเผยแพร่ ขั้นต้นเพื่อกำหนดเขตแดนอาณานิคมของตนให้เด่นชัดเพื่อไม่ให้มหาอำนาจอื่นมาแย่งชิงกอบโกยผลประโยชน์และทรัพยากรธรรมชาติในอาณานิคมของตน ประเทศกัมพูชาที่เคยเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศสจึงพลอยได้รับอานิงสงค์นี้ด้วย
เดิมทีรัฐในเอเชียอาคเนย์ที่ไม่มีเส้นเขตแดนที่แน่นอน ประชาชนตามแนวแดนชนแดนต่างเป็นพี่น้องกันเป็นเครือญาติกันและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรร่วมกัน
2 ต่อกรณีคำพิพากษาของศาลโลกเรื่องประสาทเขาพระวิหาร 15 มิถุนายน พ.ศ.2505 (ค.ศ.1962)รายละเอียดของคำพิพากษาหาอ่านได้จาก "http://www.icj-cij.o...les/45/4873.pdf" http://www.icj-cij.o...les/45/4873.pdf ซึ่งมีทั้งที่เป็นภาษาอังกฤษ หรือภาษาไทยที่แปลโดยกระทรวงการต่างประเทศ ตีพิมพ์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2505 โดยสำนักนายกรัฐมนตรี โดยมีสาระที่สำคัญๆดังนี้
ก. ฝ่ายไทยได้ขอให้ศาลพิจารณาว่าศาลยุติธรรมระหว่างประเทศมีอำนาจพิจารณาคดีพิพาทนี้หรือไม่
ศาลได้พิพากษายกคำร้องของไทยเรื่องนี้ เพราะได้ถือว่าไทยได้ต่ออายุคำประกาศยอมรับเขตอำนาจของศาลโลกเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ.2493/ค.ศ.1950 หลังการสิ้นสุดของศาลเก่าซึ่งสิ้นสุดลง เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ.2489/ค.ศ.1946 ดังนั้นศาลโลกใหม่จึงมีอำนาจพิจารณาข้อพิพากษานี้
ข. ฝ่ายกัมพูชาได้ยื่นคำร้อง 2 ข้อ ต่อมาเพิ่มเป็น 4 ข้อ ให้ศาลพิจารณาดังนี้
1. พิจารณาและชี้ขาดว่า เส้นเขตแดนระหว่างประเทศกัมพูชากับประเทศไทยในตอนเขาดงรักคือ เส้นที่ลากไว้บนแผนที่ของคณะกรรมการปักปันเขตแดนระหว่างอินโดจีน (ฝรั่งเศส) กับสยาม (ทั้งนี้กัมพูชาได้แนบแผนที่ซึ่งฝรั่งเศสเป็นผู้จัดทำมาเป็นเอกสารต่อท้ายคำฟ้องด้วย)
2. พิพากษาและชี้ขาดว่า ปราสาทพระวิหารตั้งอยู่ในดินแดนอันอยู่ภายใต้อำนาจอธิปไตยของกัมพูชา
3. พิพากษาและชี้ขาดว่า ไทยมีพันธะที่จะต้องถอนหน่วยทหารที่ได้ส่งไปตั้งประจำ ณ ประสาทพระวิหาร
4. พิพากษาและชี้ขาดว่าสิ่งประติมากรรม แผ่นศิลาส่วนสลักหักและวัตถุโบราณซึ่งได้ถูกโยกย้ายไปจากปราสาทพระวิหารโดยฝ่ายไทย ให้ส่งคืนแก่กัมพูชา
นอกจากนั้นกัมพูชายังได้เพิ่มเติมให้ศาลพิจารณาและชี้ขาดว่า แผนที่ตอนเขาดงรักซึ่งได้แนบมาพร้อมกับคำฟ้อง ได้ถูกจัดทำและพิมพ์ขึ้นเผยแพร่ในนามของคณะกรรมการปักปันเขตแดนผสมที่ตั้งขึ้นโดยสนธิสัญญา ค.ศ.1904 (พ.ศ.2447) และอ้างว่าแผนที่ดังกล่าวจัดทำขึ้นโดยกรรมการปักปันเขตแดนผสมที่กำเนิดขึ้นจากสนธิสัญญา จึงมีลักษณะเป็นสนธิสัญญาอย่างหนึ่ง
ฝ่ายไทยได้โต้แย้งว่า
1. แผนที่ตามภาคผนวกนั้น ทั้งไทยและกัมพูชายังไม่เคยถือเป็นเส้นเขตแดน
2. ประเทศไทยได้ใช้อำนาจอธิปไตยโดยสมบูรณ์ในบริเวณประสาทพระวิหารแต่ผู้เดียวตลอดมา ต่างจากกัมพูชาซึ่งใช้ประโยชน์หรือปกครองบริเวณดังกล่าวเพียงช่วงสั้นๆ และยังอ้างถึงการแบ่งเขตแดนตามสันปันน้ำตามสนธิสัญญา ค.ศ.1904 /พ.ศ. 2447
3. แผนที่ผนวกตอนเขาดงรักที่กัมพูชาเพิ่มเติมขึ้น มิได้จัดเตรียมหรือพิมพ์ขื้นเผยแพร่โดยหรือในนามของคณะกรรมการปักปันเขตแดนผสม ซึ่งตั้งขึ้นตามสนธิสัญญาลงวันที่ 13กุมภาพันธ์ ค.ศ.1904 /พ.ศ.2447 แต่จัดทำและจัดพิมพ์ขึ้นโดยคณะกรรมการฝรั่งเศสแต่ฝ่ายเดียวเท่านั้น
ศาลได้พิจารณาว่าในกรณีพิพาทเรื่องอธิปไตยเหนือดินแดนอันเกี่ยวข้องกับสนธิสัญญา ศาลจะต้องพิสูจน์ก็คือเรื่องเขตแดนระหว่างสองประเทศ ซึ่งจะสมบูรณ์ได้โดยการอ้างอิงแผนที่ ซึ่งไทยได้เสนอแผนที่ที่เขียนขึ้นในปี พ.ศ.2497 (ค.ศ.1954) ที่ถือการแบ่งเส้นเขตแดนตามสันปันน้ำ ซึ่งเป็นเส้น.เขตแดนที่เป็นไปตามธรรมชาติของภูมิภาคนี้ โดยอ้างว่าให้เป็นไปตามสนธิสัญญาฉบับวันที่ 13 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1904 (พ.ศ.2447)
อย่างไรก็ดี ด้วยข้ออ้างตามสนธิสัญญาฉบับนี้ ศาลระบุว่า ข้อบัญญัติ มิได้ระบุถึงชื่อพระวิหารเลย และด้วยเหตุที่เส้นเขตแดนนั้นสัมพันธ์กับแผนที่ ศาลจึงต้องตรวจสอบย้อนหลังไปว่ามีการจัดทำแผนที่ขึ้นมาแล้วหรือไม่อย่างไร และแผนที่นั้นมีความชอบธรรมพอที่จะเป็นพันธะผูกพันคู่กรณีหรือไม่
เพื่อความเข้าใจในรายละเอียดเรื่องนี้ เราลองมาศึกษาปะวัติศาสตร์ในช่วงการเริ่มทำสนธิสัญญาระหว่างฝรั่งเศสกับสยาม
ก. ดังที่กล่าวใน ข้อ 1 แล้วว่า ตั้งแต่ปลาย รัชกาลที่ 4 ถึง รัชกาลที่ 5 ประเทศตะวันตก กำลังขยายดินแดน ล่าอาณานิคมมายังเอเชียอาคเนย์ ประเทศรอบบ้านเราฝั่งตะวันตกและฝั่งใต้เป็นเขตอิทธิพลของอังกฤษ ฝั่งตะวันออกก็เป็นเขตอิทธิพลของฝรั่งเศสดังนั้นในการทำสนธิสัญญาต่างๆกับ.ศ.ประเทศตะวันตก สยามเราจึงเป็นฝ่ายเสียเปรียบ ฝรั่งเศสจะเรียกร้องเอาอะไรก็ได้ อย่าว่าแต่เรื่องเส้นเขตแดน แม้กระทั่งดินแดนฝั่งซ้ายและฝั่งขวาของแม่น้ำโขง หลวงพระบาง เสียมราฐ ศรีโสภณ ฝรั่งเศสก็เรียกร้องบีบบังคับเอาไป โดยเฉพาะถ้าเรายังไม่ลืม เรื่องสิทธิสภาพนอกอาณาเขต ที่กำหนดว่าชาวต่างชาติที่ทำผิดไม่ต้องขึ้นศาลไทย ซึ่งเราต้องใช้เวลานานจึงจะแก้ปัญหานี้ได้
ข. เมื่อราชสำนักไทยถูกคุกคามจากประเทศตะวันตกอย่างหนัก จึงจำเป็นต้องเสียสละส่วนที่คิดว่าไม่สำคัญ เพื่อรักษาอำนาจส่วนกลางไว้เพื่อไม่ให้ตกเป็นเมืองขึ้นของประเทศตะวันตก และราชสำนักสยามก็ยังไม่เข้าใจความสำคัญของเส้นเขตแดนซึ่งเป็นเรื่องใหม่สำหรับสยาม และบริเวณเส้นเขตแดนส่วนใหญ่ก็เป็นป่าเป็นเขาการคมนาคมยังเข้าไม่ถึง ตัวปราสาทก็ถูกป่าไม้ปกคลุมอยู่ ทำให้เห็นไม่เด่นชัด หรือถึงแม้ว่าจะรู้ว่ามีปราสาทหินอยู่ แต่ปราสาทหินก็มีกระจัดกระจายอยู่ทั่วภาคอีสานอยู่แล้ว (ปราสาทเขาพระวิหารมามีความสำคัญเมื่อมีอุตสาหกรรมการท่องเทียวสมัยใหม่เกิดขึ้น ซึ่งต้องอาศัยการคมนาคมที่สะดวกสบายขึ้น)
ดังนั้นในปี พ.ศ.2447 / ค.ศ.1904 รัชกาลที่ 5 จึงได้ทำสนธิสัญญา เรื่องเขตแดนกับฝรั่งเศส โดย มีรายละอียดระบุว่า
รัฐบาลสยามซึ่งในขณะนั้นยังไม่มีเครื่องมือ เครื่องใช้เพียงพอ จึงได้ร้องขอเป็นทางการให้พนักงานสำรวจพื้นที่ของฝรั่งเศสจัดทำแผนที่อาณาบริเวณนั้นขึ้น
โดยใน มาตรา 1 กำหนดให้ ให้ใช้แนวสันปันน้ำ (Watershed Line) เป็นเกณฑ์ในการแบ่งเขตแดน และใน มาตราที่ 3 ของสนธิสัญญาฉบับเดียวกัน กำหนดว่าให้ทั้งสองประเทศตั้งคณะกรรมาธิการผสมปักปันเขตแดนขึ้นมาหนึ่งชุด ประกอบด้วย ผู้แทนของฝรั่งเศสและของไทยเพื่อทำหน้าที่ในการปักปันเขตแดน
หมายความว่า โดยหลักทั่วไป จะถือเอา สั้นปันน้ำเป็นเส้นเขตแดน แต่แนวเขตแดนที่แน่นอน
จะถูกกำหนดขึ้นโดย คณะกรรมการผสม ฝรั่งเศส - สยาม
แต่อย่างไรก็ตามแผนที่แสดงการปักปันเขตแดน ก็ยังไม่ปรากฏ จนกระทั่ง วันที่ 25 มีนาคม พ.ศ.2450 / ค.ศ.1907 จึงได้มีการลงนามในสนธิสัญญาฉบับใหม่ ก่อให้เกิด ตณะกรรมการผสมขึ้นมาอีก 1 ชุด โดยมีผลงานคือแผนที่ 11 ฉบับ ซึ่งรวมแผนที่ Dangrek หรือระวางดงรัก หรือที่ บางคนเรียกว่าแผนที่ 1 ต่อ 200,000 ที่ศาลโลกใช้ตัดสินด้วยคะแนนเสียง 9 : 3 ให้ปราสาทเขาพระวิหารเป็นของเขมร โดยศาลได้พิจารณาว่า ไทยรับมอบแผนที่ 11 ฉบับโดยไม่ได้ทักท้วงใด ๆ หรือตรวจสอบความถูกต้อง ซึ่งผู้พิพากษาศาลโลกเห็นว่า แนวปักปันไม่ได้ปักปันตามแนวสันปันน้ำ ประเทศไทยหรือสยามในเวลานั้นมีสิทธิ์ที่จะปฏิเสธได้ แต่ก็ไม่ได้ทำ ข้อเท็จจริงมีว่าฝ่ายไทยมีโอกาสหลายครั้งที่จะทักท้วง ประท้วง หรือปฏิเสธความคลาดเคลื่อนของแผนที่ฉบับนี้ แต่ฝ่ายไทยก็ไม่ได้ทำ เช่น ในปีค.ศ1941/พ.ศ.2484 และปีค.ศ. 1949/พ.ศ.2492 ประเทศไทยตั้งคณะกรรมการในการประนีประนอมกับฝรั่งเศส คณะกรรมการชุดนี้มีหน้าที่ในการตรวจสอบความถูกต้องของแผนที่ ซึ่งฝ่ายไทยก็ไม่ได้ใช้โอกาสนี้ทำการทักท้วงหรือประท้วงความคลาดเคลื่อนของแผนที่
ก่อนหน้านั้นประเทศไทยทำสนธิสัญญา FCN เป็นสนธิสัญญาไมตรี และการเดินเรือกับฝรั่งเศสซึ่งเป็นอีกโอกาสหนึ่งที่ไทยสามารถทักท้วงได้ แต่ก็ไม่ได้ทำ ในคำพิพากษาของศาลโลกชี้ให้เห็นว่าไทยมีหลายโอกาสในการทักท้วงหรือประท้วงแต่ฝ่ายไทยกลับไม่ได้ทำ หลังจากทำแผนที่ 11 ฉบับแล้ว ฝรั่งเศสส่งมาให้ไทย เอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงปารีสก็ทำแผนที่ส่งให้เอกอัครราชทูตไทยประจำรัสเซีย เยอรมัน อังกฤษ เผยแพร่และส่งมาให้ที่ไทยด้วย
อีกกรณีหนึ่งเกี่ยวกับสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ซึ่งมี 2 ประเด็นที่เกี่ยวกับตัวท่าน คือ ในขณะที่ดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ได้ขอแผนที่จากทางฝรั่งเศสเพิ่มเป็น 15 ชุด และมีคำขอบคุณและนำแผนที่นี้ไปให้ผู้ว่าราชการจังหวัดขุขันธ์ในเวลานั้นของไทย (ปัจจุบันคือ จังหวัดศรีสะเกษ)
อีกประเด็นหนึ่งคือการเสด็จเยี่ยมประสาทเขาพระวิหาร ในปี พ.ศ.2473 ของ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ซึ่งขณะนั้นทรงเป็นนายกราชบัณฑิตยสถานแห่งประเทศสยาม โดยได้เสด็จเยือนโดยพระบรมราชานุญาตของพระมหากษัตริย์สยาม ในการเสด็จครั้งนี้ ได้รับการต้อนรับอย่างเป็นทางการจากข้าหลวงฝรั่งเศสโดยมีธงฝรั่งเศสชักไว้ และกระทำประหนึ่งเป็นเจ้าภาพหรือเจ้าของสถานที่ แต่กรมพระยาดำรงก็ไม่ได้ทรงทักท้วงหรือดำเนินการใดๆ
นอกจากนั้นยังมีเหตุผลอีกมากมายที่สยามกับเขมรได้ต่อสู้กับในศาลโลก โดยมีการพิจารณาถึง 73 ครั้ง ใช้ระยะเวลา 3 ปี ซึ่งในที่สุดไทยก็ต้องยอมรับคำตัดสินว่า
1 โดยเสียง 9:3 ลงความเห็นว่าปราสาทพระวิหารตั้งอยู่ในอาณาเขตภายใต้ อธิปไตยของเขมร
2 โดยคะแนนเสียง เก้าต่อสาม ไทยมีพันธะที่จะต้องถอนกำลังทหาร หรือตำรวจ ผู้เฝ้ารักษาหรือผู้ดูแลซึ่งประเทศไทยส่งไปประจำอยู่ที่ปราสาทพระวิหารหรือในบริเวณใกล้เคียงบนอาณาเขต
ของกัมพูชา
3 โดยคะแนนเสียงเจ็ดต่อห้า ประเทศไทยมีพันธะที่จะต้องคืนวัตถุต่างๆที่ได้ขนย้ายออกไปจากปราสาทหรือบริเวณพระวิหารนับแต่วันที่ประเทศไทยเข้าครอบครองพระวิหารเมื่อ ค.ศ.1954 (พ.ศ.2497) แก่กัมพูชา
ปัญหาต่อมาคือพื้นที่รอบตัวปราสาท จำนวน 4.6 ตารางกิโลเมตร ซึ่งยังไม่ชัดเจนว่าเป็นของไทยหรือกัมพูชา
ปี พ.ศ.2551 กัมพูชาได้ดำเนินการขอจดทะเบียนปราสาทพระวิหารให้เป็นมรดกโลก ต่อองค์การยูเนสโก สหประชาชาติ โดยได้ยื่นแผนการบริหารจัดการพื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตรซึ่งยังคงเป็นกรณีพิพาทกับไทย ให้ประกอบการพิจารณาพร้อมด้วยแผนที่อัตราส่วน 1 : 200,000
ประเทศไทยได้ยื่นคัดค้าน จึงมีมติเลื่อนการพิจารณาออกไปจนกว่าสองประเทศจะมีการตกลงเรื่องเขตแดนได้ก่อน
ต่อกรณีนี้เราเห็นควรว่าไทยและกัมพูชาควรจะหาทางเจรจาเพื่อขึ้นทะเบียนเขาพระวิหารเป็นมรดกโลกพร้อมกันทั้งสองฝาย เพื่อประโยชน์ร่วมกันของทั้งสองประเทศ ดังที่ประเทศอื่นๆ ในโลกที่เคยมีกรณีขัดแย้งเช่นนี้เคยทำมาแล้วเป็นตัวอย่าง
28 กุมภาพันธ์ 2554

 


Tam-mic-ra ฟันธง!  คำว่า "โดนพริกไทยมั๊ง" น่ะ แค่นี่เอามาเป็นหลักฐาน ได้ยังไงครับ .....  คิดครับคิด  :lol:   จากกระทู้แก้ข่าวหน้า 2 qoute #96  ใครยิงวสันต์-ภู่ทอง   แอลพีจีทำมาจากซี2ซี3


#11 Stargate-1

Stargate-1

    SG-1

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,578 posts

ตอบ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 - 22:45

เหตุใดคำฟ้องแรกในปี 2502

"(2) that the territorial sovereignty over the Temple of Preah Vihear belongs to the Kingdom of Cambodia"

 

กับคำฟ้องเพิ่มในปี 2505

"2. TO adjudge and declare that the Temple of'preah Vihear is situated in territory under the sovereignty of the Kingdom of Cambodia"

 

จึงไม่เหมือนกันครับ หรือว่ามีคำแปลเหมือนกันครับ

ผมว่าไม่เหมือนกันนะครับ

คำฟ้องแรก ฟ้องเอาเฉพาะตัวปราสาท ฟ้องหลังเอาตัวปราสาทและรวมพื้นที่ใต้ปราสาทด้วย

มีใครเห็นแย้งไหมครับ

 


Tam-mic-ra ฟันธง!  คำว่า "โดนพริกไทยมั๊ง" น่ะ แค่นี่เอามาเป็นหลักฐาน ได้ยังไงครับ .....  คิดครับคิด  :lol:   จากกระทู้แก้ข่าวหน้า 2 qoute #96  ใครยิงวสันต์-ภู่ทอง   แอลพีจีทำมาจากซี2ซี3


#12 ypk

ypk

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 2,173 posts

ตอบ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 - 01:01

เหอ เหอ เหอ  ไม่เหมือนหรอก น้า Stargate 

 

ไอ้อันแรก คล้าย ๆ บอกว่า

 

อธิปไตยเหนือดินแดนมากกว่าปราสาทพระวิหารเป็นของเขมร

 

แต่อันหลังเหมือนมาแก้ไขคำพูดให้ชัดเจนว่า

 

ปราสาทพระวิหารตั้งอยู่บนดินแดนภายใต้อธิปไตยของเขมร

 

(ไม่รู้แปลถูกป่าว)

 

ผมว่ามันใกล้เคียงกันนะ  ในยุคนั้นไทยถึงมีทั้งผู้บอกว่าให้มันเพิ่มไปเถอะ

และมีผู้ที่บอกว่า อย่าไปให้มันเพิ่ม คนฟ้องมันเพิ่มเพื่อประโยชน์ของมันเอง

อย่างที่น้าเอามาลงให้อ่านนั่นแหละ (ผมเดาเอานะ)



#13 RaRa

RaRa

    Seien Sie loyal zu Majesty

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 6,976 posts

ตอบ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 - 01:01

ขอถาม เพื่อนๆ สมาชิก ชาว สรท. จากใจจริงๆ เลยนะครับ(ไม่ได้มีอคติแต่อย่างใด)

 

ทำไม "กระทู้แบบนี้" ชาว สรท. ถึงไม่ให้ความสนใจ กันเท่าที่ควรจะเป็นครับ....!!!

 

ความสนใจ ของเพื่อนๆ สรท. กลับไปพุ่งเป้าอยู่กับ "กระทู้ล่อเป้า" ทั้งหลายแทน

 

เพื่ออะไรกันเหรอครับ....???

 

1. สะใจ ที่ได้ "ทับถม ความโง่บัดซบ ของพวกเสื้อแดง"

 

2. คิดว่าเรื่องนี้เป็น "เรื่องไกลตัว จนเกินไป"

 

3. คิดว่าเรื่องนี้ "มันเกิดขึ้นนานมาแล้ว เลยไม่อยากสนใจ"

 

 

 

 

 

4. คิดว่าเรื่องนี้ "ไม่ใช่เรื่องของกู...!!!"

 

แค่นี้หรือเปล่าครับ.....!!! -_- -_-

 

 

 

ด้วยความเคารพ ต่อเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ชาว สรท. ทุกท่านครับ

 

 

 

 

 

 

 

ป.ล. ถ้าผมทำให้ใครคนใด หรือ คณะใด พรรคใด ไม่พอใจก็ขอโทษ มา ณ ที่นี้ด้วยนะครับ

 

ผมเพียงแค่อยากให้ บอร์ด สรท. แตกต่างจาก บอร์ดอื่นๆ เท่านั้นเองครับ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ป.ล. 2   ถ้า MOD คิดว่า ไม่เหมาะสม จะแบน หรือ ลบ ผมไปก็ได้นะครับ


ขอเทิดทูนศักดิ์ศรียิ่งสิ่งใด

...แม้แต่ลมหายใจก็ยอมพลี

โลกยังไม่สิ้นหวัง ถ้ายังมั่นในความดี

...ศรัทธาไม่เคยหน่ายหนี คนดีไม่มีวันตาย


#14 Tam-mic-ra.

Tam-mic-ra.

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 2,948 posts

ตอบ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 - 02:14

RaRa

 

คุณจะทับถมเสียดสี จขกท  .            . ก็บอกตรงๆดีกว่า  มากระแทกแดกดันแบบนี้ มันไม่งามน่ะ 

แถมทำเป็นด่าแดงล่อเป้า  ให้การทับถมเสียดสี จขกท .   .  เป็นไปแบบเนียนๆสะงั้น :D


"คนพาลไร้สติ มักสร้างเรื่องและหลักฐานเท็จโกหก เพื่อคอยใส่ร้ายอีกฝ่ายหนึ่งเสมอ" :unsure:

 

นาย ''Starเก๋ง'' ฟันธง!  รถเก๋งขับมายิงเสื้อแดง :lol:      http://webboard.seri...แค/#entry842224   ;      http://webboard.seri...-25#entry408954


#15 Tam-mic-ra.

Tam-mic-ra.

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 2,948 posts

ตอบ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 - 02:20

post-11431-0-58019600-1359744434.gif

 

พื้นที่รองรับปราสาท !!!     555    แต่เดี๋ยว มันคงเถียงต่อได้  ลืมไป :unsure:

 

อ่อๆ มุขเดิมแน่ๆ=    นพดลไปยกปราสาทให้เขมร ก๊ากๆ


"คนพาลไร้สติ มักสร้างเรื่องและหลักฐานเท็จโกหก เพื่อคอยใส่ร้ายอีกฝ่ายหนึ่งเสมอ" :unsure:

 

นาย ''Starเก๋ง'' ฟันธง!  รถเก๋งขับมายิงเสื้อแดง :lol:      http://webboard.seri...แค/#entry842224   ;      http://webboard.seri...-25#entry408954


#16 Stargate-1

Stargate-1

    SG-1

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,578 posts

ตอบ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 - 07:09

post-11431-0-58019600-1359744434.gif

 

พื้นที่รองรับปราสาท !!!     555    แต่เดี๋ยว มันคงเถียงต่อได้  ลืมไป :unsure:

 

อ่อๆ มุขเดิมแน่ๆ=    นพดลไปยกปราสาทให้เขมร ก๊ากๆ

 

 

ประเด็นที่คุณypkคิด ตรงกับที่ผมคิดเลยครับ เพราะที่เขาเพิ่มมาในข้ออื่นๆก็สอดคล้องกับเรื่องเขตแดน เขาสอดไส้มาครับ เราก็ไปสนใจแต่ข้ออื่น ไม่เห็นในข้อนี้ ทั้งๆที่มันเป็นเรื่องดินแดนเหมือนกัน


Tam-mic-ra ฟันธง!  คำว่า "โดนพริกไทยมั๊ง" น่ะ แค่นี่เอามาเป็นหลักฐาน ได้ยังไงครับ .....  คิดครับคิด  :lol:   จากกระทู้แก้ข่าวหน้า 2 qoute #96  ใครยิงวสันต์-ภู่ทอง   แอลพีจีทำมาจากซี2ซี3


#17 Stargate-1

Stargate-1

    SG-1

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,578 posts

ตอบ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 - 07:20

RaRa

 

คุณจะทับถมเสียดสี จขกท  .            . ก็บอกตรงๆดีกว่า  มากระแทกแดกดันแบบนี้ มันไม่งามน่ะ 

แถมทำเป็นด่าแดงล่อเป้า  ให้การทับถมเสียดสี จขกท .   .  เป็นไปแบบเนียนๆสะงั้น :D

 

คุณ RaRa ครับ ช่างเขาเถอะครับ ที่ผมตั้งกระทู้นี้ขึ้นมา เพื่อให้ผู้รู้ได้ฉุกคิดขึ้นมาเท่านั้น ผมเองได้ถกเถียงกับคนในนี้ เรื่องภาษาอังกฤษก็เลยไปค้นต่อ จึงสังเกตุเห็นความแตกต่าง แล้วคิดต่อว่าทำไมมันทำอย่างนั้น จึงอยากมาให้ทุกท่านลองดูว่าป็นไปตามที่ผมคิดไว้หรือเปล่า หากเป็นจริง ผู้เกี่ยวข้องอาจนำไปใช้โต้แย้งได้ว่าเขมรฟ้องเพิ่มในเรื่องเขตแดนในข้อนี้เช่นเดียวกันกับข้ออื่นๆที่ศาลยกฟ้องไป ผมได้ไปโพสต์ไว้ใน Facebook ของสว.รสนาแล้วครับ ขอให้ทุกท่านแสดงความเห็นเพิ่มได้ที่นี่ต่อเลยครับ

http://www.facebook....236945323048705

 

ในหัวข้อนี้ครับ

http://webboard.seri...ขอ/#entry585730


Tam-mic-ra ฟันธง!  คำว่า "โดนพริกไทยมั๊ง" น่ะ แค่นี่เอามาเป็นหลักฐาน ได้ยังไงครับ .....  คิดครับคิด  :lol:   จากกระทู้แก้ข่าวหน้า 2 qoute #96  ใครยิงวสันต์-ภู่ทอง   แอลพีจีทำมาจากซี2ซี3


#18 ผึ้งน้อยตุหรัดตุเหร่

ผึ้งน้อยตุหรัดตุเหร่

    หน้าตาดี มีอุดมการณ์

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 21,670 posts

ตอบ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 - 07:26

RaRa

 

คุณจะทับถมเสียดสี จขกท  .            . ก็บอกตรงๆดีกว่า  มากระแทกแดกดันแบบนี้ มันไม่งามน่ะ 

แถมทำเป็นด่าแดงล่อเป้า  ให้การทับถมเสียดสี จขกท .   .  เป็นไปแบบเนียนๆสะงั้น :D

 

เอ็งอ่านยังไงวะ?  ข้าอ่านแล้วไม่เห็นท่านหร่าร้าหมายความตามที่เอ็งเข้าใจเลย

 

ท่านหร่าร้ารู้สึกเคืองใจ ปนรันทดใจ ที่ทำไมกระทู้ซึ่งมีผลต่อความเป็นตายของชาติเสรีไทยถึงเข้าน้อย

ที่ไอ้กระทู้บ้าบอคอแตกของพวกอ้ายอีแดงกะโหลกกะลาบ้าๆบอๆ เราถึงไปให้ความสำคัญนัก  

ไปช่วยกันสร้างวิวให้มันอยู่ได้

 

 

 

 

ปล. ตกลงผมเข้าใจถูกหรือผิดครับท่านหร่าร้า


gladiator 1.jpg

 

 

 

 

 

 


#19 Stargate-1

Stargate-1

    SG-1

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,578 posts

ตอบ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 - 14:29

ปราสาทพระวิหาร

 

ข้อขัดแย้งระหว่างไทย-กัมพูชากรณีปราสาทพระวิหารเป็นปัญหาเก่าแก่ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อกว่ากึ่งศตวรรษ  บัดนี้ได้มีการหยิบยกปัญหาดังกล่าวมาถกเถียงกันอีกและมีการเขียนบทความต่างๆ มากมายรวมทั้งข้อเขียนของข้าพเจ้าเรื่องคำพิพากษาศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ศาลโลก) ซึ่งตัดสินให้ปราสาทพระวิหารอยู่ใต้อำนาจอธิปไตยของกัมพูชารวมทั้งคำคัดค้านของไทยและข้อสงวนซึ่งไทยตั้งไว้  ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงข้อเท็จจริงและหลักกฎหมายระหว่างประเทศ  แต่กระนั้น ข้อเขียนของข้าพเจ้ายังถูกตีความคลาดเคลื่อนเนื่องจากผู้อ่านมิได้อ่านอย่างละเอียด ละเลย หรือหลงลืมบางข้อที่มีความสำคัญอย่างยิ่งยวด  ข้าพเจ้าจึงขอสรุปอีกครั้งเพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องดังนี้

 

คดีปราสาทพระวิหาร

 

ไทย – กัมพูชา  พ.ศ. ๒๕๐๒-๒๕๐๕

 

วันที่ ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๐๒  กัมพูชาเป็นโจทก์ยื่นคำร้องฝ่ายเดียวเพื่อฟ้องไทยเป็นจำเลย  ขอให้ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศวินิจฉัยว่า พื้นที่ที่ปราสาทพระวิหารตั้งอยู่นั้นอยู่ในอำนาจอธิปไตยของกัมพูชา

 

คำพิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ

 

วันที่ ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๐๕  ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศได้พิจารณาพิพากษาดังนี้

 

(๑)      ด้วยคะแนนเสียง ๙ ต่อ ๓  ศาลฯ วินิจฉัยว่า ปราสาทพระวิหารตั้งอยู่บนดินแดนภายใต้อำนาจอธิปไตยของกัมพูชา

 

(๒)     สืบเนื่องมาจาก (๑) วินิจฉัยด้วยคะแนนเสียง ๙ ต่อ ๓ ว่าไทยมีพันธกรณีจะต้องถอนทหารและตำรวจหรือยามผู้รักษาการณ์ออกจากปราสาทพระวิหารหรือบริเวณใกล้เคียงที่อยู่บนดินแดนกัมพูชา

 

(๓)     ด้วยคะแนนเสียง ๗ ต่อ ๕  วินิจฉัยว่าไทยมีพันธะจะต้องคืนให้กัมพูชาบรรดาวัตถุที่กัมพูชาอ้างถึงในคำแถลงสรุปข้อ ๕ ซึ่งอันตรธานไปจากปราสาทหลังจากวันที่ไทยเข้าครอบครองเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๗

 

ปัญหาเรื่องเขตแดน

 

ในกรณีพิพาทระหว่างไทยกับกัมพูชาในคดีปราสาทพระวิหารเมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๐๕  แม้เสียงข้างมากจะตัดสินให้ปราสาทพระวิหารอยู่ภายใต้อำนาจอธิปไตยของกัมพูชา  แต่ยังมีผู้พิพากษาอีกหลายท่านที่เขียนคำพิพากษาแย้งไว้ว่าประสาทพระวิหารยังคงอยู่ในเขตอำนาจอธิปไตยของไทยตามหลักสันปันน้ำที่กำหนดไว้ในสนธิสัญญา ค.ศ. ๑๙๐๔

 

พื้นที่ทับซ้อนในปัจจุบันของไทยกับกัมพูชานั้นได้แก่ตัวปราสาทพระวิหารเท่านั้น  แม้ในแผนที่อีกหลายฉบับลากเส้นเขตแดนไทยไม่ตรงกัน กัมพูชาถือว่าอยู่ในเขตของกัมพูชาโดยอ้างคำพิากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ไทยก็ถือว่าปราสาทพระวิหารเป็นเขตในอำนาจอธิปไตยของไทยโดยยึดสันปันน้ำเป็นเส้นแบ่งเขตตามสนธิสัญญาทวิภาคีกับฝรั่งเศสลงวันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ ร.ศ. ๑๒๒  มีใจความดังต่อไปนี้

 

ข้อ ๑  กำหนดเขตแดนบริเวณที่ปราสาทพระวิหารตั้งอยู่ให้เป็นไปตามยอดภูเขาปันน้ำระหว่างดินแดนน้ำตกน้ำแสนแลดินแดนน้ำตกแม่โขงฝ่ายหนึ่ง  กับดินแดนน้ำตกน้ำมูลอีกฝ่ายหนึ่งจนบรรจบถึงภูเขาผาด่าง แล้วต่อเนื่องไปข้างทิศตะวันออกตามแนวยอดภูเขานี้จนบรรจบถึงแม่โขง   ตั้งแต่ที่บรรจบนี้ขึ้นไป แม่โขงเป็นเขตแดนของกรุงสยาม ตามความข้อ ๑ ในหนังสือสัญญาใหญ่ ณ วันที่ ๓ ตุลาคม รัตนโกสินทร์ศก ๑๑๒

 

จึงสรุปได้ว่า ในบริเวณเขาพระวิหารซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเขาบันทัดหรือเขาดงรัก เส้นเขตแดนไทย-กัมพูชาอยู่ที่สันปันน้ำซึ่งเป็นพรมแดนธรรมขาติตามหลักกฏหมายระหว่างประเทศ  และสนธิสัญญาข้างต้นโดยกัมพูชาเป็นผู้สืบสิทธิ์จากฝรั่งเศส

 

การปักปันเขตแดน

 

การปักปันดินแดนระหว่างสองประเทศแบ่งออกเป็น ๓ ขั้นตอน  ขั้นแรกได้แก่บทนิยาม (definition) ขั้นที่สองคือการลากเส้นบนแผนที่ตามบทนิยาม (delimitation) และขั้นสุดท้าย (demarcation) ในกรณีที่เป็นเขตแดนตามธรรมชาติ อาทิ แม่น้ำ ให้ถือร่องน้ำลึกหรือฝั่งแม่น้ำเป็นเส้นแบ่งเขต  หากเป็นภูเขาก็ต้องเป็นไปตามยอดเขาหรือเส้นสันปันน้ำ ในกรณีที่ไม่มีพรมแดนทางธรรมชาติ  คณะกรรมการผสมของทั้งสองประเทศจะเป็นผู้ปักหลักเขตแดนร่วมกันด้วยความเห็นชอบของทั้งสองฝ่าย

 

แผนที่

 

เป็นที่น่าสังเกตุว่าปัจจุบันมีการอ้างถึงแผนที่มากมายหลายฉบับในวาระต่างๆ  ข้อเท็จจริงมีอยู่ว่าแผนที่ฉบับเดียวที่อยู่ในประเด็นปัญหาได้แก่แผนที่ผนวก ๑ ต่อท้ายคำฟ้องกัมพูชา  แผนที่ดังกล่าวคือแผนที่ที่ทำขึ้นโดยคณะกรรมการปักปันเขตแดนฝรั่งเศสฝ่ายเดียวเมื่อปี ค.ศ. ๑๙๐๗ โดยไทยไม่มีโอกาสทดสอบความถูกต้องเนื่องจากไทยยังไม่ได้ก่อตั้งกรมแผนที่ทหารบก  ไทยค้นพบภายหลังว่าแผนที่ดังกล่าวผิดพลาดเพราะการลากเส้นเขตแดนมิได้เป็นไปตามสันปันน้ำแต่คลาดเคลื่อนไปหลายกิโลเมตร  ทำให้ปราสาทพระวิหารซึ่งอยู่ในเขตไทยไปปรากฏในเขตแดนฝรั่งเศส ฉะนั้น การที่ผู้หนึ่งผู้ใดอ้างว่าแผนที่ผนวกคำฟ้องของกัมพูชาเป็นแผนที่แสดงเขตแดนจึงผิดพลาดจากความเป็นจริง   

 

สถานภาพของแผนที่ผนวก ๑ ต่อท้ายคำฟ้องของกัมพูชา

 

ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศจะวินิจฉัยเฉพาะประเด็นคำฟ้องแรกเท่านั้น จึงไม่เห็นความจำเป็นที่จะต้องวินิจฉัยคำขอเพิ่มเติมของกัมพูชาในเรื่อง

 

(๑) สถานภาพของแผนที่ผนวก ๑ ต่อท้ายคำฟ้องของกัมพูชา หรือ

 

(๒) เส้นเขตแดนในบริเวณที่พิพาท

 

ดังนั้น ศาลฯ จึงงดเว้นการวินิจฉัยความถูกต้องของเส้นเขตแดนตามที่ปรากฏในแผนที่ผนวก ๑ ต่อท้ายคำฟ้องของกัมพูชารวมทั้งสถานภาพของแผนที่ผนวก ๑ ทั้งฉบับ  หรืออีกนัยหนึ่ง ศาลฯ ไม่ทำหน้าที่กรรมการปักปันเขตแดนระหว่างไทยกับกัมพูชา

 

อำนาจของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ

 

โดยที่คำพิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศไม่มีมาตรการบังคับคดี  จึงสุดแต่ความสมัครใจของคู่คดีที่จะพิจารณาดำเนินการ หากคู่กรณีไม่เห็นด้วยและไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษา  ศาลฯ ก็ไม่มีอำนาจดำเนินการบังคับคดีแต่ประการใด

 

ฉะนั้น ถึงแม้คำพิพากษาของศาลฯจะถึงที่สุด  แต่ก็มิได้หมายความว่าจะมีผลในการระงับกรณีพิพาท  หากคู่กรณีโต้แย้ง คัดค้านและไม่ยอมรับคำพิพากษาเพราะเห็นว่าไม่เป็นธรรม  กรณีพิพาทนั้นๆก็ยังคงมีอยู่ต่อไปจนกว่าจะได้รับการพิจารณาใหม่หรือจนกว่าจะระงับไปโดยสันติวิธีอื่นๆ อาทิ โดยการเจรจา การประชุมปรึกษาหารือ หรือตั้งคณะกรรมการสอบสวน  ไกล่เกลี่ย กรรมการประนอม หรืออนุญาโตตุลาการ ฯลฯ ตามข้อ ๓๓ แห่งกฎบัตรสหประชาชาติ

 

คำพิพากษาของศาลฯ และทางปฏิบัติของรัฐคู่กรณี

 

ผลผูกพันของคำพิพากษา ข้อ ๕๙ ของธรรมนูญศาลฯ กำหนดว่า

 

“คำพิพากษาของศาลฯไม่มีผลผูกพันผู้ใดนอกจากคู่กรณีและในส่วนที่เกี่ยวข้องกับคดีนั้น”

 

ฉะนั้น คำพิพากษาของศาลฯ จึงผูกพันเฉพาะไทยและกัมพูชา ใช้อ้างยันกับผู้อื่นมิได้ และไม่ผูกพันประเทศที่ ๓ หรือองค์การระหว่างประเทศ อาทิ ยูเนสโกหรือคณะกรรมการมรดกโลก และไม่มีผลเกี่ยวกับการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกแต่อย่างใดเนื่องจากการขึ้นทะเบียนมิใช่ข้อพิพาทในคดีที่ศาลฯ ตัดสิน

 

อนึ่ง ข้อ ๖๐ ของธรรมนูญศาลฯ กำหนดว่า

 

“คำพิพากษาของศาลนั้นถึงที่สุดและไม่มีการอุทธรณ์ ในกรณีที่มีการโต้แย้งเกี่ยวกับความหมายหรือขอบเขตของคำพิพากษา ศาลฯจะเป็นผู้ตีความเมื่อคู่กรณีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งร้องขอ”

 

จุดยืนและท่าทีของประเทศไทย

 

ประเทศไทยพิจารณาเห็นว่า ศาลฯ มิได้วินิจฉัยคดีปราสาทพระวิหารตามกระบวนการที่ชอบ และได้ตัดสินคดีโดยขัดต่อหลักความยุติธรรมและหลักกฎหมายระหว่างประเทศ ด้วยเหตุนี้คณะรัฐมนตรีจึงได้มีมติเมื่อวันที่ ๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๐๕ ให้ประกาศจุดยืนของประเทศไทยให้ทราบทั่วกันว่าไทยไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยของศาลฯ  แต่ในฐานะที่ไทยเป็นสมาชิกของสหประชาชาติ  จึงได้ปฏิบัติตามพันธะข้อ ๙๔ แห่งกฎบัตรสหประชาชาติ  ทั้งนี้โดยยื่นคำประท้วงคัดค้านไปยังสหประชาชาติและตั้งข้อสงวนอย่างชัดเจนว่าไทยสงวนสิทธิที่มีอยู่หรือพึงมีในอนาคตที่จะดำเนินการเรียกคืนซึ่งการครอบครองปราสาทพระวิหารโดยสันติวิธี

 

ดังนั้น รัฐบาลไทยได้ออกแถลงการณ์ยืนยันจุดยืนดังกล่าวเมื่อวันที่ ๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๐๕ และในวันรุ่งขึ้น จอมพลสฤษดิ์ ธนรัชต์ นายกรัฐมนตรีได้กล่าวปราศรัยทางวิทยุกระจายเสียงและโทรทัศน์แจ้งให้ประชาชนทราบทั่วกัน

 

คำปราศรัยของ ฯพณฯ จอมพลสฤษฎิ์ ธนรัชต์

 

ฯพณฯ จอมพลสฤษฎิ์ ธนรัชต์ นายกรัฐมนตรีได้กล่าวคำปราศรัยทางวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์เกี่ยวกับคดีปราสาทพระวิหารเมื่อวันที่ ๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๐๕ ตามข้อความดังนี้

 

พี่น้องร่วมชาติ และมิตรร่วมชีวิตของข้าพเจ้าทั้งหลาย

 

            ตามที่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า “ศาลโลก” ได้วินิจฉัยชี้ขาดเมื่อวันที่ ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๐๕ ให้ปราสาทพระวิหารตกเป็นของกัมพูชา  และทางรัฐบาลได้ออกแถลงการณ์ให้พี่น้องทั้งหลายได้ทราบมาตามลำดับแล้วนั้น โดยที่รัฐบาลของพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและโดยเฉพาะตัวข้าพเจ้าถือว่าเรื่องนี้มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพราะเกี่ยวกับผลได้ผลเสียอย่างสำคัญของชาติ เป็นเรื่องของแผ่นดินไทยซึ่งเป็นมรดกที่บรรพบุรุษของเราสู้อุตส่าห์ฝ่าคมอาวุธรักษาไว้ และตกทอดมาถึงคนรุ่นเรา  จึงสมควรที่เราทุกคนจะได้เอาใจใส่ และสนใจร่วมรู้ร่วมเห็นก่อนที่จะมีการดำเนินการใดๆ ลงไปเกี่ยวกับผืนแผ่นดินนี้   ด้วยเหตุนี้ ข้าพเจ้าจึงถือว่าเป็นความรับผิดชอบของรัฐบาลและของตัวข้าพเจ้าเองที่ต้องชี้แจงให้พี่น้องร่วมชาติทั้งหลายได้ทราบถึงการที่รัฐบาลนี้ต้องตัดสินใจในกรณีปราสาทพระวิหารต่อไป

 

            แต่เนื่องในการกล่าวคำปราศรับนี้เป็นเรื่องที่สะเทือนใจพี่น้องทั้งหลายอยู่มาก  ข้าพเจ้าจึงจำต้องขออภัยไว้ล่วงหน้า  ข้าพเจ้าทราบดีว่า ในส่วนลึกที่สุดของหัวใจแล้ว  คนไทยผู้รักชาติทุกคนมีความเศร้าสลดและขมขื่นใจเพียงใด  การแสดงออกของประชาชนในการเดินขบวนทั่วประเทศเพื่อคัดค้านคำพิพากษาของศาลโลกในสัปดาห์ที่แล้วมาเป็นสิ่งที่เห็นกันอย่างแน่ชัดอยู่แล้ว  แต่ก็จะทำอย่างไรได้  เราต้องถือเป็นคราวเคราะห์ร้ายของเราที่ต้องมาประสบกับชตากรรมเช่นนี้  เราจะไม่โทษใครเป็นอันขาด เพราะการที่ไปโทษคนที่พ้นหน้าที่ไปนั้นย่อมเป็นการไม่สมควร  แต่ทั้งนี้ก็มิใช่เราจะพากันนิ่งเฉยท้อแท้ใจ  ชาติไทยจะยอมท้อแท้ทอดอาลัยไม่ได้  เราเคยสูญเสียดินแดนแก่ประเทศมหาอำนาจที่ล่าอาณานิคมมาแล้วหลายครั้ง ถ้าบรรพบุรุษของเราของเรายอมท้อแท้  เราจะเอาแผ่นดินที่ไหนมาอยู่กันจนถึงทุกวันนี้   เราจะต้องหาวิธีต่อสู้ต่อไป  ส่วนเราจะต่อสู้อย่างไรนั้น นั่นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง  เพราะในการต่อสู้กรณีเช่นนี้  เราอาจทำได้หลายวิธี และแต่ละวิธีก็มีผลดีผลเสียแตกต่างกัน  เราจะต้องได้พิจารณาให้สุขุมรอบคอบ  ต้องใช้เหตุผลเหนืออารมณ์ และด้วยสายตามองการณ์ไกล  แล้วเลือกใช้วิธีที่ดีที่สุด  ละเมียดละไมและให้คุณประโยชน์มากที่สุดทั้งในเวลานี้และในอนาคต  ชาติเราจึงจะสามารถธำรงเอกราชและอธิปไตยอยู่ได้  และอยู่ในฐานะที่กล่าวได้ว่า “เต็มไปด้วยศักดิ์ศรีและเกียรติภูมิ”  ขอให้พี่น้องผู้รักชาติทั้งหลายโปรดอย่าได้ใช้อารมณ์หุนหันพลันแล่นหรือคิดมุทลุจะหักหาญด้วยกำลังแต่เพียงอย่างเดียว  สำหรับตัวข้าพเจ้าเอง  ในฐานะที่มีชีวิตเป็นทหารมาแต่เล็กแต่น้อย  และได้เคยผ่านสงครามทำการสู้รบมาแล้วหลายครั้ง  ข้าพเจ้าจึงมิได้มีความเกรงกลัวการสู้รบแต่ประการใด   แต่ตามพันธกรณีที่มีอยู่ตามกฎบัตรสหประชาชาติ  ยังไม่เป็นเรื่องที่ควรรบกัน

 

            สำหรับกรณีปราสาทพระวิหารซึ่งศาลโลกได้วินิจฉัยชี้ขาดไปแล้วนั้น  ข้าพเจ้าขอทบทวนความเข้าใจกับเพื่อนร่วมชาติทั้งหลายว่า  รัฐบาลและประชาชนชาวไทยไม่เห็นด้วยกับคำตัดสินของศาลโลกทั้งในข้อเท็จ จริงในทางกฎหมายระหว่างประเทศและในหลักความยุติธรรม ตามเหตุผลที่รัฐบาลได้แถลงไปแล้ว  แต่เราก็ตระหนักดีว่าคำพิพากษาของศาลเป็นอันเสร็จเด็ดขาด ไม่มีทางจะอุทธรณ์ได้  ยิ่งกว่านั้น  มาตรา ๔๔ บ่งไว้ว่า  “ข้อ ๑  สมาชิกแต่ละประเทศของสหประชาชาติรับที่จะปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศในคดีใดๆ ที่ตนตกเป็นผู้แพ้   ข้อ ๒  ถ้าผู้แพ้ในคดีใดไม่ปฏิบัติ  ข้อผูกพันซึ่งตกอยู่แก่ตนตามคำวินิจฉัยของศาล  อีกฝ่ายหนึ่งอาจร้องเรียนไปยังคณะมนตรีความมั่นคง  ซึ่งถ้าเป็นเป็นความจำเป็น ก็อาจทำตามคำแนะนำหรือวินิจฉัยมาตรการที่จะดำเนินเพื่อยังผลให้เกิดแก่คำพิพากษานั้นได้”

 

เมื่อเป็นดังนี้  แม้ว่ารัฐบาลและประชาชนชาวไทยจะได้มีความรู้สึกสลดใจและขมขื่นเพียงใด   ในฐานะที่ประเทศไทยเป็นสมาชิกของสหประชาชาติ  ก็จะต้องปฏิบัติตามพันธกรณีในกฏบัตรสหประชาชาติ  กล่าวคือ จำต้องยอมให้กัมพูชามีอำนาจอธิปไตยเหนือพระวิหารนั้นตามพันธกรณีแห่งสหประชาชาติ  แต่รัฐบาลขอตั้งข้อประท้วงและขอสงวนสิทธิ์อันชอบธรรมของประเทศไทยในเรื่องนี้ไว้  เพื่อสงวนสิทธิ์ที่จะดำเนิน การทางกฎหมายที่จำเป็นซึ่งอาจมีขึ้นในภายหน้าให้ได้สิทธิ์นี้กลับคืนมาในโอกาสอันควร

 

            พี่น้องชาวไทยที่รัก ข้าพเจ้าก็เป็นคนไทยคนหนึ่งที่มีความรู้สึกนึกคิดเช่นเดียว กับพี่น้องทั้งหลาย  และถ้าพูดถึงความรักชาติบ้านเมือง  ข้าพเจ้าก็เชื่อเหลือเกินว่าข้าพเจ้ามีความรักชาติไม่น้อยกว่าพี่น้องคนไทยทั้งหลาย  แต่ที่รัฐบาลจำต้องโอนอ่อนปฏิบัติตามพันธกรณีในกฏบัตรสหประชาชาติก็โดยคำนึงถึงเกียรติภูมิของประเทศไทยที่เราสร้างสมไว้เป็นเวลานับเป็นร้อยๆ ปี ยิ่งกว่าปราสาทพระวิหาร  ทั้งนี้ มิใช่เกิดเพราะความกลัวหรือความขี้ขลาดแต่ประการใดเลย  แต่พี่น้องชาวไทยทั้งหลายต้องมองการณ์ไกล  เวลานี้เราอยู่ในสังคมของโลก  สมัยนี้ไม่มีชาติใดที่จะอยู่โดยโดดเดี่ยวได้   ประเทศไทยของเราได้รับความนิยมนับถือจากสังคมนานาชาติเพียงใด พี่น้องทั้งหลายคงจะทราบดีอยู่แล้ว  ถ้าชาติของเราต้องเสียศักดิ์ศรีและเกียรติภูมิไปเนื่องจากปราสาทพระวิหารคราวนี้แล้ว  อีกกี่สิบกี่ร้อยปีเราจึงจะสามารถสร้างเกียรติภูมิที่สูญเสียไปคราวนี้กลับคืนมาได้  ข้าพเจ้าทราบดีว่าการสูญเสียปราสาทพระวิหารคราวนี้เป็นการสูญเสียที่สะเทือนใจคนไทยทั้งชาติ  ฉะนั้น แม้ว่ากัมพูชาจะได้ปราสาทพระวิหารนี้ไป ก็คงได้แต่ซากสลักหักพังและแผ่นดินที่รองรับพระวิหารนี้เท่านั้น  แต่วิญญาณของปราสาทพระวิหารยังอยู่กับไทยตลอดไป  ประชาชนชาวไทยจะรำลึกอยู่เสมอว่า ปราสาทพระวิหารของไทยถูกปล้นเอาไปด้วยอุปเท่ห์เล่ห์กลของคนที่ไม่รักเกียรติและไม่รักความชอบธรรม   เมื่อประเทศไทยประพฤติปฏิบัติตนดีในสังคมโลก  เป็นประเทศที่มีศีลมีสัตย์  ในวันหนึ่งข้างหน้าไม่ช้าก็เร็ว  ปราสาทพระวิหารจะต้องกลับคืนมาอยู่ในดินแดนไทยอีกครั้งหนึ่ง ข้าพเจ้าเชื่อมั่นว่าการปฏิบัติของประเทศไทยตามพันธกรณีในกฏบัตรสหประชาชาติครั้งนี้คงจะทำให้ประเทศต่างๆทั่วโลกเห็นอกเห็นใจเรายิ่งขึ้น   เหตุการณ์เกี่ยวกับปราสาทพระวิหารครั้งนี้จะสลักแน่นอยู่ในความทรงจำของคนไทยสืบไปชั่วลูกชั่วหลาน  และจะเป็นรอยจารึกอยู่ในประว้ติศาสตร์ของชาติไทยตลอดไปเสมือนหนึ่งเป็นแผลในหัวใจของคนไทยทั้งชาติ  แต่ข้าพเจ้าก็ยังหวังอยู่เสมอว่า  ในที่สุดธรรมะย่อมชนะอธรรม  การหัวเราะทีหลังย่อมหัวเราะดังและนานกว่า

 

            อนึ่ง ในเรื่องนี้รํฐบาลรู้สึกสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอันล้นพ้นของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระประมุขที่เคารพยิ่งของปวงชนชาวไทยที่ได้พระราชทานคติและพระบรมราโชวาทแก่รัฐบาลด้วยความที่ทรงห่วงใยในสวัสดิภาพของชาติบ้านเมืองเป็นอย่างยิ่ง

 

            ขอให้พี่น้องร่วมชาติจงได้วางใจเถิดว่า รัฐบาลที่ข้าพเจ้าเป็นนายกรัฐมนตรีอยู่นี้จะสามารถนำชาติและพี่น้องชาวไทยที่รักก้าวไปสู่อนาคตอันสุกใสได้  ในที่สุด ข้าพเจ้าขอรับรองต่อท่านทั้งหลายว่า เมื่อคราวที่ชาติเข้าที่คับขันแล้ว ข้าพเจ้าจะกอดคอร่วมเป็นร่วมตายกับพี่น้องชาวไทย  เอาเลือดทาแผ่นดินโดยไม่เสียดายชีวิตเลยแม้แต่นิดเดียว  แต่ราจะทำอย่างไรได้  ข้าพเจ้าเองก็มีความเจ็บช้ำน้ำใจมิได้น้อยกว่าเพื่อร่วมชาติทั้งหลาย   การที่ข้าพเจ้าต้องมากล่าวถึงเรื่องนี้ในวันนี้  ข้าพเจ้าอยากจะกล่าวว่า ข้าพเจ้ามาพูดกับท่านด้วยน้ำตา แต่น้ำตาของข้าพเจ้าเป็นน้ำตาของลูกผู้ชาย ของเลือด ของความคั่งแค้นและการผูกใจเจ็บไปชั่วชีวิตทั้งชาตินี้และชาติหน้า  ต่อดวงวิญญาณของบรรพบุรุษผู้กล้าหาญของชาวไทย ข้าพเจ้าขอกล่าวคำปฏิญานด้วยสัจวาจานี้ไว้    พี่น้องที่รัก น้ำตามิได้ช่วยให้คนฉลาดขึ้นและได้อะไรคืนมา  นอกจากความพยายาม ความสามัคคี ความสุขุมรอบคอบ ความอดกลั้นที่จะกล้าเผชิญกับความสูญเสีย  พร้อมทั้งรวมกำลังกาย กำลังใจ กำลังความคิด เพื่อให้ชาติที่รักของเราแข็งแกร่งมั่นคงถาวรยิ่งขึ้น  ในขั้นสุดท้ายชาติไทยต้องประสบกับชัยชนะเสมอ  เราต้องกล้าสู้  ต้องยิ้มรับต่อภัยที่มาถึงตัวเรา  ชาติไทยเป็นชาติที่เชื่อมั่นในบวรพุทธศาสนา  ตั้งตนอยู่ในความเป็นธรรมเสมอมา  ข้าพเจ้าเชื่อมั่นเสมอว่าชาติเราจะไม่อับจนเป็นอันขาด เรื่องนี้เป็นแต่เพียงเรื่องหนึ่งในเรื่องใหญ่ทั้งหลายซึ่งมีความสำคัญกว่านี้มากนัก   ชาติที่รักของเรากำลังพัฒนาตามวิถีทางที่ดีอยู่แล้วทุกทาง  เหตุนี้มิใช่เหตุแห่งความอับจน  เราจงระวังและทำในเรื่องของชาติที่สำคัญกว่านี้   ข้าพเจ้ามั่นใจเหลือเกินว่าชาติไทยของเราจะมีอนาคตอันแจ่มใสและรุ่งโรจน์ประเทศหนึ่งอย่างแม่นมั่นในอนาคตอันใกล้นี้  เราจงมาช่วยกันสร้างชาติที่รักยิ่งของเรา

 

            พี่น้องชาวไทยที่รัก ในวันหนึ่งข้างหน้าเราจะต้องเอาปราสาทพระวิหารกลับคืนมาเป็นของชาติไทยให้จงได้...    สวัสดี...

 

การแถลงจุดยืนของไทย

 

ฯพณฯ ถนัด คอมันตร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้มีหนังสือลงวันที่ ๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๐๕ ถึง ฯพณฯ อู ถั่น รักษาการเลขาธิการสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ค อ้างถึงคำพิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ประกาศจุดยืนและท่าทีของไทยว่าไม่เห็นด้วยและขอคัดค้านคำพิพากษาซึ่งขัดต่อสนธิสัญญาไทย-ฝรั่งเศส ค.ศ. ๑๙๐๔ และ ๑๙๐๗  นอกจากนั้นยังขัดต่อหลักความยุติธรรมและหลักกฎหมายระหว่างประเทศ แต่จะปฏิบัติตามพันธกรณีในฐานะที่ไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติ นอกจากนั้น ไทยยังได้ตั้งข้อสงวนเกี่ยวกับสิทธิที่มีอยู่และจะพึงมีในการครอบครองปราสาทพระวิหารในอนาคตตามกระบวนการที่ชอบด้วยกฎหมาย  อนึ่ง ข้อสงวนดังกล่าวมีผลตลอดไปโดยไม่จำกัดเวลา

 

ในการประชุมสมัชชาสหประชาชาติสมัยสามัญที่ ๑๗ พ.ศ. ๒๕๐๕ ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศไทยยังได้มอบหมายให้ นายสมปอง สุจริตกุล ผู้แทนไทยในคณะกรรมการที่ ๖ (กฎหมาย) เป็นผู้แถลงย้ำให้ผู้แทนประเทศสมาชิกสหประชาชาติในคณะกรรมการกฎหมายได้ทราบถึงจุดยืนของประเทศไทยตลอดจนเหตุผลทางกฎหมายในการคัดค้านคำพิพากษาโดยละเอียด  ทั้งนี้ ไม่ปรากฏว่าผู้แทนประเทศอื่นรวมทั้งกัมพูชาได้แสดงความคิดเห็นหรือโต้แย้งแต่ประการใด

 

คำแปลหนังสือจาก ฯพณฯ ถนัด คอมันตร์ ถึงเลขาธิการสหประชาชาติ*

 

(*แปลโดย ศ. ดร.สมปอง สุจริตกุล)

 

 

 

เลขที่ (๐๖๐๑) ๒๒๒๓๙/๒๕๐๕

 

                                                                   กระทรวงการต่างประเทศ

 

                                            กรุงเทพฯ ๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๐๕ (ค.ศ.๑๙๖๒)

 

เรียน   ฯพณฯ อู ถั่น

 

          รักษาการเลขาธิการสหประชาชาติ

 

          นิวยอร์ค

 

                    ข้าพเจ้าขออ้างถึงคดีปราสาทพระวิหารซึ่งกัมพูชาแต่ฝ่ายเดียวได้ยื่นฟ้องต่อศาลยุติธรรมระหว่างประเทศเมื่อวันที่ ๖ ตุลาคม ค.ศ. ๑๙๕๙  [พ.ศ. ๒๕๐๒] และศาลฯ ได้พิพากษาเมื่อวันที่ ๑๕ มิถุนายน ค.ศ. ๑๙๖๒  [พ.ศ. ๒๕๐๕] ยอมรับอำนาจอธิปไตยของกัมพูชาเหนือปราสาทพระวิหาร

 

                    ในคำแถลงเป็นทางการเมื่อวันที่ ๓ กรกฎาคม  ค.ศ. ๑๙๖๒  [พ.ศ. ๒๕๐๕]  รัฐบาลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ประกาศให้ทราบทั่วกันว่าไทยไม่เห็นด้วยกับคำพิพากษาของศาลฯ โดยให้เหตุผลว่า รัฐบาลไทยพิจารณาแล้วเห็นว่าคำพิพากษาดังกล่าวขัดอย่างชัดแจ้งต่อบทบัญญัติแห่งสนธิสัญญา ค.ศ. ๑๙๐๔ และ ค.ศ. ๑๙๐๗ ในข้อที่เกี่ยวข้องโดยตรง ตลอดจนขัดต่อหลักกฏหมายและหลักความยุติธรรม   ถึงกระนั้นก็ตาม  ในฐานะที่ไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติ  รัฐบาลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะปฏิบัติตามพันธกรณีแห่งคำพิพากษาตามที่ได้ให้คำมั่นไว้ภายใต้ข้อ ๙๔ ของกฏบัตรสหประชาชาติ

 

ข้าพเจ้าขอแจ้งให้ท่านทราบด้วยว่าการตัดสินใจปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศในคดีปราสาทพระวิหารนั้น  รัฐบาลของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวปรารถนาจะตั้งข้อสงวนอย่างชัดเจนเพื่อสงวนไว้ซึ่งสิทธิที่ประเทศไทยมีหรือพึงมีในอนาคตในการเรียกคืนปราสาทพระวิหาร โดยใช้วิถีทางที่ชอบด้วยกฎหมายที่มีอยู่ในปัจจุบันหรือในอนาคต และขอยืนยันการคัดค้านคำพิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศซึ่งวินิจฉัยให้ปราสาทพระวิหารเป็นของกัมพูชา

 

ข้าพเจ้าจึงขอเรียนมาเพื่อทราบพร้อมทั้งขอให้ท่านส่งเวียนหนังสือฉบับนี้ไปยังประเทศที่เป็นสมาชิกของสหประชาชาติทุกประเทศ

 

 

 

                                                ขอแสดงความนับถืออย่างยิ่ง

 

                                                 (ลงนาม) ถนัด คอมันตร์

 

                                                        (ถนัด คอมันตร์)

 

       รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศแห่งประเทศไทย

 

 

 

ปฏิบัติการของไทย

 

แม้ศาลยุติธรมระหว่างประเทศจะไม่มีอำนาจบังคับคดี แต่เพื่อแสดงความเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การสหประชาชาติ ไทยได้ดำเนินการถอนบุคลากรจากปราสาทพระวิหารและได้ล้อมรั้วรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ารอบตัวปราสาทตามคำสั่งของกระทรวงมหาดไทย   และได้ย้ายเสาธงไทยออกจากบริเวณปราสาทโดยไม่มีการลดธง  ทั้งนี้ เพื่อเปิดโอกาสให้กัมพูชาส่งบุคลากรเข้าไปในบริเวณปราสาทโดยไทยมิได้สละอำนาจอธิปไตยเหนือพื้นที่ซึ่งปราสาทพระวิหารตั้งอยู่ หรือยอมรับนับถืออธิปไตยของกัมพูชาแต่อย่างใด  บริเวณที่ตั้งของตัวปราสาทจึงเป็นพื้นที่เดียวซึ่งอาจเรียกได้ว่าเป็น “พื้นที่ทับซ้อน”

 

ปฏิกิริยาของกัมพูชา

 

หลังจากไทยได้ถอนบุคลากรจากประสาทพระวิหารตามคำตัดสินของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ กัมพูชาก็ยอมรับสภาพโดยดี และมิได้โต้แย้งในการที่ไทยได้แสดงความไม่เห็นด้วยกับคำพิพากษาและตั้งข้อสงวนไว้อย่างชัดเจน กัมพูชานิ่งเฉยตลอดระยะเวลา ๕ ทศวรรษโดยมิได้เรียกร้องอะไรอื่นอีก

 

กัมพูชาเริ่มมีปฏิกิริยาเมื่อประมาณ ๕-๖ ปีมานี้ โดยแสดงเจตน์จำนงที่จะขยายอาณาเขตรุกล้ำเข้ามาในพระราชอาณาเขตของประเทศไทย เริ่มจากรื้อรั้วที่ไทยสร้างไว้รอบปราสาท  นอกจากนั้น คนชาติกัมพูชายังลอบเข้ามาตั้งถิ่นฐานในวนอุทยานเขาพระวิหารในเขตแดนไทยรวมทั้งตั้งร้านค้าและแผงลอยซึ่งเพิ่มมากขึ้นตามลำดับเพื่อขายสินค้าให้นักทัศนาจร

 

 

 

พื้นที่ทับซ้อน

 

การกล่าวถึง “พื้นที่ทับซ้อน” ซึ่งไม่เคยปรากฏมาก่อนนั้น  กัมพูชาได้พยายามขยายขอบเขตคำพิพากษาของศาลฯ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๕ โดยแอบอ้างว่าศาลให้ความเห็นชอบแผนที่ผนวก ๑ ซึ่งปราศจากมูลความจริง ทั้งนี้ เนื่องจากในคำพิพากษานั้นเอง ศาลฯ ได้พิจารณาและวินิจฉัยว่าแผนที่ผนวก ๑ ท้ายคำฟ้องของกัมพูชามีข้อผิดพลาดตามที่ปรากฏในรายงานคณะผู้เชี่ยวชาญฝ่ายไทย ผู้เชี่ยวชาญฝ่ายกัมพูชาไม่อาจหักล้างข้อเท็จจริงที่ว่า “เส้นสันปันน้ำ” บนขอบหน้าผาคือเส้นเขตแดนที่แท้จริงระหว่างไทยกับกัมพูชา เส้นเขตแดนดังกล่าวแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าปราสาทพระวิหารอยู่ในเขตแดนไทย

 

อายุความฟ้องร้อง

 

ปัญหาเรื่องอายุความฟ้องร้องไม่เป็นประเด็นในกฏหมายระหว่างประเทศนอกจากในกรณีที่เกี่ยวกับการฟ้องร้องคดีต่อศาลหนึ่งศาลใดที่มีอำนาจพิจารณาข้อขัดแย้งระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง หากจะกล่าวถึงศาลยุติธรรมระหว่างประเทศในปัจจุบัน อายุความ ๑๐ ปีมีอยู่กรณีเดียว  กล่าวคือการร้องขอให้ทบทวนคำพิพากษาตามข้อ ๖๑ วรรค ๕ แห่งธรรมนูญศาลยุติธรรม

 

ในกรณีปราสาทพระวิหาร การกล่าวถึงอายุความ ๑๐ ปีนั้นใช้เฉพาะสิทธิของคู่คดีซึ่งได้แก่ไทยหรือกัมพูชาที่จะร้องเรียนให้ศาลทบทวนคำพิพากษาเดิมเท่านั้น  ฉะนั้น หากไทยหรือกัมพูชาดำริให้ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศทบทวนคำพิพากษาปีพ.ศ. ๒๕๐๕ ก็จะเป็นการสายเกินไป  ถึงอย่างไรก็ตาม ไม่ปรากฏว่าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดดำริที่จะกระทำเช่นนั้น

 

ส่วนกรณีอื่นๆ เช่นการเพิกถอนหรือตีความคำพิพากษา การฟ้องร้องเป็นคดีใหม่ หรือระงับกรณีพิพาทโดยอาศัยกลไกอื่น อาทิ ศาลอนุญาโตตุลาการ ฯลฯ ซึ่งไทยหรือกัมพูชามิได้กระทำการแต่อย่างไร  ปัญหาเรื่องอายุความจึงยังไม่เป็นประเด็น

 

อายุความข้อสงวน

 

 

ข้อสงวนของรัฐบาลไทยต่อคำพิพากษาของศาลในคดีปราสาทพระวิหารซึ่งไทยได้แจ้งไปยังเลขาธิการสหประชาชาติในหนังสือลงวันที่ ๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๐๕ พร้อมทั้งส่งเวียนให้ประเทศสมาชิกสหประชาชาติรับทราบทั่วกันโดยไม่ปรากฏว่ามีประเทศหนึ่งประเทศใดโต้แย้ง ทักท้วง หรือค้ดค้านแต่ประการใดนั้น  เป็นข้อสงวนที่ปลอดอายุความ  มีผลตลอดกาลตราบใดที่ยังอยู่ใต้บังคับของกฏหมายระหว่างประเทศ การที่ข้อสงวนดังกล่าวมิใช่เป็นการทบทวนคดีเก่าซึ่งต้องกระทำภายในกำหนดเวลาที่จำกัดไว้ จึงยังมีผลบังคับจนทุกวันนี้ยกเว้นจะถูกเพิกถอนหรือยกเลิกอย่างเป็นทางการโดยรัฐบาลไทย

 

 

 

ศาสตราจารย์ ดร. สมปองสุจริตกุล*

 

๓๑ สิงหาคม ๒๕๕๒

 

 

 

 

ศาสตราจารย์ ดร. สมปอง สุจริตกุล

 

* B.A., B.C.L., M.A., D.Phil., and D.C.L. (Oxon)

 

  Diplômé d’Etudes Supérieures de Droit International Public, Docteur en Droit (Paris)

 

  LL.M. (Harvard)

 

  of the Middle Temple, Barrister-at-law (United Kingdom)

 

  Diplômé de l’Académie de Droit International de La Haye (Nederland)

 

 -คณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

 -ศาสตราจารย์กิตติคุณกฏหมายระหว่างประเทศและกฏหมายเปรียบเทียบมหาวิทยาลัยกฎหมายโกลเดนเกท  ซานฟรานซิสโก  สหรัฐอเมริกา

 -สมาชิกสถาบันอนุญาโตตุลาการแห่งประเทศไทย

 -สมาชิกสถาบันอนุญาโตตุลาการองค์การกฏหมายเอเซีย-แอฟริกา ณ กรุงไคโร และกัวลาลัมเปอร์

 -อนุญาโตตุลาการอิสระ

 -อดีตเลขาธิการอาเซียน (ประเทศไทย)

 -อดีตเอกอัครราชทูตไทยประจำเนเธอร์แลนด์,เบลเยี่ยม,ลักเซมเบอร์ก,ญี่ปุ่น, ฝรั่งเศส,โปรตุเกส,อิตาลี,กรีก,อิสราเอล และองค์การตลาดร่วมยุโรป

 -อดีตหัวหน้าคณะผู้แทนไทยประจำ UNESCO และ FAO

 -อดีตสมาชิกศูนย์ระงับข้อพิพาทการลงทุนศาลอนุญาโตตุลาการธนาคารโลก  ICSID World Bank

 -อดีตกรรมาธิการสหปราชาชาติเพื่อพิจารณาค่าชดเชยความเสียหายในประเทศคูเวต (UNCC)

 -และทนายผู้ประสานงานคณะทนายฝ่ายไทยในคดีปราสาทพระวิหาร  ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ พ.ศ. ๒๕๐๒-๒๕๐๕

 

http://www.praviharn...w=article&id=94.


Tam-mic-ra ฟันธง!  คำว่า "โดนพริกไทยมั๊ง" น่ะ แค่นี่เอามาเป็นหลักฐาน ได้ยังไงครับ .....  คิดครับคิด  :lol:   จากกระทู้แก้ข่าวหน้า 2 qoute #96  ใครยิงวสันต์-ภู่ทอง   แอลพีจีทำมาจากซี2ซี3


#20 RaRa

RaRa

    Seien Sie loyal zu Majesty

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 6,976 posts

ตอบ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 - 17:25

RaRa

 

คุณจะทับถมเสียดสี จขกท  .            . ก็บอกตรงๆดีกว่า  มากระแทกแดกดันแบบนี้ มันไม่งามน่ะ 

แถมทำเป็นด่าแดงล่อเป้า  ให้การทับถมเสียดสี จขกท .   .  เป็นไปแบบเนียนๆสะงั้น :D

 

คุณ RaRa ครับ ช่างเขาเถอะครับ ที่ผมตั้งกระทู้นี้ขึ้นมา เพื่อให้ผู้รู้ได้ฉุกคิดขึ้นมาเท่านั้น ผมเองได้ถกเถียงกับคนในนี้ เรื่องภาษาอังกฤษก็เลยไปค้นต่อ จึงสังเกตุเห็นความแตกต่าง แล้วคิดต่อว่าทำไมมันทำอย่างนั้น จึงอยากมาให้ทุกท่านลองดูว่าป็นไปตามที่ผมคิดไว้หรือเปล่า หากเป็นจริง ผู้เกี่ยวข้องอาจนำไปใช้โต้แย้งได้ว่าเขมรฟ้องเพิ่มในเรื่องเขตแดนในข้อนี้เช่นเดียวกันกับข้ออื่นๆที่ศาลยกฟ้องไป ผมได้ไปโพสต์ไว้ใน Facebook ของสว.รสนาแล้วครับ ขอให้ทุกท่านแสดงความเห็นเพิ่มได้ที่นี่ต่อเลยครับ

http://www.facebook....236945323048705

 

ในหัวข้อนี้ครับ

http://webboard.seri...ขอ/#entry585730

 

ก่อนอื่นผมต้องบอกเหมือนเดิมอีกครั้งครับ ว่า "ผมก็ยังคิดเหมือนเดิมทุกครั้ง ที่เห็นการนำเสนอของ ท่านStargate"

 

ผมประทับใจกับ ความเอาใจใส่ เรื่อง "มหภาค" แบบ พลังงานของไทย และ พื้นที่อาณาเขตของไทย ที่หลายๆ คนไม่สนใจ

 

บางคนอาจจะคิดว่ามันเป็นเรื่องไกลตัว แต่ ( อาจจะ )ลืมไปว่า มันเป็นเรื่อง "ใกล้ตัว แค่ปลายจมูกเอง" ก็ยังไม่รู้กันสักที...

 

ขอบคุณอีกครั้งครับท่านStargate ที่เสียสละเวลามานั่งหาข้อมูลดีๆ แบบนี้ ...............ด้วยจิตคาราวะ ขอบคุณจริงๆ ครับ

 

 

 

 

อ้อ...ส่วนเรื่อง คุณแต๋ม ผมไม่ถือสาแกหรอกครับ เพราะขนาด "ลูกปืน วิ่งผ่านหัว แกก็ยังคงนั่งจกข้าวเหนียวกิน สบายใจอยู่เลย" หน่ะครับ....


ขอเทิดทูนศักดิ์ศรียิ่งสิ่งใด

...แม้แต่ลมหายใจก็ยอมพลี

โลกยังไม่สิ้นหวัง ถ้ายังมั่นในความดี

...ศรัทธาไม่เคยหน่ายหนี คนดีไม่มีวันตาย


#21 RaRa

RaRa

    Seien Sie loyal zu Majesty

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 6,976 posts

ตอบ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 - 17:39

RaRa

 

คุณจะทับถมเสียดสี จขกท  .            . ก็บอกตรงๆดีกว่า  มากระแทกแดกดันแบบนี้ มันไม่งามน่ะ 

แถมทำเป็นด่าแดงล่อเป้า  ให้การทับถมเสียดสี จขกท .   .  เป็นไปแบบเนียนๆสะงั้น :D

 

เอ็งอ่านยังไงวะ?  ข้าอ่านแล้วไม่เห็นท่านหร่าร้าหมายความตามที่เอ็งเข้าใจเลย

 

ท่านหร่าร้ารู้สึกเคืองใจ ปนรันทดใจ ที่ทำไมกระทู้ซึ่งมีผลต่อความเป็นตายของชาติเสรีไทยถึงเข้าน้อย

ที่ไอ้กระทู้บ้าบอคอแตกของพวกอ้ายอีแดงกะโหลกกะลาบ้าๆบอๆ เราถึงไปให้ความสำคัญนัก  

ไปช่วยกันสร้างวิวให้มันอยู่ได้

 

 

 

 

ปล. ตกลงผมเข้าใจถูกหรือผิดครับท่านหร่าร้า

 

ขอบคุณครับท่านผึ้งน้อยฯ ที่เข้าใจความรู้สึกของผม

 

ผมไม่คิดว่า คุณแต๋ม แกจะแปลความหมายไปแบบนั้นได้นะ....!!!

 

มันมีตรงไหน ที่ผมไปทับถม และ เสียดสีท่านStargate จขกท. ครับ

 

ผมอ่อนใจกับ คุณแต๋ม มาหลายๆ เรื่องแล้วจริงๆ นะครับ

 

( คุณแต๋ม คนนี้เหรอ ที่เคยคิดจะเป็นคู่ปรับกับ ท่านแอมฯ เมื่อก่อน

 

ขอบอกเลยนะครับว่า คุณแต๋ม ยังไม่เลย "หัวเข่า" ท่านแอมฯ เลยครับ )

 

เพราะ ตั้งแต่คอยถามว่า  "ทำไม คนได้ยินเสียงปืนแล้วไม่วิ่งหนี" และมาจนถึง

 

"รถในคลิปหายไปไหน" ....คลิปคนละเวลาก็เอามาตัดต่อกันซะงั้น..สุดยอดจริงๆ ....

 

 

 

 

ท่านผึ้งน้อยฯ เข้าใจความรู้สึกผมถูกต้องเลยหล่ะครับ พวกกระทู้กากๆ ของเสื้อแดง

 

ผมไม่เคยคิดจะไปตอบเลยครับ เพราะ "น้ำเต็มแก้ว" ไปแล้ว ไม่รู้จะเติมยังไงอีกครับ

 

บางทีก็เลื่อนเม้าส์ผ่านๆ ไปเลยแหล่ะครับ.........ขอบคุณครับที่เข้าใจผมนะครับ.......

 

 

ป.ล. คราวแรกผมตั้งใจจะตั้งกระทู้ ตามที่ ผมแสดงความคอดเห็นไปใน คคห.ที่ 13

 

แต่มาคิดอีกที "ตั้งไปแล้วได้อะไร จะมีเพื่อนๆ สมาชิกมาอ่านไหม หรือ อ่านแล้วจะคิดยังไง???"

 

ก็เลยขอมาตอบที่ กระทู้ของท่านStargate ก็แล้วกัน เผื่อว่าจะมีคนที่สนใจจริงๆ เข้ามาอ่าน...จะดีกว่าครับ

 

 

ขอบคุณอีกครั้งครับท่านผึ้งน้อยที่เข้าใจความรู้สึกของผมครับ


ขอเทิดทูนศักดิ์ศรียิ่งสิ่งใด

...แม้แต่ลมหายใจก็ยอมพลี

โลกยังไม่สิ้นหวัง ถ้ายังมั่นในความดี

...ศรัทธาไม่เคยหน่ายหนี คนดีไม่มีวันตาย


#22 Tam-mic-ra.

Tam-mic-ra.

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 2,948 posts

ตอบ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 - 17:51

ราร่า

ถ้าตรงหลังวัดปทุม   มีลูกปืน วิ่งผ่านหัวคนที่นั่ง เขามันก็ต้องวิ่งสิ่  ทำไมตอนที่คุยกันนั้น คุณไม่เห็นบอกหล่ะ 

เพิ่งมีหลักฐานใหม่หรือ หรือคุณเพิ่งแต่งเองครับ  

 

อ่อ แล้วไม่ต้องอ้างคุณแอมมาเปรียบเทียบฝีมืออะไรหรอกน่า  มันก็แลกเปลี่ยนข้อมูลกัน   

แต่ผมเเสดงข้อมูล จนแอมเขากด Like ให้ผม ก็แล้วกัน    ไม่รู้ราร่าเคยเห็นหรือเปล่า  :D


Edited by Tam-mic-ra., 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 - 17:56.

"คนพาลไร้สติ มักสร้างเรื่องและหลักฐานเท็จโกหก เพื่อคอยใส่ร้ายอีกฝ่ายหนึ่งเสมอ" :unsure:

 

นาย ''Starเก๋ง'' ฟันธง!  รถเก๋งขับมายิงเสื้อแดง :lol:      http://webboard.seri...แค/#entry842224   ;      http://webboard.seri...-25#entry408954


#23 55555

55555

    มหาเมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 13,795 posts

ตอบ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 - 17:59

ราร่า

ถ้าตรงหลังวัดปทุม   มีลูกปืน วิ่งผ่านหัวคนที่นั่ง เขามันก็ต้องวิ่งสิ่  ทำไมตอนที่คุยกันนั้น คุณไม่เห็นบอกหล่ะ 

เพิ่งมีหลักฐานใหม่หรือ หรือคุณเพิ่งแต่งเองครับ  

 

อ่อ แล้วไม่ต้องอ้างคุณแอมมาเปรียบเทียบฝีมืออะไรหรอกน่า  ก็แลกเปลี่ยนข้อมูลกัน   

แต่ผมเเสดงข้อมูล จนแอมเขากด Like ให้ผม ก็แล้วกัน    ไม่รู้ราร่าเคยเห็นหรือเปล่า 

 

 

ดูนังแต๋มแสดงความโง่...ไม่รู้ว่าอะไรเป็นข้อมูลอะไรเป็นกระแน๊ะ กระแหน๋

 

เหมือนกับไม่เข้าใจว่าทำไมผมพูดเรื่อง  single shot เป็นเสียงปืน..

 

เห็นยัง ผมบอกแล้วว่า นังแต๋ม มันบ้า like

 

:lol: 



#24 Stargate-1

Stargate-1

    SG-1

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,578 posts

ตอบ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 - 20:13

คอลัมน์การเมือง บ้านเกิดเมืองนอน

  • สิริอัญญา

 

หลักฐานเริ่มชัด! ต้องหยุดขายชาติ

กระทรวงการต่างประเทศได้ออกเอกสารเผยแพร่เรื่องข้อเท็จจริงที่คนไทยควรรู้เกี่ยวกับกรณีปราสาทพระวิหารที่กำลังถูกเขมรฟ้องคาอยู่ในศาลโลก....ข้อเท็จจริงหลายเรื่องที่ปรากฏในเอกสารดังกล่าวทำให้ความจริงเริ่มชัดเจนมากขึ้นทุกทีว่า มีคนขายชาติ

                คนขายชาติได้สมคบกับเขมรยืมมือศาลโลกเพื่อให้ตัดสินให้ดินแดนไทยถึง 19 ล้านไร่ตกเป็นของเขมร แล้วเอาผลประโยชน์ทั้งทางบก ทางทะเล ไปแบ่งปันกัน

                เอกสารเผยแพร่ดังกล่าวมีความตอนหนึ่งยอมรับความจริงว่า ในคดีปราสาทพระวิหารที่ศาลโลกได้ตัดสินในปี พ.ศ. 2505 ในสมัยรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ รัฐบาลเขมรได้ยื่นฟ้องประเทศไทยเป็นสองรอบ คือ

                รอบแรก ยื่นฟ้องเมื่อ ค.ศ. 1959 หรือ พ.ศ. 2502 เป็นการฟ้องเรียกเอาตัวปราสาทพระวิหารว่าเป็นของเขมร ขอให้ศาลโลกตัดสินให้ปราสาทพระวิหารเป็นอธิปไตยของเขมร

                รอบที่สอง เมื่อ ค.ศ. 1962 หรือ พ.ศ.2505 เขมรได้ยื่นคำร้องเพิ่มเติมคำฟ้อง กล่าวอ้างว่าพื้นที่รอบปราสาทพระวิหารตามแผนที่อัตราส่วน 1:200,000 เป็นของเขมรด้วย

                แต่น่าละอายยิ่งนักที่ผู้คนในกระทรวงการต่างประเทศปกปิดไม่เปิดเผยความจริงให้ครบถ้วนว่า ในการฟ้องคดีรอบที่สองในรูปแบบของการยื่นคำร้องขอเพิ่มเติมคำฟ้องนั้นเป็นอย่างไร

                กระทรวงการต่างประเทศคงสรุปคำตัดสินของศาลโลกว่าตัดสินเฉพาะตัวปราสาทพระวิหาร ว่าเป็นอธิปไตยของเขมร แต่ก็ได้ยอมรับเอาไว้เองว่าศาลโลกไม่ได้ตัดสินเรื่องพื้นที่หรือดินแดนรอบปราสาทพระวิหาร

                ตรงนี้เป็นประเด็นสำคัญที่จะเผยให้เห็นว่า มีการขายชาติ มีการสมคบกันเพื่อยกดินแดนไทยให้กับเขมร ดังนั้นข้อเท็จจริงอะไรที่ขาดหายไป หรือที่ถูกปกปิดไว้จึงต้องนำเอามาแฉและนำเอามาเปิดเผย เพื่อให้คนไทยทั้งประเทศและทหารทุกเหล่าทัพได้รู้เช่นเห็นชาติของขบวนการขายชาติ และจะได้ทำหน้าที่รักษาเอกราชอธิปไตยตามรัฐธรรมนูญได้อย่างเต็มภาคภูมิ

                คำฟ้องรอบที่สองที่เขมรฟ้องเรียกเอาดินแดน 4.6 ตารางกิโลเมตร ตามแผนที่อัตราส่วน 1:200,000 ในรูปแบบของคำฟ้องเพิ่มเติมนั้น ในเอกสารของกระทรวงการต่างประเทศที่ว่าคนไทยควรรู้ แต่ไม่ได้เปิดเผยไว้คือ รัฐบาลไทยไม่ยอมรับศาลโลก ไม่ยอมรับให้เขมรเพิ่มเติมคำฟ้อง

                นั่นคือเมื่อเขมรยื่นคำร้องขอเพิ่มเติมคำฟ้องเรียกเอาดินแดน 4.6 ตารางกิโลเมตรอบปราสาทพระวิหารแล้ว โดยข้อกำหนดวิธีพิจารณาความของศาลโลก ศาลโลกไม่มีอำนาจสั่งว่าจะดำเนินคดีในส่วนนี้ได้หรือไม่ เพราะต้องรอฟังประเทศที่เป็นภาคีก่อน ศาลโลกจึงสั่งให้ส่งสำเนาแก่ทนายความฝ่ายไทยว่า จะคัดค้านการเพิ่มเติมคำฟ้องหรือไม่

                คณะทนายความได้รับสำเนาคำร้องขอเพิ่มเติมคำฟ้องพร้อมคำสั่งศาลแล้ว ได้เสนอต่อรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ว่า สมควรเห็นชอบให้เขมรเพิ่มเติมคำฟ้องเรียกเอาดินแดนได้

                คณะรัฐมนตรีที่จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ นั่งเป็นประธาน มีมติมอบให้พระยาอรรถการีนิพนธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมไปพิจารณาเสนอความเห็นต่อคณะรัฐมนตรี

                พระยาอรรถการีนิพนธ์ได้ตั้งคณะทำงาน มีศาสตราจารย์กำธร พันธุลาภ เนติบัณฑิตอังกฤษ  ผู้พิพากษา พร้อมด้วยนายบุศย์ ขันธวิทย์ เนติบัณฑิตไทย ผู้พิพากษา และคนอื่น ๆ อีก เพื่อพิจารณาเรื่องนี้ โดยพระยาอรรถการีนิพนธ์ได้สอบถามนายบุศย์ ขันธวิทย์ เป็นการส่วนตัวก่อนว่าในฐานะที่เคยเป็นทนายความมาก่อน มีความเห็นเรื่องเขมรขอเพิ่มเติมคำฟ้องอย่างไร

                นายบุศย์ ขันธวิทย์ แจ้งแก่พระยาอรรถการีนิพนธ์ว่า ไม่มีธรรมเนียมที่ไหนที่ฝ่ายโจทก์จะเพิ่มเติมคำฟ้องให้ตัวเองเสียเปรียบ มีแต่จะเพิ่มเติมเพื่อเอาเปรียบฝ่ายจำเลย เพียงเหตุผลเท่านี้ก็ต้องคัดค้านไม่ให้เขมรเพิ่มเติมคำฟ้อง ท่านเจ้าคุณพระยาอรรถการีนิพนธ์เห็นด้วย

                คณะทำงานพิจารณาเรื่องแล้วมีความเห็นเป็นเอกฉันท์ให้รัฐบาลไทยคัดค้านการเพิ่มเติมคำฟ้อง คือไม่ยอมรับอำนาจศาลโลกให้พิจารณาเรื่องดินแดน และไม่ยอมรับให้เขมรเพิ่มเติมคำฟ้องเรื่องดินแดน

                ศาลโลกจึงมีคำสั่งยกคำร้องที่ฟ้องเรียกเอาดินแดนของเขมรนั้นเสีย ดังนั้นคดีดังกล่าวจึงพิพาทกันเฉพาะตัวปราสาทพระวิหาร และประเทศไทยก็แพ้คดีเฉพาะตัวปราสาทพระวิหาร นี่คือเหตุผลว่าทำไมศาลโลกจึงไม่ได้พิพากษาเรื่องดินแดนและเรื่องแผนที่อัตราส่วน 1:200,000 เพราะเป็นเรื่องนอกฟ้อง นอกประเด็น

                ดังนั้นไอ้หน้าไหนก็ตามที่มาโกหกคนไทยว่าศาลโลกตัดสินให้ดินแดน 4.6 ตารางกิโลเมตร ตามแผนที่ 1:200,000 เป็นของเขมรจึงเป็นวาทกรรมของพวกขายชาติ ทรยศ กบฏชาติ ที่ต้องประหารชีวิตสถานเดียวเท่านั้น!

 

http://www.naewna.co.../columnist/5033



 

 


Tam-mic-ra ฟันธง!  คำว่า "โดนพริกไทยมั๊ง" น่ะ แค่นี่เอามาเป็นหลักฐาน ได้ยังไงครับ .....  คิดครับคิด  :lol:   จากกระทู้แก้ข่าวหน้า 2 qoute #96  ใครยิงวสันต์-ภู่ทอง   แอลพีจีทำมาจากซี2ซี3


#25 ypk

ypk

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 2,173 posts

ตอบ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 - 22:46

เหอะ เหอะ เหอะ  อ่าน ๆ ดูแล้ว มันไม่น่าจะเป็นการฟ้องสองครั้งนะ มันเป็นการ

เพิ่มเติมคำฟ้องมากกว่า คือมาขอเพิ่มเติมคำฟ้องอีก

 

ถ้าจะเรียกว่า "ขายชาติ" ผมก็ว่ามันน่าจะเป็นตรงที่กัมพูชายื่นคำฟ้องเพิ่มเติมนี่แหละ

เพราะช่วงนั้นรู้สึกว่าจะมีคนไทยนำข้อมูลไปให้ทางฝรั่งเศสอยู่ ซึ่งน่าจะเป็นข้อมูล

เกี่ยวกับการต่อสู้คดีของไทยนั่นแหละ เมื่อฝรั่งเศสรู้ เขมรก็ต้องรู้ ก็เลยทำคำฟ้องเพิ่ม

(ผมเดาเอาเองคิดเองว่ามันน่าจะเป็นอย่างนั้น)

 

แต่ในความคิดผม ผมคิดว่าเรื่องเหล่านี้มันน่าจะจบไปตั้งแต่ศาลตัดสินให้ตัวปราสาทเป็น

ของกัมพูชาแล้ว แต่ไอ้ประเด็นใหม่นี่นะซี้ ที่กัมพูชาไปฟ้องใหม่เนี่ยะ รัฐบาลจะเอายังไง

เพราะตอนเราไปแถลงต่อศาลโลกเนี่ยะ มันสำคัญนะ จุดยืนตรงนี้มันต้องชัดเจนว่าถ้าศาลโลก

ยังมาตัดสินบิดเบี้ยวเหมือนเดิม เราคงยอมรับไม่ได้ ศาลโลกนั้นรู้อยู่แก่ใจว่าการตัดสินคราวที่แล้ว

มันโกงประเทศไทย ครั้งนี้จะมาโกลอีก ถ้ารัฐบาลยอมรับผมก็ว่า บ้า แล้ว

 

ผมมองว่าการเอาทูตไปเป็นทนายความมันมีทั้งจุดแข็งและจุดอ่อน จุดแข็งก็คือจะรู้ระเบียบกฎหมายดี

จุดอ่อนก็คือ อ่อนปวกเปียกตามตามระเบียบกฎหมายทั้ง ๆ ที่รู้ว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม แถมยังพูด

ไม่เก่งเหมือนทนายความ มุ่งแต่จะโต้ประเด็นข้อกฎหมาย โดยไม่มีการพูดโน้มน้าวใจผู้พิพากษาให้เห็น

คล้อยตาม ผมคิดว่าศาลฝรั่งมันเชิงดราม่า มากกว่าเพราะเขาจะคุ้นกับระบบลูกขุน ที่ต้องมีการพูดให้

ลูกขุนคล้อยตาม เพราะฉะนั้นการพูดที่เป้นเหตุเป็นผล แม้ไม่ใช่ข้อกฎหมายน่าจะจำเป็น ไม่ว่าจะเป็น

เรื่องแนวสันปันน้ำที่เราถูกหักดิบจากการตัดสินคราวที่แล้ว และคนไทยทั้งประเทศต้องกล้ำกลืนยอมรับ

มาครั้งหนึ่งแล้ว แผนที่ 1:200000 ที่ศาลมัดมือชก โดยอ้างว่าเรายอมรับ และไปยกเอาเหตุการต่าง ๆ

มาประกอบว่าเรายอมรับ ซึ่งไอ้เหตุการที่อ้างมานั้น มันบ่งบอกอะไรได้ว่าเรายอมรับ มันสรุปเอาเอง

ทั้งนั้น เพราะมันเป็นยุคล่าอาณานิคม แต่ปัจจุบันมันไม่ใช่แล้ว แล้วรัฐบาลไทยยังทำท่าทีเหมือนจะให้

เขมรมาล่าอาณานิคมอยู่ นี่ ก็ไม่รู้จะพูดยังไงแล้ว  รอให้ไพศาล พืชมงคง พูดให้ชัด ๆ ดีกว่า ว่า

ใครมันคือ คนขายชาติ อย่าพูดมั่ว ๆ แล้วกัน


  • Gop likes this

#26 ฟังทั้งสองฝ่าย

ฟังทั้งสองฝ่าย

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 2,261 posts

ตอบ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 - 01:24

post-11431-0-58019600-1359744434.gif
 
พื้นที่รองรับปราสาท !!!     555    แต่เดี๋ยว มันคงเถียงต่อได้  ลืมไป :unsure:
 
อ่อๆ มุขเดิมแน่ๆ=    นพดลไปยกปราสาทให้เขมร ก๊ากๆ

มุขเดิมๆ ของท่านแต๋มเองนั้นแหละ"มั๊ง" ในข้อความ ความเห็นนี้ ลงเอกสารไว้ปี 2505 จะไปเกี่ยวอะไรกับ นพดล แถมยังไปโยนให้คนอื่นอีก

#27 ฟังทั้งสองฝ่าย

ฟังทั้งสองฝ่าย

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 2,261 posts

ตอบ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 - 01:41

เหอะ เหอะ เหอะ  อ่าน ๆ ดูแล้ว มันไม่น่าจะเป็นการฟ้องสองครั้งนะ มันเป็นการ
เพิ่มเติมคำฟ้องมากกว่า คือมาขอเพิ่มเติมคำฟ้องอีก
 
ถ้าจะเรียกว่า "ขายชาติ" ผมก็ว่ามันน่าจะเป็นตรงที่กัมพูชายื่นคำฟ้องเพิ่มเติมนี่แหละ
เพราะช่วงนั้นรู้สึกว่าจะมีคนไทยนำข้อมูลไปให้ทางฝรั่งเศสอยู่ ซึ่งน่าจะเป็นข้อมูล
เกี่ยวกับการต่อสู้คดีของไทยนั่นแหละ เมื่อฝรั่งเศสรู้ เขมรก็ต้องรู้ ก็เลยทำคำฟ้องเพิ่ม
(ผมเดาเอาเองคิดเองว่ามันน่าจะเป็นอย่างนั้น)
 
แต่ในความคิดผม ผมคิดว่าเรื่องเหล่านี้มันน่าจะจบไปตั้งแต่ศาลตัดสินให้ตัวปราสาทเป็น
ของกัมพูชาแล้ว แต่ไอ้ประเด็นใหม่นี่นะซี้ ที่กัมพูชาไปฟ้องใหม่เนี่ยะ รัฐบาลจะเอายังไง
เพราะตอนเราไปแถลงต่อศาลโลกเนี่ยะ มันสำคัญนะ จุดยืนตรงนี้มันต้องชัดเจนว่าถ้าศาลโลก
ยังมาตัดสินบิดเบี้ยวเหมือนเดิม เราคงยอมรับไม่ได้ ศาลโลกนั้นรู้อยู่แก่ใจว่าการตัดสินคราวที่แล้ว
มันโกงประเทศไทย ครั้งนี้จะมาโกลอีก ถ้ารัฐบาลยอมรับผมก็ว่า บ้า แล้ว
 
ผมมองว่าการเอาทูตไปเป็นทนายความมันมีทั้งจุดแข็งและจุดอ่อน จุดแข็งก็คือจะรู้ระเบียบกฎหมายดี
จุดอ่อนก็คือ อ่อนปวกเปียกตามตามระเบียบกฎหมายทั้ง ๆ ที่รู้ว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม แถมยังพูด
ไม่เก่งเหมือนทนายความ มุ่งแต่จะโต้ประเด็นข้อกฎหมาย โดยไม่มีการพูดโน้มน้าวใจผู้พิพากษาให้เห็น
คล้อยตาม ผมคิดว่าศาลฝรั่งมันเชิงดราม่า มากกว่าเพราะเขาจะคุ้นกับระบบลูกขุน ที่ต้องมีการพูดให้
ลูกขุนคล้อยตาม เพราะฉะนั้นการพูดที่เป้นเหตุเป็นผล แม้ไม่ใช่ข้อกฎหมายน่าจะจำเป็น ไม่ว่าจะเป็น
เรื่องแนวสันปันน้ำที่เราถูกหักดิบจากการตัดสินคราวที่แล้ว และคนไทยทั้งประเทศต้องกล้ำกลืนยอมรับ
มาครั้งหนึ่งแล้ว แผนที่ 1:200000 ที่ศาลมัดมือชก โดยอ้างว่าเรายอมรับ และไปยกเอาเหตุการต่าง ๆ
มาประกอบว่าเรายอมรับ ซึ่งไอ้เหตุการที่อ้างมานั้น มันบ่งบอกอะไรได้ว่าเรายอมรับ มันสรุปเอาเอง
ทั้งนั้น เพราะมันเป็นยุคล่าอาณานิคม แต่ปัจจุบันมันไม่ใช่แล้ว แล้วรัฐบาลไทยยังทำท่าทีเหมือนจะให้
เขมรมาล่าอาณานิคมอยู่ นี่ ก็ไม่รู้จะพูดยังไงแล้ว  รอให้ไพศาล พืชมงคง พูดให้ชัด ๆ ดีกว่า ว่า
ใครมันคือ คนขายชาติ อย่าพูดมั่ว ๆ แล้วกัน

เรื่อง แผนที่ ที่ลากเส้นทำให้ตัวปราสาทอยู่ในเขตกัมพูชา กับแผนที่ สันปันน้ำตัวปราสาทอยู่ในเขตไทย
ตามสนธิสัญญา122(2504) ให้ใช้สันปันน้ำ แต่ (ผมเข้าใจเอาเองนะว่า) แผนที่ ที่ลากเส้นให้ตัวปราสาท อยู่ในเขตกัมพูชา น่าจะเริ่มทำมาก่อน 2502 พอเสร็จในปี2502 กัมพูชาก็ใช้แผนที่นี้ยื่นต่อศาลโลก
แต่ศาลโลก ตัดสิน ว่าเฉพาะตัวปราสาท เป็นของกัมพูชา และไทยต้องถอนกำลังออกจากตัวปราสาท และต้องต้องคืนโบราณวัตถุภายในตัวปราสาท ให้กัมพูชา
แล้วทีนี้จะมายื่นฟ้องต่อ ก็คงต้องใช้สนธิสัญญา122(2504) มาอ้างอิง ส่วนแผนที่ ที่ลากเส้นให้ตัวปราสาทอยู่ในเขตกัมพูชา มีมาก่อน2504 ตามหลักแล้ว ก็ต้องใช้ กฏหมาย หรือ เอกสาร สัญญา ล่าสุด ในการตัดสินคดี (มันจึงเกิด TOR46 ที่มีเพิ่มแปนที่ 1:200000 เข้าไปใน1.1.3 ของ MOU 43 ซึ่งโอกาสเสีย4.6 ก็ตรง TOR46ในข้อ1.1.3นี้แหละ)
ปล.นี้คือความคิดเห็น จากที่ได้อ่านแบบผ่านๆเร็วๆไม่เจาะลึกนะครับ ไว้พรุ่งนี้เข้ามาอ่านอีกรอบ มันเยอะ ต้องอ่านหลายๆรอบครับ(ข้อมูลผิดพลาดตรงไหนช่วยแก้ด้วยนะครับ ขอบคุณครับ แฮะๆๆ)
ปล.1 ส่วนในชื่อบุคคลต่างๆที่ท่านสตาเกตนำมาอ้างอิง ผมว่า แค่ชื่อ เสื้อแดงก็ไม่อ่านแล้วครับ เพราะมันเป็น ฟิลลิ่งงงงงงงงงงงงงงงงง!!!

Edited by ฟังทั้งสองฝ่าย, 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 - 01:42.


#28 Stargate-1

Stargate-1

    SG-1

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,578 posts

ตอบ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 - 08:59

ไทยยื่นชี้แจงเพิ่มต่อศาลโลก โต้เขมรสู้คดี′เขาพระวิหาร′

วันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2555 เวลา 13:15:18 น.


นายรัชนันท์ ธนานันท์ อธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย ตัวแทนประเทศไทยในการต่อสู้คดีกรณีกัมพูชายื่นขอให้ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ไอซีเจ) หรือศาลโลกตีความคำพิพากษาคดีปราสาทพระวิหาร ปี 2505 และนายธานี ทองภักดี อธิบดีกรมสารนิเทศ และโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ร่วมกันแถลงข่าวว่า นายวีรชัย พลาศรัย เอกอัครราชทูต ณ กรุงเฮก ในฐานะตัวแทนประเทศไทยในการต่อสู้คดี ได้ยื่นคำอธิบายเพิ่มเติมเป็นลายลักษณ์อักษรของไทยต่อศาลโลก เพื่อโต้คำตอบของกัมพูชาที่ยื่นต่อศาลเมื่อวันที่ 8 มีนาคมที่ผ่านมา และเพื่อเน้นย้ำข้อต่อสู้คดีของไทยในประเด็นต่างๆ ในฉบับที่ 1 ที่ยื่นไปเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2554 ทั้งนี้คำอธิบายดังกล่าวผ่านความเห็นชอบจาก ครม.เมื่อวันที่ 5 มิถุนายนที่ผ่านมา

นายรัชนันท์กล่าวว่า คำอธิบายเพิ่มเติมดังกล่าวยาวประมาณ 240 หน้า มีเอกสารและแผนที่ผนวกอีก 2 เล่ม รวม 53 รายการ ภาคผนวกนี้มีความยาวประมาณ 380 หน้า สรุปสาระสำคัญว่ากัมพูชาไม่มีอำนาจฟ้องให้ศาลตีความ หรือให้ตัดสินว่าเส้นเขตแดนเป็นไปตามแผนที่ที่กัมพูชายื่น และคำตัดสินของศาลโลกในดคีปราสาทพระวิหาร ปี 2505 ไทยได้ปฏิบัติตามแล้วโดยครบถ้วนตั้งแต่ปี 2505 ไม่เกี่ยวกับเรื่องเขตแดน แต่เกี่ยวกับอธิปไตยเหนือตัวปราสาทเท่านั้น ส่วนขอบเขตของบริเวณปราสาทพระวิหารต้องเป็นไปตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2505 และเส้นตามมติ ครม.ไม่ใช่เส้นเขตแดน ส่วนเรื่องเขตแดนต้องเจรจาภายใต้กรอบคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา ทั้งนี้คำตัดสินของศาลโลกไม่ได้ให้สถานะทางกฎหมายใดๆ เพียงใช้แผนดังกล่าวเป็นเหตุผลหนึ่งในหลายๆ เหตุผลเพื่อชี้ว่าปราสาทอยู่ภายใต้อธิปไตยของกัมพูชา

อธิบดีกรมสนธิสัญญากล่าวว่า ขั้นตอนต่อไปจากนี้ ศาลจะเป็นผู้กำหนด รวมถึงกำหนดให้นั่งพิจารณาด้วยหรือไม่ ในชั้นนี้คาดว่าน่าจะมีขึ้นในปี 2556 ทั้งนี้ ระหว่างคดียังอยู่ในขั้นตอนการพิจารณา ตามข้อบังคับของศาล คู่กรณีไม่สามารถเปิดเผยเอกสารที่ใช้ในการต่อสู้คดีต่อสาธารณชน จนกว่าจะเริ่มกระบวนการพิจารณาทางวาจาหรือหลังจากนั้น เว้นแต่ศาลกำหนดให้เป็นอย่างอื่น อย่างไรก็ตาม กระทรวงการต่างประเทศยืนยันว่าคณะสู้คดีได้ทำหน้าที่อย่างดีที่สุด

 

http://www.matichon....pid=03&catid=03


Tam-mic-ra ฟันธง!  คำว่า "โดนพริกไทยมั๊ง" น่ะ แค่นี่เอามาเป็นหลักฐาน ได้ยังไงครับ .....  คิดครับคิด  :lol:   จากกระทู้แก้ข่าวหน้า 2 qoute #96  ใครยิงวสันต์-ภู่ทอง   แอลพีจีทำมาจากซี2ซี3


#29 ypk

ypk

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 2,173 posts

ตอบ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 - 11:01

เหอะ เหอะ เหอะ  ผมค่อนข้างเห็นด้วยกับบทความของนายปานเทพ นะ (ทั้ง ๆ ที่

ไม่ค่อยเชื่อถือเวลาแกพูดเรื่อง MOU ขายชาติ) 

 

ศาลโลกมันรู้อยู่แก่ใจว่า ไอ้แผนที่ 1:200000 นี่มันไม่ตรงข้อเท็จจริง แต่มันจะยก

ปราสาทให้เขมรตามอิทธิพลของฝรั่งเศสนั่นแหละ ถ้ามันพูดถึงสันปันน้ำ แล้วมันจะ

ไปยกปราสาทให้เขมรได้อย่างไรล่ะ  มันถึงอ้อมแอ้มตัดสินมั่ว ๆ โดยอ้างกฎหมายปิดปาก

แต่นั่นมันเป็นยุคล่าอาณานิคม ซึ่งเราก็ถุกปิดปากจริง ๆ เพราะอิทธิพลของไอ้พวกนี้นั่นแหละ 

 

ในสนธิสัญญามันก็เขียนไว้ชัดเจนว่าเขตแดนมันจากจุดไหนตรงไหน ผมจึงไม่เข้าใจว่า

ทำไมเราจึงต้องมานั่งกลัวไอ้แผนที่ 1:200000 กันอยู่ เพราะผมคิดว่า เขมรจะอ้างแผนที่

มาตราส่วนเท่าใดก็เรื่องของเขมร แต่ข้อเท็จจริงมันก็ต้องเป็นไปตามสนธิสัญญาที่ทำกัน

ไว้แล้วเท่านั้น ถ้าศาลโลกจะตัดสินว่าพื้นที่ของเขมรเป็นไปตามแผนที่มาตราส่วน 1:200000

มันก็ควรต้องมาพิสูจน์กันก่อนว่าไอ้แผนที่เนี่ยะ มันตรงตามสนธิสัญญาหรือเปล่า หรือไทย

จะยอมให้ศาลโลกตัดสินเข้าข้างเขมรอีกครั้งหนึ่ง ทั้ง ๆ ที่มันหมดยุคทาส ยุคล่าอาณานิคมแล้ว

 

ผมจึงมองว่า เราจะได้จะเสีย มันก็อยู่ที่ไอ้รัฐบาลนี้นั่นแหละว่า คุณมีเจตนาอย่างไรในการ

สู้คดีในศาลโลกครั้งนี้



#30 Stargate-1

Stargate-1

    SG-1

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,578 posts

ตอบ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 - 12:39

คำเตือนถึงอภิสิทธิ์: โปรดอย่าปล่อยให้ศาลโลกแปลคำผิด

 

Thu, 2011-06-09 21:14

วีรพัฒน์ ปริยวงศ์
อดีตนักกฎหมายในคดีศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ สำนักกฎหมาย Freshfields Bruckhaus Deringer (กรุงปารีส). นิติศาสตรมหาบัณฑิต (รางวัลทุนฟุลไบรท์และวิทยานิพนธ์เกียรตินิยม) มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด

ที่มา: http://www.facebook....apat.pariyawong

 

ผู้เขียนขอส่งคำเตือนด้วยความปรารถนาดีไปยังรัฐบาลรักษาการและผู้เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาให้รอบคอบว่าศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ศาลโลก) กำลังเข้าใจจุดยืนไทยผิดหรือไม่? เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2554 หนังสือพิมพ์ประชาไทได้เผยแพร่บทความเรื่อง “คำถามถึงอภิสิทธิ์ ทำไมทะเลาะกับเขมรแทบตาย เพื่อกลับไปที่เดิม?” โดย ผศ. ดร. พวงทอง ภวัครพันธุ์ ภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ​ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ http://www.prachatai...l/2011/06/35327 ผู้เขียนเห็นว่าบทความดังกล่าวมีข้อคิดที่เป็นประโยชน์ โดยเฉพาะในแง่การให้ความเป็นธรรมกับผู้ที่เกี่ยวข้องในอดีต และการดำเนินนโยบายระหว่างประเทศอย่างมีสติและจิตวิทยา กระนั้นก็ดี ด้วยความเชื่อมั่นในน้ำใจความเป็นนักวิชาการของ ผศ. ดร. พวงทอง ผู้เขียนพึงเสนอความเห็นแย้งต่อบทความดังกล่าวอย่างน้อยสองประการ ดังต่อไปนี้ ประการแรก: “ขอบเขต” ปราสาทพระวิหาร ไม่ใช่สิ่งเดียวกันหรือส่วนหนึ่งของ “เขตแดน” ไทย-กัมพูชา บทความของ ผศ. ดร. พวงทอง สื่อให้เห็นว่า ศาลโลกอาจแปลคำพูดของไทยผิด หรือไม่ก็อาจแปลให้มีผู้อ่านเข้าใจผิดได้ ดังนี้ ผศ. ดร. พวงทองกล่าวถึงถ้อยแถลงของไทย ณ ศาลโลก เมื่อวันที่ 30-31 พ.ค. ที่ผ่านมาว่า: “[นายวีรชัย พลาศรัย] แถลงว่า ‘ประเทศไทยมีความสม่ำเสมอในจุดยืนของตนที่ยอมรับคำตัดสินของศาลเมื่อวันที่ 15 มิ.ย. 2505 และได้ปฏิบัติตามคำตัดสินดังกล่าวอย่างสมบูรณ์’ดังจะเห็นได้ว่า หลังจากศาลมีคำตัดสินออกมา คณะรัฐมนตรี (ของสฤษดิ์ ธนะรัชต์) ได้จัดให้มีการประชุมเมื่อวันที่ 10 ก.ค. เพื่อกำหนดพื้นที่ของพระวิหารให้เป็นไปตามคำตัดสินของศาล ต่อมาในวันที่ 19 ก.ค. ฝ่ายไทยได้จัดทำรั้ว [ลวดหนาม] ขึ้นตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 10 ก.ค. เพื่อเป็นเครื่องหมายเขตแดนของพระวิหาร และฝ่ายกัมพูชาก็ยอมรับเส้นเขตแดนดังกล่าวตลอด 40 ปีที่ผ่านมา” จากนั้น ผศ. ดร. พวงทอง ตั้งข้อสังเกตโดยกล่าวเชิงสรุปว่า: “คำแถลงของฝ่ายไทยชี้ว่านับแต่ปี 2505 เป็นต้นมา ฝ่ายไทยได้ยึดรั้ว [ลวดหนาม] ที่ตั้งขึ้นในสมัยรัฐบาลสฤษดิ์ ว่าเป็นส่วนหนึ่งของเส้นเขตแดนระหว่างไทย-กัมพูชาในบริเวณพระวิหาร” เนื่องจากมิได้มีการระบุเอกสารอ้างอิงไว้ ผู้เขียนจึงสันนิษฐานว่า ผศ.ดร.พวงทอง อ้างถ้อยคำจากเอกสารบันทึกของศาลCR 2011/14 หน้า 12 ในส่วนที่นายวีรชัย พลาศรัย กล่าวเป็นถ้อยคำภาษาฝรั่งเศส ความว่า: “10. Le 19 juillet, des travaux commencèrent pour ériger une clôture en fil de fer barbelé et un panneaumarquant la limite de la zone du temple, conformément à la ligne qui avait été retenue par le conseil des ministres du 10 juillet aux fins de l’exécution de l’arrêt de 1962. Vers le 5 août, les travaux furent terminés” (เน้นคำโดยผู้เขียน) ศาลโลกได้แปลเอกสาร CR 2011/14 เป็นฉบับ uncorrected (ยังไม่ได้รับการตรวจสอบโดยคู่ความ) ซึ่งเอกสารแปลหน้าที่ 4 ได้แปลถ้อยคำภาษาฝรั่งเศสของนายวีรชัย พลาศรัยข้างต้น เป็นภาษาอังกฤษดังนี้: “On 19 July, work began to erect a barbed wire fence and a sign marking the boundary of the Templearea, according to the line which had been adopted by the Council of Ministers on 10 July for the purposes of implementing the 1962 Judgment. The work was completed by around 5 August.” (เน้นคำโดยผู้เขียน) หากข้อสันนิษฐานถูกต้อง ผู้เขียนจำต้องทำความเห็นแย้งว่า ลวดหนามที่ ผศ. ดร. พวงทอง อธิบายว่าเป็น “เครื่องหมายเขตแดนของพระวิหาร” และเป็นส่วนหนึ่งของ “เส้นเขตแดนระหว่างไทย-กัมพูชาในบริเวณพระวิหาร” นั้น เป็นการแปลถ้อยคำที่คลาดเคลื่อนในทางกฎหมายอย่างมีนัยสำคัญ และไม่ตรงกับสิ่งที่นายวีรชัยเรียกว่า “la limite de la zone du temple” ดังนี้: 1. ในบริบทคดีปราสาทพระวิหาร คำว่า “เขตแดน” เป็นคำเฉพาะในทางกฎหมายระหว่างประเทศ ต่างจากคำว่า “la limite” ในภาษาฝรั่งเศสที่นายวีรชัยใช้ ซึ่งมีความหมายยืดหยุ่นกว่า กล่าวคือ “la limite” ในทางหนึ่งอาจแปลโดยเจาะจงว่า “เขตแดน” กล่าวคือเขตที่ถูกกำหนดเพื่อบ่งชี้หรือแบ่งดินแดนของรัฐหรือดินแดนอื่นในทางกฎหมาย แต่ในอีกทางหนึ่ง คำว่า “la limite” คำเดียวกันนี้ยังสามารถแปลอย่างทั่วไปได้ว่า “ขอบเขต” คือเขตที่กำหนดจุดสิ้นสุดของบริเวณหรือสถานที่ เช่น ขอบเขตของวัดนั้นสิ้นสุดที่กำแพงวัด 2. ผู้เขียนเห็นว่า สิ่งที่นายวีรชัยในฐานะตัวแทนประเทศไทยเรียกว่า “la limite de la zone du temple” นั้นหมายถึง “ขอบเขตของตัวปราสาทพระวิหาร” ซึ่งในทางกฎหมายไม่ใช่สิ่งเดียวกับ “เขตแดนในบริเวณปราสาทพระวิหาร” ตามที่ ผศ. ดร. พวงทองกล่าวถึง ถามว่าเป็นเพราะอะไร ตอบได้ว่า: 2.1 เขตแดนที่มีการกล่าวถึงในบริบทของคดีนี้คือเขตแดนของรัฐ ประสาทพระวิหารเป็นเพียงวัตถุ ไม่อาจมีเขตแดนของตนเองในทางกฎหมายได้ 2.2 ไทยและกัมพูชาไม่เคยทำข้อตกลงเรื่องเขตแดนหรือขอบเขตเฉพาะบริเวณปราสาทพระวิหาร มีแต่อนุสัญญาเรื่องเขตแดนสมัยที่สยามทำกับฝรั่งเศส ซึ่งก็ไม่ได้กล่าวถึงปราสาทพระวิหารไว้ ดังนั้น “เขตแดนในบริเวณปราสาทพระวิหาร” จะมีอยู่หรือไม่อย่างไรจึงต้องว่าไปตาม อนุสัญญาสยาม-ฝรั่งเศสฯ 2.3 ศาลโลกไม่เคย “วินิจฉัย” (adjudge) ว่าเส้นเขตแดนระหว่างไทยและกัมพูชาคือเส้นใด คำพิพากษาเมื่อปี พ.ศ. 2505 เพียงแต่วินิจฉัยผูกพันไทยว่า อนุสัญญาสยาม-ฝรั่งเศสฯ ส่งผลให้ประสาทพระวิหารตั้งอยู่ในเขตแดนกัมพูชา จริงอยู่ว่าการที่ศาลวินิจฉัยเช่นนั้นศาลได้นำ “แผนที่ภาคผนวก 1” มา “พิจารณา” แต่ศาลเองก็ย้ำในคำพิพากษาว่า “การพิจารณาแผนที่” มิใช่ “การวินิจฉัย” ว่าเส้นเขตแดนหรือแผนที่ใดผูกพันไทยหรือไม่ เพราะศาลไม่มีอำนาจตามกฎหมายที่จะ “วินิจฉัย” เรื่องเขตแดน 2.4 การจะตอบว่าเส้นเขตแดนที่แท้จริงคือเส้นใด ต้องว่าไปตามอนุสัญญาสยาม-ฝรั่งเศสฯ และข้อตกลงอื่นๆ ซึ่งเป็นเรื่องของการตีความสนธิสัญญาในสมัยปัจจุบัน ผู้มีอำนาจตีความคือไทยและกัมพูชา (ยกเว้นไทยและกัมพูชาจะมอบอำนาจให้ศาลตีความ) ซึ่งกฎหมายระหว่างประเทศเรื่องสนธิสัญญาเปิดช่องให้ไทยและกัมพูชาตีความได้แตกต่างจาก “แนวพิจารณา” ของศาลโลกเมื่อปี พ.ศ. 2505 (ซึ่งศาลโลกย้ำเองว่าไม่ผูกพันไทย). (ประเด็นเหล่านี้มีความละเอียดอ่อนในทางกฎหมาย และอาจเกิดความสับสนได้ง่าย ผู้เขียนได้อธิบายเพิ่มเติมไว้ที่https://sites.google...mary1962#TOC-17) 3. การจะกล่าวว่า ผศ.ดร.พวงทอง เข้าใจคลาดเคลื่อนไปฝ่ายเดียวก็คงไม่เป็นธรรมนัก เพราะนิติกรศาลโลกเองก็แปลเอกสาร CR 2011/14 ฉบับ uncorrected อย่างไม่ถี่ถ้วน โดยในหน้า 12 นิติกรได้แปลคำฝรั่งเศส “la limite” เป็นอังกฤษว่า “boundary” ที่ว่าแปลไม่ถี่ถ้วน “boundary” เองแม้โดยทั่วไปจะสื่อความหมายถึง “เขตแดน” แต่ก็มีความหมายกว้างพอที่จะหมายถึง “ขอบเขต” ได้ ซึ่งต่างไปจากคำอื่น เช่น คำว่า “frontier” (พรมแดน) ซึ่งมีนัยในทางเขตแดนที่ชัดเจนกว่า. 4. ที่สำคัญที่สุด ที่ว่านิติกรศาลโลกไม่ถี่ถ้วนนั้น เป็นเพราะว่าตลอดการแถลงคดีทั้งสองวัน ตัวแทนและทนายความฝ่ายไทยเองต่างก็ได้แถลงคำพูดทั้งภาษาอังกฤษและฝรั่งเศส ซึ่งล้วนแสดงให้เห็นว่า คำว่า “เขตแดน” ฝ่ายไทยเลือกใช้คำฝรั่งเศสว่า “la frontière” คู่กับคำอังกฤษว่า “boundary” (ตัวอย่าง ดู CR 2011/14 หน้า 12 ย่อหน้าที่ 8, หน้า 15 ย่อหน้าที่ 12, หน้า 19 ย่อหน้า ที่ 33, หน้า 28-30 ฯลฯ) ทั้งนี้ นายวีรชัยก็ได้ย้ำจุดยืนของไทยอีกครั้ง เช่น ตามบันทึกเอกสาร CR 2011/16 หน้าที่ ใน 25-26 ว่า คำพิพากษาปี พ.ศ. 2505 ไม่ได้ตัดสินเรื่อง “เขตแดน” แต่อย่างใด แนวของลวดหนาม หรือ “la limite” เป็นเพียงเส้นปฏิบัติการตามคำพิพากษาที่นำมาใช้ระหว่างกระบวนการจัดทำเขตแดนยังไม่สิ้นสุด 5. ในทางกลับกัน หากผู้ใดหลงแปลคำว่า “la limite” ว่า “เขตแดน” แล้ว ก็อาจสับสนว่าไทยยอมรับ “เขตแดน” ไปแล้ว และพูดจาขัดกันเองหรือไม่ อาจเป็นการเสียรูปคดีในที่สุด 6. ข้อที่กล่าวมาจึงสรุปได้ว่า คำว่า “la limite” ในเอกสาร CR 2011/14 หน้าที่ 12 นั้น มิได้หมายถึง “เขตแดน” หรือ “boundary” ตามที่ผศ.ดร.พวงทองเข้าใจ ส่วนคำว่า “boundary” ที่นิติกรศาลโลกใช้ ก็เป็นการแปลถ้อยคำอย่างไม่รอบคอบ อีกทั้งรัฐบาลไทยเองก็น่าจะนำกรณีดังกล่าวไปทบทวนการใช้ถ้อยคำให้ระมัดระวังมากขึ้น หากจะต้องมีการใช้ถ้อยคำลักษณะดังกล่าวในอนาคต เมื่อบัดนี้มีผู้นำถ้อยคำ “la limite-boundary-เขตแดน” มากล่าวอ้างในสื่อมวลชนแล้ว อีกทั้งคำว่า “boundary” ที่นิติกรศาลใช้ก็ดูสุ่มเสี่ยง ผู้เขียนในฐานะนักกฎหมายก็ขอแนะนำให้รัฐบาลไทยตรวจสอบคำแปลคำแถลงที่จัดทำโดยนิติกรศาลโลกอย่างละเอียด แม้จะเป็นเพียงเอกสารที่ยังไม่ได้รับการตรวจสอบ (uncorrected) ก็ตาม เพราะไทยก็มิอาจนิ่งนอนใจว่า จะมีผู้พิพากษาศาลโลกท่านใดที่ไม่ชำนาญภาษาฝรั่งเศสและนำคำแปลภาษาอังกฤษที่นิติกรแปลอย่างไม่รอบคอบไปพิจารณาหรือไม่ หรือฝ่ายกัมพูชาจะนำไปใช้อ้างต่อไปอย่างไร หากจำเป็นไทยก็สามารถแสดงท่าทีที่ชัดเจน เช่น ท้วงติงเอกสารคำแปลว่า “la limite de la zone du temple” มิใช่ “เขตแดน (boundary) ในบริเวณปราสาทพระวิหาร” แต่หมายถึง “ขอบเขต (limit) ของบริเวณปราสาทพระวิหาร” เป็นต้น. ประการที่สอง การ “สงวนสิทธิ์” เป็นได้มากกว่าเครื่องมือหากินทางการเมืองที่ไร้ความรับผิดชอบ ผศ. ดร. พวงทองกล่าวว่า: “คำพูดเรื่อง ‘สงวนสิทธิ์’ ที่จะเอาพระวิหารคืนมานั้น มีที่มาจากจอมพลสฤษดิ์ และจดหมายที่นายถนัด คอมันตร์ รมต.กต. มีถึงเลขาธิการยูเอ็น แต่การพูดแบบนี้เมื่อปี 2505 ย่อมเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ในทางปฏิบัติ เพราะยังมีอายุความอยู่ แต่เมื่ออายุความหมดไปตั้งเกือบ 40 ปีแล้ว โดยที่ไทยไม่เคยพยายามรื้อฟื้นคดีในช่วงที่ผ่านมาเลย มันย่อมเป็นได้แค่เครื่องมือหากินทางการเมืองที่ไร้ความรับผิดชอบ” ผู้เขียนไม่ขอโต้เถียงว่าเคยมีใครใช้เรื่อง “สงวนสิทธิ์” มาเป็นเครื่องมือหากินทางการเมืองที่ไร้ความรับผิดชอบหรือไม่ แต่หากมีผู้ทำจริง ก็ต้องขอชื่นชม สนับสนุน และเป็นกำลังใจให้แก่ผู้ที่นำประเด็นมาตีแผ่และเตือนสติให้แก่สังคม กระนั้นก็ดี ผู้เขียนจำต้องแย้งว่าการ “สงวนสิทธิ์” เอาปราสาทพระวิหารคืนมาตามกฎหมายระหว่างประเทศนั้น “เป็นไปได้” ทั้งทางทฤษฎีและทางปฏิบัติ การสงวนสิทธิในทางกฎหมายระหว่างประเทศไม่ใช่แค่เรื่องการขอให้ศาลทบทวนคำพิพากษาหรืออายุความเพียงอย่างเดียว แต่สามารถสงวนอย่างทั่วไป ต่อเนื่อง และไม่มีระยะเวลาจำกัด ที่ผ่านมาไม่มีนักกฎหมายอธิบายเรื่องนี้ไว้ชัดเจน แต่เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง ผู้เขียนจะขอยกกรณีที่เป็นไปได้ในทางกฎหมายระหว่างประเทศ (ซึ่งแม้เป็นกรณีสุดวิสัยและเป็นไปได้ยาก แต่ก็ยังเป็นไปได้) ให้เป็นตัวอย่างพอสังเขปดังนี้ ตัวอย่างแรก เป็นเรื่องหลักการได้มาซึ่งอธิปไตยเหนือดินแดนทั่วไป เช่น หากในอนาคต มีสถานการณ์หรือเหตุที่ทำให้กัมพูชาไม่ใส่ใจที่จะครอบครองปราสาทพระวิหาร หรือสละการครอบครองปราสาทพระวิหาร หรือมีเหตุตามกฎหมายทำให้สงสัยได้ว่าบริเวณที่ตั้งปราสาทพระวิหารถือเป็นดินแดนที่ไม่มีเจ้าของ (terra nullius) การประพฤติปฏิบัติของไทย เช่นการ “สงวนสิทธิ์” ย่อมเป็นข้อสนับสนุนการอ้างสิทธิ (claim) การได้มาซึ่งอธิปไตยเหนือปราสาทพระวิหารตามกฎหมาย เช่น ในดคีศาลโลกระหว่างสิงคโปร์และมาเลเซีย มีการโต้เถียงทำนองเดียวกันว่า โขดหินในทะเลที่ต่างฝ่ายต่างอ้างสิทธิไม่ชัดเจนนั้นเป็นของใคร (ICJ Reports 2008) ตัวอย่างที่สองเป็นกรณีที่การใช้อำนาจตามหมวดที่ 7 (Chapter 7) ประกอบกับข้อ 2 (7) และ ข้อ 103 แห่งกฎบัตรสหประชาชาติ เช่น กรณีที่สถานการณ์ไทยและกัมพูชาทวีความรุนแรงจนกระทบถึงสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ คณะมนตรีความมั่นคง (Security Council) อาจมีมาตรการตามความจำเป็นเพื่อปกป้องรักษาสันติภาพและความมั่นคงดังกล่าว ซึ่งไทยและกัมพูชามีหน้าที่ตามกฎหมายต้องปฏิบัติตาม นอกจากนี้ไม่มีข้อห้ามในทางกฎหมายที่จะห้ามมิให้มีมาตรการเกี่ยวกับตัวปราสาทพระวิหาร หากมาตรการนั้นมีความจำเป็นและชอบธรรม ในเรื่องการพิจารณาความชอบธรรมของมาตรการนั้น ส่วนหนึ่งย่อมขึ่นอยู่กับว่าไทยได้สงวนสิทธิทวงคืนปราสาทพระวิหารและโต้แย้งคำพิพากษาศาลโลกอย่างชอบธรรมมาโดยตลอดหรือไม่ แม้จะไม่มีหลักประกันใดว่าการสงวนสิทธิจะก่อให้เกิดสิทธิ ฉันใดก็ฉันนั้น รัฐบาลพึงระวังสงวนสิทธิไว้เพื่อเป็นเครื่องมือในการรักษาผลประโยชน์ในอนาคตอย่างแยบยลและถูกกาลเทศะ หากแต่มิใช่เป็นเงื่อนไขที่ขัดขวางโอกาสสร้างประโยชน์ร่วมกันในปัจจุบัน หรือเป็นเครื่องมือหากินกับประชาชน บทย่อและบทวิเคราะห์คดีปราสาทพระวิหารฉบับเต็ม อ่านได้ที่https://sites.google...ple/summary1962


Edited by Stargate-1, 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 - 12:53.

Tam-mic-ra ฟันธง!  คำว่า "โดนพริกไทยมั๊ง" น่ะ แค่นี่เอามาเป็นหลักฐาน ได้ยังไงครับ .....  คิดครับคิด  :lol:   จากกระทู้แก้ข่าวหน้า 2 qoute #96  ใครยิงวสันต์-ภู่ทอง   แอลพีจีทำมาจากซี2ซี3


#31 Stargate-1

Stargate-1

    SG-1

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,578 posts

ตอบ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 - 12:40

คำเตือนถึงนักวิชาการ ต้องระวังการแปลคำทางสังคมศาสตร์

 

Sun, 2011-06-12 00:05

พวงทอง ภวัครพันธุ์

 

ก่อนอื่นดิฉันต้องขอขอบคุณคุณวีรพัฒน์ ปริยวงศ์ ที่ได้เขียนคำโต้แย้งต่อบทความของดิฉัน “คำถามถึงอภิสิทธิ์ ทำไมทะเลาะกับเขมรแทบตาย เพื่อกลับไปที่เดิม” ดิฉันถือว่าเป็นการให้เกียรติทางวิชาการ และประเสริฐกว่าการด่าทอกันด้วยคำหยาบคายที่กำลังกลายเป็นวัฒนธรรมการเมืองไทยในปัจจุบัน หรือการทำให้ทุกเรื่องให้เป็นเรื่องความดีความชั่วส่วนบุคคล ทั้ง ๆ ที่เรื่องทางกฎหมายก็เหมือนเรื่องอื่น ๆ ในสังคม ที่สามารถตีความได้มากกว่าหนึ่งแนวทาง การช่วยกันวิเคราะห์ให้เห็นแง่มุมที่แตกต่างก็จะเป็นประโยชน์มากกว่าเป็นโทษแก่สังคม เราจึงควรสนับสนุนให้เกิดสิ่งเหล่านี้มากมาย นอกจากนี้ ดิฉันต้องขออภัยที่ตอบล่าช้า เพราะบทความของคุณวีรพัฒน์มาในช่วงที่ดิฉันกำลังต้องขนย้ายสัมภาระและเดินทาง เอกสารทั้งหมดถูกเก็บลงกล่อง ฉะนั้น การเขียนตอบครั้งนี้จึงไม่มีเอกสารสำคัญอยู่ในมือ แต่แม้จะไม่สะดวก แต่ดิฉันก็เห็นว่าการนิ่งเฉยไม่ตอบ ก็จะเป็นการไม่ให้เกียรติคุณวีรพัฒน์ ดิฉันขอตอบทีละประเด็นดังนี้ ประเด็นแรก คุณวีรพัฒน์กล่าวว่าดิฉันและนิติกรศาลโลกน่าจะสับสนคำว่า “la limite” กับคำว่า “frontier” และ “boundary” โดยคุณวีรพัฒน์เห็นว่าความหมายที่ถูกต้องของ “la limite” คือ “boundary” ซึ่ง “แม้โดยทั่วไปจะสื่อความหมายถึง “เขตแดน” แต่ก็มีความหมายกว้างพอที่จะหมายถึง “ขอบเขต” พูดให้ง่ายขึ้นตามภาษาของดิฉันเอง คือ “la limite-boundary” นอกจากจะหมายถึงเส้นเขตแดนแล้ว ยังหมายถึงพื้นที่ที่ติดกับเส้นเขตแดน หรือที่คนไทยมักเรียกว่า “พื้นที่ชายแดน” ได้ด้วย boundary จึงมีความหนา มีขอบเขต หรืออาณาบริเวณ ส่วนคำว่า frontier คุณวีรพัฒน์เห็นว่าหมายถึง (เส้น)เขตแดน หรือเส้นพรมแดน ที่เป็นเส้นตรงหรือเส้นเดี่ยว พออ่านมาถึงตรงนี้ดิฉันก็งงไปอยู่พักหนึ่งว่าตัวเองเข้าใจคำว่า frontier และ boundary ผิดมาตลอดได้อย่างไร แต่เพื่อความแน่ชัด ดิฉันจึงกลับไปตรวจสอบสองคำนี้ตามพจนานุกรมต่างๆ แล้วก็โล่งอก เพราะพบคำตอบดังนี้: Collins English Dictionary (ปี 1991, 1994, 1998, 2000, 2003) ระบุว่า: Boundary: something that indicates the farthest limit, as of an area; border” Frontier: 1. (Government, Politics & Diplomacy) a. the region of a country bordering on another or a line, barrier, etc., marking such a boundary 2. US and Canadian a. the edge of the settled area of a country สำหรับ Oxford Advanced Learner’s Dictionary of Current English, 2005 ระบุว่า: Boundary: the real of imagined line that marks the limits or edges of sth and separates it from other things or places; a dividing line; national boundaries. Frontier: 1. a line that separates two countries, etc; the land near this line 2. the frontier [sing] the edge of land where people live and have built towns, beyond which the country is wild and unknown, especially in the western US in the 19th century: a remote frontier settlement. ส่วน Dictionary of Military and Associated Terms (พจนานุกรมทหารและคำที่เกี่ยวข้อง) ของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ (2005) ระบุว่า Boundary: A line that delineates surface areas for the purpose of facilitating coordination and deconfliction of operations between adjacent units, formations, or areas. พจนานุกรมฉบับนี้ไม่มีคำว่า frontier ดิฉันขออนุญาตไม่แปลภาษาอังกฤษด้านบนแบบคำต่อคำ เพราะกลัว lost in translation แต่จากตัวอย่างพอสังเขปข้างต้น (มีตัวอย่างอีกหลายสำนัก แต่เห็นว่าล้วนให้ความหมายไม่ต่างกัน) คุณวีรพัฒน์น่าจะเห็นได้ว่าการแปลของคุณเองต่างหากที่กลับตาลปัตรความหมายของสองคำนี้ กล่าวคือ boundary ต่างหากที่หมายถึง เส้นเขตแดน/เส้นพรมแดน (เป็นเส้นเดี่ยว ไม่มีความหนา) แต่ frontier มีความหมายกว้างกว่า ที่สามารถหมายถึงพื้นที่บริเวณชายแดน เป็นพื้นที่ที่มีความหนา ยากที่จะกำหนดขอบเขต ในบางพื้นที่อาจมีผู้คนมากมายอาศัยอยู่, มีตลาดการค้าชายแดน, หมู่บ้าน, ฯลฯ ก็ได้) ดิฉันกล้ายืนยันได้ว่า นี่คือความหมายที่ใช้กัน อย่างน้อยก็ในแวดวงของสังคมศาสตร์ อย่างไรก็ตาม ข้อเขียนของคุณวีระพัฒน์ทำให้ดิฉันสงสัยว่า หรือในแวดวงนิติศาสตร์ เขาให้ความหมายคนละแบบกับแวดวงสังคมศาสตร์? คือเป็นแบบที่คุณวีระพัฒน์ได้อธิบายมา ซึ่งดิฉันก็อยากจะทราบเหมือนกันว่า ในแวดงวงนิติศาสตร์ ได้เคยมีการบัญญัติศัพท์ของสองคำนี้อย่างเป็นทางการไว้ที่ไหนหรือไม่ ถ้ามี ก็อยากให้คุณวีระพัฒน์ช่วยให้ความรู้แก่ดิฉันและผู้สนใจทั่วไปด้วย จักขอบคุณยิ่ง แต่อีกใจหนึ่ง ดิฉันก็โน้มเอียงไปทางคำตอบว่า “ไม่น่าจะเป็นไปได้” เพราะอะไร? ตัวอย่างง่าย ๆ คือ “กองเขตแดน” ของกระทรวงการต่างประเทศไทย มีชื่อเรียกภาษาอังกฤษว่า “the Boundary Division” ซึ่งเราก็รู้กันทั่วไปว่า ภาระหน้าที่ของหน่วยงานนี้คือ ดูแลและปักปันเส้นเขตแดน (boundary) ของประเทศ โดยไม่ต้องรับผิดชอบกิจกรรมอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นการค้าชายแดน การลักลอบขนของหนีภาษี ลักลอบเข้าเมือง ฯลฯ ซึ่งเกิดขึ้นบนพื้นที่ชายแดน (frontier) ถ้าหน่วยงานที่สำคัญขนาดนี้ มีผู้เชี่ยวชาญกฎหมายระหว่างประเทศมากมายที่จบจากฝรั่งเศสเช่นกัน ยังแปลชื่อกรมแบบไม่ระมัดระวัง ประเทศไทยก็คงสิ้นหวังแล้ว อย่างไรก็ดี เป็นที่รู้กันทั่วไปว่าคำในทางสังคมศาสตร์จำนวนมากดิ้นได้ มีศัพท์จำนวนมากที่มีความหมายใกล้เคียงกัน แต่ก็มีความแตกต่างโดยสาระสำคัญ บางครั้งเจ้าของภาษาเองก็ยังใช้คำที่มีความหมายใกล้เคียงกันสับสน ไม่นับว่าเมื่อแปลเขามาแล้ว บางส่วนของความหมายเดิมอาจสูญหายไป หรือหาคำในภาษาท้องถิ่นมาแทนคำภาษาอังกฤษไม่ได้ หรือในบางกรณี เราอาจใช้คำ 2-3 คำที่มีความหมายใกล้เคียงสลับกันไปมา โดยไม่ผิดก็ได้ ดังเช่นกรณีที่ทีมกฎหมายไทยใช้ฝรั่งเศสว่า “la frontière” คู่กับคำอังกฤษว่า “boundary” คราวนี้กลับมาประเด็นที่สำคัญกว่าคือ แล้วเรื่องนี้มีผลต่อการโต้แย้งในศาลโลกอย่างไร ถ้าดิฉันตีความคุณวีรพัฒน์ไม่ผิด คุณวีรพัฒน์พยายามบอกว่า ท่านทูตวีรชัย พลาศรัย “ได้ย้ำจุดยืนของไทยอีกครั้ง เช่น ตามบันทึกเอกสาร CR 2011/16 หน้าที่ ใน 25-26 ว่า คำพิพากษาปี พ.ศ. 2505 ไม่ได้ตัดสินเรื่อง “เขตแดน” แต่อย่างใด” ฉะนั้น คุณวีรพัฒน์จึงเห็นว่า “แนวของรั้วลวดหนาม หรือ “la limite” เป็นเพียงเส้นปฏิบัติการตามคำพิพากษาที่นำมาใช้ระหว่างกระบวนการจัดทำเขตแดน ยังไม่สิ้นสุด” ซึ่งหมายความต่อว่า ฝ่ายไทยไม่ได้ยืนยันว่ารั้วที่ตั้งขึ้นในสมัยรัฐบาลสฤษดิ์ เป็นส่วนหนึ่งของเส้นเขตแดนระหว่างไทย-กัมพูชาในบริเวณพระวิหาร ตามการวิเคราะห์ของดิฉัน เพราะคุณวีรพัฒน์เห็นว่า “การจะตอบว่าเส้นเขตแดนที่แท้จริงคือเส้นใด ต้องว่าไปตามอนุสัญญาสยาม-ฝรั่งเศสฯ และข้อตกลงอื่น ฯ” ดิฉันเห็นด้วยกับคุณวีรพัฒน์ที่ว่า “การจะตอบว่าเส้นเขตแดนที่แท้จริงคือเส้นใด ต้องว่าไปตามอนุสัญญาสยาม-ฝรั่งเศสฯ และข้อตกลงอื่น ฯ” ซึ่งดิฉันขอย้ำว่า ข้อตกลงอื่นๆที่ว่านี้ รวมถึงแผนที่จากการปักปันของคณะกรรมการผสมสยาม-ฝรั่งเศส หรือแผนที่ที่คนไทยเรียกติดปากว่า 1:200000 ด้วย แต่ขอเรียนด้วยความเคารพ ดิฉันกลับไปอ่านคำแถลงของฝ่ายไทยอีกครั้ง ดิฉันก็ยังเห็นว่าฝ่ายไทยต้องการยืนยันว่ารั้วที่ตั้งขึ้นในสมัยรัฐบาลสฤษดิ์ เป็นส่วนหนึ่งของเส้นเขตแดนระหว่างไทย-กัมพูชาในบริเวณพระวิหาร และต้องการให้กัมพูชายอมรับเช่นกัน ดิฉันจึงขอยกคำแถลงของฝ่ายไทยมาไว้ตรงนี้ เพื่อให้ผู้อ่านได้ร่วมพิจารณาไปพร้อมกัน: “On 19 July, work began to erect a barbed wire fence and a sign marking the boundary of the Temple area, according to the line which had been adopted by the Council of Ministers on 10 July for the purposes of implementing the 1962 Judgment. The work was completed by around 5 August.” (คำแปลจากภาษาฝรั่งเศส เอกสาร CR 2011/14 ฉบับ uncorrected) (ในวันที่ 19 ก.ค. (2505) ได้มีการจัดทำรั้วลวดหนามและป้ายแสดงเขตแดนของพื้นที่ของพระวิหาร ซึ่งเป็นไปตามมติครม.วันที่ 10 ก.ค. เพื่อปฏิบัติตามคำตัดสินปี 2505 การทำรั้วเสร็จสมบูรณ์ประมาณวันที่ 5 ส.ค.) นอกจากนี้ ในใบแถลงข่าวของกระทรวงการต่างประเทศไทยวันที่ 31 พ.ค.ยังย้ำว่า “คำพิพากษาของศาลเกี่ยวกับปราสาทพระวิหารเมื่อปี ๒๕๐๕ เป็นเรื่องของอธิปไตยเหนือตัวปราสาท ไม่ใช่เรื่องเส้นเขตแดน ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา กัมพูชาได้ยอมรับเส้นขอบเขตของพื้นที่บริเวณใกล้เคียงปราสาทพระวิหารตามมติ คณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๐๕ เพื่อปฏิบัติตามคำพิพากษาดังกล่าวแล้ว โดยนิ่งเฉยมิได้มีการทักท้วงใด ๆ มากว่า ๔๐ ปี จนเมื่อไม่นานมานี้กัมพูชาถึงได้เปลี่ยนท่าทีเนื่องจากต้องการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก” (ส่วนที่เน้นเป็นของผู้เขียน) ประเด็นที่สอง เรื่องการสงวนสิทธิ์ คุณวีรพัฒน์แย้งดิฉันว่า “การ “สงวนสิทธิ์” เอาปราสาทพระวิหารคืนมาตามกฎหมายระหว่างประเทศนั้น “เป็นไปได้” ทั้งทางทฤษฎีและทางปฏิบัติ การสงวนสิทธิ์ในทางกฎหมายระหว่างประเทศไม่ใช่แค่เรื่องการขอให้ศาลทบทวนคำ พิพากษาหรืออายุความเพียงอย่างเดียว แต่สามารถสงวนอย่างทั่วไป ต่อเนื่อง และไม่มีระยะเวลาจำกัด” ดิฉันคิดว่าข้อโต้แย้งของคุณวีรพัฒน์จะมีน้ำหนักกว่านี้หากคุณวีรพัฒน์จะสามารถอ้างอิงข้อกฎหมายระหว่างประเทศสักข้อหนึ่งเพื่อรองรับการอ้างสิทธิ์นั้น หรือถ้าจะให้ดีก็น่าจะยกตัวอย่างคดีใดในอดีตที่เคยมีผู้สงวนสิทธิ์ไว้ แล้วผู้ขอสงวนสิทธิ์นั้นสามารถใช้สิทธิ์ได้อีก แม้ว่าอายุความจะสิ้นสุดไปแล้วก็ตาม นอกจากนี้ คุณวีรพัฒน์ยังบอกว่า “ที่ผ่านมาไม่มีนักกฎหมายอธิบายเรื่องนี้ไว้ชัดเจน” ถ้าเช่นนั้น ดิฉันเข้าใจถูกไหมว่านี่เป็นการตีความของคุณวีรพัฒน์เองที่ไม่มีข้อกฎหมายใดรับรองเลย และไม่สามารถยืนยันได้ว่า “การสงวนสิทธิ์” นี้จะมีสถานะที่เหนือกว่าหรือลบล้างข้อกำหนดเรื่องอายุความในบทบัญญัติของศาลโลกได้ แต่ประเด็นที่สำคัญกว่าก็คือ เหตุการณ์สมมติที่คุณวีรพัฒน์ยกตัวอย่างมาคือ “หากในอนาคต มีสถานการณ์หรือเหตุที่ทำให้กัมพูชาไม่ใส่ใจที่จะครอบครองปราสาทพระวิหาร หรือสละการครอบครองปราสาทพระวิหาร หรือมีเหตุตามกฎหมายทำให้สงสัยได้ว่าบริเวณที่ตั้งปราสาทพระวิหารถือเป็นดินแดนที่ไม่มีเจ้าของ (terra nullius) การประพฤติปฏิบัติของไทย เช่นการ “สงวนสิทธิ์” ย่อมเป็นข้อสนับสนุนการอ้างสิทธิ (claim) การได้มาซึ่งอธิปไตยเหนือปราสาทพระวิหารตามกฎหมาย” ยิ่งตอกย้ำความเชื่อของดิฉันว่า โอกาสที่ไทยจะได้ใช้สิทธิ์ที่เคยสงวนไว้นั้นเป็นไปไม่ได้เอาเสียเลย ยกเว้นแต่ว่าความเป็นรัฐชาติ (nation-state) จะสูญสลายไปจากภูมิภาคนี้ ซึ่งก็คงต้องรอกันไม่รู้อีกกี่ชั่วอายุคน ในทางกลับกัน เราต่างได้ประจักษ์กันเป็นอย่างดีว่าเรื่องดินแดนถูกใช้เป็นเครื่องมืออันทรงพลังและอันตรายหลายครั้งหลายคราในสังคมไทย ฉะนั้น จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ดิฉันจะต้องยืนยันว่า “การสงวนสิทธิ์” ที่กระทำกันมาคือเครื่องมือทางการเมืองของนักการเมือง กลุ่มการเมือง และเพื่อปกป้องตนเองของปัจเจกชนบางคน สิ่งที่น่าสนใจคือ คำอธิบายโดยรวมของคุณวีรพัฒน์อยู่ในแนวเดียวกันกับคำอธิบายของ ดร.สมปอง สุจริตกุล ปัญญาชนของฝ่ายพันธมิตรในเรื่องพระวิหาร ทั้งนี้ ดร.สมปอง เป็นหนึ่งในทีมงานกฎหมายที่นำโดยม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช ที่พ่ายแพ้คดีในปี 2505 ประเด็นสุดท้าย ดิฉันไม่เห็นด้วยกับข้อความทั้งหมดของคุณวีรพัฒน์ที่ว่า “ศาลไม่เคย “วินิจฉัย” (adjudge) ว่าเส้นเขตแดนระหว่างไทยและกัมพูชาคือเส้นใด คำพิพากษาเมื่อปี พ.ศ. 2505 เพียงแต่วินิจฉัยผูกพันไทยว่า อนุสัญญาสยาม-ฝรั่งเศสฯ ส่งผลให้ประสาทพระวิหารตั้งอยู่ในเขตแดนกัมพูชา จริงอยู่ว่าการที่ศาลวินิจฉัยเช่นนั้นศาลได้นำ “แผนที่ภาคผนวก 1” มา “พิจารณา” แต่ศาลเองก็ย้ำในคำพิพากษาว่า “การพิจารณาแผนที่” มิใช่ “การวินิจฉัย” ว่าเส้นเขตแดนหรือแผนที่ใดผูกพันไทยหรือไม่ เพราะศาลไม่มีอำนาจตามกฎหมายที่จะ “วินิจฉัย” เรื่องเขตแดน” ข้อความนี้ แตกได้เป็น 3 ประเด็นดังนี้ [คือที่จริงดิฉันไม่ค่อยเห็นด้วยเท่าไรที่จะแปลคำว่า adjudge ว่าเท่ากับคำว่าวินิจฉัย ดิฉันคิดว่าจะตรงกว่าถ้าจะใช้คำว่า “พิพากษา” “ตัดสิน” “ชี้ขาด” เพราะคำว่าวินิจฉัยในภาษาไทยมีความหมายค่อนไปในทางการพิจารณา ไตร่ตรอง มากกว่า แต่ก็ถือว่านี่เป็นอีกคำหนึ่งที่มีความหมายได้มากกว่าหนึ่ง] 1. ดิฉันเห็นว่าศาลได้วินิจฉัย (พิจารณา) เรื่องเส้นเขตแดนระหว่างไทยและกัมพูชาว่าคือเส้นใดไว้แล้ว แต่ไม่ได้กำหนดไว้ในข้อปฏิบัติการ ดังข้อความที่ว่า ศาลจะสามารถวินิจฉัยชี้ขาดเกี่ยวกับอธิปไตยเหนือบริเวณพระวิหารได้ก็ต่อเมื่อได้ตรวจสอบแล้วว่าเส้นเขตแดนนั้นคือเส้นใด (สำนักนายกรัฐมนตรี, คำพิพากษาคดีปราสาทพระวิหาร, หน้า 16) ศาลมีความเห็นว่าประเทศไทยใน ค.ศ. 1908-09 ได้ยอมรับแผนที่ในภาคผนวก 1 ว่าเป็นผลงานของการปักปันเขตแดน และด้วยเหตุนี้ จึงได้รับรองเส้นบนแผนที่ว่าเป็นเส้นเขตแดน อันเป็นผลให้พระวิหารตกอยู่ในดินแดนกัมพูชา ศาลมีความเห็นต่อไปว่า เมื่อพิจารณาโดยทั่ว ๆ ไป การกระทำต่อ ๆ มาของไทยมีแต่ยืนยัน และชี้ให้เห็นชัดถึงการยอมรับแต่แรกนั้น และว่าการกระทำของไทยในเขตท้องที่ก็ไม่พอเพียงที่จะลบล้างข้อนี้ได้ คู่กรณีทั้งสองฝ่าย โดยการประพฤติปฏิบัติของตนเองได้รับรองเส้นแผนที่นี้ และดังนั้นจึงถือได้ว่าเป็นการตกลงให้ถือว่าเส้นนี้เป็นเส้นเขตแดน (หน้า 45) ไม่มีเหตุผลที่จะให้คิดว่าคู่กรณีได้ให้ความสำคัญเป็นพิเศษแก่เส้นสันปันน้ำโดยเจาะจง เมื่อเปรียบเทียบกับความสำคัญที่เหนือกว่าของการยึดเส้นเขตแดนในแผนที่ซึ่งได้ปักปันกันในเวลาต่อมาและเป็นที่ยอมรับแก่คู่กรณี ทั้งนี้ เพื่อให้เรื่องได้เป็นที่ยุติกันไป ฉะนั้น อาศัยหลักในการตีความสนธิสัญญา ศาลจึงจำต้องลงความเห็นให้ถือเส้นเขตแดนตามแผนที่ของบริเวณพิพาท (หน้า 50) 2. การที่ศาลไม่พิพากษาชี้ขาดเรื่องเส้นเขตแดนในบริเวณพื้นที่พิพาทตามคำขอของฝ่ายกัมพูชา ก็ไม่ใช่เพราะศาลไม่มีอำนาจตามกฎหมายที่จะวินิจฉัยเรื่องเขตแดน แต่เป็นเพราะกัมพูชายื่นเรื่องนี้เข้ามาทีหลัง ศาลจึงวินิจฉัยว่าจะจำกัดขอบเขตการพิจารณาอยู่ที่ประเด็นอำนาจอธิปไตยเหนือบริเวณพระวิหารเท่านั้น หากกัมพูชายื่นประเด็นนี้เข้าไปตั้งแต่แรก ผู้เขียนเชื่อว่าเรื่องเส้นเขตแดนบริเวณพระวิหารก็คงจบไปตั้งแต่ปี 2505 แล้ว (ศาลโลกตัดสินเรื่องเขตแดนมากมายหลายกรณี เลยไม่เข้าใจอะไรทำให้คุณวีรพัฒน์กล่าวว่าศาลไม่มีอำนาจตามกฎหมายที่จะวินิจัยฉัยเรื่องเขตแดน) 3. ดิฉันไม่เห็นด้วยที่คุณวีรพัฒน์บอกว่าคำพิพากษาปี 2505 ที่ตัดสินให้พระวิหารตกเป็นของกัมพูชา เป็นผลมาจากอนุสัญญาสยาม-ฝรั่งเศสฯ ที่ผูกพันไทย ดิฉันเห็นว่าปัจจัยสำคัญที่นำไปสู่คำตัดสินดังกล่าวมาจากการที่ศาลวินิจฉัยว่า การประพฤติปฏิบัติของฝ่ายไทยหลายครั้งหลายคราในอดีต (ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 จนถึงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง) ได้แสดงการยอมรับแผนที่ภาคผนวก 1 (1:200,000) จึงมีผลผูกมัดไทยในทางกฎหมายว่าได้ทำการรับรองเส้นบนแผนที่ที่แสดงว่าพระวิหารอยู่ในเขตของกัมพูชา



Tam-mic-ra ฟันธง!  คำว่า "โดนพริกไทยมั๊ง" น่ะ แค่นี่เอามาเป็นหลักฐาน ได้ยังไงครับ .....  คิดครับคิด  :lol:   จากกระทู้แก้ข่าวหน้า 2 qoute #96  ใครยิงวสันต์-ภู่ทอง   แอลพีจีทำมาจากซี2ซี3


#32 Stargate-1

Stargate-1

    SG-1

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,578 posts

ตอบ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 - 12:44

ตอบอาจารย์พวงทอง (1): โปรดอย่าปล่อยให้ศาลโลกแปลคำผิด

 

Mon, 2011-06-13 15:09

วีรพัฒน์ ปริยวงศ์
อดีตนักกฎหมายในคดีศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ สำนักกฎหมาย Freshfields Bruckhaus Deringer (กรุงปารีส) นิติศาสตรมหาบัณฑิต (รางวัลทุนฟุลไบรท์และวิทยานิพนธ์เกียรตินิยม) มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด.

 

บทความนี้เป็นการสนทนาทางวิชาการที่ต่อเนื่องจาก บทความ “คำเตือนถึงนักวิชาการ ต้องระวังการแปลคำทางสังคมศาสตร์” โดย ผศ. ดร. พวงทอง ภวัครพันธุ์ เผยแพร่โดยประชาไท เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2554 0 0 0 ใจความสำคัญ: ผู้เขียนขอส่งคำเตือนด้วยความปรารถนาดีไปยังรัฐบาลรักษาการและผู้เกี่ยวข้อง (อีกครั้ง) เพื่อพิจารณาให้รอบคอบว่าศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ศาลโลก) กำลังเข้าใจจุดยืนไทยผิดหรือไม่? ผู้เขียนเห็นว่านิติกรศาลโลกได้แปลถ้อยคำที่ตัวแทนฝ่ายไทยแถลงต่อศาลโลกเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2554 อย่างไม่รอบคอบ กล่าวคือ ไทยอธิบายเป็นภาษาฝรั่งเศสถึงรั้วลวดหนามที่ไทยนำไปกั้นรอบปราสาทพระวิหารเพื่อแสดง “la limite de la zone du temple” ซึ่งผู้เขียนเห็นว่าหมายถึง “ขอบเขตของบริเวณปราสาทพระวิหาร” หรือ “the limit of the Temple area” อย่างไรก็ดี นิติกรศาลโลกได้ทำเอกสารแปลคำแถลงของไทย (เอกสารแปล CR 2011/14 ฉบับ uncorrected หน้าที่ 4) ซึ่งแปล “la limite de la zone du temple” เป็นภาษาอังกฤษว่า “the boundary of the Temple area” ซึ่งในทางหนึ่งแม้อาจจะแปลได้ว่า “ขอบเขตของบริเวณปราสาทพระวิหาร” แต่ก็เป็นการใช้ถ้อยคำที่ไม่ระมัดระวัง ส่งผลให้มีผู้เข้าใจผิดเป็น “เขตแดนในบริเวณปราสาทพระวิหาร” ซึ่งเป็นการเข้าใจจุดยืนของไทยที่ผิดอย่างมีนัยสำคัญ. แม้เอกสารแปลฉบับนั้นจะไม่มีผลเป็นทางการ แต่ไทยไม่ควรนิ่งนอนใจปล่อยให้ถูกกัมพูชานำไปอ้างให้เสียรูปคดี หรือยิ่งไปกว่านั้น คือปล่อยให้สุ่มเสี่ยงต่อการเข้าใจไทยผิดโดยผู้พิพากษาได้ ผู้เขียนจึงเสนอให้รัฐบาลพิจารณาเรื่องดังกล่าวอย่างรอบคอบ และทักท้วงหรือชี้แจงหากเห็นว่าจำเป็น 0 0 0 ผู้เขียนขอบคุณน้ำใจของ อ. พวงทอง ในฐานะนักวิชาการรุ่นพี่ที่ให้เกียรติร่วมสนทนาด้วย แม้ผู้เขียนเองจะมีวัยวุฒิและคุณวุฒิที่น้อยกว่าก็ตาม และขอใช้โอกาสนี้กล่าวซ้ำอีกครั้งว่า แม้ผู้เขียนอาจไม่เห็นพ้องกับ อ. พวงทอง ทุกเรื่อง แต่งานเขียนของ อ.พวงทอง ในเรื่องปราสาทพระวิหารมีข้อคิดที่เป็นประโยชน์ โดยเฉพาะในแง่การให้ความเป็นธรรมกับผู้ที่เกี่ยวข้องในอดีต และการดำเนินนโยบายระหว่างประเทศอย่างมีสติและจิตวิทยา ผู้เขียนเองเคยนำงานของ อ. พวงทอง บางส่วนไปแสดงในฐานะข้อมูลที่น่าสนใจ ขอเชิญชวนให้ผู้สนใจได้อ่านงานของ อ. พวงทอง และของผู้อื่นที่หลากหลายได้ที่ https://sites.google.../verapat/temple ที่สำคัญที่สุด ผู้เขียนขอหวังร่วมกับ อ. พวงทอง ว่าการสนทนาเรื่องปราสาทพระวิหารและประเด็นสำคัญอื่นๆในสังคมไทย ไม่ว่าจะโดยนักวิชาการหรือผู้มีความเห็นท่านใด มิควรเป็นการโจมตีหรือเพิกเฉยเย็นชา แต่ควรสนทนาแลกเปลี่ยนกันด้วยไมตรีจิต หลักการ เหตุผล และน้ำใจของผู้ที่ล้วนห่วงใยต่อสังคมไม่น้อยไปกว่ากัน ดังที่ผู้เขียนได้รับเกียรติให้สนทนาตอบบทความ “คำเตือนถึงนักวิชาการฯ” ของ อ. พวงทอง ดังนี้ 1. เรื่องความหมายของ “la limite” “frontier” และ “boundary” อ. พวงทอง กล่าวในย่อหน้าที่ 2 ว่า ผู้เขียนเห็นว่า “…‘la limite-boundary’ นอกจากจะหมายถึงเส้นเขตแดนแล้ว ยังหมายถึงพื้นที่ที่ติดกับเส้นเขตแดน หรือที่คนไทยมักเรียกว่า ‘พื้นที่ชายแดน’ ได้ด้วย boundary จึงมีความหนา มีขอบเขต หรืออาณาบริเวณ ส่วนคำว่า frontier คุณวีรพัฒน์เห็นว่าหมายถึง (เส้น)เขตแดน หรือเส้นพรมแดน ที่เป็นเส้นตรงหรือเส้นเดี่ยว…” จากนั้น ในย่อหน้าที่ 4-6 อ.พวงทอง ได้อ้างถึงคำนิยามของคำว่า “boundary” และ “frontier” จากพจนานุกรม 3 ฉบับ และสรุปในย่อหน้าที่ 7 ว่า “…boundary ต่างหากที่หมายถึง เส้นเขตแดน/เส้นพรมแดน (เป็นเส้นเดี่ยว ไม่มีความหนา) แต่ frontier มีความหมายกว้างกว่า ที่สามารถหมายถึงพื้นที่บริเวณชายแดน เป็นพื้นที่ที่มีความหนา ยากที่จะกำหนดขอบเขต ในบางพื้นที่อาจมีผู้คนมากมายอาศัยอยู่, มีตลาดการค้าชายแดน, หมู่บ้าน, ฯลฯ ก็ได้) ดิฉันกล้ายืนยันได้ว่า นี่คือความหมายที่ใช้กัน อย่างน้อยก็ในแวดวงของสังคมศาสตร์”. ในขั้นแรก เกรงว่า อ. พวงทอง อาจเข้าใจบทความ “คำเตือนถึงอภิสิทธิ” ของผู้เขียนผิด ผู้เขียนไม่เคยให้นิยามคำว่า “boundary” หรือ “frontier” ว่าสิ่งใดหนา สิ่งใดเป็นเส้นเดี่ยว หรือสิ่งใดเป็นบริเวณพื้นที่ แต่ประเด็นสำคัญของผู้เขียนอยู่ที่ว่า “la limit” ในบริบทที่ฝ่ายไทยใช้นั้น หมายความว่า “เขตเเดน” หรือ “ขอบเขต” กันแน่ อันที่จริง คำนิยามจากพจนานุกรมที่ อ. พวงทอง ยกมาเองนั้นกลับเป็นการสนับสนุนความเห็นของผู้เขียนว่า “boundary” โดยทั่วไปแปลได้สองทาง ทางแรกแปลได้ว่า “เขตแดน” (ไม่ว่าจะเป็นเส้น “line” หรือ บางสิ่ง “something” ซึ่งรวมถึง “national boundaries”) ที่ใช้แบ่งดินแดน เช่น เขตแดนระหว่างประเทศ. ทางที่สองแปลได้ว่า “ขอบเขตของพื้นที่หรือบริเวณ” (“farthest limit, as of an area” หรือ “limit or edges of something”) เช่น ขอบเขตของปราสาทหรือวัด ประเด็นหลักที่ อ.พวงทอง ยังเห็นไม่ตรงกับผู้เขียนก็คือ คำต้นฉบับที่ฝ่ายไทยใช้ว่า “la limite” นั้นแปลว่าอะไร. ที่ผู้เขียนมีความเป็นห่วงก็เพราะนิติกรศาลโลกได้เลือกใช้คำภาษาอังกฤษที่ไม่ระมัดระวัง เพราะเลือกใช้คำว่า “boundary” (ซึ่งตามนิยามที่ อ. พวงทอง ยกมาอ้างก็แสดงให้เห็นได้ว่า “boundary” แปลได้สองทาง) แต่ในกรณีนี้ อ. พวงทอง มองว่า “la limite” แปลว่า “เขตแดน” แต่สำหรับผู้เขียนนั้นแปลว่า “ขอบเขต” ประเด็นสำคัญจึงอยู่ที่ว่า แท้จริงแล้วฝ่ายไทยต้องการจะสื่อถึงอะไรกันแน่ (เรื่องนี้จะตอบในข้อที่ 2). ในย่อหน้าที่ 8 อ. พวงทอง ได้เชิญชวนให้ผู้เขียนอธิบายถ้อยคำเพิ่มเติมในทางนิติศาสตร์ อาจกล่าวพอสังเขปดังนี้ ประเด็นที่ว่า “เขตแดน” ระหว่างไทยและกัมพูชาจะเป็นเส้นเดี่ยว หรือเป็นบริเวณที่มีความหนา หรือไม่อย่างไรนั้น ผู้เขียนเห็นว่าไม่ใช่ประเด็นที่จะโต้แย้ง ณ ที่นี้ เพราะสำหรับผู้เขียนแล้ว กฎหมายระหว่างประเทศและหลักการจัดทำเขตแดนไม่ได้กำหนดบทนิยามตายตัวว่า “เขตแดน” (boundary) จะต้องเป็นเส้นเดี่ยวเท่านั้นหรือไม่อย่างไร แต่ “เขตแดน” เป็นเรื่องเกี่ยวกับกระบวนการ (process) ซึ่งมีวิธีการและขั้นตอนที่หลากหลาย เช่น อาจอาศัยการลากเส้นสมมติบนแผนที่ (ไม่ว่าจะเป็นแผนที่จากสำรวจหรือไม่) หรืออาศัยพรมแดนตามธรรมชาติ เช่น แนวยอดเขา แนวสันปันน้ำ หรือร่องน้ำลึกมาเป็นเขตแดน (ไม่ว่าจะเป็นเพียงบทนิยามหรือมีการสำรวจปักปัน) หรือ อาศัยวัตถุอื่น เช่น แนวกำแพงโบราณหรือรางรถไฟก็เป็นได้ เรื่องเขตแดนมิใช่เรื่องที่อธิบายได้โดยสั้น ผู้เขียนเคยอธิบายเพิ่มไว้แล้วที่ https://sites.google...2#TOC-21.[ดูข้อ ๓ (จ.)] นอกจากนี้ ที่ อ. พวงทอง ยืนยันว่า “frontier” มีความหมายกว้างกว่าในแวดวงของสังคมศาสตร์ ก็มิได้ขัดแย้งกับสิ่งที่ผู้เขียนได้กล่าวไว้ เพราะผู้เขียนเองก็ได้กำกับคำภาษาไทยว่า frontier หมายถึง “พรมแดน” เหตุที่ผู้เขียนอ้างถึงคำว่า frontier ก็เพียงเพื่อยกตัวอย่างว่าคำต่างๆ ที่มีความหมายเกี่ยวข้องกัน มิได้มีความชัดเจนเท่ากัน จึงต้องเลือกใช้คำอย่างระวัง ศาลโลกเองก็เคยใช้คำว่า “frontier” หรือ “frontier line” ในคำพิพากษา พ.ศ. 2505 เพื่อสื่อถึงพรมแดนหรือเส้นพรมแดนที่ถูกใช้เป็น “เขตแดน” ตามอนุสัญญาฯ สยาม-ฝรั่งเศส และศาลเองก็เลี่ยงคำว่า “boundary” ซึ่งผู้เขียนได้เคยตั้งข้อสังเกตไว้แล้วที่ https://sites.google...ary1962#TOC-23. สรุป ผู้เขียนเห็นว่า บทความ “คำเตือนถึงนักวิชาการฯ” ของ อ. พวงทองในย่อหน้าที่ 2 -7 ดูจะเป็นการเข้าใจประเด็นของผู้เขียนผิดไป แต่โดยรวมแล้วบทนิยามที่ อ. พวงทอง ยกมานั้นกลับสนับสนุนความเห็นของผู้เขียนว่า “boundary” แปลความหมายได้ทั้งสองทาง คือ “เขตแดน” หรือ “ขอบเขต” แม้ ในกรณีนี้ อ. พวงทองจะเห็นว่าต้องแปลว่า “เขตแดน” ก็ตาม 2. “la limite” ที่ฝ่ายไทยใช้แถลงต่อศาลโลก นั้น หมายถึง “เขตแดน” ไทย-กัมพูชา หรือ “ขอบเขต” ปราสาทพระวิหาร กันแน่? บทความของ อ. พวงทองในย่อหน้าที่ 11-14 เป็นเครื่องยืนยันว่าคำว่า “boundary” ที่นิติกรศาลโลกเลือกใช้นั้นได้สร้างปัญหาและความสับสนอย่างน่าเป็นห่วง และรัฐบาลไทยต้องพิจารณาให้รอบคอบอย่างยิ่ง อ. พวงทองกล่าวเชิงสรุปในย่อหน้าที่ 12 “...ดิฉันกลับไปอ่านคำแถลงของฝ่ายไทยอีกครั้ง ดิฉันก็ยังเห็นว่าฝ่ายไทยต้องการยืนยันว่ารั้วที่ตั้งขึ้นในสมัยรัฐบาลสฤษดิ์ เป็นส่วนหนึ่งของเส้นเขตแดนระหว่างไทย-กัมพูชาในบริเวณพระวิหาร” เหตุผลหลักที่ อ.พวงทองใช้อ้างสนับสนุนข้อสรุปของตนก็คือย่อหน้าที่ 13ซึ่งเป็น ความเข้าใจส่วนตัว ของ อ.พวงทองเอง กล่าวคือ อ.พวงทองได้แปลคำในเอกสารแปล CR 2011/14 ฉบับ uncorrected ว่า “ได้มีการจัดทำรั้วลวดหนามและป้ายแสดงเขตแดนของพื้นที่ของพระวิหาร ซึ่งเป็นไปตามมติ ครม.วันที่ 10 ก.ค. เพื่อปฏิบัติตามคำตัดสินปี 2505 การทำรั้วเสร็จสมบูรณ์ประมาณวันที่ 5 ส.ค.” (เน้นคำโดยผู้เขียน) กล่าวคือตามความเข้าใจส่วนตัวของ อ. พวงทองนั้น คำของฝ่ายไทยที่ว่า “la limite de la zone du temple” หรือที่นิติกรศาลแปลว่า “boundary of the Temple area” ต้องหมายถึง “เขตแดนของพื้นที่ของพระวิหาร” (ซึ่ง อ.พวงทองอธิบายว่าเป็น “ส่วนหนึ่งของเส้นเขตแดนระหว่างไทย-กัมพูชาในบริเวณพระวิหาร”)เท่านั้น ตรรกะการให้เหตุผลดังกล่าวมีลักษณะวกวน (circular logic) เพราะเป็นการให้เหตุผลซ้อนเหตุผลของตนเอง และนำมาอ้างไม่ได้ เพราะหาก อ.พวงทอง เชื่อว่าตนแปล “boundary” ว่า “เขตแดน” ถูกมาแต่ต้น ข้อสรุปจากคำแปลก็ย่อมต้องถูกเช่นกัน คำสำคัญที่ อ.พวงทอง ต้องวิเคราะห์คือคำว่า “la limite” ซึ่งเป็นคำภาษาฝรั่งเศสต้นฉบับที่นายวีรชัย พลาศรัย ตัวแทนฝ่ายไทยได้ใช้ แต่ อ.พวงทอง เองกลับมิได้โต้แย้งถึงความหมายของคำดังกล่าว ที่น่าแปลกใจก็คือ ในย่อหน้าที่ 14 อ. พวงทอง เองกลับอ้างข้อมูลที่ขัดแย้งตัวเอง คืออ้างถึง “ใบแถลงข่าวของกระทรวงการต่างประเทศไทยวันที่ 31 พ.ค.” ซึ่งย้ำว่า “คำพิพากษาของศาลเกี่ยวกับปราสาทพระวิหารเมื่อปี ๒๕๐๕ เป็นเรื่องของอธิปไตยเหนือตัวปราสาท ไม่ใช่เรื่องเส้นเขตแดน ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา กัมพูชาได้ยอมรับเส้นขอบเขตของพื้นที่บริเวณใกล้เคียงปราสาทพระวิหารตามมติ คณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๐๕ เพื่อปฏิบัติตามคำพิพากษาดังกล่าวแล้ว โดยนิ่งเฉยมิได้มีการทักท้วงใด ๆ มากว่า ๔๐ ปี จนเมื่อไม่นานมานี้กัมพูชาถึงได้เปลี่ยนท่าทีเนื่องจากต้องการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก” (ส่วนที่เน้นเป็นของผู้เขียน). หากอาศัยใบแถลงข่าวมาเป็นเหตุผล ก็ย่อมหักล้างข้อสรุปของ อ.พวงทองเองว่า “la limite de la zone du temple” หรือที่นิติกรศาลแปลว่า “boundary of the Temple area” ไม่สามารถหมายถึง “เขตแดนของพื้นที่ของพระวิหาร” ได้ เพราะในเมื่อคำพิพากษามิได้ตัดสินเรื่องเขตแดน แล้วไทยจะมาล้อมลวดหนามเป็นเขตแดนได้อย่างไร? อีกทั้งคำว่า “เส้นขอบเขตของพื้นที่บริเวณใกล้เคียงปราสาทพระวิหาร”ที่กระทรวงการต่างประเทศใช้ก็บ่งชัดอยู่แล้วว่าลวดหนามที่กำกับ “la limite de la zone du temple” นั้น หมายถึง “ขอบเขต” มิใช่ “เขตแดน”. หากยังมีผู้ไม่แน่ใจ ผู้เขียนก็ขอให้อ้างตามบันทึกเอกสาร CR 2011/16 หน้าที่ ใน 25-26 ซึ่งนายวีรชัย พลาศรัย ตัวแทนฝ่ายไทยได้ย้ำเองว่าคำพิพากษาปี พ.ศ. 2505 ไม่ได้ตัดสินเรื่อง “เขตแดน” แต่อย่างใด แนวของลวดหนาม (ที่อ้างถึง “la limite”) เป็นเพียงเส้นปฏิบัติการตามคำพิพากษาที่นำมาใช้ระหว่างกระบวนการจัดทำเขตแดนยังไม่สิ้นสุด หากยังไม่ชัดเจนอีก ผู้เขียนก็หวังว่าผู้สื่อข่าวจะได้สอบถามกระทรวงการต่างประเทศเพื่อให้ความปรากฏชัด สรุป หลักฐานใบแถลงข่าวที่ อ.พวงทอง ยกมานั้น ประกอบกับคำพูดของนายวีรชัย พลาศรัย เองเป็นการสนับสนุนความเห็นของผู้เขียนว่า “la limite de la zone du temple” หรือที่นิติกรแปลเป็นภาษาอังกฤษว่า “the boundary of the Temple area” ต้องแปลว่า “ขอบเขตของบริเวณปราสาทพระวิหาร” ไม่สามารถแปลว่า “เขตแดนในบริเวณปราสาทพระวิหาร” ซึ่งเป็นการเข้าใจจุดยืนของไทยที่ผิดอย่างมีนัยสำคัญ 3. “เขตแดน” ไทย-กัมพูชา และ “ขอบเขต” ปราสาทพระวิหาร ต่างกันอย่างไร? อาจมีผู้สงสัยว่าที่ถกเถียงกันว่า “boundary” ที่นิติกรศาลโลกใช้นั้น หมายถึง “เขตแดน” หรือ “ขอบเขต” และต่างกันอย่างไร? ขออธิบายว่าการที่ไทยต้องล้อมรั้ว “ขอบเขต” บริเวณปราสาทพระวิหาร ก็เพราะคำพิพากษา พ.ศ. 2505 วินิจฉัยให้ไทยต้องถอนกำลังออกไปจาก “บริเวณใกล้เคียงปราสาทพระวิหาร” (vicinity) แต่เมื่อคำพิพากษามิได้ระบุ “ขอบเขต” ของ “บริเวณใกล้เคียง” ไว้ ฝ่ายไทยจึงได้ทำรั้วลวดหนามเพื่อให้สามารถปฏิบัติตามคำพิพากษาได้ ส่วนที่กัมพูชาเห็นด้วยหรือไม่ ก็เป็นเรื่องของการตีความคำพิพากษาซึ่งมีกระบวนพิจารณาอยู่ในปัจจุบัน เรื่องนี้ผู้เขียนเคยอธิบายไว้แล้วที่ https://sites.google...mary1962#TOC-16 ในทางกลับกัน หากเราไปถือว่ารั้วลวดหนามที่แสดง “boundary of the Temple area” นั้น หมายถึง “เขตแดน” ก็เสมือนว่าเรากำลังตีความว่าศาลได้พิพากษาเรื่องเขตแดนไปแล้วในปี พ.ศ. 2505 ซึ่งเป็นความเข้าใจที่อันตรายอย่างยิ่ง 4. ความสำคัญของ “แผนที่ภาคผนวก 1” หรือ “แผนที่ 1:200000” อ. พวงทองกล่าวในย่อหน้าที่ 12 ว่า “ดิฉันเห็นด้วยกับคุณวีรพัฒน์ที่ว่า “การจะตอบว่าเส้นเขตแดนที่แท้จริงคือเส้นใด ต้องว่าไปตามอนุสัญญาสยาม-ฝรั่งเศสฯ และข้อตกลงอื่น ฯ” ซึ่งดิฉันขอย้ำว่า ข้อตกลงอื่นๆ ที่ว่านี้ รวมถึงแผนที่จากการปักปันของคณะกรรมการผสมสยาม-ฝรั่งเศส หรือแผนที่ที่คนไทยเรียกติดปากว่า 1:200000 ด้วย\ ผู้เขียนเห็นด้วยกับข้อความหลักของ อ. พวงทอง และไม่ประสงค์จะโต้แย้ง แต่ขออธิบายดังนี้ ประการแรกต้องเข้าใจเสียก่อนว่า “แผนที่ภาคผนวก 1” หรือ “แผนที่ 1:200000” นั้นไม่ใช่ผลงานของ “คณะกรรมการผสมสยาม-ฝรั่งเศส” ตามที่ อ. พวงทอง เข้าใจ แต่เป็นผลงานของฝรั่งเศสฝ่ายเดียว ศาลโลกได้ยืนยันข้อเท็จจริงนี้ชัดเจนในคำพิพากษาหน้า 21 เพียงแต่ศาลนำแผนที่ดังกล่าวมาพิจารณาในการตีความอนุสัญญาฯ ค.ศ. 1904 ผู้เขียนได้เคยอธิบายไว้แล้วว่า “แผนที่ภาคผนวก 1” หรือ “แผนที่ 1:200000” นั้นย่อมเป็นข้อที่ต้องพิจารณาประกอบการตีความสนธิสัญญาระหว่างไทยและกัมพูชาในปัจจุบัน และด้วยเหตุนี้เอง ผู้เขียนจึงต้องเน้นว่าการตีความสนธิสัญญาในปัจจุบันมิได้ผูกมัดไทยและกัมพูชาว่าต้องยึดตามเส้นที่ปรากฎใน “แผนที่ภาคผนวก 1” หรือ ยึด “สันปันน้ำ” ตามอนุสัญญาฯ ค.ศ. 1904 หรือยึด “แนวพิจารณา” ของศาลโลกเมื่อ พ.ศ. 2505 อย่างใดอย่างหนึ่งแต่เพียงอย่างเดียว แต่ต้องพิจารณาตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศอย่างละเอียดและครบถ้วน หากถามว่าหลักดังกล่าวมีว่าอย่างไร ผู้เขียนเห็นว่าต้องอาศัยกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศที่สะท้อนอยู่ในอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยสนธิสัญญา ค.ศ. 1969 ซึ่งกำหนดให้ไทยและกัมพูชาตีความอนุสัญญาฯ ค.ศ. 1904 โดยยึดความหมายปกติของถ้อยคำตัวอักษรในอนุสัญญาฯ เป็นหลัก ประกอบกับบริบทการประพฤติปฏิบัติ (subsequent practice) และความตกลง (subsequent agreement) ต่างๆที่เกี่ยวข้อง ซึ่งไทยและกัมพูชาได้มีมาตลอดกว่าร้อยปีหลังได้ตกลงอนุสัญญาฯ เมื่อ ค.ศ. 1904 ไปแล้ว ยกตัวอย่าง เช่น สมมติว่าไทยพิสูจน์ได้ว่ามีความตกลงในรูปแบบ “บันทึกความเข้าใจ” (MOU) พ.ศ. 2543 ฉบับหนึ่ง ประกอบกับ “แถลงการณ์ร่วม” (Joint Communiqué) พ.ศ.2551 อีกฉบับหนึ่ง ที่แสดงให้เห็นว่าไทยกับกัมพูชามีเจตนาจะร่วมกันสำรวจเขตแดนและทำแผนที่ฉบับใหม่ขึ้นมาใช้แทนที่แผนที่ทั้งหลายที่มีมาก่อนหน้านี้ ไทยย่อมอาศัยข้อตกลงดังกล่าวมาตีความอนุสัญญาฯค.ศ. 1904 ได้ว่า “แผนที่ภาคผนวก 1” ที่กัมพูชาอ้างต่อศาลโลกเมื่อกว่า 50 ปีที่แล้ว แม้ตอนนั้นศาลจะมองว่าเป็นส่วนหนึ่งของอนุสัญญาฯ แต่การกระทำและการตกลงระหว่างไทยและกัมพูชาตลอดเวลาที่ผ่านมาได้พิสูจน์ว่า ณ วันนี้แผนที่ฯ มิได้มีสาระสำคัญสำหรับไทยและกัมพูชาดังที่ศาลเห็นในอดีตอีกต่อไป ดังนั้นบริบทการตีความถ้อยคำในอนุสัญญาฯ ค.ศ. 1904 ที่ว่าด้วยเขตแดนไทย-กัมพูชา ในวันนี้จึงต่างไปจากเมื่อ พ.ศ. 2505 เป็นต้นฉันใดก็ฉันนั้น กัมพูชาก็อาจนำข้อตกลงและการประพฤติปฏิบัติต่างๆของไทยมาอ้างตีความในทางตรงกันข้ามได้ สรุป ผู้เขียนย้ำว่า การจะทราบถึงเขตแดนของไทยและกัมพูชา ต้องว่าไปตามกฎหมายระหว่างประเทศ หลักใหญ่อยู่ที่ถ้อยคำในอนุสัญญาฯ ค.ศ. 1904 ประกอบการประพฤติปฏิบัติ (เช่นการยอมรับหรือปฏิเสธแผนที่) และข้อตกลงต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ไม่ใช่มองไปที่เรื่องใดเรื่องหนึ่งเพียงอย่างเดียว สันติภาพและกฎหมายระหว่างประเทศเป็นเรื่องของกระบวนการที่สอดคล้องกับความเป็นจริงในปัจจุบัน มิได้ยึดติดอยู่กับแผ่นกระดาษหรือภาพวาดในอดีตแต่อย่างใด อนึ่ง ผู้เขียนก็ไม่ต่างไปจากชาวไทยหรือกัมพูชาที่เป็นมนุษย์ธรรมดา รู้สึกรันทดหดหู่ใจทุกครั้งที่เห็นชาวบ้านไม่ว่าเชื้อชาติใดต้องมารับกรรมจากปัญหาที่ไม่ได้เป็นผู้ก่อ สิ่งที่ผู้เขียนพอทำได้ในฐานะนักกฎหมายคนหนึ่ง ก็คือการสนับสนุนการแก้ไขปัญหาที่ถูกต้องและเป็นธรรมตามกฎหมาย ซึ่งอย่างน้อยต้องเริ่มต้นจากความเข้าใจในหลักกฎหมายและข้อเท็จจริงที่ถูกต้องร่วมกัน เมื่อหลักกฎหมายและข้อเท็จจริงเป็นที่ยุติ การแก้ไขปัญหาโดยสันติวิธีย่อมมีโอกาสสำเร็จได้ แต่หากมนต์ที่สวดพร้อมกันยังเป็นคนละเล่มไซร้ มนต์อธิษฐานภาวนาไม่ว่าจะหวังดีหรือไพเราะเช่นใด ก็คงมิอาจฟังกันรู้เรื่อง. (จบบทความตอบ อ. พวงทอง ตอนที่ 1: สำหรับประเด็นเรื่อง ไทยสามารถ “สงวนสิทธิ” เอาปราสาทพระวิหารคืนมาได้หรือไม่?ศาลได้ “วินิจฉัย” เรื่อง “แผนที่” หรือไม่? และศาลพิจารณาการประพฤติปฏิบัติของไทยอย่างไร? ผู้เขียนจะขอนำมาตอบในโอกาสต่อไป) ประเด็นที่กล่าวมาเหล่านี้มีความละเอียดอ่อนและต้องศึกษาจากคำพิพากษาทั้งฉบับ ผู้เขียนเคยอธิบายไว้แล้วบางส่วน ขอเชิญชวน อ.พวงทอง และผู้สนใจดูบทวิเคราะห์ฉบับเต็มที่ https://sites.google...ple/summary1962"


Tam-mic-ra ฟันธง!  คำว่า "โดนพริกไทยมั๊ง" น่ะ แค่นี่เอามาเป็นหลักฐาน ได้ยังไงครับ .....  คิดครับคิด  :lol:   จากกระทู้แก้ข่าวหน้า 2 qoute #96  ใครยิงวสันต์-ภู่ทอง   แอลพีจีทำมาจากซี2ซี3


#33 ฟังทั้งสองฝ่าย

ฟังทั้งสองฝ่าย

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 2,261 posts

ตอบ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 - 14:30

ในเรื่องการตีความหมายของภาษา บางที ใช้ภาพแผนที่ แล้ว สื่อ ได้ไหมครับ ง่ายกว่ามานั่งตีความจากภาษาหนึ่งเป็นอีกภาษาหนึ่ง อย่างในเรื่องนี้ ทางไทย ก็ ตีเส้นรอบตัวปราสาท และบอกว่าเฉพาะตรงนี้ ส่วนอื่นไม่เกี่ยว สามารถทำได้ไหมอะครับ งงมาก เพราะ ในเนื้อหา บางที คำหนึ่งคำ แปลได้หลายความหมาย และความหมายของแต่ละตัว ในคำแปล ก็แตกแยกออกได้อีก

#34 Andiond Thunder

Andiond Thunder

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 462 posts

ตอบ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 - 14:36

อาจารย์นิติ มธ. มั่นใจศาลโลกตัดสินว่ากัมพูชาไม่มีอำนาจฟ้อง
 

วันอาทิตย์ที่ 3 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา 12:43 น.


     182272.jpg     
                               
        อาจารย์นิติ มธ.มั่นใจศาลโลกตัดสินว่ากัมพูชาไม่มีอำนาจฟ้อง ส่วนปัญหาพื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตร 2 ประเทศต้องเจรจาตามพันธะสัญญา

 

เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 3 ก.พ. ที่คณะนิติศาสตร์

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีการสัมมนาทางวิชาการ “50 ปีคดีปราสาทพระวิหาร
ไขปริศนาคดีตีความ”  โดย นายพิชยพันธุ์ ชาญภูมิดล
รองอธิบดีกรมเอเชียตะวันออก กระทรวงการต่างประเทศ
กล่าวถึงภาพรวมความสัมพันธ์ไทย-กัมพูชาว่า ในช่วง 5
ปีที่ผ่านมานโยบายประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้านเน้นสร้างความมั่งคั่งไว้
เนื้อเชื่อใจ พัฒนาเศรษฐกิจและเจริญไปด้วยกัน
ความเชื่อมโยงทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม
การใช้การทูตเชิงวัฒนธรรมและสร้างความสำคัญระดับประชาชน
ผูกพันผลประโยชน์ให้สอดคล้องกัน และแสวงหาจุดร่วมและสงวนจุดต่าง
ทั้งนี้ได้แยกประเด็นปัญหาออกจากความสัมพันธ์และความร่วมมือที่ดี


    “19 ก.พ.2493 ไทยสถาปนาความสัมพันธ์อันดีกับกัมพูชา แต่ปี 2501-2504
กัมพูชา ได้ตัดความสัมพันธ์ทางการทูตกับไทย 2 ครั้ง
สาเหตุจากข้อพิพาทเรื่องเขาพระวิหาร ปี 2549
เริ่มมีปัญหาจากการที่กัมพูชาขอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกต่อยู
เนสโกฝ่ายเดียว ปี 2550 ไทยได้คัดค้านเป็นผลสำเร็จ
มีการเลื่อนการพิจารณาไปในปี 2551 ที่ประเทศแคนาดา
แต่กัมพูชาประสบความสำเร็จขึ้นทะเบียนฝ่ายเดียวและขึ้นได้เฉพาะตัวประสาทพระ
วิหารไม่รวมชะง่อนเขาบริเวณนั้น ปี 2553
มีการประชุมที่สเปนไทยคัดค้านพื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตร
และได้มีการเลื่อนไปอีก ในที่สุดปี 2555 นายสุวิทย์ คุณกิตติ อดีต
รมว.ทรัพยากรธรรมชาติฯได้ไปประชุมที่ประเทศฝรั่งเศส
ไทยได้ประท้วงและขอเลิกการเป็นภาคีอนุสัญญามรดกโลกมีการวอล์คเอาท์ออกจากที่
ประชุม แต่ยังไม่เป็นผลเพราะยังไม่ได้บอกเลิกอย่างเป็นทางการ
ดังนั้นจึงยังเป็นภาคีมรดกโลกอยู่” นายพิชยพันธุ์ กล่าว


    นายพิชยพันธุ์ กล่าวต่อว่า ปี 2554
เกิดความผกผันมากเพราะช่วงต้นปีมีการปะทะกันที่ จ.ศรีสะเกษ
บริเวณพื้นที่ภูมะเขือ มีการอพยพคนประมาณ 1.5 หมื่นคน
จนนำไปสู่การประชุมคณะมนตรีความมั่นคง
หลังจากนั้นมีการประชุมรมว.ต่างประเทศอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการขอให้ไทยและ
กัมพูชาหารือทวีภาคีกัน หลังจากนั้นมีการปะทะกันรุนแรงระหว่าง 2 เม.ย.-3
พ.ค.2554 บริเวณปราสาทตาเมือนธม และปราสาทตาควาย
นำไปสู่การยื่นขอตีความคำพิพากษาในคดีปราสาทพระวิหารในวันที่ 28 เม.ย.2554

     นายพิชยพันธุ์ กล่าวด้วยว่า

แม้จะมีปัญหาระหว่างกันแต่การค้าชายแดนมูลค่าไม่ได้ลดลง เพิ่มขึ้นตลอด
ปีที่ผ่านมาไทยได้เปรียบดุลการค้า 4 หมื่นกว่าล้านบาท โดยปี 2555
ไทยลงทุนในกัมพูชาเป็นอันดับ 6 นักท่องเที่ยวไทยเดินทางไปกัมพูชาเพิ่มขึ้น
ส่วนความสัมพันธ์ด้านการเมืองนั้นดีมาก น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
นายกรัฐมนตรีไปเยือนกัมพูชาถึง 5ครั้ง อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 25-26
ธ.ค.2555 ไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมว่า
ด้วยความรวมมือทวีภาคี (เจซี) ที่กรุงเทพฯ มีความร่วมมือหลายด้านตามมา 
ดังนั้น คิดว่าความสัมพันธ์ไทยและกัมพูชาต้องเดินหน้าสร้างสันสิภาพความสงบสุขอย่าง
ถาวร ขณะเดียวกันต้องเสริมสร้างความร่วมมือเศรษฐกิจการพัฒนาพื้นที่รวมกันและมี
ความสัมพันธ์เหมือนพี่น้องกัน มีความใกล้ชิดและรักษาความสัมพันธ์ไว้ตลอดไป


   ด้าน นายวรเดช วีระเวคิน อธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย 
กล่าวถึงกระบวนการต่อสู้คดีว่า
ไม่คิดว่าคดีปราสาทพระวิหารจะกลับมาอีกทั้งที่ผ่านมา 50 ปี
เหตุผลที่คดีนี้กลับมา
เพราะทางกัมพูชาพยายามขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก
จนมีการยื่นฟ้องต่อศาลโลก ขอให้ตีความคำพิพากษาในปี 2505
เพราะไม่ได้ระบุชัดเจนว่า
บริเวณใกล้เคียงปราสาทพระวิหารครอบคลุมพื้นที่แค่ไหน ในสมัยนายอภิสิทธิ์
เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี จึงได้ตั้งคณะดำเนินคดีปราสาทพระวิหาร
ในการต่อสู้คดีได้จ้างผู้เชี่ยวชาญกฎหมายระหว่างประเทศ 3 คน
จนมาถึงรัฐบาลปัจจุบันตัวแทนสู้คดียังเป็น เอกอัครราชทูต ณ กรุงเฮก
และทีมทนายยังเป็นชุดเดิม


    นายวรเดช กล่าวต่อว่า การต่อสู้ทางเอกสารของทั้ง 2
ฝ่ายต่อศาลโลกได้สิ้นสุดแล้ว ในวันที่  15-19 เม.ย.นี้ จะเปิดโอกาสให้ 2
ฝ่ายแถลงด้วยวาจา และคาดว่าหลังจากนั้นอีก 6
เดือนศาลโลกคงใช้เวลาทำคำตัดสินก่อนตัดสินในปลายปี 2556
ดังนั้นระหว่างนี้จนถึงเดือน เม.ย.ต้องเตรียมการแถลงด้วยวาจาในเดือน เม.ย.
ซึ่งในวันที่ 5-7 ก.พ.นี้ นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกฯและรมว.ศึกษาธิการ
จะนำคณะไปหารือกับทีมทนายเพื่อจัดเตรียมถ้อยแถลงฝ่ายไทยและเสนอ
ครม.เห็นชอบต่อไป


    ขณะที่ ดร.วีรชัย พลาศรัย เอกอัครราชทูต ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์
หัวหน้าทีมทนายความ กล่าวว่า การตีความคำพิพากษาปี 2505 ไม่มีที่สิ้นสุด
แต่จำกัดว่าต้องอยู่ในกรอบคดีเดิม
และจะมีผลผูกพันเฉพาะสิ่งที่ได้รับการตัดสิน
คดีนี้เชื่อว่าจะเป็นบรรทัดฐานให้มีการศึกษาในอนาคต
ดีใจที่ได้รับเกียรติเพราะคดีอาจจบโดยแพ้หรือชนะแต่ก็จะทำอย่างเต็มที่

    เมื่อถามว่า หากศาลโลกไม่รับคำฟ้องของกัมพูชา พื้นที่ 4.6
ตารางกิโลเมตรจะเป็นของใคร ดร.วีรชัย กล่าวว่า พื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตร
เป็นของใหม่เกิดตอน พ.ศ.2550 จนทำให้เกิดเป็นข้อพิพาท 6 ปีมานี้ไม่ใช่ 50
ปี และหากศาลไม่รับปัญหานี้ก็ยังมีอยู่  2
ประเทศจะต้องเจรจาตามพันธะสัญญาที่มีอยู่

     ทางด้าน รศ.ประสิทธิ์ ปีวาวัฒนพานิช คณะนิติศาสตร์

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 
กล่าวในหัวข้อมุมมองนักวิชาการเกี่ยวกับคดีตีความฯ”ว่า
กัมพูชามีสิทธิขอให้ศาลโลกตีความ แต่ประเด็นที่น่าสนใจคือ
เมื่อคำประกาศยอมรับเขตอำนาจศาลโลกของประเทศไทยหมดอายุไปแล้ว
ศาลโลกยังจะมีอำนาจอีกหรือ สรุปคือศาลโลกมีอำนาจตีความตามธรรมนูญข้อ 60
หลังศาลโลกตัดสินขึ้นอยู่กับว่า คู่ความต้องปฏิบัติตามพิพากษาหรือไม่
ถ้าขั้นตอนไม่เป็นผลอาจนำไปสู่การพิจารณาของคณะมนตรีความมั่นคง
แต่คณะมนตรีความมั่นคงอาจไม่พิจารณาก็ได้


    รศ.ประสิทธิ์ กล่าวอีกว่า คิดว่าศาลโลกไม่น่ารับคำฟ้องของกัมพูชา
ที่ประเมินอย่างนี้ เพราะตอนออกคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว
ความเห็นแย้งของผู้พิพากษาชาวอเมริกันระบุว่า ไม่ใช่เรื่องเขตแดน
ไม่ใช่เรื่องแผนที่ และรุกล้ำอธิปไตยของ 2 ประเทศ ดังนั้น
คิดว่าคำขอของฝ่ายกัมพูชาไม่น่าจะรับ อย่างไรก็ตาม
หวังว่าคำพิพากษาที่จะออกมาปลายปีนี้คงจะสอดคล้องกับภาษาลาตินที่จารึกที่
หน้าพีช พาเลซ ว่า หน้าที่ในการส่งเสริมสันติภาพเป็นหน้าที่ของผู้พิพากษา


   ศ.ดร.จตุรนต์ ถิระวัฒน์ หัวหน้าภาควิชากฎหมายระหว่างประเทศ
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า เราพูดเรื่องการแพ้ชนะ
เจ๊งกับเจ๊า ทุกคนไม่สบายใจและไม่อยากให้มีผลกระทบอีก 50 ปีข้างหน้า
ผลประโยชน์อยู่ตรงไหนอยากให้ดูหลายมิติ จริง ๆ แล้ว
ไม่จำเป็นที่จะคาดการณ์ในทางลบเกินไป 
เชื่อว่าศาลคงคำนึงถึงสภาพการณ์ในภูมิภาค เรื่องศักดิ์ศรีประเทศ
เพราะเรากำลังมีมติใหม่ในการทำงานในภูมิภาค มีแผนจะก้าวไปสู่ประชาคมอาเซียน
ถ้าศาลจะทำให้เราติดหล่ม ศาลคงตระหนักและชั่งน้ำหนัก.


pixel.gif?key=node,182272

ที่มา http://www.dailynews...politics/182272


Edited by Andiond Thunder, 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 - 14:39.


#35 ฟังทั้งสองฝ่าย

ฟังทั้งสองฝ่าย

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 2,261 posts

ตอบ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 - 15:00

ศาลโลกก็ให้ขึ้นเป็นมรดกโลก เฉพาะตัวปราสาทก้จบแล้วครับ ส่วนข้อบังคับต่างๆในการที่จะขอขึ้นสิ่งนั้นๆเป็นมรดกโกลต้องมีองค์ประกอบต่างๆ แต่ถ้าองค์ประกอบต่างๆนั้น อาจจะนำไปสู่สงคราม ปัญหาร้ายแรง ก็ให้เป็นข้อยกเว้น ไม่ต้องนำมาพิจารณา กัมพูชาก็ได้ขึ้นทะเบียนมรดกโลกของตัวปราสาทเขาพระวิหารตามที่ต้องการ
ปล.วิธีแก้ ง่ายเกินไปป่าวเนี้ย 5555+
แก้ไข บางคนอาจจะบอกว่าเป็นไปไม่ได้ แต่ สิ่งเหล่านี้ คนเป็นคนกำหนด มีอะไรบ้างที่เป็นไปไม่ได้ ถ้าจะแก้ ถ้าจะทำ เพื่อป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นกับทั้งสองฝ่าย


Edited by ฟังทั้งสองฝ่าย, 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 - 15:03.


#36 ypk

ypk

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 2,173 posts

ตอบ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 - 16:02

เหอะ เหอะ เหอะ  ผมว่ามันอ้างกันได้ทั้งสองฝ่ายนั่นแหละ ไม่ว่าจะตีความตามตัวอักษร

หรืออ้างแผนที่  แต่ที่มันเป็นปัญหาของประเทศไทยอยู่ทุกวันนี้ ก็คือ มันดันมีคนไทยบางพวก

บางกลุ่มที่ดูจะอยากให้มันเสียดินแดนตรงนี้เหลือเกิน ตรงนี้น่า งง กว่าเยอะ ว่าเพราะอะไร

 

การจะตีความ ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส อะไรนั้น มันคงเป็นแค่การถกเถียงกันในเรื่องภฺมิปัญญา

มากกว่า แต่ข้อเท็จจริงที่พวกภูมิปัญญาเหล่านี้มองข้ามก็คือ เราถูกโกงมาแต่แรก เพราะประเทศเรา

สู้อิทธิพลเขาไม่ได้ แต่ตอนนี้มันไม่ใช่แล้ว เราสู้ได้ ทำไมเราถึงจะต้องยอมเหมือนเดิมหรือ ถึงกับต้อง

ยัดเยียดว่าศาลตีความไปแล้วว่าเส้นเขตแดนอยู่ตรงไหน เหมือนที่ อ พวงทอง พูดว่า

 

"ดิฉันเห็นว่าศาลได้วินิจฉัย(พิจารณา)เรื่องเส้นเขตแดนระหว่างไทยและกัมพูชาไว้แล้ว แต่ไม่ได้กำหนด

ไว้ในข้อปฏิบัติการดังข้อความที่ว่า ศาลจะสามารถวินิจฉัยชี้ขาดเกี่ยวกับอธิปไตยเหนือบริเวณพระวิหารได้

ก็ต่อเมื่อได้ตรวจสอบแล้วว่าเส้นเขตแดนคือเส้นใด"

 

พูดแบบนี้มันแสดงให้เห็นว่าเป็นการยอมรับโดยสิ้นเชิง ไม่ได้มองว่าถ้าศาลมันไม่มัดมือเราชกเรื่อง

กฎหมายปิดปาก มันจะอ้างอะไรที่จะยกปราสาทให้เขมรได้ล่ะ การจะอ้างว่าที่ศาลไม่ได้กำหนดไว้ในข้อ

ปฏิบัติการเพราะมันเป็นคำฟ้องเพิ่มภายหลัง แล้วไอ้เรื่องคืนปฏิมากรรมตามบทความของนายปานเทพล่ะ

ทำไมมันตัดสิน มันก็ฟ้องเพิ่มมิใช่หรือ

 

ผมว่าการปกป้องดินแดน มันคงไม่ใช่เรื่องสุดโต่งไปด้านใดด้านหนึ่ง ไม่ว่าจะมองโลกเลวร้ายจนถูกด่าว่า

พวกคลั่งชาติ หรือมองโลกสวยที่จะเอาแต่ความสัมพันธุ์อันดี ฉันพี่น้อง  แต่มันควรอยุ่บนความเป็นจริง

มากกว่าว่าสิ่งที่มันควรจะเป็นมันควรจะเป็นอย่างไร



#37 Stargate-1

Stargate-1

    SG-1

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,578 posts

ตอบ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 - 23:21

คำฟ้องเดิม

 

(1) that the Kingdom of Thailand is under an obligation to withdraw


 

the detachments of armed forces it has stationed since 1954


 

in the ruins of the Temple of Preah Vihear;


 

(2) that the territorial sovereignty over the Temple of Preah


 

Vihear belongs to the Kingdom of Cambodia.

 

ทำไมการแก้คำฟ้องจึงเปลี่ยนคำพูดไปหมดเลย โดยโยงไปเรื่องดินแดนหมดเลย

 

I. To adjudge and declare that the frontier line between Carnbodia


 

and Thailand, in the Dangrek sector, is that which is marked on the


 

map of the Commission of Delimitation between Indo-China and


 

Siam (Annex 1 to the Memorial of Cambodia) ;


 

2. TO adjudge and declare that the Temple of'preah Vihear is


 

situated in territory under the sovereignty of the Kingdom of


 

Cambodia ;


 

3. TO adjudge and declare that the Kingdom of Thailand is under


 

an obligation to withdraw the detachments of armed forces it has


 

stationed since 1954, in Cambodian territory, in the ruins of the


 

Temple of Preah Vihear ;


 

4. TO adjudge and declare that the sculptures, stelae, fragments


 

of monuments, sandstone mode1 and ancient pottery which have


 

been removed from the Temple by the Thai authorities since 1954


 

are to be returned to the Government of the Kingdom of Cambodia


 

by the Government of Thailand.


Tam-mic-ra ฟันธง!  คำว่า "โดนพริกไทยมั๊ง" น่ะ แค่นี่เอามาเป็นหลักฐาน ได้ยังไงครับ .....  คิดครับคิด  :lol:   จากกระทู้แก้ข่าวหน้า 2 qoute #96  ใครยิงวสันต์-ภู่ทอง   แอลพีจีทำมาจากซี2ซี3


#38 ypk

ypk

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 2,173 posts

ตอบ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 - 00:02

เหอ เหอ เหอ  คือดูที่เขมรมันเพิ่มแล้วมันเหมือนตลก แต่ตลกไม่ออกนั่นแหละ

เพราะมันเห็นชัดว่ายุคนั้น อิทธิพลของชาติมหาอำนาจมันเป็นอย่างไร

 

อย่างข้อ 1 นี่เพิ่มเข้ามาใหม่ แต่ข้อ 2 นี่เหมือนไปปรับปรุงคำพูดให้มันรัดกุมขึ้น ในขณะที่

ข้อนี้ คือ ข้อ 2 เดิม ที่มันฟ้องไว้ก็ยังอยู่  ส่วนข้อ 3 ก็คือข้อ 1 เดิมที่ยังอยู่ แต่ไปปรับปรุง

คำพูดให้รัดกุมขึ้น ส่วนข้อ 4 นี่เพิ่มใหม่

 

แล้วแบบนี้ ถ้าศาลมันให้เพิ่มได้ จะรวมคำฟ้องเป็น 6 ข้อ แล้วมันจะตัดสินตามของเดิมหรือ

ของใหม่ ในข้อที่มันซ้ำกัน แต่ในขณะที่บอกว่าเพิ่มไม่ได้ แล้วดันตัดสิน ข้อ 4 ที่เพิ่มใหม่

ได้อย่างไร



#39 Manners

Manners

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 623 posts

ตอบ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 - 00:39

สถาณะของไทยหลังสงครามโลก ก็ไม่ค่อยดี

 

จะว่าไป รอดมาเป็นฝ่ายสัมพันธมิตรได้ก็ดีโขแล้ว

 

ขนาดเงินไปศาลโลก รัฐบาลในสมัยนั้นยังต้องขอรับบริจาก คิดเอาว่าสภาพแย่ขนาดไหน

 

ที่ได้ทำไปนับว่าดีที่สุดในตอนนั้นแล้ว  เหมือนเอาไม้ซีกมางัดไม้ซุง

 

 

ที่สำคัญ ผมว่าคนไทยในสมัยนั้นมีความรักชาติมากกว่าคนในสมัยนี้


Edited by Manners, 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 - 00:42.


#40 Stargate-1

Stargate-1

    SG-1

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,578 posts

ตอบ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 - 08:03

post-11431-0-58019600-1359744434.gif

 

พื้นที่รองรับปราสาท !!!     555    แต่เดี๋ยว มันคงเถียงต่อได้  ลืมไป :unsure:

 

อ่อๆ มุขเดิมแน่ๆ=    นพดลไปยกปราสาทให้เขมร ก๊ากๆ

 

 

ประเด็นที่คุณypkคิด ตรงกับที่ผมคิดเลยครับ เพราะที่เขาเพิ่มมาในข้ออื่นๆก็สอดคล้องกับเรื่องเขตแดน เขาสอดไส้มาครับ เราก็ไปสนใจแต่ข้ออื่น ไม่เห็นในข้อนี้ ทั้งๆที่มันเป็นเรื่องดินแดนเหมือนกัน

 

P6796904-39.gif

P6796904-40.gif


Tam-mic-ra ฟันธง!  คำว่า "โดนพริกไทยมั๊ง" น่ะ แค่นี่เอามาเป็นหลักฐาน ได้ยังไงครับ .....  คิดครับคิด  :lol:   จากกระทู้แก้ข่าวหน้า 2 qoute #96  ใครยิงวสันต์-ภู่ทอง   แอลพีจีทำมาจากซี2ซี3


#41 เคนอิจิ-นามิ

เคนอิจิ-นามิ

    สมาชิกขั้นสูง

  • Banned
  • PipPipPipPip
  • 4,447 posts

ตอบ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 - 20:31

๑. ปัญหา
           การขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกของประเทศกัมพูชาจะมีผลกระทบต่อเขตแดนไทยตามกลไกของการเป็นมรดกโลก
๒. ข้อเท็จจริง
           ๒.๑ ก่อนเกิดคดีปราสาทพระวิหาร
                   ๒.๑.๑ ปราสาทพระวิหารตั้งอยู่บนเขาพระวิหารในเทือกเขาพนมดงรัก อันเป็นเส้นแบ่งเขตแดนไทย - กัมพูชา นับตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๔๗ (ค.ศ.๑๙๐๔) โดยหนังสือสัญญาสยาม – ฝรั่งเศส วันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ ร.ศ.๑๒๒ (ค.ศ.๑๙๐๔ หรือ พ.ศ.๒๔๔๗) สำหรับเขตแดนไทย (สยาม) กับกัมพูชา ปรากฏอยู่ในข้อ ๑ ของสนธิสัญญา มีความว่า
                   "เขตร์แดนในระหว่างกรุงสยามกับกรุงกัมพูชานั้นตั้งต้นแต่ปากคลองสดุงโรลูออส ข้างฝั่งซ้าย ทะเลสาปเป็นเส้นเขตร์แดนตรงทิศตะวันออกไปจนบรรจบถึงคลองกะพงจาม ตั้งแต่นี้ต่อไปเขตร์แดนเป็นเส้นตรงทิศเหนือขึ้นไปจนบรรจบถึงภูเขาพนมดงรัก (คือ ภูเขาบรรทัด) ต่อนั้นไปเขตร์แดนเนื่องไปตามแนวยอดภูเขาปันน้ำ ในระหว่างดินแดนน้ำตกน้ำแสนแลดินแดนน้ำตกแม่โขง ฝ่ายหนึ่งกับดินแดนน้ำตกน้ำมูนอีกฝ่ายหนึ่งจนบรรจบถึงภูเขาผาด่าง แล้วต่อเนื่องไปข้างทิศตะวันออกตามแนวยอดภูเขานี้จนบรรจบถึงแม่โขง ตั้งแต่บรรจบนี้ขึ้นไป แม่น้ำโขงเป็นเขตแดนของกรุงสยามตามความข้อ ๑ ในหนังสือสัญญาใหม่ ณ วันที่ ๓ ตุลาคม รัตนโกสินทรศก ๑๑๒ "
                   ๒.๑.๒ ในช่วงนี้ได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการปักปันเขตแดน ระหว่างสยาม – ฝรั่งเศส ทำแผนที่ปักปันเขตแดนขึ้นด้วยมาตราส่วน ๑ : ๒๐๐.๐๐๐ แสดงเส้นเขตแดนตามสนธิสัญญาปี ค.ศ.๑๙๐๔ (พ.ศ.๒๔๔๗) ไว้ในตอนทิวเขาหลวงพระบาง มีแผนที่ ๕ ระวาง ตอนทิวเขาพนมดงรัก มีแผนที่ ๖ ระวาง และเขตแดนตอนล่าง มีแผนที่ ๓ ระวาง เป็นการเขียนไปตามเขตแดนของเมืองเสียมราฐกับเมืองพระตะบองแล้วตัดเอาจังหวัดตราดไปเป็นของฝรั่งเศส
                   ๒.๑.๓ เพื่อแลกกับอำนาจศาลเมืองด่านซ้ายและจังหวัดตราด ไทย (สยาม) ได้ยอมยกเมือง เสียมราฐกับพระตะบองให้กับฝรั่งเศส จึงได้มีการทำหนังสือสัญญา ลงวันที่ ๒๓ มีนาคม ร.ศ.๑๒๕ (ค.ศ.๑๙๐๗ หรือ พ.ศ.๒๔๕๐) เขตแดนไทย (สยาม) กับกัมพูชา ปรากฎอยู่ในข้อ ๑ ของสนธิสัญญา มีความว่า
                   " เขตร์แดนในระหว่างกรุงสยามกับอินโดจีนของฝรั่งเศสนั้นตั้งแต่ชายทะเลที่ตรงข้ามกับยอดเขาสูงที่สุดของเกาะกูตเปนหลักแล้วตั้งแต่นี้ต่อไป ทางตะวันออกเฉียงเหนือถึงสันเขาพนมกระวานแลเปนที่เข้าใจกันชัดเจนด้วยว่า แม้จะมีเหตุการณ์อย่างไรๆก็ดี ฟากไหล่เขาเหล่านี้ ข้างทิศตะวันออกรวมทั้งที่ลุ่มน้ำคลองเกาะปอด้วยนั้นต้องเป็นดินแดนฝ่ายอินโดจีนของฝรั่งเศสแล้ว เขตร์แดนต่อไปตามสันเขาพนมกระวานทางทิศเหนือ จนถึงเขาพนมทม ซึ่งเป็นเขาใหญ่ปันน้ำทั้งหลาย ระหว่างลำน้ำที่ไหลตกอ่าวสยามฝ่ายหนึ่งกับลำน้ำที่ไหลตกทเลสาบอีกฝ่ายหนึ่ง ตั้งแต่เขาพนมทมนี้ เขตร์แดนไปตามทิศพายัพก่อนแล้วไปตามทิศเหนือตามเขตร์แดนที่เปนอยู่ในปัจจุบัน ระหว่างเมืองพระตะบองฝ่ายหนึ่งกับเมืองจันทบุรี แลเมืองตราษอีกฝ่ายหนึ่งแล้วต่อไปจนถึงเขตร์แดนที่ข้ามลำน้ำใส ตั้งแต่นี้ต่อไปตามลำน้ำนี้จนถึงปากที่ต่อจากลำน้ำศรีโสภณ แลตามลำน้ำศรีโสภณต่อไปจนถึงที่แห่งหนึ่งในลำน้ำนี้ ประมาณสิบกิโลเมตร ฤาสองร้อยห้าสิบเส้นใต้เมืองอารัญ ตั้งแต่นี้ตีเส้นตรงไปถึงเขาแดงแรกตรงระหว่างกลางทางช่องเขาทั้ง ๒ ที่เรียกว่า ช่องตะโก กับช่องสเมด ได้เปนที่เข้าใจกันว่า เส้นเขตร์แดนที่กล่าวมาที่สุดนี้จะต้องปักปันกันให้มีทางเดินตรงในระหว่างเมืองอารัญ กับช่องตะโกไว้ในเขตร์กรุงสยาม ตั้งแต่ที่เขาแดงแรกที่กล่าวมาข้างต้นนั้น เขตร์แดนต่อไปตามปันน้ำที่ตกทเลสาบแลแม่โขงฝ่ายหนึ่งกับที่น้ำมูนอีกฝ่ายหนึ่งแล้วต่อไปจนตกลงลำแม่น้ำโขงใต้ปากมูน ตรงปากห้วยดอน ตามเส้นเขตร์แดนที่กรรมการปักปันแดนครั้งก่อน ได้ตกลงกันแล้ว เมื่อวันที่๑๘ มกราคม รัตนโกสินทรศก ๑๒๕ คฤสตศักราช ๑๙๐๗ ได้เขียนเส้นพรมแดนประเมินไว้อย่างหนึ่งในแผนที่ตามที่กล่าวในข้อนี้ติดข้องไว้ในสัญญานี้ด้วย "
                   ๒.๑.๔ คณะกรรมการปักปันก็ได้เขียนเส้นเขตแดนใหม่บนแผนที่ทั้ง ๘ ฉบับ ส่วนอีก ๓ ฉบับ ยังคงปล่อยไว้เช่นเดิม แผนที่ทั้ง ๑๑ ฉบับ พิมพ์เสร็จในปี ค.ศ.๑๙๐๗ (พ.ศ.๒๔๕๑) และได้ส่งมาให้ไทย ๕๐ ชุด
                   ๒.๑.๕ สนธิสัญญาทั้งสองฉบับดังกล่าวแล้ว ระบุไว้ว่าเส้นเขตแดนไปตามสันปันน้ำของทิวเขาพนมดงรักแต่ตรงบริเวณที่ตั้งปราสาทพระวิหาร และเส้นเขตแดนระวาง DANGREK กลับเขียนผิดสภาพความเป็นจริง ตามสภาพภูมิศาสตร์กันเอาส่วนที่เป็นที่ตั้งปราสาทพระวิหารไปไว้ในเขตอินโดจีนของฝรั่งเศสซึ่งที่ถูกต้องแล้ว จะต้องอยู่ในเขตไทย
                   ๒.๑.๖ ฝ่ายไทยไม่เคยสังเกตว่าแผนที่ระว่างดังกล่าวนั้น เขียนไปอย่างไรแต่ไทยก็เข้าครอบครองเขาพระวิหารตลอดมา จังหวัดศรีสะเกษได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของไทย เมื่อวันที่ ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๖๘ (ค.ศ.๑๙๒๕)
                   ๒.๑.๗ ในปี พ.ศ.๒๔๘๓ จากกรณีพิพาทอินโดจีนไทยได้ดินแดนมณฑลบูรพา ที่เคยเสียไปในรัชกาลที่ ๕ กลับคืนมาตามสนธิสัญญาโตเกียว แต่หลังสงครามมหาเอเชียบูรพาไทยต้องคืนดินแดนดังกล่าวให้ฝรั่งเศสไปแต่ยังคงครอบครองปราสาทพระวิหารมาโดยตลอด แม้ฝรั่งเศสจะประท้วงไทยหลายครั้ง ในปี พ.ศ.๒๔๙๒
           ๒.๒ คดีปราสาทพระวิหาร
                   ๒.๒.๑ ในปี พ.ศ.๒๕๐๑ รัฐบาลได้รับรายงานจากสถานทูตไทย ประจำกรุงพนมเปญว่าฝ่ายกัมพูชากำลังรวบรวมหลักฐานที่จะฟ้องร้องต่อศาลยุติธรรมระหว่างประเทศว่าไทยได้ยึดปราสาทพระวิหารของกัมพูชา
                   ๒.๒.๒ ฝ่ายไทยคณะรัฐมนตรีได้ตั้งคณะกรรมการเตรียมเรื่องพระวิหาร ตามกฎหมาย โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นประธาน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เป็นรองประธานกรรมการ คณะกรรมการชุดนี้ได้ประชุมกันเป็นครั้งแรก เมื่อ ๑ ก.ย.๐๑ และได้มีการประชุมกันติดต่อโดยต่อเนื่อง เตรียมการสู้คดีอย่างทุกแง่ ทุกมุม การประชุมได้กระทำถึง ๗๓ ครั้ง ประชุมครั้งสุดท้าย เมื่อ ๒๗ ธ.ค.๐๔
                   ๒.๒.๓ ๖ ต.ค.๐๒ รัฐบาลกัมพูชาได้ยื่นคำร้องต่อสำนักทะเบียนศาลยุติธรรมระหว่างประเทศเพื่อนำข้อพิพาทระหว่างกัมพูชากับไทยขึ้นสู่ศาลโดยขอให้ศาลพิพากษาและแถลงไม่ว่าประเทศไทยจะปรากฏตัวหรือไม่
                             ๒.๒.๓.๑ ว่าเป็นประเทศไทยจะอยู่ภายใต้พันธกรณีที่จะถอนกำลังทหารที่ได้ส่งไปประจำการตั้งแต่ปี ค.ศ.๑๙๕๔ (พ.ศ.๒๔๙๗) ในปราสาทพระวิหาร
                             ๒.๒.๓.๒ ว่าอธิปไตยแห่งดินแดนเหนือปราสาทพระวิหารเป็นของกัมพูชา
                   ๒.๒.๔ กัมพูชาได้ยื่นคำฟ้องต่อศาลยุติธรรมระหว่างประเทศใน ๒๓ ม.ค.๐๓ สรุปคำฟ้องได้ดังนี้
                             ๒.๒.๔.๑ ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๙๒ กัมพูชาได้ประท้วงทางสายการทูตต่อไทยหลายครั้งว่าไทยยึดครองเขตแดนกัมพูชาบริเวณปราสาทพระวิหารแต่ไม่ได้ผลเพื่อป้องกันสิทธิอันชอบธรรม จึงต้องยื่นคดีนี้ต่อศาล
                             ๒.๒.๔.๒ สิทธิของกัมพูชามีหลักฐานสนับสนุน ๓ ประการ - อาศัยสนธิสัญญาปักปันเขตแดนระหว่างฝรั่งเศสและสยาม - กัมพูชาไม่เคยสละอำนาจเหนือดินแดนที่อ้างถึง - ไทยไม่ได้กระทำใดๆในทางใช้อำนาจเหนือดินแดนที่อ้างงถึงมาก่อน พร้อมกับรายละเอียดประกอบอีก ๓๐ หัวข้อ
                   ๒.๒.๕ ฝ่ายไทยได้แถลงคำค้านเบื้องต้น เมื่อ ๒๓ พ.ค.๐๓ สรุปว่า ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ไม่มีอำนาจพิจารณาคำร้องนี้ แต่ในที่สุดศาลก็ยกคำร้องของไทยและและสั่งการให้ประเทศไทยไปแก้คดี ฝ่ายไทยได้ยื่นคำให้การแก้ข้อกล่าวหาเมื่อ ๒๙ ก.ย.๐๔ และตั้งคณะทนายความเพื่อแก้ต่างในศาลคือ หม่อมเจ้าวงศ์ มหินชยางกูร เอกอัครราชทูตไทย ประจำเนเธอร์แลนด์ เป็นผู้แทนรัฐบาลไทย
                   ๒.๒.๖ คำแก้ข้อกล่าวหาของไทย สรุปได้คือ
                             ๒.๒.๖.๑ ไทยครอบครองปราสาทพระวิหารมาตั้งแต่ปี ค.ศ.๑๙๐๔ (พ.ศ.๒๔๔๗) โดยฝรั่งเศสหรือกัมพูชาไม่เคยโต้แย้งหรือขัดขวางเลย
                             ๒.๒.๖.๒ ตามที่กัมพูชาอ้างหลักฐานสนับสนุน ๓ ประการ - ประการแรก ฝ่ายไทยเห็นพ้องทุกประการที่จะต้องใช้สนธิสัญญาระหว่าง สยาม - ฝรั่งเศส ลงวันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ ค.ศ.๑๙๐๔ เป็นบทบังคับในคดีนี้ สนธิสัญญาระบุว่า ให้สันปันน้ำเขาพนมดงรักเป็นเส้นเขตแดน และสันปันน้ำนี้ได้กันเอาปราสาทพระวิหารไว้ในเขตไทย - ประการที่สอง ตามที่กัมพูชาอ้างว่าไม่เคยทอดทิ้งอำนาจอธิปไตยเหนือเขตแดนนี้ ราษฎรกัมพูชาได้ไปทำศาสนกิจธุดงค์ที่ปราสาทนี้เสมอมานั้น คนเขมรนับถือพระพุทธศาสนาจะไปทำศาสนกิจในเทวาลัยของศาสนาพราหมณ์ได้อย่างไร การเดินทางจากกัมพูชามายังปราสาท จะต้องไต่หน้าผาสูงชัน ยากจะปีนป่ายขึ้นมาได้ - ประการที่สาม กัมพูชาอ้างว่าไทยไม่เคยอ้างสิทธิเหนือปราสาทพระวิหาร มาก่อนนั้น ฝ่ายไทยทราบดีว่า เขตแดนไทยอยู่ ณ ที่ใด ไม่จำเป็นต้องประกาศอีก ปราสาทพระวิหารในสนธิสัญญา ก็ไม่มีระบุไว้เกี่ยวข้องกับเขตแดนอย่างไร กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ได้ค้นพบปราสาทแห่งนี้ ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๔๒ ในครั้งนั้น ไม่มีผู้ใดสนใจกันมากนัก เพราะยังอยู่ในป่าดงดิบ ต่อมาจังหวัดศรีสะเกษได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน ตั้งแต่ปี ค.ศ.๑๙๒๕ (พ.ศ.๒๔๖๘)
                             ฝ่ายไทยได้แก้ข้อกล่าวหาของฝ่ายกัมพูชาทุกข้อ โดยเฉพาะแผนที่ตามเอกสารท้ายคำฟ้อง หมายเลข ๑ คือแผนที่คณะกรรมการปักปันเขตแดนที่ฝรั่งเศสทำขึ้นฝ่ายเดียวไม่มีการเสนอให้คณะกรรมการปักปันเขตแดนตรวจสอบและให้คำรับรองก่อน สรุปแล้วแผนที่ชุดนี้ไม่มีผลบังคับใช้
                   ๒.๒.๗ ฝ่ายกัมพูชาได้เสนอคำคัดค้าน โดยอ้างว่า
                             - จากรายงานของกรมแผนที่ทหารบก ในการสำรวจมณฑลนครราชสีมา ในปี ค.ศ.๑๙๒๘ (พ.ศ.๒๔๗๑) ระบุว่า บริเวณนั้นเป็นป่าทึบมีบ้านเรือนอยู่กระจัดกระจาย ส่วนใหญ่ประชาชนเป็นชาวเขมรแสดงว่าพื้นที่ดังกล่าวอยู่ในความปกครองของกัมพูชา
                             - ปราสาทพระวิหาร กษัตริย์สมัยนครวัด เป็นผู้สร้าง ดังนั้นจึงต้องเป็นของกัมพูชา
                             - แผนที่ตามคำฟ้องของกัมพูชาชุดดังกล่าวพิมพ์ขึ้นตามสนธิสัญญา ปี ค.ศ.๑๙๐๔ (พ.ศ.๒๔๔๗) และแก้ไขตามสนธิสัญญา ปี ค.ศ.๑๙๐๗ (พ.ศ.๒๔๕๐) ซึ่งแสดงเขตแดนปัจจุบันของไทย กัมพูชา และลาว
                             - การกำหนดเขตแดนตามสนธิสัญญา ใช้สันปันน้ำเป็นเส้นเขตแดน แต่สันปันน้ำไม่ใช่เส้นเขตแดนตามธรรมชาติ ที่เห็นได้ด้วยตาจึงต้องกำหนดเขตแดนที่แน่ชัดไว้บนแผนที่
                             - การพิมพ์แผนที่ตามคำฟ้องหมายเลข ๑ นั้น หัวหน้าคณะกรรมการปักปันเขตแดนฝ่ายฝรั่งเศสร่วมกับหัวหน้าคณะกรรมการปักปันเขตแดนฝ่ายไทยเป็นคณะกรรมการผสมตามสนธิสัญญาสยาม - ฝรั่งเศส ปี พ.ศ.๑๙๐๔ (พ.ศ.๒๔๔๗) พิมพ์เสร็จในเดือนพฤษภาคม ค.ศ.๑๙๐๘ (พ.ศ.๒๔๕๑) และได้กันแผนที่ ๕๐ ชุด ไปให้รัฐบาลสยาม และอีก ๑๙ ชุด ให้คณะกรรมการทั้งสองฝ่ายอีก ๑๕ ชุด ไปแจกจ่ายตามหัวเมืองต่าง ๆ ฝ่ายไทยไม่ได้แสดงเอกสารใด ๆ ที่แสดงความสงสัยในความถูกต้องแท้จริง
                   ๒.๒.๘ กัมพูชาขอให้ศาลพิจารณาตัดสินให้ คือ                              - ยกคำให้การของประเทศไทย รวมทั้งเหตุผลอย่างอื่นที่จะยกมาภายหลังด้วย                              - ขอให้ศาลพิจารณาว่า ไทยต้องถอนทหารออกไปจากเขาพระวิหารและอธิปไตยทางดินแดนที่ปราสาทพระวิหารตั้งอยู่เป็นของกัมพูชา
                   ๒.๒.๙ ฝ่ายไทยได้เสนอคำท้วงติง คือ
                              - ฝ่ายไทยได้ชี้ชัดให้เห็นแล้วว่า แผนที่หมายเลข ๑ นั้น ฝรั่งเศสเป็นผู้ทำฝ่ายเดียว และเส้นเขตแดนที่ปรากฏตามโครงวาดดังกล่าว ไม่อาจนำมาใช้ผูกพันแทนสนธิสัญญาได้
                              - ปัญหาเชื้อชาติที่กัมพูชาอ้างนั้นปัจจุบันก็ยังมีคนเขมรมากมายในเขตไทย และคนเขมรเหล่านั้นล้วนแต่เป็นพลเมืองไทย
                              - ตัวปราสาทพระวิหารที่กัมพูชาอ้างว่าเป็นฝีมือของชาวขอมเช่นเดียวกับปราสาทนครวัด ดังนั้น จึงต้องเป็นของกัมพูชานั้นอารยธรรมของขอม ได้แพร่เข้ามายังประเทศไทยอีกมากมาย เช่น ปราสาท หินพิมาย ปราสาทหินที่ลพบุรี เป็นต้น การอ้างดังกล่าว จึงไม่เป็นการถูกต้อง
                              - ฝ่ายไทยได้สรุปที่มาของแผนที่ ประกอบคำฟ้องหมายเลข ๑ อีกมากที่จะชี้ให้เห็นว่า เป็นแผนที่ที่ฝรั่งเศส ทำแต่ฝ่ายเดียว
                              - ตามที่กัมพูชาอ้างแผนที่กรมแผนที่ทหารบกทำนั้นฝ่ายไทยได้เสนอหลักฐานว่า กัมพูชาบิดเบือนความจริงที่ถูกต้อง แผนที่ดังกล่าวสำรวจในปี ค.ศ.๑๙๓๔ (พ.ศ.๒๔๗๗) ได้แสดงว่าปราสาทพระวิหารอยู่ในเขตไทย
                              - ฝ่ายไทยได้เสนอแผนที่ทันสมัยที่เขียนจากรูปถ่ายทางอากาศ ซึ่งได้รับการรับรองจาก ศาสตราจารย์ สเกมา ฮอน คณบดีศูนย์ฝึกการสำรวจทางอากาศระหว่างประเทศ ณ เมืองเดลฟท์ ว่าแนวสันปันน้ำอยู่ทางทิศใต้ของปราสาทพระวิหาร
                              - สรุปแล้ว ประเด็นที่ใช้ในการตัดสินคดีปราสาทพระวิหารเหลือประเด็นเดียว ที่มีผลตามกฎหมายระหว่างประเทศ คือ สนธิสัญญา ค.ศ.๑๙๐๔ (พ.ศ.๒๔๔๗) และ ค.ศ.๑๙๐๗ (พ.ศ.๒๔๕๐) ที่กำหนดไว้ว่า "จากจุดบนภูเขาพนมดงรักที่ว่านี้ไป เส้นเขตดินแดนตามสันปันน้ำ ............"
                   ๒.๒.๑๐ คำตัดสินของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ เมื่อ ๑๕ มิ.ย.๐๕ ได้ตัดสินโดยการลงคะแนน ดังนี้
                              - เก้าเสียง ต่อสามเสียง ลงความเห็นว่าปราสาทพระวิหารอยู่ในอาณาเขตภายใต้อธิปไตยของกัมพูชา
                              - เก้าเสียง ต่อสามเสียง ลงความเห็นว่า ไทยต้องถอนทหารและตำรวจที่ประจำอยู่ที่ปราสาทพระวิหารออกให้พ้นเขตกัมพูชา
                              - เจ็ดเสียง ต่อห้าเสียง ให้ไทยคืนวัตถุโบราณต่าง ๆที่โยกย้ายไปจากปราสาทพระวิหารให้กัมพูชา
                              - มีสามเสียง ที่มีความเห็นแย้งคือ นายมอเรโน กินตานา ชาวอาร์เจนตินา นายเวลลิงตัน คู ชาวจีน (ไต้หวัน) และเซอร์ เพอซี เสปนเดอร์ ชาวออสเตรเลีย
                   ๒.๒.๑๑ ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศไม่ได้ระบุในคำตัดสินถึงแนวเส้นเขตแดนที่ถูกต้อง แน่ชัดในพื้นที่ดังกล่าว เพราะแม้ศาลโลกได้สรุปว่า ต้องใช้แผนที่คณะกรรมการปักปันเขตแดนสยาม - อินโดจีน ฝรั่งเศส มาตราส่วน ๑ : ๒๐๐,๐๐๐ เป็นเหตุผลในการวินิจฉัย แต่ศาลก็ชี้ชัดว่า ข้อเรียกร้องของกัมพูชาที่ขอให้ศาลประกาศนิติฐานะของเส้นเขตแดน ตามแผนที่ดังกล่าวนั้น ศาลสามารถพิจารณาให้ได้เฉพาะในขอบเขตที่เป็นเครื่องแสดงเหตุผลเท่านั้น และไม่ใช้ฐานเป็นข้อเรียกร้องที่จะตัดสินให้ในข้อบทปฏิบัติการของคำพิพากษา
           ๒.๓ การปฏิบัติของรัฐบาลไทย
                   ๒.๓.๑ รัฐบาลไทยได้แถลงว่า ไม่เห็นด้วยกับคำพิพากษาดังกล่าว แต่ในฐานะประเทศสมาชิกขององค์การสหประชาชาติ ไทยก็จะปฏิบัติตามพันธกรณีต่างๆ อันเป็นผลมาจากคำพิพากษาตามข้อ ๙๔ ของกฎบัตรสหประชาชาติ โดยมติคณะรัฐมนตรี เมื่อ ๑๐ ก.ค.๐๕ รัฐบาลไทยได้คืนตัวปราสาทพระวิหารให้แก่กัมพูชา โดยกำหนดขอบเขตพื้นที่ที่คืนให้แก่ฝ่ายกัมพูชาทางทิศเหนือที่ระยะ ๒๐ เมตร จากบันไดนาค ไปทางทิศตะวันออกจนถึงช่องบันไดหัก และทิศตะวันตกที่ระยะ ๑๐๐ เมตร จากแกนของตัวปราสาทไปทางทิศใต้ จนจรดขอบหน้าผา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทยได้แจ้งการปฏิบัติตามคำพิพากษาดังกล่าว แก่เลขาธิการสหประชาชาติ เมื่อ ๑๓ ก.ค.๐๕ และยึดถือเขตแดนบริเวณนี้ ตามที่กำหนดข้างต้นตลอดมา
                   ๒.๓.๒ ข้อสงวนของรัฐบาลไทย ในหนังสือถึงเลขาธิการสหประชาชาติดังกล่าวได้แจ้งด้วยว่าไทยขอตั้งข้อสงวนสิทธิใด ๆ ที่ประเทศไทยมีหรืออาจจะมีในอนาคต เพื่อเอาปราสาทพระวิหารกลับคืนมา โดยอาศัยกระบวนการกฎหมายที่มีอยู่ หรือที่จะพึงนำมาใช้ได้ในภายหลัง และตั้งข้อประท้วงต่อคำพิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศที่ตัดสินให้ปราสาทพระวิหารเป็นของกัมพูชา
                   ข้อสงวนที่รัฐบาลไทยได้ตั้งไว้มีขอบเขตกว้างขวางครอบคลุมถึงธรรมนูญศาลทั้งหมด รวมทั้ง ข้อ ๖๐ ซึ่งไม่มีการจำกัดเวลา ๑๐ ปี เช่นข้อ ๖๑ นอกจากนั้นยังคลุมถึงกฎบัตรสหประชาชาติทั้งฉบับ โดยเฉพาะข้อ ๓๓ ที่เปิดโอกาสให้คู่กรณีแสวงหาช่องทาง ระงับกรณีพิพาทโดยสันติวิธี เช่น อนุญาโตตุลาการ คณะกรรมการไกล่เกลี่ย ฯลฯ
           ๒.๔ การสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบก ระหว่างไทย - กัมพูชา
                   ๒.๔.๑ ลักษณะแนวเขตแดนทางบกไทย – กัมพูชา แนวเขตแดนตลอดแนว มีความยาวประมาณ ๗๙๘ กิโลเมตร แบ่งเป็นตามแนวเส้นตรงประมาณ ๕๘ กิโลเมตร ตามแนวลำน้ำประมาณ ๒๑๖ กิโลเมตร และตามแนวสันปันน้ำประมาณ ๕๒๐ กิโลเมตร แบ่งออกเป็น
                   - เริ่มตั้งแต่จุดร่วมเขตแดนสามประเทศคือไทย - กัมพูชา - ลาว บริเวณช่องบก จังหวัดอุบลราชธานีไปตามทิวเขาพนมดงรักผ่านจังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดสุรินทร์จนถึงรอยต่อจังหวัดบุรีรัมย์กับจังหวัดสระแก้ว (บริเวณหลักเขตแดนที่ ๒๘) เขตแดนใช้แนวสันปันน้ำของทิวเขาพนมดงรักเป็นเส้นเขตแดน รวมความยาวประมาณ ๓๖๔ กิโลเมตร
                   - เริ่มตั้งแต่หลักเขตแดนที่ ๑๘ เส้นเขตแดนไปตามลำคลองสลับกับแนวเส้นตรงไปจนถึงต้นน้ำของทิวเขาบรรทัดทอง (ใกล้หลักเขตที่ ๖๘) ผ่านจังหวัดสระแก้วและจังหวัดจันทบุรี รวมความยาวประมาณ ๒๗๓ กิโลเมตร
                   - เริ่มตั้งแต่ต้นน้ำคลองน้ำใส (รอยต่อจังหวัดจันทบุรีกับจังหวัดตราด)เส้นเขตแดนไปตามแนวสันปันน้ำของทิวเขาบรรทัดในเขตจังหวัดตราดผ่านหลักเขตแดนที่ ๖๙ ไปจนถึงหลักเขตแดนที่ ๗๒ ความยาวประมาณ ๑๖๐ กิโลเมตร และจากหลักเขตแดนที่ ๗๒ เขตแดนเป็นเส้นตรงจนถึงหลักเขตแดนที่ ๗๓ อำเภอ คลองใหญ่ จังหวัดตราด ความยาวประมาณ ๑ กิโลเมตร
                   ๒.๔.๒ การปักปันเขตแดนไทย - กัมพูชา ในอดีต เขตแดนไทย - กัมพูชา ได้เคยมีการปักปันเขตแดนร่วมกันในภูมิประเทศ โดยมีหลักฐานทางกฎหมายที่ผูกพันมาถึงปัจจุบัน ดังนี้
                   - อนุสัญญา ระหว่างสยามกับฝรั่งเศสแก้ไขเพิ่มเติมข้อบทสนธิสัญญา ฉบับลงวันที่ ๓ ตุลาคม ร.ศ.๑๑๒ (ค.ศ.๑๘๙๓ หรือ พ.ศ.๒๔๓๖) ว่าด้วยดินแดนกับข้อตกลงอื่น ๆ ลงนาม ณ กรุงปารีส เมื่อวันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ ร.ศ.๑๒๒ (ค.ศ.๑๙๐๔ หรือพ.ศ.๒๔๔๗)
                   - สนธิสัญญา ระหว่างสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินสยามกับประธานาธิบดีฝรั่งเศส ฉบับลงนาม ณ กรุงเทพ ฯ เมื่อวันที่ ๒๓ มีนาคม ร.ศ.๑๒๕ (ค.ศ.๑๙๐๗ หรือ พ.ศ.๒๔๕๐) กับพิธีสารว่าด้วยการปักปันเขตแดนแนบท้ายสนธิสัญญา ลงวันที่ ๒๓ มีนาคม ร.ศ.๑๒๕
                   -แผนที่ ที่จัดทำตามผลงานการปักปันเขตแดนของคณะกรรมการปักปันเขตแดนระหว่างสยามกับอินโดจีน มาตราส่วน ๑ : ๒๐๐,๐๐๐ จำนวนเจ็ดระวาง ซึ่งจัดทำขึ้นตามอนุสัญญา ฉบับปี ค.ศ.๑๙๐๔ (พ.ศ.๒๔๔๗) สองระวาง และสนธิสัญญา ฉบับปี พ.ศ.๑๙๐๗ (พ.ศ.๒๔๕๐) ห้าระวาง และเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้องกับการบังคับใช้อนุสัญญา ฉบับปี ค.ศ.๑๙๐๔ (พ.ศ.๒๔๔๗) และสนธิสัญญา ฉบับปี ค.ศ.๑๙๐๗ (พ.ศ.๒๔๕๐) ระหว่างสยามกับฝรั่งเศส
                   - หลักเขตแดน ได้มีการจัดทำหลักเขตแดนในภูมิประเทศร่วมกันให้เป็นไปตามสนธิสัญญา ฉบับปี ค.ศ.๑๙๐๗ (พ.ศ.๒๔๕๐) เมื่อปี พ.ศ.๒๔๕๐ ลักษณะของเขตแดนเป็นหลักไม้โดยเริ่มปักตั้งแต่ช่องสะงำ อำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ (รอยต่อระหว่างจังหวัดสุรินทร์กับจังหวัดศรีสะเกษ เป็นหลักเขตแดนที่ ๑ ไปตามสันปันน้ำของทิวเขาพนมดงรักไปจนถึงอำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด ซึ่งเป็นหลักเขตแดนที่ ๗๓ รวมปักปันเขตแดนจำนวน ๗๓ หลัก และหลักเขตแดนย่อยอีก ๒ หลัก (เสริมระหว่างหลัก ๒๒ และ ๒๓) ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๖๑ ทั้งสองฝ่ายได้สร้างหลักเขตแดนใหม่หมดเป็นคอนกรีตทั้ง ๗๓ หลัก แต่ไม่ได้สร้างตรงตำแหน่งเดิมมีการขยับไปตำแหน่งใกล้เคียงที่เหมาะสมและได้ทำบันทึกวาจาการปักหลักหมายเขตแดน (Proces - Verbal ) ของแต่ละหลักเขตไว้ด้วย
                   ๒.๔.๓ การสำรวจและจัดทำเขตแดนทางบกร่วมไทย - กัมพูชา ไทย- กัมพูชา ได้ร่วมลงนามในบันทึกความเข้าใจ ( Memorandum of Understanding ) ว่าด้วยการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบก เมื่อ ๑๔ มิ.ย.๔๓ ให้มีการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบกตลอดแนวร่วมกันให้เป็นไปตามหลักฐานทางกฎหมายที่ผูกพันมาในอดีตทั้งสองฝ่ายได้ตกลงให้มีการดำเนินการดังนี้
                   - แต่งตั้งคณะกรรมาธิการร่วม (Joint Boundary Commission JBC ) ฝ่ายไทยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และฝ่ายกัมพูชามีนายวาร์ คิม ฮอง เป็นประธาน เพื่อรับผิดชอบให้การสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนให้เป็นไปตามหลักฐานทางกฎหมาย
                   - แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเทคนิคร่วมไทย - กัมพูชา (Joint Technical Sub - Commission JTSC ) ฝ่ายไทยมีเจ้ากรมแผนที่ทหารฝ่ายกัมพูชามีนายลอง วิสาโล เป็นประธาน เพื่อรับผิดชอบในแนวการปฏิบัติงานของคณะ JBC จัดทำแผนแม่บทและข้อกำหนดอำนาจหน้าที่ในการสำรวจ และจัดทำหลักเขตแดน (Term of Reference : TOR ) เพื่อใช้เป็นกรอบทางเทคนิคในการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนในครั้งนี้
                   ๒.๔.๔ ขั้นตอนการสำรวจ มีอยู่ ๕ ขั้นตอนด้วยกันคือ
                   - ขั้นตอนที่ ๑ ค้นหาที่ตั้งหลักเขตแดนทั้ง ๗๓ หลัก เมื่อตกลงที่ตั้งของแต่ละหลักได้แล้ว จะทำการซ่อมแซมในกรณีที่ชำรุด และสร้างขึ้นใหม่ในกรณีที่สูญหายหรือถูกเคลื่อนย้าย
                   - ขั้นตอนที่ ๒ จัดแผนที่ภาพถ่าย (Orthophoto Map ) เป็นการทำแผนที่ภาพถ่ายแสดงลักษณะภูมิประเทศตามแนวเขตแดนทางบกตลอดแนว โดยใช้ภาพถ่ายทางอากาศ ภาพดาวเทียม เพื่อช่วยในการสำรวจตามแนวเขตแดนในภูมิประเทศ โดยอาจจะใช้เวลาจัดทำประมาณหนึ่งปี โดยการจ้างประเทศที่สาม
                   - ขั้นตอนที่ ๓ กำหนดแนวที่เดินสำรวจลงบนแผนที่ภาพถ่ายทั้งสองฝ่ายจะร่วมกันกำหนดแนวทางในการเดินสำรวจตามหลักฐานทางกฎหมายลงบนแผนที่ภาพถ่าย เพื่อเป็นแนวทางในการเดินสำรวจหาแนวเขตแดนจริงในภูมิประเทศ ให้สะดวกรวดเร็ว และมีความถูกต้อง
                   - ขั้นตอนที่ ๔ เดินสำรวจตามแนวเขตแดนในภูมิประเทศทั้งสองฝ่ายจะร่วมกันเดินสำรวจในภูมิประเทศจริง เพื่อกำหนดแนวเขตแดน โดยใช้แผนที่ภาพถ่ายที่เป็นตัวช่วยแบ่งเป็นตามสันปันน้ำ ตามลำคลอง และเป็นเส้นตรง พร้อมทั้งกำหนดจุดที่จะก่อสร้างเขตแดนไปด้วย (ทุกระยะ ๕ กม.โดยประมาณ)
                   - ขั้นตอนที่ ๕ สร้างหลักเขตแดน โดยแบ่งตามลักษณะของแนวเขตแดนคือ ส่วนที่เป็นสันปันน้ำ สร้างหลักบนสันปันน้ำ ส่วนที่เป็นลำคลองสร้างหลักบนตลิ่งของลำคลองส่วนเป็นที่เป็นเส้นตรง สร้างหลักตามแนวเส้นตรง
                   ๒.๔.๕ ลำดับพื้นที่การสำรวจร่วมไทย - กัมพูชา
                              - ตอนที่ ๔ เริ่มจากหลักเขตแดนที่ ๔๙ - ๒๓
                              - ตอนที่ ๓ เริ่มจากหลักเขตแดนที่ ๕๐ - ๖๖
                              - ตอนที่ ๒ เริ่มจากหลักเขตแดนที่ ๖๗ - ๗๑
                              - ตอนที่ ๕ เริ่มจากหลักเขตแดนที่ ๗๒ - ๗๓
                              - ตอนที่ ๖ เริ่มจากหลักเขตแดนที่ ๑ ถึง เขาสัดตะโสม
                              - ตอนที่ ๗ เริ่มจากเขาสัตตะโสม ถึงช่องบก
           ๒.๕ เขตแดนระหว่างประเทศ
                    ๒.๕.๑ นิยามศัพท์
                              - เขตแดน ( Boundary ) มีความหมายเป็นสามนัยคือ ขอบเขตเส้นแบ่งเขตและเขตแดนระหว่างประเทศ ในความหมายของเขตแดนระหว่างประเทศหมายถึง เส้นที่สมมุติขึ้นโดยประเทศทวิภาคี เพื่อกำหนดเป็นขอบเขตให้รู้ว่าอำนาจอธิปไตยของตนมาสิ้นสุดที่เส้นนี้ เส้นสมมุติดังกล่าวอาจเขียนขึ้นบนแผนที่ หรือแสดงด้วยถ้อยคำเป็นลายลักษณ์อักษรก็ได้ จะแสดงหลักฐานบนพื้นดิน เช่น ปักหลักเขตแดนด้วยหรือไม่ก็ได้
                              - แนวพรมแดน ( Frontier) เป็นพื้นที่คาบเกี่ยวของสองประเทศไปตามเส้นเขตแดนระหว่างประเทศไม่มีข้อกำหนดว่า จะลึกเข้าไปด้านละเท่าไร
                              - ชายแดน ( Border ) คือพื้นที่ที่ซึ่งนับจากเส้นเขตแดนระหว่างประเทศเข้าไปในดินแดนของประเทศใดประเทศหนึ่ง ไม่มีข้อกำหนดว่าจะลึกเข้าไปเท่าใด
                              - ดินแดน ( Territorial ) คือพื้นที่ของประเทศใดประเทศหนึ่ง ซึ่งถูกกำหนดขึ้นด้วยเส้นเขตแดนระหว่างประเทศ ผู้มีอำนาจปกครองมีอธิปไตยเหนือดินแดนนั้น ทุกประการ
                              - เส้นปันน้ำ ( Watershed ) คือลักษณะของพื้นดินที่สูงกว่าบริเวณอื่นที่ต่อเนื่องกันเมื่อฝนตกจะแบ่งน้ำออกเป็นสองส่วน เช่น สันเขาที่ต่อเนื่องกันโดยไม่มีลำน้ำตัดผ่าน
                              - สันเขา ( Ridge ) คือ ลักษณะของทิวเขาในส่วนที่สูงที่สุดซึ่งยาวต่อกันเป็นพืด จะขาดตอนเป็นช่วง ๆ หรือต่อกันเป็นพืดยาวก็ได้ถ้าต่อเป็นพืดยาวจะเรียกว่า สันปันน้ำ
                              - ร่องน้ำลึก ( Thalweg) เป็นภาษาฝรั่งเศส ส่วนภาษาอังกฤษใช้คำว่า Deepest water chanel คือ ร่องน้ำลึกที่สุดและต่อเนื่องกันในท้องน้ำ
                              - กลางลำน้ำ ( Mid river ) คือจุดกลางของแนวที่ลากจากฝั่งลำน้ำหนึ่ง มายังอีกฝั่งหนึ่งในลักษณะที่ทำมุมกับฝั่งใกล้เคียงมุมฉากมากที่สุด
                              - การเปลี่ยนทางเดินของลำน้ำอย่างฉับพลัน ( Avulsion ) คือการที่ลำน้ำที่ใช้เป็นเส้นเขตแดนเปลี่ยนร่องน้ำไปจากเดิมในลักษณะคุ้งน้ำถูกตัดขาดหรือช่วงใดช่วงหนึ่งของลำน้ำเปลี่ยนไปจากเดิมอย่างฉับพลันในช่วงน้ำหลากในฤดูเดียว ลักษณะเช่นนี้ เส้นเขตแดนยังไม่เปลี่ยนแปลง
                              - การเปลี่ยนทางเดินแบบค่อยเป็นค่อยไป ( Erosion ) คือการที่ลำน้ำที่ใช้เป็นเส้นเขตแดน เปลี่ยนร่องน้ำไปจากเดิมในลักษณะน้ำกัดเซาะฝั่งให้พังทลายไปทีละเล็กละน้อย ถ้าประเทศเจ้าของชายฝั่งไม่ทำการอนุรักษ์ฝั่งสภาพเส้นเขตแดนก็เป็นไปตามลำน้ำที่ปรากฏในปัจจุบัน
                              - หลักเขตแดน ( Boundary Pillar ) คือสิ่งที่แสดงไว้บนเส้นเขตแดน ในลักษณะเป็นหลัก โดยเจ้าหน้าที่ของประเทศทั้งสองได้รับมอบหมายให้ทำขึ้นเพื่อแสดงให้รู้ว่าเส้นเขตแดนอยู่ตรงไหน
                              - หลักอ้างอิงเขตแดน ( Boundary Reference ) คือหลักในลักษณะของหลักเขตแดน แต่ไม่ได้ปักไว้บนเส้นเขตแดนแต่สามารถใช้อ้างอิงให้รู้ว่า เส้นเขตแดนอยู่ตรงไหน
                   ๒.๕.๒ วิธีกำหนดเส้นเขตแดน
                              - เส้นเขตแดนที่ยอมรับกันโดยพฤตินัย ( Non Agreement Boundary ) คือ เส้นเขตแดนระหว่างประเทศสองประเทศที่เกิดขึ้นและยอมรับโดยพฤตินัย ประเทศคู่ภาคีไม่เคยมีการทำความตกลงอย่างเป็นทางการระหว่างกันเจ้าหน้าที่และราษฎรในท้องถิ่นเท่านั้น จะรู้ว่าเส้นเขตแดนของตนอยู่ที่ใด
                              - เส้นเขตแดนที่กำหนดอย่างเป็นทางการ ( Agreement Boundary ) คือ เส้นเขตแดนที่ทวิภาคี ที่มีดินแดนต่อเนื่องทำความตกลงกันอย่างเป็นทางการ ซึ่งมีความตกลงนั้นจะทำในรูปของเอกสารประกอบข้อตกลง เส้นแสดงเขตแดนบนแผนที่ ( Boundary on Map) และสร้างหลักเขตไว้ในภูมิประเทศ ( Boundary Pillars on Terrain Feature ) การกำหนดเขตแดนเป็นทางการนี้ผู้แทนที่ได้รับมอบอำนาจเต็มจากรัฐบาลจะต้องมีการแลกเปลี่ยนหนังสือมอบอำนาจ ( Credentials ) ก่อนจึงจะมีอำนาจในการลงนามในเอกสาร หรือแผนที่ดังกล่าว แต่ยังไม่มีผลสมบูรณ์ตามกฎหมายระหว่างประเทศจนกว่ารัฐบาลทั้งสองฝ่ายจะมีการแลกเปลี่ยนสัตยาบัน ( Ratify ) กันอีกครั้งหนึ่ง
                   ๒.๕.๓ หลักนิยมในการกำหนดเขตแดนบนพื้นดิน
                              - ใช้สิ่งกีดขวางตามธรรมชาติ ( Natural Barrier ) ได้แก่ แม่น้ำ ลำคลอง ลำห้วย โดยมีหลักนิยมว่า ถ้าเรือเดินได้นิยมใช้ร่องน้ำลึก ถ้าเรือเดินไม่ได้ อาจใช้กลางลำน้ำ หรือร่องน้ำลึกก็ได้ หรือตามแต่จะตกลงกัน
                              - กำหนดโดยสภาพสังคม เช่น มีการแบ่งเขตแดนกันตามเผ่าพันธุ์ของประชาชน ที่ครอบครองพื้นที่เหล่านั้นอยู่
                              - กำหนดโดยใช้คณิตศาสตร์ เป็นการขีดเส้นเขตแดนเป็นเส้นตรงตามค่าพิกัดภูมิศาสตร์ ซึ่งได้แก่ค่าเส้นรุ้ง (Latitude ) และเส้นแวง (Longitude )
           ๒.๖ องค์กรระหว่างประเทศ ไทย - กัมพูชา ในการแก้ปัญหาชายแดน
                   ๒.๖.๑ คณะกรรมาธิการร่วมไทย - กัมพูชา (Thai Cambodian Joint Commission JC ) มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศทั้งสองฝ่ายเป็นประธานร่วม ฝ่ายไทยมีอธิบดีกรมเอเซียตะวันออกเป็นเลขานุการ มีภารกิจในการแก้ปัญหาระหว่างไทยกับกัมพูชาทุกเรื่อง ยกเว้นด้านความมั่นคง
                   ๒.๖.๒ คณะกรรมาธิการชายแดนไทยร่วมไทย - กัมพูชา ( Thai Cambodian Joint Boundary Commission JBC )ไทยมีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศเป็นประธานร่วมกับที่ปรึกษารัฐบาลรับผิดชอบกิจการชายแดนของกัมพูชา ฝ่ายไทยมีอธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมายเป็นเลขานุการรับผิดชอบในการกำหนดแนวทางในการสำรวจจัดหาทำหลักเขตแดนไทย – กัมพูชาทางบก
                   ๒.๖.๓ คณะกรรมการชายแดนทั่วไป (General Border Committee GBC ) มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมทั้งสองฝ่ายเป็นประธานกรรมการร่วม ฝ่ายไทยมีเจ้ากรมยุทธการทหาร เป็นเลขานุการ
                   ๒.๖.๔ คณะกรรมการร่วมมือรักษาความสงบเรียบร้อยบริเวณชายแดนไทย – กัมพูชา ฝ่ายไทยมี ผู้บัญชาการทหารสูงสุดเป็นประธานร่วมกับประธานคณะเสนาธิการกองทัพอากาศแห่งชาติกัมพูชาเป็นประธานฝ่ายกัมพูชา ฝ่ายไทยมีหัวหน้าศูนย์อำนวยการร่วม บก.ทหารสูงสุดเป็นเลขานุการ
                   ๒.๖.๕ คณะกรรมการชายแดนส่วนภูมิภาคด้านกองทัพภาค ๑ ของไทยและภูมิภาคทหารที่ ๕ ของกัมพูชา ฝ่ายไทยมีแม่ทัพภาคที่ ๑ เป็นประธานร่วมกับผู้บัญชาภาคทหารที่ ๕ เป็นประธานฝ่ายกัมพูชา ฝ่ายไทยมีเสนาธิการกองทัพภาคที่ ๑ เป็นเลขานุการ
                   ๒.๖.๖ คณะกรรมการชายแดนส่วนภูมิภาคด้านกองทัพภาคที่ ๒ ของไทยและภูมิภาคทหารที่ ๔ ของกัมพูชา ฝ่ายไทยมีแม่ทัพภาคที่ ๒ เป็นประธาน ฝ่ายกัมพูชามีผุ้บัญชาการภาคทหารที่ ๔ เป็นประธาน ฝ่ายไทยมีเสนาธิการกองทัพภาคที่ ๒ เป็นเลขานุการ
                   ๒.๖.๗ คณะกรรมการชายแดนส่วนภูมิภาคด้านกองบัญชาการป้องกันชายแดนจันทบุรี – ตราด ของไทย กับด้านภูมิภาคทหารที่ ๓ ของกัมพูชา ฝ่ายไทยมีผู้บัญชาการป้องกันชายแดนจันทบุรี - ตราด เป็นประธานร่วมกับผู้บัญชาการภาคทหารที่ ๓ ของกัมพูชา ฝ่ายไทยมีเสนาธิการกองบัญชาการป้องกันชายแดนจันทบุรี - ตราด เป็นเลขานุการ
 

http://heritage.mod....e/prawihan3.htm

 

เป็นไปได้ไหมว่า 4.6 ที่เป็นข้อพิพาทนี้ คือ "แนวพรมแดน" หรือ frontier 

หลักปักเขตแดน ก็คือ boundary


ตรรกของผมที่แตกต่างจากสมาชิกคนอื่นใน สรท นิ๊ดเดียว  :D http://webboard.seri...e-3#entry634878

รอแมงวันหน้าสันขวานดิ้นดุ๊กดิ้กมาขอขมาอยู่นะ http://webboard.seri...-แวร์/?p=609037

ความตอแหลขอไอ้แมงวัน  http://webboard.seri...-แวร์/?p=609177

 


#42 Stargate-1

Stargate-1

    SG-1

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,578 posts

ตอบ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 - 20:37

เป็นไปได้ไหมว่า 4.6 ที่เป็นข้อพิพาทนี้ คือ "แนวพรมแดน" หรือ frontier 
หลักปักเขตแดน ก็คือ boundary

 
ในคำฟ้องเพิ่มเขมรต้องการดินแดนอย่างชัดเจน ผิดกับในคำฟ้องแรก หวังแค่ตัวปราสาท  จึงระบุชัดเจนในคำฟ้องเพิ่ม ไม่ใช่ตัวปราสาทอย่างเดียว ที่ดินใต้ปราสาท และ 4.6 ตร.กม.ด้วย แต่ศาลไม่ยอมตัดสิน แต่ก็หลุดมาในข้อ 2 ครับ   

Edited by Stargate-1, 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 - 20:40.

Tam-mic-ra ฟันธง!  คำว่า "โดนพริกไทยมั๊ง" น่ะ แค่นี่เอามาเป็นหลักฐาน ได้ยังไงครับ .....  คิดครับคิด  :lol:   จากกระทู้แก้ข่าวหน้า 2 qoute #96  ใครยิงวสันต์-ภู่ทอง   แอลพีจีทำมาจากซี2ซี3


#43 เคนอิจิ-นามิ

เคนอิจิ-นามิ

    สมาชิกขั้นสูง

  • Banned
  • PipPipPipPip
  • 4,447 posts

ตอบ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 - 21:18

กำลังจะบอกเลย (ในกระทู้คุณว่า) ปัญหา น่าจะเป็นข้อ นี้

 

I. To adjudge and declare that the frontier line between Carnbodia

and Thailand, in the Dangrek sector, is that which is marked on the

map of the Commission of Delimitation between Indo-China and

Siam (Annex 1 to the Memorial of Cambodia) ;

 

 

แต่ก็ไม่รู้ว่า Dangrek sector มันคือส่วนไหน หมายถึง อาจจะเป็นข้อนี้ที่ ศาลไม่รับฟ้องน่ะครับ 

 

กำลังคิดว่า frontier ตรงส่วนนี้ คือ แนวพรมแดน 

แนวพรมแดน ( Frontier) เป็นพื้นที่คาบเกี่ยวของสองประเทศไปตามเส้นเขตแดนระหว่างประเทศไม่มีข้อกำหนดว่า จะลึกเข้าไปด้านละเท่าไร

 

แต่ก็ไม่รู้ว่า อินโด-จีน เขียนไว้ว่าอย่างไร 


ตรรกของผมที่แตกต่างจากสมาชิกคนอื่นใน สรท นิ๊ดเดียว  :D http://webboard.seri...e-3#entry634878

รอแมงวันหน้าสันขวานดิ้นดุ๊กดิ้กมาขอขมาอยู่นะ http://webboard.seri...-แวร์/?p=609037

ความตอแหลขอไอ้แมงวัน  http://webboard.seri...-แวร์/?p=609177

 


#44 เคนอิจิ-นามิ

เคนอิจิ-นามิ

    สมาชิกขั้นสูง

  • Banned
  • PipPipPipPip
  • 4,447 posts

ตอบ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 - 21:20

ศาลตัดสินมา 3 ข้อครับ คือ ข้อ 2 3 และ 4 ครับ ต่อมาเขมรยื่นให้ตีความในข้อ 2 และ 3 ครับ โดยอ้างข้อ 3 ว่าเราไม่ปฏิบัติตามครับ ที่ครั้งปะทะกัน แล้วยิงปราสาทเป็นรอยกระสุนดังกล่าว ทั้งยังหวังว่าจะให้ศาลตีความในข้อ 1ด้วย ถ้าอ.สมปองไม่มาบอก คงไม่มีใครรู้หรอกว่าให้ตีความข้อ 1 (4.6 ตร.กม.) ที่ศาลไม่รับฟ้องไปแล้ว ส่วนให้ตีความในข้อ 2คงอยากได้บริเวณรอบๆตัวปราสาทด้วย ส่วนที่ดินใต้ปราสาทเขาคงคิดว่าได้ไปแล้ว

---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ถ้าหมายถึง พื้นที่ที่ ตัวตึกตั้งอยู่ล่ะก็ ผมคิดว่า มันคือ territory เดียวกันครับ 

 

 

 

 

Sovereignty is the quality of having independent authority over a geographic area, such as a territory.[1]

 

คือไม่ว่าคำว่าอะไร ก็หมายถึง area of land  over a geographic area ทั้งนั้นครับ 

http://en.wikipedia....iki/Sovereignty


Edited by เคนอิจิ, 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 - 21:22.

ตรรกของผมที่แตกต่างจากสมาชิกคนอื่นใน สรท นิ๊ดเดียว  :D http://webboard.seri...e-3#entry634878

รอแมงวันหน้าสันขวานดิ้นดุ๊กดิ้กมาขอขมาอยู่นะ http://webboard.seri...-แวร์/?p=609037

ความตอแหลขอไอ้แมงวัน  http://webboard.seri...-แวร์/?p=609177

 


#45 Stargate-1

Stargate-1

    SG-1

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,578 posts

ตอบ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 - 21:36

 

ถ้าหมายถึง พื้นที่ที่ ตัวตึกตั้งอยู่ล่ะก็ ผมคิดว่า มันคือ territory เดียวกันครับ

แต่นักวิชาการบางคนบอกว่าปราสาทเป็นเพียงสิ่งก่อสร้างไม่ใช่ประเทศ ไม่มีดินแดนของตัวเอง มีแค่ขอบเขต
ลองดูครับว่าจะมีความเห็นอื่นๆอีกไหม ถ้ายังมีคนสนใจอยู่

Tam-mic-ra ฟันธง!  คำว่า "โดนพริกไทยมั๊ง" น่ะ แค่นี่เอามาเป็นหลักฐาน ได้ยังไงครับ .....  คิดครับคิด  :lol:   จากกระทู้แก้ข่าวหน้า 2 qoute #96  ใครยิงวสันต์-ภู่ทอง   แอลพีจีทำมาจากซี2ซี3


#46 เคนอิจิ-นามิ

เคนอิจิ-นามิ

    สมาชิกขั้นสูง

  • Banned
  • PipPipPipPip
  • 4,447 posts

ตอบ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 - 21:47

ถ้าหมายถึง พื้นที่ที่ ตัวตึกตั้งอยู่ล่ะก็ ผมคิดว่า มันคือ territory เดียวกันครับ

แต่นักวิชาการบางคนบอกว่าปราสาทเป็นเพียงสิ่งก่อสร้างไม่ใช่ประเทศ ไม่มีดินแดนของตัวเอง มีแค่ขอบเขต
ลองดูครับว่าจะมีความเห็นอื่นๆอีกไหม ถ้ายังมีคนสนใจอยู่

แค่ territory ไม่ได้หมายถึงอำนาจบนประเทศ แต่หมายถึงเหนือพื้นที่ 

อีกนัยคือ เขามี territory บนประเทศไทย (ตามคำกล่าวอ้างของไทย)

 

ก็ต้องดูว่า ใช้อ้างอิงคำไทย หรือ คำฝรั่ง 


ตรรกของผมที่แตกต่างจากสมาชิกคนอื่นใน สรท นิ๊ดเดียว  :D http://webboard.seri...e-3#entry634878

รอแมงวันหน้าสันขวานดิ้นดุ๊กดิ้กมาขอขมาอยู่นะ http://webboard.seri...-แวร์/?p=609037

ความตอแหลขอไอ้แมงวัน  http://webboard.seri...-แวร์/?p=609177

 


#47 Stargate-1

Stargate-1

    SG-1

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,578 posts

ตอบ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 - 21:53

"ตามที่ ผศ. ดร. พวงทองกล่าวถึง ถามว่าเป็นเพราะอะไร ตอบได้ว่า: 2.1 เขตแดนที่มีการกล่าวถึงในบริบทของคดีนี้คือเขตแดนของรัฐ ประสาทพระวิหารเป็นเพียงวัตถุ ไม่อาจมีเขตแดนของตนเองในทางกฎหมายได้"

 

http://webboard.seri...ขอ/#entry587270


Tam-mic-ra ฟันธง!  คำว่า "โดนพริกไทยมั๊ง" น่ะ แค่นี่เอามาเป็นหลักฐาน ได้ยังไงครับ .....  คิดครับคิด  :lol:   จากกระทู้แก้ข่าวหน้า 2 qoute #96  ใครยิงวสันต์-ภู่ทอง   แอลพีจีทำมาจากซี2ซี3


#48 เคนอิจิ-นามิ

เคนอิจิ-นามิ

    สมาชิกขั้นสูง

  • Banned
  • PipPipPipPip
  • 4,447 posts

ตอบ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 - 22:14

เขาก็ไม่ได้กำหนดเขตแดนของปราสาท แต่เขาให้กำหนดเขต frontier แชหรือ แนวพรมแดน ให้ชัดเจนว่าเริ่มที่ไหน ตรงไหน 

 

 

หรือดร. พวงทองจะหมายถึง ไม่มีใครมีอำนาจอธิปไตยเหนือ เขาพระวิหารได้? 


ตรรกของผมที่แตกต่างจากสมาชิกคนอื่นใน สรท นิ๊ดเดียว  :D http://webboard.seri...e-3#entry634878

รอแมงวันหน้าสันขวานดิ้นดุ๊กดิ้กมาขอขมาอยู่นะ http://webboard.seri...-แวร์/?p=609037

ความตอแหลขอไอ้แมงวัน  http://webboard.seri...-แวร์/?p=609177

 


#49 Stargate-1

Stargate-1

    SG-1

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,578 posts

ตอบ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 - 15:59

29273_full.jpg

 

มีกี่คนที่คิดว่าเราเสียพื้นที่ใต้ปราสาทไปแล้ว และมีกี่คนที่คิดว่าพื้นที่ใต้ปราสาทยังเป็นของเรา


Edited by Stargate-1, 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 - 20:00.

Tam-mic-ra ฟันธง!  คำว่า "โดนพริกไทยมั๊ง" น่ะ แค่นี่เอามาเป็นหลักฐาน ได้ยังไงครับ .....  คิดครับคิด  :lol:   จากกระทู้แก้ข่าวหน้า 2 qoute #96  ใครยิงวสันต์-ภู่ทอง   แอลพีจีทำมาจากซี2ซี3


#50 เคนอิจิ-นามิ

เคนอิจิ-นามิ

    สมาชิกขั้นสูง

  • Banned
  • PipPipPipPip
  • 4,447 posts

ตอบ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 - 18:26

ผมไม่คิดว่า การถอนทหาร คือการที่พื้นที่ยังเป็นของเราอยู่

ทางการไทยจะเขียนอะไรก็ได้ ในภาษาไทย
แต่ที่ตกลงกับเขาตะหาก คืออะไร

ตรรกของผมที่แตกต่างจากสมาชิกคนอื่นใน สรท นิ๊ดเดียว  :D http://webboard.seri...e-3#entry634878

รอแมงวันหน้าสันขวานดิ้นดุ๊กดิ้กมาขอขมาอยู่นะ http://webboard.seri...-แวร์/?p=609037

ความตอแหลขอไอ้แมงวัน  http://webboard.seri...-แวร์/?p=609177

 





ผู้ใช้ 1 ท่านกำลังอ่านกระทู้นี้

สมาชิก 0 ท่าน, ผู้เยี่ยมชมทั่วไป 1 ท่าน และไม่เปิดเผยตัวตน 0 ท่าน