Jump to content


Photo

พูดคุยเรื่อง Quantum Physics

quantum toe qed particle physics standard model string theory m theory relativity

  • Please log in to reply
47 ความเห็นในกระทู้นี้

#1 Lucy Van Pelt

Lucy Van Pelt

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 525 posts

ตอบ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 - 22:20

มีหลายท่านเห็นด้วยกับการแยกเรื่อง Quantum Physics ออกมาคุยกันที่นี่ ขอเปิดกระทู้เลยนะครับ ใครสนใจ อยากพูดคุย อยากถาม แนะนำหนังสือ ไขข้อสงสัย ฯลฯ สามารถ post ลงได้ตามสบายครับ  :)



#2 ผึ้งน้อยตุหรัดตุเหร่

ผึ้งน้อยตุหรัดตุเหร่

    หน้าตาดี มีอุดมการณ์

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 21,670 posts

ตอบ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 - 22:30

ตามมาแล้วค้าบบบ

 

ขออนุญาตเปิดกระทู้ถามคนแรกเลยนะครับ  แบบว่าผมความรู้ฟิสิกส์เท่าหางอึ่ง แต่ชอบทางนี้ครับ เลยต้องอาศัยถามอย่างเดียว  แบ่งปันไม่ได้ค้าบ

 

คืออยากถามว่า principle ต่างจาก law ยังไงน่ะครับ  แล้้วเอาบรรทัดฐานไหนมาแยกระหว่าง 2 ตัวนี้

 

คือผมเข้าใจว่าทฤษฎีที่ได้รับการพิสูจน์แล้ว จะถูกยกระดับเป็น law  แต่ principle นี่ความรู้ใหม่ผมเลยครับ


gladiator 1.jpg

 

 

 

 

 

 


#3 Lucy Van Pelt

Lucy Van Pelt

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 525 posts

ตอบ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 - 22:57

ที่ผมเข้าใจคือ principle เป็น subset ของ theory ครับ คือเป็นส่วนหนึ่งที่นำไปใช้ในการพิสูจน์ theory

 

ส่วน law เองเป็นคำที่ใช้ใน physics รุ่นเก่า สมัยพวก Newtonian คิดว่าไม่มีความลับใน universe แล้ว เพราะ physics ในยุคนั้นสามารถไขข้อสงสัยและยังทำนายปรากฏการธรรมชาติได้เกือบทุกอย่าง แต่ physics ยุคใหม่มาพิสูจน์ว่ามันใช้ไม่ได้ในบางกรณี ยุคนี้เลยใช้คำว่า theory แทนครับ



#4 Gop

Gop

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 4,450 posts

ตอบ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 - 00:03

ตามมาแล้วค้าบบบ
 
ขออนุญาตเปิดกระทู้ถามคนแรกเลยนะครับ  แบบว่าผมความรู้ฟิสิกส์เท่าหางอึ่ง แต่ชอบทางนี้ครับ เลยต้องอาศัยถามอย่างเดียว  แบ่งปันไม่ได้ค้าบ
 
คืออยากถามว่า principle ต่างจาก law ยังไงน่ะครับ  แล้้วเอาบรรทัดฐานไหนมาแยกระหว่าง 2 ตัวนี้
 
คือผมเข้าใจว่าทฤษฎีที่ได้รับการพิสูจน์แล้ว จะถูกยกระดับเป็น law  แต่ principle นี่ความรู้ใหม่ผมเลยครับ


เท่าที่เห็นนั้น แทบไม่ต่างกันเลยครับ สมมุติเล่นๆว่าเปลี่ยน uncertainty principle เป็น uncertainty law ผมก็มองไม่ออกว่ามันจะเสียหายอะไร อย่างไรก็ตาม ผมไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญ เค้าอาจมีกฏในการเรียกก็ได้ครับ แต่ผมไม่ทราบจริงๆ

ส่วนทฤษฎีที่ได้รับการพิสูจน์แล้ว เท่าที่ผมรู้นะครับ มันจะถูกยกระดับเป็น scientific theory ถ้ายังไม่มีการทดลองยืนยัน ในวงการวิทยาศาสตร์ก็จะถือว่าเป็นไอเดียที่รอการพิสูจน์ ยังไม่ถือว่าเป็นทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ครับ ถึงแม้ว่าทฤษฎีนั้นจะมีเหตุผลเท่าไรก็ตาม

หลักฐานไม่เคยโกหก (Gilbert Grissom C.S.I.)<p>Beneath this mask there is more than flesh. Beneath this mask there is an idea, Mr. Creedy, and ideas are bulletproof.

 


#5 Gop

Gop

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 4,450 posts

ตอบ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 - 00:24

เพิ่มเติมนิดหน่อยจากที่เคยเห็น

1 ทฤษฎี(ทางวิทยาศาสตร์) จะเป็นแนวความคิดใหญ่ๆ ที่มีหลักการสำคัญอยู่ไม่มาก แต่สามารถอธิบายปรากฏการณ์ธรรมชาติได้เยอะ เช่นทฤษฎีวิวัฒนาการ หลักการสำคัญคือ 1 การคัดเลือกโดยธรรมชาติ และ 2 ความหลากหลายทางชีวภาพและการกลายพันธุ์ หลักการเท่านี้สามารถอธิบายการเกิดขึ้นของสิ่งมีชีวิตต่างๆได้มากมาย

2 principle เท่าที่ผมเคยเห็น principle มักเป็นหลักการง่ายๆ ที่มีลักษณะเหมือนแนวทาง หรือข้อบังคับที่เราไม่สามารถละเมิดได้ ในสายตาผม principle นี่คล้ายกับกฏมาก อย่าง uncertainty principle นั้น เป็นเหมือนข้อบังคับว่าเราไม่สามารถวัดปริมาณบางอย่างเป็นคู่ๆ โดยสามารถวัดให้ละเอียดขึ้นๆ เรื่อยๆ อย่างไม่จำกัดไม่ได้ ถ้าเราวัดสิ่งหนึ่งละเอียดขึ้น. เช่นตำแหน่ง เราจะวัดอีกสิ่ง คือความเร็วได้ละเอียดน้อยลงอย่างไม่มีทางหลีกเลี่ยงได้

ทีนี้ลองเปรียบเทียบ uncertainty principle กับ กฏ ดูบ้าง เช่นกฏการอนุรักษ์พลังงาน หรือที่เคยได้ยินกันว่า พลังงานไม่หายไปไหน แต่เปลี่ยนรูปไปเป็นอย่างอื่นได้ ในสายตาผม มันก็เหมือนข้อบังคับอีกข้อแบบ uncertainty principle แหละครับ คือเราจะละเมิดมันไม่ได้ เช่น อยู่ๆเราจะเอาพลังงานจากน้ำมาปั่นไฟ แล้วเอาไฟฟ้าที่ได้ไปใช้ด้วยแล้วก็เอาไปปั๊มน้ำขึ้นไปใหม่ด้วยไม่ได้ เพราะพลังงานไฟฟ้าที่ได้จากน้ำ ต้องไม่มากกว่าพลังงานจากการใหลของน้ำ

สรุปว่า ในความคิดเห็นของผมนั้น pinciple กับ กฏ นั้น คล้ายกันมากครับ คล้ายกันจนผมแยกไม่ออก

หลักฐานไม่เคยโกหก (Gilbert Grissom C.S.I.)<p>Beneath this mask there is more than flesh. Beneath this mask there is an idea, Mr. Creedy, and ideas are bulletproof.

 


#6 Gop

Gop

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 4,450 posts

ตอบ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 - 00:35

ส่วนเรื่อง quantum นั้น ผมเตือนนิดนึงนะครับ ทุกวันนี้มันยังเป็นสิ่งที่เถียงกันไม่จบไม่สิ้น แม้กระทั่งนักฟิสิกส์เอง ส่วนใหญ่จะบอกว่า เค้าไม่เข้าใจมันครับ!!

แต่ที่ใช้ๆกันอยู่ ก็เพราะมันเป็นสิ่งที่ดีที่สุดที่ใช้ทำนายปรากฏการณ์ระดับเล็กๆได้ มีหลักการอย่างหนึ่งสำหรับคนที่คิดเรื่องนี้มากๆจนไม่เป็นอันทำงานคือ

Shut up and calculate!!

หลักฐานไม่เคยโกหก (Gilbert Grissom C.S.I.)<p>Beneath this mask there is more than flesh. Beneath this mask there is an idea, Mr. Creedy, and ideas are bulletproof.

 


#7 Lucy Van Pelt

Lucy Van Pelt

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 525 posts

ตอบ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 - 00:57

แนะนำ video ครับ ข้ามไปเรื่อง string theory เลยละกัน อาจจะเป็นการจุดประกายความคิดของหลายๆท่านให้กลับไปลองอ่าน quantum mechanics ที่เรียนๆกันในตอนม.ปลายนะครับ  ;)

 

 


Edited by Lucy Van Pelt, 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 - 00:58.


#8 Lucy Van Pelt

Lucy Van Pelt

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 525 posts

ตอบ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 - 00:58

ตอนที่ 3

 


Edited by Lucy Van Pelt, 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 - 00:58.


#9 ตะนิ่นตาญี

ตะนิ่นตาญี

    La vie en rose

  • Members
  • PipPipPip
  • 2,174 posts

ตอบ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 - 07:23

ในฐานะของคนที่ไม่มีความรู้ใน เรื่อง อภิปรัชญา เลยสักนิดหนึ่ง

 

ต้องขออนุญาตเรียนถามเพื่อนเพื่อนเพื่อทำความเข้าใจก่อนว่า

 

อภิปรัชญา หรือ quantum physics นี้คือความพยายามในการตอบคำถาม

 

ในเชิง ปรัชญา ด้วยการแสวงหาคำตอบโดย physics ใช่ไหมครับ?

 

ยกตัวอย่าง พระเจ้าสร้างโลก อะไรประมาณนั้น หรือ อย่างในทาง พุทธศาสนา ที่เล่ากันว่า 

 

เมื่อมีคนถาม พระพุทธเจ้าว่า ปฐมเหตุแห่ง สิ่งมีชีวิต แล้ว พระองค์ได้ทรงตอบว่า ปฐมํ กลลํ โหติ 

 

อภิปรัชญา (Quantum Physics) จึงเป็น การแสวงหา คำตอบ ของ คำตอบ ในเชิง ปรัชญา ที่ถูกถาม 

 

ตะนิ่นตาญี เข้าใจได้ถูกไหมครับ? 

 

ตะนิ่นตาญี

 

วันอาทิตย์ที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๖

 

เวลา ๗.๒๓ นาฬิกา


"จะยอมตายหมายให้เกียรติดำรง จะปิดทองหลังองค์พระปฏิมา"

#10 Lucy Van Pelt

Lucy Van Pelt

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 525 posts

ตอบ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 - 08:50

Quantum physics เป็นวิทยาศาสตร์อีกแขนงหนึ่งที่ใช้อธิบายธรรมชาติของสสารในระดับที่มีขนาดเล็กมากๆ ไม่ใช่ปรัชญาครับ 

 

ส่วนความสำคัญของมันก็คือเมื่อใดที่เราเข้าใจ Quantum Physics แล้ว เราสามารถนำความรู้ตรงนี้ไปอธิบายสิ่งที่ใหญ่กว่ามันได้ อันนี้เป็นหลักการทั่วไปของวิทยาศาสตร์

 

และก็เป็นธรรมดาที่อาจจะมีความขัดแย้งกับทางศาสนาบ้าง ผมเคยฟังบันทึกเทปที่ Brian Greene คุยกับสถานีวิทยุและมีคนโทรเข้ามา บอกว่า "เฮ้ อย่างงี้คุณน่าจะไปบอกพวกตะวันออกกลางให้เลิกรบกันได้แล้วนะ" คือประมาณว่าถ้า string theory เป็นจริง ก็เท่ากับว่าเราไขความลับการกำเนิดเอกภพได้แล้ว แต่ตัว Greene เองบอกว่ามันอีกยาวไกล เพราะทฤษฎีนี้ยังคงต้องถูกพิสูจน์ และเทคโนโลยีณ.ปัจจุบันนี้ก็ยังไม่สามารถทำได้ แต่คณิตศาสตร์บอกว่าเป็นไปได้

 

ไม่แน่ใจว่าผมตอบคุณตะนิ่นตาญีตรงคำถามหรือเปล่าครับ  ;)



#11 Gop

Gop

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 4,450 posts

ตอบ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 - 09:29

ในฐานะของคนที่ไม่มีความรู้ใน เรื่อง อภิปรัชญา เลยสักนิดหนึ่ง
 
ต้องขออนุญาตเรียนถามเพื่อนเพื่อนเพื่อทำความเข้าใจก่อนว่า
 
อภิปรัชญา หรือ quantum physics นี้คือความพยายามในการตอบคำถาม
 
ในเชิง ปรัชญา ด้วยการแสวงหาคำตอบโดย physics ใช่ไหมครับ?
 
ยกตัวอย่าง พระเจ้าสร้างโลก อะไรประมาณนั้น หรือ อย่างในทาง พุทธศาสนา ที่เล่ากันว่า 
 
เมื่อมีคนถาม พระพุทธเจ้าว่า ปฐมเหตุแห่ง สิ่งมีชีวิต แล้ว พระองค์ได้ทรงตอบว่า ปฐมํ กลลํ โหติ 
 
อภิปรัชญา (Quantum Physics) จึงเป็น การแสวงหา คำตอบ ของ คำตอบ ในเชิง ปรัชญา ที่ถูกถาม 
 
ตะนิ่นตาญี เข้าใจได้ถูกไหมครับ? 
 
ตะนิ่นตาญี
 
วันอาทิตย์ที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๖
 
เวลา ๗.๒๓ นาฬิกา


ผมมองว่ามันไม่ได้ลึกซึ้งแบบแสวงหาคำตอบของชีวิตแบบศาสนาหรอกครับ

หลักการง่ายๆของวิทยาศาสตร์คือ สังเกต หาคำอธิบาย ทดสอบคำอธิบายเหล่านั้น ถ้าถูกต้อง เราก็ใช้คำอธิบายนั้นตราบไดที่มันยังใช้ได้อยู่

ตัว quantum physics เองก็เป็นแบบนั้นครับ มันเกิดมาจากแนวความคิดเก่า ( ที่ยิ่งใหญ่มาก ) ใช้อธิบายปรากฏการณ์หลายๆอย่างใไม่ได้ เราจึงต้องยอมรับว่าคำอธิบายเก่าๆนั้นไม่เพียงพอ และเราต้องยอมรับแนวคิดใหม่ที่ใช้ได้ดีกว่า ถึงแม้หลักการของมันจะพิลึกพิลั่นแค่ไหนก็ตาม

หลักฐานไม่เคยโกหก (Gilbert Grissom C.S.I.)<p>Beneath this mask there is more than flesh. Beneath this mask there is an idea, Mr. Creedy, and ideas are bulletproof.

 


#12 chackrapbong

chackrapbong

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 4,057 posts

ตอบ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 - 10:18

ในฐานะของคนที่ไม่มีความรู้ใน เรื่อง อภิปรัชญา เลยสักนิดหนึ่ง

 

ต้องขออนุญาตเรียนถามเพื่อนเพื่อนเพื่อทำความเข้าใจก่อนว่า

 

อภิปรัชญา หรือ quantum physics นี้คือความพยายามในการตอบคำถาม

 

ในเชิง ปรัชญา ด้วยการแสวงหาคำตอบโดย physics ใช่ไหมครับ?

 

ยกตัวอย่าง พระเจ้าสร้างโลก อะไรประมาณนั้น หรือ อย่างในทาง พุทธศาสนา ที่เล่ากันว่า 

 

เมื่อมีคนถาม พระพุทธเจ้าว่า ปฐมเหตุแห่ง สิ่งมีชีวิต แล้ว พระองค์ได้ทรงตอบว่า ปฐมํ กลลํ โหติ 

 

อภิปรัชญา (Quantum Physics) จึงเป็น การแสวงหา คำตอบ ของ คำตอบ ในเชิง ปรัชญา ที่ถูกถาม 

 

ตะนิ่นตาญี เข้าใจได้ถูกไหมครับ? 

 

ตะนิ่นตาญี

 

วันอาทิตย์ที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๖

 

เวลา ๗.๒๓ นาฬิกา

ศาสนาพุทธไม่ไช่่ ปรัชญาและไม่ไช่วิทยาศาสตร์ครับ

 

การเทียบเคียง ทำไม่ได้ครับ

ทั้งที่มีคนพยายามโยงให้เป็นเรื่องเดียวกันเพื่อให้เข้ากันได้กับจริตของคนส่วนใหญ่

แต่นั้นก็ยิ่งห่างจากความเป็นศาสนาพุทธมากยิ่งขึ้น

 

สิ่งที่พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ที่เคยมี และที่จะมีต่อไป

จะตรัสคำสอนเดียวกัน เนื้อความเดียวกัน ไม่ต่างไปจากกัน

ที่เรียกว่า สัจจธรรม


Everyone thinks of changing the world, but no one thinks of changing himself. Leo Tolstoy


#13 ตะนิ่นตาญี

ตะนิ่นตาญี

    La vie en rose

  • Members
  • PipPipPip
  • 2,174 posts

ตอบ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 - 14:05

Quantum physics เป็นวิทยาศาสตร์อีกแขนงหนึ่งที่ใช้อธิบายธรรมชาติของสสารในระดับที่มีขนาดเล็กมากๆ ไม่ใช่ปรัชญาครับ 

 

ส่วนความสำคัญของมันก็คือเมื่อใดที่เราเข้าใจ Quantum Physics แล้ว เราสามารถนำความรู้ตรงนี้ไปอธิบายสิ่งที่ใหญ่กว่ามันได้ อันนี้เป็นหลักการทั่วไปของวิทยาศาสตร์

 

และก็เป็นธรรมดาที่อาจจะมีความขัดแย้งกับทางศาสนาบ้าง ผมเคยฟังบันทึกเทปที่ Brian Greene คุยกับสถานีวิทยุและมีคนโทรเข้ามา บอกว่า "เฮ้ อย่างงี้คุณน่าจะไปบอกพวกตะวันออกกลางให้เลิกรบกันได้แล้วนะ" คือประมาณว่าถ้า string theory เป็นจริง ก็เท่ากับว่าเราไขความลับการกำเนิดเอกภพได้แล้ว แต่ตัว Greene เองบอกว่ามันอีกยาวไกล เพราะทฤษฎีนี้ยังคงต้องถูกพิสูจน์ และเทคโนโลยีณ.ปัจจุบันนี้ก็ยังไม่สามารถทำได้ แต่คณิตศาสตร์บอกว่าเป็นไปได้

 

ไม่แน่ใจว่าผมตอบคุณตะนิ่นตาญีตรงคำถามหรือเปล่าครับ  ;)

 

 

 

ในฐานะของคนที่ไม่มีความรู้ใน เรื่อง อภิปรัชญา เลยสักนิดหนึ่ง
 
ต้องขออนุญาตเรียนถามเพื่อนเพื่อนเพื่อทำความเข้าใจก่อนว่า
 
อภิปรัชญา หรือ quantum physics นี้คือความพยายามในการตอบคำถาม
 
ในเชิง ปรัชญา ด้วยการแสวงหาคำตอบโดย physics ใช่ไหมครับ?
 
ยกตัวอย่าง พระเจ้าสร้างโลก อะไรประมาณนั้น หรือ อย่างในทาง พุทธศาสนา ที่เล่ากันว่า 
 
เมื่อมีคนถาม พระพุทธเจ้าว่า ปฐมเหตุแห่ง สิ่งมีชีวิต แล้ว พระองค์ได้ทรงตอบว่า ปฐมํ กลลํ โหติ 
 
อภิปรัชญา (Quantum Physics) จึงเป็น การแสวงหา คำตอบ ของ คำตอบ ในเชิง ปรัชญา ที่ถูกถาม 
 
ตะนิ่นตาญี เข้าใจได้ถูกไหมครับ? 
 
ตะนิ่นตาญี
 
วันอาทิตย์ที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๖
 
เวลา ๗.๒๓ นาฬิกา


ผมมองว่ามันไม่ได้ลึกซึ้งแบบแสวงหาคำตอบของชีวิตแบบศาสนาหรอกครับ

หลักการง่ายๆของวิทยาศาสตร์คือ สังเกต หาคำอธิบาย ทดสอบคำอธิบายเหล่านั้น ถ้าถูกต้อง เราก็ใช้คำอธิบายนั้นตราบไดที่มันยังใช้ได้อยู่

ตัว quantum physics เองก็เป็นแบบนั้นครับ มันเกิดมาจากแนวความคิดเก่า ( ที่ยิ่งใหญ่มาก ) ใช้อธิบายปรากฏการณ์หลายๆอย่างใไม่ได้ เราจึงต้องยอมรับว่าคำอธิบายเก่าๆนั้นไม่เพียงพอ และเราต้องยอมรับแนวคิดใหม่ที่ใช้ได้ดีกว่า ถึงแม้หลักการของมันจะพิลึกพิลั่นแค่ไหนก็ตาม

 

 

 

ในฐานะของคนที่ไม่มีความรู้ใน เรื่อง อภิปรัชญา เลยสักนิดหนึ่ง

 

ต้องขออนุญาตเรียนถามเพื่อนเพื่อนเพื่อทำความเข้าใจก่อนว่า

 

อภิปรัชญา หรือ quantum physics นี้คือความพยายามในการตอบคำถาม

 

ในเชิง ปรัชญา ด้วยการแสวงหาคำตอบโดย physics ใช่ไหมครับ?

 

ยกตัวอย่าง พระเจ้าสร้างโลก อะไรประมาณนั้น หรือ อย่างในทาง พุทธศาสนา ที่เล่ากันว่า 

 

เมื่อมีคนถาม พระพุทธเจ้าว่า ปฐมเหตุแห่ง สิ่งมีชีวิต แล้ว พระองค์ได้ทรงตอบว่า ปฐมํ กลลํ โหติ 

 

อภิปรัชญา (Quantum Physics) จึงเป็น การแสวงหา คำตอบ ของ คำตอบ ในเชิง ปรัชญา ที่ถูกถาม 

 

ตะนิ่นตาญี เข้าใจได้ถูกไหมครับ? 

 

ตะนิ่นตาญี

 

วันอาทิตย์ที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๖

 

เวลา ๗.๒๓ นาฬิกา

ศาสนาพุทธไม่ไช่่ ปรัชญาและไม่ไช่วิทยาศาสตร์ครับ

 

การเทียบเคียง ทำไม่ได้ครับ

ทั้งที่มีคนพยายามโยงให้เป็นเรื่องเดียวกันเพื่อให้เข้ากันได้กับจริตของคนส่วนใหญ่

แต่นั้นก็ยิ่งห่างจากความเป็นศาสนาพุทธมากยิ่งขึ้น

 

สิ่งที่พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ที่เคยมี และที่จะมีต่อไป

จะตรัสคำสอนเดียวกัน เนื้อความเดียวกัน ไม่ต่างไปจากกัน

ที่เรียกว่า สัจจธรรม

 

ตะนิ่นตาญี ต้องขออภัย คุณ Lucyฯ คุณ Gop  และ คุณ chackrapbong ด้วยครับ

 

ตะนิ่นตาญี ผิดเอง เพราะมัวแต่ หลับหู-หลับตา เขียน

 

จริงจริง แล้ว อภิปรัชญา ต้องหมายความถึง Metaphysics ไม่ใช่ Quantum physics

 

แหม่งแหม่ง อยู่ในใจมาแต่เช้าแล้ว เพียงแต่นึกไม่ออกว่า ตัวเองผิดตรงไหน

 

มาตอนบ่ายพอมีเวลาตรวจดูสิ่งที่ตัวเองเขียน ดูแล้ว ก็ได้แต่ ปลงสังเวช ตัวเอง ที่ เขียน ผิดได้ขนาดนี้ สับสน ได้ขนาดนี้

 

ขออภัย คุณ Lucyฯ คุณ Gop และ คุณ chackrapbong อีกครั้งหนึ่งครับ

 

และ ขอบพระคุณ เพื่อนเพื่อน ทั้ง ๓ ที่ได้ให้ความรู้กับ ตะนิ่นตาญี...

 

ขออภัย และ ขอบพระคุณ มากครับ

 

ตะนิ่นตาญี

 

วันอาทิตย์ที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๖

 

เวลา ๑๔.๐๕ นาฬิกา


"จะยอมตายหมายให้เกียรติดำรง จะปิดทองหลังองค์พระปฏิมา"

#14 Solid Snake

Solid Snake

    แดงกำมะลอ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,892 posts

ตอบ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 - 05:33

ข้อเท็จจริง (Fact) หรือ ความจริงเดี่ยว  คือ การสังเกตปรากฏการณ์ธรรมชาติ หรือสิ่งใดๆ ที่เป็นอยู่จริง ไม่เปลี่ยนแปลง และเป็นสิ่งที่ได้จากการสังเกตโดยตรง หรือโดยอ้อม (ข้อเท็จจริงในธรรมชาติย่อมถูกต้องเสมอ แต่การสังเกตข้อเท็จจริงอาจผิดพลาดได้)  ความรู้ที่ได้นี้  เมื่อทดสอบในสถานการณ์หรือสภาวะเดียวกันจะได้ผลเหมือนเดิมทุกครั้ง


มโนมติหรือความคิดรวบยอด  (Concept)     คือ ความคิดหลัก (Main idea) ของแต่ละบุคคลที่มีต่อเหตุการณ์หรือปรากฏการณ์นั้นๆ  มโนมติเกิดจากการนำข้อเท็จจริงมาศึกษาหรือเปรียบเทียบความแตกต่าง  สรุปรวมลักษณะที่สำคัญ มองเห็นความสัมพันธ์ของสิ่งนั้นๆ สร้างเป็นความคิดหลักในรูปที่แสดงถึงความคิด  ความเข้าใจ ทำให้นำไปใช้ในการบรรยาย อธิบาย หรือพยากรณ์เหตุการณ์ วัตถุ และปรากฏการณ์ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งแต่ละคนอาจจะมีมโนมติต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่แตกต่างกัน  ขึ้นอยู่กับ ประสบการณ์  ความรู้เดิม  วัยวุฒิ  และ เหตุผลของบุคคลนั้นๆ

 

หลักการ  (Principle) หรือ "ความจริงหลัก"  เป็นความจริงที่ใช้เป็นหลักในการอ้างอิงได้  โดยนำกลุ่มมโนมติที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ซึ่งได้รับการทดสอบว่าเป็นจริงแล้วว่าเป็นจริง  แล้วนำไปใช้อ้างอิงและพยากรณ์เหตุการณ์หรือปรากฏการณ์ที่เกี่ยวข้องได้  (หลักการต้องเป็นความจริงที่สามารถทดสอบได้ และได้ผลเหมือนเดิม มีความเป็นปรนัย และเป็นที่เข้าใจตรงกัน)

 

สมมติฐาน (Hypothesis)  หมายถึง ข้อความที่นักวิทยาศาสตร์สร้างขึ้นเพื่อคาดคะเนคำตอบของปัญหาล่วงหน้าก่อนที่จะดำเนินการทดลอง  สมมติฐานใดจะเป็นที่ยอมรับหรือไม่ขึ้นอยู่กับหลักฐาน  เหตุผลที่จะสนับสนุนหรือคัดค้าน (ข้อความที่เป็นสมมติฐานต้องเป็นข้อความคาดคะเนคำตอบโดยที่บุคคลนั้นยังไม่เคยรู้หรือเรียนมาก่อน)

 

ทฤษฎี  (Theory)  เป็นข้อความที่นักวิทยาศาสตร์สร้างขึ้น  เป็นคำอธิบายหรือความคิดที่ได้จากสมมติฐานที่ผ่านการตรวจสอบหลายๆ ครั้ง  และใช้อ้างอิงได้ หรือ ทำนายปรากฏการณ์ที่ค่อนข้างกว้าง  สามารถใช้อธิบายกฎ  หลักการ  และการคาดคะเนข้อเท็จจริงในเรื่องทำนองเดียวกันได้  (ทฤษฎีเป็นความคิดของนักวิทยาศาสตร์ อาจจะถูกหรือผิดก็ได้ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงได้  เมื่อได้รับข้อเท็จจริงเพิ่มขึ้นและน่าเชื่อถือมากขึ้น) 

 

กฎ  (Law)  เป็นหลักการอย่างหนึ่งซึ่งเป็นข้อความที่ระบุความสัมพันธ์กันระหว่าง เหตุกับผล และอาจเขียนในรูปสมการแทนได้  ผ่านการทดสอบจนเป็นที่น่าเชื่อถือได้มาแล้ว (กฎ  มีความจริงในตัวของมันเอง  ไม่มีข้อโต้แย้ง สามารถทดสอบได้เหมือนเดิมทุกประการ)

 

http://e-learning.sn...e/unit1/2-2.htm



#15 RiDKuN_user

RiDKuN_user

    มหาเมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 13,167 posts

ตอบ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 - 12:23

ที่ผมเข้าใจคือ principle เป็น subset ของ theory ครับ คือเป็นส่วนหนึ่งที่นำไปใช้ในการพิสูจน์ theory

 

ส่วน law เองเป็นคำที่ใช้ใน physics รุ่นเก่า สมัยพวก Newtonian คิดว่าไม่มีความลับใน universe แล้ว เพราะ physics ในยุคนั้นสามารถไขข้อสงสัยและยังทำนายปรากฏการธรรมชาติได้เกือบทุกอย่าง แต่ physics ยุคใหม่มาพิสูจน์ว่ามันใช้ไม่ได้ในบางกรณี ยุคนี้เลยใช้คำว่า theory แทนครับ

 

คิดว่า ทฤษฎียุคใหม่ต่อไป คงไม่มีใครหาญกล้าใช้คำว่า law แล้วละครับ

เพราะนักวิทยาศาสตร์คงตระหนักแล้วว่ามนุษย์รับรู้รับทราบความจริงได้แค่เท่าที่สัมผัสได้เท่านั้น

เราไม่สามารถปฏิเสธความเป็นไปได้ว่าอาจจะมีกฎแห่งความจริงอื่นใดที่อยู่นอกเหนือความเป็นไปได้ที่มนุษย์จะรับรู้

ดังนั้นทุกอย่างก็คงเป็นแค่ทฤษฎี ที่ไม่สามารถพิสูจน์ได้โดยไม่มีข้อกังขาแน่นอน

ขึ้นอยู่แค่ว่า ทฤษฎีของใคร จะสามารถอธิบาย "ความจริงที่เราสัมผัสได้" ได้ถูกต้องกว่ากันแค่นั้น  -_-


" ชีวิตผมไม่เคยกลัวอะไรทั้งนั้น ผมกลัวอย่างเดียว...กลัวจะถูกมองว่า 'ขายชาติ' " - The Last Tycoon

~ ทักษิณตาย เสรีไทยไชโย ~

#16 ตะนิ่นตาญี

ตะนิ่นตาญี

    La vie en rose

  • Members
  • PipPipPip
  • 2,174 posts

ตอบ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 - 17:34

ที่ผมเข้าใจคือ principle เป็น subset ของ theory ครับ คือเป็นส่วนหนึ่งที่นำไปใช้ในการพิสูจน์ theory

 

ส่วน law เองเป็นคำที่ใช้ใน physics รุ่นเก่า สมัยพวก Newtonian คิดว่าไม่มีความลับใน universe แล้ว เพราะ physics ในยุคนั้นสามารถไขข้อสงสัยและยังทำนายปรากฏการธรรมชาติได้เกือบทุกอย่าง แต่ physics ยุคใหม่มาพิสูจน์ว่ามันใช้ไม่ได้ในบางกรณี ยุคนี้เลยใช้คำว่า theory แทนครับ

 

คิดว่า ทฤษฎียุคใหม่ต่อไป คงไม่มีใครหาญกล้าใช้คำว่า law แล้วละครับ

เพราะนักวิทยาศาสตร์คงตระหนักแล้วว่ามนุษย์รับรู้รับทราบความจริงได้แค่เท่าที่สัมผัสได้เท่านั้น

เราไม่สามารถปฏิเสธความเป็นไปได้ว่าอาจจะมีกฎแห่งความจริงอื่นใดที่อยู่นอกเหนือความเป็นไปได้ที่มนุษย์จะรับรู้

ดังนั้นทุกอย่างก็คงเป็นแค่ทฤษฎี ที่ไม่สามารถพิสูจน์ได้โดยไม่มีข้อกังขาแน่นอน

ขึ้นอยู่แค่ว่า ทฤษฎีของใคร จะสามารถอธิบาย "ความจริงที่เราสัมผัสได้" ได้ถูกต้องกว่ากันแค่นั้น  -_-

 

 

รบกวนเรียนถาม คุณ RiDKuN ฯ สักนิดเถอะครับ

 

ตะนิ่นตาญี อ่านแล้ว เหมือน คุณ RiDKuN ฯ กำลังบอกว่า...

 

E นั้นเท่ากับ MC ยกกำลังสอง ตราบใดที่ยังไม่มีใคร "พิสูจน์" ได้ว่า "สมการ" นี้ "ผิด"

 

ซึ่งนั่นก็คือ ทฤษฎี ที่มีอยู่ในโลก ยังคงถูกอยู่จนกว่าจะมีใครสักคนพิสูจน์ได้ว่า ทฤษฎี นั้น ผิด

 

ตะนิ่นตาญี เข้าใจถูกไหมครับ?

 

ตะนิ่นตาญี

 

วันจันทร์ที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๖

 

เวลา ๑๗.๓๔ นาฬิกา


Edited by ตะนิ่นตาญี, 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 - 17:35.

"จะยอมตายหมายให้เกียรติดำรง จะปิดทองหลังองค์พระปฏิมา"

#17 Lucy Van Pelt

Lucy Van Pelt

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 525 posts

ตอบ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 - 00:11

ขอตอบแทนว่าถูกต้องครับ 



#18 Gop

Gop

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 4,450 posts

ตอบ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 - 11:12

 

ที่ผมเข้าใจคือ principle เป็น subset ของ theory ครับ คือเป็นส่วนหนึ่งที่นำไปใช้ในการพิสูจน์ theory

 

ส่วน law เองเป็นคำที่ใช้ใน physics รุ่นเก่า สมัยพวก Newtonian คิดว่าไม่มีความลับใน universe แล้ว เพราะ physics ในยุคนั้นสามารถไขข้อสงสัยและยังทำนายปรากฏการธรรมชาติได้เกือบทุกอย่าง แต่ physics ยุคใหม่มาพิสูจน์ว่ามันใช้ไม่ได้ในบางกรณี ยุคนี้เลยใช้คำว่า theory แทนครับ

 

คิดว่า ทฤษฎียุคใหม่ต่อไป คงไม่มีใครหาญกล้าใช้คำว่า law แล้วละครับ

เพราะนักวิทยาศาสตร์คงตระหนักแล้วว่ามนุษย์รับรู้รับทราบความจริงได้แค่เท่าที่สัมผัสได้เท่านั้น

เราไม่สามารถปฏิเสธความเป็นไปได้ว่าอาจจะมีกฎแห่งความจริงอื่นใดที่อยู่นอกเหนือความเป็นไปได้ที่มนุษย์จะรับรู้

ดังนั้นทุกอย่างก็คงเป็นแค่ทฤษฎี ที่ไม่สามารถพิสูจน์ได้โดยไม่มีข้อกังขาแน่นอน

ขึ้นอยู่แค่ว่า ทฤษฎีของใคร จะสามารถอธิบาย "ความจริงที่เราสัมผัสได้" ได้ถูกต้องกว่ากันแค่นั้น  -_-

 

 

รบกวนเรียนถาม คุณ RiDKuN ฯ สักนิดเถอะครับ

 

ตะนิ่นตาญี อ่านแล้ว เหมือน คุณ RiDKuN ฯ กำลังบอกว่า...

 

E นั้นเท่ากับ MC ยกกำลังสอง ตราบใดที่ยังไม่มีใคร "พิสูจน์" ได้ว่า "สมการ" นี้ "ผิด"

 

ซึ่งนั่นก็คือ ทฤษฎี ที่มีอยู่ในโลก ยังคงถูกอยู่จนกว่าจะมีใครสักคนพิสูจน์ได้ว่า ทฤษฎี นั้น ผิด

 

ตะนิ่นตาญี เข้าใจถูกไหมครับ?

 

ตะนิ่นตาญี

 

วันจันทร์ที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๖

 

เวลา ๑๗.๓๔ นาฬิกา

 

เราจะมองว่า มันเป็นสิ่งที่ดีที่สุด ที่ใช้อธิบายปรากฏการณ์ที่เกี่ยวข้อง( ภายใต้การวัดและความผิดพลาดที่มีอยู่ )

 

จะว่าไป โดยหลักการแล้ว เราไม่สามารถพิสูจน์ด้วยการทดลองว่าทฤษฎีได้ถูกต้องด้วยการทดลอง ไม่ว่าจะกี่ครั้งก็ตาม แต่การทดลองเดียวที่ขัดแย้งกับทฤษฎี ก็สามารถพิสูจน์ว่าทฤษฎีนั้นผิดได้ทันที

 

ในความเป็นจริงของบางอย่าง ถึงแม้ว่าผิด มันก็ไม่ได้ผิดทั้งหมดไปเสียทีเดียว เช่นทฤษฎีแรงโน้มถ่วงของนิวตัน ปัจจุบันทราบแล้วว่ามีทฤษฎีที่ถูกต้องกว่าคือทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปของไอน์สไตน์ แต่ว่าความผิดพลาดของนิวตันนั้น น้อยมากๆ เมื่อใช้กับระบบที่มีมวลไม่มากเช่นระบบสุริยะจักรวาลของเรา ความผิดพลาดที่น้อยมากนี้ ทำให้นักวิทยาศาสตร์ยังใช้ทฤษฎีของนิวตันอยู่เสมอๆ อย่างเช่นการส่งดาวเทียม หรือยานอวกาศไปดวงจันทร์ ก็ไม่มีใครใช้ทฤษฎีของไอน์สไตน์หรอกครับ มันยุ่งยากโดยไม่จำเป็น
 


หลักฐานไม่เคยโกหก (Gilbert Grissom C.S.I.)<p>Beneath this mask there is more than flesh. Beneath this mask there is an idea, Mr. Creedy, and ideas are bulletproof.

 


#19 Gop

Gop

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 4,450 posts

ตอบ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 - 11:17

ส่วนเรื่องควอนตั้ม ผมแนะนำหนังสือแปลเรื่อง "กำเนิดควอนตั้ม" ครับ

 

FEB-07.jpg

 

เป็นหนังสือที่แปลมาจาก Introducing Quantum theory ซึ่งเป็นการเขียนแนวการ์ตูน แต่ก็ยังคงส่วนที่เป็นเนื้อหาสำคัญๆ โดยเฉพาะไอเดียหลักๆ ของทฤษฎี ผมไม่แน่ใจว่ามีขายที่ร้านไหน แต่ผมเคยซื้อจากงานสัปดาห์หนังสือครับ


หลักฐานไม่เคยโกหก (Gilbert Grissom C.S.I.)<p>Beneath this mask there is more than flesh. Beneath this mask there is an idea, Mr. Creedy, and ideas are bulletproof.

 


#20 Solid Snake

Solid Snake

    แดงกำมะลอ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,892 posts

ตอบ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 - 13:46

สมการผิดมันก็ไม่จำเป็นที่ทฤษฎีจะล้มเสมอไป ถ้าแนวคิดมันยังใช้ได้อยู่มันก็เป็นการแก้สมการเพื่อความถูกต้องยิ่งขึ้น

สมมติ E ไม่เท่ากับ mc2 หากแนวคิดเรื่องมวลกับพลังงานสามารถเปลี่ยนรูปไปมาได้ ทฤษฎีก็ยังไม่ถูกล้มไปซะทีเดียว

ทฤษฎีของนิวตันยังสามารถใช้อธิบายปรากฎการณ์ที่อยู่ในชีวิตประจำวันได้อยู่ จึงยังไม่ถูกล้มไปซะทีเดียว ส่วนการส่งดาวเทียมนี่ใช้ทฤษฎีของไอนสไตน์ครับ เพราะถ้าใช้ทฤษฎีของนิวตันอย่างเดียวจะเกิดความคลาดเคลื่อนสะสมขึ้นเรื่อย ๆ



#21 ผึ้งน้อยตุหรัดตุเหร่

ผึ้งน้อยตุหรัดตุเหร่

    หน้าตาดี มีอุดมการณ์

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 21,670 posts

ตอบ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 - 17:38

ชอบมากมากมากครับ ทู้นี้ :wub:

 

เพราะนักวิทยาศาสตร์คงตระหนักแล้วว่ามนุษย์รับรู้รับทราบความจริงได้แค่เท่าที่สัมผัสได้เท่านั้น

เราไม่สามารถปฏิเสธความเป็นไปได้ว่าอาจจะมีกฎแห่งความจริงอื่นใดที่อยู่นอกเหนือความเป็นไปได้ที่มนุษย์จะรับรู้

 

ขออุทานแบบนีโอ ในเดอะเมทริกซ์  "WOH!"

 

 

STRING THEORY ที่ท่าน Luc แนะนำ  ผมได้ดูจากซีรีส์ที่มอร์แกน ฟรีแมนเป็นพิธีกร แต่ดูแบบเสียงพากย์จากทรูอินไซด์ครับ

คนแปล แปลได้แย่มากๆเลย  ผมเลยตามไม่ทันเท่าที่ควร เสียดายมากๆ

 

 

 

ขออนุญาตถามต่อนะครับ QUANTUM PHYSICS นี่ ใครเป็นคนคิดค้นขึ้นครับ ในยุคสมัยใด


Edited by ผึ้งน้อยตุหรัดตุเหร่, 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 - 17:39.

gladiator 1.jpg

 

 

 

 

 

 


#22 Gop

Gop

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 4,450 posts

ตอบ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 - 17:54

สมการผิดมันก็ไม่จำเป็นที่ทฤษฎีจะล้มเสมอไป ถ้าแนวคิดมันยังใช้ได้อยู่มันก็เป็นการแก้สมการเพื่อความถูกต้องยิ่งขึ้น

สมมติ E ไม่เท่ากับ mc2 หากแนวคิดเรื่องมวลกับพลังงานสามารถเปลี่ยนรูปไปมาได้ ทฤษฎีก็ยังไม่ถูกล้มไปซะทีเดียว

ทฤษฎีของนิวตันยังสามารถใช้อธิบายปรากฎการณ์ที่อยู่ในชีวิตประจำวันได้อยู่ จึงยังไม่ถูกล้มไปซะทีเดียว ส่วนการส่งดาวเทียมนี่ใช้ทฤษฎีของไอนสไตน์ครับ เพราะถ้าใช้ทฤษฎีของนิวตันอย่างเดียวจะเกิดความคลาดเคลื่อนสะสมขึ้นเรื่อย ๆ

 

ผมหมายถึงการคำนวณพวกวงโคจรตอนส่งขึ้นไปตอนแรกน่ะครับ เท่าที่ผมรู้นะ ต่อให้ส่งดาวเทียมหรือไปดวงจันทร์ก็ยังไม่ใช้สัมพัทธภาพ แต่ถ้าเป็นเรื่อง GPS ที่ต้องอาศัยความละเอียดสูงๆนั้น ต้องคำนึงถึงผลของสัมพัทธภาพครับ

 

คุณ Solid Snake พอจะมี reference เกี่ยวกับเรื่องนี้มั้ยครับ น่าสนใจ


หลักฐานไม่เคยโกหก (Gilbert Grissom C.S.I.)<p>Beneath this mask there is more than flesh. Beneath this mask there is an idea, Mr. Creedy, and ideas are bulletproof.

 


#23 Gop

Gop

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 4,450 posts

ตอบ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 - 18:15

ชอบมากมากมากครับ ทู้นี้ :wub:

 

เพราะนักวิทยาศาสตร์คงตระหนักแล้วว่ามนุษย์รับรู้รับทราบความจริงได้แค่เท่าที่สัมผัสได้เท่านั้น

เราไม่สามารถปฏิเสธความเป็นไปได้ว่าอาจจะมีกฎแห่งความจริงอื่นใดที่อยู่นอกเหนือความเป็นไปได้ที่มนุษย์จะรับรู้

 

ขออุทานแบบนีโอ ในเดอะเมทริกซ์  "WOH!"

 

 

STRING THEORY ที่ท่าน Luc แนะนำ  ผมได้ดูจากซีรีส์ที่มอร์แกน ฟรีแมนเป็นพิธีกร แต่ดูแบบเสียงพากย์จากทรูอินไซด์ครับ

คนแปล แปลได้แย่มากๆเลย  ผมเลยตามไม่ทันเท่าที่ควร เสียดายมากๆ

 

 

 

ขออนุญาตถามต่อนะครับ QUANTUM PHYSICS นี่ ใครเป็นคนคิดค้นขึ้นครับ ในยุคสมัยใด

 

เล่าคร่าวๆตามหนังสือที่แนะนำนะครับ อยากรู้รายละเอียดต้องไปอ่านเพิ่มเอาครับ

 

Quantum physics นั้น ไม่ได้คิดค้นด้วยคนไดคนหนึ่ง แต่เป็นผลงานของหลายๆคน ที่ค่อยๆ ก่อตัวมาเป็นทฤษฎีใหญ่ พูดง่ายๆคือช่วยกันคนละไม้คนละมือน่ะครับ

 

จุดเริ่มต้นเลย ก็ต้องยกให้ Max Plank ที่เสนอแนวความคิดใหม่ ที่เป็นต้นเหตุของชื่อ Qunatum ที่แปลว่า "ก้อน" Plank เสนอไอเดียว่า วัตถุที่ถูกเผาจนร้อนนั้น จะเปล่งแสงได้ด้วยความถี่แค่บางความถี่เท่านั้น ถ้าใครจำตอนเรียน ม.ปลายได้ จะมีสูตรง่ายๆ สูตรหนึ่งคือ E = hf ก็อันนี้แหละครับ ที่เป็นไอเดียสำคัญ Plank บอกว่า แสงที่เปล่งออกมานั้น จะมีพลังงานเป็น hf 2hf 3hf .... ไปเรื่อยๆ ที่แปลกก็คือ จะไม่มีพลังงานที่อยู่ระหว่างค่าเหล่านี้ เช่น 1.5hf, 2.32hf เป็นต้น

 

ถ้าลองคิดให้ดี เรื่องนี้ขัดกับความเคยชินของเรามากๆ เปรียบเทียบง่ายๆ เวลาเราเพิ่มอุณหภูมิให้ของอย่างหนึ่ง เช่นการต้มน้ำเย็นจนเดือด เราก็เชื่อว่าอุณหภูมิของน้ำ ก็ต้องเริ่มจากน้อยไปมาก "อย่างต่อเนื่อง" เช่นจาก 0-100 องศา โดยทุกอุณหภูมิระหว่างนี้ล้วนเป็นอุณหภูมิที่เป็นไปได้ทั้งหมดที่น้ำเคยมี เช่น ตอนต้มตอนแรก ก็อาจจะมีอุณหภูมิน้อยหน่อย ประมาณ 4.13214 ผ่านไปซักพัก ก็อาจเพิ่มเป็น 75.15976 พูดง่ายๆคือ เลขอะไรก็ได้ระหว่าง 0 ถึง 100 ล้วนเป็นไปได้

 

แต่ Plank บอกว่าไม่ใช่อย่างนั้น( ในแง่ของไอเดียนะครับ ) Plank บอกว่าจะมีอุณหภูมิที่เป็นเสตปพื้นฐานอยู่ สมมุติเล่นๆให้เป็น 1 องศา น้ำที่เราต้มจะเพิ่มอุณหภูมิแบบ "ไม่ต่อเนื่อง" คือ จาก 1 ไปเป็น 2, จาก 2 ไปเป็น 3 ไปเรื่อยๆจนถึงร้อย โดยไม่มีเลขระหว่างเสตปพื้นฐานอยู่ เช่น ไม่มี กรณี 1.5 หรือ 2.7 องศา!!!!

 

นี่คือหลักการแรกของควอนตั้มครับ "ปริมาณที่วัดได้ทุกอย่าง ล้วนไม่ต่อเนื่อง"

 

อย่าลืมว่า แม้จะดูพิศดารแค่ไหน แต่เมื่อมีการทดลองยืนยัน เราก็ต้องยอมรับมันครับ


หลักฐานไม่เคยโกหก (Gilbert Grissom C.S.I.)<p>Beneath this mask there is more than flesh. Beneath this mask there is an idea, Mr. Creedy, and ideas are bulletproof.

 


#24 Gop

Gop

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 4,450 posts

ตอบ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 - 18:45

เพิ่มเติมเรื่องลำดับเวลานะครับ ( เอามาจากหนังสือที่แนะนำ )

 

Plank เสนอผลงานเรื่องการแผ่รังสีของวัตถุดำ ( Black body radiation ) ในปี 1900

 

คนต่อมาที่ใช้ไอเดียนี้ เพื่ออธิบายปรากฏการณ์ Photoelectric คือ ไอน์สไตน์ ซึ่งเสนอผลงานนี้ในปีเดียวกับที่เสนอ ทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษ ( Special theory of relativity ) ในปี 1905

 

และคนที่สาม ที่ใช้ไอเดียเรื่องความไม่ต่อเนื่อง มาอธิบายเกี่ยวกับ Atomic Spectrum ของไฮโดรเจน ก็คือ Niels Bohr ที่เสนอแบบจำลองอะตอมของไฮโดรเจนในปี 1913

 

ผลงานเหล่านี้ ก็ทำให้ทั้งสามท่าน ได้ Nobel Prize กันไปตามระเบียบ

 

ทุกอย่างดูเหมือนสวยหรู แต่เรื่องยังอีกยาวครับ


หลักฐานไม่เคยโกหก (Gilbert Grissom C.S.I.)<p>Beneath this mask there is more than flesh. Beneath this mask there is an idea, Mr. Creedy, and ideas are bulletproof.

 


#25 Solid Snake

Solid Snake

    แดงกำมะลอ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,892 posts

ตอบ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 - 19:14

สมการผิดมันก็ไม่จำเป็นที่ทฤษฎีจะล้มเสมอไป ถ้าแนวคิดมันยังใช้ได้อยู่มันก็เป็นการแก้สมการเพื่อความถูกต้องยิ่งขึ้น

สมมติ E ไม่เท่ากับ mc2 หากแนวคิดเรื่องมวลกับพลังงานสามารถเปลี่ยนรูปไปมาได้ ทฤษฎีก็ยังไม่ถูกล้มไปซะทีเดียว

ทฤษฎีของนิวตันยังสามารถใช้อธิบายปรากฎการณ์ที่อยู่ในชีวิตประจำวันได้อยู่ จึงยังไม่ถูกล้มไปซะทีเดียว ส่วนการส่งดาวเทียมนี่ใช้ทฤษฎีของไอนสไตน์ครับ เพราะถ้าใช้ทฤษฎีของนิวตันอย่างเดียวจะเกิดความคลาดเคลื่อนสะสมขึ้นเรื่อย ๆ

 

ผมหมายถึงการคำนวณพวกวงโคจรตอนส่งขึ้นไปตอนแรกน่ะครับ เท่าที่ผมรู้นะ ต่อให้ส่งดาวเทียมหรือไปดวงจันทร์ก็ยังไม่ใช้สัมพัทธภาพ แต่ถ้าเป็นเรื่อง GPS ที่ต้องอาศัยความละเอียดสูงๆนั้น ต้องคำนึงถึงผลของสัมพัทธภาพครับ

 

คุณ Solid Snake พอจะมี reference เกี่ยวกับเรื่องนี้มั้ยครับ น่าสนใจ

ลืมตอนเรียนหมดแล้วครับ นอกจากเรื่องตำแหน่งแล้วยังมีเรื่อง "เวลา" อีกครับ ดาวเทียมดวงแรกนี่ส่งขึ้นหลังไอนสไตน์เสนอทฤษฎีสัมพัทธภาพ 40-50 ปีเลยนะครับ

จะว่าไปคงต้องพูดว่าใช้สมการของนิวตันที่ได้รับการแก้ไขค่าบางอย่างโดยไอนสไตน์มากกว่า



#26 Gop

Gop

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 4,450 posts

ตอบ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 - 19:20

 

สมการผิดมันก็ไม่จำเป็นที่ทฤษฎีจะล้มเสมอไป ถ้าแนวคิดมันยังใช้ได้อยู่มันก็เป็นการแก้สมการเพื่อความถูกต้องยิ่งขึ้น

สมมติ E ไม่เท่ากับ mc2 หากแนวคิดเรื่องมวลกับพลังงานสามารถเปลี่ยนรูปไปมาได้ ทฤษฎีก็ยังไม่ถูกล้มไปซะทีเดียว

ทฤษฎีของนิวตันยังสามารถใช้อธิบายปรากฎการณ์ที่อยู่ในชีวิตประจำวันได้อยู่ จึงยังไม่ถูกล้มไปซะทีเดียว ส่วนการส่งดาวเทียมนี่ใช้ทฤษฎีของไอนสไตน์ครับ เพราะถ้าใช้ทฤษฎีของนิวตันอย่างเดียวจะเกิดความคลาดเคลื่อนสะสมขึ้นเรื่อย ๆ

 

ผมหมายถึงการคำนวณพวกวงโคจรตอนส่งขึ้นไปตอนแรกน่ะครับ เท่าที่ผมรู้นะ ต่อให้ส่งดาวเทียมหรือไปดวงจันทร์ก็ยังไม่ใช้สัมพัทธภาพ แต่ถ้าเป็นเรื่อง GPS ที่ต้องอาศัยความละเอียดสูงๆนั้น ต้องคำนึงถึงผลของสัมพัทธภาพครับ

 

คุณ Solid Snake พอจะมี reference เกี่ยวกับเรื่องนี้มั้ยครับ น่าสนใจ

ลืมตอนเรียนหมดแล้วครับ นอกจากเรื่องตำแหน่งแล้วยังมีเรื่อง "เวลา" อีกครับ ดาวเทียมดวงแรกนี่ส่งขึ้นหลังไอนสไตน์เสนอทฤษฎีสัมพัทธภาพ 40-50 ปีเลยนะครับ

จะว่าไปคงต้องพูดว่าใช้สมการของนิวตันที่ได้รับการแก้ไขค่าบางอย่างโดยไอนสไตน์มากกว่า

 

ผมก็กะว่าจะไปถามคนที่เค้ารู้ดูหน่อยเหมือนกัน คือผมคลับคล้ายคลับคลาว่า effect ของสัมพัทธภาพมันน้อยมากๆ ถ้าเราไม่ได้ปล่อยให้เวลาผ่านไปนานมากๆ เช่น ดาวเทียมค้างฟ้าเป็นสิบๆปี หรือ ต้องการความละเอียดแบบสูงมากๆอย่าง GPS เราแทบจะตัดผลของสัมพัทธภาพไปได้เลยครับ

 

โดยส่วนตัวผมยังเชื่อว่าถ้าแค่ "ส่ง" ดาวเทียมขึ้นไปในอวกาศ ผลของสัมพัทธภาพน่าจะน้อยจนตัดทิ้งได้ครับ


หลักฐานไม่เคยโกหก (Gilbert Grissom C.S.I.)<p>Beneath this mask there is more than flesh. Beneath this mask there is an idea, Mr. Creedy, and ideas are bulletproof.

 


#27 ตะนิ่นตาญี

ตะนิ่นตาญี

    La vie en rose

  • Members
  • PipPipPip
  • 2,174 posts

ตอบ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 - 19:36

เพิ่มเติมเรื่องลำดับเวลานะครับ ( เอามาจากหนังสือที่แนะนำ )

 

Plank เสนอผลงานเรื่องการแผ่รังสีของวัตถุดำ ( Black body radiation ) ในปี 1900

 

คนต่อมาที่ใช้ไอเดียนี้ เพื่ออธิบายปรากฏการณ์ Photoelectric คือ ไอน์สไตน์ ซึ่งเสนอผลงานนี้ในปีเดียวกับที่เสนอ ทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษ ( Special theory of relativity ) ในปี 1905

 

และคนที่สาม ที่ใช้ไอเดียเรื่องความไม่ต่อเนื่อง มาอธิบายเกี่ยวกับ Atomic Spectrum ของไฮโดรเจน ก็คือ Niels Bohr ที่เสนอแบบจำลองอะตอมของไฮโดรเจนในปี 1913

 

ผลงานเหล่านี้ ก็ทำให้ทั้งสามท่าน ได้ Nobel Prize กันไปตามระเบียบ

 

ทุกอย่างดูเหมือนสวยหรู แต่เรื่องยังอีกยาวครับ

 

 

 

สมการผิดมันก็ไม่จำเป็นที่ทฤษฎีจะล้มเสมอไป ถ้าแนวคิดมันยังใช้ได้อยู่มันก็เป็นการแก้สมการเพื่อความถูกต้องยิ่งขึ้น

สมมติ E ไม่เท่ากับ mc2 หากแนวคิดเรื่องมวลกับพลังงานสามารถเปลี่ยนรูปไปมาได้ ทฤษฎีก็ยังไม่ถูกล้มไปซะทีเดียว

ทฤษฎีของนิวตันยังสามารถใช้อธิบายปรากฎการณ์ที่อยู่ในชีวิตประจำวันได้อยู่ จึงยังไม่ถูกล้มไปซะทีเดียว ส่วนการส่งดาวเทียมนี่ใช้ทฤษฎีของไอนสไตน์ครับ เพราะถ้าใช้ทฤษฎีของนิวตันอย่างเดียวจะเกิดความคลาดเคลื่อนสะสมขึ้นเรื่อย ๆ

 

ผมหมายถึงการคำนวณพวกวงโคจรตอนส่งขึ้นไปตอนแรกน่ะครับ เท่าที่ผมรู้นะ ต่อให้ส่งดาวเทียมหรือไปดวงจันทร์ก็ยังไม่ใช้สัมพัทธภาพ แต่ถ้าเป็นเรื่อง GPS ที่ต้องอาศัยความละเอียดสูงๆนั้น ต้องคำนึงถึงผลของสัมพัทธภาพครับ

 

คุณ Solid Snake พอจะมี reference เกี่ยวกับเรื่องนี้มั้ยครับ น่าสนใจ

ลืมตอนเรียนหมดแล้วครับ นอกจากเรื่องตำแหน่งแล้วยังมีเรื่อง "เวลา" อีกครับ ดาวเทียมดวงแรกนี่ส่งขึ้นหลังไอนสไตน์เสนอทฤษฎีสัมพัทธภาพ 40-50 ปีเลยนะครับ

จะว่าไปคงต้องพูดว่าใช้สมการของนิวตันที่ได้รับการแก้ไขค่าบางอย่างโดยไอนสไตน์มากกว่า

 

 

 

 

สมการผิดมันก็ไม่จำเป็นที่ทฤษฎีจะล้มเสมอไป ถ้าแนวคิดมันยังใช้ได้อยู่มันก็เป็นการแก้สมการเพื่อความถูกต้องยิ่งขึ้น

สมมติ E ไม่เท่ากับ mc2 หากแนวคิดเรื่องมวลกับพลังงานสามารถเปลี่ยนรูปไปมาได้ ทฤษฎีก็ยังไม่ถูกล้มไปซะทีเดียว

ทฤษฎีของนิวตันยังสามารถใช้อธิบายปรากฎการณ์ที่อยู่ในชีวิตประจำวันได้อยู่ จึงยังไม่ถูกล้มไปซะทีเดียว ส่วนการส่งดาวเทียมนี่ใช้ทฤษฎีของไอนสไตน์ครับ เพราะถ้าใช้ทฤษฎีของนิวตันอย่างเดียวจะเกิดความคลาดเคลื่อนสะสมขึ้นเรื่อย ๆ

 

ผมหมายถึงการคำนวณพวกวงโคจรตอนส่งขึ้นไปตอนแรกน่ะครับ เท่าที่ผมรู้นะ ต่อให้ส่งดาวเทียมหรือไปดวงจันทร์ก็ยังไม่ใช้สัมพัทธภาพ แต่ถ้าเป็นเรื่อง GPS ที่ต้องอาศัยความละเอียดสูงๆนั้น ต้องคำนึงถึงผลของสัมพัทธภาพครับ

 

คุณ Solid Snake พอจะมี reference เกี่ยวกับเรื่องนี้มั้ยครับ น่าสนใจ

ลืมตอนเรียนหมดแล้วครับ นอกจากเรื่องตำแหน่งแล้วยังมีเรื่อง "เวลา" อีกครับ ดาวเทียมดวงแรกนี่ส่งขึ้นหลังไอนสไตน์เสนอทฤษฎีสัมพัทธภาพ 40-50 ปีเลยนะครับ

จะว่าไปคงต้องพูดว่าใช้สมการของนิวตันที่ได้รับการแก้ไขค่าบางอย่างโดยไอนสไตน์มากกว่า

 

ผมก็กะว่าจะไปถามคนที่เค้ารู้ดูหน่อยเหมือนกัน คือผมคลับคล้ายคลับคลาว่า effect ของสัมพัทธภาพมันน้อยมากๆ ถ้าเราไม่ได้ปล่อยให้เวลาผ่านไปนานมากๆ เช่น ดาวเทียมค้างฟ้าเป็นสิบๆปี หรือ ต้องการความละเอียดแบบสูงมากๆอย่าง GPS เราแทบจะตัดผลของสัมพัทธภาพไปได้เลยครับ

 

โดยส่วนตัวผมยังเชื่อว่าถ้าแค่ "ส่ง" ดาวเทียมขึ้นไปในอวกาศ ผลของสัมพัทธภาพน่าจะน้อยจนตัดทิ้งได้ครับ

 

พอมีเรื่อง เวลา เข้ามาเกี่ยวข้อง อด ไม่ได้ ที่จะต้องรบกวนเรียนถาม

 

จะไม่มีการ "ขัดกัน" ของ ตรรกะ-เวลา  หรือครับ?

 

ยกตัวอย่างเช่น นายก. สามารถเดินทางได้ด้วยความเร็วที่ "เหนือ" กว่า ความเร็ว ของ แสง

 

นั่นก็คือ นาย ก. สามารถที่จะอยู่ที่ จุด A และ จุด B ใน เวลา เดียวกันได้

 

หากเป็นเช่นนั้นจริง จะไม่เกิดการขัดกันใน ตรรกะ-ของ-เวลา หรือครับ?

 

ตะนิ่นตาญี

 

วันอังคารที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๖

 

เวลา ๑๙.๓๖ นาฬิกา


"จะยอมตายหมายให้เกียรติดำรง จะปิดทองหลังองค์พระปฏิมา"

#28 Solid Snake

Solid Snake

    แดงกำมะลอ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,892 posts

ตอบ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 - 19:47


 

พอมีเรื่อง เวลา เข้ามาเกี่ยวข้อง อด ไม่ได้ ที่จะต้องรบกวนเรียนถาม

 

จะไม่มีการ "ขัดกัน" ของ ตรรกะ-เวลา  หรือครับ?

 

ยกตัวอย่างเช่น นายก. สามารถเดินทางได้ด้วยความเร็วที่ "เหนือ" กว่า ความเร็ว ของ แสง

 

นั่นก็คือ นาย ก. สามารถที่จะอยู่ที่ จุด A และ จุด B ใน เวลา เดียวกันได้

 

หากเป็นเช่นนั้นจริง จะไม่เกิดการขัดกันใน ตรรกะ-ของ-เวลา หรือครับ?

 

ตะนิ่นตาญี

 

วันอังคารที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๖

 

เวลา ๑๙.๓๖ นาฬิกา

เพราะทฤษฎีที่ใช้กันอยู่นี้อยู่ในกรอบที่ว่าไม่มีสิ่งใดเร็วกว่าแสงไงครับ ถ้าพิสูจน์ได้ว่ามีสิ่งที่เร็วเหนือแสงก็เตรียมล้มทฤษฎีที่ใช้กันอยู่ได้เลย



#29 Solid Snake

Solid Snake

    แดงกำมะลอ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,892 posts

ตอบ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 - 19:48

 

 

สมการผิดมันก็ไม่จำเป็นที่ทฤษฎีจะล้มเสมอไป ถ้าแนวคิดมันยังใช้ได้อยู่มันก็เป็นการแก้สมการเพื่อความถูกต้องยิ่งขึ้น

สมมติ E ไม่เท่ากับ mc2 หากแนวคิดเรื่องมวลกับพลังงานสามารถเปลี่ยนรูปไปมาได้ ทฤษฎีก็ยังไม่ถูกล้มไปซะทีเดียว

ทฤษฎีของนิวตันยังสามารถใช้อธิบายปรากฎการณ์ที่อยู่ในชีวิตประจำวันได้อยู่ จึงยังไม่ถูกล้มไปซะทีเดียว ส่วนการส่งดาวเทียมนี่ใช้ทฤษฎีของไอนสไตน์ครับ เพราะถ้าใช้ทฤษฎีของนิวตันอย่างเดียวจะเกิดความคลาดเคลื่อนสะสมขึ้นเรื่อย ๆ

 

ผมหมายถึงการคำนวณพวกวงโคจรตอนส่งขึ้นไปตอนแรกน่ะครับ เท่าที่ผมรู้นะ ต่อให้ส่งดาวเทียมหรือไปดวงจันทร์ก็ยังไม่ใช้สัมพัทธภาพ แต่ถ้าเป็นเรื่อง GPS ที่ต้องอาศัยความละเอียดสูงๆนั้น ต้องคำนึงถึงผลของสัมพัทธภาพครับ

 

คุณ Solid Snake พอจะมี reference เกี่ยวกับเรื่องนี้มั้ยครับ น่าสนใจ

ลืมตอนเรียนหมดแล้วครับ นอกจากเรื่องตำแหน่งแล้วยังมีเรื่อง "เวลา" อีกครับ ดาวเทียมดวงแรกนี่ส่งขึ้นหลังไอนสไตน์เสนอทฤษฎีสัมพัทธภาพ 40-50 ปีเลยนะครับ

จะว่าไปคงต้องพูดว่าใช้สมการของนิวตันที่ได้รับการแก้ไขค่าบางอย่างโดยไอนสไตน์มากกว่า

 

ผมก็กะว่าจะไปถามคนที่เค้ารู้ดูหน่อยเหมือนกัน คือผมคลับคล้ายคลับคลาว่า effect ของสัมพัทธภาพมันน้อยมากๆ ถ้าเราไม่ได้ปล่อยให้เวลาผ่านไปนานมากๆ เช่น ดาวเทียมค้างฟ้าเป็นสิบๆปี หรือ ต้องการความละเอียดแบบสูงมากๆอย่าง GPS เราแทบจะตัดผลของสัมพัทธภาพไปได้เลยครับ

 

โดยส่วนตัวผมยังเชื่อว่าถ้าแค่ "ส่ง" ดาวเทียมขึ้นไปในอวกาศ ผลของสัมพัทธภาพน่าจะน้อยจนตัดทิ้งได้ครับ

ของราคาก็หลายตังค์อยู่นะครับ ไม่น่าตัดทิ้งง่าย ๆ นะครับ



#30 Gop

Gop

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 4,450 posts

ตอบ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 - 20:29


 


 


สมการผิดมันก็ไม่จำเป็นที่ทฤษฎีจะล้มเสมอไป ถ้าแนวคิดมันยังใช้ได้อยู่มันก็เป็นการแก้สมการเพื่อความถูกต้องยิ่งขึ้น
สมมติ E ไม่เท่ากับ mc2 หากแนวคิดเรื่องมวลกับพลังงานสามารถเปลี่ยนรูปไปมาได้ ทฤษฎีก็ยังไม่ถูกล้มไปซะทีเดียว
ทฤษฎีของนิวตันยังสามารถใช้อธิบายปรากฎการณ์ที่อยู่ในชีวิตประจำวันได้อยู่ จึงยังไม่ถูกล้มไปซะทีเดียว ส่วนการส่งดาวเทียมนี่ใช้ทฤษฎีของไอนสไตน์ครับ เพราะถ้าใช้ทฤษฎีของนิวตันอย่างเดียวจะเกิดความคลาดเคลื่อนสะสมขึ้นเรื่อย ๆ

 
ผมหมายถึงการคำนวณพวกวงโคจรตอนส่งขึ้นไปตอนแรกน่ะครับ เท่าที่ผมรู้นะ ต่อให้ส่งดาวเทียมหรือไปดวงจันทร์ก็ยังไม่ใช้สัมพัทธภาพ แต่ถ้าเป็นเรื่อง GPS ที่ต้องอาศัยความละเอียดสูงๆนั้น ต้องคำนึงถึงผลของสัมพัทธภาพครับ
 
คุณ Solid Snake พอจะมี reference เกี่ยวกับเรื่องนี้มั้ยครับ น่าสนใจ
ลืมตอนเรียนหมดแล้วครับ นอกจากเรื่องตำแหน่งแล้วยังมีเรื่อง "เวลา" อีกครับ ดาวเทียมดวงแรกนี่ส่งขึ้นหลังไอนสไตน์เสนอทฤษฎีสัมพัทธภาพ 40-50 ปีเลยนะครับ
จะว่าไปคงต้องพูดว่าใช้สมการของนิวตันที่ได้รับการแก้ไขค่าบางอย่างโดยไอนสไตน์มากกว่า
 
ผมก็กะว่าจะไปถามคนที่เค้ารู้ดูหน่อยเหมือนกัน คือผมคลับคล้ายคลับคลาว่า effect ของสัมพัทธภาพมันน้อยมากๆ ถ้าเราไม่ได้ปล่อยให้เวลาผ่านไปนานมากๆ เช่น ดาวเทียมค้างฟ้าเป็นสิบๆปี หรือ ต้องการความละเอียดแบบสูงมากๆอย่าง GPS เราแทบจะตัดผลของสัมพัทธภาพไปได้เลยครับ
 
โดยส่วนตัวผมยังเชื่อว่าถ้าแค่ "ส่ง" ดาวเทียมขึ้นไปในอวกาศ ผลของสัมพัทธภาพน่าจะน้อยจนตัดทิ้งได้ครับ
ของราคาก็หลายตังค์อยู่นะครับ ไม่น่าตัดทิ้งง่าย ๆ นะครับ

ในทางกลับกัน ถ้าเราเอาเงินมาลงกับสิ่งที่ตัดทิ้งได้ ก็สิ้นเปลืองนะครับ

เดิมที GPS เค้าไม่คิดว่า GR จะมีผล ปรากฏว่าการระบุตำแหน่งเพี้ยนไป เค้าถึงได้หันมามอง GR correction

หลักฐานไม่เคยโกหก (Gilbert Grissom C.S.I.)<p>Beneath this mask there is more than flesh. Beneath this mask there is an idea, Mr. Creedy, and ideas are bulletproof.

 


#31 Gop

Gop

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 4,450 posts

ตอบ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 - 20:31

 
พอมีเรื่อง เวลา เข้ามาเกี่ยวข้อง อด ไม่ได้ ที่จะต้องรบกวนเรียนถาม
 
จะไม่มีการ "ขัดกัน" ของ ตรรกะ-เวลา  หรือครับ?
 
ยกตัวอย่างเช่น นายก. สามารถเดินทางได้ด้วยความเร็วที่ "เหนือ" กว่า ความเร็ว ของ แสง
 
นั่นก็คือ นาย ก. สามารถที่จะอยู่ที่ จุด A และ จุด B ใน เวลา เดียวกันได้
 
หากเป็นเช่นนั้นจริง จะไม่เกิดการขัดกันใน ตรรกะ-ของ-เวลา หรือครับ?
 
ตะนิ่นตาญี
 
วันอังคารที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๖
 
เวลา ๑๙.๓๖ นาฬิกา

เพราะทฤษฎีที่ใช้กันอยู่นี้อยู่ในกรอบที่ว่าไม่มีสิ่งใดเร็วกว่าแสงไงครับ ถ้าพิสูจน์ได้ว่ามีสิ่งที่เร็วเหนือแสงก็เตรียมล้มทฤษฎีที่ใช้กันอยู่ได้เลย

นึกถึงตอนปลายปี 54 มีข่าวครึกโครมเรื่องพบอนุภาควิ่งเร็วกว่าแสง

ผ่านไปไม่กี่เดือน ก็พบความผิดพลาด ข่าวเงี้ยบเงียบ 55555

หลักฐานไม่เคยโกหก (Gilbert Grissom C.S.I.)<p>Beneath this mask there is more than flesh. Beneath this mask there is an idea, Mr. Creedy, and ideas are bulletproof.

 


#32 Stargate-1

Stargate-1

    SG-1

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,578 posts

ตอบ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 - 22:43

 

http://en.wikipedia.org/wiki/Stargate

 

Star gate productions center on the premise of a "Stargate", a circular device (4.6 m / 15 ft in diameter) that creates a wormhole, enabling instantaneous transportation to another stargate located many light years away from the starting point. Under the control of the United States government, the Stargate discovered on Earth is kept a secret from the public. This allows for storylines to present no contradiction between depicted events and reality, an effect compounded by setting Stargate in the present day and depicting Earth accurately, with any unrealistic technology originating solely from alien civilizations. These extraterrestrial civilizations are typically more pre-industrial than scientifically advanced and are almost always human. Together, this allows for stories dominated by human interaction in Earth-like environments, an unusual feature for a science fiction franchise focused on exploration of other worlds.

 


Edited by Stargate-1, 2 มีนาคม พ.ศ. 2556 - 13:06.

Tam-mic-ra ฟันธง!  คำว่า "โดนพริกไทยมั๊ง" น่ะ แค่นี่เอามาเป็นหลักฐาน ได้ยังไงครับ .....  คิดครับคิด  :lol:   จากกระทู้แก้ข่าวหน้า 2 qoute #96  ใครยิงวสันต์-ภู่ทอง   แอลพีจีทำมาจากซี2ซี3


#33 stormtrooper

stormtrooper

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 356 posts

ตอบ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 - 15:19

คลิปที่คุณ stargate เอามาแปะข้างบน  มันเป็น fiction เกี่ยวกับความบันเทิงเป็นหลัก นะครับ



#34 stormtrooper

stormtrooper

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 356 posts

ตอบ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 - 15:53

เรื่องทฤษฎีควอนตัม  สำหรับผมคงอ่านได้แค่หนังสือฉบับการ์ตูน  “Introducing Quantum Theory”  ที่คุณ Gop แนะนำนั่นแหละ  พอเปิดดูบทความในวิกิ Matrix mechanics เอาแค่นี้ก็มืนแล้ว

 

มีใครเคยอ่านเต๋าแห่งฟิสิกส์  ที่ Fritjof Capra เป็นคนเขียนมั้ยครับ  ผมเข้าใจแค่บทแรก ๆ ที่เขาพูดถึงปรัชญาพุทธ ฮินดู เซ็น  พอไปถึงบทท้าย ๆ มึนนน อีกเหมือนกัน  ผมว่า Capra แกใช้การคาดเดา  speculate เอามากกว่า  อย่างบทที่อ้าง ปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร  ที่ว่า รูปคือสูญญตา  สูญญตาคือรูป  แกเอามาเปรียบเทียบกับทฤษฎี Quantum Electrodynamics แล้วบอกว่ามีใจความเหมือนกันเฉยเลย  ความเห็นส่วนตัวล้วน ๆ นะครับ Capra อาจจะเข้าใจเรื่องนี้ถูกต้องก็ได้


Edited by stormtrooper, 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 - 15:53.


#35 eAT

eAT

    ผมเป็นเสื้อแดงฮับ

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 10,589 posts

ตอบ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 - 21:52

เรื่องทฤษฎีควอนตัม  สำหรับผมคงอ่านได้แค่หนังสือฉบับการ์ตูน  “Introducing Quantum Theory”  ที่คุณ Gop แนะนำนั่นแหละ  พอเปิดดูบทความในวิกิ Matrix mechanics เอาแค่นี้ก็มืนแล้ว

 

มีใครเคยอ่านเต๋าแห่งฟิสิกส์  ที่ Fritjof Capra เป็นคนเขียนมั้ยครับ  ผมเข้าใจแค่บทแรก ๆ ที่เขาพูดถึงปรัชญาพุทธ ฮินดู เซ็น  พอไปถึงบทท้าย ๆ มึนนน อีกเหมือนกัน  ผมว่า Capra แกใช้การคาดเดา  speculate เอามากกว่า  อย่างบทที่อ้าง ปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร  ที่ว่า รูปคือสูญญตา  สูญญตาคือรูป  แกเอามาเปรียบเทียบกับทฤษฎี Quantum Electrodynamics แล้วบอกว่ามีใจความเหมือนกันเฉยเลย  ความเห็นส่วนตัวล้วน ๆ นะครับ Capra อาจจะเข้าใจเรื่องนี้ถูกต้องก็ได้

 

 

เคยอ่าน แต่ลืมไปหมดแล้ว

จำได้คร่าวๆ ว่า ผู้เขียนตั้งใจสรุปว่า ในโลกของอนุภาค

มันเหนือความเข้าใจในแบบเดิมไปจนหมดแล้ว ไม่สามารถ

อธิบายมาเป็นคำพูดได้

 

แต่สามารถอธิบายเป็นคณิตศาสตร์

ซึ่งตีความออกมาเป็นคำพูดไม่ได้ (อันนี้เติมให้)



#36 chackrapbong

chackrapbong

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 4,057 posts

ตอบ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 - 22:17

เรื่องทฤษฎีควอนตัม  สำหรับผมคงอ่านได้แค่หนังสือฉบับการ์ตูน  “Introducing Quantum Theory”  ที่คุณ Gop แนะนำนั่นแหละ  พอเปิดดูบทความในวิกิ Matrix mechanics เอาแค่นี้ก็มืนแล้ว

 

มีใครเคยอ่านเต๋าแห่งฟิสิกส์  ที่ Fritjof Capra เป็นคนเขียนมั้ยครับ  ผมเข้าใจแค่บทแรก ๆ ที่เขาพูดถึงปรัชญาพุทธ ฮินดู เซ็น  พอไปถึงบทท้าย ๆ มึนนน อีกเหมือนกัน  ผมว่า Capra แกใช้การคาดเดา  speculate เอามากกว่า  อย่างบทที่อ้าง ปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร  ที่ว่า รูปคือสูญญตา  สูญญตาคือรูป  แกเอามาเปรียบเทียบกับทฤษฎี Quantum Electrodynamics แล้วบอกว่ามีใจความเหมือนกันเฉยเลย  ความเห็นส่วนตัวล้วน ๆ นะครับ Capra อาจจะเข้าใจเรื่องนี้ถูกต้องก็ได้

พุทธ ไม่ได้เป็นทั้งวิทยาศาสตร์และปรัชญา ครับ


Everyone thinks of changing the world, but no one thinks of changing himself. Leo Tolstoy


#37 RiDKuN_user

RiDKuN_user

    มหาเมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 13,167 posts

ตอบ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 - 17:56

 

 
พอมีเรื่อง เวลา เข้ามาเกี่ยวข้อง อด ไม่ได้ ที่จะต้องรบกวนเรียนถาม
 
จะไม่มีการ "ขัดกัน" ของ ตรรกะ-เวลา  หรือครับ?
 
ยกตัวอย่างเช่น นายก. สามารถเดินทางได้ด้วยความเร็วที่ "เหนือ" กว่า ความเร็ว ของ แสง
 
นั่นก็คือ นาย ก. สามารถที่จะอยู่ที่ จุด A และ จุด B ใน เวลา เดียวกันได้
 
หากเป็นเช่นนั้นจริง จะไม่เกิดการขัดกันใน ตรรกะ-ของ-เวลา หรือครับ?
 
ตะนิ่นตาญี
 
วันอังคารที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๖
 
เวลา ๑๙.๓๖ นาฬิกา

เพราะทฤษฎีที่ใช้กันอยู่นี้อยู่ในกรอบที่ว่าไม่มีสิ่งใดเร็วกว่าแสงไงครับ ถ้าพิสูจน์ได้ว่ามีสิ่งที่เร็วเหนือแสงก็เตรียมล้มทฤษฎีที่ใช้กันอยู่ได้เลย

นึกถึงตอนปลายปี 54 มีข่าวครึกโครมเรื่องพบอนุภาควิ่งเร็วกว่าแสง

ผ่านไปไม่กี่เดือน ก็พบความผิดพลาด ข่าวเงี้ยบเงียบ 55555

 

จำได้เหมือนกัน มันคือ neutrino ครับ แต่สรุปคือสาย GPS หลวม สัญญาณมันเลย delay ทำให้คิดความเร็วผิด

ก็หงายเงิบกันไป ไอน์สไตน์คงแอบหัวเราะอยู่ในหลุม แค่นี้ยังทำพลาด คิดจะมาล้มทฤษฎีข้า  ^_^

 

http://en.wikipedia....eutrino_anomaly


" ชีวิตผมไม่เคยกลัวอะไรทั้งนั้น ผมกลัวอย่างเดียว...กลัวจะถูกมองว่า 'ขายชาติ' " - The Last Tycoon

~ ทักษิณตาย เสรีไทยไชโย ~

#38 RiDKuN_user

RiDKuN_user

    มหาเมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 13,167 posts

ตอบ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 - 19:57

 

ที่ผมเข้าใจคือ principle เป็น subset ของ theory ครับ คือเป็นส่วนหนึ่งที่นำไปใช้ในการพิสูจน์ theory

 

ส่วน law เองเป็นคำที่ใช้ใน physics รุ่นเก่า สมัยพวก Newtonian คิดว่าไม่มีความลับใน universe แล้ว เพราะ physics ในยุคนั้นสามารถไขข้อสงสัยและยังทำนายปรากฏการธรรมชาติได้เกือบทุกอย่าง แต่ physics ยุคใหม่มาพิสูจน์ว่ามันใช้ไม่ได้ในบางกรณี ยุคนี้เลยใช้คำว่า theory แทนครับ

 

คิดว่า ทฤษฎียุคใหม่ต่อไป คงไม่มีใครหาญกล้าใช้คำว่า law แล้วละครับ

เพราะนักวิทยาศาสตร์คงตระหนักแล้วว่ามนุษย์รับรู้รับทราบความจริงได้แค่เท่าที่สัมผัสได้เท่านั้น

เราไม่สามารถปฏิเสธความเป็นไปได้ว่าอาจจะมีกฎแห่งความจริงอื่นใดที่อยู่นอกเหนือความเป็นไปได้ที่มนุษย์จะรับรู้

ดังนั้นทุกอย่างก็คงเป็นแค่ทฤษฎี ที่ไม่สามารถพิสูจน์ได้โดยไม่มีข้อกังขาแน่นอน

ขึ้นอยู่แค่ว่า ทฤษฎีของใคร จะสามารถอธิบาย "ความจริงที่เราสัมผัสได้" ได้ถูกต้องกว่ากันแค่นั้น  -_-

 

 

รบกวนเรียนถาม คุณ RiDKuN ฯ สักนิดเถอะครับ

 

ตะนิ่นตาญี อ่านแล้ว เหมือน คุณ RiDKuN ฯ กำลังบอกว่า...

 

E นั้นเท่ากับ MC ยกกำลังสอง ตราบใดที่ยังไม่มีใคร "พิสูจน์" ได้ว่า "สมการ" นี้ "ผิด"

 

ซึ่งนั่นก็คือ ทฤษฎี ที่มีอยู่ในโลก ยังคงถูกอยู่จนกว่าจะมีใครสักคนพิสูจน์ได้ว่า ทฤษฎี นั้น ผิด

 

ตะนิ่นตาญี เข้าใจถูกไหมครับ?

 

ตะนิ่นตาญี

 

วันจันทร์ที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๖

 

เวลา ๑๗.๓๔ นาฬิกา

 

ทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ ไม่ใช่แค่พิสูจน์ได้ว่าผิด แต่ต้องพิสูจน์ได้ด้วยว่าถูก ด้วยการทดลอง

โดยถ้าทฤษฎีนั้นเข้ากับปรากฎการณ์ที่มีอยู่แล้ว และไม่ขัดกับปรากฎการณ์ใดๆ

รวมถึงสามารถทำนายได้ว่า หากทำการทดลองแบบนี้ๆๆ แล้วจะได้ผลแบบนี้ๆๆ

และเมื่อทำการทดลอง หรือสังเกตการณ์จากปรากฎการณ์ใดๆ แล้วได้ผลตามนั้นจริง

ทฤษฎีจึงจะเป็นที่ยอมรับครับ


" ชีวิตผมไม่เคยกลัวอะไรทั้งนั้น ผมกลัวอย่างเดียว...กลัวจะถูกมองว่า 'ขายชาติ' " - The Last Tycoon

~ ทักษิณตาย เสรีไทยไชโย ~

#39 ผึ้งน้อยตุหรัดตุเหร่

ผึ้งน้อยตุหรัดตุเหร่

    หน้าตาดี มีอุดมการณ์

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 21,670 posts

ตอบ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 - 23:06

เรื่องทฤษฎีควอนตัม  สำหรับผมคงอ่านได้แค่หนังสือฉบับการ์ตูน  “Introducing Quantum Theory”  ที่คุณ Gop แนะนำนั่นแหละ  พอเปิดดูบทความในวิกิ Matrix mechanics เอาแค่นี้ก็มืนแล้ว

 

มีใครเคยอ่านเต๋าแห่งฟิสิกส์  ที่ Fritjof Capra เป็นคนเขียนมั้ยครับ  ผมเข้าใจแค่บทแรก ๆ ที่เขาพูดถึงปรัชญาพุทธ ฮินดู เซ็น  พอไปถึงบทท้าย ๆ มึนนน อีกเหมือนกัน  ผมว่า Capra แกใช้การคาดเดา  speculate เอามากกว่า  อย่างบทที่อ้าง ปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร  ที่ว่า รูปคือสูญญตา  สูญญตาคือรูป  แกเอามาเปรียบเทียบกับทฤษฎี Quantum Electrodynamics แล้วบอกว่ามีใจความเหมือนกันเฉยเลย  ความเห็นส่วนตัวล้วน ๆ นะครับ Capra อาจจะเข้าใจเรื่องนี้ถูกต้องก็ได้

 

เคยอ่านตอนอายุ 20  ไม่ได้ซึมเข้าหัวอะไรเลย

คาดว่าเพราะทู้นี้ผมจะเปิดตู้หนังสือ หยิบออกมาอ่านอีกครั้งแน่นอนครับ

(แต่ถ้าเต๋าฉบับการตลาด คือ เต๋าเต็กเก็ง หรือเต๋าเต๋อจิง อันนี้อ่านบ่อย เพราะง่ายกว่าของท่านฟริทจอฟเยอะมวั่ก)

 

เป็นทู้ที่ดีจัง


gladiator 1.jpg

 

 

 

 

 

 


#40 Lucy Van Pelt

Lucy Van Pelt

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 525 posts

ตอบ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 - 05:48

จริงๆสมัยเรียนม.ปลายนี่ผมนึกภาพไม่ออกเลยนะครับว่า Quantum physics คืออะไร :huh:  ตอนเรียนก็อ่านๆไปตามที่หนังสือเขียนไว้ สอบผ่านมาได้ยังไงก็ไม่รู้  :D น่าจะเป็นเพราะเขียนตัวเลขถูก ผลการคำนวนเลยถูกตามด้วย ;) เรียนจบมหาวิทยาลัยก็ไม่ได้ใช้ จนกระทั่งเมื่อสิบกว่าปีก่อนพยายามทำความเข้าใจเรื่อง Special Relativity กับ General Relativity พอเริ่มเข้าใจขึ้นก็กลับมาอ่าน Quantum physics อีกทีถึงเข้าใจมันมากขึ้น



#41 Stargate-1

Stargate-1

    SG-1

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,578 posts

ตอบ 2 มีนาคม พ.ศ. 2556 - 07:48

 

http://en.wikipedia....rgy_equivalence

 

Mass–energy equivalence

 

Mass–velocity relationship

 

In developing special relativity, Einstein found that the kinetic energy of a moving body is

27432eae4c0eef1f9e0ee01c6198f204.png

with 9e3669d19b675bd57058fd4664205d2a.png the velocity, 846f53c9f23cb561a8abb3a71fea4eba.png the rest mass, and γ the Lorentz factor.

He included the second term on the right to make sure that for small velocities, the energy would be the same as in classical mechanics:

a6f47ff4b24f2abb2836f4ba1e46ecd2.png

Without this second term, there would be an additional contribution in the energy when the particle is not moving.

Einstein found that the total momentum of a moving particle is:

052bc487a78e04a5b0d8d3ec0761310e.png

and it is this quantity which is conserved in collisions. The ratio of the momentum to the velocity is the relativistic mass, m.

9a3462ba4f73bb92b700af94c05008ac.png

And the relativistic mass and the relativistic kinetic energy are related by the formula:

5c4876312278817d93d409ef65e7f3f9.png

Einstein wanted to omit the unnatural second term on the right-hand side, whose only purpose is to make the energy at rest zero, and to declare that the particle has a total energy which obeys:

f09291a2934068644f41981dd51eb5b0.png

which is a sum of the rest energy m0c2 and the kinetic energy. This total energy is mathematically more elegant, and fits better with the momentum in relativity. But to come to this conclusion, Einstein needed to think carefully about collisions. This expression for the energy implied that matter at rest has a huge amount of energy, and it is not clear whether this energy is physically real, or just a mathematical artifact with no physical meaning.

In a collision process where all the rest-masses are the same at the beginning as at the end, either expression for the energy is conserved. The two expressions only differ by a constant which is the same at the beginning and at the end of the collision. Still, by analyzing the situation where particles are thrown off a heavy central particle, it is easy to see that the inertia of the central particle is reduced by the total energy emitted. This allowed Einstein to conclude that the inertia of a heavy particle is increased or diminished according to the energy it absorbs or emits. 


Edited by Stargate-1, 2 มีนาคม พ.ศ. 2556 - 16:11.

Tam-mic-ra ฟันธง!  คำว่า "โดนพริกไทยมั๊ง" น่ะ แค่นี่เอามาเป็นหลักฐาน ได้ยังไงครับ .....  คิดครับคิด  :lol:   จากกระทู้แก้ข่าวหน้า 2 qoute #96  ใครยิงวสันต์-ภู่ทอง   แอลพีจีทำมาจากซี2ซี3


#42 Stargate-1

Stargate-1

    SG-1

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,578 posts

ตอบ 2 มีนาคม พ.ศ. 2556 - 09:59

 

http://en.wikipedia....wiki/Warp_drive

 

Warp drive is a hypothetical faster-than-light (FTL) propulsion system in the setting of many science fiction works, most notably Star Trek. A spacecraft equipped with a warp drive may travel at apparent speeds greater than that of light by many orders of magnitude, while circumventing the relativistic problem of time dilation. In contrast to many other fictional FTL technologies, such as a "jump drive" or the Infinite Improbability Drive, the warp drive does not permit instantaneous travel between two points; instead, warp drive technology creates an artificial "bubble" of normal space-time that surrounds the spacecraft (as opposed to entering a separate realm or dimension like hyperspace, as is used in the Star Wars, Stargate franchise, Warhammer 40,000, Babylon 5 and Andromeda universes). Consequently, spacecraft at warp velocity can continue to interact with objects in "normal space". Some of the other fictions in which warp drive technology is featured include: Stars!, EVE Online, Earth and Beyond, StarCraft, Mass Effect, DarkSpace, Starship Troopers, Doctor Who and Star Ocean.

A theoretical solution for faster-than-light travel which models the warp drive concept, called the Alcubierre drive, was formulated by physicist Miguel Alcubierre in 1994. Subsequent calculations found that such a model would require negative mass, the existence of which has never been supported by any evidence, and prohibitive amounts of energy. However, it has recently been found that by changing the shape of the warp drive, much less negative mass and energy could be used, though the energy required is still many orders of magnitude greater than anything currently possible by human beings. NASA scientists have begun preliminary research on such technology.[1]


Edited by Stargate-1, 2 มีนาคม พ.ศ. 2556 - 13:10.

Tam-mic-ra ฟันธง!  คำว่า "โดนพริกไทยมั๊ง" น่ะ แค่นี่เอามาเป็นหลักฐาน ได้ยังไงครับ .....  คิดครับคิด  :lol:   จากกระทู้แก้ข่าวหน้า 2 qoute #96  ใครยิงวสันต์-ภู่ทอง   แอลพีจีทำมาจากซี2ซี3


#43 Gop

Gop

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 4,450 posts

ตอบ 3 มีนาคม พ.ศ. 2556 - 23:41

เรื่องทฤษฎีควอนตัม  สำหรับผมคงอ่านได้แค่หนังสือฉบับการ์ตูน  “Introducing Quantum Theory”  ที่คุณ Gop แนะนำนั่นแหละ  พอเปิดดูบทความในวิกิ Matrix mechanics เอาแค่นี้ก็มืนแล้ว

 

มีใครเคยอ่านเต๋าแห่งฟิสิกส์  ที่ Fritjof Capra เป็นคนเขียนมั้ยครับ  ผมเข้าใจแค่บทแรก ๆ ที่เขาพูดถึงปรัชญาพุทธ ฮินดู เซ็น  พอไปถึงบทท้าย ๆ มึนนน อีกเหมือนกัน  ผมว่า Capra แกใช้การคาดเดา  speculate เอามากกว่า  อย่างบทที่อ้าง ปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร  ที่ว่า รูปคือสูญญตา  สูญญตาคือรูป  แกเอามาเปรียบเทียบกับทฤษฎี Quantum Electrodynamics แล้วบอกว่ามีใจความเหมือนกันเฉยเลย  ความเห็นส่วนตัวล้วน ๆ นะครับ Capra อาจจะเข้าใจเรื่องนี้ถูกต้องก็ได้

 

เท่าที่ผมรู้นะครับ ถ้าคุณอยากเข้าใจอะไรให้ลึกซึ้งขึ้นในฟิสิกส์ คุณต้องร้คณิตศาสตร์ครับ ไม่อย่างนั้นเราจะได้แค่ลูบๆคลำๆ งงๆ ครับ


หลักฐานไม่เคยโกหก (Gilbert Grissom C.S.I.)<p>Beneath this mask there is more than flesh. Beneath this mask there is an idea, Mr. Creedy, and ideas are bulletproof.

 


#44 phoosana

phoosana

    เมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 7,687 posts

ตอบ 15 มีนาคม พ.ศ. 2556 - 21:17

แล้วเวลามันเพื่มเป็นขึ้นเป็นขั้นๆ ด้วยเปล่า


We love fender.

#45 Gop

Gop

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 4,450 posts

ตอบ 16 มีนาคม พ.ศ. 2556 - 00:54

แล้วเวลามันเพื่มเป็นขึ้นเป็นขั้นๆ ด้วยเปล่า

 

ไม่รู้ว่าตอบแล้วจะงงหรือเปล่า

 

ในควอนตั้ม เวลาไม่ได้เป็นสถานะ แต่เป็นแค่ parameter มันเลยไม่ได้เป็นขั้นๆแบบปริมาณอื่นๆเช่น ตำแหน่ง ความเร็ว หรือพลังงาน

 

เอาเป็นว่าเท่าที่ผมรู้นะ เวลาไม่ถูก quantized ครับ ดังนั้นเวลายังต่อเนื่องอยู่


หลักฐานไม่เคยโกหก (Gilbert Grissom C.S.I.)<p>Beneath this mask there is more than flesh. Beneath this mask there is an idea, Mr. Creedy, and ideas are bulletproof.

 


#46 แสนยานุภาพ

แสนยานุภาพ

    สปอร์ต กทม ใจดี

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 3,267 posts

ตอบ 18 มีนาคม พ.ศ. 2556 - 16:47

ไปดูเรื่อง fringe กันมาใช่มั้ยครับเนี่ย  :lol: 



#47 Lucy Van Pelt

Lucy Van Pelt

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 525 posts

ตอบ 27 มีนาคม พ.ศ. 2556 - 04:43

เสียดายที่ Fringe จบไปแล้ว :(  ตอนจบดูสนุกใช้ได้นะครับ  ;)



#48 Lucy Van Pelt

Lucy Van Pelt

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 525 posts

ตอบ 1 เมษายน พ.ศ. 2556 - 00:13

วีดีโอนี้อธิบายเรื่อง Higgs ได้ดีเหมือนกันครับ






ผู้ใช้ 0 ท่านกำลังอ่านกระทู้นี้

สมาชิก 0 ท่าน, ผู้เยี่ยมชมทั่วไป 0 ท่าน และไม่เปิดเผยตัวตน 0 ท่าน