อ้างถึงวิชาการ
คิดว่าคนอื่นเค้าไม่รู้เรื่องหลักของ yamane หรือไงครับ อย่าคิดว่าตัวเองฉลาดคนเดียวครับ มีแต่คนโง่เท่านั้นแหละที่คิดว่าตัวเองฉลาดอยู่คนเดียว
เอาจริงๆนะครับ ถ้าการสุ่มตัวอย่างที่ดีพอ ตามหลัก yamane ใช้กลุ่มตัวอย่างแค่ 400 คนก็พอ (ยอมรับ error ได้ที่ 5%) ซึ่งตัวนี้มันคนละตัวกับที่ Gallop คิดมา ของ Gallop มันคิดแค่เอาผลสำรวจที่มันทำ ลบกับ ผลจริง (ซึ่งก็คือ 3% ที่ผมพูดถึง) ไม่ใช่ error ใน Standard Curve (กราฟรูประฆังคว่ำอ่ะ ถ้าใครไม่รู้จัก) คนละเรื่องกันเลยยังจะเอามามั่วกันอีก
อยากรู้เรื่องเลขถกกับผมได้นะครับ จะได้รู้ว่าคนบางคนเก่งจริงหรือแค่ copy paste จากเน็ท
แต่ปัญหาอยู่ที่ว่า การสุ่มตัวอย่างของประชากรของโพลพวกเนี้ยน่ะ มันเป็น การสุ่มแบบอาศัยความน่าจะเป็น (Probability Sampling) หรือเปล่า หรือว่าเป็นการสุ่มแบบการเลือกตัวอย่างแบบสะดวกสบาย (Convenience หรือ Accidental Sampling) ส่วนความแตกต่างของทั้งสองแบบคือ
การสุ่มแบบอาศัยความน่าจะเป็น (Probability Sampling)
เป็นการสุ่มหน่วยตัวอย่างจากประชากร โดยมีเงื่อนไขดังต่อไปนี้
1. รู้จำนวนประชากรทั้งหมด
2. ประชากรทั้งหมดมีโอกาสที่จะถูกสุ่มมาเป็นกลุ่มตัวอย่างเท่าเทียมกัน
3. ใช้วิธีการสุ่มที่เหมาะสม เพื่อให้หน่วยตัวอย่างมีโอกาสถูกสุ่มเท่าเทียมกัน
4. ใช้วิธีประมาณค่าพารามิเตอร์ที่เหมาะสม
การเลือกตัวอย่างแบบสะดวกสบาย (Convenience หรือ Accidental Sampling)
เป็นการเลือกแบบไม่มีกฎเกณฑ์ อาศัยความสะดวกของผู้วิจัยเป็นหลัก กลุ่มตัวอย่างจะเป็นใครก็ได้ที่ให้ความร่วมมือกับผู้วิจัยในการให้ข้อมูลบางอย่าง เช่น
- สอบถามความคิดเห็นในการให้บริการอาหารกลางวันของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ผู้วิจัยอาจจะไปยืนตรงประตูทางเข้าโรงอาหาร แล้วคอยสัมภาษณ์นักศึกษา 50 คนที่เดินเข้ามารับประทานอาหารในช่วงเช้าของวันหนึ่ง
- ครูคนหนึ่งปรับปรุงแผนการสอนใหม่ และต้องการจะทดลองแผนการสอนใหม่ว่าจะให้ผลแตกต่างจากแผนการสอนเดิมหรือไม่ โดยใช้กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักเรียนที่เขาต้องรับผิดชอบสอน
เพื่อนๆ พี่ๆ ก็ลองคิดดูเองนะครับว่าโพลพวกนี้มันเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบไหน